SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
105
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 10
หัวข้อเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคประชาชน
รายละเอียด กรณีตัวอย่าง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคประชาชน
และชุมชน การสังเคราะห์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากกรณีตัวอย่าง
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยายเนื้อหาวิชา
2. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. ทําแบบทดสอบความรู้หลังทําความเข้าใจบทเรียน
สื่อการสอน
1. การบรรยาย
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนําเสนอแนวความคิด
3. การใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point whiteboard Media Website
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. วิธีการประเมินความรู้
2.1 การทําแบบทดสอบย่อย และการทําแบบฝึกหัดเมื่อมีการบรรยายเสร็จสิ้น
2.2 ประเมินผลการมีส่วนร่วม เช่น การแสดงความคิดเห็น การนําเสนเสนอ การ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. สัดส่วนการประเมิน (5 คะแนน)
3.1 การประเมินความเข้าใจ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ (ร้อยละ 60)
3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอ (ร้อยละ 40)
106
เนื้อหาที่สอน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนใน
ภาคประชาชน
พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นแนวทางกว้าง ๆ เพื่อ
ความสามารถประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนั้น
การนําแนวคิดดังกล่าวมาทําการสร้างความเข้าใจตามแนวทางปฏิบัติจึงเป็นการเรียนรู้ผ่าน
ประสบการณ์จากผู้ที่นําแนวคิดไปประยุกต์ใช้อย่างได้ผล
10.1 กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาคประชาชนและ
ชุมชน
กรณีศึกษา เป็นตัวอย่างซึ่งจะนําไปสู่การสังเคราะห์แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดย
กรณีศึกษาตัวอย่างเป็นการนําเสนอบทความของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 1
เพื่อทําให้
เกิดความเข้าใจต่อแนวความคิดดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
“...แต่พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคําว่า พอก็เพียงพอ
เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมี
ความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ
มีความคิดว่าทําอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง
ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราได้
แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง
ทําอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...”
พระราชดํารัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
107
ตารางที่ 10.1 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาคประชาชนและชุมชน
ความพอเพียงในนิยามของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มิได้หมายความเพียงแค่บุคคล
พึ่งตนเองได้ (Self-Sufficiency) แต่เศรษฐกิจพอเพียง หรือ Sufficiency Economy มีความหมาย
กว้างมากกว่า เพราะเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่แนวทางสําหรับปรับใช้ได้เฉพาะบุคคล หรือเศรษฐกิจ
พอเพียงไม่ใช่การหยุดอยู่กับที่ แต่เศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้ทั้งกับกลุ่มบุคคล ชุมชน มีความเป็นพลวัต
สามารถพัฒนาได้ตามเหตุผลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสรุปคือ เศรษฐกิจ
พอเพียงมี ๓ ระดับ คือ
1. ความพอเพียงระดับบุคคล ความพอเพียงแบบพื้นฐาน
2. ความพอเพียงระดับ ความพอเพียงแบบก้าวหน้า
ชุมชน / องค์กร
3.ความพอเพียงระดับ ความพอเพียงแบบก้าวไกล
สร้างเครือข่าย
ระดับที่หนึ่ง เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานที่เน้นความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบ
ครัวคือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีพอกิน มีอาหาร สามารถสนองความต้องการพื้นฐานหรือปัจจัยสี่
ของครอบครัวได้ มีความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตที่ดีก่อน ใช้สติปัญญาในการดํารงชีวิตไม่ประมาท รู้จัก
การแบ่งปัน พึ่งตนเองและช่วยเหลือกันในครอบครัวได้เริ่มต้นจากการเสริมสร้างคนให้มีการเรียนรู้
วิชาการและทักษะต่างๆ ที่จําเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ พร้อมทั้ง
เสริมสร้างคุณธรรมจนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่
ร่วมกับระบบนิเวศอย่างสมดุลเพื่อจะได้ละเว้นการประพฤติมิชอบ ไม่ตระหนี่ เป็นผู้ให้เกื้อกูลแบ่งปัน
มีสติยั้งคิดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจหรือกระทําการใดๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่
ดีในการดํารงชีวิต โดยสามารถคิดและกระทําบนพื้นฐานของความมีเหตุผล พอเหมาะพอประมาณกับ
สถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคลในแต่ละสถานการณ์ แล้วเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้จน
สามารถทําตนให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด
108
ตารางที่ 10.1 (ต่อ)
ระดับที่สอง เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าคือ ยกระดับความพอเพียงเป็นระดับกลุ่ม
มีการรวมตัวทั้งความคิด ความร่วมมือ ความช่วยเหลือส่วนรวม รักษาผลประโยชน์ภายในชุมชน มี
การเรียนรู้แลกเปลี่ยนการจัดการและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ของคนในชุมชน มุ่งเน้นความสามัคคีและ
สร้างความเข้มแข็งในชุมชน
ระดับที่สาม เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวไกลระดับสร้างเครือข่าย เน้นความร่วมมือ
ระหว่างชุมชนกลุ่มองค์กรเอกชน หรือธุรกิจภายนอก โดยประสานงานให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันทุก
ฝ่าย
การปฏิบัติตนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นและความฟุ่มเฟือย การดํารงชีพอย่าง
จริงจัง
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการ
ดํารงชีพก็ตาม
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ในทางค้าขายการประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่าง
รุนแรง
4. ไม่หยุดนิ่งที่ใฝ่หาความรู้อย่างสมํ่าเสมอ ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็น
เป้าหมายสําคัญ
5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วให้หมดทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงเพราะยังมี
บุคคลจํานวนมิใช่น้อยที่ดําเนินการโดยปราศจากความละอาย
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ปรัชญาฯ นายประยงค์ รณรงค์ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
นายประยงค์ รณรงค์ผู้นําชุมชนไม้เรียง อ.ฉวางจ.นครศรีธรรมราช เป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วย
ความคิด ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และคุณธรรม เป็นผู้นําให้ชาวบ้านในชุมชนไม้เรียงลุก
ขึ้นมาต่อสู้เพื่อแก้ไขปัญหาของตนเองและของชุมชน โดยเริ่มจากแนวคิดหลักคือ “การพึ่งพา
ตนเอง” มีผลงานโดดเด่นจนเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับภูมิภาค และได้รับรางวัล
มูลนิธิรามอนแมกไซไซ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗
ความรู้
เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ และสนใจศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา จึงทําให้รู้เห็นทันต่อความเคลื่อนไหว
ความเปลี่ยนแปลง และเกิดความคิดริเริ่มพัฒนาตนเองเป็นปัญญาชนท้องถิ่นที่มีส่วนสําคัญในการ
ร่วมกันแก้ไขปัญหากับชาวบ้าน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องยางพารา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนภาคใต้มี
109
ตารางที่ 10.1 (ต่อ)
การจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมทุกด้าน สําหรับจัดทําแผนแม่บทชุมชน จึงพบว่า เกษตรกรในชนบท
เป็นผู้ครอบครองทรัพยากรที่เป็นทุนของชุมชน ซึ่งรวมถึงทุนที่ไม่ใช่เงิน แต่มีคุณค่า เช่น ทุนที่เป็น
ทรัพยากร ผลผลิตทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางภูมิปัญญา และทุนทางสังคมซึ่งจะเป็นจุดแข็งของ
ชุมชน แต่ชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการจัดการทุน ทําให้คนภายนอกชุมชนเข้ามาจัดการทุน
ของชุมชน ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จึงตกอยู่กับคนภายนอกชุมชน
คุณธรรม
เป็นผู้ยึดถือคุณธรรม ทั้งความเมตตา กรุณา มุทิตาอุเบกขา มาเป็นเครื่องมือของการดําเนิน
ชีวิต เมื่อประสบความสําเร็จก็ได้นําประสบการณ์ไปขยายผลให้ผู้อื่นที่สนใจไปแก้ปัญหาของเขาได้
กลายเป็นตัวอย่างต่อเนื่องไปกว้างขวางมากขึ้นมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง มีความสุข ความสงบ
ตามอัตภาพ ทั้งตัวเองและครอบครัว มีเวลาและความอิสระในการคิด ทํา และร่วมมือกับผู้อื่น โดย
ให้ความเท่าเทียม ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น ทําสิ่งที่เกิดประโยชน์กับผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
และเมื่อได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าสิ่งที่ทําเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์แล้ว ก็จะทําจนสําเร็จไม่มีการ
ท้อถอย
ความพอประมาณ
เริ่มการพัฒนาด้วยการนําชาวบ้านให้รวมกลุ่มกันพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตนเอง
และชุมชน โดยใช้แนวคิด “ การพึ่งพาตนเอง ” พึ่งพาความสามารถของตนเองให้อยู่รอดได้ เริ่มจาก
การเรียนรู้ทําความรู้จักตนเอง และรู้จักชุมชนของตนเอง วิเคราะห์ตนเองว่าเป็นใคร มีบทบาท
หน้าที่และมีอาชีพอะไร ทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่คืออะไรสิ่งแวดล้อมและบริบททางสังคมเป็นอย่างไร
มีจุดแข็งหรือจุดอ่อนอย่างไรสนับสนุนให้ชาวบ้านจัดทําบัญชีครัวเรือน สํารวจรายรับรายจ่ายและ
รายการบริโภคของครอบครัวชาวบ้าน และให้มีการจดบันทึกบัญชีไว้โดยละเอียด แล้วจึงวิเคราะห์
แยกประเภทการใช้จ่าย ทําให้ชาวบ้านได้รู้จักตนเองเกี่ยวกับการบริโภคหรือการใช้จ่าย และสามารถ
พิจารณาตัดการใช้จ่ายสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้ เมื่อควบคุมการใช้จ่ายได้ก็จะมีเงินเหลือมากขึ้น และ
พบว่าชุมชนต้องจ่ายเงินซื้อหาสินค้าจากที่อื่น ทําให้เกิดแนวคิดการประกอบอาชีพ เกิดรายได้
หมุนเวียนในชุมชน และเกิดระบบเศรษฐกิจชุมชนแบบย่อยๆ
ความมีเหตุผล
สรุปประสบการณ์ ทบทวนปัญหาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อวิเคราะห์อนาคต ทําให้พบว่า
ปัญหาของเกษตรกรในชุมชนอยู่ที่อํานาจการจัดการด้านต่างๆ อาทิ การกําหนดคุณภาพ การ
กําหนดน้ําหนัก และการกําหนดราคา ตกอยู่ในมือของพ่อค้าหรือผู้ซื้อเป็นผู้กําหนด ชุมชนไม้เรียง
ร่วมกันวางแผนสร้างแนวทางแก้ปัญหาให้กับตนเองตั้งแต่ระบบการผลิตการแปรรูป จัดการด้าน
110
ตารางที่ 10.1 (ต่อ)
การตลาดโดยการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรทําสวนไม้เรียง สร้างโรงงานแปรรูปน้ํายางสดเป็นยางแผ่น
อบแห้ง และยางแผ่นรมควันตามความต้องการของตลาดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยมีเป้าหมายเพื่อ
จัดการทรัพยากรของชุมชนให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ลดขั้นตอนที่เป็นภาระและค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่
เป็นสมาชิกมีบทบาทในการจัดระบบภายในชุมชน และการสร้างธุรกิจร่วมกันของเครือข่าย ยมนา
(ยาง ไม้ผล นาข้าว) ใช้ระบบการพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชนและทั้งในอาชีพ
เดียวกัน และต่างอาชีพ จากเดิมที่เป็นการแลกเปลี่ยนข้าวของซึ่งกันและกัน ได้พัฒนาความร่วมมือ
กันเป็นธุรกิจชุมชนในรูปของการจัดตั้งบริษัทและจากการเป็นผู้นําชุมชนที่มีประสบการณ์ต่อเนื่อง
และเป็นรูปธรรมชัดเจน ทําให้เกิดความร่วมมือเชื่อถือได้จากหลายฝ่ายในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
ต่างๆ
ภูมิคุ้มกัน
ร่วมกับชาวบ้านในชุมชนจัดทําแผนแม่บทชุมชน ทําให้คนในชุมชนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งในเรื่องตัวเอง
และผลกระทบจากภายนอก ได้ข้อสรุปและนําข้อสรุปมากําหนดเป็นแผนปฏิบัติเพื่อนําไปสู่
เป้าหมายร่วมกัน ได้แนวทางในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และ
ได้แนวทางพัฒนาให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นใหม่ร่วมจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นเครื่องมือของชุมชนที่จะใช้
จัดการทุนของชุมชนโดยชุมชนเอง เพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพยากร แก้ปัญหาของชุมชน และเพื่อการพึ่งพา
อาศัยกันสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกร กับองค์กรของชุมชนอย่างสร้างสรรค์และอย่างเป็นธรรม
โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนให้ผู้ที่สนใจต้องการทําในระบบวิสาหกิจชุมชน เรียนรู้การจัด
องค์กร สร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนการคิดต้นทุน การวิเคราะห์สถานการณ์ การวิเคราะห์ตลาด
การใช้ข้อมูลการใช้ประสบการณ์เสริมด้วยวิชาการการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อลดความ
เสี่ยงและสร้างความมั่นคงของกิจกรรม
ความอยู่รอดของชุมชนนายจันทร์ที ประทุมภา ต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา นาย
จันทร์ที ประทุมภา เป็นเกษตรกรที่ได้ดําเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการ
ดําเนินทางสายกลางในการดํารงชีวิต และทําการเกษตรตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่นั้นโดยมีการแบ่ง
พื้นที่การใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่
ความรู้
เป็นผู้เรียนรู้ พัฒนาตน จนสามารถแก้วิกฤตตนได้และถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้ สร้างตัวแบบ
ทฤษฏีใหม่ในเครือข่ายทําให้ได้รับการยอมรับเป็นปราชญ์ชาวบ้านอีสาน เป็นประธานศูนย์อบรม
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นวิทยากรร่วมกับวิทยากรเครือข่าย อบรมหลักสูตร “ วปอ.ภาค
111
ตารางที่ 10.1 (ต่อ)
ประชาชน ”
คุณธรรม
นําหลักธรรมมาใช้กับตนเองและครอบครัว ด้วยการยึดคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีสติปัญญา
และอดทน สมาชิกในครอบครัวไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขทั้งปวง ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่นมี
ความสุขสร้างสังคมพอเพียงด้วยการ “ เก็บแต่พอดี เหลือไปช่วยผู้อื่น ” เป็นประธานศูนย์เรียนรู้
เศรษฐกิจพอเพียง จ.นครราชสีมา และกลุ่มเครือข่ายทฤษฎีใหม่ มีเงินสวัสดิการให้สมาชิกยามเจ็บไข้
ป่วย ตาย ให้สมาชิกยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยรับ ฝากเงินโยเก็บเงินสมาชิกแรกเข้า๑๐๐ บาท เป็น
เวลา ๕ ปีเป็นที่ปรึกษา ธ.ก.ส. ระดับประเทศ และร่วมเป็นสมาชิกที่ปรึกษากลุ่มต่างๆ ในชุมชน
ความพอประมาณเรียนรู้ด้วยตนเองจากวิกฤตชีวิตที่ประสบภาวะหนี้สินต้องนําทรัพย์สิน
ของตนเองออกขาย นําที่ดินไปจํานองและไปทํางานรับจ้างที่มาเลเซีย แต่ได้ใช้ความวิริยะทํางาน
หนัก อดออม ภายในเวลา ๑ ปี จึงมีเงินเก็บออมมาใช้หนี้และไถ่ที่นาคืนได้ดํารงตนอย่างสมถะ มี
ที่ดินสําหรับทําเกษตรเลี้ยงชีพไม่มีภาระหนี้สิน โดยอาศัยแรงงานในครอบครัวผลิตอาหารไว้ทานเอง
ในครอบครัว ให้ “ พอมีกินเหลือกินแจก ”
■ มีความพออยู่พอกิน
ก้าวหน้า
■ มีการเอื้ออาทรต่อกัน
■ มีอาชีพมั่นคง ยั่งยืน
■ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
■ มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์
■ ไม่มีมลภาวะที่ก่อให้เกิดอันตราย
■ ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
■ ไม่มีความเสี่ยงในวิถีชีวิต
■ ไม่มีความขัดแย้งรุนแรง
■ ไม่ถูกกดขี่บังคับให้ต้องฝืนทํา
อยู่เย็นเป็นสุข
ชุมชนแข้มแข็ง
องค์ประกอบ บทบาท
■ มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
■ มีแผนแม่บทของชุมชน
■ มีองค์กรการจัดการ
■ มีกิจกรรมเป็นเครื่องมือ
■ มีผู้นําชุมชนหลายระดับ
■ กําหนดเป้าหมายของชุมชน
■ กําหนดแนวทางการพัฒนา
■ กําหนดเศรษฐกิจแบบพอเพียง
■ กําหนดวิธีการจัดการ (กิจกรรม)
■ กําหนดความร่วมมือ
(ประสานงาน)
112
ตารางที่ 10.1 (ต่อ)
เริ่มต้นวิถีเกษตรแบบผสมผสานตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ จากการเรียนรู้จากแปลงเกษตร
พ่อผายสร้อยสะกลางเริ่มจากการใช้ทุนที่มีอยู่กับตัวคือ“สองมือ”และขุดสระน้ํา
ทําให้เริ่มกักเก็บน้ําได้ความมีเหตุผลใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างหลากหลายใช้องค์ความรู้
ปลูกพืชผลหลายชนิดร่วมกัน เรียบง่ายไม่ติดตําราผสมผสานทุกส่วนให้เกิดความพึ่งพิงอิงกัน ทั้งไม้ยืนต้นไม้
ผลไม้ใช้สอย พืชผักพืชสมุนไพรมีการวางแผนการปลูกพืช “ให้มีกินตลอดปี ”โดยการสํารวจความต้องการ
ซื้อผักของกลุ่มแม่บ้าน รวมทั้งปลูกผัก “ทุกอย่างที่เขาซื้อกิน ” จากแหล่งตลาดในชุมชนมีรายได้รายวันจาก
พืชผัก รายเดือนจากปลา สัตว์เลี้ยงและรายปีจากไม้ยืนต้น ตลอดจนแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิตเช่น กล้วย น้ํา
เสาวรส น้ํามะพร้าว และขยายพันธุ์พืชเองการมีภูมิคุ้มกันที่ดีปิดรูรั่วด้วยการ “ ทําแทนจ่าย” สร้างความ
มั่นคงด้านอาหารห้วยการ “ สะสมบํานาญชีวิตที่มีทั้งพืชผักสมุนไพร ไม้ผล ไม้ยืนต้น ” และมีกลุ่มเครือข่าย
แลกเปลี่ยนแบ่งปันอาหารและรวมกันขายในตลาดชุมชนไม่มีภาระหนี้สินมีเงินออมปลูกพืชสมุนไพรนํามาใช้
รักษาโรคในครอบครัวและเผยแพร่ต่อผู้อื่นในชุมชนสร้างองค์ความรู้ของท้องถิ่นผลิต“ตําราปลูกผักหวาน
บ้าน”
ผลิตปุ๋ยและสารกําจัดศัตรูพืชใช้เอง
นางคอสหม๊ะ แลแมแนชาวบ้านยะออ ต.จะแนะอ.จะแนะ จ.นราธิวาสนางคอสหม๊ะ
แลแมแน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจบัณฑิตการจัดการบัญชี สามีเป็นรอง
นายกองค์การบริหารส่วนตําบลจะแนะ ครอบครัวมีความอบอุ่น มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีมั่นคงมีใจ
รักยึดอาชีพเกษตรกรรม ทําสวนยางพาราและสวนลองกอง แม้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยสูง เป็นผู้นําชุมชน
เป็นอาสาสมัครของหมู่บ้าน และคณะกรรมการต่าง ๆ ของหมู่บ้าน จึงเป็นที่รักและไว้วางใจของ
ชาวบ้าน
ความรู้
เป็นผู้ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ โดยการเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ ที่ส่วนราชการจัด
ขึ้น เช่น หลักสูตรการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการทุจริตหลักสูตรการจัดทําแผนธุรกิจ
ชุมชน โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการจังหวัดชายแดนภาคใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ
ผู้ประกอบการOTOP เป็นการพัฒนาตนเองและนําความรู้ในหลักสูตรต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการ
ขยายผลให้กับเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้มีคุณภาพดี
113
ตารางที่ 10.1 (ต่อ)
คุณธรรม
เป็นคนมีเมตตาและคุณธรรม เช่น เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ดูแล
คนป่วยและผู้สูงอายุ โดยหมั่นไปเยี่ยมเยียนพูดคุยให้กําลังใจ และใช้เงินส่วนตัวช่วยเหลือในรายที่
ประสบความลําบากยากแค้น ให้การแบ่งปันและขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ และผู้สนใจทั่วไปโดยรับเป็น
สถานที่ดูงานและเป็นวิทยากรบรรยาย และถ่ายทอดความรู้ในการทําอาชีพเสริมโดยไม่ได้รับ
ผลตอบแทนใด ๆ ยึดหลักความพอดี กล่าวคือ พออยู่ พอกิน พอใช้ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มี
การวางแผนการประกอบอาชีพ และการใช้จ่ายอย่างรอบคอบพัฒนาตนเองจนเป็นคนที่มีบุคลิกดี
แต่งกายสวยงามเป็นการอนุรักษ์การแต่งกายตามประเพณีของชาวมุสลิมความพอประมาณมีการทํา
บัญชีครัวเรือน ซึ่งช่วยให้ทราบรายรับรายจ่ายของตนเองและครอบครัวสามารถนําไปตัดสินใจการใช้
จ่ายในครอบครัวได้เป็นอย่างดี ไม่ใช้จ่ายเกินตัวใช้อย่างพอประมาณ และได้ถ่ายทอดความรู้ด้าน
บัญชีให้กลุ่มสมาชิกปักจักรผ้าคลุมผม และกลุ่มแม่บ้านทําขนมในการทําบัญชีรายรับรายจ่ายของ
กลุ่ม ให้มีความโปร่งใสยุติธรรมโดยใช้ความรู้ที่เรียนมาปรับใช้ให้เข้าการดําเนินชีวิตความมีเหตุผลใช้
ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในด้านความเป็นอยู่ในชีวิตประจําวันและการประกอบ
ธุรกิจโดยในด้านการลงทุนจะมีการศึกษาความต้องการตลาดแล้วนํามาวิเคราะห์และวางแผนการ
ผลิตให้เหมาะสมกับตลาดและลูกค้าแต่ละประเภทมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง โดยนําภูมิปัญญา
ชาวบ้านมาพัฒนาลายผ้าโพกศีรษะแบบดั้งเดิมมาเพิ่มลายดอกไม้และวิธีการปักเลื่อมลายต่างๆ ให้
ตรงกับความต้องการของตลาด และเป็นสินค้า OTOP ระดับ ๔ ดาว พร้อมขยายเผยแพร่ให้กลุ่ม
แม่บ้านได้รวมตัวกันทําเพื่อเป็นอาชีพเสริม และค่อย ๆ พัฒนาลายผ้าแบบดั้งเดิมมาเพิ่มเติมลาย
ดอกไม้และวิธีการปักเลื่อมลายใหม่ๆให้หลากหลาย ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในและ
ต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาทําขนมพื้นบ้าน ได้แก่ ขนมใบเหลียง ขนมเจาะหู กะหรี่ปั๊บ และโดนัท
ให้เป็นรายได้เสริมของชุมชนอีกทางหนึ่งเป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และพัฒนางานอย่าง
ต่อเนื่อง โดยใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นสร้างผลงานให้เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นอยู่เสมอ เช่น
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมของกลุ่มแม่บ้านได้สวยงามน่าซื้อมีเอกลักษณ์ของตนเอง แทนการใช้
ผลิตภัณฑ์ของทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า เช่น เอาเศษผ้าที่เหลือจากการทําผ้าคลุมผมมาทํา
ผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดเท้าภูมิคุ้มกันใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย โดยครัวเรือนมีการออมและทําบัญชี
รายรับรายจ่ายของครัวเรือน พร้อมถ่ายทอดและส่งเสริมให้เพื่อนบ้านรู้จักการทําบัญชีครัวเรือน
114
ตารางที่ 10.1 (ต่อ)
เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนางานอย่างต่อเนื่องในการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น
ให้เกิดประโยชน์ โดยเข้าไปเรียนรู้จากผู้สูงอายุในการปักจักรผ้าโพกศีรษะและฝึกหัดทําจนทําได้ดี
พร้อมขยายเผยแพร่ให้กลุ่มแม่บ้านได้รวมตัวกันทํา เพื่อเป็นอาชีพเสริม และค่อยๆ พัฒนาลายผ้า
คลุมผมแบบดั้งเดิมมาเพิ่มลายดอกไม้และวิธีการปักเลื่อมลายต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของ
ตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาทําขนมพื้นบ้านให้เป็นรายได้เสริมของชุมชนอีกทางหนึ่ง
ด้วย
มีการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดและรอบคอบที่สามารถช่วยลดภาวะโลก
ร้อน ได้แก่ การผลิตแก๊สชีวภาพใช้เอง การปลูกป่าชุมชน การจัดการขยะโดยการแยกขยะการ
รณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก และการออกกําลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
10.2 สรุป
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาคประชาชนและชุมชนให้เกิดความมั่นคง ภายใต้แนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเปิดกว้างเพื่อให้มีการประยุกต์แนวคิดอื่น ๆ มาผสมผสาน เพื่อให้เกิดความหลาก
หลายและเพื่อการแก้ไขปัญหาหรือจุดอ่อนที่เกิดขึ้น
หลักการกว้างๆ ซึ่งได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การมีภูมิคุ้มกัน และลักษณะ
เงื่อนไขสองประการที่จําเป็นต้องมี คือ ความรู้และคุณธรรม เป็นผลรวมที่มาจากการพิจารณาถึง
ธรรมชาติในการดํารงชีวิตภายใต้วิถีทางวัฒนธรรมหรือวิถีทางความคิดและวิถีชีวิต
การผสมผสานแนวความคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืนซึ่งเป็นแนวความคิดในการพัฒนา
ชุมชนจากภายนอก สอดคล้องต่อวิถีแนวคิดการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การสังเคราะห์แนวคิดจากประสบการณ์ที่ประสบผลจากภาคประชาชน นําไปสู่แนวคิดอัน
เป็นตัวแบบหรือวิธีการ (Approach) เพื่อนําไปประยุกต์ให้สอดคล้องต่อสภาพแวดล้อมของแต่ละ
ชุมชน
ความมั่นคงทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคมนําไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทําให้
เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในระดับต่าง ๆ ทั้งนี้ การที่ชุมชนแต่ละชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้
อย่างมั่นคงและยั่งยืน
115
แบบฝึกหัด
1. นักศึกษานําตัวแบบของชุมชนที่ประสบผลสําเร็จจากการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมา
สังเคราะห์ให้เกิดวิธีการและตัวแบบที่สามารถนําไปประยุกต์ได้อย่างมีประสิทธิผล
2. ให้นักศึกษาค้นหาข้อมูลของชุมชนที่ยังเกิดปัญหาความยากจนและปัญหาสังคมอื่นๆ
รวมทั้งข้อมูลด้านทรัพยากรซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนแล้วนํามาอภิปรายและการวิเคราะห์จุดแข็ง
จุดอ่อนเพื่อนําไปสู่การวางแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
3. นักศึกษาอธิบายคําว่า ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข
4. นักศึกษาอธิบายคําว่า ชุมชนเข้มแข็ง
5. นักศึกษามีความเข้าใจใน บทบาทของชุมชนเข้มแข็ง มากน้อยเพียงใด อธิบายแล้ว
แบ่งกลุ่มอภิปรายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6. องค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง
7. ให้นักศึกษาค้นหาองค์ประกอบและบทบาทอื่น ๆ ขององค์กรเข้มแข็ง โดยค้นคว้าจากงาน
ศึกษาวิจัย
8. นักศึกษาเข้าใจอย่างไร ต่อความยืดหยุ่นของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนํามาใช้
ผสมผสานไปกับแนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักได้เป็นอย่างดี
9. แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องต่อการ
เปลี่ยนแปลงของข้อตกลงระหว่างภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างไร จงอธิบาย
10. ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมและการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน แนวคิดเศรษฐกิจพอพียงสามารถอุด
ช่องว่างเหล่านี้ได้หรือไม่ หากสามารถทําได้ ทําได้มากน้อยเพียงใดและอย่างไร จงอธิบาย
เชิงอรรถ
1
คัดลอกจาก การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาคประชาชนและชุมชน.มูลนิธิ
สถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สํานักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
116
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2555). การประยุกต์ใช้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาคประชาชนและชุมชน. สํานักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 1 เมษายน 2556, http: //www.rsepf.or.th.

More Related Content

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่10

บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11kanwan0429
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11kanwan0429
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...Sawittri Phaisal
 
ระดับครูมือใหม่1
ระดับครูมือใหม่1ระดับครูมือใหม่1
ระดับครูมือใหม่1Kiw E D
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11wanneemayss
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826gam030
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11benty2443
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11nattawad147
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่10 (20)

ครูสังคม
ครูสังคมครูสังคม
ครูสังคม
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
 
ทำดีถวายพ่อ
ทำดีถวายพ่อทำดีถวายพ่อ
ทำดีถวายพ่อ
 
ระดับครูมือใหม่1
ระดับครูมือใหม่1ระดับครูมือใหม่1
ระดับครูมือใหม่1
 
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สารบัญ
Microsoft word   สารบัญMicrosoft word   สารบัญ
Microsoft word สารบัญ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 
Microsoft word สัปดาห์ที่1
Microsoft word   สัปดาห์ที่1Microsoft word   สัปดาห์ที่1
Microsoft word สัปดาห์ที่1
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
 
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word   ปกเอกสารประกอบการสอนMicrosoft word   ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
 
Microsoft word บรรณานุกรม
Microsoft word   บรรณานุกรมMicrosoft word   บรรณานุกรม
Microsoft word บรรณานุกรม
 

Microsoft word สัปดาห์ที่10

  • 1. 105 แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 10 หัวข้อเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคประชาชน รายละเอียด กรณีตัวอย่าง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคประชาชน และชุมชน การสังเคราะห์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากกรณีตัวอย่าง จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยายเนื้อหาวิชา 2. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. ทําแบบทดสอบความรู้หลังทําความเข้าใจบทเรียน สื่อการสอน 1. การบรรยาย 2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนําเสนอแนวความคิด 3. การใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point whiteboard Media Website แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา 1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. วิธีการประเมินความรู้ 2.1 การทําแบบทดสอบย่อย และการทําแบบฝึกหัดเมื่อมีการบรรยายเสร็จสิ้น 2.2 ประเมินผลการมีส่วนร่วม เช่น การแสดงความคิดเห็น การนําเสนเสนอ การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. สัดส่วนการประเมิน (5 คะแนน) 3.1 การประเมินความเข้าใจ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ (ร้อยละ 60) 3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอ (ร้อยละ 40)
  • 2. 106 เนื้อหาที่สอน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนใน ภาคประชาชน พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นแนวทางกว้าง ๆ เพื่อ ความสามารถประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนั้น การนําแนวคิดดังกล่าวมาทําการสร้างความเข้าใจตามแนวทางปฏิบัติจึงเป็นการเรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์จากผู้ที่นําแนวคิดไปประยุกต์ใช้อย่างได้ผล 10.1 กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาคประชาชนและ ชุมชน กรณีศึกษา เป็นตัวอย่างซึ่งจะนําไปสู่การสังเคราะห์แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดย กรณีศึกษาตัวอย่างเป็นการนําเสนอบทความของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 1 เพื่อทําให้ เกิดความเข้าใจต่อแนวความคิดดังกล่าวมากยิ่งขึ้น “...แต่พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคําว่า พอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมี ความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทําอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทําอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...” พระราชดํารัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
  • 3. 107 ตารางที่ 10.1 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาคประชาชนและชุมชน ความพอเพียงในนิยามของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มิได้หมายความเพียงแค่บุคคล พึ่งตนเองได้ (Self-Sufficiency) แต่เศรษฐกิจพอเพียง หรือ Sufficiency Economy มีความหมาย กว้างมากกว่า เพราะเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่แนวทางสําหรับปรับใช้ได้เฉพาะบุคคล หรือเศรษฐกิจ พอเพียงไม่ใช่การหยุดอยู่กับที่ แต่เศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้ทั้งกับกลุ่มบุคคล ชุมชน มีความเป็นพลวัต สามารถพัฒนาได้ตามเหตุผลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสรุปคือ เศรษฐกิจ พอเพียงมี ๓ ระดับ คือ 1. ความพอเพียงระดับบุคคล ความพอเพียงแบบพื้นฐาน 2. ความพอเพียงระดับ ความพอเพียงแบบก้าวหน้า ชุมชน / องค์กร 3.ความพอเพียงระดับ ความพอเพียงแบบก้าวไกล สร้างเครือข่าย ระดับที่หนึ่ง เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานที่เน้นความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบ ครัวคือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีพอกิน มีอาหาร สามารถสนองความต้องการพื้นฐานหรือปัจจัยสี่ ของครอบครัวได้ มีความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตที่ดีก่อน ใช้สติปัญญาในการดํารงชีวิตไม่ประมาท รู้จัก การแบ่งปัน พึ่งตนเองและช่วยเหลือกันในครอบครัวได้เริ่มต้นจากการเสริมสร้างคนให้มีการเรียนรู้ วิชาการและทักษะต่างๆ ที่จําเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ พร้อมทั้ง เสริมสร้างคุณธรรมจนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่ ร่วมกับระบบนิเวศอย่างสมดุลเพื่อจะได้ละเว้นการประพฤติมิชอบ ไม่ตระหนี่ เป็นผู้ให้เกื้อกูลแบ่งปัน มีสติยั้งคิดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจหรือกระทําการใดๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ ดีในการดํารงชีวิต โดยสามารถคิดและกระทําบนพื้นฐานของความมีเหตุผล พอเหมาะพอประมาณกับ สถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคลในแต่ละสถานการณ์ แล้วเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้จน สามารถทําตนให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด
  • 4. 108 ตารางที่ 10.1 (ต่อ) ระดับที่สอง เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าคือ ยกระดับความพอเพียงเป็นระดับกลุ่ม มีการรวมตัวทั้งความคิด ความร่วมมือ ความช่วยเหลือส่วนรวม รักษาผลประโยชน์ภายในชุมชน มี การเรียนรู้แลกเปลี่ยนการจัดการและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ของคนในชุมชน มุ่งเน้นความสามัคคีและ สร้างความเข้มแข็งในชุมชน ระดับที่สาม เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวไกลระดับสร้างเครือข่าย เน้นความร่วมมือ ระหว่างชุมชนกลุ่มองค์กรเอกชน หรือธุรกิจภายนอก โดยประสานงานให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันทุก ฝ่าย การปฏิบัติตนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นและความฟุ่มเฟือย การดํารงชีพอย่าง จริงจัง 2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการ ดํารงชีพก็ตาม 3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ในทางค้าขายการประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่าง รุนแรง 4. ไม่หยุดนิ่งที่ใฝ่หาความรู้อย่างสมํ่าเสมอ ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็น เป้าหมายสําคัญ 5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วให้หมดทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงเพราะยังมี บุคคลจํานวนมิใช่น้อยที่ดําเนินการโดยปราศจากความละอาย ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ปรัชญาฯ นายประยงค์ รณรงค์ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช นายประยงค์ รณรงค์ผู้นําชุมชนไม้เรียง อ.ฉวางจ.นครศรีธรรมราช เป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วย ความคิด ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และคุณธรรม เป็นผู้นําให้ชาวบ้านในชุมชนไม้เรียงลุก ขึ้นมาต่อสู้เพื่อแก้ไขปัญหาของตนเองและของชุมชน โดยเริ่มจากแนวคิดหลักคือ “การพึ่งพา ตนเอง” มีผลงานโดดเด่นจนเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับภูมิภาค และได้รับรางวัล มูลนิธิรามอนแมกไซไซ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ความรู้ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ และสนใจศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา จึงทําให้รู้เห็นทันต่อความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลง และเกิดความคิดริเริ่มพัฒนาตนเองเป็นปัญญาชนท้องถิ่นที่มีส่วนสําคัญในการ ร่วมกันแก้ไขปัญหากับชาวบ้าน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องยางพารา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนภาคใต้มี
  • 5. 109 ตารางที่ 10.1 (ต่อ) การจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมทุกด้าน สําหรับจัดทําแผนแม่บทชุมชน จึงพบว่า เกษตรกรในชนบท เป็นผู้ครอบครองทรัพยากรที่เป็นทุนของชุมชน ซึ่งรวมถึงทุนที่ไม่ใช่เงิน แต่มีคุณค่า เช่น ทุนที่เป็น ทรัพยากร ผลผลิตทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางภูมิปัญญา และทุนทางสังคมซึ่งจะเป็นจุดแข็งของ ชุมชน แต่ชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการจัดการทุน ทําให้คนภายนอกชุมชนเข้ามาจัดการทุน ของชุมชน ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จึงตกอยู่กับคนภายนอกชุมชน คุณธรรม เป็นผู้ยึดถือคุณธรรม ทั้งความเมตตา กรุณา มุทิตาอุเบกขา มาเป็นเครื่องมือของการดําเนิน ชีวิต เมื่อประสบความสําเร็จก็ได้นําประสบการณ์ไปขยายผลให้ผู้อื่นที่สนใจไปแก้ปัญหาของเขาได้ กลายเป็นตัวอย่างต่อเนื่องไปกว้างขวางมากขึ้นมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง มีความสุข ความสงบ ตามอัตภาพ ทั้งตัวเองและครอบครัว มีเวลาและความอิสระในการคิด ทํา และร่วมมือกับผู้อื่น โดย ให้ความเท่าเทียม ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น ทําสิ่งที่เกิดประโยชน์กับผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และเมื่อได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าสิ่งที่ทําเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์แล้ว ก็จะทําจนสําเร็จไม่มีการ ท้อถอย ความพอประมาณ เริ่มการพัฒนาด้วยการนําชาวบ้านให้รวมกลุ่มกันพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตนเอง และชุมชน โดยใช้แนวคิด “ การพึ่งพาตนเอง ” พึ่งพาความสามารถของตนเองให้อยู่รอดได้ เริ่มจาก การเรียนรู้ทําความรู้จักตนเอง และรู้จักชุมชนของตนเอง วิเคราะห์ตนเองว่าเป็นใคร มีบทบาท หน้าที่และมีอาชีพอะไร ทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่คืออะไรสิ่งแวดล้อมและบริบททางสังคมเป็นอย่างไร มีจุดแข็งหรือจุดอ่อนอย่างไรสนับสนุนให้ชาวบ้านจัดทําบัญชีครัวเรือน สํารวจรายรับรายจ่ายและ รายการบริโภคของครอบครัวชาวบ้าน และให้มีการจดบันทึกบัญชีไว้โดยละเอียด แล้วจึงวิเคราะห์ แยกประเภทการใช้จ่าย ทําให้ชาวบ้านได้รู้จักตนเองเกี่ยวกับการบริโภคหรือการใช้จ่าย และสามารถ พิจารณาตัดการใช้จ่ายสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้ เมื่อควบคุมการใช้จ่ายได้ก็จะมีเงินเหลือมากขึ้น และ พบว่าชุมชนต้องจ่ายเงินซื้อหาสินค้าจากที่อื่น ทําให้เกิดแนวคิดการประกอบอาชีพ เกิดรายได้ หมุนเวียนในชุมชน และเกิดระบบเศรษฐกิจชุมชนแบบย่อยๆ ความมีเหตุผล สรุปประสบการณ์ ทบทวนปัญหาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อวิเคราะห์อนาคต ทําให้พบว่า ปัญหาของเกษตรกรในชุมชนอยู่ที่อํานาจการจัดการด้านต่างๆ อาทิ การกําหนดคุณภาพ การ กําหนดน้ําหนัก และการกําหนดราคา ตกอยู่ในมือของพ่อค้าหรือผู้ซื้อเป็นผู้กําหนด ชุมชนไม้เรียง ร่วมกันวางแผนสร้างแนวทางแก้ปัญหาให้กับตนเองตั้งแต่ระบบการผลิตการแปรรูป จัดการด้าน
  • 6. 110 ตารางที่ 10.1 (ต่อ) การตลาดโดยการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรทําสวนไม้เรียง สร้างโรงงานแปรรูปน้ํายางสดเป็นยางแผ่น อบแห้ง และยางแผ่นรมควันตามความต้องการของตลาดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยมีเป้าหมายเพื่อ จัดการทรัพยากรของชุมชนให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ลดขั้นตอนที่เป็นภาระและค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่ เป็นสมาชิกมีบทบาทในการจัดระบบภายในชุมชน และการสร้างธุรกิจร่วมกันของเครือข่าย ยมนา (ยาง ไม้ผล นาข้าว) ใช้ระบบการพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชนและทั้งในอาชีพ เดียวกัน และต่างอาชีพ จากเดิมที่เป็นการแลกเปลี่ยนข้าวของซึ่งกันและกัน ได้พัฒนาความร่วมมือ กันเป็นธุรกิจชุมชนในรูปของการจัดตั้งบริษัทและจากการเป็นผู้นําชุมชนที่มีประสบการณ์ต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมชัดเจน ทําให้เกิดความร่วมมือเชื่อถือได้จากหลายฝ่ายในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ต่างๆ ภูมิคุ้มกัน ร่วมกับชาวบ้านในชุมชนจัดทําแผนแม่บทชุมชน ทําให้คนในชุมชนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งในเรื่องตัวเอง และผลกระทบจากภายนอก ได้ข้อสรุปและนําข้อสรุปมากําหนดเป็นแผนปฏิบัติเพื่อนําไปสู่ เป้าหมายร่วมกัน ได้แนวทางในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และ ได้แนวทางพัฒนาให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นใหม่ร่วมจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นเครื่องมือของชุมชนที่จะใช้ จัดการทุนของชุมชนโดยชุมชนเอง เพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพยากร แก้ปัญหาของชุมชน และเพื่อการพึ่งพา อาศัยกันสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกร กับองค์กรของชุมชนอย่างสร้างสรรค์และอย่างเป็นธรรม โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนให้ผู้ที่สนใจต้องการทําในระบบวิสาหกิจชุมชน เรียนรู้การจัด องค์กร สร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนการคิดต้นทุน การวิเคราะห์สถานการณ์ การวิเคราะห์ตลาด การใช้ข้อมูลการใช้ประสบการณ์เสริมด้วยวิชาการการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อลดความ เสี่ยงและสร้างความมั่นคงของกิจกรรม ความอยู่รอดของชุมชนนายจันทร์ที ประทุมภา ต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา นาย จันทร์ที ประทุมภา เป็นเกษตรกรที่ได้ดําเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการ ดําเนินทางสายกลางในการดํารงชีวิต และทําการเกษตรตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่นั้นโดยมีการแบ่ง พื้นที่การใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ ความรู้ เป็นผู้เรียนรู้ พัฒนาตน จนสามารถแก้วิกฤตตนได้และถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้ สร้างตัวแบบ ทฤษฏีใหม่ในเครือข่ายทําให้ได้รับการยอมรับเป็นปราชญ์ชาวบ้านอีสาน เป็นประธานศูนย์อบรม แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นวิทยากรร่วมกับวิทยากรเครือข่าย อบรมหลักสูตร “ วปอ.ภาค
  • 7. 111 ตารางที่ 10.1 (ต่อ) ประชาชน ” คุณธรรม นําหลักธรรมมาใช้กับตนเองและครอบครัว ด้วยการยึดคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีสติปัญญา และอดทน สมาชิกในครอบครัวไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขทั้งปวง ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่นมี ความสุขสร้างสังคมพอเพียงด้วยการ “ เก็บแต่พอดี เหลือไปช่วยผู้อื่น ” เป็นประธานศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง จ.นครราชสีมา และกลุ่มเครือข่ายทฤษฎีใหม่ มีเงินสวัสดิการให้สมาชิกยามเจ็บไข้ ป่วย ตาย ให้สมาชิกยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยรับ ฝากเงินโยเก็บเงินสมาชิกแรกเข้า๑๐๐ บาท เป็น เวลา ๕ ปีเป็นที่ปรึกษา ธ.ก.ส. ระดับประเทศ และร่วมเป็นสมาชิกที่ปรึกษากลุ่มต่างๆ ในชุมชน ความพอประมาณเรียนรู้ด้วยตนเองจากวิกฤตชีวิตที่ประสบภาวะหนี้สินต้องนําทรัพย์สิน ของตนเองออกขาย นําที่ดินไปจํานองและไปทํางานรับจ้างที่มาเลเซีย แต่ได้ใช้ความวิริยะทํางาน หนัก อดออม ภายในเวลา ๑ ปี จึงมีเงินเก็บออมมาใช้หนี้และไถ่ที่นาคืนได้ดํารงตนอย่างสมถะ มี ที่ดินสําหรับทําเกษตรเลี้ยงชีพไม่มีภาระหนี้สิน โดยอาศัยแรงงานในครอบครัวผลิตอาหารไว้ทานเอง ในครอบครัว ให้ “ พอมีกินเหลือกินแจก ” ■ มีความพออยู่พอกิน ก้าวหน้า ■ มีการเอื้ออาทรต่อกัน ■ มีอาชีพมั่นคง ยั่งยืน ■ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ■ มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ ■ ไม่มีมลภาวะที่ก่อให้เกิดอันตราย ■ ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ■ ไม่มีความเสี่ยงในวิถีชีวิต ■ ไม่มีความขัดแย้งรุนแรง ■ ไม่ถูกกดขี่บังคับให้ต้องฝืนทํา อยู่เย็นเป็นสุข ชุมชนแข้มแข็ง องค์ประกอบ บทบาท ■ มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ■ มีแผนแม่บทของชุมชน ■ มีองค์กรการจัดการ ■ มีกิจกรรมเป็นเครื่องมือ ■ มีผู้นําชุมชนหลายระดับ ■ กําหนดเป้าหมายของชุมชน ■ กําหนดแนวทางการพัฒนา ■ กําหนดเศรษฐกิจแบบพอเพียง ■ กําหนดวิธีการจัดการ (กิจกรรม) ■ กําหนดความร่วมมือ (ประสานงาน)
  • 8. 112 ตารางที่ 10.1 (ต่อ) เริ่มต้นวิถีเกษตรแบบผสมผสานตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ จากการเรียนรู้จากแปลงเกษตร พ่อผายสร้อยสะกลางเริ่มจากการใช้ทุนที่มีอยู่กับตัวคือ“สองมือ”และขุดสระน้ํา ทําให้เริ่มกักเก็บน้ําได้ความมีเหตุผลใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างหลากหลายใช้องค์ความรู้ ปลูกพืชผลหลายชนิดร่วมกัน เรียบง่ายไม่ติดตําราผสมผสานทุกส่วนให้เกิดความพึ่งพิงอิงกัน ทั้งไม้ยืนต้นไม้ ผลไม้ใช้สอย พืชผักพืชสมุนไพรมีการวางแผนการปลูกพืช “ให้มีกินตลอดปี ”โดยการสํารวจความต้องการ ซื้อผักของกลุ่มแม่บ้าน รวมทั้งปลูกผัก “ทุกอย่างที่เขาซื้อกิน ” จากแหล่งตลาดในชุมชนมีรายได้รายวันจาก พืชผัก รายเดือนจากปลา สัตว์เลี้ยงและรายปีจากไม้ยืนต้น ตลอดจนแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิตเช่น กล้วย น้ํา เสาวรส น้ํามะพร้าว และขยายพันธุ์พืชเองการมีภูมิคุ้มกันที่ดีปิดรูรั่วด้วยการ “ ทําแทนจ่าย” สร้างความ มั่นคงด้านอาหารห้วยการ “ สะสมบํานาญชีวิตที่มีทั้งพืชผักสมุนไพร ไม้ผล ไม้ยืนต้น ” และมีกลุ่มเครือข่าย แลกเปลี่ยนแบ่งปันอาหารและรวมกันขายในตลาดชุมชนไม่มีภาระหนี้สินมีเงินออมปลูกพืชสมุนไพรนํามาใช้ รักษาโรคในครอบครัวและเผยแพร่ต่อผู้อื่นในชุมชนสร้างองค์ความรู้ของท้องถิ่นผลิต“ตําราปลูกผักหวาน บ้าน” ผลิตปุ๋ยและสารกําจัดศัตรูพืชใช้เอง นางคอสหม๊ะ แลแมแนชาวบ้านยะออ ต.จะแนะอ.จะแนะ จ.นราธิวาสนางคอสหม๊ะ แลแมแน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจบัณฑิตการจัดการบัญชี สามีเป็นรอง นายกองค์การบริหารส่วนตําบลจะแนะ ครอบครัวมีความอบอุ่น มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีมั่นคงมีใจ รักยึดอาชีพเกษตรกรรม ทําสวนยางพาราและสวนลองกอง แม้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยสูง เป็นผู้นําชุมชน เป็นอาสาสมัครของหมู่บ้าน และคณะกรรมการต่าง ๆ ของหมู่บ้าน จึงเป็นที่รักและไว้วางใจของ ชาวบ้าน ความรู้ เป็นผู้ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ โดยการเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ ที่ส่วนราชการจัด ขึ้น เช่น หลักสูตรการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการทุจริตหลักสูตรการจัดทําแผนธุรกิจ ชุมชน โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการจังหวัดชายแดนภาคใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการOTOP เป็นการพัฒนาตนเองและนําความรู้ในหลักสูตรต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการ ขยายผลให้กับเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้มีคุณภาพดี
  • 9. 113 ตารางที่ 10.1 (ต่อ) คุณธรรม เป็นคนมีเมตตาและคุณธรรม เช่น เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ดูแล คนป่วยและผู้สูงอายุ โดยหมั่นไปเยี่ยมเยียนพูดคุยให้กําลังใจ และใช้เงินส่วนตัวช่วยเหลือในรายที่ ประสบความลําบากยากแค้น ให้การแบ่งปันและขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ และผู้สนใจทั่วไปโดยรับเป็น สถานที่ดูงานและเป็นวิทยากรบรรยาย และถ่ายทอดความรู้ในการทําอาชีพเสริมโดยไม่ได้รับ ผลตอบแทนใด ๆ ยึดหลักความพอดี กล่าวคือ พออยู่ พอกิน พอใช้ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มี การวางแผนการประกอบอาชีพ และการใช้จ่ายอย่างรอบคอบพัฒนาตนเองจนเป็นคนที่มีบุคลิกดี แต่งกายสวยงามเป็นการอนุรักษ์การแต่งกายตามประเพณีของชาวมุสลิมความพอประมาณมีการทํา บัญชีครัวเรือน ซึ่งช่วยให้ทราบรายรับรายจ่ายของตนเองและครอบครัวสามารถนําไปตัดสินใจการใช้ จ่ายในครอบครัวได้เป็นอย่างดี ไม่ใช้จ่ายเกินตัวใช้อย่างพอประมาณ และได้ถ่ายทอดความรู้ด้าน บัญชีให้กลุ่มสมาชิกปักจักรผ้าคลุมผม และกลุ่มแม่บ้านทําขนมในการทําบัญชีรายรับรายจ่ายของ กลุ่ม ให้มีความโปร่งใสยุติธรรมโดยใช้ความรู้ที่เรียนมาปรับใช้ให้เข้าการดําเนินชีวิตความมีเหตุผลใช้ ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในด้านความเป็นอยู่ในชีวิตประจําวันและการประกอบ ธุรกิจโดยในด้านการลงทุนจะมีการศึกษาความต้องการตลาดแล้วนํามาวิเคราะห์และวางแผนการ ผลิตให้เหมาะสมกับตลาดและลูกค้าแต่ละประเภทมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง โดยนําภูมิปัญญา ชาวบ้านมาพัฒนาลายผ้าโพกศีรษะแบบดั้งเดิมมาเพิ่มลายดอกไม้และวิธีการปักเลื่อมลายต่างๆ ให้ ตรงกับความต้องการของตลาด และเป็นสินค้า OTOP ระดับ ๔ ดาว พร้อมขยายเผยแพร่ให้กลุ่ม แม่บ้านได้รวมตัวกันทําเพื่อเป็นอาชีพเสริม และค่อย ๆ พัฒนาลายผ้าแบบดั้งเดิมมาเพิ่มเติมลาย ดอกไม้และวิธีการปักเลื่อมลายใหม่ๆให้หลากหลาย ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในและ ต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาทําขนมพื้นบ้าน ได้แก่ ขนมใบเหลียง ขนมเจาะหู กะหรี่ปั๊บ และโดนัท ให้เป็นรายได้เสริมของชุมชนอีกทางหนึ่งเป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และพัฒนางานอย่าง ต่อเนื่อง โดยใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นสร้างผลงานให้เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นอยู่เสมอ เช่น ออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมของกลุ่มแม่บ้านได้สวยงามน่าซื้อมีเอกลักษณ์ของตนเอง แทนการใช้ ผลิตภัณฑ์ของทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า เช่น เอาเศษผ้าที่เหลือจากการทําผ้าคลุมผมมาทํา ผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดเท้าภูมิคุ้มกันใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย โดยครัวเรือนมีการออมและทําบัญชี รายรับรายจ่ายของครัวเรือน พร้อมถ่ายทอดและส่งเสริมให้เพื่อนบ้านรู้จักการทําบัญชีครัวเรือน
  • 10. 114 ตารางที่ 10.1 (ต่อ) เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนางานอย่างต่อเนื่องในการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น ให้เกิดประโยชน์ โดยเข้าไปเรียนรู้จากผู้สูงอายุในการปักจักรผ้าโพกศีรษะและฝึกหัดทําจนทําได้ดี พร้อมขยายเผยแพร่ให้กลุ่มแม่บ้านได้รวมตัวกันทํา เพื่อเป็นอาชีพเสริม และค่อยๆ พัฒนาลายผ้า คลุมผมแบบดั้งเดิมมาเพิ่มลายดอกไม้และวิธีการปักเลื่อมลายต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของ ตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาทําขนมพื้นบ้านให้เป็นรายได้เสริมของชุมชนอีกทางหนึ่ง ด้วย มีการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดและรอบคอบที่สามารถช่วยลดภาวะโลก ร้อน ได้แก่ การผลิตแก๊สชีวภาพใช้เอง การปลูกป่าชุมชน การจัดการขยะโดยการแยกขยะการ รณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก และการออกกําลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย 10.2 สรุป การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาคประชาชนและชุมชนให้เกิดความมั่นคง ภายใต้แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเปิดกว้างเพื่อให้มีการประยุกต์แนวคิดอื่น ๆ มาผสมผสาน เพื่อให้เกิดความหลาก หลายและเพื่อการแก้ไขปัญหาหรือจุดอ่อนที่เกิดขึ้น หลักการกว้างๆ ซึ่งได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การมีภูมิคุ้มกัน และลักษณะ เงื่อนไขสองประการที่จําเป็นต้องมี คือ ความรู้และคุณธรรม เป็นผลรวมที่มาจากการพิจารณาถึง ธรรมชาติในการดํารงชีวิตภายใต้วิถีทางวัฒนธรรมหรือวิถีทางความคิดและวิถีชีวิต การผสมผสานแนวความคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืนซึ่งเป็นแนวความคิดในการพัฒนา ชุมชนจากภายนอก สอดคล้องต่อวิถีแนวคิดการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสังเคราะห์แนวคิดจากประสบการณ์ที่ประสบผลจากภาคประชาชน นําไปสู่แนวคิดอัน เป็นตัวแบบหรือวิธีการ (Approach) เพื่อนําไปประยุกต์ให้สอดคล้องต่อสภาพแวดล้อมของแต่ละ ชุมชน ความมั่นคงทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคมนําไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทําให้ เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในระดับต่าง ๆ ทั้งนี้ การที่ชุมชนแต่ละชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน
  • 11. 115 แบบฝึกหัด 1. นักศึกษานําตัวแบบของชุมชนที่ประสบผลสําเร็จจากการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมา สังเคราะห์ให้เกิดวิธีการและตัวแบบที่สามารถนําไปประยุกต์ได้อย่างมีประสิทธิผล 2. ให้นักศึกษาค้นหาข้อมูลของชุมชนที่ยังเกิดปัญหาความยากจนและปัญหาสังคมอื่นๆ รวมทั้งข้อมูลด้านทรัพยากรซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนแล้วนํามาอภิปรายและการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนเพื่อนําไปสู่การวางแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 3. นักศึกษาอธิบายคําว่า ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข 4. นักศึกษาอธิบายคําว่า ชุมชนเข้มแข็ง 5. นักศึกษามีความเข้าใจใน บทบาทของชุมชนเข้มแข็ง มากน้อยเพียงใด อธิบายแล้ว แบ่งกลุ่มอภิปรายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6. องค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง 7. ให้นักศึกษาค้นหาองค์ประกอบและบทบาทอื่น ๆ ขององค์กรเข้มแข็ง โดยค้นคว้าจากงาน ศึกษาวิจัย 8. นักศึกษาเข้าใจอย่างไร ต่อความยืดหยุ่นของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนํามาใช้ ผสมผสานไปกับแนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลักได้เป็นอย่างดี 9. แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องต่อการ เปลี่ยนแปลงของข้อตกลงระหว่างภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างไร จงอธิบาย 10. ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมและการ เปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน แนวคิดเศรษฐกิจพอพียงสามารถอุด ช่องว่างเหล่านี้ได้หรือไม่ หากสามารถทําได้ ทําได้มากน้อยเพียงใดและอย่างไร จงอธิบาย เชิงอรรถ 1 คัดลอกจาก การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของภาคประชาชนและชุมชน.มูลนิธิ สถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สํานักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ