SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 8
หัวข้อเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับความสอดคล้องต่อวิถีชุมชน
รายละเอียด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับความสอดคล้องต่อวิถีและกิจกรรมของชุมชนและ
ท้องถิ่นทั้งในระดับจิตสํานึก ระดับปฏิบัติและระดับปฏิเวธ
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยายเนื้อหาวิชา
2. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน
สื่อการสอน
1. การบรรยาย
2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การอภิปราย การนําเสนอแนวคิด
3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1 การทดสอบย่อยและแบบฝึกหัดในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง
2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. สัดส่วนของการประเมิน (5 คะแนน)
3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 60
3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอร้อยละ 40
84
เนื้อหาที่สอน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับความสอดคล้องกับวิถีชุมชน
8.1 ความสอดคล้องต่อวิถีและกิจกรรมของชุมชนและท้องถิ่น1
ความพอเพียงที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเกิดขึ้นทั้งใน
ระดับบุคคล ครัวเรือนและกลุ่มกิจกรรม โดยสามารถเกิดขึ้นหรือนําไปปฏิบัติได้ใน 3 ระดับ ซึ่งได้แก่
ระดับจิตสํานึก ระดับปฏิบัติ และระดับบังเกิดผลและรับผลจากการปฏิบัติ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) ระดับจิตสํานึก เพื่อให้เกิดการสร้างจิตสํานึกและปรับทัศนคติสู่การพึ่งตนเอง โดย
1.1) สร้างความรู้ความเข้าใจ ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้
1.2) ประเมินตนเองเพื่อให้รู้จักตนเอง รู้ศักยภาพของตนเอง รู้ปัญหาหรือวิกฤตที่
ประสบอยู่
1.3) เกิดความคิด “ พึ่งตนเอง ” โดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหา
1.4) ตั้งใจที่จะใช้ชีวิต “ อยู่อย่างพึ่งตนเอง ” พึ่งตนเองให้ได้โดยลดความต้องการ
(กิเลส) และทําประโยชน์แก่ส่วนรวมมากขึ้น
2) ระดับปฏิบัติ เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองใน 4 ขั้นตอน คือ
2.1) อยู่อย่างพึ่งตนเองในระดับครอบครัว โดยสมาชิกต้องรู้จักพึ่งตนเอง ด้วยการ
ร่วมกันทํากิจกรรมลดรายจ่าย เช่น ลด ละ เลิกอบายมุข ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่สร้างหนี้ ลดรายจ่าย/
ลดต้นทุนการผลิต เช่น ผลิตปุ๋ยชีวภาพ ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัวและเลี้ยง
สัตว์ขนาดเล็กไว้บริโภค โดยยึดหลัก “ ปลูกทุกอย่างที่กิน/กินทุกอย่างที่ปลูก และใช้ทุกอย่างที่ทํา/ทํา
ทุกอย่างที่ใช้ ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้รักษาโรคและรู้จักการเก็บออม ” เป็นต้น
2.2) มีวิถีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง โดยดําเนินชีวิตด้วยการเดินทางสายกลางไม่เบียดเบียน
ตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม เช่น ทําเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน ไร่นาสวนผสม
วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตรชีวภาพ เกษตรไร้สารพิษ เกษตรธรรมชาติ สวนสมุนไพรชุมชน แปร
รูปผลผลิตทางการเกษตรเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ด้านทุน ด้านอาชีพ ด้านสิ่งแวดล้อม และ
ด้านสวัสดิการ เป็นต้น
2.3) รวมกลุ่มในสังคม “ อยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร ” ด้วยการมีความคิดที่จะแจกจ่าย
แบ่งปันให้กับผู้อื่น ซึ่งจะทําให้ได้เพื่อนและเกิดวัฒนธรรมที่ดี ลดความเห็นแก่ตัว โดยจะเห็นได้ว่าใน
ชุมชนที่เข้มแข็งจะมีการรวมกลุ่มกันหลากหลาย และกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้น ถือได้ว่าเป็น “ทุนทาง
สังคมที่สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อการช่วยเหลือตนเอง” ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในลักษณะของ
ความเอื้ออาทร เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
(OTOP) และกลุ่มอนุรักษ์แหล่งน้ําและป่าไม้ชุมชน เป็นต้น
85
นอกจากนี้ยังพบว่า ในแต่ละชุมชนมีการรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตาม
ความพร้อม เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในด้านวัตถุและจิตใจอื่น ๆ อีก เช่น กลุ่มสวัสดิการ
กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ กองทุนสงเคราะห์ผู้ยากไร้ และกลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีเป็นต้น
3) ระดับปฏิเวธหรือระดับการบังเกิดและรับผลจากการปฏิบัติ โดยผลจากการปฏิบัติ ก่อ
ประโยชน์โดยตรงแก่ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับให้แก่บุคคล ครัวเรือน กลุ่ม/องค์กร และชุมชน ได้แก่
3.1) ความพอเพียงในครอบครัว เช่น ครัวเรือนที่มีความเป็นอยู่ที่พึ่งตนเองได้อย่างมี
ความสุขและทางกายและทางใจ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่มีภาระด้านหนี้สินของตนเองและ
ครอบครัว สามารถหาปัจจัยสี่มาเลี้ยงตนเองและครอบครัว มีส่วนเหลือเป็นเงินออมของครอบครัว มี
ส่วนเหลือเป็นเงินออมของครอบครัว และยกระดับรายได้พ้นความยากจน เป็นต้น
3.2) ความพอเพียงในระดับชุมชน เช่น มีการรวมกลุ่มทําประโยชน์เพื่อส่วนรวม บริหาร
ทรัพยากรในชุมชนให้สามารถนําไปดําเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องสมดุล เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่
พอเพียงของชุมชนโดยรวมและชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข เป็นต้น
3.3) ความพอเพียงในระดับกลุ่ม เช่น การรวมกลุ่มของชุมชนหลาย ๆ แห่งที่มีความ
พอเพียง ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา และร่วมกันพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชนแห่งความพอเพียง เกิดเป็นชุมชนแห่งความพอเพียงในที่สุด
เป็นต้น
ตารางที่ 8.1 เศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีชุมชน กรณีตัวอย่าง 2
การจัดการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา: หมู่บ้านคําปลาหลาย ตําบลบ้านดง อําเภอ
อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น พบว่า ในอดีตชุมชนได้รับผลกระทบและประสบปัญหาความยากจนรวมทั้ง
สภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออํานวย เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขา ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกและทํา
การเกษตรเป็นดินภูเขา ชาวบ้านจึงทําไร่ ทํานา และทาการเกษตรแบบดั้งเดิม คือ ปลูกพืชเชิงเดี่ยว มี
รายได้ครั้งเดียวใน 1 ปี จากการทํานาและปลูกมันสําปะหลังเพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบสู่โรงงาน ได้ผลผลิต
ค่อนข้างน้อยและราคามักตกต่ํา ก่อให้เกิดปัญหาความยากจน เป็นหนี้สิน และเกิดผลเสียต่อคุณภาพ
ของดิน จากผลดังกล่าวทําให้ผู้นําชุมชนเกิดความคิดในการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่
เพื่อให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คนในชุมชนเริ่มพัฒนาเป็นขั้นตอนมาเรื่อย ๆ ตามแนวทาง
86
ตารางที่ 8.1 (ต่อ)
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามลําดับ ซึ่งผลจากการดําเนินตามปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ทําให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน ดังนี้
1. การมีแหล่งอาหารในชุมชนเป็นของตนเอง
2. การมีแหล่งธรรมชาติ ต้นไม้ และป่าไม้ มากขึ้น
3. เกิดความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ
4. สังคมดีขึ้น เนื่องจากปัญหาทางด้านหนี้สินและยาเสพติดหมดไป
5. ไม่ต้องโยกย้ายแรงงานไปทํางานต่างถิ่นอีกต่อไป เนื่องจากมีกิน มีใช้หรือได้กลับมาอยู่
ถิ่นเดิมของตนเอง
6. ลูกหลานรู้จักคําว่า “พึ่งตนเอง”
รวมถึงคนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้ ทําให้เห็นว่า ชุมชนบ้านคําปลาหลายมีศักยภาพและมีจุดเด่น เพราะผู้นําชุมชนขยัน ซื่อสัตย์
และมีวิสัยทัศน์ ในการแก้ไขปัญหาและที่สําคัญ คือ สมาชิกในชุมชนมีความสามัคคี ช่วยกันอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนก็เป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้เกิดพลังชุมชนในการ
แก้ไขปัญหา ทําให้ชาวบ้านมีงานทําตลอดทั้งปี ลดปัญหาการว่างงานและการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้า
ไปทํางานในกรุงเทพมหานคร และในตัวเมือง ผลของความสําเร็จโดยสรุปเกิดจาก 3 ปัจจัยสําคัญ
คือ
1) ผู้นําชุมชนมีความรู้ความสามารถ เป็นแกนหลักในการทํากิจกรรมต่าง ๆ และมี
ความสามารถในการหล่อหลอมจิตใจของลูกบ้านให้เป็นหนึ่งเดียว รวมทั้งเป็นผู้นําทางธรรมชาติ
สามารถคิดทําและแก้ไขปัญหาได้
2) สมาชิกในชุมชนมีความสามัคคี ช่วยเหลือและเกื้อกูลกัน มีความขยันหมั่นเพียร ซึ่งจะ
ช่วยให้ชุมชนมีความมั่นคง ยืนหยัดอยู่ได้ รวมทั้งสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
3) กระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับปัญหา เช่น การจัดการอบรม ประชุม และดูงานเพื่อ
เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา รวมถึงปัจจัยด้านอื่นที่มีผลต่อชุมชนจากปัจจัยดังกล่าว
ถือเป็นกลยุทธ์ที่สามารถเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งที่จะก้าวไปพร้อมเทคโนโลยีที่มีการ
พัฒนามากยิ่งขึ้น และรู้จักนําเอาประสบการณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสม
ช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้อย่างลงตัว
87
ตารางที่ 8.1 (ต่อ)
การหันกลับมาใช้ชีวิตแบบวิถีชีวิตชนบทไทย ในขณะที่โลกกําลังเปลี่ยนแปลง มีเทคโนโลยีที่
ทันสมัย แต่ขาดความมีชีวิตชีวาในการที่จะได้สัมผัสและรับรู้ในธรรมชาติ ดังนั้น “ สูงสุดคืนสู่
สามัญ ” อาจเป็นคําตอบหนึ่ง หากคนเราไม่รู้จักคาว่า “ พอ ” และไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่
การไขว้คว้าหาสิ่งที่อยากได้ก็จะเริ่มขึ้นและผลที่ตามมาคือ วิถีชีวิตและกระแสวัฒนธรรมในสังคม
แบบสมัยใหม่ที่ได้ส่งผลเสียและส่งผลกระทบต่อคนในชุมชน การทําการเกษตรผสมผสานต้อง
มองแบบย้อนอดีต แต่เดิมแม้ว่าคนไทยไม่ได้มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย แต่ก็มิได้ก่อให้เกิด
ปัญหาความยากจนเนื่องจากทํามาหากินในรูปแบบพอเพียง มีการแลกเปลี่ยนเพื่อให้มีอยู่มีกิน
อย่างมีความสุข ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบกับสังคมในยุคปัจจุบันที่มีแต่การแข่งขันและเน้นการ
จับจ่ายใช้สอยเพื่อแลกกับความสุขและความสะดวกสบายเฉพาะหน้า มีการใช้ทรัพยากรอย่าง
สิ้นเปลือง เมื่อเกิดภาวะวิกฤตก็จะไม่สามารถใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้อีกต่อไป
จากผลการศึกษา พบว่า การที่ นายถาวร สรรสมบัติ อดีตผู้ใหญ่บ้านคําปลาหลาย ได้
เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านการเกษตร ชักชวนชาวบ้านให้หันกลับมาทําเกษตรอินทรีย์ โดยใช้
ปุ๋ยคอกและสารหมักชีวภาพเพื่อลดรายจ่าย ทําบัญชีรายรับ – รายจ่ายในครัวเรือน เพื่อหาทาง
ลดรายจ่าย ลดสิ่งฟุ่มเฟือย ออมเงิน ปลูกไม้ผลไว้กิน ที่เหลือนําไปแบ่งปันและขายเพื่อเพิ่ม
รายได้ และรวมพลังสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพราะความห่างไกลตลาด การคมนาคมไม่
สะดวก ความต้องการด้านสินค้าอุปโภคบริโภคที่จําเป็น ชาวบ้านจึงร่วมกันจัดตั้งศูนย์สาธิต
การตลาดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่จําหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่สมาชิกในราคาประหยัดและ
เป็นธรรม พร้อมทั้งเฉลี่ยผลกําไรคืนให้แก่สมาชิก โดยยึดหลักคุณธรรม 5 ประการ สู่ความสําเร็จ
คือ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นใจกัน และความไว้วางใจกัน จึงทํา
ให้การจัดการชุมชนบ้านคําปลาหลายประสบความสําเร็จอย่างยั่งยืนจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ จากการ
ที่ได้ไปสัมภาษณ์ผู้นําชุมชนของหมู่บ้านคําปลาหลาย จึงได้นําข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มา
วิเคราะห์และสรุปเป็นประเด็นโดยแบ่งเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนของการจัดการชุมชนเศรษฐกิจ
พอเพียงของชุมชนบ้านคําปลาหลายได้ ดังนี้
1. จุดแข็งของการจัดการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคําปลาหลาย
1.1 การมีผู้นําชุมชนที่เข้มแข็ง
1.2 ความพร้อมของชาวบ้านที่มีที่ดินเป็นของตัวเอง และที่ดินไม่มีการติดภาระ
จํานําหรือจํานองใด ๆ โดยชาวบ้านจะมีที่ดินขั้นต่ําตั้งแต่ 15 ไร่ขึ้นไป
1.3 ชาวบ้านในชุมชนมีความตั้งใจจริงที่จะพัฒนาหมู่บ้านคําปลาหลายอย่างแน่วแน่
โดยยึดแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
88
ตารางที่ 8.1 (ต่อ)
1.4 ชาวบ้านมีความรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้
1.5 มีผู้นําชุมชน 2 ลักษณะ คือ ผู้นําตามธรรมชาติ และผู้นําที่เป็นทางการ คือ ได้รับ
การแต่งตั้งซึ่งผู้นําทั้ง 2 ลักษณะสามารถทางานสอดประสานกันได้อย่างลงตัว จึงเกิดการร่วมมือ
กันในการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
1.6 มีการส่งเสริมการเรียนรู้ของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น การเดินทางไปศึกษา
ดูงานนอกสถานที่ เป็นต้น
2. จุดอ่อนของการจัดการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคําปลาหลาย
2.1 หน่วยงานราชการไม่ได้ให้ความสําคัญในการจัดสรรงบประมาณในอันดับต้น ๆ
เนื่องจากรัฐบาลให้ความสําคัญกับโครงการขนาดใหญ่ หรือโครงการระดับประเทศมากกว่าใน
ระดับหมู่บ้าน
2.2 หมู่บ้านคําปลาหลายตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ประสบกับปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง จึง
ส่งผลให้การพัฒนาชุมชนทําได้ไม่เต็มที่
2.3 การประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่พบว่าไม่มีความมั่นคงของรายได้
เนื่องจากการประกอบอาชีพขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิประเทศ ภัยธรรมชาติ เป็นต้น
กลุ่มแม่บ้านชุมชนคําปลาหลาย ถือได้ว่ามีบทบาทในการรวมกลุ่มทากิจกรรมอย่างมาก
เริ่มแรกราวปี พ.ศ. 2527 บรรดาแม่บ้านชุมชนคําปลาหลายรวมตัวกันเพื่อระดมเงินไปจัดซื้อ
สิ่งของเครื่องใช้ที่จาเป็นภายในครัวเรือนหมุนเวียนกันจนครบจํานวนสมาชิก เช่น สร้างห้องน้า
ซื้อโอ่ง เครื่องครัว เป็นต้น ถือเป็นพื้นฐานสําคัญที่ทําให้เกิดแนวความคิดในการจัดตั้งร้านค้า
ชุมชนขึ้นมาในปี พ.ศ. 2528 เพื่อจัดซื้อสินค้าที่จําเป็นในการครองชีพมาขายให้แก่สมาชิกในราคา
ถูกจากนั้นกลุ่มแม่บ้านได้ขยายกิจกรรมมาจัดตั้งเป็นกลุ่มทอผ้าและตัดเย็บเสื้อผ้าขึ้นเมื่อปี พ.ศ.
2535 เมื่อชาวบ้านมีกิจกรรมที่เป็นอาชีพเสริมหลายอย่าง อาทิ เสื้อผ้าทอมือ จักสาน และ
ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็มีการขยายร้านค้าชุมชนให้เป็นกลุ่มศูนย์สาธิตการตลาดขึ้นในปี พ.ศ. 2540
ปัจจัยที่หนุนเสริมความเข้มแข็งอย่างมาก คือ การได้ผู้สนับสนุนจากภายนอกที่มี
ประสิทธิภาพ คือ นายแพทย์ อภิสิทธิ์ ธํารงวรางกูร ผู้อํานวยการโรงพยาบาลประจําอําเภออุบล
รัตน์ ที่ผลักดันกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนบ้านคําปลาหลายมาอย่างต่อเนื่อง
โดยปรับเปลี่ยนวิธีคิดและสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อทําให้ชาวบ้านพออยู่พอกิน มีกินมีใช้
จากนั้นจึงมุ่งไปสู่การพัฒนารูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนตามลําดับ
89
ตารางที่ 8.1 (ต่อ)
ที่มา: ไพศาล เนาวะวาทอง และ ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. 2551: 38 - 49
การพิจารณากรณีศึกษา ข้างต้นจะเห็นถึงการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์
ตั้งแต่ระดับการสร้างจิตสํานึก ระดับปฏิบัติ และระดับปฏิเวธ
นอกจากนั้น การพิจารณาในประเด็นของการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
สามารถพิจารณาจากประเด็นต่าง ๆ ได้แก่
1. การใช้ทุนทางสังคมภายในชุมชนทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมมาใช้เป็นทรัพยากร
ในการดําเนินงานของชุมชน
2. การนําจุดแข็งและจุดอ่อนของชุมชนมาพิจารณาเพื่อกําหนดทิศทางและเป้าหมายที่
ต้องการ
3. จิตสํานึกรวมทั้งภาวะของผู้นําชุมชนมีผลต่อต่อความสําเร็จและประสิทธิภาพประสิทธิผล
ในการดําเนินงานด้านการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
4. การประสานเชื่อมโยงภายในชุมชนและระหว่างชุมชนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็น
เครื่องมือสําคัญในการพัฒนา เนื่องจาก จะทําให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่เกิดจากการผสานระหว่างภูมิ
ปัญญาท้องถิ่นเข้ากับภูมิปัญญาสมัยใหม่
5. ความพอเพียงในการพัฒนา ไม่ได้หมายถึงการหยุดนิ่งอยู่กับที่แต่หมายถึงการรู้จักตนเอง
ทั้งด้านจุดแข็งที่สามารถพัฒนาต่อไปได้และจุดอ่อนที่ต้องแก้ไขให้หมดไป ทั้งนี้ การพัฒนาให้ก้าว
ต่อไปได้นั้น คือการแสวงหาความรู้ และการเชื่อมต่อทางวัฒนธรรมที่หล่อหลอมด้วยคุณธรรม
จริยธรรม รวมถึงระเบียบวินัยที่มีอยู่ในคุณลักษณะดังกล่าว
สภาพพื้นที่โดยรวมของชุมชนบ้านคําปลาหลายนั้นอาจจะเรียกได้ว่าแต่เดิมมีความ
แร้นแค้นค่อนข้างมาก แต่โครงสร้างชุมชนมีความเหนียวแน่น ทําให้ชุมชนเรียนรู้ในการรวมกลุ่ม
กันเพื่อเอาชนะสภาพความแร้นแค้นของธรรมชาติ และจากการที่ร่วมทุกข์ร่วมยากกันมา ทําให้
เกิดเป็นความรักเอื้ออาทรต่อกัน และเมื่อได้ความรู้เชิงวิชาการจากวิทยากรภายนอก จึงทําให้
ชุมชนสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
90
8.2 สรุป
ความสอดคล้องต่อวิถีชุมชนของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดึงธรรมชาติของชุมชน
และท้องถิ่นออกมาเพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในลักษณะการสร้างเสริม และ
สร้างสรรค์เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็งและสามารถปรับตัวต่อการปฏิสัมพันธ์ในเชิง
โลกาภิวัตน์ได้
ดังนั้น สิ่งสําคัญซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญคือ ทุนทางสังคมและอัตลักษณ์ของชุมชนด้านอื่น ๆ
รวมถึงจุดเด่นของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพและความ
หลากหลายทางสังคมนอกจากนั้น การเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งดังกล่าวยังไห้ความสําคัญต่อ
การถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่ ในทุก ๆ ด้านรวมถึงด้านจริยธรรมและคุณธรรม
ภาวการณ์นําของผู้นําชุมชน การประสานเชื่อมต่อระหว่าง สภาพแวดล้อม องค์กรและชุมชน
ภายนอก เป็นสิ่งที่จําเป็นต้องมีอยู่ ผู้นําชุมชนที่เกิดจากธรรมชาติของชุมชนจะมีความสามารถ
ดังกล่าวและมีความสามารถในการนําชุมชนไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงมีเสถียรภาพ
อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อให้เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่นและการ
ถ่ายทอดการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ยังมีอุปสรรคปัญหาต่อคนรุ่นใหม่อยู่มากโดยเฉพาะปัจจัยด้านค่านิยม
ของระบบเศรษฐกิจกระแสหลักที่เน้นการบริโภคนิยม
แบบฝึกหัด
1. นักศึกษาอภิปรายและนําเสนอถึงตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชุมชน
2. นักศึกษาค้นหาความหมายและคุณค่าของวิถีชุมชนจากการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ จาก
เอกสารเว็บไซด์ และการลงไปศึกษาพูดคุยกับบุคคลต่างๆภายในชุมชนที่นักศึกษาอาศัยอยู่
3. นักศึกษาอธิบายถึงหลักการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้สอดคล้องต่อวิถี
ชุมชน
4. อธิบายถึงการนําแนวคิดความพอเพียงไปใช้ในในระดับชุมทั้ง 3 ระดับ ทั้งระดับจิตสํานึก
ระดับปฏิบัติและระดับปฏิเวธ
5. นักศึกษาอธิบายประเด็นต่าง ๆ ของการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์
6. นักศึกษาอธิบายองค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง
7. อธิบายปัจจัยสําคัญที่ทําให้การดําเนินการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสําเร็จ
8. หากนักศึกษาเป็นผู้นําชุมชนหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเป็นสมาชิกของชุมชน นักศึกษา
จะมีวิธีการจัดการเพื่อการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง
91
9. การที่ผู้นําชุมชนจะมีภาวะผู้นําเพื่อให้การดําเนินงานของชุมชนประสบผลสําเร็จนั้น ผู้นํา
ชุมชนต้องมีคุณสมบัติใดบ้าง
10. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของความพอเพียงในการพัฒนาภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียง
เชิงอรรถ
1
อ่านรายละเอียดใน นิยามความหมาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจชุมชน :
ความหมาย ฐานคิดแนวทางปฏิบัติ. บ้านไร่นาเรา.www.banrainarao.com/column/
commu_econ_02
2
อ่านรายละเอียดใน ไพศาล เนาวะวาทอง และ ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. การจัดการชุมชนเศรษฐกิจ
พอเพียง : กรณีศึกษาหมู่บ้านคําปลาหลาย ตําบลบ้านดง อําเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสาร
การจัดการสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 4 เล่มที่ 2 ตุลาคม 2551 หน้า 38 – 49. คณะพัฒนาสังคมและ
สิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
92
เอกสารอ้างอิง
บ้านไร่นาเรา. (ม.ป.ป.). นิยามความหมาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจชุมชน :
ความหมาย ฐานคิดแนวทางปฏิบัติ. 6 มี.ค. 2557, www.banrainarao.com /
column/commu_ econ_02.
ไพศาล เนาวะวาทอง และ ธวัชชัย ศุภดิษฐ์การจัดการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา
หมู่บ้านคําปลาหลาย ตําบลบ้านดง อําเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารการจัดการ
สิ่งแวดล้อม. ปีที่ 4 เล่มที่ 2 ตุลาคม 2551 หน้า 38-49คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

More Related Content

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่8

รายงานผลจุดเน้นที่ 10
รายงานผลจุดเน้นที่ 10รายงานผลจุดเน้นที่ 10
รายงานผลจุดเน้นที่ 10kruchaily
 
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือกลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือfreelance
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีอาภัสรา ยิ่งคำแหง
 
โรงเรียนและชุมชน
โรงเรียนและชุมชนโรงเรียนและชุมชน
โรงเรียนและชุมชนTwatchai Tangutairuang
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงพัน พัน
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8nattawad147
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8benty2443
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8wanneemayss
 
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้Sompop Petkleang
 
เสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมเสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมchanhom357
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงานtongkesmanee
 
รายงานผลจุดเน้นที่ 4
รายงานผลจุดเน้นที่ 4รายงานผลจุดเน้นที่ 4
รายงานผลจุดเน้นที่ 4kruchaily
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่8 (20)

Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 
รายงานผลจุดเน้นที่ 10
รายงานผลจุดเน้นที่ 10รายงานผลจุดเน้นที่ 10
รายงานผลจุดเน้นที่ 10
 
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือกลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 
ด้านที่ 1
ด้านที่ 1ด้านที่ 1
ด้านที่ 1
 
โรงเรียนและชุมชน
โรงเรียนและชุมชนโรงเรียนและชุมชน
โรงเรียนและชุมชน
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
ผลการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงผลการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
 
เสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมเสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรม
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
รายงานผลจุดเน้นที่ 4
รายงานผลจุดเน้นที่ 4รายงานผลจุดเน้นที่ 4
รายงานผลจุดเน้นที่ 4
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สารบัญ
Microsoft word   สารบัญMicrosoft word   สารบัญ
Microsoft word สารบัญ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่1
Microsoft word   สัปดาห์ที่1Microsoft word   สัปดาห์ที่1
Microsoft word สัปดาห์ที่1
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
 
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word   ปกเอกสารประกอบการสอนMicrosoft word   ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
 
Microsoft word บรรณานุกรม
Microsoft word   บรรณานุกรมMicrosoft word   บรรณานุกรม
Microsoft word บรรณานุกรม
 
Microsoft word ภาคผนวก
Microsoft word   ภาคผนวกMicrosoft word   ภาคผนวก
Microsoft word ภาคผนวก
 
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอนMicrosoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
 

Microsoft word สัปดาห์ที่8

  • 1. แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 8 หัวข้อเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับความสอดคล้องต่อวิถีชุมชน รายละเอียด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับความสอดคล้องต่อวิถีและกิจกรรมของชุมชนและ ท้องถิ่นทั้งในระดับจิตสํานึก ระดับปฏิบัติและระดับปฏิเวธ จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยายเนื้อหาวิชา 2. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน สื่อการสอน 1. การบรรยาย 2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การอภิปราย การนําเสนอแนวคิด 3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา 1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1 การทดสอบย่อยและแบบฝึกหัดในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง 2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. สัดส่วนของการประเมิน (5 คะแนน) 3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 60 3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอร้อยละ 40
  • 2. 84 เนื้อหาที่สอน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับความสอดคล้องกับวิถีชุมชน 8.1 ความสอดคล้องต่อวิถีและกิจกรรมของชุมชนและท้องถิ่น1 ความพอเพียงที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเกิดขึ้นทั้งใน ระดับบุคคล ครัวเรือนและกลุ่มกิจกรรม โดยสามารถเกิดขึ้นหรือนําไปปฏิบัติได้ใน 3 ระดับ ซึ่งได้แก่ ระดับจิตสํานึก ระดับปฏิบัติ และระดับบังเกิดผลและรับผลจากการปฏิบัติ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ระดับจิตสํานึก เพื่อให้เกิดการสร้างจิตสํานึกและปรับทัศนคติสู่การพึ่งตนเอง โดย 1.1) สร้างความรู้ความเข้าใจ ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ 1.2) ประเมินตนเองเพื่อให้รู้จักตนเอง รู้ศักยภาพของตนเอง รู้ปัญหาหรือวิกฤตที่ ประสบอยู่ 1.3) เกิดความคิด “ พึ่งตนเอง ” โดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหา 1.4) ตั้งใจที่จะใช้ชีวิต “ อยู่อย่างพึ่งตนเอง ” พึ่งตนเองให้ได้โดยลดความต้องการ (กิเลส) และทําประโยชน์แก่ส่วนรวมมากขึ้น 2) ระดับปฏิบัติ เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองใน 4 ขั้นตอน คือ 2.1) อยู่อย่างพึ่งตนเองในระดับครอบครัว โดยสมาชิกต้องรู้จักพึ่งตนเอง ด้วยการ ร่วมกันทํากิจกรรมลดรายจ่าย เช่น ลด ละ เลิกอบายมุข ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่สร้างหนี้ ลดรายจ่าย/ ลดต้นทุนการผลิต เช่น ผลิตปุ๋ยชีวภาพ ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัวและเลี้ยง สัตว์ขนาดเล็กไว้บริโภค โดยยึดหลัก “ ปลูกทุกอย่างที่กิน/กินทุกอย่างที่ปลูก และใช้ทุกอย่างที่ทํา/ทํา ทุกอย่างที่ใช้ ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้รักษาโรคและรู้จักการเก็บออม ” เป็นต้น 2.2) มีวิถีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง โดยดําเนินชีวิตด้วยการเดินทางสายกลางไม่เบียดเบียน ตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม เช่น ทําเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน ไร่นาสวนผสม วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตรชีวภาพ เกษตรไร้สารพิษ เกษตรธรรมชาติ สวนสมุนไพรชุมชน แปร รูปผลผลิตทางการเกษตรเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ด้านทุน ด้านอาชีพ ด้านสิ่งแวดล้อม และ ด้านสวัสดิการ เป็นต้น 2.3) รวมกลุ่มในสังคม “ อยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร ” ด้วยการมีความคิดที่จะแจกจ่าย แบ่งปันให้กับผู้อื่น ซึ่งจะทําให้ได้เพื่อนและเกิดวัฒนธรรมที่ดี ลดความเห็นแก่ตัว โดยจะเห็นได้ว่าใน ชุมชนที่เข้มแข็งจะมีการรวมกลุ่มกันหลากหลาย และกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้น ถือได้ว่าเป็น “ทุนทาง สังคมที่สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อการช่วยเหลือตนเอง” ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในลักษณะของ ความเอื้ออาทร เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และกลุ่มอนุรักษ์แหล่งน้ําและป่าไม้ชุมชน เป็นต้น
  • 3. 85 นอกจากนี้ยังพบว่า ในแต่ละชุมชนมีการรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตาม ความพร้อม เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในด้านวัตถุและจิตใจอื่น ๆ อีก เช่น กลุ่มสวัสดิการ กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ กองทุนสงเคราะห์ผู้ยากไร้ และกลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีเป็นต้น 3) ระดับปฏิเวธหรือระดับการบังเกิดและรับผลจากการปฏิบัติ โดยผลจากการปฏิบัติ ก่อ ประโยชน์โดยตรงแก่ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับให้แก่บุคคล ครัวเรือน กลุ่ม/องค์กร และชุมชน ได้แก่ 3.1) ความพอเพียงในครอบครัว เช่น ครัวเรือนที่มีความเป็นอยู่ที่พึ่งตนเองได้อย่างมี ความสุขและทางกายและทางใจ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่มีภาระด้านหนี้สินของตนเองและ ครอบครัว สามารถหาปัจจัยสี่มาเลี้ยงตนเองและครอบครัว มีส่วนเหลือเป็นเงินออมของครอบครัว มี ส่วนเหลือเป็นเงินออมของครอบครัว และยกระดับรายได้พ้นความยากจน เป็นต้น 3.2) ความพอเพียงในระดับชุมชน เช่น มีการรวมกลุ่มทําประโยชน์เพื่อส่วนรวม บริหาร ทรัพยากรในชุมชนให้สามารถนําไปดําเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องสมดุล เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ พอเพียงของชุมชนโดยรวมและชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข เป็นต้น 3.3) ความพอเพียงในระดับกลุ่ม เช่น การรวมกลุ่มของชุมชนหลาย ๆ แห่งที่มีความ พอเพียง ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา และร่วมกันพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชนแห่งความพอเพียง เกิดเป็นชุมชนแห่งความพอเพียงในที่สุด เป็นต้น ตารางที่ 8.1 เศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีชุมชน กรณีตัวอย่าง 2 การจัดการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา: หมู่บ้านคําปลาหลาย ตําบลบ้านดง อําเภอ อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น พบว่า ในอดีตชุมชนได้รับผลกระทบและประสบปัญหาความยากจนรวมทั้ง สภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออํานวย เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขา ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกและทํา การเกษตรเป็นดินภูเขา ชาวบ้านจึงทําไร่ ทํานา และทาการเกษตรแบบดั้งเดิม คือ ปลูกพืชเชิงเดี่ยว มี รายได้ครั้งเดียวใน 1 ปี จากการทํานาและปลูกมันสําปะหลังเพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบสู่โรงงาน ได้ผลผลิต ค่อนข้างน้อยและราคามักตกต่ํา ก่อให้เกิดปัญหาความยากจน เป็นหนี้สิน และเกิดผลเสียต่อคุณภาพ ของดิน จากผลดังกล่าวทําให้ผู้นําชุมชนเกิดความคิดในการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ เพื่อให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คนในชุมชนเริ่มพัฒนาเป็นขั้นตอนมาเรื่อย ๆ ตามแนวทาง
  • 4. 86 ตารางที่ 8.1 (ต่อ) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามลําดับ ซึ่งผลจากการดําเนินตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ทําให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน ดังนี้ 1. การมีแหล่งอาหารในชุมชนเป็นของตนเอง 2. การมีแหล่งธรรมชาติ ต้นไม้ และป่าไม้ มากขึ้น 3. เกิดความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ 4. สังคมดีขึ้น เนื่องจากปัญหาทางด้านหนี้สินและยาเสพติดหมดไป 5. ไม่ต้องโยกย้ายแรงงานไปทํางานต่างถิ่นอีกต่อไป เนื่องจากมีกิน มีใช้หรือได้กลับมาอยู่ ถิ่นเดิมของตนเอง 6. ลูกหลานรู้จักคําว่า “พึ่งตนเอง” รวมถึงคนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ทําให้เห็นว่า ชุมชนบ้านคําปลาหลายมีศักยภาพและมีจุดเด่น เพราะผู้นําชุมชนขยัน ซื่อสัตย์ และมีวิสัยทัศน์ ในการแก้ไขปัญหาและที่สําคัญ คือ สมาชิกในชุมชนมีความสามัคคี ช่วยกันอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนก็เป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้เกิดพลังชุมชนในการ แก้ไขปัญหา ทําให้ชาวบ้านมีงานทําตลอดทั้งปี ลดปัญหาการว่างงานและการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้า ไปทํางานในกรุงเทพมหานคร และในตัวเมือง ผลของความสําเร็จโดยสรุปเกิดจาก 3 ปัจจัยสําคัญ คือ 1) ผู้นําชุมชนมีความรู้ความสามารถ เป็นแกนหลักในการทํากิจกรรมต่าง ๆ และมี ความสามารถในการหล่อหลอมจิตใจของลูกบ้านให้เป็นหนึ่งเดียว รวมทั้งเป็นผู้นําทางธรรมชาติ สามารถคิดทําและแก้ไขปัญหาได้ 2) สมาชิกในชุมชนมีความสามัคคี ช่วยเหลือและเกื้อกูลกัน มีความขยันหมั่นเพียร ซึ่งจะ ช่วยให้ชุมชนมีความมั่นคง ยืนหยัดอยู่ได้ รวมทั้งสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป 3) กระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับปัญหา เช่น การจัดการอบรม ประชุม และดูงานเพื่อ เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา รวมถึงปัจจัยด้านอื่นที่มีผลต่อชุมชนจากปัจจัยดังกล่าว ถือเป็นกลยุทธ์ที่สามารถเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งที่จะก้าวไปพร้อมเทคโนโลยีที่มีการ พัฒนามากยิ่งขึ้น และรู้จักนําเอาประสบการณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสม ช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้อย่างลงตัว
  • 5. 87 ตารางที่ 8.1 (ต่อ) การหันกลับมาใช้ชีวิตแบบวิถีชีวิตชนบทไทย ในขณะที่โลกกําลังเปลี่ยนแปลง มีเทคโนโลยีที่ ทันสมัย แต่ขาดความมีชีวิตชีวาในการที่จะได้สัมผัสและรับรู้ในธรรมชาติ ดังนั้น “ สูงสุดคืนสู่ สามัญ ” อาจเป็นคําตอบหนึ่ง หากคนเราไม่รู้จักคาว่า “ พอ ” และไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ การไขว้คว้าหาสิ่งที่อยากได้ก็จะเริ่มขึ้นและผลที่ตามมาคือ วิถีชีวิตและกระแสวัฒนธรรมในสังคม แบบสมัยใหม่ที่ได้ส่งผลเสียและส่งผลกระทบต่อคนในชุมชน การทําการเกษตรผสมผสานต้อง มองแบบย้อนอดีต แต่เดิมแม้ว่าคนไทยไม่ได้มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย แต่ก็มิได้ก่อให้เกิด ปัญหาความยากจนเนื่องจากทํามาหากินในรูปแบบพอเพียง มีการแลกเปลี่ยนเพื่อให้มีอยู่มีกิน อย่างมีความสุข ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบกับสังคมในยุคปัจจุบันที่มีแต่การแข่งขันและเน้นการ จับจ่ายใช้สอยเพื่อแลกกับความสุขและความสะดวกสบายเฉพาะหน้า มีการใช้ทรัพยากรอย่าง สิ้นเปลือง เมื่อเกิดภาวะวิกฤตก็จะไม่สามารถใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้อีกต่อไป จากผลการศึกษา พบว่า การที่ นายถาวร สรรสมบัติ อดีตผู้ใหญ่บ้านคําปลาหลาย ได้ เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านการเกษตร ชักชวนชาวบ้านให้หันกลับมาทําเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ ปุ๋ยคอกและสารหมักชีวภาพเพื่อลดรายจ่าย ทําบัญชีรายรับ – รายจ่ายในครัวเรือน เพื่อหาทาง ลดรายจ่าย ลดสิ่งฟุ่มเฟือย ออมเงิน ปลูกไม้ผลไว้กิน ที่เหลือนําไปแบ่งปันและขายเพื่อเพิ่ม รายได้ และรวมพลังสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพราะความห่างไกลตลาด การคมนาคมไม่ สะดวก ความต้องการด้านสินค้าอุปโภคบริโภคที่จําเป็น ชาวบ้านจึงร่วมกันจัดตั้งศูนย์สาธิต การตลาดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่จําหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่สมาชิกในราคาประหยัดและ เป็นธรรม พร้อมทั้งเฉลี่ยผลกําไรคืนให้แก่สมาชิก โดยยึดหลักคุณธรรม 5 ประการ สู่ความสําเร็จ คือ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นใจกัน และความไว้วางใจกัน จึงทํา ให้การจัดการชุมชนบ้านคําปลาหลายประสบความสําเร็จอย่างยั่งยืนจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ จากการ ที่ได้ไปสัมภาษณ์ผู้นําชุมชนของหมู่บ้านคําปลาหลาย จึงได้นําข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มา วิเคราะห์และสรุปเป็นประเด็นโดยแบ่งเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนของการจัดการชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงของชุมชนบ้านคําปลาหลายได้ ดังนี้ 1. จุดแข็งของการจัดการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคําปลาหลาย 1.1 การมีผู้นําชุมชนที่เข้มแข็ง 1.2 ความพร้อมของชาวบ้านที่มีที่ดินเป็นของตัวเอง และที่ดินไม่มีการติดภาระ จํานําหรือจํานองใด ๆ โดยชาวบ้านจะมีที่ดินขั้นต่ําตั้งแต่ 15 ไร่ขึ้นไป 1.3 ชาวบ้านในชุมชนมีความตั้งใจจริงที่จะพัฒนาหมู่บ้านคําปลาหลายอย่างแน่วแน่ โดยยึดแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • 6. 88 ตารางที่ 8.1 (ต่อ) 1.4 ชาวบ้านมีความรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ 1.5 มีผู้นําชุมชน 2 ลักษณะ คือ ผู้นําตามธรรมชาติ และผู้นําที่เป็นทางการ คือ ได้รับ การแต่งตั้งซึ่งผู้นําทั้ง 2 ลักษณะสามารถทางานสอดประสานกันได้อย่างลงตัว จึงเกิดการร่วมมือ กันในการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 1.6 มีการส่งเสริมการเรียนรู้ของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น การเดินทางไปศึกษา ดูงานนอกสถานที่ เป็นต้น 2. จุดอ่อนของการจัดการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคําปลาหลาย 2.1 หน่วยงานราชการไม่ได้ให้ความสําคัญในการจัดสรรงบประมาณในอันดับต้น ๆ เนื่องจากรัฐบาลให้ความสําคัญกับโครงการขนาดใหญ่ หรือโครงการระดับประเทศมากกว่าใน ระดับหมู่บ้าน 2.2 หมู่บ้านคําปลาหลายตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ประสบกับปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง จึง ส่งผลให้การพัฒนาชุมชนทําได้ไม่เต็มที่ 2.3 การประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่พบว่าไม่มีความมั่นคงของรายได้ เนื่องจากการประกอบอาชีพขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิประเทศ ภัยธรรมชาติ เป็นต้น กลุ่มแม่บ้านชุมชนคําปลาหลาย ถือได้ว่ามีบทบาทในการรวมกลุ่มทากิจกรรมอย่างมาก เริ่มแรกราวปี พ.ศ. 2527 บรรดาแม่บ้านชุมชนคําปลาหลายรวมตัวกันเพื่อระดมเงินไปจัดซื้อ สิ่งของเครื่องใช้ที่จาเป็นภายในครัวเรือนหมุนเวียนกันจนครบจํานวนสมาชิก เช่น สร้างห้องน้า ซื้อโอ่ง เครื่องครัว เป็นต้น ถือเป็นพื้นฐานสําคัญที่ทําให้เกิดแนวความคิดในการจัดตั้งร้านค้า ชุมชนขึ้นมาในปี พ.ศ. 2528 เพื่อจัดซื้อสินค้าที่จําเป็นในการครองชีพมาขายให้แก่สมาชิกในราคา ถูกจากนั้นกลุ่มแม่บ้านได้ขยายกิจกรรมมาจัดตั้งเป็นกลุ่มทอผ้าและตัดเย็บเสื้อผ้าขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เมื่อชาวบ้านมีกิจกรรมที่เป็นอาชีพเสริมหลายอย่าง อาทิ เสื้อผ้าทอมือ จักสาน และ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็มีการขยายร้านค้าชุมชนให้เป็นกลุ่มศูนย์สาธิตการตลาดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ปัจจัยที่หนุนเสริมความเข้มแข็งอย่างมาก คือ การได้ผู้สนับสนุนจากภายนอกที่มี ประสิทธิภาพ คือ นายแพทย์ อภิสิทธิ์ ธํารงวรางกูร ผู้อํานวยการโรงพยาบาลประจําอําเภออุบล รัตน์ ที่ผลักดันกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนบ้านคําปลาหลายมาอย่างต่อเนื่อง โดยปรับเปลี่ยนวิธีคิดและสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อทําให้ชาวบ้านพออยู่พอกิน มีกินมีใช้ จากนั้นจึงมุ่งไปสู่การพัฒนารูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนตามลําดับ
  • 7. 89 ตารางที่ 8.1 (ต่อ) ที่มา: ไพศาล เนาวะวาทอง และ ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. 2551: 38 - 49 การพิจารณากรณีศึกษา ข้างต้นจะเห็นถึงการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ ตั้งแต่ระดับการสร้างจิตสํานึก ระดับปฏิบัติ และระดับปฏิเวธ นอกจากนั้น การพิจารณาในประเด็นของการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ สามารถพิจารณาจากประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1. การใช้ทุนทางสังคมภายในชุมชนทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมมาใช้เป็นทรัพยากร ในการดําเนินงานของชุมชน 2. การนําจุดแข็งและจุดอ่อนของชุมชนมาพิจารณาเพื่อกําหนดทิศทางและเป้าหมายที่ ต้องการ 3. จิตสํานึกรวมทั้งภาวะของผู้นําชุมชนมีผลต่อต่อความสําเร็จและประสิทธิภาพประสิทธิผล ในการดําเนินงานด้านการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 4. การประสานเชื่อมโยงภายในชุมชนและระหว่างชุมชนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็น เครื่องมือสําคัญในการพัฒนา เนื่องจาก จะทําให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่เกิดจากการผสานระหว่างภูมิ ปัญญาท้องถิ่นเข้ากับภูมิปัญญาสมัยใหม่ 5. ความพอเพียงในการพัฒนา ไม่ได้หมายถึงการหยุดนิ่งอยู่กับที่แต่หมายถึงการรู้จักตนเอง ทั้งด้านจุดแข็งที่สามารถพัฒนาต่อไปได้และจุดอ่อนที่ต้องแก้ไขให้หมดไป ทั้งนี้ การพัฒนาให้ก้าว ต่อไปได้นั้น คือการแสวงหาความรู้ และการเชื่อมต่อทางวัฒนธรรมที่หล่อหลอมด้วยคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงระเบียบวินัยที่มีอยู่ในคุณลักษณะดังกล่าว สภาพพื้นที่โดยรวมของชุมชนบ้านคําปลาหลายนั้นอาจจะเรียกได้ว่าแต่เดิมมีความ แร้นแค้นค่อนข้างมาก แต่โครงสร้างชุมชนมีความเหนียวแน่น ทําให้ชุมชนเรียนรู้ในการรวมกลุ่ม กันเพื่อเอาชนะสภาพความแร้นแค้นของธรรมชาติ และจากการที่ร่วมทุกข์ร่วมยากกันมา ทําให้ เกิดเป็นความรักเอื้ออาทรต่อกัน และเมื่อได้ความรู้เชิงวิชาการจากวิทยากรภายนอก จึงทําให้ ชุมชนสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
  • 8. 90 8.2 สรุป ความสอดคล้องต่อวิถีชุมชนของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดึงธรรมชาติของชุมชน และท้องถิ่นออกมาเพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในลักษณะการสร้างเสริม และ สร้างสรรค์เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็งและสามารถปรับตัวต่อการปฏิสัมพันธ์ในเชิง โลกาภิวัตน์ได้ ดังนั้น สิ่งสําคัญซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญคือ ทุนทางสังคมและอัตลักษณ์ของชุมชนด้านอื่น ๆ รวมถึงจุดเด่นของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพและความ หลากหลายทางสังคมนอกจากนั้น การเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งดังกล่าวยังไห้ความสําคัญต่อ การถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่ ในทุก ๆ ด้านรวมถึงด้านจริยธรรมและคุณธรรม ภาวการณ์นําของผู้นําชุมชน การประสานเชื่อมต่อระหว่าง สภาพแวดล้อม องค์กรและชุมชน ภายนอก เป็นสิ่งที่จําเป็นต้องมีอยู่ ผู้นําชุมชนที่เกิดจากธรรมชาติของชุมชนจะมีความสามารถ ดังกล่าวและมีความสามารถในการนําชุมชนไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อให้เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่นและการ ถ่ายทอดการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ยังมีอุปสรรคปัญหาต่อคนรุ่นใหม่อยู่มากโดยเฉพาะปัจจัยด้านค่านิยม ของระบบเศรษฐกิจกระแสหลักที่เน้นการบริโภคนิยม แบบฝึกหัด 1. นักศึกษาอภิปรายและนําเสนอถึงตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชุมชน 2. นักศึกษาค้นหาความหมายและคุณค่าของวิถีชุมชนจากการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ จาก เอกสารเว็บไซด์ และการลงไปศึกษาพูดคุยกับบุคคลต่างๆภายในชุมชนที่นักศึกษาอาศัยอยู่ 3. นักศึกษาอธิบายถึงหลักการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้สอดคล้องต่อวิถี ชุมชน 4. อธิบายถึงการนําแนวคิดความพอเพียงไปใช้ในในระดับชุมทั้ง 3 ระดับ ทั้งระดับจิตสํานึก ระดับปฏิบัติและระดับปฏิเวธ 5. นักศึกษาอธิบายประเด็นต่าง ๆ ของการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ 6. นักศึกษาอธิบายองค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง 7. อธิบายปัจจัยสําคัญที่ทําให้การดําเนินการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสําเร็จ 8. หากนักศึกษาเป็นผู้นําชุมชนหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเป็นสมาชิกของชุมชน นักศึกษา จะมีวิธีการจัดการเพื่อการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง
  • 9. 91 9. การที่ผู้นําชุมชนจะมีภาวะผู้นําเพื่อให้การดําเนินงานของชุมชนประสบผลสําเร็จนั้น ผู้นํา ชุมชนต้องมีคุณสมบัติใดบ้าง 10. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของความพอเพียงในการพัฒนาภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง เชิงอรรถ 1 อ่านรายละเอียดใน นิยามความหมาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจชุมชน : ความหมาย ฐานคิดแนวทางปฏิบัติ. บ้านไร่นาเรา.www.banrainarao.com/column/ commu_econ_02 2 อ่านรายละเอียดใน ไพศาล เนาวะวาทอง และ ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. การจัดการชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียง : กรณีศึกษาหมู่บ้านคําปลาหลาย ตําบลบ้านดง อําเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสาร การจัดการสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 4 เล่มที่ 2 ตุลาคม 2551 หน้า 38 – 49. คณะพัฒนาสังคมและ สิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • 10. 92 เอกสารอ้างอิง บ้านไร่นาเรา. (ม.ป.ป.). นิยามความหมาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจชุมชน : ความหมาย ฐานคิดแนวทางปฏิบัติ. 6 มี.ค. 2557, www.banrainarao.com / column/commu_ econ_02. ไพศาล เนาวะวาทอง และ ธวัชชัย ศุภดิษฐ์การจัดการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา หมู่บ้านคําปลาหลาย ตําบลบ้านดง อําเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารการจัดการ สิ่งแวดล้อม. ปีที่ 4 เล่มที่ 2 ตุลาคม 2551 หน้า 38-49คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.