SlideShare a Scribd company logo
1
กุสชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๒๐. สัตตตินิบาต
๑. กุสชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๑)
ว่าด้วยพระเจ้ากุสะหลงรูปโฉมนางประภาวดี
(พระเจ้ากุสโพธิสัตว์กราบทูลพระมารดาว่า)
[๑] เสด็จแม่ นี้แคว้นของเสด็จแม่ มีทรัพย์สมบัติ ยานพาหนะ
เครื่องประดับ สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง
ขอเสด็จแม่ทรงปกครองราชสมบัติของเสด็จแม่นี้เถิด
หม่อมฉันจะไปยังนครที่พระนางประภาวดี ผู้เป็นที่รักประทับอยู่
(พระนางประภาวดีกราบทูลว่า)
[๒] พระองค์มีพระทัยไม่ซื่อตรง ทรงหาบคอนหาบใหญ่
จักทรงเหน็ดเหนื่อย ทั้งกลางวัน กลางคืน และดึกดื่นเที่ยงคืน ข้าแต่พระเจ้ากุสะ
ขอเชิญพระองค์รีบเสด็จกลับกรุงกุสาวดีโดยพลันเถิด
หม่อมฉันไม่ประสงค์จะให้พระองค์ ผู้ทรงมีผิวพรรณทรามประทับอยู่ ณ ที่นี้
(พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๓] พี่จะไม่จากที่นี้ไปกรุงกุสาวดี น้องประภาวดี
พี่ลุ่มหลงในความงามของเธอ
จึงยินดีอยู่ในที่ประทับอันน่ารื่นรมย์ของพระเจ้ามัททะ พี่ยินดีพอใจที่จะเห็นเธอ
จึงละทิ้งแคว้นมา
[๔] น้องประภาวดี พี่ลุ่มหลงในผิวพรรณของเธอ
จึงซมซานท่องเที่ยวไปสู่เมทนีดล ไม่รู้จักทิศว่า เรามาจากไหน
มัวแต่มัวเมาหลงใหลในตัวเธอ ผู้มีดวงตาประดุจตาลูกน้อยเนื้อทราย
[๕] น้องนางผู้มีสะโพกอันผึ่งผาย ทรงผ้าขลิบทอง เครื่องประดับทองคา
พี่ไม่มีความต้องการราชสมบัติ เพราะปรารถนาตัวเธอ
(พระนางประภาวดีกราบทูลว่า)
[๖] ข้าแต่พระราชาผู้เจริญ ผู้ใดปรารถนาบุคคลที่เขาไม่ปรารถนา
ผู้นั้นย่อมไม่มีความเจริญ พระองค์ต้องการบุคคลที่เขาไม่ต้องการ
ปรารถนารักใคร่บุคคลที่เขาไม่รักใคร่
(พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๗] คนใดได้คนที่ไม่ต้องการตนก็ตาม ที่ต้องการตนก็ตามมาเป็นคนรัก
เราสรรเสริญการได้ในความรักนี้ของคนนั้น
การไม่ได้ในความรักนั้นซิเป็ นความโชคร้าย
(พระนางประภาวดีกราบทูลว่า)
2
[๘] พระองค์ทรงปรารถนาหม่อมฉันผู้ไม่ปรารถนาพระองค์
เปรียบเสมือนพระองค์ทรงใช้ไม้กรรณิการ์ขุดเพชร (หรือ) ทรงใช้ตาข่ายดักลม
(พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๙] หินคงถูกฝังไว้ในพระหทัยอันมีลักษณะ
อ่อนละมุนละไมของพระนางเป็นแน่ เพราะหม่อมฉันมาจากชนบทบ้านนอก
ยังมิได้ประสบความแช่มชื่นจากพระนางเลย
[๑๐] เมื่อใด พระราชบุตรีหน้านิ่ว ทอดพระเนตรหม่อมฉัน
เมื่อนั้นหม่อมฉันก็ยังคงเป็นคนครัวภายในเมืองของพระเจ้ามัททะ
[๑๑] เมื่อใด พระราชบุตรีทรงแย้มสรวลทอดพระเนตรหม่อมฉัน
เมื่อนั้น หม่อมฉันไม่ใช่คนครัว เมื่อนั้น หม่อมฉันเป็นพระเจ้ากุสะ
(พระนางประภาวดีกราบทูลว่า)
[๑๒] ก็ถ้าว่า คาทานายของโหรทั้งหลายจักเป็นความจริงว่า
พระองค์ไม่ใช่พระสวามีของหม่อมฉันแน่นอน
ขอชนทั้งหลายจงสับหม่อมฉันให้เป็น ๗ ท่อนเถิด
(พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๑๓] ก็ถ้าว่า คาทานายของพวกโหรอื่น
หรือของหม่อมฉันจักเป็นความจริงไซร้
คนอื่นนอกจากพระเจ้ากุสะผู้มีพระสุรเสียงดังราชสีห์
ไม่ใช่พระสวามีของพระนางแน่นอน
(พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ทรงหยอกล้อหญิงค่อม
พระพี่เลี้ยงพระนางประภาวดีว่า)
[๑๔] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว
จักให้ช่างทองทาสร้อยคอทองคาแก่เจ้า
ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง จะพึงเหลียวมองดูเรา
[๑๕] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว
จักให้ช่างทองทาสร้อยคอทองคาแก่เจ้า
ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง จะพึงเจรจากับเรา
[๑๖] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว
จักให้ช่างทองทาสร้อยคอทองคาแก่เจ้า
ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง จะพึงทรงยิ้มแย้มให้เรา
[๑๗] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว
จักให้ช่างทองทาสร้อยคอทองคาแก่เจ้า
ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง จะพึงทรงพระสรวลกับเรา
[๑๘] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว
จักให้ช่างทองทาสร้อยคอทองคาแก่เจ้า
3
ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง
จะพึงทรงจับต้องเราด้วยพระหัตถ์ทั้ง ๒
(นางค่อมไปกราบทูลพระนางประภาวดีว่า)
[๑๙]
ก็พระราชบุตรีพระองค์นี้คงจะไม่ประสบแม้ความสาราญพระทัยในพระเจ้ากุสะ
ผู้เป็นคนครัว คนรับใช้ คนเลี้ยงดู ซึ่งไม่ทรงประสงค์ค่าจ้างอย่างแน่แท้
(พระนางประภาวดีตรัสว่า)
[๒๐] ก็นางค่อมคนนี้คงยังไม่ได้ถูกมีดคมตัดลิ้นแน่นอน
จึงยังกล่าวชั่วช้าอย่างนี้อยู่
(นางค่อมประกาศความดีของพระโพธิสัตว์ว่า)
[๒๑] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีพระยศใหญ่
แล้วทาความรักในความงามเถิด
[๒๒] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีทรัพย์มากมาย
แล้วทาความรักในความงามเถิด
[๒๓] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีพระกาลังมาก
แล้วทาความรักในความงามเถิด
[๒๔] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า
พระองค์ทรงมีพระราชอาณาจักรกว้างใหญ่ แล้วทาความรักในความงามเถิด
[๒๕] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงเป็นมหาราช
แล้วทาความรักในความงามเถิด
[๒๖] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีพระสุรเสียงดังราชสีห์
แล้วทาความรักในความงามเถิด
4
[๒๗] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า
พระองค์ทรงมีพระสุรเสียงไพเราะ แล้วทาความรักในความงามเถิด
[๒๘] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า
พระองค์ทรงมีพระสุรเสียงหยดย้อย แล้วทาความรักในความงามเถิด
[๒๙] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า
พระองค์ทรงมีพระสุรเสียงหวานจับใจ แล้วทาความรักในความงามเถิด
[๓๐] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า
พระองค์ทรงมีพระสุรเสียงไพเราะอ่อนหวาน แล้วทาความรักในความงามเถิด
[๓๑] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า
พระองค์ทรงมีศิลปะนับเป็นร้อยๆ อย่าง แล้วทาความรักในความงามเถิด
[๓๒] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์
แล้วทาความรักในความงามเถิด
[๓๓] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ
พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย
แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงพระนามว่าพระเจ้ากุสะ
แล้วทาความรักในความงามเถิด
(เหล่าอามาตย์กราบทูลพระเจ้ามัททะว่า)
[๓๔] พระราชาผู้ประเสริฐเหล่านี้ทรงกระด้างยิ่งนัก
ทั้งหมดสวมเกราะประทับยืนตระหง่านอยู่
ก่อนที่พระราชาเหล่านั้นจะทรงทาลายกาแพง
ขอพระองค์จงทรงส่งพระราชสาส์นไปว่า
ขอพระราชาทั้งหลายจงนาเอาพระธิดาประภาวดีไปเถิด
(พระเจ้ามัททะตรัสว่า)
[๓๕] เราจักสับลูกหญิงประภาวดีนั้นให้เป็ น ๗ ท่อนแล้ว
ถวายให้แก่พระราชาทั้งหลายที่เสด็จมาเพื่อฆ่าเรา ณ ที่นี้
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๓๖] พระราชบุตรีผู้มีผิวพรรณดุจทอง ทรงผ้าไหมสีขลิบทอง
พระเนตรทั้ง ๒ นองไปด้วยพระอัสสุชล มีหมู่นางทาสีห้อมล้อมได้เสด็จลุกขึ้นแล้ว
5
(พระนางประภาวดีทรงคร่าครวญว่า)
[๓๗] ดวงหน้าหม่อมฉันที่ลูบไล้ด้วยแป้ ง
ส่องดูที่กระจกเงาด้ามงาอันงดงาม
มีดวงตาคมคายผุดผ่องเป็นยองใยไม่มีไฝฝ้ านั้น
จักถูกพวกกษัตริย์โยนทิ้งไว้ในป่าเป็นแน่
[๓๘] เส้นผมทั้งหลายของหม่อมฉันที่ดาสนิท มีปลายงอน
อ่อนละมุนละไม ที่ลูบไล้ด้วยน้ามันแก่นจันทน์เหล่านั้น
นกแร้งทั้งหลายจะพากันใช้เท้าทั้ง ๒ ตะกุยคุ้ยเขี่ย
ให้ยุ่งเหยิงในท่ามกลางป่าช้าเป็นแน่
[๓๙] แขนทั้ง ๒ ของหม่อมฉันอ่อนนุ่ม มีเล็บมือแดง
มีขนละเอียดอ่อนซึ่งลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์เหล่านั้น
จะถูกพวกกษัตริย์ตัดทิ้งไว้ในป่า นกกาก็จะคาบเอาไปตามความต้องการเป็นแน่
[๔๐] ถันทั้ง ๒ ของหม่อมฉันยังไม่หย่อนยาน เปรียบปานได้กับผลตาล
ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์แดงจากแคว้นกาสีเหล่านั้น
สุนัขจิ้งจอกเห็นเข้าแล้วจักยื้อดึงถันทั้ง ๒ ของหม่อมฉัน
เหมือนลูกอ่อนอันเกิดแต่ตนยื้อดึงถันทั้ง ๒ ของมารดาเป็ นแน่
[๔๑] สะโพกอันกลมกลึงผึ่งผาย ที่ผูกห้อยประดับ
ด้วยสายสร้อยรัดเอวทองคาของหม่อมฉันซึ่งถูกตัด
ที่พวกกษัตริย์โยนทิ้งไว้ในป่านั้น ฝูงสุนัขจิ้งจอกจะยื้อแย่งเป็นแน่แท้
[๔๒] ฝูงสุนัขป่า ฝูงกา ฝูงสุนัขจิ้งจอก
และสัตว์ที่มีเขี้ยวเหล่าอื่นใดที่มีอยู่
พวกมันได้กัดกินเจ้าหญิงประภาวดีเป็ นภักษาหารแล้ว คงจักไม่แก่ชราเป็นแน่
[๔๓] ข้าแต่ทูลกระหม่อมแม่
หากกษัตริย์ทั้งหลายผู้เสด็จไปสู่หนทางไกล
ได้ทรงนาเอาชิ้นเนื้อของหม่อมฉันไป
ขอเสด็จแม่โปรดทรงขอกระดูกไว้แล้วเผามันทิ้งเสียในระหว่างทาง
[๔๔] ทูลกระหม่อมแม่ ขอเสด็จแม่โปรดให้สร้างเป็ นสวน
แล้วให้ปลูกต้นกรรณิการ์ไว้ในเขตนี้ เมื่อใด
ต้นกรรณิการ์เหล่านั้นมีดอกบานสะพรั่ง ในคราวหิมะตกแห่งฤดูเหมันต์ เมื่อนั้น
เสด็จแม่พึงราลึกถึงหม่อมฉันว่า ลูกประภาวดีของแม่มีผิวพรรณอย่างนี้
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๔๕] นางกษัตริย์ผู้มีผิวพรรณดังเทพอัปสร
ซึ่งเป็ นพระมารดาของเจ้าหญิงประภาวดีนั้น ทอดพระเนตรเห็นดาบและเขียง
ภายในบุรีของพระเจ้ามัททะ จึงเสด็จลุกขึ้น
(พระมารดาของพระนางประภาวดี ทรงราพันว่า)
6
[๔๖] ข้าแต่เสด็จพี่มัททะ
พระองค์จักทรงประหารพระธิดาเอวบางร่างน้อยซึ่งเป็ นที่รู้จักกันเป็ นอย่างดี
ด้วยพระแสงดาบนี้แล้วประทานให้แก่กษัตริย์ทั้งหลายแน่ละหรือ
[๔๗] ลูกหญิง ลูกไม่ทาตามคาของแม่ผู้หวังประโยชน์
ลูกนั้นจะมีเลือดโซมกายไปสู่สานักพญายมในวันนี้
[๔๘] คนใดแลไม่ทาตามคาของผู้หวังเกื้อกูล
และบ่งชี้ประโยชน์ทั้งหลาย คนนั้นย่อมต้องลาบากอย่างนี้
และต้องประสบความชั่วร้ายยิ่งกว่า
[๔๙] ก็ถ้าวันนี้ลูกหญิงมีพระกุมารทรงโฉมงดงาม
ประดุจฉาบไว้ด้วยทอง เป็นกษัตริย์ทรงกาเนิดกับพระเจ้ากุสะ
สวมใส่สร้อยสังวาลทองคาประดับแก้วมณี ที่หมู่พระญาติทรงบูชาแล้ว
ก็จะไม่ต้องไปสู่นิเวศน์พญายม
[๕๐] กลองบันลือเสียงสนั่น ช้างก็ร้องเสียงดังกึกก้อง
ในตระกูลแห่งกษัตริย์ทั้งหลาย ลูกหญิงเอ๋ย อะไรเล่าจะสุขกว่านั้น
[๕๑] ม้าศึกคะนองร้องคารามอยู่ที่พระทวาร กุมารร้องราทาเพลงอยู่
ในตระกูลแห่งกษัตริย์ทั้งหลาย ลูกหญิงเอ๋ย อะไรเล่าจะสุขกว่านั้น
[๕๒] ตระกูลของกษัตริย์ทั้งหลาย
มีเสียงร้องดังกึกก้องของเหล่านกยูงและนกกระเรียน
และมีเสียงร้องเสนาะไพเราะแห่งเหล่านกดุเหว่า ลูกหญิงเอ๋ย
อะไรเล่าจะสุขกว่านั้น
(พระมารดาของพระนางประภาวดี
ตรัสกับพระนางประภาวดีแล้วตรัสว่า)
[๕๓] พระเจ้ากุสะพระองค์ใดทรงมีพระปรีชาอันโอฬาร
ย่ายีศัตรูปราบปรามแคว้นของพระราชาพระองค์อื่น
จะพึงปลดเปลื้องพวกเราจากความทุกข์ได้ พระเจ้ากุสะพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ
ที่ไหนหนอ
(พระนางประภาวดีกราบทูลว่า)
[๕๔] พระเจ้ากุสะพระองค์ใดทรงมีพระปรีชาอันโอฬาร ย่ายีศัตรู
ปราบปรามแคว้นของพระราชาพระองค์อื่น
จักทรงกาจัดกษัตริย์เหล่านั้นทั้งหมดได้ พระเจ้ากุสะพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ ที่นี้
พระเจ้าข้า
(พระมารดาตรัสว่า)
[๕๕] เจ้าเป็ นบ้าหรือ จึงพูดออกมาเหมือนเด็กไร้เดียงสาพูด
ถ้าพระเจ้ากุสะพึงเสด็จมา ทาไมพวกเราจะไม่รู้จักพระองค์เล่า
(พระนางประภาวดีกราบทูลว่า)
7
[๕๖] พระเจ้ากุสะคือคนครัวนั่น ทรงหยักรั้งอย่างมั่นคง
กาลังก้มล้างหม้ออยู่ระหว่างตาหนักเจ้าหญิงทั้งหลาย
(พระมารดาตรัสบริภาษว่า)
[๕๗] เจ้าเป็ นช่างถาก เป็ นหญิงจัณฑาล หรือเป็นคนทาลายวงศ์ตระกูล
เจ้าเกิดในวงศ์ตระกูลของพระเจ้ามัททะ ไฉนจึงทาพระสวามีให้เป็นทาส
(พระนางประภาวดีกราบทูลว่า)
[๕๘] หม่อมฉันมิใช่ช่างถาก มิใช่หญิงจัณฑาล
และมิใช่คนทาลายวงศ์ตระกูล ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ
พระเจ้ากุสะนั้นคือพระราชบุตรของพระเจ้าโอกกากราช
เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส
(พระนางประภาวดีทรงสรรเสริญพระเกียรติยศของพระเจ้ากุสโพธิสัตว์ว่า)
[๕๙] พระราชาพระองค์ใดทรงเชื้อเชิญพราหมณ์ ๒๐,๐๐๐ คน
ให้บริโภคทุกเมื่อ ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ
พระราชาพระองค์นั้นคือพระโอรสของพระเจ้าโอกกากราช
เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส
[๖๐] เจ้าพนักงานตระเตรียมช้าง ๒๐,๐๐๐ เชือกไว้ทุกเมื่อ
เพื่อพระราชาพระองค์ใด ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ
พระราชาพระองค์นั้นคือพระโอรสของพระเจ้าโอกกากราช
เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส
[๖๑] เจ้าพนักงานตระเตรียมม้า ๒๐,๐๐๐ ตัวไว้ทุกเมื่อ
เพื่อพระราชาพระองค์ใด ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ
พระราชาพระองค์นั้นคือพระโอรสของพระเจ้าโอกกากราช
เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส
[๖๒] เจ้าพนักงานตระเตรียมราชรถ ๒๐,๐๐๐ คันไว้ทุกเมื่อ
เพื่อพระราชาพระองค์ใด ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ
พระราชาพระองค์นั้นคือพระโอรสของพระเจ้าโอกกากราช
เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส
[๖๓] เจ้าพนักงานรีดน้านมแม่โค ๒๐,๐๐๐ ตัวไว้ทุกเมื่อ
เพื่อพระราชาพระองค์ใด ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ
พระราชาพระองค์นั้นคือพระโอรสของพระเจ้าโอกกากราช
เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส
(พระเจ้ามัททะทรงตาหนิพระธิดาว่า)
8
[๖๔] โอ ลูกหญิงผู้โง่เขลา เจ้านั้นชั่วช้าเหลือเกิน
ที่ไม่บอกถึงองค์กษัตริย์ผู้ทรงพลังมหาศาลดุจพญาช้าง แปลงเป็ นกบเสด็จมา ณ
ที่นี้
(พระเจ้ามัททะทรงแสดงโทษของพระองค์ว่า)
[๖๕] ข้าแต่มหาราชผู้จอมทัพ ขอพระองค์โปรดงดโทษแก่หม่อมฉัน
ที่ไม่ทราบว่าทรงปลอมพระองค์เสด็จมา ณ ที่นี้
(พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๖๖] การที่หม่อมฉันเป็นคนครัวนั้นไม่เป็ นการปกปิด
สาหรับคนเช่นหม่อมฉันเลย ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
พระองค์ทรงเลื่อมใสหม่อมฉันต่างหาก การกระทาผิดของพระองค์ไม่มี
(พระเจ้ามัททะส่งพระนางประภาวดีไปขอโทษว่า)
[๖๗] นี่ลูกหญิงผู้โง่เขลา เจ้าจงไปขอให้พระเจ้ากุสะ
ผู้ทรงพลังมหาศาลทรงงดโทษเสีย พระเจ้ากุสะพระองค์นั้นผู้ที่เจ้าให้งดโทษแล้ว
จะประทานชีวิตให้เจ้า
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๖๘] เจ้าหญิงประภาวดีผู้มีผิวพรรณดุจเทพอัปสร
ทรงสดับพระดารัสของพระปิตุราชแล้วทรงซบพระเศียร
กอดพระบาทพระเจ้ากุสะผู้ทรงพลังมหาศาล
(พระนางประภาวดีกราบทูลว่า)
[๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ราตรีทั้งหลายเหล่านี้ใดล่วงเลยไป
ราตรีทั้งหลายเหล่านี้นั้นเว้นจากพระองค์ล่วงเลยไปแล้ว
หม่อมฉันขอถวายบังคมพระบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่พระจอมทัพ
ขอพระองค์โปรดอย่าทรงกริ้วหม่อมฉันเลย พระเจ้าข้า
[๗๐] หม่อมฉันขอถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระองค์ ขอเดชะมหาราช
โปรดสดับคาของหม่อมฉัน
หม่อมฉันจะไม่กระทาความชิงชังต่อพระองค์อีกต่อไป
[๗๑]
ถ้าพระองค์ไม่ทรงโปรดกระทาตามคาของหม่อมฉันผู้ทูลวิงวอนอยู่อย่างนี้
พระราชบิดาก็จักทรงเข่นฆ่าหม่อมฉัน แล้วประทานให้แก่กษัตริย์ทั้งหลาย ณ
กาลบัดนี้
(พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๗๒] เมื่อพระน้องนางอ้อนวอนอยู่อย่างนี้
ไฉนพี่จะไม่กระทาตามคาของพระน้องนางเล่า แม่ประภาวดีผู้เลอโฉม
พระน้องนางอย่าทรงกลัวไปเลย พี่ไม่โกรธพระน้องนางหรอก
9
[๗๓] พี่ขอให้สัตย์ปฏิญาณต่อพระน้องนาง
พระราชบุตรีโปรดทรงสดับคาของพี่เถิด
พี่จะไม่กระทาความชิงชังต่อพระน้องนางอีกต่อไป
[๗๔] แม่ประภาวดีผู้มีสะโพกผึ่งผาย ความจริง
พี่สามารถที่จะย่ายีตระกูลกษัตริย์มัททราชมากมาย ให้ย่อยยับแล้วนาพระนางไป
แต่เพราะความรักพระนาง จึงยอมสู้ทนอดกลั้นความทุกข์อย่างล้นเหลือ
(พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ให้ขัตติยมานะเกิดขึ้น แล้วตรัสว่า)
[๗๕] ข้าหลวงทั้งหลาย จงตระเตรียมราชรถ
ที่วิจิตรไปด้วยเครื่องอลังการต่างๆ และม้าที่ฝึกฝนดีแล้ว ต่อแต่นั้น
ท่านทั้งหลายจงดูความเร็วของเรา ผู้กาลังกาจัดศัตรูเถิด
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๗๖] หญิงทั้งหลายภายในบุรีของพระเจ้ามัททะ
พากันมองดูพระเจ้ากุสะนั้น กาลังทรงเยื้องกรายดุจราชสีห์ ปรบพระหัตถ์
เสวยพระกระยาหารเป็นสองเท่า ณ ที่นั้น
[๗๗] พระเจ้ากุสะเสด็จขึ้นทรงคอช้าง
และโปรดให้พระนางประภาวดีขึ้นประทับด้วย
ทรงหยั่งลงสู่สงครามบันลือสีหนาท
[๗๘]
กษัตริย์ทั้งหลายนอกนี้ทรงสดับพระสุรสีหนาทของท้าวเธอผู้ทรงบันลืออยู่
ถูกความหวาดกลัวต่อพระสุรเสียงของพระเจ้ากุสะคุกคาม
จึงพากันเสด็จหนีไปเหมือนหมู่เนื้อหวาดกลัวต่อเสียงราชสีห์แล้วพากันหนีไป
[๗๙] กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบ
ถูกความหวาดกลัวต่อพระสุรเสียงของพระเจ้ากุสะคุกคาม
ต่างพากันฟาดฟันกันเอง
[๘๐] ในสงครามสาคัญครั้งนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทรงมีพระหฤทัยร่าเริงชื่นชมยินดี
จึงได้พระราชทานแก้วมณีอันไพโรจน์ดวงหนึ่งแด่พระเจ้ากุสะ
[๘๑] พระราชาพระองค์นั้นครั้นทรงชนะสงครามนั้นแล้ว
ได้รับพระราชทานแก้วมณีอันไพโรจน์ ประทับบนคอช้าง เสด็จเลียบบุรีนคร
[๘๒] ทรงจับเป็นกษัตริย์ทั้ง ๗ พระองค์ แล้วทรงพันธนาการ
ให้น้อมนาเข้าไปถวายต่อพระสัสสุระ (พ่อตา) ด้วยพระดารัสว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กษัตริย์เหล่านี้เป็นศัตรูของพระองค์
[๘๓] พวกศัตรูทั้งหมดที่จะกาจัดพระองค์
ก็ตกอยู่ในอานาจของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ทรงทาตามพระประสงค์เถิด
จะทรงปล่อยหรือจะทรงประหารกษัตริย์เหล่านั้นก็ตามพระทัยเถิด
10
(พระเจ้ามัททะตรัสว่า)
[๘๔] กษัตริย์เหล่านี้เป็ นศัตรูของพระองค์ต่างหาก
มิใช่เป็นศัตรูของหม่อมฉันเลย ข้าแต่มหาราช
พระองค์เท่านั้นทรงเป็นใหญ่กว่าหม่อมฉัน
จะทรงปล่อยหรือจะทรงประหารกษัตริย์เหล่านั้น ก็ตามพระทัยเถิด
(พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๘๕] พระธิดาทั้ง ๗ ของพระองค์เหล่านี้ ทรงเลอโฉม
อุปมาดังเทพกัญญา
ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระราชธิดาแต่ละพระองค์แด่กษัตริย์เหล่านั้น
ขอกษัตริย์เหล่านั้นทั้งหมดจงเป็ นพระราชบุตรเขยของพระองค์เถิด
(พระเจ้ามัททะตรัสกับพระเจ้ากุสโพธิสัตว์ว่า)
[๘๖] ข้าแต่มหาราช พระองค์เท่านั้นทรงเป็ นใหญ่กว่าหม่อมฉัน
กว่าธิดาของหม่อมฉันเหล่านั้น และกว่าหม่อมฉันทั้งปวง
ขอพระองค์ทรงพระราชทานธิดาทั้งหลายของหม่อมฉัน
แด่กษัตริย์เหล่านั้นตามที่พระองค์ทรงพระประสงค์เถิด
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๘๗] ในกาลนั้น พระเจ้ากุสะ ผู้ทรงมีพระสุรเสียงประหนึ่งราชสีห์
ได้พระราชทานพระธิดาของพระเจ้ามัททะ แด่กษัตริย์เหล่านั้นพระนางละองค์
[๘๘] กษัตริย์ทั้ง ๗ พระองค์ต่างพากันเอิบอิ่มพระทัยด้วยการได้นั้น
ทรงมีพระทัยยินดีในพระเจ้ากุสะ ผู้มีพระสุรเสียงประหนึ่งราชสีห์
ต่างฝ่ายต่างเสด็จกลับสู่แคว้นของตนทันที
[๘๙] ส่วนพระเจ้ากุสะผู้ทรงพลังมหาศาล
ทรงพาเจ้าหญิงประภาวดีและแก้วมณี อันไพโรจน์งดงามเสด็จกลับยังกรุงกุสาวดี
[๙๐] เมื่อพระราชาและพระราชเทวีทั้ง ๒ พระองค์นั้น
เสด็จไปในราชรถคันเดียวกัน เสด็จเข้าไปยังกรุงกุสาวดี
ทรงมีพระฉวีวรรณและพระรูปโฉมทัดเทียมกัน
มิได้ทรงรุ่งโรจน์ยิ่งกว่ากันและกันเลย
[๙๑] ในกาลนั้น พระราชมารดาได้ทรงพบ พระราชบุตรและพระชายา
พระบิดาและพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้นทรงสมัครสมานกัน
ครอบครองแผ่นดินกุสาวดีให้รุ่งเรืองแผ่ไพศาลสืบมา
กุสชาดกที่ ๑ จบ
---------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
กุสชาดก
ว่าด้วย พระเจ้ากุสราชลุ่มหลงรูปโฉมของนางประภาวดี
11
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภภิกษุ ผู้ไม่ยินดีในพระธรรมวินัย มีใจคิดจะสึกรูปหนึ่ง.
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีคนหนึ่งได้ถวายชีวิตในพระศาสนา
บรรพชาแล้ว. วันหนึ่ง เธอเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี
เห็นสตรีนางหนึ่งซึ่งแต่งกายงดงาม มองดูด้วยอานาจถือเอานิมิตอันงาม
ถูกกิเลสเข้าครอบงาจนหมดความยินดียิ่งอยู่แล้ว. เธอมีผมและเล็บงอกยาวขึ้น
มีจีวรเศร้าหมอง มีตัวผอมเหลืองเกิดแล้ว มีกายอันสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น.
มีอุปมาเหมือนอย่าง บุพนิมิต ๕ ประการที่ปรากฏแก่เทวบุตรทั้งหลาย
ผู้มีอันจะต้องจุติเป็นธรรมดาในเทวโลก คือ
พวงมาลัยย่อมเหี่ยวแห้ง ๑ ผ้านุ่งห่มเศร้าหมอง ๑
ผิวกายอันเศร้าหมอง ย่อมก้าวลงในสรีระ ๑ เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง ๑
เทวดาไม่รื่นรมย์ในทิพยอาสน์ ๑ ฉันใด
บุพนิมิต ๕ ประการ ก็ย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในพระธรรมวินัย
มีใจคิดจะสึก ผู้จะต้องเคลื่อนจากศาสนาเป็นธรรมดา ได้แก่
ดอกไม้ คือศรัทธาย่อมเหี่ยวแห้งไป ๑ ผ้า คือศีลย่อมเศร้าหมอง ๑
ผิวพรรณอันเศร้าหมอง ย่อมก้าวลงในสรีระด้วยความเป็ นผู้เก้อเขิน
และด้วยอานาจแห่งความไม่มียศ ๑ เหงื่อ คือกิเลสทั้งหลายย่อมไหลออก ๑
ภิกษุนั้นย่อมไม่ยินดีในป่า ที่โคนต้นไม้ ในเรือนอันว่างเปล่า ฉันนั้นก็เหมือนกัน.
นิมิตทั้งหลายปรากฏแล้วแก่ภิกษุนั้น.
ลาดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงได้นาเธอเข้าไปในสานักของพระศาสดาแล้ว
แสดงให้ทรงทราบว่า ภิกษุรูปนี้คิดต้องการจะสึก พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุได้ยินว่า เธอคิดจะสึกจริงหรือ.
เมื่อภิกษุรูปนั้นกราบทูลตามความเป็นจริงแล้ว
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธออย่าตกอยู่ในอานาจแห่งกิเลสเลย.
ธรรมดาว่า มาตุคามนี้เป็นข้าศึก (ต่อการประพฤติพรหมจรรย์)
เธอจงหักห้ามจิตที่คิดรักใคร่เยื่อใยในมาตุคามนั้นเสีย จงยินดีในพระศาสนาเถิด.
จริงอยู่ บัณฑิตครั้งโบราณทั้งหลาย แม้จะเป็นผู้มีเดช ย่อมต้องเสื่อมไปได้
เพราะเป็นผู้มีจิตคิดรักใคร่ในมาตุคาม และเป็นผู้หมดเดช
ถึงความพินาศย่อยยับเพราะมาตุคาม. ดังนี้แล้ว ได้ทรงนิ่งเฉยอยู่
ได้รับการอาราธนาจากภิกษุเหล่านั้น จึงทรงนาอดีตนิทานมา ตรัสว่า
ในอดีตกาล
พระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าโอกกากราช ทรงครองราชสมบัติโ
ดยธรรม ในราชธานีชื่อกุสาวดี ในแว่นแคว้นมัลละ.
ท้าวเธอมีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า สีลวดี ซึ่งเป็ นใหญ่กว่านางสนมจานวน
12
๑๖,๐๐๐ นาง. พระนางสีลวดีนั้น หามีพระโอรสและพระธิดาไม่. ลาดับนั้น
ชาวเมืองและชาวแว่นแคว้นทั้งหลาย
จึงพากันมาประชุมที่พระทวารพระราชนิเวศน์แล้ว
ร้องเรียนแด่พระราชาพระองค์นั้นว่า บ้านเมืองจักพินาศ บ้านเมืองจักฉิบหาย.
พระราชาทรงให้เปิดสีหบัญชรออก แล้วตรัสถามว่า เมื่อเราครองรัฐอยู่
ขึ้นชื่อว่าการกระทาสิ่งอันไม่เป็ นธรรม ย่อมไม่มี. พวกท่านจะมาร้องเรียน
ทาไมกัน. พวกประชาชนกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ เป็นความจริง
ขึ้นชื่อว่าการกระทาสิ่งที่ไม่เป็ นธรรม มิได้มีเลย.
ก็แต่ว่าพระโอรสผู้จะสืบวงศ์ของพระองค์ ยังไม่มี.
ชนเหล่าอื่นจักช่วงชิงเอาพระราชสมบัติแล้ว ทาบ้านเมืองให้พินาศล่มจม.
เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงทรงปรารถนาพระโอรส
ผู้สามารถจะปกครองพระราชสมบัติโดยธรรมเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า
เราก็ต้องการปรารถนาพระโอรสอยู่ แต่จะทาอย่างไรดี.
ประชาชนกราบทูลวิธีการว่า ขอเดชะ ขั้นแรก
ขอพระองค์จงทรงปล่อยนางฟ้ อนรุ่นเล็กสักนางหนึ่ง
กระทาให้เป็นนางฟ้ อนโดยธรรมไปสัก ๗ วันก่อน. ถ้านางได้บุตรก็เป็นการดี
ถ้าไม่ได้. ต่อจากนั้น ขอให้ทรงปล่อยนางฟ้ อนชั้นกลาง. แต่นั้น
ขอให้ทรงปล่อยนางฟ้ อนชั้นสูง. บรรดานางสนมมีประมาณเท่านี้
นางสนมผู้มีบุญคนหนึ่ง จักได้พระโอรสเป็ นแน่แท้.
พระราชาทรงกระทาตามถ้อยคาของชาวเมืองเหล่านั้นทุกอย่าง
ทรงอภิรมย์ตามความสุขสบายตลอด ๗ วัน. จึงตรัสถามนางสนม
ที่พากันกลับมาแล้วว่า พวกเธอพอจะให้บุตรได้บ้างไหม?
หญิงทั้งหมดกราบทูลว่า ขอเดชะ หม่อมฉันทั้งหลายให้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงเสียพระทัยว่า โอรสจักไม่เกิดแก่เราเป็นแน่.
ชาวเมืองทั้งหลายก็พากันร้องเรียนขึ้น เหมือนอย่างนั้นซ้าอีก. พระราชาตรัสว่า
พวกท่านทั้งหลายจะพากันมาร้องเรียนเอาอะไรกัน
เราได้ปล่อยพวกนางฟ้ อนไปตามคาของพวกท่านแล้ว จนถึงเหลือนางคนหนึ่ง
ก็ยังไม่ได้บุตร. บัดนี้ เราจะกระทาการอย่างไรกัน.
พวกชาวเมืองกราบทูลว่า ขอเดชะ นางเหล่านั้นจักเป็นผู้ทุศีล ไม่มีบุญ
นางเหล่านี้ไม่มีบุญสาหรับจะได้บุตร. เมื่อนางสนมเหล่านี้ไม่ได้บุตร
พระองค์ก็อย่าทรงถอยพระอุตสาหะเสียเลย.
พระนางเจ้าสีลวดีพระอัครมเหสีของพระองค์ ทรงสมบูรณ์ด้วยศีล.
ขอพระองค์จงทรงปล่อยพระนางไปเสียเถิด พระนางจักได้พระโอรสเป็นแน่แท้.
ท้าวเธอทรงรับรองว่า ดีละ. ดังนี้แล้วจึงรับสั่งให้ คนเที่ยวตีกลองเป่าประกาศว่า
ข่าวดีในวันที่ ๗ แต่วันนี้ไป พระราชาจะทรงนาพระนางเจ้าสีลวดี
13
ให้เป็นนางฟ้ อนราโดยธรรมแล้วปล่อยไป. บรรดาผู้ชายทั้งหลาย
จงมาประชุมกัน. ครั้นพอถึงวันที่ ๗ จึงให้ตกแต่งประดับประดาพระนางเจ้าแล้ว
ให้ลงจากพระราชนิเวศน์ปล่อยไป. ด้วยเดชะแห่งศีลของพระนาง
พิภพของท้าวสักกะก็แสดงอาการเร่าร้อนขึ้น. ท้าวเธอจึงทรงใคร่ครวญว่า
เกิดเหตุอะไรขึ้นหนอ. ก็ทรงทราบว่า พระนางเจ้าปรารถนาพระโอรส.
จึงทรงพระดาริว่า เราควรจะให้พระโอรสแก่พระนางนี้.
จึงทรงใคร่ครวญต่อไปว่า พระโอรสที่สมควรแก่พระนางนี้
ในเทวโลกมีอยู่หรือไม่หนอ ก็ได้ทรงเห็นพระโพธิสัตว์.
ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้นสิ้นอายุในภพชั้นดาวดึงส์. ในกาลนั้น
และเป็นผู้ใคร่จะได้เสด็จไปบังเกิด ในเทวโลกเบื้องบนต่อไป.
ท้าวสักกเทวราชจึงเสด็จไปยังประตูวิมานของพระโพธิสัตว์นั้น ตรัสว่า
ดูก่อนท่านผู้เช่นเรา ท่านควรจะไปยังมนุษยโลกแล้ว
ถือปฏิสนธิในครรภ์พระอัครมเหสี ของพระเจ้าโอกกากราช
ให้พระโพธิสัตว์ยอมรับแล้ว จึงตรัสกะเทพบุตรอีกคนหนึ่งว่า
ถึงท่านก็จักต้องเป็ นโอรสของพระนางนี้ แล้วได้เสด็จไปยังประตูพระราชนิเวศน์
ของพระราชาด้วยเพศแห่งพราหมณ์แก่ ด้วยทรงพระดาริว่า ก็ใครๆ
จงอย่าได้ทาลายศีลของพระนางนี้เสียเลย. แม้มหาชนอาบน้าตกแต่งร่างกาย
แล้วก็ไปประชุมที่ประตูพระราชนิเวศน์ ด้วยคิดว่า เราจักรับเอาพระเทวี
ครั้นเห็นท้าวสักกะ จึงได้กระทาการเยาะเย้ยว่า ท่านผู้เฒ่าจะมาทาไม.
ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านทั้งหลายจะติเตียนเราทาไม
ถึงแม้ว่าร่างกายของเราจะแก่เฒ่าก็จริง แต่ความกระชุ่มกระชวย
ก็ยังไม่หมดสิ้นไป. เรามาด้วยคิดว่า ถ้าเราจักได้พระนางสีลวดี
ก็จะพาพระนางไป. ดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จเข้าไปยืนคอยอยู่ข้างหน้า ใครๆ
ทั้งหมดด้วยอานุภาพของตน. คนอื่นไม่อาจยืนบังหน้าได้เลย
ด้วยเดชแห่งท้าวสักกะนั้น. พอพระนางเจ้าประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์. ท้าวเธอก็คว้าที่พระหัตถ์ แล้วก็พาหลีกไป.
ลาดับนั้น ประชาชนทั้งหลายผู้อยู่ ณ ที่นั้น จึงพากันติเตียนพระนางว่า
ดูเอาเถิด ท่านผู้เจริญ พราหมณ์แก่พาเอาพระเทวีผู้ทรงไว้ซึ่งพระรูปโฉม
อันอุดมถึงเพียงนี้ไป ตาแกช่างไม่รู้จักสิ่งที่เหมาะสมแก่ตนเสียเลย.
แม้พระเทวีก็มิได้ทรงขวยเขิน ละอายพระทัยว่า พราหมณ์แก่พาเราไป.
แม้พระราชาประทับยืนใกล้ช่องพระแกล ก็ทรงคอยดูอยู่ว่า
ใครหนอจะพาพระเทวีไป. ครั้นได้เห็นพราหมณ์แก่นั้น ก็ทรงเสียพระทัย.
ท้าวสักกะทรงพาพระนางออกจากประตูพระนคร
ทรงเนรมิตเรือนขึ้นหลังหนึ่ง ใกล้กับประตูเมืองทาการเปิดบานประตูไว้
และจัดแจงเครื่องลาดที่ทาด้วยไม้ไว้แล้ว. ลาดับนั้น
14
พระนางจึงตรัสถามท้าวเธอว่า นี่เรือนของท่านหรือค่ะ? ท้าวเธอจึงตรัสตอบว่า
ใช่แล้วน้องนาง แต่กาลก่อนพี่อยู่คนเดียว. บัดนี้ พี่กับเธออยู่ด้วยกัน ๒ คนแล้ว.
พี่จักต้องท่องเที่ยวไปหาข้าวสารเป็นต้นมาไว้
เชิญน้องนางนอนพักผ่อนเสียบนเครื่องลาดไม้นี้ก่อนเถิด
แล้วทรงเอาพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม ค่อยลูบคลาพระนาง
ทรงบันดาลให้ทิพยสัมผัสแผ่ซ่านไปทั่ว ให้พระนางบรรทมหลับในที่นั้น.
ด้วยความแผ่ซ่านแห่งทิพยสัมผัส พระนางจึงหมดความรู้สึก (หลับไป). ลาดับนั้น
ท้าวสักกะจึงทรงอุ้มเอาพระนางไปยังพิภพชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานุภาพของตน
ให้พระนางทรงบรรทมเหนือทิพยไสยาสน์ ในวิมานอันประดับประดาแล้ว.
ในวันที่ ๗ พระนางจึงตื่นจากบรรทมแล้ว ทอดพระเนตรเห็นสมบัตินั้น
ก็ทรงทราบได้ว่า พราหมณ์คนนั้นคงไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา
เห็นทีจักเป็นท้าวสักกะแน่นอน.
ในสมัยนั้น แม้ท้าวสักกเทวราชทรงมีนางฟ้ อนชั้นทิพย์แวดล้อม
ประทับนั่งที่โคนไม้ปาริฉัตตกะ. พระนางทรงเห็นท้าวสักกะนั้นแล้ว
จึงเสด็จลุกออกจากที่บรรทม เสด็จเข้าไปหาท้าวเธอ ถวายบังคมแล้ว
ประทับยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่ง. ลาดับนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสกะพระนางว่า
พระเทวีน้องรัก พี่จะให้พรแก่เธอสักอย่างหนึ่ง ขอเธอจงเลือกรับเอาเถิด.
พระนางทูลว่า ขอเดชะ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงประทาน
โอรสแก่หม่อมฉันสักพระองค์หนึ่งเถิด. ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี
จะว่าแต่พระโอรสคนหนึ่งเลย พี่จะให้พระโอรสสัก ๒ พระองค์แก่เธอ.
แต่ว่าในพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้น พระองค์หนึ่งทรงมีปัญญา
แต่รูปร่างไม่สวยงาม พระองค์หนึ่งรูปร่างสวยงาม แต่หาปัญญามิได้.
ในพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้น เธอจะปรารถนาต้องการคนไหนก่อน.
พระนางทูลตอบว่า ขอเดชะ
หม่อมฉันปรารถนาอยากได้พระโอรสที่มีปัญญาก่อน.
ท้าวสักกเทวราชนั้นตรัสรับว่า ดีละ. ดังนี้ แล้วทรงประทานสิ่งของ ๕ สิ่ง อันได้แก่
หญ้าคา ๑ ผ้าทิพย์ ๑ จันทน์ทิพย์ ๑ ดอกปาริฉัตตก์ทิพย์ ๑ พิณชื่อโกกนท ๑
แก่พระนางแล้ว ทรงพาพระนางเหาะเข้าไปยังห้องบรรทมของพระราชา
ให้พระนางบรรทมบนพระยี่ภู่ร่วมพระแท่นที่เดียวกันกับพระราชา
ทรงบรรจงลูบพระนาภีของพระนางด้วยพระอังคุฏฐะ (นิ้วหัวแม่มือ). ในขณะนั้น
พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนาง. แม้ท้าวสักกะ
ก็เสด็จไปยังสถานที่อยู่ของพระองค์ตามเดิม. พระเทวีทรงทราบว่า
พระองค์ทรงตั้งพระครรภ์ เพราะพระนางเป็นบัณฑิต.
ลาดับนั้น พระราชาทรงตื่นจากพระบรรทม
ทอดพระเนตรเห็นพระนาง จึงตรัสถามว่า ดูก่อนพระเทวี นี่ใครนะพาเธอมา.
15
พระเทวีทูลว่า ท้าวสักกะ เพคะ. พระราชาตรัสว่า ฉันได้เห็นประจักษ์แก่สายตาว่า
ตาพราหมณ์แก่คนหนึ่งได้พาเธอไป ทาไม เธอจึงมาหลอกลวงฉัน. พระเทวีทูลว่า
ขอพระองค์จงทรงเชื่อเถิดเพคะ ท้าวสักกะพาหม่อมฉันไป ได้พาไปถึงเทวโลก.
พระราชาตรัสว่า ฉันไม่เชื่อเลย พระเทวี. ลาดับนั้น
พระนางจึงได้แสดงหญ้าคาที่ท้าวสักกะทรงประทานไว้แก่พระราชานั้น. ทูลว่า
ขอพระองค์ทรงเชื่อเถิด. พระราชาตรัสว่า นั่นเรียกชื่อว่า หญ้าคา ที่ไหนๆ ใครๆ
ก็หาเอามาได้. ดังนี้ จึงไม่ทรงเชื่อ. ลาดับนั้น พระนางจึงทรงนาเอาสิ่งของ ๔
สิ่งมีผ้าทิพย์เป็นต้น แสดงแก่ท้าวเธอ. พระราชาพอได้ทอดพระเนตร
เห็นสิ่งของเหล่านั้นแล้ว จึงยอมเชื่อ แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนพระนางผู้เจริญ
เรื่องท้าวสักกะนาพาเธอไป จงพักไว้ก่อน ก็แต่ว่าเธอได้บุตรหรือไม่เล่า.
พระเทวีทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า หม่อมฉันได้พระโอรสแล้ว. บัดนี้
หม่อมฉันกาลังตั้งครรภ์ ท้าวเธอได้ทรงสดับถ้อยคาแล้ว ก็ทรงดีพระทัย
จึงทรงพระราชทานเครื่องบริหารพระครรภ์แก่พระนาง.
พอได้ถ้วนกาหนดทศมาส พระนางเจ้าก็ประสูติพระราชโอรส.
พระชนกและพระชนนีมิได้ทรงขนานพระนามอย่างอื่นแก่พระราชโอรสนั้น
ทรงขนานพระนามว่า กุสติณราชกุมาร. ในกาลที่พระกุสติณราชกุมารเสด็จย่างพ
ระบาทไปได้ เทพบุตรอีกองค์หนึ่งก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอีก.
พอได้ครบ ๑๐ เดือนเต็ม พระนางก็ประสูติพระโอรสอีกพระองค์หนึ่ง.
พระชนกและพระชนนีได้ทรงขนานพระนามพระกุมารที่ประสูติใหม่นั้นว่า ชยัมบ
ดีราชกุมาร. พระราชกุมารทั้ง ๒
พระองค์นั้นทรงเจริญพระชันษาด้วยพระอิสริยยศอันยิ่งใหญ่.
พระโพธิสัตว์เจ้าทรงมีปัญญา ไม่ต้องทรงศึกษาเล่าเรียนศิลปศาสตร์อะไรๆ
ในสานักของพระอาจารย์ ก็ทรงถึงความสาเร็จในศิลปศาสตร์ทั้งหมดได้
ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง.
ลาดับนั้น
ในกาลที่พระโพธิสัตว์เจ้านั้นทรงเจริญพระชนมายุได้ ๑๖ พระชันษา
พระราชาทรงปรารถนาจะมอบพระราชสมบัติให้ จึงรับสั่งให้พระเทวีมา
แล้วตรัสว่า ดูก่อนพระเทวีผู้เจริญ
ฉันจะมอบราชสมบัติให้แก่พระโอรสองค์ใหญ่ของเธอแล้ว
จักให้นางฟ้ อนทั้งหลายบารุงบาเรอ ขณะที่เราทั้ง ๒ ยังมีชีวิตอยู่นี่แหละ
จักได้เห็นลูกของเราครอบครองราชสมบัติ.
ก็ลูกของเราจะชอบใจพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์ใด ในชมพูทวีปทั้งสิ้น
เราจะได้นาพระราชธิดานั้น มาสถาปนาให้เป็นอัครมเหสีของลูก.
เธอจงรู้จิตใจของลูกว่า จะชอบพระราชธิดาองค์ไหนกัน. พระนางรับว่า ดีละ.
แล้วทรงส่งนางบริจาริกาคนหนึ่งไป ด้วยพระดารัสว่า
16
เจ้าจงไปบอกเรื่องนี้แก่กุมารแล้ว จงรู้จิตใจ.
นางบริจาริกานั้นไปทูลเรื่องนั้นแก่พระกุมารนั้นแล้ว.
พระมหาสัตว์ได้สดับถ้อยคานั้นแล้ว จึงคิดว่า เรามีรูปร่างไม่สะสวยงดงาม.
พระราชธิดาผู้สมบูรณ์ด้วยรูป แม้ถูกนาตัวมาพอเห็นเรา ก็จักหนีไปด้วยคิดว่า
เราจะมีประโยชน์อะไร ด้วยกุมารผู้มีรูปร่างน่าเกลียด
ความอับอายก็จะพึงมีแก่เรา ด้วยประการฉะนี้. ประโยชน์อะไร
เราจะอยู่เป็นฆราวาส เราบารุงมารดาบิดา ผู้ยังทรงพระชนม์ไปก่อน
พอท่านทั้งสองนั้นสวรรคตแล้ว ก็จักออกบวช. พระองค์จึงตรัสบอกว่า
เราไม่มีความต้องการด้วยพระราชสมบัติ ไม่ต้องการด้วยหมู่นางฟ้ อน
พอพระชนกและพระชนนีสวรรคตไปแล้ว เราก็จักบวช.
นางบริจาริกานั้นสดับพระดารัสแล้ว
จึงกลับมากราบทูลพระดารัสของพระกุมารนั้นแด่พระเทวี.
แม้พระเทวีก็กราบทูลแด่พระราชาแล้ว พระราชาทรงสดับถ้อยคาทูลนั้นแล้ว
ก็ทรงเสียพระทัย พอล่วงผ่านไป ๒-๓ วัน ก็ทรงส่งข่าวสาส์นไปอีก
แม้พระกุมารนั้นก็คัดค้านอีกเหมือนเดิม. พระกุมารทรงคัดค้านอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง.
ในครั้งที่ ๔ จึงทรงดาริว่า ธรรมดาว่า
ลูกจะขัดขืนคัดค้านมารดาบิดาอยู่ร่าไป ก็ไม่เหมาะสมเลย
เราจักกระทาอุบายสักอย่างหนึ่ง.
พระกุมารนั้นจึงเสด็จไปเรียกหัวหน้าช่างทองคนหนึ่งมา
แล้วพระราชทานทองคาไปเป็นอันมาก. รับสั่งว่า
ท่านจงทารูปผู้หญิงให้สักรูปหนึ่งเถิด แล้วทรงส่งนายช่างทองนั้นไป.
เมื่อนายช่างทองนั้นไปแล้ว
จึงทรงเอาทองคาส่วนอื่นมาทาเป็นรูปผู้หญิงด้วยพระองค์เอง.
ก็ธรรมดาว่า ความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมสาเร็จตลอดไป. รูปทองที่พระโพธิสัตว์ทรงกระทาขึ้นเองนั้น
ช่างงดงามเสียเหลือล้น จนไม่มีถ้อยคาจะราพันด้วยลิ้นได้. ลาดับนั้น
พระมหาสัตว์จึงทรงแต่งตัวรูปหญิงนั้น ให้นุ่งผ้าโขมพัสตร์แล้ว
ทรงให้วางไว้ในห้องอันเป็นสิริ. พระมหาสัตว์นั้น
ครั้นทรงเห็นรูปผู้หญิงที่หัวหน้าช่างทองนามา จึงทรงติรูปนั้นแล้ว ตรัสว่า
เธอจงไปนาเอารูปหญิงที่ตั้งอยู่ในห้องอันเป็นสิริของเรา มาเทียบดูซิ.
นายช่างทองนั้นเข้าไปยังห้องอันเป็นสิริ มองเห็นรูปหญิงนั้น แล้วสาคัญว่า
นางเทพอัปสรนางหนึ่ง มาร่วมอภิรมย์กับพระกุมาร จึงไม่อาจจะเหยียดมือไปจับ.
กลับออกมา กราบทูลว่า พระแม่เจ้าพระองค์ไร
ประทับอยู่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในห้องอันเป็ นสิริ
ข้าพระองค์ไม่อาจจะเข้าไปได้. พระราชกุมารตรัสว่า ดูก่อนพ่อ
17
ท่านจงไปนามาเถิด รูปทองคานี้เราทาขึ้นมาเอง แล้วทรงส่งไปอีก.
นายช่างทองนั้นจึงกลับเข้าไปยกออกมา.
พระราชกุมารให้เก็บรูปที่ช่างทองทามานั้น ไว้เสียในห้องสาหรับเก็บทอง
แล้วให้คนตกแต่งรูปที่พระองค์ทรงกระทา แล้วทรงให้ยกขึ้นวางบนรถ
ส่งไปยังสานักของพระมารดา ด้วยพระดารัสว่า ถ้าผู้หญิงงดงามเหมือนอย่างรูปนี้
มีอยู่. หม่อมฉันจักอยู่ครอบครองเรือน.
พระเทวีนั้นรับสั่งให้เรียกพวกอามาตย์มา แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลาย
พระโอรสของเรามีบุญมาก เป็นพระโอรสที่ท้าวสักกะประทานให้
อยากได้นางกุมาริกาที่รูปสวยเหมือนรูปนี้ พวกท่านได้หญิงมีรูปร่างเห็นปานนี้
จงพามา จงตั้งรูปนี้ไว้บนยานอันปกปิดแล้ว เที่ยวไปตลอดชมพูทวีปทั้งสิ้น.
ถ้าได้พบพระธิดาของพระราชาพระองค์ใด มีรูปร่างงดงามเห็นปานรูปนี้ไซร้
ก็จงถวายรูปทองนั้นแด่พระราชาพระองค์นั้นนั่นแล. แล้วกราบทูลว่า
พระเจ้าโอกกากราชจักกระทาอาวาหวิวาหมงคลกับพระองค์
ทูลกาหนดนัดวันแล้ว จงรีบกลับมา.
อามาตย์เหล่านั้นรับพระราชเสาวนีย์แล้ว นารูปนั้นออกจากเมือง
พร้อมด้วยบริวารเป็ นอันมาก เที่ยวเสาะแสวงหาไปถึงราชธานีใด ก็สังเกตว่า
ในสถานที่ที่มหาชนมาประชุมกัน ในเวลาเย็นในราชธานีนั้น
ก็ตกแต่งรูปหญิงนั้นด้วยเครื่องประดับ อันประกอบด้วยผ้าและดอกไม้
ยกขึ้นตั้งบนวอทองคาแล้ว ตั้งไว้ที่ริมหนทางที่จะไปยังท่าน้า.
ส่วนพวกตนต่างพากันหลบไป ยืนอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง
เพื่อคอยสดับฟังถ้อยคาของมหาชน ผู้มาแล้วและมาแล้ว. ฝ่ายมหาชน
ครั้นมองดูรูปหญิงนั้น ไม่เข้าใจว่าเป็นรูปทองคา จึงชวนกันชมเชยว่า
หญิงนี้แม้เป็ นเพียงหญิงมนุษย์ ก็ยังสวยงามอย่างที่สุด
เปรียบประดุจนางเทพอัปสร ทาไมจึงมายืนอยู่ในที่นี้ หรือว่ามาจากไหน.
หญิงงามเห็นปานนี้ ในเมืองของพวกเราไม่เคยมีเลย ดังนี้แล้ว ก็พากันหลีกไป.
พวกอามาตย์ได้ฟังถ้อยคานั้นแล้ว จึงปรึกษากันว่า ถ้านางทาริกางามปานรูปนี้
พึงมีในเมืองนี้ไซร้ ชนทั้งหลายพึงกล่าวว่า
นางคนนี้เหมือนกับพระราชธิดาองค์โน้น
นางคนนี้เหมือนธิดาของอามาตย์คนโน้น. ในเมืองนี้คงไม่มีนางงามคล้ายกับรูปนี้
เป็นแน่แท้. จึงถือเอารูปหญิงนั้นไปยังเมืองอื่นๆ ต่อไปอีก.
พวกอามาตย์เหล่านั้นเที่ยวไปอย่างนี้ จนถึงเมืองสาคละ
ในแคว้นมัททะโดยลาดับ.
ก็พระเจ้ามัททราช ในเมืองสาคละนี้ มีพระธิดาอยู่ ๘ พระองค์
ทรงพระรูปพระโฉมงดงามสูงสุดเปรียบประดุจนางฟ้ า.
พระราชธิดาผู้เป็นพระพี่ใหญ่กว่าพระธิดาเหล่านั้นทั้งหมด
18
มีพระนามว่า ประภาวดี เพราะมีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระสรีระของพระนาง
คล้ายแสงดวงอาทิตย์อันอ่อน. แม้ในเวลากลางคืน
ในห้องอันมีเนื้อที่กว้างประมาณ ๔ ศอก ก็ไม่ต้องทาการตามประทีปโคมไฟ.
บริเวณห้องนั้นทั้งหมด จะมีแสงสว่างเสมอ เป็นอันเดียวกันทีเดียว.
ก็และพระนางประภาวดีนั้น มีพระพี่เลี้ยงคนหนึ่งเป็ นหญิงค่อมพิการ.
นางพี่เลี้ยงนั้นพอให้พระนางประภาวดีเสวยเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงจะให้นางวรรณทาสี ๘ คนถือหม้อน้าจานวน ๘ หม้อ ไปยังท่าน้าในเวลาเย็น
เพื่อตักน้าไปสรงสนานพระนาง. ครั้นมองเห็นรูปทองคาที่ตั้งไว้ข้างริมทาง
ที่จะเดินไปยังท่าน้านั้น จึงเข้าใจไปว่า เป็ นพระนางประภาวดี. พากันโกรธว่า
พระนางนี้ช่างว่ายากเสียจริงๆ. ตรัสว่า เราจักสรงสนานน้าแล้ว
ส่งพวกเรามาตักน้า กลับมายืนดักอยู่ที่ หนทางจะไปสู่ท่าน้าก่อนหน้าเรา.
แล้วจึงพากันกล่าวว่า ข้าแต่พระนางเจ้าผู้ทาสกุลให้ได้รับความละอาย
ไม่สมควรเป็ นอย่างยิ่ง ที่พระนางจะมายืนอยู่ในที่นี้ ก่อนกว่าพวกหม่อมฉัน.
ถ้าพระเจ้าแผ่นดินจักทรงทราบไซร้ ก็คงจักทาพวกหม่อมฉันให้พินาศเป็นแน่.
ดังนี้ แล้วจึงเอามือแตะที่ข้างแก้มของรูปเทียมนั้น
ฝ่ามือก็คล้ายกับว่าจะแตกออกไป. ลาดับนั้น นางจึงรู้ว่าเป็ นรูปทองคา
หัวเราะขบขันอยู่ จึงไปหาพวกนางวรรณทาสี แล้วกล่าวว่า
พวกเธอจงมาดูการทาของฉัน ฉันได้แตะต้องด้วยสาคัญผิดว่า รูปนี้ คือ
พระนางเจ้าของเรา. รูปเปรียบนี้จะมีค่าราคาอะไร ในสานักแห่งพระธิดาของเรา
เพียงแต่ให้มือของเราได้รับความเจ็บไปอย่างเดียว.
ลาดับนั้น พวกราชทูตจึงพากันถือเอารูปหญิงนั้นแล้ว
ถามนางพี่เลี้ยงนั้นว่า ท่านกล่าวว่า ธิดาของเราสวยงามกว่ารูปเทียมนี้
ท่านกล่าวหมายถึงใครกัน นางพี่เลี้ยงตอบว่า พระธิดาของพระเจ้ามัททราช
ทรงพระนามว่า ประภาวดี รูปเปรียบนี้มีราคาไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของพระนางเลย.
พวกอามาตย์เหล่านั้นพากันดีใจ ไปยังพระทวารพระราชวัง สั่งให้กราบทูลว่า
พวกราชทูตของพระเจ้าโอกกากราชมาคอยเฝ้ าอยู่ที่พระทวาร พระเจ้าข้า.
พระราชาเสด็จลุกจากอาสนะ ประทับยืนแล้วตรัสสั่งว่า
พวกท่านจงเรียกเขาเข้ามาเถิด. พวกราชทูตเหล่านั้นเข้าไป
แล้วถวายบังคมพระราชา แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
พระราชาของพวกข้าพระองค์ ตรัสถามว่า พระองค์ทรงพระสาราญดีหรือ
พระเจ้าข้า. พระราชาทรงกระทาสักการะและต้อนรับ
แล้วตรัสถามพวกอามาตย์ว่า พวกท่านมานี่ เพื่อประสงค์อะไร.
พวกอามาตย์จึงกราบทูลว่า พระราชาของข้าพระองค์ มีพระโอรสพระนามว่า
กุสกุมารมีพระสุรเสียงก้องกังวาน คล้ายกับเสียงราชสีห์ พระราชาทรงมี
พระประสงค์จะมอบพระราชสมบัติ ให้แก่พระโอรสนั้น
19
จึงส่งพวกข้าพระองค์มาเฝ้ าถวายบังคมพระองค์ นัยว่า พระองค์จงพระราชทาน
พระนางประภาวดีพระธิดาของพระองค์แก่พระโอรสนั้นเถิด พระเจ้าข้า
และขอจงทรงรับไทยธรรม พร้อมด้วยรูปทองคานี้เถิด พอกราบทูลเสร็จแล้ว
จึงได้น้อมถวายรูปทองคานั้น แด่พระราชาพระองค์นั้น.
แม้พระเจ้ามัททราชนั้นก็ทรงดีพระทัย ทรงยอมรับด้วยทรงพระดาริว่า
จักมีวิวาหมงคลกับพระราชาผู้ใหญ่เห็นปานนี้.
ลาดับนั้น พวกทูตจึงกราบทูลท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระองค์ไม่อาจจะรอช้าอยู่ได้ จักต้องรีบไปกราบทูล
การได้พบพระราชธิดาแด่พระราชาให้ทรงทราบ เพื่อว่า
พระองค์จักได้เสด็จมารับพระนางไป. พระเจ้ามัททราชพระองค์นั้นทรงรับว่า
ดีละ แล้วทรงจัดแจงเครื่องทาสักการะแก่พวกทูตเหล่านั้น.
พวกทูตเหล่านั้นกลับไปยังกรุงกุสาวดีแล้ว กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่
พระราชาและพระเทวี ให้ทรงทราบ.
พระราชาเสด็จออกจากกุสาวดีนคร พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก
เสด็จถึงเมืองสาคละโดยลาดับ. ฝ่ายพระเจ้ามัททราชก็ทรงกระทาการต้อนรับ
ให้ท้าวเธอเสด็จเข้าไปสู่พระนครแล้ว ได้ทรงกระทาสักการะอย่างใหญ่ยิ่ง.
โดยล่วงไปวันหนึ่ง สองวัน และสามวัน พระนางสีลวดีทรงพระดาริว่า ใคร่จะรู้ว่า
พระราชธิดานั้นจักเป็นอย่างไร เพราะความที่พระนางเจ้าเป็นบัณฑิต
จึงกราบทูลพระเจ้ามัททราชว่า หม่อมฉันใคร่จะได้เห็นพระสุณิสา (ในอนาคต)
เพคะ. ท้าวเธอทรงรับว่า ดีละ แล้วรับสั่งให้เรียกพระราชธิดาประภาวดีมาเฝ้ า.
พระราชธิดาประภาวดีทรงตกแต่งพระองค์ด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ์
แวดล้อมไปด้วยหมู่พระพี่เลี้ยงนางนมเสด็จออกมาไหว้แม่ผัว. พระนางสีลวดีนั้น
ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพระนาง จึงทรงพระดาริว่า
ราชธิดาองค์นี้เป็ นหญิงมีรูปร่างงดงามมากนัก
ส่วนโอรสของเรามีรูปร่างไม่งดงาม ถ้าพระราชธิดาองค์นี้ได้ทอดทัศนาการ
เห็นโอรสของเราเข้า แม้วันเดียวก็คงจะไม่อยู่ร่วมด้วยเด็ดขาด
คงจะรีบหนีไปเป็นแน่แท้ เห็นทีเราจักต้องทากลอุบาย. พระนางสีลวดี
จึงให้เชิญเสด็จพระเจ้ามัททราชมา แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เพคะ
พระสุณิสาสมควรแก่พระโอรสของหม่อมฉัน ก็แต่ว่า
จารีตอันสืบมาจากประเพณีแห่งสกุลของหม่อมฉันมีอยู่
ถ้าพระราชธิดาองค์นี้จักประพฤติตามจารีตประเพณีนี้ได้
หม่อมฉันก็จักรับพระราชธิดาองค์นี้ไว้. พระราชาตรัสว่า
ก็จารีตประเพณีของพระองค์ เป็ นอย่างไรละ. พระนางสีลวดีตรัสตอบว่า
ประเพณีในราชวงศ์ของหม่อมฉันมีอยู่ว่า
พระวรชายาจะพบหน้าพระราชสวามีในเวลากลางวันไม่ได้
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

More Related Content

Similar to 531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
maruay songtanin
 
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
029 กัณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
029 กัณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx029 กัณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
029 กัณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๔๓. กัญชิกทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๔๓. กัญชิกทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๔๓. กัญชิกทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๔๓. กัญชิกทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๒๕. สุนิททาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๒๕. สุนิททาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๒๕. สุนิททาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๒๕. สุนิททาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 

Similar to 531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
๒๘. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบั...
 
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๓. โสณทินนาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
303 เอกราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
029 กัณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
029 กัณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx029 กัณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
029 กัณหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๔๓. กัญชิกทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๔๓. กัญชิกทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๔๓. กัญชิกทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๔๓. กัญชิกทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf
 
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
263 จูฬปโลภนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
306 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
343 กุนตินีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๒๕. สุนิททาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๒๕. สุนิททาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๒๕. สุนิททาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๒๕. สุนิททาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 

531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ๒๐. สัตตตินิบาต ๑. กุสชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๑) ว่าด้วยพระเจ้ากุสะหลงรูปโฉมนางประภาวดี (พระเจ้ากุสโพธิสัตว์กราบทูลพระมารดาว่า) [๑] เสด็จแม่ นี้แคว้นของเสด็จแม่ มีทรัพย์สมบัติ ยานพาหนะ เครื่องประดับ สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง ขอเสด็จแม่ทรงปกครองราชสมบัติของเสด็จแม่นี้เถิด หม่อมฉันจะไปยังนครที่พระนางประภาวดี ผู้เป็นที่รักประทับอยู่ (พระนางประภาวดีกราบทูลว่า) [๒] พระองค์มีพระทัยไม่ซื่อตรง ทรงหาบคอนหาบใหญ่ จักทรงเหน็ดเหนื่อย ทั้งกลางวัน กลางคืน และดึกดื่นเที่ยงคืน ข้าแต่พระเจ้ากุสะ ขอเชิญพระองค์รีบเสด็จกลับกรุงกุสาวดีโดยพลันเถิด หม่อมฉันไม่ประสงค์จะให้พระองค์ ผู้ทรงมีผิวพรรณทรามประทับอยู่ ณ ที่นี้ (พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๓] พี่จะไม่จากที่นี้ไปกรุงกุสาวดี น้องประภาวดี พี่ลุ่มหลงในความงามของเธอ จึงยินดีอยู่ในที่ประทับอันน่ารื่นรมย์ของพระเจ้ามัททะ พี่ยินดีพอใจที่จะเห็นเธอ จึงละทิ้งแคว้นมา [๔] น้องประภาวดี พี่ลุ่มหลงในผิวพรรณของเธอ จึงซมซานท่องเที่ยวไปสู่เมทนีดล ไม่รู้จักทิศว่า เรามาจากไหน มัวแต่มัวเมาหลงใหลในตัวเธอ ผู้มีดวงตาประดุจตาลูกน้อยเนื้อทราย [๕] น้องนางผู้มีสะโพกอันผึ่งผาย ทรงผ้าขลิบทอง เครื่องประดับทองคา พี่ไม่มีความต้องการราชสมบัติ เพราะปรารถนาตัวเธอ (พระนางประภาวดีกราบทูลว่า) [๖] ข้าแต่พระราชาผู้เจริญ ผู้ใดปรารถนาบุคคลที่เขาไม่ปรารถนา ผู้นั้นย่อมไม่มีความเจริญ พระองค์ต้องการบุคคลที่เขาไม่ต้องการ ปรารถนารักใคร่บุคคลที่เขาไม่รักใคร่ (พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๗] คนใดได้คนที่ไม่ต้องการตนก็ตาม ที่ต้องการตนก็ตามมาเป็นคนรัก เราสรรเสริญการได้ในความรักนี้ของคนนั้น การไม่ได้ในความรักนั้นซิเป็ นความโชคร้าย (พระนางประภาวดีกราบทูลว่า)
  • 2. 2 [๘] พระองค์ทรงปรารถนาหม่อมฉันผู้ไม่ปรารถนาพระองค์ เปรียบเสมือนพระองค์ทรงใช้ไม้กรรณิการ์ขุดเพชร (หรือ) ทรงใช้ตาข่ายดักลม (พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๙] หินคงถูกฝังไว้ในพระหทัยอันมีลักษณะ อ่อนละมุนละไมของพระนางเป็นแน่ เพราะหม่อมฉันมาจากชนบทบ้านนอก ยังมิได้ประสบความแช่มชื่นจากพระนางเลย [๑๐] เมื่อใด พระราชบุตรีหน้านิ่ว ทอดพระเนตรหม่อมฉัน เมื่อนั้นหม่อมฉันก็ยังคงเป็นคนครัวภายในเมืองของพระเจ้ามัททะ [๑๑] เมื่อใด พระราชบุตรีทรงแย้มสรวลทอดพระเนตรหม่อมฉัน เมื่อนั้น หม่อมฉันไม่ใช่คนครัว เมื่อนั้น หม่อมฉันเป็นพระเจ้ากุสะ (พระนางประภาวดีกราบทูลว่า) [๑๒] ก็ถ้าว่า คาทานายของโหรทั้งหลายจักเป็นความจริงว่า พระองค์ไม่ใช่พระสวามีของหม่อมฉันแน่นอน ขอชนทั้งหลายจงสับหม่อมฉันให้เป็น ๗ ท่อนเถิด (พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๑๓] ก็ถ้าว่า คาทานายของพวกโหรอื่น หรือของหม่อมฉันจักเป็นความจริงไซร้ คนอื่นนอกจากพระเจ้ากุสะผู้มีพระสุรเสียงดังราชสีห์ ไม่ใช่พระสวามีของพระนางแน่นอน (พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ทรงหยอกล้อหญิงค่อม พระพี่เลี้ยงพระนางประภาวดีว่า) [๑๔] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว จักให้ช่างทองทาสร้อยคอทองคาแก่เจ้า ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง จะพึงเหลียวมองดูเรา [๑๕] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว จักให้ช่างทองทาสร้อยคอทองคาแก่เจ้า ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง จะพึงเจรจากับเรา [๑๖] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว จักให้ช่างทองทาสร้อยคอทองคาแก่เจ้า ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง จะพึงทรงยิ้มแย้มให้เรา [๑๗] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว จักให้ช่างทองทาสร้อยคอทองคาแก่เจ้า ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง จะพึงทรงพระสรวลกับเรา [๑๘] แม่ค่อม เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว จักให้ช่างทองทาสร้อยคอทองคาแก่เจ้า
  • 3. 3 ถ้าพระนางประภาวดีผู้ทรงมีขาอ่อนงดงามดังงาช้าง จะพึงทรงจับต้องเราด้วยพระหัตถ์ทั้ง ๒ (นางค่อมไปกราบทูลพระนางประภาวดีว่า) [๑๙] ก็พระราชบุตรีพระองค์นี้คงจะไม่ประสบแม้ความสาราญพระทัยในพระเจ้ากุสะ ผู้เป็นคนครัว คนรับใช้ คนเลี้ยงดู ซึ่งไม่ทรงประสงค์ค่าจ้างอย่างแน่แท้ (พระนางประภาวดีตรัสว่า) [๒๐] ก็นางค่อมคนนี้คงยังไม่ได้ถูกมีดคมตัดลิ้นแน่นอน จึงยังกล่าวชั่วช้าอย่างนี้อยู่ (นางค่อมประกาศความดีของพระโพธิสัตว์ว่า) [๒๑] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีพระยศใหญ่ แล้วทาความรักในความงามเถิด [๒๒] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีทรัพย์มากมาย แล้วทาความรักในความงามเถิด [๒๓] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีพระกาลังมาก แล้วทาความรักในความงามเถิด [๒๔] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า พระองค์ทรงมีพระราชอาณาจักรกว้างใหญ่ แล้วทาความรักในความงามเถิด [๒๕] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงเป็นมหาราช แล้วทาความรักในความงามเถิด [๒๖] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงมีพระสุรเสียงดังราชสีห์ แล้วทาความรักในความงามเถิด
  • 4. 4 [๒๗] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า พระองค์ทรงมีพระสุรเสียงไพเราะ แล้วทาความรักในความงามเถิด [๒๘] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า พระองค์ทรงมีพระสุรเสียงหยดย้อย แล้วทาความรักในความงามเถิด [๒๙] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า พระองค์ทรงมีพระสุรเสียงหวานจับใจ แล้วทาความรักในความงามเถิด [๓๐] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า พระองค์ทรงมีพระสุรเสียงไพเราะอ่อนหวาน แล้วทาความรักในความงามเถิด [๓๑] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่า พระองค์ทรงมีศิลปะนับเป็นร้อยๆ อย่าง แล้วทาความรักในความงามเถิด [๓๒] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ แล้วทาความรักในความงามเถิด [๓๓] พระแม่เจ้าประภาวดี พระนางอย่าทรงเปรียบเทียบ พระเจ้ากุสะนั้นกับพระรูปอันสูงระหงเลย แม่นางจงทรงทา(พระทัย)ว่าพระองค์ทรงพระนามว่าพระเจ้ากุสะ แล้วทาความรักในความงามเถิด (เหล่าอามาตย์กราบทูลพระเจ้ามัททะว่า) [๓๔] พระราชาผู้ประเสริฐเหล่านี้ทรงกระด้างยิ่งนัก ทั้งหมดสวมเกราะประทับยืนตระหง่านอยู่ ก่อนที่พระราชาเหล่านั้นจะทรงทาลายกาแพง ขอพระองค์จงทรงส่งพระราชสาส์นไปว่า ขอพระราชาทั้งหลายจงนาเอาพระธิดาประภาวดีไปเถิด (พระเจ้ามัททะตรัสว่า) [๓๕] เราจักสับลูกหญิงประภาวดีนั้นให้เป็ น ๗ ท่อนแล้ว ถวายให้แก่พระราชาทั้งหลายที่เสด็จมาเพื่อฆ่าเรา ณ ที่นี้ (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๓๖] พระราชบุตรีผู้มีผิวพรรณดุจทอง ทรงผ้าไหมสีขลิบทอง พระเนตรทั้ง ๒ นองไปด้วยพระอัสสุชล มีหมู่นางทาสีห้อมล้อมได้เสด็จลุกขึ้นแล้ว
  • 5. 5 (พระนางประภาวดีทรงคร่าครวญว่า) [๓๗] ดวงหน้าหม่อมฉันที่ลูบไล้ด้วยแป้ ง ส่องดูที่กระจกเงาด้ามงาอันงดงาม มีดวงตาคมคายผุดผ่องเป็นยองใยไม่มีไฝฝ้ านั้น จักถูกพวกกษัตริย์โยนทิ้งไว้ในป่าเป็นแน่ [๓๘] เส้นผมทั้งหลายของหม่อมฉันที่ดาสนิท มีปลายงอน อ่อนละมุนละไม ที่ลูบไล้ด้วยน้ามันแก่นจันทน์เหล่านั้น นกแร้งทั้งหลายจะพากันใช้เท้าทั้ง ๒ ตะกุยคุ้ยเขี่ย ให้ยุ่งเหยิงในท่ามกลางป่าช้าเป็นแน่ [๓๙] แขนทั้ง ๒ ของหม่อมฉันอ่อนนุ่ม มีเล็บมือแดง มีขนละเอียดอ่อนซึ่งลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์เหล่านั้น จะถูกพวกกษัตริย์ตัดทิ้งไว้ในป่า นกกาก็จะคาบเอาไปตามความต้องการเป็นแน่ [๔๐] ถันทั้ง ๒ ของหม่อมฉันยังไม่หย่อนยาน เปรียบปานได้กับผลตาล ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์แดงจากแคว้นกาสีเหล่านั้น สุนัขจิ้งจอกเห็นเข้าแล้วจักยื้อดึงถันทั้ง ๒ ของหม่อมฉัน เหมือนลูกอ่อนอันเกิดแต่ตนยื้อดึงถันทั้ง ๒ ของมารดาเป็ นแน่ [๔๑] สะโพกอันกลมกลึงผึ่งผาย ที่ผูกห้อยประดับ ด้วยสายสร้อยรัดเอวทองคาของหม่อมฉันซึ่งถูกตัด ที่พวกกษัตริย์โยนทิ้งไว้ในป่านั้น ฝูงสุนัขจิ้งจอกจะยื้อแย่งเป็นแน่แท้ [๔๒] ฝูงสุนัขป่า ฝูงกา ฝูงสุนัขจิ้งจอก และสัตว์ที่มีเขี้ยวเหล่าอื่นใดที่มีอยู่ พวกมันได้กัดกินเจ้าหญิงประภาวดีเป็ นภักษาหารแล้ว คงจักไม่แก่ชราเป็นแน่ [๔๓] ข้าแต่ทูลกระหม่อมแม่ หากกษัตริย์ทั้งหลายผู้เสด็จไปสู่หนทางไกล ได้ทรงนาเอาชิ้นเนื้อของหม่อมฉันไป ขอเสด็จแม่โปรดทรงขอกระดูกไว้แล้วเผามันทิ้งเสียในระหว่างทาง [๔๔] ทูลกระหม่อมแม่ ขอเสด็จแม่โปรดให้สร้างเป็ นสวน แล้วให้ปลูกต้นกรรณิการ์ไว้ในเขตนี้ เมื่อใด ต้นกรรณิการ์เหล่านั้นมีดอกบานสะพรั่ง ในคราวหิมะตกแห่งฤดูเหมันต์ เมื่อนั้น เสด็จแม่พึงราลึกถึงหม่อมฉันว่า ลูกประภาวดีของแม่มีผิวพรรณอย่างนี้ (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๔๕] นางกษัตริย์ผู้มีผิวพรรณดังเทพอัปสร ซึ่งเป็ นพระมารดาของเจ้าหญิงประภาวดีนั้น ทอดพระเนตรเห็นดาบและเขียง ภายในบุรีของพระเจ้ามัททะ จึงเสด็จลุกขึ้น (พระมารดาของพระนางประภาวดี ทรงราพันว่า)
  • 6. 6 [๔๖] ข้าแต่เสด็จพี่มัททะ พระองค์จักทรงประหารพระธิดาเอวบางร่างน้อยซึ่งเป็ นที่รู้จักกันเป็ นอย่างดี ด้วยพระแสงดาบนี้แล้วประทานให้แก่กษัตริย์ทั้งหลายแน่ละหรือ [๔๗] ลูกหญิง ลูกไม่ทาตามคาของแม่ผู้หวังประโยชน์ ลูกนั้นจะมีเลือดโซมกายไปสู่สานักพญายมในวันนี้ [๔๘] คนใดแลไม่ทาตามคาของผู้หวังเกื้อกูล และบ่งชี้ประโยชน์ทั้งหลาย คนนั้นย่อมต้องลาบากอย่างนี้ และต้องประสบความชั่วร้ายยิ่งกว่า [๔๙] ก็ถ้าวันนี้ลูกหญิงมีพระกุมารทรงโฉมงดงาม ประดุจฉาบไว้ด้วยทอง เป็นกษัตริย์ทรงกาเนิดกับพระเจ้ากุสะ สวมใส่สร้อยสังวาลทองคาประดับแก้วมณี ที่หมู่พระญาติทรงบูชาแล้ว ก็จะไม่ต้องไปสู่นิเวศน์พญายม [๕๐] กลองบันลือเสียงสนั่น ช้างก็ร้องเสียงดังกึกก้อง ในตระกูลแห่งกษัตริย์ทั้งหลาย ลูกหญิงเอ๋ย อะไรเล่าจะสุขกว่านั้น [๕๑] ม้าศึกคะนองร้องคารามอยู่ที่พระทวาร กุมารร้องราทาเพลงอยู่ ในตระกูลแห่งกษัตริย์ทั้งหลาย ลูกหญิงเอ๋ย อะไรเล่าจะสุขกว่านั้น [๕๒] ตระกูลของกษัตริย์ทั้งหลาย มีเสียงร้องดังกึกก้องของเหล่านกยูงและนกกระเรียน และมีเสียงร้องเสนาะไพเราะแห่งเหล่านกดุเหว่า ลูกหญิงเอ๋ย อะไรเล่าจะสุขกว่านั้น (พระมารดาของพระนางประภาวดี ตรัสกับพระนางประภาวดีแล้วตรัสว่า) [๕๓] พระเจ้ากุสะพระองค์ใดทรงมีพระปรีชาอันโอฬาร ย่ายีศัตรูปราบปรามแคว้นของพระราชาพระองค์อื่น จะพึงปลดเปลื้องพวกเราจากความทุกข์ได้ พระเจ้ากุสะพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ (พระนางประภาวดีกราบทูลว่า) [๕๔] พระเจ้ากุสะพระองค์ใดทรงมีพระปรีชาอันโอฬาร ย่ายีศัตรู ปราบปรามแคว้นของพระราชาพระองค์อื่น จักทรงกาจัดกษัตริย์เหล่านั้นทั้งหมดได้ พระเจ้ากุสะพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ ที่นี้ พระเจ้าข้า (พระมารดาตรัสว่า) [๕๕] เจ้าเป็ นบ้าหรือ จึงพูดออกมาเหมือนเด็กไร้เดียงสาพูด ถ้าพระเจ้ากุสะพึงเสด็จมา ทาไมพวกเราจะไม่รู้จักพระองค์เล่า (พระนางประภาวดีกราบทูลว่า)
  • 7. 7 [๕๖] พระเจ้ากุสะคือคนครัวนั่น ทรงหยักรั้งอย่างมั่นคง กาลังก้มล้างหม้ออยู่ระหว่างตาหนักเจ้าหญิงทั้งหลาย (พระมารดาตรัสบริภาษว่า) [๕๗] เจ้าเป็ นช่างถาก เป็ นหญิงจัณฑาล หรือเป็นคนทาลายวงศ์ตระกูล เจ้าเกิดในวงศ์ตระกูลของพระเจ้ามัททะ ไฉนจึงทาพระสวามีให้เป็นทาส (พระนางประภาวดีกราบทูลว่า) [๕๘] หม่อมฉันมิใช่ช่างถาก มิใช่หญิงจัณฑาล และมิใช่คนทาลายวงศ์ตระกูล ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ พระเจ้ากุสะนั้นคือพระราชบุตรของพระเจ้าโอกกากราช เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส (พระนางประภาวดีทรงสรรเสริญพระเกียรติยศของพระเจ้ากุสโพธิสัตว์ว่า) [๕๙] พระราชาพระองค์ใดทรงเชื้อเชิญพราหมณ์ ๒๐,๐๐๐ คน ให้บริโภคทุกเมื่อ ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ พระราชาพระองค์นั้นคือพระโอรสของพระเจ้าโอกกากราช เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส [๖๐] เจ้าพนักงานตระเตรียมช้าง ๒๐,๐๐๐ เชือกไว้ทุกเมื่อ เพื่อพระราชาพระองค์ใด ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ พระราชาพระองค์นั้นคือพระโอรสของพระเจ้าโอกกากราช เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส [๖๑] เจ้าพนักงานตระเตรียมม้า ๒๐,๐๐๐ ตัวไว้ทุกเมื่อ เพื่อพระราชาพระองค์ใด ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ พระราชาพระองค์นั้นคือพระโอรสของพระเจ้าโอกกากราช เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส [๖๒] เจ้าพนักงานตระเตรียมราชรถ ๒๐,๐๐๐ คันไว้ทุกเมื่อ เพื่อพระราชาพระองค์ใด ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ พระราชาพระองค์นั้นคือพระโอรสของพระเจ้าโอกกากราช เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส [๖๓] เจ้าพนักงานรีดน้านมแม่โค ๒๐,๐๐๐ ตัวไว้ทุกเมื่อ เพื่อพระราชาพระองค์ใด ขอทูลกระหม่อมแม่ทรงพระเจริญ พระราชาพระองค์นั้นคือพระโอรสของพระเจ้าโอกกากราช เสด็จแม่เท่านั้นทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส (พระเจ้ามัททะทรงตาหนิพระธิดาว่า)
  • 8. 8 [๖๔] โอ ลูกหญิงผู้โง่เขลา เจ้านั้นชั่วช้าเหลือเกิน ที่ไม่บอกถึงองค์กษัตริย์ผู้ทรงพลังมหาศาลดุจพญาช้าง แปลงเป็ นกบเสด็จมา ณ ที่นี้ (พระเจ้ามัททะทรงแสดงโทษของพระองค์ว่า) [๖๕] ข้าแต่มหาราชผู้จอมทัพ ขอพระองค์โปรดงดโทษแก่หม่อมฉัน ที่ไม่ทราบว่าทรงปลอมพระองค์เสด็จมา ณ ที่นี้ (พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๖๖] การที่หม่อมฉันเป็นคนครัวนั้นไม่เป็ นการปกปิด สาหรับคนเช่นหม่อมฉันเลย ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรงเลื่อมใสหม่อมฉันต่างหาก การกระทาผิดของพระองค์ไม่มี (พระเจ้ามัททะส่งพระนางประภาวดีไปขอโทษว่า) [๖๗] นี่ลูกหญิงผู้โง่เขลา เจ้าจงไปขอให้พระเจ้ากุสะ ผู้ทรงพลังมหาศาลทรงงดโทษเสีย พระเจ้ากุสะพระองค์นั้นผู้ที่เจ้าให้งดโทษแล้ว จะประทานชีวิตให้เจ้า (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๖๘] เจ้าหญิงประภาวดีผู้มีผิวพรรณดุจเทพอัปสร ทรงสดับพระดารัสของพระปิตุราชแล้วทรงซบพระเศียร กอดพระบาทพระเจ้ากุสะผู้ทรงพลังมหาศาล (พระนางประภาวดีกราบทูลว่า) [๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ราตรีทั้งหลายเหล่านี้ใดล่วงเลยไป ราตรีทั้งหลายเหล่านี้นั้นเว้นจากพระองค์ล่วงเลยไปแล้ว หม่อมฉันขอถวายบังคมพระบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่พระจอมทัพ ขอพระองค์โปรดอย่าทรงกริ้วหม่อมฉันเลย พระเจ้าข้า [๗๐] หม่อมฉันขอถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระองค์ ขอเดชะมหาราช โปรดสดับคาของหม่อมฉัน หม่อมฉันจะไม่กระทาความชิงชังต่อพระองค์อีกต่อไป [๗๑] ถ้าพระองค์ไม่ทรงโปรดกระทาตามคาของหม่อมฉันผู้ทูลวิงวอนอยู่อย่างนี้ พระราชบิดาก็จักทรงเข่นฆ่าหม่อมฉัน แล้วประทานให้แก่กษัตริย์ทั้งหลาย ณ กาลบัดนี้ (พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า) [๗๒] เมื่อพระน้องนางอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ ไฉนพี่จะไม่กระทาตามคาของพระน้องนางเล่า แม่ประภาวดีผู้เลอโฉม พระน้องนางอย่าทรงกลัวไปเลย พี่ไม่โกรธพระน้องนางหรอก
  • 9. 9 [๗๓] พี่ขอให้สัตย์ปฏิญาณต่อพระน้องนาง พระราชบุตรีโปรดทรงสดับคาของพี่เถิด พี่จะไม่กระทาความชิงชังต่อพระน้องนางอีกต่อไป [๗๔] แม่ประภาวดีผู้มีสะโพกผึ่งผาย ความจริง พี่สามารถที่จะย่ายีตระกูลกษัตริย์มัททราชมากมาย ให้ย่อยยับแล้วนาพระนางไป แต่เพราะความรักพระนาง จึงยอมสู้ทนอดกลั้นความทุกข์อย่างล้นเหลือ (พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ให้ขัตติยมานะเกิดขึ้น แล้วตรัสว่า) [๗๕] ข้าหลวงทั้งหลาย จงตระเตรียมราชรถ ที่วิจิตรไปด้วยเครื่องอลังการต่างๆ และม้าที่ฝึกฝนดีแล้ว ต่อแต่นั้น ท่านทั้งหลายจงดูความเร็วของเรา ผู้กาลังกาจัดศัตรูเถิด (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๗๖] หญิงทั้งหลายภายในบุรีของพระเจ้ามัททะ พากันมองดูพระเจ้ากุสะนั้น กาลังทรงเยื้องกรายดุจราชสีห์ ปรบพระหัตถ์ เสวยพระกระยาหารเป็นสองเท่า ณ ที่นั้น [๗๗] พระเจ้ากุสะเสด็จขึ้นทรงคอช้าง และโปรดให้พระนางประภาวดีขึ้นประทับด้วย ทรงหยั่งลงสู่สงครามบันลือสีหนาท [๗๘] กษัตริย์ทั้งหลายนอกนี้ทรงสดับพระสุรสีหนาทของท้าวเธอผู้ทรงบันลืออยู่ ถูกความหวาดกลัวต่อพระสุรเสียงของพระเจ้ากุสะคุกคาม จึงพากันเสด็จหนีไปเหมือนหมู่เนื้อหวาดกลัวต่อเสียงราชสีห์แล้วพากันหนีไป [๗๙] กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบ ถูกความหวาดกลัวต่อพระสุรเสียงของพระเจ้ากุสะคุกคาม ต่างพากันฟาดฟันกันเอง [๘๐] ในสงครามสาคัญครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทรงมีพระหฤทัยร่าเริงชื่นชมยินดี จึงได้พระราชทานแก้วมณีอันไพโรจน์ดวงหนึ่งแด่พระเจ้ากุสะ [๘๑] พระราชาพระองค์นั้นครั้นทรงชนะสงครามนั้นแล้ว ได้รับพระราชทานแก้วมณีอันไพโรจน์ ประทับบนคอช้าง เสด็จเลียบบุรีนคร [๘๒] ทรงจับเป็นกษัตริย์ทั้ง ๗ พระองค์ แล้วทรงพันธนาการ ให้น้อมนาเข้าไปถวายต่อพระสัสสุระ (พ่อตา) ด้วยพระดารัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กษัตริย์เหล่านี้เป็นศัตรูของพระองค์ [๘๓] พวกศัตรูทั้งหมดที่จะกาจัดพระองค์ ก็ตกอยู่ในอานาจของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ทรงทาตามพระประสงค์เถิด จะทรงปล่อยหรือจะทรงประหารกษัตริย์เหล่านั้นก็ตามพระทัยเถิด
  • 10. 10 (พระเจ้ามัททะตรัสว่า) [๘๔] กษัตริย์เหล่านี้เป็ นศัตรูของพระองค์ต่างหาก มิใช่เป็นศัตรูของหม่อมฉันเลย ข้าแต่มหาราช พระองค์เท่านั้นทรงเป็นใหญ่กว่าหม่อมฉัน จะทรงปล่อยหรือจะทรงประหารกษัตริย์เหล่านั้น ก็ตามพระทัยเถิด (พระเจ้ากุสโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๘๕] พระธิดาทั้ง ๗ ของพระองค์เหล่านี้ ทรงเลอโฉม อุปมาดังเทพกัญญา ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระราชธิดาแต่ละพระองค์แด่กษัตริย์เหล่านั้น ขอกษัตริย์เหล่านั้นทั้งหมดจงเป็ นพระราชบุตรเขยของพระองค์เถิด (พระเจ้ามัททะตรัสกับพระเจ้ากุสโพธิสัตว์ว่า) [๘๖] ข้าแต่มหาราช พระองค์เท่านั้นทรงเป็ นใหญ่กว่าหม่อมฉัน กว่าธิดาของหม่อมฉันเหล่านั้น และกว่าหม่อมฉันทั้งปวง ขอพระองค์ทรงพระราชทานธิดาทั้งหลายของหม่อมฉัน แด่กษัตริย์เหล่านั้นตามที่พระองค์ทรงพระประสงค์เถิด (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๘๗] ในกาลนั้น พระเจ้ากุสะ ผู้ทรงมีพระสุรเสียงประหนึ่งราชสีห์ ได้พระราชทานพระธิดาของพระเจ้ามัททะ แด่กษัตริย์เหล่านั้นพระนางละองค์ [๘๘] กษัตริย์ทั้ง ๗ พระองค์ต่างพากันเอิบอิ่มพระทัยด้วยการได้นั้น ทรงมีพระทัยยินดีในพระเจ้ากุสะ ผู้มีพระสุรเสียงประหนึ่งราชสีห์ ต่างฝ่ายต่างเสด็จกลับสู่แคว้นของตนทันที [๘๙] ส่วนพระเจ้ากุสะผู้ทรงพลังมหาศาล ทรงพาเจ้าหญิงประภาวดีและแก้วมณี อันไพโรจน์งดงามเสด็จกลับยังกรุงกุสาวดี [๙๐] เมื่อพระราชาและพระราชเทวีทั้ง ๒ พระองค์นั้น เสด็จไปในราชรถคันเดียวกัน เสด็จเข้าไปยังกรุงกุสาวดี ทรงมีพระฉวีวรรณและพระรูปโฉมทัดเทียมกัน มิได้ทรงรุ่งโรจน์ยิ่งกว่ากันและกันเลย [๙๑] ในกาลนั้น พระราชมารดาได้ทรงพบ พระราชบุตรและพระชายา พระบิดาและพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้นทรงสมัครสมานกัน ครอบครองแผ่นดินกุสาวดีให้รุ่งเรืองแผ่ไพศาลสืบมา กุสชาดกที่ ๑ จบ --------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา กุสชาดก ว่าด้วย พระเจ้ากุสราชลุ่มหลงรูปโฉมของนางประภาวดี
  • 11. 11 พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภภิกษุ ผู้ไม่ยินดีในพระธรรมวินัย มีใจคิดจะสึกรูปหนึ่ง. ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีคนหนึ่งได้ถวายชีวิตในพระศาสนา บรรพชาแล้ว. วันหนึ่ง เธอเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เห็นสตรีนางหนึ่งซึ่งแต่งกายงดงาม มองดูด้วยอานาจถือเอานิมิตอันงาม ถูกกิเลสเข้าครอบงาจนหมดความยินดียิ่งอยู่แล้ว. เธอมีผมและเล็บงอกยาวขึ้น มีจีวรเศร้าหมอง มีตัวผอมเหลืองเกิดแล้ว มีกายอันสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น. มีอุปมาเหมือนอย่าง บุพนิมิต ๕ ประการที่ปรากฏแก่เทวบุตรทั้งหลาย ผู้มีอันจะต้องจุติเป็นธรรมดาในเทวโลก คือ พวงมาลัยย่อมเหี่ยวแห้ง ๑ ผ้านุ่งห่มเศร้าหมอง ๑ ผิวกายอันเศร้าหมอง ย่อมก้าวลงในสรีระ ๑ เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง ๑ เทวดาไม่รื่นรมย์ในทิพยอาสน์ ๑ ฉันใด บุพนิมิต ๕ ประการ ก็ย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในพระธรรมวินัย มีใจคิดจะสึก ผู้จะต้องเคลื่อนจากศาสนาเป็นธรรมดา ได้แก่ ดอกไม้ คือศรัทธาย่อมเหี่ยวแห้งไป ๑ ผ้า คือศีลย่อมเศร้าหมอง ๑ ผิวพรรณอันเศร้าหมอง ย่อมก้าวลงในสรีระด้วยความเป็ นผู้เก้อเขิน และด้วยอานาจแห่งความไม่มียศ ๑ เหงื่อ คือกิเลสทั้งหลายย่อมไหลออก ๑ ภิกษุนั้นย่อมไม่ยินดีในป่า ที่โคนต้นไม้ ในเรือนอันว่างเปล่า ฉันนั้นก็เหมือนกัน. นิมิตทั้งหลายปรากฏแล้วแก่ภิกษุนั้น. ลาดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงได้นาเธอเข้าไปในสานักของพระศาสดาแล้ว แสดงให้ทรงทราบว่า ภิกษุรูปนี้คิดต้องการจะสึก พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุได้ยินว่า เธอคิดจะสึกจริงหรือ. เมื่อภิกษุรูปนั้นกราบทูลตามความเป็นจริงแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธออย่าตกอยู่ในอานาจแห่งกิเลสเลย. ธรรมดาว่า มาตุคามนี้เป็นข้าศึก (ต่อการประพฤติพรหมจรรย์) เธอจงหักห้ามจิตที่คิดรักใคร่เยื่อใยในมาตุคามนั้นเสีย จงยินดีในพระศาสนาเถิด. จริงอยู่ บัณฑิตครั้งโบราณทั้งหลาย แม้จะเป็นผู้มีเดช ย่อมต้องเสื่อมไปได้ เพราะเป็นผู้มีจิตคิดรักใคร่ในมาตุคาม และเป็นผู้หมดเดช ถึงความพินาศย่อยยับเพราะมาตุคาม. ดังนี้แล้ว ได้ทรงนิ่งเฉยอยู่ ได้รับการอาราธนาจากภิกษุเหล่านั้น จึงทรงนาอดีตนิทานมา ตรัสว่า ในอดีตกาล พระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าโอกกากราช ทรงครองราชสมบัติโ ดยธรรม ในราชธานีชื่อกุสาวดี ในแว่นแคว้นมัลละ. ท้าวเธอมีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า สีลวดี ซึ่งเป็ นใหญ่กว่านางสนมจานวน
  • 12. 12 ๑๖,๐๐๐ นาง. พระนางสีลวดีนั้น หามีพระโอรสและพระธิดาไม่. ลาดับนั้น ชาวเมืองและชาวแว่นแคว้นทั้งหลาย จึงพากันมาประชุมที่พระทวารพระราชนิเวศน์แล้ว ร้องเรียนแด่พระราชาพระองค์นั้นว่า บ้านเมืองจักพินาศ บ้านเมืองจักฉิบหาย. พระราชาทรงให้เปิดสีหบัญชรออก แล้วตรัสถามว่า เมื่อเราครองรัฐอยู่ ขึ้นชื่อว่าการกระทาสิ่งอันไม่เป็ นธรรม ย่อมไม่มี. พวกท่านจะมาร้องเรียน ทาไมกัน. พวกประชาชนกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ เป็นความจริง ขึ้นชื่อว่าการกระทาสิ่งที่ไม่เป็ นธรรม มิได้มีเลย. ก็แต่ว่าพระโอรสผู้จะสืบวงศ์ของพระองค์ ยังไม่มี. ชนเหล่าอื่นจักช่วงชิงเอาพระราชสมบัติแล้ว ทาบ้านเมืองให้พินาศล่มจม. เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงทรงปรารถนาพระโอรส ผู้สามารถจะปกครองพระราชสมบัติโดยธรรมเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เราก็ต้องการปรารถนาพระโอรสอยู่ แต่จะทาอย่างไรดี. ประชาชนกราบทูลวิธีการว่า ขอเดชะ ขั้นแรก ขอพระองค์จงทรงปล่อยนางฟ้ อนรุ่นเล็กสักนางหนึ่ง กระทาให้เป็นนางฟ้ อนโดยธรรมไปสัก ๗ วันก่อน. ถ้านางได้บุตรก็เป็นการดี ถ้าไม่ได้. ต่อจากนั้น ขอให้ทรงปล่อยนางฟ้ อนชั้นกลาง. แต่นั้น ขอให้ทรงปล่อยนางฟ้ อนชั้นสูง. บรรดานางสนมมีประมาณเท่านี้ นางสนมผู้มีบุญคนหนึ่ง จักได้พระโอรสเป็ นแน่แท้. พระราชาทรงกระทาตามถ้อยคาของชาวเมืองเหล่านั้นทุกอย่าง ทรงอภิรมย์ตามความสุขสบายตลอด ๗ วัน. จึงตรัสถามนางสนม ที่พากันกลับมาแล้วว่า พวกเธอพอจะให้บุตรได้บ้างไหม? หญิงทั้งหมดกราบทูลว่า ขอเดชะ หม่อมฉันทั้งหลายให้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า. พระราชาทรงเสียพระทัยว่า โอรสจักไม่เกิดแก่เราเป็นแน่. ชาวเมืองทั้งหลายก็พากันร้องเรียนขึ้น เหมือนอย่างนั้นซ้าอีก. พระราชาตรัสว่า พวกท่านทั้งหลายจะพากันมาร้องเรียนเอาอะไรกัน เราได้ปล่อยพวกนางฟ้ อนไปตามคาของพวกท่านแล้ว จนถึงเหลือนางคนหนึ่ง ก็ยังไม่ได้บุตร. บัดนี้ เราจะกระทาการอย่างไรกัน. พวกชาวเมืองกราบทูลว่า ขอเดชะ นางเหล่านั้นจักเป็นผู้ทุศีล ไม่มีบุญ นางเหล่านี้ไม่มีบุญสาหรับจะได้บุตร. เมื่อนางสนมเหล่านี้ไม่ได้บุตร พระองค์ก็อย่าทรงถอยพระอุตสาหะเสียเลย. พระนางเจ้าสีลวดีพระอัครมเหสีของพระองค์ ทรงสมบูรณ์ด้วยศีล. ขอพระองค์จงทรงปล่อยพระนางไปเสียเถิด พระนางจักได้พระโอรสเป็นแน่แท้. ท้าวเธอทรงรับรองว่า ดีละ. ดังนี้แล้วจึงรับสั่งให้ คนเที่ยวตีกลองเป่าประกาศว่า ข่าวดีในวันที่ ๗ แต่วันนี้ไป พระราชาจะทรงนาพระนางเจ้าสีลวดี
  • 13. 13 ให้เป็นนางฟ้ อนราโดยธรรมแล้วปล่อยไป. บรรดาผู้ชายทั้งหลาย จงมาประชุมกัน. ครั้นพอถึงวันที่ ๗ จึงให้ตกแต่งประดับประดาพระนางเจ้าแล้ว ให้ลงจากพระราชนิเวศน์ปล่อยไป. ด้วยเดชะแห่งศีลของพระนาง พิภพของท้าวสักกะก็แสดงอาการเร่าร้อนขึ้น. ท้าวเธอจึงทรงใคร่ครวญว่า เกิดเหตุอะไรขึ้นหนอ. ก็ทรงทราบว่า พระนางเจ้าปรารถนาพระโอรส. จึงทรงพระดาริว่า เราควรจะให้พระโอรสแก่พระนางนี้. จึงทรงใคร่ครวญต่อไปว่า พระโอรสที่สมควรแก่พระนางนี้ ในเทวโลกมีอยู่หรือไม่หนอ ก็ได้ทรงเห็นพระโพธิสัตว์. ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้นสิ้นอายุในภพชั้นดาวดึงส์. ในกาลนั้น และเป็นผู้ใคร่จะได้เสด็จไปบังเกิด ในเทวโลกเบื้องบนต่อไป. ท้าวสักกเทวราชจึงเสด็จไปยังประตูวิมานของพระโพธิสัตว์นั้น ตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้เช่นเรา ท่านควรจะไปยังมนุษยโลกแล้ว ถือปฏิสนธิในครรภ์พระอัครมเหสี ของพระเจ้าโอกกากราช ให้พระโพธิสัตว์ยอมรับแล้ว จึงตรัสกะเทพบุตรอีกคนหนึ่งว่า ถึงท่านก็จักต้องเป็ นโอรสของพระนางนี้ แล้วได้เสด็จไปยังประตูพระราชนิเวศน์ ของพระราชาด้วยเพศแห่งพราหมณ์แก่ ด้วยทรงพระดาริว่า ก็ใครๆ จงอย่าได้ทาลายศีลของพระนางนี้เสียเลย. แม้มหาชนอาบน้าตกแต่งร่างกาย แล้วก็ไปประชุมที่ประตูพระราชนิเวศน์ ด้วยคิดว่า เราจักรับเอาพระเทวี ครั้นเห็นท้าวสักกะ จึงได้กระทาการเยาะเย้ยว่า ท่านผู้เฒ่าจะมาทาไม. ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านทั้งหลายจะติเตียนเราทาไม ถึงแม้ว่าร่างกายของเราจะแก่เฒ่าก็จริง แต่ความกระชุ่มกระชวย ก็ยังไม่หมดสิ้นไป. เรามาด้วยคิดว่า ถ้าเราจักได้พระนางสีลวดี ก็จะพาพระนางไป. ดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จเข้าไปยืนคอยอยู่ข้างหน้า ใครๆ ทั้งหมดด้วยอานุภาพของตน. คนอื่นไม่อาจยืนบังหน้าได้เลย ด้วยเดชแห่งท้าวสักกะนั้น. พอพระนางเจ้าประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์. ท้าวเธอก็คว้าที่พระหัตถ์ แล้วก็พาหลีกไป. ลาดับนั้น ประชาชนทั้งหลายผู้อยู่ ณ ที่นั้น จึงพากันติเตียนพระนางว่า ดูเอาเถิด ท่านผู้เจริญ พราหมณ์แก่พาเอาพระเทวีผู้ทรงไว้ซึ่งพระรูปโฉม อันอุดมถึงเพียงนี้ไป ตาแกช่างไม่รู้จักสิ่งที่เหมาะสมแก่ตนเสียเลย. แม้พระเทวีก็มิได้ทรงขวยเขิน ละอายพระทัยว่า พราหมณ์แก่พาเราไป. แม้พระราชาประทับยืนใกล้ช่องพระแกล ก็ทรงคอยดูอยู่ว่า ใครหนอจะพาพระเทวีไป. ครั้นได้เห็นพราหมณ์แก่นั้น ก็ทรงเสียพระทัย. ท้าวสักกะทรงพาพระนางออกจากประตูพระนคร ทรงเนรมิตเรือนขึ้นหลังหนึ่ง ใกล้กับประตูเมืองทาการเปิดบานประตูไว้ และจัดแจงเครื่องลาดที่ทาด้วยไม้ไว้แล้ว. ลาดับนั้น
  • 14. 14 พระนางจึงตรัสถามท้าวเธอว่า นี่เรือนของท่านหรือค่ะ? ท้าวเธอจึงตรัสตอบว่า ใช่แล้วน้องนาง แต่กาลก่อนพี่อยู่คนเดียว. บัดนี้ พี่กับเธออยู่ด้วยกัน ๒ คนแล้ว. พี่จักต้องท่องเที่ยวไปหาข้าวสารเป็นต้นมาไว้ เชิญน้องนางนอนพักผ่อนเสียบนเครื่องลาดไม้นี้ก่อนเถิด แล้วทรงเอาพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม ค่อยลูบคลาพระนาง ทรงบันดาลให้ทิพยสัมผัสแผ่ซ่านไปทั่ว ให้พระนางบรรทมหลับในที่นั้น. ด้วยความแผ่ซ่านแห่งทิพยสัมผัส พระนางจึงหมดความรู้สึก (หลับไป). ลาดับนั้น ท้าวสักกะจึงทรงอุ้มเอาพระนางไปยังพิภพชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานุภาพของตน ให้พระนางทรงบรรทมเหนือทิพยไสยาสน์ ในวิมานอันประดับประดาแล้ว. ในวันที่ ๗ พระนางจึงตื่นจากบรรทมแล้ว ทอดพระเนตรเห็นสมบัตินั้น ก็ทรงทราบได้ว่า พราหมณ์คนนั้นคงไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา เห็นทีจักเป็นท้าวสักกะแน่นอน. ในสมัยนั้น แม้ท้าวสักกเทวราชทรงมีนางฟ้ อนชั้นทิพย์แวดล้อม ประทับนั่งที่โคนไม้ปาริฉัตตกะ. พระนางทรงเห็นท้าวสักกะนั้นแล้ว จึงเสด็จลุกออกจากที่บรรทม เสด็จเข้าไปหาท้าวเธอ ถวายบังคมแล้ว ประทับยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่ง. ลาดับนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสกะพระนางว่า พระเทวีน้องรัก พี่จะให้พรแก่เธอสักอย่างหนึ่ง ขอเธอจงเลือกรับเอาเถิด. พระนางทูลว่า ขอเดชะ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงประทาน โอรสแก่หม่อมฉันสักพระองค์หนึ่งเถิด. ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี จะว่าแต่พระโอรสคนหนึ่งเลย พี่จะให้พระโอรสสัก ๒ พระองค์แก่เธอ. แต่ว่าในพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้น พระองค์หนึ่งทรงมีปัญญา แต่รูปร่างไม่สวยงาม พระองค์หนึ่งรูปร่างสวยงาม แต่หาปัญญามิได้. ในพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้น เธอจะปรารถนาต้องการคนไหนก่อน. พระนางทูลตอบว่า ขอเดชะ หม่อมฉันปรารถนาอยากได้พระโอรสที่มีปัญญาก่อน. ท้าวสักกเทวราชนั้นตรัสรับว่า ดีละ. ดังนี้ แล้วทรงประทานสิ่งของ ๕ สิ่ง อันได้แก่ หญ้าคา ๑ ผ้าทิพย์ ๑ จันทน์ทิพย์ ๑ ดอกปาริฉัตตก์ทิพย์ ๑ พิณชื่อโกกนท ๑ แก่พระนางแล้ว ทรงพาพระนางเหาะเข้าไปยังห้องบรรทมของพระราชา ให้พระนางบรรทมบนพระยี่ภู่ร่วมพระแท่นที่เดียวกันกับพระราชา ทรงบรรจงลูบพระนาภีของพระนางด้วยพระอังคุฏฐะ (นิ้วหัวแม่มือ). ในขณะนั้น พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนาง. แม้ท้าวสักกะ ก็เสด็จไปยังสถานที่อยู่ของพระองค์ตามเดิม. พระเทวีทรงทราบว่า พระองค์ทรงตั้งพระครรภ์ เพราะพระนางเป็นบัณฑิต. ลาดับนั้น พระราชาทรงตื่นจากพระบรรทม ทอดพระเนตรเห็นพระนาง จึงตรัสถามว่า ดูก่อนพระเทวี นี่ใครนะพาเธอมา.
  • 15. 15 พระเทวีทูลว่า ท้าวสักกะ เพคะ. พระราชาตรัสว่า ฉันได้เห็นประจักษ์แก่สายตาว่า ตาพราหมณ์แก่คนหนึ่งได้พาเธอไป ทาไม เธอจึงมาหลอกลวงฉัน. พระเทวีทูลว่า ขอพระองค์จงทรงเชื่อเถิดเพคะ ท้าวสักกะพาหม่อมฉันไป ได้พาไปถึงเทวโลก. พระราชาตรัสว่า ฉันไม่เชื่อเลย พระเทวี. ลาดับนั้น พระนางจึงได้แสดงหญ้าคาที่ท้าวสักกะทรงประทานไว้แก่พระราชานั้น. ทูลว่า ขอพระองค์ทรงเชื่อเถิด. พระราชาตรัสว่า นั่นเรียกชื่อว่า หญ้าคา ที่ไหนๆ ใครๆ ก็หาเอามาได้. ดังนี้ จึงไม่ทรงเชื่อ. ลาดับนั้น พระนางจึงทรงนาเอาสิ่งของ ๔ สิ่งมีผ้าทิพย์เป็นต้น แสดงแก่ท้าวเธอ. พระราชาพอได้ทอดพระเนตร เห็นสิ่งของเหล่านั้นแล้ว จึงยอมเชื่อ แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนพระนางผู้เจริญ เรื่องท้าวสักกะนาพาเธอไป จงพักไว้ก่อน ก็แต่ว่าเธอได้บุตรหรือไม่เล่า. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า หม่อมฉันได้พระโอรสแล้ว. บัดนี้ หม่อมฉันกาลังตั้งครรภ์ ท้าวเธอได้ทรงสดับถ้อยคาแล้ว ก็ทรงดีพระทัย จึงทรงพระราชทานเครื่องบริหารพระครรภ์แก่พระนาง. พอได้ถ้วนกาหนดทศมาส พระนางเจ้าก็ประสูติพระราชโอรส. พระชนกและพระชนนีมิได้ทรงขนานพระนามอย่างอื่นแก่พระราชโอรสนั้น ทรงขนานพระนามว่า กุสติณราชกุมาร. ในกาลที่พระกุสติณราชกุมารเสด็จย่างพ ระบาทไปได้ เทพบุตรอีกองค์หนึ่งก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอีก. พอได้ครบ ๑๐ เดือนเต็ม พระนางก็ประสูติพระโอรสอีกพระองค์หนึ่ง. พระชนกและพระชนนีได้ทรงขนานพระนามพระกุมารที่ประสูติใหม่นั้นว่า ชยัมบ ดีราชกุมาร. พระราชกุมารทั้ง ๒ พระองค์นั้นทรงเจริญพระชันษาด้วยพระอิสริยยศอันยิ่งใหญ่. พระโพธิสัตว์เจ้าทรงมีปัญญา ไม่ต้องทรงศึกษาเล่าเรียนศิลปศาสตร์อะไรๆ ในสานักของพระอาจารย์ ก็ทรงถึงความสาเร็จในศิลปศาสตร์ทั้งหมดได้ ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง. ลาดับนั้น ในกาลที่พระโพธิสัตว์เจ้านั้นทรงเจริญพระชนมายุได้ ๑๖ พระชันษา พระราชาทรงปรารถนาจะมอบพระราชสมบัติให้ จึงรับสั่งให้พระเทวีมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนพระเทวีผู้เจริญ ฉันจะมอบราชสมบัติให้แก่พระโอรสองค์ใหญ่ของเธอแล้ว จักให้นางฟ้ อนทั้งหลายบารุงบาเรอ ขณะที่เราทั้ง ๒ ยังมีชีวิตอยู่นี่แหละ จักได้เห็นลูกของเราครอบครองราชสมบัติ. ก็ลูกของเราจะชอบใจพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์ใด ในชมพูทวีปทั้งสิ้น เราจะได้นาพระราชธิดานั้น มาสถาปนาให้เป็นอัครมเหสีของลูก. เธอจงรู้จิตใจของลูกว่า จะชอบพระราชธิดาองค์ไหนกัน. พระนางรับว่า ดีละ. แล้วทรงส่งนางบริจาริกาคนหนึ่งไป ด้วยพระดารัสว่า
  • 16. 16 เจ้าจงไปบอกเรื่องนี้แก่กุมารแล้ว จงรู้จิตใจ. นางบริจาริกานั้นไปทูลเรื่องนั้นแก่พระกุมารนั้นแล้ว. พระมหาสัตว์ได้สดับถ้อยคานั้นแล้ว จึงคิดว่า เรามีรูปร่างไม่สะสวยงดงาม. พระราชธิดาผู้สมบูรณ์ด้วยรูป แม้ถูกนาตัวมาพอเห็นเรา ก็จักหนีไปด้วยคิดว่า เราจะมีประโยชน์อะไร ด้วยกุมารผู้มีรูปร่างน่าเกลียด ความอับอายก็จะพึงมีแก่เรา ด้วยประการฉะนี้. ประโยชน์อะไร เราจะอยู่เป็นฆราวาส เราบารุงมารดาบิดา ผู้ยังทรงพระชนม์ไปก่อน พอท่านทั้งสองนั้นสวรรคตแล้ว ก็จักออกบวช. พระองค์จึงตรัสบอกว่า เราไม่มีความต้องการด้วยพระราชสมบัติ ไม่ต้องการด้วยหมู่นางฟ้ อน พอพระชนกและพระชนนีสวรรคตไปแล้ว เราก็จักบวช. นางบริจาริกานั้นสดับพระดารัสแล้ว จึงกลับมากราบทูลพระดารัสของพระกุมารนั้นแด่พระเทวี. แม้พระเทวีก็กราบทูลแด่พระราชาแล้ว พระราชาทรงสดับถ้อยคาทูลนั้นแล้ว ก็ทรงเสียพระทัย พอล่วงผ่านไป ๒-๓ วัน ก็ทรงส่งข่าวสาส์นไปอีก แม้พระกุมารนั้นก็คัดค้านอีกเหมือนเดิม. พระกุมารทรงคัดค้านอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง. ในครั้งที่ ๔ จึงทรงดาริว่า ธรรมดาว่า ลูกจะขัดขืนคัดค้านมารดาบิดาอยู่ร่าไป ก็ไม่เหมาะสมเลย เราจักกระทาอุบายสักอย่างหนึ่ง. พระกุมารนั้นจึงเสด็จไปเรียกหัวหน้าช่างทองคนหนึ่งมา แล้วพระราชทานทองคาไปเป็นอันมาก. รับสั่งว่า ท่านจงทารูปผู้หญิงให้สักรูปหนึ่งเถิด แล้วทรงส่งนายช่างทองนั้นไป. เมื่อนายช่างทองนั้นไปแล้ว จึงทรงเอาทองคาส่วนอื่นมาทาเป็นรูปผู้หญิงด้วยพระองค์เอง. ก็ธรรมดาว่า ความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมสาเร็จตลอดไป. รูปทองที่พระโพธิสัตว์ทรงกระทาขึ้นเองนั้น ช่างงดงามเสียเหลือล้น จนไม่มีถ้อยคาจะราพันด้วยลิ้นได้. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์จึงทรงแต่งตัวรูปหญิงนั้น ให้นุ่งผ้าโขมพัสตร์แล้ว ทรงให้วางไว้ในห้องอันเป็นสิริ. พระมหาสัตว์นั้น ครั้นทรงเห็นรูปผู้หญิงที่หัวหน้าช่างทองนามา จึงทรงติรูปนั้นแล้ว ตรัสว่า เธอจงไปนาเอารูปหญิงที่ตั้งอยู่ในห้องอันเป็นสิริของเรา มาเทียบดูซิ. นายช่างทองนั้นเข้าไปยังห้องอันเป็นสิริ มองเห็นรูปหญิงนั้น แล้วสาคัญว่า นางเทพอัปสรนางหนึ่ง มาร่วมอภิรมย์กับพระกุมาร จึงไม่อาจจะเหยียดมือไปจับ. กลับออกมา กราบทูลว่า พระแม่เจ้าพระองค์ไร ประทับอยู่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในห้องอันเป็ นสิริ ข้าพระองค์ไม่อาจจะเข้าไปได้. พระราชกุมารตรัสว่า ดูก่อนพ่อ
  • 17. 17 ท่านจงไปนามาเถิด รูปทองคานี้เราทาขึ้นมาเอง แล้วทรงส่งไปอีก. นายช่างทองนั้นจึงกลับเข้าไปยกออกมา. พระราชกุมารให้เก็บรูปที่ช่างทองทามานั้น ไว้เสียในห้องสาหรับเก็บทอง แล้วให้คนตกแต่งรูปที่พระองค์ทรงกระทา แล้วทรงให้ยกขึ้นวางบนรถ ส่งไปยังสานักของพระมารดา ด้วยพระดารัสว่า ถ้าผู้หญิงงดงามเหมือนอย่างรูปนี้ มีอยู่. หม่อมฉันจักอยู่ครอบครองเรือน. พระเทวีนั้นรับสั่งให้เรียกพวกอามาตย์มา แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลาย พระโอรสของเรามีบุญมาก เป็นพระโอรสที่ท้าวสักกะประทานให้ อยากได้นางกุมาริกาที่รูปสวยเหมือนรูปนี้ พวกท่านได้หญิงมีรูปร่างเห็นปานนี้ จงพามา จงตั้งรูปนี้ไว้บนยานอันปกปิดแล้ว เที่ยวไปตลอดชมพูทวีปทั้งสิ้น. ถ้าได้พบพระธิดาของพระราชาพระองค์ใด มีรูปร่างงดงามเห็นปานรูปนี้ไซร้ ก็จงถวายรูปทองนั้นแด่พระราชาพระองค์นั้นนั่นแล. แล้วกราบทูลว่า พระเจ้าโอกกากราชจักกระทาอาวาหวิวาหมงคลกับพระองค์ ทูลกาหนดนัดวันแล้ว จงรีบกลับมา. อามาตย์เหล่านั้นรับพระราชเสาวนีย์แล้ว นารูปนั้นออกจากเมือง พร้อมด้วยบริวารเป็ นอันมาก เที่ยวเสาะแสวงหาไปถึงราชธานีใด ก็สังเกตว่า ในสถานที่ที่มหาชนมาประชุมกัน ในเวลาเย็นในราชธานีนั้น ก็ตกแต่งรูปหญิงนั้นด้วยเครื่องประดับ อันประกอบด้วยผ้าและดอกไม้ ยกขึ้นตั้งบนวอทองคาแล้ว ตั้งไว้ที่ริมหนทางที่จะไปยังท่าน้า. ส่วนพวกตนต่างพากันหลบไป ยืนอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง เพื่อคอยสดับฟังถ้อยคาของมหาชน ผู้มาแล้วและมาแล้ว. ฝ่ายมหาชน ครั้นมองดูรูปหญิงนั้น ไม่เข้าใจว่าเป็นรูปทองคา จึงชวนกันชมเชยว่า หญิงนี้แม้เป็ นเพียงหญิงมนุษย์ ก็ยังสวยงามอย่างที่สุด เปรียบประดุจนางเทพอัปสร ทาไมจึงมายืนอยู่ในที่นี้ หรือว่ามาจากไหน. หญิงงามเห็นปานนี้ ในเมืองของพวกเราไม่เคยมีเลย ดังนี้แล้ว ก็พากันหลีกไป. พวกอามาตย์ได้ฟังถ้อยคานั้นแล้ว จึงปรึกษากันว่า ถ้านางทาริกางามปานรูปนี้ พึงมีในเมืองนี้ไซร้ ชนทั้งหลายพึงกล่าวว่า นางคนนี้เหมือนกับพระราชธิดาองค์โน้น นางคนนี้เหมือนธิดาของอามาตย์คนโน้น. ในเมืองนี้คงไม่มีนางงามคล้ายกับรูปนี้ เป็นแน่แท้. จึงถือเอารูปหญิงนั้นไปยังเมืองอื่นๆ ต่อไปอีก. พวกอามาตย์เหล่านั้นเที่ยวไปอย่างนี้ จนถึงเมืองสาคละ ในแคว้นมัททะโดยลาดับ. ก็พระเจ้ามัททราช ในเมืองสาคละนี้ มีพระธิดาอยู่ ๘ พระองค์ ทรงพระรูปพระโฉมงดงามสูงสุดเปรียบประดุจนางฟ้ า. พระราชธิดาผู้เป็นพระพี่ใหญ่กว่าพระธิดาเหล่านั้นทั้งหมด
  • 18. 18 มีพระนามว่า ประภาวดี เพราะมีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระสรีระของพระนาง คล้ายแสงดวงอาทิตย์อันอ่อน. แม้ในเวลากลางคืน ในห้องอันมีเนื้อที่กว้างประมาณ ๔ ศอก ก็ไม่ต้องทาการตามประทีปโคมไฟ. บริเวณห้องนั้นทั้งหมด จะมีแสงสว่างเสมอ เป็นอันเดียวกันทีเดียว. ก็และพระนางประภาวดีนั้น มีพระพี่เลี้ยงคนหนึ่งเป็ นหญิงค่อมพิการ. นางพี่เลี้ยงนั้นพอให้พระนางประภาวดีเสวยเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะให้นางวรรณทาสี ๘ คนถือหม้อน้าจานวน ๘ หม้อ ไปยังท่าน้าในเวลาเย็น เพื่อตักน้าไปสรงสนานพระนาง. ครั้นมองเห็นรูปทองคาที่ตั้งไว้ข้างริมทาง ที่จะเดินไปยังท่าน้านั้น จึงเข้าใจไปว่า เป็ นพระนางประภาวดี. พากันโกรธว่า พระนางนี้ช่างว่ายากเสียจริงๆ. ตรัสว่า เราจักสรงสนานน้าแล้ว ส่งพวกเรามาตักน้า กลับมายืนดักอยู่ที่ หนทางจะไปสู่ท่าน้าก่อนหน้าเรา. แล้วจึงพากันกล่าวว่า ข้าแต่พระนางเจ้าผู้ทาสกุลให้ได้รับความละอาย ไม่สมควรเป็ นอย่างยิ่ง ที่พระนางจะมายืนอยู่ในที่นี้ ก่อนกว่าพวกหม่อมฉัน. ถ้าพระเจ้าแผ่นดินจักทรงทราบไซร้ ก็คงจักทาพวกหม่อมฉันให้พินาศเป็นแน่. ดังนี้ แล้วจึงเอามือแตะที่ข้างแก้มของรูปเทียมนั้น ฝ่ามือก็คล้ายกับว่าจะแตกออกไป. ลาดับนั้น นางจึงรู้ว่าเป็ นรูปทองคา หัวเราะขบขันอยู่ จึงไปหาพวกนางวรรณทาสี แล้วกล่าวว่า พวกเธอจงมาดูการทาของฉัน ฉันได้แตะต้องด้วยสาคัญผิดว่า รูปนี้ คือ พระนางเจ้าของเรา. รูปเปรียบนี้จะมีค่าราคาอะไร ในสานักแห่งพระธิดาของเรา เพียงแต่ให้มือของเราได้รับความเจ็บไปอย่างเดียว. ลาดับนั้น พวกราชทูตจึงพากันถือเอารูปหญิงนั้นแล้ว ถามนางพี่เลี้ยงนั้นว่า ท่านกล่าวว่า ธิดาของเราสวยงามกว่ารูปเทียมนี้ ท่านกล่าวหมายถึงใครกัน นางพี่เลี้ยงตอบว่า พระธิดาของพระเจ้ามัททราช ทรงพระนามว่า ประภาวดี รูปเปรียบนี้มีราคาไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของพระนางเลย. พวกอามาตย์เหล่านั้นพากันดีใจ ไปยังพระทวารพระราชวัง สั่งให้กราบทูลว่า พวกราชทูตของพระเจ้าโอกกากราชมาคอยเฝ้ าอยู่ที่พระทวาร พระเจ้าข้า. พระราชาเสด็จลุกจากอาสนะ ประทับยืนแล้วตรัสสั่งว่า พวกท่านจงเรียกเขาเข้ามาเถิด. พวกราชทูตเหล่านั้นเข้าไป แล้วถวายบังคมพระราชา แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระราชาของพวกข้าพระองค์ ตรัสถามว่า พระองค์ทรงพระสาราญดีหรือ พระเจ้าข้า. พระราชาทรงกระทาสักการะและต้อนรับ แล้วตรัสถามพวกอามาตย์ว่า พวกท่านมานี่ เพื่อประสงค์อะไร. พวกอามาตย์จึงกราบทูลว่า พระราชาของข้าพระองค์ มีพระโอรสพระนามว่า กุสกุมารมีพระสุรเสียงก้องกังวาน คล้ายกับเสียงราชสีห์ พระราชาทรงมี พระประสงค์จะมอบพระราชสมบัติ ให้แก่พระโอรสนั้น
  • 19. 19 จึงส่งพวกข้าพระองค์มาเฝ้ าถวายบังคมพระองค์ นัยว่า พระองค์จงพระราชทาน พระนางประภาวดีพระธิดาของพระองค์แก่พระโอรสนั้นเถิด พระเจ้าข้า และขอจงทรงรับไทยธรรม พร้อมด้วยรูปทองคานี้เถิด พอกราบทูลเสร็จแล้ว จึงได้น้อมถวายรูปทองคานั้น แด่พระราชาพระองค์นั้น. แม้พระเจ้ามัททราชนั้นก็ทรงดีพระทัย ทรงยอมรับด้วยทรงพระดาริว่า จักมีวิวาหมงคลกับพระราชาผู้ใหญ่เห็นปานนี้. ลาดับนั้น พวกทูตจึงกราบทูลท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่อาจจะรอช้าอยู่ได้ จักต้องรีบไปกราบทูล การได้พบพระราชธิดาแด่พระราชาให้ทรงทราบ เพื่อว่า พระองค์จักได้เสด็จมารับพระนางไป. พระเจ้ามัททราชพระองค์นั้นทรงรับว่า ดีละ แล้วทรงจัดแจงเครื่องทาสักการะแก่พวกทูตเหล่านั้น. พวกทูตเหล่านั้นกลับไปยังกรุงกุสาวดีแล้ว กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่ พระราชาและพระเทวี ให้ทรงทราบ. พระราชาเสด็จออกจากกุสาวดีนคร พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก เสด็จถึงเมืองสาคละโดยลาดับ. ฝ่ายพระเจ้ามัททราชก็ทรงกระทาการต้อนรับ ให้ท้าวเธอเสด็จเข้าไปสู่พระนครแล้ว ได้ทรงกระทาสักการะอย่างใหญ่ยิ่ง. โดยล่วงไปวันหนึ่ง สองวัน และสามวัน พระนางสีลวดีทรงพระดาริว่า ใคร่จะรู้ว่า พระราชธิดานั้นจักเป็นอย่างไร เพราะความที่พระนางเจ้าเป็นบัณฑิต จึงกราบทูลพระเจ้ามัททราชว่า หม่อมฉันใคร่จะได้เห็นพระสุณิสา (ในอนาคต) เพคะ. ท้าวเธอทรงรับว่า ดีละ แล้วรับสั่งให้เรียกพระราชธิดาประภาวดีมาเฝ้ า. พระราชธิดาประภาวดีทรงตกแต่งพระองค์ด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ์ แวดล้อมไปด้วยหมู่พระพี่เลี้ยงนางนมเสด็จออกมาไหว้แม่ผัว. พระนางสีลวดีนั้น ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพระนาง จึงทรงพระดาริว่า ราชธิดาองค์นี้เป็ นหญิงมีรูปร่างงดงามมากนัก ส่วนโอรสของเรามีรูปร่างไม่งดงาม ถ้าพระราชธิดาองค์นี้ได้ทอดทัศนาการ เห็นโอรสของเราเข้า แม้วันเดียวก็คงจะไม่อยู่ร่วมด้วยเด็ดขาด คงจะรีบหนีไปเป็นแน่แท้ เห็นทีเราจักต้องทากลอุบาย. พระนางสีลวดี จึงให้เชิญเสด็จพระเจ้ามัททราชมา แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เพคะ พระสุณิสาสมควรแก่พระโอรสของหม่อมฉัน ก็แต่ว่า จารีตอันสืบมาจากประเพณีแห่งสกุลของหม่อมฉันมีอยู่ ถ้าพระราชธิดาองค์นี้จักประพฤติตามจารีตประเพณีนี้ได้ หม่อมฉันก็จักรับพระราชธิดาองค์นี้ไว้. พระราชาตรัสว่า ก็จารีตประเพณีของพระองค์ เป็ นอย่างไรละ. พระนางสีลวดีตรัสตอบว่า ประเพณีในราชวงศ์ของหม่อมฉันมีอยู่ว่า พระวรชายาจะพบหน้าพระราชสวามีในเวลากลางวันไม่ได้