SlideShare a Scribd company logo
1
นฬินิกาชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
_____________
๑๘. ปัญญาสนิบาต
๑. นฬินิกาชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๒๖)
ว่าด้วยพระราชธิดานฬินิกา
(พระเจ้าพรหมทัตรับสั่งให้เรียกพระราชธิดานฬินิกามาแล้ว ตรัสว่า)
[๑] ลูกหญิงนฬินิกา ชนบทกาลังเดือดร้อน แม้แคว้นก็กาลังพินาศ
มาเถิด ลูกจงไปนาพราหมณ์นั้นมาให้พ่อ
(พระราชธิดานฬินิกาสดับพระดารัสนั้นแล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๒] ทูลกระหม่อมพ่อ หม่อมฉันไม่เคยทนทุกข์ลาบาก
ทั้งไม่ฉลาดในหนทางไกล หม่อมฉันจักไปยังป่าที่มีช้างอาศัยอยู่ได้อย่างไร
(พระราชาตรัสว่า)
[๓] ลูกหญิงนฬินิกา ลูกจงไปยังชนบท ที่มั่งคั่ง ด้วยช้าง ด้วยรถ
และด้วยยานที่สร้างด้วยไม้ (ยานที่สร้างด้วยไม้ ในที่นี้หมายถึงเรือ) โดยวิธีนี้เถิด
[๔] ลูกจงพาเอากองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบไป
ลูกจักนาพราหมณ์มาสู่อานาจได้ เพราะผิวพรรณและรูปของลูก
(นายพรานป่าชี้ไปที่อาศรม แล้วกราบทูลพระราชธิดานฬินิกาว่า)
[๕] อาศรมอันน่ารื่นรมย์ของอิสิสิงคดาบสปรากฏอยู่นั่น
ซึ่งมีต้นกล้วยปรากฏเป็ นทิวแถว แวดล้อมไปด้วยป่าแสม
[๖] นั่นแสงไฟยังโพลงเห็นประจักษ์อยู่ นั่นควันไฟยังปรากฏอยู่
เข้าใจว่า อิสิสิงคดาบสผู้มีฤทธิ์มากจะยังไม่เลิกบูชาไฟ
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความให้ยิ่งขึ้นไป จึงตรัสว่า)
[๗] อิสิสิงคดาบสมองเห็นพระราชธิดานั้น
สวมใส่ตุ้มหูแก้วมณีกาลังเสด็จมา เกิดความกลัว
จึงเข้าไปยังอาศรมที่มุงด้วยใบไม้
[๘] ที่ใกล้ประตูอาศรมของดาบสนั้น
พระราชธิดานั้นก็ทรงแสดงให้เห็นอวัยวะของลับ และส่วนที่ปรากฏ
ขณะเล่นลูกข่างอยู่
[๙] ฝ่ายชฎิลดาบสผู้อยู่ในบรรณศาลา
ครั้นเห็นพระราชธิดานั้นทรงเล่นอยู่ จึงออกมาจากอาศรมแล้วกล่าวคานี้ว่า
2
[๑๐] พ่อมหาจาเริญ ต้นไม้ของท่านชื่ออะไรที่มีผลเป็นอย่างนี้
ถึงท่านจะขว้างไปแล้วแม้ในที่ไกล มันก็ย้อนกลับมา ไม่ละทิ้งท่านไป
(พระราชธิดานฬินิกาตรัสว่า)
[๑๑] ท่านพราหมณ์ ที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า ณ ภูเขาคันธมาทน์
ต้นไม้ชนิดนั้นที่มีผลเป็นอย่างนี้มีอยู่มาก ถึงข้าพเจ้าจะขว้างไปแล้วแม้ในที่ไกล
มันก็ย้อนกลับมา ไม่ละทิ้งข้าพเจ้าไป
(อิสิสิงคดาบสเมื่อจะทาการปฏิสันถาร จึงกล่าวว่า)
[๑๒] เชิญท่านผู้เจริญเข้าไปยังอาศรมนี้เถิด
จงรับน้ามันทาเท้าและภักษาหาร ข้าพเจ้าจักให้ นี้อาสนะ
เชิญท่านผู้เจริญนั่งบนอาสนะนี้ เชิญท่านผู้เจริญขบฉันเหง้ามันและผลไม้ ณ
ที่นี้เถิด
[๑๓] ที่ระหว่างขาอ่อนทั้ง ๒ ของท่านนี้เป็ นอะไร สวยเรียบดี
ปรากฏเป็นเพียงสีดา ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า
อวัยวะส่วนปลายยอด (อวัยวะส่วนปลายยอด หมายถึงเครื่องหมายเพศ)
ของท่านเข้าไปอยู่ในฝักหรือ
(พระราชธิดานฬินิกาลวงดาบสว่า)
[๑๔] ข้าพเจ้ากาลังเที่ยวแสวงหารากไม้และผลไม้อยู่ในป่า
ได้ขว้างหมีร้ายกาจตัวหนึ่ง มันวิ่งปราดเข้าถึงตัวข้าพเจ้าโดยฉับพลัน
ทาให้ข้าพเจ้าล้มลงแล้วกัดอวัยวะส่วนปลายยอดไป
[๑๕] แผลนี้ มันรบกวนและเกิดอาการคันขึ้น
ข้าพเจ้าจึงไม่ได้รับความสาราญตลอดเวลา
ท่านผู้เจริญพอจะกาจัดอาการคันนี้ได้หรือ ข้าพเจ้าขอร้องท่านผู้เจริญ
โปรดบาเพ็ญประโยชน์แก่พราหมณ์ด้วยเถิด
(อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า)
[๑๖] แผลของท่านมีสีแดง ค่อนข้างลึกและใหญ่ แต่ไม่เน่า
มีกลิ่นนิดหน่อย ข้าพเจ้าจะปรุงยาน้าฝาดให้ท่านขนานหนึ่ง
เท่าที่ท่านผู้เจริญจะพึงมีบรมสุขได้
(พระราชธิดานฬินิกาตรัสว่า)
[๑๗] ท่านพรหมจารี การเสกมนต์ การปรุงยาน้าฝาด
และโอสถทั้งหลายก็บาบัดไม่ได้
ขอท่านพึงใช้องคชาตอันอ่อนนุ่มเสียดสีกาจัดอาการคัน
เท่าที่ข้าพเจ้าจะพึงมีบรมสุขได้เถิด
(อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า)
3
[๑๘] อาศรมของท่านผู้เจริญอยู่ทางทิศไหนจากที่นี้หนอ
ท่านผู้เจริญย่อมรื่นรมย์อยู่ในป่าหรือ มูลผลาหารของท่านมีเพียงพอหรือ
สัตว์ร้ายทั้งหลายไม่เบียดเบียนท่านผู้เจริญหรือ
(พระราชธิดานฬินิกาตรัสว่า)
[๑๙] จากที่นี้ตรงไปทางทิศเหนือ มีแม่น้าชื่อเขมาเกิดจากป่าหิมพานต์
อาศรมที่น่ารื่นรมย์ของข้าพเจ้าอยู่ริมฝั่งแม่น้านั้น ท่านผู้เจริญ
ท่านควรจะไปเยี่ยมอาศรมของข้าพเจ้าบ้าง
[๒๐] ต้นมะม่วง ต้นสาละ ต้นหมากเม่า ต้นหว้า ต้นราชพฤกษ์
และต้นแคฝอย ออกดอกบานสะพรั่ง ท่านผู้เจริญ
ท่านควรจะไปเยี่ยมอาศรมของข้าพเจ้าบ้าง ซึ่งมีพวกกินนรขับกล่อมอยู่โดยรอบ
[๒๑] ต้นตาล เหง้าตาล และผลตาล ณ ที่นั้น
มีสีสันงดงามและมีกลิ่นหอม ท่านผู้เจริญ
ท่านควรจะไปเยี่ยมอาศรมของข้าพเจ้าบ้าง
ซึ่งประกอบไปด้วยภูมิภาคอันงดงามนั้นบ้าง
[๒๒] ผลไม้และเผือกมันซึ่งมีสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอมและมีรสอร่อย
ที่อาศรมของข้าพเจ้านั้นมีอยู่เพียงพอ และพวกนายพรานพากันมายังที่นั้นแล้ว
ขออย่าได้ลักมูลผลาหาร (มูลผลาหาร คือ อาหารที่ได้จากรากไม้กล่าวคือเหง้า
(เหง้าบัว, หัวเผือก, หัวมัน) และผลไม้ทั้งหลายที่มีสีและกลิ่นเป็นต้น)
จากอาศรมของข้าพเจ้านั้นไปเลย
(อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า)
[๒๓] ขณะนี้ บิดาของข้าพเจ้าไปแสวงหามูลผลาหาร
จะกลับมาในตอนเย็น เราทั้ง ๒ จะไปยังอาศรมนั้น
ต่อเมื่อบิดากลับมาจากการแสวงหามูลผลาหาร
(พระราชธิดานฬินิกาตรัสว่า)
[๒๔] ฤๅษีและพระราชฤๅษีทั้งหลายผู้เป็นคนดีเหล่าอื่น
มีจานวนมากอยู่ตามทาง ท่านจงถามฤๅษีเหล่านั้นถึงอาศรมของข้าพเจ้าเถิด
ฤๅษีเหล่านั้นจักนาท่านไป ณ สถานที่อยู่ของข้าพเจ้าเอง
(พระดาบสโพธิสัตว์กลับมาจากป่าแล้วถามว่า)
[๒๕] เจ้ามิได้หักฟืน มิได้ตักน้า มิได้ก่อไฟ เพราะเหตุไรหนอ
เจ้าจึงเหงาหงอยซบเซาอยู่
[๒๖] แน่ะลูกผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อก่อน ฟืนเจ้าก็หัก ไฟเจ้าก็บูชา
แม้ไฟสาหรับผิงเจ้าก็จัดแจงไว้ ตั่งเจ้าก็ตั้งไว้ น้าเจ้าก็ตักไว้เพื่อพ่อ
ลูกยังประพฤติพรหมจรรย์รื่นรมย์อยู่หรือ
[๒๗] เจ้ามิได้หักฟืน มิได้ตักน้า มิได้ก่อไฟ มิได้หุงต้มโภชนาหาร วันนี้
ลูกยังมิได้ทักทายพ่อเลย สิ่งของอะไรหายหรือ หรือว่าลูกมีทุกข์ใจอะไร
4
(อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า)
[๒๘] ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์ได้มาที่นี่ รูปร่างของเธอสวยงาม
น่าชม ไม่สูงเกินไปและไม่เตี้ยเกินไป มีผิวพรรณเปล่งปลั่ง
ศีรษะของเธอผู้เจริญดาสวยงาม เพราะปกคลุมด้วยผมอันดาสนิทเป็นเงางาม
[๒๙] ไม่มีหนวด บวชได้ไม่นาน
ก็เธอมีเครื่องประดับเช่นกับเชิงบาตรอยู่ที่คอ และมีปุ่ม ๒ ปุ่มเกิดที่อกอย่างงดงาม
ทั้งคู่มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดังผลมะพลับทองคา
[๓๐] อนึ่ง ใบหน้าของเธอน่าทัศนายิ่งนัก กรรเจียกจอนก็ห้อยอยู่ที่หูทั้ง
๒ เมื่อมาณพเดินไปมา มันก็เปล่งประกายแวววาว
สายรัดชฎาที่ประดับก็โชติช่วงชัชวาล
[๓๑] และเครื่องประดับอย่างอื่นอีก ๔ อย่างของมาณพนั้น มีสีเขียว
สีเหลือง สีแดง และสีขาว เมื่อมาณพเดินไปมา มันก็แกว่งไกวไปมา
เหมือนหมู่นกติรีฏิ ยามเมื่อฝนตก
[๓๒] ก็เธอมิได้คาดสายรัดเอวที่ทาด้วยหญ้ามุงกระต่าย เปลือกปอ
และหญ้าปล้อง สายรัดเอวนั้นปลิวสะบัดเหมือนสายฟ้ าในอากาศ
โชติช่วงอยู่ระหว่างสะเอวกับสะโพก
[๓๓] อนึ่ง ผลไม้ทั้งหลายไม่มีใบ ไม่มีขั้ว ติดอยู่ที่สะเอว ใต้สะดือ
ไม่กระทบกันเลย ส่ายได้เป็นนิจ พ่อ ผลไม้เหล่านั้นเป็นผลของต้นไม้อะไร
[๓๔] ก็แหละชฎา (ชฎาในที่นี้หมายถึงสายผม
(เส้นผมหลายเส้นที่ร้อยในลูกปัด) ที่เอาแก้วแซมผูกไว้มีทรงคล้ายชฎา)
ของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก มีปลายงอนมากกว่าร้อย มีกลิ่นหอม
จัดรูปทรงแบ่งศีรษะเป็นสองส่วนได้อย่างงดงาม
ขอให้ชฎาของเราเป็นเช่นนั้นเถิด
[๓๕] ก็คราวใดชฎิลนั้นสยายชฎา ที่ประกอบด้วยสีและกลิ่นเหล่านั้น
คราวนั้นอาศรมนี้ก็หอมอบอวล เหมือนดอกอุบลเขียวที่ต้องลม
[๓๖] เปือกตมที่เรือนร่างชฎิลนั้นก็น่าดูยิ่งนัก
หาเป็นเช่นกับกายของเราไม่ พอถูกลมโชยพัดก็หอมฟุ้ ง
เหมือนป่าไม้มีดอกบานสะพรั่งปลายฤดูร้อน
[๓๗] ชฎิลนั้นตีผลไม้มีรูปอันวิจิตรงดงามน่าดูลงบนพื้นดิน
และผลไม้ที่ขว้างไปแล้วย่อมกลับมาสู่มือของชฎิลนั้นอีก พ่อ
ผลไม้นั้นเป็ นผลของต้นไม้อะไรหนอ
[๓๘] อนึ่ง ฟันของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ขาว เรียบเสมอ
เปรียบได้กับสังข์ที่ขัดดีแล้ว เมื่อเธอยิ้ม ย่อมทาใจให้ผ่องใส
ชฎิลนั้นคงไม่ได้เคี้ยวผักด้วยฟันเหล่านั้นเป็นแน่
5
[๓๙] คาพูดของเธอไม่หยาบคาย ไม่คลาดเคลื่อน นุ่มนวล อ่อนหวาน
ซื่อตรง ไม่ทาให้ฟุ้ งซ่าน ไม่คลอนแคลน เมื่อเปล่งออกมา
น้าเสียงของเธอทาให้ฟูใจ ไพเราะจับใจ ดุจเสียงนกการเวก
ทาให้ใจของลูกกาหนัดยิ่งนัก
[๔๐] เธอมีน้าเสียงหยดย้อย ไม่เป็นถ้อยคาที่น่ารังเกียจ
และไม่ประกอบด้วยเสียงอันพึมพา ลูกปรารถนาที่จะได้พบเธออีก
เพราะชฎิลหนุ่มได้เป็ นมิตรกับลูกมาก่อน
[๔๑] แผลนี้เชื่อมต่อสนิทดี เกลี้ยงเกลาทุกส่วน
อูมใหญ่ตั้งอยู่อย่างเหมาะเจาะ งามพร้อมคล้ายกับกลีบบัว
ชฎิลหนุ่มขึ้นคร่อมลูกด้วยแผลนั้นนั่นแหละ ใช้บั้นเอวดันขาอ่อนให้เปิดไว้
[๔๒] รัศมีที่แผ่ซ่านจากกายของเธอ เปล่งปลั่งผุดผ่องสว่างไสว
เหมือนสายฟ้ าในอากาศ แม้แขนทั้ง ๒ ของเธอก็อ่อนนุ่ม
มีขนเช่นกับขนดอกอัญชัน นิ้วของเธอก็กลมกลึงวิจิตรงดงาม
[๔๓] เธอมีร่างกายไม่ระคายเคือง มีขนไม่ยาว แต่มีเล็บยาว
ปลายเล็บเป็นสีแดง ชฎิลหนุ่มรูปงามกอดรัดลูกด้วยลาแขนทั้งหลาย อันอ่อนนุ่ม
บารุงบาเรอให้รื่นรมย์
[๔๔] มือทั้งหลาย ของเธออ่อนนุ่ม คล้ายกับปุยนุ่น งามเปล่งปลั่ง
มีผิวพรรณงดงาม กลมกลึงเหมือนแผ่นทองคาอันงดงาม
เธอสัมผัสลูกด้วยมือเหล่านั้นแล้วไปจากที่นี่ เพราะสัมผัสนั้น
มันจึงเผาลูกให้เร่าร้อนอยู่ นะท่านพ่อ
[๔๕] ชฎิลหนุ่มนั้นไม่ได้หาบคอนแน่นอน มิได้หักฟืนเองแน่นอน
มิได้โค่นต้นไม้ด้วยขวานแน่นอน เพราะที่ฝ่ามือทั้งหลายของเธอไม่กระด้างเลย
[๔๖] ส่วนเจ้าหมีได้ทาให้ชฎิลหนุ่มนั้นเป็ นแผล
ชฎิลหนุ่มนั้นได้กล่าวกับลูกว่า ขอท่านช่วยทาให้ข้าพเจ้ามีความสุขด้วยเถิด
ลูกได้ช่วยทาให้เธอนั้นมีความสุข เพราะการกระทานั้น ความสุขก็มีแก่ลูกด้วย
ท่านผู้ประเสริฐ ก็เธอได้พูดกับลูกว่า ข้าพเจ้ามีความสุขแล้ว
[๔๗] เครื่องปูลาดใบเถาย่านทรายของท่านพ่อนี้
กระจัดกระจายไปเพราะลูกกับเธอ เราทั้ง ๒ มีความเหน็ดเหนื่อย
จึงรื่นรมย์กันในน้า แล้วพากันเข้ากระท่อมใบไม้อยู่บ่อยๆ
[๔๘] ท่านพ่อ วันนี้มนต์ทั้งหลายของลูกไม่แจ่มแจ้งเลย
การบูชาไฟและแม้การบูชายัญก็ไม่แจ่มแจ้ง ตราบใดที่ลูกยังไม่พบพรหมจารีนั้น
ตราบนั้นลูกจะไม่ยอมบริโภคมูลผลาหารของท่านพ่อ
[๔๙] ท่านพ่อ ท่านต้องรู้จักแน่ว่า พรหมจารีอยู่ ณ ทิศใด
ขอท่านโปรดช่วยพาลูกไปให้ถึงทิศนั้นโดยเร็วเถิดพ่อ
ขอลูกอย่าได้ตายในอาศรมของท่านเลย
6
[๕๐] อนึ่ง ลูกได้ฟังมาว่า ป่าไม้ผลิดอกบานสะพรั่ง วิจิตรสวยงาม
กึกก้องไปด้วยเสียงนก มีฝูงนกอยู่อาศัย ท่านพ่อ
ขอท่านโปรดช่วยพาลูกไปให้ถึงป่านั้นโดยเร็วเถิด
ก่อนที่ลูกจะต้องละชีวิตทิ้งไว้ในอาศรมของท่าน
(พระดาบสโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๕๑] ในราวป่าที่มีรัศมีโชติช่วงนี้
ซึ่งมีหมู่คนธรรพ์และเทพอัปสรสถิตอยู่ เป็นที่อยู่ของฤๅษีทั้งหลาย
บุคคลผู้เป็นบัณฑิตไม่ควรถึงความไม่ยินดีเช่นนี้เลย
[๕๒] สัตว์ทั้งหลายเป็นมิตรก็มี ไม่เป็นมิตรก็มี
พวกเขาทาความรักใคร่ในญาติและมิตรทั้งหลาย
ส่วนเจ้ามิคสิงคดาบสนี้จัดว่าเป็นคนเลว เพราะตนเองยังไม่รู้เลยว่า
“เรามาจากไหน” กลับไว้ใจ(มาตุคามด้วยสาคัญว่าเป็นมิตร) เพราะเหตุไร
[๕๓] เพราะว่า ขึ้นชื่อว่ามิตรย่อมเชื่อมติดต่อกันได้
เพราะการอยู่ร่วมกันบ่อยๆ มิตรนั้นนั่นเองของบุคคลผู้ไม่สมาคมกัน
ย่อมเสื่อมไปเพราะการไม่ได้อยู่ร่วมกัน
[๕๔] หากลูกจะได้พบเห็นพรหมจารี จะได้เจรจากับพรหมจารี
ลูกจะละทิ้งคุณคือตบะนี้โดยเร็วพลัน
ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์ถูกห้วงน้าใหญ่พัดพาไป
[๕๕] หากลูกจะได้พบเห็นพรหมจารีอีก ได้เจรจากับพรหมจารีอีก
ลูกก็จะละทิ้งเดชแห่งสมณะนี้โดยเร็วพลัน
ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์ถูกห้วงน้าใหญ่พัดพาไป
[๕๖] ลูกเอ๋ย ก็ภูต (ภูต ในที่นี้หมายถึงพวกนางยักษิณี
ที่เที่ยวแปลงกายเป็นมนุษย์เพื่อหลอกจับมนุษย์กิน)
เหล่านี้ท่องเที่ยวอยู่ในมนุษยโลก ด้วยการแปลงรูปต่างๆ
คนมีปัญญาไม่ควรคบหาภูตเหล่านั้น
พรหมจารีบุคคลย่อมพินาศไปเพราะเกี่ยวข้องกับภูตนั้น
นฬินิกาชาดกที่ ๑ จบ
------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
นฬินิกาชาดก
ว่าด้วย ราชธิดาทาลายตบะของดาบส
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภถึง
การประเล้าประโลมของปุราณทุติยิกา จึงตรัสพระดารัสนี้ ดังนี้.
ก็พระศาสดา เมื่อจะตรัสจึงถามภิกษุนั้นว่า
เธอถูกใครทาให้เบื่อหน่าย? เมื่อภิกษุกราบทูลว่า
7
ถูกภริยาเก่าเป็นผู้ทาให้เบื่อหน่าย ดังนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
หญิงคนนี้แลเป็ นผู้ทาความพินาศให้แก่เธอ (ในบัดนี้เท่านั้น หามิได้)
แม้ในกาลก่อน เธออาศัยผู้หญิงคนนี้แล้ว เสื่อมจากฌาน
เป็นผู้ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ดังนี้
จึงทรงนาอดีตนิทานมาว่า
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในกรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล
ชื่อว่าอุทิจจะ พอเจริญวัยแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะจนจบแล้ว
บวชเป็ นฤาษีทาฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นแล้ว
ก็สาเร็จการอยู่อาศัยในหิมวันตประเทศ.
เพราะอาศัยเหตุนั้น
โดยนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วในอุททาลกชาดก นั้นนั่นแล
นางเนื้อตัวหนึ่งจึงตั้งท้องแล้วคลอดลูก. เขาได้มีชื่อว่าอิสิสิงโค เทียว. ต่อมา
บิดาได้ให้เขาผู้เจริญวัยแล้วบวช ศึกษาเล่าเรียนการบริกรรมกสิณ. มิช้ามินานนัก
เขาก็ทาฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นได้
จึงได้เล่นอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่ฌาน ได้เป็นผู้มีตบะกล้าแข็ง
มีตบะอย่างยอดเยี่ยม มีอินทรีย์อันชนะอย่างดียิ่ง.
เพราะเดชแห่งศีลของดาบสนั้น ภพท้าวสักกเทวราชจึงหวั่นไหว
ท้าวสักกเทวราช ทรงใคร่ครวญดูก็ทราบถึงเหตุ คิดว่า
เราจักใช้อุบายทาลายศีลของดาบสนี้ให้ได้ จึงห้ามฝนไม่ให้ตก
ในกาสิกรัฐทั้งหมดตลอด ๓ ปี. แว่นแคว้นได้เป็ นราวกะว่าถูกไฟแผดเผาแล้ว.
เมื่อข้าวกล้าไม่สมบูรณ์ พวกมนุษย์ถูกทุพภิกขภัยเบียดเบียน
จึงเรียกกันมาประชุมที่พระลานหลวง.
ลาดับนั้น พระราชาประทับยืนอยู่ที่ช่องพระแกล
ตรัสถามคนเหล่านั้นว่า นั่นอะไรกัน?
พวกมนุษย์ผู้ได้รับความทุกข์ พากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
เมื่อฝนไม่ตกตลอด ๓ ปี แว่นแคว้นทั้งสิ้นก็เร่าร้อน แล้วกราบทูลอีกว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงให้ฝนตกเถิด.
พระราชา แม้จะสมาทานศีล เข้าจาอุโบสถ
ก็ไม่ทรงสามารถจะให้ฝนตกลงมาได้ ในกาลนั้น ท้าวสักกะเสด็จเข้าไปยังห้อง
อันประกอบด้วยพระสิริของพระราชาพระองค์นั้น ในเวลาเที่ยงคืน
ทรงทาแสงสว่างครั้งหนึ่งแล้ว ได้ประทับยืนที่กลางเวหาส.
พระราชาทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างนั้นแล้ว ตรัสถามว่า
ท่านเป็นใครกัน?
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า เราเป็นท้าวสักกะ
8
พระราชาตรัสถามว่า พระองค์เสด็จมาประสงค์อะไรหรือ?
ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า มหาราชเจ้าเอย!
ฝนในแว่นแคว้นของพระองค์ตกบ้างไหม?
พระราชาตรัสว่า ไม่ตกเลย.
ท้าวสักกะตรัสถามว่า ก็พระองค์ทรงทราบเหตุที่ฝนไม่ตกหรือเปล่า?
พระราชาตรัสว่า ไม่ทราบเลย.
ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสชี้แจงว่า มหาราช!
ในหิมวันตประเทศมีดาบสชื่อว่า อิสิสิงคะ อาศัยอยู่ พระดาบสนั้นมีตบะกล้าแข็ง
มีอินทรีย์อันชนะอย่างดียิ่ง เมื่อฝนตกลงมาเป็นนิตย์ ท่านโกรธแล้วเพ่งดูอากาศ
เพราะฉะนั้น ฝนจึงไม่ตก.
พระราชาตรัสถามว่า บัดนี้ จะพึงทาอย่างไรดีในเรื่องนี้ ?
ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อทาลายตบะของพระดาบสนั้นได้ ฝนก็จักตก.
พระราชาตรัสถามว่า
ก็ใครเล่าจะสามารถทาลายตบะของพระดาบสนั้นได้.
ท้าวสักกะตรัสชี้แจงว่า มหาราช
ก็พระราชธิดาพระนามว่า นฬินิกา ของพระองค์นี้แหละ จะเป็ นผู้สามารถ
พระองค์จงให้คนเรียกเธอมาแล้วสั่งว่า ลูกจงไปยังสถานที่ชื่อโน้นแล้ว
จงทาลายตบะของพระดาบสให้จงได้.
ท้าวสักกเทวราชสั่งสอนพระราชาอย่างนั้นแล้ว
ก็ได้เสด็จไปยังที่อยู่ของพระองค์ตามเดิม
ในวันรุ่งขึ้น พระราชาทรงปรึกษากับพวกอามาตย์แล้ว
ตรัสสั่งให้เรียกพระราชธิดามาแล้ว
ตรัสพระคาถาแรก ว่า
ชนบทเร่าร้อนอยู่ แม้รัฐก็จะพินาศ ดูก่อนลูกนฬินิกา มานี่เถิด
เจ้าจงไปนาพราหมณ์ผู้นั้นมาให้เรา.
พระราชธิดานั้นสดับคาถานั้นแล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๒ ตอบว่า
ข้าแต่พระราชบิดา หม่อมฉันทนความลาบากไม่ได้ ทั้งไม่รู้จักหนทาง
จะไปยังป่าที่ช้างอยู่อาศัย ได้อย่างไรเล่า เพคะ.
ลาดับนั้น พระราชาจึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า
ดูก่อนลูกนฬินิกา เจ้าจงไปอยู่ชนบทที่เจริญด้วยช้าง ด้วยรถ
ด้วยยานที่ต่อด้วยไม้ เจ้าจงไปด้วยอาการอย่างนี้เถิดลูก เจ้าจงพากองช้าง กองม้า
กองรถ กองพลราบไปแล้ว จักนาพราหมณ์ผู้นั้นมาสู่อานาจได้ ด้วยผิวพรรณ
และรูปสมบัติของเจ้า.
พระราชาพระองค์นั้นตรัส
พระดารัสที่ไม่ควรจะตรัสกับพระราชธิดาอย่างนั้น
9
ก็เพราะมุ่งอาศัยการที่จะรักษาแว่นแคว้น. แม้พระราชธิดานั้น ก็ทูลรับสนองว่า
ดีละ.
ลาดับนั้น พระราชาได้ทรงพระราชทานสิ่งของที่ควร
พระราชทานทั้งหมดแก่อามาตย์แล้ว ทรงส่งพระราชธิดาไปกับพวกอามาตย์.
อามาตย์ทั้งหลาย พาพระราชธิดาไปถึงปัจจันตชนบทแล้ว
ให้ตั้งค่ายพักแรมในชนบทนั้น ให้ยกพระราชธิดาขึ้นแล้ว
เข้าไปยังหิมวันตประเทศ โดยหนทางที่พรานป่าชี้บอก ในเวลาเช้า
ก็ถึงที่ใกล้อาศรมบทของดาบสนั้น.
ในขณะนั้น พระโพธิสัตว์ให้บุตรเฝ้ าอยู่ที่อาศรมบท
ตนเองเข้าไปสู่ป่าเพื่อผลไม้น้อยใหญ่. พวกพรานป่าไม่ไปยังอาศรมบทเอง
แต่ยืนอยู่ที่ที่อยู่ของดาบสนั้น
เมื่อจะแสดงที่อยู่นั้นแก่พระนางนฬินิกา จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
อาศรมของอิสิสิงคดาบสนั้น ปรากฏด้วยธง คือ ต้นกล้วย
แวดล้อมด้วยต้นสมอ เป็นที่น่ารื่นรมย์ นั่นคือแสงไฟ
นั่นคือควันเห็นปรากฏอยู่ อิสิสิงคดาบส ผู้มีฤทธิ์มาก เห็นจะไม่ทาให้ไฟเสื่อม.
ฝ่ายพวกอามาตย์พากันแวดล้อมอาศรม
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เข้าไปสู่ป่าทันที ก็พากันตั้งกองอารักขา
ให้พระราชธิดาถือเพศเป็นฤาษี เอาผ้าใยไม้สีทองชนิดบางทาเป็นผ้านุ่งผ้าห่ม
ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพแล้ว
ให้พระราชธิดาถือเอาลูกข่างอันวิจิตรผูกด้วยเส้นด้าย ส่งเข้าไปยังอาศรมบท
พวกตนเองพากันยืนอารักขาอยู่ภายนอก. พระราชธิดานั้นเล่นลูกข่างนั้นพลาง
ก็ล่วงล้าถึงที่สุดจงกรม.
ในขณะนั้น อิสิสิงคดาบสกาลังนั่งอยู่แล้ว
บนแผ่นหินที่ใกล้ซุ้มประตูบรรณศาลา พระดาบสนั้นมองเห็นหญิงนั้นกาลังเดินมา
ตกใจกลัว ลุกขึ้นแล้วเข้าไปยังบรรณศาลา หยุดยืนอยู่. แม้พระราชธิดานั้น
ก็ไปยังประตูบรรณศาลาของพระดาบสนั้นแล้ว ก็เล่น (ลูกข่าง) ต่อไปอีก.
ก็พระศาสดา เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก
จึงได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถาว่า
อิสิสิงคดาบสเห็นพระราชธิดา ผู้สวมใส่กุณฑล แก้วมณี เสด็จมาอยู่
กลัวแล้ว เข้าไปสู่อาศรมที่มุงด้วยใบไม้
ส่วนพระราชธิดาแสดงอวัยวะที่ซ่อนเร้น และอวัยวะที่ปรากฏ
เล่นลูกข่างอยู่ที่ประตูอาศรมของดาบสนั้น
ฝ่ายดาบสผู้อยู่ในบรรณศาลา เห็นพระนางกาลังเล่นลูกข่างอยู่
จึงออกจากอาศรม แล้วได้กล่าวคานี้.
เพราะฉะนั้น จึงเล่าว่า อิสิสิงคดาบสออก(จากอาศรม)
10
แล้วกล่าวคานี้ว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ต้นไม้ของท่านที่มีผลเป็นไปอย่างนี้ มีชื่อว่าอะไร
แม้ท่านขว้างไปไกลก็กลับมา มิได้ละท่านไปเลย.
ลาดับนั้น พระราชธิดานั้น
เมื่อจะบอกจึงได้ตรัสคาถานี้แก่พระดาบสนั้นว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ต้นไม้ที่มีผลเป็นไปอย่างนี้นั้น
มีอยู่มากที่ภูเขาคันธมาทน์ ณ ที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า ผลไม้นั้น
แม้ข้าพเจ้าขว้างไปไกลก็กลับมา ไม่ละข้าพเจ้าไปเลย.
พระราชธิดานั้นได้กล่าวมุสาวาท ดังนี้แล. ฝ่ายพระดาบสเชื่อแล้ว
เมื่อจะทาการต้อนรับ ด้วยสาคัญว่า ท่านผู้นั้นเป็ นพระดาบส
จึงกล่าวคาถานี้ว่า
เชิญท่านผู้เจริญ จงเข้ามาสู่อาศรมนี้ จงบริโภค จงรับน้ามันและภักษา
เราจักให้ นี้อาสนะ
เชิญท่านนั่งบนอาสนะนี้ เชิญบริโภคเหง้ามันและผลไม้แต่ที่นี้เถิด.
พระดาบสพอเห็น อวัยวะส่วนที่ปกปิดแห่งสรีระของมาตุคาม
เพราะค่าที่ตนไม่เคยเห็นมาแต่ก่อน จึงสาคัญว่า นั่นเป็ นแผล แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
ในระหว่างขาอ่อนทั้งสองของท่าน นี้เป็นอะไร มีสัณฐานเรียบร้อย
ปรากฏดุจสีดา
เราถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า อวัยวะส่วนยาวของท่าน
เข้าไปอยู่ในฝักหรือหนอ.
ลาดับนั้น พระราชธิดานั้น เมื่อจะหลอกลวงพระดาบสนั้น จึงตรัสคาถา
๒ คาถาว่า
ข้าพเจ้านี้
เที่ยวแสวงหามูลผลาหารในป่า ได้พบหมีมีรูปร่างน่ากลัวยิ่งนัก
มันวิ่งไล่ข้าพเจ้ามาโดยเร็ว มาทันเข้าแล้ว
ทาให้ข้าพเจ้าล้มลงแล้ว มันกัดอวัยวะส่วนยาวของข้าพเจ้าเสีย
แผลนั้นก็เหวอะหวะ
และเกิดคันขึ้น ข้าพเจ้าไม่ได้ความสบายตลอดกาลทั้งปวง ท่านคงสามารถกาจัดค
วามคันนี้ได้ ข้าพเจ้าวิงวอนแล้ว ขอท่านได้โปรดกระทาประโยชน์ให้แก่ข้าพเจ้า
ผู้เป็นพราหมณ์เถิด.
พระดาบสนั้นเชื่อคามุสาวาทของพระราชธิดานั้นว่า เป็นจริง จึงคิดว่า
ถ้าความสุขอย่างนั้นจะมีแก่ท่านไซร้ ข้าพเจ้าก็จักทาให้ดังนี้แล้ว
ก็มองดูส่วนตรงนั้นแล้ว กล่าวคาถาถัดไปว่า
แผลของท่านลึก มีสีแดง ไม่เน่าเปื่อย มีกลิ่นเหม็น
และเป็นแผลใหญ่ เราจะประกอบกระสายยาหน่อยหนึ่งให้ท่าน ตามที่ท่านจะพึงมี
11
ความสุขอย่างยิ่ง.
ลาดับนั้น พระนางนฬินิกา จึงตรัสคาถาว่า
ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์
การประกอบมนต์ก็ดี การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถก็ดี
ย่อมแก้ไม่ได้ ขอท่านจงเอาองคชาตอันอ่อนนุ่มของท่าน
เสียดสีกาจัดความคัน ตามที่ข้าพเจ้าจะพึงมีความสุขอย่างยิ่งเถิด.
ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ผู้เจริญ การประกอบมนต์ก็ดี
การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถมี ดอกและผลเป็ นต้นก็ดี ที่แผลของข้าพเจ้านี้
ย่อมแก้ไม่ได้เลย คือการประกอบมนต์เป็ นต้นเหล่านั้น ถึงจะทาแล้วหลายๆ ครั้ง
ก็ไม่เป็นความผาสุกสบายแก่แผลนั้นเลย
แต่เมื่อท่านใช้องคชาตอันอ่อนนุ่มของท่านนั้น เสียดสีไปมาเท่านั้น
ความคันก็จะไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ขอท่านช่วยเอาองคชาตนั้น
กาจัดความคันให้ทีเถอะ.
พระดาบสนั้นกาหนดว่าคนคนนั้นพูดจริง ไม่รู้เลยว่า ศีลจะขาด
ฌานจะเสื่อม ด้วยเมถุนสังสัคคะ เมื่อพระราชธิดานั้นกล่าวว่า เภสัช ดังนี้
เพราะความไม่รู้จักเมถุนธรรม เหตุที่ตนไม่เคยเห็นมาตุคามมาก่อน
จึงเสพเมถุนธรรม ในทันทีนั้น ศีลของดาบสนั้นก็ขาด ฌานก็เสื่อม.
ดาบสนั้นกระทาการร่วมสังวาส ๒-๓ ครั้ง ก็เหนื่อยอ่อน จึงออกไปลงสู่สระอาบน้า
ระงับดับความกระวนกระวายแล้ว กลับมานั่ง ณ บรรณศาลา
ถึงขนาดนั้นก็ยังสาคัญคนคนนั้นว่า เป็นดาบสอยู่อีก
เมื่อจะถามถึงที่อยู่ จึงกล่าวคาถาว่า
อาศรมของท่านอยู่ทางทิศไหน
แต่ที่นี้หนอ ท่านย่อมรื่นรมย์อยู่ในป่าแลหรือ มูลผลาหารของท่านมีเพียงพอแลหรื
อ สัตว์ร้ายไม่เบียดเบียนท่านแลหรือ.
ลาดับนั้น พระนางนฬินิกาได้ตรัสคาถา ๔ คาถาว่า
แม่น้าชื่อเขมาย่อมปรากฏแต่ป่าหิมพานต์ ในทิศเหนือตรงไปแต่ที่นี้ อ
าศรมอันน่ารื่นรมย์ของข้าพเจ้าอยู่ที่ฝั่งแม่น้านั้น
ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้าบ้าง ต้นมะม่วง ต้นรัง ต้นหมากเม่า
ต้นหว้า ต้นราชพฤกษ์ ต้นแคฝอย มีดอกบานสะพรั่ง
ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้า ซึ่งมีกินนรขับร้องอยู่โดยรอบ
ต้นตาล มูลมัน ผลไม้ที่อาศรมของเรานั้น มีผลประกอบด้วยสีและกลิ่น
ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้า อันประกอบด้วยภูมิภาคสวยงามนั้น
บ้าง ผลไม้ เหง้าไม้ที่อาศรมของข้าพเจ้ามีมาก ประกอบด้วยสี กลิ่น
และรส พวกพรานย่อมมาสู่ประเทศนั้น
อย่าได้มาลักมูลผลาหารไปจากอาศรมของข้าพเจ้านั้นเลย.
12
ดาบสได้สดับดังนั้นแล้ว เพื่อจะยับยั้งพระราชธิดาไว้
จนกว่าบิดาตนจะกลับมา
จึงกล่าวคาถาว่า
บิดาของเราไปแสวงหามูลผลาหาร จะกลับมาในเย็นวันนี้
เราทั้งสองจะไปสู่อาศรมนั้นได้ ก็ต่อเมื่อ บิดากลับมาจากการแสวงหามูลผลาหาร.
ลาดับนั้น พระราชธิดานั้นคิดแล้วว่า ดาบสนี้ไม่รู้ว่าเราเป็นหญิง
เพราะค่าที่ท่านเจริญเติบโตมาในป่าเท่านั้น ตั้งแต่แรก แต่บิดาของดาบสนั้น
พอเห็นเราเข้าก็รู้ทันที คงถามว่า เจ้ามาทาอะไรในที่นี้?
แล้วคงจะเอาปลายไม้คานตีเรา แม้ศีรษะของเราก็ต้องแตก เราควรจะไปเสีย
ในเวลาที่บิดาของเขายังไม่มาดีกว่า ถึงหน้าที่ในการมาของเรา
ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว.
พระราชธิดานั้น เมื่อจะบอกอุบายแห่งการมาแก่ดาบสนั้น
จึงกล่าวคาถานอกนี้ว่า
พราหมณ์ ฤาษี และราชฤาษี ผู้มีรูปสวยเหล่าอื่นเป็ นอันมาก
ย่อมอยู่ใกล้ทางโดยลาดับ ท่านพึงถามถึงอาศรมของข้าพเจ้ากะท่านพวกนั้นเถิด
ท่านพวกนั้นจะพาท่านไปในสานักของข้าพเจ้า.
พระราชธิดานั้นกระทาอุบาย สาหรับที่ตนจะหนีไปอย่างนั้นแล้ว
ออกจากบรรณศาลาแล้ว กล่าวกะดาบส ผู้กาลังมองดูอยู่นั่นแหละว่า
ท่านกลับไปเถอะ แล้วได้ไปยังสานักของพวกอามาตย์ โดยหนทางที่มานั่นแล.
พวกอามาตย์เหล่านั้นได้พาพระราชธิดานั้นไปยังค่ายพักแรมแล้ว
ก็ไปถึงกรุงพาราณสีโดยลาดับ.
ในวันนั้นนั่นเอง แม้ท้าวสักกเทวราชก็ทรงดีใจ
ยังฝนให้ตกชุ่มฉ่าทั่วแว่นแคว้น. ต่อแต่นั้นมา ชนบทก็ได้มีภิกษาสมบูรณ์.
พอพระราชธิดานั้นกลับไปแล้วเท่านั้น
ความเร่าร้อนก็เกิดขึ้นในร่างกายแม้ของอิสิสิงคดาบส. ดาบสนั้นหวั่นไหวใจ
เข้าไปยังบรรณศาลา เอาผ้าป่านคลุมร่าง นอนเศร้าโศกอยู่แล้ว.
ในเวลาเย็น พระโพธิสัตว์กลับมามองไม่เห็นบุตร จึงคิดว่า
เขาไปเสียในที่ไหนหนอ แล้ววางหาบเข้าไปยังบรรณศาลา มองเห็นเขานอน
จึงลูบหลังพลางถามว่า ลูกเอ๋ย! เจ้าทาอะไร
แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า
ฟืนเจ้าก็ไม่หัก น้าเจ้าก็ไม่ตัก แม้ไฟเจ้าก็ไม่ติด
เจ้าอ่อนใจซบเซาอยู่ทาไมหนอ ดูก่อนเจ้าผู้ประพฤติพรหมจรรย์
เมื่อก่อนฟืนเจ้าก็หัก ไฟเจ้าก็ติด
แม้ไฟสาหรับผิงเจ้าก็จัดได้ ตั่งเจ้าก็ตั้ง น้าเจ้าก็ตักไว้ให้เรา วันอื่นๆ
เจ้าเป็นผู้ประเสริฐดีอยู่
13
วันนี้เจ้าไม่หักฟืน ไม่ตักน้า ไม่ติดไฟ ไม่จัดเครื่องบริโภคไว้
ไม่ทักทายเรา ของอะไรของเจ้าหายไปหรือ หรือว่าเจ้ามีทุกข์ในใจอะไร.
ดาบสนั้นฟังคาของบิดาแล้ว เมื่อจะเล่าถึงเหตุการณ์นั้นให้ทราบ
จึงเรียนว่า
ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์มาในอาศรมนี้ มีรูปร่างน่าดู น่าชม
เอวเล็กเอวบาง ไม่สูงนัก ไม่ต่านัก รัศมีสวยงาม
มีศีรษะปกคลุมด้วยผมอันดาเป็นเงางาม ไม่มีหนวด บวชไม่นาน
มีเครื่องประดับเป็ นรูปเชิงบาตรอยู่ที่คอ มีปุ่มสองปุ่มงามเปล่งปลั่งดังก้อนทองคา
เกิดดีแล้วที่อก หน้าของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก มีกรรเจียกจอนห้อยอยู่ที่หูทั้งสองข้าง
กรรเจียกเหล่านั้น ย่อมแวววาว
เมื่อชฏิลนั้นเดินไปมา สายพันชฎาก็งาม แพรวพราว
เครื่องประดับเหล่าอื่นอีกสี่อย่างของชฎิลนั้น มีสีเขียว เหลือง แดง และขาว
เมื่อชฎิลนั้นเดินไปมา เครื่องประดับเหล่านั้นย่อมดังกริ่งกร่าง
เหมือนฝูงนกติริฏิร้องในเวลาฝนตก ฉะนั้น
ชฎิลนั้นไม่ได้คาดเครื่องรัดเอวที่ทาด้วยหญ้าปล้อง ไม่ได้นุ่งผ้าที่ทาด้วยเปลือกไม้
เหมือนของพวกเรา ผ้าเหล่านั้นพันอยู่ที่ระหว่างแข้งงามโชติช่วง
ปลิวสะบัดดังสายฟ้ าแลบอยู่ในอากาศ
ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิลนั้นมีผลไม้ไม่สุก ไม่มีขั้ว ติดอยู่ที่สะเอวภายใต้นาภี
ไม่กระทบกัน กระดูกเล่นอยู่เป็ นนิตย์ อนึ่ง ชฎิลนั้นมีชฎาน่าดูยิ่งนัก
มีปลายงอนมากกว่าร้อย มีกลิ่นหอม
มีศีรษะอันแบ่งด้วยดีเป็นสองส่วน โอ ขอให้ชฎาของเรา
จงเป็ นเช่นนั้นเถิดหนอ และในคราวใด
ชฎิลนั้นขยายชฎาอันประกอบด้วยสีและกลิ่น ในคราวนั้น อาศรมก็หอมฟุ้ งไป
เหมือนดอกอุบลเขียวที่ถูกลมราเพยพัด ฉะนั้น
ผิวพรรณของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก
ไม่เป็นเช่นกับผิวพรรณที่กายของข้าพเจ้า ผิวกายของชฎิลนั้น
ถูกลมราเพยพัดแล้วย่อมหอมฟุ้ งไป ดุจป่าไม้ อันมีดอกบานในฤดูร้อน ฉะนั้น
ชฎิลนั้นตีผลไม้อันวิจิตรงามน่าดูลงบนพื้นดิน และผลไม้ที่ขว้างไปแล้ว
ย่อมกลับมาสู่มือของเขาอีก ข้าแต่ท่านพ่อ ผลไม้นั้นชื่อผลอะไรหนอ
อนึ่ง ฟันของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ขาวสะอาด
เรียบเสมอกันดังสังข์อันขัดดีแล้ว เมื่อชฎิลเปิดปากอยู่ ย่อมยังใจให้ผ่องใส
ชฎิลนั้นคงไม่ได้เคี้ยวผักด้วยฟันเหล่านั้นเป็นแน่
คาพูดของเขาไม่หยาบคาย ไม่เคลื่อนคลาด ไพเราะ อ่อนหวาน ตรง
ไม่ฟุ้ งซ่าน ไม่คลอนแคลน เสียงของเขาเป็นเครื่องฟูใจ จับใจดังเสียงนกการเวก
นาใจของข้าพเจ้าให้กาหนัดยิ่งนัก เสียงของเขาหยดย้อย
14
เป็นถ้อยคาไม่สะบัดสะบิ้ง ไม่ประกอบด้วยเสียงพึมพา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะได้เห็นเขาอีก
เพราะชฎิลนั้นเป็ นมิตรของข้าพเจ้ามาก่อน แผลที่ต่อสนิทดี
เกลี้ยงเกลาในที่ทั้งปวงใหญ่ เกิดดีแล้วคล้ายกับกลีบบัว
ชฎิลนั้นให้ข้าพเจ้าคร่อมตรงแผลนั้น แหวกขาเอาแข้งบีบไว้
รัศมีซ่านออกจากกายของชฎิลนั้น ย่อมเปล่งปลั่งสว่างไสวรุ่งเรือง
ดังสายฟ้ าอันแลบแปลบปลาบอยู่ในอากาศ ฉะนั้น
อนึ่ง แขนทั้งสองของชฎิลนั้นอ่อนนุ่ม มีขนเหมือนขนดอกอัญชัน
แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้น ก็ประกอบด้วยนิ้วมืออันเรียววิจิตรงดงาม
ชฎิลนั้นมีอวัยวะไม่ระคาย มีขนไม่ยาว เล็บยาว ปลายเป็นสีแดง ชฎิลนั้นมีรูปงาม
กอดรัดข้าพเจ้าด้วยแขนทั้งสองอันอ่อนนุ่ม บาเรอให้รื่นรมย์
ข้าแต่ท่านพ่อ มือทั้งสองของชฎิลนั้นอ่อนนุ่มคล้ายสาลี งามเปล่งปลั่ง
พื้นฝ่ามือเกลี้ยงเกลา เหมือนแว่นทอง ชฎิลนั้นกอดรัดข้าพเจ้า
ด้วยมือทั้งสองนั้นแล้ว ไปจากที่นี้ ย่อมทาให้ข้าพเจ้าเร่าร้อนด้วยสัมผัสนั้น
ชฎิลนั้นมิได้นาหาบมา มิได้หักฟืนเอง มิได้ฟันต้นไม้ด้วยขวาน
แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้นก็ไม่มีความกระด้าง หมีได้กัดชฎิลนั้นเป็นแผล
เธอจึงกล่าวกะข้าพเจ้าว่า ขอท่านช่วยทาให้ข้าพเจ้ามีความสุขเถิด
ข้าพเจ้าจึงช่วยทาให้เธอมีความสุข และความสุข ก็เกิดมีแก่ข้าพเจ้าด้วย
ข้าแต่ท่านผู้เป็นพรหม เธอได้บอกข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ามีความสุขแล้ว
ก็ที่อันปูลาดด้วยใบเถาย่างทรายของท่านนี้ กระจุยกระจายแล้ว
เพราะข้าพเจ้าและชฎิลนั้น เราทั้งสองเหน็ดเหนื่อยแล้ว ก็รื่นรมย์กันในน้า
แล้วเข้าสู่กุฏิอันมุงบังด้วยใบไม้บ่อยๆ
ข้าแต่ท่านพ่อ วันนี้ มนต์ทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้าเลย
การบูชาไฟข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย แม้การบูชายัญ ในที่นั้นข้าพเจ้าก็ไม่ชอบใจ
ตราบใดที่ข้าพเจ้า ยังมิได้พบเห็นชฎิล ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
ข้าพเจ้าจะไม่บริโภคมูลผลาหารของท่านพ่อเลย
ข้าแต่ท่านพ่อ แม้ท่านพ่อย่อมรู้เป็นแน่แท้ว่า
ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ทิศใด
ขอท่านพ่อจงพาข้าพเจ้าไปให้ถึงทิศนั้นโดยเร็วเถิด
ข้าพเจ้าอย่าได้ตายเสียในอาศรมของท่านเลย
ข้าแต่ท่านพ่อ ข้าพเจ้าได้ฟังถึงป่าไม้อันวิจิตรมีดอกบาน
กึกก้องไปด้วยเสียงนกร้อง มีฝูงนกอาศัยอยู่
ขอท่านพ่อช่วยพาข้าพเจ้าไปให้ถึงป่าไม้นั้น โดยเร็วเถิด
ข้าพเจ้าจะต้องละชีวิตเสียก่อนในอาศรมของท่านพ่อเป็นแน่.
15
เมื่อดาบสนั้นกาลังพร่าเพ้ออยู่นั่นเอง
พระมหาโพธิสัตว์ได้ฟังคาพร่าเพ้อนั้นแล้ว ก็ทราบว่า ศีลของดาบสนี้
เห็นทีจักถูกผู้หญิงคนหนึ่งทาลายให้ขาดเสียแล้วเป็ นแน่ ดังนี้
เมื่อจะกล่าวสอนดาบสนั้น จึงกล่าวคาถา ๖ คาถา ความว่า
เราไม่ควรให้เจ้าผู้ยังเป็ นเด็กเช่นนี้ ถึงความกระสันในป่าโชติรส
ที่หมู่คนธรรพ์และเทพอัปสรซ่องเสพ เป็นที่อยู่อาศัยแห่งฤาษีทั้งหลาย ในกาลก่อน
พวกมิตรย่อมมีบ้าง ไม่มีบ้าง ชนทั้งหลาย
ย่อมทาความรักในพวกญาติและพวกมิตร กุมารใดย่อมไม่รู้ว่า
เราเป็นผู้มาแต่ไหน กุมารนี้เป็นผู้ลามก อยู่ในกลางวัน เพราะเหตุอะไร
มิตรสหายย่อมสนิทกันบ่อยๆ เพราะความอยู่ร่วมกัน
มิตรนั้นนั่นแหละย่อมเสื่อมไป เพราะความไม่อยู่ร่วมของบุรุษที่ไม่สมาคม
ถ้าเจ้าได้เห็นพรหมจารี ได้พูดกับพรหมจารี
เจ้าจักละคุณคือตปธรรมนี้เร็วไว ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้ว เสียไปเพราะน้ามาก
ฉะนั้น
หากเจ้าได้เห็นพรหมจารีอีก ได้พูดกับพรหมจารีอีก
เจ้าจักละสมณเดชนี้เร็วไว ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้ว เสียไปเพราะน้ามาก ฉะนั้น
ดูก่อนลูกรัก พวกยักษ์นั้นย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก โดยรูปแปลกๆ
นรชนผู้มีปัญญา ไม่พึงคบพวกยักษ์นั้น พรหมจารีย่อมฉิบหายไป
เพราะความเกาะเกี่ยวกัน.
พระโพธิสัตว์กล่าวสอนแล้วซึ่งบุตรอย่างนี้ว่า ดูก่อนลูกรัก
ก็ภูต คือพวกยักษ์เหล่านี้ ย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก
โดยรูปร่างของตนปกปิดรูปแปลกๆ ไว้
ก็เพื่อเคี้ยวกินพวกคนที่ตกไปสู่อานาจของตน นรชนผู้มีปัญญา
ไม่พึงคบหาพวกภูตคือยักษ์เหล่านั้น เพราะถึงความเกาะเกี่ยวกันเช่นนั้น
การประพฤติพรหมจรรย์ย่อมฉิบหายไป เจ้าถูกนางยักษิณีนั้นพบเห็นแล้ว
แต่ยังไม่ถูกเคี้ยวกิน.
ดาบสนั้นได้ฟังถ้อยคาของบิดาแล้ว เกิดความกลัวขึ้นว่า เพิ่งทราบว่า
หญิงคนนั้นคือนางยักษิณี จึงกลับใจแล้ว ขอขมาคุณพ่อว่า คุณพ่อครับ
ผมจักไม่ขอไปจากที่นี้ พ่อยกโทษให้ผมเถอะ.
แม้พระโพธิสัตว์นั้นปลอบใจให้ลูกสบายใจแล้ว จึงบอกถึงวิธีการเจริญพรหมวิหา
รว่า
มาณพน้อยเอ๋ย! เจ้ามานี่ซิ เจ้าจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา
และอุเบกขาเถิด.
ดาบสนั้นปฏิบัติตามอย่างนั้นแล้ว
16
ก็ทาฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นได้อีก.
พระศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว
ทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแล้ว ทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ
อุกกัณฐิตภิกษุ ดารงอยู่ในโสดาปัตติผล.
พระราชธิดานฬินิกา ในกาลนั้น ได้เป็ น ปุราณทุติยิกา.
อิสิสิงคดาบส ได้เป็น อุกกัณฐิตภิกษุ
ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้เป็นบิดา ก็คือ เรา นั่นเอง.
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
506 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
506 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....506 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
506 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๔. จตุตถปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๔. จตุตถปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๔. จตุตถปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๔. จตุตถปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
032 นัจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
032 นัจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx032 นัจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
032 นัจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
maruay songtanin
 
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒๙. อุฬารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๒๙. อุฬารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๒๙. อุฬารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๒๙. อุฬารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
maruay songtanin
 
๓. ตติยปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ).docx
๓. ตติยปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ).docx๓. ตติยปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ).docx
๓. ตติยปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ).docx
maruay songtanin
 
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 

Similar to 526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
 
506 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
506 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....506 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
506 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๔. จตุตถปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๔. จตุตถปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๔. จตุตถปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๔. จตุตถปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
032 นัจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
032 นัจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx032 นัจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
032 นัจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
 
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒๙. อุฬารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๒๙. อุฬารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๒๙. อุฬารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๒๙. อุฬารวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๓. ตติยปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ).docx
๓. ตติยปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ).docx๓. ตติยปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ).docx
๓. ตติยปีฐวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ).docx
 
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ _____________ ๑๘. ปัญญาสนิบาต ๑. นฬินิกาชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๒๖) ว่าด้วยพระราชธิดานฬินิกา (พระเจ้าพรหมทัตรับสั่งให้เรียกพระราชธิดานฬินิกามาแล้ว ตรัสว่า) [๑] ลูกหญิงนฬินิกา ชนบทกาลังเดือดร้อน แม้แคว้นก็กาลังพินาศ มาเถิด ลูกจงไปนาพราหมณ์นั้นมาให้พ่อ (พระราชธิดานฬินิกาสดับพระดารัสนั้นแล้ว จึงกราบทูลว่า) [๒] ทูลกระหม่อมพ่อ หม่อมฉันไม่เคยทนทุกข์ลาบาก ทั้งไม่ฉลาดในหนทางไกล หม่อมฉันจักไปยังป่าที่มีช้างอาศัยอยู่ได้อย่างไร (พระราชาตรัสว่า) [๓] ลูกหญิงนฬินิกา ลูกจงไปยังชนบท ที่มั่งคั่ง ด้วยช้าง ด้วยรถ และด้วยยานที่สร้างด้วยไม้ (ยานที่สร้างด้วยไม้ ในที่นี้หมายถึงเรือ) โดยวิธีนี้เถิด [๔] ลูกจงพาเอากองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบไป ลูกจักนาพราหมณ์มาสู่อานาจได้ เพราะผิวพรรณและรูปของลูก (นายพรานป่าชี้ไปที่อาศรม แล้วกราบทูลพระราชธิดานฬินิกาว่า) [๕] อาศรมอันน่ารื่นรมย์ของอิสิสิงคดาบสปรากฏอยู่นั่น ซึ่งมีต้นกล้วยปรากฏเป็ นทิวแถว แวดล้อมไปด้วยป่าแสม [๖] นั่นแสงไฟยังโพลงเห็นประจักษ์อยู่ นั่นควันไฟยังปรากฏอยู่ เข้าใจว่า อิสิสิงคดาบสผู้มีฤทธิ์มากจะยังไม่เลิกบูชาไฟ (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความให้ยิ่งขึ้นไป จึงตรัสว่า) [๗] อิสิสิงคดาบสมองเห็นพระราชธิดานั้น สวมใส่ตุ้มหูแก้วมณีกาลังเสด็จมา เกิดความกลัว จึงเข้าไปยังอาศรมที่มุงด้วยใบไม้ [๘] ที่ใกล้ประตูอาศรมของดาบสนั้น พระราชธิดานั้นก็ทรงแสดงให้เห็นอวัยวะของลับ และส่วนที่ปรากฏ ขณะเล่นลูกข่างอยู่ [๙] ฝ่ายชฎิลดาบสผู้อยู่ในบรรณศาลา ครั้นเห็นพระราชธิดานั้นทรงเล่นอยู่ จึงออกมาจากอาศรมแล้วกล่าวคานี้ว่า
  • 2. 2 [๑๐] พ่อมหาจาเริญ ต้นไม้ของท่านชื่ออะไรที่มีผลเป็นอย่างนี้ ถึงท่านจะขว้างไปแล้วแม้ในที่ไกล มันก็ย้อนกลับมา ไม่ละทิ้งท่านไป (พระราชธิดานฬินิกาตรัสว่า) [๑๑] ท่านพราหมณ์ ที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า ณ ภูเขาคันธมาทน์ ต้นไม้ชนิดนั้นที่มีผลเป็นอย่างนี้มีอยู่มาก ถึงข้าพเจ้าจะขว้างไปแล้วแม้ในที่ไกล มันก็ย้อนกลับมา ไม่ละทิ้งข้าพเจ้าไป (อิสิสิงคดาบสเมื่อจะทาการปฏิสันถาร จึงกล่าวว่า) [๑๒] เชิญท่านผู้เจริญเข้าไปยังอาศรมนี้เถิด จงรับน้ามันทาเท้าและภักษาหาร ข้าพเจ้าจักให้ นี้อาสนะ เชิญท่านผู้เจริญนั่งบนอาสนะนี้ เชิญท่านผู้เจริญขบฉันเหง้ามันและผลไม้ ณ ที่นี้เถิด [๑๓] ที่ระหว่างขาอ่อนทั้ง ๒ ของท่านนี้เป็ นอะไร สวยเรียบดี ปรากฏเป็นเพียงสีดา ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า อวัยวะส่วนปลายยอด (อวัยวะส่วนปลายยอด หมายถึงเครื่องหมายเพศ) ของท่านเข้าไปอยู่ในฝักหรือ (พระราชธิดานฬินิกาลวงดาบสว่า) [๑๔] ข้าพเจ้ากาลังเที่ยวแสวงหารากไม้และผลไม้อยู่ในป่า ได้ขว้างหมีร้ายกาจตัวหนึ่ง มันวิ่งปราดเข้าถึงตัวข้าพเจ้าโดยฉับพลัน ทาให้ข้าพเจ้าล้มลงแล้วกัดอวัยวะส่วนปลายยอดไป [๑๕] แผลนี้ มันรบกวนและเกิดอาการคันขึ้น ข้าพเจ้าจึงไม่ได้รับความสาราญตลอดเวลา ท่านผู้เจริญพอจะกาจัดอาการคันนี้ได้หรือ ข้าพเจ้าขอร้องท่านผู้เจริญ โปรดบาเพ็ญประโยชน์แก่พราหมณ์ด้วยเถิด (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) [๑๖] แผลของท่านมีสีแดง ค่อนข้างลึกและใหญ่ แต่ไม่เน่า มีกลิ่นนิดหน่อย ข้าพเจ้าจะปรุงยาน้าฝาดให้ท่านขนานหนึ่ง เท่าที่ท่านผู้เจริญจะพึงมีบรมสุขได้ (พระราชธิดานฬินิกาตรัสว่า) [๑๗] ท่านพรหมจารี การเสกมนต์ การปรุงยาน้าฝาด และโอสถทั้งหลายก็บาบัดไม่ได้ ขอท่านพึงใช้องคชาตอันอ่อนนุ่มเสียดสีกาจัดอาการคัน เท่าที่ข้าพเจ้าจะพึงมีบรมสุขได้เถิด (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า)
  • 3. 3 [๑๘] อาศรมของท่านผู้เจริญอยู่ทางทิศไหนจากที่นี้หนอ ท่านผู้เจริญย่อมรื่นรมย์อยู่ในป่าหรือ มูลผลาหารของท่านมีเพียงพอหรือ สัตว์ร้ายทั้งหลายไม่เบียดเบียนท่านผู้เจริญหรือ (พระราชธิดานฬินิกาตรัสว่า) [๑๙] จากที่นี้ตรงไปทางทิศเหนือ มีแม่น้าชื่อเขมาเกิดจากป่าหิมพานต์ อาศรมที่น่ารื่นรมย์ของข้าพเจ้าอยู่ริมฝั่งแม่น้านั้น ท่านผู้เจริญ ท่านควรจะไปเยี่ยมอาศรมของข้าพเจ้าบ้าง [๒๐] ต้นมะม่วง ต้นสาละ ต้นหมากเม่า ต้นหว้า ต้นราชพฤกษ์ และต้นแคฝอย ออกดอกบานสะพรั่ง ท่านผู้เจริญ ท่านควรจะไปเยี่ยมอาศรมของข้าพเจ้าบ้าง ซึ่งมีพวกกินนรขับกล่อมอยู่โดยรอบ [๒๑] ต้นตาล เหง้าตาล และผลตาล ณ ที่นั้น มีสีสันงดงามและมีกลิ่นหอม ท่านผู้เจริญ ท่านควรจะไปเยี่ยมอาศรมของข้าพเจ้าบ้าง ซึ่งประกอบไปด้วยภูมิภาคอันงดงามนั้นบ้าง [๒๒] ผลไม้และเผือกมันซึ่งมีสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอมและมีรสอร่อย ที่อาศรมของข้าพเจ้านั้นมีอยู่เพียงพอ และพวกนายพรานพากันมายังที่นั้นแล้ว ขออย่าได้ลักมูลผลาหาร (มูลผลาหาร คือ อาหารที่ได้จากรากไม้กล่าวคือเหง้า (เหง้าบัว, หัวเผือก, หัวมัน) และผลไม้ทั้งหลายที่มีสีและกลิ่นเป็นต้น) จากอาศรมของข้าพเจ้านั้นไปเลย (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) [๒๓] ขณะนี้ บิดาของข้าพเจ้าไปแสวงหามูลผลาหาร จะกลับมาในตอนเย็น เราทั้ง ๒ จะไปยังอาศรมนั้น ต่อเมื่อบิดากลับมาจากการแสวงหามูลผลาหาร (พระราชธิดานฬินิกาตรัสว่า) [๒๔] ฤๅษีและพระราชฤๅษีทั้งหลายผู้เป็นคนดีเหล่าอื่น มีจานวนมากอยู่ตามทาง ท่านจงถามฤๅษีเหล่านั้นถึงอาศรมของข้าพเจ้าเถิด ฤๅษีเหล่านั้นจักนาท่านไป ณ สถานที่อยู่ของข้าพเจ้าเอง (พระดาบสโพธิสัตว์กลับมาจากป่าแล้วถามว่า) [๒๕] เจ้ามิได้หักฟืน มิได้ตักน้า มิได้ก่อไฟ เพราะเหตุไรหนอ เจ้าจึงเหงาหงอยซบเซาอยู่ [๒๖] แน่ะลูกผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อก่อน ฟืนเจ้าก็หัก ไฟเจ้าก็บูชา แม้ไฟสาหรับผิงเจ้าก็จัดแจงไว้ ตั่งเจ้าก็ตั้งไว้ น้าเจ้าก็ตักไว้เพื่อพ่อ ลูกยังประพฤติพรหมจรรย์รื่นรมย์อยู่หรือ [๒๗] เจ้ามิได้หักฟืน มิได้ตักน้า มิได้ก่อไฟ มิได้หุงต้มโภชนาหาร วันนี้ ลูกยังมิได้ทักทายพ่อเลย สิ่งของอะไรหายหรือ หรือว่าลูกมีทุกข์ใจอะไร
  • 4. 4 (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) [๒๘] ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์ได้มาที่นี่ รูปร่างของเธอสวยงาม น่าชม ไม่สูงเกินไปและไม่เตี้ยเกินไป มีผิวพรรณเปล่งปลั่ง ศีรษะของเธอผู้เจริญดาสวยงาม เพราะปกคลุมด้วยผมอันดาสนิทเป็นเงางาม [๒๙] ไม่มีหนวด บวชได้ไม่นาน ก็เธอมีเครื่องประดับเช่นกับเชิงบาตรอยู่ที่คอ และมีปุ่ม ๒ ปุ่มเกิดที่อกอย่างงดงาม ทั้งคู่มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดังผลมะพลับทองคา [๓๐] อนึ่ง ใบหน้าของเธอน่าทัศนายิ่งนัก กรรเจียกจอนก็ห้อยอยู่ที่หูทั้ง ๒ เมื่อมาณพเดินไปมา มันก็เปล่งประกายแวววาว สายรัดชฎาที่ประดับก็โชติช่วงชัชวาล [๓๑] และเครื่องประดับอย่างอื่นอีก ๔ อย่างของมาณพนั้น มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาว เมื่อมาณพเดินไปมา มันก็แกว่งไกวไปมา เหมือนหมู่นกติรีฏิ ยามเมื่อฝนตก [๓๒] ก็เธอมิได้คาดสายรัดเอวที่ทาด้วยหญ้ามุงกระต่าย เปลือกปอ และหญ้าปล้อง สายรัดเอวนั้นปลิวสะบัดเหมือนสายฟ้ าในอากาศ โชติช่วงอยู่ระหว่างสะเอวกับสะโพก [๓๓] อนึ่ง ผลไม้ทั้งหลายไม่มีใบ ไม่มีขั้ว ติดอยู่ที่สะเอว ใต้สะดือ ไม่กระทบกันเลย ส่ายได้เป็นนิจ พ่อ ผลไม้เหล่านั้นเป็นผลของต้นไม้อะไร [๓๔] ก็แหละชฎา (ชฎาในที่นี้หมายถึงสายผม (เส้นผมหลายเส้นที่ร้อยในลูกปัด) ที่เอาแก้วแซมผูกไว้มีทรงคล้ายชฎา) ของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก มีปลายงอนมากกว่าร้อย มีกลิ่นหอม จัดรูปทรงแบ่งศีรษะเป็นสองส่วนได้อย่างงดงาม ขอให้ชฎาของเราเป็นเช่นนั้นเถิด [๓๕] ก็คราวใดชฎิลนั้นสยายชฎา ที่ประกอบด้วยสีและกลิ่นเหล่านั้น คราวนั้นอาศรมนี้ก็หอมอบอวล เหมือนดอกอุบลเขียวที่ต้องลม [๓๖] เปือกตมที่เรือนร่างชฎิลนั้นก็น่าดูยิ่งนัก หาเป็นเช่นกับกายของเราไม่ พอถูกลมโชยพัดก็หอมฟุ้ ง เหมือนป่าไม้มีดอกบานสะพรั่งปลายฤดูร้อน [๓๗] ชฎิลนั้นตีผลไม้มีรูปอันวิจิตรงดงามน่าดูลงบนพื้นดิน และผลไม้ที่ขว้างไปแล้วย่อมกลับมาสู่มือของชฎิลนั้นอีก พ่อ ผลไม้นั้นเป็ นผลของต้นไม้อะไรหนอ [๓๘] อนึ่ง ฟันของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ขาว เรียบเสมอ เปรียบได้กับสังข์ที่ขัดดีแล้ว เมื่อเธอยิ้ม ย่อมทาใจให้ผ่องใส ชฎิลนั้นคงไม่ได้เคี้ยวผักด้วยฟันเหล่านั้นเป็นแน่
  • 5. 5 [๓๙] คาพูดของเธอไม่หยาบคาย ไม่คลาดเคลื่อน นุ่มนวล อ่อนหวาน ซื่อตรง ไม่ทาให้ฟุ้ งซ่าน ไม่คลอนแคลน เมื่อเปล่งออกมา น้าเสียงของเธอทาให้ฟูใจ ไพเราะจับใจ ดุจเสียงนกการเวก ทาให้ใจของลูกกาหนัดยิ่งนัก [๔๐] เธอมีน้าเสียงหยดย้อย ไม่เป็นถ้อยคาที่น่ารังเกียจ และไม่ประกอบด้วยเสียงอันพึมพา ลูกปรารถนาที่จะได้พบเธออีก เพราะชฎิลหนุ่มได้เป็ นมิตรกับลูกมาก่อน [๔๑] แผลนี้เชื่อมต่อสนิทดี เกลี้ยงเกลาทุกส่วน อูมใหญ่ตั้งอยู่อย่างเหมาะเจาะ งามพร้อมคล้ายกับกลีบบัว ชฎิลหนุ่มขึ้นคร่อมลูกด้วยแผลนั้นนั่นแหละ ใช้บั้นเอวดันขาอ่อนให้เปิดไว้ [๔๒] รัศมีที่แผ่ซ่านจากกายของเธอ เปล่งปลั่งผุดผ่องสว่างไสว เหมือนสายฟ้ าในอากาศ แม้แขนทั้ง ๒ ของเธอก็อ่อนนุ่ม มีขนเช่นกับขนดอกอัญชัน นิ้วของเธอก็กลมกลึงวิจิตรงดงาม [๔๓] เธอมีร่างกายไม่ระคายเคือง มีขนไม่ยาว แต่มีเล็บยาว ปลายเล็บเป็นสีแดง ชฎิลหนุ่มรูปงามกอดรัดลูกด้วยลาแขนทั้งหลาย อันอ่อนนุ่ม บารุงบาเรอให้รื่นรมย์ [๔๔] มือทั้งหลาย ของเธออ่อนนุ่ม คล้ายกับปุยนุ่น งามเปล่งปลั่ง มีผิวพรรณงดงาม กลมกลึงเหมือนแผ่นทองคาอันงดงาม เธอสัมผัสลูกด้วยมือเหล่านั้นแล้วไปจากที่นี่ เพราะสัมผัสนั้น มันจึงเผาลูกให้เร่าร้อนอยู่ นะท่านพ่อ [๔๕] ชฎิลหนุ่มนั้นไม่ได้หาบคอนแน่นอน มิได้หักฟืนเองแน่นอน มิได้โค่นต้นไม้ด้วยขวานแน่นอน เพราะที่ฝ่ามือทั้งหลายของเธอไม่กระด้างเลย [๔๖] ส่วนเจ้าหมีได้ทาให้ชฎิลหนุ่มนั้นเป็ นแผล ชฎิลหนุ่มนั้นได้กล่าวกับลูกว่า ขอท่านช่วยทาให้ข้าพเจ้ามีความสุขด้วยเถิด ลูกได้ช่วยทาให้เธอนั้นมีความสุข เพราะการกระทานั้น ความสุขก็มีแก่ลูกด้วย ท่านผู้ประเสริฐ ก็เธอได้พูดกับลูกว่า ข้าพเจ้ามีความสุขแล้ว [๔๗] เครื่องปูลาดใบเถาย่านทรายของท่านพ่อนี้ กระจัดกระจายไปเพราะลูกกับเธอ เราทั้ง ๒ มีความเหน็ดเหนื่อย จึงรื่นรมย์กันในน้า แล้วพากันเข้ากระท่อมใบไม้อยู่บ่อยๆ [๔๘] ท่านพ่อ วันนี้มนต์ทั้งหลายของลูกไม่แจ่มแจ้งเลย การบูชาไฟและแม้การบูชายัญก็ไม่แจ่มแจ้ง ตราบใดที่ลูกยังไม่พบพรหมจารีนั้น ตราบนั้นลูกจะไม่ยอมบริโภคมูลผลาหารของท่านพ่อ [๔๙] ท่านพ่อ ท่านต้องรู้จักแน่ว่า พรหมจารีอยู่ ณ ทิศใด ขอท่านโปรดช่วยพาลูกไปให้ถึงทิศนั้นโดยเร็วเถิดพ่อ ขอลูกอย่าได้ตายในอาศรมของท่านเลย
  • 6. 6 [๕๐] อนึ่ง ลูกได้ฟังมาว่า ป่าไม้ผลิดอกบานสะพรั่ง วิจิตรสวยงาม กึกก้องไปด้วยเสียงนก มีฝูงนกอยู่อาศัย ท่านพ่อ ขอท่านโปรดช่วยพาลูกไปให้ถึงป่านั้นโดยเร็วเถิด ก่อนที่ลูกจะต้องละชีวิตทิ้งไว้ในอาศรมของท่าน (พระดาบสโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๕๑] ในราวป่าที่มีรัศมีโชติช่วงนี้ ซึ่งมีหมู่คนธรรพ์และเทพอัปสรสถิตอยู่ เป็นที่อยู่ของฤๅษีทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นบัณฑิตไม่ควรถึงความไม่ยินดีเช่นนี้เลย [๕๒] สัตว์ทั้งหลายเป็นมิตรก็มี ไม่เป็นมิตรก็มี พวกเขาทาความรักใคร่ในญาติและมิตรทั้งหลาย ส่วนเจ้ามิคสิงคดาบสนี้จัดว่าเป็นคนเลว เพราะตนเองยังไม่รู้เลยว่า “เรามาจากไหน” กลับไว้ใจ(มาตุคามด้วยสาคัญว่าเป็นมิตร) เพราะเหตุไร [๕๓] เพราะว่า ขึ้นชื่อว่ามิตรย่อมเชื่อมติดต่อกันได้ เพราะการอยู่ร่วมกันบ่อยๆ มิตรนั้นนั่นเองของบุคคลผู้ไม่สมาคมกัน ย่อมเสื่อมไปเพราะการไม่ได้อยู่ร่วมกัน [๕๔] หากลูกจะได้พบเห็นพรหมจารี จะได้เจรจากับพรหมจารี ลูกจะละทิ้งคุณคือตบะนี้โดยเร็วพลัน ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์ถูกห้วงน้าใหญ่พัดพาไป [๕๕] หากลูกจะได้พบเห็นพรหมจารีอีก ได้เจรจากับพรหมจารีอีก ลูกก็จะละทิ้งเดชแห่งสมณะนี้โดยเร็วพลัน ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์ถูกห้วงน้าใหญ่พัดพาไป [๕๖] ลูกเอ๋ย ก็ภูต (ภูต ในที่นี้หมายถึงพวกนางยักษิณี ที่เที่ยวแปลงกายเป็นมนุษย์เพื่อหลอกจับมนุษย์กิน) เหล่านี้ท่องเที่ยวอยู่ในมนุษยโลก ด้วยการแปลงรูปต่างๆ คนมีปัญญาไม่ควรคบหาภูตเหล่านั้น พรหมจารีบุคคลย่อมพินาศไปเพราะเกี่ยวข้องกับภูตนั้น นฬินิกาชาดกที่ ๑ จบ ------------------------ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา นฬินิกาชาดก ว่าด้วย ราชธิดาทาลายตบะของดาบส พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภถึง การประเล้าประโลมของปุราณทุติยิกา จึงตรัสพระดารัสนี้ ดังนี้. ก็พระศาสดา เมื่อจะตรัสจึงถามภิกษุนั้นว่า เธอถูกใครทาให้เบื่อหน่าย? เมื่อภิกษุกราบทูลว่า
  • 7. 7 ถูกภริยาเก่าเป็นผู้ทาให้เบื่อหน่าย ดังนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงคนนี้แลเป็ นผู้ทาความพินาศให้แก่เธอ (ในบัดนี้เท่านั้น หามิได้) แม้ในกาลก่อน เธออาศัยผู้หญิงคนนี้แล้ว เสื่อมจากฌาน เป็นผู้ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ดังนี้ จึงทรงนาอดีตนิทานมาว่า ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ชื่อว่าอุทิจจะ พอเจริญวัยแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะจนจบแล้ว บวชเป็ นฤาษีทาฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นแล้ว ก็สาเร็จการอยู่อาศัยในหิมวันตประเทศ. เพราะอาศัยเหตุนั้น โดยนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วในอุททาลกชาดก นั้นนั่นแล นางเนื้อตัวหนึ่งจึงตั้งท้องแล้วคลอดลูก. เขาได้มีชื่อว่าอิสิสิงโค เทียว. ต่อมา บิดาได้ให้เขาผู้เจริญวัยแล้วบวช ศึกษาเล่าเรียนการบริกรรมกสิณ. มิช้ามินานนัก เขาก็ทาฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นได้ จึงได้เล่นอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่ฌาน ได้เป็นผู้มีตบะกล้าแข็ง มีตบะอย่างยอดเยี่ยม มีอินทรีย์อันชนะอย่างดียิ่ง. เพราะเดชแห่งศีลของดาบสนั้น ภพท้าวสักกเทวราชจึงหวั่นไหว ท้าวสักกเทวราช ทรงใคร่ครวญดูก็ทราบถึงเหตุ คิดว่า เราจักใช้อุบายทาลายศีลของดาบสนี้ให้ได้ จึงห้ามฝนไม่ให้ตก ในกาสิกรัฐทั้งหมดตลอด ๓ ปี. แว่นแคว้นได้เป็ นราวกะว่าถูกไฟแผดเผาแล้ว. เมื่อข้าวกล้าไม่สมบูรณ์ พวกมนุษย์ถูกทุพภิกขภัยเบียดเบียน จึงเรียกกันมาประชุมที่พระลานหลวง. ลาดับนั้น พระราชาประทับยืนอยู่ที่ช่องพระแกล ตรัสถามคนเหล่านั้นว่า นั่นอะไรกัน? พวกมนุษย์ผู้ได้รับความทุกข์ พากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เมื่อฝนไม่ตกตลอด ๓ ปี แว่นแคว้นทั้งสิ้นก็เร่าร้อน แล้วกราบทูลอีกว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงให้ฝนตกเถิด. พระราชา แม้จะสมาทานศีล เข้าจาอุโบสถ ก็ไม่ทรงสามารถจะให้ฝนตกลงมาได้ ในกาลนั้น ท้าวสักกะเสด็จเข้าไปยังห้อง อันประกอบด้วยพระสิริของพระราชาพระองค์นั้น ในเวลาเที่ยงคืน ทรงทาแสงสว่างครั้งหนึ่งแล้ว ได้ประทับยืนที่กลางเวหาส. พระราชาทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างนั้นแล้ว ตรัสถามว่า ท่านเป็นใครกัน? ท้าวสักกะตรัสตอบว่า เราเป็นท้าวสักกะ
  • 8. 8 พระราชาตรัสถามว่า พระองค์เสด็จมาประสงค์อะไรหรือ? ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า มหาราชเจ้าเอย! ฝนในแว่นแคว้นของพระองค์ตกบ้างไหม? พระราชาตรัสว่า ไม่ตกเลย. ท้าวสักกะตรัสถามว่า ก็พระองค์ทรงทราบเหตุที่ฝนไม่ตกหรือเปล่า? พระราชาตรัสว่า ไม่ทราบเลย. ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสชี้แจงว่า มหาราช! ในหิมวันตประเทศมีดาบสชื่อว่า อิสิสิงคะ อาศัยอยู่ พระดาบสนั้นมีตบะกล้าแข็ง มีอินทรีย์อันชนะอย่างดียิ่ง เมื่อฝนตกลงมาเป็นนิตย์ ท่านโกรธแล้วเพ่งดูอากาศ เพราะฉะนั้น ฝนจึงไม่ตก. พระราชาตรัสถามว่า บัดนี้ จะพึงทาอย่างไรดีในเรื่องนี้ ? ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อทาลายตบะของพระดาบสนั้นได้ ฝนก็จักตก. พระราชาตรัสถามว่า ก็ใครเล่าจะสามารถทาลายตบะของพระดาบสนั้นได้. ท้าวสักกะตรัสชี้แจงว่า มหาราช ก็พระราชธิดาพระนามว่า นฬินิกา ของพระองค์นี้แหละ จะเป็ นผู้สามารถ พระองค์จงให้คนเรียกเธอมาแล้วสั่งว่า ลูกจงไปยังสถานที่ชื่อโน้นแล้ว จงทาลายตบะของพระดาบสให้จงได้. ท้าวสักกเทวราชสั่งสอนพระราชาอย่างนั้นแล้ว ก็ได้เสด็จไปยังที่อยู่ของพระองค์ตามเดิม ในวันรุ่งขึ้น พระราชาทรงปรึกษากับพวกอามาตย์แล้ว ตรัสสั่งให้เรียกพระราชธิดามาแล้ว ตรัสพระคาถาแรก ว่า ชนบทเร่าร้อนอยู่ แม้รัฐก็จะพินาศ ดูก่อนลูกนฬินิกา มานี่เถิด เจ้าจงไปนาพราหมณ์ผู้นั้นมาให้เรา. พระราชธิดานั้นสดับคาถานั้นแล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๒ ตอบว่า ข้าแต่พระราชบิดา หม่อมฉันทนความลาบากไม่ได้ ทั้งไม่รู้จักหนทาง จะไปยังป่าที่ช้างอยู่อาศัย ได้อย่างไรเล่า เพคะ. ลาดับนั้น พระราชาจึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า ดูก่อนลูกนฬินิกา เจ้าจงไปอยู่ชนบทที่เจริญด้วยช้าง ด้วยรถ ด้วยยานที่ต่อด้วยไม้ เจ้าจงไปด้วยอาการอย่างนี้เถิดลูก เจ้าจงพากองช้าง กองม้า กองรถ กองพลราบไปแล้ว จักนาพราหมณ์ผู้นั้นมาสู่อานาจได้ ด้วยผิวพรรณ และรูปสมบัติของเจ้า. พระราชาพระองค์นั้นตรัส พระดารัสที่ไม่ควรจะตรัสกับพระราชธิดาอย่างนั้น
  • 9. 9 ก็เพราะมุ่งอาศัยการที่จะรักษาแว่นแคว้น. แม้พระราชธิดานั้น ก็ทูลรับสนองว่า ดีละ. ลาดับนั้น พระราชาได้ทรงพระราชทานสิ่งของที่ควร พระราชทานทั้งหมดแก่อามาตย์แล้ว ทรงส่งพระราชธิดาไปกับพวกอามาตย์. อามาตย์ทั้งหลาย พาพระราชธิดาไปถึงปัจจันตชนบทแล้ว ให้ตั้งค่ายพักแรมในชนบทนั้น ให้ยกพระราชธิดาขึ้นแล้ว เข้าไปยังหิมวันตประเทศ โดยหนทางที่พรานป่าชี้บอก ในเวลาเช้า ก็ถึงที่ใกล้อาศรมบทของดาบสนั้น. ในขณะนั้น พระโพธิสัตว์ให้บุตรเฝ้ าอยู่ที่อาศรมบท ตนเองเข้าไปสู่ป่าเพื่อผลไม้น้อยใหญ่. พวกพรานป่าไม่ไปยังอาศรมบทเอง แต่ยืนอยู่ที่ที่อยู่ของดาบสนั้น เมื่อจะแสดงที่อยู่นั้นแก่พระนางนฬินิกา จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า อาศรมของอิสิสิงคดาบสนั้น ปรากฏด้วยธง คือ ต้นกล้วย แวดล้อมด้วยต้นสมอ เป็นที่น่ารื่นรมย์ นั่นคือแสงไฟ นั่นคือควันเห็นปรากฏอยู่ อิสิสิงคดาบส ผู้มีฤทธิ์มาก เห็นจะไม่ทาให้ไฟเสื่อม. ฝ่ายพวกอามาตย์พากันแวดล้อมอาศรม ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เข้าไปสู่ป่าทันที ก็พากันตั้งกองอารักขา ให้พระราชธิดาถือเพศเป็นฤาษี เอาผ้าใยไม้สีทองชนิดบางทาเป็นผ้านุ่งผ้าห่ม ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพแล้ว ให้พระราชธิดาถือเอาลูกข่างอันวิจิตรผูกด้วยเส้นด้าย ส่งเข้าไปยังอาศรมบท พวกตนเองพากันยืนอารักขาอยู่ภายนอก. พระราชธิดานั้นเล่นลูกข่างนั้นพลาง ก็ล่วงล้าถึงที่สุดจงกรม. ในขณะนั้น อิสิสิงคดาบสกาลังนั่งอยู่แล้ว บนแผ่นหินที่ใกล้ซุ้มประตูบรรณศาลา พระดาบสนั้นมองเห็นหญิงนั้นกาลังเดินมา ตกใจกลัว ลุกขึ้นแล้วเข้าไปยังบรรณศาลา หยุดยืนอยู่. แม้พระราชธิดานั้น ก็ไปยังประตูบรรณศาลาของพระดาบสนั้นแล้ว ก็เล่น (ลูกข่าง) ต่อไปอีก. ก็พระศาสดา เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก จึงได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถาว่า อิสิสิงคดาบสเห็นพระราชธิดา ผู้สวมใส่กุณฑล แก้วมณี เสด็จมาอยู่ กลัวแล้ว เข้าไปสู่อาศรมที่มุงด้วยใบไม้ ส่วนพระราชธิดาแสดงอวัยวะที่ซ่อนเร้น และอวัยวะที่ปรากฏ เล่นลูกข่างอยู่ที่ประตูอาศรมของดาบสนั้น ฝ่ายดาบสผู้อยู่ในบรรณศาลา เห็นพระนางกาลังเล่นลูกข่างอยู่ จึงออกจากอาศรม แล้วได้กล่าวคานี้. เพราะฉะนั้น จึงเล่าว่า อิสิสิงคดาบสออก(จากอาศรม)
  • 10. 10 แล้วกล่าวคานี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ต้นไม้ของท่านที่มีผลเป็นไปอย่างนี้ มีชื่อว่าอะไร แม้ท่านขว้างไปไกลก็กลับมา มิได้ละท่านไปเลย. ลาดับนั้น พระราชธิดานั้น เมื่อจะบอกจึงได้ตรัสคาถานี้แก่พระดาบสนั้นว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ต้นไม้ที่มีผลเป็นไปอย่างนี้นั้น มีอยู่มากที่ภูเขาคันธมาทน์ ณ ที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า ผลไม้นั้น แม้ข้าพเจ้าขว้างไปไกลก็กลับมา ไม่ละข้าพเจ้าไปเลย. พระราชธิดานั้นได้กล่าวมุสาวาท ดังนี้แล. ฝ่ายพระดาบสเชื่อแล้ว เมื่อจะทาการต้อนรับ ด้วยสาคัญว่า ท่านผู้นั้นเป็ นพระดาบส จึงกล่าวคาถานี้ว่า เชิญท่านผู้เจริญ จงเข้ามาสู่อาศรมนี้ จงบริโภค จงรับน้ามันและภักษา เราจักให้ นี้อาสนะ เชิญท่านนั่งบนอาสนะนี้ เชิญบริโภคเหง้ามันและผลไม้แต่ที่นี้เถิด. พระดาบสพอเห็น อวัยวะส่วนที่ปกปิดแห่งสรีระของมาตุคาม เพราะค่าที่ตนไม่เคยเห็นมาแต่ก่อน จึงสาคัญว่า นั่นเป็ นแผล แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ในระหว่างขาอ่อนทั้งสองของท่าน นี้เป็นอะไร มีสัณฐานเรียบร้อย ปรากฏดุจสีดา เราถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า อวัยวะส่วนยาวของท่าน เข้าไปอยู่ในฝักหรือหนอ. ลาดับนั้น พระราชธิดานั้น เมื่อจะหลอกลวงพระดาบสนั้น จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า ข้าพเจ้านี้ เที่ยวแสวงหามูลผลาหารในป่า ได้พบหมีมีรูปร่างน่ากลัวยิ่งนัก มันวิ่งไล่ข้าพเจ้ามาโดยเร็ว มาทันเข้าแล้ว ทาให้ข้าพเจ้าล้มลงแล้ว มันกัดอวัยวะส่วนยาวของข้าพเจ้าเสีย แผลนั้นก็เหวอะหวะ และเกิดคันขึ้น ข้าพเจ้าไม่ได้ความสบายตลอดกาลทั้งปวง ท่านคงสามารถกาจัดค วามคันนี้ได้ ข้าพเจ้าวิงวอนแล้ว ขอท่านได้โปรดกระทาประโยชน์ให้แก่ข้าพเจ้า ผู้เป็นพราหมณ์เถิด. พระดาบสนั้นเชื่อคามุสาวาทของพระราชธิดานั้นว่า เป็นจริง จึงคิดว่า ถ้าความสุขอย่างนั้นจะมีแก่ท่านไซร้ ข้าพเจ้าก็จักทาให้ดังนี้แล้ว ก็มองดูส่วนตรงนั้นแล้ว กล่าวคาถาถัดไปว่า แผลของท่านลึก มีสีแดง ไม่เน่าเปื่อย มีกลิ่นเหม็น และเป็นแผลใหญ่ เราจะประกอบกระสายยาหน่อยหนึ่งให้ท่าน ตามที่ท่านจะพึงมี
  • 11. 11 ความสุขอย่างยิ่ง. ลาดับนั้น พระนางนฬินิกา จึงตรัสคาถาว่า ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ การประกอบมนต์ก็ดี การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถก็ดี ย่อมแก้ไม่ได้ ขอท่านจงเอาองคชาตอันอ่อนนุ่มของท่าน เสียดสีกาจัดความคัน ตามที่ข้าพเจ้าจะพึงมีความสุขอย่างยิ่งเถิด. ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ผู้เจริญ การประกอบมนต์ก็ดี การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถมี ดอกและผลเป็ นต้นก็ดี ที่แผลของข้าพเจ้านี้ ย่อมแก้ไม่ได้เลย คือการประกอบมนต์เป็ นต้นเหล่านั้น ถึงจะทาแล้วหลายๆ ครั้ง ก็ไม่เป็นความผาสุกสบายแก่แผลนั้นเลย แต่เมื่อท่านใช้องคชาตอันอ่อนนุ่มของท่านนั้น เสียดสีไปมาเท่านั้น ความคันก็จะไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ขอท่านช่วยเอาองคชาตนั้น กาจัดความคันให้ทีเถอะ. พระดาบสนั้นกาหนดว่าคนคนนั้นพูดจริง ไม่รู้เลยว่า ศีลจะขาด ฌานจะเสื่อม ด้วยเมถุนสังสัคคะ เมื่อพระราชธิดานั้นกล่าวว่า เภสัช ดังนี้ เพราะความไม่รู้จักเมถุนธรรม เหตุที่ตนไม่เคยเห็นมาตุคามมาก่อน จึงเสพเมถุนธรรม ในทันทีนั้น ศีลของดาบสนั้นก็ขาด ฌานก็เสื่อม. ดาบสนั้นกระทาการร่วมสังวาส ๒-๓ ครั้ง ก็เหนื่อยอ่อน จึงออกไปลงสู่สระอาบน้า ระงับดับความกระวนกระวายแล้ว กลับมานั่ง ณ บรรณศาลา ถึงขนาดนั้นก็ยังสาคัญคนคนนั้นว่า เป็นดาบสอยู่อีก เมื่อจะถามถึงที่อยู่ จึงกล่าวคาถาว่า อาศรมของท่านอยู่ทางทิศไหน แต่ที่นี้หนอ ท่านย่อมรื่นรมย์อยู่ในป่าแลหรือ มูลผลาหารของท่านมีเพียงพอแลหรื อ สัตว์ร้ายไม่เบียดเบียนท่านแลหรือ. ลาดับนั้น พระนางนฬินิกาได้ตรัสคาถา ๔ คาถาว่า แม่น้าชื่อเขมาย่อมปรากฏแต่ป่าหิมพานต์ ในทิศเหนือตรงไปแต่ที่นี้ อ าศรมอันน่ารื่นรมย์ของข้าพเจ้าอยู่ที่ฝั่งแม่น้านั้น ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้าบ้าง ต้นมะม่วง ต้นรัง ต้นหมากเม่า ต้นหว้า ต้นราชพฤกษ์ ต้นแคฝอย มีดอกบานสะพรั่ง ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้า ซึ่งมีกินนรขับร้องอยู่โดยรอบ ต้นตาล มูลมัน ผลไม้ที่อาศรมของเรานั้น มีผลประกอบด้วยสีและกลิ่น ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้า อันประกอบด้วยภูมิภาคสวยงามนั้น บ้าง ผลไม้ เหง้าไม้ที่อาศรมของข้าพเจ้ามีมาก ประกอบด้วยสี กลิ่น และรส พวกพรานย่อมมาสู่ประเทศนั้น อย่าได้มาลักมูลผลาหารไปจากอาศรมของข้าพเจ้านั้นเลย.
  • 12. 12 ดาบสได้สดับดังนั้นแล้ว เพื่อจะยับยั้งพระราชธิดาไว้ จนกว่าบิดาตนจะกลับมา จึงกล่าวคาถาว่า บิดาของเราไปแสวงหามูลผลาหาร จะกลับมาในเย็นวันนี้ เราทั้งสองจะไปสู่อาศรมนั้นได้ ก็ต่อเมื่อ บิดากลับมาจากการแสวงหามูลผลาหาร. ลาดับนั้น พระราชธิดานั้นคิดแล้วว่า ดาบสนี้ไม่รู้ว่าเราเป็นหญิง เพราะค่าที่ท่านเจริญเติบโตมาในป่าเท่านั้น ตั้งแต่แรก แต่บิดาของดาบสนั้น พอเห็นเราเข้าก็รู้ทันที คงถามว่า เจ้ามาทาอะไรในที่นี้? แล้วคงจะเอาปลายไม้คานตีเรา แม้ศีรษะของเราก็ต้องแตก เราควรจะไปเสีย ในเวลาที่บิดาของเขายังไม่มาดีกว่า ถึงหน้าที่ในการมาของเรา ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว. พระราชธิดานั้น เมื่อจะบอกอุบายแห่งการมาแก่ดาบสนั้น จึงกล่าวคาถานอกนี้ว่า พราหมณ์ ฤาษี และราชฤาษี ผู้มีรูปสวยเหล่าอื่นเป็ นอันมาก ย่อมอยู่ใกล้ทางโดยลาดับ ท่านพึงถามถึงอาศรมของข้าพเจ้ากะท่านพวกนั้นเถิด ท่านพวกนั้นจะพาท่านไปในสานักของข้าพเจ้า. พระราชธิดานั้นกระทาอุบาย สาหรับที่ตนจะหนีไปอย่างนั้นแล้ว ออกจากบรรณศาลาแล้ว กล่าวกะดาบส ผู้กาลังมองดูอยู่นั่นแหละว่า ท่านกลับไปเถอะ แล้วได้ไปยังสานักของพวกอามาตย์ โดยหนทางที่มานั่นแล. พวกอามาตย์เหล่านั้นได้พาพระราชธิดานั้นไปยังค่ายพักแรมแล้ว ก็ไปถึงกรุงพาราณสีโดยลาดับ. ในวันนั้นนั่นเอง แม้ท้าวสักกเทวราชก็ทรงดีใจ ยังฝนให้ตกชุ่มฉ่าทั่วแว่นแคว้น. ต่อแต่นั้นมา ชนบทก็ได้มีภิกษาสมบูรณ์. พอพระราชธิดานั้นกลับไปแล้วเท่านั้น ความเร่าร้อนก็เกิดขึ้นในร่างกายแม้ของอิสิสิงคดาบส. ดาบสนั้นหวั่นไหวใจ เข้าไปยังบรรณศาลา เอาผ้าป่านคลุมร่าง นอนเศร้าโศกอยู่แล้ว. ในเวลาเย็น พระโพธิสัตว์กลับมามองไม่เห็นบุตร จึงคิดว่า เขาไปเสียในที่ไหนหนอ แล้ววางหาบเข้าไปยังบรรณศาลา มองเห็นเขานอน จึงลูบหลังพลางถามว่า ลูกเอ๋ย! เจ้าทาอะไร แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า ฟืนเจ้าก็ไม่หัก น้าเจ้าก็ไม่ตัก แม้ไฟเจ้าก็ไม่ติด เจ้าอ่อนใจซบเซาอยู่ทาไมหนอ ดูก่อนเจ้าผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อก่อนฟืนเจ้าก็หัก ไฟเจ้าก็ติด แม้ไฟสาหรับผิงเจ้าก็จัดได้ ตั่งเจ้าก็ตั้ง น้าเจ้าก็ตักไว้ให้เรา วันอื่นๆ เจ้าเป็นผู้ประเสริฐดีอยู่
  • 13. 13 วันนี้เจ้าไม่หักฟืน ไม่ตักน้า ไม่ติดไฟ ไม่จัดเครื่องบริโภคไว้ ไม่ทักทายเรา ของอะไรของเจ้าหายไปหรือ หรือว่าเจ้ามีทุกข์ในใจอะไร. ดาบสนั้นฟังคาของบิดาแล้ว เมื่อจะเล่าถึงเหตุการณ์นั้นให้ทราบ จึงเรียนว่า ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์มาในอาศรมนี้ มีรูปร่างน่าดู น่าชม เอวเล็กเอวบาง ไม่สูงนัก ไม่ต่านัก รัศมีสวยงาม มีศีรษะปกคลุมด้วยผมอันดาเป็นเงางาม ไม่มีหนวด บวชไม่นาน มีเครื่องประดับเป็ นรูปเชิงบาตรอยู่ที่คอ มีปุ่มสองปุ่มงามเปล่งปลั่งดังก้อนทองคา เกิดดีแล้วที่อก หน้าของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก มีกรรเจียกจอนห้อยอยู่ที่หูทั้งสองข้าง กรรเจียกเหล่านั้น ย่อมแวววาว เมื่อชฏิลนั้นเดินไปมา สายพันชฎาก็งาม แพรวพราว เครื่องประดับเหล่าอื่นอีกสี่อย่างของชฎิลนั้น มีสีเขียว เหลือง แดง และขาว เมื่อชฎิลนั้นเดินไปมา เครื่องประดับเหล่านั้นย่อมดังกริ่งกร่าง เหมือนฝูงนกติริฏิร้องในเวลาฝนตก ฉะนั้น ชฎิลนั้นไม่ได้คาดเครื่องรัดเอวที่ทาด้วยหญ้าปล้อง ไม่ได้นุ่งผ้าที่ทาด้วยเปลือกไม้ เหมือนของพวกเรา ผ้าเหล่านั้นพันอยู่ที่ระหว่างแข้งงามโชติช่วง ปลิวสะบัดดังสายฟ้ าแลบอยู่ในอากาศ ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิลนั้นมีผลไม้ไม่สุก ไม่มีขั้ว ติดอยู่ที่สะเอวภายใต้นาภี ไม่กระทบกัน กระดูกเล่นอยู่เป็ นนิตย์ อนึ่ง ชฎิลนั้นมีชฎาน่าดูยิ่งนัก มีปลายงอนมากกว่าร้อย มีกลิ่นหอม มีศีรษะอันแบ่งด้วยดีเป็นสองส่วน โอ ขอให้ชฎาของเรา จงเป็ นเช่นนั้นเถิดหนอ และในคราวใด ชฎิลนั้นขยายชฎาอันประกอบด้วยสีและกลิ่น ในคราวนั้น อาศรมก็หอมฟุ้ งไป เหมือนดอกอุบลเขียวที่ถูกลมราเพยพัด ฉะนั้น ผิวพรรณของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ไม่เป็นเช่นกับผิวพรรณที่กายของข้าพเจ้า ผิวกายของชฎิลนั้น ถูกลมราเพยพัดแล้วย่อมหอมฟุ้ งไป ดุจป่าไม้ อันมีดอกบานในฤดูร้อน ฉะนั้น ชฎิลนั้นตีผลไม้อันวิจิตรงามน่าดูลงบนพื้นดิน และผลไม้ที่ขว้างไปแล้ว ย่อมกลับมาสู่มือของเขาอีก ข้าแต่ท่านพ่อ ผลไม้นั้นชื่อผลอะไรหนอ อนึ่ง ฟันของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ขาวสะอาด เรียบเสมอกันดังสังข์อันขัดดีแล้ว เมื่อชฎิลเปิดปากอยู่ ย่อมยังใจให้ผ่องใส ชฎิลนั้นคงไม่ได้เคี้ยวผักด้วยฟันเหล่านั้นเป็นแน่ คาพูดของเขาไม่หยาบคาย ไม่เคลื่อนคลาด ไพเราะ อ่อนหวาน ตรง ไม่ฟุ้ งซ่าน ไม่คลอนแคลน เสียงของเขาเป็นเครื่องฟูใจ จับใจดังเสียงนกการเวก นาใจของข้าพเจ้าให้กาหนัดยิ่งนัก เสียงของเขาหยดย้อย
  • 14. 14 เป็นถ้อยคาไม่สะบัดสะบิ้ง ไม่ประกอบด้วยเสียงพึมพา ข้าพเจ้าปรารถนาจะได้เห็นเขาอีก เพราะชฎิลนั้นเป็ นมิตรของข้าพเจ้ามาก่อน แผลที่ต่อสนิทดี เกลี้ยงเกลาในที่ทั้งปวงใหญ่ เกิดดีแล้วคล้ายกับกลีบบัว ชฎิลนั้นให้ข้าพเจ้าคร่อมตรงแผลนั้น แหวกขาเอาแข้งบีบไว้ รัศมีซ่านออกจากกายของชฎิลนั้น ย่อมเปล่งปลั่งสว่างไสวรุ่งเรือง ดังสายฟ้ าอันแลบแปลบปลาบอยู่ในอากาศ ฉะนั้น อนึ่ง แขนทั้งสองของชฎิลนั้นอ่อนนุ่ม มีขนเหมือนขนดอกอัญชัน แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้น ก็ประกอบด้วยนิ้วมืออันเรียววิจิตรงดงาม ชฎิลนั้นมีอวัยวะไม่ระคาย มีขนไม่ยาว เล็บยาว ปลายเป็นสีแดง ชฎิลนั้นมีรูปงาม กอดรัดข้าพเจ้าด้วยแขนทั้งสองอันอ่อนนุ่ม บาเรอให้รื่นรมย์ ข้าแต่ท่านพ่อ มือทั้งสองของชฎิลนั้นอ่อนนุ่มคล้ายสาลี งามเปล่งปลั่ง พื้นฝ่ามือเกลี้ยงเกลา เหมือนแว่นทอง ชฎิลนั้นกอดรัดข้าพเจ้า ด้วยมือทั้งสองนั้นแล้ว ไปจากที่นี้ ย่อมทาให้ข้าพเจ้าเร่าร้อนด้วยสัมผัสนั้น ชฎิลนั้นมิได้นาหาบมา มิได้หักฟืนเอง มิได้ฟันต้นไม้ด้วยขวาน แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้นก็ไม่มีความกระด้าง หมีได้กัดชฎิลนั้นเป็นแผล เธอจึงกล่าวกะข้าพเจ้าว่า ขอท่านช่วยทาให้ข้าพเจ้ามีความสุขเถิด ข้าพเจ้าจึงช่วยทาให้เธอมีความสุข และความสุข ก็เกิดมีแก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าแต่ท่านผู้เป็นพรหม เธอได้บอกข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ามีความสุขแล้ว ก็ที่อันปูลาดด้วยใบเถาย่างทรายของท่านนี้ กระจุยกระจายแล้ว เพราะข้าพเจ้าและชฎิลนั้น เราทั้งสองเหน็ดเหนื่อยแล้ว ก็รื่นรมย์กันในน้า แล้วเข้าสู่กุฏิอันมุงบังด้วยใบไม้บ่อยๆ ข้าแต่ท่านพ่อ วันนี้ มนต์ทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้าเลย การบูชาไฟข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย แม้การบูชายัญ ในที่นั้นข้าพเจ้าก็ไม่ชอบใจ ตราบใดที่ข้าพเจ้า ยังมิได้พบเห็นชฎิล ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ข้าพเจ้าจะไม่บริโภคมูลผลาหารของท่านพ่อเลย ข้าแต่ท่านพ่อ แม้ท่านพ่อย่อมรู้เป็นแน่แท้ว่า ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ทิศใด ขอท่านพ่อจงพาข้าพเจ้าไปให้ถึงทิศนั้นโดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าอย่าได้ตายเสียในอาศรมของท่านเลย ข้าแต่ท่านพ่อ ข้าพเจ้าได้ฟังถึงป่าไม้อันวิจิตรมีดอกบาน กึกก้องไปด้วยเสียงนกร้อง มีฝูงนกอาศัยอยู่ ขอท่านพ่อช่วยพาข้าพเจ้าไปให้ถึงป่าไม้นั้น โดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าจะต้องละชีวิตเสียก่อนในอาศรมของท่านพ่อเป็นแน่.
  • 15. 15 เมื่อดาบสนั้นกาลังพร่าเพ้ออยู่นั่นเอง พระมหาโพธิสัตว์ได้ฟังคาพร่าเพ้อนั้นแล้ว ก็ทราบว่า ศีลของดาบสนี้ เห็นทีจักถูกผู้หญิงคนหนึ่งทาลายให้ขาดเสียแล้วเป็ นแน่ ดังนี้ เมื่อจะกล่าวสอนดาบสนั้น จึงกล่าวคาถา ๖ คาถา ความว่า เราไม่ควรให้เจ้าผู้ยังเป็ นเด็กเช่นนี้ ถึงความกระสันในป่าโชติรส ที่หมู่คนธรรพ์และเทพอัปสรซ่องเสพ เป็นที่อยู่อาศัยแห่งฤาษีทั้งหลาย ในกาลก่อน พวกมิตรย่อมมีบ้าง ไม่มีบ้าง ชนทั้งหลาย ย่อมทาความรักในพวกญาติและพวกมิตร กุมารใดย่อมไม่รู้ว่า เราเป็นผู้มาแต่ไหน กุมารนี้เป็นผู้ลามก อยู่ในกลางวัน เพราะเหตุอะไร มิตรสหายย่อมสนิทกันบ่อยๆ เพราะความอยู่ร่วมกัน มิตรนั้นนั่นแหละย่อมเสื่อมไป เพราะความไม่อยู่ร่วมของบุรุษที่ไม่สมาคม ถ้าเจ้าได้เห็นพรหมจารี ได้พูดกับพรหมจารี เจ้าจักละคุณคือตปธรรมนี้เร็วไว ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้ว เสียไปเพราะน้ามาก ฉะนั้น หากเจ้าได้เห็นพรหมจารีอีก ได้พูดกับพรหมจารีอีก เจ้าจักละสมณเดชนี้เร็วไว ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้ว เสียไปเพราะน้ามาก ฉะนั้น ดูก่อนลูกรัก พวกยักษ์นั้นย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก โดยรูปแปลกๆ นรชนผู้มีปัญญา ไม่พึงคบพวกยักษ์นั้น พรหมจารีย่อมฉิบหายไป เพราะความเกาะเกี่ยวกัน. พระโพธิสัตว์กล่าวสอนแล้วซึ่งบุตรอย่างนี้ว่า ดูก่อนลูกรัก ก็ภูต คือพวกยักษ์เหล่านี้ ย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก โดยรูปร่างของตนปกปิดรูปแปลกๆ ไว้ ก็เพื่อเคี้ยวกินพวกคนที่ตกไปสู่อานาจของตน นรชนผู้มีปัญญา ไม่พึงคบหาพวกภูตคือยักษ์เหล่านั้น เพราะถึงความเกาะเกี่ยวกันเช่นนั้น การประพฤติพรหมจรรย์ย่อมฉิบหายไป เจ้าถูกนางยักษิณีนั้นพบเห็นแล้ว แต่ยังไม่ถูกเคี้ยวกิน. ดาบสนั้นได้ฟังถ้อยคาของบิดาแล้ว เกิดความกลัวขึ้นว่า เพิ่งทราบว่า หญิงคนนั้นคือนางยักษิณี จึงกลับใจแล้ว ขอขมาคุณพ่อว่า คุณพ่อครับ ผมจักไม่ขอไปจากที่นี้ พ่อยกโทษให้ผมเถอะ. แม้พระโพธิสัตว์นั้นปลอบใจให้ลูกสบายใจแล้ว จึงบอกถึงวิธีการเจริญพรหมวิหา รว่า มาณพน้อยเอ๋ย! เจ้ามานี่ซิ เจ้าจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาเถิด. ดาบสนั้นปฏิบัติตามอย่างนั้นแล้ว
  • 16. 16 ก็ทาฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นได้อีก. พระศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแล้ว ทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ อุกกัณฐิตภิกษุ ดารงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระราชธิดานฬินิกา ในกาลนั้น ได้เป็ น ปุราณทุติยิกา. อิสิสิงคดาบส ได้เป็น อุกกัณฐิตภิกษุ ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้เป็นบิดา ก็คือ เรา นั่นเอง. -----------------------------------------------------