SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 12
หัวข้อเรื่อง การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติภายใต้กรอบ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียด การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หลักการ กรอบของแผนและ
แนวทางในการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปสู่การปฏิบัติภายใต้กรอบปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องมาศึกษา
2. การนําเสนอกรณีศึกษาจากงานวิจัย การศึกษาแผนพัฒนาฯ
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการสัมมนา
4. การสรุปรวบยอดร่วมกัน การจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนและท้องถิ่นจาก
เหตุการณ์จําลองในลักษณะ Workshop
สื่อการสอน
1. เอกสารงานวิจัย
2. Media Power Point White broad
3. กิจกรรมจําลองเพื่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น
1.2 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสัมมนา การทํากิจกรรม Workshop
1.3 ความเข้าใจในภาพรวมของเนื้อหาวิชาและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
128
2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop)
2.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด
3. สัดส่วนของการประเมิน (10 คะแนน)
3.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop ร้อยละ50)
3.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด (ร้อยละ 50)
เนื้อหาที่สอน การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติภายใต้
กรอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
12.1 การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ
การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติภายใต้การนําปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ 1
เช่น กรอบการดําเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่นําเสนอต่อ
นายกรัฐมาตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งได้กําหนดนโยบายที่ 1
2
ให้หน่วยงานภาครัฐนําไปปฏิบัติ
ได้แก่ การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและเร่งขยายผล
ตามโครงการพระราชดําริ โดยให้ทุกหน่วยงานเผยแพร่ข้อมูลโครงการพระราชดําริ จัดทํารายการคืน
ความสุขให้คนในชาติน้อมนํา “ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อน ทั้งในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาคน
พัฒนาด้านเศรษฐกิจ การนํานโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติ ด้วยการจัดทําโครงการต่าง ๆ ได้แก่
1. โครงการส่งเสริมการนํามาตรฐานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมสู่
ภาคปฏิบัติ (มกอ. 9999) เพื่อน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวมาใช้ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมไทย ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมสํานักงาน
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมได้ประกาศกําหนดมาตรฐาน มอก.9999 ขึ้นจากพื้นฐานแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแนวทางให้ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งองค์กรในห่วงโซ่
อุปทานมีความเข้าใจและนําไปประยุกต์ให้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยการส่งเสริมให้นํามาตรฐาน
เศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมไปใช้ปฏิบัติในภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและมี
ประสิทธิภาพรวมทั้งบูรณาการการทํางานกับเครือข่ายให้เกิดประสิทธิผล โดยมีแผนการดําเนินการ
ดังนี้
129
1) กําหนดจัดสัมมนาฝึกอบรมให้ความรู้มาตรฐาน มอก.9999 และการฝึกอบรม
วิทยากร พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาองค์กรเข้าสู่มาตรฐาน
เศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมและการเข้าสู่ภาคปฏิบัติ
2) การประกาศรับรองตนเองตามมาตรฐาน มอก.9999 บนพื้นฐานของแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียง
2. โครงการยกระดับการบริหารจัดการพลังงานในโรงงานให้เกิดความยั่งยืนตามแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังจิตสํานึกจากปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงของบุคลากรที่ทํางานและพร้อมจะเข้าทํางานในภาคอุตสาหกรรมโดยการนํา มอก. 9999 ไป
สอดแทรกเข้ากับมาตรฐานต่าง ๆ ทั้งด้านการบริหารจัดการ การอนุรักษ์พลังงาน และความปลอดภัย
ในอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้อย่างยั่งยืน โดยไม่
จําเป็นต้องใช้งบประมาณสูง อีกทั้งยังส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน พร้อมก้าวเข้าสู่
ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นคงต่อไป
งานศึกษาในระดับการศึกษาอิสระเรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบงานวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม (วทน.) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศของสํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ จิตรลดา พิศาลสุพงศ์ (2557)
3
เน้นกล
ยุทธ์ 4 ประการได้แก่ การศึกษาวิจัย การบริหารจัดการ ระบบสนับสนุนและสิ่งจูงใจ ระบบการมีส่วน
ร่วม สําหรับกลยุทธ์การผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อน ซึ่งจิตรลดา ได้เสนอแนะกลยุทธ์ความร่วมมือ
ระหว่างหน่วยงานและภาคีดังกล่าว เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการต่างๆ
งานศึกษาของ ประสงค์ ประยงค์เพชร (2557)
4
เรื่อง การส่งเสริมมาตรฐาน มอก.9999
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคปฏิบัติเพื่อจัดทําแผนปฏิบัติการของสํานัก
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นงานศึกษาที่
สนองตอบต่อนโยบายภาครัฐข้างต้น โดยได้นําเสนอถึงกรอบแนวคิดของมาตรฐาน มอก. 9999
กรอบแนวคิดมาตรฐาน มกอ. 9999 ประกอบด้วย
1. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะทําให้เกิดความเข้าใจ เข้าถึงและร่วมพัฒนาอย่าง
สอดคล้องต่อภูมิสังคม รวมทั้ง ทําให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และดํารงตนอยู่ได้อย่างระมัดระวัง
รอบคอบทําตามลําดับขั้นตอน
2. หลักการบริหารงาน ซึ่งประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของบุคลากร เคารพต่อผลประโยชน์
ของผู้อื่น มีการบริหารแบบองค์รวมและเชิงระบบ
3. หลักการพิจารณาสภาพแวดล้อมด้านธุรกิจ เช่น สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สภาพแวด
ล้อม การเมืองและกฎระเบียบ
130
4. ระบบการบริหารงาน ประกอบด้วยการวางแผน การนําแผนไปปฏิบัติ (บุคลากร
เศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม) การติดตามเฝ้าระวัง การวัดผลและการทบทวนปรับปรุง
5. ภาวะผู้นําของผู้บริหารสูงสุด
6. บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั่วทั้งองค์กร
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการยังขาดความตระหนัก โดยเฉพาะยังขาดการ
ติดตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม นอกจากนั้น ยังขาดการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ
การความเชื่อมโยง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และที่สําคัญ ยังมีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็น
แนวคิดที่ใช้เฉพาะในภาคเกษตรกรรมเท่านั้น ดังนั้น ข้อเสนอของงานศึกษานี้คือ การสร้างความ
ร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดกลไกการนํานโยบายและการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่าง
ได้ผล
12.2. หลักการและกรอบการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ไปสู่การปฏิบัติ
5
การนําแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปดําเนินการ ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการ
พัฒนาต่าง ๆ การใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือดําเนินงาน และกระจายการพัฒนาโดย
ให้จังหวัดเป็นกลไกเคลื่อนแผนในระดับพื้นที่ โดยมีแผนที่นําทางการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11
ไปสู่การปฏิบัติตลอดระยะ 5 ปีของแผนฯ ที่ได้จัดทําขึ้น เป็นกรอบดําเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ดังนี้
1) ดําเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจกับทุกภาคี กิจกรรมประกอบด้วย การจัดทําคู่มือการ
แปลงแผนฯ ในปี 2555 การจัดประชุมชี้แจงหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ ในปี 2555 -2556
และการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจผ่านสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
2) จัดประชุมหารือกับหน่วยงานกลาง เช่น สํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลางและสํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อกําหนดแนวทางการปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณ
ให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ทั้งงบประมาณ
ตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกระทรวงและการจัดสรรงบประมาณลงสู่ระดับพื้นที่ให้หน่วยงาน
ต่างๆ ดําเนินงานได้ในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง
แนวทางการบูรณาการ การติดตามประเมินผลกับระบบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการที่
หน่วยงานต้องรายงานต่อสํานักงาน ก.พ.ร.
3) จัดประชุมหารือกําหนดแนวทางประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคีที่
เกี่ยวข้อง ในประเด็นการพัฒนาสําคัญ เช่น การพัฒนาสู่สังคมสีเขียว การเตรียมพร้อมสู่ประชาคม
อาเซียนและการจัดการภัยพิบัติ
131
4) สร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการติดตามประเมินผล ได้แก่ การจัดประชุมหารือภาคีการ
พัฒนาทั้งส่วนกลางและพื้นที่ในการกาหนดกรอบการติดตามประเมินผลภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่
11 ในปี 2555 – 2556 ภาคีการพัฒนาดําเนินการติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงานภายใต้กรอบ
การติดตามประเมินผลและจัดทํารายงานผลการดําเนินการเป็นประจําทุกปี และติดตามประเมินผล
การนําแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติในช่วงกลางและปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 พร้อม
ทั้งพิจารณาแนวทางปรับปรุงการติดตามประเมินผลในทุกระดับ
5) บริหารจัดการข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีกิจกรรมประกอบด้วย การสร้างความ
ร่วมมือกับสํานักงานสถิติแห่งชาติในการพัฒนาฐานข้อมูลภาพรวม/จังหวัด ในปี 2555 – 2556
ตรวจสอบข้อมูลสําหรับการประเมินผลในระดับพื้นที่ในปี 2555 และจัดอบรมบุคลากรในระดับพื้นที่
ในการรวบรวมและใช้ประโยชน์ข้อมูลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11
6) ปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ได้แก่ ทบทวนกฎ ระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงาน
ตามประเด็นการพัฒนาต่างๆ และจัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อปรับแก้กฎ ระเบียบให้
เอื้อต่อการดําเนินการตลอดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11
12.3 แนวทางการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติ6
การแปลงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติ เป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ
ประสานร่วมมือ กับภาคีการพัฒนาต่าง ๆ ให้สามารถนาแนวคิด เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ และ
แนวทางการพัฒนาของแผนฯ 11 ไปปฏิบัติให้เกิดผลโดยมีแนวทางการดําเนินการดังนี้
1) ภาคีการพัฒนาทําความเข้าใจสาระสําคัญการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่ปฏิบัติ
การเชื่อมโยงระหว่างจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้น แนวทางการพัฒนา และประเด็นการพัฒนา
สําคัญที่ต้องดําเนินการ
2) จุดมุ่งหมายในระยะแผน ฯ 11 เนื่องจากแผนฯ 11 เป็นกรอบทิศทางที่กว้าง จึงต้อง
สังเคราะห์เป้าประสงค์ของแผนฯ 11 ที่ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลัก ได้เป็น
3 ลักษณะสังคมที่คนไทยจะดํารงอยู่อย่างเป็นสุขและยั่งยืน เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีจุดมุ่งหมายชัดเจนที่
จะร่วมกันสร้าง 3 สังคม ได้แก่
1.1) สังคมมั่นคง มุ่งให้โครงสร้างเศรษฐกิจเข้มแข็งเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ การเตรียม
ความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และประชาชนมีความมั่นคงใน
ชีวิตได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
1.2) สังคมสีเขียว ที่มีโครงสร้างการผลิตแบบคาร์บอนต่ํา มีการใช้ทรัพยากรอย่างมี
ประสิทธิภาพ และสิ่งแวดล้อมได้รับการฟื้นฟู อนุรักษ์และจัดการอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการสร้างความ
เป็นธรรมและการเกื้อกูลกันในสังคมไทย
132
1.3) สังคมวัฒนธรรม มุ่งให้คนไทยมีวัฒนธรรมการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข วัฒนธรรมสร้างสรรค์ ยอมรับความแตกต่างของวัฒนธรรมที่
หลากหลายและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข
3) การเชื่อมโยงจุดมุ่งหมายที่จะสร้าง 3 สังคมกับแนวทางการพัฒนา ซึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่
11 ได้กําหนดไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
3.1) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
3.2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
3.3) ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
3.4) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
3.5) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทาง
เศรษฐกิจและสังคม
3.6) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
4) การนําแนวทางการพัฒนาไปปฏิบัติ การสร้าง 3 สังคม ต้องอาศัยแนวทางในหลาย
ยุทธศาสตร์และหลายภาคีการพัฒนาร่วมกันดําเนินการ โดยกําหนดเป็นประเด็นการพัฒนาสําคัญที่
ต้องดําเนินการ 9 ประเด็น ได้แก่
4.1) การพัฒนาคนเพื่อเสริมสร้างทุนทางปัญญาอย่างยั่งยืน
4.2) การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทย
4.3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนภาคประชาสังคม และธุรกิจเอกชน
4.4) การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
4.5) การส่งเสริมความร่วมมืออย่างเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาทั้งในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค
4.6) การเตรียมความพร้อมของไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4.7) การบริหารจัดการน้ําและที่ดินเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร
4.8) การยกระดับขีดความสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ และ
4.9) การบริหารจัดการประเทศเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งหน่วยงานและภาคีที่เป็น
เจ้าภาพหลักต้องดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันภายใต้แนวทางการผลักดันประเด็นการพัฒนา
สําคัญไปปฏิบัติ หรือสัญญาประชาคมที่ภาคีการพัฒนาร่วมกันจัดทําขึ้น
133
ตารางที่ 12.1 ตัวอย่างบางประเด็นในการแปลงแผนพัฒนาฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติ
7
การขับเคลื่อนการพัฒนาของภาคเอกชนช่วง
แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 10 ต่อเนื่องฉบับที่ 11
ความสอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาสําคัญ/
แผนพัฒนาฯฉบับที่ 11
การพัฒนาเศรษฐกิจ ครอบคลุมการพัฒนาธุรกิจ
SMEs จนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ ที่หอการค้าไทย
และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจะใช้เป็น
แผนที่นาทางการพัฒนาธุรกิจกับทุกรัฐบาลที่เข้า
มาบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อสร้างความ
ต่อเนื่องในการพัฒนาเศรษฐกิจและธุรกิจของ
ประเทศ โดยดําเนินการนําร่อง 7 กลุ่มธุรกิจ
ประกอบด้วย ธุรกิจเกษตรและอาหาร ธุรกิจ
บริการเพื่อสุขภาพ ธุรกิจ ท่องเที่ยว ธุรกิจ
ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจอัญมณีและ
เครื่องประดับ ธุรกิจสิ่งทอ และธุรกิจการค้า
ชายแดน ระดับรายพื้นที่ ประกอบด้วยหอการค้า
จังหวัด 75 จังหวัด (18 กลุ่มจังหวัด)
ประเด็นการพัฒนาสําคัญ การสร้างความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทย
เชื่อมโยงหลายยุทธศาสตร์ อาทิ ยุทธศาสตร์ที่1
การสร้างความเป็นธรรมฯ ปรับโครงสร้าง
เศรษฐกิจให้มีฐานการพัฒนาที่ครอบคลุมทั่วถึง
และยั่งยืน พร้อมทั้งเศรษฐกิจฐานรากให้มีความ
หลากหลายและแข็งแกร่งมากขึ้น ยุทธศาสตร์ที่๒
การพัฒนาคนฯ พัฒนากําลังแรงงานให้มีความรู้
และสมรรถนะที่สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิต
และบริการบนฐานความรู้และเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์
ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2555
ตัวอย่างการแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติในประเด็นการพัฒนาสู่สังคมสีเขียว
8
การพัฒนาสู่สังคมสีเขียว การสร้างสังคมสีเขียว สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติเป็นเจ้าภาพหลักจัดทําแผนระดับรองโดยกระบวนการมีส่วนร่วม มีแนวทางดําเนิน
การ 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1) ศึกษากรอบแนวคิด ทิศทางการพัฒนา และตัวอย่างการพัฒนาสู่สังคมสีเขียวทั้งมิติ
เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปบทเรียน จัดทําข้อเสนอการขับเคลื่อน
สู่สังคม สีเขียวในประเด็นสําคัญ อาทิ การพัฒนาภาคการผลิตที่ลดการปล่อยคาร์บอนทั้งเกษตรยั่งยืน
อุตสาหกรรมสะอาด และการท่องเที่ยวสีเขียว นวัตกรรมสีเขียว ระบบขนส่งและพลังงานเพื่อ
เศรษฐกิจสีเขียว การสร้างความเป็นธรรมในสังคม และการรับมือกับภัยพิบัติ เสนอให้ภาคีการพัฒนา
ร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางการการขับเคลื่อนสู่สังคมสีเขียวในทุกมิติ สรุปข้อคิดเห็น
และจัดทาร่างข้อเสนอการพัฒนาสู่สังคมสีเขียว เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการ
134
2) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดําเนินการ ดังนี้
2.1) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการพัฒนาสังคมสีเขียว ทําหน้าที่กํากับการจัดทําแนว
ทางการผลักดันการพัฒนาสู่สังคมสีเขียว การนําไปปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล พร้อมทั้ง
แต่งตั้งคณะทํางานเพื่อจัดทาแนวทางดังกล่าว
2.2) คณะทํางานจัดทําแนวทางการผลักดันการพัฒนาตามประเด็นการพัฒนาสําคัญ
ดําเนินการโดย
1) ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงผลกระทบ และผลการดําเนินงานที่
ผ่านมาของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งข้อจากัดต่าง ๆ อาทิ กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติต่างๆ ที่เป็น
อุปสรรคต่อการพัฒนาจากเอกสารรายงานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2) ดําเนินการจัดทําแนวทางการผลักดันการพัฒนาสู่สังคมสีเขียว โดย
2.1) กําหนดประเด็นหลัก ให้ครอบคลุมประเด็นทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.2) กําหนดประเด็นการพัฒนาร่วม วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการพัฒนาใน
แต่ละมิติและประเด็นร่วม ดังแผนภาพที่ 1
ภาพที่ 12.1 แนวทางการพัฒนาในแต่ละมิติในประเด็นสังคมสีเขียว
ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2555
2.3) วิเคราะห์และกําหนดประเด็นการดําเนินงานในรายละเอียด ในตัวอย่างนี้ขอนํา
เฉพาะมิติการปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจสีเขียว มาอธิบายการกําหนดประเด็นหลักและ
ประเด็นร่วมเพื่อให้สามารถกําหนดแนวทางการพัฒนาได้อย่างครอบคลุม
สังคม เศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม
สังคมสีเขียว
135
2.4) เชื่อมโยงประเด็นรายละเอียดที่กําหนดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเป้า
หมาย และตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ต่างๆของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11
12.4 สรุป
การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียง ทําให้เกิดการพัฒนาที่มีมิติต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการบริหารภาคสาธารณะ การ
นําปัจจัยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนแก่
เศรษฐกิจและสังคม มาจากเหตุผลของการผลักดันที่เกิดจากทั้งภายนอกและสภาพแวดล้อม
ภายในประเทศ
ทั้งนี้จะเห็นว่า แนวทางของกรอบการพัฒนาดังกล่าว เป็นประเด็นที่มุ่งเน้นภาคเกษตรกรรม
และเน้นอุตสาหกรรมในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบซึ่งเกิดจากการผลิต และการบริการ
แบบฝึกหัด
1. ให้นักศึกษาศึกษา นโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แล้วนํามา
วิเคราะห์นําเสนออภิปราย เพื่อค้นหาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ในการพัฒนาสู่สังคมสีเขียวตามกรอบการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 หากนักศึกษาเป็นภาคีร่วมแสดงความคิดเห็น นักศึกษาจะต้องพิจารณาถึงประเด็นในการ
พัฒนาใดบ้าง
3. กรอบกลยุทธ์ ด้านการศึกษาวิจัย การบริหารจัดการ ระบบสนับสนุนและสิ่งจูงใจ ระบบ
การมีส่วนร่วม มีความจําเป็นหรือไม่เพียงใดสําหรับกลยุทธ์การผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จงอธิบาย
4. ให้นักศึกษาอธิบายแนวทางการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามกรอบของ มอก.
9999
5. นักศึกษาเข้าใจในประเด็น 3 สังคมอย่างไร จงอธิบาย
6. การขับเคลื่อนการพัฒนาในภาคเอกชน ในช่วงแผนพัฒนาฉบับที่ 10 ต่อเนื่องไปยัง
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความสอดคล้องต่อประเด็นการพัฒนาใดบ้าง
7. ให้นักศึกษาอธิบายยุทธศาสตร์ 3 สังคมกับการพัฒนาในประเด็นความเป็นธรรมในสังคม
136
8. ให้นักศึกษาอธิบายยุทธศาสตร์ 3 สังคมกับการพัฒนาในประเด็นการพัฒนาคนสู่สังคม
แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
9. ให้นักศึกษาอธิบายยุทธศาสตร์ 3 สังคมกับการพัฒนาในประเด็น ยุทธศาสตร์การสร้าง
ความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
10. ให้นักศึกษาอธิบายยุทธศาสตร์ 3 สังคมกับการพัฒนาในประเด็นยุทธศาสตร์การจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
11. นักศึกษาแบ่งกลุ่ม แล้วอภิปรายและนําเสนอประเด็นตามข้อ 7 – 10 เพื่อแลกเปลี่ยน
เรียนรู้
เชิงอรรถ
1
อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.)
สรุปกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค 1 เมษายน2556htpp://www.moj.go.th/ upload/
mini110_download/uploadfil.
2
อ่านรายละเอียดใน กระทรวงอุตสาหกรรม. (2557). กรอบรายงานผลการดําเนินงานตามนโยบาย
รัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กระทรวงอุตสาหกรรม,
2557 (2014) http://www.industry.go.th/oig/index.php/2014-02-16-03-27-23/2014-11-
27-04-56-27/38--7/file
3
อ่านรายละเอียดใน จิตรลดา พิศาลสุพงศ์. (2557). แนวทางการพัฒนาระบบงานวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม(วทน.)เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศของสํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ประกาศนียบัตร), สํานักงาน
คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ.
4
อ่านรายละเอียดใน ประสงค์ ประยงค์เพชร. (2557). การส่งเสริมมาตรฐาน มอก.9999 แนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคปฏิบัติเพื่อจัดทําแผนปฏิบัติการของสํานักมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม. (ประกาศนียบัตร), สํานักงาน
คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม.
5
อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555).
คู่มือการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ.
6
อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555).
คู่มือการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ.
137
7
อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555).
คู่มือการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ.
8
อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555).
คู่มือการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ.
138
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2557). กรอบรายงานผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการ
ของนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กระทรวงอุตสาหกรรม, 2557 (2014), 1
เมษายน 2556. http://www.industry.go.th/oig/index.php/2014-02-16-03-27-
23/2014-11-27-04-56-27/38--7/file
จิตรลดา พิศาลสุพงศ์. (2557). แนวทางการพัฒนาระบบงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม
(วทน.) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศของสํานักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ประกาศนียบัตร), สํานักงานคณะกรรมการ
นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ.
ประสงค์ ประยงค์เพชร. (2557). การส่งเสริมมาตรฐาน มอก.9999 แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคปฏิบัติเพื่อจัดทําแผนปฏิบุติการของสํานักมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม.(ประกาศนีย บัตร), สํานักงาน
คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). คู่มือการแปลงแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ. สําหรับระดมความคิดร่วมกับภาคี.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.) สรุปกรอบยุทธศาสตร์
การพัฒนาภาค, 1 เมษายน2556 htpp://www.moj.go.th/ upload/mini110_down
load /uploadfil.

More Related Content

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่12

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่12 (20)

9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
หนัง3
หนัง3หนัง3
หนัง3
 
9789740330325
97897403303259789740330325
9789740330325
 
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdfแผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
 
Microsoft word สัปดาห์ที่14
Microsoft word   สัปดาห์ที่14Microsoft word   สัปดาห์ที่14
Microsoft word สัปดาห์ที่14
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
01 ตอนที่ 1 word
01 ตอนที่ 1 word01 ตอนที่ 1 word
01 ตอนที่ 1 word
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สารบัญ
Microsoft word   สารบัญMicrosoft word   สารบัญ
Microsoft word สารบัญ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Microsoft word สัปดาห์ที่10
Microsoft word   สัปดาห์ที่10Microsoft word   สัปดาห์ที่10
Microsoft word สัปดาห์ที่10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 
Microsoft word สัปดาห์ที่1
Microsoft word   สัปดาห์ที่1Microsoft word   สัปดาห์ที่1
Microsoft word สัปดาห์ที่1
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
 

Microsoft word สัปดาห์ที่12

  • 1. แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 12 หัวข้อเรื่อง การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติภายใต้กรอบ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รายละเอียด การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หลักการ กรอบของแผนและ แนวทางในการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปสู่การปฏิบัติภายใต้กรอบปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องมาศึกษา 2. การนําเสนอกรณีศึกษาจากงานวิจัย การศึกษาแผนพัฒนาฯ 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการสัมมนา 4. การสรุปรวบยอดร่วมกัน การจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนและท้องถิ่นจาก เหตุการณ์จําลองในลักษณะ Workshop สื่อการสอน 1. เอกสารงานวิจัย 2. Media Power Point White broad 3. กิจกรรมจําลองเพื่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น 1.2 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสัมมนา การทํากิจกรรม Workshop 1.3 ความเข้าใจในภาพรวมของเนื้อหาวิชาและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  • 2. 128 2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop) 2.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด 3. สัดส่วนของการประเมิน (10 คะแนน) 3.1 ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม (Workshop ร้อยละ50) 3.2 ความเข้าใจในเนื้อหา การประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด (ร้อยละ 50) เนื้อหาที่สอน การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติภายใต้ กรอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 12.1 การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติภายใต้การนําปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ 1 เช่น กรอบการดําเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่นําเสนอต่อ นายกรัฐมาตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งได้กําหนดนโยบายที่ 1 2 ให้หน่วยงานภาครัฐนําไปปฏิบัติ ได้แก่ การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและเร่งขยายผล ตามโครงการพระราชดําริ โดยให้ทุกหน่วยงานเผยแพร่ข้อมูลโครงการพระราชดําริ จัดทํารายการคืน ความสุขให้คนในชาติน้อมนํา “ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อน ทั้งในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาคน พัฒนาด้านเศรษฐกิจ การนํานโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติ ด้วยการจัดทําโครงการต่าง ๆ ได้แก่ 1. โครงการส่งเสริมการนํามาตรฐานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมสู่ ภาคปฏิบัติ (มกอ. 9999) เพื่อน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวมาใช้ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมไทย ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมสํานักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมได้ประกาศกําหนดมาตรฐาน มอก.9999 ขึ้นจากพื้นฐานแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแนวทางให้ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งองค์กรในห่วงโซ่ อุปทานมีความเข้าใจและนําไปประยุกต์ให้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยการส่งเสริมให้นํามาตรฐาน เศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมไปใช้ปฏิบัติในภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและมี ประสิทธิภาพรวมทั้งบูรณาการการทํางานกับเครือข่ายให้เกิดประสิทธิผล โดยมีแผนการดําเนินการ ดังนี้
  • 3. 129 1) กําหนดจัดสัมมนาฝึกอบรมให้ความรู้มาตรฐาน มอก.9999 และการฝึกอบรม วิทยากร พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาองค์กรเข้าสู่มาตรฐาน เศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมและการเข้าสู่ภาคปฏิบัติ 2) การประกาศรับรองตนเองตามมาตรฐาน มอก.9999 บนพื้นฐานของแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง 2. โครงการยกระดับการบริหารจัดการพลังงานในโรงงานให้เกิดความยั่งยืนตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังจิตสํานึกจากปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของบุคลากรที่ทํางานและพร้อมจะเข้าทํางานในภาคอุตสาหกรรมโดยการนํา มอก. 9999 ไป สอดแทรกเข้ากับมาตรฐานต่าง ๆ ทั้งด้านการบริหารจัดการ การอนุรักษ์พลังงาน และความปลอดภัย ในอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ จําเป็นต้องใช้งบประมาณสูง อีกทั้งยังส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน พร้อมก้าวเข้าสู่ ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นคงต่อไป งานศึกษาในระดับการศึกษาอิสระเรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม (วทน.) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศของสํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ จิตรลดา พิศาลสุพงศ์ (2557) 3 เน้นกล ยุทธ์ 4 ประการได้แก่ การศึกษาวิจัย การบริหารจัดการ ระบบสนับสนุนและสิ่งจูงใจ ระบบการมีส่วน ร่วม สําหรับกลยุทธ์การผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อน ซึ่งจิตรลดา ได้เสนอแนะกลยุทธ์ความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานและภาคีดังกล่าว เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการต่างๆ งานศึกษาของ ประสงค์ ประยงค์เพชร (2557) 4 เรื่อง การส่งเสริมมาตรฐาน มอก.9999 แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคปฏิบัติเพื่อจัดทําแผนปฏิบัติการของสํานัก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นงานศึกษาที่ สนองตอบต่อนโยบายภาครัฐข้างต้น โดยได้นําเสนอถึงกรอบแนวคิดของมาตรฐาน มอก. 9999 กรอบแนวคิดมาตรฐาน มกอ. 9999 ประกอบด้วย 1. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะทําให้เกิดความเข้าใจ เข้าถึงและร่วมพัฒนาอย่าง สอดคล้องต่อภูมิสังคม รวมทั้ง ทําให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และดํารงตนอยู่ได้อย่างระมัดระวัง รอบคอบทําตามลําดับขั้นตอน 2. หลักการบริหารงาน ซึ่งประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของบุคลากร เคารพต่อผลประโยชน์ ของผู้อื่น มีการบริหารแบบองค์รวมและเชิงระบบ 3. หลักการพิจารณาสภาพแวดล้อมด้านธุรกิจ เช่น สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สภาพแวด ล้อม การเมืองและกฎระเบียบ
  • 4. 130 4. ระบบการบริหารงาน ประกอบด้วยการวางแผน การนําแผนไปปฏิบัติ (บุคลากร เศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม) การติดตามเฝ้าระวัง การวัดผลและการทบทวนปรับปรุง 5. ภาวะผู้นําของผู้บริหารสูงสุด 6. บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั่วทั้งองค์กร อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการยังขาดความตระหนัก โดยเฉพาะยังขาดการ ติดตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม นอกจากนั้น ยังขาดการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ การความเชื่อมโยง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และที่สําคัญ ยังมีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็น แนวคิดที่ใช้เฉพาะในภาคเกษตรกรรมเท่านั้น ดังนั้น ข้อเสนอของงานศึกษานี้คือ การสร้างความ ร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดกลไกการนํานโยบายและการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่าง ได้ผล 12.2. หลักการและกรอบการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ไปสู่การปฏิบัติ 5 การนําแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปดําเนินการ ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการ พัฒนาต่าง ๆ การใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือดําเนินงาน และกระจายการพัฒนาโดย ให้จังหวัดเป็นกลไกเคลื่อนแผนในระดับพื้นที่ โดยมีแผนที่นําทางการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติตลอดระยะ 5 ปีของแผนฯ ที่ได้จัดทําขึ้น เป็นกรอบดําเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้ 1) ดําเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจกับทุกภาคี กิจกรรมประกอบด้วย การจัดทําคู่มือการ แปลงแผนฯ ในปี 2555 การจัดประชุมชี้แจงหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ ในปี 2555 -2556 และการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจผ่านสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง 2) จัดประชุมหารือกับหน่วยงานกลาง เช่น สํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลางและสํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อกําหนดแนวทางการปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณ ให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ทั้งงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีของกระทรวงและการจัดสรรงบประมาณลงสู่ระดับพื้นที่ให้หน่วยงาน ต่างๆ ดําเนินงานได้ในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง แนวทางการบูรณาการ การติดตามประเมินผลกับระบบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการที่ หน่วยงานต้องรายงานต่อสํานักงาน ก.พ.ร. 3) จัดประชุมหารือกําหนดแนวทางประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคีที่ เกี่ยวข้อง ในประเด็นการพัฒนาสําคัญ เช่น การพัฒนาสู่สังคมสีเขียว การเตรียมพร้อมสู่ประชาคม อาเซียนและการจัดการภัยพิบัติ
  • 5. 131 4) สร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการติดตามประเมินผล ได้แก่ การจัดประชุมหารือภาคีการ พัฒนาทั้งส่วนกลางและพื้นที่ในการกาหนดกรอบการติดตามประเมินผลภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ในปี 2555 – 2556 ภาคีการพัฒนาดําเนินการติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงานภายใต้กรอบ การติดตามประเมินผลและจัดทํารายงานผลการดําเนินการเป็นประจําทุกปี และติดตามประเมินผล การนําแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติในช่วงกลางและปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 พร้อม ทั้งพิจารณาแนวทางปรับปรุงการติดตามประเมินผลในทุกระดับ 5) บริหารจัดการข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีกิจกรรมประกอบด้วย การสร้างความ ร่วมมือกับสํานักงานสถิติแห่งชาติในการพัฒนาฐานข้อมูลภาพรวม/จังหวัด ในปี 2555 – 2556 ตรวจสอบข้อมูลสําหรับการประเมินผลในระดับพื้นที่ในปี 2555 และจัดอบรมบุคลากรในระดับพื้นที่ ในการรวบรวมและใช้ประโยชน์ข้อมูลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 6) ปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ได้แก่ ทบทวนกฎ ระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงาน ตามประเด็นการพัฒนาต่างๆ และจัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อปรับแก้กฎ ระเบียบให้ เอื้อต่อการดําเนินการตลอดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 12.3 แนวทางการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติ6 การแปลงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติ เป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจ ประสานร่วมมือ กับภาคีการพัฒนาต่าง ๆ ให้สามารถนาแนวคิด เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ และ แนวทางการพัฒนาของแผนฯ 11 ไปปฏิบัติให้เกิดผลโดยมีแนวทางการดําเนินการดังนี้ 1) ภาคีการพัฒนาทําความเข้าใจสาระสําคัญการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่ปฏิบัติ การเชื่อมโยงระหว่างจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้น แนวทางการพัฒนา และประเด็นการพัฒนา สําคัญที่ต้องดําเนินการ 2) จุดมุ่งหมายในระยะแผน ฯ 11 เนื่องจากแผนฯ 11 เป็นกรอบทิศทางที่กว้าง จึงต้อง สังเคราะห์เป้าประสงค์ของแผนฯ 11 ที่ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลัก ได้เป็น 3 ลักษณะสังคมที่คนไทยจะดํารงอยู่อย่างเป็นสุขและยั่งยืน เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีจุดมุ่งหมายชัดเจนที่ จะร่วมกันสร้าง 3 สังคม ได้แก่ 1.1) สังคมมั่นคง มุ่งให้โครงสร้างเศรษฐกิจเข้มแข็งเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ การเตรียม ความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และประชาชนมีความมั่นคงใน ชีวิตได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 1.2) สังคมสีเขียว ที่มีโครงสร้างการผลิตแบบคาร์บอนต่ํา มีการใช้ทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพ และสิ่งแวดล้อมได้รับการฟื้นฟู อนุรักษ์และจัดการอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการสร้างความ เป็นธรรมและการเกื้อกูลกันในสังคมไทย
  • 6. 132 1.3) สังคมวัฒนธรรม มุ่งให้คนไทยมีวัฒนธรรมการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข วัฒนธรรมสร้างสรรค์ ยอมรับความแตกต่างของวัฒนธรรมที่ หลากหลายและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข 3) การเชื่อมโยงจุดมุ่งหมายที่จะสร้าง 3 สังคมกับแนวทางการพัฒนา ซึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้กําหนดไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 3.1) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม 3.2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน 3.3) ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน 3.4) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน 3.5) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทาง เศรษฐกิจและสังคม 3.6) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 4) การนําแนวทางการพัฒนาไปปฏิบัติ การสร้าง 3 สังคม ต้องอาศัยแนวทางในหลาย ยุทธศาสตร์และหลายภาคีการพัฒนาร่วมกันดําเนินการ โดยกําหนดเป็นประเด็นการพัฒนาสําคัญที่ ต้องดําเนินการ 9 ประเด็น ได้แก่ 4.1) การพัฒนาคนเพื่อเสริมสร้างทุนทางปัญญาอย่างยั่งยืน 4.2) การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทย 4.3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนภาคประชาสังคม และธุรกิจเอกชน 4.4) การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ 4.5) การส่งเสริมความร่วมมืออย่างเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาทั้งในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค 4.6) การเตรียมความพร้อมของไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 4.7) การบริหารจัดการน้ําและที่ดินเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร 4.8) การยกระดับขีดความสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ และ 4.9) การบริหารจัดการประเทศเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งหน่วยงานและภาคีที่เป็น เจ้าภาพหลักต้องดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันภายใต้แนวทางการผลักดันประเด็นการพัฒนา สําคัญไปปฏิบัติ หรือสัญญาประชาคมที่ภาคีการพัฒนาร่วมกันจัดทําขึ้น
  • 7. 133 ตารางที่ 12.1 ตัวอย่างบางประเด็นในการแปลงแผนพัฒนาฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติ 7 การขับเคลื่อนการพัฒนาของภาคเอกชนช่วง แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 10 ต่อเนื่องฉบับที่ 11 ความสอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาสําคัญ/ แผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 การพัฒนาเศรษฐกิจ ครอบคลุมการพัฒนาธุรกิจ SMEs จนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ ที่หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจะใช้เป็น แผนที่นาทางการพัฒนาธุรกิจกับทุกรัฐบาลที่เข้า มาบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อสร้างความ ต่อเนื่องในการพัฒนาเศรษฐกิจและธุรกิจของ ประเทศ โดยดําเนินการนําร่อง 7 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย ธุรกิจเกษตรและอาหาร ธุรกิจ บริการเพื่อสุขภาพ ธุรกิจ ท่องเที่ยว ธุรกิจ ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจอัญมณีและ เครื่องประดับ ธุรกิจสิ่งทอ และธุรกิจการค้า ชายแดน ระดับรายพื้นที่ ประกอบด้วยหอการค้า จังหวัด 75 จังหวัด (18 กลุ่มจังหวัด) ประเด็นการพัฒนาสําคัญ การสร้างความมั่นคง ทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทย เชื่อมโยงหลายยุทธศาสตร์ อาทิ ยุทธศาสตร์ที่1 การสร้างความเป็นธรรมฯ ปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจให้มีฐานการพัฒนาที่ครอบคลุมทั่วถึง และยั่งยืน พร้อมทั้งเศรษฐกิจฐานรากให้มีความ หลากหลายและแข็งแกร่งมากขึ้น ยุทธศาสตร์ที่๒ การพัฒนาคนฯ พัฒนากําลังแรงงานให้มีความรู้ และสมรรถนะที่สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิต และบริการบนฐานความรู้และเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2555 ตัวอย่างการแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติในประเด็นการพัฒนาสู่สังคมสีเขียว 8 การพัฒนาสู่สังคมสีเขียว การสร้างสังคมสีเขียว สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติเป็นเจ้าภาพหลักจัดทําแผนระดับรองโดยกระบวนการมีส่วนร่วม มีแนวทางดําเนิน การ 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ 1) ศึกษากรอบแนวคิด ทิศทางการพัฒนา และตัวอย่างการพัฒนาสู่สังคมสีเขียวทั้งมิติ เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปบทเรียน จัดทําข้อเสนอการขับเคลื่อน สู่สังคม สีเขียวในประเด็นสําคัญ อาทิ การพัฒนาภาคการผลิตที่ลดการปล่อยคาร์บอนทั้งเกษตรยั่งยืน อุตสาหกรรมสะอาด และการท่องเที่ยวสีเขียว นวัตกรรมสีเขียว ระบบขนส่งและพลังงานเพื่อ เศรษฐกิจสีเขียว การสร้างความเป็นธรรมในสังคม และการรับมือกับภัยพิบัติ เสนอให้ภาคีการพัฒนา ร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางการการขับเคลื่อนสู่สังคมสีเขียวในทุกมิติ สรุปข้อคิดเห็น และจัดทาร่างข้อเสนอการพัฒนาสู่สังคมสีเขียว เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการ
  • 8. 134 2) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดําเนินการ ดังนี้ 2.1) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการพัฒนาสังคมสีเขียว ทําหน้าที่กํากับการจัดทําแนว ทางการผลักดันการพัฒนาสู่สังคมสีเขียว การนําไปปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล พร้อมทั้ง แต่งตั้งคณะทํางานเพื่อจัดทาแนวทางดังกล่าว 2.2) คณะทํางานจัดทําแนวทางการผลักดันการพัฒนาตามประเด็นการพัฒนาสําคัญ ดําเนินการโดย 1) ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงผลกระทบ และผลการดําเนินงานที่ ผ่านมาของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งข้อจากัดต่าง ๆ อาทิ กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติต่างๆ ที่เป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาจากเอกสารรายงานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ดําเนินการจัดทําแนวทางการผลักดันการพัฒนาสู่สังคมสีเขียว โดย 2.1) กําหนดประเด็นหลัก ให้ครอบคลุมประเด็นทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.2) กําหนดประเด็นการพัฒนาร่วม วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการพัฒนาใน แต่ละมิติและประเด็นร่วม ดังแผนภาพที่ 1 ภาพที่ 12.1 แนวทางการพัฒนาในแต่ละมิติในประเด็นสังคมสีเขียว ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2555 2.3) วิเคราะห์และกําหนดประเด็นการดําเนินงานในรายละเอียด ในตัวอย่างนี้ขอนํา เฉพาะมิติการปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจสีเขียว มาอธิบายการกําหนดประเด็นหลักและ ประเด็นร่วมเพื่อให้สามารถกําหนดแนวทางการพัฒนาได้อย่างครอบคลุม สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมสีเขียว
  • 9. 135 2.4) เชื่อมโยงประเด็นรายละเอียดที่กําหนดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเป้า หมาย และตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ต่างๆของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 12.4 สรุป การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง ทําให้เกิดการพัฒนาที่มีมิติต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการบริหารภาคสาธารณะ การ นําปัจจัยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนแก่ เศรษฐกิจและสังคม มาจากเหตุผลของการผลักดันที่เกิดจากทั้งภายนอกและสภาพแวดล้อม ภายในประเทศ ทั้งนี้จะเห็นว่า แนวทางของกรอบการพัฒนาดังกล่าว เป็นประเด็นที่มุ่งเน้นภาคเกษตรกรรม และเน้นอุตสาหกรรมในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบซึ่งเกิดจากการผลิต และการบริการ แบบฝึกหัด 1. ให้นักศึกษาศึกษา นโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แล้วนํามา วิเคราะห์นําเสนออภิปราย เพื่อค้นหาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. ในการพัฒนาสู่สังคมสีเขียวตามกรอบการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 หากนักศึกษาเป็นภาคีร่วมแสดงความคิดเห็น นักศึกษาจะต้องพิจารณาถึงประเด็นในการ พัฒนาใดบ้าง 3. กรอบกลยุทธ์ ด้านการศึกษาวิจัย การบริหารจัดการ ระบบสนับสนุนและสิ่งจูงใจ ระบบ การมีส่วนร่วม มีความจําเป็นหรือไม่เพียงใดสําหรับกลยุทธ์การผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จงอธิบาย 4. ให้นักศึกษาอธิบายแนวทางการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามกรอบของ มอก. 9999 5. นักศึกษาเข้าใจในประเด็น 3 สังคมอย่างไร จงอธิบาย 6. การขับเคลื่อนการพัฒนาในภาคเอกชน ในช่วงแผนพัฒนาฉบับที่ 10 ต่อเนื่องไปยัง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความสอดคล้องต่อประเด็นการพัฒนาใดบ้าง 7. ให้นักศึกษาอธิบายยุทธศาสตร์ 3 สังคมกับการพัฒนาในประเด็นความเป็นธรรมในสังคม
  • 10. 136 8. ให้นักศึกษาอธิบายยุทธศาสตร์ 3 สังคมกับการพัฒนาในประเด็นการพัฒนาคนสู่สังคม แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน 9. ให้นักศึกษาอธิบายยุทธศาสตร์ 3 สังคมกับการพัฒนาในประเด็น ยุทธศาสตร์การสร้าง ความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม 10. ให้นักศึกษาอธิบายยุทธศาสตร์ 3 สังคมกับการพัฒนาในประเด็นยุทธศาสตร์การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 11. นักศึกษาแบ่งกลุ่ม แล้วอภิปรายและนําเสนอประเด็นตามข้อ 7 – 10 เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เชิงอรรถ 1 อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.) สรุปกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค 1 เมษายน2556htpp://www.moj.go.th/ upload/ mini110_download/uploadfil. 2 อ่านรายละเอียดใน กระทรวงอุตสาหกรรม. (2557). กรอบรายงานผลการดําเนินงานตามนโยบาย รัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กระทรวงอุตสาหกรรม, 2557 (2014) http://www.industry.go.th/oig/index.php/2014-02-16-03-27-23/2014-11- 27-04-56-27/38--7/file 3 อ่านรายละเอียดใน จิตรลดา พิศาลสุพงศ์. (2557). แนวทางการพัฒนาระบบงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม(วทน.)เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศของสํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ประกาศนียบัตร), สํานักงาน คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ. 4 อ่านรายละเอียดใน ประสงค์ ประยงค์เพชร. (2557). การส่งเสริมมาตรฐาน มอก.9999 แนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคปฏิบัติเพื่อจัดทําแผนปฏิบัติการของสํานักมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม. (ประกาศนียบัตร), สํานักงาน คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม. 5 อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). คู่มือการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ. 6 อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). คู่มือการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ.
  • 11. 137 7 อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). คู่มือการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ. 8 อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). คู่มือการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ.
  • 12. 138 เอกสารอ้างอิง กระทรวงอุตสาหกรรม. (2557). กรอบรายงานผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการ ของนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กระทรวงอุตสาหกรรม, 2557 (2014), 1 เมษายน 2556. http://www.industry.go.th/oig/index.php/2014-02-16-03-27- 23/2014-11-27-04-56-27/38--7/file จิตรลดา พิศาลสุพงศ์. (2557). แนวทางการพัฒนาระบบงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม (วทน.) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศของสํานักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ประกาศนียบัตร), สํานักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ. ประสงค์ ประยงค์เพชร. (2557). การส่งเสริมมาตรฐาน มอก.9999 แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคปฏิบัติเพื่อจัดทําแผนปฏิบุติการของสํานักมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม.(ประกาศนีย บัตร), สํานักงาน คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). คู่มือการแปลงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ สู่การปฏิบัติ. สําหรับระดมความคิดร่วมกับภาคี. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.) สรุปกรอบยุทธศาสตร์ การพัฒนาภาค, 1 เมษายน2556 htpp://www.moj.go.th/ upload/mini110_down load /uploadfil.