SlideShare a Scribd company logo
1
เตสกุณชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๗. จัตตาลีสนิบาต
๑. เตสกุณชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๒๑)
ว่าด้วยนก ๓ ตัว
(พระราชาตรัสถามธรรมกับนกเวสสันดรในท่ามกลางมหาชนว่า)
[๑] ลูกนก ขอความเจริญจงมีแก่ลูก พ่อขอถามลูกเวสสันดรว่า
กิจอะไรบุคคลผู้ประสงค์จะครอบครองราชสมบัติ กระทาแล้วเป็นกิจอันประเสริฐ
(นกเวสสันดรยังไม่ทูลตอบปัญหา
แต่ทูลเตือนพระราชาเพราะความประมาทก่อนแล้วจึงกราบทูลว่า)
[๒] นานนักหนอ พระเจ้ากังสะพระราชบิดาของเรา
ผู้ทรงครอบครองกรุงพาราณสี ผู้มีความประมาท
ได้ตรัสถามเราผู้เป็ นบุตรซึ่งหาความประมาทมิได้
(นกเวสสันดรเมื่อทูลเตือนอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๓] ขอเดชะบรมกษัตริย์ อันดับแรกทีเดียว
พระราชาพึงทรงห้ามการตรัสคาไม่จริง ความโกรธ ความหรรษาร่าเริง
ต่อแต่นั้นพึงตรัสสั่งให้ทาราชกิจ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
นั้นเป็ นพระราชประเพณี
[๔] ขอเดชะเสด็จพ่อ
เมื่อก่อนกรรมใดเป็นกรรมกระทาให้เดือดร้อนโดยไม่ต้องสงสัย
พระองค์ทรงทาไว้แล้ว ๑
กรรมใดพระองค์ทรงมีความกาหนัดและความขัดเคืองทรงทา ๑
กรรมนั้นพระองค์ไม่พึงทาต่อไปอีก
[๕] ขอเดชะพระองค์ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ
โภคะทั้งปวงในแคว้นของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้วย่อมพินาศ ข้อนั้นท่านกล่าวว่า
เป็นความทุกข์ของพระราชา
[๖] ขอเดชะเสด็จพ่อ เทพธิดาชื่อสิริและอลักขีถูกสุจิวารเศรษฐีถาม
ได้ตอบว่า ดิฉันชื่นชมยินดีคนที่ขยันหมั่นเพียรและไม่ริษยา
[๗] ขอเดชะมหาราช ส่วนอลักขีเทพธิดาเป็นคนกาฬกัณณี หักกุศลจักร
ย่อมชื่นชมยินดีคนริษยา คนใจร้าย มักทาลายกุศลกรรม
[๘] ขอเดชะมหาราช พระองค์นั้น โปรดทรงมีพระหทัยดีในชนทั้งปวง
จงทรงพิทักษ์รักษาชนทั้งปวง โปรดทรงขับนางเทพธิดาที่อับโชคออกไป
ขอพระราชนิเวศน์จงเป็นที่อยู่ของนางเทพธิดาที่อานวยโชคเท่านั้นเถิด
2
[๙] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งชนชาวกาสี
เพราะว่าบุรุษผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและความเพียรนั้น มีอัธยาศัยกว้างขวาง
ย่อมตัดรากเง่าและยอดของศัตรูได้ขาด
[๑๐] แท้จริง แม้ท้าวสักกะผู้เป็นเจ้าแห่งภูต
ก็มิได้ทรงประมาทในความขยันหมั่นเพียร
ท้าวเธอทรงกระทาความเพียรในกัลยาณธรรม
ทรงสนพระทัยในความขยันหมั่นเพียร
[๑๑] คนธรรพ์ พรหม
เทวดาทั้งหลายที่มีชีวิตเกี่ยวเนื่องกับพระราชาเหล่านั้น
เมื่อพระองค์ทรงขยันหมั่นเพียร ไม่ประมาท ก็ย่อมจะคล้อยตาม
[๑๒] ขอเดชะเสด็จพ่อ ขอเสด็จพ่ออย่าทรงประมาท อย่าทรงกริ้ว
แล้วตรัสสั่งให้ทาราชกิจ อนึ่ง โปรดทรงพยายามในราชกิจ
เพราะคนไม่เกียจคร้านย่อมประสบความสุข
[๑๓] ข้อความเหล่านั้นที่ข้าพระองค์กล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ
นั้นแลเป็นวัตตบท ข้อนี้แลเป็ นอนุสาสนีสาหรับเสด็จพ่อ
ที่สามารถช่วยมิตรให้ถึงความสุขและให้ทุกข์เกิดแก่ศัตรูได้
(พระราชาตรัสถามราชธรรมกับนางนกกุณฑลินีว่า)
[๑๔] แม่กุณฑลินี สกุณีผู้เป็ นเผ่าพันธุ์ของผู้มีบรรดาศักดิ์
เจ้าคงจะเข้าใจปัญหา กิจอะไรบุคคลผู้ประสงค์จะครอบครอง
ราชสมบัติกระทาแล้วเป็นกิจอันประเสริฐ
(นางนกกุณฑลินีกราบทูลว่า)
[๑๕] ขอเดชะเสด็จพ่อ มีเหตุอยู่ ๒ ประการเท่านั้น
ที่ประโยชน์สุขทั้งปวงดารงมั่นอยู่ได้ คือ การได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑
การตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑
[๑๖] ขอเดชะเสด็จพ่อ พระองค์โปรดทรงรู้จักหมู่อามาตย์
ผู้เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในประโยชน์ ไม่ใช่นักเลงการพนัน ไม่ใช่คนปลิ้นปล้อน
ไม่ใช่นักเลงล้างผลาญเถิด พระเจ้าข้า
[๑๗] ขอเดชะเสด็จพ่อ อามาตย์คนใดพึงรักษาทรัพย์
ที่พระองค์พึงมีไว้ได้เหมือนนายสารถียึดรถ
อามาตย์ผู้นั้นพระองค์โปรดทรงให้ทาราชกิจเถิด
[๑๘] พระราชาพึงสงเคราะห์ชนฝ่ายในให้ดี
ตรวจตราราชทรัพย์ด้วยพระองค์เอง ไม่พึงฝังขุมทรัพย์
และให้กู้หนี้โดยทรงไว้วางพระทัยผู้อื่น
3
[๑๙] พระราชาควรทราบความเจริญและความเสื่อมด้วยพระองค์เอง
ควรทรงทราบสิ่งที่ทรงกระทาแล้วและยังมิได้ทรงกระทาด้วยพระองค์เอง
พึงข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
[๒๐] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นจอมทัพรถ
ขอพระองค์ทรงโปรดพร่าสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่ชาวชนบทด้วยพระองค์เอง
ข้าราชการผู้ไม่มีธรรมที่ทรงใช้สอยอย่าได้ทาพระราชทรัพย์
และรัฐสีมาของพระองค์ให้พินาศเลย
[๒๑] อนึ่ง พระองค์อย่าทรงกระทา
หรือตรัสใช้ให้ผู้อื่นกระทาราชกิจด้วยความเร่งด่วน
เพราะการงานที่ทาด้วยความเร่งด่วนไม่ดีเลย
คนโง่ย่อมเดือดร้อนในภายหลังเพราะการกระทาเช่นนั้น
[๒๒] ขอพระทัยของพระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล
ขอพระองค์อย่าทรงปล่อยพระทัยให้ขุ่นเคืองเกรี้ยวกราดนัก
เพราะว่าสกุลทั้งหลายที่มั่งคั่งมากมาย ถึงความไม่เป็นสกุลเพราะความโกรธ
[๒๓] ขอเดชะเสด็จพ่อ
ขอพระองค์อย่าทรงให้ประชาชนหยั่งลงเพื่อความหายนะ เพราะเข้าพระทัยว่า
เราเป็นใหญ่ ขอพวกสตรีและบุรุษของพระองค์อย่าได้มีความทุกข์เลย
[๒๔] พระราชาผู้ปราศจากอาการขนพองสยองเกล้า
มีพระทัยใฝ่หาแต่กาม โภคะทั้งปวงจักพินาศไป ข้อนั้นท่านกล่าวว่า
เป็นความทุกข์ของพระราชา
[๒๕] ข้อความเหล่านั้นที่หม่อมฉันกล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ
นั้นเป็ นวัตตบท ข้อนี้แลเป็นอนุสาสนีสาหรับเสด็จพ่อ ขอเดชะพระมหาราช บัดนี้
เสด็จพ่อพึงทรงขยันหมั่นบาเพ็ญบุญ อย่าทรงเป็นนักเลง
อย่าทรงล้างผลาญพระราชทรัพย์ ควรทรงเป็นผู้มีศีล เพราะคนทุศีลต้องตกนรก
(พระราชาตรัสถามปัญหากับนกชัมพุกบัณฑิตว่า)
[๒๖] พ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามโกสิยโคตรแล้ว
และแม่กุณฑลินีพ่อก็ได้ถามแล้วเช่นกัน คราวนี้
พ่อจงบอกกาลังอันสูงสุดกว่ากาลังทั้งหลายบ้าง
(นกชัมพุกบัณฑิตแสดงธรรมแก่พระราชาว่า)
[๒๗] ในโลกมีกาลังอยู่ ๕ ประการ (กาลัง ๕ คือ (๑) กาลังกาย (๒)
กาลังโภคทรัพย์ (๓) กาลังอามาตย์ (๔) กาลังชาติตระกูล (กษัตริย์) (๕)
กาลังปัญญา) มีอยู่ในบุรุษผู้มีอัธยาศัยกว้างขวาง บรรดากาลังทั้ง ๕ ประการนั้น
ขึ้นชื่อว่ากาลังแขนท่านกล่าวว่า เป็ นกาลังสุดท้าย
4
[๒๘] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงพระชนมายุยืนนาน
ส่วนกาลังแห่งโภคะท่านกล่าวว่า เป็ นกาลังที่ ๒
และกาลังแห่งอามาตย์ท่านกล่าวว่า เป็นกาลังที่ ๓
[๒๙] อนึ่ง กาลังแห่งชาติสกุลอันยิ่งนั้น เป็นกาลังที่ ๔ อย่างไม่ต้องสงสัย
กาลังทั้งหมด ๔ ประการเหล่านั้นบัณฑิตย่อมยึดถือไว้ได้
[๓๐] กาลังปัญญานั้นเป็ นกาลังประเสริฐสุด
เป็นยอดกาลังกว่ากาลังทั้งหลาย
บัณฑิตผู้มีกาลังปัญญาสนับสนุนย่อมประสบประโยชน์
[๓๑] แม้ถึงคนมีปัญญาทรามจะได้แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ก็จริง
คนอื่นผู้มีปัญญาย่อมกดขี่เขาซึ่งไม่ประสงค์จะให้ยึดครองแผ่นดินนั้นเสีย
[๓๒] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งชนชาวกาสี
ถึงกษัตริย์แม้อุบัติในสกุลอันสูงยิ่งได้ราชสมบัติแล้ว แต่มีปัญญาทราม
จะดารงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยโภคะแม้ทั้งปวงหาได้ไม่
[๓๓] ปัญญาเท่านั้นเป็ นเครื่องวินิจฉัยเรื่องที่ได้ฟัง
ปัญญาเป็นเหตุให้เกียรติยศชื่อเสียงเจริญ นรชนในโลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว
แม้เมื่อเกิดทุกข์ก็ประสบสุขได้
[๓๔] ส่วนคนบางคนไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยท่านผู้เป็นพหูสูต
ซึ่งตั้งอยู่ในธรรม ไม่ไตร่ตรองเหตุผล ย่อมไม่ได้ลุถึงปัญญา
[๓๕] อนึ่ง ผู้ใดรู้จักจาแนกธรรม ลุกขึ้นในกาลที่เหมาะสม
ไม่เกียจคร้าน บากบั่นตามกาลเวลา ผลงานของผู้นั้นย่อมสาเร็จ
[๓๖] ประโยชน์ของบุคคลผู้มิใช่เป็นบ่อเกิดแห่งศีล
ผู้คบหาบุคคลผู้มิใช่บ่อเกิดแห่งศีล ผู้มีปกติเบื่อหน่ายการทางาน
ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ
[๓๗] ส่วนประโยชน์ของบุคคลผู้ประกอบธรรมอันเป็นภายใน
ผู้คบหาบุคคลผู้เป็นบ่อเกิดแห่งศีลเช่นนั้น มีปกติไม่เบื่อหน่ายการทางาน
ย่อมเผล็ดผลโดยชอบ
[๓๘] ขอเดชะเสด็จพ่อ ขอเสด็จพ่อจงทรงใฝ่หาปัญญา
คือการตามประกอบความเพียรในเหตุที่ควรประกอบ
และใฝ่หาการอนุรักษ์ทรัพย์ที่ทรงรวบรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างนั้นเถิด
อย่าทรงทาลายทรัพย์ด้วยเหตุอันไม่สมควรเลย เพราะคนมีปัญญาทรามย่อมล่มจม
เหมือนเรือนไม้อ้อ เพราะการกระทาอันไม่สมควร
(พระโพธิสัตว์พรรณนากาลัง ๕ ประการนี้แล้ว
ยกกาลังคือปัญญาขึ้นกราบทูลแด่พระราชาอีกว่า)
5
[๓๙] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์
ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในพระราชมารดาและพระราชบิดาเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๐] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์
ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในพระโอรสและพระชายาเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๑] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์
ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในหมู่มิตรและอามาตย์เถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๒] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์
ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในราชพาหนะและพลนิกายเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๓] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์
ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในชาวบ้านและชาวนิคมเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๔] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์
ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในชาวแคว้นและชาวชนบทเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๕] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์
ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๖] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์
ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในหมู่เนื้อและสัตว์ปีกทั้งหลายเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๗] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์
ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรม
เพราะธรรมที่บุคคลประพฤติแล้วนาความสุขมาให้
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๘] ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมเถิด
เพราะเทวดาพร้อมทั้งพระอินทร์และพระพรหม
ถึงทิพยสถานได้ด้วยธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว ขอเดชะ
ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย
(พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาแสดงจริยธรรม ๑๐
ประการนี้แล้วจึงโอวาทให้ยิ่งขึ้นไปว่า)
6
[๔๙] ข้อความเหล่านั้นที่ข้าพระองค์กล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ
นั้นแลเป็นวัตตบท ข้อนี้เป็นอนุสาสนีสาหรับเสด็จพ่อ
ขอเสด็จพ่อโปรดทรงคบหาคนมีปัญญา จงทรงเป็นผู้มีกัลยาณธรรม
ทรงทราบความข้อนั้นด้วยพระองค์เองแล้ว โปรดทรงปฏิบัติให้ครบถ้วนเถิด
เตสกุณชาดกที่ ๑ จบ
------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
เตสกุณชาดก
ว่าด้วย นกตอบปัญหาพระราชา
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ด้วยสามารถโอวาทแก่พระเจ้าโกศล ดังนี้.
ความพิสดารว่า พระศาสดาตรัสเรียกพระราชานั้น
ซึ่งเสด็จมาทรงสดับพระธรรม มารับสั่งว่า ดูก่อนมหาบพิตร
ธรรมดาพระราชาควรครองราชย์โดยธรรม
เพราะสมัยใดพระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้น
แม้ข้าราชการทั้งหลายก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดังนี้แล้ว
ทรงโอวาทโดยนัยแห่งพระสูตรที่มาในจตุกนิบาต และตรัสพรรณนาโทษและอานิ
สงส์ในการลุอานาจอคติและไม่ลุอานาจอคติ
ทรงยังโทษในกามทั้งหลายให้พิสดาร โดยนัยเป็นต้นว่า
กามทั้งหลายเปรียบได้กับความฝัน แล้วตรัสว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูย่อมไม่มีแก่สัตว์เหล่านี้
การรับสินบนก็ไม่มี การยุทธ์ก็ไม่มี ชัยชนะก็ไม่มี
สัตว์ทั้งมวลล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า.
เมื่อสัตว์เหล่านั้นไปสู่ปรโลก เว้นกัลยาณธรรมที่ตนกระทาไว้แล้ว
ชื่อว่าที่พึ่งอย่างอื่นไม่มีเลย จาต้องละสิ่งที่ปรากฏเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ไปแน่นอน
ไม่ควรที่จะอาศัยยศ ทาความประมาท ชอบที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท
เสวยราชย์โดยธรรมอย่างเดียว แม้เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ได้เสด็จอุบัติ
โบราณกษัตริย์ทั้งหลายตั้งอยู่ในโอวาทของบัณฑิต เสวยราชย์โดยธรรม
เสด็จไปยังเทพนครให้เต็มบริบูรณ์
อันพระเจ้าโกศลทรงทูลอาราธนา จึงทรงนาอดีตนิทานมาตรัส
ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพาราณสี
ไม่มีพระราชโอรส ถึงทรงปรารถนาอยู่ก็ไม่ได้พระโอรสหรือพระธิดา
วันหนึ่ง
พระองค์เสด็จประพาสพระราชอุทยานกับข้าราชบริพารจานวนมาก
7
ทรงเล่นในพระราชอุทยานตลอดวัน ลาดพระที่บรรทม ณ
โคนต้นมงคลสาลพฤกษ์ บรรทมหลับไปหน่อยหนึ่ง ตื่นบรรทมแล้วทรงแลดูต้นรัง
ทอดพระเนตรเห็นรังนกอยู่บนต้นไม้นั้น
พอทอดพระเนตรเห็นเท่านั้นก็เกิดพระเสน่หา จึงดารัสเรียกมหาดเล็กคนหนึ่ง
มาตรัสสั่งว่า เจ้าขึ้นต้นไม้นี้จงดูให้รู้ว่า ในรังนกนั้นมีอะไรอยู่หรือไม่มี.
มหาดเล็กขึ้นไป เห็นฟองไข่อยู่ในรังนกนั้น ๓ ฟอง
จึงกราบทูลให้ทรงทราบ
พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าอย่าปล่อยลมหายใจลงบนไข่เหล่านั้น
จงแผ่สาลีลงในผอบ วางฟองนกเหล่านั้นไว้ในผอบแล้วค่อยๆ ลงมา
ครั้นตรัสสั่งให้มหาดเล็กลงมาแล้ว ทรงรับผอบด้วยพระหัตถ์
ตรัสถามพวกอามาตย์ว่า นี่เป็ นไข่นกจาพวกไหน?
อามาตย์ทั้งหลายพากันกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบ
พวกนายพรานคงจักรู้ พระราชาจึงตรัสสั่งให้พวกนายพรานเข้าเฝ้ าแล้วตรัสถาม
พวกนายพรานกราบทูลว่า ขอเดชะ
ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ฟองนกเหล่านี้ใบหนึ่งเป็ นฟองนกฮูก
ใบหนึ่งเป็ นฟองนกสาลิกา ใบหนึ่งเป็ นฟองนกแขกเต้า
ตรัสถามว่า ฟองนกทั้งสามอยู่รวมรังเดียวกันได้หรือ?
กราบทูลว่า ได้พระพุทธเจ้าข้า เมื่อไม่มีอันตราย
ฟองนกที่แม่กกไว้ดีแล้วย่อมไม่ฉิบหาย
พระราชาทรงดีพระทัย ดาริว่า นกเหล่านี้จักเป็ นลูกของเรา
โปรดให้อามาตย์สามคนรับฟองนกไว้คนละฟอง ตรัสสั่งว่า
นกเหล่านี้จักเป็ นลูกของเรา พวกท่านช่วยประคับประคองให้ดี
เวลาลูกนกออกมาจากกระเปาะฟองจงบอกเรา.
อามาตย์ทั้งสามต่างรักษาฟองนกเหล่านั้นเป็นอันดี
ในจานวนฟองไข่เหล่านั้น ฟองนกฮูกแตกออกก่อน
อามาตย์จึงเรียกนายพรานคนหนึ่งมาถามว่า แกรู้ไหมว่าตัวเมียหรือตัวผู้?
เมื่อนายพรานนั้นพิจารณาดูแน่แล้วบอกว่าตัวผู้
จึงเข้าไปเฝ้ าพระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ โอรสของพระองค์เกิดแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า.
พระราชาทรงปลาบปลื้ม
พระราชทานทรัพย์แก่อามาตย์นั้นเป็นอันมาก ตรัสกาชับสั่งไปว่า
เจ้าจงประคับประคองลูกเราให้ดี จงตั้งชื่อว่า "เวสสันดร"
อามาตย์นั้นได้กระทาตามพระบรมราชโองการ ล่วงมาอีกสองสามวัน
ฟองนกสาลิกาก็แตกออก อามาตย์คนนั้นจึงให้นายพรานพิสูจน์ดู รู้ว่าเป็ นตัวเมีย
จึงไปยังราชสานักกราบทูลว่า ขอเดชะ ราชธิดาของพระองค์เกิดแล้ว
8
พระพุทธเจ้าข้า
พระราชาทรงดีพระทัยพระราชทานทรัพย์แก่อามาตย์แม้คนนั้นมากมาย
แล้วตรัสกาชับส่งไปว่า เจ้าจงประคับประคองธิดาของเราให้ดี
และจงตั้งชื่อว่า "กุณฑลินี"
แม้อามาตย์นั้นก็กระทาตามกระแสพระราชดารัส
ล่วงมาอีกสองสามวัน ฟองนกแขกเต้าก็แตก
แม้อามาตย์นั้นก็ให้นายพรานพิสูจน์ดู เมื่อเขาบอกว่าตัวผู้ จึงไปยังราชสานัก
กราบทูลว่า ขอเดชะ โอรสของพระองค์เกิดแล้วพระพุทธเจ้าข้า.
พระราชาทรงดีพระทัย
พระราชทานทรัพย์แก่อามาตย์แม้นั้นเป็นอันมาก แล้วตรัสกาชับส่งไปว่า
เจ้าจงจัดการทามงคลแก่ลูกของเราด้วยบริวารเป็ นอันมาก
แล้วตั้งชื่อเขาว่า "ชัมพุกะ"
อามาตย์นั้นก็กระทาตามพระราชดารัส
แม้นกทั้งสามก็เจริญมาในเรือนของอามาตย์ทั้งสามคน
ด้วยการบริหารอย่างราชกุมาร.
พระราชามักตรัสเรียกว่า บุตรของเรา ธิดาของเรา ดังนี้เนืองๆ
ครั้งนั้น พวกอามาตย์ของพระองค์พากันยิ้มเยาะกันว่า
ท่านทั้งหลายจงดูการกระทาของพระราชา
เที่ยวตรัสเรียกกระทั่งสัตว์เดียรัจฉานว่า บุตรของเรา ธิดาของเรา
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงทรงดาริว่า
อามาตย์พวกนี้ยังไม่รู้ปัญญาสัมปทาแห่งลูกทั้งสามของเรา
จักต้องทาให้ปรากฏแก่เขา จึงตรัสใช้อามาตย์คนหนึ่งไปหาเจ้าเวสสันดร
ให้แจ้งว่าพระบิดาของท่านอยากจะตรัสถามปัญหา จะเสด็จมาถามได้เมื่อไร?
อามาตย์ไปไหว้เจ้าเวสสันดรแล้ว แจ้งพระกระแสรับสั่งให้ทราบ.
เจ้าเวสสันดรจึงเชิญอามาตย์ผู้เลี้ยงดูตนมาถามว่า เขาบอกว่า
พระราชบิดาของฉันใคร่จะตรัสถามปัญหากะฉัน เมื่อพระองค์เสด็จมาที่นี่
ควรที่เราจะทาสักการะ จะให้พระองค์เสด็จมาเมื่อไรเล่าพ่อ?
อามาตย์ตอบว่า จากนี้ไปอีกเจ็ดวัน จึงเชิญเสด็จ.
เจ้าเวสสันดรได้ฟังดังนั้นจึงส่งข่าวกราบทูลว่า
พระราชบิดาของฉันเสด็จมาได้ในวันที่เจ็ดนับแต่นี้ไป.
อามาตย์นั้นกลับมาทูลแด่พระราชา.
ถึงวันที่เจ็ด พระราชาตรัสสั่งให้เที่ยวตีกลองประกาศในพระนคร
แล้วเสด็จไปยังที่อยู่ของบุตร เจ้าเวสสันดรสั่งให้ทามหาสักการะแด่พระราชา
โดยที่แม้ทาสและกรรมกรก็ให้ทาสักการะด้วย
พระราชาเสวยในเรือนของนกเวสสันดร ทรงรับการต้อนรับสมพระเกียรติ
9
แล้วเสด็จกลับไปพระราชนิเวศน์ ตรัสสั่งให้ทามหามณฑปที่พระลานหลวง
ให้เที่ยวตีกลองประกาศในพระนคร แล้วประทับนั่งในมณฑปอลงกต
แวดล้อมไปด้วยมหาชน ทรงส่งพระราชสาสน์ไปยังสานักของอามาตย์ว่า
จงนาเจ้าเวสสันดรมาเถิด.
อามาตย์ให้เจ้าเวสสันดรจับบนตั่งทองนามาถวาย
นกเวสสันดรจับบนพระเพลาพระราชบิดา เล่นหัวกับพระราชบิดา
แล้วบินไปจับบนตั่งทองนั้นตามเดิม.
ลาดับนั้น พระราชา
เมื่อจะตรัสถามราชธรรมกะเจ้าเวสสันดรในท่ามกลางมหาชน
จึงตรัสปฐมคาถาความว่า
เราขอถามเจ้าเวสสันดร นกเอ๋ยขอความเจริญจงมีแก่เจ้า
กิจอะไรที่บุคคลผู้ประสงค์เสวยราชสมบัติ กระทาแล้วเป็นกิจประเสริฐ.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นดังต่อไปนี้
พระราชาทรงทักทายเจ้าเวสสันดรนั้นว่า นกเอ๋ย.
ความว่า กิจอะไรที่ผู้ใคร่ครองราชย์กระทาแล้วเป็ นของดี คือสูงสุด
พ่อเอ๋ย เจ้าจงบอกราชธรรมทั้งมวลแก่ข้าเถิด. นัยว่า
พระราชานั้นดารัสถามเจ้าเวสสันดรนั้นอย่างนี้.
นกเวสสันดรได้ฟังพระราชดารัสแล้ว ยังไม่ทูลแก้ปัญหา
เมื่อจะทูลท้วงพระราชาด้วยความประมาท จึงกล่าวคาถาที่สอง
ความว่า
นานนักหนอ
พระเจ้ากังสราชพระราชบิดาเราผู้ทรงสงเคราะห์ชาวเมืองพาราณสี
เป็ นผู้ประมาทได้ตรัสถามเราผู้บุตร ซึ่งหาความประมาทมิได้.
เจ้าเวสสันดรทูลท้วงด้วยคาถาอย่างนี้แล้ว ทูลว่า ขอเดชะ
พระชนกมหาราช ขึ้นชื่อว่าพระราชาควรดารงอยู่ในธรรม ๓
ประการเสวยราชสมบัติโดยธรรม
เมื่อจะแสดงราชธรรม จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่บรมกษัตริย์ ธรรมดาพระราชาควรห้ามมุสาวาท
ความโกรธและความร่าเริงก่อนทีเดียว แต่นั้นพึงตรัสสั่งให้กระทากิจทั้งหลาย
คาที่ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวมานั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
เป็นกิจของพระราชา.
ข้าแต่พระบิดา
เมื่อก่อนพระองค์ทรงรักใคร่และเกลียดชังแล้วพึงทรงทากรรมใด
กรรมนั้นที่พระองค์ทรงทาแล้ว พึงยังพระองค์ให้เดือดร้อนโดยไม่ต้องสงสัย
แต่นั้นพระองค์ไม่ควรทรงกระทากรรมนั้นอีก.
10
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบารุงรัฐ เมื่อกษัตริย์ประมาทแล้ว
โภคสมบัติทุกอย่างในแว่นแคว้นย่อมพินาศ
ข้อนั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็ นความทุกข์ของพระราชา.
ข้าแต่พระบิดา เทพธิดาชื่อสิริ และชื่อลักขี ถูกสุจิปริวารเศรษฐีถาม
ได้ตอบว่า ข้าพเจ้าย่อมยินดีในบุรุษผู้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีความริษยา.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า กาลกรรณีผู้ทาลายจักร
ย่อมยินดีในบุรุษผู้ริษยา ผู้มีใจชั่ว ผู้ประทุษร้ายการงาน
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์จงทรงเป็นผู้มีพระทัยดีต่อคนทั้งปวง
จงทรงพิทักษ์รักษาคนทั้งปวง จงทรงบรรเทาเสียซึ่งคนไม่มีราศี
จงมีคนมีราศีเป็นที่พานักเถิด.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี บุรุษผู้มีราศี
สมบูรณ์ด้วยความเพียร มีอัธยาศัยใหญ่ย่อมตัดโคนและยอดของศัตรูทั้งหลายได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ของประชาชน ความจริง
แม้ท้าวสักกะก็ไม่ทรงประมาทในความหมั่นเพียร
ท้าวเธอทรงกระทาความเพียรในกัลยาณธรรม
ตั้งพระทัยมั่นในความขยันหมั่นเพียร.
คนธรรพ์ พรหม เทวดา เป็ นผู้เป็นอยู่อาศัยพระราชาเช่นนั้น
เมื่อพระราชาทรงอุตสาหะ ไม่ทรงประมาท เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครองป้ องกัน.
ข้าแต่พระบิดา พระองค์จงทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่ทรงพระพิโรธ
แล้วตรัสสั่งให้ทากิจทั้งหลาย จงทรงพยายามในกิจทั้งหลาย เพราะคนเกียจคร้าน
ย่อมไม่พบความสุข.
ข้อความที่ข้าพระองค์กล่าวแก้แล้ว ในปัญหาของพระองค์นั้น
ข้อนี้เป็นอนุสาสนี สามารถยังผู้เป็นมิตรให้ถึงความสุข
และยังคนผู้เป็ นศัตรูให้ถึงความทุกข์ได้.
ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาพระราชาควรห้ามมุสาวาทเสียแต่ตอนต้น.
อธิบายว่า แว่นแคว้นของพระราชาผู้ตรัสมุสาย่อมไม่มีโอชา.
สิ่งสักว่ารัตนะเจ็ด ย่อมเข้าไปภายใต้สถานที่กระทาโอชาในแผ่นดิน แต่นั้น
ในอาหาร ในน้ามัน น้าผึ้งน้าอ้อยเป็ นต้น หรือในโอสถทั้งหลายย่อมหาโอชามิได้.
ประชาชนบริโภคอาหารขาดโอชา ย่อมเกิดเจ็บป่วยไข้มาก.
รายได้ทั้งทางบกทางน้า ย่อมไม่เกิดขึ้นในแว่นแคว้น เมื่อรายได้ไม่เกิด
พระราชาก็ต้องถึงความยากลาบาก
พระองค์ย่อมไม่ทรงสามารถสงเคราะห์เสวกามาตย์ได้
เหล่าเสวกามาตย์มิได้รับสงเคราะห์
ต่างก็จะไม่มองดูพระราชาด้วยจิตเคารพยาเกรง.
ข้าแต่เสด็จพ่อ ขึ้นชื่อว่ามุสาวาทนี้ขาดโอชาอย่างนี้ ฉะนั้น
11
จึงไม่ควรกล่าวมุสาวาทนั้น แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต
แต่ควรกาหนดถือเอาสุภาษิตข้อที่ว่า ความสัตย์ดีกว่ารสทั้งหลาย ดังนี้เท่านั้น.
อนึ่ง ขึ้นชื่อว่ามุสาวาทเป็ นเครื่องกาจัดคุณความดี
มีความวิบัติเป็นที่สุด กระทาให้มีอเวจีเป็ นเบื้องหน้าในวารจิตที่สอง
อนึ่ง
ในเนื้อความนี้ควรแสดง เจติยชาดก มีอาทิว่าธรรมแลอันบุคคลกาจัดแล้วย่อมกา
จัดเขา ดังนี้.
ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาพระราชาควรห้าม
แม้ความโกรธอันมีความขัดเคืองเป็นลักษณะก่อนเหมือนกัน ข้าแต่เสด็จพ่อ
เพราะว่า ความโกรธของคนเหล่าอื่นย่อมไม่ถึงจุดเดือดรวดเร็ว
แต่ของพระราชาย่อมถึง ธรรมดาพระราชาทั้งหลายมีวาจาเป็ นอาวุธ
กริ้วแล้วย่อมยังคนอื่นให้พินาศได้ แม้ด้วยอาการเพียงทรงชาเลืองดู เพราะฉะนั้น
พระราชาอย่ามีความโกรธเกินกว่าคนอื่นๆ ควรเพรียบพร้อมด้วยขันติคุณ
เมตตาคุณ และความเอื้อเอ็นดู แลดูพสกนิกรเหมือนโอรสที่รักของตน.
ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็พระราชาผู้ยิ่งด้วยความโกรธเป็นเจ้าเรือน
ย่อมไม่สามารถรักษาพระเกียรติยศที่เกิดขึ้นได้
อนึ่ง
เพื่อแสดงเนื้อความนี้ควรแสดง ขันติวาทีชาดก แลจุลลธัมมปาลชาดก.
แท้จริง ในจุลลธัมมปาลชาดก
พระเจ้ามหาปตาปนราชตรัสสั่งให้ปลงพระชนม์พระราชโอรส
เมื่อพระเทวีมีพระหทัยแตกสิ้นพระชนมชีพ เพราะเศร้าโศกถึงพระโอรสแล้ว
แม้พระองค์เองก็เศร้าโศกถึงพระเทวี มีพระหทัยแตกสวรรคตไปเหมือนกัน.
ครั้งนั้น อามาตย์ทั้งหลายต้องถวายพระเพลิง ณ
พระเมรุมาศแห่งเดียวกันถึง ๓ พระศพ เพราะฉะนั้น
พระราชาควรเว้นมุสาวาทเป็นอันดับแรก อันดับที่สองควรเว้นความโกรธ.
อธิบายว่า พระราชาควรหักห้ามความเป็นคนขี้เล่น ในราชกิจต่างๆ
ด้วยความมีพระหฤทัยฮึกเหิม คือห้ามความสนุกสนานเสีย. ข้าแต่พระราชบิดา
ธรรมดาพระราชาไม่ควรจะเป็นคนขี้เล่น ไม่ควรจะเชื่อถือผู้อื่น
ต้องจัดการราชกิจทุกอย่างโดยประจักษ์แจ้งแก่พระองค์เองเท่านั้น
เพราะพระราชามีพระหฤทัยฮึกเหิมแล้ว
เมื่อทรงกระทาราชกิจจะไม่พินิจพิจารณา ย่อมยังพระอิสริยยศที่ได้แล้วให้พินาศ.
อนึ่ง เนื้อความในอธิการนี้
ควรแสดงความที่พระเจ้าทัณฑกีราชใน สรภังคชาดก ทรงเชื่อถ้อยคาของปุโรหิต
แล้วผิดในท่านกีสวัจฉดาบส ขาดสูญพร้อมด้วยรัฐมณฑลบังเกิดในกุกกุลนรก
ควรแสดงความที่พระเจ้าเมชฌราช
12
ในมาตังคชาดก ทรงเชื่อถ้อยคาของพวกพราหมณ์ ผิดในท่านมาตังคดาบส
แล้วขาดสูญไปพร้อมกับรัฐมณฑล บังเกิดในนรก
และควรแสดงความที่ตระกูลวาสุเทพ
เชื่อถือถ้อยคาของราชทารกพี่น้องสิบคนผู้หลงงมงาย
แล้วผิดในท่านกัณหทีปายนดาบส ถึงความพินาศฉิบหายไปใน ฆฏปัณฑิตชาดก.
ข้าแต่พระราชบิดา พระราชาเว้นมุสาวาทเป็ นอันดับแรก
ความโกรธเป็นอันดับที่สอง ความสนุกสนานไม่เป็นธรรมเป็ นอันดับที่สามแล้ว
ต่อแต่นั้น จึงควรตรัสสั่งให้กระทาราชกิจที่ควรทาต่อชาวแว่นแคว้น ในภายหลัง.
ข้าแต่พระขัตติยมหาราช คาใดที่ข้าพเจ้าทูลแล้ว
โปราณกบัณฑิตกล่าวคานั้นว่าเป็ นวัตรสมาทานของพระราชา.
ข้าแต่พระราชบิดา กรรมใดอันเป็นเครื่องทาความร้อนใจในภายหลัง
ด้วยสามารถแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น
ซึ่งเป็ นของที่พระองค์ทรงกระทาไว้แล้วต่อกรรมที่ทาไว้ก่อนนั้นมา
พระองค์ไม่ควรทา คืออย่าทรงทากรรมเช่นนั้นอีก.
นั้นท่านกล่าวว่า เป็ นความทุกข์ของพระราชา.
โปราณกบัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้.
นกเวสสันดรนาเหตุการณ์ที่เป็นไปในเมืองพาราณสีเมื่อก่อน
มากล่าวแสดงเช่นนี้.
สิริเทพยเจ้ากล่าวว่า คนใดตั้งมั่นอยู่ในความหมั่นขยัน
และในความเพียร ทั้งเห็นสมบัติของผู้อื่นแล้วไม่ริษยา
ข้าพเจ้ารื่นรมย์ในคนผู้นั้น. นกเวสสันดรกล่าวถึงสิริเทพยเจ้าก่อนอย่างนี้.
ข้าแต่พระราชบิดา ส่วนอลักขีเทพยเจ้าถูกถามแล้วกล่าวว่า
ข้าพเจ้ายินดีในคนที่ริษยาสมบัติของคนอื่น. อลักขีเทพยเจ้ากล่าวว่า
คนใดประทุษร้าย ไม่รักใคร่ เกลียดชัง ไม่ทากัลยาณกรรม ข้าพเจ้ายินดีในคนๆ
นั้น. ข้าแต่มหาราชเจ้า กาลกรรณีผู้หักเสียซึ่งกุศลจักร
มีการอยู่ในประเทศอันสมควรเป็ นต้น ย่อมยินดีอย่างนี้.
ขอพระองค์จงมีพระทัยงาม คือมีพระทัยคิดประโยชน์เกื้อกูล.
จงถอดถอน. แต่จงเอาบุญญาธิการเป็นที่อยู่ที่พานักเถิด.
ข้าแต่มหาราชจอมชาวกาสี
บุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาและความเพียรนั้น.
นกเวสสันดรกล่าวว่า บุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่
เมื่อจับโจรผู้เป็ นปัจจัยแห่งโจร ชื่อว่าจับโจรที่เป็นรากเหง้าของอมิตร
ย่อมตัดยอดของปวงอมิตรได้. นกเวสสันดรเรียกพระราชาว่าภูตปติ
ผู้เป็นเจ้าแห่งพสกนิกร. ผู้มีความขยันหมั่นเพียร. กระทากิจทั้งปวง.
ท้าวเทวราชนั้นเอาพระทัยใส่ในความหมั่นขยัน และความพากเพียร
13
ไม่กระทาบาปกรรม ทาความเพียรในกัลยาณกรรม
คือบุญกรรมอย่างเดียวไม่ประมาท ใส่ใจในความหมั่นขยัน อนึ่ง
เพื่อแสดงภาวะแห่งการกระทาความเพียรของท้าวสักกะนั้น
ควรแสดงเรื่องเป็ นต้นว่า ความที่ท้าวสักกะนั้นมาสู่กปิฏฐาราม
พร้อมกับเทวดาในเทวโลกทั้งสอง
แล้วถามปัญหาสดับธรรมในสรภังคชาดก และความที่คาสั่งสอนเสื่อมถอยอันท้าว
สักกะยังมหาชนให้ยินดีแล้ว บันดาลให้เป็ นไปด้วยอานุภาพของตน
ในมหากัณหชาดก.
ท่านเหล่านั้นต่างมีชีพ มีชีวิตสม่าเสมอหล่อเลี้ยงชีวิตไว้
เพื่อพระราชาผู้ทรงยินดีในกุศลอย่างนั้น เพราะพระราชาเช่นนั้น
เมื่อทรงกระทาบุญทานเป็นต้น ย่อมทรงอุทิศส่วนบุญแก่เทวดาทั้งหลาย
เทวดาเหล่านั้นรับอนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้ว ย่อมเจริญด้วยทิพยยศ.
เมื่อพระราชาเช่นนั้นทรงทาความเพียร ถึงความไม่ประมาทอยู่
เทวดาทั้งหลายย่อมพากันพิทักษ์รักษา ตามไปจัดแจงอารักขาอันชอบธรรม.
เมื่อพระองค์จะทรงกระทารัฐกิจนั้น
โปรดกระทาความเพียรในรัฐกิจนั้นๆ ด้วยอานาจการเทียบเคียง การหยั่งดู
การกระทาอันประจักษ์เถิด.
ข้าแต่พระราชบิดา พระองค์ตรัสถามปัญหาใดกะข้าพระพุทธเจ้าว่า
ควรจะทากิจอะไรดี ในปัญหาของพระองค์นั่นเอง
ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลคาเป็นต้นว่าควรห้ามมุสาวาทก่อนดังนี้แล้ว
ข้อความเหล่านั้นเป็ นวัตรบท เป็ นวัตรโกฏฐาส
พระองค์โปรดทรงประพฤติในวัตรบทนั้น
อย่างข้อความที่ข้าพระองค์ทูลแล้ว. นี้แหละเป็นอนุสาสนีสาหรับพระองค์.
เมื่อพระราชาประพฤติอยู่อย่างนี้ย่อมองอาจ
สามารถเพื่อยังมวลมิตรให้มีความสุข และก่อทุกข์แก่มวลอมิตรได้.
เมื่อนกเวสสันดรท้วงถึงความประมาทของพระราชาด้วยคาถาบทหนึ่ง
แล้วกล่าวธรรมด้วยคาถาสิบเจ็ดคาถาอย่างนี้
มหาชนบังเกิดความคิดเป็ นอัศจรรย์ขึ้นว่า
นกเวสสันดรแก้ปัญหาด้วยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า ดังนี้แล
ยังสาธุการร้อยหนึ่งให้เป็ นไป
พระราชาทรงโสมนัส ตรัสเรียกเหล่าอามาตย์มาตรัสสั่งว่า
ดูก่อนอามาตย์ผู้เจริญทั้งหลาย เพราะเจ้าเวสสันดร
บุตรของเรากล่าวแก้ปัญหาทากิจเสร็จแล้วอย่างนี้ เราควรจะจัดการอย่างไร?
พวกอามาตย์ทูลว่า
ควรจัดการโดยมอบตาแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนาให้ พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า
14
ถ้าเช่นนั้น เราจะให้ตาแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนาแก่เจ้าเวสสันดรนั้น
แล้วทรงสถาปนาเจ้าเวสสันดรไว้ในฐานันดรศักดิ์ นับแต่นั้นมา
นกเวสสันดรนั้นก็ดารงอยู่ในตาแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนา
สนองราชกิจพระราชบิดาด้วยประการฉะนี้.
จบเวสสันดรปัญหา
ล่วงไปอีกสอง-สามวัน
พระราชาส่งทูตไปยังสานักของเจ้านกกุณฑลินีโดยทานองเดิมนั่นเอง
แล้วเสด็จไป ณ ที่นั้นในวันที่เจ็ด เสด็จกลับมาประทับ ณ ท่ามกลางมณฑปนั้น
ตรัสสั่งให้นาเจ้านกกุณฑลินีมา
เมื่อจะตรัสถามราชธรรมกะนางนกตัวจับอยู่บนตั่งทอง
จึงตรัสคาถาความว่า
ดูก่อนนางนกกุณฑลินีตัวเป็ นเผ่าพันธุ์ของนกมีบรรดาศักดิ์
เจ้าสามารถละหรือ เจ้าจะเข้าใจได้หรือ กิจอะไรเล่าที่ผู้มุ่งจะครอบครองสมบัติ
กระทาแล้วเป็ นกิจประเสริฐ.
พระราชาตรัสถามว่าเจ้าจักสามารถแก้ปัญหาที่พ่อถามได้หรือ?
พระราชาทรงทักทายโดยชื่อที่มา โดยเพศของนางนกนั้นว่า แน่ะนางกุณฑลินี
ได้ยินว่า ที่หลังหูทั้งสองของนางนกนั้น มีรอยสองแห่งสัณฐานคล้ายต่างหู
ด้วยเหตุนั้น พระราชาจึงโปรดให้ตั้งชื่อว่า "กุณฑลินี".
พระราชาตรัสถามว่าเจ้าจักแก้เนื้อความแห่งปัญหาที่พ่อถามได้หรือ?
พระราชาทรงทักทายนางนกนั้นอย่างนี้ว่า
"แน่ะเจ้าตัวมีเผ่าพันธุ์แห่งนกมีบรรดาศักดิ์" ดังนี้
เพราะเป็ นน้องสาวของผู้บัญชาการมหาเสนา ผู้มีบรรดาศักดิ์.
เหตุไร พระราชาจึงไม่ตรัสถามนกเวสสันดรอย่างนี้
ตรัสถามแต่เจ้ากุณฑลินี นี้แต่ตัวเดียว? เพราะนางนกนี้เป็นอิตถีเพศ.
พระราชาทรงพระดาริว่า ธรรมดาสตรีมีปัญญานิดหน่อย
ถ้านางนกนี้สามารถก็จักถาม ถ้าไม่สามารถก็จักไม่ถาม ดังนี้
จึงได้ตรัสถามอย่างนี้ด้วยจะทดลองดู แล้วตรัสถามปัญหาเช่นนั้นเหมือนกัน.
เมื่อพระราชาตรัสถามราชธรรมอย่างนี้แล้ว นางนกกุณฑลินีจึงทูลว่า
ข้าแต่เสด็จพ่อ ชะรอยพระบิดาจะทดลองหม่อมฉัน ด้วยเข้าพระทัยว่า
ขึ้นชื่อว่าสตรีแล้วจะแก้อย่างไรได้ หม่อมฉันจักกล่าวราชธรรมทั้งสิ้นแด่พระบิดา
รวมไว้ในสองบททีเดียวดังนี้แล้ว
จึงกล่าวคาถา ความว่า
ข้าแต่เสด็จพ่อ ประโยชน์ตั้งมั่นอยู่ในเหตุ ๒ ประการเท่านั้น
คือความได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑ การตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑.
15
ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์จงทรงทราบ อามาตย์ทั้งหลายผู้เป็นนักปราชญ์
ฉลาดในประโยชน์ ไม่แพร่งพรายความลับ ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ทาให้เสื่อมเสีย.
ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็อามาตย์คนใดพึงรักษาพระราชทรัพย์ของพระองค์
ให้มีคงที่อยู่ได้ ดุจนายสารถียึดรถไว้ พระองค์ควรทรงใช้อามาตย์ผู้นั้น
ให้กระทากิจทั้งหลายของพระองค์.
พระราชาพึงโปรดสงเคราะห์ชนฝ่ายในด้วยดี
ตรวจตราพระราชทรัพย์ด้วยพระองค์เอง
ไม่ควรจัดการทรัพย์และการกู้หนี้โดยทรงไว้วางพระทัย ในคนอื่น.
พระราชาควรทราบรายได้-รายจ่ายด้วยพระองค์เอง
ควรทรงทราบกิจที่ทาแล้วและยังไม่ได้ทาด้วยพระองค์เอง ควรข่มคนที่ควรข่ม
ควรยกย่องคนที่ควรยกย่อง.
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมพลรถ
พระองค์จงทรงพร่าสอนเหตุผลแก่ชาวชนบทเอง
เจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษีอากรผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
อย่ายังพระราชทรัพย์และรัฐสีมาของพระองค์ให้พินาศ.
อนึ่ง พระองค์อย่าทรงทาเอง
หรืออย่าทรงใช้คนอื่นให้ทากิจทั้งหลายโดยฉับพลัน
เพราะว่าการงานที่ทาลงไปโดยฉับพลัน ไม่ดีเลย
คนเขลาย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
พระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล อย่าทรงปล่อยพระทัยให้เกรี้ยวกราดนัก
เพราะว่า สกุลที่มั่นคงเป็นอันมาก ได้ถึงความไม่เป็นสกุล เพราะความโกรธ.
ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงนึกว่าเราเป็ นใหญ่
แล้วยังมหาชนให้หยั่งลงเพื่อความฉิบหาย กาไรคือความทุกข์
อย่าได้มีแก่สตรีและบุรุษของพระองค์เลย.
โภคสมบัติทั้งปวงของพระราชาผู้ปราศจากความหวาดเสียว
แส่หากามารมณ์ย่อมพินาศหมด ข้อนั้นนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
เป็นความทุกข์ของพระราชา.
ข้อความที่หม่อมฉันกราบทูลในปัญหาของพระองค์นั้น เป็นวัตรบท
นี่แหละเป็ นอนุสาสนี ข้าแต่พระมหาราชา บัดนี้ พระองค์โปรดทรงบาเพ็ญบุญ
อย่าเป็นนักเลง อย่าทรงราชทรัพย์ให้พินาศ จงทรงศีล
เพราะว่าคนทุศีลย่อมตกต่า.
ความได้ลาภที่ยังไม่ได้แล้วในก่อน ๑ การตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑.
อธิบายว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ขึ้นชื่อว่าการยังลาภที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นก็เป็ นภาระ
ส่วนการตามรักษาลาภที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็ นภาระเหมือนกัน เพราะว่า
คนบางคนแม้ยังยศให้เกิดขึ้นแล้ว มัวเมาในยศ เกิดความประมาท ทาความชั่ว
16
มีปาณาติบาตเป็นต้น เป็นมหาโจรเที่ยวปล้นแว่นแคว้นอยู่
ถ้าพระราชาตรัสสั่งให้จับมาได้ ต้องลงพระอาชญาให้ถึงมหาพินาศ.
อีกอย่างหนึ่ง คนบางคนมัวเมาในกามคุณ มีรูปที่เกิดแล้วเป็ นต้น
ผลาญทรัพย์สินโดยไม่แยบคาย เมื่อสิ้นเนื้อประดาตัว ก็ต้องเป็ นคนกาพร้า
นุ่งผ้าเปลือกไม้ ถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน
หรืออีกนัยหนึ่ง
บรรพชิตยังลาภสักการะให้เกิดด้วยอานาจคันถธุระเป็ นต้น
แล้วมัวเมาเวียนมาเพื่อหินเพศ บางรูปแม้เจริญปฐมฌานเป็ นต้นให้เกิดแล้ว
ติดอยู่ในอารมณ์เช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ย่อมเสื่อมจากฌาน
การรักษายศหรือรักษาความได้ฌานเป็ นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเป็ นของยากอย่างยิ่ง
อนึ่ง เพื่อจะแสดงความข้อนั้น
ควรแสดงเรื่องของพระเทวทัต และควรแสดงเรื่องมุทุลักขณชาดก โลมกัสสปชาด
ก หาริตชาดก และสังกัปปชาดก.
ส่วนคนบางคนยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นแล้ว
ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท กระทากรรมอันงาม ยศของบุคคลนั้นย่อมเจริญ
เหมือนพระจันทร์ในศุกลปักษ์ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะฉะนั้น
พระองค์อย่าประมาท ดารงอยู่ในปโยคสมบัติ ดารงราชย์โดยธรรม
ตามรักษาพระเกียรติยศของพระองค์ที่บังเกิดขึ้นแล้วเถิด.
เพื่อกระทาการงานมีหน้าที่ขุนคลังเป็ นต้น พระองค์จงทรงใคร่ครวญ.
โปรดตรวจดูหมู่อามาตย์ที่ไม่ใช่คนเล่นเบี้ย ไม่ใช่คนโกง
คือไม่ใช่นักเลงการพนัน และไม่เป็นคนหลอกลวง.
เป็นคนเว้นจากความเป็นนักเลงเหล้า และนักเลงทางของหอมและระเบียบ.
มิใช่ผู้ที่จะยังธนสารและธัญญาหารเป็ นต้น อันเป็นราชทรัพย์ให้ฉิบหาย.
อามาตย์ใดพึงรักษาราชทรัพย์ อันมีอยู่ในพระราชวังของพระองค์ได้.
ดุจสารถีขับรถ. อธิบายว่า นายสารถี เมื่อยึดม้าไว้เพื่อห้ามทางที่ไม่เรียบ
พึงยึดรถไว้ฉันใด อามาตย์ใดเป็นฉันนั้น สามารถเพื่อจะรักษาพระองค์
พร้อมด้วยโภคสมบัติได้ อามาตย์นั้นชื่อว่าเป็นอามาตย์ของพระองค์
พระองค์ควรยึดอามาตย์เช่นนั้นไว้
ตรัสสั่งให้กระทาราชกิจเช่นหน้าที่ขุนคลังเป็นต้น.
ข้าแต่เสด็จพ่อ เพราะว่าอันโตชนและปริชนที่ใช้สอย
ในราชสานักส่วนพระองค์ของพระราชาใด
มิได้รับความสงเคราะห์ด้วยทานเป็นต้น พระราชทรัพย์เช่นเงินทองเป็นต้น
ภายในพระราชฐานของพระราชานั้น ย่อมจะพินาศลง
ด้วยอานาจแห่งมนุษย์ที่ไม่ได้รับการสงเคราะห์เหล่านั้น
ต่างก็จะพากันไปเสียภายนอก เพราะเหตุนั้น
17
พระองค์โปรดทรงสงเคราะห์อันโตชนด้วยดี
ควรตรวจตราพระราชทรัพย์ของพระองค์เองให้รู้ว่า
ทรัพย์ของเรามีจานวนเท่านี้แล้ว ไม่ควรจัดการแม้กิจทั้งสองอย่างว่า
เราจะฝังขุมทรัพย์ไว้ในที่โน้น เราจะใช้หนี้แก่คนโน้น.
นางนกกุณฑลินีกล่าวว่า
พระองค์อย่าได้ทรงทาแม้ด้วยความไว้วางใจผู้อื่น
ควรจัดการราชกิจทั้งหมดที่ประจักษ์แก่พระองค์เท่านั้น.
พระองค์ควรจะทราบรายได้ที่เกิดจากทางนั้นๆ
และควรทราบรายจ่ายที่ควรพระราชทานแก่คนต่างๆ ด้วยพระองค์เองทีเดียว.
ในสงคราม ในนวกรรม หรือในราชกิจอื่นๆ
พระองค์ควรจะทราบแม้ข้อราชการนี้ ด้วยพระองค์เองทีเดียวว่า
กิจนี้เราต้องทาด้วยราชทรัพย์ส่วนนี้ กิจนี้ไม่ต้องทาด้วยราชทรัพย์
โปรดอย่าได้ไว้วางใจผู้อื่น.
ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาพระราชาต้องทรงพิจารณา
ชาระซึ่งคนผู้ทาการตัดที่ต่อเป็นต้นอันเป็ นผู้ควรข่มที่เขานามาแสดง
ควรตรวจสอบดูตัวบทกฏหมายที่พระราชาก่อนๆ ตราไว้
แล้วจึงทรงลงพระราชอาชญาตามสมควรแก่โทษ.
อนึ่ง บุคคลใดเป็ นคนควรยกย่อง
จะเป็นคนทาลายกาลังของปรปักษ์ที่ใครๆ ทาลายไม่ได้ก็ตาม
จะเป็นคนที่ปลุกปลอบกาลังฝ่ายตนที่แตกแล้วก็ตาม
จะเป็นคนที่นาราชสมบัติที่ยังไม่ได้มาถวายก็ตาม
คนที่ทาราชสมบัติอันได้มาแล้วให้ถาวรก็ตาม หรือว่าผู้ใดช่วยพระชนมชีพไว้ได้
พระราชาทรงยกย่องบุคคลเช่นนี้ ซึ่งเป็ นคนควรยกย่องแล้ว
ควรตรัสสั่งให้กระทาสักการะ สัมมานะอย่างใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้คนอื่นๆ
ก็จักถวายชีวิตกระทาซึ่งกิจที่ควรทาในราชกิจของพระราชานั้น.
พระองค์จงทรงอนุศาสน์พร่าสอนอรรถธรรมแก่ชาวชนบทด้วยพระอง
ค์เอง โดยเงื่อนไขอันประจักษ์แก่พระองค์นั่นเอง.
พนักงานข้าราชการผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รับสินบนในที่นั้นๆ แล้วกลับ
คาพิพากษา อย่ายังพระราชทรัพย์และแว่นแคว้นของพระองค์ให้พินาศไปเลย
ด้วยเหตุนี้ พระองค์อย่าประมาท จงอนุศาสน์พร่าสอนด้วยพระองค์เองทีเดียว.
พระองค์ยังไม่ได้ทรงสอบสวน ยังไม่ได้ทรงพิจารณา
อย่าทรงกระทาหรือรับสั่งให้ทาโดยผลุนผลัน.
เพราะกรรมที่มิได้พิจารณา ทาไปโดยผลุนผลัน
ด้วยอานาจฉันทาคติเป็นต้น ไม่ดีไม่งามเลย. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า
คนโง่ทากรรมเช่นนั้น ภายหลังย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
18
ด้วยอานาจความวิปฏิสารและเมื่อเสวยทุกข์ในอบายย่อมเดือดร้อนในโลกเบื้องห
น้า.
ก็ความข้อนี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วยกุรุชาดก ซึ่งมีใจความมีอาทิว่า
เราได้ยินว่า พระเจ้ากุรุราชทรงทาความผิดต่อพระฤาษีทั้งหลายดังนี้.
ข้าแต่เสด็จพ่อ
พระองค์อย่าทรงปล่อยพระหฤทัยให้ขุ่นเคืองโกรธกริ้วเกินไป
ในเพราะอกุศลกรรมของผู้อื่น อันล่วงเลยกุศลเป็นไป คืออย่าให้ดารงอยู่ได้.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ เมื่อใด
พวกราชบุรุษกราบทูลแสดงโจรต่อพระองค์ผู้สถิตอยู่ ณ ที่วินิจฉัยว่า เจ้านี่ฆ่าคน
หรือว่าเจ้านี่ตัดที่ต่อ เมื่อนั้นโปรดอย่าปล่อยพระทัย แม้ที่ทรงขุ่นเคืองเต็มที่
ด้วยถ้อยคาของผู้อื่นด้วยอานาจทรงพระพิโรธ ยังมิได้ทรงสอบสวน
แล้วอย่าได้ทรงลงพระอาญา. เพราะเหตุไร? เพราะว่า เขาจับคนที่มิใช่โจร
หาว่าเป็นโจรนามาก็ได้ ฉะนั้น
อย่าทรงพิโรธโปรดสดับถ้อยคาของผู้ที่เป็นโจทก์และจาเลยทั้งสองฝ่าย
ทรงชาระด้วยดี รู้ว่าเขาเป็นโจรโดยประจักษ์ด้วยพระองค์แล้ว
จึงโปรดกระทาสิ่งที่ควรกระทา
ด้วยสามารถแห่งอาชญาที่ตราไว้ตามพระราชประเพณี
ก็ถึงแม้เมื่อเกิดความโกรธขึ้นแล้ว พระราชายังมิได้กระทาพระทัยให้เย็นก่อน
ไม่ควรทาการวินิจฉัย ต่อเมื่อใดพระหฤทัยเยือกเย็น ดับร้อน อ่อนโยน
เมื่อนั้นจึงควรทาการวินิจฉัย เพราะเมื่อจิตหยาบคาย เหตุผลย่อมไม่ปรากฏ
เหมือนเมื่อน้าเดือดพล่าน เงาหน้าก็ไม่ปรากฏฉะนั้น.
ข้าแต่เสด็จพ่อ ราชตระกูลทั้งหลายที่มั่งคั่งมากมาย
ถึงความไม่เป็ นตระกูล คือถึงความมหาพินาศทีเดียว ก็เพราะความโกรธ
เพราะเหตุนั้น ก็เพื่อจะแสดงเนื้อความนี้
ควรกล่าวถึงขันติวาทีชาดก เรื่องพระเจ้านาฬิกีรราช และเรื่องท้าวอรชุนผู้มีกรพั
นหนึ่งเป็ นต้น.
ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงยังมหาชนให้หมกมุ่น
หยั่งลงสู่กายทุจริตเป็ นต้น เพื่อความฉิบหาย โดยทรงนึกว่า
เราเป็นใหญ่ในแผ่นดิน บุคคลถือเอาทุจริตอันเป็นความฉิบหาย ประพฤติฉันใด
พระองค์อย่าได้ทรงกระทาฉันนั้น.
ข้าแต่เสด็จพ่อ ในแว่นแคว้นของพระองค์ ขอการได้รับทุกข์
คือความถึงซึ่งทุกข์อย่าได้มีแก่หญิงชายเลย ไม่ว่าจะเป็ นหญิงหรือชายก็ตามที.
ประชาชนในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
พากันกระทากายทุจริตเป็นต้น ย่อมเกิดในนรกฉันใด
สาหรับชาวแว่นแคว้นของพระองค์อย่าได้มีฉันนั้นเลย คือความทุกข์เช่นนั้น
19
จะไม่มีแก่ชาวแว่นแคว้นของพระองค์โดยวิธีใด โปรดทรงกระทาโดยวิธีนั้นเถิด.
ผู้ปราศจากภัย เพราะภัยมีการติเตียนตนเป็นต้น. ด้วยบทนี้
นางนกกุณฑลินีแสดงความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ
พระราชาใดทรงทาความหวังในอารมณ์อะไรแล้ว
ทรงระลึกถึงแต่ความใคร่ของพระองค์อย่างเดียว
ทรงปรารถนาสิ่งใดก็ทาสิ่งนั้นด้วยอานาจฉันทะความพอใจ
เป็นเหมือนคนตาบอดทิ้งไม้เท้า และเหมือนช้างดุไม่มีขอสับ
โภคสมบัติทั้งปวงของพระราชานั้นผู้ปราศจากภัยเช่นการติเตียนเป็นต้น
ย่อมฉิบหายไป ความฉิบหายของโภคะนั้น
ท่านกล่าวว่าเป็นทุกข์ของพระราชาพระองค์นั้น. คาว่า ในปัญหานั้น
เนื้อความที่กราบทูลมานั้นเป็ นวัตรบทดังนี้ ควรประกอบโดยนัยก่อนนั้นเถิด.
ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์ทรงสดับอนุสาสนีนี้แล้ว
บัดนี้พึงเป็ นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ทรงสร้างบุญกุศล เหตุบาเพ็ญบุญกุศล
อย่าเป็นนักเลงสุรา เหตุบริหารด้วยสุราเป็ นต้น อย่ายังพระองค์ให้พินาศ
เหตุยังประโยชน์ปัจจุบันและสัมปรายิกภพให้ฉิบหาย.
พระองค์จงเป็นผู้ทรงศีลสมบูรณ์ด้วยอาจารมรรยาท
ดารงอยู่ในทศพิธราชธรรมเสวยราชสมบัติ.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะคนทุศีล เมื่อยังตนให้ตกไปในนรก
ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าทาตนให้ตกไปในที่ชั่ว.
แม้เจ้านกกุณฑลินีแสดงธรรมด้วยคาถา ๑๑ คาถาด้วยประการอย่างนี้
พระราชาทรงดีพระทัย ตรัสเรียกอามาตย์มารับสั่งถามว่า
ดูก่อนท่านอามาตย์ผู้เจริญทั้งหลาย เราควรทากิจอันใดแก่เจ้ากุณฑลินี
ธิดาของเราผู้กล่าวธรรมอยู่อย่างนี้?
พวกอามาตย์กราบทูลว่า
ควรกระทาโดยการมอบตาแหน่งขุนคลังให้พระเจ้าข้า.
ตรัสว่า
ถ้าเช่นนั้นเราจะให้หน้าที่การงานตาแหน่งขุนคลังแก่ธิดาของเรา
แล้วทรงแต่งตั้งนางนกกุณฑลินีไว้ในฐานันดรศักดิ์. นับแต่นั้นมา
นางนกกุณฑลินีก็ดารงอยู่ในตาแหน่งขุนคลัง
ได้ทาการสนองราชกิจของพระราชบิดา.
จบกุณฑลินีปัญหา
ล่วงมาอีกสองสามวัน
พระราชาส่งทูตไปยังสานักของเจ้าชัมพุกบัณฑิตโดยนัยก่อนนั้นเอง
แล้วเสด็จไปในสานักของนกชัมพุกบัณฑิตนั้นในวันที่เจ็ด
ทรงเสวยสมบัติแล้วเสด็จกลับมาประทับ ณ ที่ท่ามกลางมณฑปนั้นเอง.
20
ครั้งนั้น อามาตย์เชิญเจ้าชัมพุกบัณฑิตจับบนตั่งทอง
แล้วเอาศีรษะทูลตั่งทองมาเฝ้ าพระราชา.
เจ้าชัมพุกบัณฑิตจับบนพระเพลาของพระราชบิดา เล่นหัวแล้วจับที่ตั่งทองดังเดิม.
ลาดับนั้น เมื่อพระราชาจะตรัสถามปัญหากะเจ้าชัมพุกบัณฑิต
จึงตรัสพระคาถาความว่า
พ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามปัญหากะเจ้าโกสิยโคตร
และเจ้ากุณฑลินีมาเช่นเดียวกันแล้ว ชัมพุกลูกรัก คราวนี้
เจ้าจงบอกกาลังอันสูงสุดกว่ากาลังทั้งหลายบ้างเถิด.
พระคาถานั้นมีอรรถาธิบายดังนี้
แน่ะพ่อชัมพุกะ
พ่อได้ถามราชธรรมกะเจ้าเวสสันดรโกสิยโคตรผู้พี่ชายของเจ้า
และนางกุณฑลินีผู้พี่สาวของเจ้าแล้ว ทั้งสองต่างก็ตอบตามกาลังปัญญาของตนๆ
อนึ่ง พ่อถามพี่ชายและพี่สาวของเจ้าอย่างใด ชัมพุกะลูกรัก บัดนี้
พ่อจะถามเจ้าอย่างนั้นเหมือนกัน
เจ้าจงบอกราชธรรมนั้นกับกาลังอันสูงสุดกว่ากาลังทั้งหลายด้วยเถิด.
พระราชา เมื่อตรัสถามปัญหากะพระมหาสัตว์อย่างนี้
หาได้ตรัสถามโดยทานองที่ตรัสถามนกอื่นๆ ไม่ ดารัสถามให้พิเศษขึ้นไป.
ลาดับนั้น นกชัมพุกบัณฑิตทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้ากระนั้น
ขอพระองค์จงเงี่ยพระโสตลงสดับ
ข้าพระพุทธเจ้าจักกล่าวปัญหาทั้งปวงถวายแด่พระองค์ ดังนี้
แล้วเป็ นประดุจว่าบอกถุงทรัพย์พันหนึ่งกะฝูงชนที่เหยียดมือออกรับฉะนั้น
เริ่มแสดงธรรมเป็นคาถา ความว่า
กาลังในบุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ในโลกนี้มี ๕ ประการ ในกาลัง ๕
ประการนั้น กาลังแขน บัณฑิตกล่าวว่าเป็ นกาลังต่าทราม
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญพระชนม์ กาลังโภคทรัพย์
บัณฑิตกล่าวว่าเป็ นกาลังที่สอง.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญชนม์ กาลังอามาตย์บัณฑิต
กล่าวว่าเป็ นกาลังที่สาม กาลังคือมีชาติยิ่งใหญ่เป็นกาลังที่สี่ โดยแท้
บัณฑิตย่อมยึดเอากาลังทั้งหมดนี้ไว้ได้.
กาลังปัญญา
บัณฑิตกล่าวว่าเป็ นกาลังประเสริฐยอดเยี่ยมกว่ากาลังทั้งหลาย
เพราะว่าบัณฑิตอันกาลังปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ซึ่งประโยชน์.
ถ้าบุคคลมีปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอันสมบูรณ์ เมื่อไม่ประสงค์
คนอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาก็ข่มขี่แย่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชนชาวกาสี ถ้าบุคคลแม้เป็นผู้มีชาติสูง
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

More Related Content

Similar to 521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
507 มหาปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
507 มหาปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...507 มหาปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
507 มหาปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
maruay songtanin
 
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
228 กามนีตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
228 กามนีตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx228 กามนีตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
228 กามนีตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๕. จตุริตถีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๕. จตุริตถีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๕. จตุริตถีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๕. จตุริตถีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
maruay songtanin
 
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

Similar to 521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
507 มหาปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
507 มหาปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...507 มหาปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
507 มหาปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
 
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
228 กามนีตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
228 กามนีตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx228 กามนีตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
228 กามนีตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
251 สังกัปปราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
261 ปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
 
๔๕. จตุริตถีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๕. จตุริตถีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๕. จตุริตถีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๕. จตุริตถีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
259 ติรีฏวัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
 
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๖๑. ทุติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๑๗. จัตตาลีสนิบาต ๑. เตสกุณชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๒๑) ว่าด้วยนก ๓ ตัว (พระราชาตรัสถามธรรมกับนกเวสสันดรในท่ามกลางมหาชนว่า) [๑] ลูกนก ขอความเจริญจงมีแก่ลูก พ่อขอถามลูกเวสสันดรว่า กิจอะไรบุคคลผู้ประสงค์จะครอบครองราชสมบัติ กระทาแล้วเป็นกิจอันประเสริฐ (นกเวสสันดรยังไม่ทูลตอบปัญหา แต่ทูลเตือนพระราชาเพราะความประมาทก่อนแล้วจึงกราบทูลว่า) [๒] นานนักหนอ พระเจ้ากังสะพระราชบิดาของเรา ผู้ทรงครอบครองกรุงพาราณสี ผู้มีความประมาท ได้ตรัสถามเราผู้เป็ นบุตรซึ่งหาความประมาทมิได้ (นกเวสสันดรเมื่อทูลเตือนอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า) [๓] ขอเดชะบรมกษัตริย์ อันดับแรกทีเดียว พระราชาพึงทรงห้ามการตรัสคาไม่จริง ความโกรธ ความหรรษาร่าเริง ต่อแต่นั้นพึงตรัสสั่งให้ทาราชกิจ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า นั้นเป็ นพระราชประเพณี [๔] ขอเดชะเสด็จพ่อ เมื่อก่อนกรรมใดเป็นกรรมกระทาให้เดือดร้อนโดยไม่ต้องสงสัย พระองค์ทรงทาไว้แล้ว ๑ กรรมใดพระองค์ทรงมีความกาหนัดและความขัดเคืองทรงทา ๑ กรรมนั้นพระองค์ไม่พึงทาต่อไปอีก [๕] ขอเดชะพระองค์ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ โภคะทั้งปวงในแคว้นของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้วย่อมพินาศ ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา [๖] ขอเดชะเสด็จพ่อ เทพธิดาชื่อสิริและอลักขีถูกสุจิวารเศรษฐีถาม ได้ตอบว่า ดิฉันชื่นชมยินดีคนที่ขยันหมั่นเพียรและไม่ริษยา [๗] ขอเดชะมหาราช ส่วนอลักขีเทพธิดาเป็นคนกาฬกัณณี หักกุศลจักร ย่อมชื่นชมยินดีคนริษยา คนใจร้าย มักทาลายกุศลกรรม [๘] ขอเดชะมหาราช พระองค์นั้น โปรดทรงมีพระหทัยดีในชนทั้งปวง จงทรงพิทักษ์รักษาชนทั้งปวง โปรดทรงขับนางเทพธิดาที่อับโชคออกไป ขอพระราชนิเวศน์จงเป็นที่อยู่ของนางเทพธิดาที่อานวยโชคเท่านั้นเถิด
  • 2. 2 [๙] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งชนชาวกาสี เพราะว่าบุรุษผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและความเพียรนั้น มีอัธยาศัยกว้างขวาง ย่อมตัดรากเง่าและยอดของศัตรูได้ขาด [๑๐] แท้จริง แม้ท้าวสักกะผู้เป็นเจ้าแห่งภูต ก็มิได้ทรงประมาทในความขยันหมั่นเพียร ท้าวเธอทรงกระทาความเพียรในกัลยาณธรรม ทรงสนพระทัยในความขยันหมั่นเพียร [๑๑] คนธรรพ์ พรหม เทวดาทั้งหลายที่มีชีวิตเกี่ยวเนื่องกับพระราชาเหล่านั้น เมื่อพระองค์ทรงขยันหมั่นเพียร ไม่ประมาท ก็ย่อมจะคล้อยตาม [๑๒] ขอเดชะเสด็จพ่อ ขอเสด็จพ่ออย่าทรงประมาท อย่าทรงกริ้ว แล้วตรัสสั่งให้ทาราชกิจ อนึ่ง โปรดทรงพยายามในราชกิจ เพราะคนไม่เกียจคร้านย่อมประสบความสุข [๑๓] ข้อความเหล่านั้นที่ข้าพระองค์กล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ นั้นแลเป็นวัตตบท ข้อนี้แลเป็ นอนุสาสนีสาหรับเสด็จพ่อ ที่สามารถช่วยมิตรให้ถึงความสุขและให้ทุกข์เกิดแก่ศัตรูได้ (พระราชาตรัสถามราชธรรมกับนางนกกุณฑลินีว่า) [๑๔] แม่กุณฑลินี สกุณีผู้เป็ นเผ่าพันธุ์ของผู้มีบรรดาศักดิ์ เจ้าคงจะเข้าใจปัญหา กิจอะไรบุคคลผู้ประสงค์จะครอบครอง ราชสมบัติกระทาแล้วเป็นกิจอันประเสริฐ (นางนกกุณฑลินีกราบทูลว่า) [๑๕] ขอเดชะเสด็จพ่อ มีเหตุอยู่ ๒ ประการเท่านั้น ที่ประโยชน์สุขทั้งปวงดารงมั่นอยู่ได้ คือ การได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑ การตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑ [๑๖] ขอเดชะเสด็จพ่อ พระองค์โปรดทรงรู้จักหมู่อามาตย์ ผู้เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในประโยชน์ ไม่ใช่นักเลงการพนัน ไม่ใช่คนปลิ้นปล้อน ไม่ใช่นักเลงล้างผลาญเถิด พระเจ้าข้า [๑๗] ขอเดชะเสด็จพ่อ อามาตย์คนใดพึงรักษาทรัพย์ ที่พระองค์พึงมีไว้ได้เหมือนนายสารถียึดรถ อามาตย์ผู้นั้นพระองค์โปรดทรงให้ทาราชกิจเถิด [๑๘] พระราชาพึงสงเคราะห์ชนฝ่ายในให้ดี ตรวจตราราชทรัพย์ด้วยพระองค์เอง ไม่พึงฝังขุมทรัพย์ และให้กู้หนี้โดยทรงไว้วางพระทัยผู้อื่น
  • 3. 3 [๑๙] พระราชาควรทราบความเจริญและความเสื่อมด้วยพระองค์เอง ควรทรงทราบสิ่งที่ทรงกระทาแล้วและยังมิได้ทรงกระทาด้วยพระองค์เอง พึงข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง [๒๐] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นจอมทัพรถ ขอพระองค์ทรงโปรดพร่าสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่ชาวชนบทด้วยพระองค์เอง ข้าราชการผู้ไม่มีธรรมที่ทรงใช้สอยอย่าได้ทาพระราชทรัพย์ และรัฐสีมาของพระองค์ให้พินาศเลย [๒๑] อนึ่ง พระองค์อย่าทรงกระทา หรือตรัสใช้ให้ผู้อื่นกระทาราชกิจด้วยความเร่งด่วน เพราะการงานที่ทาด้วยความเร่งด่วนไม่ดีเลย คนโง่ย่อมเดือดร้อนในภายหลังเพราะการกระทาเช่นนั้น [๒๒] ขอพระทัยของพระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล ขอพระองค์อย่าทรงปล่อยพระทัยให้ขุ่นเคืองเกรี้ยวกราดนัก เพราะว่าสกุลทั้งหลายที่มั่งคั่งมากมาย ถึงความไม่เป็นสกุลเพราะความโกรธ [๒๓] ขอเดชะเสด็จพ่อ ขอพระองค์อย่าทรงให้ประชาชนหยั่งลงเพื่อความหายนะ เพราะเข้าพระทัยว่า เราเป็นใหญ่ ขอพวกสตรีและบุรุษของพระองค์อย่าได้มีความทุกข์เลย [๒๔] พระราชาผู้ปราศจากอาการขนพองสยองเกล้า มีพระทัยใฝ่หาแต่กาม โภคะทั้งปวงจักพินาศไป ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา [๒๕] ข้อความเหล่านั้นที่หม่อมฉันกล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ นั้นเป็ นวัตตบท ข้อนี้แลเป็นอนุสาสนีสาหรับเสด็จพ่อ ขอเดชะพระมหาราช บัดนี้ เสด็จพ่อพึงทรงขยันหมั่นบาเพ็ญบุญ อย่าทรงเป็นนักเลง อย่าทรงล้างผลาญพระราชทรัพย์ ควรทรงเป็นผู้มีศีล เพราะคนทุศีลต้องตกนรก (พระราชาตรัสถามปัญหากับนกชัมพุกบัณฑิตว่า) [๒๖] พ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามโกสิยโคตรแล้ว และแม่กุณฑลินีพ่อก็ได้ถามแล้วเช่นกัน คราวนี้ พ่อจงบอกกาลังอันสูงสุดกว่ากาลังทั้งหลายบ้าง (นกชัมพุกบัณฑิตแสดงธรรมแก่พระราชาว่า) [๒๗] ในโลกมีกาลังอยู่ ๕ ประการ (กาลัง ๕ คือ (๑) กาลังกาย (๒) กาลังโภคทรัพย์ (๓) กาลังอามาตย์ (๔) กาลังชาติตระกูล (กษัตริย์) (๕) กาลังปัญญา) มีอยู่ในบุรุษผู้มีอัธยาศัยกว้างขวาง บรรดากาลังทั้ง ๕ ประการนั้น ขึ้นชื่อว่ากาลังแขนท่านกล่าวว่า เป็ นกาลังสุดท้าย
  • 4. 4 [๒๘] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงพระชนมายุยืนนาน ส่วนกาลังแห่งโภคะท่านกล่าวว่า เป็ นกาลังที่ ๒ และกาลังแห่งอามาตย์ท่านกล่าวว่า เป็นกาลังที่ ๓ [๒๙] อนึ่ง กาลังแห่งชาติสกุลอันยิ่งนั้น เป็นกาลังที่ ๔ อย่างไม่ต้องสงสัย กาลังทั้งหมด ๔ ประการเหล่านั้นบัณฑิตย่อมยึดถือไว้ได้ [๓๐] กาลังปัญญานั้นเป็ นกาลังประเสริฐสุด เป็นยอดกาลังกว่ากาลังทั้งหลาย บัณฑิตผู้มีกาลังปัญญาสนับสนุนย่อมประสบประโยชน์ [๓๑] แม้ถึงคนมีปัญญาทรามจะได้แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ก็จริง คนอื่นผู้มีปัญญาย่อมกดขี่เขาซึ่งไม่ประสงค์จะให้ยึดครองแผ่นดินนั้นเสีย [๓๒] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งชนชาวกาสี ถึงกษัตริย์แม้อุบัติในสกุลอันสูงยิ่งได้ราชสมบัติแล้ว แต่มีปัญญาทราม จะดารงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยโภคะแม้ทั้งปวงหาได้ไม่ [๓๓] ปัญญาเท่านั้นเป็ นเครื่องวินิจฉัยเรื่องที่ได้ฟัง ปัญญาเป็นเหตุให้เกียรติยศชื่อเสียงเจริญ นรชนในโลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อเกิดทุกข์ก็ประสบสุขได้ [๓๔] ส่วนคนบางคนไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยท่านผู้เป็นพหูสูต ซึ่งตั้งอยู่ในธรรม ไม่ไตร่ตรองเหตุผล ย่อมไม่ได้ลุถึงปัญญา [๓๕] อนึ่ง ผู้ใดรู้จักจาแนกธรรม ลุกขึ้นในกาลที่เหมาะสม ไม่เกียจคร้าน บากบั่นตามกาลเวลา ผลงานของผู้นั้นย่อมสาเร็จ [๓๖] ประโยชน์ของบุคคลผู้มิใช่เป็นบ่อเกิดแห่งศีล ผู้คบหาบุคคลผู้มิใช่บ่อเกิดแห่งศีล ผู้มีปกติเบื่อหน่ายการทางาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ [๓๗] ส่วนประโยชน์ของบุคคลผู้ประกอบธรรมอันเป็นภายใน ผู้คบหาบุคคลผู้เป็นบ่อเกิดแห่งศีลเช่นนั้น มีปกติไม่เบื่อหน่ายการทางาน ย่อมเผล็ดผลโดยชอบ [๓๘] ขอเดชะเสด็จพ่อ ขอเสด็จพ่อจงทรงใฝ่หาปัญญา คือการตามประกอบความเพียรในเหตุที่ควรประกอบ และใฝ่หาการอนุรักษ์ทรัพย์ที่ทรงรวบรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างนั้นเถิด อย่าทรงทาลายทรัพย์ด้วยเหตุอันไม่สมควรเลย เพราะคนมีปัญญาทรามย่อมล่มจม เหมือนเรือนไม้อ้อ เพราะการกระทาอันไม่สมควร (พระโพธิสัตว์พรรณนากาลัง ๕ ประการนี้แล้ว ยกกาลังคือปัญญาขึ้นกราบทูลแด่พระราชาอีกว่า)
  • 5. 5 [๓๙] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในพระราชมารดาและพระราชบิดาเถิด ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ [๔๐] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในพระโอรสและพระชายาเถิด ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ [๔๑] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในหมู่มิตรและอามาตย์เถิด ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ [๔๒] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในราชพาหนะและพลนิกายเถิด ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ [๔๓] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในชาวบ้านและชาวนิคมเถิด ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ [๔๔] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในชาวแคว้นและชาวชนบทเถิด ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ [๔๕] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเถิด ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ [๔๖] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมในหมู่เนื้อและสัตว์ปีกทั้งหลายเถิด ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ [๔๗] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็ นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรม เพราะธรรมที่บุคคลประพฤติแล้วนาความสุขมาให้ ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ [๔๘] ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมเถิด เพราะเทวดาพร้อมทั้งพระอินทร์และพระพรหม ถึงทิพยสถานได้ด้วยธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว ขอเดชะ ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย (พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาแสดงจริยธรรม ๑๐ ประการนี้แล้วจึงโอวาทให้ยิ่งขึ้นไปว่า)
  • 6. 6 [๔๙] ข้อความเหล่านั้นที่ข้าพระองค์กล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ นั้นแลเป็นวัตตบท ข้อนี้เป็นอนุสาสนีสาหรับเสด็จพ่อ ขอเสด็จพ่อโปรดทรงคบหาคนมีปัญญา จงทรงเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ทรงทราบความข้อนั้นด้วยพระองค์เองแล้ว โปรดทรงปฏิบัติให้ครบถ้วนเถิด เตสกุณชาดกที่ ๑ จบ ------------------------ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา เตสกุณชาดก ว่าด้วย นกตอบปัญหาพระราชา พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ด้วยสามารถโอวาทแก่พระเจ้าโกศล ดังนี้. ความพิสดารว่า พระศาสดาตรัสเรียกพระราชานั้น ซึ่งเสด็จมาทรงสดับพระธรรม มารับสั่งว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมดาพระราชาควรครองราชย์โดยธรรม เพราะสมัยใดพระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้น แม้ข้าราชการทั้งหลายก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดังนี้แล้ว ทรงโอวาทโดยนัยแห่งพระสูตรที่มาในจตุกนิบาต และตรัสพรรณนาโทษและอานิ สงส์ในการลุอานาจอคติและไม่ลุอานาจอคติ ทรงยังโทษในกามทั้งหลายให้พิสดาร โดยนัยเป็นต้นว่า กามทั้งหลายเปรียบได้กับความฝัน แล้วตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูย่อมไม่มีแก่สัตว์เหล่านี้ การรับสินบนก็ไม่มี การยุทธ์ก็ไม่มี ชัยชนะก็ไม่มี สัตว์ทั้งมวลล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า. เมื่อสัตว์เหล่านั้นไปสู่ปรโลก เว้นกัลยาณธรรมที่ตนกระทาไว้แล้ว ชื่อว่าที่พึ่งอย่างอื่นไม่มีเลย จาต้องละสิ่งที่ปรากฏเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ไปแน่นอน ไม่ควรที่จะอาศัยยศ ทาความประมาท ชอบที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท เสวยราชย์โดยธรรมอย่างเดียว แม้เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ได้เสด็จอุบัติ โบราณกษัตริย์ทั้งหลายตั้งอยู่ในโอวาทของบัณฑิต เสวยราชย์โดยธรรม เสด็จไปยังเทพนครให้เต็มบริบูรณ์ อันพระเจ้าโกศลทรงทูลอาราธนา จึงทรงนาอดีตนิทานมาตรัส ดังต่อไปนี้ ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพาราณสี ไม่มีพระราชโอรส ถึงทรงปรารถนาอยู่ก็ไม่ได้พระโอรสหรือพระธิดา วันหนึ่ง พระองค์เสด็จประพาสพระราชอุทยานกับข้าราชบริพารจานวนมาก
  • 7. 7 ทรงเล่นในพระราชอุทยานตลอดวัน ลาดพระที่บรรทม ณ โคนต้นมงคลสาลพฤกษ์ บรรทมหลับไปหน่อยหนึ่ง ตื่นบรรทมแล้วทรงแลดูต้นรัง ทอดพระเนตรเห็นรังนกอยู่บนต้นไม้นั้น พอทอดพระเนตรเห็นเท่านั้นก็เกิดพระเสน่หา จึงดารัสเรียกมหาดเล็กคนหนึ่ง มาตรัสสั่งว่า เจ้าขึ้นต้นไม้นี้จงดูให้รู้ว่า ในรังนกนั้นมีอะไรอยู่หรือไม่มี. มหาดเล็กขึ้นไป เห็นฟองไข่อยู่ในรังนกนั้น ๓ ฟอง จึงกราบทูลให้ทรงทราบ พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าอย่าปล่อยลมหายใจลงบนไข่เหล่านั้น จงแผ่สาลีลงในผอบ วางฟองนกเหล่านั้นไว้ในผอบแล้วค่อยๆ ลงมา ครั้นตรัสสั่งให้มหาดเล็กลงมาแล้ว ทรงรับผอบด้วยพระหัตถ์ ตรัสถามพวกอามาตย์ว่า นี่เป็ นไข่นกจาพวกไหน? อามาตย์ทั้งหลายพากันกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบ พวกนายพรานคงจักรู้ พระราชาจึงตรัสสั่งให้พวกนายพรานเข้าเฝ้ าแล้วตรัสถาม พวกนายพรานกราบทูลว่า ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ฟองนกเหล่านี้ใบหนึ่งเป็ นฟองนกฮูก ใบหนึ่งเป็ นฟองนกสาลิกา ใบหนึ่งเป็ นฟองนกแขกเต้า ตรัสถามว่า ฟองนกทั้งสามอยู่รวมรังเดียวกันได้หรือ? กราบทูลว่า ได้พระพุทธเจ้าข้า เมื่อไม่มีอันตราย ฟองนกที่แม่กกไว้ดีแล้วย่อมไม่ฉิบหาย พระราชาทรงดีพระทัย ดาริว่า นกเหล่านี้จักเป็ นลูกของเรา โปรดให้อามาตย์สามคนรับฟองนกไว้คนละฟอง ตรัสสั่งว่า นกเหล่านี้จักเป็ นลูกของเรา พวกท่านช่วยประคับประคองให้ดี เวลาลูกนกออกมาจากกระเปาะฟองจงบอกเรา. อามาตย์ทั้งสามต่างรักษาฟองนกเหล่านั้นเป็นอันดี ในจานวนฟองไข่เหล่านั้น ฟองนกฮูกแตกออกก่อน อามาตย์จึงเรียกนายพรานคนหนึ่งมาถามว่า แกรู้ไหมว่าตัวเมียหรือตัวผู้? เมื่อนายพรานนั้นพิจารณาดูแน่แล้วบอกว่าตัวผู้ จึงเข้าไปเฝ้ าพระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ โอรสของพระองค์เกิดแล้ว พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงปลาบปลื้ม พระราชทานทรัพย์แก่อามาตย์นั้นเป็นอันมาก ตรัสกาชับสั่งไปว่า เจ้าจงประคับประคองลูกเราให้ดี จงตั้งชื่อว่า "เวสสันดร" อามาตย์นั้นได้กระทาตามพระบรมราชโองการ ล่วงมาอีกสองสามวัน ฟองนกสาลิกาก็แตกออก อามาตย์คนนั้นจึงให้นายพรานพิสูจน์ดู รู้ว่าเป็ นตัวเมีย จึงไปยังราชสานักกราบทูลว่า ขอเดชะ ราชธิดาของพระองค์เกิดแล้ว
  • 8. 8 พระพุทธเจ้าข้า พระราชาทรงดีพระทัยพระราชทานทรัพย์แก่อามาตย์แม้คนนั้นมากมาย แล้วตรัสกาชับส่งไปว่า เจ้าจงประคับประคองธิดาของเราให้ดี และจงตั้งชื่อว่า "กุณฑลินี" แม้อามาตย์นั้นก็กระทาตามกระแสพระราชดารัส ล่วงมาอีกสองสามวัน ฟองนกแขกเต้าก็แตก แม้อามาตย์นั้นก็ให้นายพรานพิสูจน์ดู เมื่อเขาบอกว่าตัวผู้ จึงไปยังราชสานัก กราบทูลว่า ขอเดชะ โอรสของพระองค์เกิดแล้วพระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงดีพระทัย พระราชทานทรัพย์แก่อามาตย์แม้นั้นเป็นอันมาก แล้วตรัสกาชับส่งไปว่า เจ้าจงจัดการทามงคลแก่ลูกของเราด้วยบริวารเป็ นอันมาก แล้วตั้งชื่อเขาว่า "ชัมพุกะ" อามาตย์นั้นก็กระทาตามพระราชดารัส แม้นกทั้งสามก็เจริญมาในเรือนของอามาตย์ทั้งสามคน ด้วยการบริหารอย่างราชกุมาร. พระราชามักตรัสเรียกว่า บุตรของเรา ธิดาของเรา ดังนี้เนืองๆ ครั้งนั้น พวกอามาตย์ของพระองค์พากันยิ้มเยาะกันว่า ท่านทั้งหลายจงดูการกระทาของพระราชา เที่ยวตรัสเรียกกระทั่งสัตว์เดียรัจฉานว่า บุตรของเรา ธิดาของเรา พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงทรงดาริว่า อามาตย์พวกนี้ยังไม่รู้ปัญญาสัมปทาแห่งลูกทั้งสามของเรา จักต้องทาให้ปรากฏแก่เขา จึงตรัสใช้อามาตย์คนหนึ่งไปหาเจ้าเวสสันดร ให้แจ้งว่าพระบิดาของท่านอยากจะตรัสถามปัญหา จะเสด็จมาถามได้เมื่อไร? อามาตย์ไปไหว้เจ้าเวสสันดรแล้ว แจ้งพระกระแสรับสั่งให้ทราบ. เจ้าเวสสันดรจึงเชิญอามาตย์ผู้เลี้ยงดูตนมาถามว่า เขาบอกว่า พระราชบิดาของฉันใคร่จะตรัสถามปัญหากะฉัน เมื่อพระองค์เสด็จมาที่นี่ ควรที่เราจะทาสักการะ จะให้พระองค์เสด็จมาเมื่อไรเล่าพ่อ? อามาตย์ตอบว่า จากนี้ไปอีกเจ็ดวัน จึงเชิญเสด็จ. เจ้าเวสสันดรได้ฟังดังนั้นจึงส่งข่าวกราบทูลว่า พระราชบิดาของฉันเสด็จมาได้ในวันที่เจ็ดนับแต่นี้ไป. อามาตย์นั้นกลับมาทูลแด่พระราชา. ถึงวันที่เจ็ด พระราชาตรัสสั่งให้เที่ยวตีกลองประกาศในพระนคร แล้วเสด็จไปยังที่อยู่ของบุตร เจ้าเวสสันดรสั่งให้ทามหาสักการะแด่พระราชา โดยที่แม้ทาสและกรรมกรก็ให้ทาสักการะด้วย พระราชาเสวยในเรือนของนกเวสสันดร ทรงรับการต้อนรับสมพระเกียรติ
  • 9. 9 แล้วเสด็จกลับไปพระราชนิเวศน์ ตรัสสั่งให้ทามหามณฑปที่พระลานหลวง ให้เที่ยวตีกลองประกาศในพระนคร แล้วประทับนั่งในมณฑปอลงกต แวดล้อมไปด้วยมหาชน ทรงส่งพระราชสาสน์ไปยังสานักของอามาตย์ว่า จงนาเจ้าเวสสันดรมาเถิด. อามาตย์ให้เจ้าเวสสันดรจับบนตั่งทองนามาถวาย นกเวสสันดรจับบนพระเพลาพระราชบิดา เล่นหัวกับพระราชบิดา แล้วบินไปจับบนตั่งทองนั้นตามเดิม. ลาดับนั้น พระราชา เมื่อจะตรัสถามราชธรรมกะเจ้าเวสสันดรในท่ามกลางมหาชน จึงตรัสปฐมคาถาความว่า เราขอถามเจ้าเวสสันดร นกเอ๋ยขอความเจริญจงมีแก่เจ้า กิจอะไรที่บุคคลผู้ประสงค์เสวยราชสมบัติ กระทาแล้วเป็นกิจประเสริฐ. พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นดังต่อไปนี้ พระราชาทรงทักทายเจ้าเวสสันดรนั้นว่า นกเอ๋ย. ความว่า กิจอะไรที่ผู้ใคร่ครองราชย์กระทาแล้วเป็ นของดี คือสูงสุด พ่อเอ๋ย เจ้าจงบอกราชธรรมทั้งมวลแก่ข้าเถิด. นัยว่า พระราชานั้นดารัสถามเจ้าเวสสันดรนั้นอย่างนี้. นกเวสสันดรได้ฟังพระราชดารัสแล้ว ยังไม่ทูลแก้ปัญหา เมื่อจะทูลท้วงพระราชาด้วยความประมาท จึงกล่าวคาถาที่สอง ความว่า นานนักหนอ พระเจ้ากังสราชพระราชบิดาเราผู้ทรงสงเคราะห์ชาวเมืองพาราณสี เป็ นผู้ประมาทได้ตรัสถามเราผู้บุตร ซึ่งหาความประมาทมิได้. เจ้าเวสสันดรทูลท้วงด้วยคาถาอย่างนี้แล้ว ทูลว่า ขอเดชะ พระชนกมหาราช ขึ้นชื่อว่าพระราชาควรดารงอยู่ในธรรม ๓ ประการเสวยราชสมบัติโดยธรรม เมื่อจะแสดงราชธรรม จึงกล่าวคาถา ความว่า ข้าแต่บรมกษัตริย์ ธรรมดาพระราชาควรห้ามมุสาวาท ความโกรธและความร่าเริงก่อนทีเดียว แต่นั้นพึงตรัสสั่งให้กระทากิจทั้งหลาย คาที่ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวมานั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นกิจของพระราชา. ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อนพระองค์ทรงรักใคร่และเกลียดชังแล้วพึงทรงทากรรมใด กรรมนั้นที่พระองค์ทรงทาแล้ว พึงยังพระองค์ให้เดือดร้อนโดยไม่ต้องสงสัย แต่นั้นพระองค์ไม่ควรทรงกระทากรรมนั้นอีก.
  • 10. 10 ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบารุงรัฐ เมื่อกษัตริย์ประมาทแล้ว โภคสมบัติทุกอย่างในแว่นแคว้นย่อมพินาศ ข้อนั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็ นความทุกข์ของพระราชา. ข้าแต่พระบิดา เทพธิดาชื่อสิริ และชื่อลักขี ถูกสุจิปริวารเศรษฐีถาม ได้ตอบว่า ข้าพเจ้าย่อมยินดีในบุรุษผู้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีความริษยา. ข้าแต่พระมหาราชเจ้า กาลกรรณีผู้ทาลายจักร ย่อมยินดีในบุรุษผู้ริษยา ผู้มีใจชั่ว ผู้ประทุษร้ายการงาน ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์จงทรงเป็นผู้มีพระทัยดีต่อคนทั้งปวง จงทรงพิทักษ์รักษาคนทั้งปวง จงทรงบรรเทาเสียซึ่งคนไม่มีราศี จงมีคนมีราศีเป็นที่พานักเถิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี บุรุษผู้มีราศี สมบูรณ์ด้วยความเพียร มีอัธยาศัยใหญ่ย่อมตัดโคนและยอดของศัตรูทั้งหลายได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ของประชาชน ความจริง แม้ท้าวสักกะก็ไม่ทรงประมาทในความหมั่นเพียร ท้าวเธอทรงกระทาความเพียรในกัลยาณธรรม ตั้งพระทัยมั่นในความขยันหมั่นเพียร. คนธรรพ์ พรหม เทวดา เป็ นผู้เป็นอยู่อาศัยพระราชาเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงอุตสาหะ ไม่ทรงประมาท เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครองป้ องกัน. ข้าแต่พระบิดา พระองค์จงทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่ทรงพระพิโรธ แล้วตรัสสั่งให้ทากิจทั้งหลาย จงทรงพยายามในกิจทั้งหลาย เพราะคนเกียจคร้าน ย่อมไม่พบความสุข. ข้อความที่ข้าพระองค์กล่าวแก้แล้ว ในปัญหาของพระองค์นั้น ข้อนี้เป็นอนุสาสนี สามารถยังผู้เป็นมิตรให้ถึงความสุข และยังคนผู้เป็ นศัตรูให้ถึงความทุกข์ได้. ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาพระราชาควรห้ามมุสาวาทเสียแต่ตอนต้น. อธิบายว่า แว่นแคว้นของพระราชาผู้ตรัสมุสาย่อมไม่มีโอชา. สิ่งสักว่ารัตนะเจ็ด ย่อมเข้าไปภายใต้สถานที่กระทาโอชาในแผ่นดิน แต่นั้น ในอาหาร ในน้ามัน น้าผึ้งน้าอ้อยเป็ นต้น หรือในโอสถทั้งหลายย่อมหาโอชามิได้. ประชาชนบริโภคอาหารขาดโอชา ย่อมเกิดเจ็บป่วยไข้มาก. รายได้ทั้งทางบกทางน้า ย่อมไม่เกิดขึ้นในแว่นแคว้น เมื่อรายได้ไม่เกิด พระราชาก็ต้องถึงความยากลาบาก พระองค์ย่อมไม่ทรงสามารถสงเคราะห์เสวกามาตย์ได้ เหล่าเสวกามาตย์มิได้รับสงเคราะห์ ต่างก็จะไม่มองดูพระราชาด้วยจิตเคารพยาเกรง. ข้าแต่เสด็จพ่อ ขึ้นชื่อว่ามุสาวาทนี้ขาดโอชาอย่างนี้ ฉะนั้น
  • 11. 11 จึงไม่ควรกล่าวมุสาวาทนั้น แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต แต่ควรกาหนดถือเอาสุภาษิตข้อที่ว่า ความสัตย์ดีกว่ารสทั้งหลาย ดังนี้เท่านั้น. อนึ่ง ขึ้นชื่อว่ามุสาวาทเป็ นเครื่องกาจัดคุณความดี มีความวิบัติเป็นที่สุด กระทาให้มีอเวจีเป็ นเบื้องหน้าในวารจิตที่สอง อนึ่ง ในเนื้อความนี้ควรแสดง เจติยชาดก มีอาทิว่าธรรมแลอันบุคคลกาจัดแล้วย่อมกา จัดเขา ดังนี้. ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาพระราชาควรห้าม แม้ความโกรธอันมีความขัดเคืองเป็นลักษณะก่อนเหมือนกัน ข้าแต่เสด็จพ่อ เพราะว่า ความโกรธของคนเหล่าอื่นย่อมไม่ถึงจุดเดือดรวดเร็ว แต่ของพระราชาย่อมถึง ธรรมดาพระราชาทั้งหลายมีวาจาเป็ นอาวุธ กริ้วแล้วย่อมยังคนอื่นให้พินาศได้ แม้ด้วยอาการเพียงทรงชาเลืองดู เพราะฉะนั้น พระราชาอย่ามีความโกรธเกินกว่าคนอื่นๆ ควรเพรียบพร้อมด้วยขันติคุณ เมตตาคุณ และความเอื้อเอ็นดู แลดูพสกนิกรเหมือนโอรสที่รักของตน. ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็พระราชาผู้ยิ่งด้วยความโกรธเป็นเจ้าเรือน ย่อมไม่สามารถรักษาพระเกียรติยศที่เกิดขึ้นได้ อนึ่ง เพื่อแสดงเนื้อความนี้ควรแสดง ขันติวาทีชาดก แลจุลลธัมมปาลชาดก. แท้จริง ในจุลลธัมมปาลชาดก พระเจ้ามหาปตาปนราชตรัสสั่งให้ปลงพระชนม์พระราชโอรส เมื่อพระเทวีมีพระหทัยแตกสิ้นพระชนมชีพ เพราะเศร้าโศกถึงพระโอรสแล้ว แม้พระองค์เองก็เศร้าโศกถึงพระเทวี มีพระหทัยแตกสวรรคตไปเหมือนกัน. ครั้งนั้น อามาตย์ทั้งหลายต้องถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศแห่งเดียวกันถึง ๓ พระศพ เพราะฉะนั้น พระราชาควรเว้นมุสาวาทเป็นอันดับแรก อันดับที่สองควรเว้นความโกรธ. อธิบายว่า พระราชาควรหักห้ามความเป็นคนขี้เล่น ในราชกิจต่างๆ ด้วยความมีพระหฤทัยฮึกเหิม คือห้ามความสนุกสนานเสีย. ข้าแต่พระราชบิดา ธรรมดาพระราชาไม่ควรจะเป็นคนขี้เล่น ไม่ควรจะเชื่อถือผู้อื่น ต้องจัดการราชกิจทุกอย่างโดยประจักษ์แจ้งแก่พระองค์เองเท่านั้น เพราะพระราชามีพระหฤทัยฮึกเหิมแล้ว เมื่อทรงกระทาราชกิจจะไม่พินิจพิจารณา ย่อมยังพระอิสริยยศที่ได้แล้วให้พินาศ. อนึ่ง เนื้อความในอธิการนี้ ควรแสดงความที่พระเจ้าทัณฑกีราชใน สรภังคชาดก ทรงเชื่อถ้อยคาของปุโรหิต แล้วผิดในท่านกีสวัจฉดาบส ขาดสูญพร้อมด้วยรัฐมณฑลบังเกิดในกุกกุลนรก ควรแสดงความที่พระเจ้าเมชฌราช
  • 12. 12 ในมาตังคชาดก ทรงเชื่อถ้อยคาของพวกพราหมณ์ ผิดในท่านมาตังคดาบส แล้วขาดสูญไปพร้อมกับรัฐมณฑล บังเกิดในนรก และควรแสดงความที่ตระกูลวาสุเทพ เชื่อถือถ้อยคาของราชทารกพี่น้องสิบคนผู้หลงงมงาย แล้วผิดในท่านกัณหทีปายนดาบส ถึงความพินาศฉิบหายไปใน ฆฏปัณฑิตชาดก. ข้าแต่พระราชบิดา พระราชาเว้นมุสาวาทเป็ นอันดับแรก ความโกรธเป็นอันดับที่สอง ความสนุกสนานไม่เป็นธรรมเป็ นอันดับที่สามแล้ว ต่อแต่นั้น จึงควรตรัสสั่งให้กระทาราชกิจที่ควรทาต่อชาวแว่นแคว้น ในภายหลัง. ข้าแต่พระขัตติยมหาราช คาใดที่ข้าพเจ้าทูลแล้ว โปราณกบัณฑิตกล่าวคานั้นว่าเป็ นวัตรสมาทานของพระราชา. ข้าแต่พระราชบิดา กรรมใดอันเป็นเครื่องทาความร้อนใจในภายหลัง ด้วยสามารถแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ซึ่งเป็ นของที่พระองค์ทรงกระทาไว้แล้วต่อกรรมที่ทาไว้ก่อนนั้นมา พระองค์ไม่ควรทา คืออย่าทรงทากรรมเช่นนั้นอีก. นั้นท่านกล่าวว่า เป็ นความทุกข์ของพระราชา. โปราณกบัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้. นกเวสสันดรนาเหตุการณ์ที่เป็นไปในเมืองพาราณสีเมื่อก่อน มากล่าวแสดงเช่นนี้. สิริเทพยเจ้ากล่าวว่า คนใดตั้งมั่นอยู่ในความหมั่นขยัน และในความเพียร ทั้งเห็นสมบัติของผู้อื่นแล้วไม่ริษยา ข้าพเจ้ารื่นรมย์ในคนผู้นั้น. นกเวสสันดรกล่าวถึงสิริเทพยเจ้าก่อนอย่างนี้. ข้าแต่พระราชบิดา ส่วนอลักขีเทพยเจ้าถูกถามแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้ายินดีในคนที่ริษยาสมบัติของคนอื่น. อลักขีเทพยเจ้ากล่าวว่า คนใดประทุษร้าย ไม่รักใคร่ เกลียดชัง ไม่ทากัลยาณกรรม ข้าพเจ้ายินดีในคนๆ นั้น. ข้าแต่มหาราชเจ้า กาลกรรณีผู้หักเสียซึ่งกุศลจักร มีการอยู่ในประเทศอันสมควรเป็ นต้น ย่อมยินดีอย่างนี้. ขอพระองค์จงมีพระทัยงาม คือมีพระทัยคิดประโยชน์เกื้อกูล. จงถอดถอน. แต่จงเอาบุญญาธิการเป็นที่อยู่ที่พานักเถิด. ข้าแต่มหาราชจอมชาวกาสี บุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาและความเพียรนั้น. นกเวสสันดรกล่าวว่า บุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ เมื่อจับโจรผู้เป็ นปัจจัยแห่งโจร ชื่อว่าจับโจรที่เป็นรากเหง้าของอมิตร ย่อมตัดยอดของปวงอมิตรได้. นกเวสสันดรเรียกพระราชาว่าภูตปติ ผู้เป็นเจ้าแห่งพสกนิกร. ผู้มีความขยันหมั่นเพียร. กระทากิจทั้งปวง. ท้าวเทวราชนั้นเอาพระทัยใส่ในความหมั่นขยัน และความพากเพียร
  • 13. 13 ไม่กระทาบาปกรรม ทาความเพียรในกัลยาณกรรม คือบุญกรรมอย่างเดียวไม่ประมาท ใส่ใจในความหมั่นขยัน อนึ่ง เพื่อแสดงภาวะแห่งการกระทาความเพียรของท้าวสักกะนั้น ควรแสดงเรื่องเป็ นต้นว่า ความที่ท้าวสักกะนั้นมาสู่กปิฏฐาราม พร้อมกับเทวดาในเทวโลกทั้งสอง แล้วถามปัญหาสดับธรรมในสรภังคชาดก และความที่คาสั่งสอนเสื่อมถอยอันท้าว สักกะยังมหาชนให้ยินดีแล้ว บันดาลให้เป็ นไปด้วยอานุภาพของตน ในมหากัณหชาดก. ท่านเหล่านั้นต่างมีชีพ มีชีวิตสม่าเสมอหล่อเลี้ยงชีวิตไว้ เพื่อพระราชาผู้ทรงยินดีในกุศลอย่างนั้น เพราะพระราชาเช่นนั้น เมื่อทรงกระทาบุญทานเป็นต้น ย่อมทรงอุทิศส่วนบุญแก่เทวดาทั้งหลาย เทวดาเหล่านั้นรับอนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้ว ย่อมเจริญด้วยทิพยยศ. เมื่อพระราชาเช่นนั้นทรงทาความเพียร ถึงความไม่ประมาทอยู่ เทวดาทั้งหลายย่อมพากันพิทักษ์รักษา ตามไปจัดแจงอารักขาอันชอบธรรม. เมื่อพระองค์จะทรงกระทารัฐกิจนั้น โปรดกระทาความเพียรในรัฐกิจนั้นๆ ด้วยอานาจการเทียบเคียง การหยั่งดู การกระทาอันประจักษ์เถิด. ข้าแต่พระราชบิดา พระองค์ตรัสถามปัญหาใดกะข้าพระพุทธเจ้าว่า ควรจะทากิจอะไรดี ในปัญหาของพระองค์นั่นเอง ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลคาเป็นต้นว่าควรห้ามมุสาวาทก่อนดังนี้แล้ว ข้อความเหล่านั้นเป็ นวัตรบท เป็ นวัตรโกฏฐาส พระองค์โปรดทรงประพฤติในวัตรบทนั้น อย่างข้อความที่ข้าพระองค์ทูลแล้ว. นี้แหละเป็นอนุสาสนีสาหรับพระองค์. เมื่อพระราชาประพฤติอยู่อย่างนี้ย่อมองอาจ สามารถเพื่อยังมวลมิตรให้มีความสุข และก่อทุกข์แก่มวลอมิตรได้. เมื่อนกเวสสันดรท้วงถึงความประมาทของพระราชาด้วยคาถาบทหนึ่ง แล้วกล่าวธรรมด้วยคาถาสิบเจ็ดคาถาอย่างนี้ มหาชนบังเกิดความคิดเป็ นอัศจรรย์ขึ้นว่า นกเวสสันดรแก้ปัญหาด้วยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า ดังนี้แล ยังสาธุการร้อยหนึ่งให้เป็ นไป พระราชาทรงโสมนัส ตรัสเรียกเหล่าอามาตย์มาตรัสสั่งว่า ดูก่อนอามาตย์ผู้เจริญทั้งหลาย เพราะเจ้าเวสสันดร บุตรของเรากล่าวแก้ปัญหาทากิจเสร็จแล้วอย่างนี้ เราควรจะจัดการอย่างไร? พวกอามาตย์ทูลว่า ควรจัดการโดยมอบตาแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนาให้ พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า
  • 14. 14 ถ้าเช่นนั้น เราจะให้ตาแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนาแก่เจ้าเวสสันดรนั้น แล้วทรงสถาปนาเจ้าเวสสันดรไว้ในฐานันดรศักดิ์ นับแต่นั้นมา นกเวสสันดรนั้นก็ดารงอยู่ในตาแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนา สนองราชกิจพระราชบิดาด้วยประการฉะนี้. จบเวสสันดรปัญหา ล่วงไปอีกสอง-สามวัน พระราชาส่งทูตไปยังสานักของเจ้านกกุณฑลินีโดยทานองเดิมนั่นเอง แล้วเสด็จไป ณ ที่นั้นในวันที่เจ็ด เสด็จกลับมาประทับ ณ ท่ามกลางมณฑปนั้น ตรัสสั่งให้นาเจ้านกกุณฑลินีมา เมื่อจะตรัสถามราชธรรมกะนางนกตัวจับอยู่บนตั่งทอง จึงตรัสคาถาความว่า ดูก่อนนางนกกุณฑลินีตัวเป็ นเผ่าพันธุ์ของนกมีบรรดาศักดิ์ เจ้าสามารถละหรือ เจ้าจะเข้าใจได้หรือ กิจอะไรเล่าที่ผู้มุ่งจะครอบครองสมบัติ กระทาแล้วเป็ นกิจประเสริฐ. พระราชาตรัสถามว่าเจ้าจักสามารถแก้ปัญหาที่พ่อถามได้หรือ? พระราชาทรงทักทายโดยชื่อที่มา โดยเพศของนางนกนั้นว่า แน่ะนางกุณฑลินี ได้ยินว่า ที่หลังหูทั้งสองของนางนกนั้น มีรอยสองแห่งสัณฐานคล้ายต่างหู ด้วยเหตุนั้น พระราชาจึงโปรดให้ตั้งชื่อว่า "กุณฑลินี". พระราชาตรัสถามว่าเจ้าจักแก้เนื้อความแห่งปัญหาที่พ่อถามได้หรือ? พระราชาทรงทักทายนางนกนั้นอย่างนี้ว่า "แน่ะเจ้าตัวมีเผ่าพันธุ์แห่งนกมีบรรดาศักดิ์" ดังนี้ เพราะเป็ นน้องสาวของผู้บัญชาการมหาเสนา ผู้มีบรรดาศักดิ์. เหตุไร พระราชาจึงไม่ตรัสถามนกเวสสันดรอย่างนี้ ตรัสถามแต่เจ้ากุณฑลินี นี้แต่ตัวเดียว? เพราะนางนกนี้เป็นอิตถีเพศ. พระราชาทรงพระดาริว่า ธรรมดาสตรีมีปัญญานิดหน่อย ถ้านางนกนี้สามารถก็จักถาม ถ้าไม่สามารถก็จักไม่ถาม ดังนี้ จึงได้ตรัสถามอย่างนี้ด้วยจะทดลองดู แล้วตรัสถามปัญหาเช่นนั้นเหมือนกัน. เมื่อพระราชาตรัสถามราชธรรมอย่างนี้แล้ว นางนกกุณฑลินีจึงทูลว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ชะรอยพระบิดาจะทดลองหม่อมฉัน ด้วยเข้าพระทัยว่า ขึ้นชื่อว่าสตรีแล้วจะแก้อย่างไรได้ หม่อมฉันจักกล่าวราชธรรมทั้งสิ้นแด่พระบิดา รวมไว้ในสองบททีเดียวดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ประโยชน์ตั้งมั่นอยู่ในเหตุ ๒ ประการเท่านั้น คือความได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑ การตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑.
  • 15. 15 ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์จงทรงทราบ อามาตย์ทั้งหลายผู้เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในประโยชน์ ไม่แพร่งพรายความลับ ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ทาให้เสื่อมเสีย. ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็อามาตย์คนใดพึงรักษาพระราชทรัพย์ของพระองค์ ให้มีคงที่อยู่ได้ ดุจนายสารถียึดรถไว้ พระองค์ควรทรงใช้อามาตย์ผู้นั้น ให้กระทากิจทั้งหลายของพระองค์. พระราชาพึงโปรดสงเคราะห์ชนฝ่ายในด้วยดี ตรวจตราพระราชทรัพย์ด้วยพระองค์เอง ไม่ควรจัดการทรัพย์และการกู้หนี้โดยทรงไว้วางพระทัย ในคนอื่น. พระราชาควรทราบรายได้-รายจ่ายด้วยพระองค์เอง ควรทรงทราบกิจที่ทาแล้วและยังไม่ได้ทาด้วยพระองค์เอง ควรข่มคนที่ควรข่ม ควรยกย่องคนที่ควรยกย่อง. ข้าแต่พระองค์ผู้จอมพลรถ พระองค์จงทรงพร่าสอนเหตุผลแก่ชาวชนบทเอง เจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษีอากรผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม อย่ายังพระราชทรัพย์และรัฐสีมาของพระองค์ให้พินาศ. อนึ่ง พระองค์อย่าทรงทาเอง หรืออย่าทรงใช้คนอื่นให้ทากิจทั้งหลายโดยฉับพลัน เพราะว่าการงานที่ทาลงไปโดยฉับพลัน ไม่ดีเลย คนเขลาย่อมเดือดร้อนในภายหลัง. พระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล อย่าทรงปล่อยพระทัยให้เกรี้ยวกราดนัก เพราะว่า สกุลที่มั่นคงเป็นอันมาก ได้ถึงความไม่เป็นสกุล เพราะความโกรธ. ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงนึกว่าเราเป็ นใหญ่ แล้วยังมหาชนให้หยั่งลงเพื่อความฉิบหาย กาไรคือความทุกข์ อย่าได้มีแก่สตรีและบุรุษของพระองค์เลย. โภคสมบัติทั้งปวงของพระราชาผู้ปราศจากความหวาดเสียว แส่หากามารมณ์ย่อมพินาศหมด ข้อนั้นนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา. ข้อความที่หม่อมฉันกราบทูลในปัญหาของพระองค์นั้น เป็นวัตรบท นี่แหละเป็ นอนุสาสนี ข้าแต่พระมหาราชา บัดนี้ พระองค์โปรดทรงบาเพ็ญบุญ อย่าเป็นนักเลง อย่าทรงราชทรัพย์ให้พินาศ จงทรงศีล เพราะว่าคนทุศีลย่อมตกต่า. ความได้ลาภที่ยังไม่ได้แล้วในก่อน ๑ การตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑. อธิบายว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ขึ้นชื่อว่าการยังลาภที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นก็เป็ นภาระ ส่วนการตามรักษาลาภที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็ นภาระเหมือนกัน เพราะว่า คนบางคนแม้ยังยศให้เกิดขึ้นแล้ว มัวเมาในยศ เกิดความประมาท ทาความชั่ว
  • 16. 16 มีปาณาติบาตเป็นต้น เป็นมหาโจรเที่ยวปล้นแว่นแคว้นอยู่ ถ้าพระราชาตรัสสั่งให้จับมาได้ ต้องลงพระอาชญาให้ถึงมหาพินาศ. อีกอย่างหนึ่ง คนบางคนมัวเมาในกามคุณ มีรูปที่เกิดแล้วเป็ นต้น ผลาญทรัพย์สินโดยไม่แยบคาย เมื่อสิ้นเนื้อประดาตัว ก็ต้องเป็ นคนกาพร้า นุ่งผ้าเปลือกไม้ ถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน หรืออีกนัยหนึ่ง บรรพชิตยังลาภสักการะให้เกิดด้วยอานาจคันถธุระเป็ นต้น แล้วมัวเมาเวียนมาเพื่อหินเพศ บางรูปแม้เจริญปฐมฌานเป็ นต้นให้เกิดแล้ว ติดอยู่ในอารมณ์เช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ย่อมเสื่อมจากฌาน การรักษายศหรือรักษาความได้ฌานเป็ นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเป็ นของยากอย่างยิ่ง อนึ่ง เพื่อจะแสดงความข้อนั้น ควรแสดงเรื่องของพระเทวทัต และควรแสดงเรื่องมุทุลักขณชาดก โลมกัสสปชาด ก หาริตชาดก และสังกัปปชาดก. ส่วนคนบางคนยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท กระทากรรมอันงาม ยศของบุคคลนั้นย่อมเจริญ เหมือนพระจันทร์ในศุกลปักษ์ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะฉะนั้น พระองค์อย่าประมาท ดารงอยู่ในปโยคสมบัติ ดารงราชย์โดยธรรม ตามรักษาพระเกียรติยศของพระองค์ที่บังเกิดขึ้นแล้วเถิด. เพื่อกระทาการงานมีหน้าที่ขุนคลังเป็ นต้น พระองค์จงทรงใคร่ครวญ. โปรดตรวจดูหมู่อามาตย์ที่ไม่ใช่คนเล่นเบี้ย ไม่ใช่คนโกง คือไม่ใช่นักเลงการพนัน และไม่เป็นคนหลอกลวง. เป็นคนเว้นจากความเป็นนักเลงเหล้า และนักเลงทางของหอมและระเบียบ. มิใช่ผู้ที่จะยังธนสารและธัญญาหารเป็ นต้น อันเป็นราชทรัพย์ให้ฉิบหาย. อามาตย์ใดพึงรักษาราชทรัพย์ อันมีอยู่ในพระราชวังของพระองค์ได้. ดุจสารถีขับรถ. อธิบายว่า นายสารถี เมื่อยึดม้าไว้เพื่อห้ามทางที่ไม่เรียบ พึงยึดรถไว้ฉันใด อามาตย์ใดเป็นฉันนั้น สามารถเพื่อจะรักษาพระองค์ พร้อมด้วยโภคสมบัติได้ อามาตย์นั้นชื่อว่าเป็นอามาตย์ของพระองค์ พระองค์ควรยึดอามาตย์เช่นนั้นไว้ ตรัสสั่งให้กระทาราชกิจเช่นหน้าที่ขุนคลังเป็นต้น. ข้าแต่เสด็จพ่อ เพราะว่าอันโตชนและปริชนที่ใช้สอย ในราชสานักส่วนพระองค์ของพระราชาใด มิได้รับความสงเคราะห์ด้วยทานเป็นต้น พระราชทรัพย์เช่นเงินทองเป็นต้น ภายในพระราชฐานของพระราชานั้น ย่อมจะพินาศลง ด้วยอานาจแห่งมนุษย์ที่ไม่ได้รับการสงเคราะห์เหล่านั้น ต่างก็จะพากันไปเสียภายนอก เพราะเหตุนั้น
  • 17. 17 พระองค์โปรดทรงสงเคราะห์อันโตชนด้วยดี ควรตรวจตราพระราชทรัพย์ของพระองค์เองให้รู้ว่า ทรัพย์ของเรามีจานวนเท่านี้แล้ว ไม่ควรจัดการแม้กิจทั้งสองอย่างว่า เราจะฝังขุมทรัพย์ไว้ในที่โน้น เราจะใช้หนี้แก่คนโน้น. นางนกกุณฑลินีกล่าวว่า พระองค์อย่าได้ทรงทาแม้ด้วยความไว้วางใจผู้อื่น ควรจัดการราชกิจทั้งหมดที่ประจักษ์แก่พระองค์เท่านั้น. พระองค์ควรจะทราบรายได้ที่เกิดจากทางนั้นๆ และควรทราบรายจ่ายที่ควรพระราชทานแก่คนต่างๆ ด้วยพระองค์เองทีเดียว. ในสงคราม ในนวกรรม หรือในราชกิจอื่นๆ พระองค์ควรจะทราบแม้ข้อราชการนี้ ด้วยพระองค์เองทีเดียวว่า กิจนี้เราต้องทาด้วยราชทรัพย์ส่วนนี้ กิจนี้ไม่ต้องทาด้วยราชทรัพย์ โปรดอย่าได้ไว้วางใจผู้อื่น. ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาพระราชาต้องทรงพิจารณา ชาระซึ่งคนผู้ทาการตัดที่ต่อเป็นต้นอันเป็ นผู้ควรข่มที่เขานามาแสดง ควรตรวจสอบดูตัวบทกฏหมายที่พระราชาก่อนๆ ตราไว้ แล้วจึงทรงลงพระราชอาชญาตามสมควรแก่โทษ. อนึ่ง บุคคลใดเป็ นคนควรยกย่อง จะเป็นคนทาลายกาลังของปรปักษ์ที่ใครๆ ทาลายไม่ได้ก็ตาม จะเป็นคนที่ปลุกปลอบกาลังฝ่ายตนที่แตกแล้วก็ตาม จะเป็นคนที่นาราชสมบัติที่ยังไม่ได้มาถวายก็ตาม คนที่ทาราชสมบัติอันได้มาแล้วให้ถาวรก็ตาม หรือว่าผู้ใดช่วยพระชนมชีพไว้ได้ พระราชาทรงยกย่องบุคคลเช่นนี้ ซึ่งเป็ นคนควรยกย่องแล้ว ควรตรัสสั่งให้กระทาสักการะ สัมมานะอย่างใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้คนอื่นๆ ก็จักถวายชีวิตกระทาซึ่งกิจที่ควรทาในราชกิจของพระราชานั้น. พระองค์จงทรงอนุศาสน์พร่าสอนอรรถธรรมแก่ชาวชนบทด้วยพระอง ค์เอง โดยเงื่อนไขอันประจักษ์แก่พระองค์นั่นเอง. พนักงานข้าราชการผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รับสินบนในที่นั้นๆ แล้วกลับ คาพิพากษา อย่ายังพระราชทรัพย์และแว่นแคว้นของพระองค์ให้พินาศไปเลย ด้วยเหตุนี้ พระองค์อย่าประมาท จงอนุศาสน์พร่าสอนด้วยพระองค์เองทีเดียว. พระองค์ยังไม่ได้ทรงสอบสวน ยังไม่ได้ทรงพิจารณา อย่าทรงกระทาหรือรับสั่งให้ทาโดยผลุนผลัน. เพราะกรรมที่มิได้พิจารณา ทาไปโดยผลุนผลัน ด้วยอานาจฉันทาคติเป็นต้น ไม่ดีไม่งามเลย. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า คนโง่ทากรรมเช่นนั้น ภายหลังย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
  • 18. 18 ด้วยอานาจความวิปฏิสารและเมื่อเสวยทุกข์ในอบายย่อมเดือดร้อนในโลกเบื้องห น้า. ก็ความข้อนี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วยกุรุชาดก ซึ่งมีใจความมีอาทิว่า เราได้ยินว่า พระเจ้ากุรุราชทรงทาความผิดต่อพระฤาษีทั้งหลายดังนี้. ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงปล่อยพระหฤทัยให้ขุ่นเคืองโกรธกริ้วเกินไป ในเพราะอกุศลกรรมของผู้อื่น อันล่วงเลยกุศลเป็นไป คืออย่าให้ดารงอยู่ได้. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ เมื่อใด พวกราชบุรุษกราบทูลแสดงโจรต่อพระองค์ผู้สถิตอยู่ ณ ที่วินิจฉัยว่า เจ้านี่ฆ่าคน หรือว่าเจ้านี่ตัดที่ต่อ เมื่อนั้นโปรดอย่าปล่อยพระทัย แม้ที่ทรงขุ่นเคืองเต็มที่ ด้วยถ้อยคาของผู้อื่นด้วยอานาจทรงพระพิโรธ ยังมิได้ทรงสอบสวน แล้วอย่าได้ทรงลงพระอาญา. เพราะเหตุไร? เพราะว่า เขาจับคนที่มิใช่โจร หาว่าเป็นโจรนามาก็ได้ ฉะนั้น อย่าทรงพิโรธโปรดสดับถ้อยคาของผู้ที่เป็นโจทก์และจาเลยทั้งสองฝ่าย ทรงชาระด้วยดี รู้ว่าเขาเป็นโจรโดยประจักษ์ด้วยพระองค์แล้ว จึงโปรดกระทาสิ่งที่ควรกระทา ด้วยสามารถแห่งอาชญาที่ตราไว้ตามพระราชประเพณี ก็ถึงแม้เมื่อเกิดความโกรธขึ้นแล้ว พระราชายังมิได้กระทาพระทัยให้เย็นก่อน ไม่ควรทาการวินิจฉัย ต่อเมื่อใดพระหฤทัยเยือกเย็น ดับร้อน อ่อนโยน เมื่อนั้นจึงควรทาการวินิจฉัย เพราะเมื่อจิตหยาบคาย เหตุผลย่อมไม่ปรากฏ เหมือนเมื่อน้าเดือดพล่าน เงาหน้าก็ไม่ปรากฏฉะนั้น. ข้าแต่เสด็จพ่อ ราชตระกูลทั้งหลายที่มั่งคั่งมากมาย ถึงความไม่เป็ นตระกูล คือถึงความมหาพินาศทีเดียว ก็เพราะความโกรธ เพราะเหตุนั้น ก็เพื่อจะแสดงเนื้อความนี้ ควรกล่าวถึงขันติวาทีชาดก เรื่องพระเจ้านาฬิกีรราช และเรื่องท้าวอรชุนผู้มีกรพั นหนึ่งเป็ นต้น. ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงยังมหาชนให้หมกมุ่น หยั่งลงสู่กายทุจริตเป็ นต้น เพื่อความฉิบหาย โดยทรงนึกว่า เราเป็นใหญ่ในแผ่นดิน บุคคลถือเอาทุจริตอันเป็นความฉิบหาย ประพฤติฉันใด พระองค์อย่าได้ทรงกระทาฉันนั้น. ข้าแต่เสด็จพ่อ ในแว่นแคว้นของพระองค์ ขอการได้รับทุกข์ คือความถึงซึ่งทุกข์อย่าได้มีแก่หญิงชายเลย ไม่ว่าจะเป็ นหญิงหรือชายก็ตามที. ประชาชนในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม พากันกระทากายทุจริตเป็นต้น ย่อมเกิดในนรกฉันใด สาหรับชาวแว่นแคว้นของพระองค์อย่าได้มีฉันนั้นเลย คือความทุกข์เช่นนั้น
  • 19. 19 จะไม่มีแก่ชาวแว่นแคว้นของพระองค์โดยวิธีใด โปรดทรงกระทาโดยวิธีนั้นเถิด. ผู้ปราศจากภัย เพราะภัยมีการติเตียนตนเป็นต้น. ด้วยบทนี้ นางนกกุณฑลินีแสดงความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พระราชาใดทรงทาความหวังในอารมณ์อะไรแล้ว ทรงระลึกถึงแต่ความใคร่ของพระองค์อย่างเดียว ทรงปรารถนาสิ่งใดก็ทาสิ่งนั้นด้วยอานาจฉันทะความพอใจ เป็นเหมือนคนตาบอดทิ้งไม้เท้า และเหมือนช้างดุไม่มีขอสับ โภคสมบัติทั้งปวงของพระราชานั้นผู้ปราศจากภัยเช่นการติเตียนเป็นต้น ย่อมฉิบหายไป ความฉิบหายของโภคะนั้น ท่านกล่าวว่าเป็นทุกข์ของพระราชาพระองค์นั้น. คาว่า ในปัญหานั้น เนื้อความที่กราบทูลมานั้นเป็ นวัตรบทดังนี้ ควรประกอบโดยนัยก่อนนั้นเถิด. ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์ทรงสดับอนุสาสนีนี้แล้ว บัดนี้พึงเป็ นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ทรงสร้างบุญกุศล เหตุบาเพ็ญบุญกุศล อย่าเป็นนักเลงสุรา เหตุบริหารด้วยสุราเป็ นต้น อย่ายังพระองค์ให้พินาศ เหตุยังประโยชน์ปัจจุบันและสัมปรายิกภพให้ฉิบหาย. พระองค์จงเป็นผู้ทรงศีลสมบูรณ์ด้วยอาจารมรรยาท ดารงอยู่ในทศพิธราชธรรมเสวยราชสมบัติ. ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะคนทุศีล เมื่อยังตนให้ตกไปในนรก ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าทาตนให้ตกไปในที่ชั่ว. แม้เจ้านกกุณฑลินีแสดงธรรมด้วยคาถา ๑๑ คาถาด้วยประการอย่างนี้ พระราชาทรงดีพระทัย ตรัสเรียกอามาตย์มารับสั่งถามว่า ดูก่อนท่านอามาตย์ผู้เจริญทั้งหลาย เราควรทากิจอันใดแก่เจ้ากุณฑลินี ธิดาของเราผู้กล่าวธรรมอยู่อย่างนี้? พวกอามาตย์กราบทูลว่า ควรกระทาโดยการมอบตาแหน่งขุนคลังให้พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเราจะให้หน้าที่การงานตาแหน่งขุนคลังแก่ธิดาของเรา แล้วทรงแต่งตั้งนางนกกุณฑลินีไว้ในฐานันดรศักดิ์. นับแต่นั้นมา นางนกกุณฑลินีก็ดารงอยู่ในตาแหน่งขุนคลัง ได้ทาการสนองราชกิจของพระราชบิดา. จบกุณฑลินีปัญหา ล่วงมาอีกสองสามวัน พระราชาส่งทูตไปยังสานักของเจ้าชัมพุกบัณฑิตโดยนัยก่อนนั้นเอง แล้วเสด็จไปในสานักของนกชัมพุกบัณฑิตนั้นในวันที่เจ็ด ทรงเสวยสมบัติแล้วเสด็จกลับมาประทับ ณ ที่ท่ามกลางมณฑปนั้นเอง.
  • 20. 20 ครั้งนั้น อามาตย์เชิญเจ้าชัมพุกบัณฑิตจับบนตั่งทอง แล้วเอาศีรษะทูลตั่งทองมาเฝ้ าพระราชา. เจ้าชัมพุกบัณฑิตจับบนพระเพลาของพระราชบิดา เล่นหัวแล้วจับที่ตั่งทองดังเดิม. ลาดับนั้น เมื่อพระราชาจะตรัสถามปัญหากะเจ้าชัมพุกบัณฑิต จึงตรัสพระคาถาความว่า พ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามปัญหากะเจ้าโกสิยโคตร และเจ้ากุณฑลินีมาเช่นเดียวกันแล้ว ชัมพุกลูกรัก คราวนี้ เจ้าจงบอกกาลังอันสูงสุดกว่ากาลังทั้งหลายบ้างเถิด. พระคาถานั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ แน่ะพ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามราชธรรมกะเจ้าเวสสันดรโกสิยโคตรผู้พี่ชายของเจ้า และนางกุณฑลินีผู้พี่สาวของเจ้าแล้ว ทั้งสองต่างก็ตอบตามกาลังปัญญาของตนๆ อนึ่ง พ่อถามพี่ชายและพี่สาวของเจ้าอย่างใด ชัมพุกะลูกรัก บัดนี้ พ่อจะถามเจ้าอย่างนั้นเหมือนกัน เจ้าจงบอกราชธรรมนั้นกับกาลังอันสูงสุดกว่ากาลังทั้งหลายด้วยเถิด. พระราชา เมื่อตรัสถามปัญหากะพระมหาสัตว์อย่างนี้ หาได้ตรัสถามโดยทานองที่ตรัสถามนกอื่นๆ ไม่ ดารัสถามให้พิเศษขึ้นไป. ลาดับนั้น นกชัมพุกบัณฑิตทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้ากระนั้น ขอพระองค์จงเงี่ยพระโสตลงสดับ ข้าพระพุทธเจ้าจักกล่าวปัญหาทั้งปวงถวายแด่พระองค์ ดังนี้ แล้วเป็ นประดุจว่าบอกถุงทรัพย์พันหนึ่งกะฝูงชนที่เหยียดมือออกรับฉะนั้น เริ่มแสดงธรรมเป็นคาถา ความว่า กาลังในบุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ในโลกนี้มี ๕ ประการ ในกาลัง ๕ ประการนั้น กาลังแขน บัณฑิตกล่าวว่าเป็ นกาลังต่าทราม ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญพระชนม์ กาลังโภคทรัพย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็ นกาลังที่สอง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญชนม์ กาลังอามาตย์บัณฑิต กล่าวว่าเป็ นกาลังที่สาม กาลังคือมีชาติยิ่งใหญ่เป็นกาลังที่สี่ โดยแท้ บัณฑิตย่อมยึดเอากาลังทั้งหมดนี้ไว้ได้. กาลังปัญญา บัณฑิตกล่าวว่าเป็ นกาลังประเสริฐยอดเยี่ยมกว่ากาลังทั้งหลาย เพราะว่าบัณฑิตอันกาลังปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ซึ่งประโยชน์. ถ้าบุคคลมีปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอันสมบูรณ์ เมื่อไม่ประสงค์ คนอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาก็ข่มขี่แย่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชนชาวกาสี ถ้าบุคคลแม้เป็นผู้มีชาติสูง