SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 1
หัวข้อเรื่อง ความหมายและแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียด ความหมายและแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการยอมรับและการรับรู้ปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงในเวทีระหว่างประเทศเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์ ทางเลือก
ในการพัฒนาสําหรับการพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชีย แนวความคิดและหลักการ
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ทดสอบก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน
2. บรรยายเพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมของการศึกษาวิธีการศึกษา ข้อตกลงและกติกา
ในการประเมินผล การเก็บคะแนน
3. มอบหมายงานกลุ่ม
4. การจัดกลุ่มรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
5. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6. การบรรยายเนื้อหาวิชา
สื่อการสอน
1. การบรรยาย
2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 การประเมินผลก่อนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบพื้นฐานของนักศึกษา
แต่ละคนและเพื่อนําไปเปรียบเทียบกับผลการเรียนรู้เมื่อจบรายวิชา
1.2 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
1.3 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2
2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1 การทดสอบก่อนการเรียนการสอนผู้สอนใช้แบบทดสอบความรู้ก่อนการจัดการ
เรียนการสอน
2.2 การทดสอบย่อยในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง
2.3 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. สัดส่วนของการประเมิน (5 คะแนน)
3.1 การประเมินผลก่อนการเรียนการสอนไม่มีคะแนน
3.2 การประเมินความเข้าใจร้อยละ 60
3.3 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร้อยละ 40
เนื้อหาที่สอน ความหมายและแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.1 ความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเชิงเศรษฐศาสตร์และในเชิง
สังคม
การให้ความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พิจารณาจากสองด้าน ด้านหนึ่งมาจาก
การศึกษาเนื้อหาแนวคิดที่ถูกนําเสนอไว้แล้วสรุปรวบยอด ด้านหนึ่งมาจากการค้นหาความหมายจาก
ประสบการณ์ของบุคคลต่างๆที่นําแนวคิดไปใช้ปฏิบัติจริง
ในเชิงทฤษฎีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่แสดงแนวทางปฏิบัติตนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับรัฐ ทั้งนี้ แง่มุมของทฤษฎีอีกด้านหนึ่ง เป็นการนําข้อสรุปจาก
ประสบการณ์จริง มาสร้างเป็นแนวคิดและหลักการ ดังนั้น ความหมายจึงเน้นการนําไปใช้ในกิจกรรม
การดํารงชีวิตที่นําทุนทางสังคมมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ
2
ทําให้ลักษณะของทฤษฎีมี
การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (Paradigm Shift) หมายถึง การพัฒนาของตัวทฤษฎีเอง ทําให้เกิดลักษณะ
อีกอย่างหนึ่งขึ้นมาคือ การมองโลกในเชิงระบบที่มีพลวัตร (Dynamic) หรือการเปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลา (Uncertainties) เนื่องจากมีการเชื่อมโยงกับกระแสโลกาภิวัตน์ ทําให้ต้องพิจารณาปัจจัย
ต่าง ๆ ภายใต้กระแสดังกล่าว
การปฏิบัติโดยประยุกต์แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดําเนินชีวิตจึงมีองค์
ประกอบของเหตุและผล ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ความยั่งยืนที่มาจากการพิจารณาการดําเนินชีวิตทั้ง
ระยะสั้นและระยะยาวหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การพิจารณาปัจจุบันและอนาคต ด้วยความไม่
ประมาทต่อการดําเนินชีวิต ทําให้เกิดภูมิคุ้มกันชีวิต กล่าวคือ เกิดความสามารถพึ่งพาตนเองได้
ท่ามกลางกระแสความผันผวนของสภาวะสังคมและเศรษฐกิจโลกได้เป็นอย่างดี
3
ทั้งนี้ ทฤษฎีได้นําทฤษฎีพุทธเศรษฐศาสตร์
3
มาเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดเพื่อใช้เป็นแนวทางใน
การดําเนินชีวิต และชี้ให้เห็นถึงลักษณะการใช้ชีวิตที่ไม่เอารัดเอาเปรียบในเชิงเศรษฐศาสตร์ ซึ่งการ
เอารัดเอาเปรียบดังกล่าว เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมกระแสหลัก พุทธ
เศรษฐศาสตร์จึงชี้แนะให้สร้างความมีคุณธรรมและจริยธรรมขึ้นในสังคม ลักษณะดังกล่าว จึงเป็น
ลักษณะที่แสดงออกในเชิงพฤติกรรมของคนในสังคมภายใต้ค่านิยมเชิงพุทธ
เงื่อนไขการดําเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงสอดคล้องกับแนวทางพุทธ
เศรษฐศาสตร์ที่มีลักษณะดังนี้4
1. ความพอประมาณในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเมื่อบุคคลทํากิจกรรมที่ได้รับผลของการ
กระทําในระดับหนึ่งแล้วไม่กระทําต่อ แต่หมายถึงการรู้จักตัวเองว่ามีสถานภาพ ศักยภาพอย่างไร
มีปัจจัยอะไรบ้างที่สามารถนํามาพิจารณาเพื่อการดําเนินกิจกรรมในการดํารงชีวิต
2. ความมีเหตุผล เนื่องจากเมื่อรู้จักตัวเอง รู้ถึงสถานภาพของตนเองแล้ว บุคคลก็จะกระทํา
กิจกรรมใด ๆ อย่างมีเหตุผล คําว่าเหตุผลในที่นี้คือ การพิจารณาเหตุและผลของการกระทํากิจกรรม
การดําเนินชีวิตภายใต้เงื่อนไขซึ่งเรียกว่า ความระมัดระวัง ความรอบคอบ นําไปสู่การกระทําที่
สามารถทําให้ตนเองและผู้อื่นพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างมั่นคงหรือเรียกว่า ความยั่งยืน เนื่องจากสิ่ง
ดังกล่าว จะสร้างเงื่อนไขป้องกันความล้มเหลวในการประกอบกิจกรรมต่างๆได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
ว่าเป็น “ ภูมิคุ้มกัน ”
3.เนื่องจากการดํารงชีวิตตามแนวทางนี้ ไม่ไดมีความหมายในเชิงลบตามทัศนะของสังคมไทย
ชนบท ที่มักเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าการที่พุทธธรรมสอนให้รู้จักการประมาณตนเอง เป็นการไม่ไขว่คว้า
สิ่งใด รวมทั้งการไม่แสวงหาความรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดําเนินชีวิต จึงมักหยุดอยู่กับที่ไม่เกิดการ
พัฒนาเพราะมักคิดว่าชีวิตขึ้นอยู่กับโชคชะตา ตรงกันข้าม การดําเนินกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจ
พอเพียงจําเป็นต้องคิดอยู่ ตลอดเวลา เนื่องจากความจําเป็นในการพิจารณา ปัจจัยภายใต้กระแส
โลกาภิวัตน์ที่เปราะบาง ทําให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสมเหตุสมผล สิ่ง
เหล่านี้จะก่อให้เกิดนวัตกรรมทางความคิด การกระทําและผลที่ได้จากการดําเนินกิจกรรม
ข้อสรุปของการให้ความหมายในเชิงทฤษฎีและสิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริง
ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทําให้เกิดการพัฒนาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงและเกิดการพัฒนาในตัวทฤษฎีเองประเด็นสําคัญของแนวคิดได้สร้างแนวทางที่ทําให้เกิดการ
พัฒนาตนเองอย่างสมเหตุสมผล สอดคล้องกับสภาพสังคมประชาธิปไตยการพัฒนาความสามารถของ
ประชาชนและชุมชน
5
รวมทั้งสอดคล้องกับการพัฒนาภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
และสังคมโลก
4
1.2 การยอมรับและการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเวทีระหว่างประเทศเพื่อ
เป็นพื้นฐานในการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์
ประสบการณ์ที่ผ่านมา ทําให้ทุกประเทศทั่วโลกต่างรู้ซึ้งและเข้าใจต่อความเปราะบางทาง
เศรษฐกิจซึ่งใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดําเนินกิจกรรม
ของวิถีชีวิต ทําให้เกิดแนวความคิดการพึ่งพาตนเอง (Self-Sufficient) ในช่วงปี 1973 (2516)
6
อัน
เป็นช่วงที่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มมีการนํามาพิจารณาทั้งที่มีกระแสพระราชดํารัสมาตั้งแต่ปี
2507
7
นักคิดและนักพัฒนาหลายท่านเริ่มให้มีความสนใจต่อการพิจารณาแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิง
พุทธเช่น ชูมาร์ค เกอร์ นําเสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธผ่านงานเขียนชื่อ “จิ๋วแต่แจ๋ว” (Small
Is Beutiful, 1973)
8
ซึ่งนําเสนอถึงปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาความทันสมัยและได้นําเสนอทางออก
โดยใช้แนวทางพุทธธรรม เป็นแนวปฏิบัติในวิถีการดํารงชีวิต ความตระหนักในแนวทางเศรษฐกิจ
กระแสหลักที่มีแนวโน้มของความไม่ยั่งยืนสูง ทําให้เกิดแนวคิดเพื่อหาทางออกและแก้ไขปัญหาความ
เปราะบางของระบบเศรษฐกิจตามแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้ รวมถึงความเปราะบางที่มีต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเกิดแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนขึ้นในหลายประประเทศ
(Sustainable Development) และแนวคิดที่เรียกว่าการพึ่งพาตนเอง (Self-Sufficient) แนวคิดทั้ง
สองประการเน้นการให้ความสําคัญต่อการพัฒนาคน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมโลกให้มีความยั่งยืนที่สุดเท่าที่จะทําได้ ตัวอย่างเช่น องค์กรสหประชาชาติได้ให้
ความสําคัญต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนโดยออกเอกสารรายงานที่ชื่อว่า Brundtland Report (1987)
ซึ่งเป็นการยอมรับหลักการและทําให้คํานิยามของคําว่าการพัฒนาแบบยั่งยืนมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
9
การยอมรับในแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับนานาชาติมีมากขึ้นเมื่อประเทศ
ไทยได้นําเสนอปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเวทีโลก ตัวแทนจากประเทศไทยโดยคุณ
สุวรรณี คํามาน (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ได้
นําเสนอแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อองค์การ UNESSCO เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ที่
ประเทศฝรั่งเศสและก่อนหน้านั้นในปี 2550 ประเทศไทยได้พยายามนําเสนอแนวคิดดังกล่าวต่อที่
ประชุมสัมมนาของ UNDP ซึ่ง UNDP ได้นําหลักแนวคิดนี้ไปจัดทําเป็นรายงานเผยแพร่ในระดับ
นานาชาติ โดยให้ความสําคัญต่อการนําไปพัฒนาคน
สิ่งที่ทําให้เกิดการยอมรับในแนวทางการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือ การที่
แนวความคิดสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการพัฒนาแบบยั่งยืน ขณะเดียวกันแนวคิดไม่ปฏิเสธระบบ
เศรษฐกิจแบบทุนนิยม โดยจะเห็นได้จากการที่ประเทศต่างๆ เช่น ฝรั่งเศสได้ตั้งคณะกรรมาธิการ
ศึกษาวิจัยการประยุกต์แนวคิดเพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
10
5
การสัมมนาระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาชนบทแบบบูรณาการ (CIRDAP - Centre on
Integrated Rural Development for Asia and the Pacific) ของภูมิภาคอาเซียน–แปซิฟิก
11
มี
การนําหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาอภิปรายในที่ประชุมซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศสมาชิกทั้งหลายได้เคย
ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจการตามแนวทางเศรษฐกิจพอพียงในประเทศไทยมาแล้ว
การยอมรับของนานาประเทศต่อแนวทางการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมี
มากขึ้นหลังจากมีความพยายามเผยแพร่แนวคิดสู่เวทีโลกทั้งนี้ ปัจจัยหนึ่งของการยอมรับก็คือ การ
ที่ตัวแนวคิดเองมีลักษณะอ่อนไหว ยืดหยุ่นไม่ตายตัวเปลี่ยนแปลงได้ สามารถปรับให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยเน้นที่คนซึ่งถือเป็นผู้ดําเนินวิถีชีวิตและประกอบกิจกรรมในการ
ดําเนินชีวิต
1.3 ทางเลือกในการพัฒนาสําหรับการพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชีย แนวความคิด
และหลักการ
1) นานาทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์
วิถีการดํารงชีวิตจากกิจกรรมต่างๆ สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ทําให้ถูก
มองว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิธีการสะสมทุนวิธีการหนึ่งตามแนวคิดดังกล่าว อย่างไรก็ตาม
ผู้เขียนไม่ปฏิเสธต่อความคิดดังกล่าว เนื่องจากลักษณะหนึ่งของแนวคิดและหลักการการพัฒนาตาม
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือการไม่ปฏิเสธระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโดยมีเงื่อนไขของ
คุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์รวมอยู่ด้วย
การแสดงข้อคิดเห็นต่อแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของนักวิชาการและนักปฏิบัติทั้งชาว
ไทยและชาวต่างประเทศ
12
เช่น บุญชู เพ็ชรรักษ์ เกษตรกรผู้นําการปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจ
พอเพียง อภิชัย พันธเสน ผู้นําการขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พิพัฒน์ ยอดพฤตการณ์ ผู้จัดทําโครงการแผนที่เดินทาง (Road Map) และการสร้างเครือข่าย
เศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศ จิกมี่ ทินเลย นายรัฐมนตรีประทศภูพาน ปีเตอร์ วอรร์
ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ประจําองค์การอาหารและการเกษตร องค์การสหประชาชาติ ต่างมี
ความเห็นตรงกันว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทางออกของระบบทุนนิยมแต่ไม่ปฏิเสธเทคโนโลยี
เน้นศักยภาพของคนที่จะต้องสร้างให้เกิดความ สามารถต่างๆ ได้แก่ ความเป็นคนดีมีคุณธรรม การ
รู้จักตนเอง การเลือกใช้และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตามความเป็นจริง
6
คุณสมบัติของคนที่ได้รับการพัฒนา นําไปสู่แนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ตามทัศนะของนัก
วิชาการข้างต้นครอบคลุมเงื่อนไขการดําเนินชีวิตของคนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (ได้กล่าวไว้
ในหน้า 1-2) ซึ่งคนเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม กลไกดังกล่าวจะนําไปสู่การ
พัฒนาที่ยั่งยืนได้
ความคิดเห็น ในหนังสือวรรณกรรมปริทัศน์ (2546)
13
ของบุคคลต่างๆ เช่น ณัฐพงศ์ ทองภักดี
และคณะ (2542) แสดงความเห็นในเชิงเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ชี้ให้เห็นถึงความได้เปรียบ
ภายในประเทศ รวมทั้งการนําหลักการของความรอบคอบระมัดระวังการรู้จักตน เองมาใช้
ปกรณ์ วิชยานนท์และยศ วัชระคุปต์ (2542) แสดงความเห็นต่อระบบภูมิคุ้มกันด้านการเงิน
ซึ่งต้องมีการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น
อดิศร์ อิศรางกร ณ อยุธยา(2542) นําเสนอในมุมมองของการพัฒนาและประยุกต์ทฤษฎีใหม่
มาใช้ในการพัฒนาการเกษตรตั้งแต่ผลผลิตการตลาดและการแข่งขันเป็นต้น
นอกจากนั้น ยังมีการแสดงความเห็นต่อการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ของนัก
เศรษฐศาสตร์คนอื่นๆ เช่น เสน่ห์ จามริก สุเมธ ตันติเวชกุลและคนอื่นๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการนําวิธีการ
ต่างๆ มาใช้ในระดับต่างๆ โดยเฉพาะการบริหาร เช่น ความพอประมาณด้านนโยบายการเงิน ความ
ยั่งยืนของการพัฒนาเป็นต้น
ข้อสรุปที่อภิชัย พันธเสน (2542) วิเคราะห์จากข้อคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ชี้ให้เห็นถึง
ลักษณะสามประการของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงประการแรก ลักษณะความเป็นกลางหรือสายกลาง
ประการที่สอง การอยู่เหนือเศรษฐศาสตร์ทั่วไปและลักษณะที่สามเป็นความสอดคล้องต่อเศรษฐศาสตร์
กระแสหลัก
2) นานาทัศนะของนักสังเคราะห์
14
การสังเคราะห์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของนักสังเคราะห์ เช่น ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
(2542) สมชัย จิตสุชน (2542) และสุเมธ ตันติเวชกุล (2542) เป็นต้น สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงก็
คือ พุทธเศรษฐศาสตร์ที่ใช้สําหรับการพัฒนาในหลายระดับ มีหลักการปฏิบัติที่สอดคล้องต่อแนวคิด
เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แต่มีความเหนือกว่าตรงที่มีกลไกควบคุมสิ่งต่างๆ โดยตัวผู้ปฏิบัติเอง เช่น
ความมีเหตุมีผล การรู้จักตนเอง การประมาณตนเอง ความระมัดระวังรอบคอบ ความซื่อสัตย์ การ
เรียนรู้ตลอดเวลาไม่หยุดอยู่กับที่ สิ่งเหล่านี้ ทําให้เกิดภูมิคุ้มกันจากความเสี่ยงทั้งหลาย จากระบบ
ตลาดทุนนิยมและจากกระแสการเปลี่ยนแปลง ทําให้การดําเนินชีวิตที่สามารถยืนอยู่ได้ท่ามกลาง
ความผันผวนของกระแสเศรษฐกิจ ทั้งยังสามารถผสานกลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวได้ ไม่ว่า
จะเป็นสภาพแวดล้อมด้านวัฒนธรรม ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ
7
3) ความสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก
เคยได้กล่าวแล้วในตอนต้นว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีความสอดคล้องต่อเศรษฐศาสตร์
กระแสหลัก มีการเสนอนําเสนอความคิดเห็นต่อความสอดคล้องดังกล่าว ทั้งในเชิงทฤษฎีและ
ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่นจนถึงระดับรัฐ
การนําเสนอแนวทางปฏิบัติซึ่งชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ภายใต้ความสอดคล้องต่อ
เศรษฐศาสตร์กระแสหลักการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ซึ่งพัฒนาต่อยอดจากปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง วิโรจน์ ณ ระนอง (2542) เสนอแนวคิดความเสี่ยงและภูมิคุ้มกันในภาค
เกษตรกรรม15
โดยจะมีความเสี่ยงทั้งความเสี่ยงด้านการผลิต ความเสี่ยงด้านการพึ่งพา ความเสี่ยง
จากธรรมชาติ ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม เข่นเดียวกับ อัญญา สุวรรณคีรี (2542) ที่เสนอแนะการ
พัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวทางทฤษฎีใหม่ ขณะที่สุทธาภา อมรวิวัฒน์ (2542) เน้นการ
พัฒนาการพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากรน้ําของภาคการเกษตรนอกเหนือจากการพึ่งพาระบบ
ชลประทานของรัฐ โดยวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมของทั้งสองฝ่าย ทําให้
ข้อเสนอดังกล่าวสะท้อนภาพของการนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการบริหาร
จัดการได้ค่อนข้างชัดเจน
ข้อเสนอสําหรับแนวทางการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม นิพนธ์ พัวพงศกร (2542) ได้เสนอให้
นําลักษณะอันเป็นเงื่อนไขการดําเนินชีวิตของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ทั้งใน
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมขนาดเล็กโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดย่อม (SME) ทั้งนี้
สถาบันการเงิน จะเข้ามามีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม โดยภาครัฐต้องสนับสนุนให้
เกิดบรรยากาศที่มุ่งเน้นการสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งทั้งสองฝ่าย
ข้อเสนอข้างต้น ทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม สะท้อนถึงความสอดคล้องของแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีเศรษฐกิจกระแสหลัก โดยไม่เกิดความขัดแย้ง แต่ลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะ
ประสบผลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามเงื่อนไขของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้ครบถ้วนเพียงใด
4) การประยุกต์ใช้ในระดับมหภาค
ภาพรวมการบริหารเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่สามารถหยิบยกมาเป็นตัวอย่างใน
การนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในระดับมหภาคเพื่อให้ได้แนวทางการประยุกต์ใช้ในระดับ
มหภาค
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (Comparative Advantage) และทฤษฎีการผลิตเพื่อขยาย
การผลิตเสนอว่า ควรมีความรู้ในการลงทุนทางการค้าระหว่างประเทศ การวิเคราะห์แนวโน้มของ
ตลาดการค้า เนื่องจากสิ่งดังกล่าว ต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูง จึงจําเป็นต้องมีความพอประมาณ รู้จัก
ตนเอง มีเหตุและผลและมีความยืดหยุ่น ความรอบคอบ สามารถลดความเสี่ยง และสามารถทําให้เกิด
เปลี่ยนแปลงกิจกรรมได้ตามสภาพแวดล้อมของการแข่งขัน ความได้เปรียบที่แท้จริงคือ การแข่งขัน
8
ระหว่างกันที่มีมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม แต่ความได้เปรียบที่ไม่แท้จริงคือการ
ส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือการตั้งกําแพงภาษีที่ไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบที่แท้จริง
ความผันผวนทางการเงินในตลาดการเงินเป็นสิ่งหนึ่งที่ทําให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในหลาย
ประเทศทั่วโลก ปกรณ์ วิชยนนท์ และ ยศ วัชรคปต์ (2542) เสนอแนะถึงภูมิคุ้มกันเพื่อลดความเสี่ยง
ในการบริหารการเงินของประเทศ ไม่ให้เข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจ ขณะที่ อดิศร์ อิศรางกูล ณ อยธยา
(2542) เสนอแนวทางทฤษฎีใหม่ เรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ โดยเสนอให้ตั้งเป้าที่
แน่นอนของอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ ซึ่งก็คือหลักการพอประมาณและการรู้จักตนเอง
การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมหภาค โดยเงื่อนไขความพอประมาณ การ
รู้จักตนเอง ความมีเหตุมีผล ความรอบคอบตลอดจน การต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น จะทํา
ให้เกิดภูมิคุ้มกันและลดอัตราเสี่ยงต่อการบริหารเศรษฐกิจในระดับระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี
1.4 สรุป
กล่าวได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีลักษณะเงื่อนไขที่สร้างจากพุทธธรรมเพื่อเป็น
แนวทางในการปฏิบัติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในทุกระดับ การประยุกต์แนวคิด สามารถกระทําได้ตั้งแต่
ระดับรากหญ้าไปจนถึงระดับที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับนานาประเทศ ดังนั้น ความหมายของแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความหมายที่กว้างพอสมควร แม้ว่าโดยหัวใจสําคัญจะมีหลักการอยู่เพียงไม่กี่
ประการก็ตาม หลักการและเงื่อนไขสําคัญของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่
1) ความพอประมาณ การเดินอยู่ตรงกลางไม่สุดโต่งหรือที่เรียกว่าทางสายกลาง
2) การรู้จักตนเอง รู้ถึงศักยภาพและความสามารถรวมทั้งกําลังทรัพยากรที่มีอยู่ มีความ
รอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่จะกระทํา ทําให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า การมี
ภูมิคุ้มกัน
3) ความมีเหตุผลต่อการกระทํากิจกรรมที่เกี่ยวกับวิถีการดําเนินชีวิต ซึ่งทั้งสามประการ
ข้างต้นเป็นเสมือนหลักการสําคัญที่จําเป็นต้องมีเงื่อนอีกสองประการ จึงจะสามารถทําให้แนวปฏิบัติ
เกิดผลสําเร็จ คือ
3.1) ความมีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และยุติธรรมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
3.2) การมีและการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ เพื่อนําไปใช้ในกิจกรรมการดําเนินชีวิตและ
เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ
9
แบบฝึกหัด
1. นักศึกษาอธิบายความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. นักศึกษาช่วยกันอภิปรายการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
3. จากทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์และนักสังเคราะห์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ให้นักศึกษา
หยิบยกตัวอย่างแนวทางปฏิบัติ จริงในปัจจุบันมาเปรียบเทียบกับทัศนะดังกล่าว
4. เศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกับพุทธเศรษฐศาสตร์อย่างไร จงอธิบาย
5. นักศึกษาจะนําเงื่อนไขในการปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในระดับครัวเรือน
และการดําเนินชีวิตของตนอย่างไร จงอธิบาย
6. นักศึกษาอธิบายหลักจริยธรรมที่ภาคประชาชนควรจะมีเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมที่ดี
7. นักศึกษามีความเข้าใจ คําว่าคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต อย่างไร
8. ให้นักศึกษาอภิปรายถึงการนําแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในอุตสาหกรรม
ขนาดย่อม (SME)
9. ความสอดคล้องของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อแนวคิดกระแสหลัก มี
ลักษณะอย่างไร
10. เพราะสาเหตุใดจึงมีการยอมรับต่อแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนานา
ประเทศ
เชิงอรรถ
1
การสังเคราะห์ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงทําให้เกิดการพัฒนานิยามของหลักการและวิธีคิดอ่าน
รายละเอียดในกลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.
(2546). วรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. หน้า6-17,กลุ่มพัฒนา
กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง,2546. (รวบรวมไว้ในhttp://rotoratuk.
blogspot.com/p/blog-page_12.html-http://www.scribd.Com/doc/129917113/๑ความหมายของ
เศรษฐกิจพอเพียง-1)
2
ควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับความหมายเชิงทฤษฎีในวรรณกรรมปริทัศน์.บทที่ 3.“ความหมายเชิงทฤษฎีของ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง;กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”.หน้า31-46.
(รวบรวมไว้ในhttp://rotoratuk.blogspot.com/p/blog-page_12.html-http://www.scribd.
10
3
ทฤษฎีพุทธเศรษฐศาสตร์ เป็นแนวคิดที่มีการเปรียบเทียบและวิพากษ์แนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและ
สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของแนวคิดและจุดแข็งที่สามารถนามาประยุกต์ใช้ ซึ่งจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลง
ไปสู่แนวคิดที่ในการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกด้านอ่านรายละเอียดใน อภิชัย พันธเสน. 2544. พุทธเศรษฐศาสตร์;
วิวัฒนาการทฤษฎีและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆโครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากสํานักงาน
กองทุนวิจัย(สกว.).กรุงเทพฯสํานักพิมพ์อมรินทร์.
4
อ่านรายละเอียดในวรรณกรรมปริทัศน์.บทที่ 3.“ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง;กรอบ
แนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”. หน้า31-46. (รวบรวมไว้ใน http://rotoratuk.
blogspot.com/p/blog-page_12.html-http://www.scribd.
5
ตัวอย่างการพัฒนาความสามารถของชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเช่นงานวิจัยของ
นคเรศณพัทลุงและยุวัฒน์ วุฒิเมธ.2555.ในวารสารกระแสวัฒนธรรมปีที่ 13ฉบับที่ 24ก.ค-ธ.ค..2555.
มหาวิทยาลัยสยาม.กรุงเทพฯ.แม้ว่าจะเป็นการศึกษาที่เน้นในเชิงความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองของผู้นําแบบ
บารมีแต่การศึกษาสะท้อนถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาชุมชน
6
หนังสือชื่อFiveAcresandIndependence:APractical GuidetoSelectionandManagementofSmall
Farm.ของMauriceGrenvilleKains.สานักพิมพ์ Doverbooksพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1940ครั้งที่ 2ปี 1973
นําเสนอแนวคิดในการพึ่งพาตนเองแต่มีคําวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีหลักเกณฑ์มากเกินไปทําให้เป็นอุปสรรคต่อการ
นําไปปฏิบัติจริงและสามารถนําไปใช้กับกลุ่มคนจํานวนน้อยนิด
7
มีกระแสพระราชดํารัสในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงครั้งแรกในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 20สิงหาคม2507ต่อมาก็มกระแสพระราชดํารัสในพิธีพระราชทานปริญญา
บัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 8ก.ค.2509และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบางแสนเมื่อวันที่
30มิ.ย.2519.
8
อ่านรายละเอียดในE.F.Schumacher,1973.SmallIsBeutiful.London:Blond&Briggs.(รวบรวมไว้ในhttp://
rotoratuk.com,Linktohttp://supwat.blogspot.com/p/small-is-beytiful.html).
9
อ่านรายละเอียดในhttp://en.wikipedia.org/wiki/Sustainable_developmentรวบรวมใน
http://supwat.blogspot.com/p/http://www.html.
10
อ่านรายละเอียดในครอบครัวข่าว3. 6กุมภาพันธ์ 2555.http://www.krobkruakao.com/ข่าว/52113/
ทั่วโลกยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.html.รวบรวมในhttp://supwat.blogspot.com/p/httpwww.html..
11
อ่านรายละเอียดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงhttp://www.sufficiencyeconomy.org/old/show.Ph
p?Id=1รวบรวมในhttp://supwat.blogspot.com/p/httpwww.html.
11
12
ดูรายละเอียดในเศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองต่างๆ ของนักปราชญ์ที่ https://sites.google.com/site/
achihoneymoon/ng–sersthkic–phx–pheiyng–ni–mum–mxng-tang/sersthkic-phx–Pheiyng–ni
-mum–mxng–tang–khxng–nak-prachyรวบรวมในhttp://supwat.blogspot.com/p/http://
www.html.
13
ดูรายละเอียดในวรรณกรรมปริทรรศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารเศรษฐกิจ
ส่วนรวมในระดับต่างๆ และในวรรณกรรมปริทรรศน์:ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหน้า11-30“ความหมายเชิง
ทฤษฎีของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง;กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”.หน้า
47-120.และ(รวบรวมไว้ในhttp://rotoratuk.blogspot.com/p/blog-page_12.htmlhttp://www.scribd.
Com/doc/129917113/๑ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง-1)
14
ดูรายละเอียดในวรรณกรรมปริทรรศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในวรรณกรรมปริทรรศน์:
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหน้า11-30“ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง;กรอบแนวคิดทาง
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”. หน้า47-120. และ (รวบรวมไว้ในhttp://rotoratuk.
blogspot.com/p/blog - page_12.htmlhttp://www. scribed. Com/doc/ 129917113/๑ความหมายของ
เศรษฐกิจพอเพียง-1)
15
ดูรายละเอียดในวรรณกรรมปริทรรศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในวรรณกรรมปริทรรศน์:
การบริหารเศรษฐกิจรายสาขาหน้า105-134.(รวบรวมไว้ในhttp://rotoratuk.blogspot.com/p/blog–
page_12.http://www.scribd.com/doc/131261716/๓การบริหารเศรษฐกิจรายสาขา-1)
12
เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2546). วรรณกรรม
ปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 10 เม.ย. 2557, http://supwat.
blogspot.com/p/httpwww. /๑ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง-1)
ครอบครัวข่าว 3. (2555). ทั่วโลกยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. 14 กันยายน 2557
http://www. krobkruakao. com/ข่าว/52113/
สมพงษ์ อุดมปิยนันท์. (2553). เศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองต่างๆ ของนักปราชญ์. 14 กันยายน
2557, https://sites.google.com/ site/ achihoneymoon/ng –sersthkic – phx –
pheiyng – ni – mum – mxng - tang/ sersthkic - phx – Pheiyng – ni - mum –
mxng – tang – khxng – nak - prachy .
อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ ; วิวัฒนาการทฤษฎีและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์
สาขาต่างๆ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อมรินทร์.
ภาษาอังกฤษ
E.F.Schumacher. (1973). Small Is Beutiful. London: Blond & Briggs.

More Related Content

What's hot

ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558pakpoom khangtomnium
 
Utq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผลUtq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผลkrusoon1103
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรJiraprapa Suwannajak
 
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรFh Fatihah
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรBigbic Thanyarat
 
วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรnakkee
 
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรmaturos1984
 
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551Panlop
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7kanwan0429
 
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาค
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาคสรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาค
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาคkruskru
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรSunisa199444
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์คุณครูพี่อั๋น
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรtanongsak
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9kanwan0429
 
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรNoawanit Songkram
 
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)kroofon fon
 

What's hot (20)

ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
Utq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผลUtq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผล
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
 
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
 
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอนMicrosoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
 
วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
 
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
 
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาค
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาคสรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาค
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาค
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
 
Microsoft word สัปดาห์ที่14
Microsoft word   สัปดาห์ที่14Microsoft word   สัปดาห์ที่14
Microsoft word สัปดาห์ที่14
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
 
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่1

Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8fernfielook
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8nattawad147
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8wanneemayss
 
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...Weerachat Martluplao
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...Sawittri Phaisal
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรTawatchai Bunchuay
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7benty2443
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่1 (20)

01 ตอนที่ 1 word
01 ตอนที่ 1 word01 ตอนที่ 1 word
01 ตอนที่ 1 word
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
 
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Microsoft word สัปดาห์ที่10
Microsoft word   สัปดาห์ที่10Microsoft word   สัปดาห์ที่10
Microsoft word สัปดาห์ที่10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
 

Microsoft word สัปดาห์ที่1

  • 1. แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 1 หัวข้อเรื่อง ความหมายและแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รายละเอียด ความหมายและแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการยอมรับและการรับรู้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในเวทีระหว่างประเทศเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์ ทางเลือก ในการพัฒนาสําหรับการพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชีย แนวความคิดและหลักการ จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. ทดสอบก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน 2. บรรยายเพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมของการศึกษาวิธีการศึกษา ข้อตกลงและกติกา ในการประเมินผล การเก็บคะแนน 3. มอบหมายงานกลุ่ม 4. การจัดกลุ่มรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย 5. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6. การบรรยายเนื้อหาวิชา สื่อการสอน 1. การบรรยาย 2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 การประเมินผลก่อนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบพื้นฐานของนักศึกษา แต่ละคนและเพื่อนําไปเปรียบเทียบกับผลการเรียนรู้เมื่อจบรายวิชา 1.2 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา 1.3 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • 2. 2 2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1 การทดสอบก่อนการเรียนการสอนผู้สอนใช้แบบทดสอบความรู้ก่อนการจัดการ เรียนการสอน 2.2 การทดสอบย่อยในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง 2.3 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. สัดส่วนของการประเมิน (5 คะแนน) 3.1 การประเมินผลก่อนการเรียนการสอนไม่มีคะแนน 3.2 การประเมินความเข้าใจร้อยละ 60 3.3 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร้อยละ 40 เนื้อหาที่สอน ความหมายและแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1.1 ความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเชิงเศรษฐศาสตร์และในเชิง สังคม การให้ความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พิจารณาจากสองด้าน ด้านหนึ่งมาจาก การศึกษาเนื้อหาแนวคิดที่ถูกนําเสนอไว้แล้วสรุปรวบยอด ด้านหนึ่งมาจากการค้นหาความหมายจาก ประสบการณ์ของบุคคลต่างๆที่นําแนวคิดไปใช้ปฏิบัติจริง ในเชิงทฤษฎีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่แสดงแนวทางปฏิบัติตนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับรัฐ ทั้งนี้ แง่มุมของทฤษฎีอีกด้านหนึ่ง เป็นการนําข้อสรุปจาก ประสบการณ์จริง มาสร้างเป็นแนวคิดและหลักการ ดังนั้น ความหมายจึงเน้นการนําไปใช้ในกิจกรรม การดํารงชีวิตที่นําทุนทางสังคมมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ 2 ทําให้ลักษณะของทฤษฎีมี การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (Paradigm Shift) หมายถึง การพัฒนาของตัวทฤษฎีเอง ทําให้เกิดลักษณะ อีกอย่างหนึ่งขึ้นมาคือ การมองโลกในเชิงระบบที่มีพลวัตร (Dynamic) หรือการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา (Uncertainties) เนื่องจากมีการเชื่อมโยงกับกระแสโลกาภิวัตน์ ทําให้ต้องพิจารณาปัจจัย ต่าง ๆ ภายใต้กระแสดังกล่าว การปฏิบัติโดยประยุกต์แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดําเนินชีวิตจึงมีองค์ ประกอบของเหตุและผล ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ความยั่งยืนที่มาจากการพิจารณาการดําเนินชีวิตทั้ง ระยะสั้นและระยะยาวหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การพิจารณาปัจจุบันและอนาคต ด้วยความไม่ ประมาทต่อการดําเนินชีวิต ทําให้เกิดภูมิคุ้มกันชีวิต กล่าวคือ เกิดความสามารถพึ่งพาตนเองได้ ท่ามกลางกระแสความผันผวนของสภาวะสังคมและเศรษฐกิจโลกได้เป็นอย่างดี
  • 3. 3 ทั้งนี้ ทฤษฎีได้นําทฤษฎีพุทธเศรษฐศาสตร์ 3 มาเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดเพื่อใช้เป็นแนวทางใน การดําเนินชีวิต และชี้ให้เห็นถึงลักษณะการใช้ชีวิตที่ไม่เอารัดเอาเปรียบในเชิงเศรษฐศาสตร์ ซึ่งการ เอารัดเอาเปรียบดังกล่าว เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมกระแสหลัก พุทธ เศรษฐศาสตร์จึงชี้แนะให้สร้างความมีคุณธรรมและจริยธรรมขึ้นในสังคม ลักษณะดังกล่าว จึงเป็น ลักษณะที่แสดงออกในเชิงพฤติกรรมของคนในสังคมภายใต้ค่านิยมเชิงพุทธ เงื่อนไขการดําเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงสอดคล้องกับแนวทางพุทธ เศรษฐศาสตร์ที่มีลักษณะดังนี้4 1. ความพอประมาณในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเมื่อบุคคลทํากิจกรรมที่ได้รับผลของการ กระทําในระดับหนึ่งแล้วไม่กระทําต่อ แต่หมายถึงการรู้จักตัวเองว่ามีสถานภาพ ศักยภาพอย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่สามารถนํามาพิจารณาเพื่อการดําเนินกิจกรรมในการดํารงชีวิต 2. ความมีเหตุผล เนื่องจากเมื่อรู้จักตัวเอง รู้ถึงสถานภาพของตนเองแล้ว บุคคลก็จะกระทํา กิจกรรมใด ๆ อย่างมีเหตุผล คําว่าเหตุผลในที่นี้คือ การพิจารณาเหตุและผลของการกระทํากิจกรรม การดําเนินชีวิตภายใต้เงื่อนไขซึ่งเรียกว่า ความระมัดระวัง ความรอบคอบ นําไปสู่การกระทําที่ สามารถทําให้ตนเองและผู้อื่นพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างมั่นคงหรือเรียกว่า ความยั่งยืน เนื่องจากสิ่ง ดังกล่าว จะสร้างเงื่อนไขป้องกันความล้มเหลวในการประกอบกิจกรรมต่างๆได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ว่าเป็น “ ภูมิคุ้มกัน ” 3.เนื่องจากการดํารงชีวิตตามแนวทางนี้ ไม่ไดมีความหมายในเชิงลบตามทัศนะของสังคมไทย ชนบท ที่มักเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าการที่พุทธธรรมสอนให้รู้จักการประมาณตนเอง เป็นการไม่ไขว่คว้า สิ่งใด รวมทั้งการไม่แสวงหาความรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดําเนินชีวิต จึงมักหยุดอยู่กับที่ไม่เกิดการ พัฒนาเพราะมักคิดว่าชีวิตขึ้นอยู่กับโชคชะตา ตรงกันข้าม การดําเนินกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียงจําเป็นต้องคิดอยู่ ตลอดเวลา เนื่องจากความจําเป็นในการพิจารณา ปัจจัยภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์ที่เปราะบาง ทําให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสมเหตุสมผล สิ่ง เหล่านี้จะก่อให้เกิดนวัตกรรมทางความคิด การกระทําและผลที่ได้จากการดําเนินกิจกรรม ข้อสรุปของการให้ความหมายในเชิงทฤษฎีและสิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริง ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทําให้เกิดการพัฒนาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและเกิดการพัฒนาในตัวทฤษฎีเองประเด็นสําคัญของแนวคิดได้สร้างแนวทางที่ทําให้เกิดการ พัฒนาตนเองอย่างสมเหตุสมผล สอดคล้องกับสภาพสังคมประชาธิปไตยการพัฒนาความสามารถของ ประชาชนและชุมชน 5 รวมทั้งสอดคล้องกับการพัฒนาภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ และสังคมโลก
  • 4. 4 1.2 การยอมรับและการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเวทีระหว่างประเทศเพื่อ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์ ประสบการณ์ที่ผ่านมา ทําให้ทุกประเทศทั่วโลกต่างรู้ซึ้งและเข้าใจต่อความเปราะบางทาง เศรษฐกิจซึ่งใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดําเนินกิจกรรม ของวิถีชีวิต ทําให้เกิดแนวความคิดการพึ่งพาตนเอง (Self-Sufficient) ในช่วงปี 1973 (2516) 6 อัน เป็นช่วงที่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มมีการนํามาพิจารณาทั้งที่มีกระแสพระราชดํารัสมาตั้งแต่ปี 2507 7 นักคิดและนักพัฒนาหลายท่านเริ่มให้มีความสนใจต่อการพิจารณาแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิง พุทธเช่น ชูมาร์ค เกอร์ นําเสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธผ่านงานเขียนชื่อ “จิ๋วแต่แจ๋ว” (Small Is Beutiful, 1973) 8 ซึ่งนําเสนอถึงปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาความทันสมัยและได้นําเสนอทางออก โดยใช้แนวทางพุทธธรรม เป็นแนวปฏิบัติในวิถีการดํารงชีวิต ความตระหนักในแนวทางเศรษฐกิจ กระแสหลักที่มีแนวโน้มของความไม่ยั่งยืนสูง ทําให้เกิดแนวคิดเพื่อหาทางออกและแก้ไขปัญหาความ เปราะบางของระบบเศรษฐกิจตามแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้ รวมถึงความเปราะบางที่มีต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเกิดแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนขึ้นในหลายประประเทศ (Sustainable Development) และแนวคิดที่เรียกว่าการพึ่งพาตนเอง (Self-Sufficient) แนวคิดทั้ง สองประการเน้นการให้ความสําคัญต่อการพัฒนาคน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมโลกให้มีความยั่งยืนที่สุดเท่าที่จะทําได้ ตัวอย่างเช่น องค์กรสหประชาชาติได้ให้ ความสําคัญต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนโดยออกเอกสารรายงานที่ชื่อว่า Brundtland Report (1987) ซึ่งเป็นการยอมรับหลักการและทําให้คํานิยามของคําว่าการพัฒนาแบบยั่งยืนมีความชัดเจนยิ่งขึ้น 9 การยอมรับในแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับนานาชาติมีมากขึ้นเมื่อประเทศ ไทยได้นําเสนอปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเวทีโลก ตัวแทนจากประเทศไทยโดยคุณ สุวรรณี คํามาน (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ได้ นําเสนอแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อองค์การ UNESSCO เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ที่ ประเทศฝรั่งเศสและก่อนหน้านั้นในปี 2550 ประเทศไทยได้พยายามนําเสนอแนวคิดดังกล่าวต่อที่ ประชุมสัมมนาของ UNDP ซึ่ง UNDP ได้นําหลักแนวคิดนี้ไปจัดทําเป็นรายงานเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ โดยให้ความสําคัญต่อการนําไปพัฒนาคน สิ่งที่ทําให้เกิดการยอมรับในแนวทางการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือ การที่ แนวความคิดสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการพัฒนาแบบยั่งยืน ขณะเดียวกันแนวคิดไม่ปฏิเสธระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยม โดยจะเห็นได้จากการที่ประเทศต่างๆ เช่น ฝรั่งเศสได้ตั้งคณะกรรมาธิการ ศึกษาวิจัยการประยุกต์แนวคิดเพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ 10
  • 5. 5 การสัมมนาระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาชนบทแบบบูรณาการ (CIRDAP - Centre on Integrated Rural Development for Asia and the Pacific) ของภูมิภาคอาเซียน–แปซิฟิก 11 มี การนําหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาอภิปรายในที่ประชุมซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศสมาชิกทั้งหลายได้เคย ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจการตามแนวทางเศรษฐกิจพอพียงในประเทศไทยมาแล้ว การยอมรับของนานาประเทศต่อแนวทางการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมี มากขึ้นหลังจากมีความพยายามเผยแพร่แนวคิดสู่เวทีโลกทั้งนี้ ปัจจัยหนึ่งของการยอมรับก็คือ การ ที่ตัวแนวคิดเองมีลักษณะอ่อนไหว ยืดหยุ่นไม่ตายตัวเปลี่ยนแปลงได้ สามารถปรับให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยเน้นที่คนซึ่งถือเป็นผู้ดําเนินวิถีชีวิตและประกอบกิจกรรมในการ ดําเนินชีวิต 1.3 ทางเลือกในการพัฒนาสําหรับการพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชีย แนวความคิด และหลักการ 1) นานาทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์ วิถีการดํารงชีวิตจากกิจกรรมต่างๆ สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ทําให้ถูก มองว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิธีการสะสมทุนวิธีการหนึ่งตามแนวคิดดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่ปฏิเสธต่อความคิดดังกล่าว เนื่องจากลักษณะหนึ่งของแนวคิดและหลักการการพัฒนาตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือการไม่ปฏิเสธระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโดยมีเงื่อนไขของ คุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์รวมอยู่ด้วย การแสดงข้อคิดเห็นต่อแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของนักวิชาการและนักปฏิบัติทั้งชาว ไทยและชาวต่างประเทศ 12 เช่น บุญชู เพ็ชรรักษ์ เกษตรกรผู้นําการปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียง อภิชัย พันธเสน ผู้นําการขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พิพัฒน์ ยอดพฤตการณ์ ผู้จัดทําโครงการแผนที่เดินทาง (Road Map) และการสร้างเครือข่าย เศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศ จิกมี่ ทินเลย นายรัฐมนตรีประทศภูพาน ปีเตอร์ วอรร์ ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ประจําองค์การอาหารและการเกษตร องค์การสหประชาชาติ ต่างมี ความเห็นตรงกันว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทางออกของระบบทุนนิยมแต่ไม่ปฏิเสธเทคโนโลยี เน้นศักยภาพของคนที่จะต้องสร้างให้เกิดความ สามารถต่างๆ ได้แก่ ความเป็นคนดีมีคุณธรรม การ รู้จักตนเอง การเลือกใช้และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตามความเป็นจริง
  • 6. 6 คุณสมบัติของคนที่ได้รับการพัฒนา นําไปสู่แนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ตามทัศนะของนัก วิชาการข้างต้นครอบคลุมเงื่อนไขการดําเนินชีวิตของคนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (ได้กล่าวไว้ ในหน้า 1-2) ซึ่งคนเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม กลไกดังกล่าวจะนําไปสู่การ พัฒนาที่ยั่งยืนได้ ความคิดเห็น ในหนังสือวรรณกรรมปริทัศน์ (2546) 13 ของบุคคลต่างๆ เช่น ณัฐพงศ์ ทองภักดี และคณะ (2542) แสดงความเห็นในเชิงเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ชี้ให้เห็นถึงความได้เปรียบ ภายในประเทศ รวมทั้งการนําหลักการของความรอบคอบระมัดระวังการรู้จักตน เองมาใช้ ปกรณ์ วิชยานนท์และยศ วัชระคุปต์ (2542) แสดงความเห็นต่อระบบภูมิคุ้มกันด้านการเงิน ซึ่งต้องมีการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น อดิศร์ อิศรางกร ณ อยุธยา(2542) นําเสนอในมุมมองของการพัฒนาและประยุกต์ทฤษฎีใหม่ มาใช้ในการพัฒนาการเกษตรตั้งแต่ผลผลิตการตลาดและการแข่งขันเป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีการแสดงความเห็นต่อการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ของนัก เศรษฐศาสตร์คนอื่นๆ เช่น เสน่ห์ จามริก สุเมธ ตันติเวชกุลและคนอื่นๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการนําวิธีการ ต่างๆ มาใช้ในระดับต่างๆ โดยเฉพาะการบริหาร เช่น ความพอประมาณด้านนโยบายการเงิน ความ ยั่งยืนของการพัฒนาเป็นต้น ข้อสรุปที่อภิชัย พันธเสน (2542) วิเคราะห์จากข้อคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ชี้ให้เห็นถึง ลักษณะสามประการของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงประการแรก ลักษณะความเป็นกลางหรือสายกลาง ประการที่สอง การอยู่เหนือเศรษฐศาสตร์ทั่วไปและลักษณะที่สามเป็นความสอดคล้องต่อเศรษฐศาสตร์ กระแสหลัก 2) นานาทัศนะของนักสังเคราะห์ 14 การสังเคราะห์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของนักสังเคราะห์ เช่น ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ (2542) สมชัย จิตสุชน (2542) และสุเมธ ตันติเวชกุล (2542) เป็นต้น สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงก็ คือ พุทธเศรษฐศาสตร์ที่ใช้สําหรับการพัฒนาในหลายระดับ มีหลักการปฏิบัติที่สอดคล้องต่อแนวคิด เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แต่มีความเหนือกว่าตรงที่มีกลไกควบคุมสิ่งต่างๆ โดยตัวผู้ปฏิบัติเอง เช่น ความมีเหตุมีผล การรู้จักตนเอง การประมาณตนเอง ความระมัดระวังรอบคอบ ความซื่อสัตย์ การ เรียนรู้ตลอดเวลาไม่หยุดอยู่กับที่ สิ่งเหล่านี้ ทําให้เกิดภูมิคุ้มกันจากความเสี่ยงทั้งหลาย จากระบบ ตลาดทุนนิยมและจากกระแสการเปลี่ยนแปลง ทําให้การดําเนินชีวิตที่สามารถยืนอยู่ได้ท่ามกลาง ความผันผวนของกระแสเศรษฐกิจ ทั้งยังสามารถผสานกลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวได้ ไม่ว่า จะเป็นสภาพแวดล้อมด้านวัฒนธรรม ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ
  • 7. 7 3) ความสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก เคยได้กล่าวแล้วในตอนต้นว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีความสอดคล้องต่อเศรษฐศาสตร์ กระแสหลัก มีการเสนอนําเสนอความคิดเห็นต่อความสอดคล้องดังกล่าว ทั้งในเชิงทฤษฎีและ ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่นจนถึงระดับรัฐ การนําเสนอแนวทางปฏิบัติซึ่งชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ภายใต้ความสอดคล้องต่อ เศรษฐศาสตร์กระแสหลักการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ซึ่งพัฒนาต่อยอดจากปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง วิโรจน์ ณ ระนอง (2542) เสนอแนวคิดความเสี่ยงและภูมิคุ้มกันในภาค เกษตรกรรม15 โดยจะมีความเสี่ยงทั้งความเสี่ยงด้านการผลิต ความเสี่ยงด้านการพึ่งพา ความเสี่ยง จากธรรมชาติ ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม เข่นเดียวกับ อัญญา สุวรรณคีรี (2542) ที่เสนอแนะการ พัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวทางทฤษฎีใหม่ ขณะที่สุทธาภา อมรวิวัฒน์ (2542) เน้นการ พัฒนาการพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากรน้ําของภาคการเกษตรนอกเหนือจากการพึ่งพาระบบ ชลประทานของรัฐ โดยวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมของทั้งสองฝ่าย ทําให้ ข้อเสนอดังกล่าวสะท้อนภาพของการนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการบริหาร จัดการได้ค่อนข้างชัดเจน ข้อเสนอสําหรับแนวทางการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม นิพนธ์ พัวพงศกร (2542) ได้เสนอให้ นําลักษณะอันเป็นเงื่อนไขการดําเนินชีวิตของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ทั้งใน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมขนาดเล็กโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดย่อม (SME) ทั้งนี้ สถาบันการเงิน จะเข้ามามีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม โดยภาครัฐต้องสนับสนุนให้ เกิดบรรยากาศที่มุ่งเน้นการสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งทั้งสองฝ่าย ข้อเสนอข้างต้น ทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม สะท้อนถึงความสอดคล้องของแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีเศรษฐกิจกระแสหลัก โดยไม่เกิดความขัดแย้ง แต่ลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะ ประสบผลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามเงื่อนไขของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้ครบถ้วนเพียงใด 4) การประยุกต์ใช้ในระดับมหภาค ภาพรวมการบริหารเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่สามารถหยิบยกมาเป็นตัวอย่างใน การนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในระดับมหภาคเพื่อให้ได้แนวทางการประยุกต์ใช้ในระดับ มหภาค ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (Comparative Advantage) และทฤษฎีการผลิตเพื่อขยาย การผลิตเสนอว่า ควรมีความรู้ในการลงทุนทางการค้าระหว่างประเทศ การวิเคราะห์แนวโน้มของ ตลาดการค้า เนื่องจากสิ่งดังกล่าว ต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูง จึงจําเป็นต้องมีความพอประมาณ รู้จัก ตนเอง มีเหตุและผลและมีความยืดหยุ่น ความรอบคอบ สามารถลดความเสี่ยง และสามารถทําให้เกิด เปลี่ยนแปลงกิจกรรมได้ตามสภาพแวดล้อมของการแข่งขัน ความได้เปรียบที่แท้จริงคือ การแข่งขัน
  • 8. 8 ระหว่างกันที่มีมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม แต่ความได้เปรียบที่ไม่แท้จริงคือการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือการตั้งกําแพงภาษีที่ไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบที่แท้จริง ความผันผวนทางการเงินในตลาดการเงินเป็นสิ่งหนึ่งที่ทําให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในหลาย ประเทศทั่วโลก ปกรณ์ วิชยนนท์ และ ยศ วัชรคปต์ (2542) เสนอแนะถึงภูมิคุ้มกันเพื่อลดความเสี่ยง ในการบริหารการเงินของประเทศ ไม่ให้เข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจ ขณะที่ อดิศร์ อิศรางกูล ณ อยธยา (2542) เสนอแนวทางทฤษฎีใหม่ เรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ โดยเสนอให้ตั้งเป้าที่ แน่นอนของอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ ซึ่งก็คือหลักการพอประมาณและการรู้จักตนเอง การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมหภาค โดยเงื่อนไขความพอประมาณ การ รู้จักตนเอง ความมีเหตุมีผล ความรอบคอบตลอดจน การต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น จะทํา ให้เกิดภูมิคุ้มกันและลดอัตราเสี่ยงต่อการบริหารเศรษฐกิจในระดับระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี 1.4 สรุป กล่าวได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีลักษณะเงื่อนไขที่สร้างจากพุทธธรรมเพื่อเป็น แนวทางในการปฏิบัติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในทุกระดับ การประยุกต์แนวคิด สามารถกระทําได้ตั้งแต่ ระดับรากหญ้าไปจนถึงระดับที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับนานาประเทศ ดังนั้น ความหมายของแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความหมายที่กว้างพอสมควร แม้ว่าโดยหัวใจสําคัญจะมีหลักการอยู่เพียงไม่กี่ ประการก็ตาม หลักการและเงื่อนไขสําคัญของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่ 1) ความพอประมาณ การเดินอยู่ตรงกลางไม่สุดโต่งหรือที่เรียกว่าทางสายกลาง 2) การรู้จักตนเอง รู้ถึงศักยภาพและความสามารถรวมทั้งกําลังทรัพยากรที่มีอยู่ มีความ รอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่จะกระทํา ทําให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า การมี ภูมิคุ้มกัน 3) ความมีเหตุผลต่อการกระทํากิจกรรมที่เกี่ยวกับวิถีการดําเนินชีวิต ซึ่งทั้งสามประการ ข้างต้นเป็นเสมือนหลักการสําคัญที่จําเป็นต้องมีเงื่อนอีกสองประการ จึงจะสามารถทําให้แนวปฏิบัติ เกิดผลสําเร็จ คือ 3.1) ความมีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และยุติธรรมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 3.2) การมีและการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ เพื่อนําไปใช้ในกิจกรรมการดําเนินชีวิตและ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ
  • 9. 9 แบบฝึกหัด 1. นักศึกษาอธิบายความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. นักศึกษาช่วยกันอภิปรายการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย 3. จากทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์และนักสังเคราะห์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ให้นักศึกษา หยิบยกตัวอย่างแนวทางปฏิบัติ จริงในปัจจุบันมาเปรียบเทียบกับทัศนะดังกล่าว 4. เศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกับพุทธเศรษฐศาสตร์อย่างไร จงอธิบาย 5. นักศึกษาจะนําเงื่อนไขในการปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในระดับครัวเรือน และการดําเนินชีวิตของตนอย่างไร จงอธิบาย 6. นักศึกษาอธิบายหลักจริยธรรมที่ภาคประชาชนควรจะมีเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมที่ดี 7. นักศึกษามีความเข้าใจ คําว่าคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต อย่างไร 8. ให้นักศึกษาอภิปรายถึงการนําแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในอุตสาหกรรม ขนาดย่อม (SME) 9. ความสอดคล้องของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อแนวคิดกระแสหลัก มี ลักษณะอย่างไร 10. เพราะสาเหตุใดจึงมีการยอมรับต่อแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนานา ประเทศ เชิงอรรถ 1 การสังเคราะห์ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงทําให้เกิดการพัฒนานิยามของหลักการและวิธีคิดอ่าน รายละเอียดในกลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2546). วรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. หน้า6-17,กลุ่มพัฒนา กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง,2546. (รวบรวมไว้ในhttp://rotoratuk. blogspot.com/p/blog-page_12.html-http://www.scribd.Com/doc/129917113/๑ความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง-1) 2 ควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับความหมายเชิงทฤษฎีในวรรณกรรมปริทัศน์.บทที่ 3.“ความหมายเชิงทฤษฎีของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง;กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”.หน้า31-46. (รวบรวมไว้ในhttp://rotoratuk.blogspot.com/p/blog-page_12.html-http://www.scribd.
  • 10. 10 3 ทฤษฎีพุทธเศรษฐศาสตร์ เป็นแนวคิดที่มีการเปรียบเทียบและวิพากษ์แนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและ สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของแนวคิดและจุดแข็งที่สามารถนามาประยุกต์ใช้ ซึ่งจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ไปสู่แนวคิดที่ในการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกด้านอ่านรายละเอียดใน อภิชัย พันธเสน. 2544. พุทธเศรษฐศาสตร์; วิวัฒนาการทฤษฎีและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆโครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากสํานักงาน กองทุนวิจัย(สกว.).กรุงเทพฯสํานักพิมพ์อมรินทร์. 4 อ่านรายละเอียดในวรรณกรรมปริทัศน์.บทที่ 3.“ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง;กรอบ แนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”. หน้า31-46. (รวบรวมไว้ใน http://rotoratuk. blogspot.com/p/blog-page_12.html-http://www.scribd. 5 ตัวอย่างการพัฒนาความสามารถของชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเช่นงานวิจัยของ นคเรศณพัทลุงและยุวัฒน์ วุฒิเมธ.2555.ในวารสารกระแสวัฒนธรรมปีที่ 13ฉบับที่ 24ก.ค-ธ.ค..2555. มหาวิทยาลัยสยาม.กรุงเทพฯ.แม้ว่าจะเป็นการศึกษาที่เน้นในเชิงความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองของผู้นําแบบ บารมีแต่การศึกษาสะท้อนถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาชุมชน 6 หนังสือชื่อFiveAcresandIndependence:APractical GuidetoSelectionandManagementofSmall Farm.ของMauriceGrenvilleKains.สานักพิมพ์ Doverbooksพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1940ครั้งที่ 2ปี 1973 นําเสนอแนวคิดในการพึ่งพาตนเองแต่มีคําวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีหลักเกณฑ์มากเกินไปทําให้เป็นอุปสรรคต่อการ นําไปปฏิบัติจริงและสามารถนําไปใช้กับกลุ่มคนจํานวนน้อยนิด 7 มีกระแสพระราชดํารัสในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงครั้งแรกในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 20สิงหาคม2507ต่อมาก็มกระแสพระราชดํารัสในพิธีพระราชทานปริญญา บัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 8ก.ค.2509และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบางแสนเมื่อวันที่ 30มิ.ย.2519. 8 อ่านรายละเอียดในE.F.Schumacher,1973.SmallIsBeutiful.London:Blond&Briggs.(รวบรวมไว้ในhttp:// rotoratuk.com,Linktohttp://supwat.blogspot.com/p/small-is-beytiful.html). 9 อ่านรายละเอียดในhttp://en.wikipedia.org/wiki/Sustainable_developmentรวบรวมใน http://supwat.blogspot.com/p/http://www.html. 10 อ่านรายละเอียดในครอบครัวข่าว3. 6กุมภาพันธ์ 2555.http://www.krobkruakao.com/ข่าว/52113/ ทั่วโลกยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.html.รวบรวมในhttp://supwat.blogspot.com/p/httpwww.html.. 11 อ่านรายละเอียดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงhttp://www.sufficiencyeconomy.org/old/show.Ph p?Id=1รวบรวมในhttp://supwat.blogspot.com/p/httpwww.html.
  • 11. 11 12 ดูรายละเอียดในเศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองต่างๆ ของนักปราชญ์ที่ https://sites.google.com/site/ achihoneymoon/ng–sersthkic–phx–pheiyng–ni–mum–mxng-tang/sersthkic-phx–Pheiyng–ni -mum–mxng–tang–khxng–nak-prachyรวบรวมในhttp://supwat.blogspot.com/p/http:// www.html. 13 ดูรายละเอียดในวรรณกรรมปริทรรศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารเศรษฐกิจ ส่วนรวมในระดับต่างๆ และในวรรณกรรมปริทรรศน์:ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหน้า11-30“ความหมายเชิง ทฤษฎีของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง;กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”.หน้า 47-120.และ(รวบรวมไว้ในhttp://rotoratuk.blogspot.com/p/blog-page_12.htmlhttp://www.scribd. Com/doc/129917113/๑ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง-1) 14 ดูรายละเอียดในวรรณกรรมปริทรรศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในวรรณกรรมปริทรรศน์: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหน้า11-30“ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง;กรอบแนวคิดทาง ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”. หน้า47-120. และ (รวบรวมไว้ในhttp://rotoratuk. blogspot.com/p/blog - page_12.htmlhttp://www. scribed. Com/doc/ 129917113/๑ความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง-1) 15 ดูรายละเอียดในวรรณกรรมปริทรรศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในวรรณกรรมปริทรรศน์: การบริหารเศรษฐกิจรายสาขาหน้า105-134.(รวบรวมไว้ในhttp://rotoratuk.blogspot.com/p/blog– page_12.http://www.scribd.com/doc/131261716/๓การบริหารเศรษฐกิจรายสาขา-1)
  • 12. 12 เอกสารอ้างอิง ภาษาไทย กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2546). วรรณกรรม ปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 10 เม.ย. 2557, http://supwat. blogspot.com/p/httpwww. /๑ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง-1) ครอบครัวข่าว 3. (2555). ทั่วโลกยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. 14 กันยายน 2557 http://www. krobkruakao. com/ข่าว/52113/ สมพงษ์ อุดมปิยนันท์. (2553). เศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองต่างๆ ของนักปราชญ์. 14 กันยายน 2557, https://sites.google.com/ site/ achihoneymoon/ng –sersthkic – phx – pheiyng – ni – mum – mxng - tang/ sersthkic - phx – Pheiyng – ni - mum – mxng – tang – khxng – nak - prachy . อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ ; วิวัฒนาการทฤษฎีและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์ สาขาต่างๆ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อมรินทร์. ภาษาอังกฤษ E.F.Schumacher. (1973). Small Is Beutiful. London: Blond & Briggs.