SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 13
หัวข้อเรื่อง ระบบเครือข่ายทุนทางสังคมและการวางแผนชุมชน
รายละเอียด แนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคมจาก
กรณีศึกษาโครงการพัฒนาข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคมพอเพียง และแนวคิดการ
สนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาในการจัดทําแผนชุมชน
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนําผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาศึกษา
2. การนําเสนอกรณีศึกษาจากงานวิจัย
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการสัมมนา
4. การสรุปรวบยอดร่วมกัน การจัดทําแผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากเหตุการณ์
จําลองในลักษณะ Workshop
สื่อการสอน
1. เอกสารงานวิจัย
2. Media Power Point White broad
3. กิจกรรมจําลองเพื่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น
1.2 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสัมมนา การทํากิจกรรม Workshop
1.3 ความเข้าใจในภาพรวมของเนื้อหาวิชาและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop)
2.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด
140
3. สัดส่วนของการประเมิน (10 คะแนน)
3.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop ร้อยละ50)
3.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด (ร้อยละ 50)
เนื้อหาที่สอน ระบบเครือข่ายทุนทางสังคมและการวางแผนชุมชน
13.1 โครงการพัฒนาข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม
แนวคิดในการพัฒนาข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม เป็นประเด็นที่สําคัญต่อ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนจาก
กระบวนการวางแผนชุมชน ซึ่งชุมชนต้องอาศัยข้อมูลด้านต่าง ๆ จากประเด็นการพัฒนาที่สําคัญ
ดังกล่าว
งานศึกษาในรูปแบบรายงานการวิจัยของ ดวงพร รังรองรจิตภูมิ (2555)
1
เรื่อง โครงการ
พัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนสําหรับเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาท
เพื่อสวัสดิการชุมชน สร้างทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน จังหวัดลําปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทําระบบ
ฐานข้อมูลสําหรับเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชน สร้างทุนทางสังคม ซึ่ง
ครอบคลุมพื้นที่ 8 ตําบลในจังหวัดลําปาง โดยทําการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของแต่ละชุมชนผ่าน
โปรแกรมบริหารงานสวัสดิการชุมชนซึ่งทํางานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถค้นหาข้อมูล
ต่าง ๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทํางานของคณะกรรมการและสามารถ
ตรวจสอบการบริหารงานได้ งานวิจัยนี้ได้ทําการพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์กรการเงินและสวัสดิการ
ชุมชนสําหรับเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชน สร้างทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน
จังหวัดลําปางโดยใช้เทคโนโลยี Web Programming และ Web Database โดยการพัฒนาบนระบบ
Open Source ใช้ภาษาโปรแกรม JSP & Servlet และระบบจัดการฐานข้อมูล Mysql การศึกษาได้
ข้อมูลจริงจากกรณีศึกษา 3 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านดอนไชย ต.ล้อมแรด อ.เถิน จ.ลําปาง ชุมชนบ้าน
เหล่า ต.ล้อมแรด อ.เถิน จ.ลําปาง และชุมชนบ้านแม่พริก ต.แม่พริก อ.แม่พริก จ.ลําปาง
ผลการศึกษาพบว่า เครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทได้ระบบฐานข้อมูลองค์กรการเงินและ
สวัสดิการชุมชนสําหรับเครือข่ายชุมชนที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายได้รับโปรแกรมที่ใช้บริหารงานภายใน
ชุมชนซึ่งทํางานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทําให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างบุคลากรในการดูแล
โปรแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่แต่ละชุมชนบันทึกเป็นข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัยสามารถ
นํามาวิเคราะห์เป็นสารสนเทศในภาพรวมของชุมชนและเครือข่ายได้ นอกจากนี้เครือข่ายยังมีช่องทาง
ในการนําเสนอข้อมูลข่าวสารและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนและบุคคลภายนอกที่
สนใจ
141
อย่างไรก็ตาม งานศึกษาการพัฒนาระบบเครือข่ายทุนทางสังคมข้างต้น เป็นสิ่งที่กระทําได้
ค่อนข้างยากต่อชุมชน เนื่องจากอุปสรรคปัญหาความรู้ด้านเทคโนโลยีของคนในชุมชน และสิ่งสําคัญ
องค์กรชุมชนส่วนใหญ่ มีทุนไม่เพียงพอต่อการลงทุนในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อจัดทําระบบข้อมูลรวมทั้ง
ทุนในการจัดจ้างผู้ดูและจัดทําระบบดังกล่าว
งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบข้อมูลโดยใช้ทุนทางสังคมของ ศิวพร อึ้งวัฒนาและ
คณะ (2013)
2
เรื่อง การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน: กรณีศึกษาตําบลหนองหาร
อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพที่ครอบคลุมการใช้ทุน
ทางสังคม และไม่เน้นการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ แต่เน้นระบบการสื่อสารและการ
ให้ข่าวสารข้อมูลโดยใช้สิ่งที่ชุมชนมีอยู่ซึ่ง ได้แก่ ทุนทางสังคมมาเป็นกลไกในการพัฒนาระบบข้อมูล
เพื่อกระจายข่าวและเพื่อทําให้เกิดประสิทธิภาพในระบบสุขภาพของชุมชน
งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลและระบบเครือข่ายโดยใช้ทุนทาง
สังคมมาเป็นกลไกอีกงานหนึ่งคือ งาน ของศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (2558)
3
ศึกษาองค์กรชุมชน
โดยเฉพาะองค์กรชุมชนกลุ่มอาสาสมัครสาธารณะสุขประจําหมู่บ้าน พบว่า กลไกทุนทางสังคมเป็นกล
ที่สําคัญต่อระบบข่าวสารข้อมูลภายในชุมชนนอกเหนือจากระบบฐานข้อมูลที่จัดทําขึ้นโดยอาศัยข้อมูล
ที่ได้จากชุมชน ทําให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลระบบสุขภาพ การเฝ้าระวังและการติดตามการส่ง
ต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการพัฒนาข้อมูล ข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคมของมูลนิธิพัฒนาไท นําเสนอ
เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาและเชื่อมโยงข้อมูลทุนทางสังคมทั่วประเทศอย่างเป็นระบบภายใต้กระบวนการ
มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมุ่งพัฒนาให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไทเป็นแม่ข่ายเชื่อมโยงวิทยากรกระบวนการและแกน
นําประชาสังคมทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและความมั่นใจจากการเรียนรู้เทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร ร่วมกระบวนการพัฒนาข้อมูลข่าวสารทุนทางสังคม
ร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลทุนทางสังคม
การพัฒนาข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม จึงพิจารณาจากลักษณะทุนทาง
สังคมได้แก่
4
1. เครือข่ายในหมู่เครือญาติและเพื่อนสนิท (Bonding Networks) เป็นความสัมพันธ์กับ
บุคคลที่มีความใกล้ชิดและคล้ายคลึงกัน (homogeneous groups) ที่ให้การสนับสนุนทางด้าน
กายภาพและอารมณ์แก่เจ้าของทุนในยามจําเป็น ช่วยให้บุคคลสามารถด้านเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
142
2. เครือข่ายในองค์กรอย่างเป็นทางการ (Bridging Networks) หมายถึงการเป็นสมาชิก เป็น
กรรมการ หรือคณะทํางานในองค์กรต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายในทางวิชาชีพ หรือเครือข่าย
ทางธุรกิจเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อหน้าที่การงาน หรือการตัดสินใจทางธุรกิจ
3. เครือข่ายข้ามกลุ่มฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ (Linking Networks) เป็นเครือข่ายที่เกิด
จากการรวมกลุ่มของคนในสังคมที่มีความแตกต่างกันในอํานาจหน้าที่ ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ
เพื่อเข้าถึงข่าวสารข้อมูล และทรัพยากรทางเศรษฐกิจ โดยที่ธนาคารโลก (2000) พิจารณาว่า เครือ
ข่ายข้ามกลุ่มฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ ระหว่างชุมชนกับองค์กรภายนอก เป็นเครือข่ายทางสังคม
ที่จะช่วยแก้ปัญหาความยากจน และความขัดแย้งทางสังคมได้ เพราะเครือข่ายประเภทนี้จะช่วยให้
ชุมชนได้รับข้อมูลและแนวความคิดใหม่ๆ ตลอดจนการเข้าถึงทรัพยากรที่จ้าเป็นต่อการแก้ปัญหาของ
ชุมชน
ดังนั้น การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม จึงเป็นการพัฒนาต่อ
สิ่งที่มีอยู่ภายในชุมชนหรือธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน โดยการสนับสนุนระบบข้อมูลซึ่งต้องลงทุนและใช้
เทคโนโลยีที่สูงขึ้นจากหน่วยงานภาครัฐหรือภาคีต่างๆ
13.2 การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาในการจัดทําแผนชุมชน
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดทําแผนชุมชนคือ
5
การให้ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน จัดทําแผน
ชุมชนเพื่อพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนของตนเองมีแนวคิดหลักการและความเชื่อในหลายประการ เช่น
1. แนวคิดจากปรัชญาพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นสากลซึ่งกล่าวว่าประชาชนในชุมชนมีศักยภาพ
สามารถพัฒนาตนเองได้ถ้าให้โอกาส และการพัฒนาต้องเริ่มต้นที่ประชาชนภายในชุมชน
2. แนวคิดจากหลักการพัฒนาชุมชน คือ การมีส่วนร่วม การพึ่งตนเอง การช่วยเหลือซึ่งกัน
และกัน รวมถึงการรับผิดชอบต่อชุมชนและตนเอง
3. แนวคิดในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง คือการให้ชุมชนได้มีกระบวนการในการจัดการ
ชุมชนมีการเรียนรู้ร่วมกันในกระบวนการชุมชน
4. แนวคิดในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง คือการสร้างพลังชุมชน ใช้พลังชุมชน ในการ
พัฒนาชุมชน
5. แนวคิดที่ว่าไม่มีใครรู้ปัญหาชุมชนเท่าคนในชุมชน ดังนั้น การแก้ปัญหาชุมชนจึงเริ่มจาก
ชุมชน การให้การสนับสนุนของภาครัฐจะต้องเป็นลักษณะจากข้างล่างสู่เบื้องบน (Bottom – up)
ไม่ใช่จากข้างบนสู่เบื้องล่าง (Top Down)
143
13.3 ความหมายและกระบวนการจัดทําแผนชุมชน
ความหมายของแผนชุมชนในภาพรวม หมายถึง แผน ที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทํา
ตั้งแต่ต้น เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนของตนเอง และทุกคนในชุมชนร่วมรับประโยชน์ที่เกิดขึ้น โดยวัตถุ
ประสงค์หลัก ๆ ของการจัดทําแผนชุมชน คือ
6
1. เพื่อให้ชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของชุมชน กําหนดอนาคตของชุมชนตนเอง
2. เพื่อให้เกิดกระบวนการในการจัดการชุมชน มีการเรียนรู้ร่วมกันเพิ่มคุณค่าทางสังคม และ
ทุนทางเศรษฐกิจ เพื่อนําไปสู่การวางแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาและชุมชน
3. เพื่อให้ชุมชนได้มีเป้าหมาย แนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาให้คนในชุมชนอยู่ดีมีสุขในทุก
ครัวเรือน
4. เพื่อให้ชุมชนได้มีแผนรองรับการสนับสนุนจากภายนอกได้อย่างครอบคลุมสมบูรณ์ ในการ
ส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชนที่ผ่านมา กรมการพัฒนาชุมชน ได้กําหนดขั้นตอนการจัดทําแผน
ชุมชนไว้ ๕ ขั้นตอน ดังนี้
7
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อมชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้นําชุมชน ผู้แทนคุ้มบ้าน
องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) องค์กรชุมชน/ผู้แทนกลุ่ม ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้
1. ทีมงานระดับชุมชนมีความพร้อมและมีแนวทางในการจัดกระบวนการแผนชุมชน
2. ผู้นําชุมชนตระหนักถึงความสําคัญและสามารถระบุความจําเป็นในการจัดกระบวนการ
แผนชุมชน
3. ผู้นําชุมชนกําหนดแผนปฏิบัติการและยอมรับพร้อมมีส่วนร่วมในกระบวนการแผนชุมชน
ประเด็นการเรียนรู้
4. เป้าหมายของการทํางานเพื่อชุมชนและความสําคัญของประชาชนทุกคนในการทํางาน
เพื่อชุมชน
5. เข้าใจในสถานการณ์ของชุมชน
6. สถานการณ์การทํางานจากภาครัฐ ได้แก่ การกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่น แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10และ 11
7. ทําให้เกิดแนวคิดในการจัดกระบวนการแผนชุมชน
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้ตนเองและชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้นําชุมชน
ผู้แทนคุ้มบ้าน องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) ตัวแทนครัวเรือน องค์กรชุมชน ผู้แทนกลุ่ม ทั้งนี้มี
วัตถุประสงค์เพื่อให้
144
1. ชุมชนได้เรียนรู้ข้อมูลตนเองด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล แยกแยะทุนทางสังคมและสภาพ
ปัญหา
2. ชุมชนได้วิเคราะห์สาเหตุปัญหาและจัดลําดับความต้องการของชุมชน
3. ชุมชนแยกแยะศักยภาพที่มีอยู่และสภาพปัญหาที่เป็นแนวโน้มกําลังเกิดขึ้นกับชุมชน
ขั้นตอนที่ 3 การกําหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย ผู้แทนคุ้มบ้าน
องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) ผู้แทนกลุ่ม ตัวแทนครัวเรือน องค์กรชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้ชุมชนกําหนดเป้าหมายร่วมกัน เพื่อการพัฒนาให้เป็นชุมชนที่ชุมชนเองต้องการในอนาคต
พร้อมทั้งกําหนดทิศทางและแนวทางการพัฒนาตามศักยภาพของชุมชน
ขั้นตอนที่ 4 การกําหนดแผนงานโครงการพัฒนาชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ผู้นําชุมชน ผู้แทน
คุ้มบ้าน องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) องค์กรชุมชน ประชาชนในชุมชน ผู้แทนกลุ่ม โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีแนวทางในการพัฒนาชุมชนสู่การเป็นชุมชนที่ปรารถนา
ขั้นตอนที่ 5 การปฏิบัติตามแผนชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คณะกรรมการบริหารชุมชน องค์การ
บริหารส่วนตําบล (อบต.) หน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการ
ปฏิบัติตามแผนชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
การจัดทําแผนชุมชน 5 ขั้นตอน ดังกล่าวข้างเป็นแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนได้ศึกษา
จากกรณีศึกษาเพื่อให้เกิดความสอดคล้องต่อสภาพภูมิรัฐศาสตร์ของแต่ละพื้นที่และแต่ละชุมชน ซึ่ง
ข้อสรุปจากแนวคิดทําให้ได้แนวทางในการวางแผนชุมชน โดยมีข้อสรุปดังนี้
ปัจจุบัน เราอยู่จุดไหน..............วิเคราะห์ SWOT
เราต้องการไปสู่จุดไหน.............กําหนดวิสัยทัศน์ ตําแหน่ง ทิศทาง
เราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร........แนวทางแก้ไข แผนยุทธศาสตร์
เราจะต้องทําอะไรเพื่อไปถึงจุดนั้น…แปลงแผนยุทธศาสตร์สู่กิจกรรม /โครงการ
ลงมือทํา ยื่นขอรับการสนับสนุนต่อหน่วยงาน และติดตามประเมินผล
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมให้แผนชุมชนมีการประเมินคุณภาพ ตั้งแต่ปี 2548 และได้
จัดทําระบบฐานข้อมูลการประเมินคุณภาพแผนชุมชน โดยให้จังหวัดเป็นผู้บันทึกข้อมูลผลการ
ประเมินคุณภาพ เมื่อพื้นที่มีการปรับปรุงแผน ผ่านทางระบบเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกลางซึ่งเป็นระบบ
ออนไลน์ ทั้งนี้ ได้กําหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์จํานวน 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
8
1. ใช้ข้อมูลพื้นฐาน จปฐ.(ความจําเป็นพื้นฐาน) กชช. 2 ค (ข้อมูลทั่วไประดับหมู่บ้าน) และ
หรือข้อมูล บัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน ร่วมในการวิเคราะห์และจัดทําแผนชุมชนร้อยละ 70 ขึ้นไป
145
2. ตัวแทนครัวเรือนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนมากกว่าร้อยละ 70 ของครัวเรือน
ทั้งหมด
3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการจัดทําแผนชุมชนตั้งแต่ต้น
4. มีแผนชุมชน ฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
5. มีกระบวนการชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีแผนงาน/โครงการอยู่ดี
มีสุขซึ่งสอดคล้องต่อยุทธศาสตร์การพัฒนา
6. มีกิจกรรมพึ่งตนเองอย่างน้อยร้อยละ 30 (ทําด้วยตนเอง) ของกิจกรรมในแผนชุมชนและ
มีการนําไปปฏิบัติได้จริงร้อยละ 30 ของกิจกรรมพึ่งตนเอง โดยได้กําหนดคุณภาพแผนเป็นคู่มือ
ประเมินผลไว้ดังนี้
คุณภาพแผนระดับดีมาก A ผ่านตัวชี้วัด 6 ใน 6
คุณภาพแผนระดับดี B ผ่านตัวชี้วัด 5 ใน 6
คุณภาพแผนระดับพอใช้ C ผ่านตัวชี้วัด 4 ใน 6
แนวคิดดังกล่าว เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชนของกรมการพัฒนา
ชุมชน(2553)
10
ภายใต้กรอบแนวคิดที่ว่า ชุมชนเป็นเจ้าของชุมชน ชุมชนจึงทราบปัญหาที่มีอยู่ ดังนั้น
กระบวนการแผนชุมชนจึงมีขั้นตอน ในการให้ชุมชนเรียนรู้ข้อมูลตนเอง กําหนดเป้าหมายและกําหนด
แผนของตนเอง นอกจากนั้น การให้ความสําคัญต่อองค์กรภาคีเพื่อความร่วมมือในกระบวนการจัดทํา
แผนชุมชน
การศึกษาการจัดทําแผนชุมชนของ จักรพันธ์ พรนิมิต (ม.ป.ป.)
11
เรื่อง การจัดทําและ
เชื่อมโยงแผนชุมชนในประเทศไทยและกรณีศึกษาจากต่างประเทศ มีแนวทางที่สอดคล้องต่อกรอบ
การจัดทําแผนชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน ต่อแนวคิดในการจัดทําแผนชุมชน งานศึกษาเห็นว่า
การจัดทําแผนชุมชนต้องสอดคล้องกับแผนในแต่ละระดับ ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในระดับต่างๆ
แตกต่างกัน การเชื่อมโยงแผนดังกล่าวจึงต้องกระทําให้เกิดความเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึง
ระดับชาติ
องค์ประกอบในการจัดทําแผนชุมชนอีกประการหนึ่ง คือการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งมี
ปัจจัยของการมีส่วนร่วม ได้แก่ ปัจจัยเชิงสถาบัน คือ วัฒนธรรมท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวข้องกับนักการเมืองและการเมืองท้องถิ่น การประสานกับผู้นําชุมชน ปัจจัยการทํา
หน้าที่คือ กิจกรรมต่างๆ เช่น กระบวนการทํางาน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตาม
บริบทของพื้นที่และการบริการสาธารณะ ปัจจัยด้านด้านความเข้มแข็งของชุมชนคือ ความมีสํานึก
ความตระหนักการมส่วนร่วมตามแนวระนาบการการปราศจากการครอบงํา
146
นอกจากนั้น องค์ประกอบที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือ การตรวจสอบการทํางานขององค์กร
ท้องถิ่นและการตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เช่น การคลังท้องถิ่น เป็นต้น
กลไกที่สําคัญต่อการจัดทําแผนชุมชนอีกประการหนึ่งคือ องค์กรภาคีทั้งภาครัฐและ
ภาคเอกชน องค์กรดังกล่าว จะทําให้เกิดการส่งเสริมสนับสนุนต่อการจัดทําแผนชุมชนให้มีประสิทธิผล
มากขึ้น
งานศึกษานี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยในการส่งเสริมการเชื่อมโยงแผนชุมชนซึ่ง ได้แก่ กรอบ
กฎหมาย ศักยภาพชุมชน ท้องถิ่นและภาคีการพัฒนา ส่วนปัจจัยอุปสรรคสําคัญ ได้แก่ ศักยภาพ
ชุมชนและท้องถิ่น ความเชื่อมโยงแผนท้องถิ่นและการรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง ดังนั้น การเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งของชุมชนจึงควรต้องให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาด้วยตนเองและมี
ส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อการขับเคลื่อนแผนชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
13.4 สรุป
การพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลและระบบเครือข่ายทางสังคม ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุก
ฝ่าย ซึ่งการพัฒนาระบบดังกล่าว สามารถนําไปสู่การสนับสนุนการวางแผนชุมชนที่มีประสิทธิภาพ
เนื่องจากทั้งการพัฒนาระบบข่าวสารและเครือข่ายทุนทางสังคม เป็นการพัฒนาข้อมูลและสิ่งที่มีอยู่ใน
ชุมชน ตลอดจนการพัฒนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา รวมถึงความสามารถ
นําสิ่งดังกล่าว มาเป็นทรัพยากรในการวางแผนชุมชนโดยการมีการส่วนร่วมของประชาชนภายใน
ชุมชนเอง ซึ่งจะทําให้ชุมชน สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน และสามารถกําหนดเป้าหมาย
ของการพัฒนาชุมชนของตนได้อย่างถูกต้อง
แบบฝึกหัด
1. ให้นักศึกษาอธิบายแนวคิดการพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลและระบบเครือข่ายทุนทาง
สังคม
2. ให้นักศึกษาอธิบายการพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลและระบบเครือข่ายทุนทางสังคมโดย
พิจารณาจากลักษณะของทุนทางสังคม
3. ให้นักศึกษาค้นหาความหมายและแนวคิดของการวางแผนชุมชน
4. นักศึกษาอธิบายถึงวัตถุประสงค์หลักของการวางแผนชุมชน
5. การพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลและระบบเครือข่ายทุนทางสังคมเอื้อต่อการวางแผนชุมชน
อย่างไร
147
6. นักศึกษาศึกษากรณีศึกษาเพื่อค้นหากิจกรรมการพึ่งพาตนเองแล้วทําความเข้าใจและ
อภิปรายแลกเปลี่ยนแนวคิดดังกล่าว
7. ให้นักศึกษา เขียนกรอบแนวคิดในการวางแผนชุมชนเพื่อการเชื่อมโยงสอดคล้องกับแผน
ในระดับประเทศ
8. จงกล่าวถึงบทบาทที่สําคัญขององค์กรภาคีในกระบวนการวางแผนชุมชน
9. ในกระบวนการวางแผนชุมชน ต้องมีขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อจัดทําข้อมูลมาเพื่อประโยชน์ใน
การวางแผน ให้นักศึกษาอธิบาย พร้อมทั้งอภิปรายข้อสรุปของขั้นตอนในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
ชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
10. จงกล่าวถึงความสอดคล้องของโครงการอยู่ดีมีสุขกับยุทธศาสตร์การพัฒนา
เชิงอรรถ
1
อ่านรายละเอียดใน ดวงพร รังรองรจิตภูมิ. (2555). โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์กรการเงิน
และสวัสดิการชุมชนสําหรับเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาท เพื่อสวัสดิการชุมชน สร้างทุนทาง
สังคมอย่างยั่งยืน จังหวัดลําปาง. องค์กรการเงินชุมชน. ลําปาง มหาวิทยาลัยพายัพ.
2
อ่านรายละเอียดในศิวพร อึ้งวัฒนาและคณะ. (2556). การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยชุมชนเพื่อ
ชุมชน: กรณีศึกษาตําบลหนองหาร อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 40(1), 140-
146.
3
อ่านรายละเอียดใน ศุภวัฒน์, ปภัสสรากาญจน์. (2557). โครงร่างงานวิจัยเรื่อง ความเข้มแข็งของ
องค์กรชุมชน : กรณีศึกษาความสามารถในการดําเนินงานขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
4
มูลนิธิพัฒนาไท. (ม.ป.ป.). โครงการพัฒนาข้อมูล ข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม. พลัฃ
แผ่นดินข้อมูลTOR(IT).doc, 1 เมษายน 2556 http://www.pattanathai. nesdb.go. th /
PTFweb/Interesting_menu/PalangPanDin/menu35.htm
5
อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล. (ม.ป.ป.). รัฐกับการพัฒนาทุนทางสังคม. คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
6
อ่านรายละเอียดใน กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ
กรมพัฒนาชุมชน.
7
อ่านรายละเอียดใน กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ:
กรมพัฒนาชุมชน.
148
8
อ่านรายละเอียดใน กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ:
กรมพัฒนาชุมชน.
9
อ่านรายละเอียดใน กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ:
กรมพัฒนาชุมชน
10
อ่านรายละเอียดใน กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ:
กรมพัฒนาชุมชน.
11
อ่านรายละเอียดใน จักรพันธ์ พรนิมิตร. (ม.ป.ป). การจัดทําและเชื่อมโยงแผนชุมชนในประเทศไทย
และกรณีศึกษาจากต่างประเทศ (คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลําปาง, Trans.). ลําปาง:
World Bank Research Fund.
149
เอกสารอ้างอิง
กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน.
ดวงพร รังรองรจิตภูมิ. (2555). โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์กรการเงิน
และสวัสดิการชุมชนสําหรับเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาท เพื่อสวัสดิการชุมชน สร้างทุน
ทางสังคมอย่างยั่งยืน จังหวัดลําปาง. องค์กรการเงินชุมชน. ลําปาง มหาวิทยาลัยพายัพ.
จักรพันธ์ พรนิมิตร. (ม.ป.ป). การจัดทําและเชื่อมโยงแผนชุมชนในประเทศไทย และกรณีศึกษาจาก
ต่างประเทศ. (คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลําปาง, Trans.). ลําปาง: World Bank
Research Fund.
มูลนิธิพัฒนาไท. (ม.ป.ป.). โครงการพัฒนาข้อมูล ข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม. พลัง
แผ่นดินข้อมูลTOR(IT).doc, 1 เมษายน 2556, http://www.pattanathai. nesdb.go.
th / PTFweb/Interesting_menu/PalangPanDin/menu35.htm
ศิวพร อึ้งวัฒนาและคณะ. (2556). การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน: กรณีศึกษา
ตําบลหนองหาร อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 40(1), 140 - 146.
ศุภวัฒน์, ปภัสสรากาญจน์. (2557). โครงร่างงานวิจัย. ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน : กรณีศึกษา
ความสามารถในการดําเนินงานขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล. (ม.ป.ป.). รัฐกับการพัฒนาทุนทางสังคม. คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

More Related Content

Viewers also liked

Viewers also liked (10)

Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
 
Microsoft word สัปดาห์ที่14
Microsoft word   สัปดาห์ที่14Microsoft word   สัปดาห์ที่14
Microsoft word สัปดาห์ที่14
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
 
Microsoft word สัปดาห์ที่10
Microsoft word   สัปดาห์ที่10Microsoft word   สัปดาห์ที่10
Microsoft word สัปดาห์ที่10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
 
Microsoft word บรรณานุกรม
Microsoft word   บรรณานุกรมMicrosoft word   บรรณานุกรม
Microsoft word บรรณานุกรม
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่13

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องSupaporn Pakdeemee
 
บทที่ 7 นวัตกรรมทางการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมทางการศึกษาบทที่ 7 นวัตกรรมทางการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมทางการศึกษาpohn
 
บทท 7 นว_ตกรรมทางการศ_กษา
บทท  7 นว_ตกรรมทางการศ_กษาบทท  7 นว_ตกรรมทางการศ_กษา
บทท 7 นว_ตกรรมทางการศ_กษาsinarack
 
บทที่7 นวัตกรรมทางการศึกษา
บทที่7 นวัตกรรมทางการศึกษาบทที่7 นวัตกรรมทางการศึกษา
บทที่7 นวัตกรรมทางการศึกษาAomJi Math-ed
 
บทท 7 นว_ตกรรมทางการศ_กษา
บทท  7 นว_ตกรรมทางการศ_กษาบทท  7 นว_ตกรรมทางการศ_กษา
บทท 7 นว_ตกรรมทางการศ_กษาN'Fern White-Choc
 
สัปดาห์ที่ 1 การเรียนทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 1 การเรียนทฤษฎีสังคมวิทยาสัปดาห์ที่ 1 การเรียนทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 1 การเรียนทฤษฎีสังคมวิทยาSani Satjachaliao
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องRung Sensabe
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องRung Sensabe
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องRung Sensabe
 
ICt For School & Reading Promotion
ICt For School & Reading PromotionICt For School & Reading Promotion
ICt For School & Reading Promotiondecnun
 
ใบงานที่ 2-4
ใบงานที่ 2-4ใบงานที่ 2-4
ใบงานที่ 2-4IRainy Cx'cx
 
ใบงานที่ 2 - 8
ใบงานที่ 2 - 8ใบงานที่ 2 - 8
ใบงานที่ 2 - 8PluemSupichaya
 
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learnerKruBeeKa
 
สังคมออนไลน์(Social network)2
สังคมออนไลน์(Social network)2สังคมออนไลน์(Social network)2
สังคมออนไลน์(Social network)2Pear Sompinit
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่13 (20)

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่ 7 นวัตกรรมทางการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมทางการศึกษาบทที่ 7 นวัตกรรมทางการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมทางการศึกษา
 
บทท 7 นว_ตกรรมทางการศ_กษา
บทท  7 นว_ตกรรมทางการศ_กษาบทท  7 นว_ตกรรมทางการศ_กษา
บทท 7 นว_ตกรรมทางการศ_กษา
 
บทที่7 นวัตกรรมทางการศึกษา
บทที่7 นวัตกรรมทางการศึกษาบทที่7 นวัตกรรมทางการศึกษา
บทที่7 นวัตกรรมทางการศึกษา
 
บทท 7 นว_ตกรรมทางการศ_กษา
บทท  7 นว_ตกรรมทางการศ_กษาบทท  7 นว_ตกรรมทางการศ_กษา
บทท 7 นว_ตกรรมทางการศ_กษา
 
สัปดาห์ที่ 1 การเรียนทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 1 การเรียนทฤษฎีสังคมวิทยาสัปดาห์ที่ 1 การเรียนทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 1 การเรียนทฤษฎีสังคมวิทยา
 
งานคอม (1)
งานคอม (1)งานคอม (1)
งานคอม (1)
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
Social network
Social networkSocial network
Social network
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
ICt For School & Reading Promotion
ICt For School & Reading PromotionICt For School & Reading Promotion
ICt For School & Reading Promotion
 
Test 1
Test 1Test 1
Test 1
 
ใบงานที่ 2-4
ใบงานที่ 2-4ใบงานที่ 2-4
ใบงานที่ 2-4
 
ใบงานที่ 2 - 8
ใบงานที่ 2 - 8ใบงานที่ 2 - 8
ใบงานที่ 2 - 8
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner
11 chapter31-network, web 2.0, and the connected learner
 
สังคมออนไลน์(Social network)2
สังคมออนไลน์(Social network)2สังคมออนไลน์(Social network)2
สังคมออนไลน์(Social network)2
 
[mmuj5
[mmuj5[mmuj5
[mmuj5
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สารบัญ
Microsoft word   สารบัญMicrosoft word   สารบัญ
Microsoft word สารบัญ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่1
Microsoft word   สัปดาห์ที่1Microsoft word   สัปดาห์ที่1
Microsoft word สัปดาห์ที่1
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
 
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word   ปกเอกสารประกอบการสอนMicrosoft word   ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
 
Microsoft word ภาคผนวก
Microsoft word   ภาคผนวกMicrosoft word   ภาคผนวก
Microsoft word ภาคผนวก
 
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอนMicrosoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
 
Microsoft word คำนำ
Microsoft word   คำนำMicrosoft word   คำนำ
Microsoft word คำนำ
 

Microsoft word สัปดาห์ที่13

  • 1. แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 13 หัวข้อเรื่อง ระบบเครือข่ายทุนทางสังคมและการวางแผนชุมชน รายละเอียด แนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคมจาก กรณีศึกษาโครงการพัฒนาข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคมพอเพียง และแนวคิดการ สนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาในการจัดทําแผนชุมชน จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนําผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาศึกษา 2. การนําเสนอกรณีศึกษาจากงานวิจัย 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการสัมมนา 4. การสรุปรวบยอดร่วมกัน การจัดทําแผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากเหตุการณ์ จําลองในลักษณะ Workshop สื่อการสอน 1. เอกสารงานวิจัย 2. Media Power Point White broad 3. กิจกรรมจําลองเพื่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น 1.2 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสัมมนา การทํากิจกรรม Workshop 1.3 ความเข้าใจในภาพรวมของเนื้อหาวิชาและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop) 2.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด
  • 2. 140 3. สัดส่วนของการประเมิน (10 คะแนน) 3.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop ร้อยละ50) 3.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด (ร้อยละ 50) เนื้อหาที่สอน ระบบเครือข่ายทุนทางสังคมและการวางแผนชุมชน 13.1 โครงการพัฒนาข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม แนวคิดในการพัฒนาข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม เป็นประเด็นที่สําคัญต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนจาก กระบวนการวางแผนชุมชน ซึ่งชุมชนต้องอาศัยข้อมูลด้านต่าง ๆ จากประเด็นการพัฒนาที่สําคัญ ดังกล่าว งานศึกษาในรูปแบบรายงานการวิจัยของ ดวงพร รังรองรจิตภูมิ (2555) 1 เรื่อง โครงการ พัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนสําหรับเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาท เพื่อสวัสดิการชุมชน สร้างทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน จังหวัดลําปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทําระบบ ฐานข้อมูลสําหรับเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชน สร้างทุนทางสังคม ซึ่ง ครอบคลุมพื้นที่ 8 ตําบลในจังหวัดลําปาง โดยทําการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของแต่ละชุมชนผ่าน โปรแกรมบริหารงานสวัสดิการชุมชนซึ่งทํางานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถค้นหาข้อมูล ต่าง ๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทํางานของคณะกรรมการและสามารถ ตรวจสอบการบริหารงานได้ งานวิจัยนี้ได้ทําการพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์กรการเงินและสวัสดิการ ชุมชนสําหรับเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุมชน สร้างทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน จังหวัดลําปางโดยใช้เทคโนโลยี Web Programming และ Web Database โดยการพัฒนาบนระบบ Open Source ใช้ภาษาโปรแกรม JSP & Servlet และระบบจัดการฐานข้อมูล Mysql การศึกษาได้ ข้อมูลจริงจากกรณีศึกษา 3 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านดอนไชย ต.ล้อมแรด อ.เถิน จ.ลําปาง ชุมชนบ้าน เหล่า ต.ล้อมแรด อ.เถิน จ.ลําปาง และชุมชนบ้านแม่พริก ต.แม่พริก อ.แม่พริก จ.ลําปาง ผลการศึกษาพบว่า เครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทได้ระบบฐานข้อมูลองค์กรการเงินและ สวัสดิการชุมชนสําหรับเครือข่ายชุมชนที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายได้รับโปรแกรมที่ใช้บริหารงานภายใน ชุมชนซึ่งทํางานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทําให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างบุคลากรในการดูแล โปรแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่แต่ละชุมชนบันทึกเป็นข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัยสามารถ นํามาวิเคราะห์เป็นสารสนเทศในภาพรวมของชุมชนและเครือข่ายได้ นอกจากนี้เครือข่ายยังมีช่องทาง ในการนําเสนอข้อมูลข่าวสารและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนและบุคคลภายนอกที่ สนใจ
  • 3. 141 อย่างไรก็ตาม งานศึกษาการพัฒนาระบบเครือข่ายทุนทางสังคมข้างต้น เป็นสิ่งที่กระทําได้ ค่อนข้างยากต่อชุมชน เนื่องจากอุปสรรคปัญหาความรู้ด้านเทคโนโลยีของคนในชุมชน และสิ่งสําคัญ องค์กรชุมชนส่วนใหญ่ มีทุนไม่เพียงพอต่อการลงทุนในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อจัดทําระบบข้อมูลรวมทั้ง ทุนในการจัดจ้างผู้ดูและจัดทําระบบดังกล่าว งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบข้อมูลโดยใช้ทุนทางสังคมของ ศิวพร อึ้งวัฒนาและ คณะ (2013) 2 เรื่อง การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน: กรณีศึกษาตําบลหนองหาร อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพที่ครอบคลุมการใช้ทุน ทางสังคม และไม่เน้นการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ แต่เน้นระบบการสื่อสารและการ ให้ข่าวสารข้อมูลโดยใช้สิ่งที่ชุมชนมีอยู่ซึ่ง ได้แก่ ทุนทางสังคมมาเป็นกลไกในการพัฒนาระบบข้อมูล เพื่อกระจายข่าวและเพื่อทําให้เกิดประสิทธิภาพในระบบสุขภาพของชุมชน งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลและระบบเครือข่ายโดยใช้ทุนทาง สังคมมาเป็นกลไกอีกงานหนึ่งคือ งาน ของศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (2558) 3 ศึกษาองค์กรชุมชน โดยเฉพาะองค์กรชุมชนกลุ่มอาสาสมัครสาธารณะสุขประจําหมู่บ้าน พบว่า กลไกทุนทางสังคมเป็นกล ที่สําคัญต่อระบบข่าวสารข้อมูลภายในชุมชนนอกเหนือจากระบบฐานข้อมูลที่จัดทําขึ้นโดยอาศัยข้อมูล ที่ได้จากชุมชน ทําให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลระบบสุขภาพ การเฝ้าระวังและการติดตามการส่ง ต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการพัฒนาข้อมูล ข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคมของมูลนิธิพัฒนาไท นําเสนอ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาและเชื่อมโยงข้อมูลทุนทางสังคมทั่วประเทศอย่างเป็นระบบภายใต้กระบวนการ มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมุ่งพัฒนาให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไทเป็นแม่ข่ายเชื่อมโยงวิทยากรกระบวนการและแกน นําประชาสังคมทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและความมั่นใจจากการเรียนรู้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร ร่วมกระบวนการพัฒนาข้อมูลข่าวสารทุนทางสังคม ร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลทุนทางสังคม การพัฒนาข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม จึงพิจารณาจากลักษณะทุนทาง สังคมได้แก่ 4 1. เครือข่ายในหมู่เครือญาติและเพื่อนสนิท (Bonding Networks) เป็นความสัมพันธ์กับ บุคคลที่มีความใกล้ชิดและคล้ายคลึงกัน (homogeneous groups) ที่ให้การสนับสนุนทางด้าน กายภาพและอารมณ์แก่เจ้าของทุนในยามจําเป็น ช่วยให้บุคคลสามารถด้านเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
  • 4. 142 2. เครือข่ายในองค์กรอย่างเป็นทางการ (Bridging Networks) หมายถึงการเป็นสมาชิก เป็น กรรมการ หรือคณะทํางานในองค์กรต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายในทางวิชาชีพ หรือเครือข่าย ทางธุรกิจเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อหน้าที่การงาน หรือการตัดสินใจทางธุรกิจ 3. เครือข่ายข้ามกลุ่มฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ (Linking Networks) เป็นเครือข่ายที่เกิด จากการรวมกลุ่มของคนในสังคมที่มีความแตกต่างกันในอํานาจหน้าที่ ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อเข้าถึงข่าวสารข้อมูล และทรัพยากรทางเศรษฐกิจ โดยที่ธนาคารโลก (2000) พิจารณาว่า เครือ ข่ายข้ามกลุ่มฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ ระหว่างชุมชนกับองค์กรภายนอก เป็นเครือข่ายทางสังคม ที่จะช่วยแก้ปัญหาความยากจน และความขัดแย้งทางสังคมได้ เพราะเครือข่ายประเภทนี้จะช่วยให้ ชุมชนได้รับข้อมูลและแนวความคิดใหม่ๆ ตลอดจนการเข้าถึงทรัพยากรที่จ้าเป็นต่อการแก้ปัญหาของ ชุมชน ดังนั้น การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม จึงเป็นการพัฒนาต่อ สิ่งที่มีอยู่ภายในชุมชนหรือธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน โดยการสนับสนุนระบบข้อมูลซึ่งต้องลงทุนและใช้ เทคโนโลยีที่สูงขึ้นจากหน่วยงานภาครัฐหรือภาคีต่างๆ 13.2 การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาในการจัดทําแผนชุมชน แนวคิดเกี่ยวกับการจัดทําแผนชุมชนคือ 5 การให้ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน จัดทําแผน ชุมชนเพื่อพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนของตนเองมีแนวคิดหลักการและความเชื่อในหลายประการ เช่น 1. แนวคิดจากปรัชญาพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นสากลซึ่งกล่าวว่าประชาชนในชุมชนมีศักยภาพ สามารถพัฒนาตนเองได้ถ้าให้โอกาส และการพัฒนาต้องเริ่มต้นที่ประชาชนภายในชุมชน 2. แนวคิดจากหลักการพัฒนาชุมชน คือ การมีส่วนร่วม การพึ่งตนเอง การช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน รวมถึงการรับผิดชอบต่อชุมชนและตนเอง 3. แนวคิดในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง คือการให้ชุมชนได้มีกระบวนการในการจัดการ ชุมชนมีการเรียนรู้ร่วมกันในกระบวนการชุมชน 4. แนวคิดในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง คือการสร้างพลังชุมชน ใช้พลังชุมชน ในการ พัฒนาชุมชน 5. แนวคิดที่ว่าไม่มีใครรู้ปัญหาชุมชนเท่าคนในชุมชน ดังนั้น การแก้ปัญหาชุมชนจึงเริ่มจาก ชุมชน การให้การสนับสนุนของภาครัฐจะต้องเป็นลักษณะจากข้างล่างสู่เบื้องบน (Bottom – up) ไม่ใช่จากข้างบนสู่เบื้องล่าง (Top Down)
  • 5. 143 13.3 ความหมายและกระบวนการจัดทําแผนชุมชน ความหมายของแผนชุมชนในภาพรวม หมายถึง แผน ที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทํา ตั้งแต่ต้น เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนของตนเอง และทุกคนในชุมชนร่วมรับประโยชน์ที่เกิดขึ้น โดยวัตถุ ประสงค์หลัก ๆ ของการจัดทําแผนชุมชน คือ 6 1. เพื่อให้ชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของชุมชน กําหนดอนาคตของชุมชนตนเอง 2. เพื่อให้เกิดกระบวนการในการจัดการชุมชน มีการเรียนรู้ร่วมกันเพิ่มคุณค่าทางสังคม และ ทุนทางเศรษฐกิจ เพื่อนําไปสู่การวางแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาและชุมชน 3. เพื่อให้ชุมชนได้มีเป้าหมาย แนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาให้คนในชุมชนอยู่ดีมีสุขในทุก ครัวเรือน 4. เพื่อให้ชุมชนได้มีแผนรองรับการสนับสนุนจากภายนอกได้อย่างครอบคลุมสมบูรณ์ ในการ ส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชนที่ผ่านมา กรมการพัฒนาชุมชน ได้กําหนดขั้นตอนการจัดทําแผน ชุมชนไว้ ๕ ขั้นตอน ดังนี้ 7 ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อมชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้นําชุมชน ผู้แทนคุ้มบ้าน องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) องค์กรชุมชน/ผู้แทนกลุ่ม ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ 1. ทีมงานระดับชุมชนมีความพร้อมและมีแนวทางในการจัดกระบวนการแผนชุมชน 2. ผู้นําชุมชนตระหนักถึงความสําคัญและสามารถระบุความจําเป็นในการจัดกระบวนการ แผนชุมชน 3. ผู้นําชุมชนกําหนดแผนปฏิบัติการและยอมรับพร้อมมีส่วนร่วมในกระบวนการแผนชุมชน ประเด็นการเรียนรู้ 4. เป้าหมายของการทํางานเพื่อชุมชนและความสําคัญของประชาชนทุกคนในการทํางาน เพื่อชุมชน 5. เข้าใจในสถานการณ์ของชุมชน 6. สถานการณ์การทํางานจากภาครัฐ ได้แก่ การกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่น แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10และ 11 7. ทําให้เกิดแนวคิดในการจัดกระบวนการแผนชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้ตนเองและชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้นําชุมชน ผู้แทนคุ้มบ้าน องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) ตัวแทนครัวเรือน องค์กรชุมชน ผู้แทนกลุ่ม ทั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อให้
  • 6. 144 1. ชุมชนได้เรียนรู้ข้อมูลตนเองด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล แยกแยะทุนทางสังคมและสภาพ ปัญหา 2. ชุมชนได้วิเคราะห์สาเหตุปัญหาและจัดลําดับความต้องการของชุมชน 3. ชุมชนแยกแยะศักยภาพที่มีอยู่และสภาพปัญหาที่เป็นแนวโน้มกําลังเกิดขึ้นกับชุมชน ขั้นตอนที่ 3 การกําหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย ผู้แทนคุ้มบ้าน องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) ผู้แทนกลุ่ม ตัวแทนครัวเรือน องค์กรชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ชุมชนกําหนดเป้าหมายร่วมกัน เพื่อการพัฒนาให้เป็นชุมชนที่ชุมชนเองต้องการในอนาคต พร้อมทั้งกําหนดทิศทางและแนวทางการพัฒนาตามศักยภาพของชุมชน ขั้นตอนที่ 4 การกําหนดแผนงานโครงการพัฒนาชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ผู้นําชุมชน ผู้แทน คุ้มบ้าน องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) องค์กรชุมชน ประชาชนในชุมชน ผู้แทนกลุ่ม โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีแนวทางในการพัฒนาชุมชนสู่การเป็นชุมชนที่ปรารถนา ขั้นตอนที่ 5 การปฏิบัติตามแผนชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คณะกรรมการบริหารชุมชน องค์การ บริหารส่วนตําบล (อบต.) หน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการ ปฏิบัติตามแผนชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม การจัดทําแผนชุมชน 5 ขั้นตอน ดังกล่าวข้างเป็นแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนได้ศึกษา จากกรณีศึกษาเพื่อให้เกิดความสอดคล้องต่อสภาพภูมิรัฐศาสตร์ของแต่ละพื้นที่และแต่ละชุมชน ซึ่ง ข้อสรุปจากแนวคิดทําให้ได้แนวทางในการวางแผนชุมชน โดยมีข้อสรุปดังนี้ ปัจจุบัน เราอยู่จุดไหน..............วิเคราะห์ SWOT เราต้องการไปสู่จุดไหน.............กําหนดวิสัยทัศน์ ตําแหน่ง ทิศทาง เราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร........แนวทางแก้ไข แผนยุทธศาสตร์ เราจะต้องทําอะไรเพื่อไปถึงจุดนั้น…แปลงแผนยุทธศาสตร์สู่กิจกรรม /โครงการ ลงมือทํา ยื่นขอรับการสนับสนุนต่อหน่วยงาน และติดตามประเมินผล กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมให้แผนชุมชนมีการประเมินคุณภาพ ตั้งแต่ปี 2548 และได้ จัดทําระบบฐานข้อมูลการประเมินคุณภาพแผนชุมชน โดยให้จังหวัดเป็นผู้บันทึกข้อมูลผลการ ประเมินคุณภาพ เมื่อพื้นที่มีการปรับปรุงแผน ผ่านทางระบบเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกลางซึ่งเป็นระบบ ออนไลน์ ทั้งนี้ ได้กําหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์จํานวน 6 ตัวชี้วัด ดังนี้ 8 1. ใช้ข้อมูลพื้นฐาน จปฐ.(ความจําเป็นพื้นฐาน) กชช. 2 ค (ข้อมูลทั่วไประดับหมู่บ้าน) และ หรือข้อมูล บัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน ร่วมในการวิเคราะห์และจัดทําแผนชุมชนร้อยละ 70 ขึ้นไป
  • 7. 145 2. ตัวแทนครัวเรือนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนมากกว่าร้อยละ 70 ของครัวเรือน ทั้งหมด 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการจัดทําแผนชุมชนตั้งแต่ต้น 4. มีแผนชุมชน ฯ เป็นลายลักษณ์อักษร 5. มีกระบวนการชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีแผนงาน/โครงการอยู่ดี มีสุขซึ่งสอดคล้องต่อยุทธศาสตร์การพัฒนา 6. มีกิจกรรมพึ่งตนเองอย่างน้อยร้อยละ 30 (ทําด้วยตนเอง) ของกิจกรรมในแผนชุมชนและ มีการนําไปปฏิบัติได้จริงร้อยละ 30 ของกิจกรรมพึ่งตนเอง โดยได้กําหนดคุณภาพแผนเป็นคู่มือ ประเมินผลไว้ดังนี้ คุณภาพแผนระดับดีมาก A ผ่านตัวชี้วัด 6 ใน 6 คุณภาพแผนระดับดี B ผ่านตัวชี้วัด 5 ใน 6 คุณภาพแผนระดับพอใช้ C ผ่านตัวชี้วัด 4 ใน 6 แนวคิดดังกล่าว เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชนของกรมการพัฒนา ชุมชน(2553) 10 ภายใต้กรอบแนวคิดที่ว่า ชุมชนเป็นเจ้าของชุมชน ชุมชนจึงทราบปัญหาที่มีอยู่ ดังนั้น กระบวนการแผนชุมชนจึงมีขั้นตอน ในการให้ชุมชนเรียนรู้ข้อมูลตนเอง กําหนดเป้าหมายและกําหนด แผนของตนเอง นอกจากนั้น การให้ความสําคัญต่อองค์กรภาคีเพื่อความร่วมมือในกระบวนการจัดทํา แผนชุมชน การศึกษาการจัดทําแผนชุมชนของ จักรพันธ์ พรนิมิต (ม.ป.ป.) 11 เรื่อง การจัดทําและ เชื่อมโยงแผนชุมชนในประเทศไทยและกรณีศึกษาจากต่างประเทศ มีแนวทางที่สอดคล้องต่อกรอบ การจัดทําแผนชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน ต่อแนวคิดในการจัดทําแผนชุมชน งานศึกษาเห็นว่า การจัดทําแผนชุมชนต้องสอดคล้องกับแผนในแต่ละระดับ ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในระดับต่างๆ แตกต่างกัน การเชื่อมโยงแผนดังกล่าวจึงต้องกระทําให้เกิดความเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึง ระดับชาติ องค์ประกอบในการจัดทําแผนชุมชนอีกประการหนึ่ง คือการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งมี ปัจจัยของการมีส่วนร่วม ได้แก่ ปัจจัยเชิงสถาบัน คือ วัฒนธรรมท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวข้องกับนักการเมืองและการเมืองท้องถิ่น การประสานกับผู้นําชุมชน ปัจจัยการทํา หน้าที่คือ กิจกรรมต่างๆ เช่น กระบวนการทํางาน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตาม บริบทของพื้นที่และการบริการสาธารณะ ปัจจัยด้านด้านความเข้มแข็งของชุมชนคือ ความมีสํานึก ความตระหนักการมส่วนร่วมตามแนวระนาบการการปราศจากการครอบงํา
  • 8. 146 นอกจากนั้น องค์ประกอบที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือ การตรวจสอบการทํางานขององค์กร ท้องถิ่นและการตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เช่น การคลังท้องถิ่น เป็นต้น กลไกที่สําคัญต่อการจัดทําแผนชุมชนอีกประการหนึ่งคือ องค์กรภาคีทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน องค์กรดังกล่าว จะทําให้เกิดการส่งเสริมสนับสนุนต่อการจัดทําแผนชุมชนให้มีประสิทธิผล มากขึ้น งานศึกษานี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยในการส่งเสริมการเชื่อมโยงแผนชุมชนซึ่ง ได้แก่ กรอบ กฎหมาย ศักยภาพชุมชน ท้องถิ่นและภาคีการพัฒนา ส่วนปัจจัยอุปสรรคสําคัญ ได้แก่ ศักยภาพ ชุมชนและท้องถิ่น ความเชื่อมโยงแผนท้องถิ่นและการรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง ดังนั้น การเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชนจึงควรต้องให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาด้วยตนเองและมี ส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อการขับเคลื่อนแผนชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม 13.4 สรุป การพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลและระบบเครือข่ายทางสังคม ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุก ฝ่าย ซึ่งการพัฒนาระบบดังกล่าว สามารถนําไปสู่การสนับสนุนการวางแผนชุมชนที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากทั้งการพัฒนาระบบข่าวสารและเครือข่ายทุนทางสังคม เป็นการพัฒนาข้อมูลและสิ่งที่มีอยู่ใน ชุมชน ตลอดจนการพัฒนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา รวมถึงความสามารถ นําสิ่งดังกล่าว มาเป็นทรัพยากรในการวางแผนชุมชนโดยการมีการส่วนร่วมของประชาชนภายใน ชุมชนเอง ซึ่งจะทําให้ชุมชน สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน และสามารถกําหนดเป้าหมาย ของการพัฒนาชุมชนของตนได้อย่างถูกต้อง แบบฝึกหัด 1. ให้นักศึกษาอธิบายแนวคิดการพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลและระบบเครือข่ายทุนทาง สังคม 2. ให้นักศึกษาอธิบายการพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลและระบบเครือข่ายทุนทางสังคมโดย พิจารณาจากลักษณะของทุนทางสังคม 3. ให้นักศึกษาค้นหาความหมายและแนวคิดของการวางแผนชุมชน 4. นักศึกษาอธิบายถึงวัตถุประสงค์หลักของการวางแผนชุมชน 5. การพัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลและระบบเครือข่ายทุนทางสังคมเอื้อต่อการวางแผนชุมชน อย่างไร
  • 9. 147 6. นักศึกษาศึกษากรณีศึกษาเพื่อค้นหากิจกรรมการพึ่งพาตนเองแล้วทําความเข้าใจและ อภิปรายแลกเปลี่ยนแนวคิดดังกล่าว 7. ให้นักศึกษา เขียนกรอบแนวคิดในการวางแผนชุมชนเพื่อการเชื่อมโยงสอดคล้องกับแผน ในระดับประเทศ 8. จงกล่าวถึงบทบาทที่สําคัญขององค์กรภาคีในกระบวนการวางแผนชุมชน 9. ในกระบวนการวางแผนชุมชน ต้องมีขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อจัดทําข้อมูลมาเพื่อประโยชน์ใน การวางแผน ให้นักศึกษาอธิบาย พร้อมทั้งอภิปรายข้อสรุปของขั้นตอนในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 10. จงกล่าวถึงความสอดคล้องของโครงการอยู่ดีมีสุขกับยุทธศาสตร์การพัฒนา เชิงอรรถ 1 อ่านรายละเอียดใน ดวงพร รังรองรจิตภูมิ. (2555). โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์กรการเงิน และสวัสดิการชุมชนสําหรับเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาท เพื่อสวัสดิการชุมชน สร้างทุนทาง สังคมอย่างยั่งยืน จังหวัดลําปาง. องค์กรการเงินชุมชน. ลําปาง มหาวิทยาลัยพายัพ. 2 อ่านรายละเอียดในศิวพร อึ้งวัฒนาและคณะ. (2556). การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยชุมชนเพื่อ ชุมชน: กรณีศึกษาตําบลหนองหาร อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 40(1), 140- 146. 3 อ่านรายละเอียดใน ศุภวัฒน์, ปภัสสรากาญจน์. (2557). โครงร่างงานวิจัยเรื่อง ความเข้มแข็งของ องค์กรชุมชน : กรณีศึกษาความสามารถในการดําเนินงานขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 4 มูลนิธิพัฒนาไท. (ม.ป.ป.). โครงการพัฒนาข้อมูล ข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม. พลัฃ แผ่นดินข้อมูลTOR(IT).doc, 1 เมษายน 2556 http://www.pattanathai. nesdb.go. th / PTFweb/Interesting_menu/PalangPanDin/menu35.htm 5 อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล. (ม.ป.ป.). รัฐกับการพัฒนาทุนทางสังคม. คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 6 อ่านรายละเอียดใน กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ กรมพัฒนาชุมชน. 7 อ่านรายละเอียดใน กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน.
  • 10. 148 8 อ่านรายละเอียดใน กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน. 9 อ่านรายละเอียดใน กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน 10 อ่านรายละเอียดใน กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน. 11 อ่านรายละเอียดใน จักรพันธ์ พรนิมิตร. (ม.ป.ป). การจัดทําและเชื่อมโยงแผนชุมชนในประเทศไทย และกรณีศึกษาจากต่างประเทศ (คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลําปาง, Trans.). ลําปาง: World Bank Research Fund.
  • 11. 149 เอกสารอ้างอิง กรมพัฒนาชุมชน. (2553). การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน. ดวงพร รังรองรจิตภูมิ. (2555). โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์กรการเงิน และสวัสดิการชุมชนสําหรับเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาท เพื่อสวัสดิการชุมชน สร้างทุน ทางสังคมอย่างยั่งยืน จังหวัดลําปาง. องค์กรการเงินชุมชน. ลําปาง มหาวิทยาลัยพายัพ. จักรพันธ์ พรนิมิตร. (ม.ป.ป). การจัดทําและเชื่อมโยงแผนชุมชนในประเทศไทย และกรณีศึกษาจาก ต่างประเทศ. (คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลําปาง, Trans.). ลําปาง: World Bank Research Fund. มูลนิธิพัฒนาไท. (ม.ป.ป.). โครงการพัฒนาข้อมูล ข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม. พลัง แผ่นดินข้อมูลTOR(IT).doc, 1 เมษายน 2556, http://www.pattanathai. nesdb.go. th / PTFweb/Interesting_menu/PalangPanDin/menu35.htm ศิวพร อึ้งวัฒนาและคณะ. (2556). การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน: กรณีศึกษา ตําบลหนองหาร อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 40(1), 140 - 146. ศุภวัฒน์, ปภัสสรากาญจน์. (2557). โครงร่างงานวิจัย. ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน : กรณีศึกษา ความสามารถในการดําเนินงานขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล. (ม.ป.ป.). รัฐกับการพัฒนาทุนทางสังคม. คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.