SlideShare a Scribd company logo
1
จูฬหังสชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๒๑. อสีตินิบาต
๑. จูฬหังสชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๓)
ว่าด้วยพญาหงส์ติดบ่วง
(พญาหงส์โพธิสัตว์เมื่อจะทดลองใจหงส์สุมุขะ จึงกล่าวว่า)
[๑] ท่านสุมุขะ ฝูงหงส์ไม่เหลียวแล พากันบินหนีไป
แม้ท่านก็จงหนีไปเถิด อย่ามัวกังวลอยู่เลย ความเป็นสหายไม่มีอยู่ในผู้ติดบ่วง
(หงส์สุมุขะกล่าวว่า)
[๒] ข้าพระองค์จะหนีไปหรือไม่หนีไปก็ตาม
เพราะการหนีไปและไม่หนีไปนั้น ข้าพระองค์จะไม่ตายก็หามิได้
เมื่อพระองค์มีความสุข ข้าพระองค์ได้พึ่งพาอาศัย เมื่อพระองค์มีความทุกข์
ข้าพระองค์จะพึงละทิ้งไปได้อย่างไร
[๓] การตายพร้อมกับพระองค์เท่านั้น
ประเสริฐกว่าการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากพระองค์
การมีชีวิตโดยปราศจากพระองค์จะประเสริฐอะไร
[๔] ข้าแต่มหาราช การที่ข้าพระองค์ละทิ้งพระองค์
ผู้ถึงความทุกข์อย่างนี้ไป นั่นไม่เป็ นธรรมเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีแห่งหมู่วิหค ข้าพระองค์ชอบใจคติของพระองค์
(พญาหงส์โพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๕] คติของเราผู้ติดบ่วงจะเป็นอย่างอื่นไป
จากโรงครัวใหญ่ได้อย่างไรเล่า ท่านมีปัญญาคือความคิดพ้นบ่วงมาแล้ว
จะพอใจคตินั้นได้อย่างไร
[๖] นี่แน่ะพ่อปักษี ท่านเห็นประโยชน์ของเรา
ของท่านหรือของญาติทั้งหลายที่เหลืออย่างไร ในเมื่อเราทั้ง ๒ จะสิ้นชีวิต
[๗] พ่อปักษีผู้มีปีกทั้ง ๒ ประดุจทองคา เมื่อท่านสละชีวิต
ในเพราะคุณอันประจักษ์เช่นนี้ ก็เหมือนคนตาบอด ตกอยู่ในความมืดมิด
จะพึงทาประโยชน์อะไรให้โชติช่วงเล่า
(หงส์สุมุขะกล่าวตอบว่า)
[๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหมู่หงส์ ทาไมหนอ
พระองค์จึงไม่ทรงทราบประโยชน์ในธรรม ธรรมที่มีคนบูชา
ย่อมชี้ประโยชน์แก่เหล่าสัตว์
[๙] ข้าพระองค์นั้นมุ่งธรรมอยู่ ได้เห็นประโยชน์อันเกิดขึ้นจากธรรม
และความภักดีในพระองค์จึงไม่คานึงถึงชีวิต
2
[๑๐] มิตรเมื่อระลึกถึงธรรม
ไม่พึงทอดทิ้งมิตรในยามอันตรายแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต
นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายโดยแท้
(พญาหงส์โพธิสัตว์ จึงกล่าวว่า)
[๑๑] ธรรมนี้ท่านก็ประพฤติแล้ว และความภักดีในเราก็ปรากฏชัดแล้ว
ขอท่านจงทาตามความต้องการของเราเถิด เราอนุญาตท่านแล้วจงหนีไป
[๑๒] ก็แลเมื่อเวลาผ่านพ้นไปแม้อย่างนี้
ส่วนที่บกพร่องอันใดที่เราได้ทาไว้แล้วแก่หมู่ญาติ
ส่วนที่บกพร่องนั้นท่านพึงสังวรอย่างยิ่ง ให้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเถิด
[๑๓] เมื่อพญาหงส์ ตัวประเสริฐ ผู้มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ
ปรึกษากันอยู่อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ นายพรานก็ได้ปรากฏต่อหน้า
ประดุจพญามัจจุราชปรากฏแก่คนไข้
[๑๔] นกทั้ง ๒ ผู้เกื้อกูลกันและกันมาสิ้นกาลนานเหล่านั้น
เห็นศัตรูแล้วก็จับนิ่งเฉยอยู่ ไม่เคลื่อนไหวไปจากที่จับ
[๑๕] ส่วนนายพรานศัตรูของนกได้เห็นเหล่าพญาหงส์ธตรัฏฐะ
กาลังบินขึ้นไปจากที่นั้นๆ จึงได้รีบก้าวเท้าเข้าไปหาพญาหงส์ทั้ง ๒ โดยเร็ว
[๑๖] ก็นายพรานนั้นครั้นรีบก้าวเท้าเข้าไปใกล้พญาหงส์ทั้ง ๒
ก้าวเท้าไปก็คิดไปอยู่ว่า ติดหรือไม่ติด
[๑๗] เห็นหงส์ติดบ่วงจับอยู่เพียงตัวเดียว อีกตัวหนึ่งไม่ติด จับอยู่ใกล้ๆ
แต่เพ่งมองตัวที่เป็ นทุกข์ซึ่งติดบ่วง
[๑๘] จากนั้น พรานนั้นก็เกิดความสงสัย จึงได้ถามหงส์ทั้ง ๒
ตัวซึ่งเป็ นหัวหน้าหมู่นก มีร่างกายเจริญเติบใหญ่ที่จับอยู่ว่า
[๑๙] หงส์ตัวที่ติดบ่วงใหญ่ไม่กาหนดทิศทางที่จะบินหนีไป พ่อปักษี
แต่เจ้าไม่ติดบ่วง ยังมีกาลังอยู่ ทาไมจึงไม่บินหนีไป
[๒๐] หงส์ตัวนี้เป็ นอะไรกับเจ้า
เจ้าพ้นแล้วยังเฝ้ าหงส์ตัวที่ติดบ่วงอยู่ใกล้ๆ นกทั้งหลายพากันละทิ้งหนีไป
ทาไมเจ้าจึงเหลืออยู่แต่ผู้เดียว
(หงส์สุมุขะตอบว่า)
[๒๑] นี่ท่านผู้เป็นศัตรูของนก พญาหงส์นั้นเป็นราชาของข้าพเจ้า
และเป็นเพื่อนเสมอด้วยชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักไม่ละทิ้งพระองค์ไป
จนกว่าวาระแห่งความตายจะมาถึง
(นายพรานกล่าวว่า)
[๒๒] ก็ไฉนพญาหงส์นี้จึงไม่เห็นบ่วงที่ดักไว้แล้ว
ความจริงการรู้ถึงอันตรายเป็นเหตุของคนผู้เป็นใหญ่
เพราะเหตุนั้นผู้เป็นใหญ่เหล่านั้นควรจะรู้เท่าทันอันตราย
3
(หงส์สุมุขะตอบว่า)
[๒๓] ในกาลใดความเสื่อมย่อมมีเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิต
ในกาลนั้นแม้สัตว์จะเข้าใกล้ข่ายและบ่วงก็ไม่รู้
[๒๔] ท่านผู้มีปัญญามาก ก็แลบ่วงทั้งหลายที่เขาดักไว้
มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ในเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิตอย่างนี้
สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปติดบ่วงที่เขาอาพรางดักไว้
(หงส์สุมุขะเมื่อจะขอชีวิตของพญาหงส์โพธิสัตว์ จึงกล่าวว่า)
[๒๕] ก็การอยู่ร่วมกับท่านนี้พึงมีความสุขเป็นกาไรหนอ อนึ่ง
ขอท่านจงอนุญาตให้ข้าพเจ้าทั้ง ๒ ไป ขอท่านพึงให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าทั้ง ๒ ด้วยเถิด
(นายพรานจึงกล่าวว่า)
[๒๖] ท่านไม่ได้ติดบ่วงของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะฆ่าท่าน
ท่านจงรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา
และจงมีชีวิตอยู่อย่างปราศจากความทุกข์ตลอดกาลนานเถิด
(หงส์สุมุขะได้กล่าวว่า)
[๒๗] ข้าพเจ้าไม่ประสงค์อย่างนั้นเลย นอกจากชีวิตของพญาหงส์นี้
หากท่านยินดีหงส์ตัวเดียว ขอท่านจงปล่อยพญาหงส์นั้น
และจงกินข้าพเจ้าแทนเถิด
[๒๘] ข้าพเจ้าทั้ง ๒ มีทรวดทรงสัณฐานและวัยเสมอกัน
ท่านจะไม่มีรายได้ลดค่าลงเลย ขอท่านจงพอใจด้วยการแลกเปลี่ยนอย่างนี้
[๒๙] เชิญเถิดเชิญท่านไตร่ตรองเรื่องนั้นดูให้ดี บรรดาข้าพเจ้าทั้ง ๒
ขอท่านจงมีความพอใจ ท่านจงใช้บ่วงผูกข้าพเจ้าไว้ก่อน
จงปล่อยพญานกไปในภายหลัง
[๓๐] อนึ่ง เมื่อท่านกระทาตามคาขอร้อง
รายได้ของท่านก็จะมีเท่าเดิมด้วย
และท่านจะพึงมีไมตรีกับเหล่าพญาหงส์ธตรัฏฐะไปตลอดชีวิต
(นายพรานเมื่อจะยกพญาหงส์โพธิสัตว์ให้เป็นรางวัลแก่หงส์สุมุขะ
จึงกล่าวว่า)
[๓๑] ขอมิตรอามาตย์ข้าทาสบริวารบุตรภรรยา
และพวกพ้องเผ่าพันธุ์ทั้งหลายหมู่ใหญ่
จงเห็นพญาหงส์ผู้พ้นไปแล้วจากที่นี้เพราะท่านเถิด
[๓๒] ก็บรรดามิตรทั้งหลายเป็นอันมาก
มิตรทั้งหลายเช่นกับท่านผู้เป็นเพื่อนร่วมชีวิต
ของพญาหงส์ธตรัฏฐะเหล่านั้นไม่มีอยู่ในโลกนี้
4
[๓๓] ข้าพเจ้ายอมปล่อยสหายของท่าน ขอพญาหงส์จงบินตามท่านไป
ท่านทั้ง ๒ จงรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา
จงรุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางแห่งญาติเถิด
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๓๔] หงส์สุมุขะผู้มีความเคารพต่อผู้เป็นนายนั้น
มีความปลื้มใจเพราะพญาหงส์ผู้เป็นนายพ้นจากบ่วงแล้ว
เมื่อจะกล่าววาจาอันระรื่นหู จึงกล่าวว่า
[๓๕] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้ายินดีเบิกบานใจ
เพราะได้เห็นพญานกพ้นจากบ่วงแล้วฉันใด
ขอท่านจงยินดีเบิกบานใจพร้อมกับหมู่ญาติทั้งปวงฉันนั้นเถิด
(พญาหงส์สุมุขะกล่าวกับนายพรานว่า)
[๓๖] มาเถิด ข้าพเจ้าจะบอกท่านโดยวิธีที่ท่านจะได้ลาภ
พญาหงส์ธตรัฏฐะนี้มิได้มุ่งร้ายอะไรต่อท่านเลย
[๓๗] ท่านจงรีบนาข้าพเจ้าทั้ง ๒ ซึ่งจับอยู่ที่หาบทั้ง ๒ ข้างเป็นปกติ
ไม่ถูกผูกมัด ภายในเมืองแล้วแสดงต่อพระราชาว่า
[๓๘] ข้าแต่มหาราช พญาหงส์ธตรัฏฐะทั้ง ๒ นี้ เป็นอธิบดีแห่งหงส์
หงส์นี้เป็ นราชาแห่งหงส์ทั้งหลาย ส่วนอีกตัวหนึ่งนี้เป็ นเสนาบดี
[๓๙] พระราชาผู้ทรงเป็นนราธิบดีทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์นี้แล้ว
จะทรงปรีดา ปลาบปลื้ม พอพระทัย จะพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ท่าน
เป็นจานวนมากอย่างไม่ต้องสงสัย
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๔๐] นายพรานได้สดับคาของหงส์สุมุขะนั้นแล้ว
ได้จัดแจงกิจการงานให้สาเร็จเรียบร้อยแล้ว รีบไปยังภายในเมือง
ได้แสดงหงส์ทั้ง ๒ ซึ่งจับอยู่ ที่หาบทั้ง ๒ ข้างเป็นปกติ
ไม่ถูกผูกมัดแด่พระราชาว่า
[๔๑] ข้าแต่มหาราช พญาหงส์ธตรัฏฐะทั้งหลายเหล่านี้
เป็นอธิบดีแห่งหงส์ หงส์ตัวนี้เป็ นราชาแห่งหงส์ทั้งหลาย
ส่วนอีกตัวหนึ่งนี้เป็ นเสนาบดี
(พระราชารับสั่งถามว่า)
[๔๒] ก็วิหคเหล่านี้ตกอยู่ในเงื้อมมือของเจ้าได้อย่างไร
เจ้าเป็นพรานจับวิหคที่เป็นใหญ่กว่าวิหคทั้งหลาย มาในที่นี้ได้อย่างไร
(นายพรานกราบทูลว่า)
[๔๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชน
บ่วงเหล่านี้ข้าพระองค์ได้วางไว้ที่เปือกตมทั้งหลาย
5
ซึ่งเป็ นสถานที่ที่ข้าพระองค์เข้าใจว่า เป็นสถานที่ประชุมแห่งนก
เป็นสถานที่ปลิดชีวิตนกทั้งหลาย
[๔๔] พญาหงส์เข้ามาใกล้บ่วงเช่นนั้นแล้วก็ไม่รู้
ส่วนนกตัวนี้ไม่ได้ติดบ่วง แต่จับอยู่ใกล้ๆ พญาหงส์นั้น ได้พูดกับข้าพระองค์
[๔๕] วิหคผู้ประกอบแล้วในธรรม
เมื่อบากบั่นในประโยชน์ของผู้เป็นนาย
ได้ประกาศภาวะอันอุดมซึ่งคนผู้มิใช่อริยะกระทาได้ยาก
[๔๖] วิหคนี้ยังควรที่จะมีชีวิตอยู่ แต่กลับสละชีวิตของตนเอง
จับอยู่อย่างไม่ทอดถอนท้อแท้ใจ วิงวอนร้องขอชีวิตของผู้เป็นนาย
[๔๗] ข้าพระองค์สดับคาของวิหคนั้นแล้วจึงกลับเลื่อมใส
จากนั้นจึงได้ปลดปล่อยพญาหงส์จากบ่วง และอนุญาตให้ไปได้ตามสบาย
[๔๘] หงส์สุมุขะนั้นมีความเคารพต่อผู้เป็นนาย
มีความปลื้มใจเพราะพญาหงส์ผู้เป็นนายพ้นจากบ่วง เมื่อจะกล่าววาจาอันระรื่นหู
จึงได้กล่าวว่า
[๔๙] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้ายินดีเบิกบานใจ
เพราะได้เห็นพญานกพ้นจากบ่วงแล้วฉันใด
ขอท่านจงยินดีเบิกบานใจพร้อมกับหมู่ญาติทั้งปวงฉันนั้นเถิด
[๕๐] มาเถิด ข้าพเจ้าจะบอกท่านโดยวิธีที่ท่านจะได้ลาภ
พญาหงส์ธตรัฏฐะนี้มิได้มุ่งร้ายอะไรต่อท่านเลย
[๕๑] ท่านจงรีบนาข้าพเจ้าทั้ง ๒ ซึ่งจับอยู่ที่หาบทั้ง ๒ ข้างเป็นปกติ
ไม่ถูกผูกมัด ไปภายในเมืองแล้วแสดงต่อพระราชาว่า
[๕๒] ข้าแต่มหาราช พญาหงส์ธตรัฏฐะทั้ง ๒ นี้ เป็นอธิบดีแห่งหงส์
หงส์นี้เป็ นราชาแห่งหงส์ทั้งหลาย ส่วนอีกตัวหนึ่งนี้เป็ นเสนาบดี
[๕๓] พระราชาผู้ทรงเป็นนราธิบดีทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์นี้แล้ว
จะทรงปรีดา ปลาบปลื้ม พอพระทัย จะพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ท่าน
เป็นจานวนมากอย่างไม่ต้องสงสัย
[๕๔] หงส์ทั้ง ๒ เหล่านี้ข้าพระองค์นามา ตามคาของหงส์สุมุขะนั้น
ด้วยประการฉะนี้ ความจริง ข้าพระองค์ได้อนุญาต ให้หงส์ทั้ง ๒
เหล่านี้อยู่ที่สระนั้นตามเดิม
[๕๕] ก็สุมุขพญาปักษีทิชาชาติตัวนี้นั้น
เป็นหงส์ประกอบอยู่ในธรรมอย่างยิ่ง แม้ตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูอย่างนี้
ก็ยังทานายพรานเช่นข้าพระองค์ให้เกิดความอ่อนโยนได้
[๕๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีแห่งมนุษย์
ก็ในบ้านพรานนกทุกแห่งข้าพระองค์มิได้เห็น
6
เครื่องบรรณาการอย่างอื่นเหมือนเช่นนี้สาหรับพระองค์เลย
ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรเครื่องบรรณาการนั้นเถิด
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๕๗] พญาหงส์ครั้นเห็นพระราชาประทับนั่ง บนตั่งทองคาอันสวยงาม
เมื่อจะกล่าววาจาอันระรื่นหู จึงกล่าวว่า
[๕๘] พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ทรงสุขสาราญดีอยู่หรือ
ไม่มีโรคเบียดเบียนหรือ แคว้นอันมั่งคั่งนี้พระองค์ทรงปกครองโดยธรรมหรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๕๙] เราสุขสาราญดีพญาหงส์ และไม่มีโรคเบียดเบียน อนึ่ง
แคว้นอันมั่งคั่งนี้เราก็ปกครองโดยธรรม
(พญาหงส์โพธิสัตว์ทูลถามว่า)
[๖๐] โทษบางสิ่งบางอย่างในหมู่อามาตย์ของพระองค์ไม่มีหรือ อนึ่ง
อามาตย์เหล่านั้นไม่กังวลถึงชีวิต
ในเพราะราชกิจอันเป็นประโยชน์ต่อพระองค์หรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๖๑] โทษบางสิ่งบางอย่างในหมู่อามาตย์ของเราก็ไม่มี อนึ่ง
แม้อามาตย์เหล่านั้นก็ไม่กังวลถึงชีวิต ในเพราะราชกิจอันเป็นประโยชน์ต่อเราเลย
(พญาหงส์โพธิสัตว์ทูลถามว่า)
[๖๒] พระราชเทวีผู้มีพระชาติเสมอกับพระองค์ ทรงเชื่อฟัง
ตรัสพระวาจาอ่อนหวานน่ารัก
ทรงมีพระโอรสประกอบด้วยพระรูปโฉมและอิสริยยศ
ทรงคล้อยตามพระอัธยาศัยของพระองค์หรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๖๓] ก็พระเทวีผู้มีพระชาติเสมอกับเรา เชื่อฟัง
กล่าววาจาอ่อนหวานน่ารัก มีพระโอรสประกอบด้วยพระรูปโฉมและอิสริยยศ
ยังคล้อยตามอัธยาศัยของเราอยู่
[๖๔] ท่านผู้เจริญตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูผู้ร้ายกาจนั้น
ถึงความลาบากมากเพราะอันตรายเบื้องต้นนั้นหรือ
[๖๕] นายพรานได้วิ่งเข้าไปใช้ท่อนไม้โบยตีท่านหรือ
เพราะคนต่าทรามเหล่านี้จะมีปกติเป็นอย่างนี้ในขณะนั้น
(พญาหงส์โพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๖๖] ขอเดชะมหาราช ในคราวมีอันตรายอย่างนี้
ความปลอดภัยได้มีแล้ว ด้วยว่านายพรานผู้นี้ หาได้ดาเนินการบางสิ่งบางอย่าง
ในข้าพระองค์ทั้ง ๒ เหมือนศัตรูไม่
7
[๖๗] นายพรานค่อยๆ ก้าวเข้าไปหาและได้ปราศรัยขึ้นก่อน
ในกาลนั้นสุมุขบัณฑิตผู้นี้แหละได้กล่าวตอบ
[๖๘] นายพรานสดับคาของสุมุขวิหคนั้นแล้วจึงกลับเลื่อมใส
จากนั้นจึงได้ปลดปล่อยข้าพระองค์จากบ่วง และอนุญาตให้ไปได้ตามสบาย
[๖๙] ก็การมาสู่สานักของพระองค์ผู้ทรงพระเจริญนี้
สุมุขวิหคนั่นแหละปรารถนาทรัพย์เพื่อนายพรานผู้นี้
ได้คิดแล้วเพื่อประโยชน์แก่เขา
(พระราชาตรัสว่า)
[๗๐] ก็การมาของท่านผู้เจริญนี้เป็นการมาดีแล้วทีเดียว
และเราก็ยินดีเพราะได้เห็นท่าน อนึ่ง
แม้นายพรานนี้จะได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจจานวนมาก ตามที่ตนปรารถนา
(พระศาสดาเมื่อจะทรงเผยข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๗๑] พระราชาผู้เป็นอธิบดีแห่งมนุษย์
ทรงยังนายพรานให้อิ่มเอมใจด้วยโภคะทั้งหลายแล้ว เมื่อจะตรัสวาจาอันระรื่นหู
จึงตรัสกับพญาหงส์ว่า
[๗๒] ได้ยินว่า อานาจของเราผู้ทรงธรรม
ย่อมเป็นไปในที่มีประมาณเล็กน้อย ความเป็นใหญ่ในที่ทั้งปวงจงมีแก่ท่าน
ขอท่านจงปกครองตามความปรารถนาเถิด
[๗๓] อนึ่ง สิ่งอื่นใดย่อมเข้าไปสาเร็จเพื่อประโยชน์
แก่การต้านทานหรือเพื่อการเสวยราชสมบัติได้
สิ่งนั้นซึ่งเป็ นทรัพย์เครื่องปลื้มใจเราขอยกให้ท่าน
และขอสละอิสริยยศให้แก่ท่านด้วย
(พระราชาเมื่อจะทรงสนทนากับหงส์สุมุขะ จึงตรัสว่า)
[๗๔] ก็ถ้าว่าหงส์สุมุขะผู้เป็นบัณฑิตถึงพร้อมด้วยปัญญานี้
จะพึงเจรจากับเราตามความปรารถนาบ้าง ข้อนั้นจะพึงเป็นที่รักยิ่งแห่งเรา
(หงส์สุมุขะกราบทูลว่า)
[๗๕] ข้าแต่มหาราช นัยว่า
ข้าพระองค์เหมือนกับพญาช้างเข้าไประหว่างซอกหิน
ไม่อาจจะพูดสอดแทรกขึ้นได้ นั้นไม่ใช่วินัยของข้าพระองค์
[๗๖] พญาหงส์นั้นเป็นผู้ประเสริฐกว่าข้าพระองค์ทั้งหลาย
ส่วนพระองค์ก็เป็นผู้สูงสุด เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นยอดแห่งมนุษย์ พระองค์ทั้ง
๒ เป็นผู้อันข้าพระองค์พึงบูชาด้วยเหตุเป็นอันมาก
[๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีแห่งมนุษย์ เมื่อพระองค์ทั้ง ๒
กาลังตรัสปราศรัยกันอยู่ เมื่อการวินิจฉัยกาลังเป็ นไปอยู่
ข้าพระองค์ผู้เป็นคนรับใช้ จึงไม่ควรที่จะพูดสอดแทรกขึ้นในระหว่าง
8
(พระราชาสดับคาของหงส์สุมุขะแล้วดีพระทัย จึงตรัสว่า)
[๗๘] ได้ยินว่า โดยธรรมดานายพรานกล่าวว่า นกนี้เป็นบัณฑิต
ความจริง นัยเช่นนี้ไม่พึงมีแก่บุคคลผู้มิได้อบรมตนเลย
[๗๙] บุคคลผู้มีปกติเลิศอย่างนี้ เป็นสัตว์อุดมอย่างนี้
เท่าที่เราเห็นมามีอยู่ แต่เราหาเห็นสัตว์อื่นเช่นนี้ไม่
[๘๐] เรายินดีต่อท่านทั้ง ๒ โดยปกติ
และยินดีด้วยการกล่าวถ้อยคาอันไพเราะของท่านทั้งสอง อนึ่ง
ความพอใจของเราอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการที่เราพึงเห็นท่านทั้ง ๒ เป็ นเวลานาน
(พญาหงส์โพธิสัตว์เมื่อจะสรรเสริญพระราชา จึงกราบทูลว่า)
[๘๑] กิจอันใดที่บุคคลพึงกระทาในมิตรผู้สูงศักดิ์
กิจอันนั้นพระองค์ทรงกระทาแล้วในข้าพระองค์ทั้ง ๒
เพราะความภักดีต่อพระองค์ที่มีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลาย
ข้าพระองค์จึงมีความภักดีต่อพระองค์โดยไม่ต้องสงสัย
[๘๒] ส่วนทางโน้น ความทุกข์คงเกิดขึ้นแล้ว
ในหมู่หงส์จานวนมากเป็นแน่ เพราะมิได้พบเห็นข้าพระองค์ทั้ง ๒
ในระหว่างแห่งหมู่ญาติเป็นอันมาก
[๘๓] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงย่ายีข้าศึก
พวกข้าพระองค์ได้รับอนุมัติจากพระองค์แล้ว
จะขอกระทาประทักษิณพระองค์แล้วไปพบเห็นหมู่ญาติ
เพื่อกาจัดความโศกของหงส์เหล่านั้น
[๘๔] ข้าพระองค์ได้ประสบปีติอันไพบูลย์
เพราะได้มาเฝ้ าพระองค์ผู้เจริญแน่แท้ อนึ่ง
ความคุ้นกับหมู่ญาติแม้นี้ก็พึงมีประโยชน์ใหญ่หลวง
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๘๕] พญาหงส์ธตรัฏฐะครั้นกราบทูลคานี้กับนราธิบดีแล้ว
อาศัยการบินเร็วอย่างสุดกาลัง ได้เข้าไปหาหมู่ญาติแล้ว
[๘๖] หงส์ทั้งหลายเห็นพญาหงส์ทั้ง ๒ นั้น มาถึงโดยลาดับอย่างปลอดภัย
ต่างพากันส่งเสียงว่าเกกๆ ได้เกิดสาเนียงเสียงดังเจี๊ยวจ๊าว
[๘๗] หงส์เหล่านั้นผู้มีความเคารพต่อผู้เป็นนาย
พากันปลาบปลื้มใจเพราะพญาหงส์ผู้เป็นนายพ้นจากบ่วง
จึงพากันแวดล้อมอยู่โดยรอบ หงส์ทั้งหลายได้ที่พึ่งแล้ว
(พระศาสดาตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า)
[๘๘] ประโยชน์ทั้งปวงของบุคคลผู้มีกัลยาณมิตร
ย่อมสาเร็จผลเป็นความสุขความเจริญ เหมือนพญาหงส์ธตรัฏฐะทั้ง ๒
ได้อยู่ใกล้หมู่ญาติฉะนั้น
9
จูฬหังสชาดกที่ ๑ จบ
----------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
จุลลหังสชาดก
ว่าด้วย พระยาหงส์ทรงติดบ่วง
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ
การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนทเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
ความพิสดารว่า บรรดาพวกนายขมังธนู
ที่พระเทวทัตเสี้ยมสอนให้ไปปลงพระชนม์พระตถาคตเจ้าเหล่านั้น
คนที่ถูกส่งไปก่อนเขาทั้งหมด กลับมารายงานว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ
กระผมไม่อาจที่จะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นได้เลย
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีฤทธานุภาพใหญ่หลวงยิ่งนัก
พระเทวทัตนั้นจึงกล่าวว่า เออช่างเถอะ
เจ้าไม่ต้องปลงพระชนม์พระสมณโคดมดอก
เราจักปลงพระชนม์พระสมณโคดมเอง เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ ณ
ร่มเงาเบื้องหลังแห่งภูเขาคิชฌกูฏ ตนจึงขึ้นไปบนภูเขาคิชฌกูฏเอง
แล้วกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ด้วยกาลังแห่งเครื่องยนตร์ ด้วยคิดว่า
เราจักปลงพระชนม์พระสมณโคดมด้วยศิลาก้อนนี้. ในกาลนั้น
ยอดเขาสองยอดก็รับเอาศิลาที่กลิ้งตกลงไปนั้นไว้ได้.
แต่สะเก็ดศิลาที่กะเทาะจากศิลาก้อนนั้น
กระเด็นไปต้องพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทาพระโลหิตให้ห้อขึ้นแล้ว
เวทนามีกาลังเป็นไปทั่วแล้ว
หมอชีวกกระทาการผ่าพระบาทของพระตถาคตเจ้าด้วยศัสตรา เอาเลือดร้ายออก
นาเนื้อร้ายออกจนหมด ชาระล้างแผลสะอาดแล้ว
ใส่ยากระทาให้พระองค์หายจากพระโรค พระศาสดาทรงหายเป็นปกติดีแล้ว
มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมเป็นบริวาร
เสด็จเข้าไปยังพระนครด้วยพระพุทธลีลาใหญ่ทีเดียว.
ลาดับนั้น พระเทวทัตมองเห็นดังนั้น จึงคิดว่า ใครๆ
เห็นพระสรีระอันถึงแล้ว ซึ่งส่วนอันเลิศด้วยพระรูปพระโฉมของพระสมณโคดม
ถ้าเป็นมนุษย์ ก็ไม่อาจที่จะเข้าไปทาร้ายได้ ก็ช้างของพระราชาชื่อว่า นาลาคิรี
มีอยู่ ช้างนั้นเป็นช้างที่ดุร้ายกาจ ฆ่ามนุษย์ได้ เมื่อไม่รู้จักคุณพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ จักยังพระสมณโคดมนั้นให้ถึงความสิ้นชีวิตได้
เธอจึงไปทูลเนื้อความนั้นแด่พระเจ้าอชาตศัตรูราช พระราชาทรงรับรองว่าดีละ
ดังนี้ แล้วรับสั่งให้เรียกหานายหัตถาจารย์มาแล้ว ทรงพระบัญชาว่า แน่ะเจ้า
พรุ่งนี้เจ้าจงมอมช้างนาลาคิรีให้มึนเมาแล้วจงปล่อยไปบนถนน
10
ที่พระสมณโคดมเสด็จมา แต่เช้าทีเดียว
แม้พระเทวทัตก็ถามนายหัตถาจารย์นั้นว่า ในวันอื่นๆ ช้างนาลาคิรีดื่มสุรากี่หม้อ
เมื่อเขาบอกให้ทราบว่า ๘ หม้อ พระคุณเจ้าผู้เจริญจึงกาชับว่า
พรุ่งนี้ท่านจงให้ช้างนั้นดื่มเพิ่มขึ้นเป็ น ๑๖ หม้อแล้ว พึงกระทาให้มีหน้าเฉพาะ
ในถนนที่พระสมณโคดมเสด็จผ่านมา. นายหัตถาจารย์นั้น ก็รับรองเป็นอันดี
พระราชาให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศไปทั่วพระนครว่า พรุ่งนี้
นายหัตถาจารย์จักมอมช้างนาลาคิรีให้มึนเมาแล้ว จักปล่อยในนคร
ชาวเมืองทั้งหลายพึงรีบกระทา กิจที่จาต้องกระทาเสียให้เสร็จ แต่เช้าทีเดียว
แล้วอย่าเดินระหว่างถนน.
แม้พระเทวทัตลงจากพระราชนิเวศน์แล้วก็ไปยังโรงช้าง เรียกคนเลี้ยงช้างมาสั่งว่า
ดูก่อนพนายทั้งหลาย เราสามารถจะลดคนมีตาแหน่งสูงให้ต่า
และเลื่อนคนมีตาแหน่งต่าให้สูงขึ้น ถ้าพวกเจ้าต้องการยศ พรุ่งนี้เช้า
จงช่วยกันเอาเหล้าอย่างแรง กรอกช้างนาลาคิรีให้ได้ ๑๖ หม้อ
ถึงเวลาพระสมณโคดมเสด็จมา จงช่วยกันแทงช้างด้วยปลายหอกซัด
ยั่วยุให้มันอาละวาดให้ทาลายโรงช้าง
ช่วยกันล่อให้หันหน้าตรงไปในถนนที่พระสมณโคดมเสด็จมา
แล้วให้พระสมณโคดมถึงความสิ้นชีวิต พวกคนเลี้ยงช้างเหล่านั้น
พากันรับรองเป็นอันดี.
พฤติการณ์อันนั้นได้เซ็งแซ่ไปทั่วพระนคร.
เหล่าอุบาสกผู้นับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ได้ทราบข่าวนั้น
ก็พากันไปเข้าเฝ้ าพระศาสดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระเทวทัตสมคบกันกับพระเจ้าอชาตศัตรูราช
ให้ปล่อยช้างนาลาคิรีในหนทางที่พระองค์จะเสด็จไปในวันพรุ่งนี้ เพราะฉะนั้น
ในวันพรุ่งนี้ ขอพระองค์อย่าได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตเลย จงประทับอยู่ในที่นี้เถิด
พวกข้าพระองค์ จักถวายภิกษา
แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุขในวิหารนี้แล.
พระศาสดามิได้ตรัสรับคาว่า พรุ่งนี้ เราจักไม่เข้าไปบิณฑบาต ทรงพระดาริว่า
ในวันพรุ่งนี้ เราจักทรมานช้างนาลาคิรี กระทาปาฏิหาริย์ทรมานพวกเดียรถีย์
จักเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ มีภิกษุแวดล้อมเป็ นบริวาร
ออกจากพระนครไปยังพระเวฬุวันมหาวิหารทีเดียว. พวกชนชาวเมืองราชคฤห์
จักถือเอาภาชนภัตเป็นอันมากมายังวิหารเวฬุวันเหมือนกัน พรุ่งนี้
โรงภัตจักมีในวิหารทีเดียว แล้วทรงรับอาราธนาแก่พวกอุบาสกเหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้ พวกอุบาสกเหล่านั้นทราบความว่า
ทรงรับอาราธนาของพระตถาคตเจ้าแล้ว จึงพากันกล่าวว่า
พวกเราจักนาภาชนภัตมาถวายทานในวิหารทีเดียว แล้วหลีกไป.
11
แม้พระศาสดาทรงแสดงธรรม ในปฐมยาม
ทรงแก้ปัญหาของเทวดา ในมัชฌิมยาม
ทรงสาเร็จสีหไสยาสน์ ในส่วนแรกแห่งปัจฉิมยาม ทรงเข้าผลสมาบัติ ในส่วนที่ ๒
แห่งปัจฉิมยาม ในส่วนที่ ๓ แห่งปัจฉิมยาม ทรงเข้าพระกรุณาสมาบัติ
ทรงตรวจดูเหล่าเวไนยสัตว์ อันมีอุปนิสัยที่จะได้ตรัสรู้ธรรมพิเศษ
ทอดพระเนตรเห็น การตรัสรู้ธรรมของสัตว์ ๘๔,๐๐๐
ในเวลาการทรงทรมานช้างนาลาคิรี ครั้นราตรีกาลสว่างไสวแล้ว
ก็ทรงกระทาการชาระพระสรีระแล้ว ตรัสเรียกพระอานนท์ผู้มีอายุมาแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนอานนท์ เธอจงบอกแก่ภิกษุ แม้ทั้งหมดในมหาวิหาร ๑๘ แห่ง
อันตั้งเรียงรายอยู่ในเมืองราชคฤห์
เพื่อให้เข้าไปในเมืองราชคฤห์พร้อมกันกับเรา.
พระเถระได้กระทาตามพระพุทธฎีกาแล้ว.
พวกภิกษุทั้งหมดมาประชุมกันในพระเวฬุวัน
พระศาสดามีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมเป็นบริวาร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังเมืองราชคฤห์
ลาดับนั้น พวกคนเลี้ยงช้างก็ปฏิบัติตามพระเทวทัตสั่ง.
สมาคมใหญ่ได้มีแล้ว พวกมนุษย์ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธากล่าวกันว่า ได้ยินว่า
ในวันนี้ พระพุทธเจ้าผู้มหานาคกับช้างนาลาคิรีซึ่งเป็ นสัตว์ดิรัจฉาน
จักกระทาสงครามกัน พวกเราจักได้เห็น การทรมานช้างนาลาคิรีด้วยพุทธลีลา
อันหาที่เปรียบมิได้ จึงพากันขึ้นสู่ปราสาทห้องแถว และหลังคาเรือน แล้วยืนดู.
ฝ่ายพวกมิจฉาทิฏฐิผู้หาศรัทธามิได้ ก็พากันกล่าวว่า ช้างนาลาคิรีเชือกนี้ดุร้ายกาจ
ฆ่ามนุษย์ได้ ไม่รู้จักคุณแห่งพระพุทธเจ้าเช่นกัน วันนี้ ช้างเชือกนั้น
จักขยี้สรีระอันมีพรรณ ดุจทองคาของพระโคดม จักให้ถึงความสิ้นชีวิต
พวกเราจักได้เห็นหลังปัจจามิตรในวันนี้ทีเดียว
แล้วได้พากันขึ้นไปยืนดูบนต้นไม้และปราสาทเช่นกัน.
แม้ช้างนาลาคิรีพอเหลือบเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา
จึงยังมนุษย์ทั้งหลายให้สะดุ้งกลัว ทาลายบ้านเรือนเป็นอันมาก
ขยี้บดเกวียนเสียแหลกละเอียดเป็ นหลายเล่ม ยกงวงขึ้นชู มีหูกางหางชี้
วิ่งรี่ไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า ประหนึ่งว่า ภูเขาเอียงเข้าทับพระพุทธองค์ ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงกราบทูลเนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างนาลาคิรีเชือกนี้ ดุร้ายกาจฆ่ามนุษย์ได้ วิ่งตรงมานี่
ก็ช้างนาลาคิรีนี้ มิได้รู้จักพระพุทธคุณเป็ นต้นแล
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จกลับเถิด พระเจ้าข้า
ขอพระสุคตเจ้าจงเสด็จกลับเสียเถิด. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธออย่าได้กลัวไปเลย
12
เรามีกาลังสามารถพอที่จะทรมานช้างนาลาคิรีเชือกนี้ได้.
ลาดับนั้น ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ ทูลขอโอกาสกะพระศาสดาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาว่า กิจที่บังเกิดขึ้นแก่บิดา
ย่อมเป็นภาระของบุตรคนโต ข้าพระองค์ผู้เดียวจะขอทรมานช้างเชือกนี้.
ลาดับนั้น พระศาสดาจึงตรัสห้ามพระสารีบุตรนั้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ขึ้นชื่อว่า
กาลังแห่งพระพุทธเจ้าเป็ นอย่างหนึ่ง ส่วนกาลังของพวกสาวกเป็ นอีกอย่างหนึ่ง
เธอจงยับยั้งอยู่เถิด. พระเถระผู้ใหญ่ ๘๐
โดยมากต่างก็พากันทูลขอโอกาสอย่างนี้เหมือนกัน.
พระศาสดาตรัสห้ามพระมหาเถระเหล่านั้นแม้ทั้งหมด.
ลาดับนั้น ท่านพระอานนท์ไม่สามารถจะทนดูอยู่ได้
ด้วยความรักมีกาลังในพระศาสดา จึงคิดว่า ช้างเชือกนี้ จงฆ่าเราเสียก่อนเถิด
ดังนี้แล้ว ยอมสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่พระตถาคตเจ้า
ได้ออกไปยืนอยู่เบื้องพระพักตร์แห่งพระศาสดา. ลาดับนั้น
พระศาสดาจึงตรัสกะท่านว่า อานนท์ เธอจงหลีกไป อานนท์ เธอจงหลีกไป
เธออย่ามายืนขวางหน้าตถาคต. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างเชือกนี้ดุร้ายกาจ
ฆ่ามนุษย์ได้ เป็ นเช่นกับไฟบรรลัยกัลป
์ จงฆ่าข้าพระองค์เสียก่อนแล้ว
จึงมายังสานักของพระองค์ในภายหลัง. พระอานนทเถระ
แม้ถูกพระศาสดาตรัสห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้ง
ก็ยังคงยืนอยู่อย่างนั้นทีเดียวมิได้ถอยกลับมา. ลาดับนั้น
พระศาสดาจึงให้พระอานนท์ถอยกลับมาด้วยกาลังแห่งฤทธิ์
แล้วประทับยืนอยู่ในระหว่างภิกษุทั้งหลาย
ในขณะนั้น หญิงคนหนึ่งเห็นช้างนาลาคิรี มีความสะดุ้งกลัวต่อมรณภัย
จึงวิ่งหนี
ทิ้งทารกที่ตนอุ้มเข้าสะเอวไว้ในระหว่างกลางแห่งช้างและพระตถาคตเจ้า
แล้ววิ่งหนีไป. ช้างวิ่งไล่ตามหญิงนั้นแล้ว กลับมายังที่ใกล้ทารก
ทารกจึงร้องเสียงดัง พระศาสดาทรงแผ่เมตตาไปยังช้างนาลาคิรี
ทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะยิ่งนัก ดุจเสียงพรหม รับสั่งร้องเรียกว่า
แน่ะเจ้าช้างนาลาคิรีที่เจริญ เขาให้เจ้าดื่มเหล้าถึง ๑๖ หม้อ มอมเมาเสียจนมึนมัว
ใช่ว่า เขากระทาเจ้าด้วยประสงค์ว่า จักให้จับคนอื่นก็หาไม่
แต่เขากระทาด้วยประสงค์จะให้จับเรา
เจ้าอย่าเที่ยวอาละวาดให้เมื่อยขาโดยใช่เหตุเลย จงมานี่เถิด
ช้างนาลาคิรีเชือกนั้น พอได้ยินพระดารัสของพระศาสดา
จึงลืมตาขึ้นดูพระรูป อันเป็ นสิริของพระผู้มีพระภาคเจ้า กลับได้ความสังเวชใจ
หายเมาสุราด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า จึงห้อยงวงและลดหูทั้งสองข้าง
ไปหมอบอยู่แทบพระบาททั้งสองของพระตถาคตเจ้า.
13
ลาดับนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะช้างนาลาคิรีนั้นว่า
ดูก่อนเจ้าช้างนาลาคิรี เจ้าเป็นช้างสัตว์ดิรัจฉาน
เราเป็นพุทธะเหล่าช้างตัวประเสริฐ ตั้งแต่นี้ไป เจ้าจงอย่าดุร้าย อย่าหยาบคาย
อย่าฆ่ามนุษย์ จงได้เฉพาะจึงเมตตาจิต
ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาออกไปลูบที่กระพองแล้ว ตรัสพระคาถาว่า
เจ้าช้างมีงวง เจ้าอย่าเบียดเบียนช้างตัวประเสริฐ
(หมายถึงพระตถาคตเจ้า) แน่ะเจ้าช้างมีงวง
เพราะว่าการเบียดเบียนช้างตัวประเสริฐ เป็นเหตุนาความทุกข์มาให้
แน่ะเจ้าช้างมีงวง ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาจนกาลบัดนี้ ผู้ฆ่าช้างตัวประเสริฐ
ย่อมไม่ได้พบสุคติเลย เจ้าอย่าเมา เจ้าอย่าประมาท ด้วยว่าผู้ประมาทแล้ว
ย่อมไปสู่สุคติไม่ได้ เจ้าจงกระทาหนทางที่จะพาตัวเจ้าไปสู่สุคติเถิด.
พระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยประการฉะนี้ สรีระทั้งสิ้นของช้างนั้น
ได้เป็นร่างกายมีปีติถูกต้องแล้วหาระหว่างคั่นมิได้ ถ้าไม่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ก็จักได้บรรลุโสดาปัตติผล. มนุษย์ทั้งหลายเห็นปาฏิหาริย์นั้น
ต่างพากันส่งเสียงปรบมืออยู่อื้ออึง
พวกที่เกิดความโสมนัสยินดีก็โยนเครื่องอาภรณ์ต่างๆ ไป เครื่องอาภรณ์เหล่านั้น
ก็ไปปกคลุมสรีระของช้าง. ตั้งแต่วันนั้นมา
ช้างนาลาคิรีก็ปรากฏนามว่า ธนปาลกะ ก็ในขณะนั้น สัตว์ ๘๔,๐๐๐
ในสมาคมแห่งช้างธนปาลกะก็ได้ดื่มน้าอมฤต.
พระศาสดาทรงให้ช้างธนปาลกะตั้งอยู่ในศีล ๕ ประการ
ช้างนั้นก็เอางวงดูดละอองธุลีพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วเอาโปรยลงบนหัวของตน ย่อตัวถอยหลังออกมายืนอยู่ในที่อุปจาร พอแลเห็น
ถวายบังคมพระทศพลกลับเข้าไปยังโรงช้าง. ตั้งแต่วันนั้นมา ช้างนาลาคิรีนั้น
ก็กลายเป็ นช้างที่ได้รับการฝึกแล้วเชือกหนึ่ง
ในบรรดาช้างที่ได้รับการฝึกแล้วทั้งหลายอย่างนี้
ไม่เคยเบียดเบียนใครให้เดือดร้อนอีกต่อไปเลย.
พระศาสดาทรงสาเร็จสมดังมโนรถแล้ว ทรงอธิษฐานว่า
ทรัพย์สิ่งของอันใด อันผู้ใดทิ้งไว้แล้ว
ทรัพย์สิ่งของอันนั้นจงเป็นของผู้นั้นตามเดิม แล้วทรงพระดาริว่า
วันนี้ เราได้กระทาปาฏิหาริย์อย่างใหญ่แล้ว
การเที่ยวจาริกไปเพื่อบิณฑบาตในพระนครนี้ ไม่สมควร
ทรงทรมานพวกเดียรถีย์แล้ว มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเป็นบริวาร
ประดุจกษัตริย์ที่มีชัยชนะแล้วเสด็จออกจากพระนคร
ทรงดาเนินไปยังพระวิหารเวฬุวันทีเดียว แม้พวกชนชาวเมือง
ก็พากันถือเอาข้าวน้าและของเคี้ยวเป็ นอันมาก ไปยังวิหาร
14
ยังมหาทานให้เป็นไปทั่วแล้ว
ในเวลาเย็นวันนั้น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันเต็มธรรมสภา
สนทนากันว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระอานนทเถระเจ้าผู้มีอายุ
ได้ยอมเสียสละชีวิตของท่านเพื่อประโยชน์แก่พระตถาคตเจ้า
ชื่อว่า กระทากรรมที่กระทาได้ยาก ท่านเห็นช้างนาลาคิรีแล้ว
แม้ถูกพระศาสดาตรัสห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้ง ก็ยังไม่ถอยไป ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
น่าสรรเสริญพระอานนท์เถรเจ้าผู้มีอายุ กระทาสิ่งซึ่งยากที่จะกระทาได้.
ลาดับนั้น พระศาสดาทรงสดับ ถ้อยคาสรรเสริญเกียรติคุณ
ของพระอานนท์นั้น ด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์ จึงทรงพระดาริว่า
ถ้อยคาสรรเสริญเกียรติคุณของอานนท์กาลังเป็ นไปอยู่ เราควรจะไปในที่นั้น
จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จไปยังโรงธรรมสภาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันนี้ พวกเธอกาลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไรเล่าหนอ
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องชื่อนี้พระพุทธเจ้าข้า
จึงตรัสว่า ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ถึงเมื่อกาลก่อน
ครั้งอานนท์เกิดในกาเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ก็ได้เคยสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ (เรา)ตถาคตแล้วเหมือนกัน
ดังนี้แล้วได้ทรงนิ่งเฉยอยู่
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา
จึงได้ทรงนาอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล
พระราชาทรงพระนามว่า สาคละ เสวยราชสมบัติอยู่โดยธรรมในสาคลนคร
ในแคว้นมหิสกะ. ในกาลนั้น ในหมู่บ้านนายพรานแห่งหนึ่ง
ซึ่งไม่ไกลจากพระนคร มีนายพรานคนหนึ่ง
เอาบ่วงดักนกมาเที่ยวขายในพระนคร เลี้ยงชีวิตอยู่ ก็ในที่ไม่ไกลจากพระนคร
มีสระบัวหลวงอยู่สระหนึ่งชื่อมานุสิยะ สระกว้างยาวประมาณ ๑๒ โยชน์
สระนั้นดาดาษไปด้วยดอกบัว ๕ ชนิด มีหมู่นกต่างเพศต่างพรรณมาลงที่สระนั้น
นายพรานนั้นดักบ่วงไว้ โดยมิได้เลือกว่าเป็นนกชนิดไร. ในกาลนั้น
พญาหงส์ ธตรฐ มีหงส์เก้าหมื่นหกพันตัวเป็นบริวาร
อาศัยอยู่ในถ้าทองใกล้ภูเขาจิตตกูฏ.
มีหงส์ตัวหนึ่งชื่อ สุมุขะ ได้เป็นเสนาบดีของพญาหงส์นั้น
กาลครั้งนั้น หงส์ทอง ๒-๓ ตัวจากฝูงหงส์นั้น บินไปยังมานุสิยสระ
เที่ยวไปในสระนั้น ซึ่งมีที่หากินอย่างพอเพียงตามความสบาย
แล้วกลับมายังภูเขาจิตตกูฏ บอกแก่พญาหงส์ธตรฐว่า ข้าแต่มหาราช
มีสระบัวแห่งหนึ่ง ชื่อมานุสิยะ อยู่ในถิ่นของมนุษย์
มีที่เที่ยวแสวงหาอาหารอย่างสมบูรณ์ พวกข้าพเจ้าจะไปหาอาหารในสระนั้น
15
พญาหงส์นั้นจึงห้ามว่า ขึ้นชื่อว่าถิ่นของมนุษย์ ย่อมเป็ นที่น่ารังเกียจ
มากไปด้วยภัยเฉพาะหน้า อย่าได้ชอบใจแก่พวกเจ้าเลย
ถูกหงส์เหล่านั้นรบเร้าอยู่บ่อยๆ จึงกล่าวว่า ถ้าสระนั้น
ย่อมเป็นที่ถูกใจของพวกท่าน เราก็จะไปด้วยกัน
จึงพร้อมด้วยบริวารได้ไปยังสระนั้น พญาหงส์ธตรฐนั้น พอร่อนลงจากอากาศ
ก็เอาเท้าถลาเข้าไปติดบ่วงอยู่ทีเดียว. ลาดับนั้น บ่วงของนายพรานนั้น
ก็รัดเท้าเอาไว้แน่น ดุจถูกรัดด้วยซี่เหล็ก ฉะนั้น.
ลาดับนั้น พญาหงส์จึงฉุดบ่วงมาด้วยคิดว่า เราจักทาบ่วงให้ขาด
ครั้งแรกหนังถลอกปอกหมด ครั้งที่สองเนื้อขาด ครั้งที่สามเอ็นขาด
ในครั้งที่สี่บ่วงนั้นเข้าไปถึงกระดูก โลหิตไหลนอง เวทนามีกาลังเป็นไปทั่วแล้ว.
พญาหงส์นั้นจึงคิดว่า ถ้าเราร้องว่าติดบ่วง พวกญาติของเรา
ก็จะพากันสะดุ้งตกใจกลัว ไม่ทันได้กินอาหาร ถูกความหิวแผดเผาแล้ว
ก็จะหนีไปตกลงในมหาสมุทร เพราะหมดกาลัง
พญาหงส์นั้นพยายามอดใจทนต่อทุกขเวทนา
จนถึงเวลา พวกหงส์ที่เป็นญาติทั้งหลายกินอาหารอิ่มแล้ว กาลังเล่นเพลินอยู่
จึงร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า ติดบ่วง. หงส์ทั้งหลายได้ยินเสียงดังนั้น
มีความกลัวต่อมรณภัยเป็นกาลัง ต่างก็คุมกันเป็นพวกๆ
บ่ายหน้าไปยังภูเขาจิตตกูฏบินไปโดยเร็ว เมื่อหงส์เหล่านั้นพากันกลับไปหมดแล้ว
สุมุขหงส์ที่เป็ นเสนาบดีคิดว่า ภัยนี้บังเกิดขึ้นแก่มหาราชของเราหรือไม่หนอ
เราจักทราบถึงเรื่องนั้น จึงบินไปโดยเร็วไว มองไม่เห็นพระมหาสัตว์
ในระหว่างหมู่หงส์ที่ไปอยู่ข้างหน้า จึงมาค้นดูฝูงกลาง
ก็มิได้เห็นพระมหาสัตว์แม้ในที่นั้น จึงตรวจค้นฝูงสุดท้าย ก็มิได้เห็นพระมหาสัตว์
แม้ในที่นั้นอีก จึงแน่ใจว่า ภัยนั้นบังเกิดขึ้นแก่พญาหงส์นั้น
โดยไม่ต้องสงสัยทีเดียว จึงรีบกลับมายังที่เดิม เห็นพระมหาสัตว์ติดบ่วง
ยืนเกาะอยู่บนหลังตม มีโลหิตไหลนองทนทุกขเวทนาอย่างสาหัส จึงบอกว่า
ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์อย่าได้กลัวไปเลย แล้วกล่าวว่า
ข้าพระองค์จักสละชีวิตของข้าพระองค์ จักยังพระองค์ให้หลุดจากบ่วง
จึงบินร่อนลงมาปลอบพระมหาสัตว์เกาะอยู่บนหลังตม.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะทดลองใจสุมุขหงส์นั้น
จึงกล่าวคาถาเป็นปฐมว่า
ดูก่อนสุมุขะ ฝูงหงส์พากันบินหนีไปไม่เหลียวหลัง
แม้ท่านก็จงไปเสียเถิด อย่าหวังอยู่ในที่นี้เลย ความเป็ นสหายในเราผู้ติดบ่วง
ย่อมไม่มี.
พญาหงส์นั้นกล่าวว่า ฝูงหงส์ทั้งหลายซึ่งล้วนเป็ นหมู่ญาติของเรา
เป็นจานวนหงส์มีประมาณเก้าหมื่นหกพันตัวเหล่านี้
16
มิได้มองดูเราด้วยอานาจความอาลัยรัก ทิ้งเราแล้วบินหนีไปหมด
ถึงตัวท่านก็จงรีบหนีไปเสียเถิด อย่าหวังการอยู่ในที่นี้เลย ด้วยว่า ขึ้นชื่อว่า
ความเป็นสหายในตัวเรา ย่อมไม่มีผลเพราะการติดบ่วงอย่างนี้ อธิบายว่า บัดนี้
เราไม่อาจที่จะกระทากิจด้วย ความเป็ นสหายสักน้อยหนึ่งแก่ท่านได้เลย
เราไม่สามารถจะกระทาอุปการะได้ จะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน
ท่านอย่าชักช้าเลย จงรีบบินหนีไปเสียเถิดนะ.
เบื้องหน้าแต่นั้น สุมุขหงส์กล่าวว่า
ข้าพระองค์จะพึงไปหรือไม่พึงไป ความไม่ตายก็ไม่พึงมี
เพราะการไปหรือการไม่ไปนั้น เมื่อพระองค์มีความสุขจึงอยู่ใกล้
เมื่อพระองค์ได้รับความทุกข์ จะพึงละไปอย่างไรได้ ความตายพร้อมกับพระองค์
หรือว่าความเป็ นอยู่เว้นจากพระองค์ ความตายนั้นแลประเสริฐกว่า
เว้นจากพระองค์แล้ว จะพึงเป็ นอยู่ประเสริฐอะไร ข้าแต่พระมหาราชจอมหงส์
ข้าพระองค์พึงละทิ้งพระองค์ ซึ่งทรงถึงทุกข์อย่างนี้ ข้อนี้ไม่เป็ นธรรมเลย
คติของพระองค์ ข้าพระองค์ย่อมชอบใจ.
ในลาดับนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า
คติของเราผู้ติดบ่วง จะเป็นอื่นไปอย่างไรเล่า นอกจากเข้าโรงครัวใหญ่
คตินั้นย่อมชอบใจ แก่ท่านผู้มีความคิด ผู้พ้นแล้วอย่างไร
ดูก่อนสุมุขหงส์ ท่านจะพึงเห็นประโยชน์อะไร ในการสิ้นชีวิตของเรา
และของท่านทั้งสอง หรือของพวกญาติที่เหลือ
ดูก่อนท่านผู้มีปีกทั้งสองดังสีทอง เมื่อท่านยอมสละชีวิต
ในเพราะคุณอันไม่ประจักษ์ ดังคนตาบอดกระทาแล้วในที่มืด
จะพึงยังประโยชน์อะไรให้รุ่งเรืองได้.
สุมุขหงส์กล่าวตอบว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าฝูงหงส์ทั้งหลาย ทาไมหนอ
พระองค์จึงไม่ทรงรู้อรรถในธรรม ธรรมอันบุคคลเคารพแล้ว
ย่อมแสดงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ข้าพระองค์นั้นเพ่งเล็งอยู่
ซึ่งธรรมและประโยชน์อันตั้งจากธรรม ทั้งเห็นพร้อมอยู่ ซึ่งความภักดีในพระองค์
จึงมิได้เสียดายชีวิต ความที่มิตร เมื่อระลึกถึงธรรม ไม่พึงทอดทิ้งมิตรในยามทุกข์
แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็ นธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายโดยแท้.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวว่า
ธรรมนี้นั้นท่านประพฤติแล้ว และความภักดีในเรา ก็ปรากฏแล้ว
ท่านจงทาตามความปรารถนาของเรานี้เถิด ท่านเป็นอันเราอนุมัติแล้ว
จงไปเสียเถิด ดูก่อนท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็แลเมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ คือ
เมื่อเราติดบ่วงอยู่ในที่นี้
ท่านพึงกลับไปปกครองหมู่ญาติทั้งหลายของเราให้จงดีเถิด.
17
เมื่อสุวรรณหงส์ตัวประเสริฐ ประพฤติธรรมอันประเสริฐ
กาลังโต้ตอบกันอยู่ ด้วยประการฉะนี้ นายพรานได้ปรากฏแล้ว
เหมือนดังมัจจุราชปรากฏแก่บุคคลผู้ป่วยหนัก
ฉะนั้น สุวรรณหงส์ทั้งสองเกื้อกูลกันมาสิ้นกาลนานนั้น เห็นศัตรูเดินมาแล้ว
ก็นิ่งเฉยมิได้เคลื่อนจากที่
ฝ่ายนายพราน ผู้เป็นศัตรูของพวกนก
เห็นพญาหงส์ธตรฐจอมหงส์กาลังเดินส่ายไปมาแต่ที่นั้นๆ จึงรีบเดินเข้าไป
ก็นายพรานนั้นครั้นรีบเดินเข้าไปแล้ว เกิดความสงสัยขึ้นว่า
หงส์ทั้งสองนั้นติดบ่วงหรือไม่ จึงค่อยลดความเร็วลง
ค่อยๆเดินเข้าไปให้ใกล้สุวรรณหงส์ทั้งสอง ได้เห็นตัวหนึ่งติดบ่วง
อีกตัวหนึ่งไม่ติดบ่วง แต่มายืนอยู่ใกล้ตัวที่ติดบ่วง จึงเพ่งดูตัวที่ติดบ่วงที่เป็ นโทษ
ลาดับนั้น นายพรานนั้นเป็นผู้มีความสงสัย จึงได้กล่าวถาม
สุมุขหงส์ตัวมีผิวพรรณเหลือง มีร่างกายใหญ่ เป็ นใหญ่ในหมู่หงส์ ซึ่งยืนอยู่ว่า
เพราะเหตุไรหนอ พญาหงส์ที่ติดบ่วงใหญ่ ย่อมไม่กระทาซึ่งทิศ เมื่อเป็ นเช่นนั้น
เพราะเหตุไร ท่านผู้ไม่ติดบ่วง เป็ นผู้มีกาลัง จึงไม่บินหนีไป
พญาหงส์นี้เป็ นอะไรกับท่านหรือ ท่านพ้นแล้ว ทาไมจึงยังเฝ้ าหงส์ตัวติดบ่วงอยู่
หงส์ทั้งหลายพากันละทิ้งหนีไปหมด เพราะเหตุไร ท่านจึงยังอยู่ตัวเดียว.
สุมุขหงส์จึงกล่าวตอบว่า
ดูก่อนนายพรานนก พญาหงส์นั้นเป็ นราชาของเรา ทั้งเป็นเพื่อนเสมอ
ด้วยชีวิตของเราด้วย เราจึงไม่ละท่านไป จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งกาละ.
นายพราน จึงกล่าวว่า
ก็ไฉน พญาหงส์นี้ จึงไม่เห็นบ่วงที่ดักไว้
ความจริง การรู้อันตรายของตน เป็นเหตุของบุคคลผู้ใหญ่ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น
บุคคลผู้ใหญ่เหล่านั้น ควรรู้อันตราย.
สุมุขหงส์ จึงกล่าวตอบว่า
เมื่อใดมีความเสื่อม เมื่อนั้น สัตว์แม้เข้าไปในข่ายหรือบ่วง ก็ไม่รู้สึก
ในเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิต.
นายพราน จึงกล่าวว่า
ดูก่อนท่านผู้มีปัญญามาก ก็แลบ่วงทั้งหลายที่เขาดักไว้มีมากอย่าง
สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ามาติดบ่วงที่เขาดักอาพรางไว้
ในเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิตอย่างนี้.
สุมุขหงส์นั้นกล่าวว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์พึงไปจากที่นี้
หรือไม่ไป ก็ตามเถิด แต่ที่ข้าพระองค์จะพึงไม่ตาย
เพราะการไปหรือการไม่ไปนั้นไม่มีเลย เพราะว่าข้าพระองค์ ถึงจะไปจากที่นี้
หรือไม่ไปคงไม่พ้นจากความตายไปได้เป็นแน่แท้ ก็ในกาลก่อนแต่นี้
18
พระองค์มีความสุข ข้าพระองค์ก็ได้อยู่ใกล้ชิด บัดนี้พระองค์กาลังได้รับทุกข์
ข้าพระองค์จะทอดทิ้งไปเสียอย่างไรได้.
เมื่อข้าพระองค์ไม่ไป พึงตายเสียพร้อมกับพระองค์อย่างหนึ่ง
หรือเมื่อข้าพระองค์ไป แต่มีชีวิตอยู่เว้นจากพระองค์อย่างหนึ่ง ในสองอย่างนี้
การตายเสียพร้อมกันกับพระองค์นั้นแล เป็ นของประเสริฐของข้าพระองค์ยิ่งนัก
ส่วนการที่ข้าพระองค์จะพึงมีชีวิตอยู่ เว้นเสียจากพระองค์นั้น
ไม่เป็นของประเสริฐแก่ข้าพระองค์เลย.
สุมุขหงส์นั้น กระทานายพรานให้เป็นผู้มีน้าใจอ่อน
ด้วยการเจรจาปราศรัย ด้วยประการฉะนี้แล้ว เพื่อจะขอชีวิตของพระมหาสัตว์
จึงกล่าวคาถาว่า
เออก็การอยู่ร่วมกันกับท่านนี้ พึงมีสุขเป็นกาไรหนอ
และขอท่านอนุญาตแก่ข้าพเจ้าทั้งสองเถิด
และขอท่านพึงให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด.
นายพรานถูกตรึงด้วยถ้อยคาอันอ่อนหวานของสุมุขหงส์นั้น
จึงกล่าวคาถาว่า
เรามิได้ผูกท่านไว้ และไม่ปรารถนาจะฆ่าท่าน เชิญท่านรีบไปจากที่นี้
ตามความปรารถนา แล้วจงอยู่เป็นสุขตลอดกาลนานเถิด.
ลาดับนั้น สุมุขหงส์จึงกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า
ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ โดยเว้นจากชีวิตของพญาหงส์นี้
ถ้าท่านยินดีเพียงตัวเดียว ขอให้ท่านปล่อยพญาหงส์นี้ และจงกินข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นผู้เสมอกัน ด้วยรูปทรงสัณฐานและวัย
ท่านไม่เสื่อมแล้วจากลาภ ขอท่านจงเปลี่ยนข้าพเจ้ากับพญาหงส์นี้เถิด
เชิญท่านพิจารณาดูในข้าพเจ้าทั้งสอง
เมื่อท่านมีความปรารถนาเฉพาะตัวเดียว จงเอาบ่วงผูกข้าพเจ้าไว้ก่อน
จงปล่อยพญาหงส์ในภายหลัง
ถ้าท่านทาตามที่ข้าพเจ้าขอร้อง
ลาภของท่านก็คงมีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน
ทั้งท่านจะได้เป็นมิตรกับฝูงหงส์ธตรฐ จนตลอดชีวิตด้วย.
นายพรานก็มีใจอ่อนลงอีก เพราะการแสดงธรรมนั้น
ประดุจปุยนุ่นที่เขาใส่ลงในน้ามัน ฉะนั้น
เมื่อจะยกพระมหาสัตว์ให้เป็นรางวัลแก่สุมุขหงส์นั้น
จึงกล่าวเป็นคาถาว่า
มิตร อามาตย์ ทาส ทาสี บุตร ภรรยา และพวกพ้องหมู่ใหญ่ทั้งหลาย
จงดูพญาหงส์ธตรฐพ้นจากที่นี้ไปได้เพราะท่าน บรรดามิตรทั้งหลายเป็นอันมาก
มิตรเช่นท่านนั้นหามีในโลกนี้ เหมือนท่านผู้เป็นเพื่อนร่วมชีวิต
19
ของพญาหงส์ธตรฐไม่ เรายอมปล่อยสหายของท่าน
พญาหงส์จงบินตามท่านไปเถิด ท่านทั้งสองจงรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา
จงรุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติเถิด.
นายพราน จึงเดินเข้าไปใกล้พระมหาสัตว์
ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา ตัดบ่วงออกแล้วสวมกอดอุ้มออกจากสระ
ให้จับอยู่ที่พื้นหญ้าแพรกอ่อนใกล้ขอบสระ ค่อยๆ แก้บ่วงที่รัดเท้าออก
ด้วยจิตอันอ่อนโยน ขว้างทิ้งเสียในที่ไกล
เกิดมีความรักใคร่ในพระมหาสัตว์อย่างเหลือกาลัง จึงไปตักน้ามาล้างเลือดให้แล้ว
ลูบคลาอยู่บ่อยๆ ด้วยเมตตาจิต.
ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาจิตของบุตรนายพรานนั้น เอ็นกับเอ็น เนื้อกับเนื้อ
หนังกับหนังที่เท้าของพระโพธิสัตว์ ก็ติดสนิทหายเป็นปกติดีอย่างเดิม
ในขณะนั้นทีเดียว ข้อเท้าของพระมหาสัตว์ก็งอกขึ้นเต็ม มีผิวงดงามผ่องใส
มีขนงอกงาม เกิดขึ้นเหมือนอย่างเดิม
เหมือนกับเท้าไม่เคยถูกบ่วงรัดมาแต่ก่อนเลย.
พระโพธิสัตว์ได้รับความสุขอยู่โดยความเป็นปกติทีเดียว
ลาดับนั้น สุมุขหงส์ได้ทราบว่า
พระมหาสัตว์มีความสุขสบาย เพราะอาศัยตน ก็เกิดความโสมนัสยินดี
ได้กระทาการชมเชยนายพรานแล้ว.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
สุมุขหงส์มีความเคารพนาย มีความปลื้มใจ
เพราะพญาหงส์เป็นนายหลุดพ้นจากบ่วง เมื่อจะกล่าววาจาอันรื่นหูได้กล่าวว่า
ดูก่อนนายพราน ขอให้ท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติทั้งปวงจงเบิกบานใจ
เหมือนข้าพเจ้าเบิกบานใจในวันนี้ เพราะได้เห็นพญาหงส์พ้นจากบ่วง ฉะนั้น.
เชิญท่านมานี่เถิด เราจักบอกท่านถึง วิธีที่ท่านจักได้ทรัพย์
เป็นลาภของท่าน พญาหงส์ธตรฐนี้ย่อมไม่มุ่งร้ายอะไรๆ ท่านจงรีบไปภายในบุรี
จงแสดงข้าพเจ้าทั้งสองซึ่งไม่ติดบ่วง เป็ นอยู่ตามปกติ จับอยู่ที่กระเช้าทั้งสองข้าง
แก่พระราชาว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หงส์ธตรฐทั้งสองนี้เป็ นอธิบดีแห่งหงส์ทั้งหลาย
เพราะว่า หงส์ตัวนี้เป็ นราชาของหงส์ทั้งหลาย ส่วนหงส์ตัวนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี
พระราชาจอมประชาชน ทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์นี้แล้ว
ก็จะทรงปลาบปลื้มพระหฤทัย จักพระราชทานทรัพย์เป็นอันมาก
แก่ท่านโดยไม่ต้องสงสัย.
เมื่อสุมุขหงส์กล่าวอย่างนี้แล้ว นายพรานจึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย
ท่านทั้งสองอย่าได้ชอบใจการเข้าไปเฝ้ าพระราชาเลย ธรรมดาว่า
พระราชาทั้งหลายมีพระทัยกลับกลอก พึงกระทาท่านไว้ในหังสกีฬา
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

More Related Content

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 

533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ๒๑. อสีตินิบาต ๑. จูฬหังสชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๓๓) ว่าด้วยพญาหงส์ติดบ่วง (พญาหงส์โพธิสัตว์เมื่อจะทดลองใจหงส์สุมุขะ จึงกล่าวว่า) [๑] ท่านสุมุขะ ฝูงหงส์ไม่เหลียวแล พากันบินหนีไป แม้ท่านก็จงหนีไปเถิด อย่ามัวกังวลอยู่เลย ความเป็นสหายไม่มีอยู่ในผู้ติดบ่วง (หงส์สุมุขะกล่าวว่า) [๒] ข้าพระองค์จะหนีไปหรือไม่หนีไปก็ตาม เพราะการหนีไปและไม่หนีไปนั้น ข้าพระองค์จะไม่ตายก็หามิได้ เมื่อพระองค์มีความสุข ข้าพระองค์ได้พึ่งพาอาศัย เมื่อพระองค์มีความทุกข์ ข้าพระองค์จะพึงละทิ้งไปได้อย่างไร [๓] การตายพร้อมกับพระองค์เท่านั้น ประเสริฐกว่าการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากพระองค์ การมีชีวิตโดยปราศจากพระองค์จะประเสริฐอะไร [๔] ข้าแต่มหาราช การที่ข้าพระองค์ละทิ้งพระองค์ ผู้ถึงความทุกข์อย่างนี้ไป นั่นไม่เป็ นธรรมเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีแห่งหมู่วิหค ข้าพระองค์ชอบใจคติของพระองค์ (พญาหงส์โพธิสัตว์กล่าวว่า) [๕] คติของเราผู้ติดบ่วงจะเป็นอย่างอื่นไป จากโรงครัวใหญ่ได้อย่างไรเล่า ท่านมีปัญญาคือความคิดพ้นบ่วงมาแล้ว จะพอใจคตินั้นได้อย่างไร [๖] นี่แน่ะพ่อปักษี ท่านเห็นประโยชน์ของเรา ของท่านหรือของญาติทั้งหลายที่เหลืออย่างไร ในเมื่อเราทั้ง ๒ จะสิ้นชีวิต [๗] พ่อปักษีผู้มีปีกทั้ง ๒ ประดุจทองคา เมื่อท่านสละชีวิต ในเพราะคุณอันประจักษ์เช่นนี้ ก็เหมือนคนตาบอด ตกอยู่ในความมืดมิด จะพึงทาประโยชน์อะไรให้โชติช่วงเล่า (หงส์สุมุขะกล่าวตอบว่า) [๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหมู่หงส์ ทาไมหนอ พระองค์จึงไม่ทรงทราบประโยชน์ในธรรม ธรรมที่มีคนบูชา ย่อมชี้ประโยชน์แก่เหล่าสัตว์ [๙] ข้าพระองค์นั้นมุ่งธรรมอยู่ ได้เห็นประโยชน์อันเกิดขึ้นจากธรรม และความภักดีในพระองค์จึงไม่คานึงถึงชีวิต
  • 2. 2 [๑๐] มิตรเมื่อระลึกถึงธรรม ไม่พึงทอดทิ้งมิตรในยามอันตรายแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายโดยแท้ (พญาหงส์โพธิสัตว์ จึงกล่าวว่า) [๑๑] ธรรมนี้ท่านก็ประพฤติแล้ว และความภักดีในเราก็ปรากฏชัดแล้ว ขอท่านจงทาตามความต้องการของเราเถิด เราอนุญาตท่านแล้วจงหนีไป [๑๒] ก็แลเมื่อเวลาผ่านพ้นไปแม้อย่างนี้ ส่วนที่บกพร่องอันใดที่เราได้ทาไว้แล้วแก่หมู่ญาติ ส่วนที่บกพร่องนั้นท่านพึงสังวรอย่างยิ่ง ให้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเถิด [๑๓] เมื่อพญาหงส์ ตัวประเสริฐ ผู้มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ ปรึกษากันอยู่อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ นายพรานก็ได้ปรากฏต่อหน้า ประดุจพญามัจจุราชปรากฏแก่คนไข้ [๑๔] นกทั้ง ๒ ผู้เกื้อกูลกันและกันมาสิ้นกาลนานเหล่านั้น เห็นศัตรูแล้วก็จับนิ่งเฉยอยู่ ไม่เคลื่อนไหวไปจากที่จับ [๑๕] ส่วนนายพรานศัตรูของนกได้เห็นเหล่าพญาหงส์ธตรัฏฐะ กาลังบินขึ้นไปจากที่นั้นๆ จึงได้รีบก้าวเท้าเข้าไปหาพญาหงส์ทั้ง ๒ โดยเร็ว [๑๖] ก็นายพรานนั้นครั้นรีบก้าวเท้าเข้าไปใกล้พญาหงส์ทั้ง ๒ ก้าวเท้าไปก็คิดไปอยู่ว่า ติดหรือไม่ติด [๑๗] เห็นหงส์ติดบ่วงจับอยู่เพียงตัวเดียว อีกตัวหนึ่งไม่ติด จับอยู่ใกล้ๆ แต่เพ่งมองตัวที่เป็ นทุกข์ซึ่งติดบ่วง [๑๘] จากนั้น พรานนั้นก็เกิดความสงสัย จึงได้ถามหงส์ทั้ง ๒ ตัวซึ่งเป็ นหัวหน้าหมู่นก มีร่างกายเจริญเติบใหญ่ที่จับอยู่ว่า [๑๙] หงส์ตัวที่ติดบ่วงใหญ่ไม่กาหนดทิศทางที่จะบินหนีไป พ่อปักษี แต่เจ้าไม่ติดบ่วง ยังมีกาลังอยู่ ทาไมจึงไม่บินหนีไป [๒๐] หงส์ตัวนี้เป็ นอะไรกับเจ้า เจ้าพ้นแล้วยังเฝ้ าหงส์ตัวที่ติดบ่วงอยู่ใกล้ๆ นกทั้งหลายพากันละทิ้งหนีไป ทาไมเจ้าจึงเหลืออยู่แต่ผู้เดียว (หงส์สุมุขะตอบว่า) [๒๑] นี่ท่านผู้เป็นศัตรูของนก พญาหงส์นั้นเป็นราชาของข้าพเจ้า และเป็นเพื่อนเสมอด้วยชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักไม่ละทิ้งพระองค์ไป จนกว่าวาระแห่งความตายจะมาถึง (นายพรานกล่าวว่า) [๒๒] ก็ไฉนพญาหงส์นี้จึงไม่เห็นบ่วงที่ดักไว้แล้ว ความจริงการรู้ถึงอันตรายเป็นเหตุของคนผู้เป็นใหญ่ เพราะเหตุนั้นผู้เป็นใหญ่เหล่านั้นควรจะรู้เท่าทันอันตราย
  • 3. 3 (หงส์สุมุขะตอบว่า) [๒๓] ในกาลใดความเสื่อมย่อมมีเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิต ในกาลนั้นแม้สัตว์จะเข้าใกล้ข่ายและบ่วงก็ไม่รู้ [๒๔] ท่านผู้มีปัญญามาก ก็แลบ่วงทั้งหลายที่เขาดักไว้ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ในเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิตอย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปติดบ่วงที่เขาอาพรางดักไว้ (หงส์สุมุขะเมื่อจะขอชีวิตของพญาหงส์โพธิสัตว์ จึงกล่าวว่า) [๒๕] ก็การอยู่ร่วมกับท่านนี้พึงมีความสุขเป็นกาไรหนอ อนึ่ง ขอท่านจงอนุญาตให้ข้าพเจ้าทั้ง ๒ ไป ขอท่านพึงให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าทั้ง ๒ ด้วยเถิด (นายพรานจึงกล่าวว่า) [๒๖] ท่านไม่ได้ติดบ่วงของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะฆ่าท่าน ท่านจงรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา และจงมีชีวิตอยู่อย่างปราศจากความทุกข์ตลอดกาลนานเถิด (หงส์สุมุขะได้กล่าวว่า) [๒๗] ข้าพเจ้าไม่ประสงค์อย่างนั้นเลย นอกจากชีวิตของพญาหงส์นี้ หากท่านยินดีหงส์ตัวเดียว ขอท่านจงปล่อยพญาหงส์นั้น และจงกินข้าพเจ้าแทนเถิด [๒๘] ข้าพเจ้าทั้ง ๒ มีทรวดทรงสัณฐานและวัยเสมอกัน ท่านจะไม่มีรายได้ลดค่าลงเลย ขอท่านจงพอใจด้วยการแลกเปลี่ยนอย่างนี้ [๒๙] เชิญเถิดเชิญท่านไตร่ตรองเรื่องนั้นดูให้ดี บรรดาข้าพเจ้าทั้ง ๒ ขอท่านจงมีความพอใจ ท่านจงใช้บ่วงผูกข้าพเจ้าไว้ก่อน จงปล่อยพญานกไปในภายหลัง [๓๐] อนึ่ง เมื่อท่านกระทาตามคาขอร้อง รายได้ของท่านก็จะมีเท่าเดิมด้วย และท่านจะพึงมีไมตรีกับเหล่าพญาหงส์ธตรัฏฐะไปตลอดชีวิต (นายพรานเมื่อจะยกพญาหงส์โพธิสัตว์ให้เป็นรางวัลแก่หงส์สุมุขะ จึงกล่าวว่า) [๓๑] ขอมิตรอามาตย์ข้าทาสบริวารบุตรภรรยา และพวกพ้องเผ่าพันธุ์ทั้งหลายหมู่ใหญ่ จงเห็นพญาหงส์ผู้พ้นไปแล้วจากที่นี้เพราะท่านเถิด [๓๒] ก็บรรดามิตรทั้งหลายเป็นอันมาก มิตรทั้งหลายเช่นกับท่านผู้เป็นเพื่อนร่วมชีวิต ของพญาหงส์ธตรัฏฐะเหล่านั้นไม่มีอยู่ในโลกนี้
  • 4. 4 [๓๓] ข้าพเจ้ายอมปล่อยสหายของท่าน ขอพญาหงส์จงบินตามท่านไป ท่านทั้ง ๒ จงรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา จงรุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางแห่งญาติเถิด (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๓๔] หงส์สุมุขะผู้มีความเคารพต่อผู้เป็นนายนั้น มีความปลื้มใจเพราะพญาหงส์ผู้เป็นนายพ้นจากบ่วงแล้ว เมื่อจะกล่าววาจาอันระรื่นหู จึงกล่าวว่า [๓๕] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้ายินดีเบิกบานใจ เพราะได้เห็นพญานกพ้นจากบ่วงแล้วฉันใด ขอท่านจงยินดีเบิกบานใจพร้อมกับหมู่ญาติทั้งปวงฉันนั้นเถิด (พญาหงส์สุมุขะกล่าวกับนายพรานว่า) [๓๖] มาเถิด ข้าพเจ้าจะบอกท่านโดยวิธีที่ท่านจะได้ลาภ พญาหงส์ธตรัฏฐะนี้มิได้มุ่งร้ายอะไรต่อท่านเลย [๓๗] ท่านจงรีบนาข้าพเจ้าทั้ง ๒ ซึ่งจับอยู่ที่หาบทั้ง ๒ ข้างเป็นปกติ ไม่ถูกผูกมัด ภายในเมืองแล้วแสดงต่อพระราชาว่า [๓๘] ข้าแต่มหาราช พญาหงส์ธตรัฏฐะทั้ง ๒ นี้ เป็นอธิบดีแห่งหงส์ หงส์นี้เป็ นราชาแห่งหงส์ทั้งหลาย ส่วนอีกตัวหนึ่งนี้เป็ นเสนาบดี [๓๙] พระราชาผู้ทรงเป็นนราธิบดีทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์นี้แล้ว จะทรงปรีดา ปลาบปลื้ม พอพระทัย จะพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ท่าน เป็นจานวนมากอย่างไม่ต้องสงสัย (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๔๐] นายพรานได้สดับคาของหงส์สุมุขะนั้นแล้ว ได้จัดแจงกิจการงานให้สาเร็จเรียบร้อยแล้ว รีบไปยังภายในเมือง ได้แสดงหงส์ทั้ง ๒ ซึ่งจับอยู่ ที่หาบทั้ง ๒ ข้างเป็นปกติ ไม่ถูกผูกมัดแด่พระราชาว่า [๔๑] ข้าแต่มหาราช พญาหงส์ธตรัฏฐะทั้งหลายเหล่านี้ เป็นอธิบดีแห่งหงส์ หงส์ตัวนี้เป็ นราชาแห่งหงส์ทั้งหลาย ส่วนอีกตัวหนึ่งนี้เป็ นเสนาบดี (พระราชารับสั่งถามว่า) [๔๒] ก็วิหคเหล่านี้ตกอยู่ในเงื้อมมือของเจ้าได้อย่างไร เจ้าเป็นพรานจับวิหคที่เป็นใหญ่กว่าวิหคทั้งหลาย มาในที่นี้ได้อย่างไร (นายพรานกราบทูลว่า) [๔๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชน บ่วงเหล่านี้ข้าพระองค์ได้วางไว้ที่เปือกตมทั้งหลาย
  • 5. 5 ซึ่งเป็ นสถานที่ที่ข้าพระองค์เข้าใจว่า เป็นสถานที่ประชุมแห่งนก เป็นสถานที่ปลิดชีวิตนกทั้งหลาย [๔๔] พญาหงส์เข้ามาใกล้บ่วงเช่นนั้นแล้วก็ไม่รู้ ส่วนนกตัวนี้ไม่ได้ติดบ่วง แต่จับอยู่ใกล้ๆ พญาหงส์นั้น ได้พูดกับข้าพระองค์ [๔๕] วิหคผู้ประกอบแล้วในธรรม เมื่อบากบั่นในประโยชน์ของผู้เป็นนาย ได้ประกาศภาวะอันอุดมซึ่งคนผู้มิใช่อริยะกระทาได้ยาก [๔๖] วิหคนี้ยังควรที่จะมีชีวิตอยู่ แต่กลับสละชีวิตของตนเอง จับอยู่อย่างไม่ทอดถอนท้อแท้ใจ วิงวอนร้องขอชีวิตของผู้เป็นนาย [๔๗] ข้าพระองค์สดับคาของวิหคนั้นแล้วจึงกลับเลื่อมใส จากนั้นจึงได้ปลดปล่อยพญาหงส์จากบ่วง และอนุญาตให้ไปได้ตามสบาย [๔๘] หงส์สุมุขะนั้นมีความเคารพต่อผู้เป็นนาย มีความปลื้มใจเพราะพญาหงส์ผู้เป็นนายพ้นจากบ่วง เมื่อจะกล่าววาจาอันระรื่นหู จึงได้กล่าวว่า [๔๙] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้ายินดีเบิกบานใจ เพราะได้เห็นพญานกพ้นจากบ่วงแล้วฉันใด ขอท่านจงยินดีเบิกบานใจพร้อมกับหมู่ญาติทั้งปวงฉันนั้นเถิด [๕๐] มาเถิด ข้าพเจ้าจะบอกท่านโดยวิธีที่ท่านจะได้ลาภ พญาหงส์ธตรัฏฐะนี้มิได้มุ่งร้ายอะไรต่อท่านเลย [๕๑] ท่านจงรีบนาข้าพเจ้าทั้ง ๒ ซึ่งจับอยู่ที่หาบทั้ง ๒ ข้างเป็นปกติ ไม่ถูกผูกมัด ไปภายในเมืองแล้วแสดงต่อพระราชาว่า [๕๒] ข้าแต่มหาราช พญาหงส์ธตรัฏฐะทั้ง ๒ นี้ เป็นอธิบดีแห่งหงส์ หงส์นี้เป็ นราชาแห่งหงส์ทั้งหลาย ส่วนอีกตัวหนึ่งนี้เป็ นเสนาบดี [๕๓] พระราชาผู้ทรงเป็นนราธิบดีทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์นี้แล้ว จะทรงปรีดา ปลาบปลื้ม พอพระทัย จะพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ท่าน เป็นจานวนมากอย่างไม่ต้องสงสัย [๕๔] หงส์ทั้ง ๒ เหล่านี้ข้าพระองค์นามา ตามคาของหงส์สุมุขะนั้น ด้วยประการฉะนี้ ความจริง ข้าพระองค์ได้อนุญาต ให้หงส์ทั้ง ๒ เหล่านี้อยู่ที่สระนั้นตามเดิม [๕๕] ก็สุมุขพญาปักษีทิชาชาติตัวนี้นั้น เป็นหงส์ประกอบอยู่ในธรรมอย่างยิ่ง แม้ตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูอย่างนี้ ก็ยังทานายพรานเช่นข้าพระองค์ให้เกิดความอ่อนโยนได้ [๕๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีแห่งมนุษย์ ก็ในบ้านพรานนกทุกแห่งข้าพระองค์มิได้เห็น
  • 6. 6 เครื่องบรรณาการอย่างอื่นเหมือนเช่นนี้สาหรับพระองค์เลย ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรเครื่องบรรณาการนั้นเถิด (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๕๗] พญาหงส์ครั้นเห็นพระราชาประทับนั่ง บนตั่งทองคาอันสวยงาม เมื่อจะกล่าววาจาอันระรื่นหู จึงกล่าวว่า [๕๘] พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ทรงสุขสาราญดีอยู่หรือ ไม่มีโรคเบียดเบียนหรือ แคว้นอันมั่งคั่งนี้พระองค์ทรงปกครองโดยธรรมหรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๕๙] เราสุขสาราญดีพญาหงส์ และไม่มีโรคเบียดเบียน อนึ่ง แคว้นอันมั่งคั่งนี้เราก็ปกครองโดยธรรม (พญาหงส์โพธิสัตว์ทูลถามว่า) [๖๐] โทษบางสิ่งบางอย่างในหมู่อามาตย์ของพระองค์ไม่มีหรือ อนึ่ง อามาตย์เหล่านั้นไม่กังวลถึงชีวิต ในเพราะราชกิจอันเป็นประโยชน์ต่อพระองค์หรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๖๑] โทษบางสิ่งบางอย่างในหมู่อามาตย์ของเราก็ไม่มี อนึ่ง แม้อามาตย์เหล่านั้นก็ไม่กังวลถึงชีวิต ในเพราะราชกิจอันเป็นประโยชน์ต่อเราเลย (พญาหงส์โพธิสัตว์ทูลถามว่า) [๖๒] พระราชเทวีผู้มีพระชาติเสมอกับพระองค์ ทรงเชื่อฟัง ตรัสพระวาจาอ่อนหวานน่ารัก ทรงมีพระโอรสประกอบด้วยพระรูปโฉมและอิสริยยศ ทรงคล้อยตามพระอัธยาศัยของพระองค์หรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๖๓] ก็พระเทวีผู้มีพระชาติเสมอกับเรา เชื่อฟัง กล่าววาจาอ่อนหวานน่ารัก มีพระโอรสประกอบด้วยพระรูปโฉมและอิสริยยศ ยังคล้อยตามอัธยาศัยของเราอยู่ [๖๔] ท่านผู้เจริญตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูผู้ร้ายกาจนั้น ถึงความลาบากมากเพราะอันตรายเบื้องต้นนั้นหรือ [๖๕] นายพรานได้วิ่งเข้าไปใช้ท่อนไม้โบยตีท่านหรือ เพราะคนต่าทรามเหล่านี้จะมีปกติเป็นอย่างนี้ในขณะนั้น (พญาหงส์โพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๖๖] ขอเดชะมหาราช ในคราวมีอันตรายอย่างนี้ ความปลอดภัยได้มีแล้ว ด้วยว่านายพรานผู้นี้ หาได้ดาเนินการบางสิ่งบางอย่าง ในข้าพระองค์ทั้ง ๒ เหมือนศัตรูไม่
  • 7. 7 [๖๗] นายพรานค่อยๆ ก้าวเข้าไปหาและได้ปราศรัยขึ้นก่อน ในกาลนั้นสุมุขบัณฑิตผู้นี้แหละได้กล่าวตอบ [๖๘] นายพรานสดับคาของสุมุขวิหคนั้นแล้วจึงกลับเลื่อมใส จากนั้นจึงได้ปลดปล่อยข้าพระองค์จากบ่วง และอนุญาตให้ไปได้ตามสบาย [๖๙] ก็การมาสู่สานักของพระองค์ผู้ทรงพระเจริญนี้ สุมุขวิหคนั่นแหละปรารถนาทรัพย์เพื่อนายพรานผู้นี้ ได้คิดแล้วเพื่อประโยชน์แก่เขา (พระราชาตรัสว่า) [๗๐] ก็การมาของท่านผู้เจริญนี้เป็นการมาดีแล้วทีเดียว และเราก็ยินดีเพราะได้เห็นท่าน อนึ่ง แม้นายพรานนี้จะได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจจานวนมาก ตามที่ตนปรารถนา (พระศาสดาเมื่อจะทรงเผยข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๗๑] พระราชาผู้เป็นอธิบดีแห่งมนุษย์ ทรงยังนายพรานให้อิ่มเอมใจด้วยโภคะทั้งหลายแล้ว เมื่อจะตรัสวาจาอันระรื่นหู จึงตรัสกับพญาหงส์ว่า [๗๒] ได้ยินว่า อานาจของเราผู้ทรงธรรม ย่อมเป็นไปในที่มีประมาณเล็กน้อย ความเป็นใหญ่ในที่ทั้งปวงจงมีแก่ท่าน ขอท่านจงปกครองตามความปรารถนาเถิด [๗๓] อนึ่ง สิ่งอื่นใดย่อมเข้าไปสาเร็จเพื่อประโยชน์ แก่การต้านทานหรือเพื่อการเสวยราชสมบัติได้ สิ่งนั้นซึ่งเป็ นทรัพย์เครื่องปลื้มใจเราขอยกให้ท่าน และขอสละอิสริยยศให้แก่ท่านด้วย (พระราชาเมื่อจะทรงสนทนากับหงส์สุมุขะ จึงตรัสว่า) [๗๔] ก็ถ้าว่าหงส์สุมุขะผู้เป็นบัณฑิตถึงพร้อมด้วยปัญญานี้ จะพึงเจรจากับเราตามความปรารถนาบ้าง ข้อนั้นจะพึงเป็นที่รักยิ่งแห่งเรา (หงส์สุมุขะกราบทูลว่า) [๗๕] ข้าแต่มหาราช นัยว่า ข้าพระองค์เหมือนกับพญาช้างเข้าไประหว่างซอกหิน ไม่อาจจะพูดสอดแทรกขึ้นได้ นั้นไม่ใช่วินัยของข้าพระองค์ [๗๖] พญาหงส์นั้นเป็นผู้ประเสริฐกว่าข้าพระองค์ทั้งหลาย ส่วนพระองค์ก็เป็นผู้สูงสุด เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นยอดแห่งมนุษย์ พระองค์ทั้ง ๒ เป็นผู้อันข้าพระองค์พึงบูชาด้วยเหตุเป็นอันมาก [๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีแห่งมนุษย์ เมื่อพระองค์ทั้ง ๒ กาลังตรัสปราศรัยกันอยู่ เมื่อการวินิจฉัยกาลังเป็ นไปอยู่ ข้าพระองค์ผู้เป็นคนรับใช้ จึงไม่ควรที่จะพูดสอดแทรกขึ้นในระหว่าง
  • 8. 8 (พระราชาสดับคาของหงส์สุมุขะแล้วดีพระทัย จึงตรัสว่า) [๗๘] ได้ยินว่า โดยธรรมดานายพรานกล่าวว่า นกนี้เป็นบัณฑิต ความจริง นัยเช่นนี้ไม่พึงมีแก่บุคคลผู้มิได้อบรมตนเลย [๗๙] บุคคลผู้มีปกติเลิศอย่างนี้ เป็นสัตว์อุดมอย่างนี้ เท่าที่เราเห็นมามีอยู่ แต่เราหาเห็นสัตว์อื่นเช่นนี้ไม่ [๘๐] เรายินดีต่อท่านทั้ง ๒ โดยปกติ และยินดีด้วยการกล่าวถ้อยคาอันไพเราะของท่านทั้งสอง อนึ่ง ความพอใจของเราอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการที่เราพึงเห็นท่านทั้ง ๒ เป็ นเวลานาน (พญาหงส์โพธิสัตว์เมื่อจะสรรเสริญพระราชา จึงกราบทูลว่า) [๘๑] กิจอันใดที่บุคคลพึงกระทาในมิตรผู้สูงศักดิ์ กิจอันนั้นพระองค์ทรงกระทาแล้วในข้าพระองค์ทั้ง ๒ เพราะความภักดีต่อพระองค์ที่มีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์จึงมีความภักดีต่อพระองค์โดยไม่ต้องสงสัย [๘๒] ส่วนทางโน้น ความทุกข์คงเกิดขึ้นแล้ว ในหมู่หงส์จานวนมากเป็นแน่ เพราะมิได้พบเห็นข้าพระองค์ทั้ง ๒ ในระหว่างแห่งหมู่ญาติเป็นอันมาก [๘๓] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงย่ายีข้าศึก พวกข้าพระองค์ได้รับอนุมัติจากพระองค์แล้ว จะขอกระทาประทักษิณพระองค์แล้วไปพบเห็นหมู่ญาติ เพื่อกาจัดความโศกของหงส์เหล่านั้น [๘๔] ข้าพระองค์ได้ประสบปีติอันไพบูลย์ เพราะได้มาเฝ้ าพระองค์ผู้เจริญแน่แท้ อนึ่ง ความคุ้นกับหมู่ญาติแม้นี้ก็พึงมีประโยชน์ใหญ่หลวง (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๘๕] พญาหงส์ธตรัฏฐะครั้นกราบทูลคานี้กับนราธิบดีแล้ว อาศัยการบินเร็วอย่างสุดกาลัง ได้เข้าไปหาหมู่ญาติแล้ว [๘๖] หงส์ทั้งหลายเห็นพญาหงส์ทั้ง ๒ นั้น มาถึงโดยลาดับอย่างปลอดภัย ต่างพากันส่งเสียงว่าเกกๆ ได้เกิดสาเนียงเสียงดังเจี๊ยวจ๊าว [๘๗] หงส์เหล่านั้นผู้มีความเคารพต่อผู้เป็นนาย พากันปลาบปลื้มใจเพราะพญาหงส์ผู้เป็นนายพ้นจากบ่วง จึงพากันแวดล้อมอยู่โดยรอบ หงส์ทั้งหลายได้ที่พึ่งแล้ว (พระศาสดาตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า) [๘๘] ประโยชน์ทั้งปวงของบุคคลผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมสาเร็จผลเป็นความสุขความเจริญ เหมือนพญาหงส์ธตรัฏฐะทั้ง ๒ ได้อยู่ใกล้หมู่ญาติฉะนั้น
  • 9. 9 จูฬหังสชาดกที่ ๑ จบ ---------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา จุลลหังสชาดก ว่าด้วย พระยาหงส์ทรงติดบ่วง พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนทเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. ความพิสดารว่า บรรดาพวกนายขมังธนู ที่พระเทวทัตเสี้ยมสอนให้ไปปลงพระชนม์พระตถาคตเจ้าเหล่านั้น คนที่ถูกส่งไปก่อนเขาทั้งหมด กลับมารายงานว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมไม่อาจที่จะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นได้เลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีฤทธานุภาพใหญ่หลวงยิ่งนัก พระเทวทัตนั้นจึงกล่าวว่า เออช่างเถอะ เจ้าไม่ต้องปลงพระชนม์พระสมณโคดมดอก เราจักปลงพระชนม์พระสมณโคดมเอง เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ ณ ร่มเงาเบื้องหลังแห่งภูเขาคิชฌกูฏ ตนจึงขึ้นไปบนภูเขาคิชฌกูฏเอง แล้วกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ด้วยกาลังแห่งเครื่องยนตร์ ด้วยคิดว่า เราจักปลงพระชนม์พระสมณโคดมด้วยศิลาก้อนนี้. ในกาลนั้น ยอดเขาสองยอดก็รับเอาศิลาที่กลิ้งตกลงไปนั้นไว้ได้. แต่สะเก็ดศิลาที่กะเทาะจากศิลาก้อนนั้น กระเด็นไปต้องพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทาพระโลหิตให้ห้อขึ้นแล้ว เวทนามีกาลังเป็นไปทั่วแล้ว หมอชีวกกระทาการผ่าพระบาทของพระตถาคตเจ้าด้วยศัสตรา เอาเลือดร้ายออก นาเนื้อร้ายออกจนหมด ชาระล้างแผลสะอาดแล้ว ใส่ยากระทาให้พระองค์หายจากพระโรค พระศาสดาทรงหายเป็นปกติดีแล้ว มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมเป็นบริวาร เสด็จเข้าไปยังพระนครด้วยพระพุทธลีลาใหญ่ทีเดียว. ลาดับนั้น พระเทวทัตมองเห็นดังนั้น จึงคิดว่า ใครๆ เห็นพระสรีระอันถึงแล้ว ซึ่งส่วนอันเลิศด้วยพระรูปพระโฉมของพระสมณโคดม ถ้าเป็นมนุษย์ ก็ไม่อาจที่จะเข้าไปทาร้ายได้ ก็ช้างของพระราชาชื่อว่า นาลาคิรี มีอยู่ ช้างนั้นเป็นช้างที่ดุร้ายกาจ ฆ่ามนุษย์ได้ เมื่อไม่รู้จักคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ จักยังพระสมณโคดมนั้นให้ถึงความสิ้นชีวิตได้ เธอจึงไปทูลเนื้อความนั้นแด่พระเจ้าอชาตศัตรูราช พระราชาทรงรับรองว่าดีละ ดังนี้ แล้วรับสั่งให้เรียกหานายหัตถาจารย์มาแล้ว ทรงพระบัญชาว่า แน่ะเจ้า พรุ่งนี้เจ้าจงมอมช้างนาลาคิรีให้มึนเมาแล้วจงปล่อยไปบนถนน
  • 10. 10 ที่พระสมณโคดมเสด็จมา แต่เช้าทีเดียว แม้พระเทวทัตก็ถามนายหัตถาจารย์นั้นว่า ในวันอื่นๆ ช้างนาลาคิรีดื่มสุรากี่หม้อ เมื่อเขาบอกให้ทราบว่า ๘ หม้อ พระคุณเจ้าผู้เจริญจึงกาชับว่า พรุ่งนี้ท่านจงให้ช้างนั้นดื่มเพิ่มขึ้นเป็ น ๑๖ หม้อแล้ว พึงกระทาให้มีหน้าเฉพาะ ในถนนที่พระสมณโคดมเสด็จผ่านมา. นายหัตถาจารย์นั้น ก็รับรองเป็นอันดี พระราชาให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศไปทั่วพระนครว่า พรุ่งนี้ นายหัตถาจารย์จักมอมช้างนาลาคิรีให้มึนเมาแล้ว จักปล่อยในนคร ชาวเมืองทั้งหลายพึงรีบกระทา กิจที่จาต้องกระทาเสียให้เสร็จ แต่เช้าทีเดียว แล้วอย่าเดินระหว่างถนน. แม้พระเทวทัตลงจากพระราชนิเวศน์แล้วก็ไปยังโรงช้าง เรียกคนเลี้ยงช้างมาสั่งว่า ดูก่อนพนายทั้งหลาย เราสามารถจะลดคนมีตาแหน่งสูงให้ต่า และเลื่อนคนมีตาแหน่งต่าให้สูงขึ้น ถ้าพวกเจ้าต้องการยศ พรุ่งนี้เช้า จงช่วยกันเอาเหล้าอย่างแรง กรอกช้างนาลาคิรีให้ได้ ๑๖ หม้อ ถึงเวลาพระสมณโคดมเสด็จมา จงช่วยกันแทงช้างด้วยปลายหอกซัด ยั่วยุให้มันอาละวาดให้ทาลายโรงช้าง ช่วยกันล่อให้หันหน้าตรงไปในถนนที่พระสมณโคดมเสด็จมา แล้วให้พระสมณโคดมถึงความสิ้นชีวิต พวกคนเลี้ยงช้างเหล่านั้น พากันรับรองเป็นอันดี. พฤติการณ์อันนั้นได้เซ็งแซ่ไปทั่วพระนคร. เหล่าอุบาสกผู้นับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ได้ทราบข่าวนั้น ก็พากันไปเข้าเฝ้ าพระศาสดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเทวทัตสมคบกันกับพระเจ้าอชาตศัตรูราช ให้ปล่อยช้างนาลาคิรีในหนทางที่พระองค์จะเสด็จไปในวันพรุ่งนี้ เพราะฉะนั้น ในวันพรุ่งนี้ ขอพระองค์อย่าได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตเลย จงประทับอยู่ในที่นี้เถิด พวกข้าพระองค์ จักถวายภิกษา แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุขในวิหารนี้แล. พระศาสดามิได้ตรัสรับคาว่า พรุ่งนี้ เราจักไม่เข้าไปบิณฑบาต ทรงพระดาริว่า ในวันพรุ่งนี้ เราจักทรมานช้างนาลาคิรี กระทาปาฏิหาริย์ทรมานพวกเดียรถีย์ จักเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ มีภิกษุแวดล้อมเป็ นบริวาร ออกจากพระนครไปยังพระเวฬุวันมหาวิหารทีเดียว. พวกชนชาวเมืองราชคฤห์ จักถือเอาภาชนภัตเป็นอันมากมายังวิหารเวฬุวันเหมือนกัน พรุ่งนี้ โรงภัตจักมีในวิหารทีเดียว แล้วทรงรับอาราธนาแก่พวกอุบาสกเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ พวกอุบาสกเหล่านั้นทราบความว่า ทรงรับอาราธนาของพระตถาคตเจ้าแล้ว จึงพากันกล่าวว่า พวกเราจักนาภาชนภัตมาถวายทานในวิหารทีเดียว แล้วหลีกไป.
  • 11. 11 แม้พระศาสดาทรงแสดงธรรม ในปฐมยาม ทรงแก้ปัญหาของเทวดา ในมัชฌิมยาม ทรงสาเร็จสีหไสยาสน์ ในส่วนแรกแห่งปัจฉิมยาม ทรงเข้าผลสมาบัติ ในส่วนที่ ๒ แห่งปัจฉิมยาม ในส่วนที่ ๓ แห่งปัจฉิมยาม ทรงเข้าพระกรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูเหล่าเวไนยสัตว์ อันมีอุปนิสัยที่จะได้ตรัสรู้ธรรมพิเศษ ทอดพระเนตรเห็น การตรัสรู้ธรรมของสัตว์ ๘๔,๐๐๐ ในเวลาการทรงทรมานช้างนาลาคิรี ครั้นราตรีกาลสว่างไสวแล้ว ก็ทรงกระทาการชาระพระสรีระแล้ว ตรัสเรียกพระอานนท์ผู้มีอายุมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงบอกแก่ภิกษุ แม้ทั้งหมดในมหาวิหาร ๑๘ แห่ง อันตั้งเรียงรายอยู่ในเมืองราชคฤห์ เพื่อให้เข้าไปในเมืองราชคฤห์พร้อมกันกับเรา. พระเถระได้กระทาตามพระพุทธฎีกาแล้ว. พวกภิกษุทั้งหมดมาประชุมกันในพระเวฬุวัน พระศาสดามีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมเป็นบริวาร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังเมืองราชคฤห์ ลาดับนั้น พวกคนเลี้ยงช้างก็ปฏิบัติตามพระเทวทัตสั่ง. สมาคมใหญ่ได้มีแล้ว พวกมนุษย์ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธากล่าวกันว่า ได้ยินว่า ในวันนี้ พระพุทธเจ้าผู้มหานาคกับช้างนาลาคิรีซึ่งเป็ นสัตว์ดิรัจฉาน จักกระทาสงครามกัน พวกเราจักได้เห็น การทรมานช้างนาลาคิรีด้วยพุทธลีลา อันหาที่เปรียบมิได้ จึงพากันขึ้นสู่ปราสาทห้องแถว และหลังคาเรือน แล้วยืนดู. ฝ่ายพวกมิจฉาทิฏฐิผู้หาศรัทธามิได้ ก็พากันกล่าวว่า ช้างนาลาคิรีเชือกนี้ดุร้ายกาจ ฆ่ามนุษย์ได้ ไม่รู้จักคุณแห่งพระพุทธเจ้าเช่นกัน วันนี้ ช้างเชือกนั้น จักขยี้สรีระอันมีพรรณ ดุจทองคาของพระโคดม จักให้ถึงความสิ้นชีวิต พวกเราจักได้เห็นหลังปัจจามิตรในวันนี้ทีเดียว แล้วได้พากันขึ้นไปยืนดูบนต้นไม้และปราสาทเช่นกัน. แม้ช้างนาลาคิรีพอเหลือบเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา จึงยังมนุษย์ทั้งหลายให้สะดุ้งกลัว ทาลายบ้านเรือนเป็นอันมาก ขยี้บดเกวียนเสียแหลกละเอียดเป็ นหลายเล่ม ยกงวงขึ้นชู มีหูกางหางชี้ วิ่งรี่ไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า ประหนึ่งว่า ภูเขาเอียงเข้าทับพระพุทธองค์ ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงกราบทูลเนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างนาลาคิรีเชือกนี้ ดุร้ายกาจฆ่ามนุษย์ได้ วิ่งตรงมานี่ ก็ช้างนาลาคิรีนี้ มิได้รู้จักพระพุทธคุณเป็ นต้นแล ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จกลับเถิด พระเจ้าข้า ขอพระสุคตเจ้าจงเสด็จกลับเสียเถิด. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้กลัวไปเลย
  • 12. 12 เรามีกาลังสามารถพอที่จะทรมานช้างนาลาคิรีเชือกนี้ได้. ลาดับนั้น ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ ทูลขอโอกาสกะพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาว่า กิจที่บังเกิดขึ้นแก่บิดา ย่อมเป็นภาระของบุตรคนโต ข้าพระองค์ผู้เดียวจะขอทรมานช้างเชือกนี้. ลาดับนั้น พระศาสดาจึงตรัสห้ามพระสารีบุตรนั้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ขึ้นชื่อว่า กาลังแห่งพระพุทธเจ้าเป็ นอย่างหนึ่ง ส่วนกาลังของพวกสาวกเป็ นอีกอย่างหนึ่ง เธอจงยับยั้งอยู่เถิด. พระเถระผู้ใหญ่ ๘๐ โดยมากต่างก็พากันทูลขอโอกาสอย่างนี้เหมือนกัน. พระศาสดาตรัสห้ามพระมหาเถระเหล่านั้นแม้ทั้งหมด. ลาดับนั้น ท่านพระอานนท์ไม่สามารถจะทนดูอยู่ได้ ด้วยความรักมีกาลังในพระศาสดา จึงคิดว่า ช้างเชือกนี้ จงฆ่าเราเสียก่อนเถิด ดังนี้แล้ว ยอมสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่พระตถาคตเจ้า ได้ออกไปยืนอยู่เบื้องพระพักตร์แห่งพระศาสดา. ลาดับนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะท่านว่า อานนท์ เธอจงหลีกไป อานนท์ เธอจงหลีกไป เธออย่ามายืนขวางหน้าตถาคต. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างเชือกนี้ดุร้ายกาจ ฆ่ามนุษย์ได้ เป็ นเช่นกับไฟบรรลัยกัลป ์ จงฆ่าข้าพระองค์เสียก่อนแล้ว จึงมายังสานักของพระองค์ในภายหลัง. พระอานนทเถระ แม้ถูกพระศาสดาตรัสห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้ง ก็ยังคงยืนอยู่อย่างนั้นทีเดียวมิได้ถอยกลับมา. ลาดับนั้น พระศาสดาจึงให้พระอานนท์ถอยกลับมาด้วยกาลังแห่งฤทธิ์ แล้วประทับยืนอยู่ในระหว่างภิกษุทั้งหลาย ในขณะนั้น หญิงคนหนึ่งเห็นช้างนาลาคิรี มีความสะดุ้งกลัวต่อมรณภัย จึงวิ่งหนี ทิ้งทารกที่ตนอุ้มเข้าสะเอวไว้ในระหว่างกลางแห่งช้างและพระตถาคตเจ้า แล้ววิ่งหนีไป. ช้างวิ่งไล่ตามหญิงนั้นแล้ว กลับมายังที่ใกล้ทารก ทารกจึงร้องเสียงดัง พระศาสดาทรงแผ่เมตตาไปยังช้างนาลาคิรี ทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะยิ่งนัก ดุจเสียงพรหม รับสั่งร้องเรียกว่า แน่ะเจ้าช้างนาลาคิรีที่เจริญ เขาให้เจ้าดื่มเหล้าถึง ๑๖ หม้อ มอมเมาเสียจนมึนมัว ใช่ว่า เขากระทาเจ้าด้วยประสงค์ว่า จักให้จับคนอื่นก็หาไม่ แต่เขากระทาด้วยประสงค์จะให้จับเรา เจ้าอย่าเที่ยวอาละวาดให้เมื่อยขาโดยใช่เหตุเลย จงมานี่เถิด ช้างนาลาคิรีเชือกนั้น พอได้ยินพระดารัสของพระศาสดา จึงลืมตาขึ้นดูพระรูป อันเป็ นสิริของพระผู้มีพระภาคเจ้า กลับได้ความสังเวชใจ หายเมาสุราด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า จึงห้อยงวงและลดหูทั้งสองข้าง ไปหมอบอยู่แทบพระบาททั้งสองของพระตถาคตเจ้า.
  • 13. 13 ลาดับนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะช้างนาลาคิรีนั้นว่า ดูก่อนเจ้าช้างนาลาคิรี เจ้าเป็นช้างสัตว์ดิรัจฉาน เราเป็นพุทธะเหล่าช้างตัวประเสริฐ ตั้งแต่นี้ไป เจ้าจงอย่าดุร้าย อย่าหยาบคาย อย่าฆ่ามนุษย์ จงได้เฉพาะจึงเมตตาจิต ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาออกไปลูบที่กระพองแล้ว ตรัสพระคาถาว่า เจ้าช้างมีงวง เจ้าอย่าเบียดเบียนช้างตัวประเสริฐ (หมายถึงพระตถาคตเจ้า) แน่ะเจ้าช้างมีงวง เพราะว่าการเบียดเบียนช้างตัวประเสริฐ เป็นเหตุนาความทุกข์มาให้ แน่ะเจ้าช้างมีงวง ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาจนกาลบัดนี้ ผู้ฆ่าช้างตัวประเสริฐ ย่อมไม่ได้พบสุคติเลย เจ้าอย่าเมา เจ้าอย่าประมาท ด้วยว่าผู้ประมาทแล้ว ย่อมไปสู่สุคติไม่ได้ เจ้าจงกระทาหนทางที่จะพาตัวเจ้าไปสู่สุคติเถิด. พระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยประการฉะนี้ สรีระทั้งสิ้นของช้างนั้น ได้เป็นร่างกายมีปีติถูกต้องแล้วหาระหว่างคั่นมิได้ ถ้าไม่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ก็จักได้บรรลุโสดาปัตติผล. มนุษย์ทั้งหลายเห็นปาฏิหาริย์นั้น ต่างพากันส่งเสียงปรบมืออยู่อื้ออึง พวกที่เกิดความโสมนัสยินดีก็โยนเครื่องอาภรณ์ต่างๆ ไป เครื่องอาภรณ์เหล่านั้น ก็ไปปกคลุมสรีระของช้าง. ตั้งแต่วันนั้นมา ช้างนาลาคิรีก็ปรากฏนามว่า ธนปาลกะ ก็ในขณะนั้น สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ในสมาคมแห่งช้างธนปาลกะก็ได้ดื่มน้าอมฤต. พระศาสดาทรงให้ช้างธนปาลกะตั้งอยู่ในศีล ๕ ประการ ช้างนั้นก็เอางวงดูดละอองธุลีพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเอาโปรยลงบนหัวของตน ย่อตัวถอยหลังออกมายืนอยู่ในที่อุปจาร พอแลเห็น ถวายบังคมพระทศพลกลับเข้าไปยังโรงช้าง. ตั้งแต่วันนั้นมา ช้างนาลาคิรีนั้น ก็กลายเป็ นช้างที่ได้รับการฝึกแล้วเชือกหนึ่ง ในบรรดาช้างที่ได้รับการฝึกแล้วทั้งหลายอย่างนี้ ไม่เคยเบียดเบียนใครให้เดือดร้อนอีกต่อไปเลย. พระศาสดาทรงสาเร็จสมดังมโนรถแล้ว ทรงอธิษฐานว่า ทรัพย์สิ่งของอันใด อันผู้ใดทิ้งไว้แล้ว ทรัพย์สิ่งของอันนั้นจงเป็นของผู้นั้นตามเดิม แล้วทรงพระดาริว่า วันนี้ เราได้กระทาปาฏิหาริย์อย่างใหญ่แล้ว การเที่ยวจาริกไปเพื่อบิณฑบาตในพระนครนี้ ไม่สมควร ทรงทรมานพวกเดียรถีย์แล้ว มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเป็นบริวาร ประดุจกษัตริย์ที่มีชัยชนะแล้วเสด็จออกจากพระนคร ทรงดาเนินไปยังพระวิหารเวฬุวันทีเดียว แม้พวกชนชาวเมือง ก็พากันถือเอาข้าวน้าและของเคี้ยวเป็ นอันมาก ไปยังวิหาร
  • 14. 14 ยังมหาทานให้เป็นไปทั่วแล้ว ในเวลาเย็นวันนั้น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันเต็มธรรมสภา สนทนากันว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระอานนทเถระเจ้าผู้มีอายุ ได้ยอมเสียสละชีวิตของท่านเพื่อประโยชน์แก่พระตถาคตเจ้า ชื่อว่า กระทากรรมที่กระทาได้ยาก ท่านเห็นช้างนาลาคิรีแล้ว แม้ถูกพระศาสดาตรัสห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้ง ก็ยังไม่ถอยไป ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย น่าสรรเสริญพระอานนท์เถรเจ้าผู้มีอายุ กระทาสิ่งซึ่งยากที่จะกระทาได้. ลาดับนั้น พระศาสดาทรงสดับ ถ้อยคาสรรเสริญเกียรติคุณ ของพระอานนท์นั้น ด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์ จึงทรงพระดาริว่า ถ้อยคาสรรเสริญเกียรติคุณของอานนท์กาลังเป็ นไปอยู่ เราควรจะไปในที่นั้น จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จไปยังโรงธรรมสภาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันนี้ พวกเธอกาลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไรเล่าหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องชื่อนี้พระพุทธเจ้าข้า จึงตรัสว่า ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ถึงเมื่อกาลก่อน ครั้งอานนท์เกิดในกาเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็ได้เคยสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ (เรา)ตถาคตแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้วได้ทรงนิ่งเฉยอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา จึงได้ทรงนาอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า สาคละ เสวยราชสมบัติอยู่โดยธรรมในสาคลนคร ในแคว้นมหิสกะ. ในกาลนั้น ในหมู่บ้านนายพรานแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลจากพระนคร มีนายพรานคนหนึ่ง เอาบ่วงดักนกมาเที่ยวขายในพระนคร เลี้ยงชีวิตอยู่ ก็ในที่ไม่ไกลจากพระนคร มีสระบัวหลวงอยู่สระหนึ่งชื่อมานุสิยะ สระกว้างยาวประมาณ ๑๒ โยชน์ สระนั้นดาดาษไปด้วยดอกบัว ๕ ชนิด มีหมู่นกต่างเพศต่างพรรณมาลงที่สระนั้น นายพรานนั้นดักบ่วงไว้ โดยมิได้เลือกว่าเป็นนกชนิดไร. ในกาลนั้น พญาหงส์ ธตรฐ มีหงส์เก้าหมื่นหกพันตัวเป็นบริวาร อาศัยอยู่ในถ้าทองใกล้ภูเขาจิตตกูฏ. มีหงส์ตัวหนึ่งชื่อ สุมุขะ ได้เป็นเสนาบดีของพญาหงส์นั้น กาลครั้งนั้น หงส์ทอง ๒-๓ ตัวจากฝูงหงส์นั้น บินไปยังมานุสิยสระ เที่ยวไปในสระนั้น ซึ่งมีที่หากินอย่างพอเพียงตามความสบาย แล้วกลับมายังภูเขาจิตตกูฏ บอกแก่พญาหงส์ธตรฐว่า ข้าแต่มหาราช มีสระบัวแห่งหนึ่ง ชื่อมานุสิยะ อยู่ในถิ่นของมนุษย์ มีที่เที่ยวแสวงหาอาหารอย่างสมบูรณ์ พวกข้าพเจ้าจะไปหาอาหารในสระนั้น
  • 15. 15 พญาหงส์นั้นจึงห้ามว่า ขึ้นชื่อว่าถิ่นของมนุษย์ ย่อมเป็ นที่น่ารังเกียจ มากไปด้วยภัยเฉพาะหน้า อย่าได้ชอบใจแก่พวกเจ้าเลย ถูกหงส์เหล่านั้นรบเร้าอยู่บ่อยๆ จึงกล่าวว่า ถ้าสระนั้น ย่อมเป็นที่ถูกใจของพวกท่าน เราก็จะไปด้วยกัน จึงพร้อมด้วยบริวารได้ไปยังสระนั้น พญาหงส์ธตรฐนั้น พอร่อนลงจากอากาศ ก็เอาเท้าถลาเข้าไปติดบ่วงอยู่ทีเดียว. ลาดับนั้น บ่วงของนายพรานนั้น ก็รัดเท้าเอาไว้แน่น ดุจถูกรัดด้วยซี่เหล็ก ฉะนั้น. ลาดับนั้น พญาหงส์จึงฉุดบ่วงมาด้วยคิดว่า เราจักทาบ่วงให้ขาด ครั้งแรกหนังถลอกปอกหมด ครั้งที่สองเนื้อขาด ครั้งที่สามเอ็นขาด ในครั้งที่สี่บ่วงนั้นเข้าไปถึงกระดูก โลหิตไหลนอง เวทนามีกาลังเป็นไปทั่วแล้ว. พญาหงส์นั้นจึงคิดว่า ถ้าเราร้องว่าติดบ่วง พวกญาติของเรา ก็จะพากันสะดุ้งตกใจกลัว ไม่ทันได้กินอาหาร ถูกความหิวแผดเผาแล้ว ก็จะหนีไปตกลงในมหาสมุทร เพราะหมดกาลัง พญาหงส์นั้นพยายามอดใจทนต่อทุกขเวทนา จนถึงเวลา พวกหงส์ที่เป็นญาติทั้งหลายกินอาหารอิ่มแล้ว กาลังเล่นเพลินอยู่ จึงร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า ติดบ่วง. หงส์ทั้งหลายได้ยินเสียงดังนั้น มีความกลัวต่อมรณภัยเป็นกาลัง ต่างก็คุมกันเป็นพวกๆ บ่ายหน้าไปยังภูเขาจิตตกูฏบินไปโดยเร็ว เมื่อหงส์เหล่านั้นพากันกลับไปหมดแล้ว สุมุขหงส์ที่เป็ นเสนาบดีคิดว่า ภัยนี้บังเกิดขึ้นแก่มหาราชของเราหรือไม่หนอ เราจักทราบถึงเรื่องนั้น จึงบินไปโดยเร็วไว มองไม่เห็นพระมหาสัตว์ ในระหว่างหมู่หงส์ที่ไปอยู่ข้างหน้า จึงมาค้นดูฝูงกลาง ก็มิได้เห็นพระมหาสัตว์แม้ในที่นั้น จึงตรวจค้นฝูงสุดท้าย ก็มิได้เห็นพระมหาสัตว์ แม้ในที่นั้นอีก จึงแน่ใจว่า ภัยนั้นบังเกิดขึ้นแก่พญาหงส์นั้น โดยไม่ต้องสงสัยทีเดียว จึงรีบกลับมายังที่เดิม เห็นพระมหาสัตว์ติดบ่วง ยืนเกาะอยู่บนหลังตม มีโลหิตไหลนองทนทุกขเวทนาอย่างสาหัส จึงบอกว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์อย่าได้กลัวไปเลย แล้วกล่าวว่า ข้าพระองค์จักสละชีวิตของข้าพระองค์ จักยังพระองค์ให้หลุดจากบ่วง จึงบินร่อนลงมาปลอบพระมหาสัตว์เกาะอยู่บนหลังตม. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะทดลองใจสุมุขหงส์นั้น จึงกล่าวคาถาเป็นปฐมว่า ดูก่อนสุมุขะ ฝูงหงส์พากันบินหนีไปไม่เหลียวหลัง แม้ท่านก็จงไปเสียเถิด อย่าหวังอยู่ในที่นี้เลย ความเป็ นสหายในเราผู้ติดบ่วง ย่อมไม่มี. พญาหงส์นั้นกล่าวว่า ฝูงหงส์ทั้งหลายซึ่งล้วนเป็ นหมู่ญาติของเรา เป็นจานวนหงส์มีประมาณเก้าหมื่นหกพันตัวเหล่านี้
  • 16. 16 มิได้มองดูเราด้วยอานาจความอาลัยรัก ทิ้งเราแล้วบินหนีไปหมด ถึงตัวท่านก็จงรีบหนีไปเสียเถิด อย่าหวังการอยู่ในที่นี้เลย ด้วยว่า ขึ้นชื่อว่า ความเป็นสหายในตัวเรา ย่อมไม่มีผลเพราะการติดบ่วงอย่างนี้ อธิบายว่า บัดนี้ เราไม่อาจที่จะกระทากิจด้วย ความเป็ นสหายสักน้อยหนึ่งแก่ท่านได้เลย เราไม่สามารถจะกระทาอุปการะได้ จะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน ท่านอย่าชักช้าเลย จงรีบบินหนีไปเสียเถิดนะ. เบื้องหน้าแต่นั้น สุมุขหงส์กล่าวว่า ข้าพระองค์จะพึงไปหรือไม่พึงไป ความไม่ตายก็ไม่พึงมี เพราะการไปหรือการไม่ไปนั้น เมื่อพระองค์มีความสุขจึงอยู่ใกล้ เมื่อพระองค์ได้รับความทุกข์ จะพึงละไปอย่างไรได้ ความตายพร้อมกับพระองค์ หรือว่าความเป็ นอยู่เว้นจากพระองค์ ความตายนั้นแลประเสริฐกว่า เว้นจากพระองค์แล้ว จะพึงเป็ นอยู่ประเสริฐอะไร ข้าแต่พระมหาราชจอมหงส์ ข้าพระองค์พึงละทิ้งพระองค์ ซึ่งทรงถึงทุกข์อย่างนี้ ข้อนี้ไม่เป็ นธรรมเลย คติของพระองค์ ข้าพระองค์ย่อมชอบใจ. ในลาดับนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า คติของเราผู้ติดบ่วง จะเป็นอื่นไปอย่างไรเล่า นอกจากเข้าโรงครัวใหญ่ คตินั้นย่อมชอบใจ แก่ท่านผู้มีความคิด ผู้พ้นแล้วอย่างไร ดูก่อนสุมุขหงส์ ท่านจะพึงเห็นประโยชน์อะไร ในการสิ้นชีวิตของเรา และของท่านทั้งสอง หรือของพวกญาติที่เหลือ ดูก่อนท่านผู้มีปีกทั้งสองดังสีทอง เมื่อท่านยอมสละชีวิต ในเพราะคุณอันไม่ประจักษ์ ดังคนตาบอดกระทาแล้วในที่มืด จะพึงยังประโยชน์อะไรให้รุ่งเรืองได้. สุมุขหงส์กล่าวตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าฝูงหงส์ทั้งหลาย ทาไมหนอ พระองค์จึงไม่ทรงรู้อรรถในธรรม ธรรมอันบุคคลเคารพแล้ว ย่อมแสดงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ข้าพระองค์นั้นเพ่งเล็งอยู่ ซึ่งธรรมและประโยชน์อันตั้งจากธรรม ทั้งเห็นพร้อมอยู่ ซึ่งความภักดีในพระองค์ จึงมิได้เสียดายชีวิต ความที่มิตร เมื่อระลึกถึงธรรม ไม่พึงทอดทิ้งมิตรในยามทุกข์ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็ นธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายโดยแท้. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวว่า ธรรมนี้นั้นท่านประพฤติแล้ว และความภักดีในเรา ก็ปรากฏแล้ว ท่านจงทาตามความปรารถนาของเรานี้เถิด ท่านเป็นอันเราอนุมัติแล้ว จงไปเสียเถิด ดูก่อนท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็แลเมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ คือ เมื่อเราติดบ่วงอยู่ในที่นี้ ท่านพึงกลับไปปกครองหมู่ญาติทั้งหลายของเราให้จงดีเถิด.
  • 17. 17 เมื่อสุวรรณหงส์ตัวประเสริฐ ประพฤติธรรมอันประเสริฐ กาลังโต้ตอบกันอยู่ ด้วยประการฉะนี้ นายพรานได้ปรากฏแล้ว เหมือนดังมัจจุราชปรากฏแก่บุคคลผู้ป่วยหนัก ฉะนั้น สุวรรณหงส์ทั้งสองเกื้อกูลกันมาสิ้นกาลนานนั้น เห็นศัตรูเดินมาแล้ว ก็นิ่งเฉยมิได้เคลื่อนจากที่ ฝ่ายนายพราน ผู้เป็นศัตรูของพวกนก เห็นพญาหงส์ธตรฐจอมหงส์กาลังเดินส่ายไปมาแต่ที่นั้นๆ จึงรีบเดินเข้าไป ก็นายพรานนั้นครั้นรีบเดินเข้าไปแล้ว เกิดความสงสัยขึ้นว่า หงส์ทั้งสองนั้นติดบ่วงหรือไม่ จึงค่อยลดความเร็วลง ค่อยๆเดินเข้าไปให้ใกล้สุวรรณหงส์ทั้งสอง ได้เห็นตัวหนึ่งติดบ่วง อีกตัวหนึ่งไม่ติดบ่วง แต่มายืนอยู่ใกล้ตัวที่ติดบ่วง จึงเพ่งดูตัวที่ติดบ่วงที่เป็ นโทษ ลาดับนั้น นายพรานนั้นเป็นผู้มีความสงสัย จึงได้กล่าวถาม สุมุขหงส์ตัวมีผิวพรรณเหลือง มีร่างกายใหญ่ เป็ นใหญ่ในหมู่หงส์ ซึ่งยืนอยู่ว่า เพราะเหตุไรหนอ พญาหงส์ที่ติดบ่วงใหญ่ ย่อมไม่กระทาซึ่งทิศ เมื่อเป็ นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านผู้ไม่ติดบ่วง เป็ นผู้มีกาลัง จึงไม่บินหนีไป พญาหงส์นี้เป็ นอะไรกับท่านหรือ ท่านพ้นแล้ว ทาไมจึงยังเฝ้ าหงส์ตัวติดบ่วงอยู่ หงส์ทั้งหลายพากันละทิ้งหนีไปหมด เพราะเหตุไร ท่านจึงยังอยู่ตัวเดียว. สุมุขหงส์จึงกล่าวตอบว่า ดูก่อนนายพรานนก พญาหงส์นั้นเป็ นราชาของเรา ทั้งเป็นเพื่อนเสมอ ด้วยชีวิตของเราด้วย เราจึงไม่ละท่านไป จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งกาละ. นายพราน จึงกล่าวว่า ก็ไฉน พญาหงส์นี้ จึงไม่เห็นบ่วงที่ดักไว้ ความจริง การรู้อันตรายของตน เป็นเหตุของบุคคลผู้ใหญ่ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ใหญ่เหล่านั้น ควรรู้อันตราย. สุมุขหงส์ จึงกล่าวตอบว่า เมื่อใดมีความเสื่อม เมื่อนั้น สัตว์แม้เข้าไปในข่ายหรือบ่วง ก็ไม่รู้สึก ในเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิต. นายพราน จึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีปัญญามาก ก็แลบ่วงทั้งหลายที่เขาดักไว้มีมากอย่าง สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ามาติดบ่วงที่เขาดักอาพรางไว้ ในเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิตอย่างนี้. สุมุขหงส์นั้นกล่าวว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์พึงไปจากที่นี้ หรือไม่ไป ก็ตามเถิด แต่ที่ข้าพระองค์จะพึงไม่ตาย เพราะการไปหรือการไม่ไปนั้นไม่มีเลย เพราะว่าข้าพระองค์ ถึงจะไปจากที่นี้ หรือไม่ไปคงไม่พ้นจากความตายไปได้เป็นแน่แท้ ก็ในกาลก่อนแต่นี้
  • 18. 18 พระองค์มีความสุข ข้าพระองค์ก็ได้อยู่ใกล้ชิด บัดนี้พระองค์กาลังได้รับทุกข์ ข้าพระองค์จะทอดทิ้งไปเสียอย่างไรได้. เมื่อข้าพระองค์ไม่ไป พึงตายเสียพร้อมกับพระองค์อย่างหนึ่ง หรือเมื่อข้าพระองค์ไป แต่มีชีวิตอยู่เว้นจากพระองค์อย่างหนึ่ง ในสองอย่างนี้ การตายเสียพร้อมกันกับพระองค์นั้นแล เป็ นของประเสริฐของข้าพระองค์ยิ่งนัก ส่วนการที่ข้าพระองค์จะพึงมีชีวิตอยู่ เว้นเสียจากพระองค์นั้น ไม่เป็นของประเสริฐแก่ข้าพระองค์เลย. สุมุขหงส์นั้น กระทานายพรานให้เป็นผู้มีน้าใจอ่อน ด้วยการเจรจาปราศรัย ด้วยประการฉะนี้แล้ว เพื่อจะขอชีวิตของพระมหาสัตว์ จึงกล่าวคาถาว่า เออก็การอยู่ร่วมกันกับท่านนี้ พึงมีสุขเป็นกาไรหนอ และขอท่านอนุญาตแก่ข้าพเจ้าทั้งสองเถิด และขอท่านพึงให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด. นายพรานถูกตรึงด้วยถ้อยคาอันอ่อนหวานของสุมุขหงส์นั้น จึงกล่าวคาถาว่า เรามิได้ผูกท่านไว้ และไม่ปรารถนาจะฆ่าท่าน เชิญท่านรีบไปจากที่นี้ ตามความปรารถนา แล้วจงอยู่เป็นสุขตลอดกาลนานเถิด. ลาดับนั้น สุมุขหงส์จึงกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ โดยเว้นจากชีวิตของพญาหงส์นี้ ถ้าท่านยินดีเพียงตัวเดียว ขอให้ท่านปล่อยพญาหงส์นี้ และจงกินข้าพเจ้า ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นผู้เสมอกัน ด้วยรูปทรงสัณฐานและวัย ท่านไม่เสื่อมแล้วจากลาภ ขอท่านจงเปลี่ยนข้าพเจ้ากับพญาหงส์นี้เถิด เชิญท่านพิจารณาดูในข้าพเจ้าทั้งสอง เมื่อท่านมีความปรารถนาเฉพาะตัวเดียว จงเอาบ่วงผูกข้าพเจ้าไว้ก่อน จงปล่อยพญาหงส์ในภายหลัง ถ้าท่านทาตามที่ข้าพเจ้าขอร้อง ลาภของท่านก็คงมีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน ทั้งท่านจะได้เป็นมิตรกับฝูงหงส์ธตรฐ จนตลอดชีวิตด้วย. นายพรานก็มีใจอ่อนลงอีก เพราะการแสดงธรรมนั้น ประดุจปุยนุ่นที่เขาใส่ลงในน้ามัน ฉะนั้น เมื่อจะยกพระมหาสัตว์ให้เป็นรางวัลแก่สุมุขหงส์นั้น จึงกล่าวเป็นคาถาว่า มิตร อามาตย์ ทาส ทาสี บุตร ภรรยา และพวกพ้องหมู่ใหญ่ทั้งหลาย จงดูพญาหงส์ธตรฐพ้นจากที่นี้ไปได้เพราะท่าน บรรดามิตรทั้งหลายเป็นอันมาก มิตรเช่นท่านนั้นหามีในโลกนี้ เหมือนท่านผู้เป็นเพื่อนร่วมชีวิต
  • 19. 19 ของพญาหงส์ธตรฐไม่ เรายอมปล่อยสหายของท่าน พญาหงส์จงบินตามท่านไปเถิด ท่านทั้งสองจงรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา จงรุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติเถิด. นายพราน จึงเดินเข้าไปใกล้พระมหาสัตว์ ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา ตัดบ่วงออกแล้วสวมกอดอุ้มออกจากสระ ให้จับอยู่ที่พื้นหญ้าแพรกอ่อนใกล้ขอบสระ ค่อยๆ แก้บ่วงที่รัดเท้าออก ด้วยจิตอันอ่อนโยน ขว้างทิ้งเสียในที่ไกล เกิดมีความรักใคร่ในพระมหาสัตว์อย่างเหลือกาลัง จึงไปตักน้ามาล้างเลือดให้แล้ว ลูบคลาอยู่บ่อยๆ ด้วยเมตตาจิต. ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาจิตของบุตรนายพรานนั้น เอ็นกับเอ็น เนื้อกับเนื้อ หนังกับหนังที่เท้าของพระโพธิสัตว์ ก็ติดสนิทหายเป็นปกติดีอย่างเดิม ในขณะนั้นทีเดียว ข้อเท้าของพระมหาสัตว์ก็งอกขึ้นเต็ม มีผิวงดงามผ่องใส มีขนงอกงาม เกิดขึ้นเหมือนอย่างเดิม เหมือนกับเท้าไม่เคยถูกบ่วงรัดมาแต่ก่อนเลย. พระโพธิสัตว์ได้รับความสุขอยู่โดยความเป็นปกติทีเดียว ลาดับนั้น สุมุขหงส์ได้ทราบว่า พระมหาสัตว์มีความสุขสบาย เพราะอาศัยตน ก็เกิดความโสมนัสยินดี ได้กระทาการชมเชยนายพรานแล้ว. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า สุมุขหงส์มีความเคารพนาย มีความปลื้มใจ เพราะพญาหงส์เป็นนายหลุดพ้นจากบ่วง เมื่อจะกล่าววาจาอันรื่นหูได้กล่าวว่า ดูก่อนนายพราน ขอให้ท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติทั้งปวงจงเบิกบานใจ เหมือนข้าพเจ้าเบิกบานใจในวันนี้ เพราะได้เห็นพญาหงส์พ้นจากบ่วง ฉะนั้น. เชิญท่านมานี่เถิด เราจักบอกท่านถึง วิธีที่ท่านจักได้ทรัพย์ เป็นลาภของท่าน พญาหงส์ธตรฐนี้ย่อมไม่มุ่งร้ายอะไรๆ ท่านจงรีบไปภายในบุรี จงแสดงข้าพเจ้าทั้งสองซึ่งไม่ติดบ่วง เป็ นอยู่ตามปกติ จับอยู่ที่กระเช้าทั้งสองข้าง แก่พระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หงส์ธตรฐทั้งสองนี้เป็ นอธิบดีแห่งหงส์ทั้งหลาย เพราะว่า หงส์ตัวนี้เป็ นราชาของหงส์ทั้งหลาย ส่วนหงส์ตัวนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี พระราชาจอมประชาชน ทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์นี้แล้ว ก็จะทรงปลาบปลื้มพระหฤทัย จักพระราชทานทรัพย์เป็นอันมาก แก่ท่านโดยไม่ต้องสงสัย. เมื่อสุมุขหงส์กล่าวอย่างนี้แล้ว นายพรานจึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ท่านทั้งสองอย่าได้ชอบใจการเข้าไปเฝ้ าพระราชาเลย ธรรมดาว่า พระราชาทั้งหลายมีพระทัยกลับกลอก พึงกระทาท่านไว้ในหังสกีฬา