SlideShare a Scribd company logo
1
สุธาโภชนชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๓. สุธาโภชนชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๕)
ว่าด้วยอาหารทิพย์
(โกสิยเศรษฐีกราบทูลท้าวสักกะว่า)
[๑๙๒] ของนี้ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ซื้อมา
ทั้งไม่ได้ขายและไม่ได้สะสมไว้ในที่นี้ มีอยู่เพียงนิดหน่อย ได้มาแสนยาก
ข้าวสุกแล่งหนึ่งไม่เพียงพอสาหรับคนสองคน
(ท้าวสักกะได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๙๓] บุคคลควรให้แต่น้อยจากของที่มีน้อย
ควรให้พอปานกลางจากของที่มีพอปานกลาง ควรให้มากจากของที่มีมาก
ชื่อว่าการไม่ให้ย่อมไม่ควร
[๑๙๔] ท่านโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า
ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ
ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข
(เมื่อท้าวสักกะประทับนั่ง จันทเทพบุตรจึงเข้าไปหาโกสิยเศรษฐีแล้ว
กล่าวว่า)
[๑๙๕] ผู้ใดเมื่อแขกนั่งอยู่แล้วยังบริโภคอาหารแต่ผู้เดียว
การบูชาของผู้นั้นเป็ นโมฆะ แม้ความบากบั่นแสวงหาทรัพย์ของเขาก็เป็นโมฆะ
[๑๙๖] ท่านโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า
ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ
ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข
(ต่อจากนั้นสุริยเทพบุตรเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า)
[๑๙๗] ผู้ใดเมื่อแขกนั่งอยู่แล้วไม่บริโภคอาหารแต่ผู้เดียว
การบูชาของผู้นั้นย่อมมีผล แม้ความบากบั่นแสวงหาทรัพย์ของเขาก็มีผล
[๑๙๘] ท่านโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า
ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ
ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข
(ต่อจากนั้น มาตลีเทพบุตรเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า)
[๑๙๙] ก็บุคคลใดเข้าไปยังแหล่งน้าบางแห่ง
แล้วบูชาที่แม่น้าหลายสายบ้าง ที่สระโบกขรณีชื่อว่าคยาบ้าง
ที่ท่าน้าชื่อโทณะและท่าน้าชื่อติมพรุบ้าง ที่ห้วงน้าใหญ่อันมีกระแสเชี่ยวบ้าง
2
[๒๐๐] ผู้ใดเมื่อแขกนั่งอยู่แล้วไม่บริโภคอาหารแต่ผู้เดียว
การบูชาของเขาในที่นั้น
และความบากบั่นแสวงหาทรัพย์ของเขาในที่นั้นย่อมมีผล
[๒๐๑] ท่านโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า
ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ
ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข
(ต่อจากนั้น ปัญจสิขเทพบุตรเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า)
[๒๐๒] ส่วนผู้ใดเมื่อแขกนั่งอยู่แล้วยังบริโภคอาหารแต่ผู้เดียว
ผู้นั้นชื่อว่ากลืนเบ็ดพร้อมทั้งเหยื่อที่มีสายยาว
[๒๐๓] ท่านโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า
ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ
ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข
(โกสิยเศรษฐีเห็นฤทธิ์ของพราหมณ์เหล่านั้น จึงถามว่า)
[๒๐๔] พราหมณ์เหล่านี้มีผิวพรรณงามจริงหนอ เพราะเหตุอะไร
สุนัขของพวกท่านจึงเปลี่ยนสีได้ต่างๆ นานา ข้าแต่ท่านพราหมณ์ทั้งหลาย
ขอท่านจงบอกข้าพเจ้า พวกท่านเป็ นใครกัน
(ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า)
[๒๐๕] เหล่าเทพที่มา ณ ที่นี้ คือ จันทเทพบุตรและสุริยเทพบุตรทั้ง ๒
ส่วนผู้นี้คือมาตลีเทพสารถี เราคือท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพชั้นไตรทศ
และผู้นี้ชื่อว่าปัญจสิขเทพบุตร
(ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะทรงสรรเสริญยศของปัญจสิขเทพบุตรนั้น
จึงตรัสว่า)
[๒๐๖] เสียงปรบมือ ๑ ตะโพน ๑ กลอง ๑ เปิงมาง ๑
ย่อมปลุกเทพบุตรผู้หลับแล้วนั้นให้ตื่นขึ้น เทพบุตรผู้ตื่นขึ้นแล้วย่อมร่าเริงยินดี
[๒๐๗] คนผู้ตระหนี่เห็นแก่ตัวเหล่านี้
บางพวกมักด่าว่าสมณะและพราหมณ์ เมื่อทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้
หลังจากตายแล้วย่อมไปสู่นรก
[๒๐๘] คนผู้หวังสุคติเหล่านี้ บางพวกดารงอยู่ในธรรม คือ
ความสารวมและการจาแนกทาน เมื่อทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้
หลังจากตายแล้วย่อมไปสู่สุคติ
[๒๐๙] ท่านเป็นญาติของพวกเราเมื่อชาติก่อน
แต่ท่านนั้นเป็นคนตระหนี่ มักโกรธ มีธรรมเลวทราม
พวกเรามาที่นี้ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง
ท่านอย่ามีธรรมอันเลวทรามไปตกนรกเลย
(โกสิยเศรษฐีได้ฟังดังนั้นมีจิตยินดี จึงกล่าวว่า)
3
[๒๑๐] พวกท่านหวังเกื้อกูลข้าพเจ้าอย่างแน่นอน จึงได้พร่าสอนข้าพเจ้า
ข้าพเจ้านั้น จะทาตามที่พวกท่านผู้หวังเกื้อกูลกล่าวทุกประการ
[๒๑๑] ตั้งแต่วันนี้ไป ข้าพเจ้านั้นจะของดเว้น จะไม่กระทาบาปอะไรๆ
อีก อนึ่ง วัตถุอะไรๆ ที่ไม่ให้จะไม่มีแก่ข้าพเจ้า แม้แต่น้าข้าพเจ้ายังไม่ได้ให้แล้ว
ก็จะไม่ยอมดื่ม
[๒๑๒] ข้าแต่ท้าววาสวะ ก็เมื่อข้าพเจ้าให้อยู่ตลอดกาลทั้งปวงอย่างนี้
ถึงโภคะทั้งหลายของข้าพเจ้าจักหมดสิ้นไป ข้าแต่ท้าวสักกะ ต่อจากนั้น
ข้าพเจ้าจะละกามทั้งหลายตามที่มีอยู่แล้วจักบวช
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๒๑๓] เทพธิดาเหล่านั้นอันท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
ทรงอภิบาลแล้วบันเทิงอยู่ ณ ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็ นภูเขาอันประเสริฐสูงสุด
ครั้งนั้น ฤๅษีผู้ประเสริฐสามารถจะไปได้ทั่วโลก
ได้ถือเอาช่อดอกไม้อันประเสริฐมีดอกบานสะพรั่งเดินมา
[๒๑๔] ก็ดอกไม้นั้นสะอาด มีกลิ่นหอม อันเหล่าเทพชั้นไตรทศสักการะ
เป็นดอกไม้สูงสุด อันท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าอมรเทพทรงใช้สอย
ซึ่งพวกมนุษย์หรือพวกอสูรไม่ได้แล้ว เว้นไว้แต่พวกเทวดา
เป็นดอกไม้ที่สมควรแก่เทวดาเหล่านั้น
[๒๑๕] ลาดับนั้น เทพนารีทั้ง ๔ นางผู้มีผิวพรรณประดุจทองคา
เป็นใหญ่กว่าเทพธิดาทั้งหลาย คือ ๑. เทพธิดาอาสา ๒. เทพธิดาสัทธา ๓.
เทพธิดาสิรี ๔. เทพธิดาหิรี ต่างลุกขึ้นกล่าวกับพระนารทมุนีเทวพราหมณ์ว่า
[๒๑๖] ข้าแต่พระมหามุนีผู้ประเสริฐ ถ้าดอกปาริฉัตตกะนี้
พระคุณเจ้ามิได้เจาะจงจะให้แก่ผู้ใด ขอพระคุณเจ้าจงให้แก่พวกดิฉันเถิด
ขอคติทั้งปวงจงสาเร็จแด่พระคุณเจ้า
แม้พระคุณเจ้าก็จงให้แก่พวกดิฉันเหมือนท้าววาสวะเท่านั้นเถิด
[๒๑๗] นารทดาบสเพ่งดูเทพธิดาทั้ง ๔ นางพากันขอดอกไม้นั้นอยู่
จึงเปล่งถ้อยคาชวนทะเลาะแล้วกล่าวว่า
อาตมาหามีความต้องการดอกไม้เหล่านี้แม้สักน้อยหนึ่งไม่ บรรดาพวกเธอทั้ง ๔
ผู้ใดประเสริฐกว่า ผู้นั้นจงประดับดอกไม้นั้นเถิด
(เทพธิดาทั้ง ๔ นางนั้นกล่าวว่า)
[๒๑๘] ข้าแต่ท่านนารทะผู้อุดม พระคุณเจ้านั้นแหละ
โปรดจงพิจารณาดูพวกดิฉัน
พระคุณเจ้าปรารถนาจะให้แก่นางใดก็จงให้แก่นางนั้น ข้าแต่ท่านนารทะ
ก็บรรดาดิฉันทั้งหลาย พระคุณเจ้าจักมอบให้แก่นางใด
นางนั้นเท่านั้นจักเป็ นผู้ที่พวกดิฉันยกย่องว่าประเสริฐที่สุด
(นารทดาบสกล่าวว่า)
4
[๒๑๙] แม่เทพธิดาผู้มีเรือนร่างอันงดงาม คานั้นไม่สมควรเลย
พราหมณ์คนไหน ใครเล่าจะพึงเปล่งถ้อยคาชวนทะเลาะได้
จงไปทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตดูเถิด
ถ้าพวกเธอในที่นี้ไม่ทราบว่าตนสูงสุดหรือต่าทราม
(ต่อจากนั้น พระศาสดาตรัสพระคาถาว่า)
[๒๒๐] เทพธิดาเหล่านั้นถูกนารทดาบสกล่าวแนะนา
มีความโกรธแค้นอย่างยิ่ง เป็ นผู้มัวเมาแล้ว ด้วยความมัวเมาในผิวพรรณ จึงไป
ณ สานักท้าวสหัสสนัยน์ แล้วทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตว่า
บรรดาหม่อมฉัน ใครหนอประเสริฐกว่า
(เทพธิดาทั้ง ๔ นางได้ยืนทูลถามอย่างนั้นแล้ว พระศาสดา จึงตรัสว่า)
[๒๒๑] ท้าวปุรินททะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ผู้อันเทพธิดาทั้ง ๔
กระทาอัญชลีแล้ว ทอดพระเนตรเห็นเทพธิดาทั้ง ๔ ผู้กระตือรือร้น จึงตรัสว่า
ลูกหญิงมีความงามเป็นเลิศ มีใบหน้าผ่องใส พวกเจ้าทั้งปวงล้วนทัดเทียมกัน
ใครเล่าหนอจะกล่าวถ้อยคาทะเลาะกันขึ้นได้
(ลาดับนั้น เทพธิดาเหล่านั้นเมื่อจะกราบทูลท้าวสักกะ จึงกล่าวคาถาว่า)
[๒๒๒] พระนารทมหามุนีองค์ใดผู้ท่องเที่ยวไปได้ทั่วโลก
ดารงอยู่ในธรรม มีความบากบั่นอย่างจริงจัง
ท่านนั้นได้กล่าวแก่พวกหม่อมฉันที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็ นภูเขาอันประเสริฐว่า
จงไปทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตดูเถิด
ถ้าพวกเธอในที่นี้ไม่ทราบว่าตนสูงสุดหรือต่าทราม
(ท้าวสักกะเมื่อจะตรัสบอกเหตุ จึงตรัสคาถาว่า)
[๒๒๓] ลูกหญิงผู้มีเรือนร่างอันงดงาม
มีมหามุนีผู้ท่องเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่นามว่าโกสิยะ
ท่านไม่ให้แล้วจะไม่ยอมบริโภคอาหาร ท่านพิจารณาแล้วจึงจะให้ทาน
ก็ท่านจักให้แก่ลูกหญิงผู้ใด ผู้นั้นแหละประเสริฐกว่า
(ท้าวสักกะเมื่อจะส่งเทพธิดาทั้ง ๔ ไปสานักโกสิยดาบส
ให้เรียกมาตลีเทพบุตรมาแล้ว จึงตรัสคาถาว่า)
[๒๒๔] ก็โกสิยดาบสนั้นอยู่ ณ ทิศใต้ริมฝั่งแม่น้าคงคา
ข้างหิมวันตบรรพต โกสิยดาบสนั้นมีน้าและโภชนะหาได้ยาก นี่แน่ะเทพสารถี
ท่านจงนาอาหารทิพย์ไปถวายให้ถึงแก่ท่าน
(ต่อจากนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า)
[๒๒๕] มาตลีเทพบุตรนั้นถูกท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดาทรงส่งไป
จึงขึ้นรถเทียมด้วยม้า ๑,๐๐๐ ตัว ได้ไปถึงอาศรมอย่างเร็วพลันนั่นแล
ไม่ปรากฏกาย ได้ถวายอาหารทิพย์แก่พระมุนีแล้ว
(โกสิยดาบสรับโภชนะแล้วยืนอยู่นั่นแหละ กล่าวว่า)
5
[๒๒๖] ก็เมื่อเรายืนบาเรอการบูชาไฟอยู่ต่อหน้าดวงอาทิตย์
ซึ่งบรรเทาความมืดในโลกอันอุดม ท้าววาสวะผู้ทรงครอบงาภูตทั้งปวง
หรือใครกันแน่มาวางอาหารทิพย์ไว้ในฝ่ามือของเรา
[๒๒๗] อาหารทิพย์นี้ขาวอุปมาดังสังข์ ไม่มีสิ่งเปรียบปาน น่าดู สะอาด
มีกลิ่นหอม น่าพอใจ ไม่เคยมีมา ยังไม่เคยได้เห็นด้วยตาของเราผู้เป็นคน
เทวดาตนใดวางอาหารทิพย์ไว้ในฝ่ามือของเราหรือ
(มาตลีเทพสารถีกล่าวว่า)
[๒๒๘] ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพเจ้าถูกท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทพ
ผู้ยิ่งใหญ่ใช้มา จึงได้รีบนาอาหารทิพย์มา ข้าแต่พระมหามุนี
ขอพระคุณเจ้าจงรู้จักข้าพเจ้าว่า มาตลีเทพสารถี
ขอพระคุณเจ้าจงบริโภคภัตรอันอุดม อย่าห้ามเลย
[๒๒๙] ก็อาหารทิพย์นั้นบุคคลผู้บริโภคแล้ว
ย่อมกาจัดบาปธรรมได้ ๑๒ ประการ คือ ๑. ความหิว ๒.
ความกระหาย ๓. ความไม่ยินดี ๔. ความกระวนกระวาย ๕. ความเหน็ดเหนื่อย
๖. ความโกรธ ๗. ความผูกโกรธ ๘. ความวิวาท ๙. ความส่อเสียด ๑๐.
ความหนาว ๑๑. ความร้อน ๑๒. ความเกียจคร้าน อาหารทิพย์นี้รสยอดเยี่ยม
(โกสิยดาบสเมื่อจะเปิดเผยการสมาทานวัตรของตน จึงกล่าวคาถาว่า)
[๒๓๐] มาตลี การไม่ให้ก่อนแล้วบริโภคไม่สมควรแก่อาตมา
วัตรอันอุดมของอาตมาเป็นดังนี้ อนึ่ง การบริโภคคนเดียวพระอริยะหาบูชาไม่
และบุคคลผู้ไม่จาแนกแจกจ่ายย่อมไม่ประสบความสุข
(โกสิยดาบสถูกมาตลีเทพบุตรถาม จึงตอบว่า)
[๒๓๑] ชนทั้งหลายเหล่านี้ บางพวกเป็นผู้ฆ่าหญิง คบชู้ภรรยาชายอื่น
ประทุษร้ายมิตร และด่าว่าสมณะและพราหมณ์ผู้มีวัตรดีงาม
ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีความตระหนี่เป็ นประการที่ ๕ ชื่อว่าเป็นคนเลวทราม
เพราะเหตุนั้น แม้แต่น้าอาตมาไม่ให้แล้วจะไม่ยอมดื่ม
[๒๓๒] อนึ่ง อาตมาจักให้ทานที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแก่หญิงหรือชาย
เพราะว่าท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธา รู้ถ้อยคาของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าสะอาดและซื่อสัตย์ในโลกนี้
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๒๓๓] ลาดับนั้น เทพกัญญาทั้ง ๔ นางผู้มีผิวพรรณประดุจทองคา
ซึ่งท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทพทั้งหลาย ทรงอนุมัติแล้ว ทรงส่งไปแล้ว คือ ๑.
เทพธิดาอาสา ๒. เทพธิดาสัทธา ๓. เทพธิดาสิรี ๔. เทพธิดาหิรี
ได้มาถึงอาศรมซึ่งเป็ นที่อยู่ของโกสิยดาบสนั้น
6
[๒๓๔] โกสิยดาบสครั้นเห็นเทพกัญญาเหล่านั้น
มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง จึงได้กล่าวกับเทพกัญญาทั้ง ๔
ผู้มีผิวพรรณงดงามประดุจเปลวเพลิงทั้ง ๔ ทิศ ต่อหน้ามาตลีเทพบุตรว่า
[๒๓๕] แม่เทพธิดา เธอมีนามใด ประดับตบแต่งร่างกายงดงาม
ประดุจดาวประกายพรึกซึ่งประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย มีผิวพรรณเปล่งปลั่งอยู่
ณ ทิศตะวันออก อาตมาขอถามเธอผู้มีเรือนร่างประดุจหุ่นทองคา
โปรดบอกอาตมาเถิดว่า เธอเป็นเทพชั้นไหน
(สิรีเทพกัญญาตอบว่า)
[๒๓๖] ดิฉันชื่อสิรีเทวี ได้รับการบูชาจากหมู่มนุษย์
มีปกติไม่คบหาสัตว์ผู้มีใจชั่วทุกเมื่อ
มายังสานักพระคุณเจ้าเพราะทะเลาะกันด้วยเรื่องอาหารทิพย์
พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ
ขอพระคุณเจ้าโปรดแบ่งอาหารทิพย์ให้ดิฉันบ้างเถิด
[๒๓๗] ท่านมหามุนี ดิฉันปรารถนาอาหารทิพย์ของนรชนใด
นรชนนั้นย่อมบันเทิงใจด้วยกามคุณทั้งปวง ข้าแต่พระคุณเจ้า
ผู้มีปัญญาอันประเสริฐ อุดมกว่าผู้บูชาไฟทั้งหลาย พระคุณเจ้าจงรู้จักดิฉันว่า
สิรีเทวี ขอพระคุณเจ้าโปรดแบ่งอาหารทิพย์ให้ดิฉันบ้างเถิด
(โกสิยดาบสกล่าวว่า)
[๒๓๘] นรชนทั้งหลายผู้ประกอบด้วยศิลปวิทยา มารยาท และความรู้
เป็นผู้ชานาญการงานของตน ถูกเธอทอดทิ้งให้เหินห่าง
ย่อมไม่ได้อะไรแม้แต่น้อย ความขาดแคลนที่เธอกระทาแล้วนั้นไม่ดีเลย
[๒๓๙] แม่นางสิรีเทวี อาตมาเห็นคนผู้เกียจคร้าน กินจุ
ทั้งเป็นคนมีตระกูลต่า มีรูปร่างแปลกประหลาด คนนั้นผู้อันเธอเฝ้ าคุ้มครองรักษา
กลับกลายเป็นคนมีโภคะ มีความสุข แม้คนผู้สมบูรณ์ด้วยชาติตระกูล
ก็ใช้สอยได้เหมือนอย่างทาส
[๒๔๐] เพราะฉะนั้น อาตมาจึงรู้จักเธอว่า ไม่มีสัจจะ ไม่แยกคบคน
เป็นคนงมงาย ทาผู้รู้ให้ตกต่า เทพธิดาเช่นเธอจึงไม่สมควรแก่อาสนะและน้า
อาหารทิพย์ที่ไหนจักมี จงไปเสียเถิด อาตมาไม่ชอบใจเธอ
(โกสิยดาบสสนทนากับนางอาสาเทพธิดาว่า)
[๒๔๑] ใครกันนั่น มีฟันขาวสะอาด สวมใส่ตุ้มหู มีเรือนร่างงามวิจิตร
ทรงเครื่องประดับทองคาเนื้อเกลี้ยง นุ่งห่มภูษาสีรดน้า
ประดับช่อดอกไม้สีแดงประดุจเปลวไฟที่ไหม้หญ้าคา ดูช่างงดงาม
[๒๔๒] เธอเหมือนนางเนื้อทรายผู้ตื่นกลัว
ที่ถูกนายพรานยิงพลาดแล้วมองดูอย่างงุนงง แม่เทพธิดาผู้มีดวงตาซื่อ
ในที่นี้ใครเป็นเพื่อนของเธอ เธอเที่ยวไปผู้เดียวในป่าใหญ่ ไม่กลัวหรือ
7
(อาสาเทพธิดากล่าวว่า)
[๒๔๓] ข้าแต่ท่านโกสิยะ ในที่นี้ดิฉันไม่มีเพื่อน
ดิฉันเป็ นเทพธิดาเกิดในดาวดึงสพิภพ ชื่อเทพธิดาอาสา
มายังสานักของพระคุณเจ้าเพราะหวังจะได้อาหารทิพย์
พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ
ขอพระคุณเจ้าโปรดแบ่งอาหารทิพย์ให้ดิฉันบ้างเถิด
(โกสิยดาบสกล่าวว่า)
[๒๔๔] พ่อค้าทั้งหลายผู้แสวงหาทรัพย์มีความหวังจึงจะไป
ย่อมขึ้นเรือแล่นไปในท้องทะเล บางครั้งพวกเขาย่อมจมลงในท้องทะเลนั้นบ้าง
บางคราวพวกเขาย่อมสูญสิ้นทรัพย์ขาดทุนกลับมาบ้าง
[๒๔๕] ชาวนาทั้งหลายมีความหวังจึงไถนา หว่านพืช กระทาตามวิธีการ
แต่เพราะศัตรูพืชลงบ้าง ฝนแล้งบ้าง พวกเขาจึงไม่ได้ประสบผลอะไรๆ
อันจะมีมาจากข้าวกล้านั้น
[๒๔๖] อนึ่ง นรชนทั้งหลายผู้แสวงหาความสุข ตั้งความหวังไว้เบื้องหน้า
ย่อมทาการเยี่ยงบุรุษของตนในกิจหน้าที่ของเจ้านาย
แต่พวกเขากลับถูกบีบคั้นอย่างหนัก ไม่ได้อะไรๆ แม้แต่น้อยเลย
เตลิดหนีไปทั่วทิศเพื่อประโยชน์แก่เจ้านาย
[๒๔๗] นรชนทั้งหลายผู้แสวงหาความสุข มีใจมุ่งหวังที่จะไปสวรรค์
จึงสละธัญญชาติ ทรัพย์สมบัติ และเครือญาติ
บาเพ็ญตบะอันเศร้าหมองแม้ตลอดกาลนาน ขึ้นสู่ทางผิด จึงแล่นไปสู่ทุคติ
[๒๔๘] ความหวังชื่อว่าก่อเรื่องคลาดเคลื่อน
นรชนเหล่านี้พากันตกนรกก็เพราะหวัง แน่ะแม่อาสา
เธอจงเลิกอาหารทิพย์ในตัวเธอเสีย คนเช่นเธอไม่สมควรแก่อาสนะและน้า
อาหารทิพย์ที่ไหนจักมี จงไปเสียเถิด อาตมาไม่ชอบใจเธอ
(โกสิยดาบสสนทนากับนางสัทธาเทพธิดาว่า)
[๒๔๙] เธอผู้มียศรุ่งเรือง อยู่ด้วยยศ เป็นเจ้าประจาทิศ
อาตมาขอถามเธอผู้มีนามอันน่าเกลียด แม่เทพธิดาผู้มีเรือนร่างประดุจหุ่นทองคา
โปรดบอกอาตมาเถิดว่า เธอเป็นเทพชั้นไหน
(ต่อจากนั้น นางสัทธาเทพธิดากล่าวว่า)
[๒๕๐] ดิฉันชื่อสัทธาเทวี ได้รับการบูชาจากหมู่มนุษย์
มีปกติไม่คบหาสัตว์ผู้มีใจชั่วทุกเมื่อ
มายังสานักของพระคุณเจ้าเพราะทะเลาะกันด้วยเรื่องอาหารทิพย์
พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ
ขอพระคุณเจ้าโปรดแบ่งอาหารทิพย์ให้ดิฉันบ้างเถิด
(โกสิยดาบสกล่าวว่า)
8
[๒๕๑] ก็ในกาลบางคราว มนุษย์ทั้งหลายยึดถือการให้ทานบ้าง
การฝึกฝนตนบ้าง การบริจาคบ้าง ความสารวมบ้าง กระทาไปด้วยศรัทธา
แต่มนุษย์พวกหนึ่งกลับถูกเธอ ชักนาผิดทาง จึงกระทาการขโมยบ้าง พูดเท็จบ้าง
คดโกงบ้าง พูดส่อเสียดบ้าง
[๒๕๒] บุรุษผู้มีความเพ่งเล็งภรรยาทั้งหลายของชายอื่น
ผู้เสมอเหมือนกัน ประกอบด้วยศีลบ้าง มีวัตรปฏิบัติต่อสามีบ้าง
กาจัดความพอใจแม้ในหญิงทั้งหลายที่เป็นกุลสตรีออกเสียแล้ว
กลับทาความศรัทธาในนางกุมภทาสี
[๒๕๓] แม่นางสัทธาเทพธิดา เธอนั้นแหละประพฤตินอกใจ
กระทาความชั่ว ละทิ้งความดี เทพธิดาเช่นเธอจึงไม่สมควรแก่อาสนะและน้า
อาหารทิพย์ที่ไหนจักมี จงไปเสียเถิด อาตมาไม่ชอบใจเธอ
(โกสิยดาบสสนทนากับนางหิรีเทพธิดาว่า)
[๒๕๔] ในที่สุดแห่งราตรี เมื่อยามรุ่งอรุณ
เทพธิดาผู้ปรากฏรูปพรรณอันอุดม
เธอปรากฏกับอาตมาเปรียบได้กับเทพธิดาผู้นั้น โปรดบอกอาตมาเถิดว่า
เธอเป็นเทพอัปสรชั้นไหน
[๒๕๕] เธอนั้นเป็ นใคร เหมือนเถาวัลย์ดาในฤดูร้อน เหมือนเปลวเพลิง
เหมือนดอกไม้มีกลีบสีแดง ที่โอนเอนไปมาเพราะถูกลมพัด
คล้ายแม่เนื้อตัวเซื่องซึมกาลังชะเง้อมอง ดูเหมือนมีความประสงค์จะกล่าว
แต่ก็ไม่เปล่งวาจา
(หิรีเทพธิดากล่าวว่า)
[๒๕๖] ดิฉันชื่อหิรีเทวี ได้รับการบูชาจากหมู่มนุษย์
มีปกติไม่คบหาสัตว์ผู้มีใจชั่วทุกเมื่อ
มายังสานักของพระคุณเจ้าเพราะทะเลาะกันด้วยเรื่องอาหารทิพย์
ดิฉันไม่อาจจะขอแม้อาหารทิพย์ได้ สาหรับหญิง
การขอเป็นเหมือนการเปิดเผยอวัยวะที่น่าละอาย
(โกสิยดาบสครั้นได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๒๕๗] แม่เทพธิดาผู้มีเรือนร่างอันงดงาม เธอจักได้ตามธรรม ตามเหตุ
เพราะว่าอาหารทิพย์ ใครๆ จะได้เพราะการขอหามิได้ นี้เป็นธรรมเนียม
เพราะฉะนั้น อาตมาพึงเชื่อเธอผู้ไม่ขอ เธอปรารถนาอาหารทิพย์ใด
อาตมาจะให้แม้อาหารทิพย์นั้นแก่เธอ
[๒๕๘] แม่เทพธิดาผู้มีเรือนร่างประดุจหุ่นทองคา วันนี้
อาตมาขอเชิญเธอในอาศรมของอาตมา ขอบูชาเธอด้วยรสทุกชนิด
แม้อาหารทิพย์นั้น อาตมาครั้นบูชาเธอแล้วจึงจักบริโภค
(พระบรมศาสดาตรัสพระคาถาต่อไปว่า)
9
[๒๕๙] หิรีเทวีเทพธิดานั้นได้รับอนุมัติอย่างแน่นอน
จากโกสิยดาบสผู้มีอานุภาพรุ่งเรือง จึงได้เข้าไปยังอาศรมอันน่ารื่นรมย์
มีน้ามีผลไม้อันท่านผู้ประเสริฐบูชาแล้ว
เป็นสถานที่ที่สัตว์ผู้มีใจชั่วไม่เข้าไปคบหาทุกเมื่อ
[๒๖๐] ณ ที่ใกล้อาศรมนี้มีหมู่ไม้นานาชนิด ผลิดอกออกผลจานวนมาก
คือ มะม่วง มะหาด ขนุน ทองกวาว มะรุม อีกทั้งโลดทะนง บัวบก การะเกด
จันทน์กระพ้อ และหมากหอมก็ผลิดอกบานสะพรั่ง
[๒๖๑] ในป่านี้มีต้นไม้จานวนมาก คือ สาละ กุ่ม หว้า โพธิ ไทร มะซาง
โศก ราชพฤกษ์ แคฝอย ย่านทราย จิก และลาเจียก มีกลิ่นหอมหวลน่ายวนใจ
[๒๖๒] ถั่วแระ อ้อยแขม ถั่วป่า มะพลับ ข้าวฟ่าง ลูกเดือย
ถั่วเหลืองเมล็ดเล็ก กล้วยมีเมล็ด กล้วยไม่มีเมล็ด ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ราชดัด
และข้าวสาร ก็มีจานวนมากในอาศรมนี้
[๒๖๓] อนึ่ง ด้านเหนือแห่งอาศรมนี้มีสระโบกขรณีเกิดขึ้นเอง
น่าเกษมสาราญ น้าไม่ขุ่น มีท่าราบเรียบ น้าใสสะอาด จืดสนิทดี ไม่มีกลิ่นปฏิกูล
[๒๖๔] ในสระโบกขรณีนั้นมีปลานานาชนิด คือ ปลาดุก ปลากระทุงเหว
ปลากราย กุ้ง ปลาตะเพียน ปลาสลาด และปลากา
ต่างพากันแหวกว่ายเกลื่อนกลาดอยู่ในสระที่มีขอบคัน อย่างร่าเริงเกษมสาราญ
ทั้งมีอาหารมากมาย
[๒๖๕] ที่สระโบกขรณีนั้นมีนกนานาชนิด คือ หงส์ นกกระเรียน นกยูง
นกจักรพราก นกออก นกดุเหว่า นกที่มีปีกสวยงาม นกมีหงอน
และนกโพระดกจานวนมากมาย ต่างพากันร่าเริงเกษมสาราญ
ทั้งมีอาหารมากมาย
[๒๖๖] ฝูงเนื้อนานาชนิดจานวนมาก คือ สิงโต เสือโคร่ง ช้าง หมี
หมาป่า และเสือดาว ต่างพากันมาดื่มน้าที่สระโบกขรณีนั้น
[๒๖๗] ณ ที่นั้นมีทั้งแรด โคลาน กระบือ ละมั่ง กวาง เนื้อทราย หมูป่า
ระมาด หมูบ้าน ชะมด เสือปลา กระต่าย และวัวกระทิงเป็ นจานวนมาก
[๒๖๘] ภาคพื้นและขุนเขาดารดาษไปด้วยดอกไม้อันงามวิจิตร
กึกก้องระงมไปด้วยเสียงฝูงนกขานขัน เป็นสถานที่ฝูงนกอยู่อาศัย
(พระบรมศาสดาเพื่อจะทรงแสดงอาการที่หิรีเทพธิดาเข้าไปในอาศรมนั้น
จึงตรัสว่า)
[๒๖๙] เทพธิดานั้นผู้มีผิวพรรณงดงาม ทัดทรงดอกไม้สีเขียว
เยื้องกรายเข้าไปยังอาศรม ประดุจสายฟ้ าในระหว่างกลุ่มมหาเมฆ
โกสิยดาบสได้จัดตั้งเก้าอี้ที่ทาด้วยหญ้าคา มีพนักถักไว้อย่างดี สะอาด มีกลิ่นหอม
10
ปูลาดด้วยหนังสัตว์เพื่อเทพธิดานั้น แล้วได้กล่าวคานี้กับหิรีเทวีเทพธิดาว่า
เชิญนั่งให้สบายเถิด แม่โฉมงาม นี่อาสนะ
[๒๗๐] ในกาลนั้น เมื่อนางหิรีเทวีนั้นนั่งบนเก้าอี้แล้ว
โกสิยมหามุนีผู้สวมชฎาและหนังเสือเหลือง
ได้รีบนาอาหารทิพย์พร้อมกับใช้ใบบัวสดตักน้ามา
เพื่อนางเทพธิดาผู้ปรารถนาตามความต้องการด้วยตนเอง
[๒๗๑] หิรีเทวีเทพธิดานั้นมีใจเบิกบาน
ประคองรับอาหารทิพย์นั้นด้วยมือทั้ง ๒ แล้วได้กล่าวกับโกสิยดาบสผู้เกล้าชฎาว่า
เอาเถิด พระมุนีผู้ประเสริฐ บัดนี้ ดิฉันเป็ นผู้ที่พระคุณเจ้ายอมบูชา
ได้รับชัยชนะแล้ว จะพึงกลับไปสู่สวรรค์ชั้นไตรทิพย์
[๒๗๒] เทพธิดานั้นผู้มัวเมาแล้วด้วยความมัวเมาในผิวพรรณ
อันโกสิยดาบสผู้มีอานุภาพรุ่งเรืองอนุญาตแล้ว
ได้ไปในสานักของท้าวสหัสสนัยน์แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่ท้าววาสวะ นี้อาหารทิพย์
ขอพระองค์ทรงประทานชัยชนะให้แก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า
[๒๗๓] แม้ท้าวสักกะก็ได้ทรงบูชาหิรีเทวีเทพธิดานั้น ในกาลนั้น
เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ ต่างพากันบูชานางสุรกัญญาผู้สูงสุด
เทพธิดานั้นเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประนมมือบูชา
ในกาลที่ตนเข้าไปนั่งเก้าอี้ตัวใหม่
(พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงทาข้อความนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสว่า)
[๒๗๔] ท้าวสหัสสนัยน์ผู้เป็นจอมแห่งเทพชั้นไตรทศ
ได้ตรัสกับมาตลีเทพสารถีนั้นอีกว่า ท่านจงไปถามโกสิยฤๅษีตามคาของเราว่า
ข้าแต่ท่านโกสิยะ เว้นเทพธิดาอาสา เทพธิดาสัทธาและเทพธิดาสิรีเสีย
เทพธิดาหิรีผู้เดียว ได้อาหารทิพย์แล้วเพราะเหตุไร
[๒๗๕] มาตลีเทพสารถีได้ขึ้นสู่เวชยันตราชรถอันรุ่งเรือง
เช่นกับเครื่องอุปกรณ์ มีหงอนอันสาเร็จด้วยทองชมพูนุท โชติช่วงดุจดวงตะวัน
ประดับตบแต่งอย่างงดงาม
มีประกายวิจิตรดังทองคาเลื่อนลอยไปได้โดยสะดวกสบาย
[๒๗๖] ณ ราชรถนี้มีรูปดวงจันทร์ รูปช้าง รูปโค รูปม้า รูปกินนร
รูปเสือโคร่ง รูปเสือเหลือง รูปเนื้อทรายทาด้วยทองคา ประชุมกันมากมาย
มีรูปนกทาท่าทางโผบินอยู่ในราชรถนี้
รูปมฤคาทาด้วยแก้วไพููรย์ประชุมกันเป็ นฝูงๆ ในราชรถนี้
[๒๗๗] ที่ราชรถนั้น เทพบุตรทั้งหลายได้เทียมอัศวราชที่มีผิวกาย
คล้ายทองคา มีพลังเช่นกับช้างหนุ่มประมาณ ๑,๐๐๐ เชือก ประดับตบแต่งแล้ว
มีเครื่องประดับอกคือข่ายทองคา มีพู่ห้อยหูทั้ง ๒ ข้าง
วิ่งไปได้ด้วยเสียงรวดเร็วไม่ติดขัด
11
[๒๗๘] มาตลีเทพสารถีขึ้นสู่ราชยานอันประเสริฐนั้น
ได้บันลือไปตลอดทิศทั้ง ๑๐ เหล่านี้ ยังท้องฟ้ า ภูเขา
ต้นไม้ใหญ่อันเป็นเจ้าแห่งป่าในไพรสณู์
และแผ่นดินพร้อมทั้งสมุทรสาครให้สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น
[๒๗๙] มาตลีเทพสารถีนั้นได้ไปถึงอาศรมโดยเร็วพลัน
กระทาผ้าปาวารเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ประนมมือแล้วได้กล่าวกับโกสิยเทวพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูตมีคุณอันเจริญ
มีวัตรอันฝึกฝนดีแล้วว่า
[๒๘๐] ท่านโกสิยะ ขอพระคุณเจ้าจงสดับถ้อยคาของพระอินทร์
ข้าพเจ้าเป็นทูต ท้าวปุรินททะตรัสถามพระคุณเจ้าว่า (ท่านโกสิยะ)
เว้นพระนางอาสาเทวี พระนางสัทธาเทวี และพระนางสิรีเทวีเสีย
พระนางหิรีเทวีผู้เดียวได้อาหารทิพย์แล้วเพราะเหตุไร
(โกสิยดาบสฟังคาของมาตลีเทพบุตรนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๒๘๑] มาตลีเทพสารถี ก็พระนางสิรีเทวี
ปรากฏกับอาตมาว่าเป็นคนตาบอด พระนางสัทธาเทวีเป็นคนไม่แน่นอน
ส่วนพระนางอาสาเทวีอาตมารู้ได้ว่าเป็นคนพูดจาเหลวไหล
แต่พระนางหิรีเทวีดารงอยู่ในคุณอันประเสริฐ
(โกสิยดาบสเมื่อจะสรรเสริญคุณของหิรีเทพธิดานั้น จึงกล่าวว่า)
[๒๘๒] หญิงใดๆ บางพวก คือ ๑. หญิงสาว ๒. หญิงที่โคตรตระกูลรักษา
๓. หญิงหม้าย ๔. หญิงมีสามี
เหล่านี้รู้ฉันทราคะของตนที่เกิดขึ้นอย่างแรงกล้าในบุรุษทั้งหลายแล้วหักห้ามจิตข
องตนเสียได้ด้วยหิริ
[๒๘๓] เมื่อเหล่านักรบผู้พ่ายแพ้ในสงคราม
ที่กาลังสู้รบด้วยลูกศรและหอก บางพวกกาลังล้มตาย บางพวกกาลังหนีไป
นักรบเหล่าใดสละชีวิตแล้วย่อมหวนกลับมาด้วยความละอาย
นักรบผู้มีความละอายใจเหล่านั้น จึงกลับมารับใช้เจ้านายได้อีก
(กล้าสู้หน้าเจ้านาย)
[๒๘๔] ก็หิรีเทวีเทพธิดานี้มีปกติห้ามชนผู้มีใจบาปเพราะมีหิริ
เปรียบเหมือนทานบมีปกติกั้นกระแสแห่งสาคร เทพสารถี เพราะเหตุนั้น
ท่านจงกราบทูลหิรีเทวีเทพธิดา
ซึ่งท่านผู้ประเสริฐบูชาแล้วในโลกทั้งปวงนั้นให้พระอินทร์ทราบ
(มาตลีเทพบุตรได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๒๘๕] ท่านโกสิยดาบส พระพรหมก็ตาม พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ก็ตาม
ท้าวปชาบดีก็ตาม ใครเล่าจะหยั่งถึงความเห็นของพระคุณเจ้านี้ได้
พระคุณเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
12
ก็พระธิดาของพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่เกิดได้รับยกย่องว่า
ประเสริฐสุดในหมู่เทพเพราะมีหิริ
(มาตลีเทพบุตรประสงค์จะนาโกสิยดาบสไปยังเทวโลก จึงกล่าวว่า)
[๒๘๖] เชิญเถิด เชิญพระคุณเจ้ามาขึ้นรถเหาะไป สู่สวรรค์ชั้นไตรทศ
ณ บัดนี้เถิด รถคันนี้น่าพอใจพระคุณเจ้าผู้มีโคตรเสมอกับพระอินทร์
แม้พระอินทร์ก็ทรงจานงหวังพระคุณเจ้าอยู่
ขอพระคุณเจ้าจงถึงความเป็นสหายกับพระอินทร์ในวันนี้เถิด
(พระบรมศาสดาตรัสว่า)
[๒๘๗] สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ทาบาปย่อมหมดจดด้วยอาการอย่างนี้ อนึ่ง
ผลกรรมที่ประพฤติดีแล้วจะไม่สูญหาย สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้เห็นอาหารทิพย์
สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดได้ถึงความเป็ นสหายกับพระอินทร์
[๒๘๘] หิรีเทวีเทพธิดาคือพระอุบลวรรณาเถรี
โกสิยฤๅษีคือภิกษุทานบดี ปัญจสิขเทพบุตรคืออนุรุทธเถระ
ส่วนมาตลีเทพสารถีคือพระอานนทเถระ
[๒๘๙] สุริยเทพบุตรคือพระมหากัสสปเถระ
จันทเทพบุตรคือพระมหาโมคคัลลานเถระ นารทดาบสคือพระสารีบุตรเถระ
ส่วนท้าวสักกะคือตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้แล
สุธาโภชนชาดกที่ ๓ จบ
-----------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
สุธาโภชนชาดก
ว่าด้วย ของกินอันเป็นทิพย์
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภภิกษุผู้มีอัธยาศัยในการบาเพ็ญทานรูปหนึ่ง
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเป็ นกุลบุตรคนหนึ่งในเมืองสาวัตถี
ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงออกบวช
กระทาศีลให้บริบูรณ์ ประกอบด้วยธุดงคคุณ
มีเมตตาจิตแผ่ไปในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
เป็นผู้ไม่ประมาทในการบารุงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ วันละ ๓ ครั้ง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมรรยาท มีอัธยาศัยชอบในการให้ทาน
ได้บาเพ็ญสาราณียธรรมจนครบบริบูรณ์แล้ว
ภิกษุรูปนั้นเมื่อปฏิคาหกทั้งหลายยังมีอยู่ ย่อมให้สิ่งของที่ตนได้แล้วจนหมดสิ้น
แม้ตนเองถึงกับอดอาหาร เพราะฉะนั้น เธอจึงได้ปรากฏในหมู่ภิกษุว่า
เป็นผู้มีอัธยาศัยในการจาแนกทาน ยินดียิ่งในทาน.
13
ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุชื่อโน้นเป็ นผู้มีอัธยาศัยในการจาแนกทาน
ยินดียิ่งแล้วในทาน ตัดความโลภเสียได้แล้ว
มีน้าประมาณเพียงซองมือหนึ่งที่ตนได้มา
ก็ถวายแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายจนหมด เธอมีอัธยาศัย ดุจพระโพธิสัตว์.
พระศาสดาทรงได้ยินถ้อยคานั้น ด้วยพระโสตธาตุเพียงดังทิพย์
จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไร.
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนี้เมื่อชาติก่อน เป็นผู้ไม่ให้ทานเป็ นประจา เป็นผู้ตระหนี่ ไม่ให้ของอะไรๆ
แก่ใครๆ แม้หยาดน้ามันด้วยปลายหญ้า ต่อมา
เราได้ทรมานเธอกระทาให้หมดพยศ พรรณนาผลแห่งทาน ให้ตั้งอยู่ในทานแล้ว
เธอได้รับพรในสานักแห่งเราว่า แม้ได้น้ามาเล็กน้อยเพียงซองมือหนึ่ง
ยังมิได้ให้ทานแล้ว ก็จักไม่ดื่มน้านั้น
ด้วยผลแห่งการที่ได้รับพรในสานักของเรานี้
เธอจึงเป็นผู้มีอัธยาศัยในการจาแนกทาน เป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในทาน.
ครั้นตรัสฉะนี้แล้ว ทรงดุษณีภาพนิ่งอยู่.
เมื่อพวกภิกษุผู้ฉลาดด้วยอนุสนธิในเรื่องเทศนาเหล่านั้น กราบทูลอาราธนา
จึงทรงนาอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ
ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็ นคฤหบดีคนหนึ่ง
เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติประมาณ ๘๐ โกฏิ. ภายหลัง
พระราชาได้ทรงพระราชทานตาแหน่งเศรษฐีแก่พระโพธิสัตว์นั้น
เศรษฐีนั้นได้เป็ นผู้อันพระราชาทรงบูชาแล้ว
และอันชาวเมืองชาวชนบทนับถือบูชาแล้ว. วันหนึ่ง เธอแลดูสมบัติของตนแล้ว
คิดว่า ยศนี้เรามิได้นอนหลับอยู่ได้แล้ว
หรือว่าเราทากายทุจริตเป็นต้นไว้ในอดีตภพแล้วได้มา ก็หามิได้
เราบาเพ็ญกายสุจริตเป็นต้นให้บริบูรณ์แล้วจึงได้มา แม้ในอนาคตกาลเล่า
เราก็ควรจะกระทาที่พึ่งของเรา เธอจึงไปยังสานักของพระราชากราบทูลว่า
ขอเดชะ ทรัพย์ในเรือนของข้าพระองค์มีอยู่ถึง ๘๐ โกฏิ
ขอพระองค์จงรับทรัพย์นั้นไว้ เมื่อพระราชาตรัสสั่งว่า
เราไม่มีความต้องการทรัพย์ของท่าน ทรัพย์ของเราก็มากมายอยู่แล้ว ตั้งแต่นี้ไป
ท่านปรารถนาสิ่งใด ก็จงถือเอาสิ่งนั้นเถิด. จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ
ข้าพระองค์จะได้ให้ทรัพย์ของข้าพระองค์เป็นประโยชน์อย่างไรดีหนอ. ลาดับนั้น
พระราชาจึงตรัสว่า ท่านจงกระทาตามความพอใจเถิด ดังนี้
14
เธอจึงให้สร้างศาลาทานขึ้น ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง
ที่ท่ามกลางพระนคร ๑ แห่ง และที่ประตูเรือนของตน ๑ แห่ง
กระทาการบริจาคทรัพย์วันละหกแสน บาเพ็ญมหาทานอยู่ทุกๆ วัน
เธอให้ทานอยู่อย่างนี้จนตลอดชีวิต แล้วสั่งสอนพวกลูกๆ ว่า
เจ้าอย่าได้ตัดทานวงศ์นี้ของเราเสีย
ครั้นสิ้นชีวิตแล้วได้ไปบังเกิดเป็นท้าวสักกเทวราช
แม้บุตรของเศรษฐีนั้นก็ให้ทานเหมือนบิดาฉะนั้น
ครั้นทาลายขันธ์ก็ไปบังเกิดเป็นพระจันทเทพบุตร
บุตรของพระจันทเทพบุตรก็บาเพ็ญทานเหมือนบิดา
ได้บังเกิดเป็นสุริยเทพบุตรแล้ว บุตรแห่งสุริยเทพบุตรนั้นบาเพ็ญทานเหมือนบิดา
ก็ได้บังเกิดเป็นพระมาตลีเทพบุตร บุตรแห่งพระมาตลี ก็บาเพ็ญทานเหมือนบิดา
บังเกิดเป็นปัญจสิขเทพบุตร.
ส่วนบุตรคนที่ ๖
แห่งปัญจสิขเทพบุตรนั้นได้เป็นเศรษฐีมีนามว่า มัจฉริยโกสิยะ มีทรัพย์สมบัติถึง
๘๐ โกฏิ เศรษฐีนั้นเป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มานึกว่า
บิดาและปู่ของเราเป็ นคนพาล ทิ้งทรัพย์ที่แสวงหามาด้วยความลาบากเสียแล้ว
ส่วนเราจักรักษาทรัพย์ไว้ จักไม่ให้อะไรๆ แก่ใครๆ เลย จึงให้รื้อโรงทานทั้ง
๖ แห่งนั้น เผาไฟเสียสิ้น. ลาดับนั้น
พวกยาจกมาประชุมกันที่ประตูเรือนของเศรษฐีนั้น
ยกแขนทั้งสองขึ้นร้องคร่าครวญ ด้วยเสียงอันดังว่า ข้าแต่มหาเศรษฐี
ขอท่านจงอย่ากระทาทานวงศ์แห่งบิดาและปู่ของตนให้ฉิบหายเสียเลย
ท่านจงให้ทานเถิด. มหาชนได้ยินก็พากันติเตียนเศรษฐีนั้นว่า
มัจฉริยโกสิยเศรษฐีตัดทานวงศ์ของตนเสียแล้ว
เศรษฐีนั้นก็มีความละอายได้ตั้งคนรักษาไว้ เพื่อคอยห้ามยาจกผู้มาที่ประตูเรือน
พวกยาจกเหล่านั้นหมดที่พึ่ง ก็มิได้มองดูประตูเรือนของเศรษฐีนั้นอีกเลย
จาเดิมแต่นั้นมา เขาก็รวบรวมทรัพย์เองทีเดียว ไม่บริโภคด้วยตนเอง
ทั้งไม่ให้บุตรและภรรยาเป็นต้นบริโภคอีกด้วย
ตนเองบริโภคข้าวปลายเกรียนปนรา มีน้าส้มพะอูมเป็นกับข้าว
นุ่งผ้าเนื้อหยาบที่ช่างหูกทอ สักว่าเป็นดังรากไม้ผลไม้ กั้นร่มใบตาล
ใช้รถเก่าคร่าคร่า เทียมด้วยโคแก่เป็นยานพาหนะ
ทรัพย์อันเป็นของเศรษฐีผู้เป็นอสัตบุรุษนั้น ได้เป็นดังสุนัขได้ผลมะพร้าว
ด้วยประการฉะนี้.
วันหนึ่ง มัจฉริยโกสิยเศรษฐีนั้น เมื่อจะไปสู่ที่เฝ้ าพระราชา คิดว่า
เราจะไปชวนอนุเศรษฐีไปด้วย จึงได้ไปยังเรือนของอนุเศรษฐีนั้น ในขณะนั้น
อนุเศรษฐีแวดล้อมด้วยบุตรธิดา กาลังบริโภคข้าวปายาสที่ปรุง
15
ด้วยของที่เจือด้วยเนยใสใหม่ น้าผึ้งสุกและน้าตาลกรวด อนุเศรษฐีนั้น
ครั้นเห็นมัจฉริยโกสิยเศรษฐีมาจึงลุกจากอาสนะ กล่าวว่า
เชิญท่านมหาเศรษฐีมานั่งที่บัลลังก์นี้ เชิญบริโภคข้าวปายาสด้วยกัน
มหาเศรษฐีพอเห็นข้าวปายาสนั้น ก็เกิดน้าลายไหล อยากจะใคร่บริโภคบ้าง
แต่มาคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราบริโภค เราก็จะต้องกระทาสักการะตอบแทน
ในเวลาที่อนุเศรษฐีไปยังเรือนของเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ทรัพย์ของเราก็จักพินาศ
เราจักไม่บริโภคละ.
ลาดับนั้น มหาเศรษฐี แม้ถูกอนุเศรษฐีอ้อนวอนอยู่บ่อยๆ
จึงกล่าวกะอนุเศรษฐีนั้นว่า เราเพิ่งบริโภคมาเดี๋ยวนี้เอง เรายังอิ่มอยู่
แล้วมิได้ปรารถนาจะบริโภค แต่เมื่ออนุเศรษฐีบริโภคอยู่ มหาเศรษฐีนั่งมองดูอยู่
มีน้าลายไหลออกจากปาก เมื่อเสร็จภัตกิจของอนุเศรษฐี
จึงไปยังพระราชนิเวศน์ด้วยกัน กลับจากพระราชนิเวศน์มาถึงเรือนของตน
ถูกความอยากในรสแห่งข้าวปายาสบีบคั้นอยู่ จึงคิดว่า ถ้าเราจักพูดว่า
เราอยากบริโภคข้าวปายาส มหาชนก็จะพลอยอยากบริโภคกับเราด้วย
สิ่งของเป็นอันมากมีข้าวสารเป็นต้น ก็จักหมดเปลืองไป เราจักไม่บอกแก่ใครๆ
มหาเศรษฐีนั้นคิดถึงแต่ข้าวปายาสอยู่อย่างเดียว ทาคืนและวันให้ล่วงไป
มิได้บอกแก่ใครๆ เพราะกลัวทรัพย์จะหมด อดกลั้นความอยากไว้
เมื่อไม่อาจจะอดกลั้นโดยลาดับได้ ก็เป็ นผู้มีโรคผอมเหลืองเกิดขึ้น
แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ มหาเศรษฐีก็ไม่บอกใครเพราะกลัวทรัพย์จะหมดไป
ในเวลาต่อมา ก็เป็นผู้หมดกาลัง จึงเข้าไปสู่ที่นอน แล้วแอบซ่อนนอนอยู่.
ลาดับนั้น ภรรยาจึงเข้าไปใกล้มหาเศรษฐีนั้น แล้วเอามือบีบนวด
พลางถามว่า ข้าแต่นาย ท่านไม่สบายเป็นอะไรไปหรือ. ไม่เป็นอะไรหรอก
นางผู้เจริญ. ความไม่สบายในร่างกายของท่านเองมีอยู่หรือ.
ความไม่สบายในร่างกายของเราก็ไม่มี. ข้าแต่นาย
ท่านเป็ นผู้ผอมเหลืองเกิดขึ้นแล้ว ท่านมีความคิดอะไรบ้างหรือ
หรือว่าพระราชากริ้วท่าน หรือพวกลูกๆ กระทาการดูหมิ่น
หรือความอยากอะไรบังเกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน. เออ ความอยากเกิดขึ้นแล้วแก่เรา.
ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงบอกมาเถิด. ท่านจักอาจรักษาถ้อยคาของเราไว้ได้หรือ.
ถ้าเป็นวาจาที่ข้าพเจ้าควรจะรักษา ข้าพเจ้าก็จักรักษาไว้.
แม้เมื่อภรรยากล่าวรับรองอยู่อย่างนี้ มหาเศรษฐีก็ไม่อาจจะบอกได้
เพราะกลัวเสียทรัพย์.
ครั้นถูกภรรยารบเร้าอยู่บ่อยๆ จึงได้บอกว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ วันหนึ่ง
เราเห็นอนุเศรษฐีบริโภคข้าวปายาสที่ปรุงด้วยของอันเจือด้วยเนยใสใหม่ น้าผึ้ง
น้าตาลกรวด. จาเดิมแต่วันนั้นมา ก็เกิดอยากจะบริโภคข้าวปายาสอย่างนั้นบ้าง.
ดูก่อนท่านผู้เป็นอสัตบุรุษ ตัวท่านยากจนนักหรือ ข้าพเจ้าจักหุงข้าวปายาส
16
ให้เพียงพอแก่ชาวพระนครทั้งสิ้น คราวนั้น ได้เป็นดุจดังว่า
กาลที่มหาเศรษฐีถูกตีที่ศีรษะด้วยท่อนไม้ เขาโกรธภรรยามาก กล่าวว่า
เรารู้อยู่ว่าท่านเป็นผู้มีทรัพย์มาก ถ้าว่าทรัพย์ที่นามาจากเรือนสกุลของท่านมีอยู่
ท่านจงหุงข้าวปายาสแจกแก่ชาวเมืองทั้งหลายเถิด ถ้าเช่นนั้น
ข้าพเจ้าจะหุงให้พอแก่ชาวบ้านผู้อยู่ในถนนเดียวกัน.
ประโยชน์อะไรด้วยชนเหล่านั้นแก่ท่าน พวกเขาก็จงกินของของตนเองซิ.
ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะหุงให้พอแก่ชนผู้อยู่รอบเรือนข้างละเจ็ดๆ ตั้งแต่เรือนนี้ไป.
ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยชนเหล่านั้น. ถ้าอย่างนั้น
ข้าพเจ้าจะหุงให้เฉพาะท่านและข้าพเจ้าเพียงสองคนเท่านั้น. ตัวท่านเป็นอะไรเล่า
ข้าวปายาสนี้ไม่สมควรแก่ท่าน. ครั้นภรรยากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น
ข้าพเจ้าจะหุงให้พอแก่ท่านคนเดียวเท่านั้น.
มหาเศรษฐีจึงกล่าวว่า ก็ถ้าท่านจะหุงเฉพาะเราคนเดียวแล้ว
จงอย่าหุงในเรือนนี้เลย ด้วยว่าเมื่อท่านหุงในเรือนนี้
ชนมากมายก็คอยหวังจะบริโภค ก็ท่านจงเอาแป้ งข้าวสารของเรา แบ่งออกเป็น ๔
ส่วน น้าตาลกรวดสักหยิบมือหนึ่ง นมเนยและน้าผึ้งอย่างละขวด
กับภาชนะสาหรับหุงใบหนึ่งให้แก่เรา เราจักเข้าไปสู่ป่า หุงในที่นั้นแล้วบริโภค
ภรรยาได้กระทาตามคาสั่งทุกประการ เศรษฐีให้คนใช้เอาผ้าห่อของนั้นทั้งหมด
แล้วให้ถือไปส่ง แล้วกล่าวว่า เจ้าจงไปยืนอยู่ในที่โน้น
ส่งคนใช้ไปข้างหน้าแล้วไปแต่ผู้เดียว
เอาผ้าคลุมแปลงเพศไม่ให้ใครรู้จักไปถึงที่ป่านั้น
ให้คนใช้ทาเตาที่โคนกอไม้แห่งหนึ่งริมแม่น้า ให้หาฟื นและน้ามาแล้วบอกว่า
เจ้าจงไปยืนอยู่ที่หนทางแห่งหนึ่ง ถ้าเห็นใครๆ มาพึงให้สัญญาแก่เรา อนึ่ง
เมื่อเวลาที่เราร้องเรียกเจ้าจึงค่อยมา ส่งคนใช้ไปแล้ว จึงติดไฟหุงข้าวปายาส.
ในขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงทอดพระเนตร
สิริสมบัติของพระองค์อย่างนี้คือ เทพนครอันประดับแล้วประมาณหมื่นโยชน์
ถนนแล้วด้วยทองคาหกสิบโยชน์ เวชยันตปราสาทสูงพันโยชน์
สุธรรมาสภากว้างห้าร้อยโยชน์ อาสน์หินอ่อนมีสีเหลือง
ดุจผ้ากัมพลเหลืองกว้างใหญ่หกสิบโยชน์
เศวตฉัตรมีพวงดอกไม้ทองเวียนรอบห้าร้อยโยชน์
นางเทพอัปสรนับได้สองโกฏิครึ่ง และอัตภาพอันประดับตกแต่งแล้ว
ครั้นทรงเห็นฉะนี้ จึงใคร่ครวญว่า ยศนี้เราได้มาเพราะกระทาอะไรหนอ
จึงได้ทรงเห็นทานที่พระองค์บาเพ็ญให้เป็นไป เมื่อเป็ นเศรษฐีในเมืองพาราณสี
ในลาดับนั้น จึงทรงตรวจดูต่อไปว่า
ชนทั้งหลายมีบุตรของเราเป็ นต้นเกิดแล้วในที่ไหน
ได้ทอดพระเนตรเห็นที่เกิดของชนทั้งปวง
17
คือบุตรของเราได้เกิดเป็นจันทเทพบุตร บุตรของจันทเทพบุตรเกิดเป็นสุริยะ
บุตรของสุริยะเกิดเป็นมาตลี บุตรของมาตลีเกิดเป็นปัญจสิขคันธัพพเทพบุตร
จึงทรงตรวจดูต่อไปว่า บุตรของปัญจสิขเทพบุตรเป็นเช่นไร
ก็ได้ทรงเห็นบุตรของปัญจสิขเทพบุตร เป็ นผู้เข้าไปตัดวงศ์ทานของพระองค์เสีย.
ลาดับนั้น พระองค์จึงทรงปริวิตกว่า ผู้นี้เป็ นอสัตบุรุษ เป็ นผู้ตระหนี่
มิได้บริโภคด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้แก่ชนเหล่าอื่นด้วย เข้าไปตัดทานวงศ์ของเราเสีย
ทากาลกิริยาแล้ว จักไปบังเกิดในนรก เราจักให้โอวาทแก่เขา
จักให้ประดิษฐานทานวงศ์ของเราต่อไป
จักทาเหตุอันจะให้เขามาเกิดในเทพนครนี้
ท้าวเธอจึงให้เรียกจันทเทพบุตรเป็นต้นมา แล้วจึงมีบัญชาสั่งว่า เธอทั้งหลายจงมา
เราจักไปยังมนุษยโลกด้วยกัน
มัจฉริยโกสิยเศรษฐีเข้าไปตัดวงศ์ของพวกเราเสียแล้ว ให้เผาโรงทานเสียสิ้น
ตนเองก็ไม่บริโภค พวกชนเหล่าอื่นก็ไม่ให้เขาเลย
ก็บัดนี้เขาเป็นผู้ใคร่จะบริโภคข้าวปายาส คิดว่า เมื่อหุงข้าวปายาสในเรือน
ก็จะต้องให้ข้าวปายาสแก่คนอื่นบ้าง จึงเข้าป่าหุงกินแต่คนเดียว
เราจักทรมานเศรษฐีนี้ กระทาให้รู้จักผลของทานแล้วจักกลับมา ก็แต่ว่าเศรษฐีนี้
เมื่อถูกพวกเราทั้งหมดขออยู่พร้อมๆ กัน ก็จะพึงตายเสียในที่นั้นทีเดียว
ในเวลาที่เราไปขอข้าวปายาสนั่งอยู่ก่อนแล้ว
พวกท่านพึงแปลงเป็ นพราหมณ์ไปขอโดยลาดับเถิด ครั้นสั่งแล้ว
ท้าวเธอก็เนรมิตเพศเป็นพราหมณ์เข้าไปหาเศรษฐีนั้นก่อน แล้วถามว่า
หนทางที่จะไปยังเมืองพาราณสีไปทางไหน ท่านผู้เจริญ.
ลาดับนั้น มัจฉริยโกสิยเศรษฐีจึงกล่าวกะท้าวเธอว่า
ท่านเป็นคนบ้าหรือ จึงไม่รู้จัก แม้จนกระทั่งทางไปเมืองพาราณสี
จะมาทาอะไรทางนี้เล่า จงไปทางโน้นซิ. ท้าวสักกะทรงสดับถ้อยคาของเขาแล้ว
ทาเป็นเหมือนไม่ได้ยิน ตรัสถามว่า ท่านพูดว่าอย่างไร
แล้วก็เดินกระเถิบเข้าไปใกล้เขาอีก แม้เศรษฐีนั้นก็ร้องตะโกนว่า
แน่ะพราหมณ์หูหนวกคนร้าย ท่านจะมาทาไมทางนี้เล่า จงไปข้างหน้าซิ.
ลาดับนั้น ท้าวสักกะจึงกล่าวกะเขาว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านร้องเอะอะทาไม
ควันและไฟยังปรากฏอยู่ ท่านคงหุงข้าวปายาสสุกแล้ว ชะรอยว่า
คงจะนิมนต์พราหมณ์ทั้งหลายมาฉันในที่นี้ ในเวลาที่พวกพราหมณ์ฉันแล้ว
แม้ข้าพเจ้าก็จักพลอยได้บริโภคสักหน่อยหนึ่ง ท่านไม่นิมนต์ข้าพเจ้าบ้างหรือ.
เศรษฐีตอบว่า การนิมนต์พวกพราหมณ์ในที่นี้ไม่มีเลย ท่านจงไปข้างหน้าเถิด.
ท้าวสักกะจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านโกรธข้าพเจ้าทาไม
ในเวลาที่ท่านบริโภคแล้ว ข้าพเจ้าก็คงจักได้บริโภคบ้างสักเล็กน้อย.
ลาดับนั้น เศรษฐีหมายเอาอาหารที่ตนขอภรรยาได้มาแล้ว
18
จึงกล่าวกะท้าวสักกะนั้นว่า ข้าพเจ้าจักไม่ให้แม้เพียงเมล็ดเดียวแก่ท่าน
ภัตนี้มีน้อย พอข้าพเจ้าบริโภคเพียงคนเดียวเท่านั้น. อนึ่ง
ก็ภัตนี้ข้าพเจ้าก็ต้องขอเขาจึงได้มา ท่านจงแสวงหาอาหารของท่านจากที่อื่นเถิด
แล้วกล่าวคาถาว่า
ข้าพเจ้าจะไม่ซื้อ จะไม่ขาย อนึ่ง แม้ความสั่งสมของข้าพเจ้า
ในที่นี้ก็ไม่มีเลย ภัตนี้มีนิดหน่อย ทั้งหาได้แสนยากยิ่งนัก ข้าวสุกแล่งหนึ่งนี้
หาพอแก่เราสองคนไม่.
ท้าวสักกะได้ทรงสดับคานั้น จึงรับสั่งว่า
ข้าพเจ้าจักกล่าวโศลกสักบทหนึ่ง ด้วยเสียงอันไพเราะให้ท่าน
ขอท่านจงฟังโศลกคาถาสรรเสริญคุณนั้น
เมื่อเศรษฐีนั้นกาลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ทีเดียวว่า
ข้าพเจ้ามิได้มีความต้องการด้วยโศลกคาถาสรรเสริญของท่าน.
ท้าวเธอก็ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า
บุคคลควรแบ่งของน้อยให้ตามน้อย
ควรแบ่งของส่วนกลางให้ตามส่วนกลาง ควรแบ่งของมากให้ตามมาก
การไม่ให้เสียเลยหาควรไม่ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุฉะนั้น
ข้าพเจ้าจะบอกกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางของพระอริยเจ้า
จงให้ทานและจงบริโภค เพราะผู้บริโภคคนเดียว หาได้ความสุขไม่.
มัจฉริยโกสิยเศรษฐีสดับคาของท้าวสักกะนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านพูดจาน่าพอใจมาก เมื่อข้าวปายาสสุกแล้ว
ท่านจักได้หน่อยหนึ่ง ท่านจงนั่งลงเถิด. ท้าวสักกะจึงนั่งลง ณ
สถานที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท้าวสักกะนั่งแล้ว
จันทเทพบุตรจึงเข้าไปใกล้เศรษฐีโดยทานองนั้นทีเดียว
ยังถ้อยคาให้เป็นไปเหมือนอย่างนั้น.
เมื่อเศรษฐีนั้นคัดค้านห้ามปรามอยู่ ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า
บุคคลใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะอยู่แต่ผู้เดียว
พลีกรรมของบุคคลผู้นั้น ย่อมไร้ผล ทั้งความเพียรแสวงหาทรัพย์ ก็ไร้ประโยชน์
ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะขอบอกกะท่าน
ท่านจงขึ้นสู่หนทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานและบริโภค
เพราะผู้บริโภคคนเดียว หาได้ความสุขไม่.
เศรษฐีฟังคาของจันทเทพบุตรนั้นแล้ว
ก็ได้กล่าวถ้อยคาอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วจึงพูดด้วยความลาบากยากแค้นว่า
ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนั่งลงเถิด ท่านจักได้หน่อยหนึ่ง.
จันทเทพบุตรไปนั่งในสานักของท้าวสักกะ. ในลาดับนั้น
19
สุริยเทพบุตรจึงเข้าไปบอกเศรษฐีนั้น โดยทานองนั้นเหมือนกัน
แล้วจึงกล่าวเหมือนอย่างนั้น
เมื่อเศรษฐีนั้นกาลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ทีเดียว
ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า
ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว มิได้บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว
พลีกรรมของผู้นั้นย่อมมีผลจริง ทั้งความเพียรแสวงหาทรัพย์
ก็ย่อมมีประโยชน์โดยแท้ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจะขอกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางของพระอริยเจ้า
จงให้ทานและจงบริโภค เพราะผู้บริโภคคนเดียว หาได้ความสุขไม่.
เศรษฐีได้สดับคาของสุริยเทพบุตรนั้นแล้ว
จึงพูดด้วยความลาบากยากเย็นว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนั่งลงเถิด จักได้หน่อยหนึ่ง
สุริยเทพบุตรนั้นจึงไปนั่งในสานักจันทเทพบุตร. ลาดับนั้น
มาตลีเทพบุตรจึงเข้าไปหาเศรษฐีนั้น โดยอุบายอุบายอย่างเดียวกันนั้นแล
แล้วกล่าวถ้อยคาเหมือนอย่างนั้น
เมื่อเศรษฐีนั้นกาลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ทีเดียว
ก็ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ก็บุรุษไปสู่สระแล้วบูชาที่แม่น้าชื่อพหุกาก็ดี ที่สระชื่อคยาก็ดี
ที่ท่าชื่อโทณะก็ดี ที่ท่าชื่อติมพรุก็ดี ที่ห้วงน้าใหญ่ มีกระแสอันเชี่ยวก็ดี
การบูชาและความเพียรของเขาในที่นั้นๆ ย่อมมีผลมีกาไรได้ ผู้ใด
เมื่อแขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่คนเดียว จะกล่าวว่า ไร้ผลนั้นไม่ได้
ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะขอพูดกะท่าน
ท่านจงขึ้นสู่หนทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย
เพราะผู้กินคนเดียว หาได้ความสุขไม่.
เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้นว่า
บุรุษใดคิดว่า เราจักกระทาพลีกรรมแก่นาคและยักษ์เป็นต้น
จึงเข้าไปสู่สระแห่งใดแห่งหนึ่ง ในบรรดาสมุทร แอ่งและสระโบกขรณีเป็ นต้น
แล้วบูชาอยู่ กระทาพลีกรรมอยู่ในที่นั้นๆ อนึ่ง บุคคลบูชาอยู่ที่แม่น้าชื่อพหุกา
ที่สระโบกขรณีชื่อคยา หรือที่ท่าโทณะก็ดี ที่ท่าชื่อติมพรุก็ดี
หรือที่ห้วงน้าใหญ่มีกระแสอันเชี่ยวก็ดี.
เศรษฐีสดับคาของมาตลีเทพบุตรนั้นแล้ว ประหนึ่งถูกยอดภูเขาทับ
จึงพูดด้วยความลาบากใจว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนั่งลงเถิด จักได้หน่อยหนึ่ง
มาตลีเทพบุตรจึงไปนั่งในที่ใกล้กับสุริยเทพบุตร. ในลาดับนั้น
ปัญจสิขเทพบุตรจึงเข้าไปหาเศรษฐีโดยทานองนั้นอีก
แล้วกล่าวถ้อยคาเหมือนอย่างนั้น
เมื่อเศรษฐีกาลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ทีเดียว จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

More Related Content

Similar to 535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
maruay songtanin
 
470 โกสิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
470 โกสิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx470 โกสิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
470 โกสิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒Tongsamut vorasan
 
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
422 เจติยราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
422 เจติยราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...422 เจติยราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
422 เจติยราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
248 กิงสุโกปมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
248 กิงสุโกปมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...248 กิงสุโกปมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
248 กิงสุโกปมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
maruay songtanin
 
453 มหามังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
453 มหามังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...453 มหามังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
453 มหามังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
maruay songtanin
 

Similar to 535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
264 มหาปนาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๖๓. จูฬรถวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
470 โกสิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
470 โกสิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx470 โกสิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
470 โกสิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
 
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
422 เจติยราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
422 เจติยราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...422 เจติยราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
422 เจติยราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
248 กิงสุโกปมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
248 กิงสุโกปมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...248 กิงสุโกปมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
248 กิงสุโกปมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
292 สุปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
 
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
 
453 มหามังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
453 มหามังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...453 มหามังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
453 มหามังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
 

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 

535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ๓. สุธาโภชนชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๕) ว่าด้วยอาหารทิพย์ (โกสิยเศรษฐีกราบทูลท้าวสักกะว่า) [๑๙๒] ของนี้ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ซื้อมา ทั้งไม่ได้ขายและไม่ได้สะสมไว้ในที่นี้ มีอยู่เพียงนิดหน่อย ได้มาแสนยาก ข้าวสุกแล่งหนึ่งไม่เพียงพอสาหรับคนสองคน (ท้าวสักกะได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า) [๑๙๓] บุคคลควรให้แต่น้อยจากของที่มีน้อย ควรให้พอปานกลางจากของที่มีพอปานกลาง ควรให้มากจากของที่มีมาก ชื่อว่าการไม่ให้ย่อมไม่ควร [๑๙๔] ท่านโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข (เมื่อท้าวสักกะประทับนั่ง จันทเทพบุตรจึงเข้าไปหาโกสิยเศรษฐีแล้ว กล่าวว่า) [๑๙๕] ผู้ใดเมื่อแขกนั่งอยู่แล้วยังบริโภคอาหารแต่ผู้เดียว การบูชาของผู้นั้นเป็ นโมฆะ แม้ความบากบั่นแสวงหาทรัพย์ของเขาก็เป็นโมฆะ [๑๙๖] ท่านโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข (ต่อจากนั้นสุริยเทพบุตรเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า) [๑๙๗] ผู้ใดเมื่อแขกนั่งอยู่แล้วไม่บริโภคอาหารแต่ผู้เดียว การบูชาของผู้นั้นย่อมมีผล แม้ความบากบั่นแสวงหาทรัพย์ของเขาก็มีผล [๑๙๘] ท่านโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข (ต่อจากนั้น มาตลีเทพบุตรเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า) [๑๙๙] ก็บุคคลใดเข้าไปยังแหล่งน้าบางแห่ง แล้วบูชาที่แม่น้าหลายสายบ้าง ที่สระโบกขรณีชื่อว่าคยาบ้าง ที่ท่าน้าชื่อโทณะและท่าน้าชื่อติมพรุบ้าง ที่ห้วงน้าใหญ่อันมีกระแสเชี่ยวบ้าง
  • 2. 2 [๒๐๐] ผู้ใดเมื่อแขกนั่งอยู่แล้วไม่บริโภคอาหารแต่ผู้เดียว การบูชาของเขาในที่นั้น และความบากบั่นแสวงหาทรัพย์ของเขาในที่นั้นย่อมมีผล [๒๐๑] ท่านโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข (ต่อจากนั้น ปัญจสิขเทพบุตรเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า) [๒๐๒] ส่วนผู้ใดเมื่อแขกนั่งอยู่แล้วยังบริโภคอาหารแต่ผู้เดียว ผู้นั้นชื่อว่ากลืนเบ็ดพร้อมทั้งเหยื่อที่มีสายยาว [๒๐๓] ท่านโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข (โกสิยเศรษฐีเห็นฤทธิ์ของพราหมณ์เหล่านั้น จึงถามว่า) [๒๐๔] พราหมณ์เหล่านี้มีผิวพรรณงามจริงหนอ เพราะเหตุอะไร สุนัขของพวกท่านจึงเปลี่ยนสีได้ต่างๆ นานา ข้าแต่ท่านพราหมณ์ทั้งหลาย ขอท่านจงบอกข้าพเจ้า พวกท่านเป็ นใครกัน (ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า) [๒๐๕] เหล่าเทพที่มา ณ ที่นี้ คือ จันทเทพบุตรและสุริยเทพบุตรทั้ง ๒ ส่วนผู้นี้คือมาตลีเทพสารถี เราคือท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพชั้นไตรทศ และผู้นี้ชื่อว่าปัญจสิขเทพบุตร (ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะทรงสรรเสริญยศของปัญจสิขเทพบุตรนั้น จึงตรัสว่า) [๒๐๖] เสียงปรบมือ ๑ ตะโพน ๑ กลอง ๑ เปิงมาง ๑ ย่อมปลุกเทพบุตรผู้หลับแล้วนั้นให้ตื่นขึ้น เทพบุตรผู้ตื่นขึ้นแล้วย่อมร่าเริงยินดี [๒๐๗] คนผู้ตระหนี่เห็นแก่ตัวเหล่านี้ บางพวกมักด่าว่าสมณะและพราหมณ์ เมื่อทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วย่อมไปสู่นรก [๒๐๘] คนผู้หวังสุคติเหล่านี้ บางพวกดารงอยู่ในธรรม คือ ความสารวมและการจาแนกทาน เมื่อทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วย่อมไปสู่สุคติ [๒๐๙] ท่านเป็นญาติของพวกเราเมื่อชาติก่อน แต่ท่านนั้นเป็นคนตระหนี่ มักโกรธ มีธรรมเลวทราม พวกเรามาที่นี้ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง ท่านอย่ามีธรรมอันเลวทรามไปตกนรกเลย (โกสิยเศรษฐีได้ฟังดังนั้นมีจิตยินดี จึงกล่าวว่า)
  • 3. 3 [๒๑๐] พวกท่านหวังเกื้อกูลข้าพเจ้าอย่างแน่นอน จึงได้พร่าสอนข้าพเจ้า ข้าพเจ้านั้น จะทาตามที่พวกท่านผู้หวังเกื้อกูลกล่าวทุกประการ [๒๑๑] ตั้งแต่วันนี้ไป ข้าพเจ้านั้นจะของดเว้น จะไม่กระทาบาปอะไรๆ อีก อนึ่ง วัตถุอะไรๆ ที่ไม่ให้จะไม่มีแก่ข้าพเจ้า แม้แต่น้าข้าพเจ้ายังไม่ได้ให้แล้ว ก็จะไม่ยอมดื่ม [๒๑๒] ข้าแต่ท้าววาสวะ ก็เมื่อข้าพเจ้าให้อยู่ตลอดกาลทั้งปวงอย่างนี้ ถึงโภคะทั้งหลายของข้าพเจ้าจักหมดสิ้นไป ข้าแต่ท้าวสักกะ ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าจะละกามทั้งหลายตามที่มีอยู่แล้วจักบวช (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๒๑๓] เทพธิดาเหล่านั้นอันท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ทรงอภิบาลแล้วบันเทิงอยู่ ณ ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็ นภูเขาอันประเสริฐสูงสุด ครั้งนั้น ฤๅษีผู้ประเสริฐสามารถจะไปได้ทั่วโลก ได้ถือเอาช่อดอกไม้อันประเสริฐมีดอกบานสะพรั่งเดินมา [๒๑๔] ก็ดอกไม้นั้นสะอาด มีกลิ่นหอม อันเหล่าเทพชั้นไตรทศสักการะ เป็นดอกไม้สูงสุด อันท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าอมรเทพทรงใช้สอย ซึ่งพวกมนุษย์หรือพวกอสูรไม่ได้แล้ว เว้นไว้แต่พวกเทวดา เป็นดอกไม้ที่สมควรแก่เทวดาเหล่านั้น [๒๑๕] ลาดับนั้น เทพนารีทั้ง ๔ นางผู้มีผิวพรรณประดุจทองคา เป็นใหญ่กว่าเทพธิดาทั้งหลาย คือ ๑. เทพธิดาอาสา ๒. เทพธิดาสัทธา ๓. เทพธิดาสิรี ๔. เทพธิดาหิรี ต่างลุกขึ้นกล่าวกับพระนารทมุนีเทวพราหมณ์ว่า [๒๑๖] ข้าแต่พระมหามุนีผู้ประเสริฐ ถ้าดอกปาริฉัตตกะนี้ พระคุณเจ้ามิได้เจาะจงจะให้แก่ผู้ใด ขอพระคุณเจ้าจงให้แก่พวกดิฉันเถิด ขอคติทั้งปวงจงสาเร็จแด่พระคุณเจ้า แม้พระคุณเจ้าก็จงให้แก่พวกดิฉันเหมือนท้าววาสวะเท่านั้นเถิด [๒๑๗] นารทดาบสเพ่งดูเทพธิดาทั้ง ๔ นางพากันขอดอกไม้นั้นอยู่ จึงเปล่งถ้อยคาชวนทะเลาะแล้วกล่าวว่า อาตมาหามีความต้องการดอกไม้เหล่านี้แม้สักน้อยหนึ่งไม่ บรรดาพวกเธอทั้ง ๔ ผู้ใดประเสริฐกว่า ผู้นั้นจงประดับดอกไม้นั้นเถิด (เทพธิดาทั้ง ๔ นางนั้นกล่าวว่า) [๒๑๘] ข้าแต่ท่านนารทะผู้อุดม พระคุณเจ้านั้นแหละ โปรดจงพิจารณาดูพวกดิฉัน พระคุณเจ้าปรารถนาจะให้แก่นางใดก็จงให้แก่นางนั้น ข้าแต่ท่านนารทะ ก็บรรดาดิฉันทั้งหลาย พระคุณเจ้าจักมอบให้แก่นางใด นางนั้นเท่านั้นจักเป็ นผู้ที่พวกดิฉันยกย่องว่าประเสริฐที่สุด (นารทดาบสกล่าวว่า)
  • 4. 4 [๒๑๙] แม่เทพธิดาผู้มีเรือนร่างอันงดงาม คานั้นไม่สมควรเลย พราหมณ์คนไหน ใครเล่าจะพึงเปล่งถ้อยคาชวนทะเลาะได้ จงไปทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตดูเถิด ถ้าพวกเธอในที่นี้ไม่ทราบว่าตนสูงสุดหรือต่าทราม (ต่อจากนั้น พระศาสดาตรัสพระคาถาว่า) [๒๒๐] เทพธิดาเหล่านั้นถูกนารทดาบสกล่าวแนะนา มีความโกรธแค้นอย่างยิ่ง เป็ นผู้มัวเมาแล้ว ด้วยความมัวเมาในผิวพรรณ จึงไป ณ สานักท้าวสหัสสนัยน์ แล้วทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตว่า บรรดาหม่อมฉัน ใครหนอประเสริฐกว่า (เทพธิดาทั้ง ๔ นางได้ยืนทูลถามอย่างนั้นแล้ว พระศาสดา จึงตรัสว่า) [๒๒๑] ท้าวปุรินททะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ผู้อันเทพธิดาทั้ง ๔ กระทาอัญชลีแล้ว ทอดพระเนตรเห็นเทพธิดาทั้ง ๔ ผู้กระตือรือร้น จึงตรัสว่า ลูกหญิงมีความงามเป็นเลิศ มีใบหน้าผ่องใส พวกเจ้าทั้งปวงล้วนทัดเทียมกัน ใครเล่าหนอจะกล่าวถ้อยคาทะเลาะกันขึ้นได้ (ลาดับนั้น เทพธิดาเหล่านั้นเมื่อจะกราบทูลท้าวสักกะ จึงกล่าวคาถาว่า) [๒๒๒] พระนารทมหามุนีองค์ใดผู้ท่องเที่ยวไปได้ทั่วโลก ดารงอยู่ในธรรม มีความบากบั่นอย่างจริงจัง ท่านนั้นได้กล่าวแก่พวกหม่อมฉันที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็ นภูเขาอันประเสริฐว่า จงไปทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตดูเถิด ถ้าพวกเธอในที่นี้ไม่ทราบว่าตนสูงสุดหรือต่าทราม (ท้าวสักกะเมื่อจะตรัสบอกเหตุ จึงตรัสคาถาว่า) [๒๒๓] ลูกหญิงผู้มีเรือนร่างอันงดงาม มีมหามุนีผู้ท่องเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่นามว่าโกสิยะ ท่านไม่ให้แล้วจะไม่ยอมบริโภคอาหาร ท่านพิจารณาแล้วจึงจะให้ทาน ก็ท่านจักให้แก่ลูกหญิงผู้ใด ผู้นั้นแหละประเสริฐกว่า (ท้าวสักกะเมื่อจะส่งเทพธิดาทั้ง ๔ ไปสานักโกสิยดาบส ให้เรียกมาตลีเทพบุตรมาแล้ว จึงตรัสคาถาว่า) [๒๒๔] ก็โกสิยดาบสนั้นอยู่ ณ ทิศใต้ริมฝั่งแม่น้าคงคา ข้างหิมวันตบรรพต โกสิยดาบสนั้นมีน้าและโภชนะหาได้ยาก นี่แน่ะเทพสารถี ท่านจงนาอาหารทิพย์ไปถวายให้ถึงแก่ท่าน (ต่อจากนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า) [๒๒๕] มาตลีเทพบุตรนั้นถูกท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดาทรงส่งไป จึงขึ้นรถเทียมด้วยม้า ๑,๐๐๐ ตัว ได้ไปถึงอาศรมอย่างเร็วพลันนั่นแล ไม่ปรากฏกาย ได้ถวายอาหารทิพย์แก่พระมุนีแล้ว (โกสิยดาบสรับโภชนะแล้วยืนอยู่นั่นแหละ กล่าวว่า)
  • 5. 5 [๒๒๖] ก็เมื่อเรายืนบาเรอการบูชาไฟอยู่ต่อหน้าดวงอาทิตย์ ซึ่งบรรเทาความมืดในโลกอันอุดม ท้าววาสวะผู้ทรงครอบงาภูตทั้งปวง หรือใครกันแน่มาวางอาหารทิพย์ไว้ในฝ่ามือของเรา [๒๒๗] อาหารทิพย์นี้ขาวอุปมาดังสังข์ ไม่มีสิ่งเปรียบปาน น่าดู สะอาด มีกลิ่นหอม น่าพอใจ ไม่เคยมีมา ยังไม่เคยได้เห็นด้วยตาของเราผู้เป็นคน เทวดาตนใดวางอาหารทิพย์ไว้ในฝ่ามือของเราหรือ (มาตลีเทพสารถีกล่าวว่า) [๒๒๘] ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพเจ้าถูกท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทพ ผู้ยิ่งใหญ่ใช้มา จึงได้รีบนาอาหารทิพย์มา ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระคุณเจ้าจงรู้จักข้าพเจ้าว่า มาตลีเทพสารถี ขอพระคุณเจ้าจงบริโภคภัตรอันอุดม อย่าห้ามเลย [๒๒๙] ก็อาหารทิพย์นั้นบุคคลผู้บริโภคแล้ว ย่อมกาจัดบาปธรรมได้ ๑๒ ประการ คือ ๑. ความหิว ๒. ความกระหาย ๓. ความไม่ยินดี ๔. ความกระวนกระวาย ๕. ความเหน็ดเหนื่อย ๖. ความโกรธ ๗. ความผูกโกรธ ๘. ความวิวาท ๙. ความส่อเสียด ๑๐. ความหนาว ๑๑. ความร้อน ๑๒. ความเกียจคร้าน อาหารทิพย์นี้รสยอดเยี่ยม (โกสิยดาบสเมื่อจะเปิดเผยการสมาทานวัตรของตน จึงกล่าวคาถาว่า) [๒๓๐] มาตลี การไม่ให้ก่อนแล้วบริโภคไม่สมควรแก่อาตมา วัตรอันอุดมของอาตมาเป็นดังนี้ อนึ่ง การบริโภคคนเดียวพระอริยะหาบูชาไม่ และบุคคลผู้ไม่จาแนกแจกจ่ายย่อมไม่ประสบความสุข (โกสิยดาบสถูกมาตลีเทพบุตรถาม จึงตอบว่า) [๒๓๑] ชนทั้งหลายเหล่านี้ บางพวกเป็นผู้ฆ่าหญิง คบชู้ภรรยาชายอื่น ประทุษร้ายมิตร และด่าว่าสมณะและพราหมณ์ผู้มีวัตรดีงาม ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีความตระหนี่เป็ นประการที่ ๕ ชื่อว่าเป็นคนเลวทราม เพราะเหตุนั้น แม้แต่น้าอาตมาไม่ให้แล้วจะไม่ยอมดื่ม [๒๓๒] อนึ่ง อาตมาจักให้ทานที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแก่หญิงหรือชาย เพราะว่าท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธา รู้ถ้อยคาของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าสะอาดและซื่อสัตย์ในโลกนี้ (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๒๓๓] ลาดับนั้น เทพกัญญาทั้ง ๔ นางผู้มีผิวพรรณประดุจทองคา ซึ่งท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทพทั้งหลาย ทรงอนุมัติแล้ว ทรงส่งไปแล้ว คือ ๑. เทพธิดาอาสา ๒. เทพธิดาสัทธา ๓. เทพธิดาสิรี ๔. เทพธิดาหิรี ได้มาถึงอาศรมซึ่งเป็ นที่อยู่ของโกสิยดาบสนั้น
  • 6. 6 [๒๓๔] โกสิยดาบสครั้นเห็นเทพกัญญาเหล่านั้น มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง จึงได้กล่าวกับเทพกัญญาทั้ง ๔ ผู้มีผิวพรรณงดงามประดุจเปลวเพลิงทั้ง ๔ ทิศ ต่อหน้ามาตลีเทพบุตรว่า [๒๓๕] แม่เทพธิดา เธอมีนามใด ประดับตบแต่งร่างกายงดงาม ประดุจดาวประกายพรึกซึ่งประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย มีผิวพรรณเปล่งปลั่งอยู่ ณ ทิศตะวันออก อาตมาขอถามเธอผู้มีเรือนร่างประดุจหุ่นทองคา โปรดบอกอาตมาเถิดว่า เธอเป็นเทพชั้นไหน (สิรีเทพกัญญาตอบว่า) [๒๓๖] ดิฉันชื่อสิรีเทวี ได้รับการบูชาจากหมู่มนุษย์ มีปกติไม่คบหาสัตว์ผู้มีใจชั่วทุกเมื่อ มายังสานักพระคุณเจ้าเพราะทะเลาะกันด้วยเรื่องอาหารทิพย์ พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ขอพระคุณเจ้าโปรดแบ่งอาหารทิพย์ให้ดิฉันบ้างเถิด [๒๓๗] ท่านมหามุนี ดิฉันปรารถนาอาหารทิพย์ของนรชนใด นรชนนั้นย่อมบันเทิงใจด้วยกามคุณทั้งปวง ข้าแต่พระคุณเจ้า ผู้มีปัญญาอันประเสริฐ อุดมกว่าผู้บูชาไฟทั้งหลาย พระคุณเจ้าจงรู้จักดิฉันว่า สิรีเทวี ขอพระคุณเจ้าโปรดแบ่งอาหารทิพย์ให้ดิฉันบ้างเถิด (โกสิยดาบสกล่าวว่า) [๒๓๘] นรชนทั้งหลายผู้ประกอบด้วยศิลปวิทยา มารยาท และความรู้ เป็นผู้ชานาญการงานของตน ถูกเธอทอดทิ้งให้เหินห่าง ย่อมไม่ได้อะไรแม้แต่น้อย ความขาดแคลนที่เธอกระทาแล้วนั้นไม่ดีเลย [๒๓๙] แม่นางสิรีเทวี อาตมาเห็นคนผู้เกียจคร้าน กินจุ ทั้งเป็นคนมีตระกูลต่า มีรูปร่างแปลกประหลาด คนนั้นผู้อันเธอเฝ้ าคุ้มครองรักษา กลับกลายเป็นคนมีโภคะ มีความสุข แม้คนผู้สมบูรณ์ด้วยชาติตระกูล ก็ใช้สอยได้เหมือนอย่างทาส [๒๔๐] เพราะฉะนั้น อาตมาจึงรู้จักเธอว่า ไม่มีสัจจะ ไม่แยกคบคน เป็นคนงมงาย ทาผู้รู้ให้ตกต่า เทพธิดาเช่นเธอจึงไม่สมควรแก่อาสนะและน้า อาหารทิพย์ที่ไหนจักมี จงไปเสียเถิด อาตมาไม่ชอบใจเธอ (โกสิยดาบสสนทนากับนางอาสาเทพธิดาว่า) [๒๔๑] ใครกันนั่น มีฟันขาวสะอาด สวมใส่ตุ้มหู มีเรือนร่างงามวิจิตร ทรงเครื่องประดับทองคาเนื้อเกลี้ยง นุ่งห่มภูษาสีรดน้า ประดับช่อดอกไม้สีแดงประดุจเปลวไฟที่ไหม้หญ้าคา ดูช่างงดงาม [๒๔๒] เธอเหมือนนางเนื้อทรายผู้ตื่นกลัว ที่ถูกนายพรานยิงพลาดแล้วมองดูอย่างงุนงง แม่เทพธิดาผู้มีดวงตาซื่อ ในที่นี้ใครเป็นเพื่อนของเธอ เธอเที่ยวไปผู้เดียวในป่าใหญ่ ไม่กลัวหรือ
  • 7. 7 (อาสาเทพธิดากล่าวว่า) [๒๔๓] ข้าแต่ท่านโกสิยะ ในที่นี้ดิฉันไม่มีเพื่อน ดิฉันเป็ นเทพธิดาเกิดในดาวดึงสพิภพ ชื่อเทพธิดาอาสา มายังสานักของพระคุณเจ้าเพราะหวังจะได้อาหารทิพย์ พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ขอพระคุณเจ้าโปรดแบ่งอาหารทิพย์ให้ดิฉันบ้างเถิด (โกสิยดาบสกล่าวว่า) [๒๔๔] พ่อค้าทั้งหลายผู้แสวงหาทรัพย์มีความหวังจึงจะไป ย่อมขึ้นเรือแล่นไปในท้องทะเล บางครั้งพวกเขาย่อมจมลงในท้องทะเลนั้นบ้าง บางคราวพวกเขาย่อมสูญสิ้นทรัพย์ขาดทุนกลับมาบ้าง [๒๔๕] ชาวนาทั้งหลายมีความหวังจึงไถนา หว่านพืช กระทาตามวิธีการ แต่เพราะศัตรูพืชลงบ้าง ฝนแล้งบ้าง พวกเขาจึงไม่ได้ประสบผลอะไรๆ อันจะมีมาจากข้าวกล้านั้น [๒๔๖] อนึ่ง นรชนทั้งหลายผู้แสวงหาความสุข ตั้งความหวังไว้เบื้องหน้า ย่อมทาการเยี่ยงบุรุษของตนในกิจหน้าที่ของเจ้านาย แต่พวกเขากลับถูกบีบคั้นอย่างหนัก ไม่ได้อะไรๆ แม้แต่น้อยเลย เตลิดหนีไปทั่วทิศเพื่อประโยชน์แก่เจ้านาย [๒๔๗] นรชนทั้งหลายผู้แสวงหาความสุข มีใจมุ่งหวังที่จะไปสวรรค์ จึงสละธัญญชาติ ทรัพย์สมบัติ และเครือญาติ บาเพ็ญตบะอันเศร้าหมองแม้ตลอดกาลนาน ขึ้นสู่ทางผิด จึงแล่นไปสู่ทุคติ [๒๔๘] ความหวังชื่อว่าก่อเรื่องคลาดเคลื่อน นรชนเหล่านี้พากันตกนรกก็เพราะหวัง แน่ะแม่อาสา เธอจงเลิกอาหารทิพย์ในตัวเธอเสีย คนเช่นเธอไม่สมควรแก่อาสนะและน้า อาหารทิพย์ที่ไหนจักมี จงไปเสียเถิด อาตมาไม่ชอบใจเธอ (โกสิยดาบสสนทนากับนางสัทธาเทพธิดาว่า) [๒๔๙] เธอผู้มียศรุ่งเรือง อยู่ด้วยยศ เป็นเจ้าประจาทิศ อาตมาขอถามเธอผู้มีนามอันน่าเกลียด แม่เทพธิดาผู้มีเรือนร่างประดุจหุ่นทองคา โปรดบอกอาตมาเถิดว่า เธอเป็นเทพชั้นไหน (ต่อจากนั้น นางสัทธาเทพธิดากล่าวว่า) [๒๕๐] ดิฉันชื่อสัทธาเทวี ได้รับการบูชาจากหมู่มนุษย์ มีปกติไม่คบหาสัตว์ผู้มีใจชั่วทุกเมื่อ มายังสานักของพระคุณเจ้าเพราะทะเลาะกันด้วยเรื่องอาหารทิพย์ พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ขอพระคุณเจ้าโปรดแบ่งอาหารทิพย์ให้ดิฉันบ้างเถิด (โกสิยดาบสกล่าวว่า)
  • 8. 8 [๒๕๑] ก็ในกาลบางคราว มนุษย์ทั้งหลายยึดถือการให้ทานบ้าง การฝึกฝนตนบ้าง การบริจาคบ้าง ความสารวมบ้าง กระทาไปด้วยศรัทธา แต่มนุษย์พวกหนึ่งกลับถูกเธอ ชักนาผิดทาง จึงกระทาการขโมยบ้าง พูดเท็จบ้าง คดโกงบ้าง พูดส่อเสียดบ้าง [๒๕๒] บุรุษผู้มีความเพ่งเล็งภรรยาทั้งหลายของชายอื่น ผู้เสมอเหมือนกัน ประกอบด้วยศีลบ้าง มีวัตรปฏิบัติต่อสามีบ้าง กาจัดความพอใจแม้ในหญิงทั้งหลายที่เป็นกุลสตรีออกเสียแล้ว กลับทาความศรัทธาในนางกุมภทาสี [๒๕๓] แม่นางสัทธาเทพธิดา เธอนั้นแหละประพฤตินอกใจ กระทาความชั่ว ละทิ้งความดี เทพธิดาเช่นเธอจึงไม่สมควรแก่อาสนะและน้า อาหารทิพย์ที่ไหนจักมี จงไปเสียเถิด อาตมาไม่ชอบใจเธอ (โกสิยดาบสสนทนากับนางหิรีเทพธิดาว่า) [๒๕๔] ในที่สุดแห่งราตรี เมื่อยามรุ่งอรุณ เทพธิดาผู้ปรากฏรูปพรรณอันอุดม เธอปรากฏกับอาตมาเปรียบได้กับเทพธิดาผู้นั้น โปรดบอกอาตมาเถิดว่า เธอเป็นเทพอัปสรชั้นไหน [๒๕๕] เธอนั้นเป็ นใคร เหมือนเถาวัลย์ดาในฤดูร้อน เหมือนเปลวเพลิง เหมือนดอกไม้มีกลีบสีแดง ที่โอนเอนไปมาเพราะถูกลมพัด คล้ายแม่เนื้อตัวเซื่องซึมกาลังชะเง้อมอง ดูเหมือนมีความประสงค์จะกล่าว แต่ก็ไม่เปล่งวาจา (หิรีเทพธิดากล่าวว่า) [๒๕๖] ดิฉันชื่อหิรีเทวี ได้รับการบูชาจากหมู่มนุษย์ มีปกติไม่คบหาสัตว์ผู้มีใจชั่วทุกเมื่อ มายังสานักของพระคุณเจ้าเพราะทะเลาะกันด้วยเรื่องอาหารทิพย์ ดิฉันไม่อาจจะขอแม้อาหารทิพย์ได้ สาหรับหญิง การขอเป็นเหมือนการเปิดเผยอวัยวะที่น่าละอาย (โกสิยดาบสครั้นได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๒๕๗] แม่เทพธิดาผู้มีเรือนร่างอันงดงาม เธอจักได้ตามธรรม ตามเหตุ เพราะว่าอาหารทิพย์ ใครๆ จะได้เพราะการขอหามิได้ นี้เป็นธรรมเนียม เพราะฉะนั้น อาตมาพึงเชื่อเธอผู้ไม่ขอ เธอปรารถนาอาหารทิพย์ใด อาตมาจะให้แม้อาหารทิพย์นั้นแก่เธอ [๒๕๘] แม่เทพธิดาผู้มีเรือนร่างประดุจหุ่นทองคา วันนี้ อาตมาขอเชิญเธอในอาศรมของอาตมา ขอบูชาเธอด้วยรสทุกชนิด แม้อาหารทิพย์นั้น อาตมาครั้นบูชาเธอแล้วจึงจักบริโภค (พระบรมศาสดาตรัสพระคาถาต่อไปว่า)
  • 9. 9 [๒๕๙] หิรีเทวีเทพธิดานั้นได้รับอนุมัติอย่างแน่นอน จากโกสิยดาบสผู้มีอานุภาพรุ่งเรือง จึงได้เข้าไปยังอาศรมอันน่ารื่นรมย์ มีน้ามีผลไม้อันท่านผู้ประเสริฐบูชาแล้ว เป็นสถานที่ที่สัตว์ผู้มีใจชั่วไม่เข้าไปคบหาทุกเมื่อ [๒๖๐] ณ ที่ใกล้อาศรมนี้มีหมู่ไม้นานาชนิด ผลิดอกออกผลจานวนมาก คือ มะม่วง มะหาด ขนุน ทองกวาว มะรุม อีกทั้งโลดทะนง บัวบก การะเกด จันทน์กระพ้อ และหมากหอมก็ผลิดอกบานสะพรั่ง [๒๖๑] ในป่านี้มีต้นไม้จานวนมาก คือ สาละ กุ่ม หว้า โพธิ ไทร มะซาง โศก ราชพฤกษ์ แคฝอย ย่านทราย จิก และลาเจียก มีกลิ่นหอมหวลน่ายวนใจ [๒๖๒] ถั่วแระ อ้อยแขม ถั่วป่า มะพลับ ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเหลืองเมล็ดเล็ก กล้วยมีเมล็ด กล้วยไม่มีเมล็ด ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ราชดัด และข้าวสาร ก็มีจานวนมากในอาศรมนี้ [๒๖๓] อนึ่ง ด้านเหนือแห่งอาศรมนี้มีสระโบกขรณีเกิดขึ้นเอง น่าเกษมสาราญ น้าไม่ขุ่น มีท่าราบเรียบ น้าใสสะอาด จืดสนิทดี ไม่มีกลิ่นปฏิกูล [๒๖๔] ในสระโบกขรณีนั้นมีปลานานาชนิด คือ ปลาดุก ปลากระทุงเหว ปลากราย กุ้ง ปลาตะเพียน ปลาสลาด และปลากา ต่างพากันแหวกว่ายเกลื่อนกลาดอยู่ในสระที่มีขอบคัน อย่างร่าเริงเกษมสาราญ ทั้งมีอาหารมากมาย [๒๖๕] ที่สระโบกขรณีนั้นมีนกนานาชนิด คือ หงส์ นกกระเรียน นกยูง นกจักรพราก นกออก นกดุเหว่า นกที่มีปีกสวยงาม นกมีหงอน และนกโพระดกจานวนมากมาย ต่างพากันร่าเริงเกษมสาราญ ทั้งมีอาหารมากมาย [๒๖๖] ฝูงเนื้อนานาชนิดจานวนมาก คือ สิงโต เสือโคร่ง ช้าง หมี หมาป่า และเสือดาว ต่างพากันมาดื่มน้าที่สระโบกขรณีนั้น [๒๖๗] ณ ที่นั้นมีทั้งแรด โคลาน กระบือ ละมั่ง กวาง เนื้อทราย หมูป่า ระมาด หมูบ้าน ชะมด เสือปลา กระต่าย และวัวกระทิงเป็ นจานวนมาก [๒๖๘] ภาคพื้นและขุนเขาดารดาษไปด้วยดอกไม้อันงามวิจิตร กึกก้องระงมไปด้วยเสียงฝูงนกขานขัน เป็นสถานที่ฝูงนกอยู่อาศัย (พระบรมศาสดาเพื่อจะทรงแสดงอาการที่หิรีเทพธิดาเข้าไปในอาศรมนั้น จึงตรัสว่า) [๒๖๙] เทพธิดานั้นผู้มีผิวพรรณงดงาม ทัดทรงดอกไม้สีเขียว เยื้องกรายเข้าไปยังอาศรม ประดุจสายฟ้ าในระหว่างกลุ่มมหาเมฆ โกสิยดาบสได้จัดตั้งเก้าอี้ที่ทาด้วยหญ้าคา มีพนักถักไว้อย่างดี สะอาด มีกลิ่นหอม
  • 10. 10 ปูลาดด้วยหนังสัตว์เพื่อเทพธิดานั้น แล้วได้กล่าวคานี้กับหิรีเทวีเทพธิดาว่า เชิญนั่งให้สบายเถิด แม่โฉมงาม นี่อาสนะ [๒๗๐] ในกาลนั้น เมื่อนางหิรีเทวีนั้นนั่งบนเก้าอี้แล้ว โกสิยมหามุนีผู้สวมชฎาและหนังเสือเหลือง ได้รีบนาอาหารทิพย์พร้อมกับใช้ใบบัวสดตักน้ามา เพื่อนางเทพธิดาผู้ปรารถนาตามความต้องการด้วยตนเอง [๒๗๑] หิรีเทวีเทพธิดานั้นมีใจเบิกบาน ประคองรับอาหารทิพย์นั้นด้วยมือทั้ง ๒ แล้วได้กล่าวกับโกสิยดาบสผู้เกล้าชฎาว่า เอาเถิด พระมุนีผู้ประเสริฐ บัดนี้ ดิฉันเป็ นผู้ที่พระคุณเจ้ายอมบูชา ได้รับชัยชนะแล้ว จะพึงกลับไปสู่สวรรค์ชั้นไตรทิพย์ [๒๗๒] เทพธิดานั้นผู้มัวเมาแล้วด้วยความมัวเมาในผิวพรรณ อันโกสิยดาบสผู้มีอานุภาพรุ่งเรืองอนุญาตแล้ว ได้ไปในสานักของท้าวสหัสสนัยน์แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่ท้าววาสวะ นี้อาหารทิพย์ ขอพระองค์ทรงประทานชัยชนะให้แก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า [๒๗๓] แม้ท้าวสักกะก็ได้ทรงบูชาหิรีเทวีเทพธิดานั้น ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ ต่างพากันบูชานางสุรกัญญาผู้สูงสุด เทพธิดานั้นเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประนมมือบูชา ในกาลที่ตนเข้าไปนั่งเก้าอี้ตัวใหม่ (พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงทาข้อความนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสว่า) [๒๗๔] ท้าวสหัสสนัยน์ผู้เป็นจอมแห่งเทพชั้นไตรทศ ได้ตรัสกับมาตลีเทพสารถีนั้นอีกว่า ท่านจงไปถามโกสิยฤๅษีตามคาของเราว่า ข้าแต่ท่านโกสิยะ เว้นเทพธิดาอาสา เทพธิดาสัทธาและเทพธิดาสิรีเสีย เทพธิดาหิรีผู้เดียว ได้อาหารทิพย์แล้วเพราะเหตุไร [๒๗๕] มาตลีเทพสารถีได้ขึ้นสู่เวชยันตราชรถอันรุ่งเรือง เช่นกับเครื่องอุปกรณ์ มีหงอนอันสาเร็จด้วยทองชมพูนุท โชติช่วงดุจดวงตะวัน ประดับตบแต่งอย่างงดงาม มีประกายวิจิตรดังทองคาเลื่อนลอยไปได้โดยสะดวกสบาย [๒๗๖] ณ ราชรถนี้มีรูปดวงจันทร์ รูปช้าง รูปโค รูปม้า รูปกินนร รูปเสือโคร่ง รูปเสือเหลือง รูปเนื้อทรายทาด้วยทองคา ประชุมกันมากมาย มีรูปนกทาท่าทางโผบินอยู่ในราชรถนี้ รูปมฤคาทาด้วยแก้วไพููรย์ประชุมกันเป็ นฝูงๆ ในราชรถนี้ [๒๗๗] ที่ราชรถนั้น เทพบุตรทั้งหลายได้เทียมอัศวราชที่มีผิวกาย คล้ายทองคา มีพลังเช่นกับช้างหนุ่มประมาณ ๑,๐๐๐ เชือก ประดับตบแต่งแล้ว มีเครื่องประดับอกคือข่ายทองคา มีพู่ห้อยหูทั้ง ๒ ข้าง วิ่งไปได้ด้วยเสียงรวดเร็วไม่ติดขัด
  • 11. 11 [๒๗๘] มาตลีเทพสารถีขึ้นสู่ราชยานอันประเสริฐนั้น ได้บันลือไปตลอดทิศทั้ง ๑๐ เหล่านี้ ยังท้องฟ้ า ภูเขา ต้นไม้ใหญ่อันเป็นเจ้าแห่งป่าในไพรสณู์ และแผ่นดินพร้อมทั้งสมุทรสาครให้สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น [๒๗๙] มาตลีเทพสารถีนั้นได้ไปถึงอาศรมโดยเร็วพลัน กระทาผ้าปาวารเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือแล้วได้กล่าวกับโกสิยเทวพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูตมีคุณอันเจริญ มีวัตรอันฝึกฝนดีแล้วว่า [๒๘๐] ท่านโกสิยะ ขอพระคุณเจ้าจงสดับถ้อยคาของพระอินทร์ ข้าพเจ้าเป็นทูต ท้าวปุรินททะตรัสถามพระคุณเจ้าว่า (ท่านโกสิยะ) เว้นพระนางอาสาเทวี พระนางสัทธาเทวี และพระนางสิรีเทวีเสีย พระนางหิรีเทวีผู้เดียวได้อาหารทิพย์แล้วเพราะเหตุไร (โกสิยดาบสฟังคาของมาตลีเทพบุตรนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า) [๒๘๑] มาตลีเทพสารถี ก็พระนางสิรีเทวี ปรากฏกับอาตมาว่าเป็นคนตาบอด พระนางสัทธาเทวีเป็นคนไม่แน่นอน ส่วนพระนางอาสาเทวีอาตมารู้ได้ว่าเป็นคนพูดจาเหลวไหล แต่พระนางหิรีเทวีดารงอยู่ในคุณอันประเสริฐ (โกสิยดาบสเมื่อจะสรรเสริญคุณของหิรีเทพธิดานั้น จึงกล่าวว่า) [๒๘๒] หญิงใดๆ บางพวก คือ ๑. หญิงสาว ๒. หญิงที่โคตรตระกูลรักษา ๓. หญิงหม้าย ๔. หญิงมีสามี เหล่านี้รู้ฉันทราคะของตนที่เกิดขึ้นอย่างแรงกล้าในบุรุษทั้งหลายแล้วหักห้ามจิตข องตนเสียได้ด้วยหิริ [๒๘๓] เมื่อเหล่านักรบผู้พ่ายแพ้ในสงคราม ที่กาลังสู้รบด้วยลูกศรและหอก บางพวกกาลังล้มตาย บางพวกกาลังหนีไป นักรบเหล่าใดสละชีวิตแล้วย่อมหวนกลับมาด้วยความละอาย นักรบผู้มีความละอายใจเหล่านั้น จึงกลับมารับใช้เจ้านายได้อีก (กล้าสู้หน้าเจ้านาย) [๒๘๔] ก็หิรีเทวีเทพธิดานี้มีปกติห้ามชนผู้มีใจบาปเพราะมีหิริ เปรียบเหมือนทานบมีปกติกั้นกระแสแห่งสาคร เทพสารถี เพราะเหตุนั้น ท่านจงกราบทูลหิรีเทวีเทพธิดา ซึ่งท่านผู้ประเสริฐบูชาแล้วในโลกทั้งปวงนั้นให้พระอินทร์ทราบ (มาตลีเทพบุตรได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๒๘๕] ท่านโกสิยดาบส พระพรหมก็ตาม พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ก็ตาม ท้าวปชาบดีก็ตาม ใครเล่าจะหยั่งถึงความเห็นของพระคุณเจ้านี้ได้ พระคุณเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
  • 12. 12 ก็พระธิดาของพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่เกิดได้รับยกย่องว่า ประเสริฐสุดในหมู่เทพเพราะมีหิริ (มาตลีเทพบุตรประสงค์จะนาโกสิยดาบสไปยังเทวโลก จึงกล่าวว่า) [๒๘๖] เชิญเถิด เชิญพระคุณเจ้ามาขึ้นรถเหาะไป สู่สวรรค์ชั้นไตรทศ ณ บัดนี้เถิด รถคันนี้น่าพอใจพระคุณเจ้าผู้มีโคตรเสมอกับพระอินทร์ แม้พระอินทร์ก็ทรงจานงหวังพระคุณเจ้าอยู่ ขอพระคุณเจ้าจงถึงความเป็นสหายกับพระอินทร์ในวันนี้เถิด (พระบรมศาสดาตรัสว่า) [๒๘๗] สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ทาบาปย่อมหมดจดด้วยอาการอย่างนี้ อนึ่ง ผลกรรมที่ประพฤติดีแล้วจะไม่สูญหาย สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้เห็นอาหารทิพย์ สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดได้ถึงความเป็ นสหายกับพระอินทร์ [๒๘๘] หิรีเทวีเทพธิดาคือพระอุบลวรรณาเถรี โกสิยฤๅษีคือภิกษุทานบดี ปัญจสิขเทพบุตรคืออนุรุทธเถระ ส่วนมาตลีเทพสารถีคือพระอานนทเถระ [๒๘๙] สุริยเทพบุตรคือพระมหากัสสปเถระ จันทเทพบุตรคือพระมหาโมคคัลลานเถระ นารทดาบสคือพระสารีบุตรเถระ ส่วนท้าวสักกะคือตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้แล สุธาโภชนชาดกที่ ๓ จบ ----------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา สุธาโภชนชาดก ว่าด้วย ของกินอันเป็นทิพย์ พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภภิกษุผู้มีอัธยาศัยในการบาเพ็ญทานรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเป็ นกุลบุตรคนหนึ่งในเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงออกบวช กระทาศีลให้บริบูรณ์ ประกอบด้วยธุดงคคุณ มีเมตตาจิตแผ่ไปในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ประมาทในการบารุงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ วันละ ๓ ครั้ง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมรรยาท มีอัธยาศัยชอบในการให้ทาน ได้บาเพ็ญสาราณียธรรมจนครบบริบูรณ์แล้ว ภิกษุรูปนั้นเมื่อปฏิคาหกทั้งหลายยังมีอยู่ ย่อมให้สิ่งของที่ตนได้แล้วจนหมดสิ้น แม้ตนเองถึงกับอดอาหาร เพราะฉะนั้น เธอจึงได้ปรากฏในหมู่ภิกษุว่า เป็นผู้มีอัธยาศัยในการจาแนกทาน ยินดียิ่งในทาน.
  • 13. 13 ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุชื่อโน้นเป็ นผู้มีอัธยาศัยในการจาแนกทาน ยินดียิ่งแล้วในทาน ตัดความโลภเสียได้แล้ว มีน้าประมาณเพียงซองมือหนึ่งที่ตนได้มา ก็ถวายแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายจนหมด เธอมีอัธยาศัย ดุจพระโพธิสัตว์. พระศาสดาทรงได้ยินถ้อยคานั้น ด้วยพระโสตธาตุเพียงดังทิพย์ จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไร. เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เมื่อชาติก่อน เป็นผู้ไม่ให้ทานเป็ นประจา เป็นผู้ตระหนี่ ไม่ให้ของอะไรๆ แก่ใครๆ แม้หยาดน้ามันด้วยปลายหญ้า ต่อมา เราได้ทรมานเธอกระทาให้หมดพยศ พรรณนาผลแห่งทาน ให้ตั้งอยู่ในทานแล้ว เธอได้รับพรในสานักแห่งเราว่า แม้ได้น้ามาเล็กน้อยเพียงซองมือหนึ่ง ยังมิได้ให้ทานแล้ว ก็จักไม่ดื่มน้านั้น ด้วยผลแห่งการที่ได้รับพรในสานักของเรานี้ เธอจึงเป็นผู้มีอัธยาศัยในการจาแนกทาน เป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในทาน. ครั้นตรัสฉะนี้แล้ว ทรงดุษณีภาพนิ่งอยู่. เมื่อพวกภิกษุผู้ฉลาดด้วยอนุสนธิในเรื่องเทศนาเหล่านั้น กราบทูลอาราธนา จึงทรงนาอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้. ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็ นคฤหบดีคนหนึ่ง เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติประมาณ ๘๐ โกฏิ. ภายหลัง พระราชาได้ทรงพระราชทานตาแหน่งเศรษฐีแก่พระโพธิสัตว์นั้น เศรษฐีนั้นได้เป็ นผู้อันพระราชาทรงบูชาแล้ว และอันชาวเมืองชาวชนบทนับถือบูชาแล้ว. วันหนึ่ง เธอแลดูสมบัติของตนแล้ว คิดว่า ยศนี้เรามิได้นอนหลับอยู่ได้แล้ว หรือว่าเราทากายทุจริตเป็นต้นไว้ในอดีตภพแล้วได้มา ก็หามิได้ เราบาเพ็ญกายสุจริตเป็นต้นให้บริบูรณ์แล้วจึงได้มา แม้ในอนาคตกาลเล่า เราก็ควรจะกระทาที่พึ่งของเรา เธอจึงไปยังสานักของพระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ ทรัพย์ในเรือนของข้าพระองค์มีอยู่ถึง ๘๐ โกฏิ ขอพระองค์จงรับทรัพย์นั้นไว้ เมื่อพระราชาตรัสสั่งว่า เราไม่มีความต้องการทรัพย์ของท่าน ทรัพย์ของเราก็มากมายอยู่แล้ว ตั้งแต่นี้ไป ท่านปรารถนาสิ่งใด ก็จงถือเอาสิ่งนั้นเถิด. จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์จะได้ให้ทรัพย์ของข้าพระองค์เป็นประโยชน์อย่างไรดีหนอ. ลาดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า ท่านจงกระทาตามความพอใจเถิด ดังนี้
  • 14. 14 เธอจึงให้สร้างศาลาทานขึ้น ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง ที่ท่ามกลางพระนคร ๑ แห่ง และที่ประตูเรือนของตน ๑ แห่ง กระทาการบริจาคทรัพย์วันละหกแสน บาเพ็ญมหาทานอยู่ทุกๆ วัน เธอให้ทานอยู่อย่างนี้จนตลอดชีวิต แล้วสั่งสอนพวกลูกๆ ว่า เจ้าอย่าได้ตัดทานวงศ์นี้ของเราเสีย ครั้นสิ้นชีวิตแล้วได้ไปบังเกิดเป็นท้าวสักกเทวราช แม้บุตรของเศรษฐีนั้นก็ให้ทานเหมือนบิดาฉะนั้น ครั้นทาลายขันธ์ก็ไปบังเกิดเป็นพระจันทเทพบุตร บุตรของพระจันทเทพบุตรก็บาเพ็ญทานเหมือนบิดา ได้บังเกิดเป็นสุริยเทพบุตรแล้ว บุตรแห่งสุริยเทพบุตรนั้นบาเพ็ญทานเหมือนบิดา ก็ได้บังเกิดเป็นพระมาตลีเทพบุตร บุตรแห่งพระมาตลี ก็บาเพ็ญทานเหมือนบิดา บังเกิดเป็นปัญจสิขเทพบุตร. ส่วนบุตรคนที่ ๖ แห่งปัญจสิขเทพบุตรนั้นได้เป็นเศรษฐีมีนามว่า มัจฉริยโกสิยะ มีทรัพย์สมบัติถึง ๘๐ โกฏิ เศรษฐีนั้นเป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มานึกว่า บิดาและปู่ของเราเป็ นคนพาล ทิ้งทรัพย์ที่แสวงหามาด้วยความลาบากเสียแล้ว ส่วนเราจักรักษาทรัพย์ไว้ จักไม่ให้อะไรๆ แก่ใครๆ เลย จึงให้รื้อโรงทานทั้ง ๖ แห่งนั้น เผาไฟเสียสิ้น. ลาดับนั้น พวกยาจกมาประชุมกันที่ประตูเรือนของเศรษฐีนั้น ยกแขนทั้งสองขึ้นร้องคร่าครวญ ด้วยเสียงอันดังว่า ข้าแต่มหาเศรษฐี ขอท่านจงอย่ากระทาทานวงศ์แห่งบิดาและปู่ของตนให้ฉิบหายเสียเลย ท่านจงให้ทานเถิด. มหาชนได้ยินก็พากันติเตียนเศรษฐีนั้นว่า มัจฉริยโกสิยเศรษฐีตัดทานวงศ์ของตนเสียแล้ว เศรษฐีนั้นก็มีความละอายได้ตั้งคนรักษาไว้ เพื่อคอยห้ามยาจกผู้มาที่ประตูเรือน พวกยาจกเหล่านั้นหมดที่พึ่ง ก็มิได้มองดูประตูเรือนของเศรษฐีนั้นอีกเลย จาเดิมแต่นั้นมา เขาก็รวบรวมทรัพย์เองทีเดียว ไม่บริโภคด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้บุตรและภรรยาเป็นต้นบริโภคอีกด้วย ตนเองบริโภคข้าวปลายเกรียนปนรา มีน้าส้มพะอูมเป็นกับข้าว นุ่งผ้าเนื้อหยาบที่ช่างหูกทอ สักว่าเป็นดังรากไม้ผลไม้ กั้นร่มใบตาล ใช้รถเก่าคร่าคร่า เทียมด้วยโคแก่เป็นยานพาหนะ ทรัพย์อันเป็นของเศรษฐีผู้เป็นอสัตบุรุษนั้น ได้เป็นดังสุนัขได้ผลมะพร้าว ด้วยประการฉะนี้. วันหนึ่ง มัจฉริยโกสิยเศรษฐีนั้น เมื่อจะไปสู่ที่เฝ้ าพระราชา คิดว่า เราจะไปชวนอนุเศรษฐีไปด้วย จึงได้ไปยังเรือนของอนุเศรษฐีนั้น ในขณะนั้น อนุเศรษฐีแวดล้อมด้วยบุตรธิดา กาลังบริโภคข้าวปายาสที่ปรุง
  • 15. 15 ด้วยของที่เจือด้วยเนยใสใหม่ น้าผึ้งสุกและน้าตาลกรวด อนุเศรษฐีนั้น ครั้นเห็นมัจฉริยโกสิยเศรษฐีมาจึงลุกจากอาสนะ กล่าวว่า เชิญท่านมหาเศรษฐีมานั่งที่บัลลังก์นี้ เชิญบริโภคข้าวปายาสด้วยกัน มหาเศรษฐีพอเห็นข้าวปายาสนั้น ก็เกิดน้าลายไหล อยากจะใคร่บริโภคบ้าง แต่มาคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราบริโภค เราก็จะต้องกระทาสักการะตอบแทน ในเวลาที่อนุเศรษฐีไปยังเรือนของเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ทรัพย์ของเราก็จักพินาศ เราจักไม่บริโภคละ. ลาดับนั้น มหาเศรษฐี แม้ถูกอนุเศรษฐีอ้อนวอนอยู่บ่อยๆ จึงกล่าวกะอนุเศรษฐีนั้นว่า เราเพิ่งบริโภคมาเดี๋ยวนี้เอง เรายังอิ่มอยู่ แล้วมิได้ปรารถนาจะบริโภค แต่เมื่ออนุเศรษฐีบริโภคอยู่ มหาเศรษฐีนั่งมองดูอยู่ มีน้าลายไหลออกจากปาก เมื่อเสร็จภัตกิจของอนุเศรษฐี จึงไปยังพระราชนิเวศน์ด้วยกัน กลับจากพระราชนิเวศน์มาถึงเรือนของตน ถูกความอยากในรสแห่งข้าวปายาสบีบคั้นอยู่ จึงคิดว่า ถ้าเราจักพูดว่า เราอยากบริโภคข้าวปายาส มหาชนก็จะพลอยอยากบริโภคกับเราด้วย สิ่งของเป็นอันมากมีข้าวสารเป็นต้น ก็จักหมดเปลืองไป เราจักไม่บอกแก่ใครๆ มหาเศรษฐีนั้นคิดถึงแต่ข้าวปายาสอยู่อย่างเดียว ทาคืนและวันให้ล่วงไป มิได้บอกแก่ใครๆ เพราะกลัวทรัพย์จะหมด อดกลั้นความอยากไว้ เมื่อไม่อาจจะอดกลั้นโดยลาดับได้ ก็เป็ นผู้มีโรคผอมเหลืองเกิดขึ้น แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ มหาเศรษฐีก็ไม่บอกใครเพราะกลัวทรัพย์จะหมดไป ในเวลาต่อมา ก็เป็นผู้หมดกาลัง จึงเข้าไปสู่ที่นอน แล้วแอบซ่อนนอนอยู่. ลาดับนั้น ภรรยาจึงเข้าไปใกล้มหาเศรษฐีนั้น แล้วเอามือบีบนวด พลางถามว่า ข้าแต่นาย ท่านไม่สบายเป็นอะไรไปหรือ. ไม่เป็นอะไรหรอก นางผู้เจริญ. ความไม่สบายในร่างกายของท่านเองมีอยู่หรือ. ความไม่สบายในร่างกายของเราก็ไม่มี. ข้าแต่นาย ท่านเป็ นผู้ผอมเหลืองเกิดขึ้นแล้ว ท่านมีความคิดอะไรบ้างหรือ หรือว่าพระราชากริ้วท่าน หรือพวกลูกๆ กระทาการดูหมิ่น หรือความอยากอะไรบังเกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน. เออ ความอยากเกิดขึ้นแล้วแก่เรา. ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงบอกมาเถิด. ท่านจักอาจรักษาถ้อยคาของเราไว้ได้หรือ. ถ้าเป็นวาจาที่ข้าพเจ้าควรจะรักษา ข้าพเจ้าก็จักรักษาไว้. แม้เมื่อภรรยากล่าวรับรองอยู่อย่างนี้ มหาเศรษฐีก็ไม่อาจจะบอกได้ เพราะกลัวเสียทรัพย์. ครั้นถูกภรรยารบเร้าอยู่บ่อยๆ จึงได้บอกว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ วันหนึ่ง เราเห็นอนุเศรษฐีบริโภคข้าวปายาสที่ปรุงด้วยของอันเจือด้วยเนยใสใหม่ น้าผึ้ง น้าตาลกรวด. จาเดิมแต่วันนั้นมา ก็เกิดอยากจะบริโภคข้าวปายาสอย่างนั้นบ้าง. ดูก่อนท่านผู้เป็นอสัตบุรุษ ตัวท่านยากจนนักหรือ ข้าพเจ้าจักหุงข้าวปายาส
  • 16. 16 ให้เพียงพอแก่ชาวพระนครทั้งสิ้น คราวนั้น ได้เป็นดุจดังว่า กาลที่มหาเศรษฐีถูกตีที่ศีรษะด้วยท่อนไม้ เขาโกรธภรรยามาก กล่าวว่า เรารู้อยู่ว่าท่านเป็นผู้มีทรัพย์มาก ถ้าว่าทรัพย์ที่นามาจากเรือนสกุลของท่านมีอยู่ ท่านจงหุงข้าวปายาสแจกแก่ชาวเมืองทั้งหลายเถิด ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าจะหุงให้พอแก่ชาวบ้านผู้อยู่ในถนนเดียวกัน. ประโยชน์อะไรด้วยชนเหล่านั้นแก่ท่าน พวกเขาก็จงกินของของตนเองซิ. ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะหุงให้พอแก่ชนผู้อยู่รอบเรือนข้างละเจ็ดๆ ตั้งแต่เรือนนี้ไป. ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยชนเหล่านั้น. ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะหุงให้เฉพาะท่านและข้าพเจ้าเพียงสองคนเท่านั้น. ตัวท่านเป็นอะไรเล่า ข้าวปายาสนี้ไม่สมควรแก่ท่าน. ครั้นภรรยากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะหุงให้พอแก่ท่านคนเดียวเท่านั้น. มหาเศรษฐีจึงกล่าวว่า ก็ถ้าท่านจะหุงเฉพาะเราคนเดียวแล้ว จงอย่าหุงในเรือนนี้เลย ด้วยว่าเมื่อท่านหุงในเรือนนี้ ชนมากมายก็คอยหวังจะบริโภค ก็ท่านจงเอาแป้ งข้าวสารของเรา แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน น้าตาลกรวดสักหยิบมือหนึ่ง นมเนยและน้าผึ้งอย่างละขวด กับภาชนะสาหรับหุงใบหนึ่งให้แก่เรา เราจักเข้าไปสู่ป่า หุงในที่นั้นแล้วบริโภค ภรรยาได้กระทาตามคาสั่งทุกประการ เศรษฐีให้คนใช้เอาผ้าห่อของนั้นทั้งหมด แล้วให้ถือไปส่ง แล้วกล่าวว่า เจ้าจงไปยืนอยู่ในที่โน้น ส่งคนใช้ไปข้างหน้าแล้วไปแต่ผู้เดียว เอาผ้าคลุมแปลงเพศไม่ให้ใครรู้จักไปถึงที่ป่านั้น ให้คนใช้ทาเตาที่โคนกอไม้แห่งหนึ่งริมแม่น้า ให้หาฟื นและน้ามาแล้วบอกว่า เจ้าจงไปยืนอยู่ที่หนทางแห่งหนึ่ง ถ้าเห็นใครๆ มาพึงให้สัญญาแก่เรา อนึ่ง เมื่อเวลาที่เราร้องเรียกเจ้าจึงค่อยมา ส่งคนใช้ไปแล้ว จึงติดไฟหุงข้าวปายาส. ในขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงทอดพระเนตร สิริสมบัติของพระองค์อย่างนี้คือ เทพนครอันประดับแล้วประมาณหมื่นโยชน์ ถนนแล้วด้วยทองคาหกสิบโยชน์ เวชยันตปราสาทสูงพันโยชน์ สุธรรมาสภากว้างห้าร้อยโยชน์ อาสน์หินอ่อนมีสีเหลือง ดุจผ้ากัมพลเหลืองกว้างใหญ่หกสิบโยชน์ เศวตฉัตรมีพวงดอกไม้ทองเวียนรอบห้าร้อยโยชน์ นางเทพอัปสรนับได้สองโกฏิครึ่ง และอัตภาพอันประดับตกแต่งแล้ว ครั้นทรงเห็นฉะนี้ จึงใคร่ครวญว่า ยศนี้เราได้มาเพราะกระทาอะไรหนอ จึงได้ทรงเห็นทานที่พระองค์บาเพ็ญให้เป็นไป เมื่อเป็ นเศรษฐีในเมืองพาราณสี ในลาดับนั้น จึงทรงตรวจดูต่อไปว่า ชนทั้งหลายมีบุตรของเราเป็ นต้นเกิดแล้วในที่ไหน ได้ทอดพระเนตรเห็นที่เกิดของชนทั้งปวง
  • 17. 17 คือบุตรของเราได้เกิดเป็นจันทเทพบุตร บุตรของจันทเทพบุตรเกิดเป็นสุริยะ บุตรของสุริยะเกิดเป็นมาตลี บุตรของมาตลีเกิดเป็นปัญจสิขคันธัพพเทพบุตร จึงทรงตรวจดูต่อไปว่า บุตรของปัญจสิขเทพบุตรเป็นเช่นไร ก็ได้ทรงเห็นบุตรของปัญจสิขเทพบุตร เป็ นผู้เข้าไปตัดวงศ์ทานของพระองค์เสีย. ลาดับนั้น พระองค์จึงทรงปริวิตกว่า ผู้นี้เป็ นอสัตบุรุษ เป็ นผู้ตระหนี่ มิได้บริโภคด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้แก่ชนเหล่าอื่นด้วย เข้าไปตัดทานวงศ์ของเราเสีย ทากาลกิริยาแล้ว จักไปบังเกิดในนรก เราจักให้โอวาทแก่เขา จักให้ประดิษฐานทานวงศ์ของเราต่อไป จักทาเหตุอันจะให้เขามาเกิดในเทพนครนี้ ท้าวเธอจึงให้เรียกจันทเทพบุตรเป็นต้นมา แล้วจึงมีบัญชาสั่งว่า เธอทั้งหลายจงมา เราจักไปยังมนุษยโลกด้วยกัน มัจฉริยโกสิยเศรษฐีเข้าไปตัดวงศ์ของพวกเราเสียแล้ว ให้เผาโรงทานเสียสิ้น ตนเองก็ไม่บริโภค พวกชนเหล่าอื่นก็ไม่ให้เขาเลย ก็บัดนี้เขาเป็นผู้ใคร่จะบริโภคข้าวปายาส คิดว่า เมื่อหุงข้าวปายาสในเรือน ก็จะต้องให้ข้าวปายาสแก่คนอื่นบ้าง จึงเข้าป่าหุงกินแต่คนเดียว เราจักทรมานเศรษฐีนี้ กระทาให้รู้จักผลของทานแล้วจักกลับมา ก็แต่ว่าเศรษฐีนี้ เมื่อถูกพวกเราทั้งหมดขออยู่พร้อมๆ กัน ก็จะพึงตายเสียในที่นั้นทีเดียว ในเวลาที่เราไปขอข้าวปายาสนั่งอยู่ก่อนแล้ว พวกท่านพึงแปลงเป็ นพราหมณ์ไปขอโดยลาดับเถิด ครั้นสั่งแล้ว ท้าวเธอก็เนรมิตเพศเป็นพราหมณ์เข้าไปหาเศรษฐีนั้นก่อน แล้วถามว่า หนทางที่จะไปยังเมืองพาราณสีไปทางไหน ท่านผู้เจริญ. ลาดับนั้น มัจฉริยโกสิยเศรษฐีจึงกล่าวกะท้าวเธอว่า ท่านเป็นคนบ้าหรือ จึงไม่รู้จัก แม้จนกระทั่งทางไปเมืองพาราณสี จะมาทาอะไรทางนี้เล่า จงไปทางโน้นซิ. ท้าวสักกะทรงสดับถ้อยคาของเขาแล้ว ทาเป็นเหมือนไม่ได้ยิน ตรัสถามว่า ท่านพูดว่าอย่างไร แล้วก็เดินกระเถิบเข้าไปใกล้เขาอีก แม้เศรษฐีนั้นก็ร้องตะโกนว่า แน่ะพราหมณ์หูหนวกคนร้าย ท่านจะมาทาไมทางนี้เล่า จงไปข้างหน้าซิ. ลาดับนั้น ท้าวสักกะจึงกล่าวกะเขาว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านร้องเอะอะทาไม ควันและไฟยังปรากฏอยู่ ท่านคงหุงข้าวปายาสสุกแล้ว ชะรอยว่า คงจะนิมนต์พราหมณ์ทั้งหลายมาฉันในที่นี้ ในเวลาที่พวกพราหมณ์ฉันแล้ว แม้ข้าพเจ้าก็จักพลอยได้บริโภคสักหน่อยหนึ่ง ท่านไม่นิมนต์ข้าพเจ้าบ้างหรือ. เศรษฐีตอบว่า การนิมนต์พวกพราหมณ์ในที่นี้ไม่มีเลย ท่านจงไปข้างหน้าเถิด. ท้าวสักกะจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านโกรธข้าพเจ้าทาไม ในเวลาที่ท่านบริโภคแล้ว ข้าพเจ้าก็คงจักได้บริโภคบ้างสักเล็กน้อย. ลาดับนั้น เศรษฐีหมายเอาอาหารที่ตนขอภรรยาได้มาแล้ว
  • 18. 18 จึงกล่าวกะท้าวสักกะนั้นว่า ข้าพเจ้าจักไม่ให้แม้เพียงเมล็ดเดียวแก่ท่าน ภัตนี้มีน้อย พอข้าพเจ้าบริโภคเพียงคนเดียวเท่านั้น. อนึ่ง ก็ภัตนี้ข้าพเจ้าก็ต้องขอเขาจึงได้มา ท่านจงแสวงหาอาหารของท่านจากที่อื่นเถิด แล้วกล่าวคาถาว่า ข้าพเจ้าจะไม่ซื้อ จะไม่ขาย อนึ่ง แม้ความสั่งสมของข้าพเจ้า ในที่นี้ก็ไม่มีเลย ภัตนี้มีนิดหน่อย ทั้งหาได้แสนยากยิ่งนัก ข้าวสุกแล่งหนึ่งนี้ หาพอแก่เราสองคนไม่. ท้าวสักกะได้ทรงสดับคานั้น จึงรับสั่งว่า ข้าพเจ้าจักกล่าวโศลกสักบทหนึ่ง ด้วยเสียงอันไพเราะให้ท่าน ขอท่านจงฟังโศลกคาถาสรรเสริญคุณนั้น เมื่อเศรษฐีนั้นกาลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ทีเดียวว่า ข้าพเจ้ามิได้มีความต้องการด้วยโศลกคาถาสรรเสริญของท่าน. ท้าวเธอก็ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า บุคคลควรแบ่งของน้อยให้ตามน้อย ควรแบ่งของส่วนกลางให้ตามส่วนกลาง ควรแบ่งของมากให้ตามมาก การไม่ให้เสียเลยหาควรไม่ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจะบอกกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานและจงบริโภค เพราะผู้บริโภคคนเดียว หาได้ความสุขไม่. มัจฉริยโกสิยเศรษฐีสดับคาของท้าวสักกะนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านพูดจาน่าพอใจมาก เมื่อข้าวปายาสสุกแล้ว ท่านจักได้หน่อยหนึ่ง ท่านจงนั่งลงเถิด. ท้าวสักกะจึงนั่งลง ณ สถานที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท้าวสักกะนั่งแล้ว จันทเทพบุตรจึงเข้าไปใกล้เศรษฐีโดยทานองนั้นทีเดียว ยังถ้อยคาให้เป็นไปเหมือนอย่างนั้น. เมื่อเศรษฐีนั้นคัดค้านห้ามปรามอยู่ ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า บุคคลใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะอยู่แต่ผู้เดียว พลีกรรมของบุคคลผู้นั้น ย่อมไร้ผล ทั้งความเพียรแสวงหาทรัพย์ ก็ไร้ประโยชน์ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะขอบอกกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานและบริโภค เพราะผู้บริโภคคนเดียว หาได้ความสุขไม่. เศรษฐีฟังคาของจันทเทพบุตรนั้นแล้ว ก็ได้กล่าวถ้อยคาอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วจึงพูดด้วยความลาบากยากแค้นว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนั่งลงเถิด ท่านจักได้หน่อยหนึ่ง. จันทเทพบุตรไปนั่งในสานักของท้าวสักกะ. ในลาดับนั้น
  • 19. 19 สุริยเทพบุตรจึงเข้าไปบอกเศรษฐีนั้น โดยทานองนั้นเหมือนกัน แล้วจึงกล่าวเหมือนอย่างนั้น เมื่อเศรษฐีนั้นกาลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ทีเดียว ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว มิได้บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว พลีกรรมของผู้นั้นย่อมมีผลจริง ทั้งความเพียรแสวงหาทรัพย์ ก็ย่อมมีประโยชน์โดยแท้ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะขอกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานและจงบริโภค เพราะผู้บริโภคคนเดียว หาได้ความสุขไม่. เศรษฐีได้สดับคาของสุริยเทพบุตรนั้นแล้ว จึงพูดด้วยความลาบากยากเย็นว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนั่งลงเถิด จักได้หน่อยหนึ่ง สุริยเทพบุตรนั้นจึงไปนั่งในสานักจันทเทพบุตร. ลาดับนั้น มาตลีเทพบุตรจึงเข้าไปหาเศรษฐีนั้น โดยอุบายอุบายอย่างเดียวกันนั้นแล แล้วกล่าวถ้อยคาเหมือนอย่างนั้น เมื่อเศรษฐีนั้นกาลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ทีเดียว ก็ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า ก็บุรุษไปสู่สระแล้วบูชาที่แม่น้าชื่อพหุกาก็ดี ที่สระชื่อคยาก็ดี ที่ท่าชื่อโทณะก็ดี ที่ท่าชื่อติมพรุก็ดี ที่ห้วงน้าใหญ่ มีกระแสอันเชี่ยวก็ดี การบูชาและความเพียรของเขาในที่นั้นๆ ย่อมมีผลมีกาไรได้ ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่คนเดียว จะกล่าวว่า ไร้ผลนั้นไม่ได้ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะขอพูดกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย เพราะผู้กินคนเดียว หาได้ความสุขไม่. เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้นว่า บุรุษใดคิดว่า เราจักกระทาพลีกรรมแก่นาคและยักษ์เป็นต้น จึงเข้าไปสู่สระแห่งใดแห่งหนึ่ง ในบรรดาสมุทร แอ่งและสระโบกขรณีเป็ นต้น แล้วบูชาอยู่ กระทาพลีกรรมอยู่ในที่นั้นๆ อนึ่ง บุคคลบูชาอยู่ที่แม่น้าชื่อพหุกา ที่สระโบกขรณีชื่อคยา หรือที่ท่าโทณะก็ดี ที่ท่าชื่อติมพรุก็ดี หรือที่ห้วงน้าใหญ่มีกระแสอันเชี่ยวก็ดี. เศรษฐีสดับคาของมาตลีเทพบุตรนั้นแล้ว ประหนึ่งถูกยอดภูเขาทับ จึงพูดด้วยความลาบากใจว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนั่งลงเถิด จักได้หน่อยหนึ่ง มาตลีเทพบุตรจึงไปนั่งในที่ใกล้กับสุริยเทพบุตร. ในลาดับนั้น ปัญจสิขเทพบุตรจึงเข้าไปหาเศรษฐีโดยทานองนั้นอีก แล้วกล่าวถ้อยคาเหมือนอย่างนั้น เมื่อเศรษฐีกาลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ทีเดียว จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า