SlideShare a Scribd company logo
1
โสณนันทชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๒. โสณนันทชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๒)
ว่าด้วยโสณนันทดาบส
(พระเจ้ามโนชะเมื่อทรงพิจารณาดาบสนั้นแล้ว จึงตรัสว่า)
[๙๒] ท่านเป็นเทวดา คนธรรพ์ เป็นท้าวสักกปุรินททะ
หรือเป็ นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์กันแน่หนอ พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร
(นันทบัณฑิตดาบสกราบทูลว่า)
[๙๓] อาตมภาพไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์
แม้ท้าวสักกปุรินททะก็ไม่ใช่ อาตมภาพเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ขอถวายพระพร
ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้เถิด ภารถมหาบพิตร (ภารถมหาบพิตร
หมายถึงพระราชาผู้รับภาระปกครองแคว้น, ผู้บริหารราชการแผ่นดิน)
(พระเจ้ามโนชะได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๙๔] พระคุณเจ้าได้ทาการขวนขวายช่วยเหลือมิใช่น้อยเห็นปานนี้
เมื่อฝนตก พระคุณเจ้าก็ได้ทาให้ฝนหยุด
[๙๕] จากนั้นเมื่อลมแรง แดดกล้า พระคุณเจ้าก็ได้ทาเงาอันร่มเย็น
ต่อมาพระคุณเจ้าก็ได้ทาการป้ องกันลูกศรในท่ามกลางศัตรู
[๙๖] ต่อมาพระคุณเจ้าก็ได้ทาแคว้นให้เจริญรุ่งเรืองแผ่ไพศาล
และได้นาประชาชนผู้อยู่ในแคว้นเหล่านั้นให้อยู่ในอานาจของโยม
ต่อมาก็ได้ทาให้กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ให้เป็นผู้ติดตามโยม
[๙๗] โยมมีความพอใจต่อพระคุณเจ้าผู้เจริญ
พระคุณเจ้าประสงค์สิ่งปลื้มใจอันใด คือ ยานพาหนะที่เทียมด้วยช้าง
รถเทียมด้วยม้า นารีที่ประดับด้วยเครื่องอลังการ
และหรือนิเวศน์อันรื่นรมย์สาราญ ขอพระคุณเจ้าออกปากขอมาเถิด
โยมขอถวายแด่พระคุณเจ้าผู้เจริญ
[๙๘] หรือว่าพระคุณเจ้าประสงค์สิ่งใดในแคว้นอังคะก็ตาม มคธก็ตาม
โยมขอถวายแด่พระคุณเจ้าผู้เจริญ
หรือพระคุณเจ้าประสงค์แคว้นอัสสกะหรือแคว้นอวันตี
โยมก็เต็มใจถวายสิ่งนั้นแด่พระคุณเจ้า
[๙๙] หรือแม้ราชสมบัติกึ่งหนึ่ง โยมก็จะถวายแด่พระคุณเจ้าผู้เจริญ
ถ้าพระคุณเจ้าประสงค์ราชสมบัติ นิมนต์แนะนาสิ่งที่พระคุณเจ้าประสงค์มาเถิด
(นันทบัณฑิตดาบสกราบทูลชี้แจงความประสงค์ของตนว่า)
[๑๐๐] ราชสมบัติก็ตาม บ้านเมืองก็ตาม ทรัพย์สมบัติก็ตาม
อาตมภาพไม่ต้องการ แม้ถึงชนบทอาตมภาพก็ไม่มีความต้องการ
2
[๑๐๑] ในพระราชอาณาจักรของมหาบพิตรผู้เจริญ
มีอาศรมหลังหนึ่งอยู่ ณ ราวป่า บิดามารดาทั้ง ๒ ของอาตมภาพพานักอยู่ ณ
อาศรมนั้น
[๑๐๒] อาตมภาพไม่ได้ทาบุญในท่านทั้ง ๒ ผู้เป็นบุรพาจารย์นั้นเลย
อาตมภาพจะทาการทูลเชิญมหาบพิตรผู้ทรงพระเจริญ แล้วจะขอการสังวร
(ขอโทษ) กับโสณบัณฑิต
(พระเจ้ามโนชะตรัสกับนันทบัณฑิตดาบสนั้นว่า)
[๑๐๓] ท่านพราหมณ์ โยมจะทาตามคาของพระคุณเจ้า
ตามที่พระคุณเจ้าพูดกับโยม แต่เรื่องนั้นพระคุณเจ้าบอกโยมมาเถิดว่า
ผู้วิงวอนขอร้องมีจานวนเท่าไร
(นันทบัณฑิตดาบสกราบทูลว่า)
[๑๐๔] คหบดี ชาวชนบทและพราหมณ์มหาศาลกว่าร้อยขึ้นไป
กษัตริย์ผู้อภิชาติผู้ทรงมีพระอิสริยยศเหล่านี้ทั้งหมด
และพระองค์ผู้ทรงพระเจริญทรงพระนามว่า พระเจ้ามโนชะ ผู้วิงวอนขอร้อง
ก็จักเพียงพอ
(พระเจ้ามโนชะตรัสกับนันทบัณฑิตดาบสว่า)
[๑๐๕] พนักงานทั้งหลายจงตระเตรียมช้างและม้า นายสารถีจงเทียมรถ
ท่านทั้งหลายจงถือเอาเครื่องผูก จงยกธงขึ้นปักที่แท่นปักธง
เราจักไปยังอาศรมที่โกสิยดาบสพานักอยู่
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๐๖] ลาดับนั้น พระราชาเสด็จไปพร้อมกับจาตุรงคเสนา
ได้เสด็จถึงอาศรมอันน่ารื่นรมย์ที่โกสิยดาบสอยู่
(พระเจ้ามโนชะทรงเห็นโสณดาบสโพธิสัตว์มา จึงตรัสว่า)
[๑๐๗] หาบของใครผู้จะไปหาบน้า ทาด้วยไม้กระทุ่ม ไม่ถูกต้องบ่า
ลอยขึ้นสู่อากาศ (ห่างบ่า)ประมาณ ๔ องคุลี
(โสณดาบสโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๐๘] ข้าแต่มหาราช อาตมภาพคือโสณดาบส ผู้อดกลั้นประพฤติวัตร
ไม่เกียจคร้าน เลี้ยงดูมารดาบิดาอยู่ทุกคืนวัน
[๑๐๙] ขอถวายพระพร พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ
อาตมภาพระลึกถึงอุปการะที่ท่านทั้งสอง ได้ทาไว้แล้วในกาลก่อนอยู่เนืองๆ
จึงนาเอาผลไม้และเผือกมันในป่ามาเลี้ยงดูมารดาบิดา
(พระเจ้ามโนชะทรงประสงค์จะทาความคุ้นเคยกับโสณบัณฑิตดาบส
จึงตรัสว่า)
3
[๑๑๐] โยมทั้งหลายปรารถนาจะไปยังอาศรมที่โกสิยดาบสอยู่
พระคุณเจ้าโสณะ นิมนต์พระคุณเจ้า กรุณาบอกหนทางแก่พวกโยมด้วย
พวกโยมจะไปถึงอาศรมได้โดยหนทางใด
(โสณดาบสโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๑๑] ขอถวายพระพรพระราชา
หนทางนี้เป็นทางเดินเท้าสาหรับคนผู้เดียว ณ ที่ใด มีป่าสีเขียวครามคล้ายเมฆ
ดารดาษไปด้วยต้นทองกวาว ท่านโกสิยดาบสพานักอยู่ ณ ป่าแห่งนี้
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๑๒] มหาฤๅษี ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
จึงเหาะขึ้นในอากาศพร่าสอนกษัตริย์ทั้งหลาย แล้วรีบด่วนหลีกไปในอากาศ
[๑๑๓] ปัดกวาดอาศรม ปูลาดอาสนะแล้วเข้าไปยังบรรณศาลา
บอกกล่าวบิดาให้รู้ตัวว่า
[๑๑๔] ข้าแต่มหาฤๅษี กษัตริย์ผู้อภิชาติ
ทรงมีพระอิสริยยศทั้งหลายเหล่านี้ กาลังเสด็จมา
ขอท่านพ่อจงออกไปนั่งนอกอาศรมเถิด
[๑๑๕] มหาฤๅษีสดับคาของโสณบัณฑิตนั้นแล้ว รีบออกจากอาศรม
นั่งอยู่ใกล้ประตูอาศรมของตน
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๑๖] โกสิยดาบสได้เห็นพระเจ้ามโนชะนั้นมีหมู่กษัตริย์แวดล้อม
เป็นประดุจกองทัพรุ่งเรืองอยู่ด้วยเดชานุภาพ กาลังเสด็จมา จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
[๑๑๗] กระบวนกลอง ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์
และมโหระทึกนาหน้าใครมา ยังพระราชาผู้จอมทัพให้ร่าเริง
[๑๑๘] ใครมีหน้าผากสวมกรอบอุณหิสทองคาอันหนา
มีวรรณะประดุจสายฟ้ า ใครหนอยังหนุ่มแน่นผูกสอดแล่งลูกศร
รุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา
[๑๑๙] อนึ่ง ใบหน้าของใครงดงามผุดผ่อง
ดุจทองคาที่ละลายคว้างอยู่ปากเบ้า มีสีดังถ่านเพลิงไม้ตะเคียน
ใครหนอรุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา
[๑๒๐] ฉัตรมีซี่น่ารื่นรมย์ใจ สาหรับกั้นบังแสงอาทิตย์
เขาประคองกั้นแล้วเพื่อใคร ใครหนอรุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา
[๑๒๑] ชนทั้งหลายถือพัดวาลวีชนีเครื่องสูง
เดินแวดล้อมเรือนร่างของใคร ผู้มีบุญอันประเสริฐซึ่งกาลังมาบนคอช้าง
[๑๒๒] เศวตฉัตร ม้าอาชาไนย และทหารสวมเกราะ
ของใครเรียงรายอยู่โดยรอบ ใครหนอรุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา
4
[๑๒๓] กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ผู้ทรงมีพระอิสริยยศ
กาลังแวดล้อมติดตามใครอยู่โดยรอบ ใครหนอรุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา
[๑๒๔] อนึ่ง เสนา ๔ เหล่า คือ กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ
และกองพลราบ แวดล้อมตามใครอยู่โดยรอบ ใครหนอรุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา
[๑๒๕] เสนาหมู่ใหญ่นั่นของใคร นับไม่ถ้วน
แวดล้อมติดตามมาข้างหลังประดุจคลื่นแห่งสาคร
[๑๒๖] พระเจ้ามโนชะผู้เป็ นราชาธิราช
เหมือนพระอินทร์ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งเทพทั้งหลาย
ผู้มีชัยกาลังเสด็จมาสู่อาศรมของท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อทรงขอขมาโทษแทนนันทดาบส
[๑๒๗] นั้นเสนาหมู่ใหญ่ของพระองค์นับไม่ถ้วน
แวดล้อมติดตามมาข้างหลังประดุจคลื่นแห่งสาคร
[๑๒๘] พระราชาทั้งหลายมีพระวรกายลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
ทรงพระภูษากาสิกพัสตร์อันอุดม
ทุกพระองค์ต่างประนมมือเสด็จเข้าไปหาพระฤๅษี
(ต่อแต่นั้น พระเจ้ามโนชะตรัสว่า)
[๑๒๙] พระคุณเจ้าผู้เจริญมีความสุขสาราญดี ไม่มีโรคเบียดเบียนหรือ
พระคุณเจ้ายังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการแสวงหามูลผลาหารหรือ เผือก มัน
และผลไม้ยังมีอยู่มากหรือ
[๑๓๐] เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยหรือ
ในป่าที่มีเนื้อร้ายอยู่พลุกพล่านไม่มีมาเบียดเบียนหรือ
(โสณดาบสโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๓๑] ข้าแต่พระราชา พวกอาตมภาพ มีความสุขสาราญดี
และไม่มีโรคเบียดเบียน อนึ่ง อาตมภาพทั้งหลายยังอัตภาพ
ให้เป็นไปด้วยการแสวงหามูลผลาหาร และเผือก มัน ผลไม้ก็ยังมีมากอยู่
[๑๓๒] อนึ่ง เหลือบยุงและสัตว์เลื้อยคลานก็มีน้อย
เนื้อร้ายอยู่พลุกพล่านในป่าก็ไม่มาเบียดเบียนอาตมภาพเลย
[๑๓๓] หลายปีมาแล้ว อาตมาอยู่ในอาศรมนี้
ยังไม่รู้จักความอาพาธที่ไม่ทาใจให้รื่นรมย์ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
[๑๓๔] ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มิได้เสด็จมาร้าย
พระองค์ทรงเป็นใหญ่ เสด็จมาถึงโดยลาดับ สิ่งใดที่ทรงพอพระทัย
โปรดตรัสบอกสิ่งนั้นเถิด
[๑๓๕] ข้าแต่พระราชา ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง
และผลหมากเม่า มีรสหวานเล็กน้อย เชิญพระองค์เลือกเสวยผลดีๆ เถิด
5
[๑๓๖] น้าดื่มนี้ก็เย็นสนิท ตักมาจากซอกเขา
มหาบพิตรหากพระองค์ประสงค์ ขอทรงดื่มเถิด
(พระเจ้ามโนชะตรัสว่า)
[๑๓๗] สิ่งที่พระคุณเจ้าให้โยมก็รับไว้แล้ว
พระคุณเจ้าทาให้มีค่าสาหรับคนทุกคน
ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดเงี่ยโสตสดับคาของนันทดาบสเถิด ท่านจะกล่าว
[๑๓๘] พวกโยมเป็นบริษัทของนันทดาบส
พากันมายังสานักของพระคุณเจ้าผู้เจริญ เพื่อจะขอขมาโทษ
ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญ โปรดสดับฟังคาของนันทดาบสและของบริษัทเถิด
(นันทบัณฑิตเมื่อเจรจากับบริษัทของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๓๙] ชาวชนบทและพราหมณ์มหาศาลกว่าร้อยขึ้นไป
กษัตริย์ผู้อภิชาติผู้ทรงมีพระอิสริยยศเหล่านี้ทั้งหมด
และพระราชาผู้เจริญทรงพระนามว่า มโนชะ
โปรดทรงสดับคาของอาตมภาพสักเล็กน้อย
[๑๔๐] อนึ่ง ยักษ์ ภูต และเทวดาทั้งหลายในป่า
ที่พากันมาประชุมอยู่ในอาศรมนี้ ขอจงฟังคาของข้าพเจ้า
[๑๔๑] ข้าพเจ้าขอกระทาความนอบน้อมแก่ภูตทั้งหลาย
แล้วจะกล่าวกับโสณฤๅษีผู้มีวัตรดีงาม ข้าพเจ้านั้นชาวโลกสมมติแล้วว่า
เป็นชาวโกสิยโคตรร่วมกับท่าน จึงนับว่าเป็นแขนขวาของท่าน
[๑๔๒] ข้าแต่ท่านพี่โกสีย์ผู้กล้าหาญ เมื่อข้าพเจ้ามีความประสงค์
จะเลี้ยงดูมารดาและบิดาบังเกิดเกล้าของข้าพเจ้า ฐานะนี้ชื่อว่าเป็นบุญ
ขอท่านพี่จงอย่าห้ามข้าพเจ้าเลย
[๑๔๓] แท้จริง การบารุงมารดาและบิดานั้น
สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
ขอท่านพี่จงสละการบารุงมารดาบิดานั้นให้ข้าพเจ้าเถิด
ท่านพี่ได้กระทากุศลมานานแล้ว ด้วยการลุกขึ้นทากิจวัตรและการบีบนวด บัดนี้
ข้าพเจ้าใคร่จะทาบุญในมารดาบิดาทั้งหลายบ้าง
ขอท่านพี่จงมอบโลกสวรรค์ให้แก่ข้าพเจ้าเถิด
[๑๔๔] ข้าแต่ท่านพี่ผู้เป็นฤๅษี มนุษย์ทั้งหลายผู้รู้บทแห่งธรรม
ในธรรมว่า เป็ นหนทางแห่งโลกสวรรค์ เหมือนอย่างท่านพี่รู้
มีอยู่ในบริษัทนี้เหมือนกัน
[๑๔๕] ท่านโสณบัณฑิตผู้พี่ห้ามข้าพเจ้า
ผู้จะบารุงมารดาและบิดาให้มีความสุขด้วยการอุปัฏฐาก และการนวดเฟ้ น
จากบุญนั้น ชื่อว่าเป็นคนปิดกั้นหนทางอันประเสริฐ
6
(เมื่อนันทบัณฑิตกล่าวอย่างนี้แล้ว
โสณดาบสโพธิสัตว์ประกาศให้ทราบว่า)
[๑๔๖] ขอถวายพระพรมหาราช กษัตริย์ผู้เจริญทั้งหลาย
ผู้จะขอขมาโทษแทนน้องชายของอาตมภาพ ขอทรงสดับคาของอาตมภาพ
ผู้ใดยังสกุลวงศ์อันเก่าแก่ให้เสื่อมไป
ไม่ประพฤติธรรมในบุคคลผู้เจริญในสกุลทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
[๑๔๗] ขอถวายพระพรพระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ
ก็ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดในธรรมอันเก่าแก่ ถึงพร้อมด้วยจารีต
ชนเหล่านั้นจะไม่ไปสู่ทุคติ
[๑๔๘] มารดาและบิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว
เครือญาติและพวกพ้อง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นภาระของพี่ชายใหญ่
ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้เถิด ท่านภารถ
[๑๔๙] ขอถวายพระพรพระองค์ผู้เป็นจอมทัพ
อาตมภาพต้องรับภาระอันหนักและไม่ละเลยธรรม
เหมือนนายเรือต้องรับภาระอันหนัก พยายามนาเรือไป
เพราะว่าอาตมภาพเป็นพี่ชายใหญ่
(พระราชาทุกพระองค์ทรงพอพระทัย ทรงชมเชยโสณดาบสโพธิสัตว์ว่า)
[๑๕๐] เราทั้งหลายได้บรรลุญาณคือปัญญาในความมืด
ท่านโสณโกสิยฤๅษีผู้เจริญได้แสดงธรรมอย่างชัดแจ้ง
แก่เราทั้งหลายเหมือนเปลวเพลิงจากไฟป่าในเวลามืดมิด
[๑๕๑] ดวงอาทิตย์เหล่ากอแห่งวาสุเทพเปล่งรัศมีอุทัยอยู่
ย่อมส่องแสงให้เห็นรูปทั้งดีทั้งชั่วอย่างแจ่มแจ้งแก่เหล่าสัตว์ฉันใด
ท่านโสณโกสิยฤๅษีผู้เจริญก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ได้แสดงธรรมอย่างชัดแจ้งแก่เราทั้งหลาย
(ลาดับนั้น นันทบัณฑิตกล่าวว่า)
[๑๕๒] ถ้าท่านพี่ไม่ยอมรับรู้
ถึงการประคองอัญชลีของข้าพเจ้าผู้วิงวอนอยู่อย่างนี้
ข้าพเจ้าจักประพฤติตามท่านพี่ จักตั้งใจปฏิบัติบารุงท่านพี่
(โสณดาบสโพธิสัตว์เมื่อจะประกาศคุณของนันทบัณฑิต จึงกล่าวว่า)
[๑๕๓] นันทะ เธอรู้แจ้งชัดถึงสัทธรรม
ที่สัตบุรุษทั้งหลายแสดงไว้แล้วอย่างแท้จริง เธอเป็นผู้ประเสริฐ มีมารยาทงาม
พี่พอใจเธอยิ่งนัก
[๑๕๔] พี่จะบอกท่านพ่อท่านแม่ ขอท่านทั้ง ๒ จงฟังคาของข้าพเจ้า
ภาระนี้เป็ นเพียงภาระชั่วครั้งชั่วคราวของข้าพเจ้าหามิได้
7
[๑๕๕] นันทดาบส กระทาการขอขมาโทษอ้อนวอนขอกับข้าพเจ้า
เพื่อบารุงท่านทั้ง ๒ อันเป็นการอุปัฏฐาก ที่นาความสุขมาให้แก่มารดาบิดานั้นบ้าง
[๑๕๖] บรรดาท่านทั้ง ๒ ผู้สงบ ประพฤติพรหมจรรย์
ท่านผู้ใดปรารถนา ขอท่านคนหนึ่งจงปรารถนานันทะเถิด
ขอนันทะจงบารุงใครคนหนึ่งในท่านทั้ง ๒ ตามต้องการเถิด
(มารดาของโสณดาบสโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๕๗] โสณะ แม่และพ่ออาศัยเธอ เธออนุญาตแล้ว
แม่พึงได้จุมพิตนันทะผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่กระหม่อมเถิด
[๑๕๘] เพราะนานเหลือเกินจึงได้เห็นนันทะ หัวใจของแม่ย่อมหวั่นไหว
เหมือนใบอ่อนของต้นโพธิ์ถูกลมพัดไหวไปมา
[๑๕๙] เมื่อใดแม่หลับลงฝันเห็นนันทะมา แม่ก็เบิกบานดีใจว่า
ลูกนันทะของแม่มาแล้ว
[๑๖๐] แต่เมื่อใดแม่ตื่นขึ้นแล้วไม่เห็นนันทะมา
ความเศร้าโศกและความเสียใจมิใช่น้อยกลับทับถมโดยยิ่ง
[๑๖๑] แม่เห็นนันทะกลับมาในวันนี้
ขอนันทะผู้เป็นที่รักของพ่อแม่จงเข้าไปยังเรือนของพวกเราเถิด
[๑๖๒] นันทะเป็นลูกสุดที่รักแม้ของบิดา นันทะไม่ควรจากเรือนนี้ไปอีก
พ่อโสณะ ขอนันทะจงได้สิ่งที่ตนปรารถนาเถิด ขอนันทะจงบารุงแม่เถิด
(โสณดาบสโพธิสัตว์ประกาศพระคุณของมารดาว่า)
[๑๖๓] พ่อฤๅษี มารดาเป็ นผู้อนุเคราะห์ เป็ นที่พึ่ง และเป็นผู้ให้รส (คือ
น้านม) แก่พวกเรามาก่อน เป็นหนทางแห่งโลกสวรรค์ มารดาปรารถนาเจ้า
[๑๖๔] พ่อฤๅษี มารดาเป็ นผู้ให้รสมาก่อน เป็นผู้คุ้มครอง
เป็นที่เข้าไปประกอบบุญกุศล เป็นหนทางแห่งโลกสวรรค์ มารดาปรารถนาเจ้า
(โสณดาบสโพธิสัตว์เมื่อจะประกาศว่ามารดาเป็นผู้ทากิจที่ทาได้ยากที่บุคคลอื่นจะ
ทาได้ จึงกล่าวว่า)
[๑๖๕] มารดาเมื่อหวังผลคือบุตรจึงนอบน้อมเทวดา และไต่ถามถึงฤกษ์
ฤดู และปีทั้งหลาย (มารดานอบน้อมเทวดา
หมายถึงทาการนอบน้อมคือบนบานต่อเทวดาว่า “ขอลูกจงเกิดขึ้นแก่เรา”
ถามถึงฤกษ์ ฤดู และปีทั้งหลาย หมายถึงมารดาต้องการทราบว่าบุตรเกิดในฤกษ์
ฤดู และปีใด จะมีอายุยืน อายุสั้นอย่างไร)
[๑๖๖] เมื่อมารดานั้นมีระดู การตั้งครรภ์จึงมีได้ เพราะการตั้งครรภ์นั้น
มารดาจึงมีการแพ้ท้อง เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกท่านว่า สุหทา หญิงผู้มีใจดี
(เมื่อมารดานั้นมีระดู หมายถึงเมื่อต่อมเลือด(ไข่สุก)เกิดแล้ว
8
ระดูไม่มาตามกาหนด มารดาได้ชื่อว่า สุหทา หญิงผู้มีใจดี
(เพราะในเวลานั้นมารดาจะเกิดความรักในบุตรที่เกิดในท้องของตน))
[๑๖๗] มารดาประคับประคองครรภ์อยู่หนึ่งปีหรือหย่อนกว่าบ้าง
แล้วจึงคลอดบุตร เพราะเหตุนั้น มารดานั้นจึงชื่อว่า หญิงผู้ให้กาเนิดบุตร
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกท่านว่า ชเนตตี หญิงผู้ยังบุตรให้เกิด
[๑๖๘] เมื่อบุตรร้องไห้ มารดาก็ปลอบโยนให้ยินดีได้ ด้วยน้านมบ้าง
ด้วยการร้องเพลงกล่อมบ้าง ด้วยการกอดไว้แนบอกบ้าง เพราะเหตุนั้น
บัณฑิตจึงเรียกท่านว่า โตเสนตี หญิงผู้ยังบุตรให้ร่าเริงยินดี
[๑๖๙] จากนั้น เมื่อลมแรงและแดดกล้า
มารดาก็กระทาความรักอย่างจับใจ มองดูบุตรผู้ยังเป็นเด็กอ่อนไร้เดียงสาอยู่
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกว่า โปเสนตี หญิงผู้เลี้ยงดูบุตร
[๑๗๐] ทรัพย์อันใดที่เป็นทรัพย์ของมารดาก็ดี เป็นทรัพย์ของบิดาก็ดี
แม้ทรัพย์ทั้ง ๒ มารดาก็คุ้มครองรักษาไว้เพื่อบุตรนั้น ด้วยหมายใจว่า
แม้ทรัพย์ทั้ง ๒ นี้พึงเป็นของบุตรของเรา
[๑๗๑] มารดาเมื่อให้บุตรสาเหนียกว่า อย่างนี้ซิลูก อย่างโน้นซิลูก
ย่อมลาบาก และทราบว่าบุตรของตนเมื่อถึงคราวเป็ นหนุ่ม
ลุ่มหลงมัวเมาในภรรยาของผู้อื่นอยู่จนดึกดื่นเที่ยงคืน ไม่กลับมาในเวลาเย็น
ก็ย่อมเดือดร้อน ด้วยประการฉะนี้
[๑๗๒] บุตรที่มารดาเลี้ยงดูมาแล้วด้วยความลาบากอย่างนี้
ไม่บารุงมารดา บุตรคนนั้นชื่อว่า ประพฤติผิดในมารดา ย่อมเข้าถึงนรก
[๑๗๓] บุตรที่บิดาเลี้ยงดูมาแล้วด้วยความลาบากอย่างนี้ ไม่บารุงบิดา
บุตรคนนั้นชื่อว่า ประพฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก
[๑๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า
แม้ทรัพย์ที่เกิดขึ้นแก่บุตรทั้งหลายผู้มีความต้องการทรัพย์ ก็พินาศไปบ้าง
บุตรนั้นย่อมถึงฐานะอันลาบากบ้าง เพราะไม่บารุงมารดา
[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า
แม้ทรัพย์ที่เกิดขึ้นแก่บุตรทั้งหลายผู้มีความต้องการทรัพย์ ก็พินาศไปบ้าง
บุตรนั้นย่อมถึงฐานะอันลาบากบ้าง เพราะไม่บารุงบิดา
[๑๗๖] ความเพลิดเพลินยินดี ความรื่นเริงบันเทิงใจ
และการหัวเราะเล่นหัวกันในกาลทุกเมื่อนั้น
บัณฑิตผู้รู้แจ้งจะพึงได้เพราะบารุงมารดา
[๑๗๗] ความเพลิดเพลินยินดี ความรื่นเริงบันเทิงใจ
และการหัวเราะเล่นหัวกันในกาลทุกเมื่อนั้น
บัณฑิตผู้รู้แจ้งจะพึงได้เพราะบารุงบิดา
9
[๑๗๘] สังคหวัตถุ (สังคหวัตถุ
หมายถึงหลักการสงเคราะห์หรือธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจกันไว้ได้
ในที่นี้หมายถึงบุตรพึงปรนนิบัติมารดาบิดาด้วยหลัก ๔ ประการ คือ (๑) ทาน
การให้(สิ่งของ)แก่มารดาบิดา (๒) เปยยวัชชะ พึงเจรจาแต่คาที่น่ารัก (๓)
อัตถจริยา พึงประพฤติประโยชน์ด้วยการทาหน้าที่(ของท่าน)ที่เกิดขึ้นให้สาเร็จ
(๔) สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามสมควร
หมายถึงความประพฤติยาเกรงต่อผู้ใหญ่ทั้งหลาย) ทั้งหลาย คือ ๑. ทาน (การให้)
๒. ปิยวาจา (การเจรจาถ้อยคาที่น่ารัก) ๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
๔. สมานัตตตา (ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามสมควรในที่นั้นๆ) ทั้ง
๔ ประการนี้ยังมีอยู่ในโลกนี้ เหมือนเพลารถยังมีแก่รถที่กาลังแล่นไป
[๑๗๙] หากว่าสังคหวัตถุเหล่านี้ไม่พึงมีไซร้
มารดาไม่พึงได้การนับถือหรือการบูชาเพราะเหตุแห่งบุตรเลย
หรือบิดาไม่พึงได้การนับถือหรือการบูชาเพราะเหตุแห่งบุตรเลย
[๑๘๐] ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลายพิจารณาเห็นสังคหวัตถุเหล่านี้โดยชอบ
เพราะฉะนั้น จึงบรรลุถึงความเป็ นผู้ใหญ่
ทั้งบัณฑิตเหล่านั้นยังเป็นผู้น่าสรรเสริญอีกด้วย
[๑๘๑] มารดาและบิดาทั้งหลายบัณฑิตกล่าวว่า ๑. เป็นพรหมของบุตร
๒. เป็นบุรพาจารย์ของบุตร ๓. เป็นผู้ควรของต้อนรับบูชาของบุตร
(มารดาและบิดาเป็ นพรหมของบุตร เพราะเป็นผู้เสมอด้วยพรหม คือ สูงสุด
ประเสริฐสุดของบุตรเป็นบุรพาจารย์ คือ เป็นอาจารย์คนแรกของบุตร
เป็ นผู้ควรของต้อนรับบูชา คือ สมควรแก่สักการะอย่างใดอย่างหนึ่งของบุตร) ๔.
เป็นผู้อนุเคราะห์หมู่สัตว์คือบุตร
[๑๘๒] เพราะเหตุนั้น
บัณฑิตพึงนอบน้อมและพึงสักการะมารดาและบิดาทั้ง ๒ นั้นด้วยข้าวและน้า
ด้วยผ้านุ่งผ้าห่มและที่นอน ด้วยการอบตัวและอาบน้าให้ และด้วยการล้างเท้าทั้ง
๒ ให้ท่าน
[๑๘๓] เพราะการบารุงมารดาและบิดาทั้ง ๒ นั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้ทีเดียว เขาตายไปแล้ว
ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ดังนี้แล
โสณนันทชาดกที่ ๒ จบ
-----------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
โสณนันทชาดก
ว่าด้วย เรื่องพระราชาไปขอขมาโทษโสณดาบส
10
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภภิกษุผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี ดังนี้.
เนื้อเรื่องของชาดกนี้ คล้ายกับเรื่องในสุวรรณสามชาดก ทีเดียว.
ก็ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธออย่าติเตียนภิกษุรูปนี้เลย บัณฑิตแต่ปางก่อนทั้งหลาย
แม้ได้ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ก็ยังไม่ยอมรับเอาราชสมบัตินั้น
ย่อมเลี้ยงแต่มารดาบิดาถ่ายเดียว แล้วทรงนาอดีตนิทานมา ตรัสว่า
ในอดีตกาล
กรุงพาราณสีได้เป็ นพระนครที่มีชื่อว่าพรหมวัธน์ พระราชาทรงมีพระนามว่ามโน
ชะ เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครนั้น. มีพราหมณ์มหาศาลผู้หนึ่ง
มีทรัพย์สมบัติประมาณ ๘๐ โกฏิ แต่หาบุตรมิได้ อาศัยอยู่ในพระนครนั้น
นางพราหมณีผู้เป็นภริยาของพราหมณ์นั้น เมื่อพราหมณ์ผู้สามีนั้นกล่าวว่า
นางผู้เจริญ เธอจงปรารถนาบุตรเถิด ดังนี้ ก็ได้ปรารถนาแล้ว.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสด็จจุติจากพรหมโลก
ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีนั้น. เมื่อกุมารนั้นเกิดแล้ว
มารดาบิดาจึงตั้งชื่อว่าโสณกุมาร ในกาลเมื่อโสณกุมารนั้นเดินได้
แม้สัตว์อื่นก็จุติจากพรหมโลกถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีนั้นอีก
มารดาบิดาตั้งชื่อกุมารนั้นว่านันทกุมาร
เมื่อกุมารทั้งสองคนนั้นเรียนพระเวทจนจบการศึกษาศิลปศาสตร์ทั้งห
มดแล้ว พราหมณ์ผู้บิดามองเห็นรูปสมบัติอันเจริญวัย จึงเรียกนางพราหมณีมา
แล้วพูดว่า แน่ะนางผู้เจริญ
เราจักผูกพันโสณกุมารลูกชายของเราไว้ด้วยเครื่องผูก คือเรือน นางรับว่า ดีละ
แล้วบอกเนื้อความนั้นแก่บุตรให้ทราบ
โสณกุมารนั้นจึงพูดว่า อย่าเลยแม่ เรื่องการอยู่ครองเรือนสาหรับฉัน
ฉันจะปฏิบัติคุณพ่อและคุณแม่จนกว่าชีวิตจะหาไม่
เมื่อคุณพ่อและคุณแม่ล่วงไปแล้ว ก็จะเข้าป่าหิมพานต์บวช.
นางพราหมณีจึงบอกเนื้อความนั้นแก่พราหมณ์ให้ทราบ. คนทั้งสองคนนั้น
แม้กล่าวอยู่บ่อยๆ ก็ไม่ได้ความยินยอมพร้อมใจจากโสณกุมารนั้น
จึงเรียกนันทกุมารมาแล้วพูดว่า ลูกเอ๋ย ถ้าอย่างนั้น
เจ้าจงครอบครองทรัพย์สมบัติเถิด เมื่อนันทกุมารพูดว่า
ฉันจะยื่นศีรษะออกไปรับก้อนเขฬะ ที่พี่ชายถ่มทิ้งแล้วไม่ได้แน่
ก็ตัวฉันเองเมื่อพ่อแม่ถึงแก่กรรมแล้ว ก็จะออกบวชพร้อมกับพี่ชายเหมือนกัน
ฟังคาของลูกชายทั้งสองคนนั้นแล้ว จึงพากันคิดว่า
ลูกชายทั้งสองคนนี้กาลังหนุ่มอยู่อย่างนี้ ก็ยังละกามารมณ์ทั้งหลายเสียได้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงเราทั้งสองคนเล่า พวกเราพากันบวชเสียให้หมดเถิด
11
จึงพูดกะบุตรทั้งสองคนว่า ลูกเอ๋ย เมื่อแม่และพ่อหาชีวิตไม่แล้ว
การบวชของเจ้าทั้งสองจะมีประโยชน์อะไร
เราทั้งหมดจักออกบวชพร้อมกันเสียในบัดนี้เถิด แล้วกราบทูลแด่พระราชา
สละทรัพย์ทั้งหมดลงในทางทาน กระทาชนผู้เป็นทาสให้เป็นไท
ให้ส่งของที่สมควรให้แก่หมู่ญาติ พร้อมกันทั้ง ๔ คนด้วยกัน
ออกจากนครพรหมวัธน์ สร้างอาศรมอยู่ในชัฏป่าอันน่ารื่นรมย์ใจ
อาศัยสระอันดารดาษไปด้วยดอกปทุมเบญจวรรณ ในหิมวันตประเทศ
แล้วบรรพชาอาศัยอยู่ในอาศรมนั้น.
แม้พระโสณะและพระนันทะทั้ง ๒ นั้น ก็ช่วยกันปฏิบัติมารดาบิดา
ตื่นเช้าก็จัดไม้สาหรับชาระฟันและน้าล้างหน้าให้แก่ท่านทั้ง ๒
แล้วไปกวาดบรรณศาลาและบริเวณอาศรม ตั้งน้าฉันไว้เสร็จแล้ว
พากันไปเลือกผลไม้น้อยใหญ่ ซึ่งมีรสอันอร่อยมาจากป่า
นามาให้มารดาบิดาได้บริโภค ถึงยามร้อนก็หาน้าเย็นมาให้อาบ
คอยชาระสะสางมวยผมให้สะอาด กระทาการบีบนวดเป็ นต้น
แก่มารดาบิดาทั้งสองคนนั้น.
ด้วยการปฏิบัติอยู่อย่างนี้ เวลาล่วงไปนาน คราวหนึ่ง
นันทบัณฑิตดาริว่า
เราจะให้มารดาบิดาได้บริโภคผลไม้น้อยใหญ่ที่เราหามาได้ก่อน.
เธอจึงรีบไปล่วงหน้าพี่ชายแต่เช้าตรู่ หาผลไม้ลูกเล็กลูกใหญ่ เท่าที่พอจะหาได้
มาจากที่ที่ตนเคยเก็บเมื่อวานบ้าง วานซืนบ้าง
แล้วรีบนามาให้มารดาบิดาบริโภคก่อน. มารดาบิดาบริโภคผลไม้แล้ว
บ้วนปากสมาทานอุโบสถ. ส่วนโสณบัณฑิตไปยังที่ไกลๆ
เลือกหาผลไม้น้อยใหญ่ที่มีรสอันอร่อยกาลังสุกงอมดี แล้วนาเข้าไปให้. ลาดับนั้น
มารดาบิดาจึงกล่าวกะโสณบัณฑิตนั้นว่า ลูกเอ๋ย
เราได้บริโภคผลไม้ที่น้องชายของเจ้าหามาให้เรียบร้อยแล้วแต่เช้าตรู่ (เดี๋ยวนี้)
สมาทานอุโบสถแล้ว บัดนี้เราไม่มีความต้องการ ผลไม้ดีๆ ของโสณดาบสนั้น
ไม่มีใครได้บริโภคเลย ก็จะเน่าเสียไปด้วยประการฉะนี้. แม้ในวันต่อๆ มา
ก็เป็นเช่นนั้นอีกเหมือนกัน พระโสณดาบสนั้นสามารถจะไปยังสถานที่ไกลๆ
แล้วนาผลไม้มาได้ ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะท่านได้อภิญญา ๕ ประการ
แต่มารดาบิดาก็มิได้บริโภค.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์จึงคิดว่า มารดาบิดาของเราเป็นสุขุมาลชาติ
น้องนันทะไปหาผลไม้ลูกเล็กลูกใหญ่ดิบบ้างสุกบ้าง มาให้ท่านบริโภค
เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านทั้งสองนี้ก็จะไม่เป็ นอยู่เช่นนี้ได้ตลอดกาลนาน
เราจักห้ามเธอเสีย. ลาดับนั้น โสณบัณฑิตจึงเรียกน้องชายนั้นมา แล้วบอกว่า
ดูก่อนน้อง จาเดิมแต่นี้ไปเมื่อน้องหาผลไม้มาได้แล้ว จงรอให้พี่กลับมาเสียก่อน
12
เราทั้งสองคนจักให้มารดาบิดาบริโภคพร้อมๆ กัน
แม้เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว
พระนันทะก็มุ่งหวังแต่ความดีของตนอย่างเดียว จึงมิได้กระทาตามคาของพี่ชาย.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า น้องนันทะไม่กระทาตามคาของเรา
กระทาหน้าที่อันไม่สมควร จะต้องขับไล่เธอไปเสีย แต่นั้น
เราผู้เดียวเท่านั้นจะปฏิบัติมารดาบิดา จึงดีดนิ้วมือขู่ขับนันทดาบสด้วยวาจาว่า
ดูก่อนนันทะ เจ้าเป็ นคนที่ไม่อยู่ในถ้อยคา ไม่กระทาตามคาของบัณฑิตทั้งหลาย
เราเป็นพี่ชายของเจ้า มารดาบิดาจงเป็นหน้าที่รับผิดชอบของเราผู้เดียว
เราผู้เดียวเท่านั้นจักปฏิบัติมารดาบิดา เจ้าจักไม่ได้เพื่อจะอยู่ในที่นี้ จงไปในที่อื่น
นันทบัณฑิตนั้นถูกพระโสณบัณฑิตพี่ชายนั้นขับไล่
ไม่อาจจะอยู่ในสานักของพี่ชายได้ จึงไหว้พี่ชายแล้วเข้าไปหามารดาบิดา
เล่าความนั้นให้ฟัง ไหว้มารดาบิดาแล้ว เข้าไปสู่บรรณศาลาของตน
เพ่งดูกสิณเป็นอารมณ์ ในวันนั้นนั่นเอง ก็ทาอภิญญา ๕
และสมาบัติให้บังเกิดขึ้นได้แล้ว คิดว่า เราจะนาทรายแก้วมาแต่เชิงเขาสิเนรุ
โปรยลงในบริเวณบรรณศาลาแห่งพี่ชายของเรา
ก็เป็นการเพียงพอที่จะให้พี่ชายอภัยโทษเราได้
แม้การกระทาอย่างนี้จักยังไม่งดงาม เราก็จะไปนาน้ามาจากสระอโนดาต
รดลงในบริเวณบรรณศาลาแห่งพี่ชายของเรา ก็จะพอยังพี่ชายให้อภัยโทษเราได้
แม้อย่างนี้ก็จักยังไม่งดงาม ถ้าเราพึงทาพี่ชายของเราให้อภัยโทษเราได้
ด้วยอานาจเทวดาทั้งหลาย เราก็จะนาท้าวมหาราชทั้ง ๔ และท้าวสักกะมา
ก็พอจะยังพี่ชายให้อภัยโทษได้ แม้อย่างนี้จักยังไม่งดงาม
เราจักไปนาพระราชาทั้งหลาย
มีพระเจ้ามโนชะผู้เป็ นพระราชาล้าเลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้นนี้ไปเป็นประธาน
ก็พอจะให้พี่ชายอภัยโทษเราได้ เมื่อเป็นเช่นนี้คุณงามความดีแห่งพี่ชายของเรา
ก็จะแผ่ตลบทั่วไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น จักปรากฏประดุจพระจันทร์และพระอาทิตย์
ฉะนั้น.
ขณะนั้น พระนันทดาบสนั้นก็เหาะไปด้วยฤทธิ์
ลงที่ประตูพระราชนิเวศน์ของพระราชานั้น ในพรหมวัธนนคร
สั่งให้ราชบุรุษกราบทูลแด่พระราชาว่า ได้ยินว่า
พระดาบสองค์หนึ่งต้องการจะเข้าเฝ้ าพระองค์. พระราชาทรงดาริว่า
เราเห็นบรรพชิตจะได้ประโยชน์อะไร ชะรอยว่า
บรรพชิตรูปนั้นคงจักมาเพื่อต้องการอาหารเป็นแน่ จึงจัดส่งภัตตาหารไปถวาย.
พระดาบสไม่ปรารถนาภัตร. พระองค์จึงทรงส่งข้าวสารไปถวาย พระดาบสนั้น
ก็มิได้ปรารถนาข้าวสาร. จึงทรงส่งผ้าไปถวาย พระดาบสก็มิได้รับผ้า.
จึงทรงส่งหมากพลูไปถวาย. พระดาบสนั้น ก็มิได้รับหมากพลู.
13
ลาดับนั้น พระองค์จึงทรงส่งทูตไปยังสานักของพระดาบสนั้นว่า
พระผู้เป็นเจ้ามาแล้ว เพื่อประสงค์อะไรกัน. พระดาบส เมื่อถูกทูตถามจึงบอกว่า
เรามาเพื่อบารุงพระราชา. พระราชาทรงสดับคานั้นแล้ว จึงรับสั่งให้คนไปบอกว่า
พวกคนอุปัฏฐากของเรามีอยู่มากมายแล้ว
ท่านดาบสจงบาเพ็ญหน้าที่ดาบสของตนเถิด. พระดาบสฟังคานั้นแล้ว จึงกล่าวว่า
เราจักถือเอาราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยกาลังของเราแล้ว
ถวายแก่พระราชาของท่านทั้งหลาย. พระราชาทรงสดับคานั้นแล้ว
จึงทรงพระดาริว่า ธรรมดาว่า บรรพชิตทั้งหลายเป็นบัณฑิต
คงจักทราบอุบายอะไรบ้างกระมัง จึงรับสั่งให้นิมนต์พระดาบสนั้นเข้ามา
ให้นั่งบนอาสนะ ทรงไหว้แล้ว ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า
พระผู้เป็นเจ้าจะถือเอาราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นแล้ว ยกให้แก่ข้าพเจ้าหรือ.
พระดาบสทูลว่า เป็ นเช่นนั้น มหาบพิตร.
พระราชาตรัสถามว่า พระผู้เป็ นเจ้าจักถือเอาได้อย่างไร.
พระดาบสทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพจะมิต้องให้โลหิต แม้มาตรว่า
แมลงวันตัวน้อยดื่มกินได้ โดยกาหนดอย่างต่าให้บังเกิดขึ้นแก่ใครๆ เลย
ทั้งไม่กระทา ความสิ้นเปลืองแห่งพระราชทรัพย์ของพระองค์ด้วย
จักถือเอาด้วยฤทธิ์ของอาตมภาพแล้ว ยกถวายแด่พระองค์ ก็แต่ว่า
ไม่ควรจะกระทาความชักช้าอย่างเดียว รีบเสด็จออกเสียในวันนี้แหละ.
พระราชาทรงเชื่อถ้อยคาของนันทดาบสนั้น
แวดล้อมไปด้วยหมู่เสนางคนิกร เสด็จออกจากพระนคร.
ผิว่าความร้อนเกิดขึ้นแก่เสนา นันทบัณฑิตก็เนรมิต
ให้มีเงากระทาให้ร่มเย็นด้วยฤทธิ์ของตน เมื่อฝนตก
ก็มิได้ตกลงในเบื้องบนหมู่เสนา ห้ามความร้อนและความหนาวเสียได้
บันดาลให้อันตรายทั้งหมดเป็นต้นว่า ขวากหนาม และตอไม้ในระหว่างทาง
ให้อันตรธานสูญหายไปหมด กระทาหนทางให้ราบเรียบ ดุจมณฑลแห่งกสิณ
แม้ตนเองปูแผ่นหนังนั่งบนบัลลังก์ มีหมู่เสนาแวดล้อม
แล้วเหาะลอยไปในอากาศ.
พระนันทบัณฑิตนั้นพาหมู่เสนาไปด้วยอาการอย่างนี้
ลุถึงแคว้นโกศลเป็ นครั้งแรก จึงสั่งให้หยุดกองทัพตั้งค่ายไม่ไกลเมือง
แล้วส่งทูตเข้าไปทูลพระเจ้าโกศลราชว่า จะให้การยุทธ์แก่พวกเรา
หรือว่าจะให้เศวตฉัตร. พระเจ้าโกศลราชนั้นได้ทรงสดับถ้อยคาของทูต
ก็ทรงพิโรธตรัสว่า เราไม่ใช่พระราชาหรืออย่างไร เราจะให้การรบ
ทรงกระทาเสนาข้างหน้าเสด็จยกพลออกไป. เสนาทั้งสองฝ่ายเริ่มจะรบกัน.
ลาดับนั้น นันทบัณฑิตจึงเนรมิตหนังเสือเหลือง
ซึ่งเป็ นอาสนะที่นั่งของตนให้ใหญ่โต ขึงไว้ในระหว่างกองทัพทั้ง ๒
14
แล้วคอยรับลูกศรที่พวกเสนาทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างยิงกันไปมาด้วยแผ่นหนังนั้นทีเดียว.
เสนาแม้สักคนหนึ่ง ใครๆ ที่ชื่อว่า ถูกลูกศรแทงแล้วไม่ได้มีเลย. กองทัพแม้ทั้ง ๒
นั้น ก็หมดความอุตสาหะลง ยืนเฉยอยู่ เพราะลูกศรที่อยู่ในมือหมดด้วยกันทั้ง ๒
ฝ่าย. นันทบัณฑิตจึงไปยังสานักของพระเจ้ามโนชราช ทูลปลอบเอาพระทัยว่า
พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย มหาบพิตร.
แล้วไปยังสานักของพระเจ้าโกศลราชทูลว่า พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย
มหาบพิตร อันตรายจักไม่มีแก่พระองค์ ราชสมบัติของพระองค์
ก็จักคงยังเป็นของพระองค์อยู่ทีเดียว ขอให้พระองค์ทรงอ่อนน้อมแก่
พระเจ้ามโนชราชอย่างเดียวเท่านั้น
พระเจ้าโกศลราชทรงเชื่อนันทบัณฑิตนั้น ก็ทรงรับว่า ดีละ ดังนี้.
ลาดับนั้น นันทบัณฑิตจึงนาเสด็จท้าวเธอไปยังสานักของพระเจ้ามโนชราช
แล้วทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระเจ้าโกศลราชทรงยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์
แต่ขอให้ราชสมบัติของพระเจ้าโกศลราชนี้
จงยังคงเป็นของท้าวเธออยู่ตามเดิมเถิด. พระเจ้ามโนชราชทรงรับว่า ดีละ
ทรงกระทาพระเจ้าโกศลราชพระองค์นั้น ให้อยู่ในอานาจของพระองค์แล้ว
ยกพลเสนาทั้ง ๒ กองทัพเสด็จไปยังแคว้นอังคะ ได้แคว้นอังคะแล้ว ต่อจากนั้น
ก็ไปยังแคว้นมคธ ได้แคว้นมคธ โดยอุบายอย่างนี้
ทรงกระทาพระราชาทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งสิ้น
ให้ตกอยู่ในอานาจของพระองค์ได้ทั้งหมด แต่นั้น
ก็เป็นผู้มีพระราชาเหล่านั้นเป็นบริวาร เสด็จไปยังพรหมวัธนนครทีเดียว
ก็พระเจ้ามโนชราชนี้ ทรงถือเอาราชสมบัติอยู่ถึง ๗ ปี ๗ เดือน
๗ วันจึงเสร็จเรียบร้อย. พระเจ้ามโนชราชนั้น
รับสั่งให้พระราชาเหล่านั้นนาของเคี้ยวและของบริโภคมีประการต่างๆ
จากราชธานีของตนทุกๆ พระนคร ทรงพาพระราชาทั้ง ๑๐๑ พระองค์เหล่านั้น
ชวนกันดื่มเครื่องดื่ม เป็นการใหญ่กับพระราชาเหล่านั้นตลอดถึง ๗ วัน.
นันทบัณฑิตดาบสคิดว่า พระราชายังเสวยความสุข
ที่เกิดแต่ความเป็นใหญ่อยู่ตราบใด เราจักไม่แสดงตนแก่ท้าวเธอตราบนั้น
จึงเที่ยวไปบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีปแล้ว ไปอยู่ที่ปากถ้าทองในหิมวันตประเทศ
๗ วัน. แม้พระเจ้ามโนชราช ในวันที่ ๗
ทรงแลดูสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ก็ทรงระลึกถึงนันทบัณฑิตดาบสว่า
อิสริยยศทั้งหมดนี้ มารดาบิดาของเรามิได้ให้ ชนเหล่าอื่นก็มิได้ให้แก่เรา
บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยนันทบัณฑิตดาบส ก็เราไม่ได้เห็นท่านเลยถึง ๗
วันเข้าวันนี้แล้ว บัดนี้ท่านผู้ให้อิสริยยศแก่เรา อยู่ที่ไหนหนอ.
นันทบัณฑิตนั้นได้ทราบว่า ท้าวเธอระลึกถึงตน จึงเหาะมายืนอยู่บนอากาศ
ตรงพระพักตร์พระราชา. พระราชานั้นทอดพระเนตรเห็นนันทดาบสมายืนอยู่
15
จึงทรงพระดาริอย่างนี้ว่า เรายังไม่ทราบว่า พระดาบสนี้จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์
ก็ถ้าเธอเป็นมนุษย์ เราจักยกราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งหมดให้แก่เธอทีเดียว
ถ้าเธอเป็นเทวดา เราจักกระทาเครื่องสักการะสาหรับเทวดาแก่เธอ.
พระราชาพระองค์นั้น เมื่อจะทรงสอบถามนันทบัณฑิตนั้นให้ทราบชัด
จึงตรัสพระคาถาเป็นปฐมว่า
พระผู้เป็นเจ้าเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ เป็ นท้าวสักกปุรินททะ
หรือว่าเป็ นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ข้าพเจ้าทั้งหลายจะรู้จักพระผู้เป็ นเจ้าได้อย่างไร.
นันทดาบสนั้นสดับคาของพระราชานั้นแล้ว
เมื่อจะทูลบอกตามความจริง
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
อาตมภาพไม่ใช่เป็นเทวดา ไม่ใช่เป็นคนธรรพ์
ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ อาตมภาพเป็ นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ดูก่อนภารถะ มหาบพิตร
จงทราบอย่างนี้เถิด.
นันทบัณฑิตเรียกพระราชาพระองค์นั้นอย่างนี้ว่า ภารถ ดังนี้
ในคาถานั้น เพราะพระองค์เป็ นผู้ทรงไว้ซึ่งภาระของรัฐ.
พระราชาทรงได้สดับคานั้นแล้ว จึงทรงพระดาริว่า ได้ยินว่า
พระดาบสนี้เป็นมนุษย์ เธอมีอุปการะมากถึงเพียงนี้แก่เรา
เราจักให้เธออิ่มหนาด้วยอิสริยยศ
จึงตรัสว่า
ความช่วยเหลืออันมิใช่น้อยนี้ เป็นกิจที่พระผู้เป็ นเจ้ากระทาแล้ว คือ
เมื่อฝนตกพระผู้เป็นเจ้าก็ได้ทาไม่ให้มีฝน แต่นั้น เมื่อลมจัดและแดดร้อน
พระผู้เป็นเจ้าก็ได้ทาให้มีเงาบังร่มเย็น แต่นั้น
พระผู้เป็นเจ้าได้ทาการป้ องกันลูกศร ในท่ามกลางแห่งศัตรู แต่นั้น
พระผู้เป็นเจ้าได้ทาบ้านเมือง อันรุ่งเรืองและชาวเมืองเหล่านั้น
ให้ตกอยู่ในอานาจของข้าพเจ้า แต่นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทากษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์
ให้เป็นผู้ติดตามของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอขอบคุณพระผู้เป็นเจ้ายิ่งนัก.
พระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาสิ่งที่จะให้จิตชื่นชม คือยานอันเทียมด้วยช้าง
รถอันเทียมด้วยม้า และสาวน้อยทั้งหลายที่ประดับประดาแล้ว
หรือรมณียสถานอันเป็นที่อยู่อาศัย อันใด
ขอพระผู้เป็นเจ้าจงเลือกเอาสิ่งนั้นตามประสงค์เถิด
ข้าพเจ้าขอถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า
หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาแคว้นอังคะหรือแคว้นมคธ
ข้าพเจ้าก็ขอถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าปรารถนาแคว้นอัสสกะ
หรือแคว้นอวันตี ข้าพเจ้าก็มีใจยินดีขอถวายแคว้นเหล่านั้น ให้แก่พระผู้เป็นเจ้า
หรือแม้พระผู้เป็ นเจ้าปรารถนาราชสมบัติกึ่งหนึ่งไซร้
16
ข้าพเจ้าก็ขอถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า
ถ้าพระคุณเจ้ามีความต้องการด้วยราชสมบัติทั้งหมด
ข้าพเจ้าก็ขอถวายพระคุณเจ้า ปรารถนาสิ่งใด ขอพระคุณเจ้าบอกมาเถิด.
นันทบัณฑิตดาบสได้ฟังพระดารัสนั้นแล้ว
เมื่อจะชี้แจงความประสงค์ของตนให้แจ่มแจ้ง
จึงทูลว่า
อาตมภาพไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ บ้านเมือง ทรัพย์
หรือแม้ชนบท อาตมภาพไม่มีความต้องการเลย
นันทบัณฑิตทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร
ถ้าพระองค์มีความรักในอาตมภาพ
ขอได้ทรงกระทาตามคาของอาตมภาพสักอย่างหนึ่ง
แล้วทูลเป็นคาถาว่า
ในแว่นแคว้นอาณาเขตของมหาบพิตร มีอาศรมอยู่ในป่า
มารดาและบิดาทั้งสองท่านของอาตมภาพอยู่ในอาศรมนั้น
อาตมภาพอยู่ในอาศรมนั้น อาตมภาพไม่ได้เพื่อทาบุญในท่านทั้งสอง
ผู้เป็นบุรพาจารย์นั้น อาตมภาพขอเชิญมหาบพิตร ผู้ประเสริฐยิ่ง
ไปขอขมาโทษโสณดาบส เพื่อสังวรต่อไป.
ลาดับนั้น พระราชาตรัสกะนันทดาบสนั้นว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์
ข้าพเจ้าจะขอทาตามคาที่พระคุณเจ้ากล่าวกะข้าพเจ้าทุกประการ ก็แต่ว่า
บุคคลผู้จะอ้อนวอนขอโทษ มีประมาณเท่าใด ขอพระคุณเจ้าจงบอกบุคคล
มีประมาณเท่านั้น.
นันทบัณฑิตทูลว่า
ชาวชนบทมีประมาณหนึ่งร้อยเศษ พราหมณ์มหาศาลก็เท่ากัน
กษัตริย์ผู้เป็ นอภิชาต ผู้เรืองยศเหล่านี้ทั้งหมด ทั้งมหาบพิตรซึ่งทรงพระนามว่า
พระเจ้ามโนชะ บุคคลผู้จะอ้อนวอนขอโทษ ประมาณเท่านี้ ก็พอแล้ว
ขอถวายพระพร.
ลาดับนั้น พระราชาตรัสกะนันทบัณฑิตนั้นว่า
เจ้าพนักงานทั้งหลาย จงเตรียมช้าง จงเตรียมม้า นายสารถี
ท่านจงเตรียมรถ ท่านทั้งหลายจงถือเอาเครื่องผูก จงยกธงชัยขึ้นที่คันธงทั้งหลาย
เราจะไปยังอาศรมอันเป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ก็ลาดับนั้น พระราชาพร้อมด้วยจาตุรงคเสนา
ได้เสด็จไปยังอาศรมอันน่ารื่นรมย์ ซึ่งเป็ นที่อยู่ของโกสิยดาบส.
นี้เป็ นคาถาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเพิ่มเข้ามา
17
ในวันเมื่อพระนันทดาบสนั้นมาถึงอาศรม โสณบัณฑิตดาบสราพึงว่า
น้องชายของเราออกไปเสียนานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันแล้ว
จึงเล็งแลดูด้วยทิพยจักษุญาณว่า บัดนี้เธอไปอยู่ที่ไหนหนอ ก็เห็นว่า
น้องชายของเรากาลังพาพระราชา ๑๐๑ พระองค์
พร้อมด้วยบริวารประมาณ ๒๔ อักโขภิณีมาเพื่อจะให้ เรายกโทษเป็นแน่แท้
จึงดาริต่อไปว่า กษัตริย์เหล่านี้พร้อมทั้งบริษัท
ได้เห็นปาฏิหาริย์ของน้องชายเราเป็ นอันมาก แต่ยังมิได้ทราบอานุภาพของเรา
ก็จะพากันมาเจรจาข่มขู่ดูหมิ่นเราว่า ผู้นี้แหละเป็นชฏิลโกง
ช่างไม่รู้จักประมาณตนเองเสียเลย จะมาต่อยุทธ์กับพระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลาย
ดังนี้ ทั้งหมดก็จะพึงมีนรกอเวจีเป็นที่เป็ นไปในเบื้องหน้า
เราจักแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่พวกกษัตริย์และบริษัทเหล่านั้น
พระโสณบัณฑิตดาบสนั้นจึงวางไม้คานสาหรับหาบน้าในอากาศ
โดยมิให้ถูกบ่าห่างประมาณ ๔ องคุลี แล้วเหาะไปทางอากาศ
ในที่ไม่ไกลแต่พระราชา เพื่อจะนาเอาน้ามาจากสระอโนดาต
นันทบัณฑิตดาบสพอเห็นพี่ชายเหาะมา ไม่อาจจะแสดงตนได้
จึงอันตรธานไปในที่นั่งนั้นทีเดียว หนีเข้าไปยังป่าหิมวันต์
พระเจ้ามโนชราชทอดพระเนตรเห็น
พระโสณบัณฑิตดาบสนั้นเหาะมา ด้วยเพศฤาษีอันน่าเลื่อมใส
จึงตรัสพระคาถาว่า
ไม้คานอันทาด้วยไม้กระทุ่มของใคร ผู้ไปเพื่อหาบน้า
ลอยมายังเวหาสมิได้ถูกบ่า ห่างประมาณ ๔ องคุลี.
แม้เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงกล่าวคาถา ๒
คาถาว่า
ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพชื่อว่าโสณะ
เป็นดาบสมีวัตรอันสมาทานแล้ว มิได้เกียจคร้าน
เลี้ยงดูมารดาบิดาอยู่ทุกคืนทุกวัน ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ
อาตมภาพระลึกถึงอุปการคุณ ที่ท่านทั้งสองได้กระทาแล้ว ในกาลก่อน
จึงนาผลไม้ป่าและเผือกมันมาเลี้ยงดูมารดาบิดา.
พระราชาได้ทรงสดับคานั้นแล้ว
มีพระประสงค์ใคร่จะทอดพระเนตรอาศรม พร้อมด้วยพระโพธิสัตว์นั้น
จึงได้ตรัสคาถาอันเป็ นลาดับต่อไปว่า
ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาจะไปยังอาศรม ซึ่งเป็ นที่อยู่ของโกสิยดาบส
ข้าแต่ท่านโสณะ ขอท่านได้โปรดบอกทาง ที่จะไปยังอาศรมนั้น
แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์จึงเนรมิตหนทางสาหรับไปยังอาศรมบท
18
ด้วยอานุภาพของตน แล้วทูลกะพระเจ้ามโนชราชนั้นว่า
ดูก่อนมหาบพิตร หนทางนี้เป็ นหนทางสาหรับเดินคนเดียว
ขอเชิญมหาบพิตร เสด็จไปยังป่าอันสะพรั่งไปด้วยต้นทองหลาง
มีสีเขียวชอุ่มดังสีเมฆ โกสิยดาบสอยู่ในป่านั้น.
เนื้อความแห่งคาอันเป็นคาถานั้นมีดังต่อไปนี้
ดูก่อนมหาบพิตร
หนทางนี้เป็นหนทางเท้าสาหรับเดินไปได้เพียงคนเดียว ขอเชิญพระองค์เสด็จไป
โดยทิศาภาคที่หมู่ไม้อันสะพรั่งไปด้วยต้นทองหลาง มีดอกอันเบ่งบานดีแล้ว
มีสีเหมือนเมฆปรากฏอยู่นี้. บิดาของอาตมภาพผู้โกสิยโคตร อยู่ในอาศรมนี้
นั่นคืออาศรมแห่งบิดาของอาตมภาพ.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
โสณมหาฤาษี ครั้นกล่าวคานี้แล้ว ได้พร่าสอนกษัตริย์ทั้งหลาย ณ
กลางหาวแล้ว รีบหลีกไปยังสระอโนดาต แล้วกลับมาปัดกวาดอาศรม
แต่งตั้งอาสนะแล้ว เข้าไปสู่บรรณศาลา แจ้งให้ดาบสผู้เป็นบิดาทราบว่า
ข้าแต่ท่านมหาฤาษี พระราชาทั้งหลายผู้เป็นอภิชาตเรืองยศเหล่านี้ เสด็จมาหา
ขอเชิญบิดาออกไปนั่งนอกอาศรมเถิด มหาฤาษีได้ฟังคาของโสณบัณฑิตนั้นแล้ว
รีบออกจากอาศรม มานั่งอยู่ที่ประตูของตน.
นี้เป็ นพระคาถาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเพิ่มขึ้น
ส่วนมารดาของพระโพธิสัตว์ นั่งบนอาสนะต่ากว่าบิดา
ซึ่งตั้งอยู่ข้างหลัง. พระโพธิสัตว์นั่งอยู่บนอาสนะต่า ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ฝ่ายนันทบัณฑิตดาบส
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ไปตักน้าดื่มมาจากสระอโนดาต กลับมายังอาศรมแล้ว
จึงไปยังสานักของพระราชา ให้หยุดพักกองทัพไว้ ณ ที่ใกล้อาศรม. ลาดับนั้น
พระเจ้ามโนชราชทรงสรงสนาน ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีกษัตริย์
๑๐๑ พระองค์ ห้อมล้อมเป็นบริวาร พานันทบัณฑิตเสด็จเข้าไปยังอาศรม
ด้วยความเป็นผู้เลิศด้วยความงามแห่งสิริอันยิ่งใหญ่
เพื่อจะขอให้พระโพธิสัตว์ยกโทษ ลาดับนั้น
บิดาพระโพธิสัตว์เห็นพระราชานั้นเสด็จมาดังนั้น จึงถามพระโพธิสัตว์
แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้เล่าถึง ความเป็นไปทั้งหมดให้บิดาได้ทราบ.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
โกสิยดาบสได้เห็นพระเจ้ามโนชะนั้น
ซึ่งมีหมู่กษัตริย์ห้อมล้อมเป็ นกองทัพ ประหนึ่งรุ่งเรืองด้วยเดช เสด็จมาอยู่
จึงกล่าวคาถานี้ความว่า กลอง ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ และมโหระทึก
ยังพระราชาผู้เป็ นจอมทัพให้ร่าเริงอยู่ ดาเนินไปแล้วข้างหน้าของใคร
19
หน้าผากของใครสวมแล้วด้วยแผ่นทองอันหนามีสีดุจสายฟ้ า
ใครกาลังหนุ่มแน่นผูกสอดด้วยกาลูกศร รุ่งเรืองด้วยสิริ เดินมาอยู่
อนึ่ง หน้าของใครงามผุดผ่อง ดุจทองคาอันละลายคว้างที่ปากเบ้า
มีสีดังถ่านเพลิง ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กาลังเดินมาอยู่
ฉัตรพร้อมด้วยคันน่ารื่นรมย์ใจ สาหรับกั้นแสงอาทิตย์ อันบุคคลกางแล้วเพื่อใคร
ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กาลังเดินมาอยู่ ชนทั้งหลายถือพัดวาลวีชนีเครื่องสูง
เดินเคียงองค์ของใคร ผู้มีบุญอันประเสริฐ มาอยู่โดยคอช้าง เศวตฉัตร
ม้าอาชาไนย และทหารสวมเกราะ เรียงรายอยู่โดยรอบของใคร
ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กาลังเดินมาอยู่ กษัตริย์ ๑๐๑ พระนครผู้เรืองยศ
เสด็จพระราชดาเนินแวดล้อมตามอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ
กาลังเดินมาอยู่ จาตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า
เดินแวดล้อมตามอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กาลังเดินมาอยู่
เสนาหมู่ใหญ่นี้นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สุด ดุจคลื่นในมหาสมุทร
กาลังห้อมล้อมตามหลังใครมา.
พระมหาสัตว์ เมื่อจะบอกพระนามของพระเจ้ามโนชราชนั้น
จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาเหล่านี้ว่า
กษัตริย์ที่กาลังเสด็จมานั้น คือ พระเจ้ามโนราชาธิราช
เป็นเพียงดังพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
เข้าถึงความเป็นบริษัทของนันทดาบส กาลังมาสู่อาศรม
อันเป็นที่ประพฤติพรหมจรรย์ เสนาหมู่ใหญ่นี้นับไม่ถ้วน
ไม่มีที่สุดดุจคลื่นในมหาสมุทร กาลังตามหลังพระเจ้ามโนชะนั้นมา.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระราชาทุกพระองค์ ทรงลูบไล้ด้วยจันทน์หอม
ทรงผ้ากาสิกพัสตร์อย่างดี ทุกพระองค์ทรงประคองอัญชลี
เข้าไปยังสานักของฤาษีทั้งหลาย.
ลาดับนั้น พระเจ้ามโนชราชทรงนมัสการบิดาของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว
ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อจะทรงกระทาปฏิสันถาร จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า
พระคุณเจ้าผู้เจริญไม่มีโรคาพาธดอกหรือ
พระคุณเจ้าสุขสาราญดีอยู่หรือ พระคุณเจ้าพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้สะดวก
ด้วยการแสวงหามูลผลาหารแลหรือ เหง้ามันและผลไม้มีมากแลหรือ เหลือบ ยุง
และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยแลหรือ ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาฬมฤค
ไม่มีมาเบียดเบียนบ้างหรือ.
ต่อไปนี้เป็ นคาถาที่ พระดาบสบิดาของพระโพธิสัตว์
และพระเจ้ามโนชราช กล่าวถามและตอบกัน ๒ คน ว่า
ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพทั้งหลายไม่มีโรคาพาธ
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

More Related Content

Similar to 532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
335 ชัมพุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
335 ชัมพุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx335 ชัมพุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
335 ชัมพุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
maruay songtanin
 
411 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
411 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx411 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
411 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
334 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
334 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....334 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
334 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
347 อยกูฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
347 อยกูฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx347 อยกูฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
347 อยกูฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
104 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
104 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...104 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
104 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
maruay songtanin
 
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
171 กัลยาณธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
171 กัลยาณธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...171 กัลยาณธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
171 กัลยาณธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 

Similar to 532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
335 ชัมพุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
335 ชัมพุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx335 ชัมพุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
335 ชัมพุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
 
411 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
411 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx411 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
411 สุสีมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
 
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
334 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
334 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....334 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
334 ราโชวาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
347 อยกูฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
347 อยกูฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx347 อยกูฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
347 อยกูฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
104 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
104 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...104 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
104 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
 
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
171 กัลยาณธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
171 กัลยาณธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...171 กัลยาณธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
171 กัลยาณธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
258 มันธาตุราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ๒. โสณนันทชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๒) ว่าด้วยโสณนันทดาบส (พระเจ้ามโนชะเมื่อทรงพิจารณาดาบสนั้นแล้ว จึงตรัสว่า) [๙๒] ท่านเป็นเทวดา คนธรรพ์ เป็นท้าวสักกปุรินททะ หรือเป็ นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์กันแน่หนอ พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร (นันทบัณฑิตดาบสกราบทูลว่า) [๙๓] อาตมภาพไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ แม้ท้าวสักกปุรินททะก็ไม่ใช่ อาตมภาพเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้เถิด ภารถมหาบพิตร (ภารถมหาบพิตร หมายถึงพระราชาผู้รับภาระปกครองแคว้น, ผู้บริหารราชการแผ่นดิน) (พระเจ้ามโนชะได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า) [๙๔] พระคุณเจ้าได้ทาการขวนขวายช่วยเหลือมิใช่น้อยเห็นปานนี้ เมื่อฝนตก พระคุณเจ้าก็ได้ทาให้ฝนหยุด [๙๕] จากนั้นเมื่อลมแรง แดดกล้า พระคุณเจ้าก็ได้ทาเงาอันร่มเย็น ต่อมาพระคุณเจ้าก็ได้ทาการป้ องกันลูกศรในท่ามกลางศัตรู [๙๖] ต่อมาพระคุณเจ้าก็ได้ทาแคว้นให้เจริญรุ่งเรืองแผ่ไพศาล และได้นาประชาชนผู้อยู่ในแคว้นเหล่านั้นให้อยู่ในอานาจของโยม ต่อมาก็ได้ทาให้กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ให้เป็นผู้ติดตามโยม [๙๗] โยมมีความพอใจต่อพระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าประสงค์สิ่งปลื้มใจอันใด คือ ยานพาหนะที่เทียมด้วยช้าง รถเทียมด้วยม้า นารีที่ประดับด้วยเครื่องอลังการ และหรือนิเวศน์อันรื่นรมย์สาราญ ขอพระคุณเจ้าออกปากขอมาเถิด โยมขอถวายแด่พระคุณเจ้าผู้เจริญ [๙๘] หรือว่าพระคุณเจ้าประสงค์สิ่งใดในแคว้นอังคะก็ตาม มคธก็ตาม โยมขอถวายแด่พระคุณเจ้าผู้เจริญ หรือพระคุณเจ้าประสงค์แคว้นอัสสกะหรือแคว้นอวันตี โยมก็เต็มใจถวายสิ่งนั้นแด่พระคุณเจ้า [๙๙] หรือแม้ราชสมบัติกึ่งหนึ่ง โยมก็จะถวายแด่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าพระคุณเจ้าประสงค์ราชสมบัติ นิมนต์แนะนาสิ่งที่พระคุณเจ้าประสงค์มาเถิด (นันทบัณฑิตดาบสกราบทูลชี้แจงความประสงค์ของตนว่า) [๑๐๐] ราชสมบัติก็ตาม บ้านเมืองก็ตาม ทรัพย์สมบัติก็ตาม อาตมภาพไม่ต้องการ แม้ถึงชนบทอาตมภาพก็ไม่มีความต้องการ
  • 2. 2 [๑๐๑] ในพระราชอาณาจักรของมหาบพิตรผู้เจริญ มีอาศรมหลังหนึ่งอยู่ ณ ราวป่า บิดามารดาทั้ง ๒ ของอาตมภาพพานักอยู่ ณ อาศรมนั้น [๑๐๒] อาตมภาพไม่ได้ทาบุญในท่านทั้ง ๒ ผู้เป็นบุรพาจารย์นั้นเลย อาตมภาพจะทาการทูลเชิญมหาบพิตรผู้ทรงพระเจริญ แล้วจะขอการสังวร (ขอโทษ) กับโสณบัณฑิต (พระเจ้ามโนชะตรัสกับนันทบัณฑิตดาบสนั้นว่า) [๑๐๓] ท่านพราหมณ์ โยมจะทาตามคาของพระคุณเจ้า ตามที่พระคุณเจ้าพูดกับโยม แต่เรื่องนั้นพระคุณเจ้าบอกโยมมาเถิดว่า ผู้วิงวอนขอร้องมีจานวนเท่าไร (นันทบัณฑิตดาบสกราบทูลว่า) [๑๐๔] คหบดี ชาวชนบทและพราหมณ์มหาศาลกว่าร้อยขึ้นไป กษัตริย์ผู้อภิชาติผู้ทรงมีพระอิสริยยศเหล่านี้ทั้งหมด และพระองค์ผู้ทรงพระเจริญทรงพระนามว่า พระเจ้ามโนชะ ผู้วิงวอนขอร้อง ก็จักเพียงพอ (พระเจ้ามโนชะตรัสกับนันทบัณฑิตดาบสว่า) [๑๐๕] พนักงานทั้งหลายจงตระเตรียมช้างและม้า นายสารถีจงเทียมรถ ท่านทั้งหลายจงถือเอาเครื่องผูก จงยกธงขึ้นปักที่แท่นปักธง เราจักไปยังอาศรมที่โกสิยดาบสพานักอยู่ (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๐๖] ลาดับนั้น พระราชาเสด็จไปพร้อมกับจาตุรงคเสนา ได้เสด็จถึงอาศรมอันน่ารื่นรมย์ที่โกสิยดาบสอยู่ (พระเจ้ามโนชะทรงเห็นโสณดาบสโพธิสัตว์มา จึงตรัสว่า) [๑๐๗] หาบของใครผู้จะไปหาบน้า ทาด้วยไม้กระทุ่ม ไม่ถูกต้องบ่า ลอยขึ้นสู่อากาศ (ห่างบ่า)ประมาณ ๔ องคุลี (โสณดาบสโพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๑๐๘] ข้าแต่มหาราช อาตมภาพคือโสณดาบส ผู้อดกลั้นประพฤติวัตร ไม่เกียจคร้าน เลี้ยงดูมารดาบิดาอยู่ทุกคืนวัน [๑๐๙] ขอถวายพระพร พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ อาตมภาพระลึกถึงอุปการะที่ท่านทั้งสอง ได้ทาไว้แล้วในกาลก่อนอยู่เนืองๆ จึงนาเอาผลไม้และเผือกมันในป่ามาเลี้ยงดูมารดาบิดา (พระเจ้ามโนชะทรงประสงค์จะทาความคุ้นเคยกับโสณบัณฑิตดาบส จึงตรัสว่า)
  • 3. 3 [๑๑๐] โยมทั้งหลายปรารถนาจะไปยังอาศรมที่โกสิยดาบสอยู่ พระคุณเจ้าโสณะ นิมนต์พระคุณเจ้า กรุณาบอกหนทางแก่พวกโยมด้วย พวกโยมจะไปถึงอาศรมได้โดยหนทางใด (โสณดาบสโพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๑๑๑] ขอถวายพระพรพระราชา หนทางนี้เป็นทางเดินเท้าสาหรับคนผู้เดียว ณ ที่ใด มีป่าสีเขียวครามคล้ายเมฆ ดารดาษไปด้วยต้นทองกวาว ท่านโกสิยดาบสพานักอยู่ ณ ป่าแห่งนี้ (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๑๒] มหาฤๅษี ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเหาะขึ้นในอากาศพร่าสอนกษัตริย์ทั้งหลาย แล้วรีบด่วนหลีกไปในอากาศ [๑๑๓] ปัดกวาดอาศรม ปูลาดอาสนะแล้วเข้าไปยังบรรณศาลา บอกกล่าวบิดาให้รู้ตัวว่า [๑๑๔] ข้าแต่มหาฤๅษี กษัตริย์ผู้อภิชาติ ทรงมีพระอิสริยยศทั้งหลายเหล่านี้ กาลังเสด็จมา ขอท่านพ่อจงออกไปนั่งนอกอาศรมเถิด [๑๑๕] มหาฤๅษีสดับคาของโสณบัณฑิตนั้นแล้ว รีบออกจากอาศรม นั่งอยู่ใกล้ประตูอาศรมของตน (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๑๖] โกสิยดาบสได้เห็นพระเจ้ามโนชะนั้นมีหมู่กษัตริย์แวดล้อม เป็นประดุจกองทัพรุ่งเรืองอยู่ด้วยเดชานุภาพ กาลังเสด็จมา จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า [๑๑๗] กระบวนกลอง ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ และมโหระทึกนาหน้าใครมา ยังพระราชาผู้จอมทัพให้ร่าเริง [๑๑๘] ใครมีหน้าผากสวมกรอบอุณหิสทองคาอันหนา มีวรรณะประดุจสายฟ้ า ใครหนอยังหนุ่มแน่นผูกสอดแล่งลูกศร รุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา [๑๑๙] อนึ่ง ใบหน้าของใครงดงามผุดผ่อง ดุจทองคาที่ละลายคว้างอยู่ปากเบ้า มีสีดังถ่านเพลิงไม้ตะเคียน ใครหนอรุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา [๑๒๐] ฉัตรมีซี่น่ารื่นรมย์ใจ สาหรับกั้นบังแสงอาทิตย์ เขาประคองกั้นแล้วเพื่อใคร ใครหนอรุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา [๑๒๑] ชนทั้งหลายถือพัดวาลวีชนีเครื่องสูง เดินแวดล้อมเรือนร่างของใคร ผู้มีบุญอันประเสริฐซึ่งกาลังมาบนคอช้าง [๑๒๒] เศวตฉัตร ม้าอาชาไนย และทหารสวมเกราะ ของใครเรียงรายอยู่โดยรอบ ใครหนอรุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา
  • 4. 4 [๑๒๓] กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ผู้ทรงมีพระอิสริยยศ กาลังแวดล้อมติดตามใครอยู่โดยรอบ ใครหนอรุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา [๑๒๔] อนึ่ง เสนา ๔ เหล่า คือ กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบ แวดล้อมตามใครอยู่โดยรอบ ใครหนอรุ่งเรืองอยู่ด้วยสิริกาลังมา [๑๒๕] เสนาหมู่ใหญ่นั่นของใคร นับไม่ถ้วน แวดล้อมติดตามมาข้างหลังประดุจคลื่นแห่งสาคร [๑๒๖] พระเจ้ามโนชะผู้เป็ นราชาธิราช เหมือนพระอินทร์ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งเทพทั้งหลาย ผู้มีชัยกาลังเสด็จมาสู่อาศรมของท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทรงขอขมาโทษแทนนันทดาบส [๑๒๗] นั้นเสนาหมู่ใหญ่ของพระองค์นับไม่ถ้วน แวดล้อมติดตามมาข้างหลังประดุจคลื่นแห่งสาคร [๑๒๘] พระราชาทั้งหลายมีพระวรกายลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์ ทรงพระภูษากาสิกพัสตร์อันอุดม ทุกพระองค์ต่างประนมมือเสด็จเข้าไปหาพระฤๅษี (ต่อแต่นั้น พระเจ้ามโนชะตรัสว่า) [๑๒๙] พระคุณเจ้าผู้เจริญมีความสุขสาราญดี ไม่มีโรคเบียดเบียนหรือ พระคุณเจ้ายังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการแสวงหามูลผลาหารหรือ เผือก มัน และผลไม้ยังมีอยู่มากหรือ [๑๓๐] เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยหรือ ในป่าที่มีเนื้อร้ายอยู่พลุกพล่านไม่มีมาเบียดเบียนหรือ (โสณดาบสโพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๑๓๑] ข้าแต่พระราชา พวกอาตมภาพ มีความสุขสาราญดี และไม่มีโรคเบียดเบียน อนึ่ง อาตมภาพทั้งหลายยังอัตภาพ ให้เป็นไปด้วยการแสวงหามูลผลาหาร และเผือก มัน ผลไม้ก็ยังมีมากอยู่ [๑๓๒] อนึ่ง เหลือบยุงและสัตว์เลื้อยคลานก็มีน้อย เนื้อร้ายอยู่พลุกพล่านในป่าก็ไม่มาเบียดเบียนอาตมภาพเลย [๑๓๓] หลายปีมาแล้ว อาตมาอยู่ในอาศรมนี้ ยังไม่รู้จักความอาพาธที่ไม่ทาใจให้รื่นรมย์ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว [๑๓๔] ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มิได้เสด็จมาร้าย พระองค์ทรงเป็นใหญ่ เสด็จมาถึงโดยลาดับ สิ่งใดที่ทรงพอพระทัย โปรดตรัสบอกสิ่งนั้นเถิด [๑๓๕] ข้าแต่พระราชา ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า มีรสหวานเล็กน้อย เชิญพระองค์เลือกเสวยผลดีๆ เถิด
  • 5. 5 [๑๓๖] น้าดื่มนี้ก็เย็นสนิท ตักมาจากซอกเขา มหาบพิตรหากพระองค์ประสงค์ ขอทรงดื่มเถิด (พระเจ้ามโนชะตรัสว่า) [๑๓๗] สิ่งที่พระคุณเจ้าให้โยมก็รับไว้แล้ว พระคุณเจ้าทาให้มีค่าสาหรับคนทุกคน ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดเงี่ยโสตสดับคาของนันทดาบสเถิด ท่านจะกล่าว [๑๓๘] พวกโยมเป็นบริษัทของนันทดาบส พากันมายังสานักของพระคุณเจ้าผู้เจริญ เพื่อจะขอขมาโทษ ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญ โปรดสดับฟังคาของนันทดาบสและของบริษัทเถิด (นันทบัณฑิตเมื่อเจรจากับบริษัทของตน จึงกล่าวว่า) [๑๓๙] ชาวชนบทและพราหมณ์มหาศาลกว่าร้อยขึ้นไป กษัตริย์ผู้อภิชาติผู้ทรงมีพระอิสริยยศเหล่านี้ทั้งหมด และพระราชาผู้เจริญทรงพระนามว่า มโนชะ โปรดทรงสดับคาของอาตมภาพสักเล็กน้อย [๑๔๐] อนึ่ง ยักษ์ ภูต และเทวดาทั้งหลายในป่า ที่พากันมาประชุมอยู่ในอาศรมนี้ ขอจงฟังคาของข้าพเจ้า [๑๔๑] ข้าพเจ้าขอกระทาความนอบน้อมแก่ภูตทั้งหลาย แล้วจะกล่าวกับโสณฤๅษีผู้มีวัตรดีงาม ข้าพเจ้านั้นชาวโลกสมมติแล้วว่า เป็นชาวโกสิยโคตรร่วมกับท่าน จึงนับว่าเป็นแขนขวาของท่าน [๑๔๒] ข้าแต่ท่านพี่โกสีย์ผู้กล้าหาญ เมื่อข้าพเจ้ามีความประสงค์ จะเลี้ยงดูมารดาและบิดาบังเกิดเกล้าของข้าพเจ้า ฐานะนี้ชื่อว่าเป็นบุญ ขอท่านพี่จงอย่าห้ามข้าพเจ้าเลย [๑๔๓] แท้จริง การบารุงมารดาและบิดานั้น สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ขอท่านพี่จงสละการบารุงมารดาบิดานั้นให้ข้าพเจ้าเถิด ท่านพี่ได้กระทากุศลมานานแล้ว ด้วยการลุกขึ้นทากิจวัตรและการบีบนวด บัดนี้ ข้าพเจ้าใคร่จะทาบุญในมารดาบิดาทั้งหลายบ้าง ขอท่านพี่จงมอบโลกสวรรค์ให้แก่ข้าพเจ้าเถิด [๑๔๔] ข้าแต่ท่านพี่ผู้เป็นฤๅษี มนุษย์ทั้งหลายผู้รู้บทแห่งธรรม ในธรรมว่า เป็ นหนทางแห่งโลกสวรรค์ เหมือนอย่างท่านพี่รู้ มีอยู่ในบริษัทนี้เหมือนกัน [๑๔๕] ท่านโสณบัณฑิตผู้พี่ห้ามข้าพเจ้า ผู้จะบารุงมารดาและบิดาให้มีความสุขด้วยการอุปัฏฐาก และการนวดเฟ้ น จากบุญนั้น ชื่อว่าเป็นคนปิดกั้นหนทางอันประเสริฐ
  • 6. 6 (เมื่อนันทบัณฑิตกล่าวอย่างนี้แล้ว โสณดาบสโพธิสัตว์ประกาศให้ทราบว่า) [๑๔๖] ขอถวายพระพรมหาราช กษัตริย์ผู้เจริญทั้งหลาย ผู้จะขอขมาโทษแทนน้องชายของอาตมภาพ ขอทรงสดับคาของอาตมภาพ ผู้ใดยังสกุลวงศ์อันเก่าแก่ให้เสื่อมไป ไม่ประพฤติธรรมในบุคคลผู้เจริญในสกุลทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก [๑๔๗] ขอถวายพระพรพระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ ก็ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดในธรรมอันเก่าแก่ ถึงพร้อมด้วยจารีต ชนเหล่านั้นจะไม่ไปสู่ทุคติ [๑๔๘] มารดาและบิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว เครือญาติและพวกพ้อง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นภาระของพี่ชายใหญ่ ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้เถิด ท่านภารถ [๑๔๙] ขอถวายพระพรพระองค์ผู้เป็นจอมทัพ อาตมภาพต้องรับภาระอันหนักและไม่ละเลยธรรม เหมือนนายเรือต้องรับภาระอันหนัก พยายามนาเรือไป เพราะว่าอาตมภาพเป็นพี่ชายใหญ่ (พระราชาทุกพระองค์ทรงพอพระทัย ทรงชมเชยโสณดาบสโพธิสัตว์ว่า) [๑๕๐] เราทั้งหลายได้บรรลุญาณคือปัญญาในความมืด ท่านโสณโกสิยฤๅษีผู้เจริญได้แสดงธรรมอย่างชัดแจ้ง แก่เราทั้งหลายเหมือนเปลวเพลิงจากไฟป่าในเวลามืดมิด [๑๕๑] ดวงอาทิตย์เหล่ากอแห่งวาสุเทพเปล่งรัศมีอุทัยอยู่ ย่อมส่องแสงให้เห็นรูปทั้งดีทั้งชั่วอย่างแจ่มแจ้งแก่เหล่าสัตว์ฉันใด ท่านโสณโกสิยฤๅษีผู้เจริญก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงธรรมอย่างชัดแจ้งแก่เราทั้งหลาย (ลาดับนั้น นันทบัณฑิตกล่าวว่า) [๑๕๒] ถ้าท่านพี่ไม่ยอมรับรู้ ถึงการประคองอัญชลีของข้าพเจ้าผู้วิงวอนอยู่อย่างนี้ ข้าพเจ้าจักประพฤติตามท่านพี่ จักตั้งใจปฏิบัติบารุงท่านพี่ (โสณดาบสโพธิสัตว์เมื่อจะประกาศคุณของนันทบัณฑิต จึงกล่าวว่า) [๑๕๓] นันทะ เธอรู้แจ้งชัดถึงสัทธรรม ที่สัตบุรุษทั้งหลายแสดงไว้แล้วอย่างแท้จริง เธอเป็นผู้ประเสริฐ มีมารยาทงาม พี่พอใจเธอยิ่งนัก [๑๕๔] พี่จะบอกท่านพ่อท่านแม่ ขอท่านทั้ง ๒ จงฟังคาของข้าพเจ้า ภาระนี้เป็ นเพียงภาระชั่วครั้งชั่วคราวของข้าพเจ้าหามิได้
  • 7. 7 [๑๕๕] นันทดาบส กระทาการขอขมาโทษอ้อนวอนขอกับข้าพเจ้า เพื่อบารุงท่านทั้ง ๒ อันเป็นการอุปัฏฐาก ที่นาความสุขมาให้แก่มารดาบิดานั้นบ้าง [๑๕๖] บรรดาท่านทั้ง ๒ ผู้สงบ ประพฤติพรหมจรรย์ ท่านผู้ใดปรารถนา ขอท่านคนหนึ่งจงปรารถนานันทะเถิด ขอนันทะจงบารุงใครคนหนึ่งในท่านทั้ง ๒ ตามต้องการเถิด (มารดาของโสณดาบสโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๑๕๗] โสณะ แม่และพ่ออาศัยเธอ เธออนุญาตแล้ว แม่พึงได้จุมพิตนันทะผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่กระหม่อมเถิด [๑๕๘] เพราะนานเหลือเกินจึงได้เห็นนันทะ หัวใจของแม่ย่อมหวั่นไหว เหมือนใบอ่อนของต้นโพธิ์ถูกลมพัดไหวไปมา [๑๕๙] เมื่อใดแม่หลับลงฝันเห็นนันทะมา แม่ก็เบิกบานดีใจว่า ลูกนันทะของแม่มาแล้ว [๑๖๐] แต่เมื่อใดแม่ตื่นขึ้นแล้วไม่เห็นนันทะมา ความเศร้าโศกและความเสียใจมิใช่น้อยกลับทับถมโดยยิ่ง [๑๖๑] แม่เห็นนันทะกลับมาในวันนี้ ขอนันทะผู้เป็นที่รักของพ่อแม่จงเข้าไปยังเรือนของพวกเราเถิด [๑๖๒] นันทะเป็นลูกสุดที่รักแม้ของบิดา นันทะไม่ควรจากเรือนนี้ไปอีก พ่อโสณะ ขอนันทะจงได้สิ่งที่ตนปรารถนาเถิด ขอนันทะจงบารุงแม่เถิด (โสณดาบสโพธิสัตว์ประกาศพระคุณของมารดาว่า) [๑๖๓] พ่อฤๅษี มารดาเป็ นผู้อนุเคราะห์ เป็ นที่พึ่ง และเป็นผู้ให้รส (คือ น้านม) แก่พวกเรามาก่อน เป็นหนทางแห่งโลกสวรรค์ มารดาปรารถนาเจ้า [๑๖๔] พ่อฤๅษี มารดาเป็ นผู้ให้รสมาก่อน เป็นผู้คุ้มครอง เป็นที่เข้าไปประกอบบุญกุศล เป็นหนทางแห่งโลกสวรรค์ มารดาปรารถนาเจ้า (โสณดาบสโพธิสัตว์เมื่อจะประกาศว่ามารดาเป็นผู้ทากิจที่ทาได้ยากที่บุคคลอื่นจะ ทาได้ จึงกล่าวว่า) [๑๖๕] มารดาเมื่อหวังผลคือบุตรจึงนอบน้อมเทวดา และไต่ถามถึงฤกษ์ ฤดู และปีทั้งหลาย (มารดานอบน้อมเทวดา หมายถึงทาการนอบน้อมคือบนบานต่อเทวดาว่า “ขอลูกจงเกิดขึ้นแก่เรา” ถามถึงฤกษ์ ฤดู และปีทั้งหลาย หมายถึงมารดาต้องการทราบว่าบุตรเกิดในฤกษ์ ฤดู และปีใด จะมีอายุยืน อายุสั้นอย่างไร) [๑๖๖] เมื่อมารดานั้นมีระดู การตั้งครรภ์จึงมีได้ เพราะการตั้งครรภ์นั้น มารดาจึงมีการแพ้ท้อง เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกท่านว่า สุหทา หญิงผู้มีใจดี (เมื่อมารดานั้นมีระดู หมายถึงเมื่อต่อมเลือด(ไข่สุก)เกิดแล้ว
  • 8. 8 ระดูไม่มาตามกาหนด มารดาได้ชื่อว่า สุหทา หญิงผู้มีใจดี (เพราะในเวลานั้นมารดาจะเกิดความรักในบุตรที่เกิดในท้องของตน)) [๑๖๗] มารดาประคับประคองครรภ์อยู่หนึ่งปีหรือหย่อนกว่าบ้าง แล้วจึงคลอดบุตร เพราะเหตุนั้น มารดานั้นจึงชื่อว่า หญิงผู้ให้กาเนิดบุตร เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกท่านว่า ชเนตตี หญิงผู้ยังบุตรให้เกิด [๑๖๘] เมื่อบุตรร้องไห้ มารดาก็ปลอบโยนให้ยินดีได้ ด้วยน้านมบ้าง ด้วยการร้องเพลงกล่อมบ้าง ด้วยการกอดไว้แนบอกบ้าง เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกท่านว่า โตเสนตี หญิงผู้ยังบุตรให้ร่าเริงยินดี [๑๖๙] จากนั้น เมื่อลมแรงและแดดกล้า มารดาก็กระทาความรักอย่างจับใจ มองดูบุตรผู้ยังเป็นเด็กอ่อนไร้เดียงสาอยู่ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกว่า โปเสนตี หญิงผู้เลี้ยงดูบุตร [๑๗๐] ทรัพย์อันใดที่เป็นทรัพย์ของมารดาก็ดี เป็นทรัพย์ของบิดาก็ดี แม้ทรัพย์ทั้ง ๒ มารดาก็คุ้มครองรักษาไว้เพื่อบุตรนั้น ด้วยหมายใจว่า แม้ทรัพย์ทั้ง ๒ นี้พึงเป็นของบุตรของเรา [๑๗๑] มารดาเมื่อให้บุตรสาเหนียกว่า อย่างนี้ซิลูก อย่างโน้นซิลูก ย่อมลาบาก และทราบว่าบุตรของตนเมื่อถึงคราวเป็ นหนุ่ม ลุ่มหลงมัวเมาในภรรยาของผู้อื่นอยู่จนดึกดื่นเที่ยงคืน ไม่กลับมาในเวลาเย็น ก็ย่อมเดือดร้อน ด้วยประการฉะนี้ [๑๗๒] บุตรที่มารดาเลี้ยงดูมาแล้วด้วยความลาบากอย่างนี้ ไม่บารุงมารดา บุตรคนนั้นชื่อว่า ประพฤติผิดในมารดา ย่อมเข้าถึงนรก [๑๗๓] บุตรที่บิดาเลี้ยงดูมาแล้วด้วยความลาบากอย่างนี้ ไม่บารุงบิดา บุตรคนนั้นชื่อว่า ประพฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก [๑๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า แม้ทรัพย์ที่เกิดขึ้นแก่บุตรทั้งหลายผู้มีความต้องการทรัพย์ ก็พินาศไปบ้าง บุตรนั้นย่อมถึงฐานะอันลาบากบ้าง เพราะไม่บารุงมารดา [๑๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า แม้ทรัพย์ที่เกิดขึ้นแก่บุตรทั้งหลายผู้มีความต้องการทรัพย์ ก็พินาศไปบ้าง บุตรนั้นย่อมถึงฐานะอันลาบากบ้าง เพราะไม่บารุงบิดา [๑๗๖] ความเพลิดเพลินยินดี ความรื่นเริงบันเทิงใจ และการหัวเราะเล่นหัวกันในกาลทุกเมื่อนั้น บัณฑิตผู้รู้แจ้งจะพึงได้เพราะบารุงมารดา [๑๗๗] ความเพลิดเพลินยินดี ความรื่นเริงบันเทิงใจ และการหัวเราะเล่นหัวกันในกาลทุกเมื่อนั้น บัณฑิตผู้รู้แจ้งจะพึงได้เพราะบารุงบิดา
  • 9. 9 [๑๗๘] สังคหวัตถุ (สังคหวัตถุ หมายถึงหลักการสงเคราะห์หรือธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจกันไว้ได้ ในที่นี้หมายถึงบุตรพึงปรนนิบัติมารดาบิดาด้วยหลัก ๔ ประการ คือ (๑) ทาน การให้(สิ่งของ)แก่มารดาบิดา (๒) เปยยวัชชะ พึงเจรจาแต่คาที่น่ารัก (๓) อัตถจริยา พึงประพฤติประโยชน์ด้วยการทาหน้าที่(ของท่าน)ที่เกิดขึ้นให้สาเร็จ (๔) สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามสมควร หมายถึงความประพฤติยาเกรงต่อผู้ใหญ่ทั้งหลาย) ทั้งหลาย คือ ๑. ทาน (การให้) ๒. ปิยวาจา (การเจรจาถ้อยคาที่น่ารัก) ๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) ๔. สมานัตตตา (ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามสมควรในที่นั้นๆ) ทั้ง ๔ ประการนี้ยังมีอยู่ในโลกนี้ เหมือนเพลารถยังมีแก่รถที่กาลังแล่นไป [๑๗๙] หากว่าสังคหวัตถุเหล่านี้ไม่พึงมีไซร้ มารดาไม่พึงได้การนับถือหรือการบูชาเพราะเหตุแห่งบุตรเลย หรือบิดาไม่พึงได้การนับถือหรือการบูชาเพราะเหตุแห่งบุตรเลย [๑๘๐] ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลายพิจารณาเห็นสังคหวัตถุเหล่านี้โดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงบรรลุถึงความเป็ นผู้ใหญ่ ทั้งบัณฑิตเหล่านั้นยังเป็นผู้น่าสรรเสริญอีกด้วย [๑๘๑] มารดาและบิดาทั้งหลายบัณฑิตกล่าวว่า ๑. เป็นพรหมของบุตร ๒. เป็นบุรพาจารย์ของบุตร ๓. เป็นผู้ควรของต้อนรับบูชาของบุตร (มารดาและบิดาเป็ นพรหมของบุตร เพราะเป็นผู้เสมอด้วยพรหม คือ สูงสุด ประเสริฐสุดของบุตรเป็นบุรพาจารย์ คือ เป็นอาจารย์คนแรกของบุตร เป็ นผู้ควรของต้อนรับบูชา คือ สมควรแก่สักการะอย่างใดอย่างหนึ่งของบุตร) ๔. เป็นผู้อนุเคราะห์หมู่สัตว์คือบุตร [๑๘๒] เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงนอบน้อมและพึงสักการะมารดาและบิดาทั้ง ๒ นั้นด้วยข้าวและน้า ด้วยผ้านุ่งผ้าห่มและที่นอน ด้วยการอบตัวและอาบน้าให้ และด้วยการล้างเท้าทั้ง ๒ ให้ท่าน [๑๘๓] เพราะการบารุงมารดาและบิดาทั้ง ๒ นั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้ทีเดียว เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ดังนี้แล โสณนันทชาดกที่ ๒ จบ ----------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา โสณนันทชาดก ว่าด้วย เรื่องพระราชาไปขอขมาโทษโสณดาบส
  • 10. 10 พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภภิกษุผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี ดังนี้. เนื้อเรื่องของชาดกนี้ คล้ายกับเรื่องในสุวรรณสามชาดก ทีเดียว. ก็ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธออย่าติเตียนภิกษุรูปนี้เลย บัณฑิตแต่ปางก่อนทั้งหลาย แม้ได้ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ก็ยังไม่ยอมรับเอาราชสมบัตินั้น ย่อมเลี้ยงแต่มารดาบิดาถ่ายเดียว แล้วทรงนาอดีตนิทานมา ตรัสว่า ในอดีตกาล กรุงพาราณสีได้เป็ นพระนครที่มีชื่อว่าพรหมวัธน์ พระราชาทรงมีพระนามว่ามโน ชะ เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครนั้น. มีพราหมณ์มหาศาลผู้หนึ่ง มีทรัพย์สมบัติประมาณ ๘๐ โกฏิ แต่หาบุตรมิได้ อาศัยอยู่ในพระนครนั้น นางพราหมณีผู้เป็นภริยาของพราหมณ์นั้น เมื่อพราหมณ์ผู้สามีนั้นกล่าวว่า นางผู้เจริญ เธอจงปรารถนาบุตรเถิด ดังนี้ ก็ได้ปรารถนาแล้ว. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสด็จจุติจากพรหมโลก ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีนั้น. เมื่อกุมารนั้นเกิดแล้ว มารดาบิดาจึงตั้งชื่อว่าโสณกุมาร ในกาลเมื่อโสณกุมารนั้นเดินได้ แม้สัตว์อื่นก็จุติจากพรหมโลกถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีนั้นอีก มารดาบิดาตั้งชื่อกุมารนั้นว่านันทกุมาร เมื่อกุมารทั้งสองคนนั้นเรียนพระเวทจนจบการศึกษาศิลปศาสตร์ทั้งห มดแล้ว พราหมณ์ผู้บิดามองเห็นรูปสมบัติอันเจริญวัย จึงเรียกนางพราหมณีมา แล้วพูดว่า แน่ะนางผู้เจริญ เราจักผูกพันโสณกุมารลูกชายของเราไว้ด้วยเครื่องผูก คือเรือน นางรับว่า ดีละ แล้วบอกเนื้อความนั้นแก่บุตรให้ทราบ โสณกุมารนั้นจึงพูดว่า อย่าเลยแม่ เรื่องการอยู่ครองเรือนสาหรับฉัน ฉันจะปฏิบัติคุณพ่อและคุณแม่จนกว่าชีวิตจะหาไม่ เมื่อคุณพ่อและคุณแม่ล่วงไปแล้ว ก็จะเข้าป่าหิมพานต์บวช. นางพราหมณีจึงบอกเนื้อความนั้นแก่พราหมณ์ให้ทราบ. คนทั้งสองคนนั้น แม้กล่าวอยู่บ่อยๆ ก็ไม่ได้ความยินยอมพร้อมใจจากโสณกุมารนั้น จึงเรียกนันทกุมารมาแล้วพูดว่า ลูกเอ๋ย ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงครอบครองทรัพย์สมบัติเถิด เมื่อนันทกุมารพูดว่า ฉันจะยื่นศีรษะออกไปรับก้อนเขฬะ ที่พี่ชายถ่มทิ้งแล้วไม่ได้แน่ ก็ตัวฉันเองเมื่อพ่อแม่ถึงแก่กรรมแล้ว ก็จะออกบวชพร้อมกับพี่ชายเหมือนกัน ฟังคาของลูกชายทั้งสองคนนั้นแล้ว จึงพากันคิดว่า ลูกชายทั้งสองคนนี้กาลังหนุ่มอยู่อย่างนี้ ก็ยังละกามารมณ์ทั้งหลายเสียได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงเราทั้งสองคนเล่า พวกเราพากันบวชเสียให้หมดเถิด
  • 11. 11 จึงพูดกะบุตรทั้งสองคนว่า ลูกเอ๋ย เมื่อแม่และพ่อหาชีวิตไม่แล้ว การบวชของเจ้าทั้งสองจะมีประโยชน์อะไร เราทั้งหมดจักออกบวชพร้อมกันเสียในบัดนี้เถิด แล้วกราบทูลแด่พระราชา สละทรัพย์ทั้งหมดลงในทางทาน กระทาชนผู้เป็นทาสให้เป็นไท ให้ส่งของที่สมควรให้แก่หมู่ญาติ พร้อมกันทั้ง ๔ คนด้วยกัน ออกจากนครพรหมวัธน์ สร้างอาศรมอยู่ในชัฏป่าอันน่ารื่นรมย์ใจ อาศัยสระอันดารดาษไปด้วยดอกปทุมเบญจวรรณ ในหิมวันตประเทศ แล้วบรรพชาอาศัยอยู่ในอาศรมนั้น. แม้พระโสณะและพระนันทะทั้ง ๒ นั้น ก็ช่วยกันปฏิบัติมารดาบิดา ตื่นเช้าก็จัดไม้สาหรับชาระฟันและน้าล้างหน้าให้แก่ท่านทั้ง ๒ แล้วไปกวาดบรรณศาลาและบริเวณอาศรม ตั้งน้าฉันไว้เสร็จแล้ว พากันไปเลือกผลไม้น้อยใหญ่ ซึ่งมีรสอันอร่อยมาจากป่า นามาให้มารดาบิดาได้บริโภค ถึงยามร้อนก็หาน้าเย็นมาให้อาบ คอยชาระสะสางมวยผมให้สะอาด กระทาการบีบนวดเป็ นต้น แก่มารดาบิดาทั้งสองคนนั้น. ด้วยการปฏิบัติอยู่อย่างนี้ เวลาล่วงไปนาน คราวหนึ่ง นันทบัณฑิตดาริว่า เราจะให้มารดาบิดาได้บริโภคผลไม้น้อยใหญ่ที่เราหามาได้ก่อน. เธอจึงรีบไปล่วงหน้าพี่ชายแต่เช้าตรู่ หาผลไม้ลูกเล็กลูกใหญ่ เท่าที่พอจะหาได้ มาจากที่ที่ตนเคยเก็บเมื่อวานบ้าง วานซืนบ้าง แล้วรีบนามาให้มารดาบิดาบริโภคก่อน. มารดาบิดาบริโภคผลไม้แล้ว บ้วนปากสมาทานอุโบสถ. ส่วนโสณบัณฑิตไปยังที่ไกลๆ เลือกหาผลไม้น้อยใหญ่ที่มีรสอันอร่อยกาลังสุกงอมดี แล้วนาเข้าไปให้. ลาดับนั้น มารดาบิดาจึงกล่าวกะโสณบัณฑิตนั้นว่า ลูกเอ๋ย เราได้บริโภคผลไม้ที่น้องชายของเจ้าหามาให้เรียบร้อยแล้วแต่เช้าตรู่ (เดี๋ยวนี้) สมาทานอุโบสถแล้ว บัดนี้เราไม่มีความต้องการ ผลไม้ดีๆ ของโสณดาบสนั้น ไม่มีใครได้บริโภคเลย ก็จะเน่าเสียไปด้วยประการฉะนี้. แม้ในวันต่อๆ มา ก็เป็นเช่นนั้นอีกเหมือนกัน พระโสณดาบสนั้นสามารถจะไปยังสถานที่ไกลๆ แล้วนาผลไม้มาได้ ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะท่านได้อภิญญา ๕ ประการ แต่มารดาบิดาก็มิได้บริโภค. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์จึงคิดว่า มารดาบิดาของเราเป็นสุขุมาลชาติ น้องนันทะไปหาผลไม้ลูกเล็กลูกใหญ่ดิบบ้างสุกบ้าง มาให้ท่านบริโภค เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านทั้งสองนี้ก็จะไม่เป็ นอยู่เช่นนี้ได้ตลอดกาลนาน เราจักห้ามเธอเสีย. ลาดับนั้น โสณบัณฑิตจึงเรียกน้องชายนั้นมา แล้วบอกว่า ดูก่อนน้อง จาเดิมแต่นี้ไปเมื่อน้องหาผลไม้มาได้แล้ว จงรอให้พี่กลับมาเสียก่อน
  • 12. 12 เราทั้งสองคนจักให้มารดาบิดาบริโภคพร้อมๆ กัน แม้เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระนันทะก็มุ่งหวังแต่ความดีของตนอย่างเดียว จึงมิได้กระทาตามคาของพี่ชาย. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า น้องนันทะไม่กระทาตามคาของเรา กระทาหน้าที่อันไม่สมควร จะต้องขับไล่เธอไปเสีย แต่นั้น เราผู้เดียวเท่านั้นจะปฏิบัติมารดาบิดา จึงดีดนิ้วมือขู่ขับนันทดาบสด้วยวาจาว่า ดูก่อนนันทะ เจ้าเป็ นคนที่ไม่อยู่ในถ้อยคา ไม่กระทาตามคาของบัณฑิตทั้งหลาย เราเป็นพี่ชายของเจ้า มารดาบิดาจงเป็นหน้าที่รับผิดชอบของเราผู้เดียว เราผู้เดียวเท่านั้นจักปฏิบัติมารดาบิดา เจ้าจักไม่ได้เพื่อจะอยู่ในที่นี้ จงไปในที่อื่น นันทบัณฑิตนั้นถูกพระโสณบัณฑิตพี่ชายนั้นขับไล่ ไม่อาจจะอยู่ในสานักของพี่ชายได้ จึงไหว้พี่ชายแล้วเข้าไปหามารดาบิดา เล่าความนั้นให้ฟัง ไหว้มารดาบิดาแล้ว เข้าไปสู่บรรณศาลาของตน เพ่งดูกสิณเป็นอารมณ์ ในวันนั้นนั่นเอง ก็ทาอภิญญา ๕ และสมาบัติให้บังเกิดขึ้นได้แล้ว คิดว่า เราจะนาทรายแก้วมาแต่เชิงเขาสิเนรุ โปรยลงในบริเวณบรรณศาลาแห่งพี่ชายของเรา ก็เป็นการเพียงพอที่จะให้พี่ชายอภัยโทษเราได้ แม้การกระทาอย่างนี้จักยังไม่งดงาม เราก็จะไปนาน้ามาจากสระอโนดาต รดลงในบริเวณบรรณศาลาแห่งพี่ชายของเรา ก็จะพอยังพี่ชายให้อภัยโทษเราได้ แม้อย่างนี้ก็จักยังไม่งดงาม ถ้าเราพึงทาพี่ชายของเราให้อภัยโทษเราได้ ด้วยอานาจเทวดาทั้งหลาย เราก็จะนาท้าวมหาราชทั้ง ๔ และท้าวสักกะมา ก็พอจะยังพี่ชายให้อภัยโทษได้ แม้อย่างนี้จักยังไม่งดงาม เราจักไปนาพระราชาทั้งหลาย มีพระเจ้ามโนชะผู้เป็ นพระราชาล้าเลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้นนี้ไปเป็นประธาน ก็พอจะให้พี่ชายอภัยโทษเราได้ เมื่อเป็นเช่นนี้คุณงามความดีแห่งพี่ชายของเรา ก็จะแผ่ตลบทั่วไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น จักปรากฏประดุจพระจันทร์และพระอาทิตย์ ฉะนั้น. ขณะนั้น พระนันทดาบสนั้นก็เหาะไปด้วยฤทธิ์ ลงที่ประตูพระราชนิเวศน์ของพระราชานั้น ในพรหมวัธนนคร สั่งให้ราชบุรุษกราบทูลแด่พระราชาว่า ได้ยินว่า พระดาบสองค์หนึ่งต้องการจะเข้าเฝ้ าพระองค์. พระราชาทรงดาริว่า เราเห็นบรรพชิตจะได้ประโยชน์อะไร ชะรอยว่า บรรพชิตรูปนั้นคงจักมาเพื่อต้องการอาหารเป็นแน่ จึงจัดส่งภัตตาหารไปถวาย. พระดาบสไม่ปรารถนาภัตร. พระองค์จึงทรงส่งข้าวสารไปถวาย พระดาบสนั้น ก็มิได้ปรารถนาข้าวสาร. จึงทรงส่งผ้าไปถวาย พระดาบสก็มิได้รับผ้า. จึงทรงส่งหมากพลูไปถวาย. พระดาบสนั้น ก็มิได้รับหมากพลู.
  • 13. 13 ลาดับนั้น พระองค์จึงทรงส่งทูตไปยังสานักของพระดาบสนั้นว่า พระผู้เป็นเจ้ามาแล้ว เพื่อประสงค์อะไรกัน. พระดาบส เมื่อถูกทูตถามจึงบอกว่า เรามาเพื่อบารุงพระราชา. พระราชาทรงสดับคานั้นแล้ว จึงรับสั่งให้คนไปบอกว่า พวกคนอุปัฏฐากของเรามีอยู่มากมายแล้ว ท่านดาบสจงบาเพ็ญหน้าที่ดาบสของตนเถิด. พระดาบสฟังคานั้นแล้ว จึงกล่าวว่า เราจักถือเอาราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยกาลังของเราแล้ว ถวายแก่พระราชาของท่านทั้งหลาย. พระราชาทรงสดับคานั้นแล้ว จึงทรงพระดาริว่า ธรรมดาว่า บรรพชิตทั้งหลายเป็นบัณฑิต คงจักทราบอุบายอะไรบ้างกระมัง จึงรับสั่งให้นิมนต์พระดาบสนั้นเข้ามา ให้นั่งบนอาสนะ ทรงไหว้แล้ว ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระผู้เป็นเจ้าจะถือเอาราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นแล้ว ยกให้แก่ข้าพเจ้าหรือ. พระดาบสทูลว่า เป็ นเช่นนั้น มหาบพิตร. พระราชาตรัสถามว่า พระผู้เป็ นเจ้าจักถือเอาได้อย่างไร. พระดาบสทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพจะมิต้องให้โลหิต แม้มาตรว่า แมลงวันตัวน้อยดื่มกินได้ โดยกาหนดอย่างต่าให้บังเกิดขึ้นแก่ใครๆ เลย ทั้งไม่กระทา ความสิ้นเปลืองแห่งพระราชทรัพย์ของพระองค์ด้วย จักถือเอาด้วยฤทธิ์ของอาตมภาพแล้ว ยกถวายแด่พระองค์ ก็แต่ว่า ไม่ควรจะกระทาความชักช้าอย่างเดียว รีบเสด็จออกเสียในวันนี้แหละ. พระราชาทรงเชื่อถ้อยคาของนันทดาบสนั้น แวดล้อมไปด้วยหมู่เสนางคนิกร เสด็จออกจากพระนคร. ผิว่าความร้อนเกิดขึ้นแก่เสนา นันทบัณฑิตก็เนรมิต ให้มีเงากระทาให้ร่มเย็นด้วยฤทธิ์ของตน เมื่อฝนตก ก็มิได้ตกลงในเบื้องบนหมู่เสนา ห้ามความร้อนและความหนาวเสียได้ บันดาลให้อันตรายทั้งหมดเป็นต้นว่า ขวากหนาม และตอไม้ในระหว่างทาง ให้อันตรธานสูญหายไปหมด กระทาหนทางให้ราบเรียบ ดุจมณฑลแห่งกสิณ แม้ตนเองปูแผ่นหนังนั่งบนบัลลังก์ มีหมู่เสนาแวดล้อม แล้วเหาะลอยไปในอากาศ. พระนันทบัณฑิตนั้นพาหมู่เสนาไปด้วยอาการอย่างนี้ ลุถึงแคว้นโกศลเป็ นครั้งแรก จึงสั่งให้หยุดกองทัพตั้งค่ายไม่ไกลเมือง แล้วส่งทูตเข้าไปทูลพระเจ้าโกศลราชว่า จะให้การยุทธ์แก่พวกเรา หรือว่าจะให้เศวตฉัตร. พระเจ้าโกศลราชนั้นได้ทรงสดับถ้อยคาของทูต ก็ทรงพิโรธตรัสว่า เราไม่ใช่พระราชาหรืออย่างไร เราจะให้การรบ ทรงกระทาเสนาข้างหน้าเสด็จยกพลออกไป. เสนาทั้งสองฝ่ายเริ่มจะรบกัน. ลาดับนั้น นันทบัณฑิตจึงเนรมิตหนังเสือเหลือง ซึ่งเป็ นอาสนะที่นั่งของตนให้ใหญ่โต ขึงไว้ในระหว่างกองทัพทั้ง ๒
  • 14. 14 แล้วคอยรับลูกศรที่พวกเสนาทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างยิงกันไปมาด้วยแผ่นหนังนั้นทีเดียว. เสนาแม้สักคนหนึ่ง ใครๆ ที่ชื่อว่า ถูกลูกศรแทงแล้วไม่ได้มีเลย. กองทัพแม้ทั้ง ๒ นั้น ก็หมดความอุตสาหะลง ยืนเฉยอยู่ เพราะลูกศรที่อยู่ในมือหมดด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย. นันทบัณฑิตจึงไปยังสานักของพระเจ้ามโนชราช ทูลปลอบเอาพระทัยว่า พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย มหาบพิตร. แล้วไปยังสานักของพระเจ้าโกศลราชทูลว่า พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย มหาบพิตร อันตรายจักไม่มีแก่พระองค์ ราชสมบัติของพระองค์ ก็จักคงยังเป็นของพระองค์อยู่ทีเดียว ขอให้พระองค์ทรงอ่อนน้อมแก่ พระเจ้ามโนชราชอย่างเดียวเท่านั้น พระเจ้าโกศลราชทรงเชื่อนันทบัณฑิตนั้น ก็ทรงรับว่า ดีละ ดังนี้. ลาดับนั้น นันทบัณฑิตจึงนาเสด็จท้าวเธอไปยังสานักของพระเจ้ามโนชราช แล้วทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระเจ้าโกศลราชทรงยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์ แต่ขอให้ราชสมบัติของพระเจ้าโกศลราชนี้ จงยังคงเป็นของท้าวเธออยู่ตามเดิมเถิด. พระเจ้ามโนชราชทรงรับว่า ดีละ ทรงกระทาพระเจ้าโกศลราชพระองค์นั้น ให้อยู่ในอานาจของพระองค์แล้ว ยกพลเสนาทั้ง ๒ กองทัพเสด็จไปยังแคว้นอังคะ ได้แคว้นอังคะแล้ว ต่อจากนั้น ก็ไปยังแคว้นมคธ ได้แคว้นมคธ โดยอุบายอย่างนี้ ทรงกระทาพระราชาทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้ตกอยู่ในอานาจของพระองค์ได้ทั้งหมด แต่นั้น ก็เป็นผู้มีพระราชาเหล่านั้นเป็นบริวาร เสด็จไปยังพรหมวัธนนครทีเดียว ก็พระเจ้ามโนชราชนี้ ทรงถือเอาราชสมบัติอยู่ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันจึงเสร็จเรียบร้อย. พระเจ้ามโนชราชนั้น รับสั่งให้พระราชาเหล่านั้นนาของเคี้ยวและของบริโภคมีประการต่างๆ จากราชธานีของตนทุกๆ พระนคร ทรงพาพระราชาทั้ง ๑๐๑ พระองค์เหล่านั้น ชวนกันดื่มเครื่องดื่ม เป็นการใหญ่กับพระราชาเหล่านั้นตลอดถึง ๗ วัน. นันทบัณฑิตดาบสคิดว่า พระราชายังเสวยความสุข ที่เกิดแต่ความเป็นใหญ่อยู่ตราบใด เราจักไม่แสดงตนแก่ท้าวเธอตราบนั้น จึงเที่ยวไปบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีปแล้ว ไปอยู่ที่ปากถ้าทองในหิมวันตประเทศ ๗ วัน. แม้พระเจ้ามโนชราช ในวันที่ ๗ ทรงแลดูสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ก็ทรงระลึกถึงนันทบัณฑิตดาบสว่า อิสริยยศทั้งหมดนี้ มารดาบิดาของเรามิได้ให้ ชนเหล่าอื่นก็มิได้ให้แก่เรา บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยนันทบัณฑิตดาบส ก็เราไม่ได้เห็นท่านเลยถึง ๗ วันเข้าวันนี้แล้ว บัดนี้ท่านผู้ให้อิสริยยศแก่เรา อยู่ที่ไหนหนอ. นันทบัณฑิตนั้นได้ทราบว่า ท้าวเธอระลึกถึงตน จึงเหาะมายืนอยู่บนอากาศ ตรงพระพักตร์พระราชา. พระราชานั้นทอดพระเนตรเห็นนันทดาบสมายืนอยู่
  • 15. 15 จึงทรงพระดาริอย่างนี้ว่า เรายังไม่ทราบว่า พระดาบสนี้จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ก็ถ้าเธอเป็นมนุษย์ เราจักยกราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งหมดให้แก่เธอทีเดียว ถ้าเธอเป็นเทวดา เราจักกระทาเครื่องสักการะสาหรับเทวดาแก่เธอ. พระราชาพระองค์นั้น เมื่อจะทรงสอบถามนันทบัณฑิตนั้นให้ทราบชัด จึงตรัสพระคาถาเป็นปฐมว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ เป็ นท้าวสักกปุรินททะ หรือว่าเป็ นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ข้าพเจ้าทั้งหลายจะรู้จักพระผู้เป็ นเจ้าได้อย่างไร. นันทดาบสนั้นสดับคาของพระราชานั้นแล้ว เมื่อจะทูลบอกตามความจริง จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า อาตมภาพไม่ใช่เป็นเทวดา ไม่ใช่เป็นคนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ อาตมภาพเป็ นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ดูก่อนภารถะ มหาบพิตร จงทราบอย่างนี้เถิด. นันทบัณฑิตเรียกพระราชาพระองค์นั้นอย่างนี้ว่า ภารถ ดังนี้ ในคาถานั้น เพราะพระองค์เป็ นผู้ทรงไว้ซึ่งภาระของรัฐ. พระราชาทรงได้สดับคานั้นแล้ว จึงทรงพระดาริว่า ได้ยินว่า พระดาบสนี้เป็นมนุษย์ เธอมีอุปการะมากถึงเพียงนี้แก่เรา เราจักให้เธออิ่มหนาด้วยอิสริยยศ จึงตรัสว่า ความช่วยเหลืออันมิใช่น้อยนี้ เป็นกิจที่พระผู้เป็ นเจ้ากระทาแล้ว คือ เมื่อฝนตกพระผู้เป็นเจ้าก็ได้ทาไม่ให้มีฝน แต่นั้น เมื่อลมจัดและแดดร้อน พระผู้เป็นเจ้าก็ได้ทาให้มีเงาบังร่มเย็น แต่นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทาการป้ องกันลูกศร ในท่ามกลางแห่งศัตรู แต่นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทาบ้านเมือง อันรุ่งเรืองและชาวเมืองเหล่านั้น ให้ตกอยู่ในอานาจของข้าพเจ้า แต่นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทากษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ ให้เป็นผู้ติดตามของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอขอบคุณพระผู้เป็นเจ้ายิ่งนัก. พระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาสิ่งที่จะให้จิตชื่นชม คือยานอันเทียมด้วยช้าง รถอันเทียมด้วยม้า และสาวน้อยทั้งหลายที่ประดับประดาแล้ว หรือรมณียสถานอันเป็นที่อยู่อาศัย อันใด ขอพระผู้เป็นเจ้าจงเลือกเอาสิ่งนั้นตามประสงค์เถิด ข้าพเจ้าขอถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาแคว้นอังคะหรือแคว้นมคธ ข้าพเจ้าก็ขอถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าปรารถนาแคว้นอัสสกะ หรือแคว้นอวันตี ข้าพเจ้าก็มีใจยินดีขอถวายแคว้นเหล่านั้น ให้แก่พระผู้เป็นเจ้า หรือแม้พระผู้เป็ นเจ้าปรารถนาราชสมบัติกึ่งหนึ่งไซร้
  • 16. 16 ข้าพเจ้าก็ขอถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระคุณเจ้ามีความต้องการด้วยราชสมบัติทั้งหมด ข้าพเจ้าก็ขอถวายพระคุณเจ้า ปรารถนาสิ่งใด ขอพระคุณเจ้าบอกมาเถิด. นันทบัณฑิตดาบสได้ฟังพระดารัสนั้นแล้ว เมื่อจะชี้แจงความประสงค์ของตนให้แจ่มแจ้ง จึงทูลว่า อาตมภาพไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ บ้านเมือง ทรัพย์ หรือแม้ชนบท อาตมภาพไม่มีความต้องการเลย นันทบัณฑิตทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าพระองค์มีความรักในอาตมภาพ ขอได้ทรงกระทาตามคาของอาตมภาพสักอย่างหนึ่ง แล้วทูลเป็นคาถาว่า ในแว่นแคว้นอาณาเขตของมหาบพิตร มีอาศรมอยู่ในป่า มารดาและบิดาทั้งสองท่านของอาตมภาพอยู่ในอาศรมนั้น อาตมภาพอยู่ในอาศรมนั้น อาตมภาพไม่ได้เพื่อทาบุญในท่านทั้งสอง ผู้เป็นบุรพาจารย์นั้น อาตมภาพขอเชิญมหาบพิตร ผู้ประเสริฐยิ่ง ไปขอขมาโทษโสณดาบส เพื่อสังวรต่อไป. ลาดับนั้น พระราชาตรัสกะนันทดาบสนั้นว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าจะขอทาตามคาที่พระคุณเจ้ากล่าวกะข้าพเจ้าทุกประการ ก็แต่ว่า บุคคลผู้จะอ้อนวอนขอโทษ มีประมาณเท่าใด ขอพระคุณเจ้าจงบอกบุคคล มีประมาณเท่านั้น. นันทบัณฑิตทูลว่า ชาวชนบทมีประมาณหนึ่งร้อยเศษ พราหมณ์มหาศาลก็เท่ากัน กษัตริย์ผู้เป็ นอภิชาต ผู้เรืองยศเหล่านี้ทั้งหมด ทั้งมหาบพิตรซึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้ามโนชะ บุคคลผู้จะอ้อนวอนขอโทษ ประมาณเท่านี้ ก็พอแล้ว ขอถวายพระพร. ลาดับนั้น พระราชาตรัสกะนันทบัณฑิตนั้นว่า เจ้าพนักงานทั้งหลาย จงเตรียมช้าง จงเตรียมม้า นายสารถี ท่านจงเตรียมรถ ท่านทั้งหลายจงถือเอาเครื่องผูก จงยกธงชัยขึ้นที่คันธงทั้งหลาย เราจะไปยังอาศรมอันเป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า ก็ลาดับนั้น พระราชาพร้อมด้วยจาตุรงคเสนา ได้เสด็จไปยังอาศรมอันน่ารื่นรมย์ ซึ่งเป็ นที่อยู่ของโกสิยดาบส. นี้เป็ นคาถาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเพิ่มเข้ามา
  • 17. 17 ในวันเมื่อพระนันทดาบสนั้นมาถึงอาศรม โสณบัณฑิตดาบสราพึงว่า น้องชายของเราออกไปเสียนานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันแล้ว จึงเล็งแลดูด้วยทิพยจักษุญาณว่า บัดนี้เธอไปอยู่ที่ไหนหนอ ก็เห็นว่า น้องชายของเรากาลังพาพระราชา ๑๐๑ พระองค์ พร้อมด้วยบริวารประมาณ ๒๔ อักโขภิณีมาเพื่อจะให้ เรายกโทษเป็นแน่แท้ จึงดาริต่อไปว่า กษัตริย์เหล่านี้พร้อมทั้งบริษัท ได้เห็นปาฏิหาริย์ของน้องชายเราเป็ นอันมาก แต่ยังมิได้ทราบอานุภาพของเรา ก็จะพากันมาเจรจาข่มขู่ดูหมิ่นเราว่า ผู้นี้แหละเป็นชฏิลโกง ช่างไม่รู้จักประมาณตนเองเสียเลย จะมาต่อยุทธ์กับพระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลาย ดังนี้ ทั้งหมดก็จะพึงมีนรกอเวจีเป็นที่เป็ นไปในเบื้องหน้า เราจักแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่พวกกษัตริย์และบริษัทเหล่านั้น พระโสณบัณฑิตดาบสนั้นจึงวางไม้คานสาหรับหาบน้าในอากาศ โดยมิให้ถูกบ่าห่างประมาณ ๔ องคุลี แล้วเหาะไปทางอากาศ ในที่ไม่ไกลแต่พระราชา เพื่อจะนาเอาน้ามาจากสระอโนดาต นันทบัณฑิตดาบสพอเห็นพี่ชายเหาะมา ไม่อาจจะแสดงตนได้ จึงอันตรธานไปในที่นั่งนั้นทีเดียว หนีเข้าไปยังป่าหิมวันต์ พระเจ้ามโนชราชทอดพระเนตรเห็น พระโสณบัณฑิตดาบสนั้นเหาะมา ด้วยเพศฤาษีอันน่าเลื่อมใส จึงตรัสพระคาถาว่า ไม้คานอันทาด้วยไม้กระทุ่มของใคร ผู้ไปเพื่อหาบน้า ลอยมายังเวหาสมิได้ถูกบ่า ห่างประมาณ ๔ องคุลี. แม้เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพชื่อว่าโสณะ เป็นดาบสมีวัตรอันสมาทานแล้ว มิได้เกียจคร้าน เลี้ยงดูมารดาบิดาอยู่ทุกคืนทุกวัน ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ อาตมภาพระลึกถึงอุปการคุณ ที่ท่านทั้งสองได้กระทาแล้ว ในกาลก่อน จึงนาผลไม้ป่าและเผือกมันมาเลี้ยงดูมารดาบิดา. พระราชาได้ทรงสดับคานั้นแล้ว มีพระประสงค์ใคร่จะทอดพระเนตรอาศรม พร้อมด้วยพระโพธิสัตว์นั้น จึงได้ตรัสคาถาอันเป็ นลาดับต่อไปว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาจะไปยังอาศรม ซึ่งเป็ นที่อยู่ของโกสิยดาบส ข้าแต่ท่านโสณะ ขอท่านได้โปรดบอกทาง ที่จะไปยังอาศรมนั้น แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์จึงเนรมิตหนทางสาหรับไปยังอาศรมบท
  • 18. 18 ด้วยอานุภาพของตน แล้วทูลกะพระเจ้ามโนชราชนั้นว่า ดูก่อนมหาบพิตร หนทางนี้เป็ นหนทางสาหรับเดินคนเดียว ขอเชิญมหาบพิตร เสด็จไปยังป่าอันสะพรั่งไปด้วยต้นทองหลาง มีสีเขียวชอุ่มดังสีเมฆ โกสิยดาบสอยู่ในป่านั้น. เนื้อความแห่งคาอันเป็นคาถานั้นมีดังต่อไปนี้ ดูก่อนมหาบพิตร หนทางนี้เป็นหนทางเท้าสาหรับเดินไปได้เพียงคนเดียว ขอเชิญพระองค์เสด็จไป โดยทิศาภาคที่หมู่ไม้อันสะพรั่งไปด้วยต้นทองหลาง มีดอกอันเบ่งบานดีแล้ว มีสีเหมือนเมฆปรากฏอยู่นี้. บิดาของอาตมภาพผู้โกสิยโคตร อยู่ในอาศรมนี้ นั่นคืออาศรมแห่งบิดาของอาตมภาพ. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า โสณมหาฤาษี ครั้นกล่าวคานี้แล้ว ได้พร่าสอนกษัตริย์ทั้งหลาย ณ กลางหาวแล้ว รีบหลีกไปยังสระอโนดาต แล้วกลับมาปัดกวาดอาศรม แต่งตั้งอาสนะแล้ว เข้าไปสู่บรรณศาลา แจ้งให้ดาบสผู้เป็นบิดาทราบว่า ข้าแต่ท่านมหาฤาษี พระราชาทั้งหลายผู้เป็นอภิชาตเรืองยศเหล่านี้ เสด็จมาหา ขอเชิญบิดาออกไปนั่งนอกอาศรมเถิด มหาฤาษีได้ฟังคาของโสณบัณฑิตนั้นแล้ว รีบออกจากอาศรม มานั่งอยู่ที่ประตูของตน. นี้เป็ นพระคาถาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเพิ่มขึ้น ส่วนมารดาของพระโพธิสัตว์ นั่งบนอาสนะต่ากว่าบิดา ซึ่งตั้งอยู่ข้างหลัง. พระโพธิสัตว์นั่งอยู่บนอาสนะต่า ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายนันทบัณฑิตดาบส ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ไปตักน้าดื่มมาจากสระอโนดาต กลับมายังอาศรมแล้ว จึงไปยังสานักของพระราชา ให้หยุดพักกองทัพไว้ ณ ที่ใกล้อาศรม. ลาดับนั้น พระเจ้ามโนชราชทรงสรงสนาน ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ ห้อมล้อมเป็นบริวาร พานันทบัณฑิตเสด็จเข้าไปยังอาศรม ด้วยความเป็นผู้เลิศด้วยความงามแห่งสิริอันยิ่งใหญ่ เพื่อจะขอให้พระโพธิสัตว์ยกโทษ ลาดับนั้น บิดาพระโพธิสัตว์เห็นพระราชานั้นเสด็จมาดังนั้น จึงถามพระโพธิสัตว์ แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้เล่าถึง ความเป็นไปทั้งหมดให้บิดาได้ทราบ. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า โกสิยดาบสได้เห็นพระเจ้ามโนชะนั้น ซึ่งมีหมู่กษัตริย์ห้อมล้อมเป็ นกองทัพ ประหนึ่งรุ่งเรืองด้วยเดช เสด็จมาอยู่ จึงกล่าวคาถานี้ความว่า กลอง ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ และมโหระทึก ยังพระราชาผู้เป็ นจอมทัพให้ร่าเริงอยู่ ดาเนินไปแล้วข้างหน้าของใคร
  • 19. 19 หน้าผากของใครสวมแล้วด้วยแผ่นทองอันหนามีสีดุจสายฟ้ า ใครกาลังหนุ่มแน่นผูกสอดด้วยกาลูกศร รุ่งเรืองด้วยสิริ เดินมาอยู่ อนึ่ง หน้าของใครงามผุดผ่อง ดุจทองคาอันละลายคว้างที่ปากเบ้า มีสีดังถ่านเพลิง ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กาลังเดินมาอยู่ ฉัตรพร้อมด้วยคันน่ารื่นรมย์ใจ สาหรับกั้นแสงอาทิตย์ อันบุคคลกางแล้วเพื่อใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กาลังเดินมาอยู่ ชนทั้งหลายถือพัดวาลวีชนีเครื่องสูง เดินเคียงองค์ของใคร ผู้มีบุญอันประเสริฐ มาอยู่โดยคอช้าง เศวตฉัตร ม้าอาชาไนย และทหารสวมเกราะ เรียงรายอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กาลังเดินมาอยู่ กษัตริย์ ๑๐๑ พระนครผู้เรืองยศ เสด็จพระราชดาเนินแวดล้อมตามอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กาลังเดินมาอยู่ จาตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า เดินแวดล้อมตามอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กาลังเดินมาอยู่ เสนาหมู่ใหญ่นี้นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สุด ดุจคลื่นในมหาสมุทร กาลังห้อมล้อมตามหลังใครมา. พระมหาสัตว์ เมื่อจะบอกพระนามของพระเจ้ามโนชราชนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาเหล่านี้ว่า กษัตริย์ที่กาลังเสด็จมานั้น คือ พระเจ้ามโนราชาธิราช เป็นเพียงดังพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เข้าถึงความเป็นบริษัทของนันทดาบส กาลังมาสู่อาศรม อันเป็นที่ประพฤติพรหมจรรย์ เสนาหมู่ใหญ่นี้นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สุดดุจคลื่นในมหาสมุทร กาลังตามหลังพระเจ้ามโนชะนั้นมา. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า พระราชาทุกพระองค์ ทรงลูบไล้ด้วยจันทน์หอม ทรงผ้ากาสิกพัสตร์อย่างดี ทุกพระองค์ทรงประคองอัญชลี เข้าไปยังสานักของฤาษีทั้งหลาย. ลาดับนั้น พระเจ้ามโนชราชทรงนมัสการบิดาของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อจะทรงกระทาปฏิสันถาร จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญไม่มีโรคาพาธดอกหรือ พระคุณเจ้าสุขสาราญดีอยู่หรือ พระคุณเจ้าพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้สะดวก ด้วยการแสวงหามูลผลาหารแลหรือ เหง้ามันและผลไม้มีมากแลหรือ เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยแลหรือ ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาฬมฤค ไม่มีมาเบียดเบียนบ้างหรือ. ต่อไปนี้เป็ นคาถาที่ พระดาบสบิดาของพระโพธิสัตว์ และพระเจ้ามโนชราช กล่าวถามและตอบกัน ๒ คน ว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพทั้งหลายไม่มีโรคาพาธ