SlideShare a Scribd company logo
1
มหาสุตโสมชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๕. มหาสุตโสมชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๗)
ว่าด้วยพระเจ้ามหาสุตโสมทรงทรมานโจรโปริสารท
(พระเจ้ามหาสุตโสมโพธิสัตว์ทรงเป็นพระสหายร่วมสานักเรียนกับพระเจ้าพรหม
ทัตและพระกุมารอื่นๆ อีกประมาณ ๑๐๑ พระองค์
ต่อมาเมื่อแยกย้ายกลับบ้านเมืองของตนแล้ว
พรหมทัตกุมารได้ครองเมืองพาราณสี แต่หลงผิดไปติดใจบริโภคเนื้อมนุษย์
ทาให้ถูกเนรเทศ พระเจ้ามหาสุตโสมต้องไปทรมานจนกลับใจ)
(กาฬหัตถีเสนาบดีถามพ่อครัวว่า)
[๓๗๑] พ่อครัว เพราะเหตุไร ท่านจึงทากรรมทารุณโหดร้ายเช่นนี้
ท่านหลงฆ่าหญิงและชายทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งเนื้อหรือแห่งทรัพย์
(พ่อครัวจึงตอบเสนาบดีว่า)
[๓๗๒] ท่านผู้เจริญ มิใช่เพราะเหตุแห่งตน มิใช่เพราะเหตุแห่งทรัพย์
มิใช่เพราะเหตุแห่งบุตรภรรยา มิใช่เพราะเหตุแห่งสหายและญาติทั้งหลาย
แต่พระจอมภูมิบาลซึ่งเป็ นนายของข้าพเจ้า พระองค์เสวยมังสะเช่นนี้
(กาฬหัตถีเสนาบดีกล่าวว่า)
[๓๗๓] ถ้าท่านขวนขวายในกิจของเจ้านาย
ทากรรมอันโหดร้ายทารุณเช่นนี้ได้ เวลาเช้าตรู่ ท่านควรจะเข้าไปในพระราชวัง
แล้วแถลงเหตุนั้นแก่เราต่อพระพักตร์พระราชา
(พ่อครัวกล่าวว่า)
[๓๗๔] ท่านกาฬหัตถี ข้าพเจ้าจักกระทาตามที่ท่านสั่ง เวลาเช้าตรู่
ข้าพเจ้าจะเข้าไปในพระราชวัง จะแถลงเหตุนั้นแก่ท่านต่อพระพักตร์พระราชา
(พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๓๗๕] ลาดับนั้น ครั้นราตรีสว่างแล้ว ดวงอาทิตย์อุทัย
กาฬเสนาบดีได้พาคนทาครัวเข้าไปเฝ้ าพระราชา
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระราชาดังนี้ว่า
[๓๗๖] ข้าแต่มหาราช ได้ทราบด้วยเกล้าว่า
พระองค์ทรงใช้พ่อครัวให้ฆ่าหญิงและชายทั้งหลาย
พระองค์เสวยเนื้อมนุษย์จริงหรือ พระเจ้าข้า”
(พระราชาตรัสว่า)
[๓๗๗] แน่นอน เป็นความจริง ท่านกาฬะ เราใช้พ่อครัว
เมื่อเขาทาประโยชน์ให้แก่เรา ท่านจะด่าเขาทาไม
(กาฬเสนาบดี เมื่อจะนาเรื่องมาแสดง จึงกราบทูลว่า)
2
[๓๗๘] ปลาใหญ่ชื่ออานนท์ ติดใจในรสปลาทุกชนิด
เมื่อฝูงปลาหมดสิ้นไป ก็กลับมากินตัวเองตาย
[๓๗๙] พระองค์ทรงประมาทไปแล้ว
มีพระทัยยินดียิ่งนักในรส(เนื้อมนุษย์) ถ้าเป็นคนพาลต่อไป ยังไม่ทรงรู้สึกอย่างนี้
จะต้องมาละทิ้งพระโอรส พระมเหสี และพระญาติ จะกลับมาเสวยตัวพระองค์เอง
[๓๘๐] เพราะได้ทรงสดับอุทาหรณ์ที่ข้าพระองค์นามากราบทูลนี้
ขอความพอพระทัยที่จะเสวยเนื้อมนุษย์จงคลายไปเถิด
ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งหมู่มนุษย์ พระองค์อย่าได้เสวยเนื้อมนุษย์เลย
อย่าได้ทรงทาแคว้นนี้ให้ว่างเปล่า เหมือนปลาอานนท์ทามหาสมุทรให้ว่างเปล่า
(พระราชาได้สดับดังนั้น เมื่อจะนาเรื่องเก่ามาแสดง จึงตรัสว่า)
[๓๘๑] กุฎุมพีชื่อว่าสุชาตะ ลูกที่เกิดกับตัวเขา ไม่ได้ชิ้นลูกหว้าเขาก็ตาย
เพราะชิ้นลูกหว้านั้นหมดสิ้นไป
[๓๘๒] ท่านกาฬะ เราก็เหมือนกัน บริโภคอาหารที่มีรสอร่อยที่สุด
ถ้าไม่ได้เนื้อมนุษย์ เข้าใจว่า คงเสียชีวิตแน่
(พราหมณ์ได้กล่าวกับมาณพว่า)
[๓๘๓] มาณพ เจ้าเป็ นผู้มีรูปงาม เกิดในตระกูลโสตถิยพราหมณ์
เจ้าไม่ควรกินอาหารที่ไม่ควรกินนะ
(มาณพกล่าวว่า)
[๓๘๔] บรรดารสทั้งหลาย น้าเมานี้มีรสอร่อยที่สุดอย่างหนึ่ง
เพราะเหตุไร พ่อจึงห้ามผม ผมจักไปในสถานที่ที่ผมจักได้รสเช่นนี้
[๓๘๕] ผมจักออกไปละ จักไม่อยู่ในสานักของพ่อ
เพราะพ่อไม่ยินดีที่จะได้เห็นผม
(ลาดับนั้น พราหมณ์จึงกล่าวว่า)
[๓๘๖] มาณพ ข้าคงจะได้ลูกคนอื่นๆ เป็นทายาทเป็นแน่
เจ้าคนต่าทราม เจ้าจงฉิบหายเสียเถิด จงไปในที่ที่ข้าจะไม่พึงได้ข่าวเจ้าผู้ไปแล้ว
(กาฬหัตถีเสนาบดีประมวลเหตุนี้มาแสดงแก่พระราชา แล้วกราบทูลว่า)
[๓๘๗] ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมแห่งหมู่มนุษย์
พระองค์ก็อย่างนั้นเหมือนกัน โปรดสดับคาของข้าพระองค์
พสกนิกรทั้งหลายจักพากันเนรเทศพระองค์ไปจากแคว้น
เหมือนพราหมณ์เนรเทศมาณพผู้เป็นนักเลงสุรา
(พระราชาเมื่อไม่อาจจะงดเนื้อนั้นได้ ตรัสแสดงเหตุแม้อย่างอื่นอีกว่า)
[๓๘๘] สาวกของพวกฤๅษีผู้อบรมแล้วชื่อว่าสุชาตะ
เขาต้องการนางอัปสรเท่านั้น จนไม่กินข้าวและไม่ดื่มน้า
3
[๓๘๙] บุคคลพึงเอาน้าที่ติดอยู่กับปลายหญ้าคา
มานับเปรียบกันดูกับน้าที่มีอยู่ในสมุทรฉันใด
กามทั้งหลายของพวกมนุษย์ในสานักของกามทิพย์ก็ฉันนั้น
[๓๙๐] ท่านกาฬะ เราก็เหมือนกัน บริโภคอาหารที่มีรสอร่อยที่สุดแล้ว
ถ้าไม่ได้เนื้อมนุษย์ เข้าใจว่า คงเสียชีวิตแน่
(กาฬเสนาบดีครั้นได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า)
[๓๙๑] เปรียบเสมือนพวกหงส์ชื่อธตรัฏฐะ เหิรบินไปในท้องฟ้ า
ถึงความตายไปจนหมดเพราะกินอาหารที่ไม่ควรกิน ฉันใด
[๓๙๒] ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมแห่งหมู่มนุษย์
พระองค์ก็อย่างนั้นเหมือนกัน โปรดสดับคาของข้าพระองค์
พระองค์เสวยเนื้อที่ไม่ควร ฉะนั้น พสกนิกรทั้งหลายจึงพากันเนรเทศพระองค์
(โจรโปริสารท (โปริสาท แปลว่า มีคนเป็ นอาหาร, คนกินคน
เป็นชื่อของพระเจ้าพรหมทัต หลังจากถูกชาวเมืองเนรเทศแล้ว
ได้ไปอาศัยโคนต้นไทรอยู่ แล้วเที่ยวปล้นคนเดินทาง
เพื่อฆ่าเอาเนื้อมาปรุงอาหาร จึงปรากฏชื่อเสียงว่าโปริสาท)
กล่าวกับรุกขเทวดานั้นว่า)
[๓๙๓] เราได้ห้ามท่านแล้วว่า จงหยุด ท่านนั้นก็ยังเดินดุ่มๆ ไป
ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ท่านไม่ได้หยุด แต่บอกว่าหยุด ท่านสมณะ
นี้ควรแก่ท่านแล้วหรือ ท่านสาคัญดาบของเราว่าเป็นขนปีกนกตะกรุมหรือ
(ลาดับนั้น เทวดากล่าวว่า)
[๓๙๔] มหาบพิตร อาตมภาพหยุดแล้วในธรรมของตน
ไม่ได้เปลี่ยนชื่อและโคตร ส่วนโจรบัณฑิตกล่าวว่า ไม่หยุดในโลก
จุติจากโลกนี้แล้วจะต้องไปเกิดในอบายหรือนรก มหาบพิตร
ถ้าทรงเชื่ออาตมภาพ ขอมหาบพิตรจงจับพระเจ้าสุตโสมผู้เป็นกษัตริย์เถิด
มหาบพิตรทรงจับพระเจ้าสุตโสมนั้นบูชายัญแล้ว จักเสด็จไปสวรรค์ได้อย่างนี้
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ยืนถวายพระพรอยู่ข้างทาง
จึงตรัสถามว่า)
[๓๙๖] ชาติภูมิของท่านอยู่ในแคว้นไหนหนอ
ท่านมาถึงนครนี้ได้ด้วยประโยชน์อะไร ท่านพราหมณ์
ขอท่านจงบอกประโยชน์นี้แก่ข้าพเจ้า ท่านต้องการอะไร
ข้าพเจ้าจะให้ตามที่ท่านต้องการ ณ วันนี้
(พราหมณ์ได้กราบทูลพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์นั้นว่า)
[๓๙๗] พระภูมิบาล คาถาทั้ง ๔ มีอรรถที่ลึก
เปรียบด้วยสาครอันประเสริฐ
4
หม่อมฉันมานครนี้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์เท่านั้น ขอพระองค์โปรดสดับคาถา
ที่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่งเถิด
(โจรโปริสาทจับพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ได้แล้ว จึงทูลถามว่า)
[๓๙๘] ชนเหล่าใดมีความรู้ มีปัญญา เป็นพหูสูต คิดเหตุการณ์ได้มาก
ชนเหล่านั้นย่อมไม่ร้องไห้ การที่เหล่าบัณฑิตเป็นผู้บรรเทาความโศกได้
นี่แหละเป็ นที่พึ่งอันยอดเยี่ยมของเหล่านรชน
[๓๙๙] ท่านสุตโสม พระองค์ทรงเศร้าโศกเพราะเหตุไร
เพราะเหตุแห่งพระองค์เอง พระญาติ พระโอรส พระมเหสี ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน
หรือว่าทองหรือ ท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐ หม่อมฉันขอฟังพระดารัสของพระองค์
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๐๐] หม่อมฉันมิได้ทอดถอน มิได้เศร้าโศกเพื่อประโยชน์แก่ตน
แก่โอรส มเหสี ทรัพย์ และแคว้น
แต่ธรรมของเหล่าสัตบุรุษที่เคยประพฤติมาเก่าก่อน
หม่อมฉันนัดหมายไว้กับพราหมณ์
หม่อมฉันทอดถอนเศร้าโศกถึงการนัดหมายนั้น
[๔๐๑] หม่อมฉันดารงอยู่ในความเป็นใหญ่ในแคว้นของตนเอง
ได้ทาการนัดหมายไว้กับพราหมณ์ เพื่อจะเปลื้องการนัดหมายนั้นกับพราหมณ์
ก็จักเป็นผู้รักษาความสัตย์หวนกลับมาอีก
(โจรโปริสาทกราบทูลพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ว่า)
[๔๐๒] นรชนผู้มีความสุข หลุดพ้นไปจากปากของมฤตยูแล้ว
จะพึงกลับมาสู่เงื้อมมือของศัตรูอีก ข้อนี้หม่อมฉันยังไม่เชื่อ
ท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐที่สุด พระองค์ไม่เสด็จเข้าไปหาหม่อมฉันเลย
[๔๐๓] พระองค์ทรงหลุดพ้นจากเงื้อมมือของโจรโปริสาทแล้ว
เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์ จะมัวทรงเพลิดเพลินในกามคุณ
ข้าแต่พระราชา พระองค์ทรงได้พระชนม์ชีพอันเป็นที่รักแสนหวานแล้ว
ไฉนจักเสด็จกลับมายังสานักของหม่อมฉันเล่า
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น ไม่ทรงหวาดระแวง จึงตรัสว่า)
[๔๐๔] คนผู้มีศีลบริสุทธิ์พึงปรารถนาความตาย
ผู้มีธรรมลามกที่นักปราชญ์ติเตียนก็ไม่ปรารถนาชีวิต
นรชนใดพึงกล่าวเท็จเพราะเพื่อประโยชน์ของตนใดเป็นเหตุ
เหตุเพื่อประโยชน์ของตนนั้น ย่อมป้ องกันนรชนนั้นจากทุคติไม่ได้
[๔๐๕] แม้ถ้าลมจะพึงพัดพาภูเขามาได้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็จะพึงตกลงบนแผ่นดินได้
และแม่น้าทุกสายก็จะพึงไหลทวนกระแส ถ้าเป็นไปได้อย่างนั้น
หม่อมฉันก็จะไม่พึงพูดเท็จเลย พระเจ้าข้า
5
[๔๐๖] ฟ้ าพึงทลายรั่วได้ ทะเลก็พึงแห้งได้
แผ่นดินที่ทรงรองรับสัตว์ไว้ก็จะพึงพลิกกลับได้
ภูเขาพระสุเมรุก็จะพึงเพิกถอนขึ้นได้พร้อมทั้งเหง้า ถ้าเป็นไปได้อย่างนั้น
หม่อมฉันก็จะไม่พึงพูดเท็จเลย พระเจ้าข้า
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสสาบานว่า)
[๔๐๗] สหาย หม่อมฉันจะจับดาบและหอก
จะทาแม้แต่การสาบานต่อพระองค์ก็ได้ หม่อมฉันผู้ที่พระองค์ปล่อยแล้ว
จักเป็นผู้หมดหนี้ รักษาความสัตย์ หวนกลับมาอีก
(โจรโปริสาทกราบทูลพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ว่า)
[๔๐๘] ท่านผู้ดารงอยู่แล้วในความเป็นใหญ่ในแคว้นของพระองค์
ได้ทาการนัดหมายใดไว้กับพราหมณ์ เพื่อจะเปลื้องการนัดหมายนั้นกับพราหมณ์
พระองค์ก็จักเป็นผู้รักษาความสัตย์หวนกลับมาอีก
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๐๙] หม่อมฉันผู้ดารงอยู่แล้วในความเป็ นใหญ่ในแคว้นของตน
ได้ทาการนัดหมายใดไว้กับพราหมณ์
เพื่อจะเปลื้องการนัดหมายนั้นกับพราหมณ์ชก็จักเป็นผู้รักษาความสัตย์หวนกลับม
าอีก
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๔๑๐] พระเจ้าสุตโสมนั้นทรงพ้นจากเงื้อมมือของโจรโปริสารทแล้วท
ได้เสด็จไปตรัสกับพราหมณ์นั้นดังนี้ว่า ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอฟังสตารหคาถา
ที่ข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว จะพึงเป็ นประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
(พราหมณ์ดูคัมภีร์ กราบทูลว่า)
[๔๑๑] ท่านสุตโสม การสมาคมกับสัตบุรุษ
ครั้งเดียวเท่านั้นก็คุ้มครองผู้นั้นได้
การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากครั้งก็คุ้มครองไม่ได้
[๔๑๒] บุคคลพึงอยู่ร่วมกับสัตบุรุษเท่านั้น
พึงทาความสนิทสนมกับสัตบุรุษทั้งหลาย เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย
บุคคลจึงมีแต่ความเจริญ ไม่มีความเสื่อมเลย
[๔๑๓] ราชรถที่วิจิตรดีทั้งหลายยังทรุดโทรมได้ อนึ่ง
แม้สรีระก็ยังเข้าถึงความแก่ชรา
ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงความคร่าคร่า
สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
[๔๑๔] ฟ้ ากับแผ่นดินห่างไกลกัน
ฝั่งโน้นกับฝั่งนี้ของสมุทรก็กล่าวกันว่าไกลกัน ข้าแต่พระราชา
ธรรมของสัตบุรุษและอสัตบุรุษ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ไกลยิ่งกว่านั้นโดยแท้
6
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสกับพราหมณ์นั้นว่า)
[๔๑๕] คาถาเหล่านี้มีค่า ๑,๐๐๐ ไม่ใช่มีค่าเพียง ๑๐๐ ท่านพราหมณ์
เชิญท่านรีบมารับเอาทรัพย์ ๔,๐๐๐ เถิด
(พระราชบิดาของพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๑๖] คาถามีค่า ๘๐ ๙๐ และ ๑๐๐ ก็ยังมี พ่อสุตโสม
พ่อจงเข้าใจเอาเองเถิด มีคาถาอะไรที่ชื่อว่า มีค่าตั้ง ๑,๐๐๐
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์กราบทูลให้พระราชบิดายินยอมว่า)
[๔๑๗] หม่อมฉันย่อมปรารถนาความเจริญทางการศึกษาของตน
สัตบุรุษคือผู้สงบทั้งหลายพึงคบหาหม่อมฉัน ข้าแต่ทูลกระหม่อมพ่อ
หม่อมฉันไม่อิ่มด้วยสุภาษิต เหมือนมหาสมุทรไม่อิ่มด้วยน้า
[๔๑๘] ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ไฟไหม้หญ้าและไม้ย่อมไม่อิ่ม
สาครก็ไม่อิ่มด้วยแม่น้าทั้งหลายฉันใด
แม้บัณฑิตเหล่านั้นฟังแล้วก็ไม่อิ่มด้วยสุภาษิตฉันนั้น
[๔๑๙] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน เมื่อใด
หม่อมฉันฟังคาถาที่มีประโยชน์ในสานักแห่งทาสของตน เมื่อนั้น
หม่อมฉันย่อมตั้งใจฟังคาถานั้นเท่านั้นโดยเคารพ ข้าแต่ทูลกระหม่อมพ่อ
เพราะหม่อมฉัน ไม่มีความอิ่มในธรรมเลย
[๔๒๐] แคว้นของทูลกระหม่อมนี้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง
มีทั้งทรัพย์ ยวดยาน และเครื่องประดับ
ทูลกระหม่อมทรงบริภาษหม่อมฉันเพราะเหตุแห่งกามทาไม
หม่อมฉันขอทูลลาไปในสานักของโปริสาท
(พระบิดาตรัสว่า)
[๔๒๑] กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบ
ล้วนแต่เชี่ยวชาญในการธนูพอที่จะปกป้ องตัวเองได้
เราจะยกกองทัพไปฆ่าศัตรูเสีย
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ฟังคาของพระราชบิดาและพระราชมารดาแล้ว
จึงตรัสว่า)
[๔๒๒] โจรโปริสาทได้ทากิจที่ทาได้แสนยาก
จับหม่อมฉันได้ทั้งเป็ นแล้วปล่อยมา ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน
หม่อมฉันระลึกถึงอุปการะ ที่มีมาก่อนเช่นนั้นที่โจรโปริสาทนั้นทาแล้ว
จะพึงประทุษร้ายต่อโปริสาทนั้นได้อย่างไร
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๔๒๓] พระเจ้าสุตโสมนั้นถวายบังคมพระบิดาและพระมารดาแล้ว
ทรงพร่าสอนชาวนิคมและพลนิกาย เป็นผู้ตรัสความสัตย์ และทรงรักษาคาสัตย์
ได้เสด็จไปยังที่เป็ นที่อยู่ของโปริสาทแล้ว
7
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสกับโจรโปริสาทว่า)
[๔๒๔] หม่อมฉันผู้ดารงอยู่ในความเป็นใหญ่ในแคว้นของตน
ได้ทาการนัดหมายไว้กับพราหมณ์ เพื่อเปลื้องการนัดหมายนั้นกับพราหมณ์
จึงเป็ นผู้รักษาความสัตย์หวนกลับมาอีก ท่านโปริสาท
ขอเชิญท่านบูชายัญกินเราเสียเถิด
(โจรโปริสาทได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๔๒๕] การเคี้ยวกินท่านในภายหลัง ไม่เสียหายสาหรับข้าพเจ้า
แท้จริงกองไฟนี้ก็ยังมีควัน เนื้อที่ย่างในกองไฟอันไม่มีควันจะสุกดี
หม่อมฉันจะขอฟังคาถาซึ่งมีค่าตั้ง ๑๐๐
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๔๒๖] ท่านโปริสาท ท่านประพฤติไม่ชอบธรรม
ต้องพลัดพรากจากแคว้น เพราะเหตุแห่ง(ปาก)ท้อง
ส่วนคาถาเหล่านี้ย่อมกล่าวสรรเสริญธรรม ธรรมและอธรรมจะลงกันได้ที่ไหน
(ธรรมและอธรรมจะลงกันได้ที่ไหน หมายถึงรวมกันไม่ได้
เพราะว่าธรรมย่อมให้ถึงสุคติคือนิพพาน ส่วนอธรรมให้ถึงทุคติ)
[๔๒๗] คนผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม หยาบช้า
มีฝ่ามือเปื้อนเลือดเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีสัจจะ ธรรมจะมีได้แต่ที่ไหน
ท่านจักทรงทาประโยชน์อะไรด้วยการสดับ (ประโยชน์อะไรด้วยการสดับ
หมายความว่า ท่านจักทาอะไรกับการฟังนี้ เพราะท่านไม่ใช่ภาชนะรองรับธรรม
เหมือนภาชนะที่ไม่ใช่ภาชนะรองรับเปลวมันราชสีห์)
(โจรโปริสาทได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๔๒๘] ผู้ใดเที่ยวล่าเนื้อ (ล่าสัตว์) เพราะเหตุแห่งเนื้อ
หรือฆ่าคนเพราะเหตุแห่งตน คนทั้ง ๒ นั้นละโลกนี้ไปแล้วก็เสมอกัน (พอกัน)
เพราะเหตุไรหนอ พระองค์จึงทรงกล่าวหาหม่อมฉันว่า
เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์เมื่อจะแก้ลัทธิของโจรโปริสาท จึงตรัสว่า)
[๔๒๙] พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทราบธรรมเนียมกษัตริย์
ไม่ควรเสวยเนื้อสัตว์ ๑๐ ชนิดมีเนื้อช้างเป็ นต้น ข้าแต่พระราชา
พระองค์เสวยเนื้อมนุษย์ที่ไม่ควรเสวย เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม
(โจรโปริสาทเมื่อจะให้พระโพธิสัตว์รับบาปบ้าง จึงกราบทูลว่า)
[๔๓๐] พระองค์ทรงพ้นจากเงื้อมมือของโจรโปริสาทแล้ว
เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์ ทรงเพลิดเพลินอยู่ในกาม
เสด็จหวนกลับมาสู่เงื้อมมือของหม่อมฉันผู้เป็นศัตรูอีก
พระองค์ช่างเป็ นผู้ไม่ฉลาดในธรรมของกษัตริย์ (ธรรมของกษัตริย์
8
หมายถึงหลักนิติศาสตร์ ในที่นี้ โจรโปริสาทกล่าวว่า
พระเจ้าสุตโสมไม่ฉลาดในนิติศาสตร์กล่าวคือธรรมของกษัตริย์
คือไม่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็ นประโยชน์ของตน
(เพราะเห็นพระราชากลับมาสู่สานักของตนอีก)) เลยนะ พระเจ้าข้า
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า)
[๔๓๑] ชนเหล่าใดฉลาดในธรรมของกษัตริย์
ชนเหล่านั้นต้องตกนรกเสียโดยมาก เพราะฉะนั้น
หม่อมฉันจึงละธรรมของกษัตริย์ แล้วเป็ นผู้รักษาความสัตย์ หวนกลับมาอีก
ท่านโปริสาท ขอเชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด
(โจรโปริสาทกราบทูลว่า)
[๔๓๒] พระตาหนักที่ประทับ แผ่นดิน โค ม้า สตรีผู้น่ารักใคร่
ผ้าแคว้นกาสี และแก่นจันทน์ พระองค์ทรงได้ทุกสิ่งในพระนครนั้น
ก็พระองค์ทรงเป็ นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นอานิสงส์อะไรด้วยความสัตย์
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๓๓] รสเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ในแผ่นดิน
สัจจะเป็ นรสดีกว่ารสเหล่านั้น ก็เพราะสมณะและพราหมณ์ผู้ดารงอยู่ในสัจจะ
ย่อมข้ามฝั่งแห่งชาติและมรณะได้
(โจรโปริสาทกราบทูลว่า)
[๔๓๔] พระองค์ทรงพ้นจากเงื้อมมือของโจรโปริสาทแล้ว
เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์ ทรงเพลิดเพลินอยู่ในกาม
ยังเสด็จหวนกลับมาสู่เงื้อมมือของศัตรูอีก ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน
พระองค์ไม่ทรงกลัวความตายแน่นะ
และพระองค์เป็ นผู้ตรัสคาสัตย์ไม่มีพระทัยท้อแท้เลยหรือ
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสตอบว่า)
[๔๓๕] หม่อมฉันได้บาเพ็ญความดีไว้มากมาย
ได้บูชายัญที่บัณฑิตสรรเสริญอย่างไพบูลย์ ได้ชาระทางไปปรโลกไว้แล้ว
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะต้องกลัวตาย
[๔๓๖] หม่อมฉันได้บาเพ็ญความดีไว้มากมาย
ได้บูชายัญที่บัณฑิตสรรเสริญอย่างไพบูลย์ไว้แล้ว
จึงไม่เดือดร้อนใจที่จะไปสู่ปรโลก ท่านโปริสาท
ขอเชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด
[๔๓๗] หม่อมฉันได้บารุงพระบิดาและพระมารดาแล้ว
ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม ได้ชาระทางไปปรโลกไว้แล้ว ผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ใครเล่าจะพึงกลัวตาย
9
[๔๓๘] หม่อมฉันได้บารุงพระบิดาและพระมารดาแล้ว
ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม จึงไม่เดือดเนื้อร้อนใจที่จะไปสู่ปรโลก
ท่านโปริสาท ขอเชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด
[๔๓๙] หม่อมฉันได้ทาอุปการะไว้ในหมู่พระญาติ และมิตรทั้งหลายแล้ว
ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม ได้ชาระทางไปปรโลกไว้แล้ว ผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ใครเล่าจะพึงกลัวตาย
[๔๔๐] หม่อมฉันได้ทาอุปการะไว้ในหมู่พระญาติ และมิตรทั้งหลายแล้ว
ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรมจึงไม่เดือดร้อนใจที่จะไปสู่ปรโลก
ท่านโปริสาทขอเชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด
[๔๔๑] หม่อมฉันได้ให้ทานมากมายแก่คนเป็นอันมาก
และได้บารุงเลี้ยงสมณะและพราหมณ์ให้อิ่มหนา ได้ชาระทางไปสู่ปรโลกไว้แล้ว
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะพึงกลัวตาย
[๔๔๒] หม่อมฉันได้ให้ทานมากมายแก่คนเป็นอันมาก
และได้บารุงเลี้ยงสมณะและพราหมณ์ให้อิ่มหนา
จึงไม่เดือดร้อนใจที่จะไปสู่ปรโลก ท่านโปริสาท
ขอเชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด
(โจรโปริสาทได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า)
[๔๔๓] บุรุษใดพึงกินคนผู้มีวาจาสัตย์เช่นท่าน
บุรุษนั้นชื่อว่าบริโภคยาพิษทั้งๆ ที่รู้ ชื่อว่าจับอสรพิษที่ร้ายแรง มีเดชกล้า
แม้ศีรษะของเขาพึงแตกเป็น ๗ เสี่ยง
[๔๔๔] นรชนทั้งหลายได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมรู้แจ้งทั้งบุญและบาป
ใจของหม่อมฉันย่อมยินดีในธรรม เพราะได้ฟังคาถาบ้าง
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ทรงแสดงธรรมแก่โจรโปริสาทว่า)
[๔๔๕] ข้าแต่มหาราช การสมาคมกับสัตบุรุษเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
การสมาคมนั้นย่อมคุ้มครองผู้นั้นได้
การสมาคมกับอสัตบุรุษมากครั้งก็คุ้มครองไม่ได้
[๔๔๖] บุคคลพึงอยู่ร่วมกับสัตบุรุษเท่านั้น
พึงทาความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย
บุคคลจึงมีความเจริญ ไม่มีความเสื่อมเลย
[๔๔๗] ราชรถที่วิจิตรดีทั้งหลายยังทรุดโทรมได้ อนึ่ง
แม้สรีระก็ยังเข้าถึงความแก่ชรา
ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงความคร่าคร่า
สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
10
[๔๔๘] ฟ้ ากับแผ่นดินห่างไกลกัน
ฝั่งโน้นกับฝั่งนี้ของสมุทรก็กล่าวกันว่าไกลกัน ข้าแต่พระราชา
ธรรมของสัตบุรุษและอสัตบุรุษ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ไกลยิ่งกว่านั้นโดยแท้
(โจรโปริสาทกราบทูลว่า)
[๔๔๙] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน คาถาเหล่านี้มีอรรถและพยัญชนะดี
พระองค์ตรัสไว้ถูกต้องดีแล้ว หม่อมฉันได้สดับแล้วเพลิดเพลิน ปลื้มใจ ดีใจ
อิ่มใจ ข้าแต่พระสหาย หม่อมฉันขอถวายพร ๔ ประการแด่พระองค์
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์เมื่อจะรุกต้อนโจรโปริสาท จึงตรัสว่า)
[๔๕๐] ท่านผู้มีบาปธรรม พระองค์ไม่รู้สึกว่าตนจะตาย
ไม่รู้สึกประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ วินิบาตและสวรรค์ เป็ นผู้ติดใจในรส
ตั้งมั่นในทุจริต จะประทานพรอะไรได้
[๔๕๑] หากหม่อมฉันจะกล่าวกับพระองค์ว่า โปรดให้พรเถิด
ฝ่ายพระองค์ครั้นประทานแล้วจะพึงกลับคา
บัณฑิตคนไหนเล่ารู้อยู่จะพึงก่อการทะเลาะวิวาทนี้ที่เห็นอยู่ชัดๆ
(โจรโปริสาทกราบทูลว่า)
[๔๕๒] คนเราแม้ให้พรใดแล้วพึงกลับคา เขาไม่สมควรให้พรนั้น สหาย
ท่านจงขอพรเถิด อย่าหวั่นวิตกไปเลย แม้แต่ชีวิตหม่อมฉันก็ยอมสละถวายได้
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า)
[๔๕๓] มิตรธรรมของพระอริยะกับพระอริยะย่อมเสมอกัน
ของผู้มีปัญญากับผู้มีปัญญาก็เสมอกัน
หม่อมฉันพึงเห็นพระองค์เป็นผู้มีพลานามัยตลอด ๑๐๐ ปี บรรดาพรทั้งหลาย
นี้เป็นพรข้อที่ ๑ ที่หม่อมฉันทูลขอ
(โจรโปริสาทเมื่อจะให้พร จึงกราบทูลว่า)
[๔๕๔] มิตรธรรมของพระอริยะกับพระอริยะย่อมเสมอกัน
ของผู้มีปัญญากับผู้มีปัญญาก็เสมอกัน
พระองค์จงเห็นหม่อมฉันผู้หาโรคมิได้ตลอด ๑๐๐ ปี บรรดาพรทั้งหลาย
นี้เป็นพรข้อที่ ๑ ที่หม่อมฉันขอถวาย
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๕๕] พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ผู้ทรงได้มูรธาภิเษก
ทรงได้เฉลิมพระปรมาภิไธยเหล่าใดในชมพูทวีปนี้
พระองค์อย่าได้เสวยกษัตริย์เหล่านั้นผู้เช่นนั้น บรรดาพรทั้งหลาย นี้เป็ นพรข้อที่
๒ ที่หม่อมฉันทูลขอ
(โจรโปริสาทเมื่อจะให้พร จึงกราบทูลว่า)
[๔๕๖] พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ผู้ทรงได้มูรธาภิเษก
ทรงได้เฉลิมพระปรมาภิไธยเหล่าใดในชมพูทวีปนี้
11
หม่อมฉันจะไม่กินกษัตริย์เหล่านั้นผู้เช่นนั้น บรรดาพรทั้งหลาย นี้เป็นพรข้อที่ ๒
ที่หม่อมฉันขอถวาย
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๕๗] กษัตริย์เกินกว่า ๑๐๐ พระองค์ที่พระองค์จับร้อยฝ่าพระหัตถ์ไว้
ทรงกันแสง พระพักตร์ชุ่มด้วยพระอัสสุชล
ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปล่อยกษัตริย์เหล่านั้น ให้กลับไปในแคว้นของตนๆ เถิด
บรรดาพรทั้งหลาย นี้เป็นพรข้อที่ ๓ ที่หม่อมฉันทูลขอ
(โจรโปริสาทเมื่อจะให้พร จึงกราบทูลว่า)
[๔๕๘] กษัตริย์เกินกว่า ๑๐๐ พระองค์ที่หม่อมฉันจับร้อยฝ่าพระหัตถ์ไว้
ทรงกันแสง มีพระพักตร์ชุ่มด้วยพระอัสสุชล
หม่อมฉันจะปล่อยกษัตริย์เหล่านั้นให้กลับไปในแคว้นของตนๆ
บรรดาพรทั้งหลาย นี้เป็นพรข้อที่ ๓ ที่หม่อมฉันขอถวาย
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๕๙] แคว้นของพระองค์เป็ นช่อง (แคว้นของพระองค์เป็นช่อง
หมายถึงไม่มีที่อยู่หนาแน่น คือ เกิดมีช่องว่าง เพราะเกิดหมู่บ้านขึ้นเฉพาะที่)
เพราะชนเป็ นอันมากหวาดหวั่นเพราะกลัว จึงพากันหนีเข้าหาที่หลบซ่อน
ขอพระองค์โปรดทรงงดเว้นเนื้อมนุษย์เถิด พระเจ้าข้า บรรดาพรทั้งหลาย
นี้เป็นพรข้อที่ ๔ ที่หม่อมฉันทูลขอ
(โจรโปริสาทกราบทูลว่า)
[๔๖๐] มนุษย์นั้นเป็นภักษาหารที่ชอบใจของหม่อมฉันมาตั้งนาน
หม่อมฉันหนีเข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งภักษาหารนี้
หม่อมฉันนั้นจะพึงงดอาหารนั้นได้อย่างไร ขอพระองค์จงขอพรข้อที่ ๔
อย่างอื่นเถิด
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๖๑] พระองค์ผู้จอมชน คนเช่นกับพระองค์มัวพะวงอยู่ว่า
นี้เป็นที่พอใจของเรา มาทอดทิ้งตนเสีย ย่อมไม่ประสบสิ่งซึ่งเป็ นที่พอใจทั้งหลาย
ตนนั่นแหละประเสริฐกว่า ประเสริฐอย่างยอดเยี่ยมกว่า
เพราะบุคคลผู้อบรมตนแล้ว พึงได้สิ่งซึ่งเป็ นที่พอใจทั้งหลายในภายหลัง
(โจรโปริสาทมีน้าตานองหน้า กราบทูลว่า)
[๔๖๒] เนื้อมนุษย์เป็นที่พอใจของหม่อมฉัน พระเจ้าสุตโสม
โปรดทรงทราบอย่างนี้ หม่อมฉันไม่อาจจะงดเว้น
เชิญพระองค์เลือกพรอย่างอื่นเถิด พระสหาย
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๖๓] ผู้ใดมัวรักษาของซึ่งเป็ นที่พอใจว่า นี้เป็นที่พอใจของเรา
มาทอดทิ้งตนเสีย ย่อมประสบแต่ของซึ่งเป็ นที่รักทั้งหลาย
12
เหมือนนักเลงสุราดื่มสุราที่เจือยาพิษ เพราะเหตุนั้นเอง
เขาจึงได้รับทุกข์ในโลกหน้า
[๔๖๔] อนึ่ง ผู้ใดในโลกนี้ได้พิจารณาแล้ว ละสิ่งซึ่งเป็ นที่พอใจเสียได้
ย่อมเสพอริยธรรมได้แสนยาก เหมือนคนไข้ผู้ประสบทุกข์ดื่มยา
เพราะเหตุนั้นแหละ ผู้นั้นจึงเป็ นผู้ได้รับความสุขในโลกหน้า
(โจรโปริสาทกล่าวคร่าครวญว่า)
[๔๖๕] หม่อมฉันละทิ้งพระบิดาและพระมารดา
ทั้งเบญจกามคุณอันเป็นที่ชอบใจ หนีเข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งภักษาหารนี้
พรข้อนั้นหม่อมฉันจะถวายแก่พระองค์ได้อย่างไร
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๖๖] บัณฑิตทั้งหลายไม่กล่าววาจาเป็ น ๒ ส่วน
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมมีปฏิญญาเป็นคาสัตย์โดยแท้
พระองค์ได้ตรัสกับหม่อมฉันว่า เชิญขอพรเถิดนะ พระสหาย
พระองค์ได้ตรัสไว้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระดารัสที่พระองค์ตรัสจึงไม่สมกัน
(โจรโปริสาทร้องไห้อีก กราบทูลว่า)
[๔๖๗] หม่อมฉันเข้าถึงการไม่ได้บุญ ความเสื่อมยศเสื่อมเกียรติ บาป
ทุจริต ความเศร้าหมองเป็นอันมาก เพราะเนื้อมนุษย์เป็นเหตุ
หม่อมฉันจะพึงถวายพรนั้นแก่พระองค์ได้อย่างไร
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสกับโจรโปริสาทนั้นอีกว่า)
[๔๖๘] คาว่า คนเราให้พรใดแล้วกลับคา เขาไม่สมควรให้พรนั้น สหาย
ขอพระองค์จงขอพรเถิด อย่าหวั่นวิตกไปเลย
แม้แต่ชีวิตหม่อมฉันก็สละถวายพระองค์ได้
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสสนับสนุนโจรโปริสาทนั้นให้อาจหาญในการให้พรว่
า)
[๔๖๙] สัตบุรุษทั้งหลายยอมสละชีวิต แต่ไม่สละธรรม
สัตบุรุษมีปฏิญญาเป็นสัตย์อย่างเดียว พรที่พระองค์ได้ประทานแล้ว
ขอได้โปรดรีบประทานเสียเถิด พระราชาผู้ประเสริฐสุด
ขอพระองค์จงสมบูรณ์ด้วยธรรมนี้เถิด
[๔๗๐] นรชนพึงสละทรัพย์เพราะเหตุแห่งอวัยวะที่สาคัญ
เมื่อจะรักษาชีวิต ก็พึงสละอวัยวะ เมื่อระลึกถึงธรรม พึงสละทั้งอวัยวะ ทรัพย์
และแม้แต่ชีวิตทั้งหมด
[๔๗๑] บุรุษรู้ธรรมจากผู้ใด
และเหล่าสัตบุรุษย่อมขจัดความสงสัยของบุรุษนั้นได้
13
ข้อนั้นเป็ นที่พึ่งและเป็ นจุดมุ่งหมายของบุรุษนั้น ด้วยเหตุนั้น
บุคคลผู้มีปัญญาไม่พึงทาลายไมตรี
(โจรโปริสาทเมื่อจะให้พร จึงกราบทูลว่า)
[๔๗๒] มนุษย์นั้นเป็นภักษาหารที่ชอบใจของหม่อมฉันมาตั้งนาน
หม่อมฉันหนีเข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งภักษาหารนี้ สหาย
ก็ถ้าพระองค์จะตรัสขอเรื่องนี้กับหม่อมฉัน หม่อมฉันขอถวายพรนี้แด่พระองค์
[๔๗๓] สหาย พระองค์เป็นทั้งครูและสหายของหม่อมฉัน
หม่อมฉันได้ทาตามพระดารัสของพระองค์แล้ว
แม้พระองค์ก็ขอได้โปรดทาตามคาของหม่อมฉัน เราแม้ทั้ง ๒
จะได้ไปปลดปล่อย(เหล่ากษัตริย์)ด้วยกัน
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสกับโจรโปริสาทนั้นว่า)
[๔๗๔] สหาย หม่อมฉันเป็นทั้งครูและสหายของพระองค์
พระองค์ได้ทาตามคาของหม่อมฉันแล้ว
แม้หม่อมฉันก็จะทาตามพระดารัสของพระองค์ เราแม้ทั้ง ๒
ก็จะได้พากันไปปลดปล่อย(เหล่ากษัตริย์)ด้วยกัน
(ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว
พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์เสด็จเข้าไปหากษัตริย์เหล่านั้นแล้ว จึงตรัสว่า)
[๔๗๕] พระองค์ทั้งหลายอย่าได้ประทุษร้าย
ต่อพระราชานี้ด้วยความเคียดแค้นว่า
“เราทั้งหลายถูกพระเจ้ากัมมาสบาทเบียดเบียน ถูกร้อยฝ่ามือ ร้องไห้
มีหน้านองไปด้วยน้าตา
ขอพระองค์ทั้งหลายจงทรงรับสัตย์ปฏิญาณของหม่อมฉัน”
(กษัตริย์เหล่านั้นตรัสตอบว่า)
[๔๗๖] พวกหม่อมฉันจะไม่ประทุษร้าย
ต่อพระราชาพระองค์นี้ด้วยความเคียดแค้นว่า
“เราทั้งหลายถูกพระเจ้ากัมมาสบาทเบียดเบียน ถูกร้อยฝ่ามือ ร้องไห้
มีหน้านองไปด้วยน้าตา หม่อมฉันทั้งหลายขอรับสัจจปฏิญญาของพระองค์”
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสกับกษัตริย์เหล่านั้นว่า)
[๔๗๗] บิดาหรือมารดาเป็นผู้อนุเคราะห์
ปรารถนาประโยชน์แก่ประชาฉันใด
ขอพระราชานี้จงเป็ นเสมือนพระบิดาและพระมารดา ของท่านทั้งหลาย
และขอท่านทั้งหลายจงเป็ นเสมือนบุตรฉันนั้น
(กษัตริย์เหล่านั้นเมื่อรับปฎิญาณ จึงกราบทูลว่า)
[๔๗๘] บิดาหรือมารดาเป็นผู้อนุเคราะห์
ปรารถนาประโยชน์แก่ประชาทั้งหลายฉันใด
14
แม้พระราชานี้ก็จงเป็ นเหมือนพระบิดาและพระมารดาของหม่อมฉันทั้งหลาย
แม้หม่อมฉันทั้งหลายก็จะเป็นเหมือนโอรสฉันนั้น
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ทรงพรรณนาถึงสมบัติของพระนคร
จึงตรัสปลอบโจรโปริสาทว่า)
[๔๗๙] พระองค์เคยเสวยกระยาหารเนื้อสัตว์ ๔ เท้า
และนกที่พวกพ่อครัวจัดปรุงให้สาเร็จอย่างดี
เหมือนพระอินทร์ทรงเสวยสุธาโภชน์ ไฉนจึงทรงละทิ้งไปยินดีอยู่ป่าแต่ลาพังเล่า
[๔๘๐] นางกษัตริย์เหล่านั้นล้วนแต่เอวบางร่างน้อยสะโอดสะอง
ประดับแวดล้อมบารุงพระองค์ให้บันเทิงพระทัย
เหมือนนางเทพอัปสรแวดล้อมพระอินทร์ในเทวโลกฉะนั้น
ไฉนจึงทรงละทิ้งไปยินดีอยู่ป่าตามลาพังเล่า
[๔๘๑] พระแท่นบรรทมมีพนักแดง โดยมากปูลาดด้วยผ้าโกเชาว์
ล้วนแต่ปูลาดด้วยเครื่องอาภรณ์ทั้งปวงอันงดงาม
พระองค์เคยทรงบรรทมสุขสาราญ ประทับบนท่ามกลางพระแท่นบรรทมเช่นนั้น
ไฉนจึงทรงละทิ้งไปยินดีอยู่ป่าแต่ลาพังเล่า
[๔๘๒] ในเวลาพลบค่า มีทั้งเสียงปรบมือ เสียงตะโพน และเสียงดนตรี
รับประสานเสียงล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษเจือปน
การขับและการประโคมก็ล้วนไพเราะ ไฉนจึงทรงละทิ้งไปยินดีอยู่ป่าแต่ลาพังเล่า
[๔๘๓] พระราชอุทยานชื่อมิคาชินวัน
สมบูรณ์ด้วยบุปผชาติหลากหลายชนิด
พระนครของพระองค์ประกอบด้วยพระราชอุทยานเช่นนี้
เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจยิ่งนัก ประกอบด้วยม้า ช้าง และรถ
ไฉนจึงทรงละทิ้งไปยินดีอยู่ป่าแต่ลาพังเล่า
(โจรโปริสาทกราบทูลพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ว่า)
[๔๘๔] ข้าแต่พระราชา ในกาฬปักษ์ ดวงจันทร์ย่อมอ่อนแสงลงทุกๆ วัน
การสมาคมคบหาอสัตบุรุษ ย่อมเปรียบเสมือนดวงจันทร์ในข้างแรมฉันใด
[๔๘๕] หม่อมฉันก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อาศัยพ่อครัวซึ่งเป็ นคนชั่วเลวทราม ได้ทาแต่บาปกรรมที่จะเป็ นเหตุให้ไปทุคติ
[๔๘๖] ในสุกกปักษ์ ดวงจันทร์ย่อมส่องแสงสว่างขึ้นทุกๆ วันฉันใด
ข้าแต่พระราชา การสมาคมคบหาสัตบุรุษ
ก็เปรียบเสมือนดวงจันทร์ในข้างขึ้นฉันนั้น
[๔๘๗] ข้าแต่พระเจ้าสุตโสม ขอพระองค์ทรงทราบว่า
เหมือนหม่อมฉันได้อาศัยพระองค์แล้ว จักทากุศลกรรมที่เป็นเหตุให้ไปสุคติได้
[๔๘๘] พระองค์ผู้จอมชน เปรียบเสมือนน้าฝนที่ตกลงบนที่ดอน
ไม่ควรยืดเยื้อขังอยู่ได้นานฉันใด
15
แม้การสมาคมคบหาอสัตบุรุษของหม่อมฉันก็ฉันนั้น
ไม่ควรจะยืดเยื้อยาวนานได้เหมือนน้าบนที่ดอน
[๔๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน ผู้เป็นนรชน ผู้แกล้วกล้า
และประเสริฐสุด น้าฝนที่ตกลงในสระย่อมขังอยู่ได้นานฉันใด
แม้การสมาคมคบหาสัตบุรุษของหม่อมฉันก็ฉันนั้น
ย่อมตั้งอยู่ได้นานเหมือนน้าในสระ
[๔๙๐] การสมาคมสัตบุรุษย่อมไม่รู้จักเสื่อมคลายไป
ย่อมเป็นอยู่เหมือนอย่างนั้น แม้ตลอดเวลาที่ชีวิตยังคงอยู่
ส่วนการสมาคมคบหาอสัตบุรุษย่อมเสื่อมไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น
ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับอสัตบุรุษ
(พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงธรรมเพื่อให้เนื้อความถึงที่สุด
จึงตรัสว่า)
[๔๙๑] พระราชาผู้ชนะคนที่ไม่ควรชนะ (คนที่ไม่ควรชนะ
หมายถึงมารดาบิดา เมื่อชนะมารดาบิดาไม่ชื่อว่าเป็นพระราชา
หากว่าท่านได้ราชสมบัติจากพระราชบิดาแล้ว กลับเป็นปฐมกษัตริย์ต่อท่าน
ชื่อว่าทากิจไม่สมควร) ไม่ชื่อว่าเป็ นพระราชา เพื่อนผู้ชนะเพื่อน
ก็ไม่ชื่อว่าเป็นเพื่อน ภรรยาผู้ไม่เกรงกลัวสามี ก็ไม่ชื่อว่าเป็นภรรยา
บุตรทั้งหลายผู้ไม่เลี้ยงดูมารดาและบิดาผู้แก่ชรา ก็ไม่ชื่อว่าเป็ นบุตร
[๔๙๒] ที่ประชุมที่ไม่มีสัตบุรุษ (สัตบุรุษหมายถึงบัณฑิต
สัตบุรุษทั้งหลายละกิเลสมีราคะเป็นต้นแล้ว เป็ นผู้อนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยประโยชน์
พูดแต่ความจริง) ก็ไม่ชื่อว่าสภา เหล่าชนผู้ไม่พูดคาที่เป็นธรรม
ไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ ชนทั้งหลายผู้ละราคะ โทสะ โมหะ
กล่าวคาที่เป็นธรรมเท่านั้น จึงชื่อว่า เป็ นสัตบุรุษ
[๔๙๓] บัณฑิตผู้อยู่ปะปนกับคนพาล เมื่อไม่พูด ใครๆ
ก็ไม่รู้ว่าเป็ นบัณฑิต แต่บัณฑิตเมื่อพูด เมื่อแสดงอมตบท จึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต
[๔๙๔] เพราะเหตุนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงกล่าวธรรม
พึงอธิบายธรรมให้แจ่มแจ้ง พึงเชิดชูธงของฤๅษีทั้งหลาย
เพราะฤๅษีทั้งหลายมีธรรมที่เป็นสุภาษิตเป็นธงชัย
ธรรมนั่นแหละเป็นธงชัยของฤๅษีทั้งหลาย
มหาสุตโสมชาดกที่ ๕ จบ
-------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
มหาสุตโสมชาดก
ว่าด้วย พระเจ้าสุตโสมทรงทรมานพระยาโปริสาท
16
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภพระอังคุลิมาลเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
การบังเกิดและการบรรพชาของพระอังคุลิมาลเถระนั้น
บัณฑิตพึงทราบโดยพิสดารตามนัยที่ท่านพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้ว
ในอรรถกถาอังคุลิมาลสูตร.
ในเรื่องนี้จะได้กล่าวความตั้งแต่พระอังคุลิมาลเถระนั้นได้กระทาความ
สวัสดีแก่หญิงผู้มีครรภ์หลงด้วยทาความสัตย์แล้ว จาเดิมแต่นั้นมา
ก็ได้อาหารสะดวกขึ้น เจริญวิเวกอยู่ ในกาลต่อมา ก็ได้บรรลุพระอรหัต
เป็นพระอรหันต์มีชื่อปรากฏนับเข้าในภายในพระมหาเถระ ๘๐ องค์
ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ จริงๆ หนอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานพระองคุลิมาล ผู้เป็นมหาโจร
มีฝ่ามืออันชุ่มด้วยเลือด ร้ายกาจเห็นปานนั้น โดยไม่ต้องใช้ทัณฑะหรือศัสตรา
ทาให้หมดพยศได้ ทรงกระทากิจที่ทาได้โดยยาก ธรรมดาว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้กระทากิจที่ทาได้ยาก อย่างน่าอัศจรรย์.
พระศาสดาประทับอยู่ในพระคันธกุฎี
ได้ทรงสดับถ้อยคาของภิกษุเหล่านั้นด้วยทิพโสต ก็ทรงทราบว่า
เราไปวันนี้จักมีอุปการะมาก พระธรรมเทศนาจักเป็ นไปอย่างใหญ่หลวงดังนี้
จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี
เสด็จไปยังธรรมสภาด้วยพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้
ประทับนั่งบนอาสนะอันประเสริฐที่พวกภิกษุจัดไว้ถวาย แล้วตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว.
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ได้บรรลุปรมาภิสมโพธิญาณ
ทรมานพระองคุลิมาลได้ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย
เมื่อครั้งเรายังบาเพ็ญบุรพจริยาแม้ตั้งอยู่ในประเทศญาณก็ทรมานพระองคุลิมาลนี้
ได้ ตรัสดังนี้แล้วทรงดุษณีภาพ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา
จึงทรงนาอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล
พระราชาทรงพระนามว่าโกรัพยะ เสวยราชสมบัติโดยธรรม ในพระนครอินทปัต
แคว้นกุรุ ในกาลนั้น
พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีแห่งพระเ
จ้าโกรัพยะนั้น ก็เพราะพระราชกุมารนั้นมีพระพักตร์ดังดวงจันทร์
และมีนิสัยชอบในการศึกษา
17
ชนทั้งหลายจึงพากันเรียกเธอว่าสุตโสม พระราชาทรงเห็นพระกุมารนั้นเจริญวัยแ
ล้ว จึงพระราชทานทองลิ่มชนิดเนื้อดี ราคาพันหนึ่ง ส่งไปยังเมืองตักกสิลา
เพื่อให้ศึกษาศิลปศาสตร์ ในสานักอาจารย์ทิศาปาโมกข์.
สุตโสมรับทรัพย์อันเป็นส่วนของอาจารย์ แล้วออกเดินทางไป
แม้พรหมทัตกุมาร พระโอรสของพระเจ้ากาสิกราช ในพระนครพาราณสี
พระบิดาก็รับสั่งอย่างเดียวกันแล้ว ส่งไปจึงเดินไปยังหนทางนั้น. ลาดับนั้น
สุตโสมกุมารเดินทางไปถึงแล้ว จึงนั่งพักที่แผ่นกระดานในศาลาใกล้ประตูเมือง
แม้พรหมทัตกุมารไปถึงแล้ว
ก็นั่งบนแผ่นกระดานแผ่นเดียวกันกับสุตโสมกุมารนั้น.
ลาดับนั้น สุตโสมจึงกระทาปฏิสันถารแล้ว ถามพรหมทัตกุมารนั้นว่า
ดูก่อนสหาย ท่านเดินทางมาเหน็ดเหนื่อย ท่านมาจากไหน.
พรหมทัตกุมารตอบว่า ข้าพเจ้ามาจากเมืองพาราณสี. ท่านเป็ นบุตรของใคร.
ข้าพเจ้าเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี. ท่านชื่อไร. ข้าพเจ้าชื่อพรหมทัตกุมาร.
ท่านมาที่นี่ด้วยเหตุไร. พรหมทัตกุมารตอบว่า ข้าพเจ้ามาเพื่อเรียนศิลปศาสตร์
แล้วถามสุตโสมกุมาร โดยนัยนั้นเหมือนกันว่า
แม้ตัวท่านก็เดินทางเหน็ดเหนื่อยมา ท่านมาจากไหน.
แม้สุตโสมก็บอกแก่พรหมทัตกุมารทุกประการ
แม้สองราชกุมารนั้นจึงกล่าวแก่กันว่า เราทั้งสองเป็นกษัตริย์
จงไปศึกษาศิลปศาสตร์ในสานักท่านอาจารย์คนเดียวกันเถิด
กระทามิตรภาพแก่กันและกันแล้ว จึงเข้าไปสู่พระนคร ไปหาสกุลอาจารย์
ไหว้อาจารย์แล้วแจ้งชาติของตน แถลงความที่ตนทั้งสองมา เพื่อจะศึกษาศิลปะ
อาจารย์จึงรับว่า ดีละ.
สองราชกุมารจึงให้ทรัพย์อันเป็นส่วนค่าเล่าเรียนกับอาจารย์ แล้วเริ่มเรียนศิลปะ.
เวลานั้น ไม่ใช่แต่สองราชกุมารเท่านั้น แม้พระราชบุตรอื่นๆ
ในชมพูทวีป ประมาณ ๑๐๑ พระองค์ ก็เรียนศิลปะอยู่ในสานักของอาจารย์นั้น
สุตโสมกุมารได้เป็นอันเตวาสิกผู้เจริญที่สุดกว่าราชบุตรเหล่านั้น
เล่าเรียนศิลปศาสตร์อยู่อย่างขะมักเขม้น ไม่นานเท่าไรนักก็ถึงความสาเร็จ
สุตโสมกุมารมิได้ไปยังสานักของราชกุมารเหล่าอื่น
ไปหาแต่พรหมทัตกุมารผู้เดียว ด้วยคิดว่า กุมารนี้เป็ นสหายของเรา
เป็นครูผู้ช่วยแนะนาภายหลังของพรหมทัตกุมารนั้น
สอนให้สาเร็จการศึกษาได้โดยรวดเร็ว ศิลปะแม้ของราชกุมารนอกนี้
ก็สาเร็จโดยลาดับกันมา พวกราชกุมารเหล่านั้นให้เครื่องคานับไหว้อาจารย์แล้ว
แวดล้อมสุตโสมออกเดินทางไป
ลาดับนั้น สุตโสมจึงพักยืนอยู่ในระหว่างทางที่จะแยกกัน
เมื่อจะส่งราชบุตรเหล่านั้นกลับ จึงกล่าวว่า
18
ท่านทั้งหลายแสดงศิลปะแก่พระราชมารดาบิดาของตนแล้ว
จักตั้งอยู่ในราชสมบัติ ครั้นตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้ว พึงกระทาตามโอวาทของเรา
ทาอย่างไรท่านอาจารย์ ท่านทั้งหลายจงรักษาอุโบสถทุกวันครึ่งเดือน
อย่าได้กระทาการเบียดเบียน ราชบุตรเหล่านั้นรับคาเป็ นอันดี
แม้พระโพธิสัตว์ก็ทรงทราบล่วงหน้าอยู่แล้วว่า
มหาภัยจักเกิดขึ้นในพระนครพาราณสี เพราะอาศัยพรหมทัตกุมาร ดังนี้
เพราะปรากฏในองค์วิทยา จึงได้ให้โอวาทแก่พวกราชกุมารเหล่านั้น แล้วส่งไป.
ราชบุตรเหล่านั้นทุกๆ พระองค์ ไปถึงชนบทของตนๆ
แล้วแสดงศิลปะแก่พระราชมารดาบิดาของตนแล้ว
ตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้วต่างส่งราชสาส์น พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการ
เพื่อให้ทราบความที่ตนตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้ว และประพฤติอยู่ในโอวาทด้วย
พระมหาสัตว์ได้ทรงทราบข่าวสาส์นนั้นแล้ว ทรงตอบพระราชสาส์นไปว่า
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ในบรรดาพระราชาเหล่านั้น
พระเจ้าพาราณสีเว้นมังสะเสียแล้ว เสวยอาหารไม่ได้
แม้ในวันอุโบสถพวกห้องเครื่องต้น ก็ต้องเก็บมังสะไว้ถวายท้าวเธอ อยู่มาวันหนึ่ง
เนื้อที่เก็บไว้อย่างนั้น พวกโกไลยสุนัขในพระราชวังกินเสียหมด
เพราะความเลินเล่อของคนทาเครื่องต้น คนทาเครื่องต้นไม่เห็นมังสะ
จึงถือกหาปณะกามือหนึ่งเที่ยวไป ก็ไม่อาจจะหามังสะได้ จึงดาริว่า
ถ้าหากเราจักตั้งเครื่องเสวยไม่มีมังสะ เราก็จะไม่มีชีวิต จักทาอย่างไรเล่าหนอ
ครั้นนึกอุบายได้ ในเวลาค่าจึงไปสู่ป่าช้าผีดิบ ตัดเอาเนื้อตรงขาของบุรุษที่ตาย
เมื่อครู่หนึ่งนั้น นามาทาให้สุกดีแล้ว หุงข้าวจัดแจงตั้งเครื่องเสวย พร้อมด้วยมังสะ
พอพระราชาวางชิ้นมังสะลง ณ ปลายพระชิวหา ชิ้นมังสะนั้นก็แผ่ไปสู่
เส้นประสาทที่รับรสทั้ง ๗ พันซาบซ่านไปทั่วพระสรีระ มีคาถามสอดเข้ามาว่า
ที่เป็นดังนี้ เพราะเหตุไร เฉลยว่า เพราะเคยเสวยมาก่อนแล้ว.
ได้ยินว่า ในอัตภาพต่อกันที่ล่วงไปแล้ว
ท้าวเธอเกิดเป็นยักษ์กินเนื้อมนุษย์เสียเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น
เนื้อมนุษย์จึงได้เป็นสิ่งที่โปรดปรานของพระองค์ ท้าวเธอทรงพระดาริว่า
ถ้าเราจักนิ่งเสียแล้วบริโภค คนทาเครื่องนี้ก็จักไม่บอกเนื้อชนิดนี้แก่เรา
จึงแกล้งถ่มให้ตกลงบนภาคพื้น พร้อมด้วยพระเขฬะ
เมื่อคนทาเครื่องต้นกราบทูลว่า ขอเดชะ มังสะนี้หาโทษมิได้
เชิญพระองค์เสวยเถิด จึงทรงรับสั่งให้ราชเสวกออกไปเสียแล้ว
ตรัสถามคนทาเครื่องต้นว่า เราเองก็ทราบว่า เนื้อนี้หาโทษมิได้
แต่เนื้อนี้เรียกว่าเนื้ออะไร. ขอเดชะ เนื้อที่พระองค์เคยเสวยในวันก่อนๆ ในวันอื่น
เนื้อนี้ไม่มีรสอย่างนั้นมิใช่หรือ ขอเดชะ. พึงทาได้ดีในวันนี้เอง แม้เมื่อก่อน
เจ้าก็ทาอย่างนี้มิใช่หรือ.
19
ลาดับนั้น ท้าวเธอทรงทราบว่า คนทาเครื่องต้นนั้นนิ่งอยู่
จึงรับสั่งต่อไปว่า จงบอกมาตามความจริงเถิด ถ้าเจ้าไม่บอก เจ้าจะไม่มีชีวิต.
คนทาเครื่องต้นจึงทูลขอพระราชทานอภัยแล้ว ก็กราบทูลตามความเป็นจริง
พระราชารับสั่งว่า เจ้าอย่าเอ็ดไป เจ้าจงกินมังสะที่ทาตามธรรมดา
แล้วจงนาเนื้อมนุษย์ให้แก่เราอย่างเดียว คนทาเครื่องต้นทูลถามว่า ขอเดชะ
ทาได้ยากมิใช่หรือ. อย่ากลัวเลย ไม่ใช่ของยาก. คนทาเครื่องต้นจึงทูลถามว่า
ขอเดชะ ข้าพระองค์จักได้มาจากไหนเป็ นนิตย์เล่า.
คนในเรือนจามีอยู่มากมายมิใช่หรือ.
จาเดิมแต่นั้น เขาก็ได้กระทาตามพระราชบัญชาทุกประการ
ครั้นต่อมา พวกนักโทษในเรือนจาหมด คนทาเครื่องต้นจึงกราบทูลว่า
บัดนี้ ข้าพระองค์จักกระทาอย่างไรต่อไป
เจ้าจงทิ้งถุงทรัพย์พันหนึ่งไว้ที่ระหว่างทาง คนใดหยิบเอาถุงทรัพย์นั้น
จงจับคนนั้นโดยตั้งข้อหาว่า เป็นโจรแล้วฆ่าทิ้งเสีย
เขาได้กระทาตามพระราชบัญชานั้นแล้ว ครั้นต่อมาไม่พบ
แม้คนที่มองดูถุงทรัพย์พันหนึ่งนั้น เพราะความกลัว จึงทูลถามว่าขอเดชะ
บัดนี้ข้าพระองค์จักกระทาอย่างไรต่อไป ในเวลาตีกลองยามเที่ยงคืนพระนคร
ย่อมเกิดความอลหม่าน เวลานั้น เจ้าจงยืนดักอยู่ที่ตรอกบ้าน หรือถนน
หรือหนทางสี่แพร่งแห่งหนึ่ง จงฆ่ามนุษย์เอาเนื้อมา จาเดิมแต่นั้นมา
เขาก็ได้ทาอย่างนั้นเอาเนื้อที่ล่าๆ ไป ซากศพปรากฏอยู่ในที่นั้นๆ
พระนครก็อากูลไปด้วยซากศพ ได้ยินเสียงประชาชนคร่าครวญว่า
มารดาของเราหายไป บิดาของเราหายไป พี่ชาย น้องชายของเราหายไป พี่สาว
น้องสาวของเราหายไป.
ชาวนครทั้งกลัวทั้งหวาดเสียว ปรึกษากันว่า คนเหล่านี้ถูกราชสีห์กิน
หรือถูกเสือกิน หรือถูกยักษ์กินหนอ เมื่อตรวจดูก็เห็นปากแผลที่ต้องประหาร
จึงสันนิษฐานกันว่า เห็นจะเป็ นโจรมนุษย์คนหนึ่ง กินคนเหล่านี้เป็ นแน่
มหาชนจึงประชุมกันร้องทุกข์ที่พระลานหลวง พระราชาตรัสถามว่า อะไรกันพ่อ.
ขอเดชะ ในพระนครนี้เกิดมีโจรกินคนขึ้นแล้ว
ขอพระองค์จงรับสั่งให้จับโจรกินคนนั้นเสียเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า
เราจักรู้ได้อย่างไรเล่า เราเป็ นคนรักษาพระนครเที่ยวไปตรวจดูหรือ
มหาชนปรึกษากันว่า พระราชาไม่ทรงเป็นธุระทางการเมือง เพราะฉะนั้น
พวกเราจักพากันไปแจ้งแก่ท่านกาฬหัตถีเสนาบดีเถิด
จึงพากันไปบอกเนื้อความนั้นแก่ท่านเสนาบดี กราบเรียนว่า
ควรจะสืบจับตัวผู้ร้ายให้ได้. ท่านเสนาบดีมีบัญชาว่า พวกท่านจงรออยู่สัก ๗
วันก่อน เราจักสืบจับตัวผู้ร้ายเอามาให้พวกท่านดูจงได้ แล้วส่งมหาชนกลับไป.
ท่านเสนาบดีบังคับพวกบุรุษว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เขาลือกันว่า
20
โจรกินคนมีอยู่ในพระนคร พวกท่านจงไปซุ่มอยู่ในที่นั้นๆ จับเอาตัวมันมาให้ได้
พวกบุรุษเหล่านั้นรับคาสั่งแล้ว ตั้งแต่นั้นมา ก็คอยสอดแนมพระนครอยู่เสมอ.
แม้คนทาเครื่องต้นแอบอยู่ที่ตรอกบ้านแห่งหนึ่ง ฆ่าหญิงคนหนึ่งได้แล้ว
ปรารภจะเอาเนื้อตรงที่ล่าๆ บรรจุลงในกระเช้า ทันใดนั้น
พวกบุรุษเหล่านั้น จึงจับคนทาเครื่องต้นนั้นโบย แล้วมัดมือไพล่หลัง
ร้องประกาศดังๆ ว่า พวกเราจับโจรกินคนได้แล้ว
ประชาชนพากันห้อมล้อมคนทาเครื่องต้นนั้น ขณะนั้น
บุรุษทั้งหลายมัดเขาไว้อย่างมั่นคง แล้วผูกกระเช้าเนื้อไว้ที่คอ
เอาตัวไปแสดงแก่ท่านเสนาบดี ลาดับนั้น ท่านเสนาบดี
ครั้นพอได้เห็นคนทาเครื่องต้นนั้นแล้ว จึงดาริว่า คนผู้นี้กินเนื้อนี้เอง
หรือเอาไปปนกับเนื้ออื่นแล้วจาหน่าย หรือว่าฆ่าตามพระราชบัญชา
เมื่อจะถามเนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า
ดูก่อนคนทาเครื่องต้น ทาไมเจ้าจึงทากรรมอันร้ายกาจเช่นนี้ได้
เจ้าเป็นคนหลง ฆ่าหญิงและชายทั้งหลายได้ เพราะเหตุแห่งเนื้อ
หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์.
ลาดับนั้น คนทาเครื่องต้นจึงกล่าวกะท่านเสนาบดีนั้นว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มิใช่เพราะเหตุแห่งตน มิใช่เพราะเหตุแห่งทรัพย์
มิใช่เพราะเหตุแห่งลูกเมีย หรือสหายและญาติ
เป็นด้วยพระจอมภูมิบาลนายข้าพเจ้า พระองค์เสวยมังสะนี้นะท่าน.
ลาดับนั้น ท่านเสนาบดีจึงกล่าวกะคนทาเครื่องต้นนั้นว่า
ถ้าเจ้าขวนขวายในกิจของเจ้านาย กระทากรรมอย่างร้ายกาจเช่นนี้
เวลาเช้า เจ้าไปถึงภายในพระราชวังแล้ว พึงแถลงเหตุนั้นต่อเรา
ในที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัว.
ลาดับนั้น คนทาเครื่องต้นจึงกล่าวกะท่านเสนาบดีนั้นว่า
ข้าแต่ท่านกาฬหัตถีผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักกระทาตามคาสั่งสอนของท่าน
เวลาเช้า ข้าพเจ้าไปถึงภายในพระราชวังแล้ว จักแถลงถึงเหตุนั้น
ต่อท่านเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัว.
ลาดับนั้น ท่านเสนาบดีจึงสั่งให้มัดจาคนทาเครื่องต้นนั้นไว้ให้มั่งคง
เมื่อราตรีสว่างแล้ว จึงปรึกษากับพวกอามาตย์และชาวเมือง
เมื่อร่วมฉันทะกันทั้งหมดแล้ว วางอารักขาในที่ทุกแห่ง
กระทาพระนครให้อยู่ในเงื้อมมือ ผูกกระเช้าเนื้อไว้ที่คอคนทาเครื่องต้น
นาตัวเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ ได้เกิดเสียงเซ็งแซ่ขึ้นทั่วพระนครแล้ว วันวานนี้
พระราชาเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ยังมิได้เนื้อในเวลาเย็น
จึงประทับนั่งรอท่าด้วยหมายพระทัยว่า คนทาเครื่องต้นจักมาในบัดนี้
ประทับรออยู่จนตลอดคืนยังรุ่ง แม้วันนี้ คนทาเครื่องต้นก็ยังไม่มา
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

More Related Content

Similar to 537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
maruay songtanin
 
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
maruay songtanin
 
338 ถุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
338 ถุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx338 ถุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
338 ถุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

Similar to 537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
260 ทูตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
050 ทุมเมธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
372 มิคโปตกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
 
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
 
338 ถุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
338 ถุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx338 ถุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
338 ถุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
 
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
349 สันธิเภทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
 
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ๕. มหาสุตโสมชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๗) ว่าด้วยพระเจ้ามหาสุตโสมทรงทรมานโจรโปริสารท (พระเจ้ามหาสุตโสมโพธิสัตว์ทรงเป็นพระสหายร่วมสานักเรียนกับพระเจ้าพรหม ทัตและพระกุมารอื่นๆ อีกประมาณ ๑๐๑ พระองค์ ต่อมาเมื่อแยกย้ายกลับบ้านเมืองของตนแล้ว พรหมทัตกุมารได้ครองเมืองพาราณสี แต่หลงผิดไปติดใจบริโภคเนื้อมนุษย์ ทาให้ถูกเนรเทศ พระเจ้ามหาสุตโสมต้องไปทรมานจนกลับใจ) (กาฬหัตถีเสนาบดีถามพ่อครัวว่า) [๓๗๑] พ่อครัว เพราะเหตุไร ท่านจึงทากรรมทารุณโหดร้ายเช่นนี้ ท่านหลงฆ่าหญิงและชายทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งเนื้อหรือแห่งทรัพย์ (พ่อครัวจึงตอบเสนาบดีว่า) [๓๗๒] ท่านผู้เจริญ มิใช่เพราะเหตุแห่งตน มิใช่เพราะเหตุแห่งทรัพย์ มิใช่เพราะเหตุแห่งบุตรภรรยา มิใช่เพราะเหตุแห่งสหายและญาติทั้งหลาย แต่พระจอมภูมิบาลซึ่งเป็ นนายของข้าพเจ้า พระองค์เสวยมังสะเช่นนี้ (กาฬหัตถีเสนาบดีกล่าวว่า) [๓๗๓] ถ้าท่านขวนขวายในกิจของเจ้านาย ทากรรมอันโหดร้ายทารุณเช่นนี้ได้ เวลาเช้าตรู่ ท่านควรจะเข้าไปในพระราชวัง แล้วแถลงเหตุนั้นแก่เราต่อพระพักตร์พระราชา (พ่อครัวกล่าวว่า) [๓๗๔] ท่านกาฬหัตถี ข้าพเจ้าจักกระทาตามที่ท่านสั่ง เวลาเช้าตรู่ ข้าพเจ้าจะเข้าไปในพระราชวัง จะแถลงเหตุนั้นแก่ท่านต่อพระพักตร์พระราชา (พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๓๗๕] ลาดับนั้น ครั้นราตรีสว่างแล้ว ดวงอาทิตย์อุทัย กาฬเสนาบดีได้พาคนทาครัวเข้าไปเฝ้ าพระราชา ครั้นแล้วได้กราบทูลพระราชาดังนี้ว่า [๓๗๖] ข้าแต่มหาราช ได้ทราบด้วยเกล้าว่า พระองค์ทรงใช้พ่อครัวให้ฆ่าหญิงและชายทั้งหลาย พระองค์เสวยเนื้อมนุษย์จริงหรือ พระเจ้าข้า” (พระราชาตรัสว่า) [๓๗๗] แน่นอน เป็นความจริง ท่านกาฬะ เราใช้พ่อครัว เมื่อเขาทาประโยชน์ให้แก่เรา ท่านจะด่าเขาทาไม (กาฬเสนาบดี เมื่อจะนาเรื่องมาแสดง จึงกราบทูลว่า)
  • 2. 2 [๓๗๘] ปลาใหญ่ชื่ออานนท์ ติดใจในรสปลาทุกชนิด เมื่อฝูงปลาหมดสิ้นไป ก็กลับมากินตัวเองตาย [๓๗๙] พระองค์ทรงประมาทไปแล้ว มีพระทัยยินดียิ่งนักในรส(เนื้อมนุษย์) ถ้าเป็นคนพาลต่อไป ยังไม่ทรงรู้สึกอย่างนี้ จะต้องมาละทิ้งพระโอรส พระมเหสี และพระญาติ จะกลับมาเสวยตัวพระองค์เอง [๓๘๐] เพราะได้ทรงสดับอุทาหรณ์ที่ข้าพระองค์นามากราบทูลนี้ ขอความพอพระทัยที่จะเสวยเนื้อมนุษย์จงคลายไปเถิด ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งหมู่มนุษย์ พระองค์อย่าได้เสวยเนื้อมนุษย์เลย อย่าได้ทรงทาแคว้นนี้ให้ว่างเปล่า เหมือนปลาอานนท์ทามหาสมุทรให้ว่างเปล่า (พระราชาได้สดับดังนั้น เมื่อจะนาเรื่องเก่ามาแสดง จึงตรัสว่า) [๓๘๑] กุฎุมพีชื่อว่าสุชาตะ ลูกที่เกิดกับตัวเขา ไม่ได้ชิ้นลูกหว้าเขาก็ตาย เพราะชิ้นลูกหว้านั้นหมดสิ้นไป [๓๘๒] ท่านกาฬะ เราก็เหมือนกัน บริโภคอาหารที่มีรสอร่อยที่สุด ถ้าไม่ได้เนื้อมนุษย์ เข้าใจว่า คงเสียชีวิตแน่ (พราหมณ์ได้กล่าวกับมาณพว่า) [๓๘๓] มาณพ เจ้าเป็ นผู้มีรูปงาม เกิดในตระกูลโสตถิยพราหมณ์ เจ้าไม่ควรกินอาหารที่ไม่ควรกินนะ (มาณพกล่าวว่า) [๓๘๔] บรรดารสทั้งหลาย น้าเมานี้มีรสอร่อยที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะเหตุไร พ่อจึงห้ามผม ผมจักไปในสถานที่ที่ผมจักได้รสเช่นนี้ [๓๘๕] ผมจักออกไปละ จักไม่อยู่ในสานักของพ่อ เพราะพ่อไม่ยินดีที่จะได้เห็นผม (ลาดับนั้น พราหมณ์จึงกล่าวว่า) [๓๘๖] มาณพ ข้าคงจะได้ลูกคนอื่นๆ เป็นทายาทเป็นแน่ เจ้าคนต่าทราม เจ้าจงฉิบหายเสียเถิด จงไปในที่ที่ข้าจะไม่พึงได้ข่าวเจ้าผู้ไปแล้ว (กาฬหัตถีเสนาบดีประมวลเหตุนี้มาแสดงแก่พระราชา แล้วกราบทูลว่า) [๓๘๗] ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมแห่งหมู่มนุษย์ พระองค์ก็อย่างนั้นเหมือนกัน โปรดสดับคาของข้าพระองค์ พสกนิกรทั้งหลายจักพากันเนรเทศพระองค์ไปจากแคว้น เหมือนพราหมณ์เนรเทศมาณพผู้เป็นนักเลงสุรา (พระราชาเมื่อไม่อาจจะงดเนื้อนั้นได้ ตรัสแสดงเหตุแม้อย่างอื่นอีกว่า) [๓๘๘] สาวกของพวกฤๅษีผู้อบรมแล้วชื่อว่าสุชาตะ เขาต้องการนางอัปสรเท่านั้น จนไม่กินข้าวและไม่ดื่มน้า
  • 3. 3 [๓๘๙] บุคคลพึงเอาน้าที่ติดอยู่กับปลายหญ้าคา มานับเปรียบกันดูกับน้าที่มีอยู่ในสมุทรฉันใด กามทั้งหลายของพวกมนุษย์ในสานักของกามทิพย์ก็ฉันนั้น [๓๙๐] ท่านกาฬะ เราก็เหมือนกัน บริโภคอาหารที่มีรสอร่อยที่สุดแล้ว ถ้าไม่ได้เนื้อมนุษย์ เข้าใจว่า คงเสียชีวิตแน่ (กาฬเสนาบดีครั้นได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า) [๓๙๑] เปรียบเสมือนพวกหงส์ชื่อธตรัฏฐะ เหิรบินไปในท้องฟ้ า ถึงความตายไปจนหมดเพราะกินอาหารที่ไม่ควรกิน ฉันใด [๓๙๒] ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมแห่งหมู่มนุษย์ พระองค์ก็อย่างนั้นเหมือนกัน โปรดสดับคาของข้าพระองค์ พระองค์เสวยเนื้อที่ไม่ควร ฉะนั้น พสกนิกรทั้งหลายจึงพากันเนรเทศพระองค์ (โจรโปริสารท (โปริสาท แปลว่า มีคนเป็ นอาหาร, คนกินคน เป็นชื่อของพระเจ้าพรหมทัต หลังจากถูกชาวเมืองเนรเทศแล้ว ได้ไปอาศัยโคนต้นไทรอยู่ แล้วเที่ยวปล้นคนเดินทาง เพื่อฆ่าเอาเนื้อมาปรุงอาหาร จึงปรากฏชื่อเสียงว่าโปริสาท) กล่าวกับรุกขเทวดานั้นว่า) [๓๙๓] เราได้ห้ามท่านแล้วว่า จงหยุด ท่านนั้นก็ยังเดินดุ่มๆ ไป ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ท่านไม่ได้หยุด แต่บอกว่าหยุด ท่านสมณะ นี้ควรแก่ท่านแล้วหรือ ท่านสาคัญดาบของเราว่าเป็นขนปีกนกตะกรุมหรือ (ลาดับนั้น เทวดากล่าวว่า) [๓๙๔] มหาบพิตร อาตมภาพหยุดแล้วในธรรมของตน ไม่ได้เปลี่ยนชื่อและโคตร ส่วนโจรบัณฑิตกล่าวว่า ไม่หยุดในโลก จุติจากโลกนี้แล้วจะต้องไปเกิดในอบายหรือนรก มหาบพิตร ถ้าทรงเชื่ออาตมภาพ ขอมหาบพิตรจงจับพระเจ้าสุตโสมผู้เป็นกษัตริย์เถิด มหาบพิตรทรงจับพระเจ้าสุตโสมนั้นบูชายัญแล้ว จักเสด็จไปสวรรค์ได้อย่างนี้ (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ยืนถวายพระพรอยู่ข้างทาง จึงตรัสถามว่า) [๓๙๖] ชาติภูมิของท่านอยู่ในแคว้นไหนหนอ ท่านมาถึงนครนี้ได้ด้วยประโยชน์อะไร ท่านพราหมณ์ ขอท่านจงบอกประโยชน์นี้แก่ข้าพเจ้า ท่านต้องการอะไร ข้าพเจ้าจะให้ตามที่ท่านต้องการ ณ วันนี้ (พราหมณ์ได้กราบทูลพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์นั้นว่า) [๓๙๗] พระภูมิบาล คาถาทั้ง ๔ มีอรรถที่ลึก เปรียบด้วยสาครอันประเสริฐ
  • 4. 4 หม่อมฉันมานครนี้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์เท่านั้น ขอพระองค์โปรดสดับคาถา ที่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่งเถิด (โจรโปริสาทจับพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ได้แล้ว จึงทูลถามว่า) [๓๙๘] ชนเหล่าใดมีความรู้ มีปัญญา เป็นพหูสูต คิดเหตุการณ์ได้มาก ชนเหล่านั้นย่อมไม่ร้องไห้ การที่เหล่าบัณฑิตเป็นผู้บรรเทาความโศกได้ นี่แหละเป็ นที่พึ่งอันยอดเยี่ยมของเหล่านรชน [๓๙๙] ท่านสุตโสม พระองค์ทรงเศร้าโศกเพราะเหตุไร เพราะเหตุแห่งพระองค์เอง พระญาติ พระโอรส พระมเหสี ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน หรือว่าทองหรือ ท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐ หม่อมฉันขอฟังพระดารัสของพระองค์ (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๐๐] หม่อมฉันมิได้ทอดถอน มิได้เศร้าโศกเพื่อประโยชน์แก่ตน แก่โอรส มเหสี ทรัพย์ และแคว้น แต่ธรรมของเหล่าสัตบุรุษที่เคยประพฤติมาเก่าก่อน หม่อมฉันนัดหมายไว้กับพราหมณ์ หม่อมฉันทอดถอนเศร้าโศกถึงการนัดหมายนั้น [๔๐๑] หม่อมฉันดารงอยู่ในความเป็นใหญ่ในแคว้นของตนเอง ได้ทาการนัดหมายไว้กับพราหมณ์ เพื่อจะเปลื้องการนัดหมายนั้นกับพราหมณ์ ก็จักเป็นผู้รักษาความสัตย์หวนกลับมาอีก (โจรโปริสาทกราบทูลพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ว่า) [๔๐๒] นรชนผู้มีความสุข หลุดพ้นไปจากปากของมฤตยูแล้ว จะพึงกลับมาสู่เงื้อมมือของศัตรูอีก ข้อนี้หม่อมฉันยังไม่เชื่อ ท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐที่สุด พระองค์ไม่เสด็จเข้าไปหาหม่อมฉันเลย [๔๐๓] พระองค์ทรงหลุดพ้นจากเงื้อมมือของโจรโปริสาทแล้ว เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์ จะมัวทรงเพลิดเพลินในกามคุณ ข้าแต่พระราชา พระองค์ทรงได้พระชนม์ชีพอันเป็นที่รักแสนหวานแล้ว ไฉนจักเสด็จกลับมายังสานักของหม่อมฉันเล่า (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น ไม่ทรงหวาดระแวง จึงตรัสว่า) [๔๐๔] คนผู้มีศีลบริสุทธิ์พึงปรารถนาความตาย ผู้มีธรรมลามกที่นักปราชญ์ติเตียนก็ไม่ปรารถนาชีวิต นรชนใดพึงกล่าวเท็จเพราะเพื่อประโยชน์ของตนใดเป็นเหตุ เหตุเพื่อประโยชน์ของตนนั้น ย่อมป้ องกันนรชนนั้นจากทุคติไม่ได้ [๔๐๕] แม้ถ้าลมจะพึงพัดพาภูเขามาได้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็จะพึงตกลงบนแผ่นดินได้ และแม่น้าทุกสายก็จะพึงไหลทวนกระแส ถ้าเป็นไปได้อย่างนั้น หม่อมฉันก็จะไม่พึงพูดเท็จเลย พระเจ้าข้า
  • 5. 5 [๔๐๖] ฟ้ าพึงทลายรั่วได้ ทะเลก็พึงแห้งได้ แผ่นดินที่ทรงรองรับสัตว์ไว้ก็จะพึงพลิกกลับได้ ภูเขาพระสุเมรุก็จะพึงเพิกถอนขึ้นได้พร้อมทั้งเหง้า ถ้าเป็นไปได้อย่างนั้น หม่อมฉันก็จะไม่พึงพูดเท็จเลย พระเจ้าข้า (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสสาบานว่า) [๔๐๗] สหาย หม่อมฉันจะจับดาบและหอก จะทาแม้แต่การสาบานต่อพระองค์ก็ได้ หม่อมฉันผู้ที่พระองค์ปล่อยแล้ว จักเป็นผู้หมดหนี้ รักษาความสัตย์ หวนกลับมาอีก (โจรโปริสาทกราบทูลพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ว่า) [๔๐๘] ท่านผู้ดารงอยู่แล้วในความเป็นใหญ่ในแคว้นของพระองค์ ได้ทาการนัดหมายใดไว้กับพราหมณ์ เพื่อจะเปลื้องการนัดหมายนั้นกับพราหมณ์ พระองค์ก็จักเป็นผู้รักษาความสัตย์หวนกลับมาอีก (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๐๙] หม่อมฉันผู้ดารงอยู่แล้วในความเป็ นใหญ่ในแคว้นของตน ได้ทาการนัดหมายใดไว้กับพราหมณ์ เพื่อจะเปลื้องการนัดหมายนั้นกับพราหมณ์ชก็จักเป็นผู้รักษาความสัตย์หวนกลับม าอีก (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๔๑๐] พระเจ้าสุตโสมนั้นทรงพ้นจากเงื้อมมือของโจรโปริสารทแล้วท ได้เสด็จไปตรัสกับพราหมณ์นั้นดังนี้ว่า ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอฟังสตารหคาถา ที่ข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว จะพึงเป็ นประโยชน์แก่ข้าพเจ้า (พราหมณ์ดูคัมภีร์ กราบทูลว่า) [๔๑๑] ท่านสุตโสม การสมาคมกับสัตบุรุษ ครั้งเดียวเท่านั้นก็คุ้มครองผู้นั้นได้ การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากครั้งก็คุ้มครองไม่ได้ [๔๑๒] บุคคลพึงอยู่ร่วมกับสัตบุรุษเท่านั้น พึงทาความสนิทสนมกับสัตบุรุษทั้งหลาย เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย บุคคลจึงมีแต่ความเจริญ ไม่มีความเสื่อมเลย [๔๑๓] ราชรถที่วิจิตรดีทั้งหลายยังทรุดโทรมได้ อนึ่ง แม้สรีระก็ยังเข้าถึงความแก่ชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงความคร่าคร่า สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้ [๔๑๔] ฟ้ ากับแผ่นดินห่างไกลกัน ฝั่งโน้นกับฝั่งนี้ของสมุทรก็กล่าวกันว่าไกลกัน ข้าแต่พระราชา ธรรมของสัตบุรุษและอสัตบุรุษ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ไกลยิ่งกว่านั้นโดยแท้
  • 6. 6 (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสกับพราหมณ์นั้นว่า) [๔๑๕] คาถาเหล่านี้มีค่า ๑,๐๐๐ ไม่ใช่มีค่าเพียง ๑๐๐ ท่านพราหมณ์ เชิญท่านรีบมารับเอาทรัพย์ ๔,๐๐๐ เถิด (พระราชบิดาของพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๑๖] คาถามีค่า ๘๐ ๙๐ และ ๑๐๐ ก็ยังมี พ่อสุตโสม พ่อจงเข้าใจเอาเองเถิด มีคาถาอะไรที่ชื่อว่า มีค่าตั้ง ๑,๐๐๐ (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์กราบทูลให้พระราชบิดายินยอมว่า) [๔๑๗] หม่อมฉันย่อมปรารถนาความเจริญทางการศึกษาของตน สัตบุรุษคือผู้สงบทั้งหลายพึงคบหาหม่อมฉัน ข้าแต่ทูลกระหม่อมพ่อ หม่อมฉันไม่อิ่มด้วยสุภาษิต เหมือนมหาสมุทรไม่อิ่มด้วยน้า [๔๑๘] ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ไฟไหม้หญ้าและไม้ย่อมไม่อิ่ม สาครก็ไม่อิ่มด้วยแม่น้าทั้งหลายฉันใด แม้บัณฑิตเหล่านั้นฟังแล้วก็ไม่อิ่มด้วยสุภาษิตฉันนั้น [๔๑๙] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน เมื่อใด หม่อมฉันฟังคาถาที่มีประโยชน์ในสานักแห่งทาสของตน เมื่อนั้น หม่อมฉันย่อมตั้งใจฟังคาถานั้นเท่านั้นโดยเคารพ ข้าแต่ทูลกระหม่อมพ่อ เพราะหม่อมฉัน ไม่มีความอิ่มในธรรมเลย [๔๒๐] แคว้นของทูลกระหม่อมนี้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง มีทั้งทรัพย์ ยวดยาน และเครื่องประดับ ทูลกระหม่อมทรงบริภาษหม่อมฉันเพราะเหตุแห่งกามทาไม หม่อมฉันขอทูลลาไปในสานักของโปริสาท (พระบิดาตรัสว่า) [๔๒๑] กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบ ล้วนแต่เชี่ยวชาญในการธนูพอที่จะปกป้ องตัวเองได้ เราจะยกกองทัพไปฆ่าศัตรูเสีย (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ฟังคาของพระราชบิดาและพระราชมารดาแล้ว จึงตรัสว่า) [๔๒๒] โจรโปริสาทได้ทากิจที่ทาได้แสนยาก จับหม่อมฉันได้ทั้งเป็ นแล้วปล่อยมา ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน หม่อมฉันระลึกถึงอุปการะ ที่มีมาก่อนเช่นนั้นที่โจรโปริสาทนั้นทาแล้ว จะพึงประทุษร้ายต่อโปริสาทนั้นได้อย่างไร (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๔๒๓] พระเจ้าสุตโสมนั้นถวายบังคมพระบิดาและพระมารดาแล้ว ทรงพร่าสอนชาวนิคมและพลนิกาย เป็นผู้ตรัสความสัตย์ และทรงรักษาคาสัตย์ ได้เสด็จไปยังที่เป็ นที่อยู่ของโปริสาทแล้ว
  • 7. 7 (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสกับโจรโปริสาทว่า) [๔๒๔] หม่อมฉันผู้ดารงอยู่ในความเป็นใหญ่ในแคว้นของตน ได้ทาการนัดหมายไว้กับพราหมณ์ เพื่อเปลื้องการนัดหมายนั้นกับพราหมณ์ จึงเป็ นผู้รักษาความสัตย์หวนกลับมาอีก ท่านโปริสาท ขอเชิญท่านบูชายัญกินเราเสียเถิด (โจรโปริสาทได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๔๒๕] การเคี้ยวกินท่านในภายหลัง ไม่เสียหายสาหรับข้าพเจ้า แท้จริงกองไฟนี้ก็ยังมีควัน เนื้อที่ย่างในกองไฟอันไม่มีควันจะสุกดี หม่อมฉันจะขอฟังคาถาซึ่งมีค่าตั้ง ๑๐๐ (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงตรัสว่า) [๔๒๖] ท่านโปริสาท ท่านประพฤติไม่ชอบธรรม ต้องพลัดพรากจากแคว้น เพราะเหตุแห่ง(ปาก)ท้อง ส่วนคาถาเหล่านี้ย่อมกล่าวสรรเสริญธรรม ธรรมและอธรรมจะลงกันได้ที่ไหน (ธรรมและอธรรมจะลงกันได้ที่ไหน หมายถึงรวมกันไม่ได้ เพราะว่าธรรมย่อมให้ถึงสุคติคือนิพพาน ส่วนอธรรมให้ถึงทุคติ) [๔๒๗] คนผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือดเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีสัจจะ ธรรมจะมีได้แต่ที่ไหน ท่านจักทรงทาประโยชน์อะไรด้วยการสดับ (ประโยชน์อะไรด้วยการสดับ หมายความว่า ท่านจักทาอะไรกับการฟังนี้ เพราะท่านไม่ใช่ภาชนะรองรับธรรม เหมือนภาชนะที่ไม่ใช่ภาชนะรองรับเปลวมันราชสีห์) (โจรโปริสาทได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๔๒๘] ผู้ใดเที่ยวล่าเนื้อ (ล่าสัตว์) เพราะเหตุแห่งเนื้อ หรือฆ่าคนเพราะเหตุแห่งตน คนทั้ง ๒ นั้นละโลกนี้ไปแล้วก็เสมอกัน (พอกัน) เพราะเหตุไรหนอ พระองค์จึงทรงกล่าวหาหม่อมฉันว่า เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์เมื่อจะแก้ลัทธิของโจรโปริสาท จึงตรัสว่า) [๔๒๙] พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทราบธรรมเนียมกษัตริย์ ไม่ควรเสวยเนื้อสัตว์ ๑๐ ชนิดมีเนื้อช้างเป็ นต้น ข้าแต่พระราชา พระองค์เสวยเนื้อมนุษย์ที่ไม่ควรเสวย เพราะฉะนั้น พระองค์จึงเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม (โจรโปริสาทเมื่อจะให้พระโพธิสัตว์รับบาปบ้าง จึงกราบทูลว่า) [๔๓๐] พระองค์ทรงพ้นจากเงื้อมมือของโจรโปริสาทแล้ว เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์ ทรงเพลิดเพลินอยู่ในกาม เสด็จหวนกลับมาสู่เงื้อมมือของหม่อมฉันผู้เป็นศัตรูอีก พระองค์ช่างเป็ นผู้ไม่ฉลาดในธรรมของกษัตริย์ (ธรรมของกษัตริย์
  • 8. 8 หมายถึงหลักนิติศาสตร์ ในที่นี้ โจรโปริสาทกล่าวว่า พระเจ้าสุตโสมไม่ฉลาดในนิติศาสตร์กล่าวคือธรรมของกษัตริย์ คือไม่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็ นประโยชน์ของตน (เพราะเห็นพระราชากลับมาสู่สานักของตนอีก)) เลยนะ พระเจ้าข้า (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า) [๔๓๑] ชนเหล่าใดฉลาดในธรรมของกษัตริย์ ชนเหล่านั้นต้องตกนรกเสียโดยมาก เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงละธรรมของกษัตริย์ แล้วเป็ นผู้รักษาความสัตย์ หวนกลับมาอีก ท่านโปริสาท ขอเชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด (โจรโปริสาทกราบทูลว่า) [๔๓๒] พระตาหนักที่ประทับ แผ่นดิน โค ม้า สตรีผู้น่ารักใคร่ ผ้าแคว้นกาสี และแก่นจันทน์ พระองค์ทรงได้ทุกสิ่งในพระนครนั้น ก็พระองค์ทรงเป็ นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นอานิสงส์อะไรด้วยความสัตย์ (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๓๓] รสเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ในแผ่นดิน สัจจะเป็ นรสดีกว่ารสเหล่านั้น ก็เพราะสมณะและพราหมณ์ผู้ดารงอยู่ในสัจจะ ย่อมข้ามฝั่งแห่งชาติและมรณะได้ (โจรโปริสาทกราบทูลว่า) [๔๓๔] พระองค์ทรงพ้นจากเงื้อมมือของโจรโปริสาทแล้ว เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์ ทรงเพลิดเพลินอยู่ในกาม ยังเสด็จหวนกลับมาสู่เงื้อมมือของศัตรูอีก ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน พระองค์ไม่ทรงกลัวความตายแน่นะ และพระองค์เป็ นผู้ตรัสคาสัตย์ไม่มีพระทัยท้อแท้เลยหรือ (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสตอบว่า) [๔๓๕] หม่อมฉันได้บาเพ็ญความดีไว้มากมาย ได้บูชายัญที่บัณฑิตสรรเสริญอย่างไพบูลย์ ได้ชาระทางไปปรโลกไว้แล้ว ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะต้องกลัวตาย [๔๓๖] หม่อมฉันได้บาเพ็ญความดีไว้มากมาย ได้บูชายัญที่บัณฑิตสรรเสริญอย่างไพบูลย์ไว้แล้ว จึงไม่เดือดร้อนใจที่จะไปสู่ปรโลก ท่านโปริสาท ขอเชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด [๔๓๗] หม่อมฉันได้บารุงพระบิดาและพระมารดาแล้ว ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม ได้ชาระทางไปปรโลกไว้แล้ว ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะพึงกลัวตาย
  • 9. 9 [๔๓๘] หม่อมฉันได้บารุงพระบิดาและพระมารดาแล้ว ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม จึงไม่เดือดเนื้อร้อนใจที่จะไปสู่ปรโลก ท่านโปริสาท ขอเชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด [๔๓๙] หม่อมฉันได้ทาอุปการะไว้ในหมู่พระญาติ และมิตรทั้งหลายแล้ว ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม ได้ชาระทางไปปรโลกไว้แล้ว ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะพึงกลัวตาย [๔๔๐] หม่อมฉันได้ทาอุปการะไว้ในหมู่พระญาติ และมิตรทั้งหลายแล้ว ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรมจึงไม่เดือดร้อนใจที่จะไปสู่ปรโลก ท่านโปริสาทขอเชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด [๔๔๑] หม่อมฉันได้ให้ทานมากมายแก่คนเป็นอันมาก และได้บารุงเลี้ยงสมณะและพราหมณ์ให้อิ่มหนา ได้ชาระทางไปสู่ปรโลกไว้แล้ว ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะพึงกลัวตาย [๔๔๒] หม่อมฉันได้ให้ทานมากมายแก่คนเป็นอันมาก และได้บารุงเลี้ยงสมณะและพราหมณ์ให้อิ่มหนา จึงไม่เดือดร้อนใจที่จะไปสู่ปรโลก ท่านโปริสาท ขอเชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด (โจรโปริสาทได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า) [๔๔๓] บุรุษใดพึงกินคนผู้มีวาจาสัตย์เช่นท่าน บุรุษนั้นชื่อว่าบริโภคยาพิษทั้งๆ ที่รู้ ชื่อว่าจับอสรพิษที่ร้ายแรง มีเดชกล้า แม้ศีรษะของเขาพึงแตกเป็น ๗ เสี่ยง [๔๔๔] นรชนทั้งหลายได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมรู้แจ้งทั้งบุญและบาป ใจของหม่อมฉันย่อมยินดีในธรรม เพราะได้ฟังคาถาบ้าง (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ทรงแสดงธรรมแก่โจรโปริสาทว่า) [๔๔๕] ข้าแต่มหาราช การสมาคมกับสัตบุรุษเพียงครั้งเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้นย่อมคุ้มครองผู้นั้นได้ การสมาคมกับอสัตบุรุษมากครั้งก็คุ้มครองไม่ได้ [๔๔๖] บุคคลพึงอยู่ร่วมกับสัตบุรุษเท่านั้น พึงทาความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย บุคคลจึงมีความเจริญ ไม่มีความเสื่อมเลย [๔๔๗] ราชรถที่วิจิตรดีทั้งหลายยังทรุดโทรมได้ อนึ่ง แม้สรีระก็ยังเข้าถึงความแก่ชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงความคร่าคร่า สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
  • 10. 10 [๔๔๘] ฟ้ ากับแผ่นดินห่างไกลกัน ฝั่งโน้นกับฝั่งนี้ของสมุทรก็กล่าวกันว่าไกลกัน ข้าแต่พระราชา ธรรมของสัตบุรุษและอสัตบุรุษ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ไกลยิ่งกว่านั้นโดยแท้ (โจรโปริสาทกราบทูลว่า) [๔๔๙] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน คาถาเหล่านี้มีอรรถและพยัญชนะดี พระองค์ตรัสไว้ถูกต้องดีแล้ว หม่อมฉันได้สดับแล้วเพลิดเพลิน ปลื้มใจ ดีใจ อิ่มใจ ข้าแต่พระสหาย หม่อมฉันขอถวายพร ๔ ประการแด่พระองค์ (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์เมื่อจะรุกต้อนโจรโปริสาท จึงตรัสว่า) [๔๕๐] ท่านผู้มีบาปธรรม พระองค์ไม่รู้สึกว่าตนจะตาย ไม่รู้สึกประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ วินิบาตและสวรรค์ เป็ นผู้ติดใจในรส ตั้งมั่นในทุจริต จะประทานพรอะไรได้ [๔๕๑] หากหม่อมฉันจะกล่าวกับพระองค์ว่า โปรดให้พรเถิด ฝ่ายพระองค์ครั้นประทานแล้วจะพึงกลับคา บัณฑิตคนไหนเล่ารู้อยู่จะพึงก่อการทะเลาะวิวาทนี้ที่เห็นอยู่ชัดๆ (โจรโปริสาทกราบทูลว่า) [๔๕๒] คนเราแม้ให้พรใดแล้วพึงกลับคา เขาไม่สมควรให้พรนั้น สหาย ท่านจงขอพรเถิด อย่าหวั่นวิตกไปเลย แม้แต่ชีวิตหม่อมฉันก็ยอมสละถวายได้ (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า) [๔๕๓] มิตรธรรมของพระอริยะกับพระอริยะย่อมเสมอกัน ของผู้มีปัญญากับผู้มีปัญญาก็เสมอกัน หม่อมฉันพึงเห็นพระองค์เป็นผู้มีพลานามัยตลอด ๑๐๐ ปี บรรดาพรทั้งหลาย นี้เป็นพรข้อที่ ๑ ที่หม่อมฉันทูลขอ (โจรโปริสาทเมื่อจะให้พร จึงกราบทูลว่า) [๔๕๔] มิตรธรรมของพระอริยะกับพระอริยะย่อมเสมอกัน ของผู้มีปัญญากับผู้มีปัญญาก็เสมอกัน พระองค์จงเห็นหม่อมฉันผู้หาโรคมิได้ตลอด ๑๐๐ ปี บรรดาพรทั้งหลาย นี้เป็นพรข้อที่ ๑ ที่หม่อมฉันขอถวาย (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๕๕] พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ผู้ทรงได้มูรธาภิเษก ทรงได้เฉลิมพระปรมาภิไธยเหล่าใดในชมพูทวีปนี้ พระองค์อย่าได้เสวยกษัตริย์เหล่านั้นผู้เช่นนั้น บรรดาพรทั้งหลาย นี้เป็ นพรข้อที่ ๒ ที่หม่อมฉันทูลขอ (โจรโปริสาทเมื่อจะให้พร จึงกราบทูลว่า) [๔๕๖] พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ผู้ทรงได้มูรธาภิเษก ทรงได้เฉลิมพระปรมาภิไธยเหล่าใดในชมพูทวีปนี้
  • 11. 11 หม่อมฉันจะไม่กินกษัตริย์เหล่านั้นผู้เช่นนั้น บรรดาพรทั้งหลาย นี้เป็นพรข้อที่ ๒ ที่หม่อมฉันขอถวาย (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๕๗] กษัตริย์เกินกว่า ๑๐๐ พระองค์ที่พระองค์จับร้อยฝ่าพระหัตถ์ไว้ ทรงกันแสง พระพักตร์ชุ่มด้วยพระอัสสุชล ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปล่อยกษัตริย์เหล่านั้น ให้กลับไปในแคว้นของตนๆ เถิด บรรดาพรทั้งหลาย นี้เป็นพรข้อที่ ๓ ที่หม่อมฉันทูลขอ (โจรโปริสาทเมื่อจะให้พร จึงกราบทูลว่า) [๔๕๘] กษัตริย์เกินกว่า ๑๐๐ พระองค์ที่หม่อมฉันจับร้อยฝ่าพระหัตถ์ไว้ ทรงกันแสง มีพระพักตร์ชุ่มด้วยพระอัสสุชล หม่อมฉันจะปล่อยกษัตริย์เหล่านั้นให้กลับไปในแคว้นของตนๆ บรรดาพรทั้งหลาย นี้เป็นพรข้อที่ ๓ ที่หม่อมฉันขอถวาย (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๕๙] แคว้นของพระองค์เป็ นช่อง (แคว้นของพระองค์เป็นช่อง หมายถึงไม่มีที่อยู่หนาแน่น คือ เกิดมีช่องว่าง เพราะเกิดหมู่บ้านขึ้นเฉพาะที่) เพราะชนเป็ นอันมากหวาดหวั่นเพราะกลัว จึงพากันหนีเข้าหาที่หลบซ่อน ขอพระองค์โปรดทรงงดเว้นเนื้อมนุษย์เถิด พระเจ้าข้า บรรดาพรทั้งหลาย นี้เป็นพรข้อที่ ๔ ที่หม่อมฉันทูลขอ (โจรโปริสาทกราบทูลว่า) [๔๖๐] มนุษย์นั้นเป็นภักษาหารที่ชอบใจของหม่อมฉันมาตั้งนาน หม่อมฉันหนีเข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งภักษาหารนี้ หม่อมฉันนั้นจะพึงงดอาหารนั้นได้อย่างไร ขอพระองค์จงขอพรข้อที่ ๔ อย่างอื่นเถิด (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๖๑] พระองค์ผู้จอมชน คนเช่นกับพระองค์มัวพะวงอยู่ว่า นี้เป็นที่พอใจของเรา มาทอดทิ้งตนเสีย ย่อมไม่ประสบสิ่งซึ่งเป็ นที่พอใจทั้งหลาย ตนนั่นแหละประเสริฐกว่า ประเสริฐอย่างยอดเยี่ยมกว่า เพราะบุคคลผู้อบรมตนแล้ว พึงได้สิ่งซึ่งเป็ นที่พอใจทั้งหลายในภายหลัง (โจรโปริสาทมีน้าตานองหน้า กราบทูลว่า) [๔๖๒] เนื้อมนุษย์เป็นที่พอใจของหม่อมฉัน พระเจ้าสุตโสม โปรดทรงทราบอย่างนี้ หม่อมฉันไม่อาจจะงดเว้น เชิญพระองค์เลือกพรอย่างอื่นเถิด พระสหาย (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๖๓] ผู้ใดมัวรักษาของซึ่งเป็ นที่พอใจว่า นี้เป็นที่พอใจของเรา มาทอดทิ้งตนเสีย ย่อมประสบแต่ของซึ่งเป็ นที่รักทั้งหลาย
  • 12. 12 เหมือนนักเลงสุราดื่มสุราที่เจือยาพิษ เพราะเหตุนั้นเอง เขาจึงได้รับทุกข์ในโลกหน้า [๔๖๔] อนึ่ง ผู้ใดในโลกนี้ได้พิจารณาแล้ว ละสิ่งซึ่งเป็ นที่พอใจเสียได้ ย่อมเสพอริยธรรมได้แสนยาก เหมือนคนไข้ผู้ประสบทุกข์ดื่มยา เพราะเหตุนั้นแหละ ผู้นั้นจึงเป็ นผู้ได้รับความสุขในโลกหน้า (โจรโปริสาทกล่าวคร่าครวญว่า) [๔๖๕] หม่อมฉันละทิ้งพระบิดาและพระมารดา ทั้งเบญจกามคุณอันเป็นที่ชอบใจ หนีเข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งภักษาหารนี้ พรข้อนั้นหม่อมฉันจะถวายแก่พระองค์ได้อย่างไร (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๖๖] บัณฑิตทั้งหลายไม่กล่าววาจาเป็ น ๒ ส่วน สัตบุรุษทั้งหลายย่อมมีปฏิญญาเป็นคาสัตย์โดยแท้ พระองค์ได้ตรัสกับหม่อมฉันว่า เชิญขอพรเถิดนะ พระสหาย พระองค์ได้ตรัสไว้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระดารัสที่พระองค์ตรัสจึงไม่สมกัน (โจรโปริสาทร้องไห้อีก กราบทูลว่า) [๔๖๗] หม่อมฉันเข้าถึงการไม่ได้บุญ ความเสื่อมยศเสื่อมเกียรติ บาป ทุจริต ความเศร้าหมองเป็นอันมาก เพราะเนื้อมนุษย์เป็นเหตุ หม่อมฉันจะพึงถวายพรนั้นแก่พระองค์ได้อย่างไร (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสกับโจรโปริสาทนั้นอีกว่า) [๔๖๘] คาว่า คนเราให้พรใดแล้วกลับคา เขาไม่สมควรให้พรนั้น สหาย ขอพระองค์จงขอพรเถิด อย่าหวั่นวิตกไปเลย แม้แต่ชีวิตหม่อมฉันก็สละถวายพระองค์ได้ (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสสนับสนุนโจรโปริสาทนั้นให้อาจหาญในการให้พรว่ า) [๔๖๙] สัตบุรุษทั้งหลายยอมสละชีวิต แต่ไม่สละธรรม สัตบุรุษมีปฏิญญาเป็นสัตย์อย่างเดียว พรที่พระองค์ได้ประทานแล้ว ขอได้โปรดรีบประทานเสียเถิด พระราชาผู้ประเสริฐสุด ขอพระองค์จงสมบูรณ์ด้วยธรรมนี้เถิด [๔๗๐] นรชนพึงสละทรัพย์เพราะเหตุแห่งอวัยวะที่สาคัญ เมื่อจะรักษาชีวิต ก็พึงสละอวัยวะ เมื่อระลึกถึงธรรม พึงสละทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และแม้แต่ชีวิตทั้งหมด [๔๗๑] บุรุษรู้ธรรมจากผู้ใด และเหล่าสัตบุรุษย่อมขจัดความสงสัยของบุรุษนั้นได้
  • 13. 13 ข้อนั้นเป็ นที่พึ่งและเป็ นจุดมุ่งหมายของบุรุษนั้น ด้วยเหตุนั้น บุคคลผู้มีปัญญาไม่พึงทาลายไมตรี (โจรโปริสาทเมื่อจะให้พร จึงกราบทูลว่า) [๔๗๒] มนุษย์นั้นเป็นภักษาหารที่ชอบใจของหม่อมฉันมาตั้งนาน หม่อมฉันหนีเข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งภักษาหารนี้ สหาย ก็ถ้าพระองค์จะตรัสขอเรื่องนี้กับหม่อมฉัน หม่อมฉันขอถวายพรนี้แด่พระองค์ [๔๗๓] สหาย พระองค์เป็นทั้งครูและสหายของหม่อมฉัน หม่อมฉันได้ทาตามพระดารัสของพระองค์แล้ว แม้พระองค์ก็ขอได้โปรดทาตามคาของหม่อมฉัน เราแม้ทั้ง ๒ จะได้ไปปลดปล่อย(เหล่ากษัตริย์)ด้วยกัน (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสกับโจรโปริสาทนั้นว่า) [๔๗๔] สหาย หม่อมฉันเป็นทั้งครูและสหายของพระองค์ พระองค์ได้ทาตามคาของหม่อมฉันแล้ว แม้หม่อมฉันก็จะทาตามพระดารัสของพระองค์ เราแม้ทั้ง ๒ ก็จะได้พากันไปปลดปล่อย(เหล่ากษัตริย์)ด้วยกัน (ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์เสด็จเข้าไปหากษัตริย์เหล่านั้นแล้ว จึงตรัสว่า) [๔๗๕] พระองค์ทั้งหลายอย่าได้ประทุษร้าย ต่อพระราชานี้ด้วยความเคียดแค้นว่า “เราทั้งหลายถูกพระเจ้ากัมมาสบาทเบียดเบียน ถูกร้อยฝ่ามือ ร้องไห้ มีหน้านองไปด้วยน้าตา ขอพระองค์ทั้งหลายจงทรงรับสัตย์ปฏิญาณของหม่อมฉัน” (กษัตริย์เหล่านั้นตรัสตอบว่า) [๔๗๖] พวกหม่อมฉันจะไม่ประทุษร้าย ต่อพระราชาพระองค์นี้ด้วยความเคียดแค้นว่า “เราทั้งหลายถูกพระเจ้ากัมมาสบาทเบียดเบียน ถูกร้อยฝ่ามือ ร้องไห้ มีหน้านองไปด้วยน้าตา หม่อมฉันทั้งหลายขอรับสัจจปฏิญญาของพระองค์” (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ตรัสกับกษัตริย์เหล่านั้นว่า) [๔๗๗] บิดาหรือมารดาเป็นผู้อนุเคราะห์ ปรารถนาประโยชน์แก่ประชาฉันใด ขอพระราชานี้จงเป็ นเสมือนพระบิดาและพระมารดา ของท่านทั้งหลาย และขอท่านทั้งหลายจงเป็ นเสมือนบุตรฉันนั้น (กษัตริย์เหล่านั้นเมื่อรับปฎิญาณ จึงกราบทูลว่า) [๔๗๘] บิดาหรือมารดาเป็นผู้อนุเคราะห์ ปรารถนาประโยชน์แก่ประชาทั้งหลายฉันใด
  • 14. 14 แม้พระราชานี้ก็จงเป็ นเหมือนพระบิดาและพระมารดาของหม่อมฉันทั้งหลาย แม้หม่อมฉันทั้งหลายก็จะเป็นเหมือนโอรสฉันนั้น (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ทรงพรรณนาถึงสมบัติของพระนคร จึงตรัสปลอบโจรโปริสาทว่า) [๔๗๙] พระองค์เคยเสวยกระยาหารเนื้อสัตว์ ๔ เท้า และนกที่พวกพ่อครัวจัดปรุงให้สาเร็จอย่างดี เหมือนพระอินทร์ทรงเสวยสุธาโภชน์ ไฉนจึงทรงละทิ้งไปยินดีอยู่ป่าแต่ลาพังเล่า [๔๘๐] นางกษัตริย์เหล่านั้นล้วนแต่เอวบางร่างน้อยสะโอดสะอง ประดับแวดล้อมบารุงพระองค์ให้บันเทิงพระทัย เหมือนนางเทพอัปสรแวดล้อมพระอินทร์ในเทวโลกฉะนั้น ไฉนจึงทรงละทิ้งไปยินดีอยู่ป่าตามลาพังเล่า [๔๘๑] พระแท่นบรรทมมีพนักแดง โดยมากปูลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ล้วนแต่ปูลาดด้วยเครื่องอาภรณ์ทั้งปวงอันงดงาม พระองค์เคยทรงบรรทมสุขสาราญ ประทับบนท่ามกลางพระแท่นบรรทมเช่นนั้น ไฉนจึงทรงละทิ้งไปยินดีอยู่ป่าแต่ลาพังเล่า [๔๘๒] ในเวลาพลบค่า มีทั้งเสียงปรบมือ เสียงตะโพน และเสียงดนตรี รับประสานเสียงล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษเจือปน การขับและการประโคมก็ล้วนไพเราะ ไฉนจึงทรงละทิ้งไปยินดีอยู่ป่าแต่ลาพังเล่า [๔๘๓] พระราชอุทยานชื่อมิคาชินวัน สมบูรณ์ด้วยบุปผชาติหลากหลายชนิด พระนครของพระองค์ประกอบด้วยพระราชอุทยานเช่นนี้ เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจยิ่งนัก ประกอบด้วยม้า ช้าง และรถ ไฉนจึงทรงละทิ้งไปยินดีอยู่ป่าแต่ลาพังเล่า (โจรโปริสาทกราบทูลพระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์ว่า) [๔๘๔] ข้าแต่พระราชา ในกาฬปักษ์ ดวงจันทร์ย่อมอ่อนแสงลงทุกๆ วัน การสมาคมคบหาอสัตบุรุษ ย่อมเปรียบเสมือนดวงจันทร์ในข้างแรมฉันใด [๔๘๕] หม่อมฉันก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยพ่อครัวซึ่งเป็ นคนชั่วเลวทราม ได้ทาแต่บาปกรรมที่จะเป็ นเหตุให้ไปทุคติ [๔๘๖] ในสุกกปักษ์ ดวงจันทร์ย่อมส่องแสงสว่างขึ้นทุกๆ วันฉันใด ข้าแต่พระราชา การสมาคมคบหาสัตบุรุษ ก็เปรียบเสมือนดวงจันทร์ในข้างขึ้นฉันนั้น [๔๘๗] ข้าแต่พระเจ้าสุตโสม ขอพระองค์ทรงทราบว่า เหมือนหม่อมฉันได้อาศัยพระองค์แล้ว จักทากุศลกรรมที่เป็นเหตุให้ไปสุคติได้ [๔๘๘] พระองค์ผู้จอมชน เปรียบเสมือนน้าฝนที่ตกลงบนที่ดอน ไม่ควรยืดเยื้อขังอยู่ได้นานฉันใด
  • 15. 15 แม้การสมาคมคบหาอสัตบุรุษของหม่อมฉันก็ฉันนั้น ไม่ควรจะยืดเยื้อยาวนานได้เหมือนน้าบนที่ดอน [๔๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน ผู้เป็นนรชน ผู้แกล้วกล้า และประเสริฐสุด น้าฝนที่ตกลงในสระย่อมขังอยู่ได้นานฉันใด แม้การสมาคมคบหาสัตบุรุษของหม่อมฉันก็ฉันนั้น ย่อมตั้งอยู่ได้นานเหมือนน้าในสระ [๔๙๐] การสมาคมสัตบุรุษย่อมไม่รู้จักเสื่อมคลายไป ย่อมเป็นอยู่เหมือนอย่างนั้น แม้ตลอดเวลาที่ชีวิตยังคงอยู่ ส่วนการสมาคมคบหาอสัตบุรุษย่อมเสื่อมไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับอสัตบุรุษ (พระเจ้าสุตโสมโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงธรรมเพื่อให้เนื้อความถึงที่สุด จึงตรัสว่า) [๔๙๑] พระราชาผู้ชนะคนที่ไม่ควรชนะ (คนที่ไม่ควรชนะ หมายถึงมารดาบิดา เมื่อชนะมารดาบิดาไม่ชื่อว่าเป็นพระราชา หากว่าท่านได้ราชสมบัติจากพระราชบิดาแล้ว กลับเป็นปฐมกษัตริย์ต่อท่าน ชื่อว่าทากิจไม่สมควร) ไม่ชื่อว่าเป็ นพระราชา เพื่อนผู้ชนะเพื่อน ก็ไม่ชื่อว่าเป็นเพื่อน ภรรยาผู้ไม่เกรงกลัวสามี ก็ไม่ชื่อว่าเป็นภรรยา บุตรทั้งหลายผู้ไม่เลี้ยงดูมารดาและบิดาผู้แก่ชรา ก็ไม่ชื่อว่าเป็ นบุตร [๔๙๒] ที่ประชุมที่ไม่มีสัตบุรุษ (สัตบุรุษหมายถึงบัณฑิต สัตบุรุษทั้งหลายละกิเลสมีราคะเป็นต้นแล้ว เป็ นผู้อนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยประโยชน์ พูดแต่ความจริง) ก็ไม่ชื่อว่าสภา เหล่าชนผู้ไม่พูดคาที่เป็นธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ ชนทั้งหลายผู้ละราคะ โทสะ โมหะ กล่าวคาที่เป็นธรรมเท่านั้น จึงชื่อว่า เป็ นสัตบุรุษ [๔๙๓] บัณฑิตผู้อยู่ปะปนกับคนพาล เมื่อไม่พูด ใครๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็ นบัณฑิต แต่บัณฑิตเมื่อพูด เมื่อแสดงอมตบท จึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต [๔๙๔] เพราะเหตุนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงกล่าวธรรม พึงอธิบายธรรมให้แจ่มแจ้ง พึงเชิดชูธงของฤๅษีทั้งหลาย เพราะฤๅษีทั้งหลายมีธรรมที่เป็นสุภาษิตเป็นธงชัย ธรรมนั่นแหละเป็นธงชัยของฤๅษีทั้งหลาย มหาสุตโสมชาดกที่ ๕ จบ ------------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา มหาสุตโสมชาดก ว่าด้วย พระเจ้าสุตโสมทรงทรมานพระยาโปริสาท
  • 16. 16 พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภพระอังคุลิมาลเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. การบังเกิดและการบรรพชาของพระอังคุลิมาลเถระนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยพิสดารตามนัยที่ท่านพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาอังคุลิมาลสูตร. ในเรื่องนี้จะได้กล่าวความตั้งแต่พระอังคุลิมาลเถระนั้นได้กระทาความ สวัสดีแก่หญิงผู้มีครรภ์หลงด้วยทาความสัตย์แล้ว จาเดิมแต่นั้นมา ก็ได้อาหารสะดวกขึ้น เจริญวิเวกอยู่ ในกาลต่อมา ก็ได้บรรลุพระอรหัต เป็นพระอรหันต์มีชื่อปรากฏนับเข้าในภายในพระมหาเถระ ๘๐ องค์ ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ จริงๆ หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานพระองคุลิมาล ผู้เป็นมหาโจร มีฝ่ามืออันชุ่มด้วยเลือด ร้ายกาจเห็นปานนั้น โดยไม่ต้องใช้ทัณฑะหรือศัสตรา ทาให้หมดพยศได้ ทรงกระทากิจที่ทาได้โดยยาก ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้กระทากิจที่ทาได้ยาก อย่างน่าอัศจรรย์. พระศาสดาประทับอยู่ในพระคันธกุฎี ได้ทรงสดับถ้อยคาของภิกษุเหล่านั้นด้วยทิพโสต ก็ทรงทราบว่า เราไปวันนี้จักมีอุปการะมาก พระธรรมเทศนาจักเป็ นไปอย่างใหญ่หลวงดังนี้ จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จไปยังธรรมสภาด้วยพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ ประทับนั่งบนอาสนะอันประเสริฐที่พวกภิกษุจัดไว้ถวาย แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ได้บรรลุปรมาภิสมโพธิญาณ ทรมานพระองคุลิมาลได้ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย เมื่อครั้งเรายังบาเพ็ญบุรพจริยาแม้ตั้งอยู่ในประเทศญาณก็ทรมานพระองคุลิมาลนี้ ได้ ตรัสดังนี้แล้วทรงดุษณีภาพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา จึงทรงนาอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้ ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่าโกรัพยะ เสวยราชสมบัติโดยธรรม ในพระนครอินทปัต แคว้นกุรุ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีแห่งพระเ จ้าโกรัพยะนั้น ก็เพราะพระราชกุมารนั้นมีพระพักตร์ดังดวงจันทร์ และมีนิสัยชอบในการศึกษา
  • 17. 17 ชนทั้งหลายจึงพากันเรียกเธอว่าสุตโสม พระราชาทรงเห็นพระกุมารนั้นเจริญวัยแ ล้ว จึงพระราชทานทองลิ่มชนิดเนื้อดี ราคาพันหนึ่ง ส่งไปยังเมืองตักกสิลา เพื่อให้ศึกษาศิลปศาสตร์ ในสานักอาจารย์ทิศาปาโมกข์. สุตโสมรับทรัพย์อันเป็นส่วนของอาจารย์ แล้วออกเดินทางไป แม้พรหมทัตกุมาร พระโอรสของพระเจ้ากาสิกราช ในพระนครพาราณสี พระบิดาก็รับสั่งอย่างเดียวกันแล้ว ส่งไปจึงเดินไปยังหนทางนั้น. ลาดับนั้น สุตโสมกุมารเดินทางไปถึงแล้ว จึงนั่งพักที่แผ่นกระดานในศาลาใกล้ประตูเมือง แม้พรหมทัตกุมารไปถึงแล้ว ก็นั่งบนแผ่นกระดานแผ่นเดียวกันกับสุตโสมกุมารนั้น. ลาดับนั้น สุตโสมจึงกระทาปฏิสันถารแล้ว ถามพรหมทัตกุมารนั้นว่า ดูก่อนสหาย ท่านเดินทางมาเหน็ดเหนื่อย ท่านมาจากไหน. พรหมทัตกุมารตอบว่า ข้าพเจ้ามาจากเมืองพาราณสี. ท่านเป็ นบุตรของใคร. ข้าพเจ้าเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี. ท่านชื่อไร. ข้าพเจ้าชื่อพรหมทัตกุมาร. ท่านมาที่นี่ด้วยเหตุไร. พรหมทัตกุมารตอบว่า ข้าพเจ้ามาเพื่อเรียนศิลปศาสตร์ แล้วถามสุตโสมกุมาร โดยนัยนั้นเหมือนกันว่า แม้ตัวท่านก็เดินทางเหน็ดเหนื่อยมา ท่านมาจากไหน. แม้สุตโสมก็บอกแก่พรหมทัตกุมารทุกประการ แม้สองราชกุมารนั้นจึงกล่าวแก่กันว่า เราทั้งสองเป็นกษัตริย์ จงไปศึกษาศิลปศาสตร์ในสานักท่านอาจารย์คนเดียวกันเถิด กระทามิตรภาพแก่กันและกันแล้ว จึงเข้าไปสู่พระนคร ไปหาสกุลอาจารย์ ไหว้อาจารย์แล้วแจ้งชาติของตน แถลงความที่ตนทั้งสองมา เพื่อจะศึกษาศิลปะ อาจารย์จึงรับว่า ดีละ. สองราชกุมารจึงให้ทรัพย์อันเป็นส่วนค่าเล่าเรียนกับอาจารย์ แล้วเริ่มเรียนศิลปะ. เวลานั้น ไม่ใช่แต่สองราชกุมารเท่านั้น แม้พระราชบุตรอื่นๆ ในชมพูทวีป ประมาณ ๑๐๑ พระองค์ ก็เรียนศิลปะอยู่ในสานักของอาจารย์นั้น สุตโสมกุมารได้เป็นอันเตวาสิกผู้เจริญที่สุดกว่าราชบุตรเหล่านั้น เล่าเรียนศิลปศาสตร์อยู่อย่างขะมักเขม้น ไม่นานเท่าไรนักก็ถึงความสาเร็จ สุตโสมกุมารมิได้ไปยังสานักของราชกุมารเหล่าอื่น ไปหาแต่พรหมทัตกุมารผู้เดียว ด้วยคิดว่า กุมารนี้เป็ นสหายของเรา เป็นครูผู้ช่วยแนะนาภายหลังของพรหมทัตกุมารนั้น สอนให้สาเร็จการศึกษาได้โดยรวดเร็ว ศิลปะแม้ของราชกุมารนอกนี้ ก็สาเร็จโดยลาดับกันมา พวกราชกุมารเหล่านั้นให้เครื่องคานับไหว้อาจารย์แล้ว แวดล้อมสุตโสมออกเดินทางไป ลาดับนั้น สุตโสมจึงพักยืนอยู่ในระหว่างทางที่จะแยกกัน เมื่อจะส่งราชบุตรเหล่านั้นกลับ จึงกล่าวว่า
  • 18. 18 ท่านทั้งหลายแสดงศิลปะแก่พระราชมารดาบิดาของตนแล้ว จักตั้งอยู่ในราชสมบัติ ครั้นตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้ว พึงกระทาตามโอวาทของเรา ทาอย่างไรท่านอาจารย์ ท่านทั้งหลายจงรักษาอุโบสถทุกวันครึ่งเดือน อย่าได้กระทาการเบียดเบียน ราชบุตรเหล่านั้นรับคาเป็ นอันดี แม้พระโพธิสัตว์ก็ทรงทราบล่วงหน้าอยู่แล้วว่า มหาภัยจักเกิดขึ้นในพระนครพาราณสี เพราะอาศัยพรหมทัตกุมาร ดังนี้ เพราะปรากฏในองค์วิทยา จึงได้ให้โอวาทแก่พวกราชกุมารเหล่านั้น แล้วส่งไป. ราชบุตรเหล่านั้นทุกๆ พระองค์ ไปถึงชนบทของตนๆ แล้วแสดงศิลปะแก่พระราชมารดาบิดาของตนแล้ว ตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้วต่างส่งราชสาส์น พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการ เพื่อให้ทราบความที่ตนตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้ว และประพฤติอยู่ในโอวาทด้วย พระมหาสัตว์ได้ทรงทราบข่าวสาส์นนั้นแล้ว ทรงตอบพระราชสาส์นไปว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ในบรรดาพระราชาเหล่านั้น พระเจ้าพาราณสีเว้นมังสะเสียแล้ว เสวยอาหารไม่ได้ แม้ในวันอุโบสถพวกห้องเครื่องต้น ก็ต้องเก็บมังสะไว้ถวายท้าวเธอ อยู่มาวันหนึ่ง เนื้อที่เก็บไว้อย่างนั้น พวกโกไลยสุนัขในพระราชวังกินเสียหมด เพราะความเลินเล่อของคนทาเครื่องต้น คนทาเครื่องต้นไม่เห็นมังสะ จึงถือกหาปณะกามือหนึ่งเที่ยวไป ก็ไม่อาจจะหามังสะได้ จึงดาริว่า ถ้าหากเราจักตั้งเครื่องเสวยไม่มีมังสะ เราก็จะไม่มีชีวิต จักทาอย่างไรเล่าหนอ ครั้นนึกอุบายได้ ในเวลาค่าจึงไปสู่ป่าช้าผีดิบ ตัดเอาเนื้อตรงขาของบุรุษที่ตาย เมื่อครู่หนึ่งนั้น นามาทาให้สุกดีแล้ว หุงข้าวจัดแจงตั้งเครื่องเสวย พร้อมด้วยมังสะ พอพระราชาวางชิ้นมังสะลง ณ ปลายพระชิวหา ชิ้นมังสะนั้นก็แผ่ไปสู่ เส้นประสาทที่รับรสทั้ง ๗ พันซาบซ่านไปทั่วพระสรีระ มีคาถามสอดเข้ามาว่า ที่เป็นดังนี้ เพราะเหตุไร เฉลยว่า เพราะเคยเสวยมาก่อนแล้ว. ได้ยินว่า ในอัตภาพต่อกันที่ล่วงไปแล้ว ท้าวเธอเกิดเป็นยักษ์กินเนื้อมนุษย์เสียเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น เนื้อมนุษย์จึงได้เป็นสิ่งที่โปรดปรานของพระองค์ ท้าวเธอทรงพระดาริว่า ถ้าเราจักนิ่งเสียแล้วบริโภค คนทาเครื่องนี้ก็จักไม่บอกเนื้อชนิดนี้แก่เรา จึงแกล้งถ่มให้ตกลงบนภาคพื้น พร้อมด้วยพระเขฬะ เมื่อคนทาเครื่องต้นกราบทูลว่า ขอเดชะ มังสะนี้หาโทษมิได้ เชิญพระองค์เสวยเถิด จึงทรงรับสั่งให้ราชเสวกออกไปเสียแล้ว ตรัสถามคนทาเครื่องต้นว่า เราเองก็ทราบว่า เนื้อนี้หาโทษมิได้ แต่เนื้อนี้เรียกว่าเนื้ออะไร. ขอเดชะ เนื้อที่พระองค์เคยเสวยในวันก่อนๆ ในวันอื่น เนื้อนี้ไม่มีรสอย่างนั้นมิใช่หรือ ขอเดชะ. พึงทาได้ดีในวันนี้เอง แม้เมื่อก่อน เจ้าก็ทาอย่างนี้มิใช่หรือ.
  • 19. 19 ลาดับนั้น ท้าวเธอทรงทราบว่า คนทาเครื่องต้นนั้นนิ่งอยู่ จึงรับสั่งต่อไปว่า จงบอกมาตามความจริงเถิด ถ้าเจ้าไม่บอก เจ้าจะไม่มีชีวิต. คนทาเครื่องต้นจึงทูลขอพระราชทานอภัยแล้ว ก็กราบทูลตามความเป็นจริง พระราชารับสั่งว่า เจ้าอย่าเอ็ดไป เจ้าจงกินมังสะที่ทาตามธรรมดา แล้วจงนาเนื้อมนุษย์ให้แก่เราอย่างเดียว คนทาเครื่องต้นทูลถามว่า ขอเดชะ ทาได้ยากมิใช่หรือ. อย่ากลัวเลย ไม่ใช่ของยาก. คนทาเครื่องต้นจึงทูลถามว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์จักได้มาจากไหนเป็ นนิตย์เล่า. คนในเรือนจามีอยู่มากมายมิใช่หรือ. จาเดิมแต่นั้น เขาก็ได้กระทาตามพระราชบัญชาทุกประการ ครั้นต่อมา พวกนักโทษในเรือนจาหมด คนทาเครื่องต้นจึงกราบทูลว่า บัดนี้ ข้าพระองค์จักกระทาอย่างไรต่อไป เจ้าจงทิ้งถุงทรัพย์พันหนึ่งไว้ที่ระหว่างทาง คนใดหยิบเอาถุงทรัพย์นั้น จงจับคนนั้นโดยตั้งข้อหาว่า เป็นโจรแล้วฆ่าทิ้งเสีย เขาได้กระทาตามพระราชบัญชานั้นแล้ว ครั้นต่อมาไม่พบ แม้คนที่มองดูถุงทรัพย์พันหนึ่งนั้น เพราะความกลัว จึงทูลถามว่าขอเดชะ บัดนี้ข้าพระองค์จักกระทาอย่างไรต่อไป ในเวลาตีกลองยามเที่ยงคืนพระนคร ย่อมเกิดความอลหม่าน เวลานั้น เจ้าจงยืนดักอยู่ที่ตรอกบ้าน หรือถนน หรือหนทางสี่แพร่งแห่งหนึ่ง จงฆ่ามนุษย์เอาเนื้อมา จาเดิมแต่นั้นมา เขาก็ได้ทาอย่างนั้นเอาเนื้อที่ล่าๆ ไป ซากศพปรากฏอยู่ในที่นั้นๆ พระนครก็อากูลไปด้วยซากศพ ได้ยินเสียงประชาชนคร่าครวญว่า มารดาของเราหายไป บิดาของเราหายไป พี่ชาย น้องชายของเราหายไป พี่สาว น้องสาวของเราหายไป. ชาวนครทั้งกลัวทั้งหวาดเสียว ปรึกษากันว่า คนเหล่านี้ถูกราชสีห์กิน หรือถูกเสือกิน หรือถูกยักษ์กินหนอ เมื่อตรวจดูก็เห็นปากแผลที่ต้องประหาร จึงสันนิษฐานกันว่า เห็นจะเป็ นโจรมนุษย์คนหนึ่ง กินคนเหล่านี้เป็ นแน่ มหาชนจึงประชุมกันร้องทุกข์ที่พระลานหลวง พระราชาตรัสถามว่า อะไรกันพ่อ. ขอเดชะ ในพระนครนี้เกิดมีโจรกินคนขึ้นแล้ว ขอพระองค์จงรับสั่งให้จับโจรกินคนนั้นเสียเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เราจักรู้ได้อย่างไรเล่า เราเป็ นคนรักษาพระนครเที่ยวไปตรวจดูหรือ มหาชนปรึกษากันว่า พระราชาไม่ทรงเป็นธุระทางการเมือง เพราะฉะนั้น พวกเราจักพากันไปแจ้งแก่ท่านกาฬหัตถีเสนาบดีเถิด จึงพากันไปบอกเนื้อความนั้นแก่ท่านเสนาบดี กราบเรียนว่า ควรจะสืบจับตัวผู้ร้ายให้ได้. ท่านเสนาบดีมีบัญชาว่า พวกท่านจงรออยู่สัก ๗ วันก่อน เราจักสืบจับตัวผู้ร้ายเอามาให้พวกท่านดูจงได้ แล้วส่งมหาชนกลับไป. ท่านเสนาบดีบังคับพวกบุรุษว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เขาลือกันว่า
  • 20. 20 โจรกินคนมีอยู่ในพระนคร พวกท่านจงไปซุ่มอยู่ในที่นั้นๆ จับเอาตัวมันมาให้ได้ พวกบุรุษเหล่านั้นรับคาสั่งแล้ว ตั้งแต่นั้นมา ก็คอยสอดแนมพระนครอยู่เสมอ. แม้คนทาเครื่องต้นแอบอยู่ที่ตรอกบ้านแห่งหนึ่ง ฆ่าหญิงคนหนึ่งได้แล้ว ปรารภจะเอาเนื้อตรงที่ล่าๆ บรรจุลงในกระเช้า ทันใดนั้น พวกบุรุษเหล่านั้น จึงจับคนทาเครื่องต้นนั้นโบย แล้วมัดมือไพล่หลัง ร้องประกาศดังๆ ว่า พวกเราจับโจรกินคนได้แล้ว ประชาชนพากันห้อมล้อมคนทาเครื่องต้นนั้น ขณะนั้น บุรุษทั้งหลายมัดเขาไว้อย่างมั่นคง แล้วผูกกระเช้าเนื้อไว้ที่คอ เอาตัวไปแสดงแก่ท่านเสนาบดี ลาดับนั้น ท่านเสนาบดี ครั้นพอได้เห็นคนทาเครื่องต้นนั้นแล้ว จึงดาริว่า คนผู้นี้กินเนื้อนี้เอง หรือเอาไปปนกับเนื้ออื่นแล้วจาหน่าย หรือว่าฆ่าตามพระราชบัญชา เมื่อจะถามเนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า ดูก่อนคนทาเครื่องต้น ทาไมเจ้าจึงทากรรมอันร้ายกาจเช่นนี้ได้ เจ้าเป็นคนหลง ฆ่าหญิงและชายทั้งหลายได้ เพราะเหตุแห่งเนื้อ หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์. ลาดับนั้น คนทาเครื่องต้นจึงกล่าวกะท่านเสนาบดีนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มิใช่เพราะเหตุแห่งตน มิใช่เพราะเหตุแห่งทรัพย์ มิใช่เพราะเหตุแห่งลูกเมีย หรือสหายและญาติ เป็นด้วยพระจอมภูมิบาลนายข้าพเจ้า พระองค์เสวยมังสะนี้นะท่าน. ลาดับนั้น ท่านเสนาบดีจึงกล่าวกะคนทาเครื่องต้นนั้นว่า ถ้าเจ้าขวนขวายในกิจของเจ้านาย กระทากรรมอย่างร้ายกาจเช่นนี้ เวลาเช้า เจ้าไปถึงภายในพระราชวังแล้ว พึงแถลงเหตุนั้นต่อเรา ในที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัว. ลาดับนั้น คนทาเครื่องต้นจึงกล่าวกะท่านเสนาบดีนั้นว่า ข้าแต่ท่านกาฬหัตถีผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักกระทาตามคาสั่งสอนของท่าน เวลาเช้า ข้าพเจ้าไปถึงภายในพระราชวังแล้ว จักแถลงถึงเหตุนั้น ต่อท่านเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัว. ลาดับนั้น ท่านเสนาบดีจึงสั่งให้มัดจาคนทาเครื่องต้นนั้นไว้ให้มั่งคง เมื่อราตรีสว่างแล้ว จึงปรึกษากับพวกอามาตย์และชาวเมือง เมื่อร่วมฉันทะกันทั้งหมดแล้ว วางอารักขาในที่ทุกแห่ง กระทาพระนครให้อยู่ในเงื้อมมือ ผูกกระเช้าเนื้อไว้ที่คอคนทาเครื่องต้น นาตัวเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ ได้เกิดเสียงเซ็งแซ่ขึ้นทั่วพระนครแล้ว วันวานนี้ พระราชาเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ยังมิได้เนื้อในเวลาเย็น จึงประทับนั่งรอท่าด้วยหมายพระทัยว่า คนทาเครื่องต้นจักมาในบัดนี้ ประทับรออยู่จนตลอดคืนยังรุ่ง แม้วันนี้ คนทาเครื่องต้นก็ยังไม่มา