SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
35
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 4
หัวข้อเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียด แนวคิดทฤษฎีใหม่ตามกระแสพระราชดำรัส ความสัมพันธ์ระหว่างแนวพระราชดำริ
เรื่องทฤษฎีใหม่กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ลักษณะสำคัญของเกษตร
ทฤษฎีใหม่ การเปรียบเทียบเกษตรทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง การเปรียบเทียบทฤษฎีใหม่ขั้น
ต่างๆ และเศรษฐกิจพอเพียงแบบต่าง
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยายเนื้อหาวิชา
2. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน
สื่อการสอน
1. การบรรยาย
2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การนําเสนอแนวคิด
3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1 การทดสอบย่อยและแบบฝึกหัดในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง
2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. สัดส่วนของการประเมิน (5 คะแนน)
3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 60
3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอร้อยละ 40
36
เนื้อหาที่สอน ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.1 แนวคิดทฤษฎีใหม่ตามกระแสพระราชดำรัส
“การกระทําทฤษฎีใหม่ไม่ใช่ของง่าย ๆ แล้วแต่ที่แล้วแต่โอกาสและแล้วแต่งบประมาณ
เดี๋ยวนี้ประชาชนทราบถึง ทฤษฎีใหม่อย่างกว้างขวาง” (พระราชดํารัส พระราชทานเมื่อวันที่ 4
ธันวาคม. 2538) “...ทฤษฎีใหม่...ยืดหยุ่นได้และต้องยืดหยุ่นเหมือนชีวิตเราทุกคนต้องมียืดหยุ่น”
(พระราชดํารัสเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม. 2551)
1
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า แนวคิดทฤษฎีใหม่และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่ทั้ง
สองแนวคิดเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
2
กระแสพระราชดำรัส มีความต้องการให้ประชาชนมีการ
พัฒนาไปตามขั้นตอน (Sequencing) ขั้นแรก เน้นการอยู่รอดได้ด้วยตนเองใน ขั้นที่สอง การยืนหยัด
ได้ด้วยตนเองซึ่งถือว่าเป็นการสร้างเกียรติให้แก่ตนเอง ขั้นที่สาม เมื่อสามารถยืนได้ด้วยตนเองแล้วให้
นึกถึงผู้อื่น โดยการช่วยเหลือเกื้อกูล ขั้นตอนต่าง ๆ ของทฤษฎีใหม่ ได้แก่
3
1) การพึ่งพาตนเอง ในระดับนี้เป็นการทำให้ตนเองอยู่รอดโดยนำหลักพอประมาณมา
ประยุกต์ใช้ กล่าวคือ ดำเนินวิถีชีวิตอย่างอดทน ประหยัด อดออม เพื่อให้พอเลี้ยงตนเองได้ ไม่เกิด
ความยากลำบากหรือยากจน ทำให้เกิดความเข้มแข็งในระดับบุคคลหรือครัวเรือนแล้วจึงพัฒนาไปยัง
ขั้นที่สอง
2) เมื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ครอบครัวแล้วจึงขยายไปสู่ความร่วมมือในระดับ
ชุมชน การทำให้เกิดความร่วมมือดังกล่าวอาจออกมาในรูปแบบการรวมกันเป็นกลุ่มการผลิต
สหกรณ์ กลุ่มการตลาด สวัสดิการ การศึกษาและรูปแบบอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์
การรวมกันเป็นกลุ่มดังกล่าว จะสร้างความสามารถด้านต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกของกลุ่ม
เนื่องจากจะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความร่วมมือ เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตลอดจน
การเชื่อมโยงทั้งระหว่างกลุ่มประเภทเดียวกันและกลุ่มต่างประเภท โดยอาจมีลักษณะต่อเนื่องเช่น
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่มเกษตรธรรมชาติและ/หรือกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ เป็นต้น
3) เมื่อเกิดความเข้มแข็งในระดับชุมชนและท้องถิ่นแล้ว ก็ขยายด้วยวิธีการรวมกลุ่มและการ
สร้างเครือข่ายในระดับที่สูงกว่า คือในระดับประเทศและในระดับนานาประเทศทั้งทางด้านการเงิน
การตลาดและเทคโนโลยี และสิ่งอื่น ๆ
ทั้งสามขั้นตอน ขั้นที่หนึ่งเรียกได้อีกอยางหนึ่งว่า ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น ขั้นที่สองและขั้นที่สาม
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า ขั้นตอนทั้งหมดดังกล่าว แม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งที่กระทําได้ง่าย
เนื่องจากต้องมีองค์ประกอบร่วมอื่น ๆ เช่น ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์สุจริต ความมานะ
อดทนและจำเป็นต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอ เชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความร่วมมือซึ่ง
กันและกัน
37
4.2 ความสัมพันธ์ระหว่างแนวพระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง
หลักสําคัญของทฤษฎีใหม่ อาศัยหลักการซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ คือ
หลักทางสายกลางหรือความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันบนเงื่อนไขความรู้คู่คุณ
ธรรม ขั้นตอนทั้งสามข้างต้น จะประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ก็ต่อเมื่อมีการนำหัวใจสำคัญของ
เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ เมื่อพิจารณาทั้งสามขั้นตอน จะเห็นลักษณะที่เป็นหัวใจสำคัญของ
เศรษฐกิจพอเพียงในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการนำเงื่อนไขด้านความรู้และคุณธรรมมาใช้ในขั้นแต่ละ
ขั้นตอนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้
นอกจากนั้น ข้อเสนอของกรมพัฒนาชุมชน
4
เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างความยั่งยืนตาม
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้จากการประยุกต์ใช้ของเครือข่ายเกษตรกรรม
ธรรมชาติ
5
ได้แบ่งขั้นตอนตั้งแต่ขั้นพอกินไปจนถึงขั้นกองกําลังเกษตรโยธินซึ่งเป็นขั้นที่ต้องสร้าง
เครือข่ายในระดับประเทศเพื่อความเข้มแข็งนั่นเอง
สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง คือการที่ทฤษฎี
ใหม่ มีการพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ต้องทำให้เกิดความสมดุลของสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสม และทําให้เกิดสมดุลของสิ่งแวดล้อม เน้น
ผลผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดพิษภัยต่อสุขภาพ ทั้งนี้ เป็นการทำกิจกรรม ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืนและ
ประการสำคัญ ทฤษฎีใหม่ได้นําหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้
4.3 แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่่
แนวคิดทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการที่ดินเพื่อ
การเกษตรขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพ
6
หรือการบริหารจัดการทรัพยากรระดับไร่นา ได้แก่ ที่ดิน น้ํา
เพี่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
7
การแบ่งสัดส่วนในการบริหารที่ดินสามารถ
แบ่งไดดังนี้ ที่ดินสำหรับเก็บกักน้ําร้อยละ 3 หรือ30 ที่ดินสําหรับทำนา ปลูกข้าวร้อยละ 3 หรือ 30
ที่ดินสำหรับพืชไร่นานาพันธ์ร้อยละ 3 หรือ 30 ที่ดินสำหรับปศุสัตว์และที่ดินสาหรับที่อยู่อาศัยร้อยละ
3 หรือ 30 ภาพโดยรวมของสัดส่วนคือ 3:3:3:1 หรือ 30:30:30:10
อย่างไรก็ตาม การแบ่งสัดส่วนที่ดินทำการเกษตร จําเป็นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมหรือ
สภาพภูมิศาสตร์ในแต่ละพื้นที่ด้วย เช่น พื้นที่ที่มีฝนตกชุกในจังหวัดภาคใต้ สามารถลดพื้นที่เก็บกักน้ํา
โดยสัดส่วนดังกล่าวร้อยละ10 เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและปศุสัตว์ ร้อยละ 20 เป็นพื้นที่เก็บกักน้ําร้อยละ
30 เป็นพื้นที่ปลูกข้าวและร้อยละ 40 เป็นพื้นที่พืชสวนไร่นา ทั้งนี้เนื่องจากภาคใต้มีพื้นฐานด้านการ
เกษตรผสมผสานเป็นทุนเดิม
8
ดังนั้น สัดส่วนจึงเป็น 10:20:30:40
นอกจากสัดส่วนข้างต้นแล้ว
อาจขึ้นอยู่กับความเหมาะสม กล่าวคือ
ปลูกข้าวอีกร้อยละ 30 เป็นพื้นที่กักเ
ผสมหรือไร่พืชนานาพันธ์ร้อยละ 30 อี
แนวคิดที่เปิดกว้างต่อการประยุกต์ เพื่
สภาพพื้นที่หรือสภาพภูมิศาสตร์ การป
ตนและศักยภาพของสิ่งเอื้ออํานวยต่าง
ภาพที่ 4.1 สัดส่วนของพื้นที่ทาการเก
ที่มา: หม่อนไม้. 2555
9
ภาพที่ 4.2 สัดส่วนการบริหารจัดการที
ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร. 2550
11
แนวคิดข้างต้น สะท้อนถึงความ
เหมาะสมการบริหารจัดการพื้นที่ สําห
38
ว การพิจารณาสัดส่วนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่การ
วคือ อาจแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้ประโยชน์เป็นร้อยละ 30 เป็นพื้นที่
เก็บน้ําและพื้นที่ปลูกผักสวนครัวและปศุสัตว์แทนการทํา
อีกร้อยละ10 เป็นที่อยู่อาศัย ดังนั้น แนวคิดทฤษฎีใหม
พื่อความเหมาะสมต่อกิจกรรมการดำเนินชีวิตและเหมาะ
ประยุกต์ใช้จึงต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับศักยภ
ๆ
ารเกษตรตามแนวคิดทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ 15 ไร่
ารที่ดิน แบ่งเป็น 10: 20:30: 40 .ในพื้นที่ 23 ไร่
ามยืดหยุ่นของการนำแนวคิดไปประยุกต์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กั
หรับกิจกรรมทางการเกษตรดังกล่าว นอกเหนือจากที่
รเกษตร
เป็นพื้นที่
ว์แทนการทําไร่สวน
ม่จึงเป็น
ะสมต่อ
ภาพของ
กับความ
ากที่กล่าว
39
มาแล้ว อาจพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้า โดยใช้เทคโนโลยี วิทยาการและความรู้ หรือภูมิปัญญาเข้าช่วย
โดยผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับวิทยาการสมัยใหม่หรือความรู้และภูมิปัญญาที่มีอยู่เข้าด้วยกัน
ตัวอย่างเช่น การใช้ประโยชน์จากพลังแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การปลูกไม้
ยืนต้นโตเร็วเพื่อไปใช้ในการปลูกสร้าง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โรงเรือนปศุสัตว์ พืชไร่บางชนิดโดยไม่
เบียดเบียนธรรมชาติ เป็นต้น
4.4 ลักษณะสําคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่
หากพิจารณาสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่า เกษตรทฤษฎีใหม่เน้นสร้างความมั่นคงใน
การดำเนินชีวิตจากพื้นฐานหรือรากฐานความเป็นอยู่แล้วค่อย ๆ พัฒนาให้เจริญเติบโตไปสู่
ความก้าวหน้าตามลำดับขั้นต่อไป กล่าวได้ว่า การพึ่งพาตนเองเป็นสิ่งสําคัญที่แนวคิดใช้เป็น
หลักการของการพัฒนาทั้งสามขั้นตอนหลัก ทั้งนี้ลักษณะสําคัญอื่น ๆ ของแนวคิดทฤษฎีใหม่ ได้แก่
1) การบริหารจัดการพื้นที่ใช้สอยด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ชลประทานและที่อยู่อาศัยบน
พื้นฐานแนวคิดการผสมกลมกลืนระหว่างการดำเนินชีวิตกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
2) เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ประหยัด ซึ่งจะทําให้เกิดรากฐานที่มั่นคงและยั่งยืน
3) มีลักษณะสนับสนุนความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
4) เน้นเสรีภาพในการประกอบกิจกรรม เสรีภาพทางความคิดในการประกอบกิจกรรมและ
การดําเนินวิถีชีวิต โดยแนวคิดไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวในการนําไปประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความ
เหมาะสมของทรัพยากรและสภาพภูมิศาสตร์ในแต่ละพื้นที่
5) ให้ความสำคัญต่อการรวมกลุ่ม เพื่อสร้างเครือข่ายเพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนากิจกรรมใน
ทุกด้านทั้งผลผลิต การตลาด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่และการพัฒนา
ภูมิปัญญาที่มีอยู่ให้สามารถนํามาใช้ประโยชน์
7) เน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้หลักคิดที่เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
ทางสายกลางและ เงื่อนไขของความรู้คู่คุณธรรม
8) เน้นในการสร้างจริยธรรมเพื่อให้การดำเนินชีวิตและวิถีการดําเนินชีวิตร่วมกัน ซึ่งจะทําให้
เกิดความสงบสุข
นอกจากลักษณะดังกล่าวแล้วลักษณะอื่นๆที่ได้จากข้อสรุปของกลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทาง
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2546)
12
ได้แก่ ลักษณะเชิงบูรณาการเน้นการ
พัฒนาเป็นองค์รวมไม่แยกส่วน โดยคำนึงถึงการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับกับการพัฒนาเศรษฐกิจ วิถีชีวิต
วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและการปลูกจิตสำนึกของคนทั้งในระดับรากหญ้าจนถึงระดับชาติ
40
4.5 การเปรียบเทียบเกษตรทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อกล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียง เราจะสามารถเห็นถึงพัฒนาการของแนวความคิดดังกล่าว
ที่มีลักษณะของพัฒนาการสามขั้นตอน ดังเช่นแนวคิดทฤษฎีใหม่ อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีใหม่และ
เศรษฐกิจพอเพียงมีความแตกต่างกันในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
ตารางที่ 4.1 การเปรียบเทียบเกษตรทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง
13
เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่
1.เป็นกรอบทีเป็นหลักการและแนวทางของทฤษฎีใหม่
2. มีความหมายกว้าง
3. สามารถประยุกต์ใช้กับบริบทต่างได้ ทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม การเมืองและ สิ่งแวดล้อม
4. มีขั้นตอนสองลักษณะคือขั้นพื้นฐานและขั้นก้าวหน้า
5. สามารถนําขั้นตอนพื้นฐานและขั้นตอนก้าวหน้ามาใช้
เกื้อกูลกันอย่างสมดุล
1. เป็นตัวอย่างภาคปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ใช้ในบริบทในภาคกสิกรรม
3. เป็นการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน
การบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร
ชลประทานและการปศุสัตว์
4. มีการแบ่งขั้นตอนการพัฒนาไปสู่ระดับต่างๆ 3
ขั้นตอนหรือ 9 ขั้นตอน ตามที่ผู้ประยุกต์ใช้
พิจารณาว่าเหมาะสม
5. มีการพัฒนาไปที่ละขั้นตอนเพื่อจุดมุ่งหมายใน
การแก้ปัญหาความยากจนและเพื่อให้เกิดการ
พึ่งพาตนเองได้เป็นอันดับแรกแล้วค่อยพัฒนา
ไปสู่ขั้นอื่น ๆ ต่อไป
ที่มา: วรรณกรรมปริทัศน์. 2546 : 53 - 57
14
อย่างไรก็ตาม ลักษณะร่วมกันของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ คือลักษณะที่เน้นการ
พึ่งพาตนเองในขั้นพื้นฐาน (Self – Sufficient) ทั้งนี้ หลักการที่เป็นหัวใจสำคัญของขั้นตอนพื้นฐาน
ได้แก่ การรู้จักตนเอง การประมาณตนเอง มีความรอบคอบ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยมีเหตุและมี
ผล ประการสําคัญในขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง
ลักษณะร่วมกันระหว่างเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ในขั้นก้าวหน้า คือลักษณะที่เน้น
การเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ การรวมกลุ่ม รวมทั้งการสร้างเครือข่ายเพื่อให้
กิจกรรมการดำเนินชีวิตตามแนวทางดังกล่าว เกิดความเข้มแข็งมีการพัฒนาต่อไปอย่างมั่นคง
41
ลักษณะโดยรวมที่มีร่วมกันอีกประการหนึ่งคือ แนวคิดทั้งสองเป็นแนวทางที่มีลักษณะองค์
รวมและมีแนวทางของการบูรณาการสิ่งต่างๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการพัฒนาไปสู่ระดับต่างๆ
4.6 การเปรียบเทียบทฤษฎีใหม่ขั้นต่างๆ และเศรษฐกิจพอเพียงแบบต่างๆ
เมื่อเปรียบเทียบขั้นตอนของทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะเห็นถึงลักษณะที่
สอดคล้องและลักษณะที่ต่างกันในแต่ละขั้นตอน
ตารางที่ 4.2 เปรียบเทียบขั้นตอนของทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่
1. เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน 1. การพึ่งตนเองในระดับบุคคลครอบครัวและ
เป็นทษฎีใหม่ขั้นที่ 1
2. เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหนา 2. การพึ่งตนเองระดับชุมชนเน้นการรวมกลุ่มและ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อ
กัน เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2
3. การพึ่งตนเองในระดับประเทศเน้นความร่วมมือ
และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายใน
ระดับภูมิภาคและประเทศตลอดจนสามารถ
พัฒนาไปสู่การเชื่อมโยงสู่ระดับระหว่างชาติได้
เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3
ที่มา: วรรณกรรมปริทัศน์. 2546 : 53 - 57
15
ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวปฏิบัติที่นำหลักการและหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็น
แนวทาง ทั้งนี้ทำให้การประยุกต์ใช้ดังกล่าว มีแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานที่สำคัญ
โดยหลักการที่เป็นพื้นฐานดังกล่าว อาศัยประสบการณ์ของประเทศและลักษณะของสิ่งแวดล้อม
รวมถึงลักษณะวิถีชีวิตพื้นฐานมาใช้เป็นวิธีการซึ่งสามารถทำให้ เกิดความยืดหยุ่นและความ
สามารถปรับตัวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ที่เรียกว่าลักษณะพลวัตร (Dynamic)
นอกจากนั้น ลักษณะของการแสวงหาความรู้และความมีคุณธรรม ทําให้เกิดลักษณะการปลอดจาก
ผลประโยชน์ทางการเมือง ทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นและระดับประเทศ เมื่อพิจารณาจากแนวคิด
42
ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าแนวทางการประยุกต์ใช้ ไม่ได้ยึดติดกับการประยุกต์ในลักษณะด้านใด
ด้านหนึ่ง แต่สามารถนําไปประยุกต์ในขั้นตอนการบริหารจัดการ การเมืองการปกครอง โดยอาศัย
การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในการประยุกต์ใช้ในขั้นตอนพื้นฐานไปสู่ขั้นตอนแบบก้าวหน้า ซึ่งขั้นตอน
ต่าง ๆ จะเป็นกลไกในการพัฒนาการเมือง โดยเริ่มจากความเข้มแข็งในระดับบุคคล ระดับครัวเรือน
ระดับองค์กรและองค์กรชมชนรวมทั้งระดับภูมิภาคและระดับชาติ
4.7 สรุป
โดยหลักการในการพัฒนาตามแนวคิดทฤษฎีใหม่ มีการนำหัวใจสำคัญหลักของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาใช้เป็นแนวทาง ทั้งนี้ หากจะพิจารณาลักษณะสําคัญของทฤษฎีใหม่แล้วจะเห็นว่า
เป็นแนวทางที่เปิดกว้างยอมรับแนวทางอื่น ๆ มาใช้เป็นประโยชน์ มีลักษณะที่กลุ่มพัฒนากรอบ
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (2546) เห็นว่า ได้ก้าวพ้นแนวคิดแบบตะวันตกและเป็นแนวคิดที่ก้าวพ้น
ลักษณะวิภาษวิธี อันเป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่ดีกว่ากับสิ่งที่ด้อย
กว่าทั้งนี้ การพัฒนาตั้งอยู่บนพื้นฐานสำคัญด้านคุณธรรม จริยธรรม พื้นฐานทางวัฒนธรรมและวิถี
ชีวิตของคนในสังคม
แบบฝึกหัด
1. นักศึกษาอธิบายความหมายของทฤษฎีใหม่
2. หลักการสำคัญ ๆ ของทฤษฎีใหม่มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
3. นักศึกษาอธิบายถึงขั้นตอนของทฤษฎีใหม่
4. ให้นักศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่
5. ให้นักศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนต่าง ๆ ของทฤษฎีใหม่และขั้นตอนต่าง ๆ ของเศรษฐกิจ
พอเพียง
7. ให้นักศึกษา ศึกษาแนวคิดทฤษฎีใหม่และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แล้วนำเสนอ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
8. จงอภิปรายถึงการพัฒนาโดยการนำแนวคิดและหลักการของทฤษฎีใหม่มาประยุกต์ใช้ทั้ง
ระดับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน ภูมิภาค และระดับชาติ
9. นักศึกษาอธิบายแนวคิด การก้าวพ้นแนวคิดแบบตะวันตก โดยนําพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียงและแนวคิดทฤษฎีใหม่ มาเป็นแนวทางในการอธิบาย
10. ให้นักศึกษาอธิบาย การพึ่งพาตนเองขั้นพื้นฐาน (Self – Sufficiency)
43
เชิงอรรถ
1
อ่านรายละเอียดใน หม่อนไม้. (2555). ทฤษฎีใหม่. 1 เม.ย.2556, http://www.monmai.com/
ทฤษฎีใหม่.
2
อ่านรายละเอียดใน http://www.scribd.com/doc/129917448/๔ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎี
ใหม่และปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง-1หน้า 47-70. รวบรวมใน. http://supwat.blogspot.
com/p/httpwww.html.
3
อ่านรายละเอียดใน http://www.scribd.com/doc/129917448/๔ความสัมพันธระหว่างทฤษฎี
ใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-1หน้า 50-52. และใน http://www.fpo.go.th/S-
I/Source/Article/Article40.htm. “ บทความ: ทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง (การเขาสู่ความ
พอเพียงตาม ขั้นตอนของทฤษฎีใหม่). รวบรวมใน. http://supwat.blogspot.com/
p/httpwww.html.
4
อ่านรายละเอียดใน. 20 ทฤษฎีใหม่. http://www.scribd.com/doc/ 43952712/20- ทฤษฎี
ใหม่. 45 หน้า รวบรวมใน http://supwat.blogspot.com/p/httpwww.html.
5
อ่านรายละเอียดใน.20 ทฤษฎีใหม่. http://www.scribd.com/doc/ 43952712/20-ทฤษฎีใหม่.
ส่วนที่ 3 ทฤษฎีใหม่กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.รวบรวมใน http://supwat.blogspot.
com/p /httpwww.html.
6
อ่านรายละเอียดใน ทฤษฎีใหม่.วิกิพีเดีย. http://www.th.wikipedia.org/wiki/ทฤษฎีใหม่.
7
อ่านรายละเอียดใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร
http://web.ku.ac.th/king72/2542-09/res05_02.html.
8
อ่านรายละเอียดใน ทฤษฎีใหม่พื้นที่ 23 ไร่. http://www.doae.go.th /libraryhtml/
detail/work/work2.htm.
9
อ่านรายละเอียดใน http://www.kasetporpeangclub.com/forums/บทความเกษตร
พอเพียง/144 - เกษตรทฤษฎีใหม่.html.
10
อ่านรายละเอียดใน http://www.monmai.com/ทฤษฎีใหม่/.
11
อ่านรายละเอียดใน https://web.ku.ac.th/king72/center/center6.htm. ศูนย์ศึกษาการ
พัฒนาพิกุลทองจังหวัด นราธิวาส.
44
12
อ่านรายละเอียดใน วรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 2546. กลุ่ม
พัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. มีนาคม.2546.
รวบรวมใน http://supwat.blogspot. com/p/httpwww.html.
13
อ่านรายละเอียดใน http://www.scribd.com/doc/129917448/๔ ความสัมพันธระหว่างทฤษฎี
ใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-1 หน้า 53-57. รวบรวมใน. http://supwat.blogspot.
com/p/httpwww.html.
14
อ่านรายละเอียดใน http://www.scribd.com/doc/129917448/๔ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎี
ใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-1 หน้า 53-57. รวบรวมใน. http://supwat.blogspot.
com/p/httpwww.html.
15
อ่านรายละเอียดใน http://www.scribd.com/doc/129917448/๔ความสัมพันธระหว่างทฤษฎี
ใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-1 หน้า 53-57. รวบรวมใน. http://supwat.blogspot.
com/p/httpwww.html.
45
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2546). วรรณกรรม
ปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 10 เม.ย.2557, http://supwat.
blogspot.com/p/httpwww.
กรมส่งเสริมการเกษตร, (2550). ทฤษฎีใหม่. ศูนย์การศึกษาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส. 30 เม.ย.
2556, http://www. doae.go.th/library/html/detail/work/work2.htm.
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองจังหวัดนราธิวาส. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการ
ทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร. 1 เม.ย.2557, https://web.ku.ac.th/ king72/
center/center6.htm.
สารานุกรมไทย. (2557), ทฤษฎีใหม่.1 เม.ย.2557, http://www.th.wikipedia.org/wiki/
ทฤษฎีใหม่.
สํานักงานกระทรวงการคลัง. (ม.ป.ป.), บทความ: ทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง (การเขาสู่ความ
พอเพียงตามขั้นตอนของทฤษฎีใหม่). 2 มี.ค. 2557, http://www.fpo.go.th/S-I/Source/
Article /Article40.htm.
สำนักงานเกษตรชุมชนจังหวัดสระบุรี. (2554). เกษตรทฤษฎีใหม.่ 1 เม.ย.2556, http//:www.
Kasetpor peangclub.com.
หม่อนไม้. (2555). ทฤษฎีใหม่. 1 เม.ย.2556, http://www.monmai.com/ทฤษฎีใหม่.

More Related Content

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สารบัญ
Microsoft word   สารบัญMicrosoft word   สารบัญ
Microsoft word สารบัญ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
Microsoft word สัปดาห์ที่14
Microsoft word   สัปดาห์ที่14Microsoft word   สัปดาห์ที่14
Microsoft word สัปดาห์ที่14
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Microsoft word สัปดาห์ที่10
Microsoft word   สัปดาห์ที่10Microsoft word   สัปดาห์ที่10
Microsoft word สัปดาห์ที่10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 
Microsoft word สัปดาห์ที่1
Microsoft word   สัปดาห์ที่1Microsoft word   สัปดาห์ที่1
Microsoft word สัปดาห์ที่1
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
 
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word   ปกเอกสารประกอบการสอนMicrosoft word   ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
 
Microsoft word บรรณานุกรม
Microsoft word   บรรณานุกรมMicrosoft word   บรรณานุกรม
Microsoft word บรรณานุกรม
 

Microsoft word สัปดาห์ที่ 4

  • 1. 35 แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 4 หัวข้อเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รายละเอียด แนวคิดทฤษฎีใหม่ตามกระแสพระราชดำรัส ความสัมพันธ์ระหว่างแนวพระราชดำริ เรื่องทฤษฎีใหม่กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ลักษณะสำคัญของเกษตร ทฤษฎีใหม่ การเปรียบเทียบเกษตรทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง การเปรียบเทียบทฤษฎีใหม่ขั้น ต่างๆ และเศรษฐกิจพอเพียงแบบต่าง จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยายเนื้อหาวิชา 2. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน สื่อการสอน 1. การบรรยาย 2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การนําเสนอแนวคิด 3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา 1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1 การทดสอบย่อยและแบบฝึกหัดในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง 2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. สัดส่วนของการประเมิน (5 คะแนน) 3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 60 3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอร้อยละ 40
  • 2. 36 เนื้อหาที่สอน ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4.1 แนวคิดทฤษฎีใหม่ตามกระแสพระราชดำรัส “การกระทําทฤษฎีใหม่ไม่ใช่ของง่าย ๆ แล้วแต่ที่แล้วแต่โอกาสและแล้วแต่งบประมาณ เดี๋ยวนี้ประชาชนทราบถึง ทฤษฎีใหม่อย่างกว้างขวาง” (พระราชดํารัส พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม. 2538) “...ทฤษฎีใหม่...ยืดหยุ่นได้และต้องยืดหยุ่นเหมือนชีวิตเราทุกคนต้องมียืดหยุ่น” (พระราชดํารัสเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม. 2551) 1 ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า แนวคิดทฤษฎีใหม่และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่ทั้ง สองแนวคิดเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน 2 กระแสพระราชดำรัส มีความต้องการให้ประชาชนมีการ พัฒนาไปตามขั้นตอน (Sequencing) ขั้นแรก เน้นการอยู่รอดได้ด้วยตนเองใน ขั้นที่สอง การยืนหยัด ได้ด้วยตนเองซึ่งถือว่าเป็นการสร้างเกียรติให้แก่ตนเอง ขั้นที่สาม เมื่อสามารถยืนได้ด้วยตนเองแล้วให้ นึกถึงผู้อื่น โดยการช่วยเหลือเกื้อกูล ขั้นตอนต่าง ๆ ของทฤษฎีใหม่ ได้แก่ 3 1) การพึ่งพาตนเอง ในระดับนี้เป็นการทำให้ตนเองอยู่รอดโดยนำหลักพอประมาณมา ประยุกต์ใช้ กล่าวคือ ดำเนินวิถีชีวิตอย่างอดทน ประหยัด อดออม เพื่อให้พอเลี้ยงตนเองได้ ไม่เกิด ความยากลำบากหรือยากจน ทำให้เกิดความเข้มแข็งในระดับบุคคลหรือครัวเรือนแล้วจึงพัฒนาไปยัง ขั้นที่สอง 2) เมื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ครอบครัวแล้วจึงขยายไปสู่ความร่วมมือในระดับ ชุมชน การทำให้เกิดความร่วมมือดังกล่าวอาจออกมาในรูปแบบการรวมกันเป็นกลุ่มการผลิต สหกรณ์ กลุ่มการตลาด สวัสดิการ การศึกษาและรูปแบบอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ การรวมกันเป็นกลุ่มดังกล่าว จะสร้างความสามารถด้านต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกของกลุ่ม เนื่องจากจะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความร่วมมือ เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตลอดจน การเชื่อมโยงทั้งระหว่างกลุ่มประเภทเดียวกันและกลุ่มต่างประเภท โดยอาจมีลักษณะต่อเนื่องเช่น กลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่มเกษตรธรรมชาติและ/หรือกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ เป็นต้น 3) เมื่อเกิดความเข้มแข็งในระดับชุมชนและท้องถิ่นแล้ว ก็ขยายด้วยวิธีการรวมกลุ่มและการ สร้างเครือข่ายในระดับที่สูงกว่า คือในระดับประเทศและในระดับนานาประเทศทั้งทางด้านการเงิน การตลาดและเทคโนโลยี และสิ่งอื่น ๆ ทั้งสามขั้นตอน ขั้นที่หนึ่งเรียกได้อีกอยางหนึ่งว่า ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น ขั้นที่สองและขั้นที่สาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า ขั้นตอนทั้งหมดดังกล่าว แม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งที่กระทําได้ง่าย เนื่องจากต้องมีองค์ประกอบร่วมอื่น ๆ เช่น ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์สุจริต ความมานะ อดทนและจำเป็นต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอ เชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความร่วมมือซึ่ง กันและกัน
  • 3. 37 4.2 ความสัมพันธ์ระหว่างแนวพระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง หลักสําคัญของทฤษฎีใหม่ อาศัยหลักการซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ คือ หลักทางสายกลางหรือความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันบนเงื่อนไขความรู้คู่คุณ ธรรม ขั้นตอนทั้งสามข้างต้น จะประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ก็ต่อเมื่อมีการนำหัวใจสำคัญของ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ เมื่อพิจารณาทั้งสามขั้นตอน จะเห็นลักษณะที่เป็นหัวใจสำคัญของ เศรษฐกิจพอเพียงในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการนำเงื่อนไขด้านความรู้และคุณธรรมมาใช้ในขั้นแต่ละ ขั้นตอนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ นอกจากนั้น ข้อเสนอของกรมพัฒนาชุมชน 4 เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างความยั่งยืนตาม แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้จากการประยุกต์ใช้ของเครือข่ายเกษตรกรรม ธรรมชาติ 5 ได้แบ่งขั้นตอนตั้งแต่ขั้นพอกินไปจนถึงขั้นกองกําลังเกษตรโยธินซึ่งเป็นขั้นที่ต้องสร้าง เครือข่ายในระดับประเทศเพื่อความเข้มแข็งนั่นเอง สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง คือการที่ทฤษฎี ใหม่ มีการพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ต้องทำให้เกิดความสมดุลของสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสม และทําให้เกิดสมดุลของสิ่งแวดล้อม เน้น ผลผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดพิษภัยต่อสุขภาพ ทั้งนี้ เป็นการทำกิจกรรม ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืนและ ประการสำคัญ ทฤษฎีใหม่ได้นําหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ 4.3 แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่่ แนวคิดทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการที่ดินเพื่อ การเกษตรขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพ 6 หรือการบริหารจัดการทรัพยากรระดับไร่นา ได้แก่ ที่ดิน น้ํา เพี่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด 7 การแบ่งสัดส่วนในการบริหารที่ดินสามารถ แบ่งไดดังนี้ ที่ดินสำหรับเก็บกักน้ําร้อยละ 3 หรือ30 ที่ดินสําหรับทำนา ปลูกข้าวร้อยละ 3 หรือ 30 ที่ดินสำหรับพืชไร่นานาพันธ์ร้อยละ 3 หรือ 30 ที่ดินสำหรับปศุสัตว์และที่ดินสาหรับที่อยู่อาศัยร้อยละ 3 หรือ 30 ภาพโดยรวมของสัดส่วนคือ 3:3:3:1 หรือ 30:30:30:10 อย่างไรก็ตาม การแบ่งสัดส่วนที่ดินทำการเกษตร จําเป็นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมหรือ สภาพภูมิศาสตร์ในแต่ละพื้นที่ด้วย เช่น พื้นที่ที่มีฝนตกชุกในจังหวัดภาคใต้ สามารถลดพื้นที่เก็บกักน้ํา โดยสัดส่วนดังกล่าวร้อยละ10 เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและปศุสัตว์ ร้อยละ 20 เป็นพื้นที่เก็บกักน้ําร้อยละ 30 เป็นพื้นที่ปลูกข้าวและร้อยละ 40 เป็นพื้นที่พืชสวนไร่นา ทั้งนี้เนื่องจากภาคใต้มีพื้นฐานด้านการ เกษตรผสมผสานเป็นทุนเดิม 8 ดังนั้น สัดส่วนจึงเป็น 10:20:30:40
  • 4. นอกจากสัดส่วนข้างต้นแล้ว อาจขึ้นอยู่กับความเหมาะสม กล่าวคือ ปลูกข้าวอีกร้อยละ 30 เป็นพื้นที่กักเ ผสมหรือไร่พืชนานาพันธ์ร้อยละ 30 อี แนวคิดที่เปิดกว้างต่อการประยุกต์ เพื่ สภาพพื้นที่หรือสภาพภูมิศาสตร์ การป ตนและศักยภาพของสิ่งเอื้ออํานวยต่าง ภาพที่ 4.1 สัดส่วนของพื้นที่ทาการเก ที่มา: หม่อนไม้. 2555 9 ภาพที่ 4.2 สัดส่วนการบริหารจัดการที ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร. 2550 11 แนวคิดข้างต้น สะท้อนถึงความ เหมาะสมการบริหารจัดการพื้นที่ สําห 38 ว การพิจารณาสัดส่วนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่การ วคือ อาจแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้ประโยชน์เป็นร้อยละ 30 เป็นพื้นที่ เก็บน้ําและพื้นที่ปลูกผักสวนครัวและปศุสัตว์แทนการทํา อีกร้อยละ10 เป็นที่อยู่อาศัย ดังนั้น แนวคิดทฤษฎีใหม พื่อความเหมาะสมต่อกิจกรรมการดำเนินชีวิตและเหมาะ ประยุกต์ใช้จึงต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับศักยภ ๆ ารเกษตรตามแนวคิดทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ 15 ไร่ ารที่ดิน แบ่งเป็น 10: 20:30: 40 .ในพื้นที่ 23 ไร่ ามยืดหยุ่นของการนำแนวคิดไปประยุกต์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กั หรับกิจกรรมทางการเกษตรดังกล่าว นอกเหนือจากที่ รเกษตร เป็นพื้นที่ ว์แทนการทําไร่สวน ม่จึงเป็น ะสมต่อ ภาพของ กับความ ากที่กล่าว
  • 5. 39 มาแล้ว อาจพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้า โดยใช้เทคโนโลยี วิทยาการและความรู้ หรือภูมิปัญญาเข้าช่วย โดยผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับวิทยาการสมัยใหม่หรือความรู้และภูมิปัญญาที่มีอยู่เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น การใช้ประโยชน์จากพลังแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การปลูกไม้ ยืนต้นโตเร็วเพื่อไปใช้ในการปลูกสร้าง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โรงเรือนปศุสัตว์ พืชไร่บางชนิดโดยไม่ เบียดเบียนธรรมชาติ เป็นต้น 4.4 ลักษณะสําคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่ หากพิจารณาสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่า เกษตรทฤษฎีใหม่เน้นสร้างความมั่นคงใน การดำเนินชีวิตจากพื้นฐานหรือรากฐานความเป็นอยู่แล้วค่อย ๆ พัฒนาให้เจริญเติบโตไปสู่ ความก้าวหน้าตามลำดับขั้นต่อไป กล่าวได้ว่า การพึ่งพาตนเองเป็นสิ่งสําคัญที่แนวคิดใช้เป็น หลักการของการพัฒนาทั้งสามขั้นตอนหลัก ทั้งนี้ลักษณะสําคัญอื่น ๆ ของแนวคิดทฤษฎีใหม่ ได้แก่ 1) การบริหารจัดการพื้นที่ใช้สอยด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ชลประทานและที่อยู่อาศัยบน พื้นฐานแนวคิดการผสมกลมกลืนระหว่างการดำเนินชีวิตกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ 2) เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ประหยัด ซึ่งจะทําให้เกิดรากฐานที่มั่นคงและยั่งยืน 3) มีลักษณะสนับสนุนความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 4) เน้นเสรีภาพในการประกอบกิจกรรม เสรีภาพทางความคิดในการประกอบกิจกรรมและ การดําเนินวิถีชีวิต โดยแนวคิดไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวในการนําไปประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความ เหมาะสมของทรัพยากรและสภาพภูมิศาสตร์ในแต่ละพื้นที่ 5) ให้ความสำคัญต่อการรวมกลุ่ม เพื่อสร้างเครือข่ายเพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนากิจกรรมใน ทุกด้านทั้งผลผลิต การตลาด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่และการพัฒนา ภูมิปัญญาที่มีอยู่ให้สามารถนํามาใช้ประโยชน์ 7) เน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้หลักคิดที่เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ทางสายกลางและ เงื่อนไขของความรู้คู่คุณธรรม 8) เน้นในการสร้างจริยธรรมเพื่อให้การดำเนินชีวิตและวิถีการดําเนินชีวิตร่วมกัน ซึ่งจะทําให้ เกิดความสงบสุข นอกจากลักษณะดังกล่าวแล้วลักษณะอื่นๆที่ได้จากข้อสรุปของกลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทาง ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2546) 12 ได้แก่ ลักษณะเชิงบูรณาการเน้นการ พัฒนาเป็นองค์รวมไม่แยกส่วน โดยคำนึงถึงการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับกับการพัฒนาเศรษฐกิจ วิถีชีวิต วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและการปลูกจิตสำนึกของคนทั้งในระดับรากหญ้าจนถึงระดับชาติ
  • 6. 40 4.5 การเปรียบเทียบเกษตรทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อกล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียง เราจะสามารถเห็นถึงพัฒนาการของแนวความคิดดังกล่าว ที่มีลักษณะของพัฒนาการสามขั้นตอน ดังเช่นแนวคิดทฤษฎีใหม่ อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีใหม่และ เศรษฐกิจพอเพียงมีความแตกต่างกันในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ ตารางที่ 4.1 การเปรียบเทียบเกษตรทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง 13 เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ 1.เป็นกรอบทีเป็นหลักการและแนวทางของทฤษฎีใหม่ 2. มีความหมายกว้าง 3. สามารถประยุกต์ใช้กับบริบทต่างได้ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและ สิ่งแวดล้อม 4. มีขั้นตอนสองลักษณะคือขั้นพื้นฐานและขั้นก้าวหน้า 5. สามารถนําขั้นตอนพื้นฐานและขั้นตอนก้าวหน้ามาใช้ เกื้อกูลกันอย่างสมดุล 1. เป็นตัวอย่างภาคปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียง 2. ใช้ในบริบทในภาคกสิกรรม 3. เป็นการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน การบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร ชลประทานและการปศุสัตว์ 4. มีการแบ่งขั้นตอนการพัฒนาไปสู่ระดับต่างๆ 3 ขั้นตอนหรือ 9 ขั้นตอน ตามที่ผู้ประยุกต์ใช้ พิจารณาว่าเหมาะสม 5. มีการพัฒนาไปที่ละขั้นตอนเพื่อจุดมุ่งหมายใน การแก้ปัญหาความยากจนและเพื่อให้เกิดการ พึ่งพาตนเองได้เป็นอันดับแรกแล้วค่อยพัฒนา ไปสู่ขั้นอื่น ๆ ต่อไป ที่มา: วรรณกรรมปริทัศน์. 2546 : 53 - 57 14 อย่างไรก็ตาม ลักษณะร่วมกันของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ คือลักษณะที่เน้นการ พึ่งพาตนเองในขั้นพื้นฐาน (Self – Sufficient) ทั้งนี้ หลักการที่เป็นหัวใจสำคัญของขั้นตอนพื้นฐาน ได้แก่ การรู้จักตนเอง การประมาณตนเอง มีความรอบคอบ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยมีเหตุและมี ผล ประการสําคัญในขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง ลักษณะร่วมกันระหว่างเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ในขั้นก้าวหน้า คือลักษณะที่เน้น การเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ การรวมกลุ่ม รวมทั้งการสร้างเครือข่ายเพื่อให้ กิจกรรมการดำเนินชีวิตตามแนวทางดังกล่าว เกิดความเข้มแข็งมีการพัฒนาต่อไปอย่างมั่นคง
  • 7. 41 ลักษณะโดยรวมที่มีร่วมกันอีกประการหนึ่งคือ แนวคิดทั้งสองเป็นแนวทางที่มีลักษณะองค์ รวมและมีแนวทางของการบูรณาการสิ่งต่างๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการพัฒนาไปสู่ระดับต่างๆ 4.6 การเปรียบเทียบทฤษฎีใหม่ขั้นต่างๆ และเศรษฐกิจพอเพียงแบบต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบขั้นตอนของทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะเห็นถึงลักษณะที่ สอดคล้องและลักษณะที่ต่างกันในแต่ละขั้นตอน ตารางที่ 4.2 เปรียบเทียบขั้นตอนของทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ 1. เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน 1. การพึ่งตนเองในระดับบุคคลครอบครัวและ เป็นทษฎีใหม่ขั้นที่ 1 2. เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหนา 2. การพึ่งตนเองระดับชุมชนเน้นการรวมกลุ่มและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อ กัน เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 3. การพึ่งตนเองในระดับประเทศเน้นความร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายใน ระดับภูมิภาคและประเทศตลอดจนสามารถ พัฒนาไปสู่การเชื่อมโยงสู่ระดับระหว่างชาติได้ เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ที่มา: วรรณกรรมปริทัศน์. 2546 : 53 - 57 15 ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวปฏิบัติที่นำหลักการและหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็น แนวทาง ทั้งนี้ทำให้การประยุกต์ใช้ดังกล่าว มีแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานที่สำคัญ โดยหลักการที่เป็นพื้นฐานดังกล่าว อาศัยประสบการณ์ของประเทศและลักษณะของสิ่งแวดล้อม รวมถึงลักษณะวิถีชีวิตพื้นฐานมาใช้เป็นวิธีการซึ่งสามารถทำให้ เกิดความยืดหยุ่นและความ สามารถปรับตัวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ที่เรียกว่าลักษณะพลวัตร (Dynamic) นอกจากนั้น ลักษณะของการแสวงหาความรู้และความมีคุณธรรม ทําให้เกิดลักษณะการปลอดจาก ผลประโยชน์ทางการเมือง ทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นและระดับประเทศ เมื่อพิจารณาจากแนวคิด
  • 8. 42 ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าแนวทางการประยุกต์ใช้ ไม่ได้ยึดติดกับการประยุกต์ในลักษณะด้านใด ด้านหนึ่ง แต่สามารถนําไปประยุกต์ในขั้นตอนการบริหารจัดการ การเมืองการปกครอง โดยอาศัย การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในการประยุกต์ใช้ในขั้นตอนพื้นฐานไปสู่ขั้นตอนแบบก้าวหน้า ซึ่งขั้นตอน ต่าง ๆ จะเป็นกลไกในการพัฒนาการเมือง โดยเริ่มจากความเข้มแข็งในระดับบุคคล ระดับครัวเรือน ระดับองค์กรและองค์กรชมชนรวมทั้งระดับภูมิภาคและระดับชาติ 4.7 สรุป โดยหลักการในการพัฒนาตามแนวคิดทฤษฎีใหม่ มีการนำหัวใจสำคัญหลักของเศรษฐกิจ พอเพียงมาใช้เป็นแนวทาง ทั้งนี้ หากจะพิจารณาลักษณะสําคัญของทฤษฎีใหม่แล้วจะเห็นว่า เป็นแนวทางที่เปิดกว้างยอมรับแนวทางอื่น ๆ มาใช้เป็นประโยชน์ มีลักษณะที่กลุ่มพัฒนากรอบ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (2546) เห็นว่า ได้ก้าวพ้นแนวคิดแบบตะวันตกและเป็นแนวคิดที่ก้าวพ้น ลักษณะวิภาษวิธี อันเป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่ดีกว่ากับสิ่งที่ด้อย กว่าทั้งนี้ การพัฒนาตั้งอยู่บนพื้นฐานสำคัญด้านคุณธรรม จริยธรรม พื้นฐานทางวัฒนธรรมและวิถี ชีวิตของคนในสังคม แบบฝึกหัด 1. นักศึกษาอธิบายความหมายของทฤษฎีใหม่ 2. หลักการสำคัญ ๆ ของทฤษฎีใหม่มีอะไรบ้าง จงอธิบาย 3. นักศึกษาอธิบายถึงขั้นตอนของทฤษฎีใหม่ 4. ให้นักศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดและหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ 5. ให้นักศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนต่าง ๆ ของทฤษฎีใหม่และขั้นตอนต่าง ๆ ของเศรษฐกิจ พอเพียง 7. ให้นักศึกษา ศึกษาแนวคิดทฤษฎีใหม่และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แล้วนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 8. จงอภิปรายถึงการพัฒนาโดยการนำแนวคิดและหลักการของทฤษฎีใหม่มาประยุกต์ใช้ทั้ง ระดับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน ภูมิภาค และระดับชาติ 9. นักศึกษาอธิบายแนวคิด การก้าวพ้นแนวคิดแบบตะวันตก โดยนําพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียงและแนวคิดทฤษฎีใหม่ มาเป็นแนวทางในการอธิบาย 10. ให้นักศึกษาอธิบาย การพึ่งพาตนเองขั้นพื้นฐาน (Self – Sufficiency)
  • 9. 43 เชิงอรรถ 1 อ่านรายละเอียดใน หม่อนไม้. (2555). ทฤษฎีใหม่. 1 เม.ย.2556, http://www.monmai.com/ ทฤษฎีใหม่. 2 อ่านรายละเอียดใน http://www.scribd.com/doc/129917448/๔ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎี ใหม่และปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง-1หน้า 47-70. รวบรวมใน. http://supwat.blogspot. com/p/httpwww.html. 3 อ่านรายละเอียดใน http://www.scribd.com/doc/129917448/๔ความสัมพันธระหว่างทฤษฎี ใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-1หน้า 50-52. และใน http://www.fpo.go.th/S- I/Source/Article/Article40.htm. “ บทความ: ทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง (การเขาสู่ความ พอเพียงตาม ขั้นตอนของทฤษฎีใหม่). รวบรวมใน. http://supwat.blogspot.com/ p/httpwww.html. 4 อ่านรายละเอียดใน. 20 ทฤษฎีใหม่. http://www.scribd.com/doc/ 43952712/20- ทฤษฎี ใหม่. 45 หน้า รวบรวมใน http://supwat.blogspot.com/p/httpwww.html. 5 อ่านรายละเอียดใน.20 ทฤษฎีใหม่. http://www.scribd.com/doc/ 43952712/20-ทฤษฎีใหม่. ส่วนที่ 3 ทฤษฎีใหม่กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.รวบรวมใน http://supwat.blogspot. com/p /httpwww.html. 6 อ่านรายละเอียดใน ทฤษฎีใหม่.วิกิพีเดีย. http://www.th.wikipedia.org/wiki/ทฤษฎีใหม่. 7 อ่านรายละเอียดใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร http://web.ku.ac.th/king72/2542-09/res05_02.html. 8 อ่านรายละเอียดใน ทฤษฎีใหม่พื้นที่ 23 ไร่. http://www.doae.go.th /libraryhtml/ detail/work/work2.htm. 9 อ่านรายละเอียดใน http://www.kasetporpeangclub.com/forums/บทความเกษตร พอเพียง/144 - เกษตรทฤษฎีใหม่.html. 10 อ่านรายละเอียดใน http://www.monmai.com/ทฤษฎีใหม่/. 11 อ่านรายละเอียดใน https://web.ku.ac.th/king72/center/center6.htm. ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาพิกุลทองจังหวัด นราธิวาส.
  • 10. 44 12 อ่านรายละเอียดใน วรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 2546. กลุ่ม พัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. มีนาคม.2546. รวบรวมใน http://supwat.blogspot. com/p/httpwww.html. 13 อ่านรายละเอียดใน http://www.scribd.com/doc/129917448/๔ ความสัมพันธระหว่างทฤษฎี ใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-1 หน้า 53-57. รวบรวมใน. http://supwat.blogspot. com/p/httpwww.html. 14 อ่านรายละเอียดใน http://www.scribd.com/doc/129917448/๔ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎี ใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-1 หน้า 53-57. รวบรวมใน. http://supwat.blogspot. com/p/httpwww.html. 15 อ่านรายละเอียดใน http://www.scribd.com/doc/129917448/๔ความสัมพันธระหว่างทฤษฎี ใหม่และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-1 หน้า 53-57. รวบรวมใน. http://supwat.blogspot. com/p/httpwww.html.
  • 11. 45 เอกสารอ้างอิง กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2546). วรรณกรรม ปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 10 เม.ย.2557, http://supwat. blogspot.com/p/httpwww. กรมส่งเสริมการเกษตร, (2550). ทฤษฎีใหม่. ศูนย์การศึกษาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส. 30 เม.ย. 2556, http://www. doae.go.th/library/html/detail/work/work2.htm. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองจังหวัดนราธิวาส. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการ ทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร. 1 เม.ย.2557, https://web.ku.ac.th/ king72/ center/center6.htm. สารานุกรมไทย. (2557), ทฤษฎีใหม่.1 เม.ย.2557, http://www.th.wikipedia.org/wiki/ ทฤษฎีใหม่. สํานักงานกระทรวงการคลัง. (ม.ป.ป.), บทความ: ทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง (การเขาสู่ความ พอเพียงตามขั้นตอนของทฤษฎีใหม่). 2 มี.ค. 2557, http://www.fpo.go.th/S-I/Source/ Article /Article40.htm. สำนักงานเกษตรชุมชนจังหวัดสระบุรี. (2554). เกษตรทฤษฎีใหม.่ 1 เม.ย.2556, http//:www. Kasetpor peangclub.com. หม่อนไม้. (2555). ทฤษฎีใหม่. 1 เม.ย.2556, http://www.monmai.com/ทฤษฎีใหม่.