SlideShare a Scribd company logo
1
โสณกชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๑๙. สัฏฐินิบาต
๑. โสณกชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๒๙)
ว่าด้วยพระราชาพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร
(พระเจ้าอรินทมะตรัสว่า)
[๑] โสณกะสหายเล่นฝุ่นของเรา ใครได้สดับข่าวแล้วมาบอก
เราจะให้ทรัพย์หนึ่งร้อย ใครได้พบเห็นแล้วมาบอก เราจะให้ทรัพย์หนึ่งพัน
(พระศาสดาได้ตรัสหนึ่งคาถาครึ่งว่า)
[๒] ลาดับนั้น เด็กน้อยไว้ผม ๕ แหยม ได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
ขอพระองค์ทรงประทานทรัพย์หนึ่งร้อย แก่ข้าพระองค์ผู้สดับข่าวแล้วมากราบทูล
และขอทรงประทานทรัพย์หนึ่งพัน แก่ข้าพระองค์ผู้ได้พบเห็นโสณกะ
ข้าพระองค์จักกราบทูลถึงโสณกะพระสหายเล่นฝุ่นแก่พระองค์
(พระราชาสดับดังนั้นแล้วตรัสถามว่า)
[๓] เขาอยู่ในชนบท แคว้น และนิคมไหน พ่อได้พบโสณกะ ณ ที่ไหน
พ่อจงตอบเนื้อความที่เราถามนั้นเถิด
(เด็กน้อยกราบทูลว่า)
[๔] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ในแคว้นของพระองค์นั่นเอง ณ
ภาคพื้นแห่งพระอุทยานของพระองค์นั่นแหละ มีต้นรังใหญ่หลายต้น
ซึ่งมีลาต้นตรง มีสีเขียวชะอุ่ม น่ารื่นรมย์ใจ
[๕] ยืนต้นประสานอาศัยกันและกัน เสมอเหมือนกลุ่มเมฆ น่ารื่นรมย์
เมื่อชาวโลกมีความยึดมั่น ถูกแผดเผาอยู่ โสณกะไม่มีความยึดมั่น เป็ นผู้ดับแล้ว
เพ่งฌานอยู่ ณ โคนต้นรังเหล่านั้น
[๖] ลาดับนั้นแล พระราชาได้เสด็จไปพร้อมด้วยเสนา ๔ เหล่า
ตรัสสั่งให้ปรับหนทางให้เรียบเสมอแล้ว
ได้เสด็จไปจนถึงที่อยู่ของโสณกปัจเจกพุทธะ
[๗] ครั้นเสด็จถึงภูมิภาคพระอุทยาน จึงเสด็จเที่ยวไปในป่าใหญ่
ทอดพระเนตรเห็นโสณกปัจเจกพุทธะ ผู้นั่งสงบเย็น ในเมื่อชาวโลกเร่าร้อนอยู่
(พระราชาตรัสว่า)
[๘] ภิกษุนี้เป็นคนเข็ญใจหนอ มีศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิ ไม่มีแม่
ไม่มีพ่อ เพ่งฌานอยู่ที่โคนต้นไม้
[๙] พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้าสดับพระดารัสนี้แล้ว จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า
ขอถวายพระพรมหาบพิตร บุคคลผู้สัมผัสธรรมด้วยกายไม่จัดว่าเป็นคนเข็ญใจ
2
[๑๐] บุคคลใดในโลกนี้รังเกียจธรรม ประพฤติตามอธรรม
บุคคลนั้นจัดว่าเป็นคนเข็ญใจ เป็นคนชั่ว มีบาปติดตามไปในภายหน้า
(พระราชาโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๑๑] โยมมีชื่อว่าอรินทมะ มหาชนรู้จักโยมว่าพระเจ้ากาสี
พระคุณเจ้าโสณกะ พระคุณเจ้าผู้เจริญ มาถึงสถานที่นี้ จาวัดสบายหรือ
(พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า แสดงความเจริญของสมณะแด่พระราชาว่า)
[๑๒] ความเจริญข้อที่ ๑ ย่อมมีแม้ในกาลทุกเมื่อแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์
ไม่มีบ้านเรือน คือ ข้าวเปลือกไม่เข้าไป(มี)อยู่ในฉาง ในหม้อ
ในกระเช้าของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นแสวงหาอาหารสาเร็จ
ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารนั้น เป็ นผู้มีวัตรดีงาม
[๑๓] ความเจริญข้อที่ ๒ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ
ภิกษุพึงฉันก้อนข้าวที่ไม่มีโทษ และกิเลสไรๆ จะไม่เข้าไปรบกวนท่าน
[๑๔] ความเจริญข้อที่ ๓ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ
ภิกษุพึงฉันก้อนข้าวที่เย็น และกิเลสไรๆ จะไม่เข้าไปรบกวนท่าน
[๑๕] ความเจริญข้อที่ ๔ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ
ความเกี่ยวข้องย่อมไม่มี แก่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว เที่ยวจาริกไปในแคว้น
[๑๖] ความเจริญข้อที่ ๕ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ
เมื่อบ้านเมืองถูกไฟไหม้ ท่านไม่มีอะไรจะถูกเผาไหม้
[๑๗] ความเจริญข้อที่ ๖ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ
เมื่อแคว้นถูกโจรปล้น ท่านก็ไม่มีอะไรจะให้โจรปล้น
[๑๘] ความเจริญข้อที่ ๗ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ
หนทางใดที่พวกโจรยึดครองก็ดี หนทางอื่นใดที่มีอันตรายก็ดี ภิกษุผู้มีวัตรดีงาม
ถือบาตรและจีวรไปได้อย่างปลอดภัย
[๑๙] ความเจริญข้อที่ ๘ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ
จะหลีกไปยังทิศใดๆ ก็ไปยังทิศนั้นๆ ได้อย่างไม่ต้องห่วงใย
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๐] พระคุณเจ้าโสณกะผู้เห็นภัย
พระคุณเจ้าสรรเสริญความเจริญของภิกษุเหล่านั้นมากมาย
แต่โยมยังติดอยู่ในกามทั้งหลาย จะทาอย่างไรได้เล่า
[๒๑] กามทั้งหลายอันเป็ นของมนุษย์ โยมก็พึงพอใจ
ถึงแม้กามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ โยมก็พึงพอใจ เมื่อเป็นเช่นนั้น
ทาอย่างไรหนอโยมจึงจะได้กามทั้ง ๒ ในโลก
(พระปัจเจกพุทธเจ้ากราบทูลว่า)
[๒๒] คนทั้งหลายผู้ติดอยู่ในกาม ยินดีในกาม
หมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย กระทาบาปแล้วย่อมเข้าถึงทุคติ
3
[๒๓] ส่วนคนเหล่าใดละกามทั้งหลาย เป็นผู้ออกแล้วจากกาม
ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ บรรลุถึงความเป็ นสมาธิอันแน่วแน่
คนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
[๒๔] ขอถวายพระพร พระเจ้าอรินทมะ
อาตมภาพจักยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบ โปรดสดับข้ออุปมานั้น
บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความได้ด้วยการเปรียบเทียบ
[๒๕] กาตัวหนึ่งมีปัญญาน้อยเพราะไม่มีความคิด
เห็นซากศพถูกแม่น้าคงคาพัดลอยไปในห้วงน้าใหญ่ จึงคิดว่า
[๒๖] “ยานนี้เราได้แล้วหนอ และซากศพนี้จักเป็นอาหารมิใช่น้อย
ได้เป็นผู้มีใจยินดีไม่เสื่อมคลายในซากศพนั้นเท่านั้น ตลอดคืนตลอดวัน
[๒๗] เมื่อกาจิกกินเนื้อช้าง ดื่มน้าในแม่น้าคงคาอยู่
เมื่อเห็นต้นไม้ใหญ่ๆ ในป่า ก็ไม่โผบินขึ้นไป
[๒๘] ก็แม่น้าคงคาได้ไหลพัดพาเอากาตัวประมาท
ยินดีในซากศพตัวนั้นไปยังสมุทร ซึ่งเป็ นสถานที่ที่ฝูงนกบินไปไม่ได้
[๒๙] ก็กาตัวนั้นสิ้นอาหารแล้วจึงตกลงไปในน้า
จะบินไปข้างหลังก็ไม่ได้ ข้างหน้าก็ไม่ได้ ด้านเหนือก็ไม่ได้ ด้านใต้ก็ไม่ได้
[๓๐] มันบินไปไม่ถึงเกาะซึ่งเป็ นสถานที่ที่ฝูงนกบินไปไม่ได้
และมันก็ตกลงไปในสมุทรนั้นเองโดยอาการหมดกาลัง
[๓๑] อนึ่ง ฝูงปลา จระเข้ มังกร ปลาร้ายชื่อสุสุ
ที่อยู่ในสมุทรก็พากันข่มเหงฮุบกินกานั้น ซึ่งกาลังดิ้นรนจนขนปีกขาด
[๓๒] ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์ก็ดี
คนเหล่าอื่นที่ยังบริโภคกามก็ดี ถ้าจักยังกาหนัดไม่คายกามเสียก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ชนเหล่านั้นบัณฑิตทั้งหลายรู้ว่า มีปัญญาเพียงดังกา
[๓๓] ขอถวายพระพรมหาบพิตร
นี้เป็นอุปมาที่แสดงเนื้อความอย่างชัดเจน ซึ่งอาตมภาพกล่าวถวายแด่มหาบพิตร
มหาบพิตรจะทรงกระทาหรือไม่ก็ตาม มหาบพิตรก็จักปรากฏตามเหตุนั้น
(พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวสรุปว่า)
[๓๔] บุคคลผู้มีความเอ็นดู พึงกล่าวเพียงคาเดียวหรือสองคาเท่านั้น
ไม่กล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้นเหมือนทาสในสานักของนาย
(พระบรมศาสดาตรัสว่า)
[๓๕] พระโสณกปัจเจกพุทธะผู้มีความรู้อันนับมิได้
ครั้นกล่าวคานี้แล้วจึงเหาะขึ้นไปในอากาศ
พร่าสอนบรมกษัตริย์แล้วเหาะไปในอากาศ
(พระราชาตรัสว่า)
4
[๓๖] บุคคลผู้ได้รับการศึกษา ถึงพร้อมด้วยความเฉียบแหลม
ที่จะครอบครองราชสมบัติเหล่านี้มีอยู่ที่ไหนหนอ เราจักมอบราชสมบัติให้
เราไม่มีความต้องการราชสมบัติ
[๓๗] เราจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า
ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
ขอเราอย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย
(พวกอามาตย์ได้ฟังแล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๓๘] พระราชบุตรองค์น้อยของพระองค์ทรงพระนามว่าทีฆาวุกุมาร
ผู้จะผดุงรัฐให้เจริญมีอยู่
ขอพระองค์ทรงอภิเษกพระราชบุตรพระองค์นั้นในราชสมบัติเถิด
ท้าวเธอจักเป็นพระราชาของข้าพระองค์ทั้งหลาย
(พระราชาตรัสว่า)
[๓๙] จงรีบนาทีฆาวุกุมารผู้จะผดุงรัฐให้เจริญมาเถิด
เราจักอภิเษกในราชสมบัติ เธอจักเป็นพระราชาของท่านทั้งหลาย
(พระบรมศาสดาตรัสว่า)
[๔๐] ลาดับนั้น อามาตย์ทั้งหลายได้เชิญเสด็จทีฆาวุกุมาร
ผู้จะผดุงรัฐให้เจริญมาเฝ้ า พระราชาทอดพระเนตรเห็นแล้ว
ได้ตรัสกับพระโอรสพระองค์เดียว ผู้เป็นที่โปรดปรานพระองค์นั้นว่า
[๔๑] มีบ้านอยู่หกหมื่นหมู่บ้านสมบูรณ์ทุกอย่าง ลูกเอ๋ย
เจ้าจงดูแลหมู่บ้านเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า
[๔๒] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า
ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย
[๔๓] มีช้างอยู่หกหมื่นเชือก เป็นช้างพลาย
ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีสัปคับทองคา
ปกคลุมด้วยเครื่องปกคลุมทองคา
[๔๔] มีนายควาญช้างถือโตมรและขอขึ้นประจา ลูกเอ๋ย
เจ้าจงดูแลช้างเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า
[๔๕] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า
ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย
[๔๖] มีม้าอยู่หกหมื่นตัวประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง คือ
ม้าสินธพซึ่งเป็ นม้าพาหนะที่มีฝีเท้าเร็ว ชาติอาชาไนย
[๔๗] มีนายสารถีผู้สวมเกราะ ถือแล่งธนูขึ้นประจา ลูกเอ๋ย
เจ้าจงดูแลม้าเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า
5
[๔๘] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า
ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย
[๔๙] มีรถอยู่หกหมื่นคัน เป็ นรถมีหนังเสือเหลืองหุ้มก็มี
มีหนังเสือโคร่งหุ้มก็มี ยกธงขึ้นปักแล้ว ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
[๕๐] มีนายสารถีผู้สวมเกราะ ถือแล่งธนูขึ้นประจา ลูกเอ๋ย
เจ้าจงดูแลรถเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า
[๕๑] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า
ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย
[๕๒] มีแม่โคนมอยู่หกหมื่นตัว เป็นแม่โคสีแดง
พร้อมทั้งโคผู้ตัวประเสริฐ ลูกเอ๋ย เจ้าจงดูแลโคเหล่านั้น
พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า
[๕๓] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า
ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย
[๕๔] มีหญิงอยู่หนึ่งหมื่นหกพันนาง ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
มีเสื้อผ้าอาภรณ์อันวิจิตร สวมใส่ตุ้มหูแก้วมณี ลูกเอ๋ย เจ้าจงดูแลหญิงเหล่านั้น
พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า
[๕๕] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า
ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย
(พระราชกุมารกราบทูลว่า)
[๕๖] เสด็จพ่อ เมื่อหม่อมฉันยังเป็นเด็กอยู่ หม่อมฉันได้สดับมาว่า
พระมารดาสวรรคตแล้ว เสด็จพ่อ หม่อมฉันเว้นจากเสด็จพ่อแล้ว
ไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้
[๕๗] ลูกช้างย่อมติดตามไปข้างหลังช้างป่า
ที่เที่ยวไปในซอกเขาที่เสมอบ้าง ไม่เสมอบ้างฉันใด
[๕๘] หม่อมฉันก็จะพาเอาบุตรติดตามเสด็จพ่อไปข้างหลังฉันนั้น
จักเป็นลูกที่เลี้ยงง่ายของเสด็จพ่อ จักไม่เป็นลูกที่เลี้ยงยากของเสด็จพ่อ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๕๙] อันตรายพึงยึดเรือที่แล่นไปในสมุทร
ของพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ไว้ในสมุทรนั้น พ่อค้าพึงพินาศฉันใด
[๖๐] ลูกกาลีคนนี้พึงเป็ นคนกระทาอันตรายแก่เราฉันนั้นเหมือนกัน
พวกท่านจงส่งกุมารนี้ไปให้ถึงปราสาท อันเจริญไปด้วยความยินดีเถิด
6
[๖๑] ณ ปราสาทนั้น เหล่าหญิงสาว
ผู้มีมือประดับด้วยเครื่องประดับทองคา จักยังกุมารนั้นให้รื่นรมย์ในปราสาทนั้น
เหมือนนางอัปสรให้ท้าวสักกะรื่นรมย์
และกุมารนั้นก็จักรื่นรมย์ด้วยหญิงสาวทั้งหลายเหล่านั้น
[๖๒] ลาดับนั้น พวกอามาตย์ได้ส่งเสด็จพระกุมาร
จนถึงปราสาทอันเจริญไปด้วยความยินดี
เหล่าหญิงสาวเห็นทีฆาวุกุมารผู้ผดุงรัฐให้เจริญนั้นแล้ว จึงได้กราบทูลถามว่า
[๖๓] พระองค์เป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ
พระองค์เป็นใครหรือเป็นพระราชบุตรของใคร
หม่อมฉันทั้งหลายจะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร
(พระราชกุมารตรัสตอบว่า)
[๖๔] เรามิใช่เทวดา มิใช่คนธรรพ์ ทั้งมิใช่ท้าวสักกปุรินททะ
เราเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสีพระนามว่าทีฆาวุกุมาร ผู้จะผดุงรัฐให้เจริญ
พวกเธอจงเลี้ยงดูบาเรอเรา ขอพวกเธอจงมีความเจริญเถิด
เราจะเป็ นภัสดาของพวกเธอ
[๖๕] เหล่าหญิงสาวได้กราบทูลถามทีฆาวุกุมาร
ผู้ผดุงรัฐให้เจริญพระองค์นั้น ณ ที่นั้นว่า พระราชาเสด็จถึงไหนแล้ว
พระราชาจากที่นี้ไป ณ ที่ไหน
[๖๖] พระราชาเสด็จล่วงเลยเปือกตมแล้วดารงอยู่บนบก
ทรงดาเนินสู่ทางใหญ่อันปราศจากหนามไม่รกชัฏ
[๖๗] ส่วนเราดาเนินไปยังหนทางของคนผู้ไปสู่ทุคติ
มีทั้งหนามและรกชัฏซึ่งเป็ นหนทางไปสู่ทุคติ
(เหล่าหญิงสาวกราบทูลว่า)
[๖๘] ข้าแต่พระราชา พระองค์นั้นเสด็จมาดีแล้ว เหมือนราชสีห์คืนสู่ถ้า
ณ ซอกเขา ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์โปรดทรงอนุศาสน์พร่าสอน
และทรงเป็ นใหญ่แห่งหม่อมฉันทั้งปวงเถิด
โสณกชาดกที่ ๑ จบ
-----------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
โสณกชาดก
ว่าด้วย เรื่องพระราชาจะพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภถึงเนกขัมมบารมี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในท่ามกลางแห่งภิกษุทั้งหลายผู้กาลังพรรณนาถึงเ
7
นกขัมมบารมี ณ โรงธรรมสภา ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์แต่ในกาลนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อน
ตถาคตก็ได้ออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว.
จึงทรงนาอดีตนิทานมาตรัสว่า
ในอดีตกาล
พระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นมคธทรงครอบครองราชสมบัติอยู่ ณ กรุงราชคฤห์.
พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสี
ของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นแล้ว. ก็ในวันที่จะขนานพระนาม
พระชนกและพระชนนีได้ทรงขนานพระนามพระโอรสนั้นว่า อรินทมกุมาร.
แม้บุตรของท่านปุโรหิต
ก็ได้คลอดในวันที่พระราชกุมารนั้นประสูติแล้วเหมือนกัน
มารดาบิดาได้ตั้งชื่อบุตรนั้นว่า โสณกกุมาร.
พระราชกุมารและกุมารทั้งสองนั้นเจริญวัยขึ้นด้วยความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ครั้นเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีรูปร่างอันสง่างดงาม เป็นผู้พิเศษด้วยรูป
ได้ไปเมืองตักกสิลา เล่าเรียนศิลปศาสตร์จนจบสิ้น แล้วออกจากเมืองตักกสิลานั้น
พากันคิดว่า เราทั้งสองจักศึกษาให้รู้ถึงศิลปะในลัทธิทั้งหมด
และการเที่ยวจาริกไปในประเทศ ดังนี้แล้ว
จึงพากันเที่ยวจาริกไปโดยลาดับจนถึงเมืองพาราณสีแล้ว
พักอยู่ในพระราชอุทยาน พอวันรุ่งขึ้นจึงพากันเข้าไปยังพระนคร.
ก็ในวันนั้น มนุษย์บางพวกพากันคิดว่า
พวกเราจักจัดทาสถานที่สวดมนต์ของพราหมณ์ จึงจัดแจงข้าวปายาส
ปูลาดเสนาสนะ เห็นกุมารทั้งสองคนนั้นเดินมา จึงเชื้อเชิญให้เข้าไปในเรือนแล้ว
ให้นั่งบนอาสนะที่ตระเตรียมไว้. บนอาสนะทั้งสองนั้น
เขาปูลาดผ้าที่ทามาจากแคว้นกาสีขาวสะอาด
บนอาสนะที่ปูลาดไว้สาหรับพระโพธิสัตว์
ปูลาดผ้ากัมพลสีแดงไว้สาหรับโสณกกุมาร. กุมารนั้นมองดูเครื่องหมายก็รู้ว่า
ในวันนี้นั่นแหละ อรินทมกุมารสหายผู้เป็นที่รักของเราจักได้เป็นพระราชา
ครอบครองพระนครพาราณสี จักพระราชทานตาแหน่งเสนาบดีแก่เรา.
กุมาร แม้ทั้งสองคนนั้นกระทาภัตกิจเสร็จแล้ว
ก็ได้พากันไปยังอุทยานนั่นแหละ
ในกาลนั้นเป็ นวันที่พระเจ้ากรุงพาราณสีสวรรคตมาได้เป็นวันที่ ๗
ราชตระกูลไม่มีพระโอรส. ประชาชนทั้งหลายมีอามาตย์เป็นหัวหน้า
สนานศีรษะแล้วประชุมกัน เทียมผุสยรถปล่อยไปด้วยคิดว่า
ผุสยรถจักแล่นไปหาท่านผู้ควรแก่พระราชสมบัติ. ผุสยรถนั้นออกจากพระนคร
แล่นไปยังอุทยานโดยลาดับ กลับที่ประตูอุทยาน แล้วหยุดเตรียมรับ
8
ท่านผู้ควรครอบครองพระราชสมบัติให้ขึ้นไป.
พระโพธิสัตว์ได้นอนคลุมศีรษะอยู่บนแผ่นศิลาอันเป็ นมงคลแล้ว
โสณกกุมารนั่งอยู่ใกล้พระโพธิสัตว์นั้นแล้ว. โสณกกุมารนั้นได้ยินเสียงดนตรี
จึงดาริว่า ผุสยรถมาถึงอรินทมกุมาร วันนี้เธอจักเป็นพระราชา
จักพระราชทานตาแหน่งเสนาบดีให้แก่เรา แต่เราไม่ต้องการด้วยอิสริยยศเลย
เมื่อพระกุมารนี้เสด็จไปแล้ว เราจักออกบวช
ดังนี้จึงได้ยืนแอบอยู่ในที่กาบังแห่งหนึ่ง ปุโรหิตเข้าไปยังอุทยาน
เห็นพระมหาสัตว์หลับอยู่ จึงได้ให้เจ้าพนักงานประโคมดนตรีขึ้น.
พระมหาสัตว์ตื่นนอนขึ้น พลิกตัวกลับหลับต่ออีกหน่อยแล้ว
จึงลุกขึ้นนั่งบนบัลลังก์ที่แผ่นศิลา.
ลาดับนั้น ท่านปุโรหิตประคองอัญชลี กราบทูลพระองค์ว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระราชสมบัติถึงแก่พระองค์แล.
พระมหาสัตว์ถามว่า ราชตระกูลไม่มีพระโอรสหรือ?
ปุโรหิตทูลว่า เป็ นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระมหาสัตว์ตอบรับว่า ถ้าอย่างนั้นก็ดี.
ลาดับนั้น
ประชาชนทั้งหลายก็พากันอภิเษกพระมหาสัตว์นั้นในอุทยานนั้นทีเดียว
แล้วเชิญเสด็จให้ขึ้นรถ กลับเข้าสู่พระนครด้วยบริวารใหญ่.
พระโพธิสัตว์นั้นทรงกระทาประทักษิณพระนครแล้ว เสด็จขึ้นสู่ปราสาท.
พระองค์มิได้ทรงระลึกถึงโสณกกุมาร เพราะความมีอิสริยยศใหญ่.
ฝ่ายโสณกกุมารนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเสด็จเข้าไปสู่พระนครแล้ว
ตนเองก็มานั่งที่แผ่นศิลา. ลาดับนั้น
ใบไม้สีเหลืองของต้นสาละหลุดร่วงจากขั้วตกลงตรงหน้าของกุมารนั้น
เขาพอได้เห็นใบไม้เหลืองนั้นแล้ว จึงคิดว่า ใบไม้นั้นหล่นลงฉันใด
แม้สรีระของเราก็จักถึงความชรา หล่นไปฉันนั้น ดังนี้แล้ว
จึงเริ่มตั้งวิปัสสนาด้วยสามัญลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็ นต้น
บรรลุปัจเจกโพธิญาณแล้ว. ในขณะนั้นนั่นเอง
เพศคฤหัสถ์ของกุมารนั้นก็อันตรธานไป เพศบรรพชิตก็ได้ปรากฏแทน.
พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อเปล่งอุทานว่า บัดนี้ ภพใหม่ของเราไม่มี
ดังนี้แล้วจึงได้ไปยังเงื้อมเขาชื่อว่า นันทมูลกะ.
ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงระลึกถึงพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นได้
โดยล่วงไปประมาณ ๔๐ ปี แม้จะทรงระลึกถึงพระโสณกะบ่อยๆ ว่า
โสณกะสหายของเราไปไหนหนอ ไม่ได้ข่าวที่ใครจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยินข่าว
หรือว่าข้าพเจ้าได้พบเห็น ประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์
ก็มีพื้นกว้างใหญ่อันประดับประดาแล้ว
9
เป็นผู้อันเหล่าชนผู้ประโคมฟ้ อนราขับร้องเป็นต้นแวดล้อมแล้ว เสวยสมบัติอยู่
ทรงดาริว่า ผู้ใดได้ยินในสานักแห่งใครๆ แล้วบอกแก่เราว่า
โสณกกุมารอยู่ในที่ชื่อโน้น ดังนี้ เราจักให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ผู้นั้น
ผู้ใดเห็นด้วยตัวเองแล้วบอกแก่เรา เราจักให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้นั้น
ดังนี้แล้วทรงนิพนธ์อุทานขึ้นบทหนึ่ง
เมื่อจะทรงเปล่งด้วยทานองเพลงขับ จึงตรัสเป็นคาถาที่ ๑ ว่า
เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใครๆ ผู้ได้ยินข่าวแล้วมาบอกแก่เรา
ใครพบโสณกะ ผู้สหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้ว บอกแก่เรา
เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้ที่พบโสณกะนั้น.
ลาดับนั้น หญิงนักฟ้ อนนางหนึ่งจาเอาอุทานนั้นได้
เหมือนถอดออกจากพระโอษฐ์ของพระราชานั้น จึงขับเป็นเพลงขับ. หญิงคนอื่นๆ
ก็ขับเพลงขับนั้นต่อๆ กันมาเป็นลาดับจนถึงนางสนมทั้งหมดก็ได้ขับเพลงขับนั้น
ด้วยพากันคิดว่า
บทเพลงนี้เป็ นบทเพลงขับที่พระราชาของเราทรงโปรดปรานด้วยประการฉะนี้
แม้ชาวพระนครและชาวชนบทก็ได้พากันขับเพลงขับนั้นโดยลาดับเหมือนกัน.
แม้พระราชาก็ทรงขับเพลงขับนั้นอยู่บ่อยๆ เช่นเดียวกัน.
ก็โดยล่วงไปเป็นเวลาประมาณ ๕๐ ปี
พระราชาพระองค์นั้นได้มีพระโอรสและพระธิดาเป็นอันมาก
พระโอรสองค์ใหญ่มีพระนามว่า ทีฆาวุกุมาร. ในกาลนั้น
พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้าปรารถนาจะพบเห็นพระเจ้าอรินทมราช จึงคิดว่า
เราจะไปแสดงถึงโทษในกาม และอานิสงส์ในการออกบวชแล้ว
จะชี้ช่องให้พระราชานั้นทรงออกผนวช ดังนี้ จึงเหาะมาโดยอากาศด้วยฤทธิ์แล้ว
นั่งในอุทยาน. ในกาลนั้น เด็กชายมีผม ๕ แหยม อายุ ๗
ขวบคนหนึ่งถูกมารดาใช้ให้ไปหาฟืนในป่าใกล้อุทยาน ก็ขับเพลงขับนั้นบ่อยๆ
อย่างนั้น.
ลาดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเรียกกุมารนั้นมา ถามว่า
ดูก่อนกุมารเอ๋ย ทาไมเจ้าจึงไม่ขับเพลงอื่นบ้างเล่า
ขับร้องแต่เพลงนี้เพลงเดียวเท่านั้น เจ้าจาเพลงอื่นไม่ได้บ้างหรือ.
กุมารนั้นตอบว่า จาได้ขอรับ
แต่บทเพลงนี้เป็ นเพลงที่โปรดปรานแห่งพระราชาของพวกผม เพราะฉะนั้น
ผมจึงขับร้องเพลงนั้นบ่อยๆ.
พระปัจเจกพุทธเจ้าถามว่า ก็เจ้าเคยเห็นใครๆ
ขับร้องตอบเพลงนี้บ้างหรือไม่.
กุมารนั้นตอบว่า ไม่เคยเห็นเลย ขอรับ.
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า เราจักสอนให้เจ้าเรียนเพลงขับตอบนั้น
10
เจ้าจักอาจไปยังสานักของพระราชาแล้วขับตอบหรือ.
กุมารนั้นตอบว่า ได้ ขอรับ.
ลาดับนั้น พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้านั้น
เมื่อจะบอกเพลงขับตอบแก่กุมารนั้น ก็แลครั้นให้เรียนแล้ว
จึงส่งกุมารนั้นไปด้วยคาว่า ดูก่อนกุมาร เจ้าจงไป
จงขับร้องเพลงขับตอบนี้กับพระราชา
พระราชาจักพระราชทานอิสริยยศใหญ่ให้แก่เจ้า เจ้าจะต้องการอะไรด้วยฟืน
จงรีบไปเถิด.
กุมารนั้นรับว่า ดีแล้ว เรียนเพลงขับตอบแล้ว ไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า
กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้จนกว่าผมจะพาพระราชามา
ดังนี้แล้ว รีบไปหามารดากล่าวว่า คุณแม่ครับ แม่จงอาบน้าให้ผมแล้ว
รีบแต่งตัวให้ผมเร็ว วันนี้ผมจะเปลื้องแม่ให้พ้นจากความยากจน.
ครั้นมารดาอาบน้าแต่งตัวให้แล้ว จึงมายังประตูวังแล้วกล่าวว่า นายประตูขอรับ
ขอท่านจงกราบทูลแด่พระราชาว่า มีเด็กคนหนึ่งมากล่าวว่า
ผมจะขับเพลงขับตอบกับพระองค์ ยืนคอยอยู่ที่ประตูวัง.
นายประตูรีบไปกราบทูลแด่พระราชา.
พระราชาตรัสสั่งให้เรียกเด็กมาว่า จงมาเถิด แล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ
เจ้าจักขับเพลงขับตอบกับเรา หรือ.
เด็กนั้นกราบทูลว่า เป็ นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงขับเถิด.
เด็กนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ขับในที่นี้ไม่ได้ ก็แต่ว่า
พระองค์จงให้พวกราชบุรุษเที่ยวตีกลองป่าวประกาศในเมืองแล้ว
ให้มหาชนประชุมกัน ข้าพระองค์จักขับในท่ามกลางมหาชน.
พระราชาให้ทาตามที่กุมารนั้นกล่าว
เสด็จประทับนั่งในท่ามกลางราชบัลลังก์ ในมณฑปที่เขาประดับประดาแล้ว
สั่งให้พระราชทานอาสนะที่สมควรแก่เด็กคนนั้นแล้ว ตรัสว่า บัดนี้
เจ้าจงขับเพลงขับของเจ้าได้แล้ว.
กุมารนั้นจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์จงขับก่อน
ข้าพระองค์จักขับตอบในภายหลัง.
ลาดับนั้น พระราชา เมื่อจะทรงขับก่อนจึงตรัสคาถาว่า
เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใครๆ ผู้ได้ยินข่าวแล้วมาบอกแก่เรา
ใครพบโสณกะ ผู้สหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้วบอกแก่เรา
เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้ที่พบโสณกะนั้น.
เมื่อพระราชาทรงขับอุทานคาถาแรก อย่างนี้แล้ว
11
พระศาสดาผู้ตรัสรู้เองโดยเฉพาะ เมื่อจะทรงประกาศคาถาที่เด็กผู้มีผม
๕ แหยมขับตอบ จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถานี้ว่า
ลาดับนั้น มาณพน้อยผู้มีผม ๕ แหยม ได้กราบทูลพระราชาว่า
พระองค์จงทรงพระราชทานทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ข้าพระองค์ผู้ได้ยินข่าว
แล้วมากราบทูล
ข้าพระองค์พบเห็นโสณกะพระสหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้ว
จึงกราบทูลแด่พระองค์
ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์พันหนึ่งแก่ข้าพระองค์ผู้พบเห็นโสณกะ.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงรับสั่งว่า
เราจะให้ทรัพย์แก่ผู้ที่ได้ยินข่าวนั้นแล้วมาบอกแก่เรา ดังนี้
ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์นั้นแก่ข้าพระองค์ทีเดียว อนึ่ง พระองค์ตรัสว่า
เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้ที่พบเห็นแล้วกลับมาบอก ดังนี้
ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์แม้นั้นแก่ข้าพระองค์ด้วย
ข้าพระองค์พบเห็นสหายที่รักของพระองค์แล้ว จึงได้ทูลพระองค์ว่า บัดนี้
ข้าพระองค์ได้เห็นโสณกะผู้นี้แล้ว.
เนื้อความต่อแต่นี้ไป บัณฑิตพึงเข้าใจได้โดยง่ายทีเดียว.
บัณฑิตพึงทราบพระคาถาของพระสัมพุทธเจ้าโดยนัยพระบาลีนั่นแล.
พระราชาทรงสดับคานั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า
โสณกกุมารนั้นอยู่ในชนบท แว่นแคว้น หรือนิคมไหน
ท่านได้พบเห็นโสณกกุมาร ณ ที่ไหน เราถามแล้ว
ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เราเถิด.
กุมารกราบทูลว่า
ขอเดชะ ต้นรังใหญ่หลายต้นมีลาต้นตรง มีสีเขียวเหมือนเมฆ
เป็นที่ชอบใจน่ารื่นรมย์ อันอาศัยกันและกัน ตั้งอยู่ในภาคพื้นพระราชอุทยาน
ในแว่นแคว้นของพระองค์นั่นเอง พระโสณกะ เมื่อสัตวโลกมีความยึดมั่น
เป็นผู้ไม่ยึดมั่น เมื่อสัตวโลกถูกไฟเผา เป็ นผู้ดับแล้ว
เพ่งฌานอยู่ที่โคนแห่งต้นรังเหล่านั้น.
ลาดับนั้นแล พระราชาตรัสสั่งให้ทาทางให้ราบเรียบแล้ว
เสด็จไปยังที่อยู่ของพระโสณกะพร้อมด้วยจาตุรงคเสนา
เมื่อเสด็จประพาสไปในไพรวัน ก็เสด็จถึงภูมิภาคแห่งอุทยาน
ได้ทอดพระเนตรเห็นพระโสณกะผู้นั่งอยู่ เมื่อสัตว์โลกถูกไฟเผา เป็นผู้ดับแล้ว.
เมื่อทรงสาคัญซึ่งพระโสณกะนั้นว่า เป็ นคนกาพร้า เพราะว่า
พระองค์ยังทรงยินดีในกิเลสอยู่ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ภิกษุนี้เป็ นคนกาพร้าหนอ ศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิ ไม่มีมารดา
ไม่มีบิดา นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้.
12
พระโสณกะได้ฟังพระดารัสนี้แล้ว จึงได้ทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร
บุคคลผู้ถูกต้องธรรมด้วยนามกาย ไม่ชื่อว่า เป็นคนกาพร้า
ผู้ใดในโลกนี้ นาเสียซึ่งธรรม ประพฤติตามอธรรม
ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคนกาพร้า เป็นคนลามก มีบาปกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ขอถวายพระพร.
พระโสณกะนั้นติเตียนพระโพธิสัตว์ด้วยถ้อยคาอย่างนี้.
พระโพธิสัตว์ทรงทาเป็นเหมือนไม่ทรงทราบว่า พระโสณกะติเตียนพระองค์
ทรงบอกนามและโคตรของพระองค์.
เมื่อจะทรงทาปฏิสันถารกับพระโสณกะนั้น จึงตรัสคาถาว่า
มหาชนรู้จักนามของข้าพเจ้าว่า อรินทมะ และรู้จักข้าพเจ้าว่า
พระเจ้ากาสี ดูก่อนท่านโสณกะ การอยู่เป็นสุข ย่อมมีแก่ท่านผู้อยู่ในที่นี้แลหรือ.
ลาดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงทูลตอบพระราชานั้นว่า
ขอถวายพระพร ขึ้นชื่อว่าความไม่สาราญ
ย่อมไม่มีแก่อาตมภาพผู้อยู่ในอุทยานนี้เท่านั้นก็หามิได้
แม้อาตมภาพจะอยู่ในที่อื่นๆ ก็ยังไม่มีเลย ดังนี้แล้ว.
จึงเริ่มคาถาแสดงความเจริญของสมณะ แด่พระราชาพระองค์นั้นว่า
(ข้อที่ ๑) ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน ทุกเมื่อ
(คือ) ทรัพย์และข้าวเปลือก ย่อมไม่เข้าไปในฉาง ในหม้อ
และในกระเช้าของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาอาหารอันสาเร็จแล้ว
มีวัตรอันงาม เยียวยาอัตภาพให้เป็นไป ด้วยบิณฑบาตนั้น.
ข้อที่ ๒ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ)
ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาต ที่ไม่มีโทษ และกิเลสอะไรๆ ย่อมไม่ประทุษร้าย
ข้อที่ ๓ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ)
ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาตอันดับแล้ว และกิเลสอะไร ย่อมไม่ประทุษร้าย.
ข้อที่ ๔ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ)
ผู้หลุดพ้นแล้ว เที่ยวไปในแว่นแคว้นไม่มีความข้อง.
ข้อที่ ๕ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ)
เมื่อไฟไหม้พระนครอยู่ อะไรๆ สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้น ย่อมไม่ไหม้.
ข้อที่ ๖ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ)
เมื่อโจรปล้นแว่นแคว้น อะไรๆ สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นก็ไม่หาย.
ข้อที่ ๗ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ)
ภิกษุผู้มีวัตรงาม ถือบาตรและจีวร ไปสู่หนทางที่พวกโจรรักษา
หรือไปสู่หนทางที่มีอันตรายอื่นๆ ย่อมไปได้โดยสวัสดี.
ข้อที่ ๘ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ)
ภิกษุจะหลีกไปยังทิศใดๆ ก็ไม่มีห่วงใยไปยังทิศนั้นๆ.
13
ความเจริญที่ ๘ คือภิกษุไม่ต้องเหลียวแลที่อยู่
เพราะไม่มีบริขารอะไรๆ ที่ตนเก็บไว้ในวิหาร เกินกว่าบริขารที่เนื่องในกาย
จะต้องไปสู่ทิศใด ก็ไปสู่ทิศนั้นได้อย่างไม่ต้องห่วงใย เหมือนกุลบุตรทั้ง ๒
ผู้บวชแล้วในถูปาราม บรรพชิตรูปที่แก่กว่า ออกจากเมืองอนุราธบุรีแล้ว
เดินทางไป ฉะนั้น.
พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้าแสดงความเจริญแห่งสมณะ ๘
อย่างด้วยประการฉะนี้ แต่แท้ที่จริง
ท่านเป็นผู้สามารถจะแสดงความเจริญแห่งสมณะให้ยิ่งกว่านั้นได้ตั้งร้อยตั้งพัน
จนหาประมาณมิได้.
ฝ่ายพระราชาทรงละเลยซึ่งถ้อยคาของพระโสณกะนั้น
เพราะทรงยินดียิ่งในกาม จึงตรัสว่า
ข้าพเจ้ามิได้มีความต้องการด้วยความเจริญแห่งสมณะ.
เมื่อจะทรงประกาศความที่พระองค์มีพระทัยน้อมไปในกาม จึงตรัสว่า
ข้าแต่ภิกษุ ท่านสรรเสริญความเจริญเป็ นอันมากของภิกษุเหล่านั้น
ส่วนข้าพเจ้ายังกาหนัดในกามทั้งหลาย จะทาอย่างไร
กามทั้งหลายที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็นของทิพย์ เป็นที่รักของข้าพเจ้า
เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจักได้โลกทั้งสองด้วยเหตุไรหนอ.
ลาดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงทูลกะพระราชานั้นว่า
นรชนผู้กาหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นอยู่ในกาม
กระทาบาปกรรมแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ
ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายออกไปแล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ไหนๆ
ย่อมบรรลุถึงความที่จิตมีอารมณ์เป็ นหนึ่งเกิดขึ้น นรชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
ดูก่อนพระเจ้าอรินทมะ อาตมภาพจักแสดงอุปมาถวายมหาบพิตร
ขอมหาบพิตรจงทรงสดับข้ออุปมานั้น บัณฑิตบางพวกในโลกนี้
ย่อมรู้เนื้อความได้ด้วยข้ออุปมา มีกาตัวหนึ่งเป็ นสัตว์มีปัญญาน้อย ไม่มีความคิด
เห็นซากศพช้างลอยอยู่ในห้วงน้าใหญ่ ในแม่น้าคงคา จึงคิดว่า
เราได้ยานนี้แล้วหนอ และซากศพช้างนี้จักเป็นอาหารจานวนมิใช่น้อย
ใจของกาตัวนั้นยินดีแล้วในซากศพช้างนั้น ตลอดทั้งคืนทั้งวัน
เมื่อกาจิกกินเนื้อช้าง ดื่มน้ามีรสเหมาะส่วน เห็นต้นไม้อันใหญ่ในป่า
ก็ไม่ย่อมบินไป แม่น้าคงคามีปกติไหลลงสู่มหาสมุทร พัดเอากาตัวนั้นตัวประมาท
ยินดีในซากศพช้างไปสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็ นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย
กานั้นหมดอาหารแล้ว ตกลงในน้าไปข้างหลัง ข้างหน้า ข้างซ้าย
ข้างขวาไม่ได้ ไปไม่ถึงเกาะ สิ้นกาลังจมลงในท่ามกลางทะเล
อันเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย
ฝูงปลา จระเข้ มังกร และปลาร้ายที่เกิดในมหาสมุทร
14
ก็ข่มเหงรุมกินกานั้นตัวมีปีกอันใช้การไม่ได้ดิ้นรนอยู่ ฉันใด
ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ก็ดี ชนเหล่าอื่นผู้ยังบริโภคก็ดี
ถ้ายังกาหนัดในกามอยู่ ไม่ละทิ้งกามเสีย นักปราชญ์ทั้งหลายรู้ว่า
ชนเหล่านั้นเป็นอยู่ด้วยปัญญาเสมอกับกา ฉันนั้นเหมือนกันแล
ดูก่อนมหาบพิตร อุปมาข้อนี้ อาตมภาพแสดงอรรถอย่างชัดแจ้ง
ถวายมหาบพิตรแล้ว พระองค์จักทรงทาหรือไม่ ก็จะปรากฏด้วยเหตุนั้น.
ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูล
จึงได้ถวายโอวาทแด่พระองค์ ก็ถ้าพระองค์จักทรงทาตามโอวาทนั้นไซร้
พระองค์ก็จักทรงบังเกิดในเทวโลก หากพระองค์จักไม่ทรงทาตามโอวาทนั้น
พระองค์จักจมอยู่ในเปือกตม คือกาม
ในกาลที่สุดแห่งพระชนมชีพจักบังเกิดในนรก.
พระองค์เองจักทรงทราบสวรรค์หรือนรก ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
ส่วนอาตมภาพพ้นแล้วจากภพทั้งปวง ไม่ต้องถือปฏิสนธิอีกต่อไป.
ก็พระปัจเจกพุทธเจ้า
ผู้ถวายโอวาทนี้แด่พระราชาพระองค์นั้นได้แสดงถึงแม่น้าแล้ว
แสดงถึงซากศพช้างที่ถูกน้าพัดพาลอยไปในแม่น้าคงคา
แสดงถึงกาตัวจิกกินซากศพ แสดงถึงการที่จิกกินซากศพแล้วดื่มน้าของกาตัวนั้น
แสดงถึงการที่มองดูไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์ใจ
แสดงถึงการเข้าไปสู่มหาสมุทรของซากศพที่ลอยไปในแม่น้า
แสดงถึงการที่ไม่ได้ที่จับอาศัยบนซากช้างแล้ว
ถึงความพินาศไปในท่ามกลางมหาสมุทรของกา.
บรรดาสิ่งเหล่านั้น สงสารอันหาเบื้องต้นและที่สุดมิได้
บัณฑิตพึงเห็นว่าเปรียบเหมือนแม่น้า. กามคุณ ๕ อย่างในสงสาร
เปรียบเหมือนซากศพช้างที่ลอยอยู่ในแม่น้า. ปุถุชนที่เป็ นคนพาล
เปรียบเหมือนกา. กาลแห่งปุถุชนผู้บริโภคกามคุณแล้วเกิดโสมนัส
เปรียบเหมือนกาลที่กาจิกกินซากศพแล้วดื่มน้า. การเห็นอารมณ์ ๓๘
ประการด้วยอานาจการสดับฟังของปุถุชนผู้ติดข้องอยู่ในกามคุณทั้งหลาย
เปรียบเหมือนการเห็นไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์ใจของกา
ตัวติดข้องอยู่ในซากศพนั่นแล.
ท่านผู้เป็นบัณฑิตพึงเห็นการถึงความพินาศในมหานรกของปุถุชนผู้เป็นคนพาล
ผู้ยินดีในกามคุณ มีความชั่วเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ไม่สามารถจะได้ที่ตั้งอาศัยในกุศลธรรมว่า เปรียบเหมือนกาลที่กา
เมื่อซากศพเข้าไปสู่มหาสมุทรแล้ว ไม่สามารถจะได้ที่จับอาศัย
ก็ถึงความพินาศไปฉะนั้น.
พระปัจเจกพุทธเจ้าถวายโอวาทแด่พระราชาพระองค์นั้น
15
ด้วยข้ออุปมานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้หวังจะทาโอวาทนั่นแหละให้ตั้งอยู่อย่างมั่นคง.
จึงกล่าวคาถานี้ว่า
บุคคลผู้อนุเคราะห์พึงกล่าวเพียงคาเดียว หรือสองคา
ไม่พึงกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น เปรียบเหมือนทาสที่อยู่ในสานักแห่งเจ้านาย ฉะนั้น.
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเหาะขึ้นไปด้วยฤทธิ์
แล้วสั่งสอนพระราชาว่า ถ้าพระองค์จักทรงผนวช หรือไม่ทรงผนวชก็ตาม
อาตมภาพก็ได้ถวายโอวาทแด่พระองค์แล้ว ดูก่อนมหาบพิตร
ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด. ดังนี้แล้วจึงไปสู่เงื้อมภูเขาชื่อนันทมูลกะ
ตามเดิม.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาอันบุคคลนับไม่ได้
ครั้นทูลดังนี้แล้วพร่าสอนบรมกษัตริย์ในอากาศ แล้วหลีกไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเป็ นผู้มีปัญญา
อันบุคคลนับไม่ได้ด้วยปัญญา เป็นเครื่องตรัสรู้ อันเป็นโลกุตระ ที่ใครๆ นับไม่ได้
พอท่านกล่าวคานี้แล้ว ก็เหาะขึ้นไปด้วยฤทธิ์ พร่าสอนบรมกษัตริย์อย่างนี้ว่า
ถ้าพระองค์จักทรงผนวช ก็เป็นเรื่องของพระองค์ผู้เดียว
หรือถ้าพระองค์จักไม่ทรงผนวช ก็เป็นเรื่องของพระองค์อีกเช่นกัน
อาตมภาพถวายโอวาทแด่พระองค์แล้ว ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด
ดังนี้แล้วหลีกไป.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ประทับยืน
ทอดพระเนตรดูพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นผู้ไปอยู่โดยอากาศ
เพียงเท่าที่จะมองเห็นได้ ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นลับสายพระเนตรไปแล้ว
จึงกลับได้ความสลดพระทัย ทรงพระดาริว่า พราหมณ์นี้มีชาติต่า
โปรยธุลีละอองเท้าลงบนศีรษะของเรา
ผู้เกิดแล้วในวงศ์กษัตริย์อันมิได้ปะปนระคนด้วยวงศ์อื่น
เขาเหาะขึ้นสู่อากาศไปแล้ว แม้ตัวเราก็ควรจะออกบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว.
ท้าวเธอทรงปรารถนาที่จะมอบราชสมบัติแล้วทรงผนวช.
จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า
บุคคลผู้อภิเษก ท่านผู้สมควรให้เป็นกษัตริย์ เป็ นรัชทายาท
และบุคคลผู้ถึงความฉลาด เหล่านี้อยู่ที่ไหน เราจักมอบราชสมบัติ
เราไม่ต้องการด้วยราชสมบัติ เราจักบวชในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้
เราจะไม่โง่เขลาตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา.
เมื่อพระราชาทรงมอบราชสมบัติอยู่อย่างนี้
พวกอามาตย์ได้สดับแล้ว จึงกราบทูลว่า
16
พระโอรสหนุ่มของพระองค์ ทรงพระนามว่า ทีฆาวุ
จะทรงบารุงรัฐให้เจริญได้มีอยู่
ขอพระองค์จงทรงอภิเษกพระโอรสนั้นไว้ในพระราชสมบัติ
พระโอรสนั้นจักได้เป็นพระราชาของข้าพระบาททั้งหลาย.
เบื้องหน้าแต่นั้น
บัณฑิตพึงทาคาถาที่พระราชาตรัสแล้วให้เป็นตัวอย่างแล้ว
พึงทราบคาถาสัมพันธ์ด้วยอุทานโดยนัยพระบาลีนั้นแล.
พระราชาตรัสว่า
ท่านทั้งหลาย จงรีบเชิญทีฆาวุกุมาร ผู้บารุงรัฐให้เจริญมาเถิด
เราจักอภิเษกเธอไว้ในราชสมบัติ เธอจักเป็นพระราชาของท่านทั้งหลาย.
พวกอามาตย์สดับพระดารัสของพระเจ้าแผ่นดินแล้ว
จึงพากันไปเชิญเสด็จทีฆาวุราชกุมารมา.
แม้พระราชาก็ทรงมอบพระราชสมบัติแก่พระราชกุมารนั้นแล้ว.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ลาดับนั้น พวกอามาตย์ได้ไปเชิญทีฆาวุราชกุมาร
ผู้บารุงรัฐให้เจริญมาเฝ้ า พระราชาทอดพระเนตรเห็นเอกอัครโอรส
ผู้น่าปลื้มพระทัยนั้น จึงตรัสว่า ลูกรักเอ๋ย คามเขตของเราหกหมื่น
บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง ลูกจงบารุงเขา พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก
พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตาย ในวันพรุ่งนี้
พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย เหมือนกับกา.
ช้างหกหมื่นเชือกประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
มีสายรัดล้วนทองคา เป็นช้างใหญ่มีร่างกายปกปิด ด้วยเครื่องคลุมล้วนทองคา
อันนายควาญช้างผู้ถือโตมร และขอขึ้นกากับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบารุงช้างเหล่านั้น
พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตาย
ในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย
เหมือนกับกา.
ม้าหกหมื่นตัวประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เป็ นม้าสินธพ
เป็นม้าอาชาไนยโดยกาเนิด เป็ นพาหนะเร็ว อันนายสารถีผู้ถือแส้และธนูขึ้นกากับ
ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบารุงม้าเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก
พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตาย ในวันพรุ่งนี้
พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย เหมือนกับกา.
รถหกหมื่นคัน หุ้มเกราะไว้ดีแล้ว มีธงอันยกขึ้นแล้ว
หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองก็มี หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งก็มี
ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง อันนายสารถีถือแล่งธนูสวมเกราะขึ้นประจา
ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบารุงรถเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก
17
พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตาย ในวันพรุ่งนี้
พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย เหมือนกับกา.
แม่โคนมหกหมื่นตัวมีสีแดง ประกอบด้วยโคจ่าฝูงตัวประเสริฐ
ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบารุงโคเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก
พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตาย ในวันพรุ่งนี้
พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย เหมือนกับกา.
สตรีหมื่นหกพันนาง ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมกุณฑลแก้วมณี ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบารุงสตรีเหล่านั้น
พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตาย
ในวันพรุ่งนี้ พ่อจักไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย
เหมือนกับกา.
ลาดับนั้น พระกุมารจึงกราบทูลพระองค์ว่า
ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันได้สดับว่า เมื่อหม่อมฉันเป็นเด็กๆ
พระชนนีทิวงคต หม่อมฉันไม่อาจจะเป็ นอยู่ห่างพระบิดาได้
ลูกช้างย่อมติดตามหลังช้างป่า ตัวเที่ยวอยู่ในที่มีภูเขา เดินลาบาก เสมอบ้าง
ไม่เสมอบ้าง ฉันใด หม่อมฉันจะอุ้มบุตรธิดา ติดตามพระบิดาไปข้างหลัง
จักเป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงง่าย จักไม่เป็ นผู้อันพระบิดาเลี้ยงยาก ฉันนั้น.
พระราชาตรัสตอบว่า
อันตรายทาเรือที่แล่น อยู่ในมหาสมุทรของพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์
ให้จมลงในมหาสมุทรนั้น พวกพ่อค้าพึงถึงความพินาศ ฉันใด ลูกรักเอ๋ย
เจ้านี้เป็ นผู้กระทาอันตรายให้แก่พ่อ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระราชกุมารไม่อาจจะกราบทูลถ้อยคาอะไรๆ อีกได้.
ลาดับนั้น พระราชา เมื่อจะทรงบังคับพวกอามาตย์ จึงตรัสว่า
ท่านทั้งหลายจงพาราชกุมารนี้ไปให้ถึงปราสาท
อันยังความยินดีให้เจริญเถิด พวกนางกัญญาผู้มีมือประดับด้วยทองคา
จักยังกุมารให้รื่นรมย์ในปราสาทนั้น เหมือนนางเทพอัปสรยังท้าวสักกะให้รื่นรมย์
ฉะนั้น และกุมารนี้จักรื่นรมย์ด้วยนางกัญญาเหล่านั้น
ลาดับนั้น
อามาตย์ทั้งหลายจึงเชิญพระราชกุมารไปยังปราสาทอันยังความยินดีให้เจริญ
พวกนางกัญญาเห็นทีฆาวุกุมารผู้ยังรัฐให้เจริญนั้นแล้ว จึงพากันทูลว่า
พระองค์เป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือว่าเป็นท้าวสักกปุรินททะ พระองค์เป็ นใคร
หรือเป็นพระราชโอรสของใคร หม่อมฉันทั้งหลายจะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร.
ทีฆาวุราชกุมารจึงตรัสตอบว่า
เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ
เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี ชื่อทีฆาวุ ผู้ยังรัฐให้เจริญ เธอทั้งหลายจงบาเรอเรา
18
ขอความเจริญจงมีแก่เธอทั้งหลาย เราจะเป็นสามีของเธอทั้งหลาย.
พวกนางกัญญาในปราสาทนั้น
ได้ทูลถามพระเจ้าทีฆาวุผู้บารุงรัฐนั้นว่า พระราชาเสด็จไปถึงไหนแล้ว
พระราชาเสด็จจากที่นี้ไปไหนแล้ว.
ทีฆาวุราชกุมาร จึงตรัสตอบว่า
พระราชาทรงก้าวล่วงเสียซึ่งเปือกตม ประดิษฐานอยู่บนบก
เสด็จดาเนินไปสู่ทางใหญ่ อันไม่มีหนาม ไม่มีรกชัฏ
ส่วนเรายังเป็นผู้ดาเนินไปสู่ทาง อันให้ถึงทุคติ มีหนาม รกชัฏ
เป็นเครื่องไปสู่ทุคติแห่งชนทั้งหลาย.
นารีทั้งหลายจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้วดุจราชสีห์มาสู่ถ้า ฉะนั้น
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงอนุศาสน์พวกหม่อมฉัน
ขอพระองค์ทรงเป็ นอิสราธิบดีของพวกหม่อมฉันทั้งปวง เถิด.
พระมหาสัตว์ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว
จึงรับสั่งให้อภิเษกทีฆาวุราชกุมารนั้นในที่นั้นนั่นเอง
แล้วให้กลับเข้าไปสู่พระนคร.
ส่วนพระองค์ผู้เดียวเท่านั้นเสด็จออกจากพระราชอุทยาน เข้าไปป่าหิมวันต์
สร้างบรรณศาลาที่ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ แล้วทรงผนวชเป็นฤๅษี
มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร ยังอัตภาพให้เป็นไป.
ฝ่ายมหาชนก็เชิญเสด็จพระกุมารไปยังกรุงพาราณสี.
พระกุมารนั้นทรงกระทาประทักษิณพระนคร แล้วเสด็จขึ้นสู่ปราสาท.
ลาดับนั้น พวกนางฟ้ อนเหล่านั้นจึงพากันคิดว่า
พระราชาทรงละทิ้งพวกเรา เสด็จออกบรรพชาเสียก่อนแล้ว
ถึงพระกุมารนี้เล่าก็เป็นผู้มีพระหฤทัยกาหนัดในกามทั้งหลาย
ถ้าพวกเราจักไม่ยอมอภิรมย์กับพระองค์
พระองค์ก็จะพึงเสด็จออกบรรพชาเสียอีก พวกเราจักกระทาอาการ
คือการอภิรมย์แก่พระองค์. ลาดับนั้น พวกนางฟ้ อน
เมื่อจะให้พระกุมารรื่นรมย์ด้วย จึงได้กราบทูลคาถาสุดท้ายแล้ว.
พวกนารีเหล่านั้น ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว
ก็ประโคมดุริยดนตรีทั้งปวงขึ้น ทาการฟ้ อนราขับร้องมีประการต่างๆ
ให้เป็ นไปแล้ว เกียรติยศได้ยิ่งใหญ่ขึ้นแล้ว.
ทีฆาวุราชกุมารนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยเกียรติยศ
ก็มิได้ทรงระลึกถึงพระบิดาเลย
ได้เสวยราชสมบัติโดยธรรมเป็นไปตามยถากรรมแล้ว.
แม้พระโพธิสัตว์ได้ทรงกระทาฌานและอภิญญา ให้บังเกิดขึ้นแล้ว
19
ในที่สุดแห่งพระชนมชีพก็ได้ไปบังเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์ แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่
แม้ในกาลก่อน ก็ได้เคยออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว
จึงได้ทรงประชุมชาดกว่า
พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้ว ในกาลนั้น
ทีฆาวุกุมาร ในกาลนั้น ได้เป็ น ราหุลกุมาร
บริษัทที่เหลือ ในกาลนั้น ได้เป็นพุทธบริษัท
ส่วนพระเจ้าอรินทมะ ในกาลนั้น ก็คือ เราตถาคต แล.
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

241 สัพพทาฐิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
241 สัพพทาฐิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...241 สัพพทาฐิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
241 สัพพทาฐิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
168 สกุณัคฆิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
168 สกุณัคฆิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...168 สกุณัคฆิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
168 สกุณัคฆิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
283 วัฑฒกีสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
283 วัฑฒกีสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...283 วัฑฒกีสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
283 วัฑฒกีสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
038 พกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
038 พกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx038 พกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
038 พกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
178 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
178 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx178 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
178 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

Similar to 529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

241 สัพพทาฐิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
241 สัพพทาฐิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...241 สัพพทาฐิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
241 สัพพทาฐิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
168 สกุณัคฆิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
168 สกุณัคฆิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...168 สกุณัคฆิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
168 สกุณัคฆิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
268 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
284 สิริชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
283 วัฑฒกีสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
283 วัฑฒกีสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...283 วัฑฒกีสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
283 วัฑฒกีสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
206 กุรุงคมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
038 พกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
038 พกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx038 พกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
038 พกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
178 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
178 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx178 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
178 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ๑๙. สัฏฐินิบาต ๑. โสณกชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๒๙) ว่าด้วยพระราชาพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร (พระเจ้าอรินทมะตรัสว่า) [๑] โสณกะสหายเล่นฝุ่นของเรา ใครได้สดับข่าวแล้วมาบอก เราจะให้ทรัพย์หนึ่งร้อย ใครได้พบเห็นแล้วมาบอก เราจะให้ทรัพย์หนึ่งพัน (พระศาสดาได้ตรัสหนึ่งคาถาครึ่งว่า) [๒] ลาดับนั้น เด็กน้อยไว้ผม ๕ แหยม ได้กราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์ทรงประทานทรัพย์หนึ่งร้อย แก่ข้าพระองค์ผู้สดับข่าวแล้วมากราบทูล และขอทรงประทานทรัพย์หนึ่งพัน แก่ข้าพระองค์ผู้ได้พบเห็นโสณกะ ข้าพระองค์จักกราบทูลถึงโสณกะพระสหายเล่นฝุ่นแก่พระองค์ (พระราชาสดับดังนั้นแล้วตรัสถามว่า) [๓] เขาอยู่ในชนบท แคว้น และนิคมไหน พ่อได้พบโสณกะ ณ ที่ไหน พ่อจงตอบเนื้อความที่เราถามนั้นเถิด (เด็กน้อยกราบทูลว่า) [๔] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ในแคว้นของพระองค์นั่นเอง ณ ภาคพื้นแห่งพระอุทยานของพระองค์นั่นแหละ มีต้นรังใหญ่หลายต้น ซึ่งมีลาต้นตรง มีสีเขียวชะอุ่ม น่ารื่นรมย์ใจ [๕] ยืนต้นประสานอาศัยกันและกัน เสมอเหมือนกลุ่มเมฆ น่ารื่นรมย์ เมื่อชาวโลกมีความยึดมั่น ถูกแผดเผาอยู่ โสณกะไม่มีความยึดมั่น เป็ นผู้ดับแล้ว เพ่งฌานอยู่ ณ โคนต้นรังเหล่านั้น [๖] ลาดับนั้นแล พระราชาได้เสด็จไปพร้อมด้วยเสนา ๔ เหล่า ตรัสสั่งให้ปรับหนทางให้เรียบเสมอแล้ว ได้เสด็จไปจนถึงที่อยู่ของโสณกปัจเจกพุทธะ [๗] ครั้นเสด็จถึงภูมิภาคพระอุทยาน จึงเสด็จเที่ยวไปในป่าใหญ่ ทอดพระเนตรเห็นโสณกปัจเจกพุทธะ ผู้นั่งสงบเย็น ในเมื่อชาวโลกเร่าร้อนอยู่ (พระราชาตรัสว่า) [๘] ภิกษุนี้เป็นคนเข็ญใจหนอ มีศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิ ไม่มีแม่ ไม่มีพ่อ เพ่งฌานอยู่ที่โคนต้นไม้ [๙] พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้าสดับพระดารัสนี้แล้ว จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร บุคคลผู้สัมผัสธรรมด้วยกายไม่จัดว่าเป็นคนเข็ญใจ
  • 2. 2 [๑๐] บุคคลใดในโลกนี้รังเกียจธรรม ประพฤติตามอธรรม บุคคลนั้นจัดว่าเป็นคนเข็ญใจ เป็นคนชั่ว มีบาปติดตามไปในภายหน้า (พระราชาโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๑๑] โยมมีชื่อว่าอรินทมะ มหาชนรู้จักโยมว่าพระเจ้ากาสี พระคุณเจ้าโสณกะ พระคุณเจ้าผู้เจริญ มาถึงสถานที่นี้ จาวัดสบายหรือ (พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า แสดงความเจริญของสมณะแด่พระราชาว่า) [๑๒] ความเจริญข้อที่ ๑ ย่อมมีแม้ในกาลทุกเมื่อแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ ข้าวเปลือกไม่เข้าไป(มี)อยู่ในฉาง ในหม้อ ในกระเช้าของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นแสวงหาอาหารสาเร็จ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารนั้น เป็ นผู้มีวัตรดีงาม [๑๓] ความเจริญข้อที่ ๒ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ ภิกษุพึงฉันก้อนข้าวที่ไม่มีโทษ และกิเลสไรๆ จะไม่เข้าไปรบกวนท่าน [๑๔] ความเจริญข้อที่ ๓ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ ภิกษุพึงฉันก้อนข้าวที่เย็น และกิเลสไรๆ จะไม่เข้าไปรบกวนท่าน [๑๕] ความเจริญข้อที่ ๔ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ ความเกี่ยวข้องย่อมไม่มี แก่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว เที่ยวจาริกไปในแคว้น [๑๖] ความเจริญข้อที่ ๕ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ เมื่อบ้านเมืองถูกไฟไหม้ ท่านไม่มีอะไรจะถูกเผาไหม้ [๑๗] ความเจริญข้อที่ ๖ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ เมื่อแคว้นถูกโจรปล้น ท่านก็ไม่มีอะไรจะให้โจรปล้น [๑๘] ความเจริญข้อที่ ๗ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ หนทางใดที่พวกโจรยึดครองก็ดี หนทางอื่นใดที่มีอันตรายก็ดี ภิกษุผู้มีวัตรดีงาม ถือบาตรและจีวรไปได้อย่างปลอดภัย [๑๙] ความเจริญข้อที่ ๘ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีบ้านเรือน คือ จะหลีกไปยังทิศใดๆ ก็ไปยังทิศนั้นๆ ได้อย่างไม่ต้องห่วงใย (พระราชาตรัสว่า) [๒๐] พระคุณเจ้าโสณกะผู้เห็นภัย พระคุณเจ้าสรรเสริญความเจริญของภิกษุเหล่านั้นมากมาย แต่โยมยังติดอยู่ในกามทั้งหลาย จะทาอย่างไรได้เล่า [๒๑] กามทั้งหลายอันเป็ นของมนุษย์ โยมก็พึงพอใจ ถึงแม้กามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ โยมก็พึงพอใจ เมื่อเป็นเช่นนั้น ทาอย่างไรหนอโยมจึงจะได้กามทั้ง ๒ ในโลก (พระปัจเจกพุทธเจ้ากราบทูลว่า) [๒๒] คนทั้งหลายผู้ติดอยู่ในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย กระทาบาปแล้วย่อมเข้าถึงทุคติ
  • 3. 3 [๒๓] ส่วนคนเหล่าใดละกามทั้งหลาย เป็นผู้ออกแล้วจากกาม ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ บรรลุถึงความเป็ นสมาธิอันแน่วแน่ คนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ [๒๔] ขอถวายพระพร พระเจ้าอรินทมะ อาตมภาพจักยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบ โปรดสดับข้ออุปมานั้น บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความได้ด้วยการเปรียบเทียบ [๒๕] กาตัวหนึ่งมีปัญญาน้อยเพราะไม่มีความคิด เห็นซากศพถูกแม่น้าคงคาพัดลอยไปในห้วงน้าใหญ่ จึงคิดว่า [๒๖] “ยานนี้เราได้แล้วหนอ และซากศพนี้จักเป็นอาหารมิใช่น้อย ได้เป็นผู้มีใจยินดีไม่เสื่อมคลายในซากศพนั้นเท่านั้น ตลอดคืนตลอดวัน [๒๗] เมื่อกาจิกกินเนื้อช้าง ดื่มน้าในแม่น้าคงคาอยู่ เมื่อเห็นต้นไม้ใหญ่ๆ ในป่า ก็ไม่โผบินขึ้นไป [๒๘] ก็แม่น้าคงคาได้ไหลพัดพาเอากาตัวประมาท ยินดีในซากศพตัวนั้นไปยังสมุทร ซึ่งเป็ นสถานที่ที่ฝูงนกบินไปไม่ได้ [๒๙] ก็กาตัวนั้นสิ้นอาหารแล้วจึงตกลงไปในน้า จะบินไปข้างหลังก็ไม่ได้ ข้างหน้าก็ไม่ได้ ด้านเหนือก็ไม่ได้ ด้านใต้ก็ไม่ได้ [๓๐] มันบินไปไม่ถึงเกาะซึ่งเป็ นสถานที่ที่ฝูงนกบินไปไม่ได้ และมันก็ตกลงไปในสมุทรนั้นเองโดยอาการหมดกาลัง [๓๑] อนึ่ง ฝูงปลา จระเข้ มังกร ปลาร้ายชื่อสุสุ ที่อยู่ในสมุทรก็พากันข่มเหงฮุบกินกานั้น ซึ่งกาลังดิ้นรนจนขนปีกขาด [๓๒] ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์ก็ดี คนเหล่าอื่นที่ยังบริโภคกามก็ดี ถ้าจักยังกาหนัดไม่คายกามเสียก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชนเหล่านั้นบัณฑิตทั้งหลายรู้ว่า มีปัญญาเพียงดังกา [๓๓] ขอถวายพระพรมหาบพิตร นี้เป็นอุปมาที่แสดงเนื้อความอย่างชัดเจน ซึ่งอาตมภาพกล่าวถวายแด่มหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงกระทาหรือไม่ก็ตาม มหาบพิตรก็จักปรากฏตามเหตุนั้น (พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวสรุปว่า) [๓๔] บุคคลผู้มีความเอ็นดู พึงกล่าวเพียงคาเดียวหรือสองคาเท่านั้น ไม่กล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้นเหมือนทาสในสานักของนาย (พระบรมศาสดาตรัสว่า) [๓๕] พระโสณกปัจเจกพุทธะผู้มีความรู้อันนับมิได้ ครั้นกล่าวคานี้แล้วจึงเหาะขึ้นไปในอากาศ พร่าสอนบรมกษัตริย์แล้วเหาะไปในอากาศ (พระราชาตรัสว่า)
  • 4. 4 [๓๖] บุคคลผู้ได้รับการศึกษา ถึงพร้อมด้วยความเฉียบแหลม ที่จะครอบครองราชสมบัติเหล่านี้มีอยู่ที่ไหนหนอ เราจักมอบราชสมบัติให้ เราไม่มีความต้องการราชสมบัติ [๓๗] เราจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ ขอเราอย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย (พวกอามาตย์ได้ฟังแล้ว จึงกราบทูลว่า) [๓๘] พระราชบุตรองค์น้อยของพระองค์ทรงพระนามว่าทีฆาวุกุมาร ผู้จะผดุงรัฐให้เจริญมีอยู่ ขอพระองค์ทรงอภิเษกพระราชบุตรพระองค์นั้นในราชสมบัติเถิด ท้าวเธอจักเป็นพระราชาของข้าพระองค์ทั้งหลาย (พระราชาตรัสว่า) [๓๙] จงรีบนาทีฆาวุกุมารผู้จะผดุงรัฐให้เจริญมาเถิด เราจักอภิเษกในราชสมบัติ เธอจักเป็นพระราชาของท่านทั้งหลาย (พระบรมศาสดาตรัสว่า) [๔๐] ลาดับนั้น อามาตย์ทั้งหลายได้เชิญเสด็จทีฆาวุกุมาร ผู้จะผดุงรัฐให้เจริญมาเฝ้ า พระราชาทอดพระเนตรเห็นแล้ว ได้ตรัสกับพระโอรสพระองค์เดียว ผู้เป็นที่โปรดปรานพระองค์นั้นว่า [๔๑] มีบ้านอยู่หกหมื่นหมู่บ้านสมบูรณ์ทุกอย่าง ลูกเอ๋ย เจ้าจงดูแลหมู่บ้านเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า [๔๒] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย [๔๓] มีช้างอยู่หกหมื่นเชือก เป็นช้างพลาย ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีสัปคับทองคา ปกคลุมด้วยเครื่องปกคลุมทองคา [๔๔] มีนายควาญช้างถือโตมรและขอขึ้นประจา ลูกเอ๋ย เจ้าจงดูแลช้างเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า [๔๕] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย [๔๖] มีม้าอยู่หกหมื่นตัวประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง คือ ม้าสินธพซึ่งเป็ นม้าพาหนะที่มีฝีเท้าเร็ว ชาติอาชาไนย [๔๗] มีนายสารถีผู้สวมเกราะ ถือแล่งธนูขึ้นประจา ลูกเอ๋ย เจ้าจงดูแลม้าเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า
  • 5. 5 [๔๘] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย [๔๙] มีรถอยู่หกหมื่นคัน เป็ นรถมีหนังเสือเหลืองหุ้มก็มี มีหนังเสือโคร่งหุ้มก็มี ยกธงขึ้นปักแล้ว ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง [๕๐] มีนายสารถีผู้สวมเกราะ ถือแล่งธนูขึ้นประจา ลูกเอ๋ย เจ้าจงดูแลรถเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า [๕๑] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย [๕๒] มีแม่โคนมอยู่หกหมื่นตัว เป็นแม่โคสีแดง พร้อมทั้งโคผู้ตัวประเสริฐ ลูกเอ๋ย เจ้าจงดูแลโคเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า [๕๓] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย [๕๔] มีหญิงอยู่หนึ่งหมื่นหกพันนาง ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีเสื้อผ้าอาภรณ์อันวิจิตร สวมใส่ตุ้มหูแก้วมณี ลูกเอ๋ย เจ้าจงดูแลหญิงเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้เจ้า [๕๕] พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครจะพึงรู้ได้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ ขอพ่ออย่าได้ตกไปสู่อานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกาโง่เลย (พระราชกุมารกราบทูลว่า) [๕๖] เสด็จพ่อ เมื่อหม่อมฉันยังเป็นเด็กอยู่ หม่อมฉันได้สดับมาว่า พระมารดาสวรรคตแล้ว เสด็จพ่อ หม่อมฉันเว้นจากเสด็จพ่อแล้ว ไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ [๕๗] ลูกช้างย่อมติดตามไปข้างหลังช้างป่า ที่เที่ยวไปในซอกเขาที่เสมอบ้าง ไม่เสมอบ้างฉันใด [๕๘] หม่อมฉันก็จะพาเอาบุตรติดตามเสด็จพ่อไปข้างหลังฉันนั้น จักเป็นลูกที่เลี้ยงง่ายของเสด็จพ่อ จักไม่เป็นลูกที่เลี้ยงยากของเสด็จพ่อ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๕๙] อันตรายพึงยึดเรือที่แล่นไปในสมุทร ของพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ไว้ในสมุทรนั้น พ่อค้าพึงพินาศฉันใด [๖๐] ลูกกาลีคนนี้พึงเป็ นคนกระทาอันตรายแก่เราฉันนั้นเหมือนกัน พวกท่านจงส่งกุมารนี้ไปให้ถึงปราสาท อันเจริญไปด้วยความยินดีเถิด
  • 6. 6 [๖๑] ณ ปราสาทนั้น เหล่าหญิงสาว ผู้มีมือประดับด้วยเครื่องประดับทองคา จักยังกุมารนั้นให้รื่นรมย์ในปราสาทนั้น เหมือนนางอัปสรให้ท้าวสักกะรื่นรมย์ และกุมารนั้นก็จักรื่นรมย์ด้วยหญิงสาวทั้งหลายเหล่านั้น [๖๒] ลาดับนั้น พวกอามาตย์ได้ส่งเสด็จพระกุมาร จนถึงปราสาทอันเจริญไปด้วยความยินดี เหล่าหญิงสาวเห็นทีฆาวุกุมารผู้ผดุงรัฐให้เจริญนั้นแล้ว จึงได้กราบทูลถามว่า [๖๓] พระองค์เป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ พระองค์เป็นใครหรือเป็นพระราชบุตรของใคร หม่อมฉันทั้งหลายจะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร (พระราชกุมารตรัสตอบว่า) [๖๔] เรามิใช่เทวดา มิใช่คนธรรพ์ ทั้งมิใช่ท้าวสักกปุรินททะ เราเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสีพระนามว่าทีฆาวุกุมาร ผู้จะผดุงรัฐให้เจริญ พวกเธอจงเลี้ยงดูบาเรอเรา ขอพวกเธอจงมีความเจริญเถิด เราจะเป็ นภัสดาของพวกเธอ [๖๕] เหล่าหญิงสาวได้กราบทูลถามทีฆาวุกุมาร ผู้ผดุงรัฐให้เจริญพระองค์นั้น ณ ที่นั้นว่า พระราชาเสด็จถึงไหนแล้ว พระราชาจากที่นี้ไป ณ ที่ไหน [๖๖] พระราชาเสด็จล่วงเลยเปือกตมแล้วดารงอยู่บนบก ทรงดาเนินสู่ทางใหญ่อันปราศจากหนามไม่รกชัฏ [๖๗] ส่วนเราดาเนินไปยังหนทางของคนผู้ไปสู่ทุคติ มีทั้งหนามและรกชัฏซึ่งเป็ นหนทางไปสู่ทุคติ (เหล่าหญิงสาวกราบทูลว่า) [๖๘] ข้าแต่พระราชา พระองค์นั้นเสด็จมาดีแล้ว เหมือนราชสีห์คืนสู่ถ้า ณ ซอกเขา ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์โปรดทรงอนุศาสน์พร่าสอน และทรงเป็ นใหญ่แห่งหม่อมฉันทั้งปวงเถิด โสณกชาดกที่ ๑ จบ ----------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา โสณกชาดก ว่าด้วย เรื่องพระราชาจะพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภถึงเนกขัมมบารมี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. ความพิสดารว่า ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในท่ามกลางแห่งภิกษุทั้งหลายผู้กาลังพรรณนาถึงเ
  • 7. 7 นกขัมมบารมี ณ โรงธรรมสภา ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์แต่ในกาลนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว. จึงทรงนาอดีตนิทานมาตรัสว่า ในอดีตกาล พระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นมคธทรงครอบครองราชสมบัติอยู่ ณ กรุงราชคฤห์. พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสี ของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นแล้ว. ก็ในวันที่จะขนานพระนาม พระชนกและพระชนนีได้ทรงขนานพระนามพระโอรสนั้นว่า อรินทมกุมาร. แม้บุตรของท่านปุโรหิต ก็ได้คลอดในวันที่พระราชกุมารนั้นประสูติแล้วเหมือนกัน มารดาบิดาได้ตั้งชื่อบุตรนั้นว่า โสณกกุมาร. พระราชกุมารและกุมารทั้งสองนั้นเจริญวัยขึ้นด้วยความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน. ครั้นเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีรูปร่างอันสง่างดงาม เป็นผู้พิเศษด้วยรูป ได้ไปเมืองตักกสิลา เล่าเรียนศิลปศาสตร์จนจบสิ้น แล้วออกจากเมืองตักกสิลานั้น พากันคิดว่า เราทั้งสองจักศึกษาให้รู้ถึงศิลปะในลัทธิทั้งหมด และการเที่ยวจาริกไปในประเทศ ดังนี้แล้ว จึงพากันเที่ยวจาริกไปโดยลาดับจนถึงเมืองพาราณสีแล้ว พักอยู่ในพระราชอุทยาน พอวันรุ่งขึ้นจึงพากันเข้าไปยังพระนคร. ก็ในวันนั้น มนุษย์บางพวกพากันคิดว่า พวกเราจักจัดทาสถานที่สวดมนต์ของพราหมณ์ จึงจัดแจงข้าวปายาส ปูลาดเสนาสนะ เห็นกุมารทั้งสองคนนั้นเดินมา จึงเชื้อเชิญให้เข้าไปในเรือนแล้ว ให้นั่งบนอาสนะที่ตระเตรียมไว้. บนอาสนะทั้งสองนั้น เขาปูลาดผ้าที่ทามาจากแคว้นกาสีขาวสะอาด บนอาสนะที่ปูลาดไว้สาหรับพระโพธิสัตว์ ปูลาดผ้ากัมพลสีแดงไว้สาหรับโสณกกุมาร. กุมารนั้นมองดูเครื่องหมายก็รู้ว่า ในวันนี้นั่นแหละ อรินทมกุมารสหายผู้เป็นที่รักของเราจักได้เป็นพระราชา ครอบครองพระนครพาราณสี จักพระราชทานตาแหน่งเสนาบดีแก่เรา. กุมาร แม้ทั้งสองคนนั้นกระทาภัตกิจเสร็จแล้ว ก็ได้พากันไปยังอุทยานนั่นแหละ ในกาลนั้นเป็ นวันที่พระเจ้ากรุงพาราณสีสวรรคตมาได้เป็นวันที่ ๗ ราชตระกูลไม่มีพระโอรส. ประชาชนทั้งหลายมีอามาตย์เป็นหัวหน้า สนานศีรษะแล้วประชุมกัน เทียมผุสยรถปล่อยไปด้วยคิดว่า ผุสยรถจักแล่นไปหาท่านผู้ควรแก่พระราชสมบัติ. ผุสยรถนั้นออกจากพระนคร แล่นไปยังอุทยานโดยลาดับ กลับที่ประตูอุทยาน แล้วหยุดเตรียมรับ
  • 8. 8 ท่านผู้ควรครอบครองพระราชสมบัติให้ขึ้นไป. พระโพธิสัตว์ได้นอนคลุมศีรษะอยู่บนแผ่นศิลาอันเป็ นมงคลแล้ว โสณกกุมารนั่งอยู่ใกล้พระโพธิสัตว์นั้นแล้ว. โสณกกุมารนั้นได้ยินเสียงดนตรี จึงดาริว่า ผุสยรถมาถึงอรินทมกุมาร วันนี้เธอจักเป็นพระราชา จักพระราชทานตาแหน่งเสนาบดีให้แก่เรา แต่เราไม่ต้องการด้วยอิสริยยศเลย เมื่อพระกุมารนี้เสด็จไปแล้ว เราจักออกบวช ดังนี้จึงได้ยืนแอบอยู่ในที่กาบังแห่งหนึ่ง ปุโรหิตเข้าไปยังอุทยาน เห็นพระมหาสัตว์หลับอยู่ จึงได้ให้เจ้าพนักงานประโคมดนตรีขึ้น. พระมหาสัตว์ตื่นนอนขึ้น พลิกตัวกลับหลับต่ออีกหน่อยแล้ว จึงลุกขึ้นนั่งบนบัลลังก์ที่แผ่นศิลา. ลาดับนั้น ท่านปุโรหิตประคองอัญชลี กราบทูลพระองค์ว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระราชสมบัติถึงแก่พระองค์แล. พระมหาสัตว์ถามว่า ราชตระกูลไม่มีพระโอรสหรือ? ปุโรหิตทูลว่า เป็ นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พระมหาสัตว์ตอบรับว่า ถ้าอย่างนั้นก็ดี. ลาดับนั้น ประชาชนทั้งหลายก็พากันอภิเษกพระมหาสัตว์นั้นในอุทยานนั้นทีเดียว แล้วเชิญเสด็จให้ขึ้นรถ กลับเข้าสู่พระนครด้วยบริวารใหญ่. พระโพธิสัตว์นั้นทรงกระทาประทักษิณพระนครแล้ว เสด็จขึ้นสู่ปราสาท. พระองค์มิได้ทรงระลึกถึงโสณกกุมาร เพราะความมีอิสริยยศใหญ่. ฝ่ายโสณกกุมารนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเสด็จเข้าไปสู่พระนครแล้ว ตนเองก็มานั่งที่แผ่นศิลา. ลาดับนั้น ใบไม้สีเหลืองของต้นสาละหลุดร่วงจากขั้วตกลงตรงหน้าของกุมารนั้น เขาพอได้เห็นใบไม้เหลืองนั้นแล้ว จึงคิดว่า ใบไม้นั้นหล่นลงฉันใด แม้สรีระของเราก็จักถึงความชรา หล่นไปฉันนั้น ดังนี้แล้ว จึงเริ่มตั้งวิปัสสนาด้วยสามัญลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็ นต้น บรรลุปัจเจกโพธิญาณแล้ว. ในขณะนั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ของกุมารนั้นก็อันตรธานไป เพศบรรพชิตก็ได้ปรากฏแทน. พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อเปล่งอุทานว่า บัดนี้ ภพใหม่ของเราไม่มี ดังนี้แล้วจึงได้ไปยังเงื้อมเขาชื่อว่า นันทมูลกะ. ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงระลึกถึงพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นได้ โดยล่วงไปประมาณ ๔๐ ปี แม้จะทรงระลึกถึงพระโสณกะบ่อยๆ ว่า โสณกะสหายของเราไปไหนหนอ ไม่ได้ข่าวที่ใครจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยินข่าว หรือว่าข้าพเจ้าได้พบเห็น ประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์ ก็มีพื้นกว้างใหญ่อันประดับประดาแล้ว
  • 9. 9 เป็นผู้อันเหล่าชนผู้ประโคมฟ้ อนราขับร้องเป็นต้นแวดล้อมแล้ว เสวยสมบัติอยู่ ทรงดาริว่า ผู้ใดได้ยินในสานักแห่งใครๆ แล้วบอกแก่เราว่า โสณกกุมารอยู่ในที่ชื่อโน้น ดังนี้ เราจักให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ผู้นั้น ผู้ใดเห็นด้วยตัวเองแล้วบอกแก่เรา เราจักให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้นั้น ดังนี้แล้วทรงนิพนธ์อุทานขึ้นบทหนึ่ง เมื่อจะทรงเปล่งด้วยทานองเพลงขับ จึงตรัสเป็นคาถาที่ ๑ ว่า เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใครๆ ผู้ได้ยินข่าวแล้วมาบอกแก่เรา ใครพบโสณกะ ผู้สหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้ว บอกแก่เรา เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้ที่พบโสณกะนั้น. ลาดับนั้น หญิงนักฟ้ อนนางหนึ่งจาเอาอุทานนั้นได้ เหมือนถอดออกจากพระโอษฐ์ของพระราชานั้น จึงขับเป็นเพลงขับ. หญิงคนอื่นๆ ก็ขับเพลงขับนั้นต่อๆ กันมาเป็นลาดับจนถึงนางสนมทั้งหมดก็ได้ขับเพลงขับนั้น ด้วยพากันคิดว่า บทเพลงนี้เป็ นบทเพลงขับที่พระราชาของเราทรงโปรดปรานด้วยประการฉะนี้ แม้ชาวพระนครและชาวชนบทก็ได้พากันขับเพลงขับนั้นโดยลาดับเหมือนกัน. แม้พระราชาก็ทรงขับเพลงขับนั้นอยู่บ่อยๆ เช่นเดียวกัน. ก็โดยล่วงไปเป็นเวลาประมาณ ๕๐ ปี พระราชาพระองค์นั้นได้มีพระโอรสและพระธิดาเป็นอันมาก พระโอรสองค์ใหญ่มีพระนามว่า ทีฆาวุกุมาร. ในกาลนั้น พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้าปรารถนาจะพบเห็นพระเจ้าอรินทมราช จึงคิดว่า เราจะไปแสดงถึงโทษในกาม และอานิสงส์ในการออกบวชแล้ว จะชี้ช่องให้พระราชานั้นทรงออกผนวช ดังนี้ จึงเหาะมาโดยอากาศด้วยฤทธิ์แล้ว นั่งในอุทยาน. ในกาลนั้น เด็กชายมีผม ๕ แหยม อายุ ๗ ขวบคนหนึ่งถูกมารดาใช้ให้ไปหาฟืนในป่าใกล้อุทยาน ก็ขับเพลงขับนั้นบ่อยๆ อย่างนั้น. ลาดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเรียกกุมารนั้นมา ถามว่า ดูก่อนกุมารเอ๋ย ทาไมเจ้าจึงไม่ขับเพลงอื่นบ้างเล่า ขับร้องแต่เพลงนี้เพลงเดียวเท่านั้น เจ้าจาเพลงอื่นไม่ได้บ้างหรือ. กุมารนั้นตอบว่า จาได้ขอรับ แต่บทเพลงนี้เป็ นเพลงที่โปรดปรานแห่งพระราชาของพวกผม เพราะฉะนั้น ผมจึงขับร้องเพลงนั้นบ่อยๆ. พระปัจเจกพุทธเจ้าถามว่า ก็เจ้าเคยเห็นใครๆ ขับร้องตอบเพลงนี้บ้างหรือไม่. กุมารนั้นตอบว่า ไม่เคยเห็นเลย ขอรับ. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า เราจักสอนให้เจ้าเรียนเพลงขับตอบนั้น
  • 10. 10 เจ้าจักอาจไปยังสานักของพระราชาแล้วขับตอบหรือ. กุมารนั้นตอบว่า ได้ ขอรับ. ลาดับนั้น พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อจะบอกเพลงขับตอบแก่กุมารนั้น ก็แลครั้นให้เรียนแล้ว จึงส่งกุมารนั้นไปด้วยคาว่า ดูก่อนกุมาร เจ้าจงไป จงขับร้องเพลงขับตอบนี้กับพระราชา พระราชาจักพระราชทานอิสริยยศใหญ่ให้แก่เจ้า เจ้าจะต้องการอะไรด้วยฟืน จงรีบไปเถิด. กุมารนั้นรับว่า ดีแล้ว เรียนเพลงขับตอบแล้ว ไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้จนกว่าผมจะพาพระราชามา ดังนี้แล้ว รีบไปหามารดากล่าวว่า คุณแม่ครับ แม่จงอาบน้าให้ผมแล้ว รีบแต่งตัวให้ผมเร็ว วันนี้ผมจะเปลื้องแม่ให้พ้นจากความยากจน. ครั้นมารดาอาบน้าแต่งตัวให้แล้ว จึงมายังประตูวังแล้วกล่าวว่า นายประตูขอรับ ขอท่านจงกราบทูลแด่พระราชาว่า มีเด็กคนหนึ่งมากล่าวว่า ผมจะขับเพลงขับตอบกับพระองค์ ยืนคอยอยู่ที่ประตูวัง. นายประตูรีบไปกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาตรัสสั่งให้เรียกเด็กมาว่า จงมาเถิด แล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจักขับเพลงขับตอบกับเรา หรือ. เด็กนั้นกราบทูลว่า เป็ นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงขับเถิด. เด็กนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ขับในที่นี้ไม่ได้ ก็แต่ว่า พระองค์จงให้พวกราชบุรุษเที่ยวตีกลองป่าวประกาศในเมืองแล้ว ให้มหาชนประชุมกัน ข้าพระองค์จักขับในท่ามกลางมหาชน. พระราชาให้ทาตามที่กุมารนั้นกล่าว เสด็จประทับนั่งในท่ามกลางราชบัลลังก์ ในมณฑปที่เขาประดับประดาแล้ว สั่งให้พระราชทานอาสนะที่สมควรแก่เด็กคนนั้นแล้ว ตรัสว่า บัดนี้ เจ้าจงขับเพลงขับของเจ้าได้แล้ว. กุมารนั้นจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์จงขับก่อน ข้าพระองค์จักขับตอบในภายหลัง. ลาดับนั้น พระราชา เมื่อจะทรงขับก่อนจึงตรัสคาถาว่า เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใครๆ ผู้ได้ยินข่าวแล้วมาบอกแก่เรา ใครพบโสณกะ ผู้สหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้วบอกแก่เรา เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้ที่พบโสณกะนั้น. เมื่อพระราชาทรงขับอุทานคาถาแรก อย่างนี้แล้ว
  • 11. 11 พระศาสดาผู้ตรัสรู้เองโดยเฉพาะ เมื่อจะทรงประกาศคาถาที่เด็กผู้มีผม ๕ แหยมขับตอบ จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถานี้ว่า ลาดับนั้น มาณพน้อยผู้มีผม ๕ แหยม ได้กราบทูลพระราชาว่า พระองค์จงทรงพระราชทานทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ข้าพระองค์ผู้ได้ยินข่าว แล้วมากราบทูล ข้าพระองค์พบเห็นโสณกะพระสหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้ว จึงกราบทูลแด่พระองค์ ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์พันหนึ่งแก่ข้าพระองค์ผู้พบเห็นโสณกะ. ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงรับสั่งว่า เราจะให้ทรัพย์แก่ผู้ที่ได้ยินข่าวนั้นแล้วมาบอกแก่เรา ดังนี้ ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์นั้นแก่ข้าพระองค์ทีเดียว อนึ่ง พระองค์ตรัสว่า เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้ที่พบเห็นแล้วกลับมาบอก ดังนี้ ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์แม้นั้นแก่ข้าพระองค์ด้วย ข้าพระองค์พบเห็นสหายที่รักของพระองค์แล้ว จึงได้ทูลพระองค์ว่า บัดนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นโสณกะผู้นี้แล้ว. เนื้อความต่อแต่นี้ไป บัณฑิตพึงเข้าใจได้โดยง่ายทีเดียว. บัณฑิตพึงทราบพระคาถาของพระสัมพุทธเจ้าโดยนัยพระบาลีนั่นแล. พระราชาทรงสดับคานั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า โสณกกุมารนั้นอยู่ในชนบท แว่นแคว้น หรือนิคมไหน ท่านได้พบเห็นโสณกกุมาร ณ ที่ไหน เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เราเถิด. กุมารกราบทูลว่า ขอเดชะ ต้นรังใหญ่หลายต้นมีลาต้นตรง มีสีเขียวเหมือนเมฆ เป็นที่ชอบใจน่ารื่นรมย์ อันอาศัยกันและกัน ตั้งอยู่ในภาคพื้นพระราชอุทยาน ในแว่นแคว้นของพระองค์นั่นเอง พระโสณกะ เมื่อสัตวโลกมีความยึดมั่น เป็นผู้ไม่ยึดมั่น เมื่อสัตวโลกถูกไฟเผา เป็ นผู้ดับแล้ว เพ่งฌานอยู่ที่โคนแห่งต้นรังเหล่านั้น. ลาดับนั้นแล พระราชาตรัสสั่งให้ทาทางให้ราบเรียบแล้ว เสด็จไปยังที่อยู่ของพระโสณกะพร้อมด้วยจาตุรงคเสนา เมื่อเสด็จประพาสไปในไพรวัน ก็เสด็จถึงภูมิภาคแห่งอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นพระโสณกะผู้นั่งอยู่ เมื่อสัตว์โลกถูกไฟเผา เป็นผู้ดับแล้ว. เมื่อทรงสาคัญซึ่งพระโสณกะนั้นว่า เป็ นคนกาพร้า เพราะว่า พระองค์ยังทรงยินดีในกิเลสอยู่ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า ภิกษุนี้เป็ นคนกาพร้าหนอ ศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิ ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้.
  • 12. 12 พระโสณกะได้ฟังพระดารัสนี้แล้ว จึงได้ทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลผู้ถูกต้องธรรมด้วยนามกาย ไม่ชื่อว่า เป็นคนกาพร้า ผู้ใดในโลกนี้ นาเสียซึ่งธรรม ประพฤติตามอธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคนกาพร้า เป็นคนลามก มีบาปกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ขอถวายพระพร. พระโสณกะนั้นติเตียนพระโพธิสัตว์ด้วยถ้อยคาอย่างนี้. พระโพธิสัตว์ทรงทาเป็นเหมือนไม่ทรงทราบว่า พระโสณกะติเตียนพระองค์ ทรงบอกนามและโคตรของพระองค์. เมื่อจะทรงทาปฏิสันถารกับพระโสณกะนั้น จึงตรัสคาถาว่า มหาชนรู้จักนามของข้าพเจ้าว่า อรินทมะ และรู้จักข้าพเจ้าว่า พระเจ้ากาสี ดูก่อนท่านโสณกะ การอยู่เป็นสุข ย่อมมีแก่ท่านผู้อยู่ในที่นี้แลหรือ. ลาดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงทูลตอบพระราชานั้นว่า ขอถวายพระพร ขึ้นชื่อว่าความไม่สาราญ ย่อมไม่มีแก่อาตมภาพผู้อยู่ในอุทยานนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้อาตมภาพจะอยู่ในที่อื่นๆ ก็ยังไม่มีเลย ดังนี้แล้ว. จึงเริ่มคาถาแสดงความเจริญของสมณะ แด่พระราชาพระองค์นั้นว่า (ข้อที่ ๑) ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน ทุกเมื่อ (คือ) ทรัพย์และข้าวเปลือก ย่อมไม่เข้าไปในฉาง ในหม้อ และในกระเช้าของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาอาหารอันสาเร็จแล้ว มีวัตรอันงาม เยียวยาอัตภาพให้เป็นไป ด้วยบิณฑบาตนั้น. ข้อที่ ๒ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาต ที่ไม่มีโทษ และกิเลสอะไรๆ ย่อมไม่ประทุษร้าย ข้อที่ ๓ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาตอันดับแล้ว และกิเลสอะไร ย่อมไม่ประทุษร้าย. ข้อที่ ๔ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ผู้หลุดพ้นแล้ว เที่ยวไปในแว่นแคว้นไม่มีความข้อง. ข้อที่ ๕ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อไฟไหม้พระนครอยู่ อะไรๆ สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้น ย่อมไม่ไหม้. ข้อที่ ๖ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อโจรปล้นแว่นแคว้น อะไรๆ สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นก็ไม่หาย. ข้อที่ ๗ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุผู้มีวัตรงาม ถือบาตรและจีวร ไปสู่หนทางที่พวกโจรรักษา หรือไปสู่หนทางที่มีอันตรายอื่นๆ ย่อมไปได้โดยสวัสดี. ข้อที่ ๘ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุจะหลีกไปยังทิศใดๆ ก็ไม่มีห่วงใยไปยังทิศนั้นๆ.
  • 13. 13 ความเจริญที่ ๘ คือภิกษุไม่ต้องเหลียวแลที่อยู่ เพราะไม่มีบริขารอะไรๆ ที่ตนเก็บไว้ในวิหาร เกินกว่าบริขารที่เนื่องในกาย จะต้องไปสู่ทิศใด ก็ไปสู่ทิศนั้นได้อย่างไม่ต้องห่วงใย เหมือนกุลบุตรทั้ง ๒ ผู้บวชแล้วในถูปาราม บรรพชิตรูปที่แก่กว่า ออกจากเมืองอนุราธบุรีแล้ว เดินทางไป ฉะนั้น. พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้าแสดงความเจริญแห่งสมณะ ๘ อย่างด้วยประการฉะนี้ แต่แท้ที่จริง ท่านเป็นผู้สามารถจะแสดงความเจริญแห่งสมณะให้ยิ่งกว่านั้นได้ตั้งร้อยตั้งพัน จนหาประมาณมิได้. ฝ่ายพระราชาทรงละเลยซึ่งถ้อยคาของพระโสณกะนั้น เพราะทรงยินดียิ่งในกาม จึงตรัสว่า ข้าพเจ้ามิได้มีความต้องการด้วยความเจริญแห่งสมณะ. เมื่อจะทรงประกาศความที่พระองค์มีพระทัยน้อมไปในกาม จึงตรัสว่า ข้าแต่ภิกษุ ท่านสรรเสริญความเจริญเป็ นอันมากของภิกษุเหล่านั้น ส่วนข้าพเจ้ายังกาหนัดในกามทั้งหลาย จะทาอย่างไร กามทั้งหลายที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็นของทิพย์ เป็นที่รักของข้าพเจ้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจักได้โลกทั้งสองด้วยเหตุไรหนอ. ลาดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงทูลกะพระราชานั้นว่า นรชนผู้กาหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นอยู่ในกาม กระทาบาปกรรมแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายออกไปแล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ไหนๆ ย่อมบรรลุถึงความที่จิตมีอารมณ์เป็ นหนึ่งเกิดขึ้น นรชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ ดูก่อนพระเจ้าอรินทมะ อาตมภาพจักแสดงอุปมาถวายมหาบพิตร ขอมหาบพิตรจงทรงสดับข้ออุปมานั้น บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความได้ด้วยข้ออุปมา มีกาตัวหนึ่งเป็ นสัตว์มีปัญญาน้อย ไม่มีความคิด เห็นซากศพช้างลอยอยู่ในห้วงน้าใหญ่ ในแม่น้าคงคา จึงคิดว่า เราได้ยานนี้แล้วหนอ และซากศพช้างนี้จักเป็นอาหารจานวนมิใช่น้อย ใจของกาตัวนั้นยินดีแล้วในซากศพช้างนั้น ตลอดทั้งคืนทั้งวัน เมื่อกาจิกกินเนื้อช้าง ดื่มน้ามีรสเหมาะส่วน เห็นต้นไม้อันใหญ่ในป่า ก็ไม่ย่อมบินไป แม่น้าคงคามีปกติไหลลงสู่มหาสมุทร พัดเอากาตัวนั้นตัวประมาท ยินดีในซากศพช้างไปสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็ นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย กานั้นหมดอาหารแล้ว ตกลงในน้าไปข้างหลัง ข้างหน้า ข้างซ้าย ข้างขวาไม่ได้ ไปไม่ถึงเกาะ สิ้นกาลังจมลงในท่ามกลางทะเล อันเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย ฝูงปลา จระเข้ มังกร และปลาร้ายที่เกิดในมหาสมุทร
  • 14. 14 ก็ข่มเหงรุมกินกานั้นตัวมีปีกอันใช้การไม่ได้ดิ้นรนอยู่ ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ก็ดี ชนเหล่าอื่นผู้ยังบริโภคก็ดี ถ้ายังกาหนัดในกามอยู่ ไม่ละทิ้งกามเสีย นักปราชญ์ทั้งหลายรู้ว่า ชนเหล่านั้นเป็นอยู่ด้วยปัญญาเสมอกับกา ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนมหาบพิตร อุปมาข้อนี้ อาตมภาพแสดงอรรถอย่างชัดแจ้ง ถวายมหาบพิตรแล้ว พระองค์จักทรงทาหรือไม่ ก็จะปรากฏด้วยเหตุนั้น. ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูล จึงได้ถวายโอวาทแด่พระองค์ ก็ถ้าพระองค์จักทรงทาตามโอวาทนั้นไซร้ พระองค์ก็จักทรงบังเกิดในเทวโลก หากพระองค์จักไม่ทรงทาตามโอวาทนั้น พระองค์จักจมอยู่ในเปือกตม คือกาม ในกาลที่สุดแห่งพระชนมชีพจักบังเกิดในนรก. พระองค์เองจักทรงทราบสวรรค์หรือนรก ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้ ส่วนอาตมภาพพ้นแล้วจากภพทั้งปวง ไม่ต้องถือปฏิสนธิอีกต่อไป. ก็พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ถวายโอวาทนี้แด่พระราชาพระองค์นั้นได้แสดงถึงแม่น้าแล้ว แสดงถึงซากศพช้างที่ถูกน้าพัดพาลอยไปในแม่น้าคงคา แสดงถึงกาตัวจิกกินซากศพ แสดงถึงการที่จิกกินซากศพแล้วดื่มน้าของกาตัวนั้น แสดงถึงการที่มองดูไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์ใจ แสดงถึงการเข้าไปสู่มหาสมุทรของซากศพที่ลอยไปในแม่น้า แสดงถึงการที่ไม่ได้ที่จับอาศัยบนซากช้างแล้ว ถึงความพินาศไปในท่ามกลางมหาสมุทรของกา. บรรดาสิ่งเหล่านั้น สงสารอันหาเบื้องต้นและที่สุดมิได้ บัณฑิตพึงเห็นว่าเปรียบเหมือนแม่น้า. กามคุณ ๕ อย่างในสงสาร เปรียบเหมือนซากศพช้างที่ลอยอยู่ในแม่น้า. ปุถุชนที่เป็ นคนพาล เปรียบเหมือนกา. กาลแห่งปุถุชนผู้บริโภคกามคุณแล้วเกิดโสมนัส เปรียบเหมือนกาลที่กาจิกกินซากศพแล้วดื่มน้า. การเห็นอารมณ์ ๓๘ ประการด้วยอานาจการสดับฟังของปุถุชนผู้ติดข้องอยู่ในกามคุณทั้งหลาย เปรียบเหมือนการเห็นไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์ใจของกา ตัวติดข้องอยู่ในซากศพนั่นแล. ท่านผู้เป็นบัณฑิตพึงเห็นการถึงความพินาศในมหานรกของปุถุชนผู้เป็นคนพาล ผู้ยินดีในกามคุณ มีความชั่วเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ไม่สามารถจะได้ที่ตั้งอาศัยในกุศลธรรมว่า เปรียบเหมือนกาลที่กา เมื่อซากศพเข้าไปสู่มหาสมุทรแล้ว ไม่สามารถจะได้ที่จับอาศัย ก็ถึงความพินาศไปฉะนั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าถวายโอวาทแด่พระราชาพระองค์นั้น
  • 15. 15 ด้วยข้ออุปมานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้หวังจะทาโอวาทนั่นแหละให้ตั้งอยู่อย่างมั่นคง. จึงกล่าวคาถานี้ว่า บุคคลผู้อนุเคราะห์พึงกล่าวเพียงคาเดียว หรือสองคา ไม่พึงกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น เปรียบเหมือนทาสที่อยู่ในสานักแห่งเจ้านาย ฉะนั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเหาะขึ้นไปด้วยฤทธิ์ แล้วสั่งสอนพระราชาว่า ถ้าพระองค์จักทรงผนวช หรือไม่ทรงผนวชก็ตาม อาตมภาพก็ได้ถวายโอวาทแด่พระองค์แล้ว ดูก่อนมหาบพิตร ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด. ดังนี้แล้วจึงไปสู่เงื้อมภูเขาชื่อนันทมูลกะ ตามเดิม. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาอันบุคคลนับไม่ได้ ครั้นทูลดังนี้แล้วพร่าสอนบรมกษัตริย์ในอากาศ แล้วหลีกไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเป็ นผู้มีปัญญา อันบุคคลนับไม่ได้ด้วยปัญญา เป็นเครื่องตรัสรู้ อันเป็นโลกุตระ ที่ใครๆ นับไม่ได้ พอท่านกล่าวคานี้แล้ว ก็เหาะขึ้นไปด้วยฤทธิ์ พร่าสอนบรมกษัตริย์อย่างนี้ว่า ถ้าพระองค์จักทรงผนวช ก็เป็นเรื่องของพระองค์ผู้เดียว หรือถ้าพระองค์จักไม่ทรงผนวช ก็เป็นเรื่องของพระองค์อีกเช่นกัน อาตมภาพถวายโอวาทแด่พระองค์แล้ว ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้แล้วหลีกไป. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ประทับยืน ทอดพระเนตรดูพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นผู้ไปอยู่โดยอากาศ เพียงเท่าที่จะมองเห็นได้ ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นลับสายพระเนตรไปแล้ว จึงกลับได้ความสลดพระทัย ทรงพระดาริว่า พราหมณ์นี้มีชาติต่า โปรยธุลีละอองเท้าลงบนศีรษะของเรา ผู้เกิดแล้วในวงศ์กษัตริย์อันมิได้ปะปนระคนด้วยวงศ์อื่น เขาเหาะขึ้นสู่อากาศไปแล้ว แม้ตัวเราก็ควรจะออกบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว. ท้าวเธอทรงปรารถนาที่จะมอบราชสมบัติแล้วทรงผนวช. จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า บุคคลผู้อภิเษก ท่านผู้สมควรให้เป็นกษัตริย์ เป็ นรัชทายาท และบุคคลผู้ถึงความฉลาด เหล่านี้อยู่ที่ไหน เราจักมอบราชสมบัติ เราไม่ต้องการด้วยราชสมบัติ เราจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ เราจะไม่โง่เขลาตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา. เมื่อพระราชาทรงมอบราชสมบัติอยู่อย่างนี้ พวกอามาตย์ได้สดับแล้ว จึงกราบทูลว่า
  • 16. 16 พระโอรสหนุ่มของพระองค์ ทรงพระนามว่า ทีฆาวุ จะทรงบารุงรัฐให้เจริญได้มีอยู่ ขอพระองค์จงทรงอภิเษกพระโอรสนั้นไว้ในพระราชสมบัติ พระโอรสนั้นจักได้เป็นพระราชาของข้าพระบาททั้งหลาย. เบื้องหน้าแต่นั้น บัณฑิตพึงทาคาถาที่พระราชาตรัสแล้วให้เป็นตัวอย่างแล้ว พึงทราบคาถาสัมพันธ์ด้วยอุทานโดยนัยพระบาลีนั้นแล. พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงรีบเชิญทีฆาวุกุมาร ผู้บารุงรัฐให้เจริญมาเถิด เราจักอภิเษกเธอไว้ในราชสมบัติ เธอจักเป็นพระราชาของท่านทั้งหลาย. พวกอามาตย์สดับพระดารัสของพระเจ้าแผ่นดินแล้ว จึงพากันไปเชิญเสด็จทีฆาวุราชกุมารมา. แม้พระราชาก็ทรงมอบพระราชสมบัติแก่พระราชกุมารนั้นแล้ว. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า ลาดับนั้น พวกอามาตย์ได้ไปเชิญทีฆาวุราชกุมาร ผู้บารุงรัฐให้เจริญมาเฝ้ า พระราชาทอดพระเนตรเห็นเอกอัครโอรส ผู้น่าปลื้มพระทัยนั้น จึงตรัสว่า ลูกรักเอ๋ย คามเขตของเราหกหมื่น บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง ลูกจงบารุงเขา พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตาย ในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย เหมือนกับกา. ช้างหกหมื่นเชือกประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีสายรัดล้วนทองคา เป็นช้างใหญ่มีร่างกายปกปิด ด้วยเครื่องคลุมล้วนทองคา อันนายควาญช้างผู้ถือโตมร และขอขึ้นกากับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบารุงช้างเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตาย ในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย เหมือนกับกา. ม้าหกหมื่นตัวประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เป็ นม้าสินธพ เป็นม้าอาชาไนยโดยกาเนิด เป็ นพาหนะเร็ว อันนายสารถีผู้ถือแส้และธนูขึ้นกากับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบารุงม้าเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตาย ในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย เหมือนกับกา. รถหกหมื่นคัน หุ้มเกราะไว้ดีแล้ว มีธงอันยกขึ้นแล้ว หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองก็มี หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งก็มี ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง อันนายสารถีถือแล่งธนูสวมเกราะขึ้นประจา ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบารุงรถเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก
  • 17. 17 พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตาย ในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย เหมือนกับกา. แม่โคนมหกหมื่นตัวมีสีแดง ประกอบด้วยโคจ่าฝูงตัวประเสริฐ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบารุงโคเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตาย ในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย เหมือนกับกา. สตรีหมื่นหกพันนาง ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมกุณฑลแก้วมณี ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบารุงสตรีเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตาย ในวันพรุ่งนี้ พ่อจักไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอานาจแห่งกามทั้งหลาย เหมือนกับกา. ลาดับนั้น พระกุมารจึงกราบทูลพระองค์ว่า ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันได้สดับว่า เมื่อหม่อมฉันเป็นเด็กๆ พระชนนีทิวงคต หม่อมฉันไม่อาจจะเป็ นอยู่ห่างพระบิดาได้ ลูกช้างย่อมติดตามหลังช้างป่า ตัวเที่ยวอยู่ในที่มีภูเขา เดินลาบาก เสมอบ้าง ไม่เสมอบ้าง ฉันใด หม่อมฉันจะอุ้มบุตรธิดา ติดตามพระบิดาไปข้างหลัง จักเป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงง่าย จักไม่เป็ นผู้อันพระบิดาเลี้ยงยาก ฉันนั้น. พระราชาตรัสตอบว่า อันตรายทาเรือที่แล่น อยู่ในมหาสมุทรของพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ให้จมลงในมหาสมุทรนั้น พวกพ่อค้าพึงถึงความพินาศ ฉันใด ลูกรักเอ๋ย เจ้านี้เป็ นผู้กระทาอันตรายให้แก่พ่อ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. พระราชกุมารไม่อาจจะกราบทูลถ้อยคาอะไรๆ อีกได้. ลาดับนั้น พระราชา เมื่อจะทรงบังคับพวกอามาตย์ จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงพาราชกุมารนี้ไปให้ถึงปราสาท อันยังความยินดีให้เจริญเถิด พวกนางกัญญาผู้มีมือประดับด้วยทองคา จักยังกุมารให้รื่นรมย์ในปราสาทนั้น เหมือนนางเทพอัปสรยังท้าวสักกะให้รื่นรมย์ ฉะนั้น และกุมารนี้จักรื่นรมย์ด้วยนางกัญญาเหล่านั้น ลาดับนั้น อามาตย์ทั้งหลายจึงเชิญพระราชกุมารไปยังปราสาทอันยังความยินดีให้เจริญ พวกนางกัญญาเห็นทีฆาวุกุมารผู้ยังรัฐให้เจริญนั้นแล้ว จึงพากันทูลว่า พระองค์เป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือว่าเป็นท้าวสักกปุรินททะ พระองค์เป็ นใคร หรือเป็นพระราชโอรสของใคร หม่อมฉันทั้งหลายจะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร. ทีฆาวุราชกุมารจึงตรัสตอบว่า เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี ชื่อทีฆาวุ ผู้ยังรัฐให้เจริญ เธอทั้งหลายจงบาเรอเรา
  • 18. 18 ขอความเจริญจงมีแก่เธอทั้งหลาย เราจะเป็นสามีของเธอทั้งหลาย. พวกนางกัญญาในปราสาทนั้น ได้ทูลถามพระเจ้าทีฆาวุผู้บารุงรัฐนั้นว่า พระราชาเสด็จไปถึงไหนแล้ว พระราชาเสด็จจากที่นี้ไปไหนแล้ว. ทีฆาวุราชกุมาร จึงตรัสตอบว่า พระราชาทรงก้าวล่วงเสียซึ่งเปือกตม ประดิษฐานอยู่บนบก เสด็จดาเนินไปสู่ทางใหญ่ อันไม่มีหนาม ไม่มีรกชัฏ ส่วนเรายังเป็นผู้ดาเนินไปสู่ทาง อันให้ถึงทุคติ มีหนาม รกชัฏ เป็นเครื่องไปสู่ทุคติแห่งชนทั้งหลาย. นารีทั้งหลายจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้วดุจราชสีห์มาสู่ถ้า ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงอนุศาสน์พวกหม่อมฉัน ขอพระองค์ทรงเป็ นอิสราธิบดีของพวกหม่อมฉันทั้งปวง เถิด. พระมหาสัตว์ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงรับสั่งให้อภิเษกทีฆาวุราชกุมารนั้นในที่นั้นนั่นเอง แล้วให้กลับเข้าไปสู่พระนคร. ส่วนพระองค์ผู้เดียวเท่านั้นเสด็จออกจากพระราชอุทยาน เข้าไปป่าหิมวันต์ สร้างบรรณศาลาที่ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ แล้วทรงผนวชเป็นฤๅษี มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร ยังอัตภาพให้เป็นไป. ฝ่ายมหาชนก็เชิญเสด็จพระกุมารไปยังกรุงพาราณสี. พระกุมารนั้นทรงกระทาประทักษิณพระนคร แล้วเสด็จขึ้นสู่ปราสาท. ลาดับนั้น พวกนางฟ้ อนเหล่านั้นจึงพากันคิดว่า พระราชาทรงละทิ้งพวกเรา เสด็จออกบรรพชาเสียก่อนแล้ว ถึงพระกุมารนี้เล่าก็เป็นผู้มีพระหฤทัยกาหนัดในกามทั้งหลาย ถ้าพวกเราจักไม่ยอมอภิรมย์กับพระองค์ พระองค์ก็จะพึงเสด็จออกบรรพชาเสียอีก พวกเราจักกระทาอาการ คือการอภิรมย์แก่พระองค์. ลาดับนั้น พวกนางฟ้ อน เมื่อจะให้พระกุมารรื่นรมย์ด้วย จึงได้กราบทูลคาถาสุดท้ายแล้ว. พวกนารีเหล่านั้น ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ก็ประโคมดุริยดนตรีทั้งปวงขึ้น ทาการฟ้ อนราขับร้องมีประการต่างๆ ให้เป็ นไปแล้ว เกียรติยศได้ยิ่งใหญ่ขึ้นแล้ว. ทีฆาวุราชกุมารนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยเกียรติยศ ก็มิได้ทรงระลึกถึงพระบิดาเลย ได้เสวยราชสมบัติโดยธรรมเป็นไปตามยถากรรมแล้ว. แม้พระโพธิสัตว์ได้ทรงกระทาฌานและอภิญญา ให้บังเกิดขึ้นแล้ว
  • 19. 19 ในที่สุดแห่งพระชนมชีพก็ได้ไปบังเกิดในพรหมโลก. พระศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์ แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อน ก็ได้เคยออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว จึงได้ทรงประชุมชาดกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้ว ในกาลนั้น ทีฆาวุกุมาร ในกาลนั้น ได้เป็ น ราหุลกุมาร บริษัทที่เหลือ ในกาลนั้น ได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนพระเจ้าอรินทมะ ในกาลนั้น ก็คือ เราตถาคต แล. -----------------------------------------------------