SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
163
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 15
หัวข้อเรื่อง บทบาทภาครัฐในการพัฒนาภาคการเกษตรภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียด แผนพัฒนาด้านการเกษตรของภาครัฐ การกําหนดวิสัยทัศน์ กระบวนการขับ
เคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ นโยบายและมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนการดําเนินงานด้านการเกษตร
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนําผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาศึกษา
2. การนําเสนอกรณีศึกษาจากงานวิจัย
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการสัมมนา
4. การสรุปรวบยอดร่วมกัน การจัดทําแผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากเหตุการณ์
จําลองในลักษณะ Workshop
สื่อการสอน
1. เอกสารงานวิจัย
2. Media Power Point White broad
3. กิจกรรมจําลองเพื่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น
1.2 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสัมมนา การทํากิจกรรม Workshop
1.3 ความเข้าใจในภาพรวมของเนื้อหาวิชาและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop)
2.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด
164
3. สัดส่วนของการประเมิน (10 คะแนน)
3.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop ร้อยละ50)
3.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด (ร้อยละ 50)
เนื้อหาที่สอนบทบาทภาครัฐในการพัฒนาคุณภาพผลผลิตของภาคการเกษตรภายใต้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ภาครัฐมีความพยายามในการ
พัฒนาภาคการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค
โดยมีฐานความคิดที่ว่า ภาคการเกษตรมีบทบาสําคัญในด้านเศรษฐกิจแต่ยังคงประสบปัญหาด้านการ
จัดการและขาดการเอาใจใส่จากภาครัฐเท่าที่ควร ดังนั้น การวางแผนพัฒนาภาคการเกษตรเพื่อ
ยกระดับให้เกิดความเข้มแข็งจึงถูกกําหนดขึ้น โดยภาครัฐแสดงออกอย่างชัดเจนว่าจะทําการสนับสนุน
ด้านนโยบาย และเอื้อประโยชน์ให้แก่ภาคการเกษตรในด้านต่าง ๆ เช่น ระบบสวัสดิการ การคุ้มครอง
ที่ทํากิน การพัฒนาความรู้ การเอื้ออํานวยข่าวสารข้อมูลด้านการผลิต การตลาดและการเชื่อมโยงสู่
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการพัฒนาผลผลิตและนําไปสู่ช่องทางทางการตลาดใน
ระดับประเทศและภูมิภาค ทั้งนี้ การแสดงบทบาทดังกล่าว เพื่อให้ภาคการเกษตรมีการพัฒนาอย่างมี
ทิศทางที่ยั่งยืน ตามกรอบการพัฒนาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
15.1 แผนพัฒนาด้านการเกษตรของภาครัฐ 1
การพัฒนาภาคเกษตรยังคงมีความสําคัญในการช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ
ของชาติ แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของโลกและการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยแล้งและน้าท่วม ส่งผลกระทบกับประเทศไทยอย่างรุนแรง รวมถึง
สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสาขาเกษตรลดน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับสาขาการ
ผลิตอื่น
ภาคเกษตรยังคงความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยสินค้าการเกษตรได้
ปรับเปลี่ยนบทบาทจากสินค้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออกในรูปของสินค้าขั้นปฐม เป็น
สินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตของภาคการผลิตอื่น สร้างมูลค่าและรายได้แก่ประเทศมากขึ้น
เช่น อุตสาหกรรม การแปรรูปอาหาร และยางรถยนต์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการพัฒนาดังกล่าวได้
ส่งผลกระทบต่อทรัพยากร - ธรรมชาติที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการผลิตทางการเกษตร เช่น ดิน น้า
และป่าไม้ ถูกนํามาใช้เพื่อสนับสนุนการผลิตและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็น
จํานวนมากจนเกินศักยภาพการผลิตของทรัพยากรในการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้ก่อให้เกิดความเสื่อม
165
โทรม ส่งผลกระทบ ต่อภาคเกษตรและเกษตรกร ทําให้ต้องมีการปรับตัวและเตรียมความพร้อมใน
การรองรับผลกระทบ
จากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นรวมทั้งการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN
Community) คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เห็นชอบ
แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11 โดยการพัฒนาการเกษตรในระยะเวลา 5 ปี
โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อเนื่องจาก
แผนพัฒนาการเกษตรและแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 - 10 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
เกษตรกรและผลักดันการประยุกต์ ใช้ปรัชญาดังกล่าว เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาชีพ
มั่นคง รายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพควบคู่ไปกับการให้ความสําคัญในการพัฒนาขีดความสามารถใน
การผลิต การจัดการสินค้าเกษตรและความมั่นคงด้านอาหาร ส่งเสริมการผลิตพืชอาหารและพืช
พลังงานทดแทนให้มีความเหมาะสม โดยกําหนดเป้าหมายร่วมกันระหว่างภาคเกษตร อุตสาหกรรม
และพลังงาน เน้นให้ความสําคัญกับด้านอาหารเป็นอันดับแรก ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
และพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคภายใต้การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรของอาเซียน นอกจากนี้ได้มุ่งเน้นให้
ความสําคัญในพัฒนาทรัพยากรการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรดิน และน้ํา ทั้งนี้ ได้แบ่งการ
พัฒนาเกษตรกรออกเป็น ๒ กลุ่ม เน้นแนวทางการดําเนินงานของเกษตรกรแต่ละกลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เกษตรกรรายย่อย ประกอบด้วย 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ํากว่ามาตรฐาน
การครองชีพ (ต่ํากว่าเส้นความยากจน: Property Line) เป็นการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่
เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน เน้นการจัดหาที่ดินทํากิน สร้างความมั่นคง
ด้านอาหารและรายได้ สร้างโอกาสให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
กลุ่มย่อยที่สอง คือ ผู้ที่มีรายได้ตามมาตรฐานการครองชีพหรือสูงกว่ามาตรฐานการครองชีพ
เน้นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีมาตรฐาน
มากขึ้น โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างองค์ความรู้และพัฒนา ทักษะการผลิต การตลาด และ
สามารถเข้าถึงแหล่งทุน
กลุ่มที่ 2 เกษตรกรรายใหญ่ที่ทําการเกษตรพาณิชย์ เน้นการสนับสนุนให้สามารถเข้าถึง
ข้อมูล อํานวยความสะดวกทั้งด้านการผลิต การตลาด การลงทุนทางการเกษตรในต่างประเทศและ
สนับสนุนการร่วมทุนด้านการวิจัย เพื่อให้เกิดผลงานวิจัยที่สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ รวมทั้ง
ผลักดันให้เกษตรกรรายใหญ่เข้ารวมกลุ่มกับเกษตรกรรายย่อย เพื่อเชื่อมโยงถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่ง
กันและกันตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาการรวม
166
15.2 การกําหนดวิสัยทัศน์
2
วิสัยทัศน์สําหรับการพัฒนาภาคการเกษตร คือ “ เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมี
ความมั่นคงด้านอาหารเป็นฐานสร้างรายได้ให้แผ่นดิน ” โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
1. ความผาสุกของเกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 ในปี 2559
2. เศรษฐกิจภาคเกษตรเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3.0 ต่อปี
3. ทรัพยากรการเกษตรมีความเหมาะสมต่อการผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น
เพื่อให้การดําเนินงานสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กําหนด จึงได้กําหนดยุทธศาสตร์และ
แนวทางการพัฒนาการเกษตร ไว้ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีความสามารถพึ่งพาตนเอง
ได้ มีภูมิคุ้มกันพร้อมรับความเสี่ยงด้านการผลิต การตลาด และมีการกระจายรายได้ที่ทั่วถึง มี
ความสามารถในการผลิตและการตลาด ก้าวสู่ผู้จัดการฟาร์มที่เป็นมืออาชีพ (Smart Farmer)
รวมทั้งอํานวยความสะดวก ทางการค้าสินค้าเกษตรให้กับเกษตรกรรายใหญ่ที่ทําการเกษตรพาณิชย์
และเชิงอุตสาหกรรมได้สร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาระบบประกันความเสี่ยง
การเกษตร จัดทําทะเบียนเกษตรกร ผลักดันให้มีการพัฒนาระบบสวัสดิการให้ครอบคลุมแรงงาน
ด้านการเกษตร พัฒนาระบบการคุ้มครองที่ดิน สร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรให้เหมาะสมในแต่ละ
ช่วงอายุ สนับสนุนให้ประชาชนทําสวนผักคนเมือง (City farm) และนําของเหลือใช้ในครัวเรือนหรือ
ชุมชนมาเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เข้าสู่ภาคเกษตรทดแทนรุ่นเดิม ส่งเสริม
ให้องค์กรเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรมี การดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมทั้ง
อํานวยความสะดวกทางด้านข้อมูล ข่าวสารทั้งด้าน การผลิต การตลาด การลงทุนทางการเกษตรใน
ต่างประเทศ ตลอดจนปรับปรุงกฎ ระเบียบเพื่อลดปัญหาอุปสรรคในทางการค้าสินค้าเกษตร ให้กับ
เกษตรกรรายใหญ่
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความ
มั่นคงอาหาร เพื่อสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็ง ทําให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ และรายได้
ให้กับเกษตรกร พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารให้มีความสามารถในการแข่งขัน ประชาชนมี
ความมั่นคงด้านอาหารและมีผลผลิตเพียงพอกับความต้องการด้านอาหารและพลังงาน โดยการ
พัฒนาการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานสินค้า
เกษตร กําหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์
ของภาคเกษตร ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Product) เสริมสร้างการผลิต
สินค้าเกษตรที่เป็นพืชอาหารและพลังงานให้เกิดความมั่นคง รวมทั้งสนับสนุนเพื่อจัดสรรผลผลิตพืช
อาหารและพลังงานให้เพียงพอต่อการบริโภคและทดแทนพลังงาน สนับสนุนการพัฒนาระบบตลาด
สินค้าเกษตร และสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาคและระหว่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและ
167
พัฒนางานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาขยายผลสู่การ
พัฒนาภาคเกษตรให้สนองความต้องการของภาคการผลิต
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน เพื่อสร้าง
และพัฒนาการใช้ทรัพยากรการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ฟื้นฟู
ทรัพยากรการเกษตรให้มีความเหมาะสมต่อการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยการเร่งรัดการ
ฟื้นฟูและปรับปรุงคุณภาพดินที่เสื่อมโทรม วางระบบการใช้ที่ดินตามศักยภาพของที่ดิน จัดหาที่ดิน
เอกชนมาพัฒนาและจัดสรรให้กับเกษตรกรไร้ที่ดินทํากิน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ําเพื่อ
การเกษตร ทรัพยากรประมง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสม
และยั่งยืน สนับสนุนและผลักดันให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร
เตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและวางระบบการ
ป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยธรรมชาติ รวมทั้ง พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ
ทรัพยากรการเกษตรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
15.3 กระบวนการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ
3
การบริหารจัดการการพัฒนาการเกษตรของประเทศ กระบวนการขับเคลื่อนเป็นกลไก
สําคัญที่จะนําแผนพัฒนาการเกษตรของประเทศไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และ
เป้าหมายของแผน ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องมีบทบาทและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดัน
ให้แผนพัฒนาการเกษตรเกิดสัมฤทธิ์ผล และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาการเกษตรฯ
นโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งแผนระดับอื่น ๆ ให้ความสําคัญกับบทบาท
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสร้างกลไกในระดับต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงประสานงานอย่างเป็นระบบ ทั้ง
หน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วม
ในการบริหารจัดการและร่วมผลักดันให้นําแผนพัฒนาการเกษตรไปปฏิบัติ ตลอดจนการติดตาม
ประเมินผลแผน เพื่อติดตามความก้าวหน้า การประเมินผลสําเร็จและผลกระทบของการดําเนินงาน
อย่างต่อเนื่อง
15.4 นโยบายและมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนการดําเนินงานด้านการเกษตร
4
1. เกษตรกรและสถาบัน
1) การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร อาชีพทางการเกษตรมีความเสี่ยงในการผลิตซึ่ง
ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับการดําเนินการต่างๆ
ให้กับเกษตรกรยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยเฉพาะองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ทําให้การ
ประกอบอาชีพการเกษตรเกิดปัญหาหนี้สินสะสมตามมา รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการ
168
แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ได้แก่ การพักชาระหนี้ การลดภาระหนี้ การสนับสนุนสินเชื่อหรือ
งบประมาณ เพื่อฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเดิมหรือประกอบอาชีพใหม่เพื่อสร้างรายได้ให้เพียงพอ ในปี
เพาะปลูก 2550-2551 ทั้งประเทศมีครัวเรือนเกษตร 5.78 ล้านครัวเรือน และมีครัวเรือนเกษตรที่มี
หนี้สิน 5.26 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 73.69 ขนาดของหนี้สิน 53,885 บาทต่อครัวเรือน
สําหรับการช่วยเหลือด้านหนี้สินแก่เกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีดังนี้
1.1) เร่งรัดแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรรายย่อยที่เป็นสมาชิกสถาบัน
เกษตรกรและมีหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท ได้ลดภาระหนี้ โดยการลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 3 ต่อปี
เป็นเวลา 2 ปีรวม 950,000 ราย จากสถาบันเกษตรกร 2,000 แห่ง
1.2) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ได้รับการสนับสนุนจัดทาแผนพัฒนาอาชีพ จํานวน
100,611 ราย วงเงิน 296.06 ล้านบาท
1.3) ชดเชยดอกเบี้ยแก่สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์
ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3,404 ราย ช่วยเหลือเกษตรกร ที่ยากจนให้สามารถไถ่
ถอนหรือซื้อที่ดินคืนมา 607 รายและชดเชยดอกเบี้ยให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบ
จากอุทกภัย จานวน 10,023 ราย
1.4) การช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ระหว่างปี 2550 -
2552 วงเงิน 3,346.03 ล้านบาท
นอกจากนั้น ในปี 2553 รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อให้สามารถอยู่รอดและ
พึ่งตนเองในกระแสปัจจุบันได้ โดยมียุทธศาสตร์ ๕ ด้าน คือ การพัฒนาองค์กรกลุ่มเกษตรกร การ
พัฒนาผลิตผลภาคเกษตร การรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และการ
สร้างตลาดของเกษตรกรและเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างบูรณาการ ทั้งนี้
ภาครัฐได้เสนอการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans :
NPL) และเป็นสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเรื่องหลักเกณฑ์การดําเนินโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพ
เกษตรกรตามข้อสรุปการหารือระหว่างกองทุนฟื้นฟูฯและพัฒนาเกษตรกร กับธนาคารเพื่อ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกรุงไทย (มหาชน) จํากัด ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ
ธนาคารออมสิน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีมาตรการที่สาคัญๆ คือ
การดําเนินการเริ่มต้นจะดาเนินการกับกลุ่มเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
และเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรลูกหนี้จํานวนนี้มีประมาณ 80,000
ราย ซึ่งเป็นลูกหนี้ของธนาคาร 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารกรุงไทย (มหาชน) จํากัด ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน โดยสถานะหนี้เป็น
หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ณ วันที่ 31 ธันวาคม2552 โดยกําหนดเงินต้นไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อ
169
ราย และเมื่อเข้าร่วมโครงการนี้แล้ว เกษตรกรลูกหนี้จะต้องไม่ก่อหนี้เพิ่มกับสถาบันการเงินใน
โครงการทั้ง 4 ธนาคาร
การปรับโครงสร้างหนี้จะเป็นการพักชาระเงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยทั้งหมด
ไว้ก่อน โดยให้เกษตรกรผ่อนชาระหนี้เงินต้นที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง ตามงวดและระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่
ไม่เกินระยะเวลา ๑๕ ปี เงินต้นและดอกเบี้ยที่พักไว้จะได้รับการลดให้ทั้งหมด เมื่อเกษตรกรได้ชําระ
หนี้งวดสุดท้ายแล้ว
2) สภาเกษตรกรแห่งชาติ สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
มาตรา 84 (8) กําหนดให้ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกร เพื่อวางแผน
การเกษตรและรักษาประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึง
ผลักดันให้รัฐสภาผ่านความเห็นชอบพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ เพื่อ
รองรับการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติที่จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนของเกษตรกรในการดําเนินกิจกรรม
ต่าง ๆ เกี่ยวกับเกษตรกรรมสภาเกษตรกรแห่งชาติประกอบด้วย สมาชิกจานวน 100 คน จากผู้แทน
3 ประเภท คือ
สมาชิกประเภทที่ 1 (มาตรา 5 (1)) จํานวน 77 คน โดยเป็นสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ
โดยตําแหน่งจากประธานสภาเกษตรกรจังหวัด (จังหวัดละ 1 คน)
สมาชิกประเภทที่ 2 (มาตรา 5 (2)) จํานวน 16 คน โดยเป็นผู้แทนองค์กรเกษตรกรด้านพืช
สัตว์ ประมง และเกษตรกรรมอื่น ๆ ที่คัดเลือกโดยสมาชิกประเภทที่ 1 และ
สมาชิกประเภทที่ 3 (มาตรา 5 (3)) จํานวน 7 คน โดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านพืช สัตว์ ประมง
อย่างน้อยด้านละ 1 คน ที่คัดเลือกโดยสมาชิกประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2
สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นองค์กรตัวแทนจากภาคเกษตรที่สะท้อนถึงปัญหาด้านการเกษตร
รวมถึงจะเป็นตัวแทนเพื่อเสนอนโยบายและข้อเสนอแนะต่างๆ ให้ภาครัฐได้รับทราบโดยตรง ให้
หลักประกันในการคุ้มครอง รักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับการผลิตและการตลาด ทําให้เกิดการรวมตัว
กันอย่างเป็นเอกภาพขององค์กรเกษตรกร ก่อให้เกิดความเข้มแข็งจากการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย ที่
สําคัญคือ เกษตรกรสามารถจัดทําแผนแม่บทเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้การกําหนด
นโยบายเกี่ยวกับภาคเกษตร สามารถแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เปิด
โอกาสให้เกษตรกรทั่วประเทศมีส่วนร่วมต่าง ๆ เกี่ยวกับภาคเกษตรผ่านสภาเกษตรกรจังหวัดจนถึง
สภาเกษตรกรแห่งชาติ พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ยังช่วยให้อาชีพ
เกษตรกรรมได้รับการยอมรับมากขึ้นในสังคม ดังนั้น กฎหมายดังกล่าวส่งผลต่อความมั่นคงทางอาชีพ
เกษตรกรรมในอนาคตและส่งผลกระทบด้านบวกต่อการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภคและการ
ส่งออกได้ รวมทั้งยังช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาทางการแข่งขันของสินค้าเกษตรที่มีผลต่อภาคเกษตร
170
ของไทย จากการเปิดการค้าเสรีที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม การรวมกลุ่มของ
เกษตรกรจะต้องสร้างความเข้มแข็งในการรวมกลุ่มกันด้วยความสามัคคี เพื่อให้เกิดการทํางานที่เป็น
ของเกษตรกร เพื่อเกษตรกรและโดยเกษตรกร จึงจะส่งผลต่ออํานาจในการต่อรองของเกษตรกรได้
อย่างสมบูรณ์
3) สวัสดิการชาวนา คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เห็นชอบในหลักการให้มี
การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา โดยจัดตั้งกองทุนในรูปแบบพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบด้วย
7 หมวดที่สําคัญ ได้แก่
3.1 ) การจัดตั้งกองทุนและลักษณะของกิจการกองทุน
3.2) การควบคุมและการบริหารกิจการของกองทุน
3.3) เรื่องสํานักงานกองทุนสวัสดิการชาวนา
3.4) สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก
3.5) การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ
3.6) การควบคุมกากับการจัดการทุน
3.7) บทกําหนดโทษ ในเจ็ดหมวดประกอบด้วย 60 มาตรา มาตราที่สําคัญ ได้แก่
องค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชาวนา ซึ่งเรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ กสช.
ควบคุมและบริหารกิจการของกองทุน ซึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็น
ประธานกรรมการ ผู้อํานวยการสานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดี
กรมการข้าว และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง จํานวน 3 คน จากผู้มีความเชี่ยวชาญด้านข้าว ด้าน
กฎหมาย และด้านเศรษฐศาสตร์ หรือด้านการเงินการธนาคาร ที่สําคัญคือมีผู้แทนชาวนา จํานวน 6
คน โดยมีผู้จัดการสํานักงานกองทุนสวัสดิการชาวนาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ
กองทุน ฯ แนวคิดของการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา ประกอบด้วย 5 แนวทางหลัก ได้แก่
1) เป็นสวัสดิการเพื่อประโยชน์สําหรับสมาชิกที่ประกอบอาชีพทํานาโดยเฉพาะและมี
รายได้แน่นอน
2) มีการเก็บเงินเข้ากองทุนโดยคํานวณจากฐานรายได้ของการจาหน่ายข้าวเปลือกใน
อัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละ 3 แต่ไม่เกินร้อยละ ๗
3) จัดให้มีสวัสดิการด้านอื่น ๆ เช่น การจัดหาปัจจัยการผลิตและอื่น ๆ ให้กับผู้ประกอบ
อาชีพทํานา
4) รัฐบาลสามารถพิจารณาเงินที่มาสมทบจากฐานภาษีรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยว
กับข้าว ซึ่งจะทาให้กองทุนมีความมั่นคงและยั่งยืนมากขึ้น และ
171
5) เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ชาวนาเห็นว่าอาชีพทานา มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีและมีความมั่นคง
ซึ่งจะช่วยให้เยาวชนรุ่นใหม่มีความรักและยึดถือการประกอบอาชีพ ทํานาต่อไป
ทั้งนี้ ในส่วนสาระสําคัญการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชาวนา คือ ต้องเป็นชาวนา
เป็นหัวหน้าครอบครัว มีสัญชาติไทย และเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ ในส่วนของการส่งเงินสะสม
เข้ากองทุน สมาชิกจะต้องส่งเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 3แต่ไม่เกินร้อยละ 7 จากฐาน
รายได้ของการจําหน่ายข้าวในแต่ละปีของสมาชิก โดยมีการกําหนดอัตราขั้นต่ําของพื้นที่ที่ใช้คํานวณ
การส่งเงินสะสมของสมาชิกขั้นต่ําที่ 5 ไร่ และขั้นสูงไม่เกิน 15 ไร่ เพื่อป้องกันการแสวงหา
ผลประโยชน์ จากกองทุนดังกล่าวด้วย ร่างพระราชบัญญัติสวัสดิการชาวนา เกิดจากแนวคิดที่จะทํา
ให้เกษตรกรชาวนาไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงเมื่อเกษียณแล้ว (ไม่มีกําลังที่จะทํานาแล้ว)
สามารถที่จะยังชีพได้จากเงินกองทุน ซึ่งสิทธิที่ชาวนาจะได้รับจาก
2. การผลิตและการค้า
1) มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร รัฐบาลได้ดําเนินมาตรการสําคัญเพื่อ
รักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตร ดังนี้
1.1) การประกันภัยพืชผล การประกันภัยทางการเกษตร กระทรวงพาณิชย์ร่วมกัน
กําหนดแนวทางการดําเนินงานที่เหมาะสม โดยมีการแต่งตั้งคณะทางานจัดทํายุทธศาสตร์ชาติในการ
พัฒนาการประกันภัยพืชผล ปี 2553 - 2555 ประกอบด้วย 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยุทธศาสตร์การพัฒนาและสร้างดุลยภาพตลาดประกันภัยพืชผล
ซึ่งในยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นโครงการที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบ
หลัก 7 โครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียด ได้แก่ โครงการพัฒนาฐานข้อมูล
สารสนเทศระดับอําเภอและการจัดทําแผนที่เสี่ยงภัยและน้าท่วมสําหรับพืชเศรษฐกิจ โครงการ
จัดทําระบบเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ใช้ที่เป็นนักวิจัย บริษัทประกันภัยและผู้บริหาร โครงการศึกษานํา
ร่องการประกันภัยธรรมชาติสาหรับการผลิตข้าวนาปี โครงการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของ
พืชปกคลุมดิน โดยใช้ดัชนีการเจริญเติบโตของพืช โครงการต่อยอดการพัฒนาดัชนีสภาพอากาศให้
ครอบคลุมพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับระบบประกันภัย และจัดทาโครงการต้นแบบในแต่ละเขต
ภูมิภาคของประเทศไทย โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการประกันภัยข้าวนาปีโดยใช้ดัชนีผลผลิต
เขตพื้นที่และโครงการจัดทํารายชื่อพืชเศรษฐกิจแต่ละพื้นที่ที่เหมาะสมกับระบบประกันภัย
1.2) ระบบควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานสากลของฟาร์ม/โรงงานที่ผลิตสินค้าเกษตร
และอาหาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสําคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน
สินค้าเกษตรให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ โดยดําเนินการจัดระบบควบคุม
และตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารในระดับไร่นาจนถึงโต๊ะอาหาร (From Farm
to table) ด้วยการกําหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบและ
172
รับรองสินค้า ได้แก่ การรับรองฟาร์มและโรงงานด้วยระบบการจัดการคุณภาพ (Quality
Management System) รวมทั้งมีการพัฒนาห้องปฏิบัติการ (Lab) ตลอดจนการสร้างระบบการ
ตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในสินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง เพื่อให้เกิดการมุ่งรักษาคุณภาพ
และยกระดับมาตรฐานการผลิตของเกษตรกรให้ได้มาตรฐานสากล
การรับรองฟาร์มและโรงงานด้วยระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management
System) ในระดับไร่นา/ฟาร์ม จะเน้นหลักปฏิบัติสินค้าเกษตรที่ดีและเหมาะสม เช่น Good
Agricultural Practice (GAP) Code of Conduct (COC) และ Code of Practice ต่าง ๆ ในระดับ
โรงงานใช้หลักการจัดการสุขลักษณะในโรงงานแปรรูปตามมาตรฐานต่าง ๆ เช่น Good
Manufacturing Practice (GMP) Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP) โดยมีผล
การดําเนินงานจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การตรวจสอบรับรองและตรวจติดตามมาตรฐานฟาร์มทั้งด้านพืช
ประมง และปศุสัตว์ การตรวจรับรองสถานประกอบการและโรงงาน ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกและนาเข้า ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์
เป็นต้น
1.3) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลกส่งผลให้การผลิต
การส่งออก และการใช้จ่ายของเอกชนลดลงอย่างมาก รัฐบาลจึงออกมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
อย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ที่ เรียกว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 เพื่อลดผลกระทบ
และกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในระดับสูง
รัฐบาล จึงได้จัดทํา “ แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ” หรือโครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟู
เศรษฐกิจระยะที่ 2 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านการลงทุนของรัฐ
ควบคู่กับการสร้าง ขีดความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว เป้าหมายของแผนปฏิบัติการไทย
เข้มแข็ง คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเพิ่มการลงทุนภาครัฐประมาณร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ และเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมโครงการลงทุนของรัฐ สร้างตําแหน่งงานใหม่ 1.6
ล้านคนภายใน 3 ปี และกระจายการลงทุนด้านบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานไปสู่ต่างจังหวัดและชนบท
โดยมีวัตถุประสงค์ 7 ประการ ได้แก่
1.3.1) สร้างความมั่นคงอาหารและพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตใน
ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม
1.3.2) ปรับปรุงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวด
ล้อม เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตของประชาชน
1.3.3) เร่งรัดและสร้างศักยภาพการจัดหารายได้จากการท่องเที่ยว
1.3.4) สร้างรายได้จากเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
1.3.5) ยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ทันสมัย
173
1.3.6) ปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุข
1.3.7) สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
3. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตร
ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตรที่มีผลบังคับใช้อยู่มีมากกว่า 84 ฉบับ
ซึ่งล่าสุดได้แก่ พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และสามารถจําแนกประเภทได้
ดังนี้
3.1 กฎหมายเกี่ยวกับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกร
สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีภูมิคุ้มกันพร้อมรับความเสี่ยงด้านการผลิต การตลาด และมีการกระจาย
รายได้ที่ทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ สหกรณ์ วิสาหกิจ
ชุมชน กลุ่มเกษตรกร และสภาเกษตรกร เช่น พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2552 พระราชบัญญัติ
ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เป็นต้น
3.2 กฎหมายเกี่ยวกับการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความมั่นคงอาหาร มี
วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานสินค้า
เกษตร พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ประกอบกับการสนับสนุนการพัฒนาระบบ
ตลาดสินค้าเกษตรในประเทศรวมถึงส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยด้านการเกษตรเพื่อพัฒนา
ความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตรของประเทศ เช่น พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพ
ปลา พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจาหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติ
มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551 เป็นต้น
3.3 กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสร้างหลักประกันให้กับ
เกษตรกรรายย่อยได้เข้าถึงทรัพยากรการเกษตร ได้แก่ ทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน้ํา และทรัพยากร
ประมง รวมทั้งด้านการคุ้มครองทรัพยากรพืชและสัตว์ ประกอบกับปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย วัตถุ
อันตราย สารเคมีในการเกษตร แรงงาน และเงินทุน โดยเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้มีฐานะทางสังคมที่
เข้มแข็งหรือมีอํานาจทุนเข้ามาครอบครองทรัพยากรการเกษตรอย่างไม่จํากัด อันเป็นการคุ้มครอง
เกษตรกรรายย่อยให้โอกาสทํามาหากิน เช่น พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485
พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้น
3.4 กฎหมายเกี่ยวกับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันและ
เร่งรัดแผนพัฒนาของประเทศ โดยเฉพาะแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนา
การเกษตรให้เป็นที่ยอมรับและเกิดเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ที่ได้ให้
ข้อคิดเห็นและแสดงความต้องการของชุมชนและองค์การที่เกี่ยวข้องนําไปสู่การปฏิบัติอย่างมี
174
ประสิทธิภาพ เช่น พระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 และ
พระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 เป็นต้น
การที่รัฐได้บัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตรออกมาหลากหลายฉบับนั้น
จะเห็นได้ว่า กฎหมายดังกล่าวส่วนใหญ่ประสบปัญหาการบังคับใช้ที่ไม่บรรลุเจตนารมณ์และ
วัตถุประสงค์ โดยที่เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเจ้าหน้าที่ขาดความเข้าใจและความตระหนักถึง
ความสําคัญของกฎหมายนั้น ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรเป็นไป
ด้วยความรวดเร็วและเกิดประสิทธิผล ภาครัฐควรมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักถึงความสําคัญของ
การปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ ให้กับผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเกษตรกร และผู้ประกอบการ รวมถึงการ
สร้างความรู้สึกในการมีส่วนร่วมใน และปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ และเมื่อมีการบัญญัติกฎหมายใด
มาเพิ่มเติม หรือบังคับใช้กฎหมายใดที่มีผลกระทบ ควรรับฟังความคิดเห็นหรือทําประชามติในทุกภาค
ส่วนก่อนดําเนินการ เพื่อให้เกษตรกรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในเรื่องดังกล่าวและเป็นการสร้าง
ความเข้าใจระหว่างภาครัฐกับผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีต่อไป
15.5 สรุป
บทบาทภาครัฐในการพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ในภาคการเกษตรภายใต้ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาค
การเกษตร ซึ่งเป็นภาคที่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบเป็นอาชีพหลักของประเทศและเพื่อสร้างขีด
ความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
บทบาทในการส่งเสริมดังกล่าวเป็นการส่งเสริมทั้ง ในเชิงสถาบัน เช่น สถาบันในระดับ
ครัวเรือน องค์กรชุมชน กลุ่ม โดยมีการระดมองค์กรหน่วยงานภาคี เข้าสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมด้าน
การพัฒนากระบวนการผลิต ผลผลิตและการตลาด ตลอดจน มีการส่งเสริมการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยน
การส่งเสริมและการพัฒนาเทดโนโลยี ระบบข่าวสารข้อมูลโดยเฉพาะในระดับเครือข่าย
นอกจากนั้น ภาครัฐยังส่งเสริมในด้านมาตรการด้านกฎหมาย ซึ่งเอื้อต่อกิจกรรมด้าน
การเกษตรของภาคการเกษตร และเอื้อการนําแผนการพัฒนาดังกล่าว ไปปฏิบัติให้เป็นไปตาม
เป้าหมายด้านคุณภาพ มาตรฐานการผลิตและการตลาด โดยเฉพาะการส่งเสริมให้สถาบัน องค์กรภาค
ประชาชนในภาคการเกษตรเกิดความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเอง และพัฒนาสู่ขีดความสามารถ
ดังกล่าวได้
175
แบบฝึกหัด
1. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตรมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
2. จงกล่าวถึงบทบาทภาครัฐในสนับสนุนสถาบันในภาคการเกษตรไทย
3. สถาบันในภาคการเกษตรที่สําคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองและ
พัฒนาไปสู่การแข่งขันในระดับภูมิภาค ได้แก่ สถาบันใดบ้าง
4. การพัฒนาเทคโนโลยีระบบเครือข่ายสารสน มีผลต่อการพัฒนาในภาคการเกษตรอย่างไร
และอุปสรรคปัญหาด้านการพัฒนาดังกล่าวมีอะไรบ้าง
5. บทบาทสําคัญของภาครัฐอีกบทบาทหนึ่งคือการพัฒนากลุ่มเกษตรกร การดําเนินงานการ
พัฒนาดังกล่าวได้มีการแบ่งกลุ่มเกษตรกรเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ กลุ่มดังกล่าวมีกลุ่มใดบ้าง และการ
พัฒนาดังกล่าวมีความสําคัญต่อการพัฒนาภาคการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมากน้อย
เพียงใด
6. จงกล่าวถึงความสําคัญขององค์กร สภาเกษตรกรแห่งชาติในด้านการพัฒนาภาค
การเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
7. ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง และให้พิจารณาถึงความ
จําเป็นต่อการนําแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งไปปฏิบัติ
8. มาตรการในการรักษาเสถียรภาพด้านราคาผลผลิตทางการเกษตรมีอะไรบ้าง และ
มาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวมีความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร
9. ให้นักศึกษาอธิบายถึงผลดีผลเสียของการจัดตั้งสวัสดิการชาวนาที่มีผลต่อการพัฒนาภาค
การเกษตร
10. นักศึกษาหาข้อสรุปร่วมกันของบทบาทภาครัฐในการพัฒนาภาคการเกษตร แล้วนํามา
อภิปราย นําเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เชิงอรรถ
1
สรุปประเด็นสําคัญจาก สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). หน้า (ก) – ( จ ).
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 1 เมษายน 25577, http://www. oae.go.th/download/
document_plan/planAgi11_Sep55.pdf.
176
2
คัดลอกจาก สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). หน้า (ค) – (ง). กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์. 1 เมษายน 25577, http://www. oae.go.th/download/ document_plan/
planAgi11_Sep55.pdf.
3
คัดลอกจาก สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). หน้า 35 - 40. กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์. 1 เมษายน 25577, http://www. oae.go.th/download/ document_plan/
planAgi11_Sep55.pdf
4
คัดลอกจาก สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). หน้า (จ). กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์. 1 เมษายน 25577, http://www. oae.go.th/download/ document_plan/
planAgi11_Sep55.pdf
177
เอกสารอ้างอิง
สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 1 เมษายน
2557, http://www. oae.go.th/download/ document_plan/ planAgi11_
Sep55.pdf.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการเกษตร 2556 – 2559. กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์. 1 เมษายน 2557, http://www.plan.doae.go.th/newsplan/
plan2556-2559 .pdf.

More Related Content

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่15

การประชุมความเข้าใจมิสเตอร์เกษรอินทรีย์ กรมพัฒนาที่ดิน
การประชุมความเข้าใจมิสเตอร์เกษรอินทรีย์ กรมพัฒนาที่ดินการประชุมความเข้าใจมิสเตอร์เกษรอินทรีย์ กรมพัฒนาที่ดิน
การประชุมความเข้าใจมิสเตอร์เกษรอินทรีย์ กรมพัฒนาที่ดินTotorokung
 
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพPiboon Yasotorn
 
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพPiboon Yasotorn
 
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพPiboon Yasotorn
 
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560nok Piyaporn
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมjirapom
 
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพPiboon Yasotorn
 
ผลการดำเนินงานกองทุนฯ ในพื้นที่
ผลการดำเนินงานกองทุนฯ ในพื้นที่ผลการดำเนินงานกองทุนฯ ในพื้นที่
ผลการดำเนินงานกองทุนฯ ในพื้นที่kalayaW
 
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมการรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมjeabjeabloei
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่15 (20)

การประชุมความเข้าใจมิสเตอร์เกษรอินทรีย์ กรมพัฒนาที่ดิน
การประชุมความเข้าใจมิสเตอร์เกษรอินทรีย์ กรมพัฒนาที่ดินการประชุมความเข้าใจมิสเตอร์เกษรอินทรีย์ กรมพัฒนาที่ดิน
การประชุมความเข้าใจมิสเตอร์เกษรอินทรีย์ กรมพัฒนาที่ดิน
 
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
 
ดร.เจษฎา ชาตรี
ดร.เจษฎา  ชาตรีดร.เจษฎา  ชาตรี
ดร.เจษฎา ชาตรี
 
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
 
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
 
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
 
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
จดหมายข่าว สท. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
 
1
11
1
 
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ
 
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอนMicrosoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
 
ผลการดำเนินงานกองทุนฯ ในพื้นที่
ผลการดำเนินงานกองทุนฯ ในพื้นที่ผลการดำเนินงานกองทุนฯ ในพื้นที่
ผลการดำเนินงานกองทุนฯ ในพื้นที่
 
20100905 wp ch3-smart farm
20100905 wp ch3-smart farm20100905 wp ch3-smart farm
20100905 wp ch3-smart farm
 
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคมการรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
การรู้สารสนเทศเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
 
Curri 02 11
Curri 02 11Curri 02 11
Curri 02 11
 
Anhperf 6
Anhperf 6Anhperf 6
Anhperf 6
 
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
 
case study Cp
case study Cpcase study Cp
case study Cp
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สารบัญ
Microsoft word   สารบัญMicrosoft word   สารบัญ
Microsoft word สารบัญ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 
Microsoft word สัปดาห์ที่1
Microsoft word   สัปดาห์ที่1Microsoft word   สัปดาห์ที่1
Microsoft word สัปดาห์ที่1
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
 
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word   ปกเอกสารประกอบการสอนMicrosoft word   ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
 
Microsoft word บรรณานุกรม
Microsoft word   บรรณานุกรมMicrosoft word   บรรณานุกรม
Microsoft word บรรณานุกรม
 
Microsoft word ภาคผนวก
Microsoft word   ภาคผนวกMicrosoft word   ภาคผนวก
Microsoft word ภาคผนวก
 

Microsoft word สัปดาห์ที่15

  • 1. 163 แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 15 หัวข้อเรื่อง บทบาทภาครัฐในการพัฒนาภาคการเกษตรภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รายละเอียด แผนพัฒนาด้านการเกษตรของภาครัฐ การกําหนดวิสัยทัศน์ กระบวนการขับ เคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ นโยบายและมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนการดําเนินงานด้านการเกษตร จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนําผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาศึกษา 2. การนําเสนอกรณีศึกษาจากงานวิจัย 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการสัมมนา 4. การสรุปรวบยอดร่วมกัน การจัดทําแผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากเหตุการณ์ จําลองในลักษณะ Workshop สื่อการสอน 1. เอกสารงานวิจัย 2. Media Power Point White broad 3. กิจกรรมจําลองเพื่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น 1.2 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสัมมนา การทํากิจกรรม Workshop 1.3 ความเข้าใจในภาพรวมของเนื้อหาวิชาและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop) 2.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด
  • 2. 164 3. สัดส่วนของการประเมิน (10 คะแนน) 3.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop ร้อยละ50) 3.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด (ร้อยละ 50) เนื้อหาที่สอนบทบาทภาครัฐในการพัฒนาคุณภาพผลผลิตของภาคการเกษตรภายใต้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ภาครัฐมีความพยายามในการ พัฒนาภาคการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค โดยมีฐานความคิดที่ว่า ภาคการเกษตรมีบทบาสําคัญในด้านเศรษฐกิจแต่ยังคงประสบปัญหาด้านการ จัดการและขาดการเอาใจใส่จากภาครัฐเท่าที่ควร ดังนั้น การวางแผนพัฒนาภาคการเกษตรเพื่อ ยกระดับให้เกิดความเข้มแข็งจึงถูกกําหนดขึ้น โดยภาครัฐแสดงออกอย่างชัดเจนว่าจะทําการสนับสนุน ด้านนโยบาย และเอื้อประโยชน์ให้แก่ภาคการเกษตรในด้านต่าง ๆ เช่น ระบบสวัสดิการ การคุ้มครอง ที่ทํากิน การพัฒนาความรู้ การเอื้ออํานวยข่าวสารข้อมูลด้านการผลิต การตลาดและการเชื่อมโยงสู่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการพัฒนาผลผลิตและนําไปสู่ช่องทางทางการตลาดใน ระดับประเทศและภูมิภาค ทั้งนี้ การแสดงบทบาทดังกล่าว เพื่อให้ภาคการเกษตรมีการพัฒนาอย่างมี ทิศทางที่ยั่งยืน ตามกรอบการพัฒนาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 15.1 แผนพัฒนาด้านการเกษตรของภาครัฐ 1 การพัฒนาภาคเกษตรยังคงมีความสําคัญในการช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ของชาติ แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของโลกและการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยแล้งและน้าท่วม ส่งผลกระทบกับประเทศไทยอย่างรุนแรง รวมถึง สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสาขาเกษตรลดน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับสาขาการ ผลิตอื่น ภาคเกษตรยังคงความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยสินค้าการเกษตรได้ ปรับเปลี่ยนบทบาทจากสินค้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออกในรูปของสินค้าขั้นปฐม เป็น สินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตของภาคการผลิตอื่น สร้างมูลค่าและรายได้แก่ประเทศมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรม การแปรรูปอาหาร และยางรถยนต์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการพัฒนาดังกล่าวได้ ส่งผลกระทบต่อทรัพยากร - ธรรมชาติที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการผลิตทางการเกษตร เช่น ดิน น้า และป่าไม้ ถูกนํามาใช้เพื่อสนับสนุนการผลิตและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็น จํานวนมากจนเกินศักยภาพการผลิตของทรัพยากรในการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้ก่อให้เกิดความเสื่อม
  • 3. 165 โทรม ส่งผลกระทบ ต่อภาคเกษตรและเกษตรกร ทําให้ต้องมีการปรับตัวและเตรียมความพร้อมใน การรองรับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นรวมทั้งการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เห็นชอบ แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11 โดยการพัฒนาการเกษตรในระยะเวลา 5 ปี โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อเนื่องจาก แผนพัฒนาการเกษตรและแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 - 10 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ เกษตรกรและผลักดันการประยุกต์ ใช้ปรัชญาดังกล่าว เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาชีพ มั่นคง รายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพควบคู่ไปกับการให้ความสําคัญในการพัฒนาขีดความสามารถใน การผลิต การจัดการสินค้าเกษตรและความมั่นคงด้านอาหาร ส่งเสริมการผลิตพืชอาหารและพืช พลังงานทดแทนให้มีความเหมาะสม โดยกําหนดเป้าหมายร่วมกันระหว่างภาคเกษตร อุตสาหกรรม และพลังงาน เน้นให้ความสําคัญกับด้านอาหารเป็นอันดับแรก ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคภายใต้การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรของอาเซียน นอกจากนี้ได้มุ่งเน้นให้ ความสําคัญในพัฒนาทรัพยากรการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรดิน และน้ํา ทั้งนี้ ได้แบ่งการ พัฒนาเกษตรกรออกเป็น ๒ กลุ่ม เน้นแนวทางการดําเนินงานของเกษตรกรแต่ละกลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เกษตรกรรายย่อย ประกอบด้วย 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ํากว่ามาตรฐาน การครองชีพ (ต่ํากว่าเส้นความยากจน: Property Line) เป็นการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่ เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน เน้นการจัดหาที่ดินทํากิน สร้างความมั่นคง ด้านอาหารและรายได้ สร้างโอกาสให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและการแก้ไขปัญหาหนี้สิน กลุ่มย่อยที่สอง คือ ผู้ที่มีรายได้ตามมาตรฐานการครองชีพหรือสูงกว่ามาตรฐานการครองชีพ เน้นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีมาตรฐาน มากขึ้น โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างองค์ความรู้และพัฒนา ทักษะการผลิต การตลาด และ สามารถเข้าถึงแหล่งทุน กลุ่มที่ 2 เกษตรกรรายใหญ่ที่ทําการเกษตรพาณิชย์ เน้นการสนับสนุนให้สามารถเข้าถึง ข้อมูล อํานวยความสะดวกทั้งด้านการผลิต การตลาด การลงทุนทางการเกษตรในต่างประเทศและ สนับสนุนการร่วมทุนด้านการวิจัย เพื่อให้เกิดผลงานวิจัยที่สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ รวมทั้ง ผลักดันให้เกษตรกรรายใหญ่เข้ารวมกลุ่มกับเกษตรกรรายย่อย เพื่อเชื่อมโยงถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่ง กันและกันตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาการรวม
  • 4. 166 15.2 การกําหนดวิสัยทัศน์ 2 วิสัยทัศน์สําหรับการพัฒนาภาคการเกษตร คือ “ เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมี ความมั่นคงด้านอาหารเป็นฐานสร้างรายได้ให้แผ่นดิน ” โดยมีเป้าหมาย ดังนี้ 1. ความผาสุกของเกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 ในปี 2559 2. เศรษฐกิจภาคเกษตรเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3.0 ต่อปี 3. ทรัพยากรการเกษตรมีความเหมาะสมต่อการผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น เพื่อให้การดําเนินงานสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กําหนด จึงได้กําหนดยุทธศาสตร์และ แนวทางการพัฒนาการเกษตร ไว้ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีความสามารถพึ่งพาตนเอง ได้ มีภูมิคุ้มกันพร้อมรับความเสี่ยงด้านการผลิต การตลาด และมีการกระจายรายได้ที่ทั่วถึง มี ความสามารถในการผลิตและการตลาด ก้าวสู่ผู้จัดการฟาร์มที่เป็นมืออาชีพ (Smart Farmer) รวมทั้งอํานวยความสะดวก ทางการค้าสินค้าเกษตรให้กับเกษตรกรรายใหญ่ที่ทําการเกษตรพาณิชย์ และเชิงอุตสาหกรรมได้สร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาระบบประกันความเสี่ยง การเกษตร จัดทําทะเบียนเกษตรกร ผลักดันให้มีการพัฒนาระบบสวัสดิการให้ครอบคลุมแรงงาน ด้านการเกษตร พัฒนาระบบการคุ้มครองที่ดิน สร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรให้เหมาะสมในแต่ละ ช่วงอายุ สนับสนุนให้ประชาชนทําสวนผักคนเมือง (City farm) และนําของเหลือใช้ในครัวเรือนหรือ ชุมชนมาเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เข้าสู่ภาคเกษตรทดแทนรุ่นเดิม ส่งเสริม ให้องค์กรเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรมี การดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมทั้ง อํานวยความสะดวกทางด้านข้อมูล ข่าวสารทั้งด้าน การผลิต การตลาด การลงทุนทางการเกษตรใน ต่างประเทศ ตลอดจนปรับปรุงกฎ ระเบียบเพื่อลดปัญหาอุปสรรคในทางการค้าสินค้าเกษตร ให้กับ เกษตรกรรายใหญ่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความ มั่นคงอาหาร เพื่อสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็ง ทําให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ และรายได้ ให้กับเกษตรกร พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารให้มีความสามารถในการแข่งขัน ประชาชนมี ความมั่นคงด้านอาหารและมีผลผลิตเพียงพอกับความต้องการด้านอาหารและพลังงาน โดยการ พัฒนาการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานสินค้า เกษตร กําหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ของภาคเกษตร ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Product) เสริมสร้างการผลิต สินค้าเกษตรที่เป็นพืชอาหารและพลังงานให้เกิดความมั่นคง รวมทั้งสนับสนุนเพื่อจัดสรรผลผลิตพืช อาหารและพลังงานให้เพียงพอต่อการบริโภคและทดแทนพลังงาน สนับสนุนการพัฒนาระบบตลาด สินค้าเกษตร และสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาคและระหว่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและ
  • 5. 167 พัฒนางานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาขยายผลสู่การ พัฒนาภาคเกษตรให้สนองความต้องการของภาคการผลิต ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน เพื่อสร้าง และพัฒนาการใช้ทรัพยากรการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ฟื้นฟู ทรัพยากรการเกษตรให้มีความเหมาะสมต่อการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยการเร่งรัดการ ฟื้นฟูและปรับปรุงคุณภาพดินที่เสื่อมโทรม วางระบบการใช้ที่ดินตามศักยภาพของที่ดิน จัดหาที่ดิน เอกชนมาพัฒนาและจัดสรรให้กับเกษตรกรไร้ที่ดินทํากิน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ําเพื่อ การเกษตร ทรัพยากรประมง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสม และยั่งยืน สนับสนุนและผลักดันให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร เตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและวางระบบการ ป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยธรรมชาติ รวมทั้ง พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ ทรัพยากรการเกษตรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ 15.3 กระบวนการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ 3 การบริหารจัดการการพัฒนาการเกษตรของประเทศ กระบวนการขับเคลื่อนเป็นกลไก สําคัญที่จะนําแผนพัฒนาการเกษตรของประเทศไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และ เป้าหมายของแผน ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องมีบทบาทและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดัน ให้แผนพัฒนาการเกษตรเกิดสัมฤทธิ์ผล และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาการเกษตรฯ นโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งแผนระดับอื่น ๆ ให้ความสําคัญกับบทบาท ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสร้างกลไกในระดับต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงประสานงานอย่างเป็นระบบ ทั้ง หน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการและร่วมผลักดันให้นําแผนพัฒนาการเกษตรไปปฏิบัติ ตลอดจนการติดตาม ประเมินผลแผน เพื่อติดตามความก้าวหน้า การประเมินผลสําเร็จและผลกระทบของการดําเนินงาน อย่างต่อเนื่อง 15.4 นโยบายและมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนการดําเนินงานด้านการเกษตร 4 1. เกษตรกรและสถาบัน 1) การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร อาชีพทางการเกษตรมีความเสี่ยงในการผลิตซึ่ง ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับการดําเนินการต่างๆ ให้กับเกษตรกรยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยเฉพาะองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ทําให้การ ประกอบอาชีพการเกษตรเกิดปัญหาหนี้สินสะสมตามมา รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการ
  • 6. 168 แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ได้แก่ การพักชาระหนี้ การลดภาระหนี้ การสนับสนุนสินเชื่อหรือ งบประมาณ เพื่อฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเดิมหรือประกอบอาชีพใหม่เพื่อสร้างรายได้ให้เพียงพอ ในปี เพาะปลูก 2550-2551 ทั้งประเทศมีครัวเรือนเกษตร 5.78 ล้านครัวเรือน และมีครัวเรือนเกษตรที่มี หนี้สิน 5.26 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 73.69 ขนาดของหนี้สิน 53,885 บาทต่อครัวเรือน สําหรับการช่วยเหลือด้านหนี้สินแก่เกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีดังนี้ 1.1) เร่งรัดแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรรายย่อยที่เป็นสมาชิกสถาบัน เกษตรกรและมีหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท ได้ลดภาระหนี้ โดยการลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา 2 ปีรวม 950,000 ราย จากสถาบันเกษตรกร 2,000 แห่ง 1.2) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ได้รับการสนับสนุนจัดทาแผนพัฒนาอาชีพ จํานวน 100,611 ราย วงเงิน 296.06 ล้านบาท 1.3) ชดเชยดอกเบี้ยแก่สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3,404 ราย ช่วยเหลือเกษตรกร ที่ยากจนให้สามารถไถ่ ถอนหรือซื้อที่ดินคืนมา 607 รายและชดเชยดอกเบี้ยให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบ จากอุทกภัย จานวน 10,023 ราย 1.4) การช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ระหว่างปี 2550 - 2552 วงเงิน 3,346.03 ล้านบาท นอกจากนั้น ในปี 2553 รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อให้สามารถอยู่รอดและ พึ่งตนเองในกระแสปัจจุบันได้ โดยมียุทธศาสตร์ ๕ ด้าน คือ การพัฒนาองค์กรกลุ่มเกษตรกร การ พัฒนาผลิตผลภาคเกษตร การรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และการ สร้างตลาดของเกษตรกรและเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างบูรณาการ ทั้งนี้ ภาครัฐได้เสนอการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPL) และเป็นสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเรื่องหลักเกณฑ์การดําเนินโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพ เกษตรกรตามข้อสรุปการหารือระหว่างกองทุนฟื้นฟูฯและพัฒนาเกษตรกร กับธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกรุงไทย (มหาชน) จํากัด ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ ธนาคารออมสิน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีมาตรการที่สาคัญๆ คือ การดําเนินการเริ่มต้นจะดาเนินการกับกลุ่มเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรลูกหนี้จํานวนนี้มีประมาณ 80,000 ราย ซึ่งเป็นลูกหนี้ของธนาคาร 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกรุงไทย (มหาชน) จํากัด ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน โดยสถานะหนี้เป็น หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ณ วันที่ 31 ธันวาคม2552 โดยกําหนดเงินต้นไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อ
  • 7. 169 ราย และเมื่อเข้าร่วมโครงการนี้แล้ว เกษตรกรลูกหนี้จะต้องไม่ก่อหนี้เพิ่มกับสถาบันการเงินใน โครงการทั้ง 4 ธนาคาร การปรับโครงสร้างหนี้จะเป็นการพักชาระเงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยทั้งหมด ไว้ก่อน โดยให้เกษตรกรผ่อนชาระหนี้เงินต้นที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง ตามงวดและระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่ ไม่เกินระยะเวลา ๑๕ ปี เงินต้นและดอกเบี้ยที่พักไว้จะได้รับการลดให้ทั้งหมด เมื่อเกษตรกรได้ชําระ หนี้งวดสุดท้ายแล้ว 2) สภาเกษตรกรแห่งชาติ สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 84 (8) กําหนดให้ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกร เพื่อวางแผน การเกษตรและรักษาประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึง ผลักดันให้รัฐสภาผ่านความเห็นชอบพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ เพื่อ รองรับการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติที่จะทําหน้าที่เป็นตัวแทนของเกษตรกรในการดําเนินกิจกรรม ต่าง ๆ เกี่ยวกับเกษตรกรรมสภาเกษตรกรแห่งชาติประกอบด้วย สมาชิกจานวน 100 คน จากผู้แทน 3 ประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 (มาตรา 5 (1)) จํานวน 77 คน โดยเป็นสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยตําแหน่งจากประธานสภาเกษตรกรจังหวัด (จังหวัดละ 1 คน) สมาชิกประเภทที่ 2 (มาตรา 5 (2)) จํานวน 16 คน โดยเป็นผู้แทนองค์กรเกษตรกรด้านพืช สัตว์ ประมง และเกษตรกรรมอื่น ๆ ที่คัดเลือกโดยสมาชิกประเภทที่ 1 และ สมาชิกประเภทที่ 3 (มาตรา 5 (3)) จํานวน 7 คน โดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านพืช สัตว์ ประมง อย่างน้อยด้านละ 1 คน ที่คัดเลือกโดยสมาชิกประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นองค์กรตัวแทนจากภาคเกษตรที่สะท้อนถึงปัญหาด้านการเกษตร รวมถึงจะเป็นตัวแทนเพื่อเสนอนโยบายและข้อเสนอแนะต่างๆ ให้ภาครัฐได้รับทราบโดยตรง ให้ หลักประกันในการคุ้มครอง รักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับการผลิตและการตลาด ทําให้เกิดการรวมตัว กันอย่างเป็นเอกภาพขององค์กรเกษตรกร ก่อให้เกิดความเข้มแข็งจากการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย ที่ สําคัญคือ เกษตรกรสามารถจัดทําแผนแม่บทเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้การกําหนด นโยบายเกี่ยวกับภาคเกษตร สามารถแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เปิด โอกาสให้เกษตรกรทั่วประเทศมีส่วนร่วมต่าง ๆ เกี่ยวกับภาคเกษตรผ่านสภาเกษตรกรจังหวัดจนถึง สภาเกษตรกรแห่งชาติ พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ยังช่วยให้อาชีพ เกษตรกรรมได้รับการยอมรับมากขึ้นในสังคม ดังนั้น กฎหมายดังกล่าวส่งผลต่อความมั่นคงทางอาชีพ เกษตรกรรมในอนาคตและส่งผลกระทบด้านบวกต่อการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภคและการ ส่งออกได้ รวมทั้งยังช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาทางการแข่งขันของสินค้าเกษตรที่มีผลต่อภาคเกษตร
  • 8. 170 ของไทย จากการเปิดการค้าเสรีที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม การรวมกลุ่มของ เกษตรกรจะต้องสร้างความเข้มแข็งในการรวมกลุ่มกันด้วยความสามัคคี เพื่อให้เกิดการทํางานที่เป็น ของเกษตรกร เพื่อเกษตรกรและโดยเกษตรกร จึงจะส่งผลต่ออํานาจในการต่อรองของเกษตรกรได้ อย่างสมบูรณ์ 3) สวัสดิการชาวนา คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เห็นชอบในหลักการให้มี การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา โดยจัดตั้งกองทุนในรูปแบบพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบด้วย 7 หมวดที่สําคัญ ได้แก่ 3.1 ) การจัดตั้งกองทุนและลักษณะของกิจการกองทุน 3.2) การควบคุมและการบริหารกิจการของกองทุน 3.3) เรื่องสํานักงานกองทุนสวัสดิการชาวนา 3.4) สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก 3.5) การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ 3.6) การควบคุมกากับการจัดการทุน 3.7) บทกําหนดโทษ ในเจ็ดหมวดประกอบด้วย 60 มาตรา มาตราที่สําคัญ ได้แก่ องค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชาวนา ซึ่งเรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ กสช. ควบคุมและบริหารกิจการของกองทุน ซึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็น ประธานกรรมการ ผู้อํานวยการสานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดี กรมการข้าว และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง จํานวน 3 คน จากผู้มีความเชี่ยวชาญด้านข้าว ด้าน กฎหมาย และด้านเศรษฐศาสตร์ หรือด้านการเงินการธนาคาร ที่สําคัญคือมีผู้แทนชาวนา จํานวน 6 คน โดยมีผู้จัดการสํานักงานกองทุนสวัสดิการชาวนาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ กองทุน ฯ แนวคิดของการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา ประกอบด้วย 5 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) เป็นสวัสดิการเพื่อประโยชน์สําหรับสมาชิกที่ประกอบอาชีพทํานาโดยเฉพาะและมี รายได้แน่นอน 2) มีการเก็บเงินเข้ากองทุนโดยคํานวณจากฐานรายได้ของการจาหน่ายข้าวเปลือกใน อัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละ 3 แต่ไม่เกินร้อยละ ๗ 3) จัดให้มีสวัสดิการด้านอื่น ๆ เช่น การจัดหาปัจจัยการผลิตและอื่น ๆ ให้กับผู้ประกอบ อาชีพทํานา 4) รัฐบาลสามารถพิจารณาเงินที่มาสมทบจากฐานภาษีรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยว กับข้าว ซึ่งจะทาให้กองทุนมีความมั่นคงและยั่งยืนมากขึ้น และ
  • 9. 171 5) เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ชาวนาเห็นว่าอาชีพทานา มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีและมีความมั่นคง ซึ่งจะช่วยให้เยาวชนรุ่นใหม่มีความรักและยึดถือการประกอบอาชีพ ทํานาต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนสาระสําคัญการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชาวนา คือ ต้องเป็นชาวนา เป็นหัวหน้าครอบครัว มีสัญชาติไทย และเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ ในส่วนของการส่งเงินสะสม เข้ากองทุน สมาชิกจะต้องส่งเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 3แต่ไม่เกินร้อยละ 7 จากฐาน รายได้ของการจําหน่ายข้าวในแต่ละปีของสมาชิก โดยมีการกําหนดอัตราขั้นต่ําของพื้นที่ที่ใช้คํานวณ การส่งเงินสะสมของสมาชิกขั้นต่ําที่ 5 ไร่ และขั้นสูงไม่เกิน 15 ไร่ เพื่อป้องกันการแสวงหา ผลประโยชน์ จากกองทุนดังกล่าวด้วย ร่างพระราชบัญญัติสวัสดิการชาวนา เกิดจากแนวคิดที่จะทํา ให้เกษตรกรชาวนาไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงเมื่อเกษียณแล้ว (ไม่มีกําลังที่จะทํานาแล้ว) สามารถที่จะยังชีพได้จากเงินกองทุน ซึ่งสิทธิที่ชาวนาจะได้รับจาก 2. การผลิตและการค้า 1) มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร รัฐบาลได้ดําเนินมาตรการสําคัญเพื่อ รักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตร ดังนี้ 1.1) การประกันภัยพืชผล การประกันภัยทางการเกษตร กระทรวงพาณิชย์ร่วมกัน กําหนดแนวทางการดําเนินงานที่เหมาะสม โดยมีการแต่งตั้งคณะทางานจัดทํายุทธศาสตร์ชาติในการ พัฒนาการประกันภัยพืชผล ปี 2553 - 2555 ประกอบด้วย 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยุทธศาสตร์การพัฒนาและสร้างดุลยภาพตลาดประกันภัยพืชผล ซึ่งในยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นโครงการที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบ หลัก 7 โครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียด ได้แก่ โครงการพัฒนาฐานข้อมูล สารสนเทศระดับอําเภอและการจัดทําแผนที่เสี่ยงภัยและน้าท่วมสําหรับพืชเศรษฐกิจ โครงการ จัดทําระบบเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ใช้ที่เป็นนักวิจัย บริษัทประกันภัยและผู้บริหาร โครงการศึกษานํา ร่องการประกันภัยธรรมชาติสาหรับการผลิตข้าวนาปี โครงการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของ พืชปกคลุมดิน โดยใช้ดัชนีการเจริญเติบโตของพืช โครงการต่อยอดการพัฒนาดัชนีสภาพอากาศให้ ครอบคลุมพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับระบบประกันภัย และจัดทาโครงการต้นแบบในแต่ละเขต ภูมิภาคของประเทศไทย โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการประกันภัยข้าวนาปีโดยใช้ดัชนีผลผลิต เขตพื้นที่และโครงการจัดทํารายชื่อพืชเศรษฐกิจแต่ละพื้นที่ที่เหมาะสมกับระบบประกันภัย 1.2) ระบบควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานสากลของฟาร์ม/โรงงานที่ผลิตสินค้าเกษตร และอาหาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสําคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน สินค้าเกษตรให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ โดยดําเนินการจัดระบบควบคุม และตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารในระดับไร่นาจนถึงโต๊ะอาหาร (From Farm to table) ด้วยการกําหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบและ
  • 10. 172 รับรองสินค้า ได้แก่ การรับรองฟาร์มและโรงงานด้วยระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management System) รวมทั้งมีการพัฒนาห้องปฏิบัติการ (Lab) ตลอดจนการสร้างระบบการ ตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในสินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง เพื่อให้เกิดการมุ่งรักษาคุณภาพ และยกระดับมาตรฐานการผลิตของเกษตรกรให้ได้มาตรฐานสากล การรับรองฟาร์มและโรงงานด้วยระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management System) ในระดับไร่นา/ฟาร์ม จะเน้นหลักปฏิบัติสินค้าเกษตรที่ดีและเหมาะสม เช่น Good Agricultural Practice (GAP) Code of Conduct (COC) และ Code of Practice ต่าง ๆ ในระดับ โรงงานใช้หลักการจัดการสุขลักษณะในโรงงานแปรรูปตามมาตรฐานต่าง ๆ เช่น Good Manufacturing Practice (GMP) Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP) โดยมีผล การดําเนินงานจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การตรวจสอบรับรองและตรวจติดตามมาตรฐานฟาร์มทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ การตรวจรับรองสถานประกอบการและโรงงาน ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกและนาเข้า ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ เป็นต้น 1.3) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลกส่งผลให้การผลิต การส่งออก และการใช้จ่ายของเอกชนลดลงอย่างมาก รัฐบาลจึงออกมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ที่ เรียกว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 เพื่อลดผลกระทบ และกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในระดับสูง รัฐบาล จึงได้จัดทํา “ แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ” หรือโครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟู เศรษฐกิจระยะที่ 2 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านการลงทุนของรัฐ ควบคู่กับการสร้าง ขีดความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว เป้าหมายของแผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเพิ่มการลงทุนภาครัฐประมาณร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ และเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมโครงการลงทุนของรัฐ สร้างตําแหน่งงานใหม่ 1.6 ล้านคนภายใน 3 ปี และกระจายการลงทุนด้านบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานไปสู่ต่างจังหวัดและชนบท โดยมีวัตถุประสงค์ 7 ประการ ได้แก่ 1.3.1) สร้างความมั่นคงอาหารและพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตใน ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม 1.3.2) ปรับปรุงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวด ล้อม เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตของประชาชน 1.3.3) เร่งรัดและสร้างศักยภาพการจัดหารายได้จากการท่องเที่ยว 1.3.4) สร้างรายได้จากเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 1.3.5) ยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ทันสมัย
  • 11. 173 1.3.6) ปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุข 1.3.7) สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต 3. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตร ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตรที่มีผลบังคับใช้อยู่มีมากกว่า 84 ฉบับ ซึ่งล่าสุดได้แก่ พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และสามารถจําแนกประเภทได้ ดังนี้ 3.1 กฎหมายเกี่ยวกับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกร สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีภูมิคุ้มกันพร้อมรับความเสี่ยงด้านการผลิต การตลาด และมีการกระจาย รายได้ที่ทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ สหกรณ์ วิสาหกิจ ชุมชน กลุ่มเกษตรกร และสภาเกษตรกร เช่น พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2552 พระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เป็นต้น 3.2 กฎหมายเกี่ยวกับการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความมั่นคงอาหาร มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานสินค้า เกษตร พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ประกอบกับการสนับสนุนการพัฒนาระบบ ตลาดสินค้าเกษตรในประเทศรวมถึงส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยด้านการเกษตรเพื่อพัฒนา ความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตรของประเทศ เช่น พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพ ปลา พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจาหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551 เป็นต้น 3.3 กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสร้างหลักประกันให้กับ เกษตรกรรายย่อยได้เข้าถึงทรัพยากรการเกษตร ได้แก่ ทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน้ํา และทรัพยากร ประมง รวมทั้งด้านการคุ้มครองทรัพยากรพืชและสัตว์ ประกอบกับปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย วัตถุ อันตราย สารเคมีในการเกษตร แรงงาน และเงินทุน โดยเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้มีฐานะทางสังคมที่ เข้มแข็งหรือมีอํานาจทุนเข้ามาครอบครองทรัพยากรการเกษตรอย่างไม่จํากัด อันเป็นการคุ้มครอง เกษตรกรรายย่อยให้โอกาสทํามาหากิน เช่น พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้น 3.4 กฎหมายเกี่ยวกับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันและ เร่งรัดแผนพัฒนาของประเทศ โดยเฉพาะแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนา การเกษตรให้เป็นที่ยอมรับและเกิดเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ที่ได้ให้ ข้อคิดเห็นและแสดงความต้องการของชุมชนและองค์การที่เกี่ยวข้องนําไปสู่การปฏิบัติอย่างมี
  • 12. 174 ประสิทธิภาพ เช่น พระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 และ พระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 เป็นต้น การที่รัฐได้บัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตรออกมาหลากหลายฉบับนั้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายดังกล่าวส่วนใหญ่ประสบปัญหาการบังคับใช้ที่ไม่บรรลุเจตนารมณ์และ วัตถุประสงค์ โดยที่เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเจ้าหน้าที่ขาดความเข้าใจและความตระหนักถึง ความสําคัญของกฎหมายนั้น ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรเป็นไป ด้วยความรวดเร็วและเกิดประสิทธิผล ภาครัฐควรมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักถึงความสําคัญของ การปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ ให้กับผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเกษตรกร และผู้ประกอบการ รวมถึงการ สร้างความรู้สึกในการมีส่วนร่วมใน และปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ และเมื่อมีการบัญญัติกฎหมายใด มาเพิ่มเติม หรือบังคับใช้กฎหมายใดที่มีผลกระทบ ควรรับฟังความคิดเห็นหรือทําประชามติในทุกภาค ส่วนก่อนดําเนินการ เพื่อให้เกษตรกรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในเรื่องดังกล่าวและเป็นการสร้าง ความเข้าใจระหว่างภาครัฐกับผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีต่อไป 15.5 สรุป บทบาทภาครัฐในการพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ในภาคการเกษตรภายใต้ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาค การเกษตร ซึ่งเป็นภาคที่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบเป็นอาชีพหลักของประเทศและเพื่อสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค บทบาทในการส่งเสริมดังกล่าวเป็นการส่งเสริมทั้ง ในเชิงสถาบัน เช่น สถาบันในระดับ ครัวเรือน องค์กรชุมชน กลุ่ม โดยมีการระดมองค์กรหน่วยงานภาคี เข้าสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมด้าน การพัฒนากระบวนการผลิต ผลผลิตและการตลาด ตลอดจน มีการส่งเสริมการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยน การส่งเสริมและการพัฒนาเทดโนโลยี ระบบข่าวสารข้อมูลโดยเฉพาะในระดับเครือข่าย นอกจากนั้น ภาครัฐยังส่งเสริมในด้านมาตรการด้านกฎหมาย ซึ่งเอื้อต่อกิจกรรมด้าน การเกษตรของภาคการเกษตร และเอื้อการนําแผนการพัฒนาดังกล่าว ไปปฏิบัติให้เป็นไปตาม เป้าหมายด้านคุณภาพ มาตรฐานการผลิตและการตลาด โดยเฉพาะการส่งเสริมให้สถาบัน องค์กรภาค ประชาชนในภาคการเกษตรเกิดความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเอง และพัฒนาสู่ขีดความสามารถ ดังกล่าวได้
  • 13. 175 แบบฝึกหัด 1. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตรมีอะไรบ้าง จงอธิบาย 2. จงกล่าวถึงบทบาทภาครัฐในสนับสนุนสถาบันในภาคการเกษตรไทย 3. สถาบันในภาคการเกษตรที่สําคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองและ พัฒนาไปสู่การแข่งขันในระดับภูมิภาค ได้แก่ สถาบันใดบ้าง 4. การพัฒนาเทคโนโลยีระบบเครือข่ายสารสน มีผลต่อการพัฒนาในภาคการเกษตรอย่างไร และอุปสรรคปัญหาด้านการพัฒนาดังกล่าวมีอะไรบ้าง 5. บทบาทสําคัญของภาครัฐอีกบทบาทหนึ่งคือการพัฒนากลุ่มเกษตรกร การดําเนินงานการ พัฒนาดังกล่าวได้มีการแบ่งกลุ่มเกษตรกรเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ กลุ่มดังกล่าวมีกลุ่มใดบ้าง และการ พัฒนาดังกล่าวมีความสําคัญต่อการพัฒนาภาคการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมากน้อย เพียงใด 6. จงกล่าวถึงความสําคัญขององค์กร สภาเกษตรกรแห่งชาติในด้านการพัฒนาภาค การเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 7. ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง และให้พิจารณาถึงความ จําเป็นต่อการนําแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งไปปฏิบัติ 8. มาตรการในการรักษาเสถียรภาพด้านราคาผลผลิตทางการเกษตรมีอะไรบ้าง และ มาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวมีความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร 9. ให้นักศึกษาอธิบายถึงผลดีผลเสียของการจัดตั้งสวัสดิการชาวนาที่มีผลต่อการพัฒนาภาค การเกษตร 10. นักศึกษาหาข้อสรุปร่วมกันของบทบาทภาครัฐในการพัฒนาภาคการเกษตร แล้วนํามา อภิปราย นําเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิงอรรถ 1 สรุปประเด็นสําคัญจาก สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). หน้า (ก) – ( จ ). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 1 เมษายน 25577, http://www. oae.go.th/download/ document_plan/planAgi11_Sep55.pdf.
  • 14. 176 2 คัดลอกจาก สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). หน้า (ค) – (ง). กระทรวงเกษตร และสหกรณ์. 1 เมษายน 25577, http://www. oae.go.th/download/ document_plan/ planAgi11_Sep55.pdf. 3 คัดลอกจาก สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). หน้า 35 - 40. กระทรวงเกษตร และสหกรณ์. 1 เมษายน 25577, http://www. oae.go.th/download/ document_plan/ planAgi11_Sep55.pdf 4 คัดลอกจาก สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). หน้า (จ). กระทรวงเกษตร และสหกรณ์. 1 เมษายน 25577, http://www. oae.go.th/download/ document_plan/ planAgi11_Sep55.pdf
  • 15. 177 เอกสารอ้างอิง สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 1 เมษายน 2557, http://www. oae.go.th/download/ document_plan/ planAgi11_ Sep55.pdf. กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการเกษตร 2556 – 2559. กระทรวง เกษตรและสหกรณ์. 1 เมษายน 2557, http://www.plan.doae.go.th/newsplan/ plan2556-2559 .pdf.