SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 5
หัวข้อเรื่อง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม
รายละเอียด ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม กรอบนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 การสร้างและปลูกจิตสํานึกในภาค
ประชาชน คุณธรรมและจริยธรรมในภาครัฐและภาคเอกชนหลักและแนวคิดธรรมมาภิบาลทั้งภาครัฐ
และเอกชน หลักทศพิธราชธรรมในภาครัฐ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยายเนื้อหาวิชา
2. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน
สื่อการสอน
1. การบรรยาย
2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การนําเสนอแนวคิด
3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1 การทดสอบย่อยและแบบฝึกหัดในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง
2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การนําเสนอรายงานใน
ประเด็นที่นักศึกษาสนใจและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
48
3. สัดส่วนของการประเมิน (20 คะแนน)
3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 50
3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การนําเสนอ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอ
ร้อยละ 50
เนื้อหาที่สอน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม
5.1 ประเด็นในการพิจารณาการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนา
เศรษฐกิจส่วนรวม
กรอบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ได้วางแนวทางการพัฒนา
เศรษฐกิจส่วนรวมไว้ ดังกรณีศึกษาด้านล่าง
ตารางที่ 5.1 กรณีศึกษาการนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 (2555 – 2559) โดยรวม
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่
จะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยัง
ต้องเผชิญกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ผันผวน ซับซ้อนและคาดการณ์
ผลกระทบได้ยาก แม้ว่าในภาพรวมสังคมไทยมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น และมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งแตกต่างกันไป
ทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชนและสังคม แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง
ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประเทศต้องเผชิญกับความเสี่ยงในหลายมิติ โดยเฉพาะความ
เสี่ยงจากการบริหารภาครัฐที่อ่อนแอ โครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้ง
ความเสี่ยงจากความเสื่อมถอยของค่านิยมที่ดีงามในสังคมไทย ความเสื่อมโทรมของฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงด้านความมั่นคงของประเทศ จึงจําเป็นต้องนํา
ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่พร้อมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้นภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โดยเสริมสร้างทุนที่มีอยู่ของประเทศให้เข้มแข็งทั้งทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทาง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมเพื่อ
เตรียมพร้อมให้ประเทศสามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงมีแนวคิดที่มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘-๑๐ โดยยังคงยึดหลัก “ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ” และ “ คนเป็น
ศูนย์กลางของการพัฒนา ”
49
ตารางที่ 5.1 (ต่อ)
ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555 1
แม้ว่า การพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนไม่ได้เป็นประเด็นสําคัญ ของแนวคิดดังกล่าว แต่การ
กล่าวถึงความยั่งยืนในที่นี้คือ การสร้างความมั่นคงและความมีเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจและ
สังคมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของปัจจัยต่างๆ จากภายนอก
1. การพิจารณาในประเด็นของการสร้างความมั่นคงและความมีเสถียรภาพดังกล่าว
จําเป็นต้องพิจารณาในด้านต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาตามนโยบายประสบผลได้แก่
1) การสร้างหรือปลูกจิตสํานึกในด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในการดําเนินชีวิตทั้งในภาค
ประชาชน ภาครัฐและภาคธุรกิจอุตสาหกรรม การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว โดยจําเป็นต้องปิดกั้น
รวมทั้ง “ สร้างสมดุลการพัฒนา ” ในทุกมิติ และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจน
ยิ่งขึ้นในทุกระดับ เพื่อให้การพัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปบนทางสายกลาง เชื่อมโยงทุกมิติ
ของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการเมือง โดยมีการ
วิเคราะห์อย่าง “ มีเหตุผล ” และใช้หลัก “ ความพอประมาณ ” ให้เกิดความสมดุลระหว่างมิติทาง
วัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ความสมดุล ระหว่างความสามารถในการพึ่งตนเอง กับการแข่งขันใน
เวทีโลก ความสมดุลระหว่างสังคมชนบทกับเมือง เตรียม “ ระบบภูมิคุ้มกัน ” ด้วยการบริหาร
จัดการความเสี่ยงให้เพียงพอ พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและ
ภายในประเทศ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอนต้องใช้ “ ความรอบรู้ ” ในการ
พัฒนาด้านต่างๆ ด้วยความรอบคอบ เป็นไปตามลําดับขั้นตอน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของ
สังคมไทย รวมทั้งเสริมสร้างศีลธรรมและสํานึกใน “ คุณธรรม ” จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่และ
ดําเนินชีวิตด้วย “ ความเพียร ” จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งใน
ระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติการกําหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การ
พัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นในมิติการ
พัฒนาด้านต่างๆ เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่สังคมไทยต้องเผชิญ และเสริมรากฐานของประเทศด้าน
ต่างๆ ให้เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการให้ความสําคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ ก้าว
ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
และความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนําไปสู่การ
พัฒนาประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน
50
การพัฒนาตามแนวทางกระแสหลัก ทั้งนี้การปลูกจิตสํานึกในระดับภาคประชาชน ได้แก่ การใช้ความ
เอื้ออาทรเพื่อการอยู่ร่วมกันในภาคประชาชน ซึ่งจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเกิดนวัตกรรมอันเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เนื่องจากการ
ผสมผสานภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิมเข้ากับภูมิปัญญาสมัยใหม่อันเกิดจากความก้าวหน้าและการ
เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จะทําให้เกิดการผสมผสานด้านวัฒนธรรม
โดยเฉพาะการเชื่อมต่อทางวัฒนธรรมซึ่งถือเป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้เกิดความเข้มแข็งของสังคม ทั้งใน
ระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชนท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ
2) คุณธรรมและจริยธรรมในระดับภาครัฐ คือการที่ภาครัฐต้องคํานึงถึงการนําหลักความเป็น
ธรรมาภิบาล (Good Governance) มาใช้ในการบริหารเพื่อการตอบสนองความต้องการภาค
ประชาชนและภาคธุรกิจเอกชนได้ตรงตามความต้องการ หลักธรรมาภิบาลได้แก่2
2.1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติให้
ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือ
ปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
2.2) หลักคุณธรรม (Moral) คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณ
รงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อ
สัตย์สุจริต ความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น
2.3) หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ การทําให้สังคมเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูล
ข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาและสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไก
การทํางานขององค์การให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถ
เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มี
ประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันและช่วยให้การทํางานของภาครัฐและ
ภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น
2.4) หลักความมีส่วนร่วม (Participation) คือ การทําให้สังคมเป็นสังคมของการมีส่วนร่
วมภาคประชาชนให้เกิดการรับรู้และการมีส่วนร่วมนําเสนอความเห็นในการตัดสินใจสําคัญ ๆ ของ
ภาคสาธารณะ โดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความ
เห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติหรืออื่น ๆ และขจัดการผูกขาดทั้ง
โดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่าง
ภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
2.5) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) ผู้บริหารพนักงานและลูกจ้างภาครัฐมีความ
ตั้งใจในการปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ เพื่ออํานวยความสะดวกต่าง ๆ
51
มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่อง ในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้
ไขได้ทันท่วงที
2.6) หลักความคุ้มค่า (Economy) ผู้บริหารภาครัฐมีความตระหนักถึงข้อจํากัดของ
ทรัพยากรดังนั้น การบริหารจัดการจึงจําเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ซึ่งมีจุดมุ่ง
หมายสู่ผู้รับบริการหรือภาคประชาชน
3) นอกจากหลักการดังกล่าว การปรับปรุงในระดับการบริหารทั้งระบบในภาครัฐเพื่อให้การ
บริการสามารถเอื้อและสนองความต้องการ และเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้กับภาคประชาชนบนพื้นฐาน
ของการแก้ไขปัญหาร่วมกัน หลักการบริหารภาครัฐในเชิงคุณธรรมและจริยธรรมอีกลักษณะหนึ่ง
ได้แก่ หลักทศพิธราชธรรมหรือธรรม 10 ประการที่บุคลากรภาครัฐต้องยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติใน
การบริหารสาธารณะและการพัฒนาภาคสาธารณะให้เป็นไปตามกรอบนโยบายดังกลกล่าว หลัก
ทศพิธราชธรรม ได้แก่
3.1) ทาน หมายถึงการให้ (Charity) การให้เป็นคุณธรรมข้อแรกของนักบริหารตามหลัก
ทางพุทธศาสนา การให้นั้นมีอยู่ ๒ อย่างคือ อมิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุสิ่งของ เช่น ให้เงินทองเสื้อผ้า
ให้ที่อยู่อาศัย ให้อาหาร ธรรมทาน ได้แก่ การให้ธรรมหรือความรู้ ให้สติปัญญา ให้กําลังใจ ให้อภัย ให้
ความรัก ให้ความเอื้อเฟื้อให้ความเมตตา
3.2) ศีล หมายถึงความมีระเบียบวินัย (Self – Discipline) ได้แก่ ความมีระเบียบวินัย
เคร่งครัด ระมัดระวัง ควบคุมตนเอง มีความสามารถในการบริหารคน บริหารงานและบริหารบ้านเมือง
3.3) ปริจาคะ หมายถึงการเสียสละ (Self – Sacrifice) คือ การเสียสละละทิ้งความหมาย
เชิงปฏิบัติของการให้ในลักษณะของ “ทาน” ซึ่งเป็นการให้สิ่งที่ตนมีอยู่และในเพียงบางส่วน แต่การให้
ลักษณะของ “ บริจาค ” เป็นการให้ทั้งหมด ให้ไม่มีส่วนเหลือ บุคลากรภาครัฐที่ดีต้องมีความพร้อมใน
การเสียสละ คือการเสียสละทั้ง ๔ คือ เสียสละทรัพย์ เสียสละอวัยวะ เสียสละชีวิต เสียสละทั้งหมด ทั้ง
ทรัพย์ อวัยวะและชีวิตเพื่อรักษาความถูกต้องดีงามของบ้านเมือง
3.4) อาชวะ หมายถึง ความซื่อตรง (Honesty) ความซื่อตรงเป็นหลักธรรมที่สําคัญ
บุคลากรภาครัฐ บุคลากรภาครัฐต้องเป็นบุคคลที่ซื่อตรง ไม่คดโกง โปร่งใส ตรวจสอบได้ จึงสามารถนํา
คนนํางาน นําบ้านเมืองสู่เป้าหมายได้อย่างปลอดภัยรวดเร็ว ตรงกันข้ามกับบุคลากรภาครัฐที่ไร้ซึ่ง
ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ซื่อตรง คดโกง ทรยศต่อชาติบ้านเมือง พระพุทธศาสนาเปรียบเทียบไว้ว่าเป็น
“ มหาโจร ” ปล้นชาติปล้นแผ่นดินตามวิสัยของมหาโจร
3.5) มัททวะ หมายถึงความอ่อนโยน (Gentleness) เป็นคุณธรรมที่สําคัญอย่างยิ่ง ถือว่า
เป็นบุคคลระดับ “ ยอดคน ” เปรียบไปแล้วก็เหมือนยอดต้นไม้ต้องอ่อน ถ้าไม่อ่อนก็ไม่ใช่ยอดคน ผู้ที่
ถือว่าเป็นยอดคนก็ต้องเป็นบุคคลที่อ่อนโยนนุ่มนวลไม่หยาบคาย ไม่แข็งกระด้าง ไม่เย่อหยิ่งยโสโอหัง
ลดมานะละทิฐิ
52
3.6) ตปะ หมายถึงการระงับยับยั้งข่มใจ (Self – Austerity) “ตปธรรม” คือการแผดเผา
กิเลสตัณหามิให้เข้ามาครอบงําย่ํายีจิตใจของตนเอง ละความชั่วภายในตอนเองให้หมดไป หล่อหลอม
เอาแต่ความดีงามใส่ตัว มีความดีเป็นแบบอย่าง มีความพากเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
3.7) อักโกธะ หมายถึงความไม่โกรธ (Non – Anger) คือบุคคลผู้มีบทบาทมีอํานาจหน้าที่
ในการบริหารจัดการโดยเฉพาะ การตัดสินใจ (Decision – Making) มีความสงบ เยือกเย็น เห็นตน
เห็นคน เห็นงาม เห็นบ้านเมืองอย่างแจ่มใสไม่ขุ่นมัว
3.8) อวิหิงสา หมายถึงการไม่เบียดเบียน (Non – Violence) คือ ไม่เบียดเบียนทั้งคนและ
สัตว์ รวมทั้งไม่เบียดเบียนธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ไม่มีความเห็นผิด
จากทํานองคลองธรรม ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ความเท่าเทียม ความเสมอภาค เคารพใน
กฎหมาย ไม่ทะเลาะวิวาทบาดหมางกันด้วยความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยนําความคิดเห็นที่แตกต่าง
กันมาสร้างความสามัคคี
3.9) ขันติ หมายถึงความอดทน (Tolerance) มีความอดทนหรือการมีขันติ และการมีความ
สงบเสงี่ยมเจียมตัว หรือการมีโสรัจจะ สามารถฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นคนที่มีความอดทนและความ
เสงี่ยมเจียมตัวอยู่เสมอ
3.10) อวิโรธนะ หมายถึงความไม่คลาดธรรม (Non - Opposition) คือมีความหนักแน่นใน
ธรรม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว สถิตมั่นในธรรม สามารถบริหารตนเอง บริหารบุคลากร บริหารงาน
และการบริหารบ้านเมืองโดยไม่มีความผิดพลาดความเสียหาย ไม่มีพิรุธใด ๆ เพราะหากมีความ
ผิดพลาดมีพิรุธบกพร่อง ย่อมเป็นช่องทางให้เกิดความหายนะสะสมทับถมต่อเนื่องและเรื้อรัง และต้อง
มีหลักการ หลักวิชา และหลักธรรมในการบริหารการทํางาน ไม่ว่างานใหญ่หรืองานเล็ก ซึ่งต้องไม่มี
ข้อผิดพลาด ไม่หลงทิศ ไม่ผิดทางห่างเป้าหมาย
4) การสร้างจิตสํานึกในเชิงคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดแก่ภาคเอกชนทั้งในการบริหาร
ภายในของภาคเอกชนและการบริการผู้บริโภค ภายใต้จิตสํานึกดังกล่าว จะทําให้เกิดคุณภาพทั้ง
ผลผลิตและการให้บริการแก่ภาคประชาชน โดยหลักการที่มีการกําหนดกรอบนโยบายการพัฒนาซึ่ง
เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของภาคประชาชนและแรงงานในภาคประชาชนคือ กรอบนโยบายด้าน
ความรับผิดชอบทางสังคม (CSR: Corporate Social Responsibility) หรือความร่วมรับผิดชอบ
ทางสังคมและการคืนกลับสู่สังคมของภาคเอกชน
หลักการร่วมรับผิดชอบทางสังคม (CSR)3
ซึ่งเป็นภาระของกลุ่มธุรกิจที่จะต้องมีการเชื่อมโยง
เป็นเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคม ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับการร่วม
รับผิดชอบทางสังคมเกิดจากการประชุมระดับโลกที่กรุงเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ในปี 2535 มีการ
กล่าวถึงทิศ ทางใหม่ของการพัฒนาที่เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development)
โดยมีการเรียกร้องให้เกิดการพัฒนาที่เอาใจใส่ในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกเหนือจาก
53
การมุ่งเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ในระยะเวลาต่อมา องค์กรความร่วมมือ
ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้บรรจุเรื่อง การร่วมรับผิดชอบทางสังคมไว้ในแนวทาง
ปฏิบัติสําหรับวิสาหกิจข้ามชาติ ในปี 2000 ซึ่งเสนอให้วิสาหกิจข้ามชาติคํานึงถึงการร่วมรับผิดชอบ
ทางสังคม ในองค์กรและการติดต่อค้าขาย การทําธุรกรรมกับเฉพาะคู่ค้าที่มีหลักการดังกล่าวร่วมกัน
ทําให้ธุรกิจใดที่ไม่มีการร่วมรับผิดชอบทางสังคม เช่น การผลิตที่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม การใช้
แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม ฯลฯ จะไม่สามารถติดต่อค้าขายกับวิสาหกิจที่มีถิ่นฐานในประเทศสมาชิก
OECD ได้อีกต่อไป และในเดือนมกราคม ปี ค.ศ.1999 ในการประชุม เวิลด์อีโคโนมิกฟอรั่ม (World
Economic Forum) ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (Mr.Kofi
Annan) ได้เรียกร้องให้องค์กรธุรกิจแสดงความเป็นพลเมืองที่ดีของโลก (Good Global Citizen -
ship) ในทุกที่และในทุกประเทศที่ตนทํามาหากินอยู่ ด้วยการเคารพต่อหลักต่างๆ ที่เป็นข้อตกลง
นานาชาติในด้านสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม โดยได้เสนอบัญญัติ 9 ประการ
เรียกกันว่า “ ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ (The Global Compact or The UN Global Compact) ”
และต่อมาได้เพิ่มเป็นบัญญัติ 10 ประการ สําหรับองค์กรธุรกิจและประกาศอย่างเป็นทางการในเดือน
กรกฎาคม ปี 2000 เพื่อเป็นกรอบที่ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยความเป็นพลเมืองดีของธุรกิจที่มี
ผู้นําที่สร้างสรรค์และยอมรับพันธะสัญญาของผลกระทบของโลกาภิวัตน์ (Global Compact) ด้วย
ความสมัครใจซึ่งธนาคารโลกและธนาคารเพื่อพัฒนาแห่งเอเชีย(Asian Development Bank : ADB)
ก็ได้นําหลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมมาเป็นเงื่อนไขในการปล่อยกู้แทนประเด็นตาม
หลักประชาธิปไตย ซึ่งหลักธรรมาภิบาลดังกล่าว ประกอบด้วยลักษณะที่สําคัญ คือ การบริหาร
จัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ การตรวจสอบได้ (Accountability) ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ
และการมีกรอบกฎหมายสําหรับการพัฒนา ซึ่งธนาคารโลกได้แยกหลักธรรมาภิบาลออกจากแนวคิด
ประชาธิปไตย โดยเน้นในเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นในการ
ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย แต่ถือว่าหลักธรรมาภิบาลกับหลักประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่ไป
ด้วยกัน เนื่องจากลักษณะหลายอย่างของธรรมาภิบาล เช่น ความรับผิดชอบและความโปร่งใส รวมถึง
การเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณะและการถูกตรวจสอบโดย สาธารณะอันเป็นเงื่อนไขสําคัญของ
ประชาธิปไตย และเป็นส่วนสําคัญของการทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยในกลุ่ม
ประเทศที่กําลังพัฒนา และการส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของกลุ่มธุรกิจ
เอกชนที่ควรมีจิตสํานึกต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยนํามาเป็นเงื่อนไขในการปล่อยเงินกู้ให้แก่
ประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(International Monetary Fund : IMF) โดยกําหนดเงื่อนไขให้ประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือทาง
การเงินจะต้องสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นและมีการดําเนินการตามนโยบายสาธารณะที่ได้ตกลงไว้ใน
สัญญารับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะช่วยให้ประเทศที่ประสบปัญหาสามารถ
54
พัฒนาเศรษฐกิจให้กลับสู่เสถียรภาพได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ในระยะยาว สังคมที่มีธรรมาภิบาลจะเป็น
สังคมที่มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีความสมดุลในการบริหารบ้านเมืองและมีภูมิคุ้มกันวิกฤตที่จะเกิดขึ้น
ภายหลังซึ่งไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF และ ADB และ
กลายเป็นมาตรฐานสากลที่องค์การสหประชาชาติต้องการให้เกิดขึ้นในระบบบริหารจัดการภาครัฐ
ด้วย
5) หลักธรรมาภิบาลในภาคเอกชน ได้แก่
5.1) การมีส่วนร่วม (Participation) ทุกคนทั้งเพศชายและหญิงมีสิทธิ์มีเสียงในการ
ตัดสินใจทั้งโดยทางตรงหรือผ่านทางสถาบันตัวแทนอันชอบธรรมของตน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมที่เปิด
กว้างนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงความคิดเห็นรวมถึง
ความสามารถเข้ามีส่วนร่วมอย่างมีเหตุผลในเชิงสร้างสรรค์
5.2) หลักนิติธรรม (Rule of Law) กรอบตัวบทกฎหมายต้องมีความเป็นธรรม และไม่มี
การเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
5.3) ความโปร่งใส (Transparency) ต้องอยู่บนพื้นฐานของการไหลข้อมูลข่าวสารอย่าง
เสรีบุคคลที่มีความสนใจเกี่ยวข้องจะต้องสามารถเข้าถึงสถาบัน องค์กร กระบวนการและข้อมูล
ข่าวสารได้โดยตรง ทั้งนี้ การได้รับข้อมูลข่าวสารดังกล่าว ต้องมีความเพียงพอต่อการทําความเข้าใจ
และการติดตามประเมินสถานการณ์
5.4) การตอบสนอง (Responsiveness) สถาบัน องค์กรและกระบวนการดําเนินงานต้อง
ดูแลเอาใจใส่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
5.5) การมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus - Oriented) มีการประสานความแตกต่างใน
ผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆ เพื่อหาข้อยุติร่วมกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย
และกระบวนการขั้นตอนใด ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
5.6) ความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรม (Equity) ชายและหญิงทุกคนต้องมีโอกาสในการ
ปรับปรุงสถานะหรือรักษาระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตน
5.7) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effectiveness and Efficiency) สถาบัน องค์กร
และกระบวนการต้องสร้างผลสัมฤทธิ์ที่ตรงต่อความต้องการ และขณะเดียวกันก็ต้องใช้ทรัพยากรให้
เกิดประโยชน์สูงสุด
5.8) ภาระรับผิดชอบ (Accountability) ผู้มีอํานาจตัดสินใจ ไม่ว่าจะอยู่ในภาครัฐภาคเอก
ชน และองค์กรภาคประชาสังคมก็ตาม ต้องมีภาระรับผิดชอบต่อสาธารณชนทั่วไปและผู้มีส่วนได้ส่วน
เสียในสถาบันของตน
5.9) วิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Vision) ผู้นําและบรรดาสาธารณชนต้องมี
มุมมอง ที่เปิดกว้างและมองการณ์ไกลเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองและการพัฒนามนุษย์
55
รวมถึงมีจิตสํานึกว่าอะไรคือความต้องการจําเป็นต่อการพ (สังคม)ัฒนาดังกล่าว ตลอดจนมีความ
เข้าใจในความสลับซับซ้อนของบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในแต่ละ
ประเด็นนั้น
5.2 โดยสรุปในประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการวางกรอบ
นโยบายซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักการสากลในระดับโลกาภิวัตน์ (Globalization) ทั้งนี้ จุดมุ่ง
หมายของกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมดังกล่าวได้มุ่งเน้นความมั่นคงทางสังคม ความมี
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการทําให้เกิดความยั่งยืนของเศรษฐกิจและสังคมซึ่ง หมายถึง การ
พัฒนาไปสู่สังคมคุณภาพ ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐและภาคเอกชน
แบบฝึกหัด
นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อหากรณีศึกษามานําเสนอ อภิปรายโต้แย้งในประเด็นต่าง
ต่อไปนี้
1. การศึกษาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
2. หลักธรรมมาภิบาลในภาครัฐ
3. หลักการบริหารภาครัฐภายใต้หลักทศพิธราชธรรม
4. อภิปรายความหมายของการร่วมรับผิดชอบทางสังคม
5. หลักธรรมาภิบาลของภาคเอกชน
6. อภิปรายถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
7. นักศึกษาอธิบายกรอบนโยบายภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจ
โดยรวม
8. นักศึกษามีความเข้าใจต่อแนวคิด สมดุลในการพัฒนาทุกมิติอย่างไร
9. ให้นักศึกษาอธิบายหลักการสร้างความมั่นคงและความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและ
สังคม
10. คําว่า ปริจาคะ แตกต่างจากคําว่า การให้ทานอย่างไร ผู้นําในการพัฒนาจําเป็นต้องยึดถือ
หลักปริจาคะหรือไม่
56
เชิงอรรถ
1
อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555).
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙). กรุงเทพฯ: สํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
2
อ่านรายละเอียดใน ปัทมา สาธุ. (ม.ป.ป.). การบริหารโดยใช้หลักทศพิธราชธรรม. 1 เมษายน
2556, https://www.gotoknow.org/posts/282143
3
อ่านรายละเอียดใน สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.(ม.ป.ป.). ความหมาย และพัฒนาการของหลัก
ธรรมาภิบาล. คณะทํางานส่งเสริมธรรมาภิบาล. 1 เมษายน 2557, http://www. socgg.soc. go.
th/History1.htm.
57
เอกสารอ้างอิง
ปัทมา สาธุ. (ม.ป.ป.). การบริหารโดยใช้หลักทศพิธราชธรรม. 1 เมษายน 2556, https://www.
gotoknow.org/posts/282143
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.(ม.ป.ป.). ความหมาย และพัฒนาการของหลักธรรมาภิบาล.
คณะทํางานส่งเสริมธรรมาภิบาล. 1 เมษายน 2557, http://www.socgg.soc.go.
th/History1.htm.

More Related Content

Viewers also liked (12)

River Long Profile
River Long ProfileRiver Long Profile
River Long Profile
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Session b
Session bSession b
Session b
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Media evaluation 2
Media evaluation 2Media evaluation 2
Media evaluation 2
 
Communication
CommunicationCommunication
Communication
 
Media evaluation 2
Media evaluation 2Media evaluation 2
Media evaluation 2
 
Communication
CommunicationCommunication
Communication
 
авто
автоавто
авто
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
 
Microsoft word สารบัญ
Microsoft word   สารบัญMicrosoft word   สารบัญ
Microsoft word สารบัญ
 
Power point
Power pointPower point
Power point
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่ 5

หลักธรรมาภิบาล ใหม่
หลักธรรมาภิบาล ใหม่หลักธรรมาภิบาล ใหม่
หลักธรรมาภิบาล ใหม่Chalermpon Dondee
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมjirapom
 
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...freelance
 
นวัตกรรม การจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษา
นวัตกรรม  การจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษานวัตกรรม  การจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษา
นวัตกรรม การจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษาครูแชมป์ ฟักอ่อน
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงIFon Lapthavon
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงsukhom
 
วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์nang_phy29
 
โครงสร้าง
โครงสร้างโครงสร้าง
โครงสร้างSumontira Niyama
 
บทที่ 5 การดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมฯ
บทที่  5 การดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมฯบทที่  5 การดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมฯ
บทที่ 5 การดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมฯThamonwan Theerabunchorn
 
Phil0351sm ch2
Phil0351sm ch2Phil0351sm ch2
Phil0351sm ch2ratthirod
 
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptpronprom11
 
โครงการสอน.pdf
โครงการสอน.pdfโครงการสอน.pdf
โครงการสอน.pdfbodinkesorn1
 
โครงการสอน.pdf
โครงการสอน.pdfโครงการสอน.pdf
โครงการสอน.pdfbodinkesorn1
 
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ05102500
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่ 5 (20)

หลักธรรมาภิบาล ใหม่
หลักธรรมาภิบาล ใหม่หลักธรรมาภิบาล ใหม่
หลักธรรมาภิบาล ใหม่
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
 
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
 
นวัตกรรม การจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษา
นวัตกรรม  การจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษานวัตกรรม  การจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษา
นวัตกรรม การจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษา
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 
บทความวิชาการ โยนิโสมนสิการ
บทความวิชาการ โยนิโสมนสิการบทความวิชาการ โยนิโสมนสิการ
บทความวิชาการ โยนิโสมนสิการ
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์
 
โครงสร้าง
โครงสร้างโครงสร้าง
โครงสร้าง
 
001
001001
001
 
บทที่ 5 การดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมฯ
บทที่  5 การดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมฯบทที่  5 การดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมฯ
บทที่ 5 การดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมฯ
 
Phil0351sm ch2
Phil0351sm ch2Phil0351sm ch2
Phil0351sm ch2
 
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
 
002
002002
002
 
โครงการสอน.pdf
โครงการสอน.pdfโครงการสอน.pdf
โครงการสอน.pdf
 
โครงการสอน.pdf
โครงการสอน.pdfโครงการสอน.pdf
โครงการสอน.pdf
 
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
Microsoft word สัปดาห์ที่14
Microsoft word   สัปดาห์ที่14Microsoft word   สัปดาห์ที่14
Microsoft word สัปดาห์ที่14
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่1
Microsoft word   สัปดาห์ที่1Microsoft word   สัปดาห์ที่1
Microsoft word สัปดาห์ที่1
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
 
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word   ปกเอกสารประกอบการสอนMicrosoft word   ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
 
Microsoft word บรรณานุกรม
Microsoft word   บรรณานุกรมMicrosoft word   บรรณานุกรม
Microsoft word บรรณานุกรม
 

Microsoft word สัปดาห์ที่ 5

  • 1. แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 5 หัวข้อเรื่อง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม รายละเอียด ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม กรอบนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 การสร้างและปลูกจิตสํานึกในภาค ประชาชน คุณธรรมและจริยธรรมในภาครัฐและภาคเอกชนหลักและแนวคิดธรรมมาภิบาลทั้งภาครัฐ และเอกชน หลักทศพิธราชธรรมในภาครัฐ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยายเนื้อหาวิชา 2. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน สื่อการสอน 1. การบรรยาย 2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การนําเสนอแนวคิด 3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา 1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1 การทดสอบย่อยและแบบฝึกหัดในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง 2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การนําเสนอรายงานใน ประเด็นที่นักศึกษาสนใจและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • 2. 48 3. สัดส่วนของการประเมิน (20 คะแนน) 3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 50 3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การนําเสนอ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอ ร้อยละ 50 เนื้อหาที่สอน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม 5.1 ประเด็นในการพิจารณาการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนา เศรษฐกิจส่วนรวม กรอบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ได้วางแนวทางการพัฒนา เศรษฐกิจส่วนรวมไว้ ดังกรณีศึกษาด้านล่าง ตารางที่ 5.1 กรณีศึกษาการนําเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555 – 2559) โดยรวม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่ จะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยัง ต้องเผชิญกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ผันผวน ซับซ้อนและคาดการณ์ ผลกระทบได้ยาก แม้ว่าในภาพรวมสังคมไทยมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น และมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งแตกต่างกันไป ทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชนและสังคม แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประเทศต้องเผชิญกับความเสี่ยงในหลายมิติ โดยเฉพาะความ เสี่ยงจากการบริหารภาครัฐที่อ่อนแอ โครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้ง ความเสี่ยงจากความเสื่อมถอยของค่านิยมที่ดีงามในสังคมไทย ความเสื่อมโทรมของฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงด้านความมั่นคงของประเทศ จึงจําเป็นต้องนํา ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่พร้อมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้นภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเสริมสร้างทุนที่มีอยู่ของประเทศให้เข้มแข็งทั้งทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทาง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมเพื่อ เตรียมพร้อมให้ประเทศสามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงมีแนวคิดที่มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘-๑๐ โดยยังคงยึดหลัก “ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ” และ “ คนเป็น ศูนย์กลางของการพัฒนา ”
  • 3. 49 ตารางที่ 5.1 (ต่อ) ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555 1 แม้ว่า การพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนไม่ได้เป็นประเด็นสําคัญ ของแนวคิดดังกล่าว แต่การ กล่าวถึงความยั่งยืนในที่นี้คือ การสร้างความมั่นคงและความมีเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจและ สังคมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของปัจจัยต่างๆ จากภายนอก 1. การพิจารณาในประเด็นของการสร้างความมั่นคงและความมีเสถียรภาพดังกล่าว จําเป็นต้องพิจารณาในด้านต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาตามนโยบายประสบผลได้แก่ 1) การสร้างหรือปลูกจิตสํานึกในด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในการดําเนินชีวิตทั้งในภาค ประชาชน ภาครัฐและภาคธุรกิจอุตสาหกรรม การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว โดยจําเป็นต้องปิดกั้น รวมทั้ง “ สร้างสมดุลการพัฒนา ” ในทุกมิติ และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจน ยิ่งขึ้นในทุกระดับ เพื่อให้การพัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปบนทางสายกลาง เชื่อมโยงทุกมิติ ของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการเมือง โดยมีการ วิเคราะห์อย่าง “ มีเหตุผล ” และใช้หลัก “ ความพอประมาณ ” ให้เกิดความสมดุลระหว่างมิติทาง วัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ความสมดุล ระหว่างความสามารถในการพึ่งตนเอง กับการแข่งขันใน เวทีโลก ความสมดุลระหว่างสังคมชนบทกับเมือง เตรียม “ ระบบภูมิคุ้มกัน ” ด้วยการบริหาร จัดการความเสี่ยงให้เพียงพอ พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและ ภายในประเทศ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอนต้องใช้ “ ความรอบรู้ ” ในการ พัฒนาด้านต่างๆ ด้วยความรอบคอบ เป็นไปตามลําดับขั้นตอน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของ สังคมไทย รวมทั้งเสริมสร้างศีลธรรมและสํานึกใน “ คุณธรรม ” จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่และ ดําเนินชีวิตด้วย “ ความเพียร ” จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งใน ระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติการกําหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การ พัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นในมิติการ พัฒนาด้านต่างๆ เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่สังคมไทยต้องเผชิญ และเสริมรากฐานของประเทศด้าน ต่างๆ ให้เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการให้ความสําคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ ก้าว ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนําไปสู่การ พัฒนาประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน
  • 4. 50 การพัฒนาตามแนวทางกระแสหลัก ทั้งนี้การปลูกจิตสํานึกในระดับภาคประชาชน ได้แก่ การใช้ความ เอื้ออาทรเพื่อการอยู่ร่วมกันในภาคประชาชน ซึ่งจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเกิดนวัตกรรมอันเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เนื่องจากการ ผสมผสานภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิมเข้ากับภูมิปัญญาสมัยใหม่อันเกิดจากความก้าวหน้าและการ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จะทําให้เกิดการผสมผสานด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะการเชื่อมต่อทางวัฒนธรรมซึ่งถือเป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้เกิดความเข้มแข็งของสังคม ทั้งใน ระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชนท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ 2) คุณธรรมและจริยธรรมในระดับภาครัฐ คือการที่ภาครัฐต้องคํานึงถึงการนําหลักความเป็น ธรรมาภิบาล (Good Governance) มาใช้ในการบริหารเพื่อการตอบสนองความต้องการภาค ประชาชนและภาคธุรกิจเอกชนได้ตรงตามความต้องการ หลักธรรมาภิบาลได้แก่2 2.1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติให้ ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือ ปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม 2.2) หลักคุณธรรม (Moral) คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณ รงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อ สัตย์สุจริต ความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น 2.3) หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ การทําให้สังคมเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูล ข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาและสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไก การทํางานขององค์การให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันและช่วยให้การทํางานของภาครัฐและ ภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น 2.4) หลักความมีส่วนร่วม (Participation) คือ การทําให้สังคมเป็นสังคมของการมีส่วนร่ วมภาคประชาชนให้เกิดการรับรู้และการมีส่วนร่วมนําเสนอความเห็นในการตัดสินใจสําคัญ ๆ ของ ภาคสาธารณะ โดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความ เห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติหรืออื่น ๆ และขจัดการผูกขาดทั้ง โดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่าง ภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน 2.5) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) ผู้บริหารพนักงานและลูกจ้างภาครัฐมีความ ตั้งใจในการปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ เพื่ออํานวยความสะดวกต่าง ๆ
  • 5. 51 มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่อง ในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ ไขได้ทันท่วงที 2.6) หลักความคุ้มค่า (Economy) ผู้บริหารภาครัฐมีความตระหนักถึงข้อจํากัดของ ทรัพยากรดังนั้น การบริหารจัดการจึงจําเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ซึ่งมีจุดมุ่ง หมายสู่ผู้รับบริการหรือภาคประชาชน 3) นอกจากหลักการดังกล่าว การปรับปรุงในระดับการบริหารทั้งระบบในภาครัฐเพื่อให้การ บริการสามารถเอื้อและสนองความต้องการ และเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้กับภาคประชาชนบนพื้นฐาน ของการแก้ไขปัญหาร่วมกัน หลักการบริหารภาครัฐในเชิงคุณธรรมและจริยธรรมอีกลักษณะหนึ่ง ได้แก่ หลักทศพิธราชธรรมหรือธรรม 10 ประการที่บุคลากรภาครัฐต้องยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติใน การบริหารสาธารณะและการพัฒนาภาคสาธารณะให้เป็นไปตามกรอบนโยบายดังกลกล่าว หลัก ทศพิธราชธรรม ได้แก่ 3.1) ทาน หมายถึงการให้ (Charity) การให้เป็นคุณธรรมข้อแรกของนักบริหารตามหลัก ทางพุทธศาสนา การให้นั้นมีอยู่ ๒ อย่างคือ อมิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุสิ่งของ เช่น ให้เงินทองเสื้อผ้า ให้ที่อยู่อาศัย ให้อาหาร ธรรมทาน ได้แก่ การให้ธรรมหรือความรู้ ให้สติปัญญา ให้กําลังใจ ให้อภัย ให้ ความรัก ให้ความเอื้อเฟื้อให้ความเมตตา 3.2) ศีล หมายถึงความมีระเบียบวินัย (Self – Discipline) ได้แก่ ความมีระเบียบวินัย เคร่งครัด ระมัดระวัง ควบคุมตนเอง มีความสามารถในการบริหารคน บริหารงานและบริหารบ้านเมือง 3.3) ปริจาคะ หมายถึงการเสียสละ (Self – Sacrifice) คือ การเสียสละละทิ้งความหมาย เชิงปฏิบัติของการให้ในลักษณะของ “ทาน” ซึ่งเป็นการให้สิ่งที่ตนมีอยู่และในเพียงบางส่วน แต่การให้ ลักษณะของ “ บริจาค ” เป็นการให้ทั้งหมด ให้ไม่มีส่วนเหลือ บุคลากรภาครัฐที่ดีต้องมีความพร้อมใน การเสียสละ คือการเสียสละทั้ง ๔ คือ เสียสละทรัพย์ เสียสละอวัยวะ เสียสละชีวิต เสียสละทั้งหมด ทั้ง ทรัพย์ อวัยวะและชีวิตเพื่อรักษาความถูกต้องดีงามของบ้านเมือง 3.4) อาชวะ หมายถึง ความซื่อตรง (Honesty) ความซื่อตรงเป็นหลักธรรมที่สําคัญ บุคลากรภาครัฐ บุคลากรภาครัฐต้องเป็นบุคคลที่ซื่อตรง ไม่คดโกง โปร่งใส ตรวจสอบได้ จึงสามารถนํา คนนํางาน นําบ้านเมืองสู่เป้าหมายได้อย่างปลอดภัยรวดเร็ว ตรงกันข้ามกับบุคลากรภาครัฐที่ไร้ซึ่ง ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ซื่อตรง คดโกง ทรยศต่อชาติบ้านเมือง พระพุทธศาสนาเปรียบเทียบไว้ว่าเป็น “ มหาโจร ” ปล้นชาติปล้นแผ่นดินตามวิสัยของมหาโจร 3.5) มัททวะ หมายถึงความอ่อนโยน (Gentleness) เป็นคุณธรรมที่สําคัญอย่างยิ่ง ถือว่า เป็นบุคคลระดับ “ ยอดคน ” เปรียบไปแล้วก็เหมือนยอดต้นไม้ต้องอ่อน ถ้าไม่อ่อนก็ไม่ใช่ยอดคน ผู้ที่ ถือว่าเป็นยอดคนก็ต้องเป็นบุคคลที่อ่อนโยนนุ่มนวลไม่หยาบคาย ไม่แข็งกระด้าง ไม่เย่อหยิ่งยโสโอหัง ลดมานะละทิฐิ
  • 6. 52 3.6) ตปะ หมายถึงการระงับยับยั้งข่มใจ (Self – Austerity) “ตปธรรม” คือการแผดเผา กิเลสตัณหามิให้เข้ามาครอบงําย่ํายีจิตใจของตนเอง ละความชั่วภายในตอนเองให้หมดไป หล่อหลอม เอาแต่ความดีงามใส่ตัว มีความดีเป็นแบบอย่าง มีความพากเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส 3.7) อักโกธะ หมายถึงความไม่โกรธ (Non – Anger) คือบุคคลผู้มีบทบาทมีอํานาจหน้าที่ ในการบริหารจัดการโดยเฉพาะ การตัดสินใจ (Decision – Making) มีความสงบ เยือกเย็น เห็นตน เห็นคน เห็นงาม เห็นบ้านเมืองอย่างแจ่มใสไม่ขุ่นมัว 3.8) อวิหิงสา หมายถึงการไม่เบียดเบียน (Non – Violence) คือ ไม่เบียดเบียนทั้งคนและ สัตว์ รวมทั้งไม่เบียดเบียนธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ไม่มีความเห็นผิด จากทํานองคลองธรรม ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ความเท่าเทียม ความเสมอภาค เคารพใน กฎหมาย ไม่ทะเลาะวิวาทบาดหมางกันด้วยความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยนําความคิดเห็นที่แตกต่าง กันมาสร้างความสามัคคี 3.9) ขันติ หมายถึงความอดทน (Tolerance) มีความอดทนหรือการมีขันติ และการมีความ สงบเสงี่ยมเจียมตัว หรือการมีโสรัจจะ สามารถฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นคนที่มีความอดทนและความ เสงี่ยมเจียมตัวอยู่เสมอ 3.10) อวิโรธนะ หมายถึงความไม่คลาดธรรม (Non - Opposition) คือมีความหนักแน่นใน ธรรม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว สถิตมั่นในธรรม สามารถบริหารตนเอง บริหารบุคลากร บริหารงาน และการบริหารบ้านเมืองโดยไม่มีความผิดพลาดความเสียหาย ไม่มีพิรุธใด ๆ เพราะหากมีความ ผิดพลาดมีพิรุธบกพร่อง ย่อมเป็นช่องทางให้เกิดความหายนะสะสมทับถมต่อเนื่องและเรื้อรัง และต้อง มีหลักการ หลักวิชา และหลักธรรมในการบริหารการทํางาน ไม่ว่างานใหญ่หรืองานเล็ก ซึ่งต้องไม่มี ข้อผิดพลาด ไม่หลงทิศ ไม่ผิดทางห่างเป้าหมาย 4) การสร้างจิตสํานึกในเชิงคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดแก่ภาคเอกชนทั้งในการบริหาร ภายในของภาคเอกชนและการบริการผู้บริโภค ภายใต้จิตสํานึกดังกล่าว จะทําให้เกิดคุณภาพทั้ง ผลผลิตและการให้บริการแก่ภาคประชาชน โดยหลักการที่มีการกําหนดกรอบนโยบายการพัฒนาซึ่ง เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของภาคประชาชนและแรงงานในภาคประชาชนคือ กรอบนโยบายด้าน ความรับผิดชอบทางสังคม (CSR: Corporate Social Responsibility) หรือความร่วมรับผิดชอบ ทางสังคมและการคืนกลับสู่สังคมของภาคเอกชน หลักการร่วมรับผิดชอบทางสังคม (CSR)3 ซึ่งเป็นภาระของกลุ่มธุรกิจที่จะต้องมีการเชื่อมโยง เป็นเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคม ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับการร่วม รับผิดชอบทางสังคมเกิดจากการประชุมระดับโลกที่กรุงเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ในปี 2535 มีการ กล่าวถึงทิศ ทางใหม่ของการพัฒนาที่เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) โดยมีการเรียกร้องให้เกิดการพัฒนาที่เอาใจใส่ในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกเหนือจาก
  • 7. 53 การมุ่งเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ในระยะเวลาต่อมา องค์กรความร่วมมือ ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้บรรจุเรื่อง การร่วมรับผิดชอบทางสังคมไว้ในแนวทาง ปฏิบัติสําหรับวิสาหกิจข้ามชาติ ในปี 2000 ซึ่งเสนอให้วิสาหกิจข้ามชาติคํานึงถึงการร่วมรับผิดชอบ ทางสังคม ในองค์กรและการติดต่อค้าขาย การทําธุรกรรมกับเฉพาะคู่ค้าที่มีหลักการดังกล่าวร่วมกัน ทําให้ธุรกิจใดที่ไม่มีการร่วมรับผิดชอบทางสังคม เช่น การผลิตที่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม การใช้ แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม ฯลฯ จะไม่สามารถติดต่อค้าขายกับวิสาหกิจที่มีถิ่นฐานในประเทศสมาชิก OECD ได้อีกต่อไป และในเดือนมกราคม ปี ค.ศ.1999 ในการประชุม เวิลด์อีโคโนมิกฟอรั่ม (World Economic Forum) ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (Mr.Kofi Annan) ได้เรียกร้องให้องค์กรธุรกิจแสดงความเป็นพลเมืองที่ดีของโลก (Good Global Citizen - ship) ในทุกที่และในทุกประเทศที่ตนทํามาหากินอยู่ ด้วยการเคารพต่อหลักต่างๆ ที่เป็นข้อตกลง นานาชาติในด้านสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม โดยได้เสนอบัญญัติ 9 ประการ เรียกกันว่า “ ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ (The Global Compact or The UN Global Compact) ” และต่อมาได้เพิ่มเป็นบัญญัติ 10 ประการ สําหรับองค์กรธุรกิจและประกาศอย่างเป็นทางการในเดือน กรกฎาคม ปี 2000 เพื่อเป็นกรอบที่ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยความเป็นพลเมืองดีของธุรกิจที่มี ผู้นําที่สร้างสรรค์และยอมรับพันธะสัญญาของผลกระทบของโลกาภิวัตน์ (Global Compact) ด้วย ความสมัครใจซึ่งธนาคารโลกและธนาคารเพื่อพัฒนาแห่งเอเชีย(Asian Development Bank : ADB) ก็ได้นําหลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมมาเป็นเงื่อนไขในการปล่อยกู้แทนประเด็นตาม หลักประชาธิปไตย ซึ่งหลักธรรมาภิบาลดังกล่าว ประกอบด้วยลักษณะที่สําคัญ คือ การบริหาร จัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ การตรวจสอบได้ (Accountability) ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และการมีกรอบกฎหมายสําหรับการพัฒนา ซึ่งธนาคารโลกได้แยกหลักธรรมาภิบาลออกจากแนวคิด ประชาธิปไตย โดยเน้นในเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นในการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย แต่ถือว่าหลักธรรมาภิบาลกับหลักประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่ไป ด้วยกัน เนื่องจากลักษณะหลายอย่างของธรรมาภิบาล เช่น ความรับผิดชอบและความโปร่งใส รวมถึง การเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณะและการถูกตรวจสอบโดย สาธารณะอันเป็นเงื่อนไขสําคัญของ ประชาธิปไตย และเป็นส่วนสําคัญของการทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยในกลุ่ม ประเทศที่กําลังพัฒนา และการส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของกลุ่มธุรกิจ เอกชนที่ควรมีจิตสํานึกต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยนํามาเป็นเงื่อนไขในการปล่อยเงินกู้ให้แก่ ประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) โดยกําหนดเงื่อนไขให้ประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือทาง การเงินจะต้องสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นและมีการดําเนินการตามนโยบายสาธารณะที่ได้ตกลงไว้ใน สัญญารับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะช่วยให้ประเทศที่ประสบปัญหาสามารถ
  • 8. 54 พัฒนาเศรษฐกิจให้กลับสู่เสถียรภาพได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ในระยะยาว สังคมที่มีธรรมาภิบาลจะเป็น สังคมที่มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีความสมดุลในการบริหารบ้านเมืองและมีภูมิคุ้มกันวิกฤตที่จะเกิดขึ้น ภายหลังซึ่งไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF และ ADB และ กลายเป็นมาตรฐานสากลที่องค์การสหประชาชาติต้องการให้เกิดขึ้นในระบบบริหารจัดการภาครัฐ ด้วย 5) หลักธรรมาภิบาลในภาคเอกชน ได้แก่ 5.1) การมีส่วนร่วม (Participation) ทุกคนทั้งเพศชายและหญิงมีสิทธิ์มีเสียงในการ ตัดสินใจทั้งโดยทางตรงหรือผ่านทางสถาบันตัวแทนอันชอบธรรมของตน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมที่เปิด กว้างนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงความคิดเห็นรวมถึง ความสามารถเข้ามีส่วนร่วมอย่างมีเหตุผลในเชิงสร้างสรรค์ 5.2) หลักนิติธรรม (Rule of Law) กรอบตัวบทกฎหมายต้องมีความเป็นธรรม และไม่มี การเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน 5.3) ความโปร่งใส (Transparency) ต้องอยู่บนพื้นฐานของการไหลข้อมูลข่าวสารอย่าง เสรีบุคคลที่มีความสนใจเกี่ยวข้องจะต้องสามารถเข้าถึงสถาบัน องค์กร กระบวนการและข้อมูล ข่าวสารได้โดยตรง ทั้งนี้ การได้รับข้อมูลข่าวสารดังกล่าว ต้องมีความเพียงพอต่อการทําความเข้าใจ และการติดตามประเมินสถานการณ์ 5.4) การตอบสนอง (Responsiveness) สถาบัน องค์กรและกระบวนการดําเนินงานต้อง ดูแลเอาใจใส่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย 5.5) การมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus - Oriented) มีการประสานความแตกต่างใน ผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆ เพื่อหาข้อยุติร่วมกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย และกระบวนการขั้นตอนใด ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 5.6) ความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรม (Equity) ชายและหญิงทุกคนต้องมีโอกาสในการ ปรับปรุงสถานะหรือรักษาระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตน 5.7) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effectiveness and Efficiency) สถาบัน องค์กร และกระบวนการต้องสร้างผลสัมฤทธิ์ที่ตรงต่อความต้องการ และขณะเดียวกันก็ต้องใช้ทรัพยากรให้ เกิดประโยชน์สูงสุด 5.8) ภาระรับผิดชอบ (Accountability) ผู้มีอํานาจตัดสินใจ ไม่ว่าจะอยู่ในภาครัฐภาคเอก ชน และองค์กรภาคประชาสังคมก็ตาม ต้องมีภาระรับผิดชอบต่อสาธารณชนทั่วไปและผู้มีส่วนได้ส่วน เสียในสถาบันของตน 5.9) วิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Vision) ผู้นําและบรรดาสาธารณชนต้องมี มุมมอง ที่เปิดกว้างและมองการณ์ไกลเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองและการพัฒนามนุษย์
  • 9. 55 รวมถึงมีจิตสํานึกว่าอะไรคือความต้องการจําเป็นต่อการพ (สังคม)ัฒนาดังกล่าว ตลอดจนมีความ เข้าใจในความสลับซับซ้อนของบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในแต่ละ ประเด็นนั้น 5.2 โดยสรุปในประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการวางกรอบ นโยบายซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักการสากลในระดับโลกาภิวัตน์ (Globalization) ทั้งนี้ จุดมุ่ง หมายของกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมดังกล่าวได้มุ่งเน้นความมั่นคงทางสังคม ความมี เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการทําให้เกิดความยั่งยืนของเศรษฐกิจและสังคมซึ่ง หมายถึง การ พัฒนาไปสู่สังคมคุณภาพ ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐและภาคเอกชน แบบฝึกหัด นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อหากรณีศึกษามานําเสนอ อภิปรายโต้แย้งในประเด็นต่าง ต่อไปนี้ 1. การศึกษาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม 2. หลักธรรมมาภิบาลในภาครัฐ 3. หลักการบริหารภาครัฐภายใต้หลักทศพิธราชธรรม 4. อภิปรายความหมายของการร่วมรับผิดชอบทางสังคม 5. หลักธรรมาภิบาลของภาคเอกชน 6. อภิปรายถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม 7. นักศึกษาอธิบายกรอบนโยบายภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยรวม 8. นักศึกษามีความเข้าใจต่อแนวคิด สมดุลในการพัฒนาทุกมิติอย่างไร 9. ให้นักศึกษาอธิบายหลักการสร้างความมั่นคงและความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและ สังคม 10. คําว่า ปริจาคะ แตกต่างจากคําว่า การให้ทานอย่างไร ผู้นําในการพัฒนาจําเป็นต้องยึดถือ หลักปริจาคะหรือไม่
  • 10. 56 เชิงอรรถ 1 อ่านรายละเอียดใน สํานักงานคณะกรรมการพฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙). กรุงเทพฯ: สํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2 อ่านรายละเอียดใน ปัทมา สาธุ. (ม.ป.ป.). การบริหารโดยใช้หลักทศพิธราชธรรม. 1 เมษายน 2556, https://www.gotoknow.org/posts/282143 3 อ่านรายละเอียดใน สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.(ม.ป.ป.). ความหมาย และพัฒนาการของหลัก ธรรมาภิบาล. คณะทํางานส่งเสริมธรรมาภิบาล. 1 เมษายน 2557, http://www. socgg.soc. go. th/History1.htm.
  • 11. 57 เอกสารอ้างอิง ปัทมา สาธุ. (ม.ป.ป.). การบริหารโดยใช้หลักทศพิธราชธรรม. 1 เมษายน 2556, https://www. gotoknow.org/posts/282143 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.(ม.ป.ป.). ความหมาย และพัฒนาการของหลักธรรมาภิบาล. คณะทํางานส่งเสริมธรรมาภิบาล. 1 เมษายน 2557, http://www.socgg.soc.go. th/History1.htm.