SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 7
หัวข้อเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีชุมชน
รายละเอียด ความหมายจากประสบการณ์ของชุมชน ความหมายต่อแนวคิดที่สะท้อนจากชุมชน
การปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อโลกาภิวัตน์ ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมายในแต่ละภาค
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยายเนื้อหาวิชา
2. การซักถาม อภิปราย นําเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน
สื่อการสอน
1. การบรรยาย
2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การนําเสนอแนวคิด
3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1 การทดสอบย่อยและแบบฝึกหัดในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง
2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. สัดส่วนของการประเมิน (5 คะแนน)
3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 60
3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอร้อยละ 40
72
เนื้อหาที่สอน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีชุมชน
7.1 ความหมายจากประสบการณ์ของชุมชน
ความหมายต่อแนวคิดที่สะท้อนจากชุมชน เป็นการนิยามกิจกรรมตั้งแต่ระดับปัจเจก ระดับ
ครัวเรือน ระดับชุมชน ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ
ความหมายระดับปัจเจก ระดับครัวเรือน ชุมชนและท้องถิ่น ได้ครอบคลุมลักษณะเชิง
โครงสร้างทางการผลิตที่ถือว่าการผลิตไม่ว่าจะเป็นการเกษตร ปศุสัตว์ หรือแม้แต่อุตสาหกรรม
ครัวเรือนและอุตสาหกรรมของชุมชนและท้องถิ่น ล้วนเป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยการผลิตไม่ว่าจะเป็น
แรงงาน ทุน ทรัพยากรภายในและภายนอกชุมชน รวมถึงเจ้าของปัจจัยการผลิตและผลผลิต ทั้งนี้
ความหมายที่สะท้อนจากชุมชนข้างต้น ยังรวมถึงการบริโภค การจําหน่าย การจ่ายแจก การมีส่วน
ร่วมกันทํากิจกรรมด้านการผลิต การบริโภคผลผลิต การเป็นเจ้าของการผลิตและผลผลิต ทั้งนี้
กิจกรรมดังกล่าวมีรากฐานมาจากภายในชุมชนที่มีร่วมกัน ได้แก่ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม สุขภาพ
อนามัย จริยธรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมภายในชุมชนและท้องถิ่น
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากชุมชนโดยการจัดสัมมนาผู้นําชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นและเพื่อให้นิยามของคําว่า เศรษฐกิจพอเพียง ของสํานักงานประชาสัมพันธ์เขต 5 จังหวัดสุ
ราษฎร์ธานี ในโครงการประชาสัมพันธ์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า 1
นิยามดังกล่าวแบ่งได้
เป็น 3 ประเด็นหลักได้แก่
1) กิจกรรมการผลิต โดยเฉพาะในภาคการเกษตร ที่ไม่ทําลาย สิ่งแวดล้อมแต่ใช้ทรัพยากรที่
มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า ด้วยการหมุนเวียนทุนธรรมชาติภายในพื้นที่ และด้วยวิธีการทําเกษตร ที่เน้น
ปลูกเพื่อกินเองก่อน ที่ผ่านมาชุมชนได้ทํากิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมการ
ทําปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผักและข้าวที่ปลอดสารพิษ การทําสวนสมุนไพรของชุมชน การคิดค้นสารไล่
แมลงสมุนไพร การทําถ่านชีวภาพ การรวมกลุ่มขยายพันธุ์ปลา การแปรรูปผลผลิตและการทําการ
เกษตรผสมผสาน เป็นต้น
2) การรวมกลุ่มกันเพื่อทํากิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชุมชน ด้วยทุนทางสังคมที่มีอยู่
ชุมชนได้รวมตัวกันทํากิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากความรักและความเอื้ออาทรของสมาชิกในชุมชน เช่น
กิจกรรมต่อต้านยาเสพย์ติด การนมัสการพระให้มาช่วยสอนจริยธรรมและศีลธรรมในโรงเรียนของ
ชุมชน กิจกรรมการรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านศูนย์การเรียนรู้ หรือโรงเรียนเกษตรกรในหมู่บ้าน
การร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในชุมชนทํากิจกรรมต่าง ๆ ภายในวัด การจัดตั้งร้านค้าที่เป็นของชุมชน
เอง การจัดทําแผนแม่บทชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ การรวมกลุ่ม
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการผลิตของกลุ่มต่างๆ เช่น การรวมกลุ่มทํา
ขนมของแม่บ้าน หรือรวมกลุ่มเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว นอกจากนี้ชุมชน ยังได้ตั้งกองทุนข้าวสาร
ร่วมกับชุมชนอื่นๆในต่างภูมิภาค เพื่อค้าขายหรือผลิตระหว่างกัน รวมทั้งเพื่อการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน
ประสบการณ์และขยายผลการพัฒนาไปยังเครือข่ายชุมชนอื่น ๆ ด้วย
73
3) กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จิตสํานึกท้องถิ่น ส่งเสริมวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของเศรษฐกิจ
พอเพียง ชุมชนได้เริ่มกิจกรรม ที่มุ่งปลูกฝังจริยธรรมความดีงามและจิตสํานึกรักท้องถิ่นให้เกิดขึ้นแก่
สมาชิกของชุมชน เช่น กิจกรรมที่ปลูกฝังสมาชิกในชุมชนให้มีความเอื้ออาทรต่อกันมากกว่าคํานึงถึง
ตัวเงินหรือวัตถุเป็นพื้นฐานความสัมพันธ์ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกทําบัญชีอย่างโปร่งใสและสุจริต
กิจกรรมการพัฒนาครูในชุมชนให้มีคุณภาพและมีจิตผูกพันกับท้องถิ่นเป็นสําคัญ รวมทั้งกิจกรรมที่
ส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนพึ่งตนเองก่อนที่จะพึ่งหรือขอความช่วยเหลือจากคนอื่น
ดังนั้น การให้ความหมายจากประสบการณ์ของชุมชนข้างต้น จึงเป็นนิยามของการประยุกต์
แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เกิดความสอดคล้องกับวิถีชุมชน
7.2 การปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อโลกาภิวัตน์
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงในอีกแง่มุมหนึ่งคือ2
ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ
ประเทศ หรือภูมิภาค ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพา
ปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล
รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจาก
การเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความ
ระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและดําเนินการทุกขั้นตอน และ
ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี
และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสํานึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม
ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมที่จะ
รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจาก
โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการ
ดําเนินชีวิตเพื่อนําไปสู่ความพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดํารงอยู่และปฏิบัติตน ของคน
ไทย สังคมไทย เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลและ
พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและ
วัฒนธรรม หลักความพอเพียงเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดําเนินชีวิต ก็จะสามารถอยู่ได้อย่าง
รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ปรับตัวและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้ เศรษฐกิจพอเพียงใน
ระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดํารงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณ
ตนตามฐานะ ตามอัตภาพและที่สําคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่
พันธนาการอยู่กับสิ่งใดเศรษฐกิจชุมชนที่พึงปรารถนา คือกิจกรรมเศรษฐกิจ ทั้งภาคเกษตรกรรม
ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ที่คนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมรับผลประโยชน์
และร่วมเป็นเจ้าของ โดยการพัฒนาจากฐานของ “ ศักยภาพของท้องถิ่น ” หรือ “ ทุนในชุมชน ” ซึ่ง
74
ร่วมถึงเงินทุน แรงงาน วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ วัด ที่ดิน แหล่งน้ํา ความหลากหลาย
ทางชีวภาพ สภาพภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ฯลฯเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรมในชุมชน
ความพอเพียงที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นหลักการและเป็นแนวคิดกระตุ้นให้เกิด จิตสํานึก กระบวนทัศน์
และวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ โดยสามารถนํามาประยุกต์เพื่อปรับใช้ในยุคของการเปลี่ยนแปลงของ
โลกาภิวัตน์คือ
1) ความมีวินัย เช่น วินัยทางการเงิน วินัยในการออม เพื่ออนาคต ระมัดระวังไม่ในการใช้
จ่ายเพื่อไม่ให้เกิดหนี้สินเกินความสามารถและต้องไม่โลภ
2) ใฝ่รู้ขวนขวายตามหลักการสําคัญของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเนื่องจากในปัจจุบันคือ
ยุคแห่งการเรียนรู้ และสามารถสืบค้นข้อมูลต่างๆ โดยผ่านเว็บไซด์เพื่อหาข้อมูลที่ต้องการ หรือเพื่อ
การอ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
โปรแกรมสนทนา
3) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)
4) การถนอมใช้ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสภาพแวดล้อม
5) การปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรม
ทั้งนี้ การปฏิสัมพันธ์ในระดับภูมิภาคหรือระดับระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถ
หลีกเลี่ยงได้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการปฏิสัมพันธ์ในด้านเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม
ดังนั้น การปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกระแสโลกาภิวัตน์ คือการใช้ปัจจัยข้างต้นเป็นเครื่องมือในการ
สร้างเสริมให้เกิดความเข้มแข็งภายในแล้วจึงเชื่อมต่อไปสู่ภายนอก เนื่องจากความเข้มแข็งจะ
ก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การมีนวัตกรรมของเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นจากภูมิปัญญาของตนเอง
อันเนื่องมาจากความคิดริเริ่ม การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และการขวนขวายเรียนรู่อยู่ตลอดเวลา การมี
คุณภาพในเชิงมาตรฐานผลผลิตและบริการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เนื่องจากจิตสํานึกที่มี
คุณธรรมและจริยธรรมในการดํารงไว้ซึ่งมาตรฐานของสิ่งดังกล่าว ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่
มีคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรมและคุณประโยชน์ในเชิงการใช้ประโยชน์
7.3 ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง 3
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง คือปัจจัยของความเข้มแข็ง 4 ประการ
ได้แก่4
1) ปัจจัยด้านทุนทางสังคมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ได้แก่ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา
นวัตกรรมเทคโนโลยี ความเอื้ออาทรต่อกัน ความสัมพันธ์และความไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นต้น
75
จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของชุมชนพบว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านทุน
ทางสังคมคือกระบวนการการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยมีเป้าหมายของผลประโยชน์ร่วมกันสร้าง
เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ เรียกว่า กระบวนการขับเคลื่อนทุนทางสังคม
ภาพที่ 7.1 กระบวนการขับเคลื่อนทุนทางสังคม
ที่มา: วรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 2546 : 40
2) ปัจจัยด้านการรวมกลุ่มและการเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นการรวมกลุ่มเพื่อประกอบ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกันของคนในชุมชนและระหว่างชุมชน ด้วยการแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์การเรียนรู้ถึงความสําเร็จและความล้มเหลวของการประกอบกิจกรรม กระบวนการ
สําคัญของปัจจัยด้านการรวมกลุ่มและการเป็นชุมชนที่เข้มแข็งคือ ภาวะผู้นําของกลุ่ม การเลือก
ตัวแทนผู้นําคนเดิม การถ่ายทอดภูมิปัญญา ความรู้และเทคโนโลยี และการเรียนรู้โดยวิธีการค้นหา
ชุมชนเข้มแข็งหลัก ชุมชนเข้มแข็งรองและชุมชนเงาเพื่อการถ่ายทอดและเป็นแกนหลักของเครือข่าย
เพื่อการถ่ายทอดการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่สําคัญคือการแสวงหาแหล่งเงินทุนในการดําเนินการ
ดังกล่าว
3) ปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร
และสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่มีอยู่และเป็นข้อได้เปรียบต่อการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ และสามารถ
พัฒนาไปสู่การปฏิสัมพันธ์ในเชิงโลกาภิวัตน์ ดังนั้นการดํารงรักษาปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสําคัญ
แนวคิดจากประสบการณ์ของชุมชนต่อแนวคิดดังกล่าว คือกระบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
ปัญหา สํานึก กระบวนการ
มาตรการ
การคํานึงถึง
ผลประโยชน์ร่วมกันการสร้างเครือข่าย
ความร่วมมือกันในการพัฒนา
76
ด้วยการสร้างจิตสํานึกต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้างองค์ความรู้รวมทั้งการ
ทําความเข้าใจต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการรวมกลุ่มการเรียนรู้แก่คนรุ่นใหม่ การ
มีมาตรการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน มาตรการในการดํารงดูแลรักษา ท้ายที่สุดคือการ
ส่งเสริมการอนุรักษ์การฟื้นฟูในสิ่งที่ถูกทําลายไปให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้
4) ปัจจัยด้านนโยบาย เป็นปัจจัยด้านการกําหนดในระดับ ธรรมนูญการปกครอง นโยบาย
การพัฒนาซึ่งกําหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญของประเทศ นโยบายการพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคม กฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุปสรรคของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่ การขาดจิตสํานึก
การความเอื้ออาทร ความพอดีอันเป็นสิ่งจําเป็นต่อแนวคิดความพอเพียง
7.4 เป้าหมายในแต่ละภาค
เป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการจัดกระทําในระดับภูมิภาค ทั้งภาคเหนือ
ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกและตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ทั้งนี้ การ
ดําเนิน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวกระทําภายใต้พื้นฐานแนวคิดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ข้างต้น กล่าวคือเน้นเป้าหมายในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประสบการณ์จากความสําเร็จและความล้มเหลว รวมถึงการปลูกฝังจิตสํานึกเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง
ของชุมชนในภูมิภาคต่างๆ โดยการดึงทุนทางสังคมออกมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสิ่งดังกล่าว
1) การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง4
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ริเริ่มการ
สร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสานต่อความคิดและเชื่อมโยงการขยายผลที่เกิดจาก
การนําหลักปรัชญาฯ ไปใช้อย่าง หลากหลาย รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่
ถูกต้อง ซึ่งจะนําไปสู่การยอมรับ และการนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของ
สังคมอย่างจริงจัง
" … ในการพัฒนาประเทศนั้นจําเป็นต้องทําตามลําดับขั้นเริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของ
ประชาชนก่อนด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชาเมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่งคงพอควรแล้ว
จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นสูงขึ้นตามลําดับต่อไป… การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ค่อยเป็นไป
ตามลําดับด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้นก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลวและเพื่อให้
บรรลุผลสําเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์ "
พระบรมราชโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 19 กรกฎาคม
2517
77
2) บทสัมภาษณ์พิเศษ ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณอยุธยาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
พอเพียง
จากพระบรมราโชวาทและพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี 2517 พบว่า
พระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ําแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมี พอกิน
พอใช้การรู้จักความพอประมาณการคํานึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวทรงเตือนสติ
ประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาทตระหนักถึงการพัฒนาตามลําดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ทั้งนี้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนําหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถี
ชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน “ วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทุกคนสามารถนําหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่าง
เหมาะสม และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดํารงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจ
พอเพียง ตลอดจนนําไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ” ก้าว
แรกจุดประกาย ก้าวสองตอกเสาเข็มหลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจพอเพียงควรเป็นปรัชญานําทางในการ
พัฒนาประเทศ ซึ่งนําไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่หลายคนไม่ทราบว่า จริง ๆ
แล้วได้มีการผลักดันเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ปี 2542 โดยมีสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นแกนหลักและมีการตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
พอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อนได้มีการจัดทําแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง 4 ปีในช่วงปี 2547 –
2550 โดยปีแรก เน้นการจุดประกายความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ให้คนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
และเกิดความตื่นตัว ต่อมาในช่วงปีที่ 2 ถือว่าเป็นช่วงสําคัญคือ การตอกเสาเข็ม ที่จะเน้นการสร้าง
Case Study หรือทําให้ประชาชนเห็นว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงทําได้และประสบความสําเร็จได้จริงๆ
ที่สําคัญต้องสร้างความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงมิได้จํากัดเฉพาะเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเพียง
เท่านั้น แต่เป็นเศรษฐกิจของทุกคน ทุกอาชีพ ทั้งที่อยู่ในเมืองและอยู่ในชนบท “ ผู้ที่เป็นเจ้าของ
โรงงานอุตสาหกรรมและบริษัทในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าจะต้องขยายกิจการก็จะขยายเพราะ
ความเจริญเติบโตจากเนื้อของงาน โดยอาศัยการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือหากจะกู้ยืมก็
กระทําตามความเหมาะสมไม่ใช่กู้มาลงทุนจนเกินตัวจนไม่เหลือที่มั่นให้ยืนอยู่ได้ เมื่อภาวะของเงินผัน
ผวนประชาชนจะต้องไม่ใช่จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว เกษตรกรก็ทําไร่ทํานา ปลูกพืชแบบผสมผสานในที่
แห้งแล้งตามแนว “ ทฤษฎีใหม่ ” หากไม่มีความพอประมาณในใจตน นึกแต่จะซื้อรถปิคอัพคันใหม่
หรือเครื่องอํานวยความสะดวกอื่นๆ อยู่ร่ําไปย่อมไม่ถือว่าประพฤติตนอยู่ในระบบเศรษฐกิจพอเพียง
ตามแนวพระราชดําริ เร่งสร้างเครือข่ายและนําไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมในช่วงปีที่ 3 เป็นช่วงของการ
สร้างเครือข่าย โดยการขับเคลื่อนจะเป็นลักษณะการระดมพลังจากทุกภาคส่วนแบ่งเป็น 2 เครือข่าย
สนับสนุนตามกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น ได้แก่เครือข่ายภาครัฐทั้งหมด เครือข่ายด้านประชาสังคมและ
78
ชุมชน เครือข่ายธุรกิจเกชน เครือข่ายภาคการเมือง นอกจากนี้แล้ว ยังมีเครือข่ายสนับสนุนด้าน
ภารกิจต่างๆ ได้แก่ ด้านวิชาการจะมีเครือข่ายวิชาการที่มีนักคิด ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการใน
มหาวิทยาลัยเป็นกําลังสําคัญ ด้านการสร้างกระบวนการเรียนรู้จะดึงเครือข่ายระดับโรงเรียนเข้า
มาร่วม ส่วนด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จะสร้างเครือข่ายกับสื่อมวลชน ก่อนที่ในปีที่ 4 หรือปี
สุดท้าย จะเน้นการขับเคลื่อนให้เกิดการนําไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ แกนกลางของกระบวนการ
ขับเคลื่อนมี 3 ระดับได้แก่ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
และกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียง สศช. ซึ่งจะเป็นหน่วยปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนและจะทูลเกล้า
ทูลกระหม่อมถวายการดําเนินงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส
มหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา ในเดือนธันวาคม 2550 บทบาทของภาคีการ
พัฒนาในการสร้างสมดุลและภูมิคุ้มกันทุก ๆ ภาคีการพัฒนาต้องเข้าใจก่อนว่า เศรษฐกิจพอเพียง
หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ แต่ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจที่พึ่งตนเอง 100% โดยไม่พึ่งเงิน ไม่
พึ่งการค้า ไม่สมาคมกับใคร ซึ่งไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงการจะนําเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นปรัชญามาใช้
ทุกฝ่ายต้องมองให้ออกและเข้าใจอย่างถ่องแท้ “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน
ปรัชญานี้กับคนทุกระดับ ไม่ใช่ให้กับชาวนาอย่างเดียวในภาคประชาสังคม ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับ
ครอบครัว ไปจนถึงระดับชุมชน ต้องรู้จักความพอดี พอเพียงความมีเหตุมีผล ระบบภูมิคุ้มกันทั้งปวง
ต้องโยงกับคุณธรรม และถือเป็นปรัชญาหลักถ้าจะเอาปรัชญาไปปฏิบัติก็ต้องขบคิดให้เหมาะสมกับ
อาชีพของแต่ละคน อย่างในภาครัฐหรือภาคราชการ ก็ใช้ชีวิตทํางานให้พอดี มีบ้านแต่พอดี ดํารง
ฐานะให้เหมาะสม ขยันทํา และทําให้มาก ท่านยังแปลลึกลงไปอีกว่า หมายถึง ถ้าขยัน ยิ่งทํายิ่ง
พึ่งตนเอง โดยไม่พึ่งคนอื่นมากจนเกินไป ขณะเดียวกัน ถ้าไม่ฟุ้งเฟ้อ ก็ลดปัญหาการคอรัปชั่นมาก ”
ขณะที่ในภาคธุรกิจเอกชนนั้น ยังผลักดันในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกันน้อย เนื่องจากมองว่าเป็น
แนวคิดที่อยู่คนละด้านกับการทําธุรกิจที่มุ่งการสร้างกําไร ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถปรับใช้เข้าหากันได้
และจะก่อให้เกิดความยั่งยืนมากกว่า “ สังคมไทยพึ่งตลาด ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี สมองของคน
ต่างชาติมากเกินไป พึ่งเงินทุนจากต่างประเทศ สังคมไทยอยู่ได้เพราะยืมจมูกคนอื่นหายใจ ยืมเขาทั่ว
โลก ทั่วโลกเรียกสิ่งที่ทํากันวันนี้ว่า Trade Economy คือ ขายทุกอย่าง ซึ่งแตกตางจากเศรษฐกิจ
พอเพียง ไม่ได้หมายความว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ค้าขาย แต่ให้ทําอย่างพออยู่พอกินก่อนที่จะขาย
คือ การสร้างพื้นฐานของตัวเองให้แน่นซึ่งจะช่วยให้ทําการค้าหรือแข่งกับใครในโลกก็ได้ ค้าขายไม่ดีก็
ไม่ต้องกลัว ธุรกิจไม่ดีก็ไม่ต้องปลดคนงาน การพึ่งพาตนเองแบบนี้มันเอื้อกันหมด ” สําหรับใน
ภาคอุตสาหกรรม ก็สามรถนํา “ เศรษฐกิจพอเพียง ” มาประยุกต์ใช้ได้ คือ เน้นการผลิตด้าน
การเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทําอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากทําอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ ก็จะต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบ และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อนํามาผลิตสินค้า ต้อง
คํานึงถึงสิ่งที่มีอยู่ในประเทศก่อน จึงจะทําให้ประเทศไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติอย่างเช่นปัจจุบันดังนั้น
79
ต้องทําให้ประเทศมีความเข้มแข็ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ได้เป็นผู้จุดประกายระบบเศรษฐกิจ
แบบพอเพียง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัญหาการนําเข้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่นํามาใช้ในการผลิตที่เป็น
ลักษณะพึ่งพา ซึ่งมีมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ทุกคนมองข้ามประเด็นนี้ไป ตลอดจนได้รับผลจากภายนอก
ประเทศทําให้ประชาชนหลงลืม และมึนเมาอยู่กับการเป็นนักบริโภคนิยม รับเอาของต่างชาติเข้ามา
อย่างไม่รู้ตัว และรวดเร็วจนทําให้เศรษฐกิจของไทยตกต่ําที่สําคัญที่สุด ที่จะทําให้ทุกภาคีการพัฒนา
สามารถร่วมกันผลักดันให้ประเทศก้าวเข้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการเข้ามาแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็น รับฟังแต่ละฝ่ายโดยปราศจากอคติ หากมีตัวอย่างความสําเร็จใดๆ ที่นํามาเป็นกรณีตัวอย่างได้
ก็ควรนํามาใช้ในการระดมสมอง หรือดึงประเด็นสําคัญๆ ขึ้นมาเป็นแนวทางในการพัฒนานอกจากนี้
ความสําเร็จของทุกภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรจะต้องเกิดจากการ
“ ระเบิดออกมาจากภายใน ” ของแต่ละภาคส่วน เพราะเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ความสําเร็จจะ
อยู่ที่ใจตนเป็นสําคัญ
7.5 สรุป
การให้ความหมายของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จากประสบการณ์ของชุมชน ทําให้แนวคิดมี
ลักษณะของรูปธรรม ที่สามารถนําไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมของแต่ละ
พื้นที่ และทําให้เกิดความสอดคล้องต่อลักษณะสังคมและวัฒนธรรม และสอดคล้องต่อวิถีชุมชน
การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมีเสถียรภาพ
เกิดความมั่นคงท่ามกลางสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพึ่งพาตนเอง
นําไปสู่การพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอกน้อยลงและทําให้เกิดรากฐานความมั่นคงของตัวเอง
นอกจากนั้น การประยุกต์แนวคิดดังกล่าวสิ่งที่ก่อให้เกิดจิตสํานึกด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ซึ่งสามารถลดปัญหาการคอรัปชั่น ของทั้งในภาครัฐและภาคประชาชน ทั้งยังทําให้เกิดผลตาม
เป้าหมายด้านการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและท้องถิ่น
แบบฝึกหัด
1. นักศึกษาอภิปรายและนําเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากประสบการณ์ของชุมชน
2. นักศึกษาค้นหาความหมายและคุณค่าของวิถีชุมชนจากการศึกษาข้อมูลต่างๆจากเอกสาร
เว็บไซด์ และการลงไปศึกษาพูดคุยกับบุคคลต่างๆภายในชุมชนที่นักศึกษาอาศัยอยู่
3. อธิบายกระบวนการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคม
4. อธิบายขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
80
5. นักศึกษามีความเข้าใจต่อการสร้างเครือข่ายและภาคีต่อการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียงอย่างไร
6. จากแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากประสบการณ์ของชุมชน ทําให้การ
ประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวเกิดความสอดคล้องต่อวิถีชุมชนอย่างไร
7. กรอบการวางแผนพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการศึกษากรณีศึกษาแล้วนํา
แนวคิดจากประสบการณ์จริงมาประยุกต์ใช้ ให้นักศึกษา ศึกษากรณีศึกษาแล้วสรุปแนวคิดเพื่อการ
ประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวเพื่อการพัฒนาแล้วนําเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้
8. ปัจจัยขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นองค์ประกอบสําคัญต่อการพัฒนาตาม
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ให้นักศึกษาอธิบายปัจจัยขับเคลื่อนดังกล่าว
9. หลักการของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งกระตุ้นให้เกิดจิตสํานึกกระบวนทัศน์และ
วัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ โดยสามารถนํามาประยุกต์เพื่อปรับใช้ในยุคของการเปลี่ยนแปลงของโลกา
ภิวัตน์อย่างไร
10. ทุนทางสังคมมีผลต่อการรวมกลุ่มกิจกรรมของชุมชนอย่างไร จงอธิบาย
เชิงอรรถ
1
ดูรายละเอียดใน สํานักประชาสัมพันธ์เขต 8.(ม.ป.ป.). ข้อมูลสนับสนุนการประชาสัมพันธ์
โครงการประชาสัมพันธ์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ส่วนแผนงานสํานักงานประชาสัมพันธ์เขต 5
จังหวัดสุราษฎร์ธานี region5.prd.go.th/ewt_dl_link.php?nid=19431&filename.
2
อ่านรายละเอียดใน นายมีเดีย http://www.mediathailand.blogspot.com/2012
/07/blogpost_25. html.
3
อ่านรายละเอียดในวรรณกรรมปริทรรศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในวรรณกรรม
ปริทรรศน์: ปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.หน้า36-53.(รวบรวมไว้ในhttp://
rotoratuk.blogspot.com/p/blog-page_12.http://www.scribd.com/doc/131261716/๓การ
บริหารเศรษฐกิจรายสาขา-1)
4
อ่านรายละเอียดใน จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2548). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. วารสาร
เศรษฐกิจและสังคม ปีที่ 42 ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม. หน้า 41-47. สํานักงาน
คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
81
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2546). วรรณกรรม
ปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 10 เม.ย.2557, http://supwat.
blogspot.com.
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2548). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.สัมภาษณ์พิเศษ. วารสาร
เศรษฐกิจและสังคม ปีที่ 42 ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม. หน้า 41-47. สํานักงาน
คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
นายมีเดีย. (ม.ป.ป.). นิยามความหมาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 2 มี.ค. 2557, http://www.
media thailand. blogspot.com/ 2012/07/ blogpost_ 25 Html.
สํานักประชาสัมพันธ์เขต8. (ม.ป.ป.). ข้อมูลสนับสนุนการประชาสัมพันธ์โครงการประชาสัมพันธ์
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง .ส่วนแผนงานสํานักงานประชา สัมพันธ์เขต 5จังหวัดสุราษฎร์ธานี .
2 มี.ค. 2557, http://www. region5.prd.go.th/ewt_dl_link.php? nid=19431
& filename.

More Related Content

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่ 7

ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์ทับทิม เจริญตา
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...freelance
 
เสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมเสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมchanhom357
 
Thinking and doing school
Thinking and doing schoolThinking and doing school
Thinking and doing schoolWC Triumph
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11wanneemayss
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826gam030
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11benty2443
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่ 7 (20)

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
project
projectproject
project
 
Microsoft word สัปดาห์ที่1
Microsoft word   สัปดาห์ที่1Microsoft word   สัปดาห์ที่1
Microsoft word สัปดาห์ที่1
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
 
เสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมเสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรม
 
Thinking and doing school
Thinking and doing schoolThinking and doing school
Thinking and doing school
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สารบัญ
Microsoft word   สารบัญMicrosoft word   สารบัญ
Microsoft word สารบัญ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
Microsoft word สัปดาห์ที่14
Microsoft word   สัปดาห์ที่14Microsoft word   สัปดาห์ที่14
Microsoft word สัปดาห์ที่14
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Microsoft word สัปดาห์ที่10
Microsoft word   สัปดาห์ที่10Microsoft word   สัปดาห์ที่10
Microsoft word สัปดาห์ที่10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
 

Microsoft word สัปดาห์ที่ 7

  • 1. แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 7 หัวข้อเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีชุมชน รายละเอียด ความหมายจากประสบการณ์ของชุมชน ความหมายต่อแนวคิดที่สะท้อนจากชุมชน การปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อโลกาภิวัตน์ ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมายในแต่ละภาค จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยายเนื้อหาวิชา 2. การซักถาม อภิปราย นําเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน สื่อการสอน 1. การบรรยาย 2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การนําเสนอแนวคิด 3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา 1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1 การทดสอบย่อยและแบบฝึกหัดในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง 2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. สัดส่วนของการประเมิน (5 คะแนน) 3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 60 3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอร้อยละ 40
  • 2. 72 เนื้อหาที่สอน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีชุมชน 7.1 ความหมายจากประสบการณ์ของชุมชน ความหมายต่อแนวคิดที่สะท้อนจากชุมชน เป็นการนิยามกิจกรรมตั้งแต่ระดับปัจเจก ระดับ ครัวเรือน ระดับชุมชน ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ ความหมายระดับปัจเจก ระดับครัวเรือน ชุมชนและท้องถิ่น ได้ครอบคลุมลักษณะเชิง โครงสร้างทางการผลิตที่ถือว่าการผลิตไม่ว่าจะเป็นการเกษตร ปศุสัตว์ หรือแม้แต่อุตสาหกรรม ครัวเรือนและอุตสาหกรรมของชุมชนและท้องถิ่น ล้วนเป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยการผลิตไม่ว่าจะเป็น แรงงาน ทุน ทรัพยากรภายในและภายนอกชุมชน รวมถึงเจ้าของปัจจัยการผลิตและผลผลิต ทั้งนี้ ความหมายที่สะท้อนจากชุมชนข้างต้น ยังรวมถึงการบริโภค การจําหน่าย การจ่ายแจก การมีส่วน ร่วมกันทํากิจกรรมด้านการผลิต การบริโภคผลผลิต การเป็นเจ้าของการผลิตและผลผลิต ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวมีรากฐานมาจากภายในชุมชนที่มีร่วมกัน ได้แก่ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย จริยธรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมภายในชุมชนและท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากชุมชนโดยการจัดสัมมนาผู้นําชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นและเพื่อให้นิยามของคําว่า เศรษฐกิจพอเพียง ของสํานักงานประชาสัมพันธ์เขต 5 จังหวัดสุ ราษฎร์ธานี ในโครงการประชาสัมพันธ์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า 1 นิยามดังกล่าวแบ่งได้ เป็น 3 ประเด็นหลักได้แก่ 1) กิจกรรมการผลิต โดยเฉพาะในภาคการเกษตร ที่ไม่ทําลาย สิ่งแวดล้อมแต่ใช้ทรัพยากรที่ มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า ด้วยการหมุนเวียนทุนธรรมชาติภายในพื้นที่ และด้วยวิธีการทําเกษตร ที่เน้น ปลูกเพื่อกินเองก่อน ที่ผ่านมาชุมชนได้ทํากิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมการ ทําปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผักและข้าวที่ปลอดสารพิษ การทําสวนสมุนไพรของชุมชน การคิดค้นสารไล่ แมลงสมุนไพร การทําถ่านชีวภาพ การรวมกลุ่มขยายพันธุ์ปลา การแปรรูปผลผลิตและการทําการ เกษตรผสมผสาน เป็นต้น 2) การรวมกลุ่มกันเพื่อทํากิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชุมชน ด้วยทุนทางสังคมที่มีอยู่ ชุมชนได้รวมตัวกันทํากิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากความรักและความเอื้ออาทรของสมาชิกในชุมชน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพย์ติด การนมัสการพระให้มาช่วยสอนจริยธรรมและศีลธรรมในโรงเรียนของ ชุมชน กิจกรรมการรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านศูนย์การเรียนรู้ หรือโรงเรียนเกษตรกรในหมู่บ้าน การร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในชุมชนทํากิจกรรมต่าง ๆ ภายในวัด การจัดตั้งร้านค้าที่เป็นของชุมชน เอง การจัดทําแผนแม่บทชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ การรวมกลุ่ม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการผลิตของกลุ่มต่างๆ เช่น การรวมกลุ่มทํา ขนมของแม่บ้าน หรือรวมกลุ่มเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว นอกจากนี้ชุมชน ยังได้ตั้งกองทุนข้าวสาร ร่วมกับชุมชนอื่นๆในต่างภูมิภาค เพื่อค้าขายหรือผลิตระหว่างกัน รวมทั้งเพื่อการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ประสบการณ์และขยายผลการพัฒนาไปยังเครือข่ายชุมชนอื่น ๆ ด้วย
  • 3. 73 3) กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จิตสํานึกท้องถิ่น ส่งเสริมวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของเศรษฐกิจ พอเพียง ชุมชนได้เริ่มกิจกรรม ที่มุ่งปลูกฝังจริยธรรมความดีงามและจิตสํานึกรักท้องถิ่นให้เกิดขึ้นแก่ สมาชิกของชุมชน เช่น กิจกรรมที่ปลูกฝังสมาชิกในชุมชนให้มีความเอื้ออาทรต่อกันมากกว่าคํานึงถึง ตัวเงินหรือวัตถุเป็นพื้นฐานความสัมพันธ์ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกทําบัญชีอย่างโปร่งใสและสุจริต กิจกรรมการพัฒนาครูในชุมชนให้มีคุณภาพและมีจิตผูกพันกับท้องถิ่นเป็นสําคัญ รวมทั้งกิจกรรมที่ ส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนพึ่งตนเองก่อนที่จะพึ่งหรือขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ดังนั้น การให้ความหมายจากประสบการณ์ของชุมชนข้างต้น จึงเป็นนิยามของการประยุกต์ แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เกิดความสอดคล้องกับวิถีชุมชน 7.2 การปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อโลกาภิวัตน์ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงในอีกแง่มุมหนึ่งคือ2 ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาค ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพา ปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความ ระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและดําเนินการทุกขั้นตอน และ ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสํานึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมที่จะ รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการ ดําเนินชีวิตเพื่อนําไปสู่ความพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดํารงอยู่และปฏิบัติตน ของคน ไทย สังคมไทย เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุลและ พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและ วัฒนธรรม หลักความพอเพียงเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดําเนินชีวิต ก็จะสามารถอยู่ได้อย่าง รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ปรับตัวและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้ เศรษฐกิจพอเพียงใน ระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดํารงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณ ตนตามฐานะ ตามอัตภาพและที่สําคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่ พันธนาการอยู่กับสิ่งใดเศรษฐกิจชุมชนที่พึงปรารถนา คือกิจกรรมเศรษฐกิจ ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ที่คนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมเป็นเจ้าของ โดยการพัฒนาจากฐานของ “ ศักยภาพของท้องถิ่น ” หรือ “ ทุนในชุมชน ” ซึ่ง
  • 4. 74 ร่วมถึงเงินทุน แรงงาน วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ วัด ที่ดิน แหล่งน้ํา ความหลากหลาย ทางชีวภาพ สภาพภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ฯลฯเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรมในชุมชน ความพอเพียงที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นหลักการและเป็นแนวคิดกระตุ้นให้เกิด จิตสํานึก กระบวนทัศน์ และวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ โดยสามารถนํามาประยุกต์เพื่อปรับใช้ในยุคของการเปลี่ยนแปลงของ โลกาภิวัตน์คือ 1) ความมีวินัย เช่น วินัยทางการเงิน วินัยในการออม เพื่ออนาคต ระมัดระวังไม่ในการใช้ จ่ายเพื่อไม่ให้เกิดหนี้สินเกินความสามารถและต้องไม่โลภ 2) ใฝ่รู้ขวนขวายตามหลักการสําคัญของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเนื่องจากในปัจจุบันคือ ยุคแห่งการเรียนรู้ และสามารถสืบค้นข้อมูลต่างๆ โดยผ่านเว็บไซด์เพื่อหาข้อมูลที่ต้องการ หรือเพื่อ การอ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โปรแกรมสนทนา 3) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) 4) การถนอมใช้ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสภาพแวดล้อม 5) การปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรม ทั้งนี้ การปฏิสัมพันธ์ในระดับภูมิภาคหรือระดับระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถ หลีกเลี่ยงได้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการปฏิสัมพันธ์ในด้านเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ดังนั้น การปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกระแสโลกาภิวัตน์ คือการใช้ปัจจัยข้างต้นเป็นเครื่องมือในการ สร้างเสริมให้เกิดความเข้มแข็งภายในแล้วจึงเชื่อมต่อไปสู่ภายนอก เนื่องจากความเข้มแข็งจะ ก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การมีนวัตกรรมของเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นจากภูมิปัญญาของตนเอง อันเนื่องมาจากความคิดริเริ่ม การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และการขวนขวายเรียนรู่อยู่ตลอดเวลา การมี คุณภาพในเชิงมาตรฐานผลผลิตและบริการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เนื่องจากจิตสํานึกที่มี คุณธรรมและจริยธรรมในการดํารงไว้ซึ่งมาตรฐานของสิ่งดังกล่าว ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่ มีคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรมและคุณประโยชน์ในเชิงการใช้ประโยชน์ 7.3 ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง คือปัจจัยของความเข้มแข็ง 4 ประการ ได้แก่4 1) ปัจจัยด้านทุนทางสังคมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ได้แก่ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา นวัตกรรมเทคโนโลยี ความเอื้ออาทรต่อกัน ความสัมพันธ์และความไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นต้น
  • 5. 75 จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของชุมชนพบว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านทุน ทางสังคมคือกระบวนการการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยมีเป้าหมายของผลประโยชน์ร่วมกันสร้าง เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ เรียกว่า กระบวนการขับเคลื่อนทุนทางสังคม ภาพที่ 7.1 กระบวนการขับเคลื่อนทุนทางสังคม ที่มา: วรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 2546 : 40 2) ปัจจัยด้านการรวมกลุ่มและการเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นการรวมกลุ่มเพื่อประกอบ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกันของคนในชุมชนและระหว่างชุมชน ด้วยการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การเรียนรู้ถึงความสําเร็จและความล้มเหลวของการประกอบกิจกรรม กระบวนการ สําคัญของปัจจัยด้านการรวมกลุ่มและการเป็นชุมชนที่เข้มแข็งคือ ภาวะผู้นําของกลุ่ม การเลือก ตัวแทนผู้นําคนเดิม การถ่ายทอดภูมิปัญญา ความรู้และเทคโนโลยี และการเรียนรู้โดยวิธีการค้นหา ชุมชนเข้มแข็งหลัก ชุมชนเข้มแข็งรองและชุมชนเงาเพื่อการถ่ายทอดและเป็นแกนหลักของเครือข่าย เพื่อการถ่ายทอดการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่สําคัญคือการแสวงหาแหล่งเงินทุนในการดําเนินการ ดังกล่าว 3) ปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่มีอยู่และเป็นข้อได้เปรียบต่อการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ และสามารถ พัฒนาไปสู่การปฏิสัมพันธ์ในเชิงโลกาภิวัตน์ ดังนั้นการดํารงรักษาปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสําคัญ แนวคิดจากประสบการณ์ของชุมชนต่อแนวคิดดังกล่าว คือกระบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหา สํานึก กระบวนการ มาตรการ การคํานึงถึง ผลประโยชน์ร่วมกันการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือกันในการพัฒนา
  • 6. 76 ด้วยการสร้างจิตสํานึกต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้างองค์ความรู้รวมทั้งการ ทําความเข้าใจต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการรวมกลุ่มการเรียนรู้แก่คนรุ่นใหม่ การ มีมาตรการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน มาตรการในการดํารงดูแลรักษา ท้ายที่สุดคือการ ส่งเสริมการอนุรักษ์การฟื้นฟูในสิ่งที่ถูกทําลายไปให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ 4) ปัจจัยด้านนโยบาย เป็นปัจจัยด้านการกําหนดในระดับ ธรรมนูญการปกครอง นโยบาย การพัฒนาซึ่งกําหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญของประเทศ นโยบายการพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม กฎหมาย อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุปสรรคของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่ การขาดจิตสํานึก การความเอื้ออาทร ความพอดีอันเป็นสิ่งจําเป็นต่อแนวคิดความพอเพียง 7.4 เป้าหมายในแต่ละภาค เป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการจัดกระทําในระดับภูมิภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกและตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ทั้งนี้ การ ดําเนิน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวกระทําภายใต้พื้นฐานแนวคิดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ข้างต้น กล่าวคือเน้นเป้าหมายในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์จากความสําเร็จและความล้มเหลว รวมถึงการปลูกฝังจิตสํานึกเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ของชุมชนในภูมิภาคต่างๆ โดยการดึงทุนทางสังคมออกมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสิ่งดังกล่าว 1) การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง4 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ริเริ่มการ สร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสานต่อความคิดและเชื่อมโยงการขยายผลที่เกิดจาก การนําหลักปรัชญาฯ ไปใช้อย่าง หลากหลาย รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้อง ซึ่งจะนําไปสู่การยอมรับ และการนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของ สังคมอย่างจริงจัง " … ในการพัฒนาประเทศนั้นจําเป็นต้องทําตามลําดับขั้นเริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของ ประชาชนก่อนด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชาเมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่งคงพอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นสูงขึ้นตามลําดับต่อไป… การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ค่อยเป็นไป ตามลําดับด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้นก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลวและเพื่อให้ บรรลุผลสําเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์ " พระบรมราชโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 19 กรกฎาคม 2517
  • 7. 77 2) บทสัมภาษณ์พิเศษ ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณอยุธยาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พอเพียง จากพระบรมราโชวาทและพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี 2517 พบว่า พระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ําแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมี พอกิน พอใช้การรู้จักความพอประมาณการคํานึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวทรงเตือนสติ ประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาทตระหนักถึงการพัฒนาตามลําดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนําหลัก เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถี ชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน “ วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทุกคนสามารถนําหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่าง เหมาะสม และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดํารงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจ พอเพียง ตลอดจนนําไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ” ก้าว แรกจุดประกาย ก้าวสองตอกเสาเข็มหลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจพอเพียงควรเป็นปรัชญานําทางในการ พัฒนาประเทศ ซึ่งนําไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่หลายคนไม่ทราบว่า จริง ๆ แล้วได้มีการผลักดันเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ปี 2542 โดยมีสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นแกนหลักและมีการตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อนได้มีการจัดทําแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง 4 ปีในช่วงปี 2547 – 2550 โดยปีแรก เน้นการจุดประกายความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ให้คนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง และเกิดความตื่นตัว ต่อมาในช่วงปีที่ 2 ถือว่าเป็นช่วงสําคัญคือ การตอกเสาเข็ม ที่จะเน้นการสร้าง Case Study หรือทําให้ประชาชนเห็นว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงทําได้และประสบความสําเร็จได้จริงๆ ที่สําคัญต้องสร้างความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงมิได้จํากัดเฉพาะเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเพียง เท่านั้น แต่เป็นเศรษฐกิจของทุกคน ทุกอาชีพ ทั้งที่อยู่ในเมืองและอยู่ในชนบท “ ผู้ที่เป็นเจ้าของ โรงงานอุตสาหกรรมและบริษัทในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าจะต้องขยายกิจการก็จะขยายเพราะ ความเจริญเติบโตจากเนื้อของงาน โดยอาศัยการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือหากจะกู้ยืมก็ กระทําตามความเหมาะสมไม่ใช่กู้มาลงทุนจนเกินตัวจนไม่เหลือที่มั่นให้ยืนอยู่ได้ เมื่อภาวะของเงินผัน ผวนประชาชนจะต้องไม่ใช่จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว เกษตรกรก็ทําไร่ทํานา ปลูกพืชแบบผสมผสานในที่ แห้งแล้งตามแนว “ ทฤษฎีใหม่ ” หากไม่มีความพอประมาณในใจตน นึกแต่จะซื้อรถปิคอัพคันใหม่ หรือเครื่องอํานวยความสะดวกอื่นๆ อยู่ร่ําไปย่อมไม่ถือว่าประพฤติตนอยู่ในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดําริ เร่งสร้างเครือข่ายและนําไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมในช่วงปีที่ 3 เป็นช่วงของการ สร้างเครือข่าย โดยการขับเคลื่อนจะเป็นลักษณะการระดมพลังจากทุกภาคส่วนแบ่งเป็น 2 เครือข่าย สนับสนุนตามกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น ได้แก่เครือข่ายภาครัฐทั้งหมด เครือข่ายด้านประชาสังคมและ
  • 8. 78 ชุมชน เครือข่ายธุรกิจเกชน เครือข่ายภาคการเมือง นอกจากนี้แล้ว ยังมีเครือข่ายสนับสนุนด้าน ภารกิจต่างๆ ได้แก่ ด้านวิชาการจะมีเครือข่ายวิชาการที่มีนักคิด ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการใน มหาวิทยาลัยเป็นกําลังสําคัญ ด้านการสร้างกระบวนการเรียนรู้จะดึงเครือข่ายระดับโรงเรียนเข้า มาร่วม ส่วนด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จะสร้างเครือข่ายกับสื่อมวลชน ก่อนที่ในปีที่ 4 หรือปี สุดท้าย จะเน้นการขับเคลื่อนให้เกิดการนําไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ แกนกลางของกระบวนการ ขับเคลื่อนมี 3 ระดับได้แก่ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียง สศช. ซึ่งจะเป็นหน่วยปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนและจะทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายการดําเนินงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส มหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา ในเดือนธันวาคม 2550 บทบาทของภาคีการ พัฒนาในการสร้างสมดุลและภูมิคุ้มกันทุก ๆ ภาคีการพัฒนาต้องเข้าใจก่อนว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ แต่ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจที่พึ่งตนเอง 100% โดยไม่พึ่งเงิน ไม่ พึ่งการค้า ไม่สมาคมกับใคร ซึ่งไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงการจะนําเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นปรัชญามาใช้ ทุกฝ่ายต้องมองให้ออกและเข้าใจอย่างถ่องแท้ “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน ปรัชญานี้กับคนทุกระดับ ไม่ใช่ให้กับชาวนาอย่างเดียวในภาคประชาสังคม ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับ ครอบครัว ไปจนถึงระดับชุมชน ต้องรู้จักความพอดี พอเพียงความมีเหตุมีผล ระบบภูมิคุ้มกันทั้งปวง ต้องโยงกับคุณธรรม และถือเป็นปรัชญาหลักถ้าจะเอาปรัชญาไปปฏิบัติก็ต้องขบคิดให้เหมาะสมกับ อาชีพของแต่ละคน อย่างในภาครัฐหรือภาคราชการ ก็ใช้ชีวิตทํางานให้พอดี มีบ้านแต่พอดี ดํารง ฐานะให้เหมาะสม ขยันทํา และทําให้มาก ท่านยังแปลลึกลงไปอีกว่า หมายถึง ถ้าขยัน ยิ่งทํายิ่ง พึ่งตนเอง โดยไม่พึ่งคนอื่นมากจนเกินไป ขณะเดียวกัน ถ้าไม่ฟุ้งเฟ้อ ก็ลดปัญหาการคอรัปชั่นมาก ” ขณะที่ในภาคธุรกิจเอกชนนั้น ยังผลักดันในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกันน้อย เนื่องจากมองว่าเป็น แนวคิดที่อยู่คนละด้านกับการทําธุรกิจที่มุ่งการสร้างกําไร ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถปรับใช้เข้าหากันได้ และจะก่อให้เกิดความยั่งยืนมากกว่า “ สังคมไทยพึ่งตลาด ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี สมองของคน ต่างชาติมากเกินไป พึ่งเงินทุนจากต่างประเทศ สังคมไทยอยู่ได้เพราะยืมจมูกคนอื่นหายใจ ยืมเขาทั่ว โลก ทั่วโลกเรียกสิ่งที่ทํากันวันนี้ว่า Trade Economy คือ ขายทุกอย่าง ซึ่งแตกตางจากเศรษฐกิจ พอเพียง ไม่ได้หมายความว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ค้าขาย แต่ให้ทําอย่างพออยู่พอกินก่อนที่จะขาย คือ การสร้างพื้นฐานของตัวเองให้แน่นซึ่งจะช่วยให้ทําการค้าหรือแข่งกับใครในโลกก็ได้ ค้าขายไม่ดีก็ ไม่ต้องกลัว ธุรกิจไม่ดีก็ไม่ต้องปลดคนงาน การพึ่งพาตนเองแบบนี้มันเอื้อกันหมด ” สําหรับใน ภาคอุตสาหกรรม ก็สามรถนํา “ เศรษฐกิจพอเพียง ” มาประยุกต์ใช้ได้ คือ เน้นการผลิตด้าน การเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทําอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากทําอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ ก็จะต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบ และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อนํามาผลิตสินค้า ต้อง คํานึงถึงสิ่งที่มีอยู่ในประเทศก่อน จึงจะทําให้ประเทศไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติอย่างเช่นปัจจุบันดังนั้น
  • 9. 79 ต้องทําให้ประเทศมีความเข้มแข็ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ได้เป็นผู้จุดประกายระบบเศรษฐกิจ แบบพอเพียง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัญหาการนําเข้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่นํามาใช้ในการผลิตที่เป็น ลักษณะพึ่งพา ซึ่งมีมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ทุกคนมองข้ามประเด็นนี้ไป ตลอดจนได้รับผลจากภายนอก ประเทศทําให้ประชาชนหลงลืม และมึนเมาอยู่กับการเป็นนักบริโภคนิยม รับเอาของต่างชาติเข้ามา อย่างไม่รู้ตัว และรวดเร็วจนทําให้เศรษฐกิจของไทยตกต่ําที่สําคัญที่สุด ที่จะทําให้ทุกภาคีการพัฒนา สามารถร่วมกันผลักดันให้ประเทศก้าวเข้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการเข้ามาแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น รับฟังแต่ละฝ่ายโดยปราศจากอคติ หากมีตัวอย่างความสําเร็จใดๆ ที่นํามาเป็นกรณีตัวอย่างได้ ก็ควรนํามาใช้ในการระดมสมอง หรือดึงประเด็นสําคัญๆ ขึ้นมาเป็นแนวทางในการพัฒนานอกจากนี้ ความสําเร็จของทุกภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรจะต้องเกิดจากการ “ ระเบิดออกมาจากภายใน ” ของแต่ละภาคส่วน เพราะเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ความสําเร็จจะ อยู่ที่ใจตนเป็นสําคัญ 7.5 สรุป การให้ความหมายของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จากประสบการณ์ของชุมชน ทําให้แนวคิดมี ลักษณะของรูปธรรม ที่สามารถนําไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมของแต่ละ พื้นที่ และทําให้เกิดความสอดคล้องต่อลักษณะสังคมและวัฒนธรรม และสอดคล้องต่อวิถีชุมชน การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมีเสถียรภาพ เกิดความมั่นคงท่ามกลางสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพึ่งพาตนเอง นําไปสู่การพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอกน้อยลงและทําให้เกิดรากฐานความมั่นคงของตัวเอง นอกจากนั้น การประยุกต์แนวคิดดังกล่าวสิ่งที่ก่อให้เกิดจิตสํานึกด้านคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งสามารถลดปัญหาการคอรัปชั่น ของทั้งในภาครัฐและภาคประชาชน ทั้งยังทําให้เกิดผลตาม เป้าหมายด้านการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและท้องถิ่น แบบฝึกหัด 1. นักศึกษาอภิปรายและนําเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากประสบการณ์ของชุมชน 2. นักศึกษาค้นหาความหมายและคุณค่าของวิถีชุมชนจากการศึกษาข้อมูลต่างๆจากเอกสาร เว็บไซด์ และการลงไปศึกษาพูดคุยกับบุคคลต่างๆภายในชุมชนที่นักศึกษาอาศัยอยู่ 3. อธิบายกระบวนการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม 4. อธิบายขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
  • 10. 80 5. นักศึกษามีความเข้าใจต่อการสร้างเครือข่ายและภาคีต่อการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียงอย่างไร 6. จากแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากประสบการณ์ของชุมชน ทําให้การ ประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวเกิดความสอดคล้องต่อวิถีชุมชนอย่างไร 7. กรอบการวางแผนพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการศึกษากรณีศึกษาแล้วนํา แนวคิดจากประสบการณ์จริงมาประยุกต์ใช้ ให้นักศึกษา ศึกษากรณีศึกษาแล้วสรุปแนวคิดเพื่อการ ประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวเพื่อการพัฒนาแล้วนําเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 8. ปัจจัยขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นองค์ประกอบสําคัญต่อการพัฒนาตาม แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ให้นักศึกษาอธิบายปัจจัยขับเคลื่อนดังกล่าว 9. หลักการของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งกระตุ้นให้เกิดจิตสํานึกกระบวนทัศน์และ วัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ โดยสามารถนํามาประยุกต์เพื่อปรับใช้ในยุคของการเปลี่ยนแปลงของโลกา ภิวัตน์อย่างไร 10. ทุนทางสังคมมีผลต่อการรวมกลุ่มกิจกรรมของชุมชนอย่างไร จงอธิบาย เชิงอรรถ 1 ดูรายละเอียดใน สํานักประชาสัมพันธ์เขต 8.(ม.ป.ป.). ข้อมูลสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ โครงการประชาสัมพันธ์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ส่วนแผนงานสํานักงานประชาสัมพันธ์เขต 5 จังหวัดสุราษฎร์ธานี region5.prd.go.th/ewt_dl_link.php?nid=19431&filename. 2 อ่านรายละเอียดใน นายมีเดีย http://www.mediathailand.blogspot.com/2012 /07/blogpost_25. html. 3 อ่านรายละเอียดในวรรณกรรมปริทรรศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในวรรณกรรม ปริทรรศน์: ปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.หน้า36-53.(รวบรวมไว้ในhttp:// rotoratuk.blogspot.com/p/blog-page_12.http://www.scribd.com/doc/131261716/๓การ บริหารเศรษฐกิจรายสาขา-1) 4 อ่านรายละเอียดใน จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2548). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. วารสาร เศรษฐกิจและสังคม ปีที่ 42 ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม. หน้า 41-47. สํานักงาน คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
  • 11. 81 เอกสารอ้างอิง กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2546). วรรณกรรม ปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 10 เม.ย.2557, http://supwat. blogspot.com. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2548). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.สัมภาษณ์พิเศษ. วารสาร เศรษฐกิจและสังคม ปีที่ 42 ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม. หน้า 41-47. สํานักงาน คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. นายมีเดีย. (ม.ป.ป.). นิยามความหมาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 2 มี.ค. 2557, http://www. media thailand. blogspot.com/ 2012/07/ blogpost_ 25 Html. สํานักประชาสัมพันธ์เขต8. (ม.ป.ป.). ข้อมูลสนับสนุนการประชาสัมพันธ์โครงการประชาสัมพันธ์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง .ส่วนแผนงานสํานักงานประชา สัมพันธ์เขต 5จังหวัดสุราษฎร์ธานี . 2 มี.ค. 2557, http://www. region5.prd.go.th/ewt_dl_link.php? nid=19431 & filename.