SlideShare a Scribd company logo
1
พกพรหมชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๐. พกพรหมชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๐๕)
ว่าด้วยพรตและศีลของพกพรหม
(พกพรหมกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า)
[๖๘] ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์ทั้ง ๗๒ คน ได้กระทาบุญไว้
มีอานาจ พ้นชาติและชรา การถึงความเป็ นพรหมนี้เป็นชาติสุดท้าย
สาเร็จด้วยพระเวท ชนทั้งหลายมิใช่น้อยกล่าวนมัสการพวกข้าพระองค์
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๖๙] ท้าวพกพรหม ท่านสาคัญอายุใดว่ายืนยาว ความจริงอายุนั้นน้อย
ไม่ยืนยาวเลย เราตถาคตทราบอย่างชัดแจ้ง ถึงอายุ ๑๐๐,๐๐๐ นิรัพพุทะของท่าน
(พกพรหมกราบทูลว่า)
[๗๐] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า
เราตถาคตเป็นผู้เห็นไม่มีที่สิ้นสุด พ้นชาติ ชรา และความโศกเสียได้
พรตและศีลครั้งก่อนของข้าพระองค์เป็ นเช่นไร
ขอพระองค์จงตรัสบอกพรตและศีล ที่ข้าพระองค์ควรจะรู้แก่ข้าพระองค์
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๗๑] ท่านได้ช่วยให้มนุษย์เป็นจานวนมากที่มีความกระหาย
ถูกความร้อนแผดเผาให้ได้ดื่มน้า นั่นเป็นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน
เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา (เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา
หมายถึงจาความฝันได้)
[๗๒] การที่ท่านได้ปล่อยหมู่ชนซึ่งถูกจับที่ฝั่งแม่น้าเอณินาไปเป็ นเชลย
นั่นเป็ นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน
เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา
[๗๓] ท่านใช้กาลังเข้าข่ม ได้ปลดปล่อยเรือที่พญานาคดุร้าย
ยึดไว้ที่กระแสแม่น้าคงคาเพราะต้องการจะทาลายมนุษย์
นั่นเป็ นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน
เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา
[๗๔] อนึ่ง เราตถาคตได้เคยเป็ นศิษย์ของท่านชื่อว่ากัปปะ
สาคัญท่านว่ามีปัญญา ประกอบด้วยวัตรปฏิบัติ
นั่นเป็ นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน
เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา
(พกพรหมกล่าวสดุดีพระผู้มีพระภาคว่า)
2
[๗๕] อายุของข้าพระองค์นี่ พระองค์ทรงทราบชัดแน่นอน
ทั้งอย่างอื่นก็ยังทรงทราบด้วย เพราะพระองค์ทรงเป็ นพุทธะอย่างแท้จริง
เพราะพระองค์ทรงเป็นพุทธะนั่นแหละจึงทรงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้
ทรงทาพรหมโลกให้สว่างไสวอยู่
พกพรหมชาดกที่ ๑๐ จบ
กุกกุวรรคที่ ๑ จบ
------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
พกพรหมชาดก
ว่าด้วย ศีลและพรตของพกพรหม
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
ทรงปรารภพกพรหมแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ท่านพกพรหมเกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้ว่า สิ่งนี้เที่ยง
ยั่งยืน สืบเนื่องๆ กันไป ไม่มีการเคลื่อนธรรมดา
สิ่งอื่นนอกจากนี้ที่ชื่อว่าพระนิพพานเป็ นที่ออกไปของสัตวโลกไม่มี
ได้ยินว่า พระพรหมองค์นี้เกิดภายหลัง เมื่อก่อนบาเพ็ญฌานมาแล้ว
จึงมาเกิดในชั้นเวหัปผลา. ท่านให้อายุประมาณ ๕๐๐
กัปป์ สิ้นไปในชั้นเวหัปผลานั้นแล้ว จึงเกิดในชั้นสุภกิณหาสิ้นไป ๖๔ กัปป์ แล้ว
จุติจากชั้นนั้นจึงไปเกิดในชั้นอาภัสรา มีอายุ ๘ กัปป์
ในชั้นอาภัสรานั้น ท่านได้เกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้
เพราะท่านระลึกถึงการจุติจากพรหมโลกชั้นสูงไม่ได้เลย
ระลึกถึงการเกิดขึ้นในพรหมโลกชั้นนั้นก็ไม่ได้. เมื่อไม่เห็นทั้ง ๒ อย่าง
ท่านจึงยึดถือความเห็นอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของพกพรหมนั้น
ด้วยเจโตปริยญาณแล้ว จึงทรงหายพระองค์ไปจากพระเชตวันมหาวิหาร
ปรากฏพระองค์บนพรหมโลก
อุปมาเหมือนหนึ่งคนมีกาลังแข็งแรงเหยียดแขนออกไปแล้วคู้แขนที่เหยียดออกไ
ปแล้วเข้ามาก็ปานกัน
ครั้งนั้น พระพรหมเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงทูลว่า
มาเถิดท่านสหาย ท่านมาดีแล้วท่านสหาย นานนักท่านสหาย
ท่านจึงจะได้ทาปริยายนี้ คือการมาที่นี้ เพราะสถานที่นี้เป็ นสถานที่เที่ยง
เป็นสถานที่ยั่งยืน เป็นสถานที่สืบเนื่องกันไป
เป็นสถานที่ไม่มีการเคลื่อนเป็ นธรรมดา เป็นสถานที่มั่นคง ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แต่ว่าสถานที่อื่นที่ชื่อว่าเป็นที่ออกไปจากทุกข์ยิ่งกว่านี้ ไม่มี.
เมื่อพกพรหมทูลอย่างนี้แล้ว
3
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคานี้กะพกพรหมว่า
พกพรหมผู้เจริญตกอยู่ในอานาจของอวิชชาแล้วหนอ
พกพรหมผู้เจริญตกอยู่ในอานาจของอวิชชาแล้วหนอ
เพราะได้พูดถึงสิ่งที่ไม่เที่ยงนั่นแหละว่าเป็นของเที่ยง
และได้พูดถึงธรรมที่สงบอย่างอื่นว่า
เป็นธรรมเป็นที่ออกไปจากทุกข์อันยิ่งยวดไม่มีธรรมอื่นที่เป็นธรรมเป็นที่ออกไปจ
ากทุกข์ยิ่งกว่า
พระพรหมได้ฟังคานั้น แล้วคิดว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า นี่จะอนุวัตรคล้อยตามเรา ด้วยประการอย่างนี้ว่า
ท่านกล่าวอย่างนี้ถูกแล้ว แต่เกรงกลัวการอนุโยคย้อนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทานองเดียวกับโจรผู้ด้อยกาลังได้รับการตีเล็กน้อย ก็บอกเพื่อนฝูงทุกคนว่า
ฉันคนเดียวหรือเป็ นโจร? คนโน้นก็เป็นโจร คนโน้นก็เป็ นโจร
เมื่อจะบอกเพื่อนฝูงของตนแม้คนอื่นๆ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์มี ๗๒ คน ล้วนได้ทาบุญมาแล้ว
มีอานาจแผ่ไปล่วงความเกิดและความแก่ไปได้ การเกิดเป็นพรหมนี้
เป็นอันติมชาติ ชาติสุดท้าย จบไตรเพทแล้ว
คนจานวนมากเอ่ยถึงพวกข้าพระองค์.
ข้าแต่พระโคดม ไม่ใช่เพียงแต่ข้าพระองค์คนเดียวเท่านั้น
โดยที่แท้แล้ว พวกข้าพระองค์ ๗๒ คน ในพรหมโลกนี้ เป็นผู้ล้วนได้ทาบุญมาแล้ว
เป็นผู้แผ่อานาจไป โดยการแผ่อานาจของตนไปเหนือคนเหล่าอื่น
และได้ล่วงเลยความเกิดและความแก่ไปแล้ว
การเกิดเป็นพรหมนี้ชื่อว่าถึงพระเวทแล้ว
เพราะพวกข้าพระองค์ถึงแล้วด้วยพระเวททั้งหลาย
ข้าแต่พระโคดม การเกิดเป็นพรหมนี้เป็ นการเกิดครั้งสุดท้าย
คือการถึงส่วนหลังที่สุด ได้แก่การเข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐที่สุด.
พระศาสดา ครั้นทรงสดับถ้อยคาของพกพรหมนั้นแล้ว จึงตรัสคาถาที่
๒ ว่า:-
ดูก่อนพรหม ความจริงอายุของท่านนี้น้อยไม่มากเลย
แต่ท่านสาคัญว่าอายุของท่านมาก จานวนแสนนิรัพพุทะ ดูก่อนพรหม
เราตถาคตรู้อายุของท่าน.
การนับกล่าวคือนิรัพพุทะ มีหลายแสน. อธิบายว่า
สิบสิบปีเป็นร้อย
สิบร้อยเป็นพัน.
ร้อยพันเป็นแสน.
ร้อยแสนชื่อว่าโกฏิ.
4
ร้อยแสนโกฏิชื่อว่าปโกฏิ.
ร้อยแสนปโกฏิชื่อว่าโกฏิปโกฏิ.
ร้อยแสนโกฏิปโกฏิชื่อว่า ๑ นหุต.
ร้อยแสนนหุตชื่อว่า ๑ นินนหุต.
นักคานวณที่ฉลาดสามารถนับได้เพียงเท่านี้
ขึ้นชื่อว่าการนับต่อจากนี้ไป เป็ นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
บรรดาการนับเหล่านั้น
ร้อยแสนนินนหุต เป็น ๑ อัพพุทะ.
๒๐ อัพพุทะเป็น ๑ นิรัพพุทะ.
ร้อยแสนนิรัพพุทะเหล่านั้น ชื่อว่า ๑ อหหะ.
จานวนเท่านี้ปีเป็นอายุของพกพรหมที่เหลืออยู่ในภพนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาอายุนั้น จึงได้ตรัสอย่างนี้.
พกพรหมได้สดับพระพุทธพจน์นั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสว่า
เราตถาคตเป็นผู้เห็นไม่มีที่สิ้นสุด สัพพัญญู ก้าวล่วงชาติชราและความโศกแล้ว
ขอพระองค์จงตรัสบอกการสมาทานพรต ศีลและวัตรจรณะของข้าพระองค์
แต่ก่อนว่าเป็ นอย่างไร ซึ่งข้าพระองค์ควรจะทราบ.
ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงนาเรื่องอดีตทั้งหลายมาตรัสบอกแก่พกพรหม
จึงได้ตรัสคาถา ๔ คาถาว่า :-
ท่านได้ช่วยมนุษย์จานวนมาก ผู้เดือดร้อนปางตาย ระหายน้าจัด
ให้ได้ดื่มน้าอันใดไว้ เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีลและจรณะเก่าของท่านอันนั้นได้
เหมือนนอนหลับฝันไปแล้วตื่นขึ้น ระลึกถึงความฝันได้ฉะนั้น.
ท่านได้ช่วยฝูงชนใดที่ถูกโจรจับเป็นเชลยนามา
ให้รอดพ้นได้ที่ริมฝั่งแม่น้าเอณิ เราตถาคตระลึกถึงพรต
ศีลและจรณะเก่าของท่านนั้นได้ เหมือนนอนหลับฝันไปแล้วตื่นขึ้น นึกถึงฝันได้
ฉะนั้น.
ท่านได้ทุ่มกาลังช่วยคนทั้งหลายผู้ไปเรือในกระแสแม่น้าคงคา
ให้พ้นจากพญานาคตัวร้ายกาจ อันใด
เราตถาคตระลึกถึงพรตศีลและจรณะเก่าของท่านนั้นได้
เหมือนนอนหลับแล้วตื่นขึ้น นึกถึงฝันได้ ฉะนั้น.
อนึ่ง เราตถาคตได้มีชื่อว่ากัปปะ เป็ นอันเตวาสิกของท่าน ได้รู้แล้วว่า
ท่านเป็นดาบสผู้มีปัญญาดี มีพรต อันใด เราตถาคตระลึกถึงพรต
ศีลและจรณะเก่าของท่านนั้นได้ เหมือนนอนหลับแล้วตื่นขึ้น ระลึกถึงฝันได้
ฉะนั้น.
5
ได้ยินว่า พกพรหมนั้นในกัปป
์ ๆ หนึ่ง เป็ นดาบส
อยู่ที่ทะเลทรายกันดารน้า ได้นาน้าดื่มมาให้คนจานวนมาก ที่เดินทางกันดาร.
อยู่มาวันหนึ่ง
พ่อค้าพวกหนึ่งเดินทางไปถึงทะเลทรายที่กันดารน้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม
คนทั้งหลายไม่สามารถกาหนดทิศทางได้ เดินทางไป ๗ วัน สิ้นฟืนสิ้นน้า
หมดอาหาร ถูกความอยากครอบงา คิดว่า บัดนี้ พวกเราไม่มีชีวิตแล้ว
พากันพักเกวียนเป็นวงรอบแล้ว
ต่างก็ปล่อยโคไปแล้วก็พากันนอนอยู่ใต้เกวียนของตน.
ครั้งนั้น ดาบสราลึกไปเห็นพ่อค้าเหล่านั้นแล้วคิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่
ขอคนทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด
จึงได้บันดาลให้กระแสน้าคงคาเกิดขึ้นเฉพาะหน้าของพวกพ่อค้าด้วยอานุภาพฤท
ธิ์ของตน และได้เนรมิตไพรสณฑ์แห่งหนึ่งไว้ในที่ไม่ไกล.
พวกมนุษย์ได้ดื่มน้าและอาบน้าให้โคทั้งหลายอิ่มหนาสาราญแล้ว
จึงพากันไปเกี่ยวหญ้า เก็บฟืนจากไพรสณฑ์
กาหนดทิศได้แล้วข้ามทางกันดารไปได้โดยปลอดภัย.
เล่ากันมาว่า ดาบสนั้น ในกาลต่อมาได้อาศัยบ้านชายแดนตาบลหนึ่ง
พักอยู่ที่ไพรสณฑ์แห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้า. ครั้นวันหนึ่ง
พวกโจรชาวเขาลงมาปล้นบ้านนั้น จับเอาคนจานวนมากให้ขึ้นไปบนเขา
วางคนสอดแนมไว้ที่ระหว่างทาง เข้าไปสู่ซอกเขาแล้วให้นั่งหุงต้มอาหาร.
ดาบสได้ยินเสียงร้องครวญครางของสัตว์มีโคและกระบือเป็นต้น
และของคนทั้งหลายมีเด็กชายและเด็กหญิงเป็นต้นคิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่
ขอเขาทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด แล้วจึงละอัตตภาพ
เป็นพระราชาแวดล้อมด้วยเสนามีองค์ ๔ ได้ให้ตีกลองศึกไป ณ ที่นั้น.
พวกคนสอดแนมเห็นดาบสนั้นแล้วได้บอกแก่พวกโจร. พวกโจรคิดว่า
ขึ้นชื่อว่าการทะเลาะกับพระราชาไม่สมควรแล้ว จึงพากันทิ้งเชลยไว้
ไม่กินอาหาร หนีไปแล้ว
ดาบสนาคนเหล่านั้นให้กลับไปอยู่บ้านของตนหมดทุกคน
ในกาลต่อมา ดาบสพักอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้าคงคา ครั้งนั้น
คนทั้งหลายพากันผูกเรือขนาน ๒-๓ ลาติดกัน
แล้วสร้างมณฑปดอกไม้ไว้ที่ยอดเรือขนาน นั่งกินนั่งดื่มอยู่ในเรือขนาน
แล่นไปที่ฝั่งสมุทร พวกเขาพากันเทสุราที่เหลือจากดื่ม
ข้าวปลาเนื้อและหมากพลูเป็นต้น
ที่เหลือจากที่กินและเหลือจากที่ขบเคี้ยวแล้วลงแม่น้าคงคานั่นเอง.
พญานาคชื่อว่าคังเคยยะโกรธว่า
คนพวกนี้โยนของที่เหลือกินลงเบื้องบนเรา หมายใจว่า
6
เราจักรวบคนเหล่านั้นให้จมลงในแม่น้าคงคาหมดทุกคน
แล้วเนรมิตอัตภาพใหญ่ประมาณเท่าเรือโกลนลาหนึ่ง แหวกน้าขึ้นมา
แผ่พังพานลอยน้าไปตรงหน้าคนเหล่านั้น. พวกเขาพอเห็นพญานาคเท่านั้น
ก็ถูกมรณภัยคุกคามส่งเสียงร้องลั่นขึ้นพร้อมกันทีเดียว.
ดาบสได้ยินเสียงคร่าครวญของพวกเขา ก็รู้ว่าพญานาคโกรธ คิดว่า
เมื่อเราเห็นอยู่ ขอคนทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด
แล้วได้รีบเนรมิตอัตภาพเป็นเพศครุฑบินไปด้วยอานุภาพของตน
โดยติดต่อกันโดยพลัน. พญานาคเห็นครุฑนั้นแล้ว
หวาดกลัวความตายจึงดาลงไปในน้า.
พวกมนุษย์ถึงความสวัสดีแล้ว จึงได้ไปกัน.
ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้อย่างไร ทรงแสดงไว้ว่า
ดูก่อนท้าวมหาพรหม ในอดีตกาล
ในเวลาท่านเป็ นเกสวดาบส เราตถาคตเป็นคนรับใช้ใกล้ชื่อว่ากัปปะ เมื่อท่านถูก
อามาตย์ชื่อนารทะ นามาป่าหิมพานต์ จากเมืองพาราณสี ได้ให้โรคสงบไป.
ลาดับนั้น นารทะอามาตย์มาเยี่ยมท่านครั้งที่ ๒ เห็นหายจากโรค
จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า :-
ท่านเกสีผู้มีโชค
ไยเล่าจึงละทิ้งจอมคนผู้ให้ความต้องการทุกอย่างสาเร็จได้
มายินดีในอาศรมของท่านกัปปะ.
ท่านได้กล่าวคานี่กะอามาตย์นารทะ นั่นนั้นว่า :-
ดูก่อนท่านนารทะ สิ่งที่ดีน่ารื่นรมย์ใจมีอยู่
ต้นไม้ทั้งหลายที่รื่นเริงใจก็ยังมีถ้อยคาที่เป็นสุภาษิตของกัสสป
ให้อาตมารื่นเริงใจได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงความที่โรคของท่านเกสีดาบสนี้
เป็นสิ่งที่พระองค์ผู้ทรงเป็ นอันเตวาสิกให้สงบได้ด้วยประการอย่างนี้แล้ว
จึงได้ตรัสอย่างนี้. ก็อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อจะให้มหาพรหมทั้งหมดกาหนดรู้กรรมที่พรหมนั้น
พกพรหมทาไว้ในมนุษยโลกนั่นเอง จึงตรัสคานี้ไว้.
พกพรหมนั้นระลึกถึงกรรมที่ตนได้ทาไว้
ตามพระดารัสของพระศาสดาได้แล้ว
เมื่อจะทาการสดุดีพระตถาคต จึงได้กล่าวคาถาสุดท้ายไว้ว่า :-
พระองค์ทรงทราบอายุของข้าพระองค์นั่นได้แน่นอน
แม้สิ่งอื่นพระองค์ก็ทรงทราบเพราะพระองค์ทรงเป็ นพระพุทธเจ้าแท้จริง
จริงอย่างนั้น พระรัศมีอันรุ่งโรจน์ของพระองค์นี้
จึงส่องพรหมโลกให้สว่างไสวอยู่.
7
พระศาสดา
เมื่อทรงให้พกพรหมรู้พระพุทธคุณของพระองค์ไปพลางทรงแสดงธรรมไปพลาง
จึงทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย ในที่สุดแห่งสัจธรรม
จิตของพระพรหมประมาณหมื่นองค์พ้นจากอาสวะทั้งหลายแล้ว เพราะไม่ยึดมั่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็ นที่พึ่งของพระพรหมทั้งหลายด้วยประการอ
ย่างนี้ ได้เสด็จจากพรหมโลกมาพระเชตวันวิหาร
แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยทานองที่ได้ทรงแสดงแล้ว
ในพรหมโลกนั้น แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า
เกสวดาบสในครั้งนั้น ได้แก่ พกพรหม ในบัดนี้
ส่วนกัปปมาณพได้แก่ เราตถาคต นั่นเอง ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาพกพรหมชาดกที่ ๑๐
-----------------------------------

More Related Content

Similar to 405 พกพรหมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

361 วัณณาโรหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
361 วัณณาโรหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...361 วัณณาโรหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
361 วัณณาโรหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
157 คุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
157 คุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx157 คุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
157 คุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
maruay songtanin
 
418 อัฏฐสัททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
418 อัฏฐสัททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...418 อัฏฐสัททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
418 อัฏฐสัททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
219 ครหิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
219 ครหิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx219 ครหิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
219 ครหิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
308 ชวสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
308 ชวสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx308 ชวสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
308 ชวสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
445 นิโครธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
445 นิโครธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx445 นิโครธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
445 นิโครธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 

Similar to 405 พกพรหมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

361 วัณณาโรหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
361 วัณณาโรหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...361 วัณณาโรหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
361 วัณณาโรหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
157 คุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
157 คุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx157 คุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
157 คุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
 
418 อัฏฐสัททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
418 อัฏฐสัททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...418 อัฏฐสัททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
418 อัฏฐสัททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
219 ครหิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
219 ครหิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx219 ครหิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
219 ครหิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
 
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
308 ชวสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
308 ชวสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx308 ชวสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
308 ชวสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
445 นิโครธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
445 นิโครธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx445 นิโครธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
445 นิโครธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 

More from maruay songtanin

ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

405 พกพรหมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 พกพรหมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๑๐. พกพรหมชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๐๕) ว่าด้วยพรตและศีลของพกพรหม (พกพรหมกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า) [๖๘] ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์ทั้ง ๗๒ คน ได้กระทาบุญไว้ มีอานาจ พ้นชาติและชรา การถึงความเป็ นพรหมนี้เป็นชาติสุดท้าย สาเร็จด้วยพระเวท ชนทั้งหลายมิใช่น้อยกล่าวนมัสการพวกข้าพระองค์ (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) [๖๙] ท้าวพกพรหม ท่านสาคัญอายุใดว่ายืนยาว ความจริงอายุนั้นน้อย ไม่ยืนยาวเลย เราตถาคตทราบอย่างชัดแจ้ง ถึงอายุ ๑๐๐,๐๐๐ นิรัพพุทะของท่าน (พกพรหมกราบทูลว่า) [๗๐] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เราตถาคตเป็นผู้เห็นไม่มีที่สิ้นสุด พ้นชาติ ชรา และความโศกเสียได้ พรตและศีลครั้งก่อนของข้าพระองค์เป็ นเช่นไร ขอพระองค์จงตรัสบอกพรตและศีล ที่ข้าพระองค์ควรจะรู้แก่ข้าพระองค์ (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) [๗๑] ท่านได้ช่วยให้มนุษย์เป็นจานวนมากที่มีความกระหาย ถูกความร้อนแผดเผาให้ได้ดื่มน้า นั่นเป็นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา (เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา หมายถึงจาความฝันได้) [๗๒] การที่ท่านได้ปล่อยหมู่ชนซึ่งถูกจับที่ฝั่งแม่น้าเอณินาไปเป็ นเชลย นั่นเป็ นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา [๗๓] ท่านใช้กาลังเข้าข่ม ได้ปลดปล่อยเรือที่พญานาคดุร้าย ยึดไว้ที่กระแสแม่น้าคงคาเพราะต้องการจะทาลายมนุษย์ นั่นเป็ นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา [๗๔] อนึ่ง เราตถาคตได้เคยเป็ นศิษย์ของท่านชื่อว่ากัปปะ สาคัญท่านว่ามีปัญญา ประกอบด้วยวัตรปฏิบัติ นั่นเป็ นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา (พกพรหมกล่าวสดุดีพระผู้มีพระภาคว่า)
  • 2. 2 [๗๕] อายุของข้าพระองค์นี่ พระองค์ทรงทราบชัดแน่นอน ทั้งอย่างอื่นก็ยังทรงทราบด้วย เพราะพระองค์ทรงเป็ นพุทธะอย่างแท้จริง เพราะพระองค์ทรงเป็นพุทธะนั่นแหละจึงทรงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ทรงทาพรหมโลกให้สว่างไสวอยู่ พกพรหมชาดกที่ ๑๐ จบ กุกกุวรรคที่ ๑ จบ ------------------------------ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา พกพรหมชาดก ว่าด้วย ศีลและพรตของพกพรหม พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพกพรหมแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้. ความพิสดารว่า ท่านพกพรหมเกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้ว่า สิ่งนี้เที่ยง ยั่งยืน สืบเนื่องๆ กันไป ไม่มีการเคลื่อนธรรมดา สิ่งอื่นนอกจากนี้ที่ชื่อว่าพระนิพพานเป็ นที่ออกไปของสัตวโลกไม่มี ได้ยินว่า พระพรหมองค์นี้เกิดภายหลัง เมื่อก่อนบาเพ็ญฌานมาแล้ว จึงมาเกิดในชั้นเวหัปผลา. ท่านให้อายุประมาณ ๕๐๐ กัปป์ สิ้นไปในชั้นเวหัปผลานั้นแล้ว จึงเกิดในชั้นสุภกิณหาสิ้นไป ๖๔ กัปป์ แล้ว จุติจากชั้นนั้นจึงไปเกิดในชั้นอาภัสรา มีอายุ ๘ กัปป์ ในชั้นอาภัสรานั้น ท่านได้เกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้ เพราะท่านระลึกถึงการจุติจากพรหมโลกชั้นสูงไม่ได้เลย ระลึกถึงการเกิดขึ้นในพรหมโลกชั้นนั้นก็ไม่ได้. เมื่อไม่เห็นทั้ง ๒ อย่าง ท่านจึงยึดถือความเห็นอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของพกพรหมนั้น ด้วยเจโตปริยญาณแล้ว จึงทรงหายพระองค์ไปจากพระเชตวันมหาวิหาร ปรากฏพระองค์บนพรหมโลก อุปมาเหมือนหนึ่งคนมีกาลังแข็งแรงเหยียดแขนออกไปแล้วคู้แขนที่เหยียดออกไ ปแล้วเข้ามาก็ปานกัน ครั้งนั้น พระพรหมเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงทูลว่า มาเถิดท่านสหาย ท่านมาดีแล้วท่านสหาย นานนักท่านสหาย ท่านจึงจะได้ทาปริยายนี้ คือการมาที่นี้ เพราะสถานที่นี้เป็ นสถานที่เที่ยง เป็นสถานที่ยั่งยืน เป็นสถานที่สืบเนื่องกันไป เป็นสถานที่ไม่มีการเคลื่อนเป็ นธรรมดา เป็นสถานที่มั่นคง ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แต่ว่าสถานที่อื่นที่ชื่อว่าเป็นที่ออกไปจากทุกข์ยิ่งกว่านี้ ไม่มี. เมื่อพกพรหมทูลอย่างนี้แล้ว
  • 3. 3 พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคานี้กะพกพรหมว่า พกพรหมผู้เจริญตกอยู่ในอานาจของอวิชชาแล้วหนอ พกพรหมผู้เจริญตกอยู่ในอานาจของอวิชชาแล้วหนอ เพราะได้พูดถึงสิ่งที่ไม่เที่ยงนั่นแหละว่าเป็นของเที่ยง และได้พูดถึงธรรมที่สงบอย่างอื่นว่า เป็นธรรมเป็นที่ออกไปจากทุกข์อันยิ่งยวดไม่มีธรรมอื่นที่เป็นธรรมเป็นที่ออกไปจ ากทุกข์ยิ่งกว่า พระพรหมได้ฟังคานั้น แล้วคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า นี่จะอนุวัตรคล้อยตามเรา ด้วยประการอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ถูกแล้ว แต่เกรงกลัวการอนุโยคย้อนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทานองเดียวกับโจรผู้ด้อยกาลังได้รับการตีเล็กน้อย ก็บอกเพื่อนฝูงทุกคนว่า ฉันคนเดียวหรือเป็ นโจร? คนโน้นก็เป็นโจร คนโน้นก็เป็ นโจร เมื่อจะบอกเพื่อนฝูงของตนแม้คนอื่นๆ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :- ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์มี ๗๒ คน ล้วนได้ทาบุญมาแล้ว มีอานาจแผ่ไปล่วงความเกิดและความแก่ไปได้ การเกิดเป็นพรหมนี้ เป็นอันติมชาติ ชาติสุดท้าย จบไตรเพทแล้ว คนจานวนมากเอ่ยถึงพวกข้าพระองค์. ข้าแต่พระโคดม ไม่ใช่เพียงแต่ข้าพระองค์คนเดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว พวกข้าพระองค์ ๗๒ คน ในพรหมโลกนี้ เป็นผู้ล้วนได้ทาบุญมาแล้ว เป็นผู้แผ่อานาจไป โดยการแผ่อานาจของตนไปเหนือคนเหล่าอื่น และได้ล่วงเลยความเกิดและความแก่ไปแล้ว การเกิดเป็นพรหมนี้ชื่อว่าถึงพระเวทแล้ว เพราะพวกข้าพระองค์ถึงแล้วด้วยพระเวททั้งหลาย ข้าแต่พระโคดม การเกิดเป็นพรหมนี้เป็ นการเกิดครั้งสุดท้าย คือการถึงส่วนหลังที่สุด ได้แก่การเข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐที่สุด. พระศาสดา ครั้นทรงสดับถ้อยคาของพกพรหมนั้นแล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า:- ดูก่อนพรหม ความจริงอายุของท่านนี้น้อยไม่มากเลย แต่ท่านสาคัญว่าอายุของท่านมาก จานวนแสนนิรัพพุทะ ดูก่อนพรหม เราตถาคตรู้อายุของท่าน. การนับกล่าวคือนิรัพพุทะ มีหลายแสน. อธิบายว่า สิบสิบปีเป็นร้อย สิบร้อยเป็นพัน. ร้อยพันเป็นแสน. ร้อยแสนชื่อว่าโกฏิ.
  • 4. 4 ร้อยแสนโกฏิชื่อว่าปโกฏิ. ร้อยแสนปโกฏิชื่อว่าโกฏิปโกฏิ. ร้อยแสนโกฏิปโกฏิชื่อว่า ๑ นหุต. ร้อยแสนนหุตชื่อว่า ๑ นินนหุต. นักคานวณที่ฉลาดสามารถนับได้เพียงเท่านี้ ขึ้นชื่อว่าการนับต่อจากนี้ไป เป็ นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บรรดาการนับเหล่านั้น ร้อยแสนนินนหุต เป็น ๑ อัพพุทะ. ๒๐ อัพพุทะเป็น ๑ นิรัพพุทะ. ร้อยแสนนิรัพพุทะเหล่านั้น ชื่อว่า ๑ อหหะ. จานวนเท่านี้ปีเป็นอายุของพกพรหมที่เหลืออยู่ในภพนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาอายุนั้น จึงได้ตรัสอย่างนี้. พกพรหมได้สดับพระพุทธพจน์นั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :- ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสว่า เราตถาคตเป็นผู้เห็นไม่มีที่สิ้นสุด สัพพัญญู ก้าวล่วงชาติชราและความโศกแล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอกการสมาทานพรต ศีลและวัตรจรณะของข้าพระองค์ แต่ก่อนว่าเป็ นอย่างไร ซึ่งข้าพระองค์ควรจะทราบ. ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงนาเรื่องอดีตทั้งหลายมาตรัสบอกแก่พกพรหม จึงได้ตรัสคาถา ๔ คาถาว่า :- ท่านได้ช่วยมนุษย์จานวนมาก ผู้เดือดร้อนปางตาย ระหายน้าจัด ให้ได้ดื่มน้าอันใดไว้ เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีลและจรณะเก่าของท่านอันนั้นได้ เหมือนนอนหลับฝันไปแล้วตื่นขึ้น ระลึกถึงความฝันได้ฉะนั้น. ท่านได้ช่วยฝูงชนใดที่ถูกโจรจับเป็นเชลยนามา ให้รอดพ้นได้ที่ริมฝั่งแม่น้าเอณิ เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีลและจรณะเก่าของท่านนั้นได้ เหมือนนอนหลับฝันไปแล้วตื่นขึ้น นึกถึงฝันได้ ฉะนั้น. ท่านได้ทุ่มกาลังช่วยคนทั้งหลายผู้ไปเรือในกระแสแม่น้าคงคา ให้พ้นจากพญานาคตัวร้ายกาจ อันใด เราตถาคตระลึกถึงพรตศีลและจรณะเก่าของท่านนั้นได้ เหมือนนอนหลับแล้วตื่นขึ้น นึกถึงฝันได้ ฉะนั้น. อนึ่ง เราตถาคตได้มีชื่อว่ากัปปะ เป็ นอันเตวาสิกของท่าน ได้รู้แล้วว่า ท่านเป็นดาบสผู้มีปัญญาดี มีพรต อันใด เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีลและจรณะเก่าของท่านนั้นได้ เหมือนนอนหลับแล้วตื่นขึ้น ระลึกถึงฝันได้ ฉะนั้น.
  • 5. 5 ได้ยินว่า พกพรหมนั้นในกัปป ์ ๆ หนึ่ง เป็ นดาบส อยู่ที่ทะเลทรายกันดารน้า ได้นาน้าดื่มมาให้คนจานวนมาก ที่เดินทางกันดาร. อยู่มาวันหนึ่ง พ่อค้าพวกหนึ่งเดินทางไปถึงทะเลทรายที่กันดารน้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม คนทั้งหลายไม่สามารถกาหนดทิศทางได้ เดินทางไป ๗ วัน สิ้นฟืนสิ้นน้า หมดอาหาร ถูกความอยากครอบงา คิดว่า บัดนี้ พวกเราไม่มีชีวิตแล้ว พากันพักเกวียนเป็นวงรอบแล้ว ต่างก็ปล่อยโคไปแล้วก็พากันนอนอยู่ใต้เกวียนของตน. ครั้งนั้น ดาบสราลึกไปเห็นพ่อค้าเหล่านั้นแล้วคิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่ ขอคนทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด จึงได้บันดาลให้กระแสน้าคงคาเกิดขึ้นเฉพาะหน้าของพวกพ่อค้าด้วยอานุภาพฤท ธิ์ของตน และได้เนรมิตไพรสณฑ์แห่งหนึ่งไว้ในที่ไม่ไกล. พวกมนุษย์ได้ดื่มน้าและอาบน้าให้โคทั้งหลายอิ่มหนาสาราญแล้ว จึงพากันไปเกี่ยวหญ้า เก็บฟืนจากไพรสณฑ์ กาหนดทิศได้แล้วข้ามทางกันดารไปได้โดยปลอดภัย. เล่ากันมาว่า ดาบสนั้น ในกาลต่อมาได้อาศัยบ้านชายแดนตาบลหนึ่ง พักอยู่ที่ไพรสณฑ์แห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้า. ครั้นวันหนึ่ง พวกโจรชาวเขาลงมาปล้นบ้านนั้น จับเอาคนจานวนมากให้ขึ้นไปบนเขา วางคนสอดแนมไว้ที่ระหว่างทาง เข้าไปสู่ซอกเขาแล้วให้นั่งหุงต้มอาหาร. ดาบสได้ยินเสียงร้องครวญครางของสัตว์มีโคและกระบือเป็นต้น และของคนทั้งหลายมีเด็กชายและเด็กหญิงเป็นต้นคิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่ ขอเขาทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด แล้วจึงละอัตตภาพ เป็นพระราชาแวดล้อมด้วยเสนามีองค์ ๔ ได้ให้ตีกลองศึกไป ณ ที่นั้น. พวกคนสอดแนมเห็นดาบสนั้นแล้วได้บอกแก่พวกโจร. พวกโจรคิดว่า ขึ้นชื่อว่าการทะเลาะกับพระราชาไม่สมควรแล้ว จึงพากันทิ้งเชลยไว้ ไม่กินอาหาร หนีไปแล้ว ดาบสนาคนเหล่านั้นให้กลับไปอยู่บ้านของตนหมดทุกคน ในกาลต่อมา ดาบสพักอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้าคงคา ครั้งนั้น คนทั้งหลายพากันผูกเรือขนาน ๒-๓ ลาติดกัน แล้วสร้างมณฑปดอกไม้ไว้ที่ยอดเรือขนาน นั่งกินนั่งดื่มอยู่ในเรือขนาน แล่นไปที่ฝั่งสมุทร พวกเขาพากันเทสุราที่เหลือจากดื่ม ข้าวปลาเนื้อและหมากพลูเป็นต้น ที่เหลือจากที่กินและเหลือจากที่ขบเคี้ยวแล้วลงแม่น้าคงคานั่นเอง. พญานาคชื่อว่าคังเคยยะโกรธว่า คนพวกนี้โยนของที่เหลือกินลงเบื้องบนเรา หมายใจว่า
  • 6. 6 เราจักรวบคนเหล่านั้นให้จมลงในแม่น้าคงคาหมดทุกคน แล้วเนรมิตอัตภาพใหญ่ประมาณเท่าเรือโกลนลาหนึ่ง แหวกน้าขึ้นมา แผ่พังพานลอยน้าไปตรงหน้าคนเหล่านั้น. พวกเขาพอเห็นพญานาคเท่านั้น ก็ถูกมรณภัยคุกคามส่งเสียงร้องลั่นขึ้นพร้อมกันทีเดียว. ดาบสได้ยินเสียงคร่าครวญของพวกเขา ก็รู้ว่าพญานาคโกรธ คิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่ ขอคนทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด แล้วได้รีบเนรมิตอัตภาพเป็นเพศครุฑบินไปด้วยอานุภาพของตน โดยติดต่อกันโดยพลัน. พญานาคเห็นครุฑนั้นแล้ว หวาดกลัวความตายจึงดาลงไปในน้า. พวกมนุษย์ถึงความสวัสดีแล้ว จึงได้ไปกัน. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้อย่างไร ทรงแสดงไว้ว่า ดูก่อนท้าวมหาพรหม ในอดีตกาล ในเวลาท่านเป็ นเกสวดาบส เราตถาคตเป็นคนรับใช้ใกล้ชื่อว่ากัปปะ เมื่อท่านถูก อามาตย์ชื่อนารทะ นามาป่าหิมพานต์ จากเมืองพาราณสี ได้ให้โรคสงบไป. ลาดับนั้น นารทะอามาตย์มาเยี่ยมท่านครั้งที่ ๒ เห็นหายจากโรค จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า :- ท่านเกสีผู้มีโชค ไยเล่าจึงละทิ้งจอมคนผู้ให้ความต้องการทุกอย่างสาเร็จได้ มายินดีในอาศรมของท่านกัปปะ. ท่านได้กล่าวคานี่กะอามาตย์นารทะ นั่นนั้นว่า :- ดูก่อนท่านนารทะ สิ่งที่ดีน่ารื่นรมย์ใจมีอยู่ ต้นไม้ทั้งหลายที่รื่นเริงใจก็ยังมีถ้อยคาที่เป็นสุภาษิตของกัสสป ให้อาตมารื่นเริงใจได้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงความที่โรคของท่านเกสีดาบสนี้ เป็นสิ่งที่พระองค์ผู้ทรงเป็ นอันเตวาสิกให้สงบได้ด้วยประการอย่างนี้แล้ว จึงได้ตรัสอย่างนี้. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อจะให้มหาพรหมทั้งหมดกาหนดรู้กรรมที่พรหมนั้น พกพรหมทาไว้ในมนุษยโลกนั่นเอง จึงตรัสคานี้ไว้. พกพรหมนั้นระลึกถึงกรรมที่ตนได้ทาไว้ ตามพระดารัสของพระศาสดาได้แล้ว เมื่อจะทาการสดุดีพระตถาคต จึงได้กล่าวคาถาสุดท้ายไว้ว่า :- พระองค์ทรงทราบอายุของข้าพระองค์นั่นได้แน่นอน แม้สิ่งอื่นพระองค์ก็ทรงทราบเพราะพระองค์ทรงเป็ นพระพุทธเจ้าแท้จริง จริงอย่างนั้น พระรัศมีอันรุ่งโรจน์ของพระองค์นี้ จึงส่องพรหมโลกให้สว่างไสวอยู่.
  • 7. 7 พระศาสดา เมื่อทรงให้พกพรหมรู้พระพุทธคุณของพระองค์ไปพลางทรงแสดงธรรมไปพลาง จึงทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย ในที่สุดแห่งสัจธรรม จิตของพระพรหมประมาณหมื่นองค์พ้นจากอาสวะทั้งหลายแล้ว เพราะไม่ยึดมั่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็ นที่พึ่งของพระพรหมทั้งหลายด้วยประการอ ย่างนี้ ได้เสด็จจากพรหมโลกมาพระเชตวันวิหาร แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยทานองที่ได้ทรงแสดงแล้ว ในพรหมโลกนั้น แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า เกสวดาบสในครั้งนั้น ได้แก่ พกพรหม ในบัดนี้ ส่วนกัปปมาณพได้แก่ เราตถาคต นั่นเอง ฉะนี้แล. จบ อรรถกถาพกพรหมชาดกที่ ๑๐ -----------------------------------