SlideShare a Scribd company logo
1
ทรีมุขชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๓. ทรีมุขชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๓๗๘)
ว่าด้วยพระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า
(พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพรหมทัตว่า)
[๑๔] กามทั้งหลายเสมือนเปือกตม เสมือนหล่ม
ก็ภัยนี้บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็ นมูลเหตุแห่งภัย ๓ ประการ
กามทั้งหลายคือธุลีและควัน อาตมภาพก็ได้ประกาศไว้แล้ว ขอถวายพระพร
พระเจ้าพรหมทัต ขอมหาบพิตรทรงละกามเหล่านี้ออกผนวชเถิด
(พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว
ตรัสบอกความที่พระองค์พัวพันด้วยกิเลสว่า)
[๑๕] ท่านพราหมณ์ โยมกาหนัดยินดี และหมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย
ประสงค์จะมีชีวิตอยู่อย่างนี้ จึงไม่อาจจะละกามอันน่าสะพรึงกลัวนั้นได้
แต่โยมจะทาบุญทั้งหลายให้มาก
(พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าตรัสสอนให้ยิ่งๆ ขึ้นไปว่า)
[๑๖] ผู้ใดอันบุคคลผู้หวังความเจริญ อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล
กล่าวสอนอยู่ ก็ไม่กระทาตามคาสอน ผู้นั้นสาคัญแต่สิ่งที่ตนยึดถือว่า
นี้เท่านั้นประเสริฐ เป็นคนโง่ ย่อมเกิดในครรภ์บ่อยๆ
[๑๗] เขาย่อมเข้าถึงนรกอันน่ากลัว
เต็มไปด้วยอุจจาระและปัสสาวะที่ไม่งามสาหรับผู้งาม
สัตว์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังมีความกาหนัดในกามทั้งหลาย
สัตว์เหล่านั้นก็ยังละความเกิดในครรภ์ไปไม่ได้
(พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าทรงหวังจะแสดงเหตุที่พ้นจากครรภ์
จึงตรัสหนึ่งคาถาครึ่ง และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสครึ่งพระคาถาสุดท้ายว่า)
[๑๘] สัตว์เหล่านี้คลอดออกมามีกายแปดเปื้อนด้วยอุจจาระ
ด้วยเลือดและเสมหะในขณะที่คลอด สัตว์เหล่านี้มีร่างกายสัมผัสส่วนใดๆ
ส่วนนั้นๆ ทั้งหมด ล้วนไม่น่าชื่นใจ เป็นทุกข์อย่างเดียว
[๑๙] อาตมาเห็นแล้วจึงถวายพระพร
มิใช่ได้ยินมาจากคนอื่นแล้วจึงถวายพระพร
อาตมายังระลึกอดีตชาติได้มากอีกด้วย
พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าได้ให้พระราชาผู้ทรงปรีชาญาณยอมรับด้วยคาถาสุภาษิ
ตอันวิจิตร
ทรีมุขชาดกที่ ๓ จบ
------------------------------
2
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
ทรีมุขชาดกที่ ๓
ว่าด้วย โทษของกาม
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร
ทรงปรารภมหาภิเนษกรมณ์ จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้.
เรื่องในปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
ได้ยินว่า พระราชาทรงพระนามว่า มคธราช
ครองราชสมบัติอยู่ในนครราชคฤห์.
ครั้งนั้น
พระโพธิสัตว์ได้ถือกาเนิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระองค์
พระญาติทั้งหลายได้ถวายพระนามพระองค์ว่า พรหมทัตกุมาร.
ในวันที่พระราชกุมารประสูตินั่นเอง ฝ่ายบุตรของปุโรหิตก็เกิด.
ใบหน้าของเด็กนั้นสวยงามมาก เพราะเหตุนั้น
ญาติของเขาจึงได้ตั้งชื่อของเด็กนั้นว่า ทรีมุข.
กุมารทั้ง ๒ นั้นเจริญเติบโตแล้วในราชตระกูลนั้นเอง
ทั้งคู่นั้นเป็นสหายรักของกัน
เวลามีชนมายุ ๑๖ ชันษา
ได้ไปยังเมืองตักกสิลาเรียนศิลปะทุกอย่างแล้ว พากันเที่ยวไปในคามนิคมเป็ นต้น
ด้วยความตั้งใจว่า จักพากันศึกษาลัทธิทุกลัทธิ และจักรู้จารีตของท้องถิ่นด้วย
ถึงเมืองพาราณสี พักอยู่ที่ศาลเจ้า
รุ่งเช้าพากันเข้าไปเมืองพาราณสีเพื่อภิกษา,
คนในตระกูลๆ หนึ่ง ในเมืองพาราณสีนั้น ตั้งใจว่า
พวกเราจักเลี้ยงพราหมณ์ แล้วถวายเครื่องบูชา จึงหุงข้าวปายาส แล้วปูอาสนะไว้.
คนทั้งหลายเห็นคนทั้งสองนั้น กาลังเที่ยวภิกขาจาร เข้าใจว่า
พราหมณ์มาแล้ว จึงให้เข้าไปในบ้าน ปูผ้าขาวไว้สาหรับพระมหาสัตว์
ปูผ้ากัมพลแดงไว้สาหรับทรีมุขกุมาร.
ทรีมุขกุมารเห็นนิมิตนั้นแล้ว รู้ชัดว่า
วันนี้ สหายของเราจักเป็นพระเจ้าพาราณสี ส่วนเราจักเป็ นเสนาบดี.
ทั้งสองท่านบริโภค ณ ที่นั้น แล้วรับเอาเครื่องบูชา กล่าวมงคลแล้วออกไป
ได้พากันไปถึงพระราชอุทยานนั้น.
ในจานวนคนทั้งสองนั้น พระมหาสัตว์บรรทมแล้ว บนแผ่นศิลามงคล
ส่วนทรีมุขกุมารนั่งนวดพระบาทของพระมหาสัตว์นั้น. วันนั้นเป็นวันที่ ๗
แห่งการสวรรคตของพระเจ้าพาราณสี. ปุโรหิตถวายพระเพลิงพระศพแล้ว
ได้เสี่ยงบุษยราชรถในวันที่ ๗ เพราะราชสมบัติไม่มีรัชทายาท.
กิจเกี่ยวกับบุษยราชรถ จักมีแจ้งชัด ใน มหาชนกชาดก.
3
บุษยราชรถออกจากพระนครไป มีจตุรงคเสนาห้อมล้อม
พร้อมด้วยดุริยางค์หลายร้อยประโคมขัน ถึงประตูพระราชอุทยาน.
ครั้งนั้น ทรีมุขกุมารได้ยินเสียงดุริยางค์ แล้วคิดว่า
บุษยราชรถมาแล้วเพื่อสหายของเรา
วันนี้สหายของเราจักเป็นพระราชา แล้วประทานตาแหน่งเสนาบดีแก่เรา
เราจักประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน เราจักออกบวช ดังนี้แล้ว
จึงไม่ทูลเชิญพระโพธิสัตว์ เลยไปยังที่สมควรข้างหนึ่ง แล้วได้ยืนอยู่ในที่กาบัง.
ปุโรหิตหยุดรถที่ประตูพระราชอุทยาน แล้วเข้าไปยังพระราชอุทยาน
เห็นพระโพธิสัตว์บรรทมบนแผ่นศิลามงคล ตรวจดูลักษณะที่เท้าลายพระบาท
แล้วทราบว่า เป็ นคนมีบุญ สามารถครองราชสมบัติ สาหรับมหาทวีปทั้ง ๔
มีทวีปน้อย ๒ พันเป็ นบริวารได้ แต่คนเช่นนี้ คงเป็ นคนมีปัญญาเครื่องทรงจา
จึงได้ประโคมดุริยางค์ทั้งหมดขึ้น.
พระโพธิสัตว์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงนาผ้าสาฎกออกจากพระพักตร์
ทรงทอดพระเนตรเห็นมหาชน แล้วทรงเอาผ้าสาฎกปิดพระพักตร์อีก
บรรทมหน่อยหนึ่ง ระงับความกระวนกระวาย
แล้วเสด็จลุกขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิบนแผ่นศิลา.
ปุโรหิตคุกเข่าลงแล้วทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ
ราชสมบัติกาลังตกถึงพระองค์.
พ. ราชสมบัติไม่มีรัชทายาทหรือ?
ปุ. ไม่มีพระพุทธเจ้าข้า
พ. ถ้าอย่างนั้น ก็ดีแล้ว จึงทรงรับไว้.
ประชาชนเหล่านั้นได้พากันทาการอภิเษกพระโพธิสัตว์นั้นที่พระราชอุ
ทยานนั่นเอง.
พระองค์มิได้ทรงราลึกถึงทรีมุขกุมาร เพราะความมียศมาก.
พระองค์เสด็จขึ้นพระราชรถ มีบริวารห้อมล้อม เข้าไปสู่พระนคร
ทรงกระทาประทักษิณ แล้วประทับยืนที่ประตูพระราชนิเวศน์นั่นเอง
ทรงพิจารณาถึงฐานันดรของอามาตย์ทั้งหลาย แล้วเสด็จขึ้นสู่ปราสาท.
ขณะนั้น ทรีมุขกุมารคิดว่า บัดนี้ พระราชอุทยานว่างแล้ว
จึงมานั่งที่ศิลามงคล.
ลาดับนั้น
ใบไม้เหลืองได้ร่วงลงมาข้างหน้าของเขา เขาเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไปใน
ใบไม้เหลืองนั้นนั่นเอง พิจารณาไตรลักษณ์ให้แผ่นดินกึกก้องไป
พร้อมกับให้พระปัจเจกโพธิญาณเกิดขึ้น.
ในขณะนั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ของท่านอันตรธานไป.
บาตรจีวรที่สาเร็จด้วยฤทธิ์ ก็ล่องลอยมาจากอากาศสวมที่สรีระของท่าน.
4
ทันใดนั้นนั่นเอง ท่านก็เป็ นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบท
เป็ นเหมือนพระเถระผู้มีพรรษาร้อยพรรษา เหาะไปในอากาศด้วยฤทธิ์
ได้ไปยังเงื้อมนันทมูลกะในท้องถิ่นป่าหิมพานต์.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็เสวยราชสมบัติโดยธรรม.
แต่เพราะเป็นผู้มียศมากจึงทรงเป็ นผู้มัวเมาด้วยยศ ไม่ทรงราลึกถึงทรีมุขกุมาร
เป็นเวลาถึง ๔๐ ปี.
แต่เมื่อเวลาเลย ๔๐ ปี ผ่านไปแล้ว พระองค์ทรงราลึกถึงเขาแล้ว
จึงตรัสว่า ฉันมีสหายอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า ทรีมุข เขาอยู่ที่ไหนหนอ? ดังนี้แล้ว
มีพระราชประสงค์จะพบพระสหายนั้น.
จาเดิมแต่นั้นมา พระองค์ก็ตรัสถามหาภายในเมืองบ้าง
ท่ามกลางบริษัทบ้างว่า ทรีมุขกุมาร สหายของฉันอยู่ที่ไหน?
ผู้ใดบอกที่อยู่ของเขาแก่ฉัน ฉันจะให้ยศสูงแก่ผู้นั้น.
เมื่อพระองค์ทรงระลึกถึงเขาอยู่บ่อยๆ อย่างนี้นั่นแหละ ปีอื่นๆ ได้ผ่านไปถึง ๑๐
ปี. โดยเวลาผ่านไปถึง ๕๐ ปี
แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทรีมุข ทรงราลึกถึงอยู่
ก็ทรงทราบว่า สหายราลึกถึงเราอยู่แล แล้วทรงดาริว่า บัดนี้
พระโพธิสัตว์นั้นทรงพระชรา จาเริญด้วยพระโอรสพระธิดา
เราจักไปแสดงธรรมถวายให้พระองค์ทรงผนวช ดังนี้แล้ว
จึงได้เสด็จมาทางอากาศด้วยฤทธิ์ ลงที่พระราชอุทยาน นั่งบนแผ่นศิลา
เหมือนพระพุทธรูปทองคาก็ปานกัน.
เจ้าหน้าที่รักษาพระราชอุทยานเห็นท่านแล้ว เข้าไปเฝ้ าทูลถามว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านมาจากที่ไหน?
พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสตอบว่า มาจากเงื้อมเขานันทมูลกะ
จ. ท่านเป็ นใคร?
พ. อาตมภาพคือพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า ทรีมุข โยม.
จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ทรงรู้จักในหลวงของข้าพระองค์ทั้งหลายไหม?
พ. รู้จักโยม เวลาเป็ นคฤหัสถ์ พระองค์ทรงเป็นสหายของอาตมา.
จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในหลวงมีพระราชประสงค์จะพบพระองค์
ข้าพระองค์จักทูลบอกว่า พระองค์เสด็จมาแล้ว.
พ. เชิญโยม ไปทูลบอกเถิด.
จ. รับพระบัญชาแล้ว รีบด่วนไปทีเดียว
ทูลในหลวงถึงความที่พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าประทับอยู่ที่แผ่นศิลาแล้ว.
ในหลวงตรัสว่า ได้ทราบว่า พระสหายของฉันมาแล้ว
ฉันจักไปเยี่ยมท่าน แล้วเสด็จขึ้นรถไปยังพระราชอุทยาน
5
พร้อมด้วยข้าราชบริพารจานวนมาก ไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า ทาการปฏิสันถาร
แล้วนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง.
ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงทาปฏิสันถารกะพระองค์
พลางทูลคามีอาทิว่า ขอถวายพระพรพระเจ้าพรหมทัต
พระองค์ทรงเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ? ไม่ทรงลุอานาจอคติหรือ?
ไม่ทรงเบียดเบียนประชาสัตว์ เพื่อต้องการทรัพย์หรือ? ทรงบาเพ็ญบุญ
มีทานเป็นต้นอยู่หรือ? ดังนี้แล้ว
ทูลว่า ขอถวายพระพรพระเจ้าพรหมทัต
พระองค์ทรงพระชราภาพแล้ว บัดนี้เป็นสมัยของพระองค์ที่จะทรงละกาม
เสด็จออกผนวชแล้ว.
เมื่อจะทรงแสดงธรรมถวายพระองค์ จึงได้ทูลคาถาที่ ๑ ว่า :-
กามทั้งหลายเหมือนหล่ม
กามทั้งหลายเหมือนพุ ก็อาตมภาพได้ทูลภัยนี้ไว้ว่ามีมูล ๓
ธุลีและควัน อาตมภาพก็ได้ถวายพระพรแล้ว ข้าแต่พระเจ้าพรหมทัต มหาบพิตร
ขอพระองค์จงทรงละสิ่งเหล่านั้น เสด็จออกผนวชเถิด.
เพราะฉะนั้น
พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงทรงให้พระราชาทรงเกิดอุตสาหะในการบรรพชา
ด้วยพระดารัสว่า ข้าแต่มหาบพิตร พระราชสมภารพรหมทัตเจ้า
ขอพระองค์จงทรงละกามเหล่านี้ ทรงผนวชเถิด.
พระราชา ครั้นทรงสดับคานั้นแล้ว
เมื่อจะตรัสบอกความที่พระองค์ทรงคิดอยู่ด้วยกิเลสทั้งหลาย
จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ โยมทั้งกาหนัด ทั้งยินดี
ทั้งสยบอยู่ในกามทั้งหลาย ต้องการมีชีวิตอยู่
ไม่อาจละกามนั้นที่มีรูปสะพึงกลัวได้ แต่โยมจักทาบุญไม่ใช่น้อย.
พระมหาบุรุษผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว เพราะกิเลสอันใดเล่า
แม้เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสถึงคุณของบรรพชาแล้ว ก็ยังตรัสว่า
โยมไม่สามารถจะบวชได้.
พระเจ้าพรหมทัตพระองค์นี้ใด
เมื่อทรงตรวจตราดูพุทธการกธรรมด้วยพระญาณที่เกิดขึ้นในพระองค์
แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ทรงเห็นเนกขัมมบารมีที่ ๓
แล้ว จึงทรงสรรเสริญคุณในเนกขัมมะอย่างนี้ว่า :-
ถ้าพระองค์ปรารถนาบรรลุโพธิญาณไซร้ พระองค์จงสมาทานบาร
มีที่ ๓ นี้ไว้ให้มั่นคงก่อน แล้วจึงไปสู่เนกขัมมบารมี.
คนที่อยู่ในเรือนจามานานๆ
6
ถึงความทุกข์ จะไม่ให้ความยินดีเกิดขึ้นในเรือนจานั้น จะแสวงหาทางพ้นทุกข์อย่
างเดียว
ฉันใด พระองค์ก็เช่นนั้นเหมือนกัน จงเห็นภพทั้งหมดเหมือนเรือนจา เป็นผู้บ่ายห
น้าสู่เนกขัมมะแล้ว จักบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ.
พระเจ้าพรหมทัตนั้น
แม้เป็นผู้ที่พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญการบรรพชา แล้วถวายพระพรว่า
ขอมหาบพิตรจงทรงทอดทิ้งกิเลสทั้งหลาย แล้วทรงเป็ นสมณะเถิด. จึงตรัสว่า
โยมไม่อาจจะทอดทิ้งกิเลสเป็นสมณะได้.
แม้เมื่อพระมหาสัตว์นั้นนั่นเอง ตรัสว่า โยมไม่อาจจะบวชได้
พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าก็ไม่ทรงทอดธุระ
เมื่อจะถวายพระโอวาทให้ยิ่งขึ้นไป
จึงตรัสคาถา ๒ คาถาไว้ว่า:-
ผู้ที่ถูกผู้มุ่งประโยชน์ อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล กล่าวสอนอยู่
แต่ไม่ทาตามคาสอน เป็นคนโง่ สาคัญว่า
สิ่งนี้เท่านั้นประเสริฐกว่าสิ่งอื่น จะเข้าถึงครรภ์สัตว์แล้วๆ เล่าๆ
จะเข้าถึงนรกชนิดร้ายกาจ
เหล่าสัตว์ที่ยังไม่ปราศจากราคะ ในกามทั้งหลาย ติดแล้วในกายของตน
ละยังไม่ได้ ซึ่งที่ที่ไม่สะอาดของผู้สะอาดทั้งหลาย ที่เต็มไปด้วยมูตรและคูถ.
พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า
ครั้นทรงแสดงถึงทุกข์ทั้งที่มีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็ นมูลฐาน
ทั้งที่มีการบริหารเป็ นมูลฐานแล้ว บัดนี้
เพื่อจะทรงแสดงถึงทุกข์ที่มีการออกจากครรภ์เป็ นมูลฐาน
จึงได้ตรัสคาถาหนึ่งกับกึ่งคาถาไว้ว่า :-
สัตว์ทั้งหลายเลอะอุจจาระ เปื้อนเลือดเลอะไขออกมา เพราะว่า
สัตว์ทั้งหลายถูกต้องสิ่งใดๆ
ด้วยกายอยู่ในขณะใด ในขณะนั้นเองก็สัมผัสผองทุกข์ล้วนๆ
ที่ไม่มีความแช่มชื่นเลย.
อาตมภาพเห็นแล้ว
จึงได้ทูลถวายพระพร ไม่ได้ฟังจากผู้อื่นทูลถวายพระพร
แต่อาตมภาพระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยมาเป็นจานวนมาก.
บัดนี้ พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง ครั้นตรัสว่า
พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นทรงสงเคราะห์พระราชา ด้วยพระคาถาสุภาษิตอย่างนี้แล้ว
ได้ตรัสกึ่งคาถาไว้ในตอนสุดท้ายว่า :-
พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าทรงยังพระราชาผู้ทรงมีพระปัญญาให้ทรงรู้
พระองค์ ด้วยพระคาถาทั้งหลาย ที่เป็นภาษิตมีเนื้อความวิจิตรพิสดาร.
7
พระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นทรงแสดงโทษในกามทั้งหลาย
ทรงยังพระราชาให้ทรงถือเอาถ้อยคาของตนอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า
ขอถวายพระพร มหาบพิตร บัดนี้พระองค์จะทรงผนวชหรือไม่ทรงผนวชก็ตาม
แต่ว่า อาตมภาพได้แสดงโทษในกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการบวช
ถวายมหาบพิตรแล้ว ขอมหาบพิตรจงอย่าทรงประมาท ดังนี้แล้ว
ได้ทรงเหาะไปในอากาศ ทรงเหยียบกลีบเมฆ
เสด็จไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะนั่นเอง เหมือนพระยาหงส์ทอง ฉะนั้น.
พระมหาสัตว์ทรงประคองอัญชลีที่รุ่งโรจน์
รวมทั้ง ๑๐ นิ้วไว้บนพระเศียรนมัสการอยู่.
เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นพ้นทัศนวิสัยไปแล้ว จึงตรัสสั่งให้หา
พระราชบุตรพระองค์ใหญ่ คือเจ้าฟ้ าใหญ่มาเฝ้ า ทรงมอบราชสมบัติให้แล้ว
เมื่อมหาชนกาลังร้องไห้คร่าครวญกันอยู่ ได้ทรงละกามทั้งหลาย
เสด็จไปสู่ป่าหิมพานต์ ทรงสร้างบรรณศาลา ผนวชเป็ นฤๅษี ไม่นานเลย
ก็ได้ทรงยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น ในเวลาสิ้นพระชนมายุ
ก็ได้ทรงเข้าถึงพรหมโลก.
พระศาสดา
ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มา ประกาศสัจจธรรม แล้วทรงประชุมชาดกไว้
ในเวลาจบสัจจธรรม คนทั้งหลายได้เป็ นพระโสดาบันเป็นต้นมากมาย.
พระราชาในครั้งนั้น ก็คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
174 ทุพภิยมักกฏชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
174 ทุพภิยมักกฏชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...174 ทุพภิยมักกฏชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
174 ทุพภิยมักกฏชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
214 ปุณณนทีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
214 ปุณณนทีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....214 ปุณณนทีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
214 ปุณณนทีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕Rose Banioki
 
๒๑.๒ ปุราเภทสูตร มจร.pdf
๒๑.๒ ปุราเภทสูตร มจร.pdf๒๑.๒ ปุราเภทสูตร มจร.pdf
๒๑.๒ ปุราเภทสูตร มจร.pdf
maruay songtanin
 
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
maruay songtanin
 
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
maruay songtanin
 
233 วิกัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
233 วิกัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....233 วิกัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
233 วิกัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

Similar to 378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
 
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
 
174 ทุพภิยมักกฏชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
174 ทุพภิยมักกฏชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...174 ทุพภิยมักกฏชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
174 ทุพภิยมักกฏชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
214 ปุณณนทีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
214 ปุณณนทีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....214 ปุณณนทีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
214 ปุณณนทีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
482 รุรุมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
(๑) พุทธาปทาน มจร.pdf
 
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
 
๒๑.๒ ปุราเภทสูตร มจร.pdf
๒๑.๒ ปุราเภทสูตร มจร.pdf๒๑.๒ ปุราเภทสูตร มจร.pdf
๒๑.๒ ปุราเภทสูตร มจร.pdf
 
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
 
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
337 ปีฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
 
233 วิกัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
233 วิกัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....233 วิกัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
233 วิกัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

More from maruay songtanin

ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 

378 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 ทรีมุขชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๓. ทรีมุขชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๓๗๘) ว่าด้วยพระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า (พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพรหมทัตว่า) [๑๔] กามทั้งหลายเสมือนเปือกตม เสมือนหล่ม ก็ภัยนี้บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็ นมูลเหตุแห่งภัย ๓ ประการ กามทั้งหลายคือธุลีและควัน อาตมภาพก็ได้ประกาศไว้แล้ว ขอถวายพระพร พระเจ้าพรหมทัต ขอมหาบพิตรทรงละกามเหล่านี้ออกผนวชเถิด (พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสบอกความที่พระองค์พัวพันด้วยกิเลสว่า) [๑๕] ท่านพราหมณ์ โยมกาหนัดยินดี และหมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย ประสงค์จะมีชีวิตอยู่อย่างนี้ จึงไม่อาจจะละกามอันน่าสะพรึงกลัวนั้นได้ แต่โยมจะทาบุญทั้งหลายให้มาก (พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าตรัสสอนให้ยิ่งๆ ขึ้นไปว่า) [๑๖] ผู้ใดอันบุคคลผู้หวังความเจริญ อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล กล่าวสอนอยู่ ก็ไม่กระทาตามคาสอน ผู้นั้นสาคัญแต่สิ่งที่ตนยึดถือว่า นี้เท่านั้นประเสริฐ เป็นคนโง่ ย่อมเกิดในครรภ์บ่อยๆ [๑๗] เขาย่อมเข้าถึงนรกอันน่ากลัว เต็มไปด้วยอุจจาระและปัสสาวะที่ไม่งามสาหรับผู้งาม สัตว์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังมีความกาหนัดในกามทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นก็ยังละความเกิดในครรภ์ไปไม่ได้ (พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าทรงหวังจะแสดงเหตุที่พ้นจากครรภ์ จึงตรัสหนึ่งคาถาครึ่ง และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสครึ่งพระคาถาสุดท้ายว่า) [๑๘] สัตว์เหล่านี้คลอดออกมามีกายแปดเปื้อนด้วยอุจจาระ ด้วยเลือดและเสมหะในขณะที่คลอด สัตว์เหล่านี้มีร่างกายสัมผัสส่วนใดๆ ส่วนนั้นๆ ทั้งหมด ล้วนไม่น่าชื่นใจ เป็นทุกข์อย่างเดียว [๑๙] อาตมาเห็นแล้วจึงถวายพระพร มิใช่ได้ยินมาจากคนอื่นแล้วจึงถวายพระพร อาตมายังระลึกอดีตชาติได้มากอีกด้วย พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าได้ให้พระราชาผู้ทรงปรีชาญาณยอมรับด้วยคาถาสุภาษิ ตอันวิจิตร ทรีมุขชาดกที่ ๓ จบ ------------------------------
  • 2. 2 คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา ทรีมุขชาดกที่ ๓ ว่าด้วย โทษของกาม พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภมหาภิเนษกรมณ์ จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้. เรื่องในปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ได้ยินว่า พระราชาทรงพระนามว่า มคธราช ครองราชสมบัติอยู่ในนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้ถือกาเนิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระองค์ พระญาติทั้งหลายได้ถวายพระนามพระองค์ว่า พรหมทัตกุมาร. ในวันที่พระราชกุมารประสูตินั่นเอง ฝ่ายบุตรของปุโรหิตก็เกิด. ใบหน้าของเด็กนั้นสวยงามมาก เพราะเหตุนั้น ญาติของเขาจึงได้ตั้งชื่อของเด็กนั้นว่า ทรีมุข. กุมารทั้ง ๒ นั้นเจริญเติบโตแล้วในราชตระกูลนั้นเอง ทั้งคู่นั้นเป็นสหายรักของกัน เวลามีชนมายุ ๑๖ ชันษา ได้ไปยังเมืองตักกสิลาเรียนศิลปะทุกอย่างแล้ว พากันเที่ยวไปในคามนิคมเป็ นต้น ด้วยความตั้งใจว่า จักพากันศึกษาลัทธิทุกลัทธิ และจักรู้จารีตของท้องถิ่นด้วย ถึงเมืองพาราณสี พักอยู่ที่ศาลเจ้า รุ่งเช้าพากันเข้าไปเมืองพาราณสีเพื่อภิกษา, คนในตระกูลๆ หนึ่ง ในเมืองพาราณสีนั้น ตั้งใจว่า พวกเราจักเลี้ยงพราหมณ์ แล้วถวายเครื่องบูชา จึงหุงข้าวปายาส แล้วปูอาสนะไว้. คนทั้งหลายเห็นคนทั้งสองนั้น กาลังเที่ยวภิกขาจาร เข้าใจว่า พราหมณ์มาแล้ว จึงให้เข้าไปในบ้าน ปูผ้าขาวไว้สาหรับพระมหาสัตว์ ปูผ้ากัมพลแดงไว้สาหรับทรีมุขกุมาร. ทรีมุขกุมารเห็นนิมิตนั้นแล้ว รู้ชัดว่า วันนี้ สหายของเราจักเป็นพระเจ้าพาราณสี ส่วนเราจักเป็ นเสนาบดี. ทั้งสองท่านบริโภค ณ ที่นั้น แล้วรับเอาเครื่องบูชา กล่าวมงคลแล้วออกไป ได้พากันไปถึงพระราชอุทยานนั้น. ในจานวนคนทั้งสองนั้น พระมหาสัตว์บรรทมแล้ว บนแผ่นศิลามงคล ส่วนทรีมุขกุมารนั่งนวดพระบาทของพระมหาสัตว์นั้น. วันนั้นเป็นวันที่ ๗ แห่งการสวรรคตของพระเจ้าพาราณสี. ปุโรหิตถวายพระเพลิงพระศพแล้ว ได้เสี่ยงบุษยราชรถในวันที่ ๗ เพราะราชสมบัติไม่มีรัชทายาท. กิจเกี่ยวกับบุษยราชรถ จักมีแจ้งชัด ใน มหาชนกชาดก.
  • 3. 3 บุษยราชรถออกจากพระนครไป มีจตุรงคเสนาห้อมล้อม พร้อมด้วยดุริยางค์หลายร้อยประโคมขัน ถึงประตูพระราชอุทยาน. ครั้งนั้น ทรีมุขกุมารได้ยินเสียงดุริยางค์ แล้วคิดว่า บุษยราชรถมาแล้วเพื่อสหายของเรา วันนี้สหายของเราจักเป็นพระราชา แล้วประทานตาแหน่งเสนาบดีแก่เรา เราจักประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน เราจักออกบวช ดังนี้แล้ว จึงไม่ทูลเชิญพระโพธิสัตว์ เลยไปยังที่สมควรข้างหนึ่ง แล้วได้ยืนอยู่ในที่กาบัง. ปุโรหิตหยุดรถที่ประตูพระราชอุทยาน แล้วเข้าไปยังพระราชอุทยาน เห็นพระโพธิสัตว์บรรทมบนแผ่นศิลามงคล ตรวจดูลักษณะที่เท้าลายพระบาท แล้วทราบว่า เป็ นคนมีบุญ สามารถครองราชสมบัติ สาหรับมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒ พันเป็ นบริวารได้ แต่คนเช่นนี้ คงเป็ นคนมีปัญญาเครื่องทรงจา จึงได้ประโคมดุริยางค์ทั้งหมดขึ้น. พระโพธิสัตว์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงนาผ้าสาฎกออกจากพระพักตร์ ทรงทอดพระเนตรเห็นมหาชน แล้วทรงเอาผ้าสาฎกปิดพระพักตร์อีก บรรทมหน่อยหนึ่ง ระงับความกระวนกระวาย แล้วเสด็จลุกขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิบนแผ่นศิลา. ปุโรหิตคุกเข่าลงแล้วทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ราชสมบัติกาลังตกถึงพระองค์. พ. ราชสมบัติไม่มีรัชทายาทหรือ? ปุ. ไม่มีพระพุทธเจ้าข้า พ. ถ้าอย่างนั้น ก็ดีแล้ว จึงทรงรับไว้. ประชาชนเหล่านั้นได้พากันทาการอภิเษกพระโพธิสัตว์นั้นที่พระราชอุ ทยานนั่นเอง. พระองค์มิได้ทรงราลึกถึงทรีมุขกุมาร เพราะความมียศมาก. พระองค์เสด็จขึ้นพระราชรถ มีบริวารห้อมล้อม เข้าไปสู่พระนคร ทรงกระทาประทักษิณ แล้วประทับยืนที่ประตูพระราชนิเวศน์นั่นเอง ทรงพิจารณาถึงฐานันดรของอามาตย์ทั้งหลาย แล้วเสด็จขึ้นสู่ปราสาท. ขณะนั้น ทรีมุขกุมารคิดว่า บัดนี้ พระราชอุทยานว่างแล้ว จึงมานั่งที่ศิลามงคล. ลาดับนั้น ใบไม้เหลืองได้ร่วงลงมาข้างหน้าของเขา เขาเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไปใน ใบไม้เหลืองนั้นนั่นเอง พิจารณาไตรลักษณ์ให้แผ่นดินกึกก้องไป พร้อมกับให้พระปัจเจกโพธิญาณเกิดขึ้น. ในขณะนั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ของท่านอันตรธานไป. บาตรจีวรที่สาเร็จด้วยฤทธิ์ ก็ล่องลอยมาจากอากาศสวมที่สรีระของท่าน.
  • 4. 4 ทันใดนั้นนั่นเอง ท่านก็เป็ นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบท เป็ นเหมือนพระเถระผู้มีพรรษาร้อยพรรษา เหาะไปในอากาศด้วยฤทธิ์ ได้ไปยังเงื้อมนันทมูลกะในท้องถิ่นป่าหิมพานต์. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็เสวยราชสมบัติโดยธรรม. แต่เพราะเป็นผู้มียศมากจึงทรงเป็ นผู้มัวเมาด้วยยศ ไม่ทรงราลึกถึงทรีมุขกุมาร เป็นเวลาถึง ๔๐ ปี. แต่เมื่อเวลาเลย ๔๐ ปี ผ่านไปแล้ว พระองค์ทรงราลึกถึงเขาแล้ว จึงตรัสว่า ฉันมีสหายอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า ทรีมุข เขาอยู่ที่ไหนหนอ? ดังนี้แล้ว มีพระราชประสงค์จะพบพระสหายนั้น. จาเดิมแต่นั้นมา พระองค์ก็ตรัสถามหาภายในเมืองบ้าง ท่ามกลางบริษัทบ้างว่า ทรีมุขกุมาร สหายของฉันอยู่ที่ไหน? ผู้ใดบอกที่อยู่ของเขาแก่ฉัน ฉันจะให้ยศสูงแก่ผู้นั้น. เมื่อพระองค์ทรงระลึกถึงเขาอยู่บ่อยๆ อย่างนี้นั่นแหละ ปีอื่นๆ ได้ผ่านไปถึง ๑๐ ปี. โดยเวลาผ่านไปถึง ๕๐ ปี แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทรีมุข ทรงราลึกถึงอยู่ ก็ทรงทราบว่า สหายราลึกถึงเราอยู่แล แล้วทรงดาริว่า บัดนี้ พระโพธิสัตว์นั้นทรงพระชรา จาเริญด้วยพระโอรสพระธิดา เราจักไปแสดงธรรมถวายให้พระองค์ทรงผนวช ดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จมาทางอากาศด้วยฤทธิ์ ลงที่พระราชอุทยาน นั่งบนแผ่นศิลา เหมือนพระพุทธรูปทองคาก็ปานกัน. เจ้าหน้าที่รักษาพระราชอุทยานเห็นท่านแล้ว เข้าไปเฝ้ าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านมาจากที่ไหน? พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสตอบว่า มาจากเงื้อมเขานันทมูลกะ จ. ท่านเป็ นใคร? พ. อาตมภาพคือพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า ทรีมุข โยม. จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงรู้จักในหลวงของข้าพระองค์ทั้งหลายไหม? พ. รู้จักโยม เวลาเป็ นคฤหัสถ์ พระองค์ทรงเป็นสหายของอาตมา. จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในหลวงมีพระราชประสงค์จะพบพระองค์ ข้าพระองค์จักทูลบอกว่า พระองค์เสด็จมาแล้ว. พ. เชิญโยม ไปทูลบอกเถิด. จ. รับพระบัญชาแล้ว รีบด่วนไปทีเดียว ทูลในหลวงถึงความที่พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าประทับอยู่ที่แผ่นศิลาแล้ว. ในหลวงตรัสว่า ได้ทราบว่า พระสหายของฉันมาแล้ว ฉันจักไปเยี่ยมท่าน แล้วเสด็จขึ้นรถไปยังพระราชอุทยาน
  • 5. 5 พร้อมด้วยข้าราชบริพารจานวนมาก ไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า ทาการปฏิสันถาร แล้วนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงทาปฏิสันถารกะพระองค์ พลางทูลคามีอาทิว่า ขอถวายพระพรพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ? ไม่ทรงลุอานาจอคติหรือ? ไม่ทรงเบียดเบียนประชาสัตว์ เพื่อต้องการทรัพย์หรือ? ทรงบาเพ็ญบุญ มีทานเป็นต้นอยู่หรือ? ดังนี้แล้ว ทูลว่า ขอถวายพระพรพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงพระชราภาพแล้ว บัดนี้เป็นสมัยของพระองค์ที่จะทรงละกาม เสด็จออกผนวชแล้ว. เมื่อจะทรงแสดงธรรมถวายพระองค์ จึงได้ทูลคาถาที่ ๑ ว่า :- กามทั้งหลายเหมือนหล่ม กามทั้งหลายเหมือนพุ ก็อาตมภาพได้ทูลภัยนี้ไว้ว่ามีมูล ๓ ธุลีและควัน อาตมภาพก็ได้ถวายพระพรแล้ว ข้าแต่พระเจ้าพรหมทัต มหาบพิตร ขอพระองค์จงทรงละสิ่งเหล่านั้น เสด็จออกผนวชเถิด. เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงทรงให้พระราชาทรงเกิดอุตสาหะในการบรรพชา ด้วยพระดารัสว่า ข้าแต่มหาบพิตร พระราชสมภารพรหมทัตเจ้า ขอพระองค์จงทรงละกามเหล่านี้ ทรงผนวชเถิด. พระราชา ครั้นทรงสดับคานั้นแล้ว เมื่อจะตรัสบอกความที่พระองค์ทรงคิดอยู่ด้วยกิเลสทั้งหลาย จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :- ดูก่อนพราหมณ์ โยมทั้งกาหนัด ทั้งยินดี ทั้งสยบอยู่ในกามทั้งหลาย ต้องการมีชีวิตอยู่ ไม่อาจละกามนั้นที่มีรูปสะพึงกลัวได้ แต่โยมจักทาบุญไม่ใช่น้อย. พระมหาบุรุษผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว เพราะกิเลสอันใดเล่า แม้เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสถึงคุณของบรรพชาแล้ว ก็ยังตรัสว่า โยมไม่สามารถจะบวชได้. พระเจ้าพรหมทัตพระองค์นี้ใด เมื่อทรงตรวจตราดูพุทธการกธรรมด้วยพระญาณที่เกิดขึ้นในพระองค์ แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ทรงเห็นเนกขัมมบารมีที่ ๓ แล้ว จึงทรงสรรเสริญคุณในเนกขัมมะอย่างนี้ว่า :- ถ้าพระองค์ปรารถนาบรรลุโพธิญาณไซร้ พระองค์จงสมาทานบาร มีที่ ๓ นี้ไว้ให้มั่นคงก่อน แล้วจึงไปสู่เนกขัมมบารมี. คนที่อยู่ในเรือนจามานานๆ
  • 6. 6 ถึงความทุกข์ จะไม่ให้ความยินดีเกิดขึ้นในเรือนจานั้น จะแสวงหาทางพ้นทุกข์อย่ างเดียว ฉันใด พระองค์ก็เช่นนั้นเหมือนกัน จงเห็นภพทั้งหมดเหมือนเรือนจา เป็นผู้บ่ายห น้าสู่เนกขัมมะแล้ว จักบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ. พระเจ้าพรหมทัตนั้น แม้เป็นผู้ที่พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญการบรรพชา แล้วถวายพระพรว่า ขอมหาบพิตรจงทรงทอดทิ้งกิเลสทั้งหลาย แล้วทรงเป็ นสมณะเถิด. จึงตรัสว่า โยมไม่อาจจะทอดทิ้งกิเลสเป็นสมณะได้. แม้เมื่อพระมหาสัตว์นั้นนั่นเอง ตรัสว่า โยมไม่อาจจะบวชได้ พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าก็ไม่ทรงทอดธุระ เมื่อจะถวายพระโอวาทให้ยิ่งขึ้นไป จึงตรัสคาถา ๒ คาถาไว้ว่า:- ผู้ที่ถูกผู้มุ่งประโยชน์ อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล กล่าวสอนอยู่ แต่ไม่ทาตามคาสอน เป็นคนโง่ สาคัญว่า สิ่งนี้เท่านั้นประเสริฐกว่าสิ่งอื่น จะเข้าถึงครรภ์สัตว์แล้วๆ เล่าๆ จะเข้าถึงนรกชนิดร้ายกาจ เหล่าสัตว์ที่ยังไม่ปราศจากราคะ ในกามทั้งหลาย ติดแล้วในกายของตน ละยังไม่ได้ ซึ่งที่ที่ไม่สะอาดของผู้สะอาดทั้งหลาย ที่เต็มไปด้วยมูตรและคูถ. พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงทุกข์ทั้งที่มีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็ นมูลฐาน ทั้งที่มีการบริหารเป็ นมูลฐานแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงทุกข์ที่มีการออกจากครรภ์เป็ นมูลฐาน จึงได้ตรัสคาถาหนึ่งกับกึ่งคาถาไว้ว่า :- สัตว์ทั้งหลายเลอะอุจจาระ เปื้อนเลือดเลอะไขออกมา เพราะว่า สัตว์ทั้งหลายถูกต้องสิ่งใดๆ ด้วยกายอยู่ในขณะใด ในขณะนั้นเองก็สัมผัสผองทุกข์ล้วนๆ ที่ไม่มีความแช่มชื่นเลย. อาตมภาพเห็นแล้ว จึงได้ทูลถวายพระพร ไม่ได้ฟังจากผู้อื่นทูลถวายพระพร แต่อาตมภาพระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยมาเป็นจานวนมาก. บัดนี้ พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง ครั้นตรัสว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นทรงสงเคราะห์พระราชา ด้วยพระคาถาสุภาษิตอย่างนี้แล้ว ได้ตรัสกึ่งคาถาไว้ในตอนสุดท้ายว่า :- พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าทรงยังพระราชาผู้ทรงมีพระปัญญาให้ทรงรู้ พระองค์ ด้วยพระคาถาทั้งหลาย ที่เป็นภาษิตมีเนื้อความวิจิตรพิสดาร.
  • 7. 7 พระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นทรงแสดงโทษในกามทั้งหลาย ทรงยังพระราชาให้ทรงถือเอาถ้อยคาของตนอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร บัดนี้พระองค์จะทรงผนวชหรือไม่ทรงผนวชก็ตาม แต่ว่า อาตมภาพได้แสดงโทษในกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการบวช ถวายมหาบพิตรแล้ว ขอมหาบพิตรจงอย่าทรงประมาท ดังนี้แล้ว ได้ทรงเหาะไปในอากาศ ทรงเหยียบกลีบเมฆ เสด็จไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะนั่นเอง เหมือนพระยาหงส์ทอง ฉะนั้น. พระมหาสัตว์ทรงประคองอัญชลีที่รุ่งโรจน์ รวมทั้ง ๑๐ นิ้วไว้บนพระเศียรนมัสการอยู่. เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นพ้นทัศนวิสัยไปแล้ว จึงตรัสสั่งให้หา พระราชบุตรพระองค์ใหญ่ คือเจ้าฟ้ าใหญ่มาเฝ้ า ทรงมอบราชสมบัติให้แล้ว เมื่อมหาชนกาลังร้องไห้คร่าครวญกันอยู่ ได้ทรงละกามทั้งหลาย เสด็จไปสู่ป่าหิมพานต์ ทรงสร้างบรรณศาลา ผนวชเป็ นฤๅษี ไม่นานเลย ก็ได้ทรงยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น ในเวลาสิ้นพระชนมายุ ก็ได้ทรงเข้าถึงพรหมโลก. พระศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มา ประกาศสัจจธรรม แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในเวลาจบสัจจธรรม คนทั้งหลายได้เป็ นพระโสดาบันเป็นต้นมากมาย. พระราชาในครั้งนั้น ก็คือ เราตถาคต ฉะนี้แล. -----------------------------------------------------