SlideShare a Scribd company logo
1
คันธตินทุกชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๐. คันธตินทุกชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๒๐)
ว่าด้วยเทวดาชื่อคันธตินทุกะ
(พระโพธิสัตว์ครั้งเกิดเป็ นรุกขเทวดาชื่อคันธตินทุกะ
แสดงธรรมถวายพระราชาว่า)
[๓๓๒] ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย คนผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย
คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว
[๓๓๓] ความประมาทเกิดจากความมัวเมา
ความเสื่อมเกิดจากความประมาท และเพราะความเสื่อมจึงเกิดการประทุษร้าย
ท่านพระรตูสภะ ขอพระองค์อย่าได้ประมาทเลย
[๓๓๔] แท้จริง กษัตริย์ทั้งหลายผู้ประมาทจานวนมาก
ย่อมเสื่อมทั้งประโยชน์ทั้งแคว้น แม้นายบ้านและลูกบ้านก็เสื่อม
แม้บรรพชิตและคฤหัสถ์ก็เสื่อม
[๓๓๕] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงผดุงรัฐให้เจริญ
โภคะทั้งปวงในแคว้นของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้วย่อมพินาศ ข้อนั้นท่านกล่าวว่า
เป็นความทุกข์ของพระราชา
[๓๓๖] ขอเดชะพระมหาราช นั่นหาใช่ธรรมไม่
พระองค์ทรงประมาทเกินขอบเขต พวกโจรจึงปล้นทาลายชนบทที่มั่งคั่งสมบูรณ์
[๓๓๗] พระราชบุตรผู้จะสืบสันตติวงศ์จักไม่มี ทรัพย์สินเงินทองจักไม่มี
พระนครก็จักไม่มี เมื่อแคว้นถูกปล้นสะดม พระองค์ก็จะเสื่อมจากโภคะทั้งปวง
[๓๓๘] พระญาติ มิตร
และพระสหายย่อมไม่นับถือพระองค์ผู้เป็ นกษัตริย์ซึ่งเสื่อมจากโภคะทั้งปวงในทา
งพระปรีชาสามารถ
[๓๓๙] พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้าซึ่งอาศัยพระองค์เลี้ยงชีพ
ย่อมไม่นับถือพระองค์ว่า เป็นพระราชาผู้ควรนับถือ
[๓๔๐] สิริย่อมละคนโง่ผู้ไม่จัดแจงการงาน มีความคิดเลวทราม
มีปัญญาทรามไปเหมือนงูลอกคราบเก่าทิ้ง
[๓๔๑] กษัตริย์ผู้ทรงจัดแจงการงานดี ทรงขยันตลอดกาล ไม่เกียจคร้าน
โภคะทั้งปวงย่อมเจริญโดยยิ่ง เหมือนฝูงโคที่มีโคอุสภะเป็นจ่าฝูง
[๓๔๒] ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์ทรงเสด็จไป
สดับตรับฟังเหตุการณ์ทั้งในแคว้นและชนบท ครั้นได้ทอดพระเนตรและสดับแล้ว
พึงปฏิบัติไปตามนั้น
2
(ชายแก่ชาวบ้านถูกหนามตาเท้าที่ประตูเรือน จึงนั่งกระโหย่งบ่งหนาม
พลางด่าพระราชาว่า)
[๓๔๓] ขอให้พระเจ้าปัญจาละจงถูกลูกศรเสียบแทงในสงคราม
เสวยทุกขเวทนาเหมือนตัวข้าถูกหนามตาเสวยทุกขเวทนาในวันนี้
(พอราชปุโรหิตได้ยินคาด่าของชายแก่ จึงถามว่า)
[๓๔๔] ลุงแก่แล้ว หูตามืดมัว มองเห็นไม่ชัด หนามจึงตา ในข้อนี้
พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า
(ชายแก่ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๔๕] ท่านพราหมณ์ ในข้อที่ข้าพเจ้าถูกหนามตา
พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอย่างมาก เพราะพระองค์มิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๔๖] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
[๓๔๗] เมื่อภัยเช่นนี้เกิดขึ้น พราหมณ์
พวกมาณพที่กลัวภัยจึงนาหนามในป่ามาแล้วสร้างที่หลบเร้น
(หญิงชราผู้เก็บผักหักฟืนจากป่ามาเลี้ยงลูกสาวขึ้นพุ่มไม้
กาลังเก็บผักอยู่ พลัดตกลงมา เมื่อจะด่าพระราชาโดยแช่งให้ตาย จึงกล่าวว่า)
[๓๔๘] ในแคว้นของพระเจ้าพรหมทัต หญิงสาวหาผัวไม่ได้ แก่ลงไป
เมื่อไรหนอ พระเจ้าพรหมทัตจักสวรรคตเสียที
(เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านนาง จึงกล่าวว่า)
[๓๔๙] แม่หญิงชั่วช้า ไม่เข้าใจเหตุผล เธอนะพูดไม่ดีเลย
พระราชาเคยหาผัวให้พวกหญิงสาวที่ไหนกัน
(หญิงชราได้ยินดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๕๐] ท่านพราหมณ์ ไม่ใช่ว่าข้าพเจ้าพูดไม่ดี ข้าพเจ้าเข้าใจเหตุผล
เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๕๑] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
เมื่อความเป็นอยู่ลาบาก ภรรยาก็เลี้ยงได้ยาก ที่ไหนหญิงสาวจะมีสามีได้เล่า
(เมื่อชาวนากาลังไถนา โคชื่อสาลิยะถูกผาลบาดล้มลง
เขาเมื่อจะด่าพระราชาจึงกล่าวว่า)
[๓๕๒] ขอให้พระเจ้าปัญจาละถูกหอกแทงล้มนอนกลิ้งในสงคราม
เหมือนโคพลิพัทท์สาลิยะผู้น่าสงสารถูกผาลบาดล้มนอนกลิ้งอยู่
(เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านชาวนานั้น จึงกล่าวว่า)
3
[๓๕๓] เจ้าคนชาติชั่ว เจ้านะโกรธพระเจ้าพรหมทัตอย่างไม่ถูกต้อง
เจ้าทาร้ายโคของตนเอง กลับมาสาปแช่งพระราชา
(ชาวนาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๕๔] ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าโกรธพระเจ้าพรหมทัตโดยธรรม
เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๕๕] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
[๓๕๖] แม่ครัวคงหุงใหม่แน่นอน จึงนาอาหารมาสาย
ข้าพเจ้ามัวแลดูคนนาอาหารมา โคสาลิยะจึงถูกผาลบาด
(คนรีดนมโคถูกแม่โคดีดล้มกลิ้งไปพร้อมกับนมสด เมื่อจะด่าพระราชา
จึงกล่าวว่า)
[๓๕๗] ขอพระเจ้าปัญจาละจงถูกฟันด้วยดาบเดือดร้อนอยู่ในสงคราม
เหมือนเราถูกแม่โคนมดีดจนน้านมของเรากลิ้งหกในวันนี้
(ราชปุโรหิตกล่าวว่า)
[๓๕๘] สัตว์เลี้ยงหลั่งน้านมทิ้งเอง เบียดเบียนคนเลี้ยงสัตว์เอง ในข้อนี้
พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า
ท่านผู้เจริญไม่น่าจะติเตียนพระองค์ท่านเลย
(เมื่อราชปุโรหิตกล่าวจบลง คนรีดนมได้กล่าวว่า)
[๓๕๙] ท่านพราหมณ์ พระเจ้าปัญจาละควรจะถูกติเตียน
เพราะพระเจ้าพรหมทัตไม่พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๖๐] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
[๓๖๑] แม่โคตัวดุร้าย ปราดเปรียว เมื่อก่อนพวกเรามิได้รีดนมมัน บัดนี้
พวกเราถูกเจ้าหน้าที่ต้องการน้านมรบกวน จึงต้องรีดนมมันในวันนี้
(พวกเด็กชาวบ้านเห็นแม่โคนมที่ลูกถูกฆ่าไม่ยอมกินหญ้ากินน้า
เพียรร่าร้องหาลูกอยู่ เมื่อจะพากันด่าพระราชา จึงกล่าวว่า)
[๓๖๒] ขอพระเจ้าปัญจาละจงพลัดพรากจากพระราชบุตร
คร่าครวญหม่นหมองเหมือนแม่โคผู้น่าสงสารตัวนี้
พลัดพรากจากลูกวิ่งพล่านคร่าครวญอยู่
(ลาดับนั้น ปุโรหิตกล่าวว่า)
[๓๖๓] สัตว์เลี้ยงของคนเลี้ยงสัตว์พึงวิ่งไปมาหรือร้องคร่าครวญ ในข้อนี้
พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า
(ลาดับนั้น พวกเด็กชาวบ้านกล่าวว่า)
4
[๓๖๔] ท่านพราหมณ์ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิด
เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๖๕] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
ลูกโคที่ยังดื่มนมจึงถูกฆ่าเพราะต้องการหนังทาฝักดาบ
(พระโพธิสัตว์บันดาลให้กบแช่งด่าพระราชาว่า)
[๓๖๖]
ขอพระเจ้าปัญจาละพร้อมทั้งพระโอรสจงถูกฆ่ากินในสนามรบเหมือนเราซึ่งเกิดใ
นป่าถูกกาบ้านฆ่ากินในวันนี้
(ราชปุโรหิตได้ฟังดังนั้น จึงสนทนากับกบว่า)
[๓๖๗] เจ้ากบ พระราชาทั้งหลายในมนุษยโลก
จะจัดการพิทักษ์รักษาเหล่าสัตว์ทั้งปวงหาได้ไม่
พระราชาจะจัดว่าเป็ นอธรรมจารีบุคคล
เพราะเหตุเพียงกากินสัตว์เช่นท่านหามิได้
(กบได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๓๖๘] ท่านเป็นพรหมจารีบุคคลผู้ไม่มีธรรม จึงกล่าวยกย่องกษัตริย์
เมื่อประชากรจานวนมากถูกปล้นอยู่ ท่านก็ยังบูชาพระราชาผู้เลอะเลือนอยู่ได้
[๓๖๙] ท่านพราหมณ์ ถ้าแคว้นนี้พึงมีพระราชาที่ดีไซร้ ก็จะมั่งคั่ง
เบ่งบาน ผ่องใส ฝูงกาก็จะได้กินก้อนข้าวที่ดีซึ่งเป็ นพลีกรรม
ไม่พึงกินสัตว์เช่นเราเลย
คันธตินทุกชาดกที่ ๑๐ จบ
--------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
ภัณฑุติณฑุกชาดก
ว่าด้วย พระราชาทรงออกสดับฟังข่าวชาวเมือง
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภราโชวาท ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
ราโชวาทมีพิสดารแล้วในหนหลัง.
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่าปัญจาละ ดารงอยู่ในอคติ
ทรงประมาทเสวยราชสมบัติโดยอธรรม อยู่ในอุตตรปัญจาลนคร แคว้นกปิละ.
ครั้งนั้น อามาตย์เป็นต้นของพระองค์ ก็เกิดเป็นคนอาธรรม์เสียทั้งหมด
ชาวแว่นแคว้นถูกบีบคั้นด้วยภาษีอากร ต้องพาลูกเมียเที่ยวหลบหนี
หลีกไปในป่า คล้ายฝูงมฤค. ในที่ที่เคยมีบ้านก็กลายเป็นที่มีบ้านร้าง.
กลางวันผู้คนไม่อาจอยู่บ้านเรือนได้ เพราะเกรงกลัวเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
5
พากันเอากิ่งหนามเป็ นต้นล้อมเรือนไว้ เมื่ออรุณขึ้นก็หลบเข้าป่าไป.
กลางวันเจ้าหน้าที่ก็ริบยื้อแย่ง กลางคืนพวกโจรก็ปล้นก็ชิง.
คราวนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดา
อยู่ที่ภัณฑุติณฑุกพฤกษ์ภายนอกพระนคร. ทุกๆ
ปีได้รับพลีกรรมมีราคาหนึ่งพันจากราชสานัก.
รุกขเทวดาคิดว่า พระราชานี้ทรงประมาท เสวยราชสมบัติ
สกลรัฐจักฉิบหาย
เว้นเราเสียแล้วไม่มีใครสามารถจะชักจูงให้พระราชาดารงพระองค์ในทางที่ถูกต้อ
งได้ อนึ่ง พระองค์ก็ทรงมีอุปการะแก่เรา บูชาด้วยพลีกรรมพันหนึ่งทุกปีมา
เราจักถวายโอวาทพระองค์ท่าน.
ในเวลากลางคืน รุกขเทวดาเข้าไปยังห้องพระบรรทมของพระราชา
ยืนอยู่ข้างพระเศียร เปล่งรัศมียืนอยู่บนอากาศ.
พระราชาทอดพระเนตรเห็นเทวดารุ่งเรืองอยู่ คล้ายดวงอาทิตย์อ่อนๆ
จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร มาที่นี่เพราะเหตุอะไร?
รุกขเทวดาได้ยินพระราชดารัสแล้วทูลว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า
ข้าพเจ้าคือภัณฑุติณฑุกเทพ คิดว่าจักถวายโอวาทแด่พระองค์ จึงมาเฝ้ า.
พระราชาตรัสถามว่า ท่านจักให้โอวาทอะไรหรือ?
เมื่อพระราชาตรัสถามอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงทูลว่า
ดูก่อนมหาราชเจ้า พระองค์เป็นผู้ประมาทเสวยราชสมบัติ เพราะฉะนั้น
แว่นแคว้นทั้งสิ้นของพระองค์จะพินาศเหมือนถูกกาจัดยื้อแย่ง
ธรรมดาพระราชาเมื่อเสวยราชสมบัติด้วยความประมาท
หาใช่เป็นเจ้าของแห่งแว่นแคว้นทั้งสิ้นไม่ ถึงความพินาศในปัจจุบันแล้ว
ในภพหน้าจักต้องเกิดในมหานรกอีก อนึ่ง เมื่อพระราชาถึงความประมาทแล้ว
แม้ชนในราชสานักนอกราชสานัก ย่อมจะพากันประมาท ด้วยเหตุนั้น
พระราชาไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง ดังนี้แล้ว
เมื่อจะเริ่มตั้งธรรมเทศนา จึงกล่าวคาถาความว่า
ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย คนประมาทเป็นเหมือนคนตายแล้ว.
เพราะมัวเมาจึงเกิดความประมาท เพราะประมาทจึงเกิดความเสื่อม
และเพราะความเสื่อมจึงเกิดโทษ ดูก่อนท่านผู้มีภาระครอบครองรัฐ
อย่าประมาทเลย.
เพราะกษัตริย์เป็นอันมาก หากมีความประมาท
ต้องเสื่อมประโยชน์ของแว่นแคว้น เสื่อมทั้งแว่นแคว้น อนึ่ง
ชาวบ้านประมาทก็เสื่อมจากบ้าน บรรพชิตประมาทก็เสื่อมจากอนาคาริยวิสัย.
ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นมิ่งขวัญของรัฐ
6
โภคสมบัติทุกอย่างในแว่นแคว้นของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้ว ย่อมพินาศหมด
ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา.
ดูก่อนพระมหาราชเจ้า
ความประมาทนี้ไม่เป็นธรรมของโบราณกษัตริย์
โจรทั้งหลายย่อมกาจัดชนบทอันมั่งคั่งไพบูลย์ของพระราชาผู้ประมาทเกินขอบเข
ต.
ราชโอรสสืบสันตติวงศ์ของพระราชานั้นจักไม่มี
เงินทองทรัพย์สินก็จักไม่มีเหมือนกัน เมื่อแว่นแคว้นถูกปล้น
พระราชาผู้ประมาทย่อมเสื่อมจากโภคะทั้งปวง.
ญาติมิตรและสหายย่อมไม่นับถือขัตติยราชผู้เสื่อมจากสรรพโภคสมบั
ติ ในความคิดอ่าน.
พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ผู้พึ่งพระโพธิสมภารเป็ นอยู่
ย่อมไม่นับถือพระราชานั้นในความคิดอ่าน.
ศรีคือมิ่งขวัญ ย่อมละพระราชาผู้ไม่จัดแจงการงาน โง่เขลา
มีความคิดอ่านเลวทราม ไร้ปัญญา เหมือนงูลอกคราบอันคร่าคร่า ฉะนั้น.
พระราชาผู้ทรงจัดแจงการงานดี หมั่นขยันตามกาล ไม่เกียจคร้าน
โภคสมบัติทั้งปวงย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนฝูงโคที่มีโคผู้ ฉะนั้น.
ดูก่อนมหาราชเจ้า
พระองค์จงเสด็จเที่ยวฟังเหตุการณ์ในแว่นแคว้นและในชนบท
ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นและได้ทรงสดับแล้ว แต่นั้นก็ปฏิบัติสิ่งนั้นๆ เถิด.
พระมหาโพธิสัตว์ถวายโอวาทพระราชาด้วยคาถา ๑๑ คาถาด้วยประก
ารฉะนี้แล้ว ทูลว่า พระองค์จงรีบไปสอดส่องอย่าชักช้า
อย่าให้แว่นแคว้นฉิบหายเสียเลย ดังนี้แล้ว กลับไปยังสถานที่อยู่ของตน.
ฝ่ายพระราชาทรงสดับถ้อยคาของเทวดาแล้วสลดพระทัย
รุ่งขึ้นโปรดให้อามาตย์ดูแลราชสมบัติแล้วพร้อมด้วยราชปุโรหิต
เสด็จออกจากพระนครทางพระทวารด้านทิศปราจีน เสด็จพระราชดาเนินไป
สิ้นทางประมาณหนึ่งโยชน์
ณ สถานที่นั้น
ชายแก่ชาวบ้านผู้หนึ่งนากิ่งหนามมาจากดงล้อมกั้นปิดประตูเรือนไว้
พาบุตรภรรยาเข้าป่าไป เวลาเย็นเมื่อพวกราชบุตรหลีกไปแล้วก็กลับมาเรือนตน
ถูกหนามยอกเท้าที่ประตูเรือน จึงนั่งกระโหย่งบ่งหนาม
พลางด่าพระราชา ด้วยคาถานี้ความว่า
ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชจงถูกลูกศรเสียบในสงคราม เสวยทุกขเวทนา
เหมือนเราถูกหนามแทงแล้ว เสวยทุกขเวทนาอยู่ในวันนี้.
ก็คาด่านั้นได้เป็ นไปด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์นั้นเอง
7
ควรทราบว่า ชายแก่นั้นถูกพระโพธิสัตว์ดลใจจึงด่า.
ในเวลานั้น พระราชากับราชปุโรหิตปลอมเพศยืนอยู่ใกล้ๆ
ชายแก่นั้นเอง.
พอราชปุโรหิตได้ยินคาของชายแก่ จึงกล่าวคาถาความว่า
ท่านเป็นคนแก่ มีจักษุมืดมัว มองเห็นอะไรไม่ถนัด หนามแทงท่านเอง
ในเรื่องนี้ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วย.
ชายชราได้ฟังดังนั้น ได้กล่าวคาถา ๓ คาถาความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราถูกหนามแทงในหนทางนี้
เป็นความผิดของพระเจ้าพรหมทัตมากมาย เพราะชาวชนบท
พระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์รักษา
ถูกพวกราชบุรุษกดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม.
กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกราชบุรุษกดขี่
ในแว่นแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย.
แน่ะพ่อคุณเมื่อภัยเช่นนี้เกิดขึ้น ประชาชนพากันอึดอัด เพราะกลัว
พากันหาไม้มีหนามในป่ามาทาที่ซุกซ่อน.
พระราชาทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสเรียกราชปุโรหิตมาตรัสสั่งว่า
ท่านอาจารย์ ชายชราพูดถูก เป็นความผิดของเราแท้ๆ มาเถิด
เราจักกลับไปเสวยราชสมบัติโดยธรรม.
เทวดาพระโพธิสัตว์สิงในร่างของราชปุโรหิตทูลว่า
ขอเดชะมหาราชเจ้า จงไปสอดแนมดูข้างหน้าต่อไปอีกก่อนเถิดพระเจ้าข้า.
พระราชากับปุโรหิตจากบ้านนั้นไปยังบ้านอื่น
ได้ยินเสียงของหญิงชราคนหนึ่งในระหว่างทาง. นัยว่าหญิงนั้นเป็ นหญิงเข็ญใจ
พิทักษ์รักษาบุตรสาวสองคนซึ่งเจริญวัยแล้ว ไม่ยอมให้ลูกสาวไปป่า
ตนเองเก็บผักหักฟืนมาจากป่า บารุงรักษาลูกสาวทั้งสอง.
วันนั้น นางขึ้นพุ่มไม้แห่งหนึ่ง กาลังเก็บผักอยู่พลัดตกลงมา
เมื่อจะด่าพระราชาโดยแช่งให้ตาย กล่าวคาถาความว่า
ในแคว้นของพระเจ้าพรหมทัต หญิงสาวหาผัวไม่ได้ไปจนแก่
เมื่อไรพระเจ้าพรหมทัตจักสวรรคตเสียที.
เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านนาง จึงกล่าวคาถาความว่า
เฮ้ย! หญิงชั่วไม่รู้จักเหตุผล แกพูดไม่ดีเลย
พระราชาเคยหาผัวให้นางกุมาริกา มีที่ไหนกัน.
หญิงชราได้ยินดังนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
พราหมณ์เอย เราไม่ได้พูดชั่วเลย เรารู้เหตุผล ชาวชนบท
พระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์รักษาราษฎรถูกกดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม.
กลางคืนถูกโจรปล้น
8
กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง
มีคนอาธรรม์มากมาย เมื่อการครองชีพลาบาก การเลี้ยงดูลูกเมียก็ลาบาก
หญิงสาวจักมีผัวได้ที่ไหน.
พระราชากับราชปุโรหิตฟังคาของหญิงชราแล้วคิดว่าแกพูดถูกต้อง
จึงพากันเดินทางต่อไปข้างหน้า ได้ยินเสียงของชาวนาคนหนึ่ง ได้ยินว่า
เมื่อชาวนานั้นกาลังไถนา โคชื่อสาลิยะ ถูกผาลแทงจึงล้มลง.
เมื่อชาวนาจะด่าพระราชา จึงกล่าวคาถาความว่า
ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชจงถูกหอกแทง ต้องนอนกลิ้งอยู่ในสงคราม
เหมือนโคสาลิยะถูกผาลแทง นอนอยู่ดังคนกาพร้า ฉะนั้น.
ลาดับนั้น เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านจึงกล่าวคาถาความว่า
เจ้าคนชาติชั่ว เจ้าโกรธพระเจ้าพรหมทัต โดยไม่เป็นธรรม
เจ้าทาร้ายโคของตนเอง ไฉนจึงมาสาปแช่งพระราชาเล่า.
ชาวนาได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา ๓ คาถาความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราโกรธพระเจ้าพรหมทัตโดยชอบธรรม
เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้ทรงพิทักษ์รักษา
ถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองกดขี่ ด้วยภาษีที่ไม่เป็นธรรม
กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กดขี่
ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย.
แม่ครัวคงหุงต้มใหม่อีกเป็นแน่ จึงนาข้าวมาส่งในเวลาสาย
เรามัวแลดูแม่ครัว มาส่งข้าวอยู่ โคสาลิยะจึงถูกผาลแทงเอา.
พระราชากับราชปุโรหิตเดินทางต่อไป แล้วพักอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง
รุ่งขึ้นเวลาเช้าตรู่ แม่โคนมโกงตัวหนึ่งเอาเท้าดีดคนรีดนมโค
ล้มไปพร้อมด้วยนมสด
เมื่อคนรีดนมโคจะด่าพระเจ้าพรหมทัต จึงกล่าวคาถาความว่า
ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชจงถูกฟันด้วยดาบในสงคราม เดือดร้อนอยู่
เหมือนเราถูกแม่โคนมถีบในวันนี้ จนนมสดของเขาหกไป ฉะนั้น.
ราชปุโรหิต ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า
การที่แม่โคถีบเจ้าให้บาดเจ็บ น้านมหกไปนั้น
เป็นความผิดอะไรของพระเจ้าพรหมทัต ท่านจึงติเตียนอยู่.
ครั้นพราหมณ์ปุโรหิตกล่าวคาถาจบ
คนรีดนมโคได้กล่าวคาถาอีก ๓ คาถาความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ พระเจ้าปัญจาละควรจะได้รับความติเตียน
เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์รักษา
ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ด้วยภาษีอันไม่เป็ นธรรม.
อนึ่ง เวลากลางคืนก็ถูกโจรปล้น
9
กลางวันก็ถูกกดขี่รีดภาษีอันไม่เป็ นธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง
มีคนอาธรรม์มากมาย.
แม่โคเปรียว ดุร้าย เมื่อก่อนพวกเรามิได้รีดนมมัน มาวันนี้
เราถูกพวกราชบุรุษผู้ต้องการน้านมรีดนาทาเล้น จึงต้องรีดนมมันอยู่เดี๋ยวนี้.
พระราชาและพระราชปุโรหิตคิดว่าเจ้านี่พูดถูก
จึงออกจากบ้านนั้นขึ้นสู่หนทางใหญ่ มุ่งหน้าต่อพระนครกลับไปในบ้านแห่งหนึ่ง
พวกนายอากรฆ่าลูกโคอ่อนตัวหนึ่ง เพื่อต้องการทาฝักดาบ
จึงยึดเอาหนังไป แม่โคนมที่ลูกถูกฆ่า เพราะความเศร้าถึงลูก ไม่กินหญ้าไม่ดื่มน้า
เที่ยวร่าร้องหาลูกอยู่
เด็กๆ ชาวบ้านเห็นดังนั้น เมื่อจะพากันด่าพระราชา
จึงกล่าวคาถาความว่า
ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชจงพลัดพรากจากโอรส วิ่งคร่าครวญ
เหมือนแม่โคกาพร้าพลัดพรากจากลูก วิ่งคร่าครวญอยู่ฉะนั้น.
ลาดับนั้น ปุโรหิตกล่าวคาถานอกนี้ความว่า
ในการที่แม่โคของคนเลี้ยงโค เที่ยววิ่งไปมาหรือร่าร้องอยู่นี้
เป็นความผิดอะไรของพระเจ้าพรหมทัตเล่า.
ลาดับนั้น เด็กชาวบ้านได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
ดูก่อนมหาพราหมณ์ ความผิดของพระเจ้าพรหมทัต มีแน่
เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์รักษา
ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม.
กลางคืนก็ถูกโจรปล้น
กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง
มีคนอาธรรม์มากมาย ลูกโคของพวกเรายังดื่มนมอยู่ ก็ต้องถูกฆ่าตาย
เพราะต้องการฝักดาบอย่างไรล่ะ.
พระราชาและราชปุโรหิตพูดว่า ดีละ พวกเจ้าพูดได้เหตุผล
แล้วหลีกไปเสีย
ต่อมาในระหว่างทาง ฝูงกากาลังเอาจะงอยปากจิกกินกบทั้งหลายอยู่ ณ
สระแห้งแห่งหนึ่ง เมื่อพระราชาและราชปุโรหิตมาถึงที่นั้น
พระโพธิสัตว์จึงบันดาลให้กบทั้งหลายแช่งด่าพระราชาด้วยอานุภาพข
องตน
(เป็นคาถา)ความว่า
ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชพร้อมด้วยพระราชโอรส
จงถูกประหารในสนามรบ ให้ฝูงการุมจิกกิน
เหมือนเราผู้เกิดในป่าถูกฝูงกาชาวบ้านจิกกินในวันนี้ฉะนั้น.
ราชปุโรหิตได้ยินดังนั้น เมื่อจะสนทนากับพวกกบ
10
จึงกล่าวคาถาความว่า
เฮ้ย! กบ พระราชาทั้งหลายในมนุษยโลก
จะทรงจัดการพิทักษ์รักษาสัตว์ทั่วไปไม่ได้อยู่เอง
พระราชามิใช่เป็นอธรรมจารีบุคคล
ด้วยเหตุที่ฝูงกากินสัตว์เป็นเช่นพวกเจ้าเท่านั้น.
อธิบายว่า กาทั้งหลายพึงเคี้ยวกินสัตว์มีชีวิตด้วยเหตุเพียงใด
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระราชาจะชื่อว่าไม่เป็นผู้ประพฤติธรรม หาได้ไม่
พระราชาจักสามารถเข้าไปยังป่าเที่ยวรักษาเจ้าได้อย่างไร?
กบได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
ท่านเป็ นพรหมจารี ชาติอาธรรม์หนอ จึงกล่าวยกย่องกษัตริย์อยู่ได้
เมื่อประชากรเป็นอันมากถูกปล้นอยู่ ท่านยังบูชาพระราชาผู้น่าตาหนิอย่างยิ่ง.
ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าแว่นแคว้นนี้ พึงมีพระราชาดี
ก็จะมั่งคั่งเบิกบานผ่องใส ฝูงกาก็จะได้กินก้อนข้าวที่ดีๆ เป็ นพลี
ไม่ต้องกินสัตว์เป็นเช่นพวกเรา.
การด่าในฐานะ แม้ทั้ง ๖
อย่างนี้มีได้ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์นั่นเอง.
พระราชากับราชปุโรหิตสดับคานั้นแล้ว ดาริว่า
ชนทั้งปวงที่สุดจนกระทั่งกบ ซึ่งเป็ นสัตว์เดียรัจฉานอยู่ในป่า พากันด่าเราผู้เดียว
แล้วเสด็จจากที่นั้นไปสู่พระนคร เสวยราชย์โดยธรรม
ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ สร้างบุญกุศลมีทานเป็นต้น.
พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแก่พระเจ้าโกศลแล้วตรั
สว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมดาพระราชาควรละการลุอานาจอคติ
เสวยราชสมบัติโดยธรรม
แล้วทรงประชุมชาดกว่า
ภัณฑุติณฑุกเทวดาในครั้งนั้น ได้มาเป็ น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาภัณฑุติณฑุกชาดกที่ ๑๐
จบอรรถกถาติงสตินิบาต
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
360 สุสันธีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
360 สุสันธีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....360 สุสันธีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
360 สุสันธีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
333 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
333 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx333 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
333 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
031 กุลาวกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
031 กุลาวกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx031 กุลาวกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
031 กุลาวกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
456 ชุณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
456 ชุณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx456 ชุณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
456 ชุณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
138 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
138 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx138 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
138 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
106 อุทัญจนีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
106 อุทัญจนีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...106 อุทัญจนีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
106 อุทัญจนีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
151 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
151 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....151 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
151 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

Similar to 520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
360 สุสันธีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
360 สุสันธีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....360 สุสันธีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
360 สุสันธีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
333 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
333 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx333 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
333 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
031 กุลาวกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
031 กุลาวกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx031 กุลาวกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
031 กุลาวกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
456 ชุณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
456 ชุณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx456 ชุณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
456 ชุณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
138 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
138 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx138 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
138 โคธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
106 อุทัญจนีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
106 อุทัญจนีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...106 อุทัญจนีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
106 อุทัญจนีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
 
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
151 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
151 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....151 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
151 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๑๐. คันธตินทุกชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๒๐) ว่าด้วยเทวดาชื่อคันธตินทุกะ (พระโพธิสัตว์ครั้งเกิดเป็ นรุกขเทวดาชื่อคันธตินทุกะ แสดงธรรมถวายพระราชาว่า) [๓๓๒] ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย คนผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว [๓๓๓] ความประมาทเกิดจากความมัวเมา ความเสื่อมเกิดจากความประมาท และเพราะความเสื่อมจึงเกิดการประทุษร้าย ท่านพระรตูสภะ ขอพระองค์อย่าได้ประมาทเลย [๓๓๔] แท้จริง กษัตริย์ทั้งหลายผู้ประมาทจานวนมาก ย่อมเสื่อมทั้งประโยชน์ทั้งแคว้น แม้นายบ้านและลูกบ้านก็เสื่อม แม้บรรพชิตและคฤหัสถ์ก็เสื่อม [๓๓๕] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงผดุงรัฐให้เจริญ โภคะทั้งปวงในแคว้นของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้วย่อมพินาศ ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา [๓๓๖] ขอเดชะพระมหาราช นั่นหาใช่ธรรมไม่ พระองค์ทรงประมาทเกินขอบเขต พวกโจรจึงปล้นทาลายชนบทที่มั่งคั่งสมบูรณ์ [๓๓๗] พระราชบุตรผู้จะสืบสันตติวงศ์จักไม่มี ทรัพย์สินเงินทองจักไม่มี พระนครก็จักไม่มี เมื่อแคว้นถูกปล้นสะดม พระองค์ก็จะเสื่อมจากโภคะทั้งปวง [๓๓๘] พระญาติ มิตร และพระสหายย่อมไม่นับถือพระองค์ผู้เป็ นกษัตริย์ซึ่งเสื่อมจากโภคะทั้งปวงในทา งพระปรีชาสามารถ [๓๓๙] พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้าซึ่งอาศัยพระองค์เลี้ยงชีพ ย่อมไม่นับถือพระองค์ว่า เป็นพระราชาผู้ควรนับถือ [๓๔๐] สิริย่อมละคนโง่ผู้ไม่จัดแจงการงาน มีความคิดเลวทราม มีปัญญาทรามไปเหมือนงูลอกคราบเก่าทิ้ง [๓๔๑] กษัตริย์ผู้ทรงจัดแจงการงานดี ทรงขยันตลอดกาล ไม่เกียจคร้าน โภคะทั้งปวงย่อมเจริญโดยยิ่ง เหมือนฝูงโคที่มีโคอุสภะเป็นจ่าฝูง [๓๔๒] ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์ทรงเสด็จไป สดับตรับฟังเหตุการณ์ทั้งในแคว้นและชนบท ครั้นได้ทอดพระเนตรและสดับแล้ว พึงปฏิบัติไปตามนั้น
  • 2. 2 (ชายแก่ชาวบ้านถูกหนามตาเท้าที่ประตูเรือน จึงนั่งกระโหย่งบ่งหนาม พลางด่าพระราชาว่า) [๓๔๓] ขอให้พระเจ้าปัญจาละจงถูกลูกศรเสียบแทงในสงคราม เสวยทุกขเวทนาเหมือนตัวข้าถูกหนามตาเสวยทุกขเวทนาในวันนี้ (พอราชปุโรหิตได้ยินคาด่าของชายแก่ จึงถามว่า) [๓๔๔] ลุงแก่แล้ว หูตามืดมัว มองเห็นไม่ชัด หนามจึงตา ในข้อนี้ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า (ชายแก่ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๓๔๕] ท่านพราหมณ์ ในข้อที่ข้าพเจ้าถูกหนามตา พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอย่างมาก เพราะพระองค์มิได้พิทักษ์คุ้มครอง ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม [๓๔๖] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่ ในแคว้นของพระราชาโกง คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก [๓๔๗] เมื่อภัยเช่นนี้เกิดขึ้น พราหมณ์ พวกมาณพที่กลัวภัยจึงนาหนามในป่ามาแล้วสร้างที่หลบเร้น (หญิงชราผู้เก็บผักหักฟืนจากป่ามาเลี้ยงลูกสาวขึ้นพุ่มไม้ กาลังเก็บผักอยู่ พลัดตกลงมา เมื่อจะด่าพระราชาโดยแช่งให้ตาย จึงกล่าวว่า) [๓๔๘] ในแคว้นของพระเจ้าพรหมทัต หญิงสาวหาผัวไม่ได้ แก่ลงไป เมื่อไรหนอ พระเจ้าพรหมทัตจักสวรรคตเสียที (เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านนาง จึงกล่าวว่า) [๓๔๙] แม่หญิงชั่วช้า ไม่เข้าใจเหตุผล เธอนะพูดไม่ดีเลย พระราชาเคยหาผัวให้พวกหญิงสาวที่ไหนกัน (หญิงชราได้ยินดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๓๕๐] ท่านพราหมณ์ ไม่ใช่ว่าข้าพเจ้าพูดไม่ดี ข้าพเจ้าเข้าใจเหตุผล เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม [๓๕๑] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่ ในแคว้นของพระราชาโกง คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก เมื่อความเป็นอยู่ลาบาก ภรรยาก็เลี้ยงได้ยาก ที่ไหนหญิงสาวจะมีสามีได้เล่า (เมื่อชาวนากาลังไถนา โคชื่อสาลิยะถูกผาลบาดล้มลง เขาเมื่อจะด่าพระราชาจึงกล่าวว่า) [๓๕๒] ขอให้พระเจ้าปัญจาละถูกหอกแทงล้มนอนกลิ้งในสงคราม เหมือนโคพลิพัทท์สาลิยะผู้น่าสงสารถูกผาลบาดล้มนอนกลิ้งอยู่ (เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านชาวนานั้น จึงกล่าวว่า)
  • 3. 3 [๓๕๓] เจ้าคนชาติชั่ว เจ้านะโกรธพระเจ้าพรหมทัตอย่างไม่ถูกต้อง เจ้าทาร้ายโคของตนเอง กลับมาสาปแช่งพระราชา (ชาวนาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๓๕๔] ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าโกรธพระเจ้าพรหมทัตโดยธรรม เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม [๓๕๕] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่ ในแคว้นของพระราชาโกง คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก [๓๕๖] แม่ครัวคงหุงใหม่แน่นอน จึงนาอาหารมาสาย ข้าพเจ้ามัวแลดูคนนาอาหารมา โคสาลิยะจึงถูกผาลบาด (คนรีดนมโคถูกแม่โคดีดล้มกลิ้งไปพร้อมกับนมสด เมื่อจะด่าพระราชา จึงกล่าวว่า) [๓๕๗] ขอพระเจ้าปัญจาละจงถูกฟันด้วยดาบเดือดร้อนอยู่ในสงคราม เหมือนเราถูกแม่โคนมดีดจนน้านมของเรากลิ้งหกในวันนี้ (ราชปุโรหิตกล่าวว่า) [๓๕๘] สัตว์เลี้ยงหลั่งน้านมทิ้งเอง เบียดเบียนคนเลี้ยงสัตว์เอง ในข้อนี้ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า ท่านผู้เจริญไม่น่าจะติเตียนพระองค์ท่านเลย (เมื่อราชปุโรหิตกล่าวจบลง คนรีดนมได้กล่าวว่า) [๓๕๙] ท่านพราหมณ์ พระเจ้าปัญจาละควรจะถูกติเตียน เพราะพระเจ้าพรหมทัตไม่พิทักษ์คุ้มครอง ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม [๓๖๐] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่ ในแคว้นของพระราชาโกง คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก [๓๖๑] แม่โคตัวดุร้าย ปราดเปรียว เมื่อก่อนพวกเรามิได้รีดนมมัน บัดนี้ พวกเราถูกเจ้าหน้าที่ต้องการน้านมรบกวน จึงต้องรีดนมมันในวันนี้ (พวกเด็กชาวบ้านเห็นแม่โคนมที่ลูกถูกฆ่าไม่ยอมกินหญ้ากินน้า เพียรร่าร้องหาลูกอยู่ เมื่อจะพากันด่าพระราชา จึงกล่าวว่า) [๓๖๒] ขอพระเจ้าปัญจาละจงพลัดพรากจากพระราชบุตร คร่าครวญหม่นหมองเหมือนแม่โคผู้น่าสงสารตัวนี้ พลัดพรากจากลูกวิ่งพล่านคร่าครวญอยู่ (ลาดับนั้น ปุโรหิตกล่าวว่า) [๓๖๓] สัตว์เลี้ยงของคนเลี้ยงสัตว์พึงวิ่งไปมาหรือร้องคร่าครวญ ในข้อนี้ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า (ลาดับนั้น พวกเด็กชาวบ้านกล่าวว่า)
  • 4. 4 [๓๖๔] ท่านพราหมณ์ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิด เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม [๓๖๕] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่ ในแคว้นของพระราชาโกง คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก ลูกโคที่ยังดื่มนมจึงถูกฆ่าเพราะต้องการหนังทาฝักดาบ (พระโพธิสัตว์บันดาลให้กบแช่งด่าพระราชาว่า) [๓๖๖] ขอพระเจ้าปัญจาละพร้อมทั้งพระโอรสจงถูกฆ่ากินในสนามรบเหมือนเราซึ่งเกิดใ นป่าถูกกาบ้านฆ่ากินในวันนี้ (ราชปุโรหิตได้ฟังดังนั้น จึงสนทนากับกบว่า) [๓๖๗] เจ้ากบ พระราชาทั้งหลายในมนุษยโลก จะจัดการพิทักษ์รักษาเหล่าสัตว์ทั้งปวงหาได้ไม่ พระราชาจะจัดว่าเป็ นอธรรมจารีบุคคล เพราะเหตุเพียงกากินสัตว์เช่นท่านหามิได้ (กบได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า) [๓๖๘] ท่านเป็นพรหมจารีบุคคลผู้ไม่มีธรรม จึงกล่าวยกย่องกษัตริย์ เมื่อประชากรจานวนมากถูกปล้นอยู่ ท่านก็ยังบูชาพระราชาผู้เลอะเลือนอยู่ได้ [๓๖๙] ท่านพราหมณ์ ถ้าแคว้นนี้พึงมีพระราชาที่ดีไซร้ ก็จะมั่งคั่ง เบ่งบาน ผ่องใส ฝูงกาก็จะได้กินก้อนข้าวที่ดีซึ่งเป็ นพลีกรรม ไม่พึงกินสัตว์เช่นเราเลย คันธตินทุกชาดกที่ ๑๐ จบ -------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา ภัณฑุติณฑุกชาดก ว่าด้วย พระราชาทรงออกสดับฟังข่าวชาวเมือง พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภราโชวาท ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. ราโชวาทมีพิสดารแล้วในหนหลัง. ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่าปัญจาละ ดารงอยู่ในอคติ ทรงประมาทเสวยราชสมบัติโดยอธรรม อยู่ในอุตตรปัญจาลนคร แคว้นกปิละ. ครั้งนั้น อามาตย์เป็นต้นของพระองค์ ก็เกิดเป็นคนอาธรรม์เสียทั้งหมด ชาวแว่นแคว้นถูกบีบคั้นด้วยภาษีอากร ต้องพาลูกเมียเที่ยวหลบหนี หลีกไปในป่า คล้ายฝูงมฤค. ในที่ที่เคยมีบ้านก็กลายเป็นที่มีบ้านร้าง. กลางวันผู้คนไม่อาจอยู่บ้านเรือนได้ เพราะเกรงกลัวเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
  • 5. 5 พากันเอากิ่งหนามเป็ นต้นล้อมเรือนไว้ เมื่ออรุณขึ้นก็หลบเข้าป่าไป. กลางวันเจ้าหน้าที่ก็ริบยื้อแย่ง กลางคืนพวกโจรก็ปล้นก็ชิง. คราวนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดา อยู่ที่ภัณฑุติณฑุกพฤกษ์ภายนอกพระนคร. ทุกๆ ปีได้รับพลีกรรมมีราคาหนึ่งพันจากราชสานัก. รุกขเทวดาคิดว่า พระราชานี้ทรงประมาท เสวยราชสมบัติ สกลรัฐจักฉิบหาย เว้นเราเสียแล้วไม่มีใครสามารถจะชักจูงให้พระราชาดารงพระองค์ในทางที่ถูกต้อ งได้ อนึ่ง พระองค์ก็ทรงมีอุปการะแก่เรา บูชาด้วยพลีกรรมพันหนึ่งทุกปีมา เราจักถวายโอวาทพระองค์ท่าน. ในเวลากลางคืน รุกขเทวดาเข้าไปยังห้องพระบรรทมของพระราชา ยืนอยู่ข้างพระเศียร เปล่งรัศมียืนอยู่บนอากาศ. พระราชาทอดพระเนตรเห็นเทวดารุ่งเรืองอยู่ คล้ายดวงอาทิตย์อ่อนๆ จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร มาที่นี่เพราะเหตุอะไร? รุกขเทวดาได้ยินพระราชดารัสแล้วทูลว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ข้าพเจ้าคือภัณฑุติณฑุกเทพ คิดว่าจักถวายโอวาทแด่พระองค์ จึงมาเฝ้ า. พระราชาตรัสถามว่า ท่านจักให้โอวาทอะไรหรือ? เมื่อพระราชาตรัสถามอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงทูลว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า พระองค์เป็นผู้ประมาทเสวยราชสมบัติ เพราะฉะนั้น แว่นแคว้นทั้งสิ้นของพระองค์จะพินาศเหมือนถูกกาจัดยื้อแย่ง ธรรมดาพระราชาเมื่อเสวยราชสมบัติด้วยความประมาท หาใช่เป็นเจ้าของแห่งแว่นแคว้นทั้งสิ้นไม่ ถึงความพินาศในปัจจุบันแล้ว ในภพหน้าจักต้องเกิดในมหานรกอีก อนึ่ง เมื่อพระราชาถึงความประมาทแล้ว แม้ชนในราชสานักนอกราชสานัก ย่อมจะพากันประมาท ด้วยเหตุนั้น พระราชาไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง ดังนี้แล้ว เมื่อจะเริ่มตั้งธรรมเทศนา จึงกล่าวคาถาความว่า ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย คนประมาทเป็นเหมือนคนตายแล้ว. เพราะมัวเมาจึงเกิดความประมาท เพราะประมาทจึงเกิดความเสื่อม และเพราะความเสื่อมจึงเกิดโทษ ดูก่อนท่านผู้มีภาระครอบครองรัฐ อย่าประมาทเลย. เพราะกษัตริย์เป็นอันมาก หากมีความประมาท ต้องเสื่อมประโยชน์ของแว่นแคว้น เสื่อมทั้งแว่นแคว้น อนึ่ง ชาวบ้านประมาทก็เสื่อมจากบ้าน บรรพชิตประมาทก็เสื่อมจากอนาคาริยวิสัย. ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นมิ่งขวัญของรัฐ
  • 6. 6 โภคสมบัติทุกอย่างในแว่นแคว้นของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้ว ย่อมพินาศหมด ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา. ดูก่อนพระมหาราชเจ้า ความประมาทนี้ไม่เป็นธรรมของโบราณกษัตริย์ โจรทั้งหลายย่อมกาจัดชนบทอันมั่งคั่งไพบูลย์ของพระราชาผู้ประมาทเกินขอบเข ต. ราชโอรสสืบสันตติวงศ์ของพระราชานั้นจักไม่มี เงินทองทรัพย์สินก็จักไม่มีเหมือนกัน เมื่อแว่นแคว้นถูกปล้น พระราชาผู้ประมาทย่อมเสื่อมจากโภคะทั้งปวง. ญาติมิตรและสหายย่อมไม่นับถือขัตติยราชผู้เสื่อมจากสรรพโภคสมบั ติ ในความคิดอ่าน. พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ผู้พึ่งพระโพธิสมภารเป็ นอยู่ ย่อมไม่นับถือพระราชานั้นในความคิดอ่าน. ศรีคือมิ่งขวัญ ย่อมละพระราชาผู้ไม่จัดแจงการงาน โง่เขลา มีความคิดอ่านเลวทราม ไร้ปัญญา เหมือนงูลอกคราบอันคร่าคร่า ฉะนั้น. พระราชาผู้ทรงจัดแจงการงานดี หมั่นขยันตามกาล ไม่เกียจคร้าน โภคสมบัติทั้งปวงย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนฝูงโคที่มีโคผู้ ฉะนั้น. ดูก่อนมหาราชเจ้า พระองค์จงเสด็จเที่ยวฟังเหตุการณ์ในแว่นแคว้นและในชนบท ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นและได้ทรงสดับแล้ว แต่นั้นก็ปฏิบัติสิ่งนั้นๆ เถิด. พระมหาโพธิสัตว์ถวายโอวาทพระราชาด้วยคาถา ๑๑ คาถาด้วยประก ารฉะนี้แล้ว ทูลว่า พระองค์จงรีบไปสอดส่องอย่าชักช้า อย่าให้แว่นแคว้นฉิบหายเสียเลย ดังนี้แล้ว กลับไปยังสถานที่อยู่ของตน. ฝ่ายพระราชาทรงสดับถ้อยคาของเทวดาแล้วสลดพระทัย รุ่งขึ้นโปรดให้อามาตย์ดูแลราชสมบัติแล้วพร้อมด้วยราชปุโรหิต เสด็จออกจากพระนครทางพระทวารด้านทิศปราจีน เสด็จพระราชดาเนินไป สิ้นทางประมาณหนึ่งโยชน์ ณ สถานที่นั้น ชายแก่ชาวบ้านผู้หนึ่งนากิ่งหนามมาจากดงล้อมกั้นปิดประตูเรือนไว้ พาบุตรภรรยาเข้าป่าไป เวลาเย็นเมื่อพวกราชบุตรหลีกไปแล้วก็กลับมาเรือนตน ถูกหนามยอกเท้าที่ประตูเรือน จึงนั่งกระโหย่งบ่งหนาม พลางด่าพระราชา ด้วยคาถานี้ความว่า ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชจงถูกลูกศรเสียบในสงคราม เสวยทุกขเวทนา เหมือนเราถูกหนามแทงแล้ว เสวยทุกขเวทนาอยู่ในวันนี้. ก็คาด่านั้นได้เป็ นไปด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์นั้นเอง
  • 7. 7 ควรทราบว่า ชายแก่นั้นถูกพระโพธิสัตว์ดลใจจึงด่า. ในเวลานั้น พระราชากับราชปุโรหิตปลอมเพศยืนอยู่ใกล้ๆ ชายแก่นั้นเอง. พอราชปุโรหิตได้ยินคาของชายแก่ จึงกล่าวคาถาความว่า ท่านเป็นคนแก่ มีจักษุมืดมัว มองเห็นอะไรไม่ถนัด หนามแทงท่านเอง ในเรื่องนี้ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วย. ชายชราได้ฟังดังนั้น ได้กล่าวคาถา ๓ คาถาความว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราถูกหนามแทงในหนทางนี้ เป็นความผิดของพระเจ้าพรหมทัตมากมาย เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์รักษา ถูกพวกราชบุรุษกดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม. กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกราชบุรุษกดขี่ ในแว่นแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย. แน่ะพ่อคุณเมื่อภัยเช่นนี้เกิดขึ้น ประชาชนพากันอึดอัด เพราะกลัว พากันหาไม้มีหนามในป่ามาทาที่ซุกซ่อน. พระราชาทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสเรียกราชปุโรหิตมาตรัสสั่งว่า ท่านอาจารย์ ชายชราพูดถูก เป็นความผิดของเราแท้ๆ มาเถิด เราจักกลับไปเสวยราชสมบัติโดยธรรม. เทวดาพระโพธิสัตว์สิงในร่างของราชปุโรหิตทูลว่า ขอเดชะมหาราชเจ้า จงไปสอดแนมดูข้างหน้าต่อไปอีกก่อนเถิดพระเจ้าข้า. พระราชากับปุโรหิตจากบ้านนั้นไปยังบ้านอื่น ได้ยินเสียงของหญิงชราคนหนึ่งในระหว่างทาง. นัยว่าหญิงนั้นเป็ นหญิงเข็ญใจ พิทักษ์รักษาบุตรสาวสองคนซึ่งเจริญวัยแล้ว ไม่ยอมให้ลูกสาวไปป่า ตนเองเก็บผักหักฟืนมาจากป่า บารุงรักษาลูกสาวทั้งสอง. วันนั้น นางขึ้นพุ่มไม้แห่งหนึ่ง กาลังเก็บผักอยู่พลัดตกลงมา เมื่อจะด่าพระราชาโดยแช่งให้ตาย กล่าวคาถาความว่า ในแคว้นของพระเจ้าพรหมทัต หญิงสาวหาผัวไม่ได้ไปจนแก่ เมื่อไรพระเจ้าพรหมทัตจักสวรรคตเสียที. เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านนาง จึงกล่าวคาถาความว่า เฮ้ย! หญิงชั่วไม่รู้จักเหตุผล แกพูดไม่ดีเลย พระราชาเคยหาผัวให้นางกุมาริกา มีที่ไหนกัน. หญิงชราได้ยินดังนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า พราหมณ์เอย เราไม่ได้พูดชั่วเลย เรารู้เหตุผล ชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์รักษาราษฎรถูกกดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม. กลางคืนถูกโจรปล้น
  • 8. 8 กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย เมื่อการครองชีพลาบาก การเลี้ยงดูลูกเมียก็ลาบาก หญิงสาวจักมีผัวได้ที่ไหน. พระราชากับราชปุโรหิตฟังคาของหญิงชราแล้วคิดว่าแกพูดถูกต้อง จึงพากันเดินทางต่อไปข้างหน้า ได้ยินเสียงของชาวนาคนหนึ่ง ได้ยินว่า เมื่อชาวนานั้นกาลังไถนา โคชื่อสาลิยะ ถูกผาลแทงจึงล้มลง. เมื่อชาวนาจะด่าพระราชา จึงกล่าวคาถาความว่า ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชจงถูกหอกแทง ต้องนอนกลิ้งอยู่ในสงคราม เหมือนโคสาลิยะถูกผาลแทง นอนอยู่ดังคนกาพร้า ฉะนั้น. ลาดับนั้น เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านจึงกล่าวคาถาความว่า เจ้าคนชาติชั่ว เจ้าโกรธพระเจ้าพรหมทัต โดยไม่เป็นธรรม เจ้าทาร้ายโคของตนเอง ไฉนจึงมาสาปแช่งพระราชาเล่า. ชาวนาได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา ๓ คาถาความว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราโกรธพระเจ้าพรหมทัตโดยชอบธรรม เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้ทรงพิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองกดขี่ ด้วยภาษีที่ไม่เป็นธรรม กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย. แม่ครัวคงหุงต้มใหม่อีกเป็นแน่ จึงนาข้าวมาส่งในเวลาสาย เรามัวแลดูแม่ครัว มาส่งข้าวอยู่ โคสาลิยะจึงถูกผาลแทงเอา. พระราชากับราชปุโรหิตเดินทางต่อไป แล้วพักอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง รุ่งขึ้นเวลาเช้าตรู่ แม่โคนมโกงตัวหนึ่งเอาเท้าดีดคนรีดนมโค ล้มไปพร้อมด้วยนมสด เมื่อคนรีดนมโคจะด่าพระเจ้าพรหมทัต จึงกล่าวคาถาความว่า ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชจงถูกฟันด้วยดาบในสงคราม เดือดร้อนอยู่ เหมือนเราถูกแม่โคนมถีบในวันนี้ จนนมสดของเขาหกไป ฉะนั้น. ราชปุโรหิต ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า การที่แม่โคถีบเจ้าให้บาดเจ็บ น้านมหกไปนั้น เป็นความผิดอะไรของพระเจ้าพรหมทัต ท่านจึงติเตียนอยู่. ครั้นพราหมณ์ปุโรหิตกล่าวคาถาจบ คนรีดนมโคได้กล่าวคาถาอีก ๓ คาถาความว่า ดูก่อนพราหมณ์ พระเจ้าปัญจาละควรจะได้รับความติเตียน เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ด้วยภาษีอันไม่เป็ นธรรม. อนึ่ง เวลากลางคืนก็ถูกโจรปล้น
  • 9. 9 กลางวันก็ถูกกดขี่รีดภาษีอันไม่เป็ นธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย. แม่โคเปรียว ดุร้าย เมื่อก่อนพวกเรามิได้รีดนมมัน มาวันนี้ เราถูกพวกราชบุรุษผู้ต้องการน้านมรีดนาทาเล้น จึงต้องรีดนมมันอยู่เดี๋ยวนี้. พระราชาและพระราชปุโรหิตคิดว่าเจ้านี่พูดถูก จึงออกจากบ้านนั้นขึ้นสู่หนทางใหญ่ มุ่งหน้าต่อพระนครกลับไปในบ้านแห่งหนึ่ง พวกนายอากรฆ่าลูกโคอ่อนตัวหนึ่ง เพื่อต้องการทาฝักดาบ จึงยึดเอาหนังไป แม่โคนมที่ลูกถูกฆ่า เพราะความเศร้าถึงลูก ไม่กินหญ้าไม่ดื่มน้า เที่ยวร่าร้องหาลูกอยู่ เด็กๆ ชาวบ้านเห็นดังนั้น เมื่อจะพากันด่าพระราชา จึงกล่าวคาถาความว่า ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชจงพลัดพรากจากโอรส วิ่งคร่าครวญ เหมือนแม่โคกาพร้าพลัดพรากจากลูก วิ่งคร่าครวญอยู่ฉะนั้น. ลาดับนั้น ปุโรหิตกล่าวคาถานอกนี้ความว่า ในการที่แม่โคของคนเลี้ยงโค เที่ยววิ่งไปมาหรือร่าร้องอยู่นี้ เป็นความผิดอะไรของพระเจ้าพรหมทัตเล่า. ลาดับนั้น เด็กชาวบ้านได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า ดูก่อนมหาพราหมณ์ ความผิดของพระเจ้าพรหมทัต มีแน่ เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม. กลางคืนก็ถูกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย ลูกโคของพวกเรายังดื่มนมอยู่ ก็ต้องถูกฆ่าตาย เพราะต้องการฝักดาบอย่างไรล่ะ. พระราชาและราชปุโรหิตพูดว่า ดีละ พวกเจ้าพูดได้เหตุผล แล้วหลีกไปเสีย ต่อมาในระหว่างทาง ฝูงกากาลังเอาจะงอยปากจิกกินกบทั้งหลายอยู่ ณ สระแห้งแห่งหนึ่ง เมื่อพระราชาและราชปุโรหิตมาถึงที่นั้น พระโพธิสัตว์จึงบันดาลให้กบทั้งหลายแช่งด่าพระราชาด้วยอานุภาพข องตน (เป็นคาถา)ความว่า ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชพร้อมด้วยพระราชโอรส จงถูกประหารในสนามรบ ให้ฝูงการุมจิกกิน เหมือนเราผู้เกิดในป่าถูกฝูงกาชาวบ้านจิกกินในวันนี้ฉะนั้น. ราชปุโรหิตได้ยินดังนั้น เมื่อจะสนทนากับพวกกบ
  • 10. 10 จึงกล่าวคาถาความว่า เฮ้ย! กบ พระราชาทั้งหลายในมนุษยโลก จะทรงจัดการพิทักษ์รักษาสัตว์ทั่วไปไม่ได้อยู่เอง พระราชามิใช่เป็นอธรรมจารีบุคคล ด้วยเหตุที่ฝูงกากินสัตว์เป็นเช่นพวกเจ้าเท่านั้น. อธิบายว่า กาทั้งหลายพึงเคี้ยวกินสัตว์มีชีวิตด้วยเหตุเพียงใด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระราชาจะชื่อว่าไม่เป็นผู้ประพฤติธรรม หาได้ไม่ พระราชาจักสามารถเข้าไปยังป่าเที่ยวรักษาเจ้าได้อย่างไร? กบได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า ท่านเป็ นพรหมจารี ชาติอาธรรม์หนอ จึงกล่าวยกย่องกษัตริย์อยู่ได้ เมื่อประชากรเป็นอันมากถูกปล้นอยู่ ท่านยังบูชาพระราชาผู้น่าตาหนิอย่างยิ่ง. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าแว่นแคว้นนี้ พึงมีพระราชาดี ก็จะมั่งคั่งเบิกบานผ่องใส ฝูงกาก็จะได้กินก้อนข้าวที่ดีๆ เป็ นพลี ไม่ต้องกินสัตว์เป็นเช่นพวกเรา. การด่าในฐานะ แม้ทั้ง ๖ อย่างนี้มีได้ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์นั่นเอง. พระราชากับราชปุโรหิตสดับคานั้นแล้ว ดาริว่า ชนทั้งปวงที่สุดจนกระทั่งกบ ซึ่งเป็ นสัตว์เดียรัจฉานอยู่ในป่า พากันด่าเราผู้เดียว แล้วเสด็จจากที่นั้นไปสู่พระนคร เสวยราชย์โดยธรรม ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ สร้างบุญกุศลมีทานเป็นต้น. พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแก่พระเจ้าโกศลแล้วตรั สว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมดาพระราชาควรละการลุอานาจอคติ เสวยราชสมบัติโดยธรรม แล้วทรงประชุมชาดกว่า ภัณฑุติณฑุกเทวดาในครั้งนั้น ได้มาเป็ น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล. จบอรรถกถาภัณฑุติณฑุกชาดกที่ ๑๐ จบอรรถกถาติงสตินิบาต -----------------------------------------------------