SlideShare a Scribd company logo
1
จูฬสุตโสมชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๕. จูฬสุตโสมชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๒๕)
ว่าด้วยเหตุที่พระเจ้าจูฬสุตโสมออกผนวช
(พระโพธิสัตว์สุตโสมตรัสว่า)
[๑๙๕] เราขอประกาศให้ชาวนิคม มิตร อามาตย์
และข้าราชบริพารได้ทราบ บัดนี้ ผมที่ศีรษะของเราหงอกแล้ว
เราจึงพอใจการบรรพชา
(อามาตย์ผู้องอาจแกล้วกล้าคนหนึ่งกราบทูลว่า)
[๑๙๖] ทาไมหนอ พระองค์จึงรับสั่งความไม่เจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรงปักพระแสงศรที่อกของข้าพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงมีพระชายาถึง ๗๐๐ นาง
พระชายาเหล่านั้นของพระองค์จักเป็นอย่างไรหนอ
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๑๙๗] นางทั้งหลายเหล่านั้นจักปรากฏตามกรรมของตนเอง
พวกนางยังสาว จักไปพึ่งพาพระราชาแม้พระองค์อื่นได้ ส่วนเราปรารถนาสวรรค์
เพราะเหตุนั้น จึงจักบรรพชา
(พระราชชนนีรีบเสด็จมาโดยด่วนตรัสถามว่า)
[๑๙๘] พ่อสุตโสม การที่แม่เป็นแม่ของเจ้า
นับว่าแม่ได้เจ้ามาด้วยความลาบาก เมื่อแม่พร่าเพ้อราพันอยู่ เพราะเหตุไร
เจ้าจึงไม่อาลัยจะบวชเสียเล่า
[๑๙๙] พ่อสุตโสม การที่แม่คลอดเจ้ามา
นับว่าแม่ได้เจ้ามาด้วยความลาบาก เมื่อแม่พร่าเพ้อราพันอยู่ เพราะเหตุไร
เจ้าจึงไม่อาลัยจะบวชเสียเล่า
(พระชนกทรงทราบข่าวแล้วเสด็จมา ตรัสถามว่า)
[๒๐๐] พ่อสุตโสม ธรรมนั่นชื่ออะไร และอะไรชื่อว่าการบรรพชา
เพราะเหตุไร เจ้าเป็ นบุตรของเราทั้ง ๒ จึงไม่มีความอาลัย จะละทิ้งเราทั้ง ๒
ผู้แก่เฒ่าไปบวชเสียเล่า
[๒๐๑] แม้ลูกชายลูกสาวของพ่อก็มีอยู่มาก ยังเล็กอยู่
ยังไม่เป็นหนุ่มเป็นสาว แม้เด็กเหล่านั้นกาลังฉอเลาะอ่อนหวาน เมื่อไม่เห็นพ่อ
เห็นจะเป็ นทุกข์ไปตามๆ กัน
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมสดับพระดารัสแล้ว กราบทูลว่า)
[๒๐๒] การอยู่ร่วมกันแม้นานแล้วพลัดพรากจากกัน
ของหม่อมฉันกับลูกทั้งหลายเหล่านั้นซึ่งยังเด็กอยู่ ยังไม่เป็นหนุ่มเป็นสาว
2
กาลังฉอเลาะอ่อนหวานแม้ทั้งหมด และจากทูลกระหม่อมทั้ง ๒
พระองค์เป็นของแน่นอน
(พระชายาทั้งหลายทราบข่าวแล้วคร่าครวญอยู่กราบทูลว่า)
[๒๐๓] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
ทูลกระหม่อมทรงตัดพระทัยแล้วหรือ ทรงหมดความกรุณาในพวกหม่อมฉันหรือ
เพราะเหตุไร ทูลกระหม่อมจึงไม่อาลัยพวกหม่อมฉันผู้คร่าครวญอยู่
จะเสด็จออกผนวชเสียเล่า
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมสดับเสียงคร่าครวญของพระชายาเหล่านั้นแล้วตรัสว่า)
[๒๐๔] เราตัดใจได้แล้วก็หามิได้
และเราก็ยังมีความกรุณาในพวกเธออยู่ แต่ว่าเราปรารถนาสวรรค์ เพราะเหตุนั้น
จึงจักบวช
(พระมเหสีทรงพระครรภ์แก่ได้กราบทูลว่า)
[๒๐๕] เจ้าพี่สุตโสม การที่หม่อมฉันเป็ นมเหสีของเจ้าพี่
นับว่าหม่อมฉันได้เจ้าพี่มาด้วยความยากลาบาก ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
เมื่อหม่อมฉันพร่าเพ้อราพันอยู่ เพราะเหตุไร เจ้าพี่จึงไม่ทรงอาลัย
จะทรงผนวชเสียเล่า
[๒๐๖] เจ้าพี่สุตโสม การที่หม่อมฉันเป็ นมเหสีของเจ้าพี่
นับว่าหม่อมฉันได้เจ้าพี่มาด้วยความยากลาบาก ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
เพราะเหตุไร เจ้าพี่จึงไม่ทรงอาลัยพระโอรสที่ปฏิสนธิในครรภ์ของหม่อมฉัน
จะทรงผนวชเสียเล่า
[๒๐๗] ครรภ์ของหม่อมฉันแก่แล้ว
ขอพระองค์รออยู่จนกว่าหม่อมฉันจะคลอดพระโอรส
ขอหม่อมฉันอย่าได้เป็นหม้ายอยู่แต่ผู้เดียว ได้ประสบทุกข์ยากในภายหลัง
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๐๘] ครรภ์ของน้องนางแก่แล้ว เอาเถิด ขอให้น้องนางจงคลอดบุตร
ซึ่งมีผิวพรรณไม่ทรามเถิด ส่วนพี่จักละบุตรและน้องนางไปบวช
(พระโพธิสัตว์ตรัสปลอบโยนพระนางว่า)
[๒๐๙] อย่าร้องไห้เศร้าโศกไปเลย เจ้าจันทา
เจ้าผู้มีดวงเนตรงามดุจดอกกรรณิการ์เขา
จงขึ้นไปยังปราสาทอันประเสริฐเสียเถิด พี่จักไปอย่างคนหมดความอาลัย
(พระโอรสองค์ใหญ่ทูลถามว่า)
[๒๑๐] เสด็จแม่ ใครทาให้เสด็จแม่ทรงพิโรธ
ทาไมเสด็จแม่จึงทรงกันแสง และทรงจ้องดูหม่อมฉันนัก บรรดาพระญาติที่เห็นๆ
กันอยู่ ใครที่หม่อมแม่ฆ่าไม่ได้ หม่อมฉันจะฆ่าเอง
3
(พระเทวีตรัสว่า)
[๒๑๑] ลูกรัก ท่านผู้ใดทาให้แม่โกรธ ท่านผู้นั้นเป็ นผู้ชนะในแผ่นดิน
เจ้าไม่อาจจะฆ่าเขาได้เลย ลูกรัก พระบิดาของเจ้าได้พูดกับแม่ว่า
เราจักไปอย่างคนหมดความอาลัย
(พระโอรสองค์ใหญ่คร่าครวญอยู่ตรัสว่า)
[๒๑๒] เมื่อก่อน หม่อมฉันนาช้างตกมัน ไปพระอุทยานและเล่นรบกัน
บัดนี้ เมื่อเสด็จพ่อสุตโสมทรงผนวชแล้ว หม่อมฉันจักทาอย่างไรหนอ
(น้องชายองค์เล็กของพระโอรสองค์ใหญ่ตรัสว่า)
[๒๑๓] เมื่อพระมารดาของหม่อมฉันทรงกันแสงอยู่
และเมื่อเจ้าพี่ไม่ทรงยินยอม หม่อมฉันก็จักยึดแม้พระหัตถ์ทั้ง ๒ ของเสด็จพ่อไว้
เมื่อพวกหม่อมฉันไม่ยินยอม เสด็จพ่อจะเสด็จไปไม่ได้
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๑๔] ลุกขึ้นเถิดเจ้า แม่นม เจ้าจงชวนกุมารนี้ให้ไปรื่นรมย์ที่อื่นเถิด
กุมารนี้อย่าได้ทาอันตรายแก่เราเลย เมื่อเรากาลังปรารถนาสวรรค์
(พระพี่เลี้ยงกราบทูลว่า)
[๒๑๕] ถ้ากระไร เราพึงให้แก้วมณีอันมีแสงสว่างนี้
ประโยชน์อะไรของเรากับแก้วมณีนี้หนอ
เมื่อพระจอมนรชนสุตโสมทรงผนวชแล้ว เราจะทาอย่างไรกับแก้วมณีนั้นหนอ
(มหาเสนคุตตอามาตย์กราบทูลว่า)
[๒๑๖] พระคลังน้อยของพระองค์ก็ไพบูลย์
เรือนคลังหลวงของพระองค์ก็บริบูรณ์ และปฐพี พระองค์ก็ทรงชนะแล้ว
ขอพระองค์ทรงพอพระทัย อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๑๗] พระคลังน้อยของเราจะไพบูลย์ก็ตาม
เรือนคลังหลวงของเราจะบริบูรณ์ก็ตาม ปฐพีถึงเราชนะแล้วก็ตาม
แต่เราจักละสิ่งนั้นๆ ไปบวช
(กุลวัฒนเศรษฐีกราบทูลว่า)
[๒๑๘] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
แม้ทรัพย์ของข้าพระพุทธเจ้าก็มีอยู่มากมาย ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจจะนับได้
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายทรัพย์นั้นแม้ทั้งหมดแด่พระองค์
ขอพระองค์ทรงพอพระทัย อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๑๙] เรารู้ว่า ทรัพย์ของท่านมีอยู่มาก กุลวัฒนะ และเราท่านก็บูชา
แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะเหตุนั้น จึงจักบวช
(โพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสต่อไปว่า)
4
[๒๒๐] พี่เบื่อหน่ายหนัก ความไม่ยินดีกาลังครอบงาพี่ พ่อโสมทัต
เพราะอันตรายของพี่มีมาก พี่จึงจักบวชวันนี้แหละ
(โสมทัตอนุชาตรัสว่า)
[๒๒๑] ก็บรรพชากิจนี้เจ้าพี่ทรงพอพระทัย เจ้าพี่สุตโสม
เจ้าพี่ทรงผนวชเถิด ในวันนี้ เดี๋ยวนี้แหละ แม้หม่อมฉันก็จักบวช
เว้นเจ้าพี่เสียแล้ว หม่อมฉันไม่อาจจะอยู่ได้
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๒๒] เจ้ายังบวชไม่ได้ เพราะใครๆ
ในเมืองและในชนบทจะไม่หุงต้มกิน เมื่อมหาราชร้องไห้คร่าครวญว่า
พระจอมนรชนสุตโสมทรงผนวชแล้ว บัดนี้
พวกข้าพระพุทธเจ้าจักทาอย่างไรหนอ
(ต่อแต่นั้น พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๒๓] เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานาเข้าไป
เหมือนกับน้านิดหน่อยในหม้อกรองน้าด่าง เมื่อชีวิตเป็ นของน้อยนักอย่างนี้
จึงไม่ใช่เวลาที่จะประมาทเลย
[๒๒๔] เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานาเข้าไป
เหมือนกับน้านิดหน่อยในหม้อกรองน้าด่าง เมื่อชีวิตเป็ นของน้อยนักอย่างนี้
ถึงอย่างนั้นพวกคนพาลก็ยังพากันประมาทอยู่
[๒๒๕] พวกคนพาลเหล่านั้นถูกเครื่องผูกคือตัณหาผูกมัดไว้แล้ว
ย่อมทานรก กาเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย และอสุรกายให้เจริญ
(มหาชนคร่าครวญกล่าวว่า)
[๒๒๖] ก็กลุ่มละอองธุลีฟุ้ งลอยขึ้น ในที่ไม่ห่างไกลจากปุปผกปราสาท
ชะรอยพระเกสาของพระธรรมราชา ผู้เรืองยศของพวกเรา จักถูกตัดแล้ว
(มหาชนไม่เห็นพระราชา จึงเที่ยวคร่าครวญว่า)
[๒๒๗] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ
ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย
[๒๒๘] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ
ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย
[๒๒๙] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ
ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย
[๒๓๐] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ
ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย
[๒๓๑] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ
อโสกวันใดหนอ นี้คือภูมิภาคแห่งอโสกวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
5
[๒๓๒] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ
อโสกวันใดหนอ นี้คือภูมิภาคแห่งอโสกวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๓] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ
พระอุทยานใดหนอ นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงามตลอดกาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์
[๒๓๔] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ
พระอุทยานใดหนอ นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๕] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ
สวนกรรณิการ์ใดหนอ นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๖] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ
สวนกรรณิการ์ใดหนอ นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๗] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ
สวนปาฏลิวันใดหนอ นี้คือสวนปาฏลิวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม
น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๘] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ
สวนปาฏลิวันใดหนอ นี้คือสวนปาฏลิวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม
น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๙] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ
สวนอัมพวันใดหนอ นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม
น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๔๐] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ
สวนอัมพวันใดหนอ นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม
น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๔๑] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ
สระโบกขรณีใดหนอ นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์
ดารดาษไปด้วยดอกไม้นานาชนิด คับคั่งไปด้วยฝูงนก
[๒๔๒] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ
สระโบกขรณีใดหนอ นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์
ดารดาษไปด้วยดอกไม้นานาชนิด คับคั่งไปด้วยฝูงนก
[๒๔๓] พระเจ้าสุตโสมบรมราชาทรงสละราชสมบัตินี้ผนวชเสียแล้ว
พระองค์ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว ดุจพญาช้างตัวประเสริฐ
6
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๔๔] ท่านทั้งหลายอย่าหวนระลึกถึงความยินดี
การเล่นและความรื่นเริงทั้งหลายในกาลก่อนเลย
กามทั้งหลายอย่าฆ่าท่านทั้งหลายได้เลย จริงอยู่ สุทัสสนนครน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก
[๒๔๕] อนึ่ง ท่านทั้งหลายจงเจริญเมตตาจิต
ที่มีอารมณ์ไม่มีประมาณทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น
ท่านทั้งหลายจะได้ไปสู่เทพบุรี อันเป็นสถานที่อยู่ของท่านผู้บาเพ็ญบุญ ดังนี้แล
จูฬสุตโสมชาดกที่ ๕ จบ
----------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
จุลลสุตโสมชาดก
ว่าด้วย พระเจ้าจุลลสุตโสมออกบวช
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภเนกขัมมบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันนิทาน เช่นเดียวกับ ในมหานารทกัสสปชาดก.
(ส่วนอดีตนิทานมีดังต่อไปนี้)
ก็ในอดีตกาล
พระนครพาราณสีได้มีชื่อว่า "สุทัสนนคร" พระราชาทรงพระนามว่าพรหมทัต เส
ด็จประทับอยู่ในพระนครนั้น
พระโพธิสัตว์ทรงบังเกิดในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสีของท้าวเธอ ล่วงไปได้
๑๐ เดือนก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ก็พระพักตร์ของพระกุมารนั้น
มีสิริประหนึ่งดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ด้วยเหตุนั้น
พระชนกชนนีจึงทรงขนานพระนามว่า "โสมกุมาร".
ราชกุมารนั้นพอรู้เดียงสาแล้ว เป็นผู้สนใจในสุตะ มีการฟังเป็นปกติ
ด้วยเหตุนั้น ชาวประชาจึงถวายพระนามว่า "สุตโสม" ครั้นเจริญวัยแล้ว
พระราชกุมารเสด็จไปเรียนศิลปศาสตร์ในเมืองตักกสิลา
เสด็จกลับมาก็ได้เศวตฉัตรของพระชนก เสวยราชสมบัติโดยธรรม
ได้มีพระอิสริยยศยิ่งใหญ่ พระองค์มีสนมกานัลในหมื่นหกพันนาง
มีพระนางจันทาเทวีเป็นประธาน.
ในเวลาต่อมา ท้าวเธอก็เจริญด้วยพระโอรสธิดา
จนไม่ทรงยินดีด้วยฆราวาสวิสัย มีพระประสงค์ที่จะเสด็จไปสู่ป่า ทรงผนวช.
วันหนึ่งจึงตรัสเรียกนายภูษามาลามาตรัสสั่งว่า แน่ะเจ้า
เมื่อใดเจ้าเห็นผมที่เศียรของเราหงอกแล้ว เจ้าพึงบอกเราเมื่อนั้น.
นายภูษามาลาก็รับพระราชดารัสของท้าวเธอ เวลาต่อมา
ก็เห็นพระเกศาหงอกจึงกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อพระราชาตรัสสั่งว่า
7
เจ้าภูษามาลา ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงถอนผมนั้น มาวางไว้ในมือเรา
จึงเอาแหนบทองถอนพระเกศา มาวางไว้ในพระหัตถ์.
พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรดูพระเกศาหงอกนั้น ก็ตกพระทัยว่า
สรีระของเราถูกชราครอบงาแล้ว
จึงทรงถือเส้นพระเกศาหงอกนั้นเสด็จลงจากปราสาท
ประทับนั่งบนราชบัลลังก์ที่แต่งตั้งไว้ ณ ที่เฝ้ าของมหาชน
แล้วตรัสสั่งให้เรียกอามาตย์ประมาณแปดหมื่นมีเสนาบดีเป็นประมุข
พราหมณ์หกหมื่นมีปุโรหิตเป็นประธาน และชาวแว่นแคว้นชาวนิคมเป็ นต้นอื่นๆ
มาเฝ้ าเป็นจานวนมาก แล้วตรัสว่า เกศาหงอกเกิดที่เศียรของเราแล้ว
เราเป็นคนแก่เฒ่า ท่านทั้งหลายจงรับรู้ความที่เราจะออกบรรพชา ดังนี้แล้ว
ตรัสคาถาที่ ๑ ความว่า
เราขอบอกชาวเมือง มิตร อามาตย์ และข้าราชบริพาร
ผมที่เศียรของเรา เกิดหงอกแล้ว บัดนี้เราพอใจบรรพชาเพศ.
บรรดาชนทั้งหลายที่ได้ฟังพระราชาดารัสเหล่านั้น
อามาตย์คนหนึ่งเป็ นคนองอาจแกล้วกล้า กราบทูลคาถาความว่า
อย่างไรหนอ พระองค์จึงรับสั่งความไม่เจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรงปักพระแสงศรที่อกของข้าพระพุทธเจ้า
พระชายาของพระองค์มีถึง ๗๐๐ นาง
พระนางเหล่านั้นของพระองค์จักเป็ นอยู่อย่างไรหนอ.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสคาถาที่ ๓ ความว่า
นางเหล่านั้นยังสาวจักปรากฏเอง
นางเหล่านั้นจักไปพึ่งพิงพระราชาองค์อื่นก็ได้ ส่วนเราปรารถนาสวรรค์
ด้วยเหตุดังนั้น เราจึงจักบรรพชา.
อามาตย์เป็นต้น เมื่อไม่สามารถจะทูลทัดทานพระโพธิสัตว์ได้
จึงพากันไปยังสานักของพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์
กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ. พระราชชนนีรีบเสด็จมาโดยด่วน ตรัสว่า
ลูกรัก ข่าวว่าเจ้าประสงค์จะบวชจริงหรือ ดังนี้แล้ว
ได้ตรัสคาถา ๒ คาถาความว่า
ดูก่อนพ่อสุตโสม แม่ผู้เป็นมารดาของเจ้า ชื่อว่าได้รับความยาก
เพราะเมื่อแม่พร่าเพ้ออยู่ เจ้าไม่ห่วงใยจะบวชให้ได้.
ดูก่อนพ่อสุตโสม แม่คลอดเจ้าซึ่งเป็ นผู้ที่แม่ได้ด้วยความลาบาก
เหตุไรเมื่อแม่พร่าเพ้ออยู่ เจ้าไม่ห่วงใยจะบวชให้จงได้.
พระโพธิสัตว์มิได้ตรัสอะไรกับพระราชมารดา
ซึ่งทรงปริเทวนาการอยู่อย่างนี้. พระราชชนนีทรงกันแสงร่าไห้
ประทับยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่งเสียเองทีเดียว ลาดับนั้น
8
ประชาชนจึงพากันไปกราบทูลแด่พระราชบิดาของพระโพธิสัตว์.
พระราชบิดาเสด็จมาแล้ว ตรัสคาถาอย่างเดียวกันความว่า
ดูก่อนพ่อสุตโสม ธรรมนั้นชื่ออะไร และการบวชชื่ออะไร เพราะว่า
เจ้าจะละทิ้งเราสองคนผู้แก่เฒ่าแล้ว ไม่ห่วงใยจะบวชอย่างเดียว.
พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้นแล้วก็นิ่งเสีย.
ลาดับนั้น พระราชบิดาจึงตรัสว่า สุตโสมลูกรัก
ถ้าหากเจ้าไม่มีความสิเนหาอาลัยในมารดาบิดาแล้ว บุตรธิดาของเจ้ายังเล็กๆ
มีมาก ไม่อาจที่จะพลัดพรากจากเจ้าได้ ในเวลาเด็กเหล่านั้นเจริญวัยแล้ว
เจ้าจึงค่อยบวชเถิด แล้วตรัสคาถาที่ ๗ ความว่า
แม้บุตรและธิดาทั้งหลายของเจ้าก็มีมาก ยังเล็กนัก ยังไม่เป็นหนุ่มสาว
กาลังฉอเลาะน่ารักใคร่ เมื่อไม่เห็นเจ้า น่าจะลาบากไปตามๆ กัน.
พระมหาสัตว์ทรงสดับพระดารัสนั้นแล้ว ตรัสพระคาถาความว่า
ความตั้งอยู่นาน แล้วพลัดพรากจากกัน
จากโอรสธิดาเหล่านี้ของหม่อมฉัน ซึ่งกาลังเป็ นเด็ก ยังไม่เจริญวัยช่างฉอเลาะก็ดี
จากทูลกระหม่อมทั้งสองพระองค์และสิ่งทั้งปวงไปก็ดี เป็ นของเที่ยงแท้.
พระมหาสัตว์แสดงธรรมกถาแด่พระราชบิดาอย่างนี้
สมเด็จพระราชบิดาทรงสดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์แล้ว ก็ได้ทรงดุษณีภาพ
ลาดับนั้น
อามาตย์ทั้งหลายจึงไปแจ้งแก่พระชายาที่รักทั้งเจ็ดร้อยของพระมหาสัตว์
พระชายาเหล่านั้นจึงลงจากปราสาท ไปยังสานักของพระมหาสัตว์เจ้า
ต่างยึดข้อพระบาท ปริเทวนาการ กล่าวคาถาความว่า
พระทัยของทูลกระหม่อมจะตัดขาดเชียวหรือ
หรือจะไม่ทรงพระกรุณาหม่อมฉันทั้งหลาย
ไยเล่าพระองค์จึงไม่ห่วงใยกระหม่อมฉันทั้งหลายผู้คร่าครวญอยู่
จะเสด็จออกผนวชเสียให้ได้เทียวหรือเพคะ.
ข้าแต่พระสุตโสมผู้พระสวามี
พระหทัยในพวกกระหม่อมฉันของทูลกระหม่อมซึ่งกระทาพวกหม่อมฉันให้เป็ นห
ม้าย เสด็จไปบวช จะตัดขาดเชียวหรือหนอ
เพราะไม่มีความสิเนหาแม้เพียงเล็กน้อย
หรือชื่อว่าความการุญของทูลกระหม่อมไม่มี เพราะไม่มีพระกรุณา
จึงละทิ้งพวกหม่อมฉันซึ่งคร่าครวญอยู่อย่างนี้ไปบรรพชา.
พระมหาสัตว์ทรงสดับเสียงปริเทวนาการของเหล่าบาทบริจาริกาเหล่า
นั้นผู้กลิ้งเกลือกร่าไรราพันอยู่แทบบาทมูล แล้วตรัสคาถาลาดับต่อไปว่า
ใจของเรามิได้ตัดขาด และเราก็มีความกรุณาในเธอทั้งหลาย
แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เราจึงจักออกบวช.
9
ลาดับนั้น
อามาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลพระมเหสีของพระโพธิสัตว์ให้ทรงทราบ
พระอัครมเหสีนั้นมีภาระหนัก ทรงครรภ์บริบูรณ์
เสด็จมาถวายบังคมพระมหาสัตว์ ประทับยืน ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง ได้ตรัสคาถา ๓
คาถาความว่า
ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์
ได้พระองค์มาด้วยความลาบาก เหตุไรเมื่อหม่อมฉันพร่าเพ้ออยู่
พระองค์จึงมิได้ทรงเยื่อใย จะทรงผนวชเสีย.
ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ
หม่อมฉันผู้เป็นพระอัครมเหสีของพระองค์ ได้พระองค์มาด้วยความลาบาก
เหตุไรพระองค์จึงมิได้ทรงเยื่อใยสัตว์ผู้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของหม่อมฉัน
จะทรงผนวชเสีย.
ครรภ์ของหม่อมฉันแก่แล้ว ขอพระองค์ทรงรออยู่
จนกระทั่งหม่อมฉันประสูติ อย่าให้หม่อมฉันเป็ นหม้ายอยู่แต่ผู้เดียว
ต้องได้รับทุกข์ในภายหลังเลย.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสพระคาถา ความว่า
ครรภ์ของเธอแก่แล้ว
ขอเชิญประสูติพระโอรสซึ่งมีผิวพรรณไม่ทรามเถิด ฉันจักละโอรส
พร้อมทั้งเธอบวชให้จงได้.
พระนางเทวีสดับพระราชดารัสของพระราชสวามีแล้ว
ไม่สามารถจะอดกลั้นความโศกไว้ได้ทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม
คราวนี้นับแต่วันนี้ไป ชื่อว่าสิริของหม่อมฉันคงไม่มีเลย
แล้วเอาหัตถ์ทั้งสองกุมพระหทัย
หลั่งพระอัสสุชลพลางปริเทวนาการด้วยพระสุรเสียงอันดัง
ลาดับนั้น เมื่อพระมหาสัตว์จะทรงปลอบโยนพระนาง
จึงตรัสพระคาถาความว่า
ดูก่อนพระน้องนางจันทา เธออย่าร้องไห้ไปเลย
ดูก่อนพระนางผู้มีดวงตาเสมอด้วยดอกอัญชัน เธออย่าเศร้าโศกไปเลย
จงขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐเสียเถิด เราไม่เยื่อใยจักไปบวช.
พระนางจันทาเทวีสดับพระราชดารัสแล้ว ไม่สามารถที่จะดารงอยู่ได้
เสด็จขึ้นสู่ปราสาท ประทับนั่งกันแสงอยู่. ลาดับนั้น
พระโอรสองค์ใหญ่ของพระโพธิสัตว์ เห็นพระมารดาทรงกันแสง จึงดาริว่า
เหตุไรหนอพระมารดาของเราจึงประทับนั่งทรงกันแสงอยู่
เมื่อจะทูลถามพระมารดา จึงตรัสพระคาถา ความว่า
ข้าแต่เสด็จแม่ ใครทาให้เสด็จแม่ทรงพิโรธ
10
เหตุไฉนเสด็จแม่จึงทรงกันแสง และจ้องมองดูหม่อมฉันยิ่งนัก
บรรดาพระประยูรญาติที่เห็นอยู่ หม่อมฉันจะฆ่าใครที่ควรรับสั่งให้ฆ่า?
ลาดับนั้น พระนางเทวีตรัสพระคาถา ความว่า
ลูกรัก ท่านผู้ใดทรงชนะในแผ่นดิน ท่านผู้นั้นเจ้าไม่อาจจะฆ่าได้เลย
พระบิดาของเจ้าได้ตรัสกะแม่ว่า ฉันไม่มีความห่วงใย จักไปบวช.
เชษฐโอรสทรงฟังพระเสาวนีย์ของพระมารดาแล้ว ทูลว่า
ข้าแต่เสด็จแม่ เสด็จแม่ตรัสคานี้อย่างไรกัน เมื่อเป็นเช่นนี้
พวกเราก็ตกเป็ นคนอนาถา หาที่พึ่งมิได้มิใช่หรือ ดังนี้แล้วทรงปริเทวนาการ
ตรัสคาถาความว่า
เมื่อก่อน เราเคยไปเที่ยวสวนด้วยรถและรบกันด้วยช้างตกมัน
เมื่อพระราชบิดาสุตโสมทรงผนวชแล้ว คราวนี้เราจักทาอย่างไร?
ลาดับนั้น โอรสองค์น้อยผู้กนิษฐภาดาของเชษฐโอรส มีพระชนมายุได้
๗ พรรษา เห็นกษัตริย์ทั้งสองทรงกันแสงอยู่ จึงเข้าไปเฝ้ าพระมารดา ทูลถามว่า
ข้าแต่เสด็จแม่ เพราะเหตุไร เสด็จแม่กับเสด็จพี่จึงทรงกันแสง
ทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้ว ก็ทูลปลอบโยนท่านทั้งสองว่า ถ้ากระนั้น
ขอเสด็จแม่และเสด็จพี่อย่าทรงกันแสงเลย
หม่อมฉันจักไม่ยอมให้พระบิดาทรงผนวชก่อน แล้วเสด็จลงจากปราสาท
พร้อมด้วยพวกพี่เลี้ยง เสด็จไปยังสานักพระราชบิดา ทูลว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ข่าวว่า
เสด็จพ่อตรัสสั่งว่า จะละทิ้งหม่อมฉันผู้ไม่ประสงค์ให้บวช ไปบวชเสีย
หม่อมฉันไม่ยอมให้เสด็จพ่อบวช
ทูลแล้วก็เข้าสวมกอดพระศอพระราชบิดาไว้แน่น
ตรัสคาถาความว่า
เมื่อพระมารดาของหม่อมฉันทรงกันแสงอยู่
และเมื่อพระเชษฐภาดาไม่ทรงยินยอม
หม่อมฉันก็จักยึดพระหัตถ์ทั้งสองของพระบิดาไว้
เมื่อหม่อมฉันทั้งหลายไม่ยินยอม พระบิดาจะยังเสด็จไปไม่ได้.
พระมหาสัตว์เจ้าทรงดาริว่า
โอรสของเรานี้จะทาอันตรายแก่เราด้วยอุบายอย่างไรหนอ
เราจึงจะให้เธอหลีกไปเสียได้. ลาดับนั้น
พระมหาสัตว์จึงทรงแลดูพระพี่เลี้ยงตรัสว่า แน่ะพี่เลี้ยง แม่คุณเชิญเถิด
นี้เป็นเครื่องประดับคอคือแก้วมณี ส่วนนี้จงเป็นของเจ้า
เจ้าจงช่วยพาพระโอรสไปเสีย อย่าทาอันตรายแก่เราเลย
เมื่อพระองค์เองไม่ทรงสามารถที่จะจับพระหัตถ์พระโอรส
จึงทรงคิดติดสินบนพระพี่เลี้ยง แล้วตรัสคาถาความว่า
แม่นมเอ๋ย เชิญแม่ลุกขึ้นเถิด
11
แม่จงพาพระกุมารนี้ไปเล่นให้รื่นรมย์เสียในที่อื่น เมื่อเรากาลังปรารถนาสวรรค์
กุมารนี้อย่าทาอันตรายแก่เราเลย.
พระพี่เลี้ยงนั้นได้บาเหน็จแล้ว จึงเตือนพระกุมารให้รู้สึกองค์
แล้วพาไปในที่อื่น พลางปริเทวนการกล่าวคาถา ความว่า
ไฉนหนอ พระราชาจึงทรงประทานแก้วมณีอันมีแสงสว่างนี้
ประโยชน์อะไรของเราด้วยแก้วมณีนี้ เมื่อพระเจ้าสุตโสมทรงผนวชแล้ว
เราจักทาอะไรได้กับแก้วมณีนี้.
พระพี่เลี้ยงคร่าครวญว่า
ไฉนหนอเราจึงรับเอาแก้วมณีนี้เพื่อเป็ นค่าจ้าง
พระราชาก็ทรงพระราชทานแก้วมณีนั้นอันกระทาซึ่งรัศมี
คือส่องแสงสว่างเป็ นประกาย เมื่อพระเจ้าสุตโสมบรมนรินทร์ทรงผนวชแล้ว
แก้วมณีนี้จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา.
ลาดับนั้น อามาตย์มหาเสนาคุตต์คิดว่า
ชะรอยพระราชานี้จะทรงทาความสาคัญว่า ราชทรัพย์ในคลังของเรามีน้อย
เราจักทูลความที่พระราชทรัพย์มีมากแด่พระองค์.
เขาลุกขึ้นถวายบังคม แล้วกล่าวคาถาความว่า
พระคลังน้อยของพระองค์ไพบูลย์
และพระคลังใหญ่ของพระองค์ก็บริบูรณ์ ปฐพีมณฑล พระองค์ก็ทรงชนะแล้ว
ขอพระองค์จงทรงยินดีเถิด อย่าทรงผนวชเลย พระเจ้าข้า.
พระมหาสัตว์ทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า
คลังน้อยของเราก็ไพบูลย์ คลังใหญ่ของเราก็บริบูรณ์
และปฐพีมณฑลเราก็ชนะแล้ว แต่เราจักละสิ่งนั้นๆ ออกบวช.
เมื่อมหาเสนาคุตตอามาตย์ได้ฟังพระดารัสเช่นนั้น จึงถอยออกไป.
กุลพันธนเศรษฐีจึงลุกขึ้นถวายบังคม กล่าวคาถาความว่า
ขอเดชะ ทรัพย์ของข้าพระพุทธเจ้ามีมากมาย
ข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะนับได้
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายทรัพย์ทั้งหมดนั้นแด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงยินดี
อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พระมหาสัตว์ทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสพระคาถาความว่า
ดูก่อนกุลวัฑฒนเศรษฐี เรารู้ว่าทรัพย์ของท่านมีมาก
และท่านก็บูชาเรา แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เราจึงจักต้องบวช.
ครั้นกุลพันธนเศรษฐีได้ฟังพระราชดารัส ก็ถอยออกไป.
พระมหาสัตว์จึงตรัสเรียกพระอนุชาพระนามว่า โสมทัต มารับสั่งว่า
พ่อโสมทัต พี่กระสันเหมือนไก่ป่าถูกขังอยู่ในกรง
ความไม่ยินดีในฆราวาสครอบงาพี่ พี่จักบวชในวันนี้ให้ได้
12
เธอจงครอบครองราชสมบัตินี้เถิด.
เมื่อจะทรงมอบราชสมบัติให้ จึงตรัสพระคาถาความว่า
ดูก่อนพ่อโสมทัต เราเป็นผู้กระสันนัก ความไม่ยินดีย่อมมาครอบงาเรา
อันตรายมีมาก เราจักบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว.
แม้โสมทัตทรงฟังพระราชดารัสนั้นแล้ว ก็มีพระประสงค์จะทรงผนวช
เมื่อจะแสดงพระประสงค์นั้น จึงตรัสคาถาต่อไปความว่า
ข้าแต่พระเจ้าพี่สุตโสม แม้กิจนี้พระองค์ทรงพอพระทัย
ขอพระองค์ทรงผนวช ณ บัดนี้ แม้หม่อมฉันก็จักบวชในวันนี้ทีเดียว
หม่อมฉันไม่อาจอยู่ห่างพระองค์ได้.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงห้ามพระอนุชา
แล้วตรัสคาถากึ่งคาถาความว่า
เธอจักบวชยังไม่ได้ เพราะว่าใครๆ ในพระนคร
และคามนิคมในชนบทจะไม่พากันหุงต้ม.
เพราะได้ทราบความประสงค์ ในการบรรพชาของพี่ในบัดนี้
ก่อนเก่านั้น ใครๆ ในสุทัสนนคร อันมีอาณาเขต ๑๒ โยชน์นี้ และในชนบททั้งสิ้น
ยังไม่พากันหุงหาอาหาร คือยังไม่พากันยังไฟในเตาให้โพลง
ถ้าเมื่อเราบวชเสียทั้งสองคน ชาวแว่นแคว้นจักว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง เพราะเหตุนั้น
เธอยังบวชไม่ได้ พี่จักบวชผู้เดียวเท่านั้น.
มหาชนได้ฟังพระราชดารัสแล้ว
พากันกลิ้งเกลือกแทบพระยุคลบาทของพระมหาสัตว์ ปริเทวนาการทูลว่า
เมื่อพระเจ้าสุตโสมทรงผนวชเสียแล้ว บัดนี้
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจักกระทาอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า อย่าเลย
ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกกันไปเลย ถึงเราจักดารงอยู่ได้นาน
ก็จักต้องพลัดพรากจากท่านทั้งหลาย เพราะสังขารที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าเที่ยงไม่มี
เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่มหาชน จึงตรัสว่า
เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานาเข้าไป เป็นของนิดหน่อย
ดุจน้าในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินอย่างนี้
เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะประมาทเลย.
เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานาเข้าไป เป็นของนิดหน่อย
ดุจน้าในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินอย่างนี้
แต่พวกคนพาลย่อมพากันประมาท.
คนพาลเหล่านั้นอันเครื่องผูกคือตัณหาผูกไว้แล้ว ย่อมยังนรก
กาเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เปรตวิสัยและอสุรกายให้เจริญ.
ดูก่อนอาณาประชาราชฎร์ เราเข้าใจว่า
13
ชีวิตนี้ถูกชรานาเข้าไปในสัตว์ทั้งหลายอื่นๆ ชีวิตนี้มีอันรุกร้นเข้าไปเป็นอรรถ
มีอันนาเข้าไปเป็นอรรถ แต่ในที่นี้ มีอันรวบรัดเอาเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น
ในที่นี้มีเนื้อความอย่างนี้ว่า น้าเล็กน้อยใส่ลงในโคลน น้าด่างของพวกช่างย้อม
ย่อมจับด่างแห้งเร็วฉันใด แม้ชีวิตก็ฉันนั้น เมื่อชีวิตเป็ นของน้อยเช่นนี้
ใช่กาลที่จะประมาทในบุญกิริยาของสัตว์ทั้งหลายผู้ยึดอายุสังขารเล็กน้อยนั้นไปมา
อยู่ไม่ ชอบที่จะทาความไม่ประมาทอย่างเดียว.
พระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมแก่มหาชนอย่างนี้แล้ว
เสด็จขึ้นสู่ปุปผกปราสาท ประทับยืนบนชั้นที่เจ็ด
ทรงเอาพระขรรค์ตัดพระเมาลีแล้ว ตรัสว่า เราไม่เป็ นอะไรกันกับท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงหาพระราชาของตน
แล้วโยนพระเมาลีทั้งเครื่องโพกไปในระหว่างมหาชน.
มหาชนรับเอาพระเมาลีแล้วต่างกลิ้งเกลือกปริเทวนาการบนภาคพื้น
ละอองธุลีเป็ นอันมากฟุ้ งขึ้นในที่นั้น
มหาชนที่กลับมายืนดู ได้เห็นละอองธุลีนั้น ต่างราพันว่า
พระเมาลีทั้งเครื่องโพกอันพระราชาทรงตัดโยนมาในระหว่างมหาชน ฉะนั้น
สายละอองธุลีนี้จึงฟุ้ งขึ้นในที่ใกล้ปราสาท แล้วกล่าวคาถาความว่า
กลุ่มธุลีตั้งขึ้นไม่ไกลปุปผกปราสาท
ชะรอยพระธรรมราชาผู้เรืองยศของพวกเรา จะทรงตัดพระเกศาแล้ว.
ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าทรงใช้มหาดเล็กให้ไปนาบริขารของบรรพชิตมา
โปรดให้นายภูษามาลาปลงพระเกศาและพระมัสสุ
แล้วเปลื้องเครื่องราชอลังการไว้บนพระบรรจถรณ์ ตัดชายพระภูษาแดง
ทรงกาสาวพัสตร์ ทรงคล้องบาตรดินที่จะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย จับธารพระกร
เสด็จจงกรมไปมา ณ ท้องพระโรง แล้วเสด็จลงจากปราสาท
ทรงดาเนินไปในละแวกถนน แต่ไม่มีใครจาพระองค์ผู้เสด็จไปได้เลย
ลาดับนั้น
ขัตติยกัญญาเจ็ดร้อยนางของพระมหาสัตว์นั้นพากันขึ้นไปยังปราสาท
ไม่พบพระมหาสัตว์ พบเฉพาะห่อเครื่องอาภรณ์ก็กลับลงมา
ตรงไปยังสานักของนางสนมหมื่นหกพันที่เหลือ ฟังข่าวว่า
พระสุตโสมมหิศรองค์ปิยราชสวามีของพวกท่านทรงผนวชเสียแล้ว
ต่างก็ปริเทวนาการด้วยเสียงอันดัง ออกไปภายนอก.
ขณะนั้น มหาชนได้ทราบว่า พระราชาทรงผนวชแล้ว
ชาวพระนครทั้งสิ้นก็แตกตื่นประชุมกันที่ประตูพระราชวังว่า
ข่าวว่าพระราชาของพวกเราทรงผนวชแล้ว.
มหาชนต่างพากันไปยังสถานที่ๆ เคยประทับเช่นปราสาทเป็นต้น
ด้วยคิดว่า พระราชาจักเสด็จอยู่ที่นี่จักเสด็จอยู่ตรงนี้ แต่ก็มิได้พบพระราชา
14
จึงพากันเที่ยวปริเทวนาการ ด้วยคาถาเหล่านี้ความว่า
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน
เสด็จไปเที่ยวยังปราสาทใด นี่คือปราสาทของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังปราสาทใด นี้คือปราสาทของพระองค์
แพรวพราวไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี้คือกูฏาคารของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี้คือกูฏาคารของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี้คือสวนอโศกวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี้คือสวนอโศกวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมกานัลใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติเสด็จเที่ยวไปยังสวน
กรรณิการ์ใด นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี้คือสวนปาฏลิวันนั้นของพระองค์
มีดอกบานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ
15
เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี้คือสวนปาฏลิวันของพระองค์
มีดอกบานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์
มีดอกบานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์
มีดอกบานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง.
พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน
เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์
ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิดเกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหค.
พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ
เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์
ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิด เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหค.
มหาชนปริเทวนาการในที่นั้นๆ อย่างนี้แล้ว
กลับมายังพระลานหลวงอีก
กล่าวคาถาความว่า
พระเจ้าสุตโสมทรงสละราชสมบัตินี้แล้ว เสด็จออกทรงผนวช
ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ เที่ยวไปพระองค์เดียวเหมือนช้างตัวประเสริฐ ฉะนั้น
ดังนี้แล้วต่างพากันสละสมบัติในเรือนของตนๆ
จูงมือบุตรธิดาออกไปยังสานักของพระโพธิสัตว์นั่นเอง. พระราชมารดาราชบิดา
พระชายา พระโอรสธิดากับหญิงฟ้ อนหมื่นหกพัน ก็ทรงปฏิบัติเช่นนั้นเหมือนกัน.
พระนครทั้งสิ้นดูเหมือนว่างเปล่า
ฝ่ายชาวชนบทก็ได้ตามไปเบื้องหลังแห่งชนเหล่านั้น.
พระโพธิสัตว์ทรงพาบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์
เสด็จมุ่งตรงไปยังป่าหิมพานต์.
ลาดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า
พระโพธิสัตว์เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมารับสั่งว่า
พ่อวิสสุกรรมเทพบุตร พระเจ้าสุตโสมมหาราชเสด็จออกอภิเนษกรมณ์
ควรจะได้ที่ประทับ ทั้งสมาคมก็จักใหญ่หลวง เธอจงไปเนรมิตอาศรมบทยาว ๓
โยชน์กว้าง ๕ โยชน์ ที่ริมฝั่งแม่น้าคงคาในหิมวันตประเทศ.
วิสสุกรรมเทพบุตรก็บันดาลตามเทวบัญชาทุกประการ
จัดบรรพชิตบริขารไว้ในอาศรมบทนั้น แล้วบันดาลหนทางเดินได้คนเดียวไว้
เสร็จแล้วก็กลับไปยังเทวโลกทันที. พระมหาสัตว์เสด็จไปตามทางนั้น
เสด็จเข้าสู่อาศรมบทนั้น
16
พระองค์ทรงผนวชเองก่อนแล้วให้ประชาชนที่เหลือบวชภายหลัง. ในเวลาต่อมา
ชนทั้งหลายบวชมากขึ้น สถานที่กว้างถึง ๓๐ โยชน์ก็เต็มบริบูรณ์
ก็กาหนดที่ท้าวสักกะทรงใช้วิสสุกรรมเทพบุตรให้เนรมิตอาศรมบทก็ดี
กาหนดที่ประชาชนบวชเป็นอันมากก็ดี กาหนดที่พระโพธิสัตว์จัดอาศรมบทก็ดี
พึงทราบโดยนัยที่มาแล้วใน หัตถิปาลชาดก นั่นเอง.
มิจฉาวิตกมีกามวิตกเป็ นต้น เกิดขึ้นแก่คนใดๆ
พระมหาสัตว์เจ้าก็เสด็จเข้าไปหาคนๆ นั้น ณ ที่นั้นโดยทางอากาศ
ประทับนั่งคู้บัลลังก์ในอากาศ.
เมื่อจะทรงโอวาท จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถาความว่า
ท่านทั้งหลายอย่าระลึกถึงความยินดี
การเล่นและการร่าเริงในกาลก่อนเลย กามทั้งหลายอย่าทาลายท่านทั้งหลายได้เลย
จริงอยู่ สุทัสนนครน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก
ท่านทั้งหลายจงเจริญเมตตาจิตอันหาประมาณมิได้ ทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด
เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านทั้งหลายจะได้ไปสู่เทพบุรี อันเป็ นที่อยู่ของท่านผู้มีบุญกรรม.
แม้หมู่ฤาษีนั้นตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์แล้ว
ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้าด้วยประการฉะนี้
เรื่องราวทั้งหมดควรกล่าวโดยนัยที่มาแล้ว ใน หัตถิปาลชาดก นั่นแล.
พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติปางก่อน
ตถาคตก็เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน
แล้วทรงประชุมชาดกว่า
พระมารดาบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น ศากยมหาราชสกุล
พระนางจันทาเทวีได้มาเป็ น พระมารดาพระราหุล
เชษฐโอรสได้มาเป็น พระสารีบุตร
กนิษฐโอรสได้มาเป็น พระราหุล
พระพี่เลี้ยงได้มาเป็น นางขุชชุตตรา
กุลพันธนเศรษฐีได้มาเป็น พระกัสสป
มหาเสนาคุตต์ได้มาเป็น พระโมคคัลลานะ
โสมทัตกุมารได้มาเป็น พระอานนท์
บริษัทที่เหลือได้มาเป็น พุทธบริษัท
ส่วนพระเจ้าสุตโสมได้มาเป็น เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาจุลลสุตโสมชาดกที่ ๕
จบอรรถกถาจัตตาฬีสนิบาต เพียงเท่านี้
-----------------------------------------------------
17

More Related Content

Similar to 525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
maruay songtanin
 
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
maruay songtanin
 
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
286 สาลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
286 สาลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx286 สาลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
286 สาลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
504 ภัลลาติยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
504 ภัลลาติยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...504 ภัลลาติยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
504 ภัลลาติยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
040 ขทิรังคารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
040  ขทิรังคารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...040  ขทิรังคารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
040 ขทิรังคารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 

Similar to 525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
499 สีวิราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
 
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
286 สาลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
286 สาลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx286 สาลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
286 สาลูกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
488 ภิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
504 ภัลลาติยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
504 ภัลลาติยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...504 ภัลลาติยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
504 ภัลลาติยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
040 ขทิรังคารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
040  ขทิรังคารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...040  ขทิรังคารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
040 ขทิรังคารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๕. จูฬสุตโสมชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๒๕) ว่าด้วยเหตุที่พระเจ้าจูฬสุตโสมออกผนวช (พระโพธิสัตว์สุตโสมตรัสว่า) [๑๙๕] เราขอประกาศให้ชาวนิคม มิตร อามาตย์ และข้าราชบริพารได้ทราบ บัดนี้ ผมที่ศีรษะของเราหงอกแล้ว เราจึงพอใจการบรรพชา (อามาตย์ผู้องอาจแกล้วกล้าคนหนึ่งกราบทูลว่า) [๑๙๖] ทาไมหนอ พระองค์จึงรับสั่งความไม่เจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรงปักพระแสงศรที่อกของข้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีพระชายาถึง ๗๐๐ นาง พระชายาเหล่านั้นของพระองค์จักเป็นอย่างไรหนอ (พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า) [๑๙๗] นางทั้งหลายเหล่านั้นจักปรากฏตามกรรมของตนเอง พวกนางยังสาว จักไปพึ่งพาพระราชาแม้พระองค์อื่นได้ ส่วนเราปรารถนาสวรรค์ เพราะเหตุนั้น จึงจักบรรพชา (พระราชชนนีรีบเสด็จมาโดยด่วนตรัสถามว่า) [๑๙๘] พ่อสุตโสม การที่แม่เป็นแม่ของเจ้า นับว่าแม่ได้เจ้ามาด้วยความลาบาก เมื่อแม่พร่าเพ้อราพันอยู่ เพราะเหตุไร เจ้าจึงไม่อาลัยจะบวชเสียเล่า [๑๙๙] พ่อสุตโสม การที่แม่คลอดเจ้ามา นับว่าแม่ได้เจ้ามาด้วยความลาบาก เมื่อแม่พร่าเพ้อราพันอยู่ เพราะเหตุไร เจ้าจึงไม่อาลัยจะบวชเสียเล่า (พระชนกทรงทราบข่าวแล้วเสด็จมา ตรัสถามว่า) [๒๐๐] พ่อสุตโสม ธรรมนั่นชื่ออะไร และอะไรชื่อว่าการบรรพชา เพราะเหตุไร เจ้าเป็ นบุตรของเราทั้ง ๒ จึงไม่มีความอาลัย จะละทิ้งเราทั้ง ๒ ผู้แก่เฒ่าไปบวชเสียเล่า [๒๐๑] แม้ลูกชายลูกสาวของพ่อก็มีอยู่มาก ยังเล็กอยู่ ยังไม่เป็นหนุ่มเป็นสาว แม้เด็กเหล่านั้นกาลังฉอเลาะอ่อนหวาน เมื่อไม่เห็นพ่อ เห็นจะเป็ นทุกข์ไปตามๆ กัน (พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมสดับพระดารัสแล้ว กราบทูลว่า) [๒๐๒] การอยู่ร่วมกันแม้นานแล้วพลัดพรากจากกัน ของหม่อมฉันกับลูกทั้งหลายเหล่านั้นซึ่งยังเด็กอยู่ ยังไม่เป็นหนุ่มเป็นสาว
  • 2. 2 กาลังฉอเลาะอ่อนหวานแม้ทั้งหมด และจากทูลกระหม่อมทั้ง ๒ พระองค์เป็นของแน่นอน (พระชายาทั้งหลายทราบข่าวแล้วคร่าครวญอยู่กราบทูลว่า) [๒๐๓] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ ทูลกระหม่อมทรงตัดพระทัยแล้วหรือ ทรงหมดความกรุณาในพวกหม่อมฉันหรือ เพราะเหตุไร ทูลกระหม่อมจึงไม่อาลัยพวกหม่อมฉันผู้คร่าครวญอยู่ จะเสด็จออกผนวชเสียเล่า (พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมสดับเสียงคร่าครวญของพระชายาเหล่านั้นแล้วตรัสว่า) [๒๐๔] เราตัดใจได้แล้วก็หามิได้ และเราก็ยังมีความกรุณาในพวกเธออยู่ แต่ว่าเราปรารถนาสวรรค์ เพราะเหตุนั้น จึงจักบวช (พระมเหสีทรงพระครรภ์แก่ได้กราบทูลว่า) [๒๐๕] เจ้าพี่สุตโสม การที่หม่อมฉันเป็ นมเหสีของเจ้าพี่ นับว่าหม่อมฉันได้เจ้าพี่มาด้วยความยากลาบาก ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ เมื่อหม่อมฉันพร่าเพ้อราพันอยู่ เพราะเหตุไร เจ้าพี่จึงไม่ทรงอาลัย จะทรงผนวชเสียเล่า [๒๐๖] เจ้าพี่สุตโสม การที่หม่อมฉันเป็ นมเหสีของเจ้าพี่ นับว่าหม่อมฉันได้เจ้าพี่มาด้วยความยากลาบาก ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ เพราะเหตุไร เจ้าพี่จึงไม่ทรงอาลัยพระโอรสที่ปฏิสนธิในครรภ์ของหม่อมฉัน จะทรงผนวชเสียเล่า [๒๐๗] ครรภ์ของหม่อมฉันแก่แล้ว ขอพระองค์รออยู่จนกว่าหม่อมฉันจะคลอดพระโอรส ขอหม่อมฉันอย่าได้เป็นหม้ายอยู่แต่ผู้เดียว ได้ประสบทุกข์ยากในภายหลัง (พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า) [๒๐๘] ครรภ์ของน้องนางแก่แล้ว เอาเถิด ขอให้น้องนางจงคลอดบุตร ซึ่งมีผิวพรรณไม่ทรามเถิด ส่วนพี่จักละบุตรและน้องนางไปบวช (พระโพธิสัตว์ตรัสปลอบโยนพระนางว่า) [๒๐๙] อย่าร้องไห้เศร้าโศกไปเลย เจ้าจันทา เจ้าผู้มีดวงเนตรงามดุจดอกกรรณิการ์เขา จงขึ้นไปยังปราสาทอันประเสริฐเสียเถิด พี่จักไปอย่างคนหมดความอาลัย (พระโอรสองค์ใหญ่ทูลถามว่า) [๒๑๐] เสด็จแม่ ใครทาให้เสด็จแม่ทรงพิโรธ ทาไมเสด็จแม่จึงทรงกันแสง และทรงจ้องดูหม่อมฉันนัก บรรดาพระญาติที่เห็นๆ กันอยู่ ใครที่หม่อมแม่ฆ่าไม่ได้ หม่อมฉันจะฆ่าเอง
  • 3. 3 (พระเทวีตรัสว่า) [๒๑๑] ลูกรัก ท่านผู้ใดทาให้แม่โกรธ ท่านผู้นั้นเป็ นผู้ชนะในแผ่นดิน เจ้าไม่อาจจะฆ่าเขาได้เลย ลูกรัก พระบิดาของเจ้าได้พูดกับแม่ว่า เราจักไปอย่างคนหมดความอาลัย (พระโอรสองค์ใหญ่คร่าครวญอยู่ตรัสว่า) [๒๑๒] เมื่อก่อน หม่อมฉันนาช้างตกมัน ไปพระอุทยานและเล่นรบกัน บัดนี้ เมื่อเสด็จพ่อสุตโสมทรงผนวชแล้ว หม่อมฉันจักทาอย่างไรหนอ (น้องชายองค์เล็กของพระโอรสองค์ใหญ่ตรัสว่า) [๒๑๓] เมื่อพระมารดาของหม่อมฉันทรงกันแสงอยู่ และเมื่อเจ้าพี่ไม่ทรงยินยอม หม่อมฉันก็จักยึดแม้พระหัตถ์ทั้ง ๒ ของเสด็จพ่อไว้ เมื่อพวกหม่อมฉันไม่ยินยอม เสด็จพ่อจะเสด็จไปไม่ได้ (พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า) [๒๑๔] ลุกขึ้นเถิดเจ้า แม่นม เจ้าจงชวนกุมารนี้ให้ไปรื่นรมย์ที่อื่นเถิด กุมารนี้อย่าได้ทาอันตรายแก่เราเลย เมื่อเรากาลังปรารถนาสวรรค์ (พระพี่เลี้ยงกราบทูลว่า) [๒๑๕] ถ้ากระไร เราพึงให้แก้วมณีอันมีแสงสว่างนี้ ประโยชน์อะไรของเรากับแก้วมณีนี้หนอ เมื่อพระจอมนรชนสุตโสมทรงผนวชแล้ว เราจะทาอย่างไรกับแก้วมณีนั้นหนอ (มหาเสนคุตตอามาตย์กราบทูลว่า) [๒๑๖] พระคลังน้อยของพระองค์ก็ไพบูลย์ เรือนคลังหลวงของพระองค์ก็บริบูรณ์ และปฐพี พระองค์ก็ทรงชนะแล้ว ขอพระองค์ทรงพอพระทัย อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า (พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า) [๒๑๗] พระคลังน้อยของเราจะไพบูลย์ก็ตาม เรือนคลังหลวงของเราจะบริบูรณ์ก็ตาม ปฐพีถึงเราชนะแล้วก็ตาม แต่เราจักละสิ่งนั้นๆ ไปบวช (กุลวัฒนเศรษฐีกราบทูลว่า) [๒๑๘] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ แม้ทรัพย์ของข้าพระพุทธเจ้าก็มีอยู่มากมาย ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจจะนับได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายทรัพย์นั้นแม้ทั้งหมดแด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงพอพระทัย อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า (พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า) [๒๑๙] เรารู้ว่า ทรัพย์ของท่านมีอยู่มาก กุลวัฒนะ และเราท่านก็บูชา แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะเหตุนั้น จึงจักบวช (โพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสต่อไปว่า)
  • 4. 4 [๒๒๐] พี่เบื่อหน่ายหนัก ความไม่ยินดีกาลังครอบงาพี่ พ่อโสมทัต เพราะอันตรายของพี่มีมาก พี่จึงจักบวชวันนี้แหละ (โสมทัตอนุชาตรัสว่า) [๒๒๑] ก็บรรพชากิจนี้เจ้าพี่ทรงพอพระทัย เจ้าพี่สุตโสม เจ้าพี่ทรงผนวชเถิด ในวันนี้ เดี๋ยวนี้แหละ แม้หม่อมฉันก็จักบวช เว้นเจ้าพี่เสียแล้ว หม่อมฉันไม่อาจจะอยู่ได้ (พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า) [๒๒๒] เจ้ายังบวชไม่ได้ เพราะใครๆ ในเมืองและในชนบทจะไม่หุงต้มกิน เมื่อมหาราชร้องไห้คร่าครวญว่า พระจอมนรชนสุตโสมทรงผนวชแล้ว บัดนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้าจักทาอย่างไรหนอ (ต่อแต่นั้น พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า) [๒๒๓] เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานาเข้าไป เหมือนกับน้านิดหน่อยในหม้อกรองน้าด่าง เมื่อชีวิตเป็ นของน้อยนักอย่างนี้ จึงไม่ใช่เวลาที่จะประมาทเลย [๒๒๔] เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานาเข้าไป เหมือนกับน้านิดหน่อยในหม้อกรองน้าด่าง เมื่อชีวิตเป็ นของน้อยนักอย่างนี้ ถึงอย่างนั้นพวกคนพาลก็ยังพากันประมาทอยู่ [๒๒๕] พวกคนพาลเหล่านั้นถูกเครื่องผูกคือตัณหาผูกมัดไว้แล้ว ย่อมทานรก กาเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย และอสุรกายให้เจริญ (มหาชนคร่าครวญกล่าวว่า) [๒๒๖] ก็กลุ่มละอองธุลีฟุ้ งลอยขึ้น ในที่ไม่ห่างไกลจากปุปผกปราสาท ชะรอยพระเกสาของพระธรรมราชา ผู้เรืองยศของพวกเรา จักถูกตัดแล้ว (มหาชนไม่เห็นพระราชา จึงเที่ยวคร่าครวญว่า) [๒๒๗] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย [๒๒๘] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย [๒๒๙] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย [๒๓๐] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย [๒๓๑] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ อโสกวันใดหนอ นี้คือภูมิภาคแห่งอโสกวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
  • 5. 5 [๒๓๒] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ อโสกวันใดหนอ นี้คือภูมิภาคแห่งอโสกวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง [๒๓๓] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ พระอุทยานใดหนอ นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงามตลอดกาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์ [๒๓๔] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ พระอุทยานใดหนอ นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง [๒๓๕] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ สวนกรรณิการ์ใดหนอ นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง [๒๓๖] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ สวนกรรณิการ์ใดหนอ นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง [๒๓๗] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ สวนปาฏลิวันใดหนอ นี้คือสวนปาฏลิวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง [๒๓๘] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ สวนปาฏลิวันใดหนอ นี้คือสวนปาฏลิวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง [๒๓๙] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ สวนอัมพวันใดหนอ นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง [๒๔๐] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ สวนอัมพวันใดหนอ นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง [๒๔๑] พระราชาทรงมีพระสนมกานัลในห้อมล้อม เสด็จไป ณ สระโบกขรณีใดหนอ นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์ ดารดาษไปด้วยดอกไม้นานาชนิด คับคั่งไปด้วยฝูงนก [๒๔๒] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป ณ สระโบกขรณีใดหนอ นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์ ดารดาษไปด้วยดอกไม้นานาชนิด คับคั่งไปด้วยฝูงนก [๒๔๓] พระเจ้าสุตโสมบรมราชาทรงสละราชสมบัตินี้ผนวชเสียแล้ว พระองค์ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว ดุจพญาช้างตัวประเสริฐ
  • 6. 6 (พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า) [๒๔๔] ท่านทั้งหลายอย่าหวนระลึกถึงความยินดี การเล่นและความรื่นเริงทั้งหลายในกาลก่อนเลย กามทั้งหลายอย่าฆ่าท่านทั้งหลายได้เลย จริงอยู่ สุทัสสนนครน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก [๒๔๕] อนึ่ง ท่านทั้งหลายจงเจริญเมตตาจิต ที่มีอารมณ์ไม่มีประมาณทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจะได้ไปสู่เทพบุรี อันเป็นสถานที่อยู่ของท่านผู้บาเพ็ญบุญ ดังนี้แล จูฬสุตโสมชาดกที่ ๕ จบ ---------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา จุลลสุตโสมชาดก ว่าด้วย พระเจ้าจุลลสุตโสมออกบวช พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภเนกขัมมบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. เรื่องปัจจุบันนิทาน เช่นเดียวกับ ในมหานารทกัสสปชาดก. (ส่วนอดีตนิทานมีดังต่อไปนี้) ก็ในอดีตกาล พระนครพาราณสีได้มีชื่อว่า "สุทัสนนคร" พระราชาทรงพระนามว่าพรหมทัต เส ด็จประทับอยู่ในพระนครนั้น พระโพธิสัตว์ทรงบังเกิดในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสีของท้าวเธอ ล่วงไปได้ ๑๐ เดือนก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ก็พระพักตร์ของพระกุมารนั้น มีสิริประหนึ่งดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ด้วยเหตุนั้น พระชนกชนนีจึงทรงขนานพระนามว่า "โสมกุมาร". ราชกุมารนั้นพอรู้เดียงสาแล้ว เป็นผู้สนใจในสุตะ มีการฟังเป็นปกติ ด้วยเหตุนั้น ชาวประชาจึงถวายพระนามว่า "สุตโสม" ครั้นเจริญวัยแล้ว พระราชกุมารเสด็จไปเรียนศิลปศาสตร์ในเมืองตักกสิลา เสด็จกลับมาก็ได้เศวตฉัตรของพระชนก เสวยราชสมบัติโดยธรรม ได้มีพระอิสริยยศยิ่งใหญ่ พระองค์มีสนมกานัลในหมื่นหกพันนาง มีพระนางจันทาเทวีเป็นประธาน. ในเวลาต่อมา ท้าวเธอก็เจริญด้วยพระโอรสธิดา จนไม่ทรงยินดีด้วยฆราวาสวิสัย มีพระประสงค์ที่จะเสด็จไปสู่ป่า ทรงผนวช. วันหนึ่งจึงตรัสเรียกนายภูษามาลามาตรัสสั่งว่า แน่ะเจ้า เมื่อใดเจ้าเห็นผมที่เศียรของเราหงอกแล้ว เจ้าพึงบอกเราเมื่อนั้น. นายภูษามาลาก็รับพระราชดารัสของท้าวเธอ เวลาต่อมา ก็เห็นพระเกศาหงอกจึงกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อพระราชาตรัสสั่งว่า
  • 7. 7 เจ้าภูษามาลา ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงถอนผมนั้น มาวางไว้ในมือเรา จึงเอาแหนบทองถอนพระเกศา มาวางไว้ในพระหัตถ์. พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรดูพระเกศาหงอกนั้น ก็ตกพระทัยว่า สรีระของเราถูกชราครอบงาแล้ว จึงทรงถือเส้นพระเกศาหงอกนั้นเสด็จลงจากปราสาท ประทับนั่งบนราชบัลลังก์ที่แต่งตั้งไว้ ณ ที่เฝ้ าของมหาชน แล้วตรัสสั่งให้เรียกอามาตย์ประมาณแปดหมื่นมีเสนาบดีเป็นประมุข พราหมณ์หกหมื่นมีปุโรหิตเป็นประธาน และชาวแว่นแคว้นชาวนิคมเป็ นต้นอื่นๆ มาเฝ้ าเป็นจานวนมาก แล้วตรัสว่า เกศาหงอกเกิดที่เศียรของเราแล้ว เราเป็นคนแก่เฒ่า ท่านทั้งหลายจงรับรู้ความที่เราจะออกบรรพชา ดังนี้แล้ว ตรัสคาถาที่ ๑ ความว่า เราขอบอกชาวเมือง มิตร อามาตย์ และข้าราชบริพาร ผมที่เศียรของเรา เกิดหงอกแล้ว บัดนี้เราพอใจบรรพชาเพศ. บรรดาชนทั้งหลายที่ได้ฟังพระราชาดารัสเหล่านั้น อามาตย์คนหนึ่งเป็ นคนองอาจแกล้วกล้า กราบทูลคาถาความว่า อย่างไรหนอ พระองค์จึงรับสั่งความไม่เจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรงปักพระแสงศรที่อกของข้าพระพุทธเจ้า พระชายาของพระองค์มีถึง ๗๐๐ นาง พระนางเหล่านั้นของพระองค์จักเป็ นอยู่อย่างไรหนอ. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสคาถาที่ ๓ ความว่า นางเหล่านั้นยังสาวจักปรากฏเอง นางเหล่านั้นจักไปพึ่งพิงพระราชาองค์อื่นก็ได้ ส่วนเราปรารถนาสวรรค์ ด้วยเหตุดังนั้น เราจึงจักบรรพชา. อามาตย์เป็นต้น เมื่อไม่สามารถจะทูลทัดทานพระโพธิสัตว์ได้ จึงพากันไปยังสานักของพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ. พระราชชนนีรีบเสด็จมาโดยด่วน ตรัสว่า ลูกรัก ข่าวว่าเจ้าประสงค์จะบวชจริงหรือ ดังนี้แล้ว ได้ตรัสคาถา ๒ คาถาความว่า ดูก่อนพ่อสุตโสม แม่ผู้เป็นมารดาของเจ้า ชื่อว่าได้รับความยาก เพราะเมื่อแม่พร่าเพ้ออยู่ เจ้าไม่ห่วงใยจะบวชให้ได้. ดูก่อนพ่อสุตโสม แม่คลอดเจ้าซึ่งเป็ นผู้ที่แม่ได้ด้วยความลาบาก เหตุไรเมื่อแม่พร่าเพ้ออยู่ เจ้าไม่ห่วงใยจะบวชให้จงได้. พระโพธิสัตว์มิได้ตรัสอะไรกับพระราชมารดา ซึ่งทรงปริเทวนาการอยู่อย่างนี้. พระราชชนนีทรงกันแสงร่าไห้ ประทับยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่งเสียเองทีเดียว ลาดับนั้น
  • 8. 8 ประชาชนจึงพากันไปกราบทูลแด่พระราชบิดาของพระโพธิสัตว์. พระราชบิดาเสด็จมาแล้ว ตรัสคาถาอย่างเดียวกันความว่า ดูก่อนพ่อสุตโสม ธรรมนั้นชื่ออะไร และการบวชชื่ออะไร เพราะว่า เจ้าจะละทิ้งเราสองคนผู้แก่เฒ่าแล้ว ไม่ห่วงใยจะบวชอย่างเดียว. พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้นแล้วก็นิ่งเสีย. ลาดับนั้น พระราชบิดาจึงตรัสว่า สุตโสมลูกรัก ถ้าหากเจ้าไม่มีความสิเนหาอาลัยในมารดาบิดาแล้ว บุตรธิดาของเจ้ายังเล็กๆ มีมาก ไม่อาจที่จะพลัดพรากจากเจ้าได้ ในเวลาเด็กเหล่านั้นเจริญวัยแล้ว เจ้าจึงค่อยบวชเถิด แล้วตรัสคาถาที่ ๗ ความว่า แม้บุตรและธิดาทั้งหลายของเจ้าก็มีมาก ยังเล็กนัก ยังไม่เป็นหนุ่มสาว กาลังฉอเลาะน่ารักใคร่ เมื่อไม่เห็นเจ้า น่าจะลาบากไปตามๆ กัน. พระมหาสัตว์ทรงสดับพระดารัสนั้นแล้ว ตรัสพระคาถาความว่า ความตั้งอยู่นาน แล้วพลัดพรากจากกัน จากโอรสธิดาเหล่านี้ของหม่อมฉัน ซึ่งกาลังเป็ นเด็ก ยังไม่เจริญวัยช่างฉอเลาะก็ดี จากทูลกระหม่อมทั้งสองพระองค์และสิ่งทั้งปวงไปก็ดี เป็ นของเที่ยงแท้. พระมหาสัตว์แสดงธรรมกถาแด่พระราชบิดาอย่างนี้ สมเด็จพระราชบิดาทรงสดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์แล้ว ก็ได้ทรงดุษณีภาพ ลาดับนั้น อามาตย์ทั้งหลายจึงไปแจ้งแก่พระชายาที่รักทั้งเจ็ดร้อยของพระมหาสัตว์ พระชายาเหล่านั้นจึงลงจากปราสาท ไปยังสานักของพระมหาสัตว์เจ้า ต่างยึดข้อพระบาท ปริเทวนาการ กล่าวคาถาความว่า พระทัยของทูลกระหม่อมจะตัดขาดเชียวหรือ หรือจะไม่ทรงพระกรุณาหม่อมฉันทั้งหลาย ไยเล่าพระองค์จึงไม่ห่วงใยกระหม่อมฉันทั้งหลายผู้คร่าครวญอยู่ จะเสด็จออกผนวชเสียให้ได้เทียวหรือเพคะ. ข้าแต่พระสุตโสมผู้พระสวามี พระหทัยในพวกกระหม่อมฉันของทูลกระหม่อมซึ่งกระทาพวกหม่อมฉันให้เป็ นห ม้าย เสด็จไปบวช จะตัดขาดเชียวหรือหนอ เพราะไม่มีความสิเนหาแม้เพียงเล็กน้อย หรือชื่อว่าความการุญของทูลกระหม่อมไม่มี เพราะไม่มีพระกรุณา จึงละทิ้งพวกหม่อมฉันซึ่งคร่าครวญอยู่อย่างนี้ไปบรรพชา. พระมหาสัตว์ทรงสดับเสียงปริเทวนาการของเหล่าบาทบริจาริกาเหล่า นั้นผู้กลิ้งเกลือกร่าไรราพันอยู่แทบบาทมูล แล้วตรัสคาถาลาดับต่อไปว่า ใจของเรามิได้ตัดขาด และเราก็มีความกรุณาในเธอทั้งหลาย แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เราจึงจักออกบวช.
  • 9. 9 ลาดับนั้น อามาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลพระมเหสีของพระโพธิสัตว์ให้ทรงทราบ พระอัครมเหสีนั้นมีภาระหนัก ทรงครรภ์บริบูรณ์ เสด็จมาถวายบังคมพระมหาสัตว์ ประทับยืน ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง ได้ตรัสคาถา ๓ คาถาความว่า ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ได้พระองค์มาด้วยความลาบาก เหตุไรเมื่อหม่อมฉันพร่าเพ้ออยู่ พระองค์จึงมิได้ทรงเยื่อใย จะทรงผนวชเสีย. ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็นพระอัครมเหสีของพระองค์ ได้พระองค์มาด้วยความลาบาก เหตุไรพระองค์จึงมิได้ทรงเยื่อใยสัตว์ผู้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของหม่อมฉัน จะทรงผนวชเสีย. ครรภ์ของหม่อมฉันแก่แล้ว ขอพระองค์ทรงรออยู่ จนกระทั่งหม่อมฉันประสูติ อย่าให้หม่อมฉันเป็ นหม้ายอยู่แต่ผู้เดียว ต้องได้รับทุกข์ในภายหลังเลย. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสพระคาถา ความว่า ครรภ์ของเธอแก่แล้ว ขอเชิญประสูติพระโอรสซึ่งมีผิวพรรณไม่ทรามเถิด ฉันจักละโอรส พร้อมทั้งเธอบวชให้จงได้. พระนางเทวีสดับพระราชดารัสของพระราชสวามีแล้ว ไม่สามารถจะอดกลั้นความโศกไว้ได้ทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม คราวนี้นับแต่วันนี้ไป ชื่อว่าสิริของหม่อมฉันคงไม่มีเลย แล้วเอาหัตถ์ทั้งสองกุมพระหทัย หลั่งพระอัสสุชลพลางปริเทวนาการด้วยพระสุรเสียงอันดัง ลาดับนั้น เมื่อพระมหาสัตว์จะทรงปลอบโยนพระนาง จึงตรัสพระคาถาความว่า ดูก่อนพระน้องนางจันทา เธออย่าร้องไห้ไปเลย ดูก่อนพระนางผู้มีดวงตาเสมอด้วยดอกอัญชัน เธออย่าเศร้าโศกไปเลย จงขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐเสียเถิด เราไม่เยื่อใยจักไปบวช. พระนางจันทาเทวีสดับพระราชดารัสแล้ว ไม่สามารถที่จะดารงอยู่ได้ เสด็จขึ้นสู่ปราสาท ประทับนั่งกันแสงอยู่. ลาดับนั้น พระโอรสองค์ใหญ่ของพระโพธิสัตว์ เห็นพระมารดาทรงกันแสง จึงดาริว่า เหตุไรหนอพระมารดาของเราจึงประทับนั่งทรงกันแสงอยู่ เมื่อจะทูลถามพระมารดา จึงตรัสพระคาถา ความว่า ข้าแต่เสด็จแม่ ใครทาให้เสด็จแม่ทรงพิโรธ
  • 10. 10 เหตุไฉนเสด็จแม่จึงทรงกันแสง และจ้องมองดูหม่อมฉันยิ่งนัก บรรดาพระประยูรญาติที่เห็นอยู่ หม่อมฉันจะฆ่าใครที่ควรรับสั่งให้ฆ่า? ลาดับนั้น พระนางเทวีตรัสพระคาถา ความว่า ลูกรัก ท่านผู้ใดทรงชนะในแผ่นดิน ท่านผู้นั้นเจ้าไม่อาจจะฆ่าได้เลย พระบิดาของเจ้าได้ตรัสกะแม่ว่า ฉันไม่มีความห่วงใย จักไปบวช. เชษฐโอรสทรงฟังพระเสาวนีย์ของพระมารดาแล้ว ทูลว่า ข้าแต่เสด็จแม่ เสด็จแม่ตรัสคานี้อย่างไรกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็ตกเป็ นคนอนาถา หาที่พึ่งมิได้มิใช่หรือ ดังนี้แล้วทรงปริเทวนาการ ตรัสคาถาความว่า เมื่อก่อน เราเคยไปเที่ยวสวนด้วยรถและรบกันด้วยช้างตกมัน เมื่อพระราชบิดาสุตโสมทรงผนวชแล้ว คราวนี้เราจักทาอย่างไร? ลาดับนั้น โอรสองค์น้อยผู้กนิษฐภาดาของเชษฐโอรส มีพระชนมายุได้ ๗ พรรษา เห็นกษัตริย์ทั้งสองทรงกันแสงอยู่ จึงเข้าไปเฝ้ าพระมารดา ทูลถามว่า ข้าแต่เสด็จแม่ เพราะเหตุไร เสด็จแม่กับเสด็จพี่จึงทรงกันแสง ทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้ว ก็ทูลปลอบโยนท่านทั้งสองว่า ถ้ากระนั้น ขอเสด็จแม่และเสด็จพี่อย่าทรงกันแสงเลย หม่อมฉันจักไม่ยอมให้พระบิดาทรงผนวชก่อน แล้วเสด็จลงจากปราสาท พร้อมด้วยพวกพี่เลี้ยง เสด็จไปยังสานักพระราชบิดา ทูลว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ข่าวว่า เสด็จพ่อตรัสสั่งว่า จะละทิ้งหม่อมฉันผู้ไม่ประสงค์ให้บวช ไปบวชเสีย หม่อมฉันไม่ยอมให้เสด็จพ่อบวช ทูลแล้วก็เข้าสวมกอดพระศอพระราชบิดาไว้แน่น ตรัสคาถาความว่า เมื่อพระมารดาของหม่อมฉันทรงกันแสงอยู่ และเมื่อพระเชษฐภาดาไม่ทรงยินยอม หม่อมฉันก็จักยึดพระหัตถ์ทั้งสองของพระบิดาไว้ เมื่อหม่อมฉันทั้งหลายไม่ยินยอม พระบิดาจะยังเสด็จไปไม่ได้. พระมหาสัตว์เจ้าทรงดาริว่า โอรสของเรานี้จะทาอันตรายแก่เราด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจึงจะให้เธอหลีกไปเสียได้. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์จึงทรงแลดูพระพี่เลี้ยงตรัสว่า แน่ะพี่เลี้ยง แม่คุณเชิญเถิด นี้เป็นเครื่องประดับคอคือแก้วมณี ส่วนนี้จงเป็นของเจ้า เจ้าจงช่วยพาพระโอรสไปเสีย อย่าทาอันตรายแก่เราเลย เมื่อพระองค์เองไม่ทรงสามารถที่จะจับพระหัตถ์พระโอรส จึงทรงคิดติดสินบนพระพี่เลี้ยง แล้วตรัสคาถาความว่า แม่นมเอ๋ย เชิญแม่ลุกขึ้นเถิด
  • 11. 11 แม่จงพาพระกุมารนี้ไปเล่นให้รื่นรมย์เสียในที่อื่น เมื่อเรากาลังปรารถนาสวรรค์ กุมารนี้อย่าทาอันตรายแก่เราเลย. พระพี่เลี้ยงนั้นได้บาเหน็จแล้ว จึงเตือนพระกุมารให้รู้สึกองค์ แล้วพาไปในที่อื่น พลางปริเทวนการกล่าวคาถา ความว่า ไฉนหนอ พระราชาจึงทรงประทานแก้วมณีอันมีแสงสว่างนี้ ประโยชน์อะไรของเราด้วยแก้วมณีนี้ เมื่อพระเจ้าสุตโสมทรงผนวชแล้ว เราจักทาอะไรได้กับแก้วมณีนี้. พระพี่เลี้ยงคร่าครวญว่า ไฉนหนอเราจึงรับเอาแก้วมณีนี้เพื่อเป็ นค่าจ้าง พระราชาก็ทรงพระราชทานแก้วมณีนั้นอันกระทาซึ่งรัศมี คือส่องแสงสว่างเป็ นประกาย เมื่อพระเจ้าสุตโสมบรมนรินทร์ทรงผนวชแล้ว แก้วมณีนี้จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา. ลาดับนั้น อามาตย์มหาเสนาคุตต์คิดว่า ชะรอยพระราชานี้จะทรงทาความสาคัญว่า ราชทรัพย์ในคลังของเรามีน้อย เราจักทูลความที่พระราชทรัพย์มีมากแด่พระองค์. เขาลุกขึ้นถวายบังคม แล้วกล่าวคาถาความว่า พระคลังน้อยของพระองค์ไพบูลย์ และพระคลังใหญ่ของพระองค์ก็บริบูรณ์ ปฐพีมณฑล พระองค์ก็ทรงชนะแล้ว ขอพระองค์จงทรงยินดีเถิด อย่าทรงผนวชเลย พระเจ้าข้า. พระมหาสัตว์ทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า คลังน้อยของเราก็ไพบูลย์ คลังใหญ่ของเราก็บริบูรณ์ และปฐพีมณฑลเราก็ชนะแล้ว แต่เราจักละสิ่งนั้นๆ ออกบวช. เมื่อมหาเสนาคุตตอามาตย์ได้ฟังพระดารัสเช่นนั้น จึงถอยออกไป. กุลพันธนเศรษฐีจึงลุกขึ้นถวายบังคม กล่าวคาถาความว่า ขอเดชะ ทรัพย์ของข้าพระพุทธเจ้ามีมากมาย ข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะนับได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายทรัพย์ทั้งหมดนั้นแด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงยินดี อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า. พระมหาสัตว์ทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสพระคาถาความว่า ดูก่อนกุลวัฑฒนเศรษฐี เรารู้ว่าทรัพย์ของท่านมีมาก และท่านก็บูชาเรา แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เราจึงจักต้องบวช. ครั้นกุลพันธนเศรษฐีได้ฟังพระราชดารัส ก็ถอยออกไป. พระมหาสัตว์จึงตรัสเรียกพระอนุชาพระนามว่า โสมทัต มารับสั่งว่า พ่อโสมทัต พี่กระสันเหมือนไก่ป่าถูกขังอยู่ในกรง ความไม่ยินดีในฆราวาสครอบงาพี่ พี่จักบวชในวันนี้ให้ได้
  • 12. 12 เธอจงครอบครองราชสมบัตินี้เถิด. เมื่อจะทรงมอบราชสมบัติให้ จึงตรัสพระคาถาความว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต เราเป็นผู้กระสันนัก ความไม่ยินดีย่อมมาครอบงาเรา อันตรายมีมาก เราจักบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว. แม้โสมทัตทรงฟังพระราชดารัสนั้นแล้ว ก็มีพระประสงค์จะทรงผนวช เมื่อจะแสดงพระประสงค์นั้น จึงตรัสคาถาต่อไปความว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่สุตโสม แม้กิจนี้พระองค์ทรงพอพระทัย ขอพระองค์ทรงผนวช ณ บัดนี้ แม้หม่อมฉันก็จักบวชในวันนี้ทีเดียว หม่อมฉันไม่อาจอยู่ห่างพระองค์ได้. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงห้ามพระอนุชา แล้วตรัสคาถากึ่งคาถาความว่า เธอจักบวชยังไม่ได้ เพราะว่าใครๆ ในพระนคร และคามนิคมในชนบทจะไม่พากันหุงต้ม. เพราะได้ทราบความประสงค์ ในการบรรพชาของพี่ในบัดนี้ ก่อนเก่านั้น ใครๆ ในสุทัสนนคร อันมีอาณาเขต ๑๒ โยชน์นี้ และในชนบททั้งสิ้น ยังไม่พากันหุงหาอาหาร คือยังไม่พากันยังไฟในเตาให้โพลง ถ้าเมื่อเราบวชเสียทั้งสองคน ชาวแว่นแคว้นจักว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง เพราะเหตุนั้น เธอยังบวชไม่ได้ พี่จักบวชผู้เดียวเท่านั้น. มหาชนได้ฟังพระราชดารัสแล้ว พากันกลิ้งเกลือกแทบพระยุคลบาทของพระมหาสัตว์ ปริเทวนาการทูลว่า เมื่อพระเจ้าสุตโสมทรงผนวชเสียแล้ว บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจักกระทาอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกกันไปเลย ถึงเราจักดารงอยู่ได้นาน ก็จักต้องพลัดพรากจากท่านทั้งหลาย เพราะสังขารที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าเที่ยงไม่มี เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่มหาชน จึงตรัสว่า เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานาเข้าไป เป็นของนิดหน่อย ดุจน้าในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินอย่างนี้ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะประมาทเลย. เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานาเข้าไป เป็นของนิดหน่อย ดุจน้าในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินอย่างนี้ แต่พวกคนพาลย่อมพากันประมาท. คนพาลเหล่านั้นอันเครื่องผูกคือตัณหาผูกไว้แล้ว ย่อมยังนรก กาเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เปรตวิสัยและอสุรกายให้เจริญ. ดูก่อนอาณาประชาราชฎร์ เราเข้าใจว่า
  • 13. 13 ชีวิตนี้ถูกชรานาเข้าไปในสัตว์ทั้งหลายอื่นๆ ชีวิตนี้มีอันรุกร้นเข้าไปเป็นอรรถ มีอันนาเข้าไปเป็นอรรถ แต่ในที่นี้ มีอันรวบรัดเอาเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น ในที่นี้มีเนื้อความอย่างนี้ว่า น้าเล็กน้อยใส่ลงในโคลน น้าด่างของพวกช่างย้อม ย่อมจับด่างแห้งเร็วฉันใด แม้ชีวิตก็ฉันนั้น เมื่อชีวิตเป็ นของน้อยเช่นนี้ ใช่กาลที่จะประมาทในบุญกิริยาของสัตว์ทั้งหลายผู้ยึดอายุสังขารเล็กน้อยนั้นไปมา อยู่ไม่ ชอบที่จะทาความไม่ประมาทอย่างเดียว. พระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมแก่มหาชนอย่างนี้แล้ว เสด็จขึ้นสู่ปุปผกปราสาท ประทับยืนบนชั้นที่เจ็ด ทรงเอาพระขรรค์ตัดพระเมาลีแล้ว ตรัสว่า เราไม่เป็ นอะไรกันกับท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงหาพระราชาของตน แล้วโยนพระเมาลีทั้งเครื่องโพกไปในระหว่างมหาชน. มหาชนรับเอาพระเมาลีแล้วต่างกลิ้งเกลือกปริเทวนาการบนภาคพื้น ละอองธุลีเป็ นอันมากฟุ้ งขึ้นในที่นั้น มหาชนที่กลับมายืนดู ได้เห็นละอองธุลีนั้น ต่างราพันว่า พระเมาลีทั้งเครื่องโพกอันพระราชาทรงตัดโยนมาในระหว่างมหาชน ฉะนั้น สายละอองธุลีนี้จึงฟุ้ งขึ้นในที่ใกล้ปราสาท แล้วกล่าวคาถาความว่า กลุ่มธุลีตั้งขึ้นไม่ไกลปุปผกปราสาท ชะรอยพระธรรมราชาผู้เรืองยศของพวกเรา จะทรงตัดพระเกศาแล้ว. ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าทรงใช้มหาดเล็กให้ไปนาบริขารของบรรพชิตมา โปรดให้นายภูษามาลาปลงพระเกศาและพระมัสสุ แล้วเปลื้องเครื่องราชอลังการไว้บนพระบรรจถรณ์ ตัดชายพระภูษาแดง ทรงกาสาวพัสตร์ ทรงคล้องบาตรดินที่จะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย จับธารพระกร เสด็จจงกรมไปมา ณ ท้องพระโรง แล้วเสด็จลงจากปราสาท ทรงดาเนินไปในละแวกถนน แต่ไม่มีใครจาพระองค์ผู้เสด็จไปได้เลย ลาดับนั้น ขัตติยกัญญาเจ็ดร้อยนางของพระมหาสัตว์นั้นพากันขึ้นไปยังปราสาท ไม่พบพระมหาสัตว์ พบเฉพาะห่อเครื่องอาภรณ์ก็กลับลงมา ตรงไปยังสานักของนางสนมหมื่นหกพันที่เหลือ ฟังข่าวว่า พระสุตโสมมหิศรองค์ปิยราชสวามีของพวกท่านทรงผนวชเสียแล้ว ต่างก็ปริเทวนาการด้วยเสียงอันดัง ออกไปภายนอก. ขณะนั้น มหาชนได้ทราบว่า พระราชาทรงผนวชแล้ว ชาวพระนครทั้งสิ้นก็แตกตื่นประชุมกันที่ประตูพระราชวังว่า ข่าวว่าพระราชาของพวกเราทรงผนวชแล้ว. มหาชนต่างพากันไปยังสถานที่ๆ เคยประทับเช่นปราสาทเป็นต้น ด้วยคิดว่า พระราชาจักเสด็จอยู่ที่นี่จักเสด็จอยู่ตรงนี้ แต่ก็มิได้พบพระราชา
  • 14. 14 จึงพากันเที่ยวปริเทวนาการ ด้วยคาถาเหล่านี้ความว่า พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จไปเที่ยวยังปราสาทใด นี่คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย. พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังปราสาทใด นี้คือปราสาทของพระองค์ แพรวพราวไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย. พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี้คือกูฏาคารของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย. พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี้คือกูฏาคารของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย. พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี้คือสวนอโศกวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง. พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี้คือสวนอโศกวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง. พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง. พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง. พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมกานัลใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง. พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติเสด็จเที่ยวไปยังสวน กรรณิการ์ใด นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง. พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี้คือสวนปาฏลิวันนั้นของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง. พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ
  • 15. 15 เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี้คือสวนปาฏลิวันของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง. พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง. พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง. พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์ ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิดเกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหค. พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์ ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิด เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหค. มหาชนปริเทวนาการในที่นั้นๆ อย่างนี้แล้ว กลับมายังพระลานหลวงอีก กล่าวคาถาความว่า พระเจ้าสุตโสมทรงสละราชสมบัตินี้แล้ว เสด็จออกทรงผนวช ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ เที่ยวไปพระองค์เดียวเหมือนช้างตัวประเสริฐ ฉะนั้น ดังนี้แล้วต่างพากันสละสมบัติในเรือนของตนๆ จูงมือบุตรธิดาออกไปยังสานักของพระโพธิสัตว์นั่นเอง. พระราชมารดาราชบิดา พระชายา พระโอรสธิดากับหญิงฟ้ อนหมื่นหกพัน ก็ทรงปฏิบัติเช่นนั้นเหมือนกัน. พระนครทั้งสิ้นดูเหมือนว่างเปล่า ฝ่ายชาวชนบทก็ได้ตามไปเบื้องหลังแห่งชนเหล่านั้น. พระโพธิสัตว์ทรงพาบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ เสด็จมุ่งตรงไปยังป่าหิมพานต์. ลาดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า พระโพธิสัตว์เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมารับสั่งว่า พ่อวิสสุกรรมเทพบุตร พระเจ้าสุตโสมมหาราชเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ควรจะได้ที่ประทับ ทั้งสมาคมก็จักใหญ่หลวง เธอจงไปเนรมิตอาศรมบทยาว ๓ โยชน์กว้าง ๕ โยชน์ ที่ริมฝั่งแม่น้าคงคาในหิมวันตประเทศ. วิสสุกรรมเทพบุตรก็บันดาลตามเทวบัญชาทุกประการ จัดบรรพชิตบริขารไว้ในอาศรมบทนั้น แล้วบันดาลหนทางเดินได้คนเดียวไว้ เสร็จแล้วก็กลับไปยังเทวโลกทันที. พระมหาสัตว์เสด็จไปตามทางนั้น เสด็จเข้าสู่อาศรมบทนั้น
  • 16. 16 พระองค์ทรงผนวชเองก่อนแล้วให้ประชาชนที่เหลือบวชภายหลัง. ในเวลาต่อมา ชนทั้งหลายบวชมากขึ้น สถานที่กว้างถึง ๓๐ โยชน์ก็เต็มบริบูรณ์ ก็กาหนดที่ท้าวสักกะทรงใช้วิสสุกรรมเทพบุตรให้เนรมิตอาศรมบทก็ดี กาหนดที่ประชาชนบวชเป็นอันมากก็ดี กาหนดที่พระโพธิสัตว์จัดอาศรมบทก็ดี พึงทราบโดยนัยที่มาแล้วใน หัตถิปาลชาดก นั่นเอง. มิจฉาวิตกมีกามวิตกเป็ นต้น เกิดขึ้นแก่คนใดๆ พระมหาสัตว์เจ้าก็เสด็จเข้าไปหาคนๆ นั้น ณ ที่นั้นโดยทางอากาศ ประทับนั่งคู้บัลลังก์ในอากาศ. เมื่อจะทรงโอวาท จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถาความว่า ท่านทั้งหลายอย่าระลึกถึงความยินดี การเล่นและการร่าเริงในกาลก่อนเลย กามทั้งหลายอย่าทาลายท่านทั้งหลายได้เลย จริงอยู่ สุทัสนนครน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก ท่านทั้งหลายจงเจริญเมตตาจิตอันหาประมาณมิได้ ทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านทั้งหลายจะได้ไปสู่เทพบุรี อันเป็ นที่อยู่ของท่านผู้มีบุญกรรม. แม้หมู่ฤาษีนั้นตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์แล้ว ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้าด้วยประการฉะนี้ เรื่องราวทั้งหมดควรกล่าวโดยนัยที่มาแล้ว ใน หัตถิปาลชาดก นั่นแล. พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติปางก่อน ตถาคตก็เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระมารดาบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น ศากยมหาราชสกุล พระนางจันทาเทวีได้มาเป็ น พระมารดาพระราหุล เชษฐโอรสได้มาเป็น พระสารีบุตร กนิษฐโอรสได้มาเป็น พระราหุล พระพี่เลี้ยงได้มาเป็น นางขุชชุตตรา กุลพันธนเศรษฐีได้มาเป็น พระกัสสป มหาเสนาคุตต์ได้มาเป็น พระโมคคัลลานะ โสมทัตกุมารได้มาเป็น พระอานนท์ บริษัทที่เหลือได้มาเป็น พุทธบริษัท ส่วนพระเจ้าสุตโสมได้มาเป็น เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนี้แล. จบอรรถกถาจุลลสุตโสมชาดกที่ ๕ จบอรรถกถาจัตตาฬีสนิบาต เพียงเท่านี้ -----------------------------------------------------
  • 17. 17