SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 6
หัวข้อเรื่อง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรายสาขา การเมืองการปกครอง
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมในชุมชนและท้องถิ่น
รายละเอียด ตัวอย่างการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เศรษฐกิจและสังคม
รายสาขา เช่น ด้านสังคม การเมืองการปกครอง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ
การประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิต วัฒนธรรมในชุมชนและท้องถิ่น
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยายเนื้อหาวิชา
2. การอภิปราย การนําเสนอ ซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน
สื่อการสอน
1. การบรรยาย
2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การนําเสนอแนวคิด
3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1 การทดสอบย่อยและแบบฝึกหัดในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง
2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การนําเสนอรายงานใน
ประเด็นที่นักศึกษาสนใจและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
60
3. สัดส่วนของการประเมิน (20 คะแนน)
3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 50
3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การนําเสนอ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอ
ร้อยละ 50
เนื้อหาที่สอน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรายสาขา การเมืองการปกครอง การจัด
การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมในชุมชนและท้องถิ่น
การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจรายสาขาให้สอดรับ
กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม โดยมีพื้นฐานของการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ระบบเศรษฐกิจ
สังคมทั้งในระดับฐานรากไปจนถึงระดับเศรษฐกิจและสังคมในระดับภูมิภาค และรวมถึงการดํารง
รักษาสภาพแวด ล้อมทางสังคม ทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งระบบนิเวศน์ ให้สามารถนํามาใช้
ประโยชน์อย่างมีเสถียรภาพ
6.1 การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจด้าน
สังคม
การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในโรงเรียน โดยศึกษาจากกรณีศึกษา
ตารางที่ 6.1 กรณีศึกษาการนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนว
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสําหรับนักเรียนทั้งโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ขอนแก่น
การศึกษา
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดําเนินการจัดการเรียนรู้
ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
(Participatory Action Research: PAR) มี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 วางแผน (Planning) ผู้บริหาร
และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันกําหนดนโยบาย วางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนสร้างสาระ
การเรียนรู้ท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผู้บริหารวางระบบการนิเทศภายใน ขอความ
ร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการ (Action) ครูผู้สอนดําเนินการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 3
สังเกตการณ์ (Observation) ด้วยกระบวนการนิเทศภายในและภายนอก ขั้นที่ 4 สะท้อนผล
ปรับปรุงแก้ไข (Reflection) ด้วยการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นําข้อมูลจากการตรวจสอบ
61
ตารางที่ 6.1 (ต่อ)
ที่มา: อังคณา ตุงคะสมิตและคณะ. 2511: 228 – 301 1
การบรรจุเนื้อหาแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับมัธยมปลายและระดับอุดม
ศึกษา มีลักษณะการผสมผสานเข้าไปในเนื้อหาวิชาของแต่ละสาขาเพียงผิวเผิน เนื่องจากเน้นวิชาชีพ
การศึกษาในระดับอุดมศึกษาจึงเป็นการปลูกฝังระดับจิตสํานึกที่ไม่หนักแน่นนัก อย่างไรก็ตาม
สถาบันในระดับอุดมศึกษาบางแห่งได้เปิดหลักสูตรที่นําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแกน
หลักของสาขาวิชา เช่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งได้ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแกน
หลักในสาขาวิชาการบริหารศาสตร์ระดับปริญญาตรี เป็นต้น
2) การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวม ถูกจัด
กระทําขึ้นโดยบรรจุเข้าไว้เป็นแนวนโยบายเพื่อนําไปสู่การปฏิบัติ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 (2555 – 2559) ทั้งนี้ แผนพัฒนาได้วางแนวทางสําหรับการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบ
เศรษฐกิจและสังคมที่อาจเกิดจากความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อันเป็นผลจากปัจจัย
สะท้อนผลแล้วปรับปรุงแก้ไขแล้วร่วมกันวางแผนดําเนินการในวงรอบปฏิบัติการต่อไป ผล
จากการ ดําเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนพบว่า ทั้ง 3
โรงเรียนรวมมีสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จํานวน 59
หลักสูตร จํานวนครูที่ร่วมโครงการ 59 คน จํานวนแผนการจัดการเรียนรู้ 593 แผน จํานวน
นักเรียนที่ได้รับการพัฒนา 3,076 คน ผลที่เกิดขึ้นกับครูพบว่า ครูที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้
ความเข้าใจมากขึ้นสามารถจัดทําสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนในหลายรูปแบบ และพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้
โดยใช้ทรัพยากรใกล้ตัว และมีอยู่ในท้องถิ่น สามารถจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับท้องถิ่น และมี
ความรู้ในการนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจด้านการสร้างสื่อในการจัดการเรียนรู้ที่เป็น
นวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ และ การทําวิจัยในชั้นเรียน มีความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรมอยู่
ในระดับมากที่สุด และผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนพบว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน
และมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งสามารถนําความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้
ในชีวิตประจําวัน และมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนัก หวงแหนภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ใน
ท้องถิ่นของตนเอง เห็นคุณค่าของการดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐาน
ของภูมิปัญญาท้องถิ่น
62
ภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ทั้งยังคํานึงถึงการปลูกฝั่งและเชื่อมต่อวัฒนธรรมทางสังคมเพื่อเป็นกลไก
ในการพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและความมีเสถียรภาพ
แนวทางในการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงในระดับรายสาขา เป็นการวางแนวทางให้
ตอบสนองแนวนโยบายในภาพรวม ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากความล้มเหลวของแนวทางการ
พัฒนาตามแนวคิดกระแสหลัก เมื่อพิจารณาแนวนโยบายดังกล่าวจะเห็นว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
สามาถนํามาประยุกต์ให้เกิดความสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาตามแนวคิดกระแสหลักได้เป็น
อย่างดี ทั้งนี้ ความสําเร็จและความล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับความสามารถใน
การปลูกฝังและจิตสํานึกในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องทั้งในระดับรัฐบาล ข้าราชการ ผู้
มีส่วนได้เสียรวมทั้งประชาชน
4) การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปในด้านการเมืองการปกครอง มี
วัตถุประสงค์เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งการพัฒนา การดํารงรักษา
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจสังคม โดยนําหลักพื้นฐาน
สําคัญของแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เป็นแนวทางเพื่อดึงกลไกทางวัฒนธรรมและ
ทางสังคมมาเป็นเครื่องมือผลักดันให้เกิดระบบการเมือง การบริหารและ/หรือการปกครองภายใต้หลัก
ทศพิธราชธรรม
6.2 การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านการเมืองการปกครอง
การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในด้านการเมืองการปกครองโดยศึกษาจากกรณีศึกษา
ตารางที่ 6.2 กรณีศึกษาการนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านการเมืองการปกครองบ้านพุคําจาน จ.
สระบุรี
ตารางที่ 6.2 (ต่อ)
การเมืองการปกครอง
“เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่
ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทาง
สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง
หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
พอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้อง
อาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนําวิชาการต่างๆ มาใช้ในการ
วางแผนและการดําเนินการทุกขั้นตอน และขณะ เดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใน
ชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสํานึกในคุณธรรม ความ
63
ที่มา: อุไรวรรณ ธนสถิต. 2557 : 45 - 58 4
จะเห็นว่า พื้นฐานสําคัญจากแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้ถูกประยุกต์มาเป็น
แนวทางในการดําเนินวิถีการเมืองและการบริหารในระดับชุมชนและท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาไปสู่
ความเข้มแข็งและความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจและสังคมในระดับฐานราก
5) การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาการจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนและท้องถิ่น ในปัจจุบันถือเป็นความสําคัญด้านการบริหาร
สาธารณะที่รัฐจําเป็น ต้องจัดบริการแก่ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อการใช้ประโยชน์จากสิ่งดังกล่าวได้
อย่างถูกต้องและเกิดความมั่นคงในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ใน
ชุมชน ทั้งนี้ภายใต้หลักการพึ่งพาตนเอง
ซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา
และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ
กว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”
กรณีศึกษาบ้านพุคําจาน จะเห็นว่าเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสนองตอบเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งจะต้องมีศูนย์กลางอยู่ที่ “ ตัวคน ” เป็นสําคัญ กล่าวคือ คนจะต้องมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและ
อยู่ในสังคมที่เป็นธรรม การแสดงให้เห็นถึงพลังของบุคคลในชุมชน ตัวอย่างที่ดีงามของกลุ่มผู้นํา “ที่
พอมีอันจะกิน” ที่ช่วยเสริมสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น แนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงและการ
พัฒนาคนต่าง ก็เน้นการให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา คนต้อง การมีครอบครัวและชีวิตชุมชน
ที่ดี การติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น การมีส่วนร่วมในฐานะสมาชิกของชุมชนนําไปสู่การมีส่วนร่วม
ทางการเมืองอย่างกว้างขวาง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระประมุข ป้องกันไม่ให้เกิด
ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ป้องกันการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ทําให้สังคมไม่ล่มสลาย
และประชาชนยังมีความสามารถในการควบคุมวิถีชีวิตของตนเอง การเรียนรู้จากการปฏิบัติและการ
แบ่งปัน การใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ไขปัญหาโดยใช้ทรัพยากรและความรู้ในท้องถิ่น การ
ทํางานกับธรรมชาติโดยใช้หลักพอประมาณ การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน การส่งเสริมกิจกรรม
สร้างรายได้ที่มีความยั่งยืนในระยะยาว และการพัฒนาศักยภาพให้ชุมชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้
ซึ่งถ้าทุกชุมชนสามารถดําเนินตาม
64
6.3 การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติน้ําในชุมชนและท้องถิ่น
การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนและท้องถิ่น โดยศึกษาจากกรณีศึกษา
ตารางที่ 6.3 กรณีศึกษาการนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติน้ําใน
ชุมชนและท้องถิ่น
ที่มา: ดาริกา สุวรรณมงคล, บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล และถาวร อ่อนประไพ. 2556 : 121 - 1275
แนวทางหนึ่งของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือเน้นการมีส่วนร่วมหรือเรียกว่า “ หลัก
พึ่งพาตนเอง ” การที่ชุมชนร่วมกันคิดและร่วมกันทํา จะสามารถสร้างนวัตกรรมหรือสร้างสรรค์
แนวคิดใหม่ๆ อันจะนําไปสู่ทางออกของการแก้ไขปัญหาร่วมกันซึ่งถือเป็นการสร้างสิ่งสําคัญตาม
แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามหลัก “ การมีภูมิคุ้มกัน ”
6) การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
ท้องถิ่นและชุมชนแสดงให้เห็นถึงวิถีการจัดการโดยกลไกทางวัฒนธรรมและสังคมมาเป็นเครื่องมือใน
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติน้ําในชุมชนและท้องถิ่น
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วน เป็น
ความเชื่อร่วมกันที่ว่าการตัดสินใจร่วมกันของชุมชนจะมีศักยภาพที่จะบรรลุผลซึ่งไม่สามารถ
ดําเนินการได้ด้วยบุคคลฝ่ายเดียว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและกลไกการทํางาน
ขององค์กรท้องถิ่น (องค์กรชุมชน และ อปท.) และศักยภาพขององค์กรชุมชนต่อการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การประชุมกลุ่มแกนนํา และการสุ่ม
ตัวอย่างครัวเรือนเพื่อสัมภาษณ์ครอบคลุมใน 11 หมู่บ้านที่ภายใต้ 2 อปท. ในลุ่มน้ําแม่ขะนาด ผล
การศึกษาพบว่า มีหลายองค์กรทั้งภายในท้องถิ่นและองค์กรภายนอกที่มีส่วนร่วมในการจัดการลุ่มน้ํา
น้ําท่วมประจําปีก่อให้ความเสียหายต่อฝายชลประทานและนาข้าว ชุมชนที่อยู่เหนือลุ่มน้ําแม่ขะนาด
มีความเป็นอยู่ที่ยากจนปัญหาสวัสดิการด้านสุขภาพและการับบริการอื่นๆ ซึ่งจากการเข้าถึงได้ยาก
ส่วนชุมชนที่อยู่ด้านล่างลุ่มน้ําซึ่งสามารถเข้าถึงกิจกรรมที่สร้างรายได้มากกว่า มองว่าการที่น้ําท่วม
ฉับพลันมีความสัมพันธ์กับการตัดไม้ทําลายป่าบนพื้นที่ส่วนบน การซ่อมแซมเหมืองฝายโดยหน่วยงาน
ภายนอกที่ถูกกําหนดและออกแบบโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นไม่สัมฤทธิ์ผล
ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวได้นําไปสู่ความไม่เชื่อมั่นต่อหน่วยงานภายนอก งานวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าการ
เสวนาร่วมกันของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระยะสามารถค่อยๆ ยกระดับความเข้าใจ และความ
ต้องการของชุมชนต่อการแสวงหาทางออกร่วมกันได้
65
การสร้างพัฒนาการจากขั้นพึ่งพาตนเองไปสู่ขั้นพัฒนาการของการแบ่งปัน การค้าขาย ทั้งนี้การสร้าง
ความมั่นคงทางอาหารเป็นกระบวนการจากแนวทางหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
ความรู้และปัญญา ความพอประมาณ ความมีเหตุผลและภูมิคุ้มกัน
6.4 การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ชุมชนและท้องถิ่น
การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงในด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ชุมชนและท้องถิ่น โดยศึกษาจากกรณีศึกษา
ตารางที่ 6.4 กรณีศึกษาการนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชนและท้องถิ่น
ที่มา: สุพรรณี ไชยอําพร และ ฐิติญา วิมลวัฒน์, 2556 : 17 หน้า 6
วิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชนและท้องถิ่น
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการอาหารในระดับครอบครัวตามวิถีชาวมุสลิม และ
เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในครอบครัว รวมถึงศึกษาวิธีการ
ปรับตัวของครอบครัวมุสลิมในการจัดการอาหาร การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วย
การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ และการสังเกต ข้อมูลที่ได้นามา
วิเคราะห์ตีความตามหลักตรรกะควบคู่กับบริบทใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบ ผลการศึกษา พบว่า
1. วิธีการจัดการอาหารในระดับครอบครัวตามวิถีมุสลิม แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 1) การ
จัดการอาหารเพื่ออาชีพ ได้แก่ การค้าขายอาหารและเนื้อสัตว์ที่เชือดเอง เป็นการผลิตและบริโภค
เอง ทาให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ในชุมชน เกิดความมั่นคงทางอาหารด้านการเข้าถึงอาหารได้
ตลอดเวลา 2) การจัดการอาหารในชีวิตประจาวัน มีความสอดคล้องกับวิธีการจัดการอาหาร ทั้งนี้
ต้องมีความเป็น ฮาลาล และความพอเพียง จึงมีความมั่นคงทางอาหารตามวัฒนธรรมการบริโภค
ของชุมชน 3) การจัดการอาหารในวัฒนธรรมอิสลาม เช่น การเกิด การแต่งงาน การถือศีลอด ล้วน
มีอาหารเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น โดยยึดหลักอาหารทําให้เกิดการแบ่งปันและสร้างสัมพันธ์ในชุมชน
สร้างความมั่นคงทางอาหารด้านการเข้าถึงที่สะท้อนในรูปแบบประเพณีวัฒนธรรมอาหาร
2. กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร เกิดจากความต้องการพื้นที่ในการ
ผลิตอาหาร โดยมีแรงขับเคลื่อนจากคนในชุมชนที่ตระหนักถึงอนาคตของลูกหลานต่อความพอเพียง
ของอาหาร ซึ่งทุกคนต้องร่วมมือแก้ปัญหา โดยลดความเสี่ยงการขาดแคลนอาหาร ด้วยการปลูกผัก
ลอยฟ้าที่ใช้พื้นที่น้อย ทั้งนี้ภาครัฐและเอกชนต้องให้การสนับสนุนความรู้และเงินทุน
3. วิธีการปรับตัวของครอบครัวมุสลิม คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอย่างประหยัด ด้วยการ
กินรวมกันเป็นครอบครัว แต่ยังคงเน้นการแบ่งปันอาหารเช่นเดิม ทั้งนี้เป็นผลมาจากหลักคําสอน
ของศาสนาอิสลามที่ให้กินอย่างพอเพียงและไม่ฟุ่มเฟือย รวมถึงการแบ่งปันกัน
66
เมื่อพิจารณาพัฒนาการของแนวคิดข้างต้นในงานศึกษา จะพบถึงความสอดคล้องต่อแนวคิด
ทฤษฎีใหม่ ซึ่งไม่เพียงแต่จะประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรเท่านั้น แนวคิดยังสามารถนํามาใช้ได้กับ
การพัฒนาด้านต่างๆ
6.5 สรุป
ลักษณะการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ด้านต่างๆ จากกรณีศึกษา จะเห็นลักษณะทั้ง
โดยตรงและโดยอ้อม เช่น การประยุกต์ลักษณะของทุนทางสังคมมาเป็นกลไกในการพัฒนา การ
ประยุกต์ใช้หลักการบริหารกิจบ้านเมืองที่ดี หลักการมีส่วนร่วมเพื่อการพึ่งพาตนเองและการสร้าง
ภูมิคุ้มกัน หลักการพัฒนาจากขั้นการพึ่งตนเองไปสู่ขั้นก้าวหน้าของแนวทางตามทฤษฎีใหม่ หลัก
ความเสมอภาค ความกระตือรือร้นเพื่อทําให้เกดความรู้และการเรียนรู้อยู่เสมอ
ดังนั้น แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถดึงปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมมาใช้
ประโยชน์อย่างมีประสิทธิผล ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ การแบ่งปัน ความเป็นกัลยาณมิตร ความเอื้อ
อาทร ความไว้เนื้อเชื้อใจ รวมถึงลักษณะของวัฒนธรรมอันเป็นทุนทางสังคม
นอกจากนั้น ลักษณะของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ถือว่ามีความสําคัญ คือ
ความสามารถในการปรับและผสมผสานเข้ากับหลักศาสนาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
แบบฝึกหัด
1. นักศึกษาร่วมกันอภิปรายการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ในการบริหาร
การศึกษา
2. ให้นักศึกษา ศึกษากรณีศึกษา ซึ่งประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษา
แล้วพิจารณาในประเด็นของคุณภาพการศึกษา การนําผลการเรียนรู้ไปใช้ในการดําเนินชีวิตของ
ผู้เรียน แล้วอภิปรายนําเสนอหน้าชั้นเรียน
3. การนําแนวคิดเศรษฐกิจพอไปประยุกต์ใช้ในด้านการเมืองการปกครอง ผู้บริหารและผู้ที่
เกี่ยวข้องกับการบริหาร การเมืองการปกครอง จําเป็นต้องมีการแสวงหาความรู้ตลอดเวลา ถามว่า
ทําไมจึงต้องมีการแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะอะไร
4. นักศึกษาอภิปรายการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ในด้านการเมืองการ
ปกครอง ในประเด็นคุณสมบัติของผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การเมืองการปกครอง
5. การแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชนร่วมกันสะท้อนให้เห็น
ถึงลักษณะการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างไร
67
6. ให้นักศึกษาอภิปรายและนําเสนอถึงประเด็นการมีส่วนร่วม อันหมายถึง “ หลักการ
พึ่งพาตนเอง ” โดยพิจารณาลักษณะ และองค์ประกอบของหลักการดังกล่าว
7. นักศึกษาศึกษากรณีศึกษาในประเด็น วิถีชีวิต วัฒนธรรม ในท้องถิ่นและชุมชน แล้วจง
อธิบายถึงขั้นตอนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่การพึ่งพาตนเองไป
จนถึงขั้นก้าวหน้า
8. จากกรณีศึกษาด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรมในชุมชน ในประเด็นการจัดการด้านอาหาร
สะท้อนถึงการดําเนินวิถีชีวิตและวัฒนธรรมใดบ้าง และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเพื่อให้สอดคล้อง
ต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
9. การพัฒนาการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสําคัญต่อการ
บริหารสาธารณะในปัจจุบัน ดังนั้น การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรมี
ลักษณะอย่างไร จงอธิบาย
10. การบริหาร การเมืองการปกครอง ผู้บริหาร นักการเมือง ตลอดจนภาคประชาชนควรมี
คุณสมบัติเพื่อเอื้อและทําให้เกิดการพัฒนาในด้านการบริหาร การเมืองการปกครอง คุณสมบัติ
ดังกล่าวได้แก่ คุณสมบัติใด จงอภิปราย
เชิงอรรถ
1
อ่านรายละเอียดใน อังคณา ตุงคะสมิต, ลัดดา ศิลาน้อย, ธีรชัย เนตรถนอมศักด, สิทธิพล อา
อินทร,ปยะวรรณ ศรีสุรักษ. (2011). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง. กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ SU Vol.4(2), 228-301.
1
อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555).
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙). กรุงเทพฯ: สํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
3
อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555).
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙). กรุงเทพฯ: สํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
4
อ่านรายละเอียดใน อุไรวรรณ ธนสถิต. (2557). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสร้างความ
เข้มแข็งชุมชน: กรณีศึกษาบ้านพุคําจานจังหวัดสระบุรี. กลุ่มการวิจัยสนองโครงการพระราชดําริ,
45-58.
68
5
อ่านรายละเอียดใน ดาริกา สุวรรณมงคล, บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล, และถาวร อ่อนประไพ. (2556).
การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลากหลายที่ระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาลุ่ม
น้ําแม่ขะนาด อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม(การประชุมวิชาการ
ระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 8), 121-127.
6
อ่านรายละเอียดใน สุพรรณี ไชยอําพร และ ฐิติญา วิมลวัฒน์. (2556). การจัดการอาหารใน
ระดับครอบครัว ตามวิถีมุสลิมและกระบวนการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารใน
ครอบครัว: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านชาใจ อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง วารสารพัฒนาสังคม, 15(2).
69
เอกสารอ้างอิง
ดาริกา สุวรรณมงคล, บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล, และถาวร อ่อนประไพ. (2556). การจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลากหลายที่ระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาลุ่มน้ําแม่ขะนาด
อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม(การประชุมวิชาการระบบ
เกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 8), 121-127.
สํานักงานคณะกรรมการพฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙). กรุงเทพฯ: สํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อังคณา ตุงคะสมิต, ลัดดา ศิลาน้อย, ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์, สิทธิพล อาอินทร,ปยะวรรณ ศรีสุรักษ์.
(2554). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กลุ่มมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ SU Vol.4(2), 228-301.
อุไรวรรณ ธนสถิต. (2557). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสร้างความเข้มแข็งชุมชน: กรณีศึกษา
บ้านพุคําจานจังหวัดสระบุรี. กลุ่มการวิจัยสนองโครงการพระราชดําริ, 45-58.
สุพรรณี ไชยอําพร และ ฐิติญา วิมลวัฒน์. (2556). การจัดการอาหารในระดับครอบครัว ตามวิถี
มุสลิมและกระบวนการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในครอบครัว:
กรณีศึกษา ชุมชนบ้านชาใจ อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง วารสารพัฒนาสังคม, 15(2).

More Related Content

What's hot

3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียงWareerut Hunter
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...Sawittri Phaisal
 
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียนร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียนNattayaporn Dokbua
 
โครงสร้าง
โครงสร้างโครงสร้าง
โครงสร้างSumontira Niyama
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงWareerut Hunter
 
การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงAon Narinchoti
 
1ปกชุดกิจกรรม
1ปกชุดกิจกรรม1ปกชุดกิจกรรม
1ปกชุดกิจกรรมkrupornpana55
 
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียงWareerut Hunter
 
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงteeradejmwk
 

What's hot (11)

3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
 
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียนร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
 
ตัวอย่างแผนเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่างแผนเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่างแผนเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่างแผนเศรษฐกิจพอเพียง
 
โครงสร้าง
โครงสร้างโครงสร้าง
โครงสร้าง
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
1ปกชุดกิจกรรม
1ปกชุดกิจกรรม1ปกชุดกิจกรรม
1ปกชุดกิจกรรม
 
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง
 
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่6 (20)

จุดเน้นที่ 3
จุดเน้นที่  3 จุดเน้นที่  3
จุดเน้นที่ 3
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
project
projectproject
project
 
ครูสังคม
ครูสังคมครูสังคม
ครูสังคม
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สารบัญ
Microsoft word   สารบัญMicrosoft word   สารบัญ
Microsoft word สารบัญ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
Microsoft word สัปดาห์ที่14
Microsoft word   สัปดาห์ที่14Microsoft word   สัปดาห์ที่14
Microsoft word สัปดาห์ที่14
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Microsoft word สัปดาห์ที่10
Microsoft word   สัปดาห์ที่10Microsoft word   สัปดาห์ที่10
Microsoft word สัปดาห์ที่10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่1
Microsoft word   สัปดาห์ที่1Microsoft word   สัปดาห์ที่1
Microsoft word สัปดาห์ที่1
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
 

Microsoft word สัปดาห์ที่6

  • 1. แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 6 หัวข้อเรื่อง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรายสาขา การเมืองการปกครอง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมในชุมชนและท้องถิ่น รายละเอียด ตัวอย่างการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เศรษฐกิจและสังคม รายสาขา เช่น ด้านสังคม การเมืองการปกครอง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ การประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิต วัฒนธรรมในชุมชนและท้องถิ่น จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยายเนื้อหาวิชา 2. การอภิปราย การนําเสนอ ซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน สื่อการสอน 1. การบรรยาย 2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การนําเสนอแนวคิด 3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา 1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1 การทดสอบย่อยและแบบฝึกหัดในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง 2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การนําเสนอรายงานใน ประเด็นที่นักศึกษาสนใจและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • 2. 60 3. สัดส่วนของการประเมิน (20 คะแนน) 3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 50 3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การนําเสนอ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอ ร้อยละ 50 เนื้อหาที่สอน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรายสาขา การเมืองการปกครอง การจัด การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมในชุมชนและท้องถิ่น การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจรายสาขาให้สอดรับ กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม โดยมีพื้นฐานของการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ระบบเศรษฐกิจ สังคมทั้งในระดับฐานรากไปจนถึงระดับเศรษฐกิจและสังคมในระดับภูมิภาค และรวมถึงการดํารง รักษาสภาพแวด ล้อมทางสังคม ทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งระบบนิเวศน์ ให้สามารถนํามาใช้ ประโยชน์อย่างมีเสถียรภาพ 6.1 การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจด้าน สังคม การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในโรงเรียน โดยศึกษาจากกรณีศึกษา ตารางที่ 6.1 กรณีศึกษาการนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสําหรับนักเรียนทั้งโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอนแก่น การศึกษา การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดําเนินการจัดการเรียนรู้ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) มี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 วางแผน (Planning) ผู้บริหาร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันกําหนดนโยบาย วางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนสร้างสาระ การเรียนรู้ท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผู้บริหารวางระบบการนิเทศภายใน ขอความ ร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการ (Action) ครูผู้สอนดําเนินการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 สังเกตการณ์ (Observation) ด้วยกระบวนการนิเทศภายในและภายนอก ขั้นที่ 4 สะท้อนผล ปรับปรุงแก้ไข (Reflection) ด้วยการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นําข้อมูลจากการตรวจสอบ
  • 3. 61 ตารางที่ 6.1 (ต่อ) ที่มา: อังคณา ตุงคะสมิตและคณะ. 2511: 228 – 301 1 การบรรจุเนื้อหาแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับมัธยมปลายและระดับอุดม ศึกษา มีลักษณะการผสมผสานเข้าไปในเนื้อหาวิชาของแต่ละสาขาเพียงผิวเผิน เนื่องจากเน้นวิชาชีพ การศึกษาในระดับอุดมศึกษาจึงเป็นการปลูกฝังระดับจิตสํานึกที่ไม่หนักแน่นนัก อย่างไรก็ตาม สถาบันในระดับอุดมศึกษาบางแห่งได้เปิดหลักสูตรที่นําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแกน หลักของสาขาวิชา เช่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งได้ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแกน หลักในสาขาวิชาการบริหารศาสตร์ระดับปริญญาตรี เป็นต้น 2) การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวม ถูกจัด กระทําขึ้นโดยบรรจุเข้าไว้เป็นแนวนโยบายเพื่อนําไปสู่การปฏิบัติ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555 – 2559) ทั้งนี้ แผนพัฒนาได้วางแนวทางสําหรับการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบ เศรษฐกิจและสังคมที่อาจเกิดจากความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อันเป็นผลจากปัจจัย สะท้อนผลแล้วปรับปรุงแก้ไขแล้วร่วมกันวางแผนดําเนินการในวงรอบปฏิบัติการต่อไป ผล จากการ ดําเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนพบว่า ทั้ง 3 โรงเรียนรวมมีสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จํานวน 59 หลักสูตร จํานวนครูที่ร่วมโครงการ 59 คน จํานวนแผนการจัดการเรียนรู้ 593 แผน จํานวน นักเรียนที่ได้รับการพัฒนา 3,076 คน ผลที่เกิดขึ้นกับครูพบว่า ครูที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้นสามารถจัดทําสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนในหลายรูปแบบ และพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ทรัพยากรใกล้ตัว และมีอยู่ในท้องถิ่น สามารถจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับท้องถิ่น และมี ความรู้ในการนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระ การเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจด้านการสร้างสื่อในการจัดการเรียนรู้ที่เป็น นวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ และ การทําวิจัยในชั้นเรียน มีความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรมอยู่ ในระดับมากที่สุด และผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนพบว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน และมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งสามารถนําความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ ในชีวิตประจําวัน และมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนัก หวงแหนภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ใน ท้องถิ่นของตนเอง เห็นคุณค่าของการดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐาน ของภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • 4. 62 ภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ทั้งยังคํานึงถึงการปลูกฝั่งและเชื่อมต่อวัฒนธรรมทางสังคมเพื่อเป็นกลไก ในการพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและความมีเสถียรภาพ แนวทางในการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงในระดับรายสาขา เป็นการวางแนวทางให้ ตอบสนองแนวนโยบายในภาพรวม ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากความล้มเหลวของแนวทางการ พัฒนาตามแนวคิดกระแสหลัก เมื่อพิจารณาแนวนโยบายดังกล่าวจะเห็นว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สามาถนํามาประยุกต์ให้เกิดความสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาตามแนวคิดกระแสหลักได้เป็น อย่างดี ทั้งนี้ ความสําเร็จและความล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับความสามารถใน การปลูกฝังและจิตสํานึกในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องทั้งในระดับรัฐบาล ข้าราชการ ผู้ มีส่วนได้เสียรวมทั้งประชาชน 4) การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปในด้านการเมืองการปกครอง มี วัตถุประสงค์เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งการพัฒนา การดํารงรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจสังคม โดยนําหลักพื้นฐาน สําคัญของแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เป็นแนวทางเพื่อดึงกลไกทางวัฒนธรรมและ ทางสังคมมาเป็นเครื่องมือผลักดันให้เกิดระบบการเมือง การบริหารและ/หรือการปกครองภายใต้หลัก ทศพิธราชธรรม 6.2 การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านการเมืองการปกครอง การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในด้านการเมืองการปกครองโดยศึกษาจากกรณีศึกษา ตารางที่ 6.2 กรณีศึกษาการนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านการเมืองการปกครองบ้านพุคําจาน จ. สระบุรี ตารางที่ 6.2 (ต่อ) การเมืองการปกครอง “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทาง สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้อง อาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนําวิชาการต่างๆ มาใช้ในการ วางแผนและการดําเนินการทุกขั้นตอน และขณะ เดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใน ชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสํานึกในคุณธรรม ความ
  • 5. 63 ที่มา: อุไรวรรณ ธนสถิต. 2557 : 45 - 58 4 จะเห็นว่า พื้นฐานสําคัญจากแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้ถูกประยุกต์มาเป็น แนวทางในการดําเนินวิถีการเมืองและการบริหารในระดับชุมชนและท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาไปสู่ ความเข้มแข็งและความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจและสังคมในระดับฐานราก 5) การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนและท้องถิ่น ในปัจจุบันถือเป็นความสําคัญด้านการบริหาร สาธารณะที่รัฐจําเป็น ต้องจัดบริการแก่ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อการใช้ประโยชน์จากสิ่งดังกล่าวได้ อย่างถูกต้องและเกิดความมั่นคงในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ใน ชุมชน ทั้งนี้ภายใต้หลักการพึ่งพาตนเอง ซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ กว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี” กรณีศึกษาบ้านพุคําจาน จะเห็นว่าเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสนองตอบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะต้องมีศูนย์กลางอยู่ที่ “ ตัวคน ” เป็นสําคัญ กล่าวคือ คนจะต้องมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและ อยู่ในสังคมที่เป็นธรรม การแสดงให้เห็นถึงพลังของบุคคลในชุมชน ตัวอย่างที่ดีงามของกลุ่มผู้นํา “ที่ พอมีอันจะกิน” ที่ช่วยเสริมสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น แนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงและการ พัฒนาคนต่าง ก็เน้นการให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา คนต้อง การมีครอบครัวและชีวิตชุมชน ที่ดี การติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น การมีส่วนร่วมในฐานะสมาชิกของชุมชนนําไปสู่การมีส่วนร่วม ทางการเมืองอย่างกว้างขวาง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระประมุข ป้องกันไม่ให้เกิด ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ป้องกันการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ทําให้สังคมไม่ล่มสลาย และประชาชนยังมีความสามารถในการควบคุมวิถีชีวิตของตนเอง การเรียนรู้จากการปฏิบัติและการ แบ่งปัน การใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ไขปัญหาโดยใช้ทรัพยากรและความรู้ในท้องถิ่น การ ทํางานกับธรรมชาติโดยใช้หลักพอประมาณ การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน การส่งเสริมกิจกรรม สร้างรายได้ที่มีความยั่งยืนในระยะยาว และการพัฒนาศักยภาพให้ชุมชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งถ้าทุกชุมชนสามารถดําเนินตาม
  • 6. 64 6.3 การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติน้ําในชุมชนและท้องถิ่น การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนและท้องถิ่น โดยศึกษาจากกรณีศึกษา ตารางที่ 6.3 กรณีศึกษาการนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติน้ําใน ชุมชนและท้องถิ่น ที่มา: ดาริกา สุวรรณมงคล, บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล และถาวร อ่อนประไพ. 2556 : 121 - 1275 แนวทางหนึ่งของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือเน้นการมีส่วนร่วมหรือเรียกว่า “ หลัก พึ่งพาตนเอง ” การที่ชุมชนร่วมกันคิดและร่วมกันทํา จะสามารถสร้างนวัตกรรมหรือสร้างสรรค์ แนวคิดใหม่ๆ อันจะนําไปสู่ทางออกของการแก้ไขปัญหาร่วมกันซึ่งถือเป็นการสร้างสิ่งสําคัญตาม แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามหลัก “ การมีภูมิคุ้มกัน ” 6) การประยุกต์แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ท้องถิ่นและชุมชนแสดงให้เห็นถึงวิถีการจัดการโดยกลไกทางวัฒนธรรมและสังคมมาเป็นเครื่องมือใน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติน้ําในชุมชนและท้องถิ่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วน เป็น ความเชื่อร่วมกันที่ว่าการตัดสินใจร่วมกันของชุมชนจะมีศักยภาพที่จะบรรลุผลซึ่งไม่สามารถ ดําเนินการได้ด้วยบุคคลฝ่ายเดียว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและกลไกการทํางาน ขององค์กรท้องถิ่น (องค์กรชุมชน และ อปท.) และศักยภาพขององค์กรชุมชนต่อการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การประชุมกลุ่มแกนนํา และการสุ่ม ตัวอย่างครัวเรือนเพื่อสัมภาษณ์ครอบคลุมใน 11 หมู่บ้านที่ภายใต้ 2 อปท. ในลุ่มน้ําแม่ขะนาด ผล การศึกษาพบว่า มีหลายองค์กรทั้งภายในท้องถิ่นและองค์กรภายนอกที่มีส่วนร่วมในการจัดการลุ่มน้ํา น้ําท่วมประจําปีก่อให้ความเสียหายต่อฝายชลประทานและนาข้าว ชุมชนที่อยู่เหนือลุ่มน้ําแม่ขะนาด มีความเป็นอยู่ที่ยากจนปัญหาสวัสดิการด้านสุขภาพและการับบริการอื่นๆ ซึ่งจากการเข้าถึงได้ยาก ส่วนชุมชนที่อยู่ด้านล่างลุ่มน้ําซึ่งสามารถเข้าถึงกิจกรรมที่สร้างรายได้มากกว่า มองว่าการที่น้ําท่วม ฉับพลันมีความสัมพันธ์กับการตัดไม้ทําลายป่าบนพื้นที่ส่วนบน การซ่อมแซมเหมืองฝายโดยหน่วยงาน ภายนอกที่ถูกกําหนดและออกแบบโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นไม่สัมฤทธิ์ผล ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวได้นําไปสู่ความไม่เชื่อมั่นต่อหน่วยงานภายนอก งานวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าการ เสวนาร่วมกันของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระยะสามารถค่อยๆ ยกระดับความเข้าใจ และความ ต้องการของชุมชนต่อการแสวงหาทางออกร่วมกันได้
  • 7. 65 การสร้างพัฒนาการจากขั้นพึ่งพาตนเองไปสู่ขั้นพัฒนาการของการแบ่งปัน การค้าขาย ทั้งนี้การสร้าง ความมั่นคงทางอาหารเป็นกระบวนการจากแนวทางหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความรู้และปัญญา ความพอประมาณ ความมีเหตุผลและภูมิคุ้มกัน 6.4 การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ชุมชนและท้องถิ่น การนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ชุมชนและท้องถิ่น โดยศึกษาจากกรณีศึกษา ตารางที่ 6.4 กรณีศึกษาการนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชนและท้องถิ่น ที่มา: สุพรรณี ไชยอําพร และ ฐิติญา วิมลวัฒน์, 2556 : 17 หน้า 6 วิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชนและท้องถิ่น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการอาหารในระดับครอบครัวตามวิถีชาวมุสลิม และ เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในครอบครัว รวมถึงศึกษาวิธีการ ปรับตัวของครอบครัวมุสลิมในการจัดการอาหาร การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วย การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ และการสังเกต ข้อมูลที่ได้นามา วิเคราะห์ตีความตามหลักตรรกะควบคู่กับบริบทใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบ ผลการศึกษา พบว่า 1. วิธีการจัดการอาหารในระดับครอบครัวตามวิถีมุสลิม แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 1) การ จัดการอาหารเพื่ออาชีพ ได้แก่ การค้าขายอาหารและเนื้อสัตว์ที่เชือดเอง เป็นการผลิตและบริโภค เอง ทาให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ในชุมชน เกิดความมั่นคงทางอาหารด้านการเข้าถึงอาหารได้ ตลอดเวลา 2) การจัดการอาหารในชีวิตประจาวัน มีความสอดคล้องกับวิธีการจัดการอาหาร ทั้งนี้ ต้องมีความเป็น ฮาลาล และความพอเพียง จึงมีความมั่นคงทางอาหารตามวัฒนธรรมการบริโภค ของชุมชน 3) การจัดการอาหารในวัฒนธรรมอิสลาม เช่น การเกิด การแต่งงาน การถือศีลอด ล้วน มีอาหารเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น โดยยึดหลักอาหารทําให้เกิดการแบ่งปันและสร้างสัมพันธ์ในชุมชน สร้างความมั่นคงทางอาหารด้านการเข้าถึงที่สะท้อนในรูปแบบประเพณีวัฒนธรรมอาหาร 2. กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร เกิดจากความต้องการพื้นที่ในการ ผลิตอาหาร โดยมีแรงขับเคลื่อนจากคนในชุมชนที่ตระหนักถึงอนาคตของลูกหลานต่อความพอเพียง ของอาหาร ซึ่งทุกคนต้องร่วมมือแก้ปัญหา โดยลดความเสี่ยงการขาดแคลนอาหาร ด้วยการปลูกผัก ลอยฟ้าที่ใช้พื้นที่น้อย ทั้งนี้ภาครัฐและเอกชนต้องให้การสนับสนุนความรู้และเงินทุน 3. วิธีการปรับตัวของครอบครัวมุสลิม คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอย่างประหยัด ด้วยการ กินรวมกันเป็นครอบครัว แต่ยังคงเน้นการแบ่งปันอาหารเช่นเดิม ทั้งนี้เป็นผลมาจากหลักคําสอน ของศาสนาอิสลามที่ให้กินอย่างพอเพียงและไม่ฟุ่มเฟือย รวมถึงการแบ่งปันกัน
  • 8. 66 เมื่อพิจารณาพัฒนาการของแนวคิดข้างต้นในงานศึกษา จะพบถึงความสอดคล้องต่อแนวคิด ทฤษฎีใหม่ ซึ่งไม่เพียงแต่จะประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรเท่านั้น แนวคิดยังสามารถนํามาใช้ได้กับ การพัฒนาด้านต่างๆ 6.5 สรุป ลักษณะการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ด้านต่างๆ จากกรณีศึกษา จะเห็นลักษณะทั้ง โดยตรงและโดยอ้อม เช่น การประยุกต์ลักษณะของทุนทางสังคมมาเป็นกลไกในการพัฒนา การ ประยุกต์ใช้หลักการบริหารกิจบ้านเมืองที่ดี หลักการมีส่วนร่วมเพื่อการพึ่งพาตนเองและการสร้าง ภูมิคุ้มกัน หลักการพัฒนาจากขั้นการพึ่งตนเองไปสู่ขั้นก้าวหน้าของแนวทางตามทฤษฎีใหม่ หลัก ความเสมอภาค ความกระตือรือร้นเพื่อทําให้เกดความรู้และการเรียนรู้อยู่เสมอ ดังนั้น แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถดึงปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมมาใช้ ประโยชน์อย่างมีประสิทธิผล ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ การแบ่งปัน ความเป็นกัลยาณมิตร ความเอื้อ อาทร ความไว้เนื้อเชื้อใจ รวมถึงลักษณะของวัฒนธรรมอันเป็นทุนทางสังคม นอกจากนั้น ลักษณะของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ถือว่ามีความสําคัญ คือ ความสามารถในการปรับและผสมผสานเข้ากับหลักศาสนาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แบบฝึกหัด 1. นักศึกษาร่วมกันอภิปรายการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ในการบริหาร การศึกษา 2. ให้นักศึกษา ศึกษากรณีศึกษา ซึ่งประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษา แล้วพิจารณาในประเด็นของคุณภาพการศึกษา การนําผลการเรียนรู้ไปใช้ในการดําเนินชีวิตของ ผู้เรียน แล้วอภิปรายนําเสนอหน้าชั้นเรียน 3. การนําแนวคิดเศรษฐกิจพอไปประยุกต์ใช้ในด้านการเมืองการปกครอง ผู้บริหารและผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการบริหาร การเมืองการปกครอง จําเป็นต้องมีการแสวงหาความรู้ตลอดเวลา ถามว่า ทําไมจึงต้องมีการแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะอะไร 4. นักศึกษาอภิปรายการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ในด้านการเมืองการ ปกครอง ในประเด็นคุณสมบัติของผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การเมืองการปกครอง 5. การแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชนร่วมกันสะท้อนให้เห็น ถึงลักษณะการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างไร
  • 9. 67 6. ให้นักศึกษาอภิปรายและนําเสนอถึงประเด็นการมีส่วนร่วม อันหมายถึง “ หลักการ พึ่งพาตนเอง ” โดยพิจารณาลักษณะ และองค์ประกอบของหลักการดังกล่าว 7. นักศึกษาศึกษากรณีศึกษาในประเด็น วิถีชีวิต วัฒนธรรม ในท้องถิ่นและชุมชน แล้วจง อธิบายถึงขั้นตอนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่การพึ่งพาตนเองไป จนถึงขั้นก้าวหน้า 8. จากกรณีศึกษาด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรมในชุมชน ในประเด็นการจัดการด้านอาหาร สะท้อนถึงการดําเนินวิถีชีวิตและวัฒนธรรมใดบ้าง และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเพื่อให้สอดคล้อง ต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไร 9. การพัฒนาการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสําคัญต่อการ บริหารสาธารณะในปัจจุบัน ดังนั้น การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรมี ลักษณะอย่างไร จงอธิบาย 10. การบริหาร การเมืองการปกครอง ผู้บริหาร นักการเมือง ตลอดจนภาคประชาชนควรมี คุณสมบัติเพื่อเอื้อและทําให้เกิดการพัฒนาในด้านการบริหาร การเมืองการปกครอง คุณสมบัติ ดังกล่าวได้แก่ คุณสมบัติใด จงอภิปราย เชิงอรรถ 1 อ่านรายละเอียดใน อังคณา ตุงคะสมิต, ลัดดา ศิลาน้อย, ธีรชัย เนตรถนอมศักด, สิทธิพล อา อินทร,ปยะวรรณ ศรีสุรักษ. (2011). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง. กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ SU Vol.4(2), 228-301. 1 อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙). กรุงเทพฯ: สํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 3 อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙). กรุงเทพฯ: สํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 4 อ่านรายละเอียดใน อุไรวรรณ ธนสถิต. (2557). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสร้างความ เข้มแข็งชุมชน: กรณีศึกษาบ้านพุคําจานจังหวัดสระบุรี. กลุ่มการวิจัยสนองโครงการพระราชดําริ, 45-58.
  • 10. 68 5 อ่านรายละเอียดใน ดาริกา สุวรรณมงคล, บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล, และถาวร อ่อนประไพ. (2556). การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลากหลายที่ระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาลุ่ม น้ําแม่ขะนาด อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม(การประชุมวิชาการ ระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 8), 121-127. 6 อ่านรายละเอียดใน สุพรรณี ไชยอําพร และ ฐิติญา วิมลวัฒน์. (2556). การจัดการอาหารใน ระดับครอบครัว ตามวิถีมุสลิมและกระบวนการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารใน ครอบครัว: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านชาใจ อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง วารสารพัฒนาสังคม, 15(2).
  • 11. 69 เอกสารอ้างอิง ดาริกา สุวรรณมงคล, บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล, และถาวร อ่อนประไพ. (2556). การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลากหลายที่ระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาลุ่มน้ําแม่ขะนาด อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม(การประชุมวิชาการระบบ เกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 8), 121-127. สํานักงานคณะกรรมการพฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙). กรุงเทพฯ: สํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. อังคณา ตุงคะสมิต, ลัดดา ศิลาน้อย, ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์, สิทธิพล อาอินทร,ปยะวรรณ ศรีสุรักษ์. (2554). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กลุ่มมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ SU Vol.4(2), 228-301. อุไรวรรณ ธนสถิต. (2557). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสร้างความเข้มแข็งชุมชน: กรณีศึกษา บ้านพุคําจานจังหวัดสระบุรี. กลุ่มการวิจัยสนองโครงการพระราชดําริ, 45-58. สุพรรณี ไชยอําพร และ ฐิติญา วิมลวัฒน์. (2556). การจัดการอาหารในระดับครอบครัว ตามวิถี มุสลิมและกระบวนการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในครอบครัว: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านชาใจ อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง วารสารพัฒนาสังคม, 15(2).