SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 11
หัวข้อเรื่อง การศึกษาในเชิงเศรษฐกิจพอเพียงและการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียด กรณีศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยบนพื้นฐานปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงทั้งในภาครัฐและเอกชน
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1.การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนําผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาศึกษา
2.การนําเสนอกรณีศึกษาจากงานวิจัย
3.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการสัมมนา
4.การสรุปรวบยอดร่วมกันการจัดทําแผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากเหตุการณ์จําลองใน
ลักษณะWorkshop
สื่อการสอน
1.เอกสารงานวิจัย
2.MediaPowerPointWhitebroad
3.กิจกรรมจําลองเพื่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1.ผลการเรียนรู้
1.1พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น
1.2การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสัมมนาการทํากิจกรรมWorkshop
1.3ความเข้าใจในภาพรวมของเนื้อหาวิชาและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
2.วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม(Workshop)
2.2ความเข้าใจในเนื้อหาการประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด
118
3.สัดส่วนของการประเมิน(10คะแนน)
3.1ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม(Workshopร้อยละ50)
3.2ความเข้าใจในเนื้อหาการประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด(ร้อยละ50)
เนื้อหาที่สอน การศึกษาในเชิงเศรษฐกิจพอเพียงและการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แม้ว่าจะมีงานศึกษาที่ไม่มากนัก แต่งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตาม
แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก็มีปรากฏให้เห็นและมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ ทั้งในภาค
เกษตรกรรมและในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
11.1 กรณีศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยบนพื้นฐานปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
งานศึกษาที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับประเด็นการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของไทย
คืองานศึกษาของ นิภา วิริยะพิพัฒน์ (2552)1
กล่าวถึงการนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อ
การประยุกต์ในการบริหารธุรกิจด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้าน
ทรัพยากรบุคคล ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม งานศึกษาให้ความสําคัญต่อผู้นําธุรกิจซึ่งเชื่อว่าต้องมี
บทบาทในการผลักดันให้การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกิดผลในทางปฏิบัติ พร้อมทั้ง
บทบาทในการผลักดันให้บุคลากรของตนระดับนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ใน
หน้าที่และความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมนําไปสู่การปลูกฝัง ปรับเปลี่ยนจิตสํานึกและกระบวนทัศน์
ในการดําเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนั้นงานศึกษาได้สรุปถึงกลยุทธ์ขององค์กรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5
ประการคือ
1) Green Product หมายถึง สินค้าทุกชนิด ของบริษัทจะต้องประหยัดพลังงานและเป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อน
2) Green Factory หมายถึง โรงงานของ บริษัทปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่เน้นการรักษา
สิ่งแวดล้อม โดยสินค้าเกือบทุกชนิดสามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้และใช้วัตถุดิบที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อ
สิ่งแวดล้อม
3) Green Office หมายถึง สภาพแวดล้อม ภายในองค์กรรวมถึงพนักงานทั้งหมดร่วมกัน
ปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรสีเขียวที่ทุกฝ่ายร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การรณรงค์ให้พนักงานช่วยกัน
ประหยัดไฟและประหยัดน้ํา
119
4) Green Purchasing หมายถึง การซื้อการใช้วัตถุดิบที่รักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้
กระดาษที่ใช้แล้ว (รีไซเคิล)
5) Green CSR หมายถึง การทําประโยชน์สูงสุดเพื่อสังคม (Corporate Social Respon –
sibility)
แม้ว่างานศึกษาไม่เน้นในประเด็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจ
อุตสาหกรรมมากนัก แต่งานสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาไปสู่ทิศทางที่สามารถพัฒนาขีดความสามารถ
ของการแข่งขันในเวทีการค้าทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกของธุรกิจซึ่งมีกรอบการแข่งขันภายใต้
กติกาและข้อตกลงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกในด้านการผลิต การรักษาสภาพแวดล้อม การ
ประหยัดพลังงานและการให้สิ่งกลับคืนสู่สังคม
อย่างไรก็ตาม งานศึกษายังมีจุดอ่อนในด้านการไม่ให้ความสําคัญต่อการนําสิ่งที่เป็นปัจจัย
สําคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและระดับขั้นของการนําปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงทั้ง 3 ได้แก่ ระดับจิตสํานึก ระดับปฏิบัติและระดับปฏิเวธ มาเป็นแนวทางในการอธิบาย
งานศึกษาวิเคราะห์และการอภิปรายเพื่อชี้นําเรื่อง การพัฒนาสังคมไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคม
อาเซียนในปี พ .ศ. 2558 ของ สุริยนต์ หลาบหนองแสง (2555) 2
ชี้ให้เห็นถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจที่
ยังคงต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกและยังคงมีปัญหาความยากจนอยู่อยู่ในสังคมไทย เนื่องจากการเปลี่ยน
แปลงของการพัฒนาที่หันไปพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมมากว่าภาคการเกษตร นอกจากนั้น ความไม่มี
ประสิทธิภาพในการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ (ต้นทุนการคมนาคม) อันเนื่องมาจาก
คุณภาพของการบริหารจัดการ สภาพการเมืองที่ไม่ต่อเนื่อง การคํานึงถึงผลประโยชน์ทางการเมืองมาก
กว่าผลประโยชน์สวนรวมและการไม่คํานึงถึงการให้บริการที่ไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ให้บริการ
และผู้รับบริการ
ความเสื่อมถอยทางด้านสังคมและวัฒนธรรมมีมากขึ้น เช่น การคอรัปชั่นที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหา
ยาเสพติดที่รุนแรง ปัญหาการเข้าถึงทรัพยากรและการบริการของคนในสังคม เกิดความเสื่อมถอยของ
คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ การขาดระเบียบวินัย การละเมิดกฎเกณฑ์หรือกฎหมาย รวมถึง
ความแตกต่างด้านการเมืองและการขาดความสามัคคีที่มีสูงขึ้น
เกิดความเสื่อมถอยของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันเนื่องจากผลกระทบของการ
พัฒนาอุตสาหกรรมและการทําลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ได้มีการรณรงค์
ให้คนรุ่นใหม่ให้เกิดจิตสํานึกต่อการอนุรักษ์และดํารงรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
แม้ว่าการเมืองการปกครองมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ความเหมาะสมของการ
บริหารบ้านเมืองยังไม่สอดคล้องต่อแนวทางการกระจายอํานาจ เนื่องจากการขาดนักการเมืองที่มี
คุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ตรงกันข้ามกับภาคธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความกรอบของ
120
ความเป็นธรรมาภิบาล (บรรษัทภิบาล) โดยการส่งเสริม ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความเอื้ออาทร
ต่อสังคมมากขึ้น
ต่อประเด็นการพัฒนาสู่การแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศของไทย บทความอภิปราย
เสนอแนะให้แก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ โดยนําเสนอถึงปัจจัยขับเคลื่อนของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาเป็นกลไกในการทําให้ประเทศไทยสามารถเข้าสู่เวทีภูมิภาคนี้ได้อย่างมั่นคง
งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยบนพื้นฐาน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แม้ว่าจะยังมีไม่มากพอ ทั้งในรูปแบบบทความวิเคราะห์อภิปราย งาน
ศึกษาวิจัยโดยกระบวนการศึกษาที่อาศัยระเบียบวิธี แต่งานศึกษาที่มีอยู่ เป็นประโยชน์ต่อการ
เสนอแนะและนําไปสู่การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ได้พอสมควร
ณดา จันทร์สม3
นําเสนอแนวคิด ความยั่งยืนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยให้ความสําคัญต่อ
การพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนของไทยซึ่งเกิดจากความท้าทายจากการกีดกันทางการค้าที่เชื่อมโยงกับ
ประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็มีมากขึ้น ประเทศไทยซึ่งพึ่งพาการส่งออกเป็น
สัดส่วนสําคัญของ GDP จึงต้องพยายามอย่างมากที่จะต้องยกระดับมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม
ให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยต้องปกป้องฐานทรัพยากรเพื่อรักษาความสมดุลยั่งยืนของระบบนิเวศด้วยการ
พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม
และปรับรูปแบบการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องเพิ่ม
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพัฒนาพลังงานทางเลือก เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานใน
ประเทศ ซึ่งดาเนินการที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ายังต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้
และต้องเป็นความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน คํานิยาม “ ธุรกิจยั่งยืน ” (Corporate Sustainability
หรือ Business Sustainability) ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก ทําให้ขาดความเข้าใจร่วมกันของความ
ยั่งยืนทางธุรกิจจึงและปัญหาสําคัญในการกําหนดแนวทางในการจัดการที่จะนําไปสู่ความยั่งยืนอย่าง
เป็นรูปธรรม ดังนั้น เพื่อที่จะนาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสําหรับองค์กรธุรกิจ หลาย ๆ สถาบันพยายามที่
จะกําหนดคํานิยามของ “ องค์การธุรกิจที่ยั่งยืน ” ขึ้น เช่น กลุ่มธุรกิจเอเวอร์กรีนซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่
อุทิศตนสําหรับการเป็นองค์กรธุรกิจที่ยั่งยืนได้กําหนดนิยามของธุรกิจยั่งยืนว่าหมายถึง ธุรกิจที่มี
กระบวนการทางธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการของกิจการที่ไม่มี
ผลกระทบในทางลบกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากนั้น คํานิยามมีความหมายรวมถึงธุรกิจที่มีส่วนในการสร้างเศรษฐกิจยั่งยืนทางด้าน
การสร้างความเสมอภาคและทางนิเวศวิทยา จากนิยามของธุรกิจที่ยั่งยืน ข้างต้นจึงหมายถึง ธุรกิจที่
ตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการของลูกค้าและผู้บริโภคและในขณะเดียวกันจะต้องมีส่วน
ช่วยในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของสิ่งมีชีวิตอื่นบนโลกด้วย ธุรกิจแบบยั่งยืนเป็นเรื่องใหม่ที่ผู้บริหาร
องค์การต้องปรับกระบวนทัศน์ (paradigm shift) ในการบริหารจัดการองค์การทางธุรกิจที่จะต้อง
121
มองผลกระทบเชิงนิเวศน์วิทยา สังคมและเศรษฐกิจ ในทิศทางที่จะคํานึงถึงความยั่งยืนสําหรับคนรุ่น
ต่อไปในอนาคตด้วย
การทําธุรกิจอย่างยั่งยืนจะต้องมีการสร้างความเป็นหนึ่งของประเด็นสําคัญสามประการซึ่ง
เรียกว่า Triple Bottom Line (TBL) ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
1. ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วยผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
กับการทํากิจกรรมต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กรธุรกิจ ตัวชี้วัดถึงผลกระทบทางด้าน
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ควรต้องระบุในทุกช่วงวงจรชีวิตของธุรกิจ เพราะมันจะต้องถูกใช้ในการติดตามการ
ดําเนินงานความก้าวหน้าทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรธุรกิจ เป็นข้อมูลที่จะสนับสนุนนโยบาย
ทางด้านสิ่งแวดล้อม และเปิดเผยและแจ้งให้สาธารณะรับทราบต่อประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่
เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานขององค์กรธุรกิจนั้น ตัวอย่างตัวชี้วัดทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้
พลังงานและทรัพยากรน้ํา การสร้างมลภาวะทางอากาศ และปริมาณการผลิตของเสีย เป็นต้น
2. ประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ หมายถึง มูลค่าทางเศรษฐกิจขององค์กรธุรกิจ และการดําเนิน
งานซึ่งอธิบายโดยใช้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจขององค์กรธุรกิจ และรวมถึงตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงแนวทางการ
ในการแก้ไขปัญหาและวิธีการที่ลงทุนเพื่อการป้องกันความเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อมและเพื่อการ
อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติและการสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืน ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจใน
กลุ่มนี้ ได้แก่ ผลประกอบการทางการเงิน งบลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนา ค่าปรับเงินชดเชย งบ
รายจ่ายทุน มูลค่าหุ้น และผลตอบแทนต่อปี เป็นต้น
3. ประเด็นทางด้านสังคม เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อชุมชนที่องค์กรธุรกิจนั้นดําเนิน
กิจการอยู่ และต่อสังคมในวงกว้างโดยรวมทั้งในช่วงปัจจุบัน และขยายไปสู่รุ่นต่อไปในอนาคตด้วย
เนื่องจากความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมในการดําเนินธุรกิจมีความสําคัญอย่างต่อเนื่อง ความ
รับผิดชอบต่อสังคมจึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีบทบาทสําคัญอย่างมากและขาดไม่ได้ที่ชุมชนและ
สังคมคาดหวังจากองค์กรธุรกิจในยุคปัจจุบัน องค์การระหว่างประเทศหลายแห่งได้กําหนดมาตรฐานที่
เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมในการดําเนินธุรกิจขององค์กรธุรกิจ อาทิเช่น
European Commission (EC) ได้พัฒนามาตรฐานที่กําหนดบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมและ
จริยธรรมทางธุรกิจสาหรับการทําธุรกิจทั่วโลกตามมาตรฐานความรับผิดรับชอบต่อสังคม 8000
(Social Accountability: SA 8000) ซึ่งเน้น 2 ประเด็นสําคัญทางด้านสังคม และจริยธรรมในความ
รับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Corporate Social Responsibility: CSR) อย่างไรก็ดี เป็น
เรื่องไม่ง่ายนักที่จะกําหนดตัวชี้วัดเชิงปริมาณสาหรับประเด็นทางด้านสังคมและจริยธรรม
เช่นเดียวกับตัวชี้วัดประเด็นทางสิ่งแวดล้อมหรือทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี หลาย ๆ องค์กรธุรกิจ ได้
พยายามที่จะกําหนดเป้าหมายที่มีความเป็นจริงจับต้องได้ เพื่อที่จะใช้เป็นตัวชี้วัดประเด็นทางด้าน
สังคมเหล่านี้ โดยพัฒนามาจากตัวชี้วัดของการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่จะใช้
122
ประเมินความยั่งยืนทางสังคมของธุรกิจ ตัวอย่างตัวชี้วัดเหล่านั้น ได้แก่ ประการแรก การพัฒนา
มนุษย์ (human development) และสวัสดิการ (welfare) เช่น การศึกษา การฝึกอบรม สุขภาพ
อนามัย และความปลอดภัย ประการที่สอง ความเสมอภาค (equity) เช่น ค่าจ้างแรงงาน โอกาสที่
เท่าเทียมกันและการไม่แบ่งแยก (non-discrimination) และ ประการที่สาม การให้ความสําคัญ
ทางด้านจริยธรรม เช่น สิทธิมนุษยชน การใช้แรงงานเด็ก และการล่วงละเมิด เป็นต้น
อาจกล่าวได้ว่า การที่ธุรกิจจะสะท้อนความยั่งยืนในการดําเนินกิจการเพื่อไปสู่การเป็นธุรกิจ
ยั่งยืนจําเป็นที่จะให้ความสําคัญกับองค์ประกอบทั้งสามองค์ประกอบอย่างจริงจัง และสะท้อนการ
ดําเนินงานในทุกกิจกรรมต่อสิ่งสําคัญทั้งสามประการนั้น คือ การคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม
ตลอดช่วงอายุของกิจการ กล่าวอีกนัยหนึ่ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของธุรกิจนั้นสามารถตอบสนอง
ความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ส่งผลร้ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนรุ่น
ต่อไป กิจกรรมของธุรกิจนั้นคํานึงถึงการกระจายผลประโยชน์แก่คนในสังคมอย่างเสมอภาคกัน
(fairness) กิจกรรมของธุรกิจนั้นต้องมีส่วนส่งเสริมสภาวะความเป็นอยู่ที่ดี (wellbeing) ของคนใน
สังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และต้องไม่ส่งผลกระทบในทาง
ลบกับสิ่งแวดล้อม หากจะกล่าวให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจของธุรกิจต้องคํานึงถึง
กลุ่มคนในสังคมที่ธุรกิจควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบโดยตรง ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ
(stakeholders) ขององค์กรธุรกิจนั้น กล่าวคือกลุ่มที่สามารถสร้างผลกระทบ โดยตรงต่อธุรกิจ หรือผู้
ที่รับผลกระทบโดยตรงจากธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมไม่เพียงแต่ผู้ถือหุ้น แต่รวมถึงพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า
เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐ รวมถึง ชุมชนใกล้เคียง และสังคมโดยรวมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจนั้น ยิ่งธุรกิจ
สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดียึดหลักการบริหารจัดการที่ดี (Good Corporate Governance) ใน
การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านการสร้างความเชื่อถือไว้ใจ ความเคารพซึ่งกัน
และกันและการมีส่วนร่วม ธุรกิจนั้นก็จะยิ่งได้รับการยอมรับจากสังคมและจะสามารถดําเนินไปได้
อย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
ตัวชี้วัดของ “ ธุรกิจยั่งยืน ” คือการวัดผลการดําเนินงานของธุรกิจในกระบวนทัศน์ใหม่ของ
ธุรกิจยั่งยืนนี้จะมีขอบเขตความหมายที่กว้างกว่าเพียงการวัดผลสําเร็จทางธุรกิจในแง่ของรายได้และ
ผลกําไร แต่จะรวมถึงตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่สะท้อนความยั่งยืนของธุรกิจเข้าไปด้วย ในช่วงทศวรรษ 1990 มี
การพัฒนาระบบการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในองค์กร เช่น ISO14001 เพื่อช่วยองค์กรทุก
ประเภทในการสร้างระบบการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยการกําหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม และที่ผ่านมามีองค์กรจํานวนมากที่ผ่านการ
รับรองการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 จากจานวน 13,368 องค์กรในเดือน
ธันวาคม ค.ศ. 1999 เป็นจานวน 129,031 องค์กรในธันวาคม ค.ศ. 2006 (Corporate Risk
Management Company, 2000-2007) แต่ชัดเจนว่ามาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวอาจไม่
123
สามารถสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่าองค์กรที่ผ่านการรับรองจะจัดเป็นองค์กรธุรกิจยั่งยืน เนื่องจาก
มาตรฐานดังกล่าวไม่ได้เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่องค์กรในการจัดการกับการประเด็นทางสิ่งแวดล้อมที่
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและส่วนมากจะเน้นที่การควบคุมและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
มากกว่าประเด็นทางด้านสังคมและจริยธรรม ดังนั้น การกําหนดมาตรฐานที่จะพัฒนา ISO 14001 ให้
นําไปสู่ความยั่งยืนขององค์กรได้ต้องเน้น 3 ประเด็นสําคัญ ได้แก่ ประเด็นแรก ผลกระทบทางสังคม
และแนวทางสําหรับการควบคุมผลกระทบนั้น ประเด็นที่สอง แนวปฏิบัติสาหรับการจัดการทางด้าน
สิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ประเด็นที่สาม วิธีการที่จะสื่อสารข้อมูลผลการดําเนินงาน
ทางด้านสิ่งแวดล้อมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอองค์กรและผู้มีอํานาจในการตัดสินใจ ดังนั้น
เพื่อจะบรรลุตามกรอบแนวทางที่เสนอ องค์กรธุรกิจต้องมีการดําเนินการที่มากกว่าระบบการจัดการ
ทางด้านสิ่งแวดล้อม และมีวิธีการในการดําเนินธุรกิจแนวใหม่ที่จะบรรลุตามเป้าหมายความยั่งยืนนั้น
นอกจากนั้น กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ รัฐบาล ผู้บริโภคและนักลงทุนที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม
มากขึ้น (“ Green ” consumers and investors) มีแนวโน้มที่จะเรียกร้องจากองค์กรธุรกิจมากขึ้น
ที่จะต้องมีระบบการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมและดําเนินกิจการให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา
ที่ยั่งยืน โดยต้องอยู่ในกระบวนการตัดสินใจและการกําหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาขององค์กร จาก
ความต้องการกระแสการพัฒนาที่ยั่งยืนที่จะเพิ่มมากขึ้นนี้จึงเป็นสิ่งจําเป็นที่องค์กรธุรกิจที่ต้องการจะมี
แนวปฏิบัติที่ยั่งยืนจะต้องมีตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงแนวปฏิบัติทางธุรกิจที่ยั่งยืนได้
เหตุผลในการสร้างตัวชี้วัดของ “ ธุรกิจยั่งยืน ” ก็เพื่อ ประการแรก กํากับติดตามและ
ประเมินประสิทธิผลของการดาเนินงานตามเป้าหมายของการเป็น “ ธุรกิจยั่งยืน ” ประการที่สอง
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
รวมถึงสาธารณะ ผู้ทําหน้าที่ในการตัดสินใจ และฝ่ายจัดการ มีข้อมูลสําหรับการตัดสินใจที่สอดคล้อง
กับการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประการที่สาม เพื่อเปรียบเทียบการกระทําหรือผลการดําเนินงานของ
องค์กรธุรกิจที่สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับการเป็นแนวปฏิบัติเพื่อธุรกิจยั่งยืน
ดังนั้น การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจในองค์กรธุรกิจเพื่อความยั่งยืนจึงได้สรุปแนวทาง
การดําเนินกิจกรรมทางธุรกิจไว้ 7 ประการคือ
1. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม กล่าวคือ เทคโนโลยีที่ราคาไม่แพงแต่ถูกตามหลักวิชาการ
2. มีขนาดการผลิตที่เหมาะสม สอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการ
3. ไม่โลภเกินไปและไม่เน้นกําไรในระยะสั้น
4. ซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค แรงงาน ลูกค้า ตลอดจนผู้
จําหน่ายวัตถุดิบ
124
5. เน้นการกระจายความเสี่ยง โดยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และ/หรือ มีความสามารถใน
การปรับเปลี่ยนผลผลิตได้ง่าย
6. เน้นการบริหารความเสี่ยงต่ํา โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อหนี้จนเกินขีดความสามารถในการ
บริหารจัดการ
7. เน้นการตอบสนองตลาดทั้งภายในท้องถิ่น ภายในภูมิภาค ตลาดภายในและตลาดต่าง
ประเทศตามลําดับ เป็นหลัก
11.2 สรุป
งานศึกษาและแนวคิดจากการรวบรวมและสํารวจการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งในระดับพื้นที่ชุมชน ท้องถิ่นและระดับประเทศรวมซึ่งถึงภาคธุรกิจเอกชน สะท้อนถึงการประยุกต์
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีอย่างแพร่หลาย ทั้งในพื้นที่การเกษตร อุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมการ
ผลิตและการบริการซึ่งมักมีการดําเนินงานภายในชุมชนและท้องถิ่น จึงเป็นประเด็นของการพัฒนา
ชุมชน โดยแนวคิดต่าง ๆ ดังกล่าวได้นําหลักกว้างขององค์ประกอบ สามห่วงสองเงื่อนไขมาตีความแล้ว
นํามาประยุกต์กับแนวคิดไม่ว่าจะเป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานจากวัฒนธรรมชุมชน แนวคิดการบริหาร
จัดการภาครัฐและเอกชน
การขับเคลื่อนโดยใช้กลไกภาคีทุกภาคส่วน ทําให้การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว สามารถ
ขยายไปยังทุกภาคส่วนอย่างค่อยเป็นค่อยไป
อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจต่อแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในปัจจุบัน ยังมีความ
คลาดเคลื่อนและไม่สามารถทําความเข้าใจได้เนื่องจากความมีอคติ การไม่ยอมรับ ทําให้เกิดแนวคิดที่
ขัดแย้ง และแนวคิดที่เกิดจากความไม่แน่ใจต่อการประยุกต์และความเชื่อของค่านิยมแนวคิดปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว
แบบฝึกหัด
ให้นักศึกษาค้นคว้างานวิจัยในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ แล้วนําเสนอพร้อมทั้งสรุปประเด็นของ
องค์ประกอบของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยบนพื้นฐาน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม
125
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนความร่วมมอระหว่างภาคีการพัฒนาในการจัดทํา
แผนชุมชน
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเพื่อขยายเครือข่ายการพัฒนาในระดับพื้นที่บน
พื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ทําการศึกษาข้อมูลต่างๆ ทั้งในชุมชนภาคเกษตรกรรม การ
บริหารการพัฒนาภาครัฐ การบริหารในภาคเอกชน แล้วนํามาวิเคราะห์องค์ประกอบและปัจจัยขับเคลื่อน
ของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7. นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 5 คน เพื่อศึกษาข้อมูลจากสถานที่จริง ข้อมูลเอกสารต่าง ๆ เพื่อจัดทํา
แบบจําลองในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
8. ประเด็นที่จะนําไปสู่ความยั่งยืนขององค์กรภายใต้มาตรฐาน ISO 14001 มีอะไรบ้าง
9. แนวทางในการดําเนินงานด้วยการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการประกอบ
ธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดย่อม มีอะไรบ้าง
10. ให้นักศึกษาอธิบายประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมในการประกอบธุรกิจที่ยั่งยืน และ
นักศึกษาคิดว่า วิสาหกิจชุมชนต้องมีองค์ประกอบนี้หรือไม่
11. ให้นักศึกษาอธิบายกลยุทธ์ขององค์กรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เชิงอรรถ
1
อ่านรายละเอียดใน นิภา วิริยะพิพัฒน์. (2552). ผู้นําธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงใน
องค์กร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 147-162.
2
อ่านรายละเอียดใน สุริยนต์ หลาบหนองแสง. (2555). การพัฒนาสังคมไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคม
อาเซียนในปี พ.ศ. 2558. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 8 (1), 6-18.
3
บทความเพื่อนําเสนอในการประชุมวิชาการ “15 ปี จากวิกฤตเศรษฐกิจ: เศรษฐกิจพอเพียงกับความ
ยั่งยืนของสังคมไทย” วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2555 ณ ห้องประชุมจีระ บุญมาก อาคารสยาม
บรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒน-บริหารศาสตร์ จัดโดย ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร
126
เอกสารอ้างอิง
นิภา วิริยะพิพัฒน์. (2552). ผู้นําธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 147-162.
สุริยนต์ หลาบหนองแสง. (2555). การพัฒนาสังคมไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558.
วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 8 (1), 6-18.
ณดา จันทร์สม.(2555). บทความเพื่อนําเสนอในการประชุมวิชาการ “15 ปี จากวิกฤตเศรษฐกิจ:
เศรษฐกิจพอเพียงกับความยั่งยืนของสังคมไทย. บทความเพื่อนําเสนอในการประชุมวิชาการ
“15 ปี วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2555 ณ ห้องประชุมจีระ บุญมาก อาคารสยามบรมราช
กุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒน-บริหาร.

More Related Content

What's hot

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsaw
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsawชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsaw
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ JigsawKrutanapron Nontasaen
 
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอสื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอrainacid
 
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...Weerachat Martluplao
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอมporpia
 

What's hot (13)

Microsoft word สัปดาห์ที่14
Microsoft word   สัปดาห์ที่14Microsoft word   สัปดาห์ที่14
Microsoft word สัปดาห์ที่14
 
Microsoft word สารบัญ
Microsoft word   สารบัญMicrosoft word   สารบัญ
Microsoft word สารบัญ
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsaw
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsawชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsaw
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsaw
 
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอสื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
 
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
Microsoft word คำนำ
Microsoft word   คำนำMicrosoft word   คำนำ
Microsoft word คำนำ
 
หนัง3
หนัง3หนัง3
หนัง3
 

Viewers also liked (7)

Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
Microsoft word สัปดาห์ที่10
Microsoft word   สัปดาห์ที่10Microsoft word   สัปดาห์ที่10
Microsoft word สัปดาห์ที่10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Microsoft word บรรณานุกรม
Microsoft word   บรรณานุกรมMicrosoft word   บรรณานุกรม
Microsoft word บรรณานุกรม
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่ 11

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่ 11 (20)

บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
ครูสังคม
ครูสังคมครูสังคม
ครูสังคม
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
 
ใบงานที่ 2 8
ใบงานที่ 2 8ใบงานที่ 2 8
ใบงานที่ 2 8
 
จุดเน้นที่ 3
จุดเน้นที่  3 จุดเน้นที่  3
จุดเน้นที่ 3
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (16)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
 
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word   ปกเอกสารประกอบการสอนMicrosoft word   ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
 
Microsoft word ภาคผนวก
Microsoft word   ภาคผนวกMicrosoft word   ภาคผนวก
Microsoft word ภาคผนวก
 
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอนMicrosoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
 

Microsoft word สัปดาห์ที่ 11

  • 1. แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 11 หัวข้อเรื่อง การศึกษาในเชิงเศรษฐกิจพอเพียงและการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง รายละเอียด กรณีศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยบนพื้นฐานปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงทั้งในภาครัฐและเอกชน จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1.การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนําผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาศึกษา 2.การนําเสนอกรณีศึกษาจากงานวิจัย 3.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการสัมมนา 4.การสรุปรวบยอดร่วมกันการจัดทําแผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากเหตุการณ์จําลองใน ลักษณะWorkshop สื่อการสอน 1.เอกสารงานวิจัย 2.MediaPowerPointWhitebroad 3.กิจกรรมจําลองเพื่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1.ผลการเรียนรู้ 1.1พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น 1.2การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสัมมนาการทํากิจกรรมWorkshop 1.3ความเข้าใจในภาพรวมของเนื้อหาวิชาและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 2.วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม(Workshop) 2.2ความเข้าใจในเนื้อหาการประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด
  • 2. 118 3.สัดส่วนของการประเมิน(10คะแนน) 3.1ประเมินผลจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากกิจกรรม(Workshopร้อยละ50) 3.2ความเข้าใจในเนื้อหาการประยุกต์ใช้ การสรุปรวบยอด(ร้อยละ50) เนื้อหาที่สอน การศึกษาในเชิงเศรษฐกิจพอเพียงและการศึกษาที่เกี่ยวข้อง กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แม้ว่าจะมีงานศึกษาที่ไม่มากนัก แต่งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตาม แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก็มีปรากฏให้เห็นและมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ ทั้งในภาค เกษตรกรรมและในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 11.1 กรณีศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยบนพื้นฐานปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง งานศึกษาที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับประเด็นการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของไทย คืองานศึกษาของ นิภา วิริยะพิพัฒน์ (2552)1 กล่าวถึงการนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อ การประยุกต์ในการบริหารธุรกิจด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้าน ทรัพยากรบุคคล ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม งานศึกษาให้ความสําคัญต่อผู้นําธุรกิจซึ่งเชื่อว่าต้องมี บทบาทในการผลักดันให้การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกิดผลในทางปฏิบัติ พร้อมทั้ง บทบาทในการผลักดันให้บุคลากรของตนระดับนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ใน หน้าที่และความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมนําไปสู่การปลูกฝัง ปรับเปลี่ยนจิตสํานึกและกระบวนทัศน์ ในการดําเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้นงานศึกษาได้สรุปถึงกลยุทธ์ขององค์กรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 ประการคือ 1) Green Product หมายถึง สินค้าทุกชนิด ของบริษัทจะต้องประหยัดพลังงานและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อน 2) Green Factory หมายถึง โรงงานของ บริษัทปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่เน้นการรักษา สิ่งแวดล้อม โดยสินค้าเกือบทุกชนิดสามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้และใช้วัตถุดิบที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อ สิ่งแวดล้อม 3) Green Office หมายถึง สภาพแวดล้อม ภายในองค์กรรวมถึงพนักงานทั้งหมดร่วมกัน ปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรสีเขียวที่ทุกฝ่ายร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การรณรงค์ให้พนักงานช่วยกัน ประหยัดไฟและประหยัดน้ํา
  • 3. 119 4) Green Purchasing หมายถึง การซื้อการใช้วัตถุดิบที่รักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ กระดาษที่ใช้แล้ว (รีไซเคิล) 5) Green CSR หมายถึง การทําประโยชน์สูงสุดเพื่อสังคม (Corporate Social Respon – sibility) แม้ว่างานศึกษาไม่เน้นในประเด็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจ อุตสาหกรรมมากนัก แต่งานสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาไปสู่ทิศทางที่สามารถพัฒนาขีดความสามารถ ของการแข่งขันในเวทีการค้าทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกของธุรกิจซึ่งมีกรอบการแข่งขันภายใต้ กติกาและข้อตกลงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกในด้านการผลิต การรักษาสภาพแวดล้อม การ ประหยัดพลังงานและการให้สิ่งกลับคืนสู่สังคม อย่างไรก็ตาม งานศึกษายังมีจุดอ่อนในด้านการไม่ให้ความสําคัญต่อการนําสิ่งที่เป็นปัจจัย สําคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและระดับขั้นของการนําปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงทั้ง 3 ได้แก่ ระดับจิตสํานึก ระดับปฏิบัติและระดับปฏิเวธ มาเป็นแนวทางในการอธิบาย งานศึกษาวิเคราะห์และการอภิปรายเพื่อชี้นําเรื่อง การพัฒนาสังคมไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคม อาเซียนในปี พ .ศ. 2558 ของ สุริยนต์ หลาบหนองแสง (2555) 2 ชี้ให้เห็นถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ ยังคงต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกและยังคงมีปัญหาความยากจนอยู่อยู่ในสังคมไทย เนื่องจากการเปลี่ยน แปลงของการพัฒนาที่หันไปพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมมากว่าภาคการเกษตร นอกจากนั้น ความไม่มี ประสิทธิภาพในการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ (ต้นทุนการคมนาคม) อันเนื่องมาจาก คุณภาพของการบริหารจัดการ สภาพการเมืองที่ไม่ต่อเนื่อง การคํานึงถึงผลประโยชน์ทางการเมืองมาก กว่าผลประโยชน์สวนรวมและการไม่คํานึงถึงการให้บริการที่ไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ความเสื่อมถอยทางด้านสังคมและวัฒนธรรมมีมากขึ้น เช่น การคอรัปชั่นที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหา ยาเสพติดที่รุนแรง ปัญหาการเข้าถึงทรัพยากรและการบริการของคนในสังคม เกิดความเสื่อมถอยของ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ การขาดระเบียบวินัย การละเมิดกฎเกณฑ์หรือกฎหมาย รวมถึง ความแตกต่างด้านการเมืองและการขาดความสามัคคีที่มีสูงขึ้น เกิดความเสื่อมถอยของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันเนื่องจากผลกระทบของการ พัฒนาอุตสาหกรรมและการทําลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ได้มีการรณรงค์ ให้คนรุ่นใหม่ให้เกิดจิตสํานึกต่อการอนุรักษ์และดํารงรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แม้ว่าการเมืองการปกครองมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ความเหมาะสมของการ บริหารบ้านเมืองยังไม่สอดคล้องต่อแนวทางการกระจายอํานาจ เนื่องจากการขาดนักการเมืองที่มี คุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ตรงกันข้ามกับภาคธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความกรอบของ
  • 4. 120 ความเป็นธรรมาภิบาล (บรรษัทภิบาล) โดยการส่งเสริม ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความเอื้ออาทร ต่อสังคมมากขึ้น ต่อประเด็นการพัฒนาสู่การแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศของไทย บทความอภิปราย เสนอแนะให้แก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ โดยนําเสนอถึงปัจจัยขับเคลื่อนของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาเป็นกลไกในการทําให้ประเทศไทยสามารถเข้าสู่เวทีภูมิภาคนี้ได้อย่างมั่นคง งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยบนพื้นฐาน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แม้ว่าจะยังมีไม่มากพอ ทั้งในรูปแบบบทความวิเคราะห์อภิปราย งาน ศึกษาวิจัยโดยกระบวนการศึกษาที่อาศัยระเบียบวิธี แต่งานศึกษาที่มีอยู่ เป็นประโยชน์ต่อการ เสนอแนะและนําไปสู่การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ได้พอสมควร ณดา จันทร์สม3 นําเสนอแนวคิด ความยั่งยืนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยให้ความสําคัญต่อ การพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนของไทยซึ่งเกิดจากความท้าทายจากการกีดกันทางการค้าที่เชื่อมโยงกับ ประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็มีมากขึ้น ประเทศไทยซึ่งพึ่งพาการส่งออกเป็น สัดส่วนสําคัญของ GDP จึงต้องพยายามอย่างมากที่จะต้องยกระดับมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยต้องปกป้องฐานทรัพยากรเพื่อรักษาความสมดุลยั่งยืนของระบบนิเวศด้วยการ พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม และปรับรูปแบบการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพัฒนาพลังงานทางเลือก เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานใน ประเทศ ซึ่งดาเนินการที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ายังต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ และต้องเป็นความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน คํานิยาม “ ธุรกิจยั่งยืน ” (Corporate Sustainability หรือ Business Sustainability) ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก ทําให้ขาดความเข้าใจร่วมกันของความ ยั่งยืนทางธุรกิจจึงและปัญหาสําคัญในการกําหนดแนวทางในการจัดการที่จะนําไปสู่ความยั่งยืนอย่าง เป็นรูปธรรม ดังนั้น เพื่อที่จะนาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสําหรับองค์กรธุรกิจ หลาย ๆ สถาบันพยายามที่ จะกําหนดคํานิยามของ “ องค์การธุรกิจที่ยั่งยืน ” ขึ้น เช่น กลุ่มธุรกิจเอเวอร์กรีนซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ อุทิศตนสําหรับการเป็นองค์กรธุรกิจที่ยั่งยืนได้กําหนดนิยามของธุรกิจยั่งยืนว่าหมายถึง ธุรกิจที่มี กระบวนการทางธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการของกิจการที่ไม่มี ผลกระทบในทางลบกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น คํานิยามมีความหมายรวมถึงธุรกิจที่มีส่วนในการสร้างเศรษฐกิจยั่งยืนทางด้าน การสร้างความเสมอภาคและทางนิเวศวิทยา จากนิยามของธุรกิจที่ยั่งยืน ข้างต้นจึงหมายถึง ธุรกิจที่ ตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการของลูกค้าและผู้บริโภคและในขณะเดียวกันจะต้องมีส่วน ช่วยในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของสิ่งมีชีวิตอื่นบนโลกด้วย ธุรกิจแบบยั่งยืนเป็นเรื่องใหม่ที่ผู้บริหาร องค์การต้องปรับกระบวนทัศน์ (paradigm shift) ในการบริหารจัดการองค์การทางธุรกิจที่จะต้อง
  • 5. 121 มองผลกระทบเชิงนิเวศน์วิทยา สังคมและเศรษฐกิจ ในทิศทางที่จะคํานึงถึงความยั่งยืนสําหรับคนรุ่น ต่อไปในอนาคตด้วย การทําธุรกิจอย่างยั่งยืนจะต้องมีการสร้างความเป็นหนึ่งของประเด็นสําคัญสามประการซึ่ง เรียกว่า Triple Bottom Line (TBL) ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม 1. ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วยผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง กับการทํากิจกรรมต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กรธุรกิจ ตัวชี้วัดถึงผลกระทบทางด้าน สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ควรต้องระบุในทุกช่วงวงจรชีวิตของธุรกิจ เพราะมันจะต้องถูกใช้ในการติดตามการ ดําเนินงานความก้าวหน้าทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรธุรกิจ เป็นข้อมูลที่จะสนับสนุนนโยบาย ทางด้านสิ่งแวดล้อม และเปิดเผยและแจ้งให้สาธารณะรับทราบต่อประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานขององค์กรธุรกิจนั้น ตัวอย่างตัวชี้วัดทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้ พลังงานและทรัพยากรน้ํา การสร้างมลภาวะทางอากาศ และปริมาณการผลิตของเสีย เป็นต้น 2. ประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ หมายถึง มูลค่าทางเศรษฐกิจขององค์กรธุรกิจ และการดําเนิน งานซึ่งอธิบายโดยใช้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจขององค์กรธุรกิจ และรวมถึงตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงแนวทางการ ในการแก้ไขปัญหาและวิธีการที่ลงทุนเพื่อการป้องกันความเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อมและเพื่อการ อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติและการสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืน ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจใน กลุ่มนี้ ได้แก่ ผลประกอบการทางการเงิน งบลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนา ค่าปรับเงินชดเชย งบ รายจ่ายทุน มูลค่าหุ้น และผลตอบแทนต่อปี เป็นต้น 3. ประเด็นทางด้านสังคม เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อชุมชนที่องค์กรธุรกิจนั้นดําเนิน กิจการอยู่ และต่อสังคมในวงกว้างโดยรวมทั้งในช่วงปัจจุบัน และขยายไปสู่รุ่นต่อไปในอนาคตด้วย เนื่องจากความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมในการดําเนินธุรกิจมีความสําคัญอย่างต่อเนื่อง ความ รับผิดชอบต่อสังคมจึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีบทบาทสําคัญอย่างมากและขาดไม่ได้ที่ชุมชนและ สังคมคาดหวังจากองค์กรธุรกิจในยุคปัจจุบัน องค์การระหว่างประเทศหลายแห่งได้กําหนดมาตรฐานที่ เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมในการดําเนินธุรกิจขององค์กรธุรกิจ อาทิเช่น European Commission (EC) ได้พัฒนามาตรฐานที่กําหนดบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมและ จริยธรรมทางธุรกิจสาหรับการทําธุรกิจทั่วโลกตามมาตรฐานความรับผิดรับชอบต่อสังคม 8000 (Social Accountability: SA 8000) ซึ่งเน้น 2 ประเด็นสําคัญทางด้านสังคม และจริยธรรมในความ รับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Corporate Social Responsibility: CSR) อย่างไรก็ดี เป็น เรื่องไม่ง่ายนักที่จะกําหนดตัวชี้วัดเชิงปริมาณสาหรับประเด็นทางด้านสังคมและจริยธรรม เช่นเดียวกับตัวชี้วัดประเด็นทางสิ่งแวดล้อมหรือทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี หลาย ๆ องค์กรธุรกิจ ได้ พยายามที่จะกําหนดเป้าหมายที่มีความเป็นจริงจับต้องได้ เพื่อที่จะใช้เป็นตัวชี้วัดประเด็นทางด้าน สังคมเหล่านี้ โดยพัฒนามาจากตัวชี้วัดของการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่จะใช้
  • 6. 122 ประเมินความยั่งยืนทางสังคมของธุรกิจ ตัวอย่างตัวชี้วัดเหล่านั้น ได้แก่ ประการแรก การพัฒนา มนุษย์ (human development) และสวัสดิการ (welfare) เช่น การศึกษา การฝึกอบรม สุขภาพ อนามัย และความปลอดภัย ประการที่สอง ความเสมอภาค (equity) เช่น ค่าจ้างแรงงาน โอกาสที่ เท่าเทียมกันและการไม่แบ่งแยก (non-discrimination) และ ประการที่สาม การให้ความสําคัญ ทางด้านจริยธรรม เช่น สิทธิมนุษยชน การใช้แรงงานเด็ก และการล่วงละเมิด เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า การที่ธุรกิจจะสะท้อนความยั่งยืนในการดําเนินกิจการเพื่อไปสู่การเป็นธุรกิจ ยั่งยืนจําเป็นที่จะให้ความสําคัญกับองค์ประกอบทั้งสามองค์ประกอบอย่างจริงจัง และสะท้อนการ ดําเนินงานในทุกกิจกรรมต่อสิ่งสําคัญทั้งสามประการนั้น คือ การคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม ตลอดช่วงอายุของกิจการ กล่าวอีกนัยหนึ่ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของธุรกิจนั้นสามารถตอบสนอง ความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ส่งผลร้ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนรุ่น ต่อไป กิจกรรมของธุรกิจนั้นคํานึงถึงการกระจายผลประโยชน์แก่คนในสังคมอย่างเสมอภาคกัน (fairness) กิจกรรมของธุรกิจนั้นต้องมีส่วนส่งเสริมสภาวะความเป็นอยู่ที่ดี (wellbeing) ของคนใน สังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และต้องไม่ส่งผลกระทบในทาง ลบกับสิ่งแวดล้อม หากจะกล่าวให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจของธุรกิจต้องคํานึงถึง กลุ่มคนในสังคมที่ธุรกิจควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบโดยตรง ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ (stakeholders) ขององค์กรธุรกิจนั้น กล่าวคือกลุ่มที่สามารถสร้างผลกระทบ โดยตรงต่อธุรกิจ หรือผู้ ที่รับผลกระทบโดยตรงจากธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมไม่เพียงแต่ผู้ถือหุ้น แต่รวมถึงพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐ รวมถึง ชุมชนใกล้เคียง และสังคมโดยรวมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจนั้น ยิ่งธุรกิจ สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดียึดหลักการบริหารจัดการที่ดี (Good Corporate Governance) ใน การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านการสร้างความเชื่อถือไว้ใจ ความเคารพซึ่งกัน และกันและการมีส่วนร่วม ธุรกิจนั้นก็จะยิ่งได้รับการยอมรับจากสังคมและจะสามารถดําเนินไปได้ อย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ตัวชี้วัดของ “ ธุรกิจยั่งยืน ” คือการวัดผลการดําเนินงานของธุรกิจในกระบวนทัศน์ใหม่ของ ธุรกิจยั่งยืนนี้จะมีขอบเขตความหมายที่กว้างกว่าเพียงการวัดผลสําเร็จทางธุรกิจในแง่ของรายได้และ ผลกําไร แต่จะรวมถึงตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่สะท้อนความยั่งยืนของธุรกิจเข้าไปด้วย ในช่วงทศวรรษ 1990 มี การพัฒนาระบบการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในองค์กร เช่น ISO14001 เพื่อช่วยองค์กรทุก ประเภทในการสร้างระบบการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยการกําหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อม และที่ผ่านมามีองค์กรจํานวนมากที่ผ่านการ รับรองการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 จากจานวน 13,368 องค์กรในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1999 เป็นจานวน 129,031 องค์กรในธันวาคม ค.ศ. 2006 (Corporate Risk Management Company, 2000-2007) แต่ชัดเจนว่ามาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวอาจไม่
  • 7. 123 สามารถสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่าองค์กรที่ผ่านการรับรองจะจัดเป็นองค์กรธุรกิจยั่งยืน เนื่องจาก มาตรฐานดังกล่าวไม่ได้เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่องค์กรในการจัดการกับการประเด็นทางสิ่งแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและส่วนมากจะเน้นที่การควบคุมและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก มากกว่าประเด็นทางด้านสังคมและจริยธรรม ดังนั้น การกําหนดมาตรฐานที่จะพัฒนา ISO 14001 ให้ นําไปสู่ความยั่งยืนขององค์กรได้ต้องเน้น 3 ประเด็นสําคัญ ได้แก่ ประเด็นแรก ผลกระทบทางสังคม และแนวทางสําหรับการควบคุมผลกระทบนั้น ประเด็นที่สอง แนวปฏิบัติสาหรับการจัดการทางด้าน สิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ประเด็นที่สาม วิธีการที่จะสื่อสารข้อมูลผลการดําเนินงาน ทางด้านสิ่งแวดล้อมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอองค์กรและผู้มีอํานาจในการตัดสินใจ ดังนั้น เพื่อจะบรรลุตามกรอบแนวทางที่เสนอ องค์กรธุรกิจต้องมีการดําเนินการที่มากกว่าระบบการจัดการ ทางด้านสิ่งแวดล้อม และมีวิธีการในการดําเนินธุรกิจแนวใหม่ที่จะบรรลุตามเป้าหมายความยั่งยืนนั้น นอกจากนั้น กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ รัฐบาล ผู้บริโภคและนักลงทุนที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม มากขึ้น (“ Green ” consumers and investors) มีแนวโน้มที่จะเรียกร้องจากองค์กรธุรกิจมากขึ้น ที่จะต้องมีระบบการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมและดําเนินกิจการให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา ที่ยั่งยืน โดยต้องอยู่ในกระบวนการตัดสินใจและการกําหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาขององค์กร จาก ความต้องการกระแสการพัฒนาที่ยั่งยืนที่จะเพิ่มมากขึ้นนี้จึงเป็นสิ่งจําเป็นที่องค์กรธุรกิจที่ต้องการจะมี แนวปฏิบัติที่ยั่งยืนจะต้องมีตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงแนวปฏิบัติทางธุรกิจที่ยั่งยืนได้ เหตุผลในการสร้างตัวชี้วัดของ “ ธุรกิจยั่งยืน ” ก็เพื่อ ประการแรก กํากับติดตามและ ประเมินประสิทธิผลของการดาเนินงานตามเป้าหมายของการเป็น “ ธุรกิจยั่งยืน ” ประการที่สอง เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงสาธารณะ ผู้ทําหน้าที่ในการตัดสินใจ และฝ่ายจัดการ มีข้อมูลสําหรับการตัดสินใจที่สอดคล้อง กับการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประการที่สาม เพื่อเปรียบเทียบการกระทําหรือผลการดําเนินงานของ องค์กรธุรกิจที่สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับการเป็นแนวปฏิบัติเพื่อธุรกิจยั่งยืน ดังนั้น การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจในองค์กรธุรกิจเพื่อความยั่งยืนจึงได้สรุปแนวทาง การดําเนินกิจกรรมทางธุรกิจไว้ 7 ประการคือ 1. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม กล่าวคือ เทคโนโลยีที่ราคาไม่แพงแต่ถูกตามหลักวิชาการ 2. มีขนาดการผลิตที่เหมาะสม สอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการ 3. ไม่โลภเกินไปและไม่เน้นกําไรในระยะสั้น 4. ซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค แรงงาน ลูกค้า ตลอดจนผู้ จําหน่ายวัตถุดิบ
  • 8. 124 5. เน้นการกระจายความเสี่ยง โดยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และ/หรือ มีความสามารถใน การปรับเปลี่ยนผลผลิตได้ง่าย 6. เน้นการบริหารความเสี่ยงต่ํา โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อหนี้จนเกินขีดความสามารถในการ บริหารจัดการ 7. เน้นการตอบสนองตลาดทั้งภายในท้องถิ่น ภายในภูมิภาค ตลาดภายในและตลาดต่าง ประเทศตามลําดับ เป็นหลัก 11.2 สรุป งานศึกษาและแนวคิดจากการรวบรวมและสํารวจการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในระดับพื้นที่ชุมชน ท้องถิ่นและระดับประเทศรวมซึ่งถึงภาคธุรกิจเอกชน สะท้อนถึงการประยุกต์ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีอย่างแพร่หลาย ทั้งในพื้นที่การเกษตร อุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมการ ผลิตและการบริการซึ่งมักมีการดําเนินงานภายในชุมชนและท้องถิ่น จึงเป็นประเด็นของการพัฒนา ชุมชน โดยแนวคิดต่าง ๆ ดังกล่าวได้นําหลักกว้างขององค์ประกอบ สามห่วงสองเงื่อนไขมาตีความแล้ว นํามาประยุกต์กับแนวคิดไม่ว่าจะเป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานจากวัฒนธรรมชุมชน แนวคิดการบริหาร จัดการภาครัฐและเอกชน การขับเคลื่อนโดยใช้กลไกภาคีทุกภาคส่วน ทําให้การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว สามารถ ขยายไปยังทุกภาคส่วนอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจต่อแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในปัจจุบัน ยังมีความ คลาดเคลื่อนและไม่สามารถทําความเข้าใจได้เนื่องจากความมีอคติ การไม่ยอมรับ ทําให้เกิดแนวคิดที่ ขัดแย้ง และแนวคิดที่เกิดจากความไม่แน่ใจต่อการประยุกต์และความเชื่อของค่านิยมแนวคิดปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว แบบฝึกหัด ให้นักศึกษาค้นคว้างานวิจัยในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ แล้วนําเสนอพร้อมทั้งสรุปประเด็นของ องค์ประกอบของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยบนพื้นฐาน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาข้อมูลข่าวสารและระบบเครือข่ายทุนทางสังคม
  • 9. 125 4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนความร่วมมอระหว่างภาคีการพัฒนาในการจัดทํา แผนชุมชน 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเพื่อขยายเครือข่ายการพัฒนาในระดับพื้นที่บน พื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6. นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน ทําการศึกษาข้อมูลต่างๆ ทั้งในชุมชนภาคเกษตรกรรม การ บริหารการพัฒนาภาครัฐ การบริหารในภาคเอกชน แล้วนํามาวิเคราะห์องค์ประกอบและปัจจัยขับเคลื่อน ของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 7. นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 5 คน เพื่อศึกษาข้อมูลจากสถานที่จริง ข้อมูลเอกสารต่าง ๆ เพื่อจัดทํา แบบจําลองในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 8. ประเด็นที่จะนําไปสู่ความยั่งยืนขององค์กรภายใต้มาตรฐาน ISO 14001 มีอะไรบ้าง 9. แนวทางในการดําเนินงานด้วยการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการประกอบ ธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดย่อม มีอะไรบ้าง 10. ให้นักศึกษาอธิบายประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมในการประกอบธุรกิจที่ยั่งยืน และ นักศึกษาคิดว่า วิสาหกิจชุมชนต้องมีองค์ประกอบนี้หรือไม่ 11. ให้นักศึกษาอธิบายกลยุทธ์ขององค์กรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เชิงอรรถ 1 อ่านรายละเอียดใน นิภา วิริยะพิพัฒน์. (2552). ผู้นําธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงใน องค์กร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 147-162. 2 อ่านรายละเอียดใน สุริยนต์ หลาบหนองแสง. (2555). การพัฒนาสังคมไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคม อาเซียนในปี พ.ศ. 2558. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 8 (1), 6-18. 3 บทความเพื่อนําเสนอในการประชุมวิชาการ “15 ปี จากวิกฤตเศรษฐกิจ: เศรษฐกิจพอเพียงกับความ ยั่งยืนของสังคมไทย” วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2555 ณ ห้องประชุมจีระ บุญมาก อาคารสยาม บรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒน-บริหารศาสตร์ จัดโดย ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร
  • 10. 126 เอกสารอ้างอิง นิภา วิริยะพิพัฒน์. (2552). ผู้นําธุรกิจกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 147-162. สุริยนต์ หลาบหนองแสง. (2555). การพัฒนาสังคมไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 8 (1), 6-18. ณดา จันทร์สม.(2555). บทความเพื่อนําเสนอในการประชุมวิชาการ “15 ปี จากวิกฤตเศรษฐกิจ: เศรษฐกิจพอเพียงกับความยั่งยืนของสังคมไทย. บทความเพื่อนําเสนอในการประชุมวิชาการ “15 ปี วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2555 ณ ห้องประชุมจีระ บุญมาก อาคารสยามบรมราช กุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒน-บริหาร.