SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 14
หัวข้อเรื่อง ภาคีการพัฒนาและเครือข่ายการพัฒนาในระดับพื้นที่บนพื้นฐานของปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียด การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการ
ดำเนินการเพื่อขยายเครือข่ายการพัฒนาในระดับพื้นที่บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนําผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาศึกษา
2. การนําเสนอกรณีศึกษาจากงานวิจัย
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการสัมมนา
4. การสรุปรวบยอดร่วมกัน การจัดทําแผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากเหตุการณ์
จําลองในลักษณะ Workshop
สื่อการสอน
1. เอกสารงานวิจัย
2. Media Power Point White broad
3. กิจกรรมจําลองเพื่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น
1.2 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสัมมนา การทํากิจกรรม Workshop
1.3 ความเข้าใจในภาพรวมของเนื้อหาวิชาและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop)
2.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด
152
3. สัดส่วนของการประเมิน (10 คะแนน)
3.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop ร้อยละ50)
3.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด (ร้อยละ 50)
เนื้อหาที่สอน ภาคีการพัฒนาและเครือข่ายการพัฒนาในระดับพื้นที่บนพื้นฐานของ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
14.1 การดำเนินการเพื่อขยายเครือข่ายการพัฒนาในระดับพื้นที่บนพื้นฐานปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
การดําเนินการในการขยายเครือข่ายการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในปัจจุบัน มีการ
ดําเนินงานโดยผ่านองค์กรเครือข่าย เช่น มูลนิธิ ยุวสถิรคุณ มูลนิธิข้าวขวัญ มูลนิธิชัยพัฒนา เป็นต้น
นอกจากนั้น การดําเนินงานขยายเครือข่ายการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงที่นับว่าเป็นส่วน
สําคัญได้แก่ สถานศึกษา เช่น โรงเรียนต่างๆ กระจายตามพื้นที่ทุกภาคของประเทศไทย
หนังสือชื่อ จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติกว่า 1 ทศวรรษ
1
กล่าวถึงการเรียนรู้
สาระสําคัญของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการขับเคลื่อนโดยนําความคิดเห็นและ
ข้อสรุปจากประสบการณ์ของชุมชน มาจัดทําเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการจัดตั้ง
อนุกรรมการส่งเสริมเครือข่ายอันเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนทั้งในระดับนโยบาย
และระดับปฏิบัติ ได้แก่ ผู้นําทางความคิด นักวิชาการในระดับอุดมศึกษา สถาบันการศึกษา สถาบัน
การเมือง องค์กรภาครัฐ สื่อมวลชนและประชาชน ภาคธุรกิจ ชุมชนและประชาสังคม
การขับเคลื่อนดังกล่าวทําให้เกิดและการค้นพบผู้นําชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งยัง
สามารถเชื่อโยงไปสู่ภาคธุรกิจเอกชน
จากปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ภาคธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง ได้มีการทบทวนและปรับกล
ยุทธ์การลงทุนให้กิจการมีภูมิคุ้มกัน ต่อความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกอย่าง
กว้างขวาง เช่น เครือฃีเมนต์ไทยหรือ SCG เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ CP Group และ บริษัท
การปิโตเลี่ยมแห่งประเทศไทย (มหาชน) จํากัด
การประยุกต์ใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการปรับกลยุทธ์หลายประการ ทั้งการ
ปรับลดจํานวนบริษัทในเครือ การวิเคราะห์ความเสี่ยงในอนาคตด้วยความรู้ตามหลักวิชาการ มีการ
พัฒนาและเตรียมทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบ ประเมินตัวเองด้านความสามารถในการลงทุน ไม่
ทําให้มีภาระมากจนเกินไป ทําตามความสามารถที่มีอยู่ไม่ทุ่มจนสุดตัว คํานึงถึง คําว่า “ พอ ”
ตามกําลังของธุรกิจและกิจการที่มีความเจริญก้าวหน้า และหากมีวิกฤตการณ์ใดๆ เกิดขึ้น ซึ่งอาจ
153
เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยที่คาดไม่ถึง กิจการต้องอยู่ได้โดยไม่ทําให้พนักงาน ผู้ถือหุ้น สถาบัน การเงินที่
ให้กู้และสังคมเดือดร้อน
นอกจากนั้น องค์กรธุรกิจหลายแห่งในประเทศไทย มีความตื่นตัวในเรื่องของการแสดงความ
รับผิดชอบต่อสังคมและนําไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การพัฒนาชุมชนและการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ระบบบรรษัทภิบาล เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมให้ภาคธุรกิจที่กําหนดให้องค์กรควบคุมกิจการ มีความ
รับผิดชอบตามหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ภายใต้กรอบของจริยธรรมที่ดีโดยคํานึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
อย่างรอบด้าน สามารถดําเนินการด้วยความรับผิดชอบ ยุติธรรมและโปร่งใสตลอดจนมีการบริหาร
ความเสี่ยงที่รัดกุมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีมาตรการและกฎกติกาในการสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจ
เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในตนเอง
สถาบันการเงินไทยทั้งระบบซึ่งถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศเพียงสัดส่วนประมาณร้อยละ 8
เมื่อประกอบกับการวางแผนอย่างรอบคอบของธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานด้านวางแผน
พัฒนาเศรษฐกิจที่ปรับรื้อระบบการบริหารด้านการเงินระดับมหภาค จึงสามารถป้องกันมิให้ประเทศ
เผชิญวิกฤตการเงินซ้ํารอย เป็นผลให้วิกฤตเศรษฐกิจ ในปี 2550 ไม่กระทบประเทศไทยมากนัก
ทั้งนี้ การบริหารความเสี่ยงจากพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชนพิจารณา
ได้จากภาพที่ 14.1
ภาพที่ 14.1 นโยบายการบริหารความเสี่ยง นโยบายสําคัญที่สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่องค์กรธุรกิจ
ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550
การบริหาร
(การจัดการ)ความเสี่ยง
การวิเคราะห์ต้นทุน
และผลตอบแทน
การปฏิบัติตาม
นโยบาย
การประเมินความอ่อนไหว
และเสถียรภาพ
การประเมินความเสี่ยง
154
สิ่งหนึ่งที่สะท้อนแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจด้านปัจจัยขับเคลื่อนคือ
แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (หลักการเอื้ออาทร หรือเรียกว่า Corporate Social Respond- -
sibility: CSR) จะปรากฏอยู่ในการบริหารปัจจุบันของภาคธุรกิจทั้งที่กระทําอย่างจริงใจและกระทํา
เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคมอันมีผลต่อภาคการตลาด
นอกจาก นั้นแนวคิดการขยายเครือข่าย ยังสะท้อนถึงเครือข่ายความร่วมมือจากสื่อมวลชน
สถาบันการศึกษา ภาครัฐซึ่งได้กําหนดนโยบายการพัฒนาตามแนวคิดดังกล่าวที่ชัดเจนมากขึ้น
จากการรวบรวมข้อมูลการศึกษา การสํารวจ ในหนังสือจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การ
ปฏิบัติกว่าทศวรรษ ทําให้ได้ข้อเสนอแนะ 6 ประการได้แก่
1. เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง สําหรับการขจัดความยากจน และ
การลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของคนจน
2. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานของการสร้างพลังอํานาจของชุมชนและการ
พัฒนาศักยภาพ ชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อเป็นฐานรากของการพัฒนาประเทศ
3. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจภาคเอกชนด้วย
การสร้างข้อปฏิบัติในการทําธุรกิจที่เน้นผลกําไรระยะยาวท่ามกลางบริบทที่มีการแข่งขัน
4. หลักเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญยิ่งต่อการปรับปรุงมาตรฐานของธรรมาภิบาลในการ
บริหารงานภาครัฐ
5. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถใช้เป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายของชาติเพื่อ
สร้างภูมิคุ้มกันต่อสถานการณ์ ที่เข้ามากระทบโดยกะทันหัน เพื่อปรับปรุงนโยบายต่าง ๆ ให้เหมาะสม
ยิ่งขึ้น และเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการเติบโตที่เสมอภาคและยั่งยืน
6. ในการปลูกฝังจิตสํานึกพอเพียงจําเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนค่านิยมและความคิดของคน
เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาคน
14.2 การดําเนินงานขององค์กรระดับพื้นที่ในภาคสาธารณะบนพื้นฐานปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
1. การดําเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
2
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มีการจัดการที่ทันสมัย และ
ดําเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายในองค์กร โดยขับเคลื่อนพร้อมกันทั้ง 3 ด้านคือ
ด้านองค์กร (Organization) ด้านพนักงาน (Employee) และด้านลูกค้า (Customer) เพื่อเป็นพลัง
แห่งการเกื้อกูลซึ่งกันและกันให้สามารถฟันฝ่าสภาวะการเปลี่ยนแปลงภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ได้
อย่างมั่นคง โดยให้ความรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรในองค์กรอย่างต่อเนื่อง และมีการ
พัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่าง โดยเชิญนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน มาให้ความรู้
155
ให้คําปรึกษา และข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายจัดการและพนักงานผู้วางแผนส่งเสริมชุมชนให้มีการสืบทอด
และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีแผนชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง สร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนที่มี
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทํากิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ําเสมอการมีคุณธรรม
การกําหนดคุณลักษณะหลักของกระบวนการกํากับดูแลกิจการที่ดี ประกอบด้วย หลัก
สร้างสรรค์คุณภาพประกันคุ้มค่า รักษาสิ่งแวดล้อม ร่วมกันคิดร่วมกันทําเปิดเผย โปร่งใส ซื่อสัตย์
สุจริต เสมอภาคเป็นธรรมสํานึกรับผิดชอบ และสนับสนุนการเรียนรู้กําหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
และวิธีปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติ ได้แก่ จรรยาบรรณการป้องกัน
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่พึงประสงค์ 5 ประการ คือ ซื่อสัตย์สุจริตมี
สํานึกรับผิดชอบ ตอบสนองเป็นทีม ยิ้มบริการด้วยใจและใช้ชีวิตพอเพียงมีการรณรงค์เพื่อเสริมสร้าง
และปลูกฝังคุณธรรมให้แก่บุคลากรในองค์กร โดยให้พนักงานมีส่วนร่วม เช่น กิจกรรมลด ละ เลิกการ
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กิจกรรม “ บริการด้วยใจ ” คัดเลือกคนพอเพียงของ ธ.ก.ส.สร้างแนว
ทางการมีส่วนร่วมภายในองค์กรทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีการกระจายอํานาจและถ่วงดุลอํานาจ
เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรและชุมชนอย่างสูงสุด ส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักในคุณธรรมตาม
หลักศาสนาของตน มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทนและมีความเพียรในการใช้สติปัญญาดําเนินชีวิตบน
ทางสายกลาง เกิดความสมดุลในชีวิต และจัดสรรผลประโยชน์ในชุมชนแก่สมาชิกอย่างเป็นธรรม
การมีความรู้นํากระบวนการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนาพนักงานในทุกมิติเพื่อสร้าง
มูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร และมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยได้มีการสํารวจความพึงพอใจของ
ลูกค้า และรวมภูมิปัญญาขององค์กรในรูปแบบของการสร้างประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม (Best Practice)
และสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพนักงานในโครงการชุมชนนักปฏิบัติ ขยายโอกาสการ
เรียนรู้ของพนักงานทุกระดับด้วยระบบ E-learning และสร้างองค์ความรู้ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง
ให้แก่สหกรณ์การเกษตร รวมทั้งส่งเสริมการปลูกฝังวัฒนธรรม ธ.ก.ส. และการเรียนรู้เพื่อสร้าง
นวัตกรรมในการทํางาน
มีการนําระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการแผนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร
สร้างกลไกกระบวนการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรรุ่นใหม่และเยาวชน ตลอดจนให้ความรู้ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรในองค์กรอย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
โดยเชิญนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน มาให้ความรู้ คําปรึกษา และข้อเสนอแนะ
แก่ฝ่ายจัดการและพนักงานผู้วางแผน
156
มีการส่งเสริมชุมชนให้มีการสืบทอดและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีแผนชุมชนเพื่อการ
พึ่งพาตนเอง สร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทํากิจกรรมร่วมกันอย่าง
สม่ําเสมอ
กําหนดคุณลักษณะหลักของกระบวนการกํากับดูแลกิจการที่ดี ประกอบด้วย หลักสร้างสรรค์
คุณภาพประกันคุ้มค่า รักษาสิ่งแวดล้อม ร่วมกันคิดร่วมกันทําเปิดเผย โปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต เสมอ
ภาคเป็นธรรมสํานึกรับผิดชอบ และสนับสนุนการเรียนรู้กําหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและวิธีปฏิบัติ
เพื่อให้บุคลากรมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติ ได้แก่ จรรยาบรรณการป้องกันความขัดแย้ง
ทางผลประโยชน์ การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่พึงประสงค์ 5 ประการ คือ ซื่อสัตย์สุจริตมีสํานึก
รับผิดชอบ ตอบสนองเป็นทีม ยิ้มบริการด้วยใจและใช้ชีวิตพอเพียง
มีการรณรงค์เพื่อเสริมสร้างและปลูกฝังคุณธรรมให้แก่บุคลากรในองค์กรโดยให้พนักงานมี
ส่วนร่วม เช่น กิจกรรมลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กิจกรรม “ บริการด้วยใจ ” คัดเลือก
คนพอเพียงของ ธ.ก.ส.
สร้างแนวทางการมีส่วนร่วมภายในองค์กรทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีการกระจายอํานาจ
และถ่วงดุลอํานาจเพื่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรและชุมชนอย่างสูงสุดส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักใน
คุณธรรมตามหลักศาสนาของตน มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทน และมีความเพียรในการใช้สติปัญญา
ดําเนินชีวิตบนทางสายกลาง เกิดความสมดุลในชีวิต และจัดสรรผลประโยชน์ในชุมชนแก่สมาชิกอย่าง
เป็นธรรม
การดําเนินงานโดยยึดหลักความมั่นคง ยั่งยืน และมีความพอเพียงของแหล่งเงินทุน พึ่งพา
ตนเองด้านเงินทุนโดยการระดมเงินฝากจากเกษตรกรและประชาชนทั่วไปแทนเงินฝากจากธนาคาร
พาณิชย์ สนับสนุนการจัดทําบัญชีครัวเรือน เพื่อให้เกษตรกรมีเงินออมเพิ่มขึ้น ให้เพียงพอกับการให้
ความช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่เกษตรกรรายย่อยและประชาชนในชนบทควบคู่กับการแนะนํากํากับ
ดูแลที่ดี รณรงค์ให้บุคลากรรู้จักความพอดี ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาพ
ดี โดยลด ละ เลิกอบายมุข รู้จักบริหารจัดการการเงินของตนเอง โดยการลดรายจ่าย ลดภาระหนี้
เพิ่มเงินออม
จํากัดจํานวนผู้เข้ารับการพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับอัตรากําลังพนักงาน และหน่วยงานที่มี
ส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อให้เกิดคุณภาพ เน้นแบบค่อยเป็นค่อยไปและเลือกหาหลักสูตรที่สอดคล้อง
กับวิถีชีวิตและความต้องการการพัฒนาศักยภาพของชุมชน
ส่งเสริมให้ชุมชนและเกษตรกรสร้างความพอดีในครอบครัว เช่น การผลิตและการบริโภคที่
อยู่ในระดับพอประมาณ มีกิจกรรมลดรายจ่ายในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิตในการประกอบอาชีพ
สร้างขนาดการผลิตให้สอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการ สร้างกระบวนการผลิตที่เน้น
157
เพื่อการบริโภค หรือจําหน่ายภายในชุมชนเป็นหลัก หากมีส่วนเหลือจึงให้จัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจ เพื่อ
จําหน่ายผลิตภัณฑ์ไปสู่ภูมิภาค
ให้ความสําคัญกับการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายสร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยการจัดหา
แหล่งเงินให้เพียงพอสําหรับภารกิจของธนาคาร และมีต้นทุนที่เหมาะสมและดูแลบริหารเงินอย่างมี
เสถียรภาพ
มุ่งเน้นการให้บริการที่ประทับใจแก่ลูกค้า ด้วยการสร้างวัฒนธรรมการบริการด้วยใจ รวมทั้ง
สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร
บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยยึดหลักของการมีส่วนร่วมในทุกระดับ รับฟังความคิดเห็น
ของลูกค้าเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ดี ตรงตามความต้องการของลูกค้า และสะดวกในการปฏิบัติของ
พนักงาน และเป็นผลดีแก่องค์กรในการพัฒนาให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
การพัฒนาส่งเสริมอาชีพเกษตรกรลูกค้า ที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามภูมิศาสตร์
และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ สร้างฐานข้อมูลที่ง่ายต่อการใช้งาน
วางระบบแนวทางการพัฒนาให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตอย่างประหยัดใช้ประโยชน์
คุ้มค่า ส่งเสริมให้ชุมชนมีกฎระเบียบใช้ปฏิบัติร่วมกัน รวมทั้งให้มีกิจกรรมสืบทอดวัฒนธรรมภูมิ
ปัญญาของชุมชนสู่เยาวชน
บริหารจัดการองค์กรภายใต้กรอบการบริหารและการกํากับดูแลที่ดี (Good Corporate
Governance) อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด และถือเป็นกฎเกณฑ์กติกาที่ทําให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้อง
ปฏิบัติ
กําหนดให้การใช้ชีวิตพอเพียงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ธ.ก.ส. ที่พนักงานทุกคนจะต้อง
ยึดถือและปฏิบัติ และกําหนดให้มีแผนงานโครงการเสริมสร้างและปลูกฝังวัฒนธรรม ธ.ก.ส. อย่าง
ต่อเนื่องทุกปี
นําแนวคิดทางวิชาการไปกําหนดการจัดทําแผนการดําเนินงาน 5 ปี แผนการดําเนินงานและ
งบประมาณประจําปี และให้ความรู้แนวทางการพัฒนาชนบทกับผู้นําเกษตรกร ผู้นําชุมชนต้นแบบ
เศรษฐกิจพอเพียง สร้างการมีส่วนร่วมการประชุม การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดเวที
การเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างพนักงาน เกษตรกร และผู้นําชุมชน เพื่อวางแผนจัดทําโครงการบรูณา
การและเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่าง
2. การดําเนินงานของสํานักงานเทศบาลตําบลปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่
3
เทศบาลตําบลปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คณะ
ผู้บริหารเทศบาลได้ร่วมกันประกาศนโยบายในการน้อมนําหลักการทรงงาน พระราชดํารัส และ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนการดําเนินงานขององค์กรในทุกมิติควบคู่กับหลักธรรมาภิ
บาล รวมถึงใช้ในการกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ทําให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจ
158
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและได้รับประโยชน์ สามารถดําเนินชีวิตได้อย่างมีเหตุมีผลตามวิถีชีวิต
ของชุมชนอย่างยั่งยืน
การให้ข้อมูลข่าวสารมีอย่างหลากหลาย กว้างขวางหลายช่องทางและมีการเผยแพร่ความรู้
ตามแผนพัฒนาความรู้และการศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษาให้แก่ผู้ที่ขาดโอกาสของชุมชน
โดยจัดตั้งศูนย์ศึกษาเรียนรู้ขึ้นในเทศบาลและศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมการ
พัฒนาตามแนวพระราชดําริผสมผสานกับภูมิปัญญาของชุมชนในการพัฒนาชุมชนร่วมกับสถาบัน
การศึกษา และสร้างความรู้ในการประกอบอาชีพให้ชุมชน
เน้นการใช้ธรรมาภิบาลในการดําเนินงานทุกระบบงานและมีการประกาศกําหนดมาตรฐาน
คุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่และผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
เสริมสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารกําลังคน ตามหลักศาสนาและศีลธรรมเข้ามาพัฒนา
จิตใจของเจ้าหน้าที่จนเกิดเป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่ดี
ใช้ทรัพยากรทางการบริหารและการพัฒนาอย่างประหยัดคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมี
มาตรการประหยัดการใช้ทรัพยากร และมีการประสานการใช้ทรัพยากรในการพัฒนาร่วมกับ
หน่วยงานภาคต่างๆ ในชุมชนอย่างพอเหมาะทําให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันและลด
ต้นทุนทางการบริหารได้ โดยเทศบาลได้ใช้งบประมาณเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 และให้ชุมชนใช้งบประมาณเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่มเพื่อการ
เพิ่มทุนของกลุ่มจากผลการดําเนินงานให้มีเงินทุนขยายตัวขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง
อย่างค่อยเป็นค่อยไป
จัดตั้งกองทุนสวัสดิการคนดีปลายพระยา ให้แก่เจ้าหน้าที่และวางแผนอัตรากําลัง 3 ปีเพื่อ
บริหารกําลังคนให้เหมาะสมกับภารกิจปัจจุบันพร้อมทั้งปรับวิถีชีวิตเจ้าหน้าที่และชุมชนให้เข้าสู่วิถี
ชีวิตพอเพียงอย่างสมดุล
น้อมนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากําหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ในการบริหาร
องค์กรและพัฒนาชุมชน ครบทุกระบบงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและเป็นกระบวนการ โดยสร้างการมี
ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของรัฐและกลุ่มชุมชน ทั้งการคิด วางแผน และดําเนินการตามสภาพปัญหา
ความต้องการและศักยภาพของแต่ละชุมชน มีระบบภาคีร่วมพัฒนาโดยปราศจากข้อขัดแย้งและใช้
แผนพัฒนาระบบ 5 ปี เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยจัดลําดับความสําคัญของการพัฒนาอย่างมีเหตุ
มีผลเพื่อให้เกิดทิศทางการพัฒนาทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ติดตามประเมินผลการดําเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายทั้งระยะสั้นและ
ระยะยาวให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและสมดุลกับสภาพภูมิสังคมและใช้หลักการทรงงานและพระราช
ดํารัส ที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายในโดย “ ระเบิดจากข้างใน ” เพื่อสร้างความเข้มแข็ง
159
ภายในองค์กรและกลุ่มชุมชนโดยใช้ระบบการบริหารจัดการที่ดี มีการบริหารความเสี่ยงและการ
ตรวจสอบติดตามผลทุกไตรมาสอย่างเป็นระบบ
เน้นการสร้างจิตสาธารณะให้แก่เจ้าหน้าที่และชุมชนร่วมกันทําประโยชน์สาธารณะ สร้างคน
ดีและต้นแบบแห่งคนดีขึ้นในองค์กร มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตพอเพียงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ มีความ
สามัคคี ลด ละ เลิกอบายมุขรู้จักประหยัดและออมทรัพย์ร่วมกับชุมชน เสริมสร้างอาชีพและรายได้
เสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจและมีการเชิดชูเกียรติคนดีทุกปี
14.3 สรุป
ความร่วมมือระหว่างภาคีในการขับเคลื่อนและขยายเครือข่ายการพัฒนาระดับพื้นที่บน
พื้นฐานของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งองค์กรภาคเอกชน องค์กรภาครัฐและภาค
สาธารณะรวมถึงองค์กรทางการเงิน ทําให้ระบบเครือข่ายการพัฒนาระดับพื้นที่ สามารถดําเนินการ
ร่วมกับภาคประชาชน ขยายผลในการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลทั้งในระดับชุมชน
และท้องถิ่น ทั้งนี้ การนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปดําเนินงาน คํานึงถึงกลไกทางสังคมมา
เป็นปัจจัยขับเคลื่อน
นอกจากนั้น การนําหลักการบริหารองค์กรภาคี ภายใต้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ที่ยั่งยืน คํานึงถึงแนวทางการบริหารตามหลัก ธรรมาภิบาล หลักทศพิธราชธรรมและหลักการที่เน้น
ความรับผิดชอบทางสังคม การปลูกจิตสํานึกด้านผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนร่วม
การขยายเครือข่ายบนพื้นฐานความร่วมมือตามกรอบการพัฒนาดังกล่าว จึงเน้นจุดประสงค์
เพื่อสร้างกําลังอํานาจ และสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคสาธารณะในระดับรากหญ้า
แบบฝึกหัด
1. นักศึกษาอธิบายแนวนโยบายการบริหารความเสี่ยง นโยบายสําคัญที่สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
ให้แก่องค์กรธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
2. นักศึกษาอภิปรายถึงการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ตามข้อเสนอแนะ 6
ประการ
3. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายและลักษณะของระบบบรรษัทภิบาล
4. ให้นักศึกษาค้นคว้าการดําเนินงานขององค์กรระดับพื้นที่ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงแล้วนําเสนอการวิเคราะห์สังเคราะห์การดําเนินงานดังกล่าว
5. นักศึกษาอภิปรายคุณลักษณะของการบริหารกิจการที่ดีทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ
160
6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคประชาชนหมายถึงอะไร และต้องมีการพัฒนาในด้าน
ใดบ้าง จงอธิบาย
7. การสร้างวัฒนธรรมองค์การในองค์กรภาคเอกชนมีแนวโน้มในลักษณะใด จงอธิบาย
8. พระราชดํารัสที่ว่า “ ต้องระเบิดจากข้างใน ” หมายถึงอะไร จงอธิบาย
9. จงอธิบายถึง ความหมายของแนวคิดการดําเนินงานโดยยึดหลักความมั่นคง ยั่งยืน และมี
ความพอเพียง
10. จงอธิบายถึงการกําหนดคุณลักษณะหลักของกระบวนการกํากับดูแลกิจการที่ดี
เชิงอรรถ
1
อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), มูลนิ
สถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (มพพ.), & สํานักงานทรัพย์สิน
ส่วนพระมหากษัตริย์. (2555). จากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ...กว่า ๑ ทศวรรษ.
กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จํากัด.
2
คัดลอกจาก สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550).
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาครัฐ. กรุงเทพฯ คณะอนุกรรมการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
3
คัดลอกจาก สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550).
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาครัฐ. กรุงเทพฯ คณะอนุกรรมการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
161
เอกสารอ้างอิง
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา
ประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (มพพ.), & สํานักงานทรัพย์สินส่วน
พระมหากษัตริย์. (2555). จากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ...กว่า ๑ ทศวรรษ.
กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จํากัด.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การประยุกต์ใช้ปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงของภาครัฐ. กรุงเทพฯ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
พอเพียง.

More Related Content

What's hot

บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7kanwan0429
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9kanwan0429
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11kanwan0429
 
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)kroofon fon
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10kanwan0429
 
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการAffiya Aming
 
โครงการใช้เงินรายได้สถานศึกษา ต่อจากกลยุทธ์ ที่ 5น 306
โครงการใช้เงินรายได้สถานศึกษา ต่อจากกลยุทธ์ ที่ 5น 306โครงการใช้เงินรายได้สถานศึกษา ต่อจากกลยุทธ์ ที่ 5น 306
โครงการใช้เงินรายได้สถานศึกษา ต่อจากกลยุทธ์ ที่ 5น 306จุลี สร้อยญานะ
 

What's hot (20)

บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51
 
Abstrac
AbstracAbstrac
Abstrac
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอนMicrosoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
 
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
 
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
 
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
 
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
 
School curiculum
School curiculumSchool curiculum
School curiculum
 
โครงการใช้เงินรายได้สถานศึกษา ต่อจากกลยุทธ์ ที่ 5น 306
โครงการใช้เงินรายได้สถานศึกษา ต่อจากกลยุทธ์ ที่ 5น 306โครงการใช้เงินรายได้สถานศึกษา ต่อจากกลยุทธ์ ที่ 5น 306
โครงการใช้เงินรายได้สถานศึกษา ต่อจากกลยุทธ์ ที่ 5น 306
 
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปีบทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
 

Viewers also liked (7)

Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Microsoft word สัปดาห์ที่10
Microsoft word   สัปดาห์ที่10Microsoft word   สัปดาห์ที่10
Microsoft word สัปดาห์ที่10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
 
Microsoft word บรรณานุกรม
Microsoft word   บรรณานุกรมMicrosoft word   บรรณานุกรม
Microsoft word บรรณานุกรม
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่14

บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้Weerachat Martluplao
 
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้Weerachat Martluplao
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11wanneemayss
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826gam030
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11benty2443
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11nattawad147
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตAon Narinchoti
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมjirapom
 
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม 4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม krupornpana55
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่14 (20)

ครูสังคม
ครูสังคมครูสังคม
ครูสังคม
 
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
 
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริต
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
 
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม 4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
Tep summary
Tep summaryTep summary
Tep summary
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (15)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
 
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word   ปกเอกสารประกอบการสอนMicrosoft word   ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
 
Microsoft word ภาคผนวก
Microsoft word   ภาคผนวกMicrosoft word   ภาคผนวก
Microsoft word ภาคผนวก
 

Microsoft word สัปดาห์ที่14

  • 1. แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 14 หัวข้อเรื่อง ภาคีการพัฒนาและเครือข่ายการพัฒนาในระดับพื้นที่บนพื้นฐานของปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง รายละเอียด การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการ ดำเนินการเพื่อขยายเครือข่ายการพัฒนาในระดับพื้นที่บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนําผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาศึกษา 2. การนําเสนอกรณีศึกษาจากงานวิจัย 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการสัมมนา 4. การสรุปรวบยอดร่วมกัน การจัดทําแผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากเหตุการณ์ จําลองในลักษณะ Workshop สื่อการสอน 1. เอกสารงานวิจัย 2. Media Power Point White broad 3. กิจกรรมจําลองเพื่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น 1.2 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสัมมนา การทํากิจกรรม Workshop 1.3 ความเข้าใจในภาพรวมของเนื้อหาวิชาและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop) 2.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด
  • 2. 152 3. สัดส่วนของการประเมิน (10 คะแนน) 3.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop ร้อยละ50) 3.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด (ร้อยละ 50) เนื้อหาที่สอน ภาคีการพัฒนาและเครือข่ายการพัฒนาในระดับพื้นที่บนพื้นฐานของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 14.1 การดำเนินการเพื่อขยายเครือข่ายการพัฒนาในระดับพื้นที่บนพื้นฐานปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง การดําเนินการในการขยายเครือข่ายการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในปัจจุบัน มีการ ดําเนินงานโดยผ่านองค์กรเครือข่าย เช่น มูลนิธิ ยุวสถิรคุณ มูลนิธิข้าวขวัญ มูลนิธิชัยพัฒนา เป็นต้น นอกจากนั้น การดําเนินงานขยายเครือข่ายการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงที่นับว่าเป็นส่วน สําคัญได้แก่ สถานศึกษา เช่น โรงเรียนต่างๆ กระจายตามพื้นที่ทุกภาคของประเทศไทย หนังสือชื่อ จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติกว่า 1 ทศวรรษ 1 กล่าวถึงการเรียนรู้ สาระสําคัญของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการขับเคลื่อนโดยนําความคิดเห็นและ ข้อสรุปจากประสบการณ์ของชุมชน มาจัดทําเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการจัดตั้ง อนุกรรมการส่งเสริมเครือข่ายอันเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ ได้แก่ ผู้นําทางความคิด นักวิชาการในระดับอุดมศึกษา สถาบันการศึกษา สถาบัน การเมือง องค์กรภาครัฐ สื่อมวลชนและประชาชน ภาคธุรกิจ ชุมชนและประชาสังคม การขับเคลื่อนดังกล่าวทําให้เกิดและการค้นพบผู้นําชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งยัง สามารถเชื่อโยงไปสู่ภาคธุรกิจเอกชน จากปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ภาคธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง ได้มีการทบทวนและปรับกล ยุทธ์การลงทุนให้กิจการมีภูมิคุ้มกัน ต่อความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกอย่าง กว้างขวาง เช่น เครือฃีเมนต์ไทยหรือ SCG เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ CP Group และ บริษัท การปิโตเลี่ยมแห่งประเทศไทย (มหาชน) จํากัด การประยุกต์ใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการปรับกลยุทธ์หลายประการ ทั้งการ ปรับลดจํานวนบริษัทในเครือ การวิเคราะห์ความเสี่ยงในอนาคตด้วยความรู้ตามหลักวิชาการ มีการ พัฒนาและเตรียมทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบ ประเมินตัวเองด้านความสามารถในการลงทุน ไม่ ทําให้มีภาระมากจนเกินไป ทําตามความสามารถที่มีอยู่ไม่ทุ่มจนสุดตัว คํานึงถึง คําว่า “ พอ ” ตามกําลังของธุรกิจและกิจการที่มีความเจริญก้าวหน้า และหากมีวิกฤตการณ์ใดๆ เกิดขึ้น ซึ่งอาจ
  • 3. 153 เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยที่คาดไม่ถึง กิจการต้องอยู่ได้โดยไม่ทําให้พนักงาน ผู้ถือหุ้น สถาบัน การเงินที่ ให้กู้และสังคมเดือดร้อน นอกจากนั้น องค์กรธุรกิจหลายแห่งในประเทศไทย มีความตื่นตัวในเรื่องของการแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคมและนําไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การพัฒนาชุมชนและการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ระบบบรรษัทภิบาล เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมให้ภาคธุรกิจที่กําหนดให้องค์กรควบคุมกิจการ มีความ รับผิดชอบตามหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ภายใต้กรอบของจริยธรรมที่ดีโดยคํานึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างรอบด้าน สามารถดําเนินการด้วยความรับผิดชอบ ยุติธรรมและโปร่งใสตลอดจนมีการบริหาร ความเสี่ยงที่รัดกุมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีมาตรการและกฎกติกาในการสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในตนเอง สถาบันการเงินไทยทั้งระบบซึ่งถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศเพียงสัดส่วนประมาณร้อยละ 8 เมื่อประกอบกับการวางแผนอย่างรอบคอบของธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานด้านวางแผน พัฒนาเศรษฐกิจที่ปรับรื้อระบบการบริหารด้านการเงินระดับมหภาค จึงสามารถป้องกันมิให้ประเทศ เผชิญวิกฤตการเงินซ้ํารอย เป็นผลให้วิกฤตเศรษฐกิจ ในปี 2550 ไม่กระทบประเทศไทยมากนัก ทั้งนี้ การบริหารความเสี่ยงจากพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชนพิจารณา ได้จากภาพที่ 14.1 ภาพที่ 14.1 นโยบายการบริหารความเสี่ยง นโยบายสําคัญที่สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่องค์กรธุรกิจ ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550 การบริหาร (การจัดการ)ความเสี่ยง การวิเคราะห์ต้นทุน และผลตอบแทน การปฏิบัติตาม นโยบาย การประเมินความอ่อนไหว และเสถียรภาพ การประเมินความเสี่ยง
  • 4. 154 สิ่งหนึ่งที่สะท้อนแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจด้านปัจจัยขับเคลื่อนคือ แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (หลักการเอื้ออาทร หรือเรียกว่า Corporate Social Respond- - sibility: CSR) จะปรากฏอยู่ในการบริหารปัจจุบันของภาคธุรกิจทั้งที่กระทําอย่างจริงใจและกระทํา เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคมอันมีผลต่อภาคการตลาด นอกจาก นั้นแนวคิดการขยายเครือข่าย ยังสะท้อนถึงเครือข่ายความร่วมมือจากสื่อมวลชน สถาบันการศึกษา ภาครัฐซึ่งได้กําหนดนโยบายการพัฒนาตามแนวคิดดังกล่าวที่ชัดเจนมากขึ้น จากการรวบรวมข้อมูลการศึกษา การสํารวจ ในหนังสือจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การ ปฏิบัติกว่าทศวรรษ ทําให้ได้ข้อเสนอแนะ 6 ประการได้แก่ 1. เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง สําหรับการขจัดความยากจน และ การลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของคนจน 2. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานของการสร้างพลังอํานาจของชุมชนและการ พัฒนาศักยภาพ ชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อเป็นฐานรากของการพัฒนาประเทศ 3. เศรษฐกิจพอเพียงช่วยยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจภาคเอกชนด้วย การสร้างข้อปฏิบัติในการทําธุรกิจที่เน้นผลกําไรระยะยาวท่ามกลางบริบทที่มีการแข่งขัน 4. หลักเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญยิ่งต่อการปรับปรุงมาตรฐานของธรรมาภิบาลในการ บริหารงานภาครัฐ 5. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถใช้เป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายของชาติเพื่อ สร้างภูมิคุ้มกันต่อสถานการณ์ ที่เข้ามากระทบโดยกะทันหัน เพื่อปรับปรุงนโยบายต่าง ๆ ให้เหมาะสม ยิ่งขึ้น และเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการเติบโตที่เสมอภาคและยั่งยืน 6. ในการปลูกฝังจิตสํานึกพอเพียงจําเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนค่านิยมและความคิดของคน เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาคน 14.2 การดําเนินงานขององค์กรระดับพื้นที่ในภาคสาธารณะบนพื้นฐานปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 1. การดําเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ 2 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มีการจัดการที่ทันสมัย และ ดําเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายในองค์กร โดยขับเคลื่อนพร้อมกันทั้ง 3 ด้านคือ ด้านองค์กร (Organization) ด้านพนักงาน (Employee) และด้านลูกค้า (Customer) เพื่อเป็นพลัง แห่งการเกื้อกูลซึ่งกันและกันให้สามารถฟันฝ่าสภาวะการเปลี่ยนแปลงภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ อย่างมั่นคง โดยให้ความรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรในองค์กรอย่างต่อเนื่อง และมีการ พัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่าง โดยเชิญนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน มาให้ความรู้
  • 5. 155 ให้คําปรึกษา และข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายจัดการและพนักงานผู้วางแผนส่งเสริมชุมชนให้มีการสืบทอด และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีแผนชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง สร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนที่มี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทํากิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ําเสมอการมีคุณธรรม การกําหนดคุณลักษณะหลักของกระบวนการกํากับดูแลกิจการที่ดี ประกอบด้วย หลัก สร้างสรรค์คุณภาพประกันคุ้มค่า รักษาสิ่งแวดล้อม ร่วมกันคิดร่วมกันทําเปิดเผย โปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคเป็นธรรมสํานึกรับผิดชอบ และสนับสนุนการเรียนรู้กําหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติ ได้แก่ จรรยาบรรณการป้องกัน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่พึงประสงค์ 5 ประการ คือ ซื่อสัตย์สุจริตมี สํานึกรับผิดชอบ ตอบสนองเป็นทีม ยิ้มบริการด้วยใจและใช้ชีวิตพอเพียงมีการรณรงค์เพื่อเสริมสร้าง และปลูกฝังคุณธรรมให้แก่บุคลากรในองค์กร โดยให้พนักงานมีส่วนร่วม เช่น กิจกรรมลด ละ เลิกการ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กิจกรรม “ บริการด้วยใจ ” คัดเลือกคนพอเพียงของ ธ.ก.ส.สร้างแนว ทางการมีส่วนร่วมภายในองค์กรทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีการกระจายอํานาจและถ่วงดุลอํานาจ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรและชุมชนอย่างสูงสุด ส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักในคุณธรรมตาม หลักศาสนาของตน มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทนและมีความเพียรในการใช้สติปัญญาดําเนินชีวิตบน ทางสายกลาง เกิดความสมดุลในชีวิต และจัดสรรผลประโยชน์ในชุมชนแก่สมาชิกอย่างเป็นธรรม การมีความรู้นํากระบวนการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนาพนักงานในทุกมิติเพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร และมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยได้มีการสํารวจความพึงพอใจของ ลูกค้า และรวมภูมิปัญญาขององค์กรในรูปแบบของการสร้างประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม (Best Practice) และสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพนักงานในโครงการชุมชนนักปฏิบัติ ขยายโอกาสการ เรียนรู้ของพนักงานทุกระดับด้วยระบบ E-learning และสร้างองค์ความรู้ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่สหกรณ์การเกษตร รวมทั้งส่งเสริมการปลูกฝังวัฒนธรรม ธ.ก.ส. และการเรียนรู้เพื่อสร้าง นวัตกรรมในการทํางาน มีการนําระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการแผนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร สร้างกลไกกระบวนการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรรุ่นใหม่และเยาวชน ตลอดจนให้ความรู้ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรในองค์กรอย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง โดยเชิญนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน มาให้ความรู้ คําปรึกษา และข้อเสนอแนะ แก่ฝ่ายจัดการและพนักงานผู้วางแผน
  • 6. 156 มีการส่งเสริมชุมชนให้มีการสืบทอดและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีแผนชุมชนเพื่อการ พึ่งพาตนเอง สร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทํากิจกรรมร่วมกันอย่าง สม่ําเสมอ กําหนดคุณลักษณะหลักของกระบวนการกํากับดูแลกิจการที่ดี ประกอบด้วย หลักสร้างสรรค์ คุณภาพประกันคุ้มค่า รักษาสิ่งแวดล้อม ร่วมกันคิดร่วมกันทําเปิดเผย โปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต เสมอ ภาคเป็นธรรมสํานึกรับผิดชอบ และสนับสนุนการเรียนรู้กําหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและวิธีปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติ ได้แก่ จรรยาบรรณการป้องกันความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่พึงประสงค์ 5 ประการ คือ ซื่อสัตย์สุจริตมีสํานึก รับผิดชอบ ตอบสนองเป็นทีม ยิ้มบริการด้วยใจและใช้ชีวิตพอเพียง มีการรณรงค์เพื่อเสริมสร้างและปลูกฝังคุณธรรมให้แก่บุคลากรในองค์กรโดยให้พนักงานมี ส่วนร่วม เช่น กิจกรรมลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กิจกรรม “ บริการด้วยใจ ” คัดเลือก คนพอเพียงของ ธ.ก.ส. สร้างแนวทางการมีส่วนร่วมภายในองค์กรทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีการกระจายอํานาจ และถ่วงดุลอํานาจเพื่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรและชุมชนอย่างสูงสุดส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักใน คุณธรรมตามหลักศาสนาของตน มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทน และมีความเพียรในการใช้สติปัญญา ดําเนินชีวิตบนทางสายกลาง เกิดความสมดุลในชีวิต และจัดสรรผลประโยชน์ในชุมชนแก่สมาชิกอย่าง เป็นธรรม การดําเนินงานโดยยึดหลักความมั่นคง ยั่งยืน และมีความพอเพียงของแหล่งเงินทุน พึ่งพา ตนเองด้านเงินทุนโดยการระดมเงินฝากจากเกษตรกรและประชาชนทั่วไปแทนเงินฝากจากธนาคาร พาณิชย์ สนับสนุนการจัดทําบัญชีครัวเรือน เพื่อให้เกษตรกรมีเงินออมเพิ่มขึ้น ให้เพียงพอกับการให้ ความช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่เกษตรกรรายย่อยและประชาชนในชนบทควบคู่กับการแนะนํากํากับ ดูแลที่ดี รณรงค์ให้บุคลากรรู้จักความพอดี ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาพ ดี โดยลด ละ เลิกอบายมุข รู้จักบริหารจัดการการเงินของตนเอง โดยการลดรายจ่าย ลดภาระหนี้ เพิ่มเงินออม จํากัดจํานวนผู้เข้ารับการพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับอัตรากําลังพนักงาน และหน่วยงานที่มี ส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อให้เกิดคุณภาพ เน้นแบบค่อยเป็นค่อยไปและเลือกหาหลักสูตรที่สอดคล้อง กับวิถีชีวิตและความต้องการการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนและเกษตรกรสร้างความพอดีในครอบครัว เช่น การผลิตและการบริโภคที่ อยู่ในระดับพอประมาณ มีกิจกรรมลดรายจ่ายในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิตในการประกอบอาชีพ สร้างขนาดการผลิตให้สอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการ สร้างกระบวนการผลิตที่เน้น
  • 7. 157 เพื่อการบริโภค หรือจําหน่ายภายในชุมชนเป็นหลัก หากมีส่วนเหลือจึงให้จัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจ เพื่อ จําหน่ายผลิตภัณฑ์ไปสู่ภูมิภาค ให้ความสําคัญกับการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายสร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยการจัดหา แหล่งเงินให้เพียงพอสําหรับภารกิจของธนาคาร และมีต้นทุนที่เหมาะสมและดูแลบริหารเงินอย่างมี เสถียรภาพ มุ่งเน้นการให้บริการที่ประทับใจแก่ลูกค้า ด้วยการสร้างวัฒนธรรมการบริการด้วยใจ รวมทั้ง สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยยึดหลักของการมีส่วนร่วมในทุกระดับ รับฟังความคิดเห็น ของลูกค้าเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ดี ตรงตามความต้องการของลูกค้า และสะดวกในการปฏิบัติของ พนักงาน และเป็นผลดีแก่องค์กรในการพัฒนาให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน การพัฒนาส่งเสริมอาชีพเกษตรกรลูกค้า ที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ สร้างฐานข้อมูลที่ง่ายต่อการใช้งาน วางระบบแนวทางการพัฒนาให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตอย่างประหยัดใช้ประโยชน์ คุ้มค่า ส่งเสริมให้ชุมชนมีกฎระเบียบใช้ปฏิบัติร่วมกัน รวมทั้งให้มีกิจกรรมสืบทอดวัฒนธรรมภูมิ ปัญญาของชุมชนสู่เยาวชน บริหารจัดการองค์กรภายใต้กรอบการบริหารและการกํากับดูแลที่ดี (Good Corporate Governance) อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด และถือเป็นกฎเกณฑ์กติกาที่ทําให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้อง ปฏิบัติ กําหนดให้การใช้ชีวิตพอเพียงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ธ.ก.ส. ที่พนักงานทุกคนจะต้อง ยึดถือและปฏิบัติ และกําหนดให้มีแผนงานโครงการเสริมสร้างและปลูกฝังวัฒนธรรม ธ.ก.ส. อย่าง ต่อเนื่องทุกปี นําแนวคิดทางวิชาการไปกําหนดการจัดทําแผนการดําเนินงาน 5 ปี แผนการดําเนินงานและ งบประมาณประจําปี และให้ความรู้แนวทางการพัฒนาชนบทกับผู้นําเกษตรกร ผู้นําชุมชนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง สร้างการมีส่วนร่วมการประชุม การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดเวที การเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างพนักงาน เกษตรกร และผู้นําชุมชน เพื่อวางแผนจัดทําโครงการบรูณา การและเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่าง 2. การดําเนินงานของสํานักงานเทศบาลตําบลปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ 3 เทศบาลตําบลปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คณะ ผู้บริหารเทศบาลได้ร่วมกันประกาศนโยบายในการน้อมนําหลักการทรงงาน พระราชดํารัส และ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนการดําเนินงานขององค์กรในทุกมิติควบคู่กับหลักธรรมาภิ บาล รวมถึงใช้ในการกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ทําให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจ
  • 8. 158 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและได้รับประโยชน์ สามารถดําเนินชีวิตได้อย่างมีเหตุมีผลตามวิถีชีวิต ของชุมชนอย่างยั่งยืน การให้ข้อมูลข่าวสารมีอย่างหลากหลาย กว้างขวางหลายช่องทางและมีการเผยแพร่ความรู้ ตามแผนพัฒนาความรู้และการศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษาให้แก่ผู้ที่ขาดโอกาสของชุมชน โดยจัดตั้งศูนย์ศึกษาเรียนรู้ขึ้นในเทศบาลและศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมการ พัฒนาตามแนวพระราชดําริผสมผสานกับภูมิปัญญาของชุมชนในการพัฒนาชุมชนร่วมกับสถาบัน การศึกษา และสร้างความรู้ในการประกอบอาชีพให้ชุมชน เน้นการใช้ธรรมาภิบาลในการดําเนินงานทุกระบบงานและมีการประกาศกําหนดมาตรฐาน คุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่และผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เสริมสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารกําลังคน ตามหลักศาสนาและศีลธรรมเข้ามาพัฒนา จิตใจของเจ้าหน้าที่จนเกิดเป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่ดี ใช้ทรัพยากรทางการบริหารและการพัฒนาอย่างประหยัดคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมี มาตรการประหยัดการใช้ทรัพยากร และมีการประสานการใช้ทรัพยากรในการพัฒนาร่วมกับ หน่วยงานภาคต่างๆ ในชุมชนอย่างพอเหมาะทําให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันและลด ต้นทุนทางการบริหารได้ โดยเทศบาลได้ใช้งบประมาณเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านการ พัฒนาคุณภาพชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 และให้ชุมชนใช้งบประมาณเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่มเพื่อการ เพิ่มทุนของกลุ่มจากผลการดําเนินงานให้มีเงินทุนขยายตัวขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง อย่างค่อยเป็นค่อยไป จัดตั้งกองทุนสวัสดิการคนดีปลายพระยา ให้แก่เจ้าหน้าที่และวางแผนอัตรากําลัง 3 ปีเพื่อ บริหารกําลังคนให้เหมาะสมกับภารกิจปัจจุบันพร้อมทั้งปรับวิถีชีวิตเจ้าหน้าที่และชุมชนให้เข้าสู่วิถี ชีวิตพอเพียงอย่างสมดุล น้อมนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากําหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ในการบริหาร องค์กรและพัฒนาชุมชน ครบทุกระบบงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและเป็นกระบวนการ โดยสร้างการมี ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของรัฐและกลุ่มชุมชน ทั้งการคิด วางแผน และดําเนินการตามสภาพปัญหา ความต้องการและศักยภาพของแต่ละชุมชน มีระบบภาคีร่วมพัฒนาโดยปราศจากข้อขัดแย้งและใช้ แผนพัฒนาระบบ 5 ปี เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยจัดลําดับความสําคัญของการพัฒนาอย่างมีเหตุ มีผลเพื่อให้เกิดทิศทางการพัฒนาทั้งในปัจจุบันและอนาคต ติดตามประเมินผลการดําเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายทั้งระยะสั้นและ ระยะยาวให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและสมดุลกับสภาพภูมิสังคมและใช้หลักการทรงงานและพระราช ดํารัส ที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายในโดย “ ระเบิดจากข้างใน ” เพื่อสร้างความเข้มแข็ง
  • 9. 159 ภายในองค์กรและกลุ่มชุมชนโดยใช้ระบบการบริหารจัดการที่ดี มีการบริหารความเสี่ยงและการ ตรวจสอบติดตามผลทุกไตรมาสอย่างเป็นระบบ เน้นการสร้างจิตสาธารณะให้แก่เจ้าหน้าที่และชุมชนร่วมกันทําประโยชน์สาธารณะ สร้างคน ดีและต้นแบบแห่งคนดีขึ้นในองค์กร มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตพอเพียงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ มีความ สามัคคี ลด ละ เลิกอบายมุขรู้จักประหยัดและออมทรัพย์ร่วมกับชุมชน เสริมสร้างอาชีพและรายได้ เสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจและมีการเชิดชูเกียรติคนดีทุกปี 14.3 สรุป ความร่วมมือระหว่างภาคีในการขับเคลื่อนและขยายเครือข่ายการพัฒนาระดับพื้นที่บน พื้นฐานของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งองค์กรภาคเอกชน องค์กรภาครัฐและภาค สาธารณะรวมถึงองค์กรทางการเงิน ทําให้ระบบเครือข่ายการพัฒนาระดับพื้นที่ สามารถดําเนินการ ร่วมกับภาคประชาชน ขยายผลในการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลทั้งในระดับชุมชน และท้องถิ่น ทั้งนี้ การนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปดําเนินงาน คํานึงถึงกลไกทางสังคมมา เป็นปัจจัยขับเคลื่อน นอกจากนั้น การนําหลักการบริหารองค์กรภาคี ภายใต้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ยั่งยืน คํานึงถึงแนวทางการบริหารตามหลัก ธรรมาภิบาล หลักทศพิธราชธรรมและหลักการที่เน้น ความรับผิดชอบทางสังคม การปลูกจิตสํานึกด้านผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนร่วม การขยายเครือข่ายบนพื้นฐานความร่วมมือตามกรอบการพัฒนาดังกล่าว จึงเน้นจุดประสงค์ เพื่อสร้างกําลังอํานาจ และสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคสาธารณะในระดับรากหญ้า แบบฝึกหัด 1. นักศึกษาอธิบายแนวนโยบายการบริหารความเสี่ยง นโยบายสําคัญที่สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ให้แก่องค์กรธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 2. นักศึกษาอภิปรายถึงการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ตามข้อเสนอแนะ 6 ประการ 3. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายและลักษณะของระบบบรรษัทภิบาล 4. ให้นักศึกษาค้นคว้าการดําเนินงานขององค์กรระดับพื้นที่ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงแล้วนําเสนอการวิเคราะห์สังเคราะห์การดําเนินงานดังกล่าว 5. นักศึกษาอภิปรายคุณลักษณะของการบริหารกิจการที่ดีทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ
  • 10. 160 6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคประชาชนหมายถึงอะไร และต้องมีการพัฒนาในด้าน ใดบ้าง จงอธิบาย 7. การสร้างวัฒนธรรมองค์การในองค์กรภาคเอกชนมีแนวโน้มในลักษณะใด จงอธิบาย 8. พระราชดํารัสที่ว่า “ ต้องระเบิดจากข้างใน ” หมายถึงอะไร จงอธิบาย 9. จงอธิบายถึง ความหมายของแนวคิดการดําเนินงานโดยยึดหลักความมั่นคง ยั่งยืน และมี ความพอเพียง 10. จงอธิบายถึงการกําหนดคุณลักษณะหลักของกระบวนการกํากับดูแลกิจการที่ดี เชิงอรรถ 1 อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), มูลนิ สถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (มพพ.), & สํานักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์. (2555). จากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ...กว่า ๑ ทศวรรษ. กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จํากัด. 2 คัดลอกจาก สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาครัฐ. กรุงเทพฯ คณะอนุกรรมการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง 3 คัดลอกจาก สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาครัฐ. กรุงเทพฯ คณะอนุกรรมการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
  • 11. 161 เอกสารอ้างอิง สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา ประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (มพพ.), & สํานักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์. (2555). จากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ...กว่า ๑ ทศวรรษ. กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จํากัด. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การประยุกต์ใช้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของภาครัฐ. กรุงเทพฯ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พอเพียง.