SlideShare a Scribd company logo
1
มหาหังสชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๒. มหาหังสชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๔)
ว่าด้วยพญาหงส์ติดบ่วง
(พญาหงส์โพธิสัตว์ได้กล่าว ๓ คาถาว่า)
[๘๙] สุมุขะ พ่อเนื้อเหลือง ผู้มีผิวพรรณประดุจทองคา
หงส์ทั้งหลายหวั่นไหวต่อภัยอันตราย จึงพากันบินหนีไป
ท่านจงหลีกหนีไปตามความปรารถนาเถิด
[๙๐] หมู่ญาติทั้งหลายละทิ้งเรา ผู้ติดบ่วงไว้เพียงลาพัง ไม่มีความเยื่อใย
พากันบินหนีไป ทาไมจึงเหลือท่านอยู่ตัวเดียวเล่า
[๙๑] บินขึ้นไปเถิด ท่านผู้ประเสริฐกว่าหมู่หงส์
ความเป็นสหายไม่มีในผู้ติดบ่วง ท่านอย่าทาความไม่มีทุกข์ให้เสื่อมไปเลย
จงหนีไปตามความปรารถนาเถิด สุมุขะ
(หงส์สุมุขะได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๙๒] ข้าแต่ท้าวธตรัฏฐะ
ข้าพระองค์แม้จะมีทุกข์เป็นเบื้องหน้าก็ไม่ละทิ้งพระองค์ไป
ความเป็นหรือความตายของข้าพระองค์ จักมีพร้อมกับพระองค์
[๙๓] ข้าแต่ท้าวธตรัฏฐะ ข้าพระองค์
แม้จะมีทุกข์เป็นเบื้องหน้าก็ไม่ละทิ้งพระองค์ไป
พระองค์ไม่ควรจะชักชวนให้ข้าพระองค์
ประกอบกรรมที่บุคคลผู้ไม่ประเสริฐประกอบกันเลย
[๙๔] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสูงสุดกว่าฝูงหงส์
ข้าพระองค์เป็นเด็กรุ่นเดียวกับพระองค์ (เด็กรุ่นเดียวกับพระองค์
หมายถึงถือปฏิสนธิวันเดียวกัน ออกจากไข่ในวันเดียวกัน
และเจริญเติบโตมาด้วยกัน) เป็นเพื่อนของพระองค์ ดารงอยู่ในจิตใจของพระองค์
ข้าพระองค์เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็ นเสนาบดีของพระองค์
[๙๕] ข้าพระองค์ไปจากที่นี้แล้ว
จักอธิบายในท่ามกลางหมู่ญาติได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
ข้าพระองค์ละทิ้งพระองค์จากที่นี้ไปแล้ว จะชี้แจงกับฝูงหงส์เหล่านั้นได้อย่างไร
ข้าพระองค์ยอมสละชีวิตทิ้งไว้ในที่นี้ จะไม่พยายามทากรรมอันไม่ประเสริฐ
(พญาหงส์โพธิสัตว์เมื่อจะสรรเสริญคุณของหงส์สุมุขะ จึงกล่าวว่า)
[๙๖] สุมุขะ การที่ท่านไม่พยายามที่จะทอดทิ้งเรา ผู้เป็นทั้งนาย
เป็นทั้งเพื่อน ชื่อว่าดารงอยู่ในทางของพระอริยะ
นั้นเป็ นธรรมของโบราณกบัณฑิต
2
[๙๗] ก็แลเมื่อเราเห็นท่าน ก็ไม่เกิดความสะดุ้งกลัวเลย
แต่ท่านจะประสบอันตรายเหมือนชีวิตของเราที่เป็นอยู่ในขณะนี้
(พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๙๘] เมื่อพญาหงส์ทั้ง ๒ ผู้ประเสริฐมีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ
กล่าวปรึกษากันอยู่อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้
นายพรานถือท่อนไม้กระชับมั่นรีบด่วนเข้ามาถึงตัว
[๙๙] หงส์สุมุขะครั้นเห็นนายพรานกาลังเดินเข้ามา
จึงจับอยู่เบื้องหน้าพญาหงส์ เมื่อจะปลอบพญาหงส์ผู้หวาดกลัวให้เบาใจ
จึงได้กล่าวขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า
[๑๐๐] อย่าทรงกลัวเลย พระองค์ผู้ประเสริฐ ด้วยว่า
คนทั้งหลายเช่นกับพระองค์หากลัวไม่
ข้าพระองค์จักประกอบความเพียรอันเนื่องด้วยธรรมอันสมควร
ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วนั้น พระองค์จักพ้นจากบ่วงโดยเร็วพลัน
(พระบรมศาสดาตรัสว่า)
[๑๐๑] นายพรานได้สดับคาสุภาษิตของหงส์สุมุขะนั้น ก็มีโลมชาติชูชัน
จึงได้น้อมอัญชลีต่อหงส์สุมุขะนั้น ด้วยกล่าวว่า
[๑๐๒] เราไม่เคยได้ยินหรือเคยได้เห็นนกพูดภาษาคนได้
นกพูดถ้อยคาอันประเสริฐ เปล่งวาจาภาษามนุษย์ได้
[๑๐๓] หงส์ตัวนี้เป็ นอะไรกับเจ้า
เจ้าพ้นแล้วยังเฝ้ าหงส์ตัวติดบ่วงอยู่ใกล้ๆ หงส์ทั้งหลายพากันละทิ้งหนีไป
ทาไมเจ้าจึงเหลืออยู่แต่ผู้เดียว
(หงส์สุมุขะถูกนายพรานถามแล้ว จึงตอบว่า)
[๑๐๔] ท่านผู้เป็นศัตรูของฝูงนก หงส์นั้นเป็นราชาของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ารับตาแหน่งเป็นเสนาบดีของพระองค์ เมื่อมีภัยอันตราย
ข้าพเจ้าไม่สามารถจะละทิ้งพระองค์ ผู้เป็นอธิบดีแห่งฝูงวิหคไปได้
[๑๐๕] หงส์นั้นเป็ นนายของหงส์ฝูงใหญ่และของข้าพเจ้า
ขอพระองค์อย่าถึงความพินาศพระองค์เดียวเลย นายพรานเพื่อนเอ๋ย
หงส์นี้เป็ นนายอย่างแท้จริง ข้าพเจ้าจึงพอใจที่จะอยู่ใกล้ๆ พระองค์
(นายพรานถามว่า)
[๑๐๖] หงส์สุมุขะเอ๋ย ท่านนอบน้อมตาแหน่ง ประดุจก้อนข้าวที่ได้รับ
ชื่อว่าประพฤติธรรมอันประเสริฐ ข้าพเจ้ายอมปล่อยนายของท่าน ท่านทั้ง ๒
จงไปตามสบายเถิด
(หงส์สุมุขะตอบว่า)
3
[๑๐๗] เพื่อนเอ๋ย ถ้าท่านดักหงส์และนกทั้งหลาย
ด้วยความพยายามเพื่อประโยชน์แก่ตนไซร้ ข้าพเจ้าทั้ง ๒
ขอรับอภัยทานนั้นของท่าน
[๑๐๘] ถ้าท่านไม่ดักหงส์และนกทั้งหลายด้วยความพยายาม
เพื่อประโยชน์แก่ตนไซร้ ท่านจะไม่มีอิสระ เมื่อปล่อยเราทั้ง ๒ ไป
จะพึงทาตนให้เป็ นขโมยนะ นายพราน
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสพระคาถาว่า)
[๑๐๙] ท่านเป็นคนรับใช้ของพระราชาองค์ใด จงนาข้าพเจ้าทั้ง ๒
ไปให้ถึงพระราชาองค์นั้นตามพระประสงค์
พระเจ้าสัญญมนะจักทรงกระทาตามพระประสงค์ในพระราชนิเวศน์นั้น
[๑๑๐] นายพรานถูกหงส์สุมุขะกล่าวอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว
จึงใช้มือประคองพญาหงส์เนื้อทอง ตัวมีผิวพรรณประดุจทองคาทั้ง ๒
ใส่ไว้ในกรง
[๑๑๑] นายพรานพาพญาหงส์ทั้ง ๒ ซึ่งมีผิวพรรณผุดผ่อง คือ
หงส์สุมุขะและพญาหงส์ธตรัฏฐะซึ่งอยู่ในกรงหลีกไป
[๑๑๒] พญาหงส์ธตรัฏฐะถูกนายพรานนาไปอยู่
ได้กล่าวเนื้อความนี้กับหงส์สุมุขะว่า เรากลัวนัก สุมุขะ
ด้วยนางพญาหงส์ตัวมีผิวพรรณดังทองคา มีลาขาอ่อนได้ลักษณะ
รู้ว่าเราถูกฆ่าแล้วจักฆ่าตัวตายตาม
[๑๑๓] สุมุขะ ก็สุเหมานางพญาหงส์ แม่เนื้อเหลือง
ผู้เป็นธิดาของพญาปากหงส์จักร่าไห้อย่างแน่นอน
เสมือนนางนกกระเรียนผู้กาพร้าร่าไห้อยู่ที่ริมฝั่งสมุทร
(หงส์สุมุขะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาว่า)
[๑๑๔] พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งสัตวโลกคือหมู่หงส์ มีคุณประมาณมิได้
เป็นครูแห่งหมู่คณะใหญ่ แต่กลับมัวเศร้าโศกราพันถึงหญิงคนเดียวอย่างนี้
นี้เป็นเหมือนมิใช่การกระทาของคนมีปัญญาเลย
[๑๑๕] ลมย่อมพัดพาเอากลิ่นทั้ง ๒ อย่าง คือ กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็นไป
เด็กอ่อนย่อมเก็บเอาผลไม้ทั้งดิบและสุก คนตาบอดที่โลเลย่อมรับอามิสฉันใด
ธรรมดาหญิงก็ฉันนั้น
[๑๑๖] พระองค์ไม่รู้จักวินิจฉัยในเหตุทั้งหลาย
ปรากฏกับข้าพระองค์เหมือนคนเขลา ถึงเวลาจะตายอยู่แล้ว
ก็ยังไม่ทราบกิจที่ควรทาหรือไม่ควรทา
[๑๑๗] พระองค์สาคัญหญิงว่าเป็ นผู้ประเสริฐ เห็นจะเป็ นคนกึ่งบ้า
จึงบ่นเพ้อราพันไป ความจริง หญิงเหล่านี้สาธารณะทั่วไปแก่ชนเป็นอันมาก
เหมือนโรงสุราเป็นสถานที่ทั่วไปแก่นักเลงสุรา
4
[๑๑๘] อนึ่ง หญิงนี้มีมายาเหมือนพยับแดด เป็นเหตุแห่งความเศร้าโศก
เป็นเหตุแห่งโรคและอันตราย อนึ่ง หญิงเหล่านี้เป็ นเครื่องผูกมัดอันกล้าแข็ง
เป็นบ่วง เป็นถ้า และเป็นที่อยู่อาศัยของมัจจุราช บุรุษใดวางใจในหญิงเหล่านั้น
บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นคนต่าทรามในบรรดานรชนทั้งหลาย
(พญาหงส์ธตรัฏฐะเมื่อจะแสดงธรรมแก่หงส์สุมุขะ จึงกล่าวว่า)
[๑๑๙] สิ่งใดที่ท่านผู้เจริญรู้จักกันดี ใครควรจะติเตียนสิ่งนั้นเล่า
ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายเป็ นผู้มีคุณมาก เกิดขึ้นก่อนในโลก (เกิดขึ้นก่อนในโลก
หมายถึงเพศหญิงปรากฏขึ้นเป็ นครั้งแรกในกาลปฐมกัลป
์ )
[๑๒๐] การเล่นคะนองอันบุคคลตั้งไว้แล้วในหญิงเหล่านั้น
ความยินดีในหญิงเหล่านั้นบุคคลก็ตั้งไว้เฉพาะแล้ว
พืชทั้งหลายก็งอกงามในหญิงเหล่านั้น คือสัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดในหญิงเหล่านั้น
ชีวิตกับชีวิตมาเกี่ยวข้องกันแล้ว ใครเล่าจะพึงเบื่อหน่ายหญิงเหล่านั้น
[๑๒๑] สุมุขะ ท่านเองนั่นแหละไม่ใช่คนอื่น
ยังต้องประกอบความต้องการกับหญิงทั้งหลาย วันนี้เมื่อเกิดภัย
ความคิดจึงเกิดแก่ท่านเพราะความกลัว
[๑๒๒] จริงอยู่ ผู้ถึงความสงสัยในชีวิตทั้งปวง
ถึงจะหวาดกลัวก็อดกลั้นความกลัวไว้
เพราะบัณฑิตทั้งหลายผู้ดารงอยู่ในฐานะเป็นผู้ใหญ่
ย่อมประกอบประโยชน์ที่ยากจะประกอบได้
[๑๒๓] พระราชาทั้งหลายทรงปรารถนาข้าราชการที่กล้าหาญ
เพื่อประสงค์ที่จะให้คนกล้าหาญ ป้ องกันอันตรายและเหตุรอบข้างพระองค์
[๑๒๔] วันนี้ ขอพ่อครัวของพระราชา อย่าเชือดเราทั้ง ๒
ในห้องเครื่องใหญ่เลย เพราะว่า สีขนปีกจะฆ่าท่านเหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่
[๑๒๕] ท่านแม้พ้นแล้วก็ไม่ปรารถนาจะบินไป
ตนเองกลับเดินเข้ามาหาเครื่องดัก วันนี้ แม้ท่านผู้ถึงความสงสัยในชีวิต
จงถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์เถิด อย่ายื่นปากออกมาเลย
[๑๒๖] ท่านนั้นจงประกอบความเพียร
ที่เนื่องด้วยธรรมอันสมควรนั้นเถิด จงเที่ยวแสวงหาหนทางรอดชีวิตให้แก่เรา
ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วของท่าน
(หงส์สุมุขะกล่าวว่า)
[๑๒๗] อย่าทรงกลัวเลย พระองค์ผู้ประเสริฐ ด้วยว่า
บุคคลทั้งหลายเช่นกับพระองค์หากลัวไม่
ข้าพระองค์จักประกอบความเพียรอันเนื่องด้วยธรรมอันสมควร
ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วนั้น พระองค์จักพ้นจากบ่วงโดยเร็วพลัน
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสพระคาถาว่า)
5
[๑๒๘] นายพรานนั้นเข้าไปยังประตูพระราชวังพร้อมทั้งหาบหงส์
ด้วยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงกราบทูลถึงเรา ให้พระราชาทรงทราบว่า
พญาหงส์ธตรัฏฐะนี้มาแล้ว
[๑๒๙] ได้ยินว่า พระเจ้าสัญญมนะทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์ทั้ง ๒
นั้นเช่นกับผู้มีบุญ รู้ได้ด้วยลักษณะ จึงได้รับสั่งกับพวกอามาตย์ว่า
[๑๓๐] ท่านทั้งหลายจงให้ผ้า ข้าว น้า และของบริโภค แก่นายพราน
เงินเป็ นบ่อเกิดความพอใจ (เงินเป็ นบ่อเกิดความพอใจ
หมายถึงเป็นกิริยาแสดงความใคร่ของเขา) ให้เขา จงให้แก่เขาตามที่เขาต้องการ
(พระบรมศาสดาตรัสว่า)
[๑๓๑] พระเจ้ากาสีทอดพระเนตรเห็นนายพรานผู้มีอาการร่าเริง
จึงได้ตรัสคานี้ว่า เขมกะ เพื่อนรัก
ผิว่าสระโบกขรณีนี้มีฝูงหงส์จับอยู่เต็มไปหมดไซร้
[๑๓๒] ทาไมท่านจึงถือบ่วงเข้าไปใกล้พญาหงส์ ผู้งดงามซึ่งอยู่ ณ
ท่ามกลาง ได้จับพญาหงส์ผู้มีหมู่ญาติเกลื่อนกล่น ซึ่งมิใช่หงส์ชั้นกลางได้อย่างไร
(นายพรานเขมกะนั้นกราบทูลพระราชาว่า)
[๑๓๓] วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ไม่ประมาท
แอบซ่อนอยู่ในตุ่ม คอยแสวงหารอยเท้าของพญาหงส์ทองตัวนั้น
ตัวเข้าไปใกล้สถานที่ที่จับเหยื่อ
[๑๓๔] ต่อมาข้าพระองค์ได้เห็นรอยเท้าของพญาหงส์นั้น
ตัวกาลังเที่ยวแสวงหาเหยื่อ จึงได้ดักบ่วงลงไว้ ณ ที่นั้น
แล้วจับพญาหงส์นั้นได้ด้วยวิธีอย่างนี้
(พระราชาได้สดับดังนั้น จึงตรัสถามว่า)
[๑๓๕] พ่อพราน นกเหล่านี้มีอยู่ ๒ ตัว แต่ทาไมท่านจึงกล่าวว่าตัวเดียว
จิตของท่านแปรปรวนแล้วหนอ หรือว่าท่านปรารถนาประโยชน์อะไรกันหนอ
(นายพรานกราบทูลว่า)
[๑๓๖] หงส์ตัวที่มีลายสีแดงจรดถึงทรวงอก งดงามประดุจทองคา
ที่กาลังถูกหล่อหลอมนั้น ได้เข้ามาติดบ่วงของข้าพระองค์
[๑๓๗] ส่วนหงส์ตัวมีผิวพรรณผ่องใสตัวนี้มิได้ติดบ่วง
ยืนเปล่งวาจาเป็ นภาษามนุษย์ กล่าวถ้อยคาอันประเสริฐ กับพญาหงส์ตัวติดบ่วง
ซึ่งกาลังกระสับกระส่ายอยู่
(พระราชาทรงประสงค์จะให้หงส์สุมุขะแสดงธรรม จึงตรัสว่า)
[๑๓๘] สุมุขะ ทาไมหนอเวลานี้ท่านจึงยืนหดคางอยู่
หรือท่านมาถึงบริษัทของเราแล้ว กลัวภัยจึงไม่พูด
(หงส์สุมุขะได้ฟังดังนั้น เมื่อจะแสดงความที่ตนไม่กลัวภัย
จึงกราบทูลว่า)
6
[๑๓๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งแคว้นกาสี
ข้าพระองค์หยั่งลงสู่บริษัทของพระองค์แล้วจะเกรงกลัวหามิได้
ข้าพระองค์ไม่พูดเพราะความเกรงกลัวก็หามิได้
ข้าพระองค์จักกล่าวถ้อยคาในเมื่อมีเรื่องเช่นนั้นเกิดขึ้น
(พระราชาสดับดังนั้นแล้วทรงแย้มสรวล ตรัสว่า)
[๑๔๐] เราไม่เห็นบริษัทที่ถืออาวุธเลย ไม่เห็นพลรถ พลราบ เกราะ
หรือโล่หนัง และนายขมังธนูผู้สรวมเกราะของท่านเลย
[๑๔๑] เงิน ทอง หรือนครที่สร้างไว้แล้วอย่างดี มีคูเรียงราย
ยากที่จะข้ามได้ มีหอรบและป้ อมอันมั่นคง ซึ่งเป็ นสถานที่ที่ท่านเข้าไป
ไม่กลัวสิ่งที่ควรกลัว เรายังไม่เห็นเลย สุมุขะ
(หงส์สุมุขะเมื่อจะทูลเหตุนั้น จึงกราบทูลว่า)
[๑๔๒] ข้าพระองค์ไม่ต้องการบริวารที่ถืออาวุธ นคร หรือทรัพย์
เพราะข้าพระองค์ทั้งหลายมีปกติเที่ยวไปในอากาศ
ย่อมไปยังหนทางอันเป็นสถานที่มิใช่หนทาง
[๑๔๓] ก็พระองค์ได้ทรงสดับมาว่า ข้าพระองค์เป็นบัณฑิต
มีปัญญาละเอียดอ่อน เป็นนักคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ข้าพระองค์จะกล่าววาจาที่มีประโยชน์ ขอพระองค์พึงดารงอยู่ในความสัตย์เถิด
[๑๔๔] ด้วยว่าถ้อยคาที่พวกข้าพระองค์กล่าวแล้ว แม้จะเป็นสุภาษิต
จะกระทาอะไรแก่พระองค์ผู้หาความสัตย์มิได้
ผู้มิใช่คนประเสริฐมักกล่าวคาเท็จและหยาบช้า
[๑๔๕] พระองค์รับสั่งให้ขุดสระอันเกษมนี้ตามคาของพวกพราหมณ์
และพระองค์รับสั่งให้ประกาศอภัยทานไปทั่วทิศทั้ง ๑๐ นี้
[๑๔๖] นกทั้งหลายจึงลงสู่สระโบกขรณีของพระองค์ ซึ่งมีน้าใสสะอาด
ที่สระบัวนั้นมีของกินเพียงพอ และไม่มีการเบียดเบียนนกทั้งหลายที่สระนั้น
[๑๔๗] พวกข้าพระองค์ได้ยินคาประกาศนี้แล้ว
จึงพากันมาใกล้สระโบกขรณีของพระองค์
พวกข้าพระองค์นั้นจึงถูกบ่วงของพระองค์รัด
คาประกาศนั้นเป็ นภาษิตเท็จของพระองค์
[๑๔๘] บุคคลมุ่งการกล่าวเท็จและความโลภ
คือความต้องการอันชั่วช้าแล้วล่วงเลยสนธิทั้ง ๒ (สนธิทั้ง ๒
หมายถึงปฏิสนธิในเทวโลกและมนุษยโลกทั้ง ๒ อธิบายว่า
คนที่ทาบาปธรรมเหล่านี้ไว้
@ต่อไปเบื้องหน้าก็จะล่วงเลยปฏิสนธิที่เป็ นสุคติเข้าถึงนรกที่ไม่น่ายินดีไป) ไป
ย่อมเข้าถึงนรกอันไม่มีความสาราญ
(พระราชาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
7
[๑๔๙] สุมุขะ เรามิได้ประพฤติผิดที่จับท่านมาที่นี้
เพราะความโลภก็หามิได้ เราทราบมาว่า ท่านทั้งหลาย เป็นบัณฑิต
มีปัญญาละเอียดอ่อน เป็นนักคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
[๑๕๐] ทาอย่างไรพญาหงส์ทั้ง ๒ จึงจะมากล่าววาจาอันมีประโยชน์ ณ
ที่นี้ สุมุขะเพื่อนรัก นายพรานถูกเราสั่ง จึงได้จับท่านด้วยเหตุนั้น
(หงส์สุมุขะได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า)
[๑๕๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งแคว้นกาสี
ข้าพระองค์ทั้งหลายเมื่อชีวิตใกล้เข้ามาถึงคราวใกล้ตาย
จึงจะกล่าววาจาที่มีประโยชน์หามิได้เลย
[๑๕๒] ผู้ใดฆ่าเนื้อด้วยเนื้อต่อ หรือว่าฆ่านกด้วยนกต่อ
หรือเบียดเบียนผู้เป็นพหูสูตด้วยสุตะ จะมีอะไรเล่าเลวทรามไปกว่านั้น
[๑๕๓] ก็ผู้ใดกล่าวถ้อยคาอันประเสริฐ แต่อิงอาศัยธรรมอันไม่ประเสริฐ
ผู้นั้นชื่อว่าย่อมพลาดจากโลกทั้ง ๒ คือ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
[๑๕๔] บุคคลได้ยศแล้วไม่พึงมัวเมา ถึงความสงสัยในชีวิต
(ถึงความสงสัยในชีวิต หมายถึงประสบทุกข์แล้วไม่พึงลาบาก)
แล้วไม่พึงเดือดร้อน พึงพยายามในกิจการงานทั้งหลายร่าไป
และพึงปิดช่องโหว่ทั้งหลาย (ปิดช่องโหว่ทั้งหลาย หมายถึงพึงปิด พึงกั้นช่องทะลุ
(ข้อบกพร่อง) ของตน) เสีย
[๑๕๕] บัณฑิตผู้เจริญเหล่าใดผ่านชีวิตโลกนี้ไป ถึงคราวใกล้ตาย
ประพฤติธรรมในโลกนี้
บัณฑิตเหล่านั้นย่อมไปสู่สวรรค์ชั้นไตรทิพย์แล้วด้วยประการฉะนี้
[๑๕๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งแคว้นกาสี
พระองค์ทรงสดับคานี้แล้ว ขอทรงรักษาธรรมไว้ในพระองค์เถิด
และขอทรงปล่อยพญาหงส์ธตรัฏฐะ ผู้ประเสริฐสูงสุดกว่าหงส์ทั้งหลายเถิด
(พระราชาครั้นสดับดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๕๗] พนักงานทั้งหลายจงนาน้ามันทาเท้า และอาสนะอันมีค่ามากมา
เราจะปล่อยพญาหงส์ธตรัฏฐะผู้มียศออกจากกรง
[๑๕๘] และเราจะปล่อยพญาหงส์
ตัวที่เมื่อหงส์ผู้เป็นพระราชามีสุขก็เป็นสุขด้วย เมื่อมีทุกข์ก็เป็นทุกข์ด้วย
ซึ่งเป็ นหงส์เสนาบดี เป็ นนักปราชญ์ มีปัญญาละเอียดอ่อน
เป็นนักคิดแต่สิ่งที่เป็ นประโยชน์
[๑๕๙] บุคคลเช่นนี้แลสมควรที่จะบริโภคก้อนข้าวของนายได้
เหมือนหงส์สุมุขะผู้เป็นเพื่อนร่วมชีวิตของพระราชา
(พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
8
[๑๖๐] ก็พญาหงส์ธตรัฏฐะได้บินเข้าไปจับตั่งทองคาล้วน ซึ่งมีเท้า ๘
น่ารื่นรมย์ เกลี้ยงเกลา ปูลาดด้วยผ้าแคว้นกาสี
[๑๖๑] ส่วนหงส์สุมุขะได้บินเข้าไปเกาะเก้าอี้ทองคาล้วน
ซึ่งบุด้วยหนังเสือโคร่ง ถัดจากพญาหงส์ธตรัฏฐะ
[๑๖๒] ชาวแคว้นกาสีจานวนมากพาเอาอาหารอันเลิศ
ที่พระเจ้ากาสีทรงส่งไปด้วยถาดทองคาให้แก่พญาหงส์เหล่านั้น
[๑๖๓] พญาหงส์ธตรัฏฐะผู้ฉลาดในธรรมเนียมการปฏิสันถาร
เห็นอาหารอันเลิศที่เขานามาแล้ว ซึ่งพระเจ้ากาสีทรงประทานส่งไป
ต่อจากนั้นจึงได้ทูลถามเป็นลาดับไปว่า
[๑๖๔] พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ทรงสุขสาราญดีอยู่หรือ
ไม่มีโรคเบียดเบียนหรือ แคว้นอันมั่งคั่งนี้พระองค์ทรงปกครองโดยธรรมหรือ
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๖๕] เราสุขสาราญดีพญาหงส์ และไม่มีโรคเบียดเบียน อนึ่ง
แคว้นอันมั่งคั่งนี้เราก็ปกครองโดยธรรม
(พญาหงส์โพธิสัตว์ทูลถามว่า)
[๑๖๖] โทษบางสิ่งบางอย่างในหมู่อามาตย์ของพระองค์ไม่มีหรือ อนึ่ง
อามาตย์เหล่านั้นไม่กังวลถึงชีวิต
ในเพราะราชกิจอันเป็นประโยชน์ต่อพระองค์หรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๑๖๗] โทษบางสิ่งบางอย่างในหมู่อามาตย์ของเราก็ไม่มี อนึ่ง
แม้อามาตย์เหล่านั้นก็ไม่กังวลถึงชีวิต ในเพราะราชกิจอันเป็นประโยชน์ต่อเราเลย
(พญาหงส์โพธิสัตว์ทูลถามว่า)
[๑๖๘] พระเทวีผู้มีพระชาติเสมอกับพระองค์ ทรงเชื่อฟัง
ตรัสพระวาจาอ่อนหวานน่ารัก
ทรงมีพระโอรสประกอบด้วยพระรูปโฉมและอิสริยยศ
ทรงคล้อยตามพระอัธยาศัยของพระองค์หรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๑๖๙] ก็พระเทวีผู้มีพระชาติเสมอกับเรา เชื่อฟัง
กล่าววาจาอ่อนหวานน่ารัก มีพระโอรสประกอบด้วยพระรูปโฉมและอิสริยยศ
ยังคล้อยตามอัธยาศัยของเราอยู่
(พญาหงส์โพธิสัตว์ ทูลถามว่า)
[๑๗๐] แคว้นมิได้ถูกเบียดเบียน มิได้มีอันตรายแต่ที่ไหนๆ หรือ
พระองค์ทรงปกครองโดยธรรมอย่างสม่าเสมอ โดยมิได้เกรี้ยวกราดหรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
9
[๑๗๑] แคว้นก็มิได้ถูกเบียดเบียน มิได้มีอันตรายแต่ที่ไหนๆ เลย
เราปกครองโดยธรรมอย่างสม่าเสมอ โดยมิได้เกรี้ยวกราดเลย
(พญาหงส์โพธิสัตว์ทูลถามว่า)
[๑๗๒] สัตบุรุษพระองค์ทรงยาเกรง ทรงเว้นอสัตบุรุษเสียห่างไกลหรือ
พระองค์มิได้ทรงห่างเหินธรรม ประพฤติคล้อยตามอธรรมหรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๑๗๓] สัตบุรุษเราก็ยาเกรง อสัตบุรุษเราก็เว้นห่างไกล
เราประพฤติคล้อยตามธรรมเหล่านั้น ส่วนอธรรมเราได้ห่างเหินไปแล้ว
(พญาหงส์ทูลถามว่า)
[๑๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์
พระองค์มิได้ทรงพิจารณาเห็นอนาคตอันยาวนานหรือ
ทรงมัวเมาในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ไม่ทรงสะดุ้งกลัวปรโลกหรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๑๗๕] เราพิจารณาเห็นอนาคตอันยาวนานก็หาไม่ พญาหงส์
เราดารงอยู่ในธรรม ๑๐ ประการ (ธรรม ๑๐ ประการ คือทศพิธราชธรรม ๑๐
ประการ คือ (๑) ทาน หมายถึงเจตนาให้วัตถุ ๑๐ ประการ มีข้าวและน้าเป็นต้น
(๒) ศีล หมายถึงศีล ๕ ศีล ๑๐ (๓) การบริจาค หมายถึงการบริจาคไทยธรรม (๔)
ความซื่อตรง หมายถึงความเป็นคนตรง (๕) ความอ่อนโยน
หมายถึงความเป็นคนอ่อนโยน (๖) ความเพียร
หมายถึงกรรมคือการรักษาอุโบสถ (๗) ความไม่โกรธ
หมายถึงความมีเมตตาเป็นเบื้องต้น (๘) ความไม่เบียดเบียน
หมายถึงความมีกรุณาเป็นเบื้องต้น (๙) ความอดทน หมายถึงความอดกลั้น (๑๐)
ความไม่คลาดจากธรรม หมายถึงความไม่ขัดเคือง) จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก
[๑๗๖] คือ ๑. ทาน ๒. ศีล ๓. การบริจาค ๔. ความซื่อตรง ๕.
ความอ่อนโยน ๖. ความเพียร ๗. ความไม่โกรธ ๘. ความไม่เบียดเบียน ๙.
ความอดทน ๑๐. ความไม่คลาดธรรม
[๑๗๗] เราเห็นกุศลธรรมเหล่านี้ดารงอยู่แล้วในตนด้วยประการฉะนี้
ต่อจากนั้นปีติและโสมนัสมีประมาณไม่น้อยจึงเกิดแก่เรา
[๑๗๘] ส่วนหงส์สุมุขะนี้ไม่ทันคิด
ไม่ทราบความประทุษร้ายแห่งจิตต่อข้าพระองค์
จึงได้เปล่งวาจาอันหยาบคายออกมา
[๑๗๙] หงส์สุมุขะนั้นโกรธ
จึงได้เปล่งวาจาอันหยาบคายโดยไม่ไตร่ตรอง
กล่าวหาโทษที่ไม่มีอยู่ในข้าพระองค์ การเปล่งนี้ดูเหมือนไม่ใช่ของผู้มีปัญญา
(หงส์สุมุขะได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า)
10
[๑๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็ นอธิบดีแห่งมนุษย์
ความพลั้งพลาดนั้นย่อมมีแก่ข้าพระองค์เพราะความผลุนผลัน อนึ่ง
เมื่อพญาหงส์ธตรัฏฐะติดบ่วง ข้าพระองค์จึงได้มีทุกข์มากกว่า
[๑๘๑] พระองค์เป็นเสมือนพระบิดาของพระโอรสทั้งหลาย
เป็ นเหมือนแผ่นดินเป็ นที่พึ่งของภูตทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นดุจพญาช้าง
ขอพระองค์โปรดทรงงดโทษ แก่ข้าพระองค์ผู้ถูกความผิดครอบงาด้วยเถิด
(พระราชาทรงสรวมกอดหงส์สุมุขะนั้นเมื่อจะรับการขอโทษ จึงตรัสว่า)
[๑๘๒] เมื่อเป็นเช่นนี้ เราขออนุโมทนาต่อท่าน
เพราะท่านไม่ปกปิดความจริง พญาหงส์ ท่านย่อมทาลายตะปูตรึงจิต (ตะปูตรึงจิต
หมายถึงเสาแห่งจิตหรือหลักตอแห่งจิต (ได้แก่ ความโกรธ ความไม่พอใจ
จิตถูกโทษครอบงาทาให้แข็งกระด้างต่อผู้อื่น)) จึงนับได้ว่าท่านเป็นหงส์ผู้ซื่อตรง
[๑๘๓] รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่มากมาย
ในราชนิเวศน์แห่งแคว้นกาสี คือ เงิน ทอง แก้วมุกดา และแก้วไพฑูรย์
[๑๘๔] แก้วมณี สังข์ ไข่มุก ผ้า จันทน์เหลือง หนังสัตว์ เครื่องงาช้าง
ทองแดง และเหล็ก เราขอมอบทรัพย์เครื่องปลื้มใจทุกชนิดนั้นให้แก่ท่านทั้ง ๒
และขอปล่อยท่านทั้ง ๒ ให้เป็นอิสระ
(พญาหงส์โพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ข้าพระองค์ทั้ง ๒
ผู้อันพระองค์ทรงยาเกรงและทรงสักการะแล้วโดยแน่แท้
ขอพระองค์โปรดทรงเป็นพระอาจารย์ของข้าพระองค์ทั้ง ๒
ผู้ประพฤติในธรรมทั้งหลายเถิด
[๑๘๖] ข้าแต่พระอาจารย์ผู้ทรงย่ายีข้าศึก ข้าพระองค์ทั้ง ๒
ผู้อันพระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ทรงอนุมัติแล้ว
จะขอกระทาประทักษิณพระองค์แล้วกลับไปพบญาติทั้งหลาย
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๘๗] พระเจ้ากาสีทรงดาริและทรงปรึกษา
อรรถคดีตามที่กล่าวมาตลอดราตรีทั้งปวงแล้ว ทรงอนุญาตพญาหงส์ทั้ง ๒
ตัวประเสริฐสูงสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย
[๑๘๘] ต่อจากนั้น เมื่อราตรีรุ่งสว่าง ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมา
ขณะพระเจ้ากาสีกาลังทอดพระเนตรอยู่ พญาหงส์ทั้ง ๒
ได้โผบินไปสู่อากาศจากพระราชมณเฑียร
[๑๘๙] หงส์ทั้งหลายเห็นพญาหงส์ทั้ง ๒ นั้น
มาถึงโดยลาดับอย่างปลอดภัย ต่างพากันส่งเสียงว่าเกกๆ
ได้เกิดสาเนียงเสียงดังเจี๊ยวจ๊าว
11
[๑๙๐] หงส์เหล่านั้นผู้มีความเคารพต่อผู้เป็นนาย
พากันปลาบปลื้มใจเพราะพญาหงส์ผู้เป็นนายพ้นจากบ่วง
จึงพากันแวดล้อมอยู่โดยรอบ หงส์ทั้งหลายได้ที่พึ่งแล้ว
[๑๙๑] ประโยชน์ทั้งปวงของบุคคลผู้มีกัลยาณมิตร
ย่อมสาเร็จผลเป็นความสุขความเจริญ เหมือนพญาหงส์ธตรัฏฐะทั้ง ๒
ได้อยู่ใกล้หมู่ญาติฉะนั้น
มหาหังสชาดกที่ ๒ จบ
------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
มหาหังสชาดก
ว่าด้วย หงส์ชื่อสุมุขะไม่ละทิ้งพระยาหงส์ผู้ติดบ่วง
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภการสละชีวิตของพระอานนทเถระทีเดียว ตรัสพระธรรมเทศนานี้
ดังนี้.
ส่วนเรื่องราวก็คงเหมือนกับเรื่องที่กล่าวมาแล้ว นั่นแล.
ก็ในวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระอานนท์ผู้มีอายุสละชีวิตของตน
เพื่อประโยชน์แก่พระตถาคต กระทากิจอันยากที่ผู้อื่นจะกระทาได้
ท่านเห็นช้างนาลาคิรีแล้ว แม้ถูกพระศาสดาตรัสห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้ง
ก็ไม่ยอมกลับเลยทันที น่าชมเชยพระอานนทเถระผู้มีอายุ
กระทากิจที่ผู้อื่นกระทาได้ยาก. พระศาสดาทรงพระดาริว่า
ถ้อยคาสรรเสริญคุณของพระอานนท์กาลังเป็นไปอยู่ เราควรไปในที่นั้น
จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ในบัดนี้
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่บัดนี้เท่านั้นก็หาไม่
ถึงในกาลก่อน อานนท์แม้บังเกิดแล้ว
ในกาเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ได้ยอมเสียสละชีวิตของตน
เพื่อประโยชน์แก่ตถาคตแล้วเหมือนกัน ดังนี้ แล้วจึงทรงดุษณีภาพ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรงนาอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ในเมืองพาราณสี
พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระนามว่าสังยมะ (บาลีเป็นสังยมนะบ้าง
สัญญมนะบ้าง) มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่าเขมา. ในกาลนั้น
พระโพธิสัตว์มีหมู่หงส์เก้าหมื่นหกพันแวดล้อมเป็นบริวาร อาศัยอยู่ ณ
ภูเขาจิตตกูฏ
12
อยู่มาวันหนึ่ง พระนางเขมาเทวีได้ทรงพระสุบินนิมิต ในเวลาใกล้รุ่งว่า
มีพญาหงส์ทอง ๒ ตัว มาจับอยู่ที่พระราชบัลลังก์
แล้วแสดงธรรมกถาด้วยเสียงอันไพเราะ เมื่อพระนางเทวีประทานสาธุการ
ทรงสดับธรรมกถาอยู่ ยังมิทันเอิบอิ่มในการสดับธรรมทีเดียว
ราตรีก็สว่างเสียแล้ว พญาหงส์ทั้งสอง ครั้นแสดงธรรมแล้ว
จึงพากันบินออกไปทางช่องพระแกล แม้พระนางก็รับสั่งว่า
ท่านทั้งหลายจงรีบลุกขึ้นช่วยกันจับ ช่วยกันจับหงส์ที่กาลังบินหนีไป
กาลังเหยียดพระหัตถ์อยู่นั่นแล ก็ตื่นจากพระบรรทม
เหล่านางกานัลได้ยินพระราชเสาวนีย์ของพระนาง ก็พากันแย้มสรวลเล็กน้อยว่า
หงส์ที่ไหนกัน พระนางจึงทรงทราบ ในขณะนั้นว่า ทรงสุบินนิมิตไป
จึงทรงดาริว่า สิ่งที่ไม่เป็นความจริง เราจะไม่ฝันเห็น
พญาหงส์ที่มีสีประดุจทองคาคงจักมีอยู่ในโลกนี้เป็ นแน่แท้
แต่ถ้าเราจักทูลพระราชาว่า หม่อมฉันใคร่จะฟังธรรมของพญาหงส์ทองทั้งหลาย
พระองค์จะตรัสว่า ขึ้นชื่อว่าหงส์ทองทั้งหลาย เรายังไม่เคยเห็นเลย
และธรรมดาว่า หงส์ทั้งหลายจะกล่าวถ้อยคาได้ ก็ไม่เคยมีมาเลย ดังนี้
ก็จักเป็นผู้ไม่ทรงขวนขวายให้ แต่เมื่อเราทูลว่า เราตั้งครรภ์มีอาการแพ้ท้องแล้ว
พระองค์คงจักทรงสืบเสาะแสวงหาโดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความปรารถนาของเรา จักสาเร็จสมดังมโนรถ ด้วยอาการอย่างนี้
พระนางจึงแสร้งแสดงอาการประชวร ให้สัญญาแก่เหล่านางกานัล
ทรงบรรทมนิ่งอยู่ พระราชาประทับนั่ง ณ พระราชอาสน์
มิได้ทอดพระเนตรเห็นพระนาง ในเวลาที่พระนางเคยเข้าเฝ้ า จึงตรัสถามว่า
พระนางเขมาไปไหน. ทรงสดับว่า ประชวร จึงเสด็จไปยังสานักของพระนาง
ประทับนั่ง ณ ประเทศส่วนหนึ่ง ข้างที่พระบรรทม ทรงลูบพระปฤษฎางค์
ตรัสถามว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เธอไม่สบายเป็นอะไรไปหรือ พระนางทูลตอบว่า
ขอเดชะ ความไม่สบายอย่างอื่นมิได้มี
แต่อาการทรงครรภ์บังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน.
พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพระนาง ถ้าเช่นนั้นจงบอกมาเถิด
เธอปรารถนาสิ่งใด เราจะน้อมนาสิ่งนั้นมาให้เธอโดยเร็ว พระนางทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า
หม่อมฉันปรารถนาจะทาการบูชาด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นแก่พญ
าหงส์ทองตัวหนึ่ง. ซึ่งจับอยู่ที่ราชบัลลังก์ มีเศวตฉัตรอันยกขึ้นไว้แล้วให้สาธุการ
สดับธรรมกถา (ของพญาหงส์นั้น) ถ้าหม่อมฉันได้อย่างนี้
การได้ด้วยประการดังนี้นั้นเป็นการดี ถ้าหากไม่ได้ชีวิตของหม่อมฉันก็จะไม่มี.
ลาดับนั้น พระราชาจึงทรงปลอบเอาพระทัยพระนางว่า
ถ้าสุพรรณหงส์มีอยู่ในมนุษยโลก เธอก็คงจักได้สมประสงค์ อย่าเสียใจไปเลย
13
แล้วเสด็จออกจากห้องอันมีสิริ ตรัสปรึกษากับพวกอามาตย์ว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระนางเขมาเทวีตรัสกะเราว่า
หม่อมฉันได้สดับธรรมกถาของพญาหงส์ทอง จึงจะมีชีวิตอยู่ได้
ถ้าไม่ได้แล้วชีวิตของหม่อมฉัน ก็จะไม่มี หงส์ที่มีสีดุจทองคายังมีอยู่บ้างหรือ.
พวกอามาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยเห็น
ทั้งไม่เคยได้ยินเลย พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า ก็มีใครจะพึงรู้จักบ้าง.
พวกอามาตย์กราบทูลว่า พวกพราหมณ์ พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสสั่งให้เชิญพราหมณ์ทั้งหลายมา ทรงกระทาสักการะแล้ว
ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ทั้งหลาย หงส์ที่มีสีดังทองคายังมีอยู่บ้างหรือ.
พวกพราหมณ์ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่มหาราชเจ้า สัตว์ดิรัจฉาน ๖ จาพวกเหล่านี้
คือ ปลา ปู เต่า เนื้อ นกยูง หงส์ มีมาในมนต์ของข้าพเจ้าทั้งหลายว่า มีสีดุจทองคา
บรรดาสัตว์ทั้ง ๖ จาพวกนี้ ขึ้นชื่อว่าเหล่าหงส์ที่เกิดในตระกูลธตรฐ
เป็นสัตว์ฉลาดประกอบด้วยความรู้ นับทั้งพวกมนุษย์ด้วย
ย่อมเป็นสัตว์ที่มีพรรณประหนึ่งทองคา รวมเป็ น ๗ จาพวก ด้วยประการฉะนี้.
พระราชาทรงดีพระทัยตรัสถามว่า
เหล่าหงส์ที่เกิดในตระกูลธตรฐนั้นอยู่ที่ไหนเล่า ท่านอาจารย์. พวกพราหมณ์ทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ไม่ทราบพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า
มีใครรู้จักพวกหงส์เหล่านั้นบ้าง. เมื่อพวกพราหมณ์ทูลว่า
พวกบุตรนายพรานจักทราบ จึงตรัสสั่งให้เรียกพวกนายพราน
ในแคว้นของพระองค์มาประชุมกันทั้งหมด แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ
ชื่อว่าหงส์ตระกูลธตรฐมีสีดังทองคา อยู่ ณ ที่ไหน.
ลาดับนั้น นายพรานคนหนึ่งจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
ได้ทราบมาว่า ตระกูลแห่งญาติทั้งหลายกล่าวสืบๆ กันมาว่า หงส์เหล่านั้นอยู่
ณ ภูเขาจิตตกูฏ ในประเทศหิมวันต์. พระราชาตรัสถามว่า
ก็ท่านพอจะรู้อุบายที่จะจับหงส์เหล่านั้นได้หรือ. พวกนายพรานกราบทูลว่า
ขอเดชะ ข้าพระองค์ไม่ทราบ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า
ก็ชนเหล่าไหนจักทราบเล่า. พวกนายพรานกราบทูลว่า พวกพราหมณ์ พระเจ้าข้า.
ท้าวเธอจึงรับสั่งให้เรียกพราหมณ์ที่เป็นบัณฑิตมาแล้ว
ตรัสบอกความที่พวกหงส์มีพรรณดังทองคา มีอยู่ ณ ภูเขาจิตตกูฏแล้ว ตรัสถามว่า
ท่านทั้งหลายยังจะรู้จักอุบายที่จะจับหงส์เหล่านั้นหรือ. พวกพราหมณ์ทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ประโยชน์อะไรที่จะต้องไปจับหงส์เหล่านั้น ถึงภูเขาจิตตกูฏนั้น
ข้าพระองค์จักนาหงส์เหล่านั้นมาสู่ที่ใกล้พระนครแล้ว จักจับเอาด้วยอุบาย.
พระราชาตรัสถามว่า ก็อุบายอะไรเล่า. พวกพราหมณ์กราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์จงตรัสสั่งให้ขุดสระใหญ่ ชื่อว่าเขมะ ประมาณ
๓ คาวุตทางทิศเหนือแต่พระนคร ให้เต็มด้วยน้าแล้วปลูกธัญชาติต่างๆ
14
กระทาให้ดารดาษไปด้วยดอกบัวเบญจพรรณ
ให้นายพรานผู้ฉลาดคนหนึ่งอยู่ประจารักษา อย่าให้หมู่มนุษย์เข้าไปใกล้
ให้คนอยู่ ๔ มุมสระ คอยประกาศอภัย สกุณชาติต่างๆ
ก็จักลงจากทิศทั้งหลายซึ่งเห็นได้. หงส์เหล่านั้นได้สดับว่า
สระนั้นเป็นที่เกษมสาราญ โดยที่เล่าลือกันสืบๆ มาก็จักพากันมา เมื่อเป็นเช่นนั้น
พระองค์พึงให้ดักด้วยบ่วง อันทาด้วยขนสัตว์ แล้วจับเอาหงส์เหล่านั้นเถิด.
พระราชาทรงสดับคานั้น จึงให้สร้างสระมีประการดังกล่าวแล้ว
ในประเทศที่พวกพราหมณ์เหล่านั้นทูลบอก
แล้วตรัสสั่งให้เรียกนายพรานผู้ฉลาดมา ทรงปลอบประโลมนายพรานนั้นว่า
จาเดิมแต่นี้ไป ท่านจงเลิกกระทาการงานของตนเสียเถิด
เราจักเลี้ยงดูบุตรและภรรยาของท่านเอง ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว
พึงรักษาสระเขมะ ให้พวกมนุษย์ถอยกลับแล้ว ประกาศอภัยในมุมสระทั้ง ๔
พึงบอกถึงฝูงนกที่มาแล้ว และมาแล้วแก่เรา เมื่อสุวรรณหงส์ทั้งหลายมาแล้ว
ท่านจักได้สักการะใหญ่ แล้วให้รักษาสระเขมะ. จาเดิมแต่นั้นมา
นายพรานนั้นก็ปฏิบัติอยู่ในที่นั้น โดยนัยที่พระราชาตรัสสั่งไว้ทีเดียว
ก็นายเนสาทนั้นปรากฏชื่อว่า นายเขมเนสาท ดังนี้ทีเดียว เพราะรักษาสระเขมะ
และจาเดิมแต่นั้นมา สกุณชาติทั้งหลายต่างๆ ชนิดก็พากันลงสู่สระนั้น.
พวกหงส์ต่างๆ พากันมาด้วยเสียงประกาศชักชวนกันต่อๆ มาว่า
เขมสระไม่มีภัย. ทีแรกพวกติณหงส์มาก่อน แล้วพวกบัณฑุหงส์ก็พากันมา
ด้วยเสียงประกาศของพวกติณหงส์เหล่านั้น แล้วพวกมโนศิลาวรรณหงส์
ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศของพวกบัณฑุหงส์
แล้วเสตหงส์ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศของพวกมโนศิลาวรรณหงส์นั้น
ต่อจากนั้น พวกปากหงส์ก็พากันมา ด้วยเสียงประกาศของเสตหงส์เหล่านั้น
ครั้นพวกหงส์เหล่านั้นมาแล้ว นายเขมเนสาทจึงได้มาเฝ้ า
กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ หงส์มากินอาหารในสระถึง
๕ ประเภทแล้ว พวกหงส์มีสีดังทองคา ก็คงจักมาใน ๒-๓ วันนี้เป็นแน่
เพราะพวกปากหงส์มาแล้ว ขอพระองค์อย่าได้ทรงวิตกไปเลย พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงสดับคานั้น จึงให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศทั่วไปในพระนครว่า
บุคคลอื่นอย่าพึงเข้าไปในเขมสระนั้น บุคคลผู้ใดเข้าไป
บุคคลผู้นั้นจักถึงการตัดมือและเท้า และถูกริบเรือนด้วย. จาเดิมแต่วันนั้นมา
ใครๆ ก็ไม่อาจเข้าไปในสระนั้น
ก็พวกปากหงส์ทั้งหลายอาศัยอยู่ในถ้าทอง ใกล้ภูเขาจิตตกูฏ
แม้ปากหงส์เหล่านั้นเป็ นสัตว์มีกาลังมาก อนึ่ง
วรรณะแห่งสรีระของพวกปากหงส์เหล่านั้น ก็มิได้ผิดแปลกกับหงส์ตระกูลธตรฐ
ก็ธิดาแห่งพญาหงส์ปากราชมีวรรณะประดุจทองคา พญาปากหงส์นั้นดาริว่า
15
ธิดาของเรานี้สมควรแก่ธตรฐราชหงส์ที่มีความยิ่งใหญ่
จึงส่งนางไปให้เป็ นบาทบริจาริกาของพญาหงส์ธตรฐนั้น
นางได้เป็นที่รักที่เจริญของพญาหงส์ธตรฐนั้น เพราะเหตุนั้นแล
ตระกูลหงส์ทั้งสองนั้น จึงได้เกิดมีความคุ้นเคยกันอย่างสนิทสนม.
อยู่มาวันหนึ่ง พวกหงส์ที่เป็ นบริวารของพระโพธิสัตว์
ถามพวกปากหงส์ว่า ทุกๆ วันนี้ พวกท่านไปเที่ยวหาอาหารกินที่ไหน
พวกเราไปหาอาหารกินในเขมสระ ใกล้เมืองพาราณสี
ก็พวกท่านไปเที่ยวหากินที่ไหนเล่า เมื่อพวกหงส์เหล่าธตรฐบอกว่า
พวกเราไปหาอาหารกินในที่โน้นๆ พวกปากหงส์จึงกล่าวพรรณนาคุณเขมสระว่า
ทาไม พวกท่านจึงไม่ไปยังสระเขมะ ด้วยว่า สระนั้นเป็ นที่น่ารื่นรมย์
เกลื่อนกลาดไปด้วยสกุณชาติๆ ชนิด ดารดาษไปด้วยดอกบัว เบญจพรรณ
สมบูรณ์ด้วยพืชพรรณ ธัญญาหาร และผลไม้ต่างๆ มีหมู่ภมรต่างๆ
ชนิดบินว่อนอยู่อึงมี่ ในมุมสระทั้ง ๔ มีเสียงประกาศอภัย
เป็นไปอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ไม่ว่ามนุษย์ไรๆ ไม่สามารถที่จะเข้าไปใกล้ได้เลย
จะป่วยกล่าวไปไย ถึงการกระทาอันตรายอย่างอื่นๆ เล่า สระมีคุณเห็นปานนี้แล
พวกเหล่าหงส์ธตรฐเหล่านั้น ได้สดับคาของพวกปากหงส์แล้ว
จึงพากันไปบอกแก่สุมุขหงส์ว่า ได้ยินว่า มีสระสระหนึ่งชื่อเขมะ
มีคุณภาพเห็นปานนี้ อยู่ใกล้เมืองพาราณสี
พวกปากหงส์ไปเที่ยวหาอาหารกินในสระนั้น
แม้ท่านก็จงบอกแก่พญาหงส์ธตรฐที่มีความเป็นใหญ่ยิ่ง ถ้าพระองค์อนุญาต
แม้พวกข้าพเจ้าก็จะพึงไปหาอาหารในที่นั้นบ้าง สุมุขหงส์จึงบอกแก่พญาหงส์
แม้พญาหงส์นั้นก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ทั้งหลายมีเล่ห์เหลี่ยมมาก
มีความคิดแหลม ฉลาดในอุบาย น่าจะมีเหตุในที่นั้น
ขึ้นชื่อว่าสระย่อมไม่มีในที่นั้น ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ บัดนี้
ชะรอยจะมีใครมาขุดไว้ และจักขุดไว้ เพื่อคอยดักจับพวกเราเป็นแน่.
พญาหงส์จึงกล่าวกะสุมุขหงส์ว่า ท่านอย่าพอใจไปในที่นั้นเลย
สระนั้น พวกมนุษย์เหล่านั้นมิได้ขุดไว้ตามธรรมดาของตน
คงจะขุดไว้เพื่อต้องการจับพวกเรา ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ทั้งหลาย มีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย
มีความคิดแหลม ฉลาดในอุบาย
ท่านทั้งหลายจงเที่ยวไปในที่โคจรของตนตามเดิมเถิด
พวกหงส์ทองก็ได้บอกแก่สุมุขหงส์ว่า พวกเราใคร่จะไปยังเขมสระ ดังนี้
ถึงสองครั้งสามครั้ง
สุมุขหงส์จึงบอกความที่พวกหงส์เหล่านั้นใคร่จะไปในสระนั้นแก่พระมหาสัตว์.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า พวกญาติทั้งหลายของเรา
จงอย่าได้ลาบากเพราะอาศัยเราเลย ถ้ากระนั้น เราทั้งหลายจะไปด้วยกัน
16
มีหงส์เก้าหมื่นหกพันแวดล้อมเป็นบริวาร พากันไปหากินในสระนั้น
เล่นหงส์กีฬาแล้วบินกลับมายังเขาจิตตกูฏ.
ฝ่ายนายพรานเขมกะ ในเวลาที่หงส์เหล่านั้นมาเที่ยวบินกลับไปแล้ว
จึงไปกราบทูลแด่พระราชาว่า พวกหงส์ทองเหล่านั้นพากันมาแล้ว
พระราชาทรงดีพระทัยตรัสสั่งว่า ดูก่อนสหายเขมกะ
ท่านจงพยายามจับหงส์ทองนั้นไปให้ สักตัวหนึ่งหรือสองตัว
เราจักให้ยศใหญ่แก่ท่าน แล้วจึงประทานเครื่องเสบียง ส่งนายพรานนั้นไป
นายเขมกเนสาทนั้นไปถึงที่สระนั้นแล้ว จึงนั่งนิ่งอยู่ในเรือนกรงที่มีสัณฐานดังตุ่ม
พิจารณาดูทาเลหากินของพวกหงส์
ธรรมดาว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีปกติไม่ประพฤติมักได้
เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงจิกกินข้าวสาลี โดยลาดับ จาเดิมแต่ที่ที่ตนร่อนลง.
ฝ่ายหงส์นอกนั้นเที่ยวจิกกินข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง. ลาดับนั้น
บุตรนายพรานจึงคิดว่า หงส์ตัวนี้มีปกติไม่ประพฤติมักได้
เราควรดักหงส์ตัวนี้เถิด. ในวันรุ่งขึ้น
เมื่อหงส์ทั้งหลายยังไม่ทันร่อนลงมาสู่สระนั่นแล
จึงนั่งในเรือนกรงที่มีสัณฐานดังตุ่มนั้นแล้ว ค่อยๆ กระเถิบไปสู่ที่นั้น
แล้วจึงซ่อนตัวอยู่ในพงหญ้า ในที่ไม่ไกลนัก แลดูอยู่ตามช่อง.
ในขณะนั้น พระมหาสัตว์มีหงส์เก้าหมื่นหกพันเป็นเบื้องหน้า
ร่อนลงในสถานที่ที่ตนเคยร่อนลงแล้วในวันวานนั่นเอง
จับอยู่ที่แอ่งจิกกินข้าวสาลีไปพลาง. นายเนสาทแลดูตามช่องลูกกรง
เห็นอัตภาพของพระโพธิสัตว์นั้น ถึงแล้วซึ่งส่วนอันงามเลิศด้วยรูปร่าง จึงคิดว่า
หงส์ตัวนี้มีร่างกายโตเท่าดุมเกวียน มีพรรณดุจทองคา มีรอยแดง ๓
รอยคาดอยู่ที่คอ มีรอยพาดลงไปทางลาคอไปโดยระหว่างท้อง ๓ รอย
มีรอยแล่นไปตลอดโดยส่วนแห่งเบื้องหางอีก ๓ รอย ย่อมรุ่งเรือง
ประดุจลิ่มทองคา ที่บุคคลวางไว้บนกลุ่มไหมกัมพลแดง
หงส์ตัวนี้คงเป็นพญาแห่งหงส์เหล่านี้เป็นแน่แท้ เราจักจับหงส์ตัวนี้แหละ.
แม้พญาหงส์เที่ยวหาอาหารได้เป็ นอันมาก เล่นกีฬาในน้า
มีฝูงหงส์แวดล้อมกลับไปยังเขาจิตตกูฏทีเดียว พระโพธิสัตว์เที่ยวหากินอาหาร
โดยทานองนี้ตลอดกาลประมาณ ๕-๖ วัน.
ในวันที่ ๗ นายพรานเขมกะขวั้นเชือกเส้นใหญ่
ที่ทาด้วยขนหางม้าสีดาให้มั่นคง กระทาให้เป็นบ่วงมีคัน ทราบโดยถ่องแท้ว่า
ในวันพรุ่งนี้ พญาหงส์จักร่อนลงในที่นี้ จึงดักบ่วงไว้ใต้น้า. ในวันรุ่งขึ้น
พญาหงส์เมื่อโผลงมา จึงเอาเท้าถลาลงไปในบ่วง. ทันใดนั้น
บ่วงของนายพรานนั้นก็รวบรัดเท้าไว้ เหมือนมีใครมาฉุดคร่าด้วยลวดเหล็ก.
พญาหงส์นั้นจึงคิดว่า เราจักกระตุกบ่วงนั้นให้ขาด
17
จึงรวบรวมกาลังฉุดคร่ามาแล้วให้ตกลงไป. ในครั้งแรก
หนังอันมีสีประดุจทองคาก็ขาดไป ในครั้งที่สอง
เนื้อซึ่งมีสีประดุจผ้ากัมพลก็ขาดไป ในครั้งที่สาม
เส้นเอ็นก็ได้ขาดไปจนจรดกระดูก.
พระโพธิสัตว์ดาริว่า ในครั้งที่สี่ เท้าคงขาดแน่. ธรรมดาว่า
พระราชาเป็ นผู้มีอวัยวะอันเลวทราม ไม่เหมาะสมเลย
จึงมิได้กระทาความพยายามอีกต่อไป ทุกขเวทนาได้แผ่ซ่านไปอย่างแรงกล้า
พระโพธิสัตว์จึงดาริว่า ถ้าเราร้องแสดงอาการว่า ติดบ่วง
พวกญาติของเราก็จักตกใจ ไม่ทันได้กินอาหาร บินหนีไป
ทั้งที่ตนกาลังหิวจัดอยู่ทีเดียว ก็จักตกลงไป ในท่ามกลางมหาสมุทร
พระองค์จึงทรงอดกลั้นต่อทุกขเวทนา แม้ตกอยู่ในอานาจบ่วง
ก็ทาทีเป็นเหมือนจิกกินข้าวสาลีอยู่ ในเวลาที่หงส์เหล่านั้นกินอาหารอิ่มหนาแล้ว
เล่นหงส์กีฬาอยู่ จึงร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า ติดบ่วง. หงส์ทั้งหลายได้ยินเสียงนั้น
ต่างก็กลัวตายเป็นกาลัง จึงมุ่งหน้าตรงไปยังเขาจิตตกูฏเป็นพวกๆ
บินหนีไปโดยนัยก่อนนั่นแล.
สุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดีคิดว่า
ภัยนี้บังเกิดขึ้นแก่มหาราชบ้างหรือไม่หนอ เราจักทราบเหตุนั้น
จึงรีบบินไปค้นหาในระหว่างแห่งหมู่หงส์ที่บินไปข้างหน้า
โดยนัยดังกล่าวแล้วแต่หนหลังทีเดียว มิได้เห็นพระมหาสัตว์ในหมู่แม้ทั้งสามหมู่
คิดว่า ภัยนี้บังเกิดขึ้นแก่มหาราชของเรานี้เป็ นแน่แท้ทีเดียว จึงหวนกลับมา
ก็ได้เห็นพระมหาสัตว์ติดบ่วง มีร่างกายเปื้อนโลหิตเร่าร้อนอยู่ ด้วยความทุกข์
จับอยู่บนหลังเปือกตม จึงกล่าวว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่ากลัวเลย
ข้าพระองค์จะสละชีวิตของข้าพระองค์ ให้นายพรานปล่อยพระองค์เสีย
ร่อนลงมาปลอบประโลมพระมหาสัตว์ จับอยู่บนหลังเปือกตม. ลาดับนั้น
พระมหาสัตว์ดาริว่า เมื่อหงส์เก้าหมื่นหกพันทิ้งเราหนีไป
สุมุขหงส์นี้กลับมาแต่ตัวเดียว เธอจักทิ้งเราหนีไป
ในเวลาที่บุตรนายพรานมาแล้วหรือไม่หนอ
เป็นสัตว์มีกายเปื้อนด้วยโลหิตห้อยอยู่ที่ปลายบ่วงทีเดียว
ได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ด้วยสามารถจะทดลองใจว่า
หงส์เหล่านั้นถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมบินหนีไป
ดูก่อนสุมุขะผู้มีขนเหลือง มีผิวพรรณดังทองคา
ท่านจงบินหนีไปตามความปรารถนาเถิด
หมู่ญาติละทิ้งเรา ซึ่งตกอยู่ในอานาจบ่วงตัวเดียว
บินหนีไปไม่เหลียวหลังเลย ท่านจะอยู่ผู้เดียวทาไม
ดูก่อนสุมุขะผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ท่านจงกลับไปเสียเถิด
18
ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วงย่อมไม่มี
ท่านอย่าคลายความเพียรเพื่อความไม่มีทุกข์
จงหนีไปเสียตามความปรารถนาเถิด.
สุมุขหงส์เสนาบดีสดับคานั้น จึงคิดว่า พญาหงส์นี้ยังไม่รู้จักว่า
เราเป็นมิตรแท้ ย่อมกาหนดเราว่า เป็นมิตรไม่มีความรักใคร่
เราจักแสดงความรักแก่พญาหงส์นี้ ดังนี้
ได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า
ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์ แม้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า
ก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย ความเป็ นอยู่หรือความตายของข้าพระองค์
จักมีพร้อมกับพระองค์
ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์ แม้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า
ก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย
พระองค์ไม่ควรจะชักชวนข้าพระองค์ให้ประกอบในกรรมอันประกอบด้วยความ
อันไม่ประเสริฐเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้าพระองค์เป็นสหาย
สหชาติของพระองค์ เป็นผู้ดารงอยู่ในจิตของพระองค์ ใครๆ ก็รู้ว่า
ข้าพระองค์เป็นเสนาบดีของพระองค์ ข้าพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว
จะกล่าวอวดอ้างในท่ามกลางหมู่ญาติได้อย่างไร
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย
ข้าพระองค์ละทิ้งพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว จะกล่าวกะฝูงหงส์เหล่านั้นได้อย่างไร
ข้าพระองค์จักยอมสละชีวิตไว้ในที่นี้ ไม่สามารถจะทากิจอันไม่ประเสริฐได้.
เมื่อสุมุขหงส์บันลือสีหนาทด้วยคาถา ๔ คาถาอย่างนี้แล้ว
พระมหาสัตว์ เมื่อจะพรรณนาคุณของสุมุขหงส์นั้น จึงกล่าวว่า
ดูก่อนสุมุขะ ท่านไม่อาจจะละทิ้งเรา ผู้เป็ นทั้งนาย ทั้งสหาย
ชื่อว่าตั้งอยู่ในทางอันประเสริฐนี้แล เป็ นธรรมเนียมของโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย.
จริงอยู่ เมื่อเรายังเห็นท่าน ความกลัวย่อมไม่เกิดขึ้นเลย
ท่านจักให้เราผู้เป็ นอยู่อย่างนี้รอดชีวิตได้.
เมื่อหงส์ทั้งสองนั้นกาลังพูดกันอยู่อย่างนี้ทีเดียว
นายลุททบุตรยืนอยู่ที่ขอบสระ เห็นหงส์บินหนีไปถึง ๓ หมู่แล้ว
จึงมองดูสถานที่ที่ตนดักบ่วงไว้ว่า เป็นอย่างไรหนอ
เห็นพระโพธิสัตว์ห้อยอยู่ที่คันบ่วง มีความโสมนัสเกิดขึ้นแล้ว
เหน็บชายกระเบนหยักรั้ง ถือไม้ค้อนลุยลงไป ดังว่าไฟบรรลัยกัลป
์
เสือกศีรษะในเบื้องบน ไปยังเลนที่จะต้องเหยียบด้วยเท้า
พุ่งตัวไปข้างหน้ารีบเข้าไปจนใกล้.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
19
เมื่อสุวรรณหงส์ทั้งสองที่ประเสริฐ ซึ่งประพฤติธรรมอันประเสริฐ
กาลังโต้ตอบกันด้วยประการฉะนี้ นายพรานถือท่อนไม้กระชับแน่น
รีบเดินเข้ามา สุมุขหงส์เห็นนายพรานนั้นกาลังเดินมา จึงได้ร้องเสียงดัง
ยืนอยู่ข้างหน้าพญาหงส์ ปลอบพญาหงส์ที่หวาดกลัว ให้เบาใจด้วยคาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย อย่าทรงกลัวเลย
ด้วยว่า บุคคลทั้งหลายเช่นกับพระองค์ย่อมไม่กลัว
ข้าพระองค์จะประกอบความเพียรอันสมควร ประกอบด้วยธรรม
พระองค์จะพ้นจากบ่วงด้วยความเพียร อันผ่องแผ้วนั้นได้โดยพลัน.
สุมุขหงส์ปลอบพระมหาสัตว์ให้เบาใจ
อย่างนี้แล้วจึงไปยังที่ใกล้นายลุททบุตร เปล่งวาจาภาษามนุษย์อันไพเราะว่า
ดูก่อนสหาย ท่านชื่อไร. เมื่อนายพรานตอบว่า
ดูก่อนพญาหงส์ตัวมีผิวพรรณดังทอง เรามีชื่อว่าเขมกะ จึงกล่าวว่า
ดูก่อนเขมกะผู้เป็นสหาย ท่านอย่าได้กระทาความสาคัญว่า
หงส์ที่ติดในบ่วงอันท่านดักไว้นั้น เป็ นหงส์ธรรมดาสามัญ หงส์ที่ติดบ่วงของท่านนี้
คือพญาหงส์ธตรฐ ประเสริฐกว่าหงส์เก้าหมื่นหกพัน
ถึงพร้อมด้วยญาณและศีลาจารวัตร ดารงอยู่ในฝ่ายแห่งความสรรเสริญ
หงส์นี้ไม่สมควรที่ท่านจะฆ่าเสียเลย
ข้าพเจ้าจักกระทากิจที่ควรกระทาด้วยสรีระนี้แก่ท่าน
แม้พญาหงส์นี้มีพรรณประดุจทองคา
ถึงตัวข้าพเจ้าก็มีพรรณดุจทองคาเช่นเดียวกัน แต่ข้าพเจ้าจักยอมสละชีวิตของตน
เพื่อประโยชน์แก่พญาหงส์นี้ หากว่า
ท่านประสงค์จะเอาขนปีกทั้งหลายของพญาหงส์นี้ ก็จงเอาขนปีกของข้าพเจ้าเถิด
ถ้าแม้ว่า ท่านประสงค์จะเอาหนังเนื้อเอ็นกระดูกอย่างหนึ่ง
ก็จงเอาจากสรีระของข้าพเจ้าผู้เดียว
หรือถ้าท่านประสงค์จะกระทาพญาหงส์นั้นให้เป็นหงส์กีฬา(หงส์เต้นระบา)
ก็จงกระทาข้าพเจ้าผู้เดียว ถ้าท่านประสงค์จะให้บังเกิดทรัพย์
ก็จงเอาพญาหงส์นั้นขายทั้งเป็ นๆ กระทาทรัพย์ให้บังเกิดขึ้น
ขอท่านอย่าได้ฆ่าพญาหงส์ ตัวประกอบด้วยคุณมีญาณเป็นต้นนี้ เสียเลย
เพราะถ้าท่านจักฆ่าพญาหงส์นั้น ท่านจักไม่พ้นจากอบายมีนรกเป็นต้น
สุมุขหงส์กล่าวคุกคาม
นายพรานนั้นด้วยภัยในอบายมีนรกเป็ นต้นให้เชื่อถือถ้อยคาอันไพเราะของตน
แล้วกลับไปยังสานักของพระโพธิสัตว์อีก ปลอบประโลมพระองค์ให้เบาใจ
แล้วยืนอยู่.
นายเนสาทสดับคาของสุมุขหงส์นั้น จึงคิดว่า
หงส์นี้แม้เป็นสัตว์ดิรัจฉานยังกระทามิตรธรรมเห็นปานนี้
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

More Related Content

Similar to 534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

423 อินทริยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
423 อินทริยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....423 อินทริยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
423 อินทริยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
294 ชัมพุขาทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
294 ชัมพุขาทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...294 ชัมพุขาทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
294 ชัมพุขาทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
172 ทัททรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
172 ทัททรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx172 ทัททรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
172 ทัททรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
464 จูฬกุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
464 จูฬกุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...464 จูฬกุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
464 จูฬกุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
203 ขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
203 ขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx203 ขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
203 ขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
133 ฆตาสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
133 ฆตาสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx133 ฆตาสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
133 ฆตาสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
207 อัสสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
207 อัสสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx207 อัสสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
207 อัสสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
163 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
163 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx163 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
163 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
221 กาสาวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
221 กาสาวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx221 กาสาวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
221 กาสาวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
154 อุรคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
154 อุรคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx154 อุรคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
154 อุรคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
357 ลฏุกิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
357 ลฏุกิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx357 ลฏุกิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
357 ลฏุกิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
319 ติตติรชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
319 ติตติรชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx319 ติตติรชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
319 ติตติรชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

Similar to 534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

423 อินทริยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
423 อินทริยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....423 อินทริยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
423 อินทริยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
294 ชัมพุขาทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
294 ชัมพุขาทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...294 ชัมพุขาทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
294 ชัมพุขาทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
172 ทัททรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
172 ทัททรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx172 ทัททรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
172 ทัททรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
464 จูฬกุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
464 จูฬกุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...464 จูฬกุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
464 จูฬกุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
203 ขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
203 ขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx203 ขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
203 ขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
133 ฆตาสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
133 ฆตาสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx133 ฆตาสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
133 ฆตาสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
207 อัสสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
207 อัสสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx207 อัสสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
207 อัสสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
163 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
163 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx163 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
163 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
221 กาสาวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
221 กาสาวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx221 กาสาวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
221 กาสาวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
257 คามณิจันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
154 อุรคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
154 อุรคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx154 อุรคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
154 อุรคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
357 ลฏุกิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
357 ลฏุกิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx357 ลฏุกิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
357 ลฏุกิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
319 ติตติรชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
319 ติตติรชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx319 ติตติรชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
319 ติตติรชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 

534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ๒. มหาหังสชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๔) ว่าด้วยพญาหงส์ติดบ่วง (พญาหงส์โพธิสัตว์ได้กล่าว ๓ คาถาว่า) [๘๙] สุมุขะ พ่อเนื้อเหลือง ผู้มีผิวพรรณประดุจทองคา หงส์ทั้งหลายหวั่นไหวต่อภัยอันตราย จึงพากันบินหนีไป ท่านจงหลีกหนีไปตามความปรารถนาเถิด [๙๐] หมู่ญาติทั้งหลายละทิ้งเรา ผู้ติดบ่วงไว้เพียงลาพัง ไม่มีความเยื่อใย พากันบินหนีไป ทาไมจึงเหลือท่านอยู่ตัวเดียวเล่า [๙๑] บินขึ้นไปเถิด ท่านผู้ประเสริฐกว่าหมู่หงส์ ความเป็นสหายไม่มีในผู้ติดบ่วง ท่านอย่าทาความไม่มีทุกข์ให้เสื่อมไปเลย จงหนีไปตามความปรารถนาเถิด สุมุขะ (หงส์สุมุขะได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า) [๙๒] ข้าแต่ท้าวธตรัฏฐะ ข้าพระองค์แม้จะมีทุกข์เป็นเบื้องหน้าก็ไม่ละทิ้งพระองค์ไป ความเป็นหรือความตายของข้าพระองค์ จักมีพร้อมกับพระองค์ [๙๓] ข้าแต่ท้าวธตรัฏฐะ ข้าพระองค์ แม้จะมีทุกข์เป็นเบื้องหน้าก็ไม่ละทิ้งพระองค์ไป พระองค์ไม่ควรจะชักชวนให้ข้าพระองค์ ประกอบกรรมที่บุคคลผู้ไม่ประเสริฐประกอบกันเลย [๙๔] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสูงสุดกว่าฝูงหงส์ ข้าพระองค์เป็นเด็กรุ่นเดียวกับพระองค์ (เด็กรุ่นเดียวกับพระองค์ หมายถึงถือปฏิสนธิวันเดียวกัน ออกจากไข่ในวันเดียวกัน และเจริญเติบโตมาด้วยกัน) เป็นเพื่อนของพระองค์ ดารงอยู่ในจิตใจของพระองค์ ข้าพระองค์เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็ นเสนาบดีของพระองค์ [๙๕] ข้าพระองค์ไปจากที่นี้แล้ว จักอธิบายในท่ามกลางหมู่ญาติได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ข้าพระองค์ละทิ้งพระองค์จากที่นี้ไปแล้ว จะชี้แจงกับฝูงหงส์เหล่านั้นได้อย่างไร ข้าพระองค์ยอมสละชีวิตทิ้งไว้ในที่นี้ จะไม่พยายามทากรรมอันไม่ประเสริฐ (พญาหงส์โพธิสัตว์เมื่อจะสรรเสริญคุณของหงส์สุมุขะ จึงกล่าวว่า) [๙๖] สุมุขะ การที่ท่านไม่พยายามที่จะทอดทิ้งเรา ผู้เป็นทั้งนาย เป็นทั้งเพื่อน ชื่อว่าดารงอยู่ในทางของพระอริยะ นั้นเป็ นธรรมของโบราณกบัณฑิต
  • 2. 2 [๙๗] ก็แลเมื่อเราเห็นท่าน ก็ไม่เกิดความสะดุ้งกลัวเลย แต่ท่านจะประสบอันตรายเหมือนชีวิตของเราที่เป็นอยู่ในขณะนี้ (พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๙๘] เมื่อพญาหงส์ทั้ง ๒ ผู้ประเสริฐมีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ กล่าวปรึกษากันอยู่อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ นายพรานถือท่อนไม้กระชับมั่นรีบด่วนเข้ามาถึงตัว [๙๙] หงส์สุมุขะครั้นเห็นนายพรานกาลังเดินเข้ามา จึงจับอยู่เบื้องหน้าพญาหงส์ เมื่อจะปลอบพญาหงส์ผู้หวาดกลัวให้เบาใจ จึงได้กล่าวขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า [๑๐๐] อย่าทรงกลัวเลย พระองค์ผู้ประเสริฐ ด้วยว่า คนทั้งหลายเช่นกับพระองค์หากลัวไม่ ข้าพระองค์จักประกอบความเพียรอันเนื่องด้วยธรรมอันสมควร ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วนั้น พระองค์จักพ้นจากบ่วงโดยเร็วพลัน (พระบรมศาสดาตรัสว่า) [๑๐๑] นายพรานได้สดับคาสุภาษิตของหงส์สุมุขะนั้น ก็มีโลมชาติชูชัน จึงได้น้อมอัญชลีต่อหงส์สุมุขะนั้น ด้วยกล่าวว่า [๑๐๒] เราไม่เคยได้ยินหรือเคยได้เห็นนกพูดภาษาคนได้ นกพูดถ้อยคาอันประเสริฐ เปล่งวาจาภาษามนุษย์ได้ [๑๐๓] หงส์ตัวนี้เป็ นอะไรกับเจ้า เจ้าพ้นแล้วยังเฝ้ าหงส์ตัวติดบ่วงอยู่ใกล้ๆ หงส์ทั้งหลายพากันละทิ้งหนีไป ทาไมเจ้าจึงเหลืออยู่แต่ผู้เดียว (หงส์สุมุขะถูกนายพรานถามแล้ว จึงตอบว่า) [๑๐๔] ท่านผู้เป็นศัตรูของฝูงนก หงส์นั้นเป็นราชาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารับตาแหน่งเป็นเสนาบดีของพระองค์ เมื่อมีภัยอันตราย ข้าพเจ้าไม่สามารถจะละทิ้งพระองค์ ผู้เป็นอธิบดีแห่งฝูงวิหคไปได้ [๑๐๕] หงส์นั้นเป็ นนายของหงส์ฝูงใหญ่และของข้าพเจ้า ขอพระองค์อย่าถึงความพินาศพระองค์เดียวเลย นายพรานเพื่อนเอ๋ย หงส์นี้เป็ นนายอย่างแท้จริง ข้าพเจ้าจึงพอใจที่จะอยู่ใกล้ๆ พระองค์ (นายพรานถามว่า) [๑๐๖] หงส์สุมุขะเอ๋ย ท่านนอบน้อมตาแหน่ง ประดุจก้อนข้าวที่ได้รับ ชื่อว่าประพฤติธรรมอันประเสริฐ ข้าพเจ้ายอมปล่อยนายของท่าน ท่านทั้ง ๒ จงไปตามสบายเถิด (หงส์สุมุขะตอบว่า)
  • 3. 3 [๑๐๗] เพื่อนเอ๋ย ถ้าท่านดักหงส์และนกทั้งหลาย ด้วยความพยายามเพื่อประโยชน์แก่ตนไซร้ ข้าพเจ้าทั้ง ๒ ขอรับอภัยทานนั้นของท่าน [๑๐๘] ถ้าท่านไม่ดักหงส์และนกทั้งหลายด้วยความพยายาม เพื่อประโยชน์แก่ตนไซร้ ท่านจะไม่มีอิสระ เมื่อปล่อยเราทั้ง ๒ ไป จะพึงทาตนให้เป็ นขโมยนะ นายพราน (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสพระคาถาว่า) [๑๐๙] ท่านเป็นคนรับใช้ของพระราชาองค์ใด จงนาข้าพเจ้าทั้ง ๒ ไปให้ถึงพระราชาองค์นั้นตามพระประสงค์ พระเจ้าสัญญมนะจักทรงกระทาตามพระประสงค์ในพระราชนิเวศน์นั้น [๑๑๐] นายพรานถูกหงส์สุมุขะกล่าวอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงใช้มือประคองพญาหงส์เนื้อทอง ตัวมีผิวพรรณประดุจทองคาทั้ง ๒ ใส่ไว้ในกรง [๑๑๑] นายพรานพาพญาหงส์ทั้ง ๒ ซึ่งมีผิวพรรณผุดผ่อง คือ หงส์สุมุขะและพญาหงส์ธตรัฏฐะซึ่งอยู่ในกรงหลีกไป [๑๑๒] พญาหงส์ธตรัฏฐะถูกนายพรานนาไปอยู่ ได้กล่าวเนื้อความนี้กับหงส์สุมุขะว่า เรากลัวนัก สุมุขะ ด้วยนางพญาหงส์ตัวมีผิวพรรณดังทองคา มีลาขาอ่อนได้ลักษณะ รู้ว่าเราถูกฆ่าแล้วจักฆ่าตัวตายตาม [๑๑๓] สุมุขะ ก็สุเหมานางพญาหงส์ แม่เนื้อเหลือง ผู้เป็นธิดาของพญาปากหงส์จักร่าไห้อย่างแน่นอน เสมือนนางนกกระเรียนผู้กาพร้าร่าไห้อยู่ที่ริมฝั่งสมุทร (หงส์สุมุขะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาว่า) [๑๑๔] พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งสัตวโลกคือหมู่หงส์ มีคุณประมาณมิได้ เป็นครูแห่งหมู่คณะใหญ่ แต่กลับมัวเศร้าโศกราพันถึงหญิงคนเดียวอย่างนี้ นี้เป็นเหมือนมิใช่การกระทาของคนมีปัญญาเลย [๑๑๕] ลมย่อมพัดพาเอากลิ่นทั้ง ๒ อย่าง คือ กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็นไป เด็กอ่อนย่อมเก็บเอาผลไม้ทั้งดิบและสุก คนตาบอดที่โลเลย่อมรับอามิสฉันใด ธรรมดาหญิงก็ฉันนั้น [๑๑๖] พระองค์ไม่รู้จักวินิจฉัยในเหตุทั้งหลาย ปรากฏกับข้าพระองค์เหมือนคนเขลา ถึงเวลาจะตายอยู่แล้ว ก็ยังไม่ทราบกิจที่ควรทาหรือไม่ควรทา [๑๑๗] พระองค์สาคัญหญิงว่าเป็ นผู้ประเสริฐ เห็นจะเป็ นคนกึ่งบ้า จึงบ่นเพ้อราพันไป ความจริง หญิงเหล่านี้สาธารณะทั่วไปแก่ชนเป็นอันมาก เหมือนโรงสุราเป็นสถานที่ทั่วไปแก่นักเลงสุรา
  • 4. 4 [๑๑๘] อนึ่ง หญิงนี้มีมายาเหมือนพยับแดด เป็นเหตุแห่งความเศร้าโศก เป็นเหตุแห่งโรคและอันตราย อนึ่ง หญิงเหล่านี้เป็ นเครื่องผูกมัดอันกล้าแข็ง เป็นบ่วง เป็นถ้า และเป็นที่อยู่อาศัยของมัจจุราช บุรุษใดวางใจในหญิงเหล่านั้น บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นคนต่าทรามในบรรดานรชนทั้งหลาย (พญาหงส์ธตรัฏฐะเมื่อจะแสดงธรรมแก่หงส์สุมุขะ จึงกล่าวว่า) [๑๑๙] สิ่งใดที่ท่านผู้เจริญรู้จักกันดี ใครควรจะติเตียนสิ่งนั้นเล่า ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายเป็ นผู้มีคุณมาก เกิดขึ้นก่อนในโลก (เกิดขึ้นก่อนในโลก หมายถึงเพศหญิงปรากฏขึ้นเป็ นครั้งแรกในกาลปฐมกัลป ์ ) [๑๒๐] การเล่นคะนองอันบุคคลตั้งไว้แล้วในหญิงเหล่านั้น ความยินดีในหญิงเหล่านั้นบุคคลก็ตั้งไว้เฉพาะแล้ว พืชทั้งหลายก็งอกงามในหญิงเหล่านั้น คือสัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดในหญิงเหล่านั้น ชีวิตกับชีวิตมาเกี่ยวข้องกันแล้ว ใครเล่าจะพึงเบื่อหน่ายหญิงเหล่านั้น [๑๒๑] สุมุขะ ท่านเองนั่นแหละไม่ใช่คนอื่น ยังต้องประกอบความต้องการกับหญิงทั้งหลาย วันนี้เมื่อเกิดภัย ความคิดจึงเกิดแก่ท่านเพราะความกลัว [๑๒๒] จริงอยู่ ผู้ถึงความสงสัยในชีวิตทั้งปวง ถึงจะหวาดกลัวก็อดกลั้นความกลัวไว้ เพราะบัณฑิตทั้งหลายผู้ดารงอยู่ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ ย่อมประกอบประโยชน์ที่ยากจะประกอบได้ [๑๒๓] พระราชาทั้งหลายทรงปรารถนาข้าราชการที่กล้าหาญ เพื่อประสงค์ที่จะให้คนกล้าหาญ ป้ องกันอันตรายและเหตุรอบข้างพระองค์ [๑๒๔] วันนี้ ขอพ่อครัวของพระราชา อย่าเชือดเราทั้ง ๒ ในห้องเครื่องใหญ่เลย เพราะว่า สีขนปีกจะฆ่าท่านเหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ [๑๒๕] ท่านแม้พ้นแล้วก็ไม่ปรารถนาจะบินไป ตนเองกลับเดินเข้ามาหาเครื่องดัก วันนี้ แม้ท่านผู้ถึงความสงสัยในชีวิต จงถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์เถิด อย่ายื่นปากออกมาเลย [๑๒๖] ท่านนั้นจงประกอบความเพียร ที่เนื่องด้วยธรรมอันสมควรนั้นเถิด จงเที่ยวแสวงหาหนทางรอดชีวิตให้แก่เรา ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วของท่าน (หงส์สุมุขะกล่าวว่า) [๑๒๗] อย่าทรงกลัวเลย พระองค์ผู้ประเสริฐ ด้วยว่า บุคคลทั้งหลายเช่นกับพระองค์หากลัวไม่ ข้าพระองค์จักประกอบความเพียรอันเนื่องด้วยธรรมอันสมควร ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วนั้น พระองค์จักพ้นจากบ่วงโดยเร็วพลัน (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสพระคาถาว่า)
  • 5. 5 [๑๒๘] นายพรานนั้นเข้าไปยังประตูพระราชวังพร้อมทั้งหาบหงส์ ด้วยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงกราบทูลถึงเรา ให้พระราชาทรงทราบว่า พญาหงส์ธตรัฏฐะนี้มาแล้ว [๑๒๙] ได้ยินว่า พระเจ้าสัญญมนะทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์ทั้ง ๒ นั้นเช่นกับผู้มีบุญ รู้ได้ด้วยลักษณะ จึงได้รับสั่งกับพวกอามาตย์ว่า [๑๓๐] ท่านทั้งหลายจงให้ผ้า ข้าว น้า และของบริโภค แก่นายพราน เงินเป็ นบ่อเกิดความพอใจ (เงินเป็ นบ่อเกิดความพอใจ หมายถึงเป็นกิริยาแสดงความใคร่ของเขา) ให้เขา จงให้แก่เขาตามที่เขาต้องการ (พระบรมศาสดาตรัสว่า) [๑๓๑] พระเจ้ากาสีทอดพระเนตรเห็นนายพรานผู้มีอาการร่าเริง จึงได้ตรัสคานี้ว่า เขมกะ เพื่อนรัก ผิว่าสระโบกขรณีนี้มีฝูงหงส์จับอยู่เต็มไปหมดไซร้ [๑๓๒] ทาไมท่านจึงถือบ่วงเข้าไปใกล้พญาหงส์ ผู้งดงามซึ่งอยู่ ณ ท่ามกลาง ได้จับพญาหงส์ผู้มีหมู่ญาติเกลื่อนกล่น ซึ่งมิใช่หงส์ชั้นกลางได้อย่างไร (นายพรานเขมกะนั้นกราบทูลพระราชาว่า) [๑๓๓] วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ไม่ประมาท แอบซ่อนอยู่ในตุ่ม คอยแสวงหารอยเท้าของพญาหงส์ทองตัวนั้น ตัวเข้าไปใกล้สถานที่ที่จับเหยื่อ [๑๓๔] ต่อมาข้าพระองค์ได้เห็นรอยเท้าของพญาหงส์นั้น ตัวกาลังเที่ยวแสวงหาเหยื่อ จึงได้ดักบ่วงลงไว้ ณ ที่นั้น แล้วจับพญาหงส์นั้นได้ด้วยวิธีอย่างนี้ (พระราชาได้สดับดังนั้น จึงตรัสถามว่า) [๑๓๕] พ่อพราน นกเหล่านี้มีอยู่ ๒ ตัว แต่ทาไมท่านจึงกล่าวว่าตัวเดียว จิตของท่านแปรปรวนแล้วหนอ หรือว่าท่านปรารถนาประโยชน์อะไรกันหนอ (นายพรานกราบทูลว่า) [๑๓๖] หงส์ตัวที่มีลายสีแดงจรดถึงทรวงอก งดงามประดุจทองคา ที่กาลังถูกหล่อหลอมนั้น ได้เข้ามาติดบ่วงของข้าพระองค์ [๑๓๗] ส่วนหงส์ตัวมีผิวพรรณผ่องใสตัวนี้มิได้ติดบ่วง ยืนเปล่งวาจาเป็ นภาษามนุษย์ กล่าวถ้อยคาอันประเสริฐ กับพญาหงส์ตัวติดบ่วง ซึ่งกาลังกระสับกระส่ายอยู่ (พระราชาทรงประสงค์จะให้หงส์สุมุขะแสดงธรรม จึงตรัสว่า) [๑๓๘] สุมุขะ ทาไมหนอเวลานี้ท่านจึงยืนหดคางอยู่ หรือท่านมาถึงบริษัทของเราแล้ว กลัวภัยจึงไม่พูด (หงส์สุมุขะได้ฟังดังนั้น เมื่อจะแสดงความที่ตนไม่กลัวภัย จึงกราบทูลว่า)
  • 6. 6 [๑๓๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งแคว้นกาสี ข้าพระองค์หยั่งลงสู่บริษัทของพระองค์แล้วจะเกรงกลัวหามิได้ ข้าพระองค์ไม่พูดเพราะความเกรงกลัวก็หามิได้ ข้าพระองค์จักกล่าวถ้อยคาในเมื่อมีเรื่องเช่นนั้นเกิดขึ้น (พระราชาสดับดังนั้นแล้วทรงแย้มสรวล ตรัสว่า) [๑๔๐] เราไม่เห็นบริษัทที่ถืออาวุธเลย ไม่เห็นพลรถ พลราบ เกราะ หรือโล่หนัง และนายขมังธนูผู้สรวมเกราะของท่านเลย [๑๔๑] เงิน ทอง หรือนครที่สร้างไว้แล้วอย่างดี มีคูเรียงราย ยากที่จะข้ามได้ มีหอรบและป้ อมอันมั่นคง ซึ่งเป็ นสถานที่ที่ท่านเข้าไป ไม่กลัวสิ่งที่ควรกลัว เรายังไม่เห็นเลย สุมุขะ (หงส์สุมุขะเมื่อจะทูลเหตุนั้น จึงกราบทูลว่า) [๑๔๒] ข้าพระองค์ไม่ต้องการบริวารที่ถืออาวุธ นคร หรือทรัพย์ เพราะข้าพระองค์ทั้งหลายมีปกติเที่ยวไปในอากาศ ย่อมไปยังหนทางอันเป็นสถานที่มิใช่หนทาง [๑๔๓] ก็พระองค์ได้ทรงสดับมาว่า ข้าพระองค์เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียดอ่อน เป็นนักคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ข้าพระองค์จะกล่าววาจาที่มีประโยชน์ ขอพระองค์พึงดารงอยู่ในความสัตย์เถิด [๑๔๔] ด้วยว่าถ้อยคาที่พวกข้าพระองค์กล่าวแล้ว แม้จะเป็นสุภาษิต จะกระทาอะไรแก่พระองค์ผู้หาความสัตย์มิได้ ผู้มิใช่คนประเสริฐมักกล่าวคาเท็จและหยาบช้า [๑๔๕] พระองค์รับสั่งให้ขุดสระอันเกษมนี้ตามคาของพวกพราหมณ์ และพระองค์รับสั่งให้ประกาศอภัยทานไปทั่วทิศทั้ง ๑๐ นี้ [๑๔๖] นกทั้งหลายจึงลงสู่สระโบกขรณีของพระองค์ ซึ่งมีน้าใสสะอาด ที่สระบัวนั้นมีของกินเพียงพอ และไม่มีการเบียดเบียนนกทั้งหลายที่สระนั้น [๑๔๗] พวกข้าพระองค์ได้ยินคาประกาศนี้แล้ว จึงพากันมาใกล้สระโบกขรณีของพระองค์ พวกข้าพระองค์นั้นจึงถูกบ่วงของพระองค์รัด คาประกาศนั้นเป็ นภาษิตเท็จของพระองค์ [๑๔๘] บุคคลมุ่งการกล่าวเท็จและความโลภ คือความต้องการอันชั่วช้าแล้วล่วงเลยสนธิทั้ง ๒ (สนธิทั้ง ๒ หมายถึงปฏิสนธิในเทวโลกและมนุษยโลกทั้ง ๒ อธิบายว่า คนที่ทาบาปธรรมเหล่านี้ไว้ @ต่อไปเบื้องหน้าก็จะล่วงเลยปฏิสนธิที่เป็ นสุคติเข้าถึงนรกที่ไม่น่ายินดีไป) ไป ย่อมเข้าถึงนรกอันไม่มีความสาราญ (พระราชาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
  • 7. 7 [๑๔๙] สุมุขะ เรามิได้ประพฤติผิดที่จับท่านมาที่นี้ เพราะความโลภก็หามิได้ เราทราบมาว่า ท่านทั้งหลาย เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียดอ่อน เป็นนักคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ [๑๕๐] ทาอย่างไรพญาหงส์ทั้ง ๒ จึงจะมากล่าววาจาอันมีประโยชน์ ณ ที่นี้ สุมุขะเพื่อนรัก นายพรานถูกเราสั่ง จึงได้จับท่านด้วยเหตุนั้น (หงส์สุมุขะได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า) [๑๕๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งแคว้นกาสี ข้าพระองค์ทั้งหลายเมื่อชีวิตใกล้เข้ามาถึงคราวใกล้ตาย จึงจะกล่าววาจาที่มีประโยชน์หามิได้เลย [๑๕๒] ผู้ใดฆ่าเนื้อด้วยเนื้อต่อ หรือว่าฆ่านกด้วยนกต่อ หรือเบียดเบียนผู้เป็นพหูสูตด้วยสุตะ จะมีอะไรเล่าเลวทรามไปกว่านั้น [๑๕๓] ก็ผู้ใดกล่าวถ้อยคาอันประเสริฐ แต่อิงอาศัยธรรมอันไม่ประเสริฐ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมพลาดจากโลกทั้ง ๒ คือ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า [๑๕๔] บุคคลได้ยศแล้วไม่พึงมัวเมา ถึงความสงสัยในชีวิต (ถึงความสงสัยในชีวิต หมายถึงประสบทุกข์แล้วไม่พึงลาบาก) แล้วไม่พึงเดือดร้อน พึงพยายามในกิจการงานทั้งหลายร่าไป และพึงปิดช่องโหว่ทั้งหลาย (ปิดช่องโหว่ทั้งหลาย หมายถึงพึงปิด พึงกั้นช่องทะลุ (ข้อบกพร่อง) ของตน) เสีย [๑๕๕] บัณฑิตผู้เจริญเหล่าใดผ่านชีวิตโลกนี้ไป ถึงคราวใกล้ตาย ประพฤติธรรมในโลกนี้ บัณฑิตเหล่านั้นย่อมไปสู่สวรรค์ชั้นไตรทิพย์แล้วด้วยประการฉะนี้ [๑๕๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งแคว้นกาสี พระองค์ทรงสดับคานี้แล้ว ขอทรงรักษาธรรมไว้ในพระองค์เถิด และขอทรงปล่อยพญาหงส์ธตรัฏฐะ ผู้ประเสริฐสูงสุดกว่าหงส์ทั้งหลายเถิด (พระราชาครั้นสดับดังนั้น จึงตรัสว่า) [๑๕๗] พนักงานทั้งหลายจงนาน้ามันทาเท้า และอาสนะอันมีค่ามากมา เราจะปล่อยพญาหงส์ธตรัฏฐะผู้มียศออกจากกรง [๑๕๘] และเราจะปล่อยพญาหงส์ ตัวที่เมื่อหงส์ผู้เป็นพระราชามีสุขก็เป็นสุขด้วย เมื่อมีทุกข์ก็เป็นทุกข์ด้วย ซึ่งเป็ นหงส์เสนาบดี เป็ นนักปราชญ์ มีปัญญาละเอียดอ่อน เป็นนักคิดแต่สิ่งที่เป็ นประโยชน์ [๑๕๙] บุคคลเช่นนี้แลสมควรที่จะบริโภคก้อนข้าวของนายได้ เหมือนหงส์สุมุขะผู้เป็นเพื่อนร่วมชีวิตของพระราชา (พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
  • 8. 8 [๑๖๐] ก็พญาหงส์ธตรัฏฐะได้บินเข้าไปจับตั่งทองคาล้วน ซึ่งมีเท้า ๘ น่ารื่นรมย์ เกลี้ยงเกลา ปูลาดด้วยผ้าแคว้นกาสี [๑๖๑] ส่วนหงส์สุมุขะได้บินเข้าไปเกาะเก้าอี้ทองคาล้วน ซึ่งบุด้วยหนังเสือโคร่ง ถัดจากพญาหงส์ธตรัฏฐะ [๑๖๒] ชาวแคว้นกาสีจานวนมากพาเอาอาหารอันเลิศ ที่พระเจ้ากาสีทรงส่งไปด้วยถาดทองคาให้แก่พญาหงส์เหล่านั้น [๑๖๓] พญาหงส์ธตรัฏฐะผู้ฉลาดในธรรมเนียมการปฏิสันถาร เห็นอาหารอันเลิศที่เขานามาแล้ว ซึ่งพระเจ้ากาสีทรงประทานส่งไป ต่อจากนั้นจึงได้ทูลถามเป็นลาดับไปว่า [๑๖๔] พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ทรงสุขสาราญดีอยู่หรือ ไม่มีโรคเบียดเบียนหรือ แคว้นอันมั่งคั่งนี้พระองค์ทรงปกครองโดยธรรมหรือ (พระราชาตรัสว่า) [๑๖๕] เราสุขสาราญดีพญาหงส์ และไม่มีโรคเบียดเบียน อนึ่ง แคว้นอันมั่งคั่งนี้เราก็ปกครองโดยธรรม (พญาหงส์โพธิสัตว์ทูลถามว่า) [๑๖๖] โทษบางสิ่งบางอย่างในหมู่อามาตย์ของพระองค์ไม่มีหรือ อนึ่ง อามาตย์เหล่านั้นไม่กังวลถึงชีวิต ในเพราะราชกิจอันเป็นประโยชน์ต่อพระองค์หรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๑๖๗] โทษบางสิ่งบางอย่างในหมู่อามาตย์ของเราก็ไม่มี อนึ่ง แม้อามาตย์เหล่านั้นก็ไม่กังวลถึงชีวิต ในเพราะราชกิจอันเป็นประโยชน์ต่อเราเลย (พญาหงส์โพธิสัตว์ทูลถามว่า) [๑๖๘] พระเทวีผู้มีพระชาติเสมอกับพระองค์ ทรงเชื่อฟัง ตรัสพระวาจาอ่อนหวานน่ารัก ทรงมีพระโอรสประกอบด้วยพระรูปโฉมและอิสริยยศ ทรงคล้อยตามพระอัธยาศัยของพระองค์หรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๑๖๙] ก็พระเทวีผู้มีพระชาติเสมอกับเรา เชื่อฟัง กล่าววาจาอ่อนหวานน่ารัก มีพระโอรสประกอบด้วยพระรูปโฉมและอิสริยยศ ยังคล้อยตามอัธยาศัยของเราอยู่ (พญาหงส์โพธิสัตว์ ทูลถามว่า) [๑๗๐] แคว้นมิได้ถูกเบียดเบียน มิได้มีอันตรายแต่ที่ไหนๆ หรือ พระองค์ทรงปกครองโดยธรรมอย่างสม่าเสมอ โดยมิได้เกรี้ยวกราดหรือ (พระราชาตรัสตอบว่า)
  • 9. 9 [๑๗๑] แคว้นก็มิได้ถูกเบียดเบียน มิได้มีอันตรายแต่ที่ไหนๆ เลย เราปกครองโดยธรรมอย่างสม่าเสมอ โดยมิได้เกรี้ยวกราดเลย (พญาหงส์โพธิสัตว์ทูลถามว่า) [๑๗๒] สัตบุรุษพระองค์ทรงยาเกรง ทรงเว้นอสัตบุรุษเสียห่างไกลหรือ พระองค์มิได้ทรงห่างเหินธรรม ประพฤติคล้อยตามอธรรมหรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๑๗๓] สัตบุรุษเราก็ยาเกรง อสัตบุรุษเราก็เว้นห่างไกล เราประพฤติคล้อยตามธรรมเหล่านั้น ส่วนอธรรมเราได้ห่างเหินไปแล้ว (พญาหงส์ทูลถามว่า) [๑๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ พระองค์มิได้ทรงพิจารณาเห็นอนาคตอันยาวนานหรือ ทรงมัวเมาในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ไม่ทรงสะดุ้งกลัวปรโลกหรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๑๗๕] เราพิจารณาเห็นอนาคตอันยาวนานก็หาไม่ พญาหงส์ เราดารงอยู่ในธรรม ๑๐ ประการ (ธรรม ๑๐ ประการ คือทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ คือ (๑) ทาน หมายถึงเจตนาให้วัตถุ ๑๐ ประการ มีข้าวและน้าเป็นต้น (๒) ศีล หมายถึงศีล ๕ ศีล ๑๐ (๓) การบริจาค หมายถึงการบริจาคไทยธรรม (๔) ความซื่อตรง หมายถึงความเป็นคนตรง (๕) ความอ่อนโยน หมายถึงความเป็นคนอ่อนโยน (๖) ความเพียร หมายถึงกรรมคือการรักษาอุโบสถ (๗) ความไม่โกรธ หมายถึงความมีเมตตาเป็นเบื้องต้น (๘) ความไม่เบียดเบียน หมายถึงความมีกรุณาเป็นเบื้องต้น (๙) ความอดทน หมายถึงความอดกลั้น (๑๐) ความไม่คลาดจากธรรม หมายถึงความไม่ขัดเคือง) จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก [๑๗๖] คือ ๑. ทาน ๒. ศีล ๓. การบริจาค ๔. ความซื่อตรง ๕. ความอ่อนโยน ๖. ความเพียร ๗. ความไม่โกรธ ๘. ความไม่เบียดเบียน ๙. ความอดทน ๑๐. ความไม่คลาดธรรม [๑๗๗] เราเห็นกุศลธรรมเหล่านี้ดารงอยู่แล้วในตนด้วยประการฉะนี้ ต่อจากนั้นปีติและโสมนัสมีประมาณไม่น้อยจึงเกิดแก่เรา [๑๗๘] ส่วนหงส์สุมุขะนี้ไม่ทันคิด ไม่ทราบความประทุษร้ายแห่งจิตต่อข้าพระองค์ จึงได้เปล่งวาจาอันหยาบคายออกมา [๑๗๙] หงส์สุมุขะนั้นโกรธ จึงได้เปล่งวาจาอันหยาบคายโดยไม่ไตร่ตรอง กล่าวหาโทษที่ไม่มีอยู่ในข้าพระองค์ การเปล่งนี้ดูเหมือนไม่ใช่ของผู้มีปัญญา (หงส์สุมุขะได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า)
  • 10. 10 [๑๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็ นอธิบดีแห่งมนุษย์ ความพลั้งพลาดนั้นย่อมมีแก่ข้าพระองค์เพราะความผลุนผลัน อนึ่ง เมื่อพญาหงส์ธตรัฏฐะติดบ่วง ข้าพระองค์จึงได้มีทุกข์มากกว่า [๑๘๑] พระองค์เป็นเสมือนพระบิดาของพระโอรสทั้งหลาย เป็ นเหมือนแผ่นดินเป็ นที่พึ่งของภูตทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นดุจพญาช้าง ขอพระองค์โปรดทรงงดโทษ แก่ข้าพระองค์ผู้ถูกความผิดครอบงาด้วยเถิด (พระราชาทรงสรวมกอดหงส์สุมุขะนั้นเมื่อจะรับการขอโทษ จึงตรัสว่า) [๑๘๒] เมื่อเป็นเช่นนี้ เราขออนุโมทนาต่อท่าน เพราะท่านไม่ปกปิดความจริง พญาหงส์ ท่านย่อมทาลายตะปูตรึงจิต (ตะปูตรึงจิต หมายถึงเสาแห่งจิตหรือหลักตอแห่งจิต (ได้แก่ ความโกรธ ความไม่พอใจ จิตถูกโทษครอบงาทาให้แข็งกระด้างต่อผู้อื่น)) จึงนับได้ว่าท่านเป็นหงส์ผู้ซื่อตรง [๑๘๓] รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่มากมาย ในราชนิเวศน์แห่งแคว้นกาสี คือ เงิน ทอง แก้วมุกดา และแก้วไพฑูรย์ [๑๘๔] แก้วมณี สังข์ ไข่มุก ผ้า จันทน์เหลือง หนังสัตว์ เครื่องงาช้าง ทองแดง และเหล็ก เราขอมอบทรัพย์เครื่องปลื้มใจทุกชนิดนั้นให้แก่ท่านทั้ง ๒ และขอปล่อยท่านทั้ง ๒ ให้เป็นอิสระ (พญาหงส์โพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๑๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ข้าพระองค์ทั้ง ๒ ผู้อันพระองค์ทรงยาเกรงและทรงสักการะแล้วโดยแน่แท้ ขอพระองค์โปรดทรงเป็นพระอาจารย์ของข้าพระองค์ทั้ง ๒ ผู้ประพฤติในธรรมทั้งหลายเถิด [๑๘๖] ข้าแต่พระอาจารย์ผู้ทรงย่ายีข้าศึก ข้าพระองค์ทั้ง ๒ ผู้อันพระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ทรงอนุมัติแล้ว จะขอกระทาประทักษิณพระองค์แล้วกลับไปพบญาติทั้งหลาย (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๘๗] พระเจ้ากาสีทรงดาริและทรงปรึกษา อรรถคดีตามที่กล่าวมาตลอดราตรีทั้งปวงแล้ว ทรงอนุญาตพญาหงส์ทั้ง ๒ ตัวประเสริฐสูงสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย [๑๘๘] ต่อจากนั้น เมื่อราตรีรุ่งสว่าง ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมา ขณะพระเจ้ากาสีกาลังทอดพระเนตรอยู่ พญาหงส์ทั้ง ๒ ได้โผบินไปสู่อากาศจากพระราชมณเฑียร [๑๘๙] หงส์ทั้งหลายเห็นพญาหงส์ทั้ง ๒ นั้น มาถึงโดยลาดับอย่างปลอดภัย ต่างพากันส่งเสียงว่าเกกๆ ได้เกิดสาเนียงเสียงดังเจี๊ยวจ๊าว
  • 11. 11 [๑๙๐] หงส์เหล่านั้นผู้มีความเคารพต่อผู้เป็นนาย พากันปลาบปลื้มใจเพราะพญาหงส์ผู้เป็นนายพ้นจากบ่วง จึงพากันแวดล้อมอยู่โดยรอบ หงส์ทั้งหลายได้ที่พึ่งแล้ว [๑๙๑] ประโยชน์ทั้งปวงของบุคคลผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมสาเร็จผลเป็นความสุขความเจริญ เหมือนพญาหงส์ธตรัฏฐะทั้ง ๒ ได้อยู่ใกล้หมู่ญาติฉะนั้น มหาหังสชาดกที่ ๒ จบ ------------------------ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา มหาหังสชาดก ว่าด้วย หงส์ชื่อสุมุขะไม่ละทิ้งพระยาหงส์ผู้ติดบ่วง พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภการสละชีวิตของพระอานนทเถระทีเดียว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. ส่วนเรื่องราวก็คงเหมือนกับเรื่องที่กล่าวมาแล้ว นั่นแล. ก็ในวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระอานนท์ผู้มีอายุสละชีวิตของตน เพื่อประโยชน์แก่พระตถาคต กระทากิจอันยากที่ผู้อื่นจะกระทาได้ ท่านเห็นช้างนาลาคิรีแล้ว แม้ถูกพระศาสดาตรัสห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ยอมกลับเลยทันที น่าชมเชยพระอานนทเถระผู้มีอายุ กระทากิจที่ผู้อื่นกระทาได้ยาก. พระศาสดาทรงพระดาริว่า ถ้อยคาสรรเสริญคุณของพระอานนท์กาลังเป็นไปอยู่ เราควรไปในที่นั้น จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ในบัดนี้ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่บัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ถึงในกาลก่อน อานนท์แม้บังเกิดแล้ว ในกาเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ได้ยอมเสียสละชีวิตของตน เพื่อประโยชน์แก่ตถาคตแล้วเหมือนกัน ดังนี้ แล้วจึงทรงดุษณีภาพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรงนาอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้. ในอดีตกาล ในเมืองพาราณสี พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระนามว่าสังยมะ (บาลีเป็นสังยมนะบ้าง สัญญมนะบ้าง) มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่าเขมา. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์มีหมู่หงส์เก้าหมื่นหกพันแวดล้อมเป็นบริวาร อาศัยอยู่ ณ ภูเขาจิตตกูฏ
  • 12. 12 อยู่มาวันหนึ่ง พระนางเขมาเทวีได้ทรงพระสุบินนิมิต ในเวลาใกล้รุ่งว่า มีพญาหงส์ทอง ๒ ตัว มาจับอยู่ที่พระราชบัลลังก์ แล้วแสดงธรรมกถาด้วยเสียงอันไพเราะ เมื่อพระนางเทวีประทานสาธุการ ทรงสดับธรรมกถาอยู่ ยังมิทันเอิบอิ่มในการสดับธรรมทีเดียว ราตรีก็สว่างเสียแล้ว พญาหงส์ทั้งสอง ครั้นแสดงธรรมแล้ว จึงพากันบินออกไปทางช่องพระแกล แม้พระนางก็รับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงรีบลุกขึ้นช่วยกันจับ ช่วยกันจับหงส์ที่กาลังบินหนีไป กาลังเหยียดพระหัตถ์อยู่นั่นแล ก็ตื่นจากพระบรรทม เหล่านางกานัลได้ยินพระราชเสาวนีย์ของพระนาง ก็พากันแย้มสรวลเล็กน้อยว่า หงส์ที่ไหนกัน พระนางจึงทรงทราบ ในขณะนั้นว่า ทรงสุบินนิมิตไป จึงทรงดาริว่า สิ่งที่ไม่เป็นความจริง เราจะไม่ฝันเห็น พญาหงส์ที่มีสีประดุจทองคาคงจักมีอยู่ในโลกนี้เป็ นแน่แท้ แต่ถ้าเราจักทูลพระราชาว่า หม่อมฉันใคร่จะฟังธรรมของพญาหงส์ทองทั้งหลาย พระองค์จะตรัสว่า ขึ้นชื่อว่าหงส์ทองทั้งหลาย เรายังไม่เคยเห็นเลย และธรรมดาว่า หงส์ทั้งหลายจะกล่าวถ้อยคาได้ ก็ไม่เคยมีมาเลย ดังนี้ ก็จักเป็นผู้ไม่ทรงขวนขวายให้ แต่เมื่อเราทูลว่า เราตั้งครรภ์มีอาการแพ้ท้องแล้ว พระองค์คงจักทรงสืบเสาะแสวงหาโดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ความปรารถนาของเรา จักสาเร็จสมดังมโนรถ ด้วยอาการอย่างนี้ พระนางจึงแสร้งแสดงอาการประชวร ให้สัญญาแก่เหล่านางกานัล ทรงบรรทมนิ่งอยู่ พระราชาประทับนั่ง ณ พระราชอาสน์ มิได้ทอดพระเนตรเห็นพระนาง ในเวลาที่พระนางเคยเข้าเฝ้ า จึงตรัสถามว่า พระนางเขมาไปไหน. ทรงสดับว่า ประชวร จึงเสด็จไปยังสานักของพระนาง ประทับนั่ง ณ ประเทศส่วนหนึ่ง ข้างที่พระบรรทม ทรงลูบพระปฤษฎางค์ ตรัสถามว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เธอไม่สบายเป็นอะไรไปหรือ พระนางทูลตอบว่า ขอเดชะ ความไม่สบายอย่างอื่นมิได้มี แต่อาการทรงครรภ์บังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน. พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพระนาง ถ้าเช่นนั้นจงบอกมาเถิด เธอปรารถนาสิ่งใด เราจะน้อมนาสิ่งนั้นมาให้เธอโดยเร็ว พระนางทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า หม่อมฉันปรารถนาจะทาการบูชาด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นแก่พญ าหงส์ทองตัวหนึ่ง. ซึ่งจับอยู่ที่ราชบัลลังก์ มีเศวตฉัตรอันยกขึ้นไว้แล้วให้สาธุการ สดับธรรมกถา (ของพญาหงส์นั้น) ถ้าหม่อมฉันได้อย่างนี้ การได้ด้วยประการดังนี้นั้นเป็นการดี ถ้าหากไม่ได้ชีวิตของหม่อมฉันก็จะไม่มี. ลาดับนั้น พระราชาจึงทรงปลอบเอาพระทัยพระนางว่า ถ้าสุพรรณหงส์มีอยู่ในมนุษยโลก เธอก็คงจักได้สมประสงค์ อย่าเสียใจไปเลย
  • 13. 13 แล้วเสด็จออกจากห้องอันมีสิริ ตรัสปรึกษากับพวกอามาตย์ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระนางเขมาเทวีตรัสกะเราว่า หม่อมฉันได้สดับธรรมกถาของพญาหงส์ทอง จึงจะมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าไม่ได้แล้วชีวิตของหม่อมฉัน ก็จะไม่มี หงส์ที่มีสีดุจทองคายังมีอยู่บ้างหรือ. พวกอามาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยเห็น ทั้งไม่เคยได้ยินเลย พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า ก็มีใครจะพึงรู้จักบ้าง. พวกอามาตย์กราบทูลว่า พวกพราหมณ์ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสสั่งให้เชิญพราหมณ์ทั้งหลายมา ทรงกระทาสักการะแล้ว ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ทั้งหลาย หงส์ที่มีสีดังทองคายังมีอยู่บ้างหรือ. พวกพราหมณ์ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่มหาราชเจ้า สัตว์ดิรัจฉาน ๖ จาพวกเหล่านี้ คือ ปลา ปู เต่า เนื้อ นกยูง หงส์ มีมาในมนต์ของข้าพเจ้าทั้งหลายว่า มีสีดุจทองคา บรรดาสัตว์ทั้ง ๖ จาพวกนี้ ขึ้นชื่อว่าเหล่าหงส์ที่เกิดในตระกูลธตรฐ เป็นสัตว์ฉลาดประกอบด้วยความรู้ นับทั้งพวกมนุษย์ด้วย ย่อมเป็นสัตว์ที่มีพรรณประหนึ่งทองคา รวมเป็ น ๗ จาพวก ด้วยประการฉะนี้. พระราชาทรงดีพระทัยตรัสถามว่า เหล่าหงส์ที่เกิดในตระกูลธตรฐนั้นอยู่ที่ไหนเล่า ท่านอาจารย์. พวกพราหมณ์ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ไม่ทราบพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า มีใครรู้จักพวกหงส์เหล่านั้นบ้าง. เมื่อพวกพราหมณ์ทูลว่า พวกบุตรนายพรานจักทราบ จึงตรัสสั่งให้เรียกพวกนายพราน ในแคว้นของพระองค์มาประชุมกันทั้งหมด แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ ชื่อว่าหงส์ตระกูลธตรฐมีสีดังทองคา อยู่ ณ ที่ไหน. ลาดับนั้น นายพรานคนหนึ่งจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ได้ทราบมาว่า ตระกูลแห่งญาติทั้งหลายกล่าวสืบๆ กันมาว่า หงส์เหล่านั้นอยู่ ณ ภูเขาจิตตกูฏ ในประเทศหิมวันต์. พระราชาตรัสถามว่า ก็ท่านพอจะรู้อุบายที่จะจับหงส์เหล่านั้นได้หรือ. พวกนายพรานกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ไม่ทราบ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า ก็ชนเหล่าไหนจักทราบเล่า. พวกนายพรานกราบทูลว่า พวกพราหมณ์ พระเจ้าข้า. ท้าวเธอจึงรับสั่งให้เรียกพราหมณ์ที่เป็นบัณฑิตมาแล้ว ตรัสบอกความที่พวกหงส์มีพรรณดังทองคา มีอยู่ ณ ภูเขาจิตตกูฏแล้ว ตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายยังจะรู้จักอุบายที่จะจับหงส์เหล่านั้นหรือ. พวกพราหมณ์ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ประโยชน์อะไรที่จะต้องไปจับหงส์เหล่านั้น ถึงภูเขาจิตตกูฏนั้น ข้าพระองค์จักนาหงส์เหล่านั้นมาสู่ที่ใกล้พระนครแล้ว จักจับเอาด้วยอุบาย. พระราชาตรัสถามว่า ก็อุบายอะไรเล่า. พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์จงตรัสสั่งให้ขุดสระใหญ่ ชื่อว่าเขมะ ประมาณ ๓ คาวุตทางทิศเหนือแต่พระนคร ให้เต็มด้วยน้าแล้วปลูกธัญชาติต่างๆ
  • 14. 14 กระทาให้ดารดาษไปด้วยดอกบัวเบญจพรรณ ให้นายพรานผู้ฉลาดคนหนึ่งอยู่ประจารักษา อย่าให้หมู่มนุษย์เข้าไปใกล้ ให้คนอยู่ ๔ มุมสระ คอยประกาศอภัย สกุณชาติต่างๆ ก็จักลงจากทิศทั้งหลายซึ่งเห็นได้. หงส์เหล่านั้นได้สดับว่า สระนั้นเป็นที่เกษมสาราญ โดยที่เล่าลือกันสืบๆ มาก็จักพากันมา เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์พึงให้ดักด้วยบ่วง อันทาด้วยขนสัตว์ แล้วจับเอาหงส์เหล่านั้นเถิด. พระราชาทรงสดับคานั้น จึงให้สร้างสระมีประการดังกล่าวแล้ว ในประเทศที่พวกพราหมณ์เหล่านั้นทูลบอก แล้วตรัสสั่งให้เรียกนายพรานผู้ฉลาดมา ทรงปลอบประโลมนายพรานนั้นว่า จาเดิมแต่นี้ไป ท่านจงเลิกกระทาการงานของตนเสียเถิด เราจักเลี้ยงดูบุตรและภรรยาของท่านเอง ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว พึงรักษาสระเขมะ ให้พวกมนุษย์ถอยกลับแล้ว ประกาศอภัยในมุมสระทั้ง ๔ พึงบอกถึงฝูงนกที่มาแล้ว และมาแล้วแก่เรา เมื่อสุวรรณหงส์ทั้งหลายมาแล้ว ท่านจักได้สักการะใหญ่ แล้วให้รักษาสระเขมะ. จาเดิมแต่นั้นมา นายพรานนั้นก็ปฏิบัติอยู่ในที่นั้น โดยนัยที่พระราชาตรัสสั่งไว้ทีเดียว ก็นายเนสาทนั้นปรากฏชื่อว่า นายเขมเนสาท ดังนี้ทีเดียว เพราะรักษาสระเขมะ และจาเดิมแต่นั้นมา สกุณชาติทั้งหลายต่างๆ ชนิดก็พากันลงสู่สระนั้น. พวกหงส์ต่างๆ พากันมาด้วยเสียงประกาศชักชวนกันต่อๆ มาว่า เขมสระไม่มีภัย. ทีแรกพวกติณหงส์มาก่อน แล้วพวกบัณฑุหงส์ก็พากันมา ด้วยเสียงประกาศของพวกติณหงส์เหล่านั้น แล้วพวกมโนศิลาวรรณหงส์ ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศของพวกบัณฑุหงส์ แล้วเสตหงส์ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศของพวกมโนศิลาวรรณหงส์นั้น ต่อจากนั้น พวกปากหงส์ก็พากันมา ด้วยเสียงประกาศของเสตหงส์เหล่านั้น ครั้นพวกหงส์เหล่านั้นมาแล้ว นายเขมเนสาทจึงได้มาเฝ้ า กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ หงส์มากินอาหารในสระถึง ๕ ประเภทแล้ว พวกหงส์มีสีดังทองคา ก็คงจักมาใน ๒-๓ วันนี้เป็นแน่ เพราะพวกปากหงส์มาแล้ว ขอพระองค์อย่าได้ทรงวิตกไปเลย พระเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับคานั้น จึงให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศทั่วไปในพระนครว่า บุคคลอื่นอย่าพึงเข้าไปในเขมสระนั้น บุคคลผู้ใดเข้าไป บุคคลผู้นั้นจักถึงการตัดมือและเท้า และถูกริบเรือนด้วย. จาเดิมแต่วันนั้นมา ใครๆ ก็ไม่อาจเข้าไปในสระนั้น ก็พวกปากหงส์ทั้งหลายอาศัยอยู่ในถ้าทอง ใกล้ภูเขาจิตตกูฏ แม้ปากหงส์เหล่านั้นเป็ นสัตว์มีกาลังมาก อนึ่ง วรรณะแห่งสรีระของพวกปากหงส์เหล่านั้น ก็มิได้ผิดแปลกกับหงส์ตระกูลธตรฐ ก็ธิดาแห่งพญาหงส์ปากราชมีวรรณะประดุจทองคา พญาปากหงส์นั้นดาริว่า
  • 15. 15 ธิดาของเรานี้สมควรแก่ธตรฐราชหงส์ที่มีความยิ่งใหญ่ จึงส่งนางไปให้เป็ นบาทบริจาริกาของพญาหงส์ธตรฐนั้น นางได้เป็นที่รักที่เจริญของพญาหงส์ธตรฐนั้น เพราะเหตุนั้นแล ตระกูลหงส์ทั้งสองนั้น จึงได้เกิดมีความคุ้นเคยกันอย่างสนิทสนม. อยู่มาวันหนึ่ง พวกหงส์ที่เป็ นบริวารของพระโพธิสัตว์ ถามพวกปากหงส์ว่า ทุกๆ วันนี้ พวกท่านไปเที่ยวหาอาหารกินที่ไหน พวกเราไปหาอาหารกินในเขมสระ ใกล้เมืองพาราณสี ก็พวกท่านไปเที่ยวหากินที่ไหนเล่า เมื่อพวกหงส์เหล่าธตรฐบอกว่า พวกเราไปหาอาหารกินในที่โน้นๆ พวกปากหงส์จึงกล่าวพรรณนาคุณเขมสระว่า ทาไม พวกท่านจึงไม่ไปยังสระเขมะ ด้วยว่า สระนั้นเป็ นที่น่ารื่นรมย์ เกลื่อนกลาดไปด้วยสกุณชาติๆ ชนิด ดารดาษไปด้วยดอกบัว เบญจพรรณ สมบูรณ์ด้วยพืชพรรณ ธัญญาหาร และผลไม้ต่างๆ มีหมู่ภมรต่างๆ ชนิดบินว่อนอยู่อึงมี่ ในมุมสระทั้ง ๔ มีเสียงประกาศอภัย เป็นไปอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ไม่ว่ามนุษย์ไรๆ ไม่สามารถที่จะเข้าไปใกล้ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไย ถึงการกระทาอันตรายอย่างอื่นๆ เล่า สระมีคุณเห็นปานนี้แล พวกเหล่าหงส์ธตรฐเหล่านั้น ได้สดับคาของพวกปากหงส์แล้ว จึงพากันไปบอกแก่สุมุขหงส์ว่า ได้ยินว่า มีสระสระหนึ่งชื่อเขมะ มีคุณภาพเห็นปานนี้ อยู่ใกล้เมืองพาราณสี พวกปากหงส์ไปเที่ยวหาอาหารกินในสระนั้น แม้ท่านก็จงบอกแก่พญาหงส์ธตรฐที่มีความเป็นใหญ่ยิ่ง ถ้าพระองค์อนุญาต แม้พวกข้าพเจ้าก็จะพึงไปหาอาหารในที่นั้นบ้าง สุมุขหงส์จึงบอกแก่พญาหงส์ แม้พญาหงส์นั้นก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ทั้งหลายมีเล่ห์เหลี่ยมมาก มีความคิดแหลม ฉลาดในอุบาย น่าจะมีเหตุในที่นั้น ขึ้นชื่อว่าสระย่อมไม่มีในที่นั้น ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ บัดนี้ ชะรอยจะมีใครมาขุดไว้ และจักขุดไว้ เพื่อคอยดักจับพวกเราเป็นแน่. พญาหงส์จึงกล่าวกะสุมุขหงส์ว่า ท่านอย่าพอใจไปในที่นั้นเลย สระนั้น พวกมนุษย์เหล่านั้นมิได้ขุดไว้ตามธรรมดาของตน คงจะขุดไว้เพื่อต้องการจับพวกเรา ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ทั้งหลาย มีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย มีความคิดแหลม ฉลาดในอุบาย ท่านทั้งหลายจงเที่ยวไปในที่โคจรของตนตามเดิมเถิด พวกหงส์ทองก็ได้บอกแก่สุมุขหงส์ว่า พวกเราใคร่จะไปยังเขมสระ ดังนี้ ถึงสองครั้งสามครั้ง สุมุขหงส์จึงบอกความที่พวกหงส์เหล่านั้นใคร่จะไปในสระนั้นแก่พระมหาสัตว์. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า พวกญาติทั้งหลายของเรา จงอย่าได้ลาบากเพราะอาศัยเราเลย ถ้ากระนั้น เราทั้งหลายจะไปด้วยกัน
  • 16. 16 มีหงส์เก้าหมื่นหกพันแวดล้อมเป็นบริวาร พากันไปหากินในสระนั้น เล่นหงส์กีฬาแล้วบินกลับมายังเขาจิตตกูฏ. ฝ่ายนายพรานเขมกะ ในเวลาที่หงส์เหล่านั้นมาเที่ยวบินกลับไปแล้ว จึงไปกราบทูลแด่พระราชาว่า พวกหงส์ทองเหล่านั้นพากันมาแล้ว พระราชาทรงดีพระทัยตรัสสั่งว่า ดูก่อนสหายเขมกะ ท่านจงพยายามจับหงส์ทองนั้นไปให้ สักตัวหนึ่งหรือสองตัว เราจักให้ยศใหญ่แก่ท่าน แล้วจึงประทานเครื่องเสบียง ส่งนายพรานนั้นไป นายเขมกเนสาทนั้นไปถึงที่สระนั้นแล้ว จึงนั่งนิ่งอยู่ในเรือนกรงที่มีสัณฐานดังตุ่ม พิจารณาดูทาเลหากินของพวกหงส์ ธรรมดาว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีปกติไม่ประพฤติมักได้ เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงจิกกินข้าวสาลี โดยลาดับ จาเดิมแต่ที่ที่ตนร่อนลง. ฝ่ายหงส์นอกนั้นเที่ยวจิกกินข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง. ลาดับนั้น บุตรนายพรานจึงคิดว่า หงส์ตัวนี้มีปกติไม่ประพฤติมักได้ เราควรดักหงส์ตัวนี้เถิด. ในวันรุ่งขึ้น เมื่อหงส์ทั้งหลายยังไม่ทันร่อนลงมาสู่สระนั่นแล จึงนั่งในเรือนกรงที่มีสัณฐานดังตุ่มนั้นแล้ว ค่อยๆ กระเถิบไปสู่ที่นั้น แล้วจึงซ่อนตัวอยู่ในพงหญ้า ในที่ไม่ไกลนัก แลดูอยู่ตามช่อง. ในขณะนั้น พระมหาสัตว์มีหงส์เก้าหมื่นหกพันเป็นเบื้องหน้า ร่อนลงในสถานที่ที่ตนเคยร่อนลงแล้วในวันวานนั่นเอง จับอยู่ที่แอ่งจิกกินข้าวสาลีไปพลาง. นายเนสาทแลดูตามช่องลูกกรง เห็นอัตภาพของพระโพธิสัตว์นั้น ถึงแล้วซึ่งส่วนอันงามเลิศด้วยรูปร่าง จึงคิดว่า หงส์ตัวนี้มีร่างกายโตเท่าดุมเกวียน มีพรรณดุจทองคา มีรอยแดง ๓ รอยคาดอยู่ที่คอ มีรอยพาดลงไปทางลาคอไปโดยระหว่างท้อง ๓ รอย มีรอยแล่นไปตลอดโดยส่วนแห่งเบื้องหางอีก ๓ รอย ย่อมรุ่งเรือง ประดุจลิ่มทองคา ที่บุคคลวางไว้บนกลุ่มไหมกัมพลแดง หงส์ตัวนี้คงเป็นพญาแห่งหงส์เหล่านี้เป็นแน่แท้ เราจักจับหงส์ตัวนี้แหละ. แม้พญาหงส์เที่ยวหาอาหารได้เป็ นอันมาก เล่นกีฬาในน้า มีฝูงหงส์แวดล้อมกลับไปยังเขาจิตตกูฏทีเดียว พระโพธิสัตว์เที่ยวหากินอาหาร โดยทานองนี้ตลอดกาลประมาณ ๕-๖ วัน. ในวันที่ ๗ นายพรานเขมกะขวั้นเชือกเส้นใหญ่ ที่ทาด้วยขนหางม้าสีดาให้มั่นคง กระทาให้เป็นบ่วงมีคัน ทราบโดยถ่องแท้ว่า ในวันพรุ่งนี้ พญาหงส์จักร่อนลงในที่นี้ จึงดักบ่วงไว้ใต้น้า. ในวันรุ่งขึ้น พญาหงส์เมื่อโผลงมา จึงเอาเท้าถลาลงไปในบ่วง. ทันใดนั้น บ่วงของนายพรานนั้นก็รวบรัดเท้าไว้ เหมือนมีใครมาฉุดคร่าด้วยลวดเหล็ก. พญาหงส์นั้นจึงคิดว่า เราจักกระตุกบ่วงนั้นให้ขาด
  • 17. 17 จึงรวบรวมกาลังฉุดคร่ามาแล้วให้ตกลงไป. ในครั้งแรก หนังอันมีสีประดุจทองคาก็ขาดไป ในครั้งที่สอง เนื้อซึ่งมีสีประดุจผ้ากัมพลก็ขาดไป ในครั้งที่สาม เส้นเอ็นก็ได้ขาดไปจนจรดกระดูก. พระโพธิสัตว์ดาริว่า ในครั้งที่สี่ เท้าคงขาดแน่. ธรรมดาว่า พระราชาเป็ นผู้มีอวัยวะอันเลวทราม ไม่เหมาะสมเลย จึงมิได้กระทาความพยายามอีกต่อไป ทุกขเวทนาได้แผ่ซ่านไปอย่างแรงกล้า พระโพธิสัตว์จึงดาริว่า ถ้าเราร้องแสดงอาการว่า ติดบ่วง พวกญาติของเราก็จักตกใจ ไม่ทันได้กินอาหาร บินหนีไป ทั้งที่ตนกาลังหิวจัดอยู่ทีเดียว ก็จักตกลงไป ในท่ามกลางมหาสมุทร พระองค์จึงทรงอดกลั้นต่อทุกขเวทนา แม้ตกอยู่ในอานาจบ่วง ก็ทาทีเป็นเหมือนจิกกินข้าวสาลีอยู่ ในเวลาที่หงส์เหล่านั้นกินอาหารอิ่มหนาแล้ว เล่นหงส์กีฬาอยู่ จึงร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า ติดบ่วง. หงส์ทั้งหลายได้ยินเสียงนั้น ต่างก็กลัวตายเป็นกาลัง จึงมุ่งหน้าตรงไปยังเขาจิตตกูฏเป็นพวกๆ บินหนีไปโดยนัยก่อนนั่นแล. สุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดีคิดว่า ภัยนี้บังเกิดขึ้นแก่มหาราชบ้างหรือไม่หนอ เราจักทราบเหตุนั้น จึงรีบบินไปค้นหาในระหว่างแห่งหมู่หงส์ที่บินไปข้างหน้า โดยนัยดังกล่าวแล้วแต่หนหลังทีเดียว มิได้เห็นพระมหาสัตว์ในหมู่แม้ทั้งสามหมู่ คิดว่า ภัยนี้บังเกิดขึ้นแก่มหาราชของเรานี้เป็ นแน่แท้ทีเดียว จึงหวนกลับมา ก็ได้เห็นพระมหาสัตว์ติดบ่วง มีร่างกายเปื้อนโลหิตเร่าร้อนอยู่ ด้วยความทุกข์ จับอยู่บนหลังเปือกตม จึงกล่าวว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่ากลัวเลย ข้าพระองค์จะสละชีวิตของข้าพระองค์ ให้นายพรานปล่อยพระองค์เสีย ร่อนลงมาปลอบประโลมพระมหาสัตว์ จับอยู่บนหลังเปือกตม. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ดาริว่า เมื่อหงส์เก้าหมื่นหกพันทิ้งเราหนีไป สุมุขหงส์นี้กลับมาแต่ตัวเดียว เธอจักทิ้งเราหนีไป ในเวลาที่บุตรนายพรานมาแล้วหรือไม่หนอ เป็นสัตว์มีกายเปื้อนด้วยโลหิตห้อยอยู่ที่ปลายบ่วงทีเดียว ได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ด้วยสามารถจะทดลองใจว่า หงส์เหล่านั้นถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมบินหนีไป ดูก่อนสุมุขะผู้มีขนเหลือง มีผิวพรรณดังทองคา ท่านจงบินหนีไปตามความปรารถนาเถิด หมู่ญาติละทิ้งเรา ซึ่งตกอยู่ในอานาจบ่วงตัวเดียว บินหนีไปไม่เหลียวหลังเลย ท่านจะอยู่ผู้เดียวทาไม ดูก่อนสุมุขะผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ท่านจงกลับไปเสียเถิด
  • 18. 18 ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วงย่อมไม่มี ท่านอย่าคลายความเพียรเพื่อความไม่มีทุกข์ จงหนีไปเสียตามความปรารถนาเถิด. สุมุขหงส์เสนาบดีสดับคานั้น จึงคิดว่า พญาหงส์นี้ยังไม่รู้จักว่า เราเป็นมิตรแท้ ย่อมกาหนดเราว่า เป็นมิตรไม่มีความรักใคร่ เราจักแสดงความรักแก่พญาหงส์นี้ ดังนี้ ได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์ แม้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย ความเป็ นอยู่หรือความตายของข้าพระองค์ จักมีพร้อมกับพระองค์ ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์ แม้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย พระองค์ไม่ควรจะชักชวนข้าพระองค์ให้ประกอบในกรรมอันประกอบด้วยความ อันไม่ประเสริฐเลย ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้าพระองค์เป็นสหาย สหชาติของพระองค์ เป็นผู้ดารงอยู่ในจิตของพระองค์ ใครๆ ก็รู้ว่า ข้าพระองค์เป็นเสนาบดีของพระองค์ ข้าพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว จะกล่าวอวดอ้างในท่ามกลางหมู่ญาติได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ละทิ้งพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว จะกล่าวกะฝูงหงส์เหล่านั้นได้อย่างไร ข้าพระองค์จักยอมสละชีวิตไว้ในที่นี้ ไม่สามารถจะทากิจอันไม่ประเสริฐได้. เมื่อสุมุขหงส์บันลือสีหนาทด้วยคาถา ๔ คาถาอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ เมื่อจะพรรณนาคุณของสุมุขหงส์นั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนสุมุขะ ท่านไม่อาจจะละทิ้งเรา ผู้เป็ นทั้งนาย ทั้งสหาย ชื่อว่าตั้งอยู่ในทางอันประเสริฐนี้แล เป็ นธรรมเนียมของโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย. จริงอยู่ เมื่อเรายังเห็นท่าน ความกลัวย่อมไม่เกิดขึ้นเลย ท่านจักให้เราผู้เป็ นอยู่อย่างนี้รอดชีวิตได้. เมื่อหงส์ทั้งสองนั้นกาลังพูดกันอยู่อย่างนี้ทีเดียว นายลุททบุตรยืนอยู่ที่ขอบสระ เห็นหงส์บินหนีไปถึง ๓ หมู่แล้ว จึงมองดูสถานที่ที่ตนดักบ่วงไว้ว่า เป็นอย่างไรหนอ เห็นพระโพธิสัตว์ห้อยอยู่ที่คันบ่วง มีความโสมนัสเกิดขึ้นแล้ว เหน็บชายกระเบนหยักรั้ง ถือไม้ค้อนลุยลงไป ดังว่าไฟบรรลัยกัลป ์ เสือกศีรษะในเบื้องบน ไปยังเลนที่จะต้องเหยียบด้วยเท้า พุ่งตัวไปข้างหน้ารีบเข้าไปจนใกล้. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
  • 19. 19 เมื่อสุวรรณหงส์ทั้งสองที่ประเสริฐ ซึ่งประพฤติธรรมอันประเสริฐ กาลังโต้ตอบกันด้วยประการฉะนี้ นายพรานถือท่อนไม้กระชับแน่น รีบเดินเข้ามา สุมุขหงส์เห็นนายพรานนั้นกาลังเดินมา จึงได้ร้องเสียงดัง ยืนอยู่ข้างหน้าพญาหงส์ ปลอบพญาหงส์ที่หวาดกลัว ให้เบาใจด้วยคาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย อย่าทรงกลัวเลย ด้วยว่า บุคคลทั้งหลายเช่นกับพระองค์ย่อมไม่กลัว ข้าพระองค์จะประกอบความเพียรอันสมควร ประกอบด้วยธรรม พระองค์จะพ้นจากบ่วงด้วยความเพียร อันผ่องแผ้วนั้นได้โดยพลัน. สุมุขหงส์ปลอบพระมหาสัตว์ให้เบาใจ อย่างนี้แล้วจึงไปยังที่ใกล้นายลุททบุตร เปล่งวาจาภาษามนุษย์อันไพเราะว่า ดูก่อนสหาย ท่านชื่อไร. เมื่อนายพรานตอบว่า ดูก่อนพญาหงส์ตัวมีผิวพรรณดังทอง เรามีชื่อว่าเขมกะ จึงกล่าวว่า ดูก่อนเขมกะผู้เป็นสหาย ท่านอย่าได้กระทาความสาคัญว่า หงส์ที่ติดในบ่วงอันท่านดักไว้นั้น เป็ นหงส์ธรรมดาสามัญ หงส์ที่ติดบ่วงของท่านนี้ คือพญาหงส์ธตรฐ ประเสริฐกว่าหงส์เก้าหมื่นหกพัน ถึงพร้อมด้วยญาณและศีลาจารวัตร ดารงอยู่ในฝ่ายแห่งความสรรเสริญ หงส์นี้ไม่สมควรที่ท่านจะฆ่าเสียเลย ข้าพเจ้าจักกระทากิจที่ควรกระทาด้วยสรีระนี้แก่ท่าน แม้พญาหงส์นี้มีพรรณประดุจทองคา ถึงตัวข้าพเจ้าก็มีพรรณดุจทองคาเช่นเดียวกัน แต่ข้าพเจ้าจักยอมสละชีวิตของตน เพื่อประโยชน์แก่พญาหงส์นี้ หากว่า ท่านประสงค์จะเอาขนปีกทั้งหลายของพญาหงส์นี้ ก็จงเอาขนปีกของข้าพเจ้าเถิด ถ้าแม้ว่า ท่านประสงค์จะเอาหนังเนื้อเอ็นกระดูกอย่างหนึ่ง ก็จงเอาจากสรีระของข้าพเจ้าผู้เดียว หรือถ้าท่านประสงค์จะกระทาพญาหงส์นั้นให้เป็นหงส์กีฬา(หงส์เต้นระบา) ก็จงกระทาข้าพเจ้าผู้เดียว ถ้าท่านประสงค์จะให้บังเกิดทรัพย์ ก็จงเอาพญาหงส์นั้นขายทั้งเป็ นๆ กระทาทรัพย์ให้บังเกิดขึ้น ขอท่านอย่าได้ฆ่าพญาหงส์ ตัวประกอบด้วยคุณมีญาณเป็นต้นนี้ เสียเลย เพราะถ้าท่านจักฆ่าพญาหงส์นั้น ท่านจักไม่พ้นจากอบายมีนรกเป็นต้น สุมุขหงส์กล่าวคุกคาม นายพรานนั้นด้วยภัยในอบายมีนรกเป็ นต้นให้เชื่อถือถ้อยคาอันไพเราะของตน แล้วกลับไปยังสานักของพระโพธิสัตว์อีก ปลอบประโลมพระองค์ให้เบาใจ แล้วยืนอยู่. นายเนสาทสดับคาของสุมุขหงส์นั้น จึงคิดว่า หงส์นี้แม้เป็นสัตว์ดิรัจฉานยังกระทามิตรธรรมเห็นปานนี้