SlideShare a Scribd company logo
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 1




                    เอกสารประกอบการสอน
                       เรื่อง วิวัฒนาการ




                              รวบรวมโดย
                           นางอังสนา แสนเยีย
                              ตาแหน่งครู




                 โรงเรียนหนองซนพิทยาคม
        สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22

Biologynsp.wordpress.com
                                                          20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 2


                                           คาชี้แจง
          คู่มือเอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยาเล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนเข้าใจขอบเขตของ
เนื้อหาสาระที่สื่อประกอบการสอนเรื่องนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการใช้สื่อประกอบการสอนอย่างเหมาะสม
ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนของผู้เรียน กระตุ้นความสนใจ ให้ความกระจ่าง
เกี่ยวกับศัพท์ทางวิชาการที่ควรทราบ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้บูรณาการความรู้ที่ได้รับโดยการอภิปราย
ร่วมกัน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้ น โดยเอกสารในเล่มนี้ มีหัวข้อดังต่อไปนี้
          1. หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
          2. แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
          3. พันธุศาสตร์ประชากร
         4. การเปลี่ยนแปลงความถี่ของอัลลีน
          5. การเกิดสปีชีย์ใหม่
         6. แบบทดสอบตัวอย่าง



                                                                              อังสนา แสนเยีย
                                                                                 ผูเรียบเรียง
                                                                                   ้




Biologynsp.wordpress.com
                                                                                 20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 3



                                 วิวัฒนาการ (Evolution)

 1. หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
     1.1. หลักฐานซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต
     หลักฐานดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตหรือหลักฐานทางธรณีวิทยา(geological evidence) เป็นหลักฐาน
ซากพืชซากสัตว์ในชั้นหินต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า ซากดึกดาบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) วิชาที่ศึกษาซากเหล่านี้
เรียกว่า บรรพชีวินวิทยา ( paleontology)




                              ภาพที่ 1 รูปซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต

        1.2. หลักฐานกายวิภาคเปรียบเทียบ
        การศึกษาเปรียบเทียบของโครงสร้างต่างๆในตัวเต็มวัย กาเนิด หน้าที่ และการทางานของกลุ่ม
สิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้แก่ Homologous structure และ Analogous structure
              Homologous structure
       โครงสร้างมาจากจุดกาเนิดเดียวกันแต่ทาหน้าที่ต่างกัน วิวัฒนาการของโครงสร้างนี้เรียกว่า
Homology การที่มีจุดกาเนิดเดียวกันแสดงว่าสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันในเชิงวิวัฒนาการ
(มีบรรพบุรุษร่วมกัน)




Biologynsp.wordpress.com
                                                                                    20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 4




  ภาพที่ 2 เปรียบเทียบ Homologous structure ของระยางคู่หน้าในสัตว์มีกระดูกสันหลังซึ่งจะ
  แตกต่างกันในขนาด รูปร่างและหน้าที่ แต่มีแบบแผนของโครงสร้างคล้ายคลึงกัน (สังเกตลักษณะ
                      กระดูกชิ้นต่างๆที่มีสีเดียว มาจากจุดกาเนิดเดียวกัน)

          Analogous structure
      โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่มาจากจุดกาเนิดต่างกันแต่ทาหน้าที่เหมือนกัน เรียกวิวัฒนาการ
ของโครงสร้างนี้ว่า Analogy ในเชิงวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ไม่มีความสัมพันธ์กันทางบรรพ
บุรุษ




                  ภาพที่ 3 เปรียบเทียบ ปีกนก ปีกแมลง โครงสร้างมาจากจุดกาเนิดต่างกัน
                                แต่นาไปใช้ในการบินเช่นเดียวกัน
2 แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
         2.1 กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่
         ชองบัปติสต์เดลามาร์ก (JeanBaptistedeLarmarck)เป็นนักชีววิทยาชาวฝรั่งเศสเป็นบุคคลแรกที่
ได้วางรากฐานทางวิวัฒนาการขึ้นและได้ตั้งทฤษฎีขึ้น เรียกว่า ทฤษฎีของลามาร์ก (Lamarck’s theory)
และตีพิมพ์ในหนังสือ philosophinezoologigueในปีพ.ศ.2345เป็นที่เชื่อถือกันมากกว่า 70ปีลามาร์กได้
ศึกษาและจาแนกพืชและสัตว์และพบว่าลักษณะของสิ่งมีชีวิตจะแปรผันไปตามสภาพแวดล้อมในอาณาจักร
สัตว์จะมีแบบฉบับพื้นฐานแบบเดียวกันสัตว์ชนิดเดียวกันย่อมมีรูปแบบพื้นฐานเหมือนกันและการ
เปลี่ยนแปลงของลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นประโยชน์แก่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ข้อเท็จจริงจากการศึกษา
เหล่านี้ทาให้ลามาร์กเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของลามาร์กขึ้น มีใจความสาคัญคือ
Biologynsp.wordpress.com
                                                                              20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 5

       1. สิ่งมีชีวิตและส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตมีความโน้มเอียงที่จะมีขนาดเพิ่มขึ้น
       2. การเกิดอวัยวะใหม่มีผลมาจากความต้องการใหม่ในการดารงชีวิต
       3. อวัยวะใดที่ถูกใช้อยู่เสมอ มีความโน้มเอียงที่จะมีการเจริญและมีขนาดเพิ่มขึ้น อวัยวะใดไม่ค่อยได้
ใช้จะเสื่อมหายไป ซึ่งพัฒนาไปเป็นกฎการใช้และไม่ใช้ (Law of Use and Disuse)
       4. การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้ง 3 ประการข้างต้น สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ เรียกว่า
กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (LawofInheritanceofAcquiredCharacteristics)อันเป็นผล
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รูปร่างลักษณะมากขึ้นตามระยะเวลาลามาร์กได้อธิบายลักษณะคอยาวของยีราฟ
ว่า ยีราฟในอดีตนั้นคอสั้นกว่าปัจจุบัน ยีราฟต้องยืดคอขึ้นกินยอดไม้ที่อยู่สูง ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้นาน ๆ จึงทา
ให้ลูกหลานยีราฟคอค่อย ๆ ยาวขึ้นและลักษณะดังกล่าวสามารถถ่ายทอดลักษณะไปสู่ลูกหลานได้
ในยุคนั้นได้รับการเชื่อถือมากแต่ในปัจจุบันความเชื่อนี้ได้หมดไปเนื่องจากการถ่ายทอดลักษณะทาง
พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตไม่ได้เกิดจากการฝึกปรือหรือการใช้อยู่เสมอ




        ภาพที่ 4 แนวคิดที่เกี่ยวกับยีราฟที่มีลักษณะคอและขายาวของลามาร์ก

          2.2. ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน
       ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นนักธรรมชาติวิทยาได้เดินทาง ไปกับเรือสารวจ บีเกิล ของรัฐบาลอังกฤษ ซึง่
เดินทางไปสารวจและทาแผนที่ของฝั่งของทะเลทวีปอเมริกาใต้ ดาร์วินได้ประสบการณ์ จากการศึกษาพืช
และสัตว์ที่มีอยู่เฉพาะที่หมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos) แห่งเดียวในโลกดาร์วินได้สังเกตนกกระจอกที่
อยู่บริเวณหมู่เกาะกาลาปากอสและนกฟินช์ (finch)หลายชนิดพบว่าแต่ละชนิดมีขนาดและรูปร่างของ
จงอยปากแตกต่างกัน ตามความ เหมาะสมแก่การที่จะใช้กินอาหารแต่ละประเภท นกฟินช์มีลักษณะคล้าย
นกกระจอกมากแตกต่างกัน เฉพาะลักษณะของจงอยปากเท่านั้น ดาร์วินเชื่อว่าบรรพบุรุษของนกฟินช์บน
เกาะกาลาปากอสน่าจะ สืบเชื้อสายมาจากนกฟินช์บนแผ่นดินใหญ่แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางและ
เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม ของบรรพบุรุษนกฟินช์ มาเป็นเวลานานจนเกิด ดาร์วินได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่ง
วิชาวิวัฒนาการ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินดังนี้คือ “ความแปรผันที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิต
ใด ๆ ก็ตามย่อมมีส่วนช่วยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดารงชีวิตได้ ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ส่วนความแปรผันที่ไม่
เหมาะสมทาให้สิ่งมีชีวิตถูกกาจัดไปด้วยเหตุนี้เมื่อเวลาล่วงเลยไปนานขึ้นลักษณะที่เหมาะสมก็จะสะสมไป
Biologynsp.wordpress.com
                                                                                       20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 6

นานขึ้น ลักษณะที่เหมาะสม ก็จะสะสมไปนานขึ้น เกิดสิ่งมีชีวิตแตกต่าง จากเดิมมากมาย จนในที่สุดก็เกิด
สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่”




                       ภาพที่ 5 นกฟินช์ชนิดต่างๆบนหมู่เกาะกาลาปากอส

3.พันธุศาสตร์ประชากร
       3.1. พันธุศาสตร์ประชากร
        ประชากรหมายถึงกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่รวมกันในพื้นที่หนึ่งๆโดยสมาชิกในประชากรของ
สิ่งมีชีวิตนั้นสามารถสืบพันธุ์ระหว่างกันได้และให้ ลูกที่ไม่เป็นหมัน ในประชากรหนึ่งๆจะประกอบด้วย
สมาชิกที่มียีนควบคุมลักษณะต่างๆจานวนมาก ยีนทั้งหมดที่มีอยู่ในประชากรในช่วงเวลาหนึ่งเรียกว่ายีน
พูล(genepool)ซึ่งประกอบด้วยแอลลีล(allele)ทุกแอลลีลจากทุกยีนของสมาชิกทุกตัวในประชากรนั้น
ดังนั้นพันธุศาสตร์ประชากร เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีน (gene frequency)
หรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล( allele frequency) ที่เป็นองค์ประกอบทางพันธุกรรมของ
ประชากร และปัจจัยที่ทาให้ความถี่ของแอลลีลเปลี่ยนแปลง สิ่งที่น่าสนใจคือเราจะศึกษาความถี่ของแอล
ลีลในประชากรได้อย่างไร
      3.2.การหาความถี่ของแอลลีลในประชากร
        สิ่งมีชีวิตที่เป็นดิพลอยในแต่ละเซลล์มีจานวนโครโมโซมเพียง 2 ชุด และแต่ละยีนจะมี 2 แอลลีล
ดังนั้นถ้าเรารู้จานวนจีโนไทป์แต่ละชนิดของประชากร เราจะสามารถหาความถี่ของจีโนไทป์ ( genotype
frequency) และความถี่ของแอลลีลในประชากรได้จากตัวอย่างดังนี้ในกลุ่มประชากรไม้ดอกชนิดหนึ่งที่
ลักษณะสีดอกถูกควบคุมโดย ยีน 2 แอลลีล คือ R ควบคุมลักษณะดอกสีแดงเป็นลักษณะเด่น และ r
ควบคุมลักษณะดอกสีขาวซึ่งเป็นลักษณะด้อย ในประชากรไม้ดอก 1,000 ต้น มีดอกสีขาว 40 ต้น และ
ดอกสีแดง 960 ต้น โดยกาหนดให้เป็นดอกสีแดงที่มีจีโนไทป์ RR 640 ต้น และดอกสีแดงมีจีโนไทป์ Rr
320 ต้น ดังแสดง



Biologynsp.wordpress.com
                                                                                20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 7




              ภาพที่ 6 ความถี่ของจีนโนไทป์และความถี่ของแอลลีลในประชากรไม้ดอก
      ดังนั้นในประชากรไม้ดอกนี้จะมีความถี่ของแอลลีล R = 0.8 และความถี่ของแอลลีล r = 0.2 ถ้า
ประชากรไม้ดอกนี้มีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่าๆกัน นักเรียนคิดว่าความถี่ของแอลลีล และความถี่ของจีโนไทป์
ในประชากรรุ่นต่อไปเป็นอย่างไร

      3.3 ทฤษฎีของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
       จี เอช ฮาร์ดี ( G.H. Hardy ) และดับเบิลยู ไวน์เบิร์ก ( W. Weinberg ) ได้ศึกษายีนพูลของ
ประชากร และได้แสนอทฤษฎีของฮาร์ดีไวน์เบิร์ก(Hardy–WeinbergTheorem)ขึ้นโดยกล่าวว่าความถี่
ของแอลลีลและความถี่ของจีโนไทป์ในยีนพูลของประชากรจะ มีค่าคงที่ในทุกๆรุ่น ถ้าไม่มีปัจจัยบางอย่าง
มาเกี่ยวข้อง เช่น มิวเทชัน การคัดเลือกโดยธรรมชาติ การอพยพ แรนดอมจีเนติกดริฟท์ (random
genetic drift) และการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน ( gene flow) เป็นต้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวก็จะได้ศึกษาใน
หัวข้อต่อไปเราสามารถทฤษฎีของ ฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ได้จากตัวอย่างประชากรไม้ดอกในภาพที่ 19-15 พบว่า
ยีนพูลของประชากรรุ่นพ่อแม่นั้นมีความถี่ของแอลลีล R = 0.8 และ r = 0.2 ถ้าสมาชิกทุกต้นในประชากร
มีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่าๆกันแล้วเซลล์สืบพันธุ์เพศ ผู้ และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียที่มีแอลลีล R มีความถี่ =
0.8 และ r มีความถี่ = 0.2 เมื่อมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ ประชากรไม้ดอกในรุ่นลูกจะมีจีโนไทป์ดัง
แสดงในภาพ




         ภาพที่ 7 แสดงการรวมกลุ่มของเซลล์สืความถี่ของจีโนไทป์ของประชากรในรุ่นลูก

Biologynsp.wordpress.com
                                                                                    20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 8

   ดังนั้นภาพที่ แสดงการรวมกลุ่มของเซลล์สืความถี่ของจีโนไทป์ของประชากรในรุ่นลูกมีดังนี้
                         RR = 0.64           2Rr = 0.32          rr = 0.04
       และจากความถี่ของจีโนไทป์ในรุ่นลูกดังกล่าว แสดงว่าความถี่ของแอลลีลในรุ่นลูกมีความถี่ของแอล
ลีล R = 0.8 และ r = 0.2นั่นคือ ประชากรไม้ดอกในรุ่นลูกยังคงมีความถี่ของจีโนไทป์ และความถี่ของ
แอลลีลเหมือนประชากรในรุ่นพ่อแม่ หรืออาจกล่าวได้ว่ายีนพูลของประชากรอยู่ในภาวะสมดุลของ ฮาร์ดี-
ไวน์เบิร์ก ( Hardy – Weinberg Equilibrium หรือ HWE ) จากตัวอย่างประชากรไม้ดอกสีแดง และสีขาว
ที่กล่าวมาแล้วนั้น สีของดอกไม้เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมด้วยยีน 2 แอลลีล คือ R และ r จะ
อธิบายสมการของ ฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ได้ดังนี้

       กาหนดให้ p คือความถี่ของแอลลีล R = 0.8
                   q คือความถี่ของแอลลีล r = 0.2
       และ p + q = 1 นั่นคือ ผลรวมความถี่ของแอลลีลของยีนหนึ่งๆในประชากรมีค่าเท่ากับ 1
                            ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า p = 1 – q หรือ q = 1 – p
เมื่อเซลล์สืบพันธุ์รวมตัวกัน ความถี่ของจีโนไทป์ในรุ่นต่อไปจะเป็นไปตามกฎของการคูณคือ
                     ความถี่ของจีโนไทป์ RR คือ p2 = ( 0.8 )2 = 0.64
                     ความถี่ของจีโนไทป์ rr คือ q2 = ( 0.2 )2 = 0.04
และความถี่ของจีโนไทป์ Rr คือ 2pq = 2(0.8)(0.2) = 0.32
                     เมื่อรวมความถี่ของทุกจีโนไทป์จะมีค่าเท่ากับ 1
                               นั่นคือ p2 + 2pq + q2 = 1
       จากสมการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก สามารถนามาใช้หาความถี่ของแอลลีล และความถี่ของจีโนไทป์ของ
ยีนพูลในประชากรได้ดังนั้นเมื่อประชากรอยู่ในสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ความถี่ของแอลลีล และความถี่
ของจีโนไทป์ในยีนพูลของประชากรจะคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะถ่ายทอดพันธุกรรมไปกี่รุ่นก็ตาม
หรืออีกนัยหนึ่งคือ ไม่เกิดวิวัฒนาการนั่นเองประชากรจะอยู่ในสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์กได้ จะต้องมี
เงื่อนไขดังนี้
       1. ประชากรมีขนาดใหญ่
       2. ไม่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนระหว่างกลุ่มประชากร
       3. ไม่เกิดมิวเทชัน ซึ่งจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแอลลีลในประชากร
       4. สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่ากัน
       5. ไม่เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ โดยสิ่งมีชีวิตทุกตัวมีโอกาสอยู่รอด และประสบความสาเร็จใน
การสืบพันธุ์ได้เท่าๆกัน
       3.4. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
       เราสามารถนาทฤษฎีของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก มาใช้ประโยชน์ในการคาดคะเนความถี่ของแอลลีลที่
เกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรม ในยีนพูลของประชากร เช่นโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ ถ้าทราบจานวน
คนที่เป็นโรคนี้ซึ่งถูกควบคุมด้วยยีนด้อย จะสามารถประมาณจานวนประชากรที่เป็นพาหะของยีนที่ทาให้
เกิดโรคนี้ได้
      ตัวอย่างเช่น ในประชากรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนึ่งมีคนเป็นโรคโลหิตจางชนิดซิก
เคิลเซลล์ จานวน 9 คน จากจานวนประชากรทั้งหมด 10,000 คน ดังนั้นจะสามารถคาดคะเนความถี่ของ
แอลลีลที่ทาให้เกิดโรคในประชากรของจังหวัด นี้ได้ โดยกาหนดให้จีโนไทป์ aa แสดงลักษณะของโรคโลหิต
จางชนิดซิกเคิลเซลล์
Biologynsp.wordpress.com
                                                                               20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 9

ดังนั้นความถี่ของ aa คือ
                       q2 = 9/10000
                             = 0.0009
                         q = 0.3
     แสดงว่าในประชากรแห่งนี้ มีความถี่ของแอลลีลที่ทาให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ เท่ากับ
0.03 หรือประมาณร้อยละ 3 นั่นเอง

4. การเปลี่ยนแปลงความถี่ของอัลลีน
       1. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
       2. การผ่าเหล่า (mutation) และการแปรผันทางพันธุกรรม
       3. การอพยพและการเคลื่อนย้ายประชากร
       4. ขนาดของประชากร
       5. รูปแบบของการผสมพันธุ์
         4.1. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
             ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ความสามารถในการสืบพันธุ์จะเพิ่มจานวนได้สูงมาก หากไม่มีปัจจัยที่จากัด
การเพิ่มจานวนแล้ว สิ่งมีชีวิตทั้งหลายคงจะล้นโลก แต่ตามที่เป็นจริง จานวนของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างจะคงที่
เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) ซึ่งอาศัยหลักเกณฑ์พื้นฐานว่าจะไม่มี
ลักษณะทางกรรมพันธุ์ชุดเดียวที่เหมาะสมต่อสภาพความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่อาศัย
ฉะนั้นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจึงต้องมีปัจจัยสาคัญ คือ ความสามารถในการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อ
การถ่ายทอดลักษณะแตกต่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตนั้นต้องอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมผล
ของการคัดเลือกโดยธรรมชาติจะได้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะสปีชีส์เดียวกันที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ทางกรรมพันธุ์ ซึ่งเรียกว่าโพลีมอร์ฟิซึม(polymorphism)
      ตัวอย่างเช่น สีและลวดลายบนเปลือกหอย : หอยชนิด Cepaea memorials เปลือกมีสีเหลือง น้า
ตาลชมพู ส้มแดง และยังมีชนิดที่มีลวดลายเป็นเส้นพาดไปตามเปลือก จากการศึกษาพบว่าในแหล่งที่อยู่ที่
มีลักษณะเรียบๆ เช่น บริเวณโคลนตมหรือทรายจะพบหอที่มีลักษณะเปลือกเป็นสีเรียบๆมากกว่าลักษณะ
อื่นๆส่วนในป่าหญ้าจะพบว่ามีหอยที่เปลือกลายมากกว่าลักษณะอื่นแต่ในที่บางแห่งก็พบหอยทั้งเปลือกมี
ลายและหอยเปลือกสีเรียบอยู่ในที่เดียวกันซึ่งพบว่าหอยเปลือกสีเรียบมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลง
อุณหภูมิได้ดีกว่าหอยเปลือกลาย ดังนั้นนอกจากความสัมพันธ์ของเหยื่อและผู้ล่าแล้ว ยังน่าจะเกี่ยวข้องกับ
การปรับตัวทางสรีระอีกด้วย




                  ภาพที่ 8 หอย Cepaea memorials ที่มีลายเปลือกต่างกัน

Biologynsp.wordpress.com
                                                                                    20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 10

สีของผีเสื้อกลางคืน ผีเสื้อกลางคืนชนิด Bristom betularia ซึ่งมีอยู่มากในประเทศอังกฤษอาศัยอยู่ตาม
ต้นไม้ที่มีไลเคนส์เกาะอยู่เต็ม สีตัวของมันจึงเป็นสีอ่อนจางซึ่งช่วยให้มันอาพรางตัวได้ดี จนกระทั่ง
ประมาณปี 1845 ซึ่งเป็นช่วงปีที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเขตเมือง จะมีเขม่าควันจากปล่องควันของ
โรงงานอุตสาหกรรมฟุ้งกระจายไปทั่วในอากาศ เริ่มมีผู้พบผีเสื้อกลางคืนสปีชีส์เดียวกันนี้แต่มีสีดาเข้มขึ้น
กว่าเดิมปรากฏขึ้นในเขตเมืองแมนเชสเตอร์ ซึ่งเป็นเขตที่มีการอุตสาหกรรมใหญ่และมีกลุ่มควันจา โรงงาน
อุตสาหกรรมทาลายพวกไลเคนส์ตามเปลือกไม้ และทาให้ต้นไม้มีสีดาเต็มไปหมด
ต่อมในช่วงเวลาไม่ถึงร้อยปีพบผีเสื้อกลางคืนที่มีสีดาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกือบทั้งหมดเป็นผีเสื้อสีดา




        ภาพที่ 9 การปรับตัวของผีเสื้อกลางคืนชนิดเดียวกันแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน

            4.2. การผ่าเหล่า (mutation) และการแปรผันทางพันธุกรรม
             การผ่าเหล่า (mutation) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตการผ่าเหล่า
หรือมิวเทชันมีทั้งที่เกิดกับเซลล์ร่างกายซึ่งเรียกว่าโซมาติคมิวเทชัน (somatic mutation) และที่เกิดกับ
เซลล์สืบพันธุ์เรียกว่าแกมีติคมิวเทชัน (gametic mutation) มิวเทชันที่มีผลต่อขบวนการวิวัฒนาการมาก
คือ มิวเทชันที่เกิดกับเซลล์สืบพันธุ์ เนื่องจากสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อๆไปได้ มิวเทชันทาให้เกิดการแปร
ผันทางพันธุกรรม นอกจากนั้นในกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะมีการแบ่งเซลล์ด้วยวิธีไมโอซิสเพื่อ
สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ในกระบวนการไมโอซิสจะมีครอสซิงโอเวอร์ (crossing over) โดยมีการแลกเปลี่ยน
ชิ้นส่วนของโฮโมโลกัสโครโมโซมซึ่งมีผลทาให้อัลลีลของยีนเกิดการเปลี่ยนตาแหน่งได้รวมทั้งการรวมกลุ่ม
กันอย่างอิสระของโครโมโซม ที่แยกตัวจากคู่ของมันแล้วเป็นผลให้ยีนต่างๆ ได้ รวมกลุ่มกันใหม่ในแต่ละรุ่น
ดังนั้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจึงช่วยให้ยีนต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ได้มีโอกาสรวมกลุ่มกัน (gene
recombination) ในรูปแบบต่างๆ ทั้งขบวนการมิวเทชันและขบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นสาเหตุ
ที่ทาให้สิ่งมีชีวิตเกิดความแปรผันทางพันธุกรรมอย่างมากมาย
            4.3.การอพยพของสมาชิกในประชากร
       สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีการอพยพเข้าหรือออกของสมาชิก ส่งผลให้ มีการหมุนเวียนพันธุกรรมหรือที่
เรียกว่าการไหลของยีน (gene flow) เกิดขึ้นระหว่างประชากรย่อยๆ ซึ่งการอพยพจะทาให้สัดส่วนของอัล
ลีลเปลี่ยนแปลงไป ในประชากรที่มีขนาดใหญ่มากๆ การอพยพเข้าหรืออพยพออกของสมาชิกอาจจะเกือบ
ไม่มีผลต่อสัดส่วนของยีนในกลุ่มประชากรเลย แต่ถ้าประชากรมีขนาดเล็ก เมื่อมีสมาชิกอพยพออกไปทาให้
กลุ่มประชากรสูญเสียยีนบางส่วน ทาให้มีโอกาสในการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนยีนกับกลุ่มยีนนั้นน้อยลง
ไป หรือไม่มีโอกาสเลยในทางกลับกัน การอพยพเข้าของประชากรในกลุ่มประชากรขนาดเล็ก จะทาให้เกิด
Biologynsp.wordpress.com
                                                                                    20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 11

การเพิ่มพูนบางส่วน หรือบางยีนใหม่เข้ามาในประชากร มีผลทาให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมของ
ประชากร
       4.4.ขนาดของประชากร
      การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร มีบทบาทสาคัญต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนและโครงสร้าง
ของยีนพูล (gene pool) ซึ่งเกิดจากโอกาส หรือความบังเอิญ หรือจากภัยธรรมชาติ ประะชากรที่มีขนาด
ใหญ่และมีการผสมพันธุ์แบบสุ่มจะไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนมากมายอย่างมีนัยสาคัญ แต่
ถ้าเป็นประชากรขนาดเล็กจะมีผลอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงผกผันทางพันธุกรรมอย่างฉับพลันอย่างไม่มี
ทิศทางแน่นอน หรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนอย่างฉับพลันโดยเหตุบังเอิญตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น
แบบสุ่ม ไม่สามารถคาดการณ์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนได้แน่นอนเช่นนี้เรียกว่าเจเนติกดริฟต์
(geneticdrift)เป็นกลไกที่สาคัญอย่างหนึ่งที่ทาให้ความถี่ของยีนมีการเบี่ยงเบนจนเกิดการเปลี่ยนแปลง
ความถี่ของยีน




                 แผนภาพที 10 ภาพแสดงปรากฏการณ์ เจเนติกดริฟต์ ของแมลงหวี่

      ตัวอย่าง ของปรากฏการณ์นี้ได้แก่ วิวัฒนาการของสัตว์ชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นตามหมู่เกาะต่างๆ ใน
            มหาสมุทรแปซิฟิก ดังตัวอย่างของแมลงหวี่ชนิดต่างๆ ที่เกิดบนหมู่เกาะฮาวาย
     หมายเหตุ : gene pool หมายถึง ยีนโดยรวมซึ่งแลกเปลี่ยนกันระหว่างสิ่งมีชีวิต โดย
เฉพาะในเผ่าพันธุ์เดียวกัน เปรียบเหมือนมีบ่อของยีน ซึ่งสิ่งมีชีวิตนามาฝากและนาไปใช้

5. กาเนิดสปีชีย์
        5.1. ความหมายของสปีชีส์
       1.1 สปีชีส์ทางด้านสัณฐานวิทยา
หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันในลักษณะทางสัณฐานและโครงสร้างทางกายวิภาคของสิ่งมีชีวิต ใช้เป็น
แนวคิด ในการศึกษาอนุกรมวิธาน
       1.2 สปีชีส์ทางด้านชีววิทยา
หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติ ให้กาเนิดลูกที่ไม่เป็นหมันแต่ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตต่างส
ปีชีส์กัน ก็อาจให้กาเนิดลูกได้เช่นกันแต่เป็นหมัน แนวคิดของสปีชีส์ทางด้านชีววิทยาโดยพิจารณา
ความสามารถในการผสมพันธุ์และให้กาเนิดลูกหลานที่ไม่เป็นหมัน ในธรรมชาติมีสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันอยู่
ด้วยกันจานวนมาก
กลไกที่แบ่งแยกการสืบพันธุ์มีผลยับยั้งมิให้เกิดการผสมาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือพันธ์ข้ามสปีชีส์ อ
       1. กลไกแบ่งแยกระดับก่อนไซโกต (prezygotic isolating mechanism) เป็นกลไกป้องกันไม่ให้เกิด
Biologynsp.wordpress.com
                                                                                       20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 12

การปฏิสนธิ อันประกอบด้วยความแตกต่างในเรื่องต่อไปนี้
        1.1 ระยะเวลาผสมพันธุ์ หรือฤดูกาลผสมพันธุ์ที่ต่างกัน (temporal isolation)
        1.2 สภาพนิเวศวิทยาที่แตกต่างกัน (ecological isolation)
        1.3 พฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่แตกต่างกัน (behavioral isolation)
        1.4 โครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน (mechanical isolation)
        1.5 สรีรวิทยาของเซลล์สืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน (genetic isolation)
     2. กลไกแบ่งแยกระยะหลังไซโกต (postzygotic isolating mechanism)
ถ้าหากในกรณีที่กลไกแบบแรกล้มเหลวยังสามารถควบคุมได้โดย
        2.1 ลูกที่ผสมได้ตายก่อนวัยเจริญพันธุ์
         2.2 ลูกที่ผสมได้เป็นหมัน
        2.3 ลูกที่ผสมล้มเหลว

   5.2. การเกิดสปีชีส์ใหม่
      2.1 การเกิดสปีชีส์ใหม่จากการแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์
         กลไกการเกิดสปีชีส์ใหม่ลักษณะนี้ เกิดจากประชากรดั้งเดิมในรุ่นบรรพบุรุษที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่
เดียวกัน เมื่อมีอุปสรรคมาขวางกั้น เช่น ภูเขา แม่น้า ทะเล เป็นต้น ทาให้ประชากรในรุ่นบรรพบุรุษที่เคย
อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เกิดการแบ่งแยก ออกจากกันเป็นประชากรย่อยๆและไม่ค่อยมีการถ่ายเท
เคลื่อนย้ายยีนระหว่างกัน ประกอบกับประชากรแต่ละแห่งต่างก็มีการปรับเปลี่ยน องค์ประกอบทาง
พันธุกรรมเป็นไปตามทิศทางการคัดเลือกโดยธรรมชาติจนกระทั่งเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่




ภาพ 11 การเกิดสปีชีส์ใหม่ของกุ้งในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลคาริเบียนจากกุ้งสปีชีส์
                           เดียวกันแต่ถูกแยกกันด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์
           เนื่องจากประชากรได้แยกกันอยู่ตามสภาพ ภูมิศาสตร์จนขาดการติดต่อกันเป็นเวลานาน
เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางทางภูมิศาสตร์ ผล ทาให้เกิด sub species เป็น species ใหม่ กระรอก 2 สปีชีส์ใน
รัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก แต่พบว่าอาศัยอยู่บริเวณขอบเหว แต่ละ
ด้านของแกรนด์แคนยอนซึ่งเป็นหุบผาที่ลึกและกว้าง นักชีววิทยาเชื่อกันว่ากระรอก 2 สปีชีส์ นี้เคยอยู่ใน
สปีชีส์เดียวกันมาก่อน ที่จะเกิดการแยกของแผ่นดินขึ้น



Biologynsp.wordpress.com
                                                                                     20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 13

      2.2 การเกิดสปีชีส์ใหม่ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกัน
           เป็นการเกิดสปีชีส์ใหม่ในถิ่นอาศัยเดียวกับบรรพบุรุษ โดยมีกลไกมาป้องกันทาให้ไม่สามารถ
ผสมพันธุ์กันได้ แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่เดียวกันก็ตาม การเกิดสปีชีส์ใหม่ลักษณะนี้เห็นได้ชัดเจนในวิวัฒนาการ
ของพืช เช่น การเกิดพอลิพลอยดีของพืชในการเพิ่มจานวนชุดของโครโมโซม




                                      ภาพ 12 กล้วยพันธุ์ต่าง ๆ

การพัฒนากับวิวัฒนาการ
      1. การดื้อสารฆ่าแมลง ตัวอย่างเช่นการใช้สาร DDT ปราบแมลงศัตรูที่ได้ผลดีมากในระยะแรกเมื่อ
ประมาณ 50 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันสารดังกล่าวไม่สามารถทาร้ายแมลงหลายร้อยชนิดได้ โดยที่แมลง
สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยสลายสาร DDT ได้ก่อนที่จะออกฤทธิ์มีผลให้เกิดการดื้อสารดังกล่าว
      2. การดื้อยาปฏิชีวนะ เป็นการปรับตัวของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทาให้เกิดวัณโรค
หนอง ฝี ปวดท้อง ท้องร่วง อันเนื่องมาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อ
แบคทีเรีย ที่มีต่อยาปฏิชีวนะที่มนุษย์ได้พัฒนาและสังเคราะห์ขึ้นมา อาจมาจากสาเหตุที่เชื้อโรคเหล่านี้
ได้รับสารเคมีในตัวยาที่ต่ากว่าขนาด แล้วทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ใหม่ที่สามารถอยู่รอดได้




Biologynsp.wordpress.com
                                                                                     20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 14


                              แบบฝึกหัด เรื่องวิวัฒนาการ

1. ขอบเขตและเป้าหมายของประเด็นที่จะเรียนรู้ ที่นักเรียนและครูกาหนดร่วมกัน
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………..………………..
2. แต่ละกลุ่มได้ผลการสืบค้นและผลการศึกษาเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
3. จากภาพ 19.2 ซากดึกดาบรรพ์ที่พบในชั้นหินใดมีอายุมากที่สุด เพราะเหตุใด
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
4. เมื่อเปรียบเทียบความซับซ้อนของโครงสร้างซากดึกดาบรรพ์ที่พบในหินชั้นล่างกับหินชั้นบน
   แล้ว มีโครงสร้างซับซ้อนแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………..…………………..
5. ระหว่างสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีโอกาสเกิดซากดึกดาบรรพ์
    แตกต่างกันอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………..…………………..
6. หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์บอกอะไรแก่เราบ้าง
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………..
7. จากภาพแสดงวิวัฒนาการของม้า มีลักษณะใดบ้างที่เปลี่ยนแปลงไป และการเปลี่ยนแปลงที่
    เกิดขึ้นใช้เวลานานเท่าใด
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
8. จากการสืบค้น ซากดึกดาบรรพ์มีลักษณะใกล้เคียงกับสิ่งมีชีวิตกลุ่มใด เพราะเหตุใดจึงจัดอยู่
     ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตดังกล่าว
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
9. ซากดึกดาบรรพ์มีลักษณะแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตในกลุ่มที่กล่าวข้างต้นอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
Biologynsp.wordpress.com
                                                                         20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 15

10. ซากดึกดาบรรพ์นี้สนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการได้อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
11. โครงสร้างของรยางศ์คู่หน้าของสัตว์เหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………
12. ความคล้ายคลึงกันจะบอกถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการได้หรือไม่ อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…………………………..
13. การเจริญเติบโตระยะใดที่มีความคล้ายคลึงกันมาก เพราะเหตุใด
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…………………………..
14. การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอของคนคล้ายคลึงกับสิ่งมีชีวิตใดมากที่สุด
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…………………………..
15. จากภาพ 19.5 บอกอะไรแก่เราบ้าง
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…………………………..
16. จากตาราง 19.1 จะอธิบายความใกล้ชิดกันทางด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ กับคนได้
    อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
17. จงใช้แนวคิดของลามาร์ก ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของยีราฟที่มีลักษณะคอและ
    ขายาวขึ้นได้อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
18. จากภาพ 19.11 ถ้านกฟินซ์มาจากบรรพบุรุษเดียวกันและสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลง
    จะงอยปากของนกฟินซ์จะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
Biologynsp.wordpress.com
                                                                       20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 16

………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
19. จงอธิบายเกี่ยวกับการเกิดนกฟินซ์หลายสปีชีส์บนหมู่เกาะกาลาปากอส โดยใช้ทฤษฎีของ
    ดาร์วิน
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
20. แนวคิดของลามาร์กกับดาร์วินเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
21. จากคากล่าวที่ว่า แมลงที่ได้รับสารฆ่าแมลงทาให้มีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงมากยิ่งขึ้น
    นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
22. จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวิวัฒนาการระดับจุลภาคกับวิวัฒนาการระดับมหภาค
    การคัดเลือกโดยธรรมชาติและการคัดเลือกพันธ์ของมนุษย์แตกต่างกันอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..………………..………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
23. การแปรผันทางพันธุกรรม มิวเทชัน และการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ทาให้เกิดวิวัฒนาการ
    ของสิ่งมีชีวิตอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………………..……..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
24. เหตุใดการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศของสิ่งมีชีวิตจึงมีความสาคัญต่อการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………….…………………..

Biologynsp.wordpress.com
                                                                       20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 17

25. การที่ยีราฟมีคอยาวขึ้น ชอง ลามาร์ก และ ชาลส์ ดาร์วิน อธิบายปรากฎการณ์นี้อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..………………………..………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..……………………..…………………..
26. จากภาพซากดึกดาบรรพ์ของหอยโข่ง หมายเลข 1 มีอายุประมาณ 10 ล้านปี หมายเลข 10
    มีอายุประมาณ 3 ล้านปี
        - หอยเหล่านี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………….……..…………………………..
        - ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..………………….……………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..……………………..…………………..
        - ถ้าซากดึกดาบรรพ์หมายเลข 3 4 5 และ 6 ขาดหายไป จะสรุปได้อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………….…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
27. จากการศึกษาซากดึกดาบรรพ์ไทรโลไบท์ ในชั้นหินตะกอน ได้ผลดังตาราง
        - จงนาข้อมูลมาเขียนเป็นกราฟ
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..……………………….………………..
        - ไทรโลไบท์ความยาวเท่าใดที่พบมากทั้งในชั้นหินและชั้นหินลึก
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..………………………..………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..………………………..………………..
28. แนวคิดในการนาความเข้าใจเกี่ยวกับหลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และ
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตไปใช้ประโยชน์
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………..…..…………………………..
Biologynsp.wordpress.com
                                                                    20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 18

29. สรุปเกี่ยวกับหลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    ของสิ่งมีชีวิต
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..

 กิจกรรมที่ การใช้ทฤษฎีของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
            ให้นักเรียนทาแบบฝึกหัดโดยใช้โจทย์ทีกาหนดให้ดังนี้
                                               ่
            1.ในประชากรกลุ่มหนึ่งพบว่ามีประชากรหมู่เลือด Rh อยู่ 16% เมื่อประชากรนี้อยู่ในภาวะ
สมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก จงคานวณหาความถี่ของแอลลีลในประชากร
            2.ประชากรของหนู ณ ทุ่งหญ้าแห่งหนึ่ง อยู่ในสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก พบว่า 36%ของ
ประชากรหนูมีสีเทาซึ่งเป็นลักษณะด้วย (aa)นอกนั้นเป็นหนูสีดาซึ่งเป็นลักษณะเด่น
           2.1จานวนประชากรที่มีจีโนไทป์แบบเฮเทอโรไซกัสเป็นเท่าใด
           2.2ความถี่ของแอลลีล a ในยีนพูลของประชากรเป็นเท่าใด
           2.3ถ้าประชากรหนูมีจานวน 500 ตัว จะที่มีลักษณะขนสีดาที่มีจีโนโทป์แบบฮอมอไซกัสกี่ตัว
30. บันทึกหลังเรียน
ด้านความรู้……………………………………………………………………………………..…………..……………………………….
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
…………………………………………………………………………………….………………………………..…………………………..
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ………………………………………….………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………….…………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
ด้านจิตวิทยาศาสตร์.…………………………………………………………..…………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
……………………………………………………………………………………………..………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
ด้านอื่น ๆ……………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………..
………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..…………………………..……………..


Biologynsp.wordpress.com
                                                                             20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 19


                                 แบบทดสอบ เรื่อง วิวัฒนาการ
1. ข้อความที่สอดคล้องกับวิวัฒนาการมากที่สุดคือข้อใด?
     ก. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมีทิศทางที่ไม่แน่นอน
     ข. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจากแบบง่ายๆไปซับซ้อนขึ้น
     ค. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมักมีโครงสร้างใหม่เกิดขึ้นเสมอ
     ง. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป สืบเนื่องกันตลอดเวลา

2. กรณีใดต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่สนับสนุนทฤษฎี Natural selection ?
    ก. จิ้งจกเปลี่ยนสีตามสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
    ข. นกกะทาวางไข่จานวนมากขึ้นเมื่อช่วงกลางวันยาวนานขึ้น
    ค. มีพลาสโมเดียมสายพันธุ์ที่ต้านยารักษาโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้น
    ง. เชื้อเอดส์แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์

3. วิวัฒนาการตามแนวคิดของดาร์วินยึดหลักต่างๆยกเว้นหลักเกี่ยวกับข้อใด?
      ก. หลักการเกี่ยวกับการแปรผันของสิ่งมีชีวิต
      ข. หลักการเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
      ค. หลักการเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นของสิ่งมีชีวิต
      ง. หลักการเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะจากบรรพบุรุษไปลูกหลาน

4. หลักฐานหรือข้อมูลในข้อใดที่เหมาะสมที่สุดในการบ่งให้ทราบว่า สิ่งมีชีวิต 2 ชนิดมีสายวิวัฒนาการ
ใกล้เคียงกันมากที่สุด ?
     ก. หลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุล
     ข. หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต
     ค. ข้อมูลสนับสนุนจากกายวิภาคเปรียบเทียบ
     ง. ข้อมูลสนับสนุนจากคัพภะวิทยาเปรียบเทียบ

5. จากการสังเกตพบว่าผีเสื้อที่มีสีสันกลมกลืนกับสีของเปลือกไม้จะมีจานวนมากกว่าผีเสื้อชนิดอื่นๆ
ข้อสังเกตนี้จะใช้ข้อมูลใดมาอธิบายสนับสนุนได้เหมาะสมที่สุด ?
     ก. ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน
     ข. สัญชาตญาณในการหลบหนีศัตรูของสิ่งมีชีวิต
     ค. การถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ของลามาร์ก
     ง. การผ่าเหล่าอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

6. หลักฐานในข้อใดสนับสนุนกฎการใช้และไม่ใช้ของลามาร์ก ?
Biologynsp.wordpress.com
                                                                                  20 สิงหาคม 2555
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 20


     ก. ผู้ชายไม่ต้องให้นมลูกจึงไม่มีต่อมน้านม
     ข. กิ้งกือเดินเร็วกว่าตะขาบจึงมีขาจานวนมากกว่า
     ค. ค้างคาวรับฟังเสียงด้วยระบบโซนาร์จึงไม่มีใบหู
     ง. คนที่ฝึกว่ายน้ามาตั้งแต่เด็กเมื่อโตขึ้นจะมีไหล่กว้าง

7. สิ่งมีชีวิตชนิดใดที่ไม่ได้อยู่ในอาณาจักรฟังไจ ?
      ก. รา
      ข. เห็ด
      ค. ยีสต์
      ง. แบคทีเรีย

8. . ในการศึกษาวิวัฒนาการระดับโมเลกุล นักชีววิทยาศึกษาจากสิ่งใด ?
      ก. จานวนโปรตีนที่สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันสร้างได้
      ข. จานวนกรดอะมิโนในโปรตีนที่สิ่งมีชีวิตสร้างได้
      ค. จานวนกรดอะมิโนที่แตกต่างกันในโปรตีนชนิดเดียวกันที่สิ่งมีชีวิตสร้าง
      ง. จานวนกรดอะมิโนที่แตกต่างกันในโปรตีนคนละชนิดกันที่สิ่งมีชีวิตสร้าง

9. ปัจจัยใดสาคัญที่สุดในการเกิดวิวัฒนาการของนกฟินช์ในหมู่เกาะกาลาปากอส ซึ่งมีหลายสปีชีส์
ต่างๆกัน?
     ก. การเกิดภัยธรรมชาติ
     ข. การอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาล
     ค. กลไกการแยกทางการสืบพันธุ์
     ง. การแยกกันทางสภาพภูมิศาสตร์

10. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง?
    ก. เผ่าพันธุ์มนุษย์ยังคงมีวิวัฒนาการต่อไป
    ข. ยีนที่กลายพันธุ์ส่วนมากเกิดขึ้นในทางที่ดีและมีประโยชน์
    ค. การที่เชื้อมาเลเรียดื้อต่อยา อธิบายได้โดยกฏแห่งการใช้และไม่ใช้ของลามาร์ก
    ง. จากหลักฐานชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยทาให้สรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตมีกาเนิดมาจากนอกโลก




Biologynsp.wordpress.com
                                                                                   20 สิงหาคม 2555

More Related Content

What's hot

Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรมPower point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรมThanyamon Chat.
 
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการแผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการSumalee Khvamsuk
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
Pinutchaya Nakchumroon
 
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมAomiko Wipaporn
 
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสAomiko Wipaporn
 
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากเล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
kanyamadcharoen
 
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตบทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตฟลุ๊ค ลำพูน
 
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
เอเดียน คุณาสิทธิ์
 
ราก (T)
ราก (T)ราก (T)
ราก (T)
Thitaree Samphao
 
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตTongnapadon
 
วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการWichai Likitponrak
 
เฉลยแบบฝึกหัด17.5โครงสร้างdna
เฉลยแบบฝึกหัด17.5โครงสร้างdnaเฉลยแบบฝึกหัด17.5โครงสร้างdna
เฉลยแบบฝึกหัด17.5โครงสร้างdnaWan Ngamwongwan
 
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์Wann Rattiya
 
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์krupornpana55
 
การถ่ายโอนความร้อน ม.1
การถ่ายโอนความร้อน ม.1การถ่ายโอนความร้อน ม.1
การถ่ายโอนความร้อน ม.1
Wuttipong Tubkrathok
 
โรคทางพันธุกรรม ม.3
โรคทางพันธุกรรม ม.3โรคทางพันธุกรรม ม.3
โรคทางพันธุกรรม ม.3
Wuttipong Tubkrathok
 
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2
Wichai Likitponrak
 
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมบทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
Wichai Likitponrak
 
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)สำเร็จ นางสีคุณ
 
Kingdom monera
Kingdom moneraKingdom monera
Kingdom monera
Thanyamon Chat.
 

What's hot (20)

Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรมPower point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
 
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการแผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
 
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
 
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
 
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากเล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
 
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตบทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
 
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
 
ราก (T)
ราก (T)ราก (T)
ราก (T)
 
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
 
วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการ
 
เฉลยแบบฝึกหัด17.5โครงสร้างdna
เฉลยแบบฝึกหัด17.5โครงสร้างdnaเฉลยแบบฝึกหัด17.5โครงสร้างdna
เฉลยแบบฝึกหัด17.5โครงสร้างdna
 
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
 
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
 
การถ่ายโอนความร้อน ม.1
การถ่ายโอนความร้อน ม.1การถ่ายโอนความร้อน ม.1
การถ่ายโอนความร้อน ม.1
 
โรคทางพันธุกรรม ม.3
โรคทางพันธุกรรม ม.3โรคทางพันธุกรรม ม.3
โรคทางพันธุกรรม ม.3
 
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2
 
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมบทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
 
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
 
Kingdom monera
Kingdom moneraKingdom monera
Kingdom monera
 

Similar to เอกสารประกอบการสอน เรื่องวิวัฒนาการ

เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์
เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์
เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์Biobiome
 
Animal System
Animal SystemAnimal System
กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์
Wan Ngamwongwan
 
กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์Wan Ngamwongwan
 
Biodiversity
BiodiversityBiodiversity
Biodiversity
Nattapong Boonpong
 
บทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโนบทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโนPew Juthiporn
 
วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการLPRU
 
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์feeonameray
 
Unit1
Unit1Unit1
Unit1
kulwadee
 
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สมพร นายน้อย
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6โครงสร้างสาระวิทย์ป.6
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6supphawan
 
วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการsupreechafkk
 
แบบฝึกชุดที่ 1
แบบฝึกชุดที่ 1แบบฝึกชุดที่ 1
แบบฝึกชุดที่ 1kruking2
 

Similar to เอกสารประกอบการสอน เรื่องวิวัฒนาการ (20)

เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์
เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์
เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์
 
Animal System
Animal SystemAnimal System
Animal System
 
กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์
 
กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์
 
Biodiversity
BiodiversityBiodiversity
Biodiversity
 
Ecology (2) 3
Ecology (2) 3Ecology (2) 3
Ecology (2) 3
 
Unit1 organism
Unit1 organismUnit1 organism
Unit1 organism
 
บทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโนบทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโน
 
วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการ
 
Diver i
Diver iDiver i
Diver i
 
6บทที่2
6บทที่2 6บทที่2
6บทที่2
 
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
 
Unit1
Unit1Unit1
Unit1
 
ม.6biodiver
ม.6biodiverม.6biodiver
ม.6biodiver
 
Aaa
AaaAaa
Aaa
 
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
 
1 repro
1 repro1 repro
1 repro
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6โครงสร้างสาระวิทย์ป.6
โครงสร้างสาระวิทย์ป.6
 
วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการ
 
แบบฝึกชุดที่ 1
แบบฝึกชุดที่ 1แบบฝึกชุดที่ 1
แบบฝึกชุดที่ 1
 

More from Biobiome

หน้าที่พิเศษของลำต้น
หน้าที่พิเศษของลำต้นหน้าที่พิเศษของลำต้น
หน้าที่พิเศษของลำต้นBiobiome
 
หน้าที่พิเศษของราก
หน้าที่พิเศษของรากหน้าที่พิเศษของราก
หน้าที่พิเศษของรากBiobiome
 
หน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบหน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบBiobiome
 
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของรากเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของรากBiobiome
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบBiobiome
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบBiobiome
 
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตBiobiome
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำBiobiome
 
สารสังเคราะห์
สารสังเคราะห์สารสังเคราะห์
สารสังเคราะห์Biobiome
 
ขนมไทย
ขนมไทยขนมไทย
ขนมไทยBiobiome
 
Biodiversity
BiodiversityBiodiversity
BiodiversityBiobiome
 
Science m6
Science m6Science m6
Science m6Biobiome
 
วิทย์
วิทย์วิทย์
วิทย์Biobiome
 
วิทย์
วิทย์วิทย์
วิทย์Biobiome
 

More from Biobiome (20)

หน้าที่พิเศษของลำต้น
หน้าที่พิเศษของลำต้นหน้าที่พิเศษของลำต้น
หน้าที่พิเศษของลำต้น
 
หน้าที่พิเศษของราก
หน้าที่พิเศษของรากหน้าที่พิเศษของราก
หน้าที่พิเศษของราก
 
หน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบหน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบ
 
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของรากเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบ
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบ
 
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
 
สารสังเคราะห์
สารสังเคราะห์สารสังเคราะห์
สารสังเคราะห์
 
ขนมไทย
ขนมไทยขนมไทย
ขนมไทย
 
Biodiversity
BiodiversityBiodiversity
Biodiversity
 
Pisa
PisaPisa
Pisa
 
Onet 05
Onet 05Onet 05
Onet 05
 
Science m6
Science m6Science m6
Science m6
 
Science50
Science50Science50
Science50
 
วิทย์
วิทย์วิทย์
วิทย์
 
05 e
05 e05 e
05 e
 
วิทย์
วิทย์วิทย์
วิทย์
 
Science50
Science50Science50
Science50
 
Pat2 52-1
Pat2 52-1Pat2 52-1
Pat2 52-1
 

Recently uploaded

1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
Bangkok, Thailand
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 

Recently uploaded (10)

1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 

เอกสารประกอบการสอน เรื่องวิวัฒนาการ

  • 1. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 1 เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ รวบรวมโดย นางอังสนา แสนเยีย ตาแหน่งครู โรงเรียนหนองซนพิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 2. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 2 คาชี้แจง คู่มือเอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยาเล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนเข้าใจขอบเขตของ เนื้อหาสาระที่สื่อประกอบการสอนเรื่องนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการใช้สื่อประกอบการสอนอย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนของผู้เรียน กระตุ้นความสนใจ ให้ความกระจ่าง เกี่ยวกับศัพท์ทางวิชาการที่ควรทราบ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้บูรณาการความรู้ที่ได้รับโดยการอภิปราย ร่วมกัน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้ น โดยเอกสารในเล่มนี้ มีหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 2. แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ 3. พันธุศาสตร์ประชากร 4. การเปลี่ยนแปลงความถี่ของอัลลีน 5. การเกิดสปีชีย์ใหม่ 6. แบบทดสอบตัวอย่าง อังสนา แสนเยีย ผูเรียบเรียง ้ Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 3. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 3 วิวัฒนาการ (Evolution) 1. หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 1.1. หลักฐานซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต หลักฐานดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตหรือหลักฐานทางธรณีวิทยา(geological evidence) เป็นหลักฐาน ซากพืชซากสัตว์ในชั้นหินต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า ซากดึกดาบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) วิชาที่ศึกษาซากเหล่านี้ เรียกว่า บรรพชีวินวิทยา ( paleontology) ภาพที่ 1 รูปซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต 1.2. หลักฐานกายวิภาคเปรียบเทียบ การศึกษาเปรียบเทียบของโครงสร้างต่างๆในตัวเต็มวัย กาเนิด หน้าที่ และการทางานของกลุ่ม สิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้แก่ Homologous structure และ Analogous structure  Homologous structure โครงสร้างมาจากจุดกาเนิดเดียวกันแต่ทาหน้าที่ต่างกัน วิวัฒนาการของโครงสร้างนี้เรียกว่า Homology การที่มีจุดกาเนิดเดียวกันแสดงว่าสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันในเชิงวิวัฒนาการ (มีบรรพบุรุษร่วมกัน) Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 4. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 4 ภาพที่ 2 เปรียบเทียบ Homologous structure ของระยางคู่หน้าในสัตว์มีกระดูกสันหลังซึ่งจะ แตกต่างกันในขนาด รูปร่างและหน้าที่ แต่มีแบบแผนของโครงสร้างคล้ายคลึงกัน (สังเกตลักษณะ กระดูกชิ้นต่างๆที่มีสีเดียว มาจากจุดกาเนิดเดียวกัน)  Analogous structure โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่มาจากจุดกาเนิดต่างกันแต่ทาหน้าที่เหมือนกัน เรียกวิวัฒนาการ ของโครงสร้างนี้ว่า Analogy ในเชิงวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ไม่มีความสัมพันธ์กันทางบรรพ บุรุษ ภาพที่ 3 เปรียบเทียบ ปีกนก ปีกแมลง โครงสร้างมาจากจุดกาเนิดต่างกัน แต่นาไปใช้ในการบินเช่นเดียวกัน 2 แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ 2.1 กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ ชองบัปติสต์เดลามาร์ก (JeanBaptistedeLarmarck)เป็นนักชีววิทยาชาวฝรั่งเศสเป็นบุคคลแรกที่ ได้วางรากฐานทางวิวัฒนาการขึ้นและได้ตั้งทฤษฎีขึ้น เรียกว่า ทฤษฎีของลามาร์ก (Lamarck’s theory) และตีพิมพ์ในหนังสือ philosophinezoologigueในปีพ.ศ.2345เป็นที่เชื่อถือกันมากกว่า 70ปีลามาร์กได้ ศึกษาและจาแนกพืชและสัตว์และพบว่าลักษณะของสิ่งมีชีวิตจะแปรผันไปตามสภาพแวดล้อมในอาณาจักร สัตว์จะมีแบบฉบับพื้นฐานแบบเดียวกันสัตว์ชนิดเดียวกันย่อมมีรูปแบบพื้นฐานเหมือนกันและการ เปลี่ยนแปลงของลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นประโยชน์แก่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ข้อเท็จจริงจากการศึกษา เหล่านี้ทาให้ลามาร์กเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของลามาร์กขึ้น มีใจความสาคัญคือ Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 5. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 5 1. สิ่งมีชีวิตและส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตมีความโน้มเอียงที่จะมีขนาดเพิ่มขึ้น 2. การเกิดอวัยวะใหม่มีผลมาจากความต้องการใหม่ในการดารงชีวิต 3. อวัยวะใดที่ถูกใช้อยู่เสมอ มีความโน้มเอียงที่จะมีการเจริญและมีขนาดเพิ่มขึ้น อวัยวะใดไม่ค่อยได้ ใช้จะเสื่อมหายไป ซึ่งพัฒนาไปเป็นกฎการใช้และไม่ใช้ (Law of Use and Disuse) 4. การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้ง 3 ประการข้างต้น สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ เรียกว่า กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (LawofInheritanceofAcquiredCharacteristics)อันเป็นผล ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รูปร่างลักษณะมากขึ้นตามระยะเวลาลามาร์กได้อธิบายลักษณะคอยาวของยีราฟ ว่า ยีราฟในอดีตนั้นคอสั้นกว่าปัจจุบัน ยีราฟต้องยืดคอขึ้นกินยอดไม้ที่อยู่สูง ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้นาน ๆ จึงทา ให้ลูกหลานยีราฟคอค่อย ๆ ยาวขึ้นและลักษณะดังกล่าวสามารถถ่ายทอดลักษณะไปสู่ลูกหลานได้ ในยุคนั้นได้รับการเชื่อถือมากแต่ในปัจจุบันความเชื่อนี้ได้หมดไปเนื่องจากการถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตไม่ได้เกิดจากการฝึกปรือหรือการใช้อยู่เสมอ ภาพที่ 4 แนวคิดที่เกี่ยวกับยีราฟที่มีลักษณะคอและขายาวของลามาร์ก 2.2. ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นนักธรรมชาติวิทยาได้เดินทาง ไปกับเรือสารวจ บีเกิล ของรัฐบาลอังกฤษ ซึง่ เดินทางไปสารวจและทาแผนที่ของฝั่งของทะเลทวีปอเมริกาใต้ ดาร์วินได้ประสบการณ์ จากการศึกษาพืช และสัตว์ที่มีอยู่เฉพาะที่หมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos) แห่งเดียวในโลกดาร์วินได้สังเกตนกกระจอกที่ อยู่บริเวณหมู่เกาะกาลาปากอสและนกฟินช์ (finch)หลายชนิดพบว่าแต่ละชนิดมีขนาดและรูปร่างของ จงอยปากแตกต่างกัน ตามความ เหมาะสมแก่การที่จะใช้กินอาหารแต่ละประเภท นกฟินช์มีลักษณะคล้าย นกกระจอกมากแตกต่างกัน เฉพาะลักษณะของจงอยปากเท่านั้น ดาร์วินเชื่อว่าบรรพบุรุษของนกฟินช์บน เกาะกาลาปากอสน่าจะ สืบเชื้อสายมาจากนกฟินช์บนแผ่นดินใหญ่แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางและ เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม ของบรรพบุรุษนกฟินช์ มาเป็นเวลานานจนเกิด ดาร์วินได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่ง วิชาวิวัฒนาการ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินดังนี้คือ “ความแปรผันที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิต ใด ๆ ก็ตามย่อมมีส่วนช่วยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดารงชีวิตได้ ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ส่วนความแปรผันที่ไม่ เหมาะสมทาให้สิ่งมีชีวิตถูกกาจัดไปด้วยเหตุนี้เมื่อเวลาล่วงเลยไปนานขึ้นลักษณะที่เหมาะสมก็จะสะสมไป Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 6. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 6 นานขึ้น ลักษณะที่เหมาะสม ก็จะสะสมไปนานขึ้น เกิดสิ่งมีชีวิตแตกต่าง จากเดิมมากมาย จนในที่สุดก็เกิด สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่” ภาพที่ 5 นกฟินช์ชนิดต่างๆบนหมู่เกาะกาลาปากอส 3.พันธุศาสตร์ประชากร 3.1. พันธุศาสตร์ประชากร ประชากรหมายถึงกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่รวมกันในพื้นที่หนึ่งๆโดยสมาชิกในประชากรของ สิ่งมีชีวิตนั้นสามารถสืบพันธุ์ระหว่างกันได้และให้ ลูกที่ไม่เป็นหมัน ในประชากรหนึ่งๆจะประกอบด้วย สมาชิกที่มียีนควบคุมลักษณะต่างๆจานวนมาก ยีนทั้งหมดที่มีอยู่ในประชากรในช่วงเวลาหนึ่งเรียกว่ายีน พูล(genepool)ซึ่งประกอบด้วยแอลลีล(allele)ทุกแอลลีลจากทุกยีนของสมาชิกทุกตัวในประชากรนั้น ดังนั้นพันธุศาสตร์ประชากร เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีน (gene frequency) หรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล( allele frequency) ที่เป็นองค์ประกอบทางพันธุกรรมของ ประชากร และปัจจัยที่ทาให้ความถี่ของแอลลีลเปลี่ยนแปลง สิ่งที่น่าสนใจคือเราจะศึกษาความถี่ของแอล ลีลในประชากรได้อย่างไร 3.2.การหาความถี่ของแอลลีลในประชากร สิ่งมีชีวิตที่เป็นดิพลอยในแต่ละเซลล์มีจานวนโครโมโซมเพียง 2 ชุด และแต่ละยีนจะมี 2 แอลลีล ดังนั้นถ้าเรารู้จานวนจีโนไทป์แต่ละชนิดของประชากร เราจะสามารถหาความถี่ของจีโนไทป์ ( genotype frequency) และความถี่ของแอลลีลในประชากรได้จากตัวอย่างดังนี้ในกลุ่มประชากรไม้ดอกชนิดหนึ่งที่ ลักษณะสีดอกถูกควบคุมโดย ยีน 2 แอลลีล คือ R ควบคุมลักษณะดอกสีแดงเป็นลักษณะเด่น และ r ควบคุมลักษณะดอกสีขาวซึ่งเป็นลักษณะด้อย ในประชากรไม้ดอก 1,000 ต้น มีดอกสีขาว 40 ต้น และ ดอกสีแดง 960 ต้น โดยกาหนดให้เป็นดอกสีแดงที่มีจีโนไทป์ RR 640 ต้น และดอกสีแดงมีจีโนไทป์ Rr 320 ต้น ดังแสดง Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 7. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 7 ภาพที่ 6 ความถี่ของจีนโนไทป์และความถี่ของแอลลีลในประชากรไม้ดอก ดังนั้นในประชากรไม้ดอกนี้จะมีความถี่ของแอลลีล R = 0.8 และความถี่ของแอลลีล r = 0.2 ถ้า ประชากรไม้ดอกนี้มีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่าๆกัน นักเรียนคิดว่าความถี่ของแอลลีล และความถี่ของจีโนไทป์ ในประชากรรุ่นต่อไปเป็นอย่างไร 3.3 ทฤษฎีของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก จี เอช ฮาร์ดี ( G.H. Hardy ) และดับเบิลยู ไวน์เบิร์ก ( W. Weinberg ) ได้ศึกษายีนพูลของ ประชากร และได้แสนอทฤษฎีของฮาร์ดีไวน์เบิร์ก(Hardy–WeinbergTheorem)ขึ้นโดยกล่าวว่าความถี่ ของแอลลีลและความถี่ของจีโนไทป์ในยีนพูลของประชากรจะ มีค่าคงที่ในทุกๆรุ่น ถ้าไม่มีปัจจัยบางอย่าง มาเกี่ยวข้อง เช่น มิวเทชัน การคัดเลือกโดยธรรมชาติ การอพยพ แรนดอมจีเนติกดริฟท์ (random genetic drift) และการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน ( gene flow) เป็นต้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวก็จะได้ศึกษาใน หัวข้อต่อไปเราสามารถทฤษฎีของ ฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ได้จากตัวอย่างประชากรไม้ดอกในภาพที่ 19-15 พบว่า ยีนพูลของประชากรรุ่นพ่อแม่นั้นมีความถี่ของแอลลีล R = 0.8 และ r = 0.2 ถ้าสมาชิกทุกต้นในประชากร มีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่าๆกันแล้วเซลล์สืบพันธุ์เพศ ผู้ และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียที่มีแอลลีล R มีความถี่ = 0.8 และ r มีความถี่ = 0.2 เมื่อมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ ประชากรไม้ดอกในรุ่นลูกจะมีจีโนไทป์ดัง แสดงในภาพ ภาพที่ 7 แสดงการรวมกลุ่มของเซลล์สืความถี่ของจีโนไทป์ของประชากรในรุ่นลูก Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 8. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 8 ดังนั้นภาพที่ แสดงการรวมกลุ่มของเซลล์สืความถี่ของจีโนไทป์ของประชากรในรุ่นลูกมีดังนี้ RR = 0.64 2Rr = 0.32 rr = 0.04 และจากความถี่ของจีโนไทป์ในรุ่นลูกดังกล่าว แสดงว่าความถี่ของแอลลีลในรุ่นลูกมีความถี่ของแอล ลีล R = 0.8 และ r = 0.2นั่นคือ ประชากรไม้ดอกในรุ่นลูกยังคงมีความถี่ของจีโนไทป์ และความถี่ของ แอลลีลเหมือนประชากรในรุ่นพ่อแม่ หรืออาจกล่าวได้ว่ายีนพูลของประชากรอยู่ในภาวะสมดุลของ ฮาร์ดี- ไวน์เบิร์ก ( Hardy – Weinberg Equilibrium หรือ HWE ) จากตัวอย่างประชากรไม้ดอกสีแดง และสีขาว ที่กล่าวมาแล้วนั้น สีของดอกไม้เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมด้วยยีน 2 แอลลีล คือ R และ r จะ อธิบายสมการของ ฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ได้ดังนี้ กาหนดให้ p คือความถี่ของแอลลีล R = 0.8 q คือความถี่ของแอลลีล r = 0.2 และ p + q = 1 นั่นคือ ผลรวมความถี่ของแอลลีลของยีนหนึ่งๆในประชากรมีค่าเท่ากับ 1 ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า p = 1 – q หรือ q = 1 – p เมื่อเซลล์สืบพันธุ์รวมตัวกัน ความถี่ของจีโนไทป์ในรุ่นต่อไปจะเป็นไปตามกฎของการคูณคือ ความถี่ของจีโนไทป์ RR คือ p2 = ( 0.8 )2 = 0.64 ความถี่ของจีโนไทป์ rr คือ q2 = ( 0.2 )2 = 0.04 และความถี่ของจีโนไทป์ Rr คือ 2pq = 2(0.8)(0.2) = 0.32 เมื่อรวมความถี่ของทุกจีโนไทป์จะมีค่าเท่ากับ 1 นั่นคือ p2 + 2pq + q2 = 1 จากสมการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก สามารถนามาใช้หาความถี่ของแอลลีล และความถี่ของจีโนไทป์ของ ยีนพูลในประชากรได้ดังนั้นเมื่อประชากรอยู่ในสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ความถี่ของแอลลีล และความถี่ ของจีโนไทป์ในยีนพูลของประชากรจะคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะถ่ายทอดพันธุกรรมไปกี่รุ่นก็ตาม หรืออีกนัยหนึ่งคือ ไม่เกิดวิวัฒนาการนั่นเองประชากรจะอยู่ในสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์กได้ จะต้องมี เงื่อนไขดังนี้ 1. ประชากรมีขนาดใหญ่ 2. ไม่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนระหว่างกลุ่มประชากร 3. ไม่เกิดมิวเทชัน ซึ่งจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแอลลีลในประชากร 4. สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่ากัน 5. ไม่เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ โดยสิ่งมีชีวิตทุกตัวมีโอกาสอยู่รอด และประสบความสาเร็จใน การสืบพันธุ์ได้เท่าๆกัน 3.4. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก เราสามารถนาทฤษฎีของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก มาใช้ประโยชน์ในการคาดคะเนความถี่ของแอลลีลที่ เกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรม ในยีนพูลของประชากร เช่นโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ ถ้าทราบจานวน คนที่เป็นโรคนี้ซึ่งถูกควบคุมด้วยยีนด้อย จะสามารถประมาณจานวนประชากรที่เป็นพาหะของยีนที่ทาให้ เกิดโรคนี้ได้ ตัวอย่างเช่น ในประชากรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนึ่งมีคนเป็นโรคโลหิตจางชนิดซิก เคิลเซลล์ จานวน 9 คน จากจานวนประชากรทั้งหมด 10,000 คน ดังนั้นจะสามารถคาดคะเนความถี่ของ แอลลีลที่ทาให้เกิดโรคในประชากรของจังหวัด นี้ได้ โดยกาหนดให้จีโนไทป์ aa แสดงลักษณะของโรคโลหิต จางชนิดซิกเคิลเซลล์ Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 9. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 9 ดังนั้นความถี่ของ aa คือ q2 = 9/10000 = 0.0009 q = 0.3 แสดงว่าในประชากรแห่งนี้ มีความถี่ของแอลลีลที่ทาให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ เท่ากับ 0.03 หรือประมาณร้อยละ 3 นั่นเอง 4. การเปลี่ยนแปลงความถี่ของอัลลีน 1. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ 2. การผ่าเหล่า (mutation) และการแปรผันทางพันธุกรรม 3. การอพยพและการเคลื่อนย้ายประชากร 4. ขนาดของประชากร 5. รูปแบบของการผสมพันธุ์ 4.1. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ความสามารถในการสืบพันธุ์จะเพิ่มจานวนได้สูงมาก หากไม่มีปัจจัยที่จากัด การเพิ่มจานวนแล้ว สิ่งมีชีวิตทั้งหลายคงจะล้นโลก แต่ตามที่เป็นจริง จานวนของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างจะคงที่ เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) ซึ่งอาศัยหลักเกณฑ์พื้นฐานว่าจะไม่มี ลักษณะทางกรรมพันธุ์ชุดเดียวที่เหมาะสมต่อสภาพความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่อาศัย ฉะนั้นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจึงต้องมีปัจจัยสาคัญ คือ ความสามารถในการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อ การถ่ายทอดลักษณะแตกต่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตนั้นต้องอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมผล ของการคัดเลือกโดยธรรมชาติจะได้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะสปีชีส์เดียวกันที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทางกรรมพันธุ์ ซึ่งเรียกว่าโพลีมอร์ฟิซึม(polymorphism) ตัวอย่างเช่น สีและลวดลายบนเปลือกหอย : หอยชนิด Cepaea memorials เปลือกมีสีเหลือง น้า ตาลชมพู ส้มแดง และยังมีชนิดที่มีลวดลายเป็นเส้นพาดไปตามเปลือก จากการศึกษาพบว่าในแหล่งที่อยู่ที่ มีลักษณะเรียบๆ เช่น บริเวณโคลนตมหรือทรายจะพบหอที่มีลักษณะเปลือกเป็นสีเรียบๆมากกว่าลักษณะ อื่นๆส่วนในป่าหญ้าจะพบว่ามีหอยที่เปลือกลายมากกว่าลักษณะอื่นแต่ในที่บางแห่งก็พบหอยทั้งเปลือกมี ลายและหอยเปลือกสีเรียบอยู่ในที่เดียวกันซึ่งพบว่าหอยเปลือกสีเรียบมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิได้ดีกว่าหอยเปลือกลาย ดังนั้นนอกจากความสัมพันธ์ของเหยื่อและผู้ล่าแล้ว ยังน่าจะเกี่ยวข้องกับ การปรับตัวทางสรีระอีกด้วย ภาพที่ 8 หอย Cepaea memorials ที่มีลายเปลือกต่างกัน Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 10. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 10 สีของผีเสื้อกลางคืน ผีเสื้อกลางคืนชนิด Bristom betularia ซึ่งมีอยู่มากในประเทศอังกฤษอาศัยอยู่ตาม ต้นไม้ที่มีไลเคนส์เกาะอยู่เต็ม สีตัวของมันจึงเป็นสีอ่อนจางซึ่งช่วยให้มันอาพรางตัวได้ดี จนกระทั่ง ประมาณปี 1845 ซึ่งเป็นช่วงปีที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเขตเมือง จะมีเขม่าควันจากปล่องควันของ โรงงานอุตสาหกรรมฟุ้งกระจายไปทั่วในอากาศ เริ่มมีผู้พบผีเสื้อกลางคืนสปีชีส์เดียวกันนี้แต่มีสีดาเข้มขึ้น กว่าเดิมปรากฏขึ้นในเขตเมืองแมนเชสเตอร์ ซึ่งเป็นเขตที่มีการอุตสาหกรรมใหญ่และมีกลุ่มควันจา โรงงาน อุตสาหกรรมทาลายพวกไลเคนส์ตามเปลือกไม้ และทาให้ต้นไม้มีสีดาเต็มไปหมด ต่อมในช่วงเวลาไม่ถึงร้อยปีพบผีเสื้อกลางคืนที่มีสีดาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกือบทั้งหมดเป็นผีเสื้อสีดา ภาพที่ 9 การปรับตัวของผีเสื้อกลางคืนชนิดเดียวกันแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน 4.2. การผ่าเหล่า (mutation) และการแปรผันทางพันธุกรรม การผ่าเหล่า (mutation) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตการผ่าเหล่า หรือมิวเทชันมีทั้งที่เกิดกับเซลล์ร่างกายซึ่งเรียกว่าโซมาติคมิวเทชัน (somatic mutation) และที่เกิดกับ เซลล์สืบพันธุ์เรียกว่าแกมีติคมิวเทชัน (gametic mutation) มิวเทชันที่มีผลต่อขบวนการวิวัฒนาการมาก คือ มิวเทชันที่เกิดกับเซลล์สืบพันธุ์ เนื่องจากสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อๆไปได้ มิวเทชันทาให้เกิดการแปร ผันทางพันธุกรรม นอกจากนั้นในกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะมีการแบ่งเซลล์ด้วยวิธีไมโอซิสเพื่อ สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ในกระบวนการไมโอซิสจะมีครอสซิงโอเวอร์ (crossing over) โดยมีการแลกเปลี่ยน ชิ้นส่วนของโฮโมโลกัสโครโมโซมซึ่งมีผลทาให้อัลลีลของยีนเกิดการเปลี่ยนตาแหน่งได้รวมทั้งการรวมกลุ่ม กันอย่างอิสระของโครโมโซม ที่แยกตัวจากคู่ของมันแล้วเป็นผลให้ยีนต่างๆ ได้ รวมกลุ่มกันใหม่ในแต่ละรุ่น ดังนั้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจึงช่วยให้ยีนต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ได้มีโอกาสรวมกลุ่มกัน (gene recombination) ในรูปแบบต่างๆ ทั้งขบวนการมิวเทชันและขบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นสาเหตุ ที่ทาให้สิ่งมีชีวิตเกิดความแปรผันทางพันธุกรรมอย่างมากมาย 4.3.การอพยพของสมาชิกในประชากร สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีการอพยพเข้าหรือออกของสมาชิก ส่งผลให้ มีการหมุนเวียนพันธุกรรมหรือที่ เรียกว่าการไหลของยีน (gene flow) เกิดขึ้นระหว่างประชากรย่อยๆ ซึ่งการอพยพจะทาให้สัดส่วนของอัล ลีลเปลี่ยนแปลงไป ในประชากรที่มีขนาดใหญ่มากๆ การอพยพเข้าหรืออพยพออกของสมาชิกอาจจะเกือบ ไม่มีผลต่อสัดส่วนของยีนในกลุ่มประชากรเลย แต่ถ้าประชากรมีขนาดเล็ก เมื่อมีสมาชิกอพยพออกไปทาให้ กลุ่มประชากรสูญเสียยีนบางส่วน ทาให้มีโอกาสในการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนยีนกับกลุ่มยีนนั้นน้อยลง ไป หรือไม่มีโอกาสเลยในทางกลับกัน การอพยพเข้าของประชากรในกลุ่มประชากรขนาดเล็ก จะทาให้เกิด Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 11. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 11 การเพิ่มพูนบางส่วน หรือบางยีนใหม่เข้ามาในประชากร มีผลทาให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมของ ประชากร 4.4.ขนาดของประชากร การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร มีบทบาทสาคัญต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนและโครงสร้าง ของยีนพูล (gene pool) ซึ่งเกิดจากโอกาส หรือความบังเอิญ หรือจากภัยธรรมชาติ ประะชากรที่มีขนาด ใหญ่และมีการผสมพันธุ์แบบสุ่มจะไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนมากมายอย่างมีนัยสาคัญ แต่ ถ้าเป็นประชากรขนาดเล็กจะมีผลอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงผกผันทางพันธุกรรมอย่างฉับพลันอย่างไม่มี ทิศทางแน่นอน หรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนอย่างฉับพลันโดยเหตุบังเอิญตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น แบบสุ่ม ไม่สามารถคาดการณ์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนได้แน่นอนเช่นนี้เรียกว่าเจเนติกดริฟต์ (geneticdrift)เป็นกลไกที่สาคัญอย่างหนึ่งที่ทาให้ความถี่ของยีนมีการเบี่ยงเบนจนเกิดการเปลี่ยนแปลง ความถี่ของยีน แผนภาพที 10 ภาพแสดงปรากฏการณ์ เจเนติกดริฟต์ ของแมลงหวี่ ตัวอย่าง ของปรากฏการณ์นี้ได้แก่ วิวัฒนาการของสัตว์ชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นตามหมู่เกาะต่างๆ ใน มหาสมุทรแปซิฟิก ดังตัวอย่างของแมลงหวี่ชนิดต่างๆ ที่เกิดบนหมู่เกาะฮาวาย หมายเหตุ : gene pool หมายถึง ยีนโดยรวมซึ่งแลกเปลี่ยนกันระหว่างสิ่งมีชีวิต โดย เฉพาะในเผ่าพันธุ์เดียวกัน เปรียบเหมือนมีบ่อของยีน ซึ่งสิ่งมีชีวิตนามาฝากและนาไปใช้ 5. กาเนิดสปีชีย์ 5.1. ความหมายของสปีชีส์ 1.1 สปีชีส์ทางด้านสัณฐานวิทยา หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันในลักษณะทางสัณฐานและโครงสร้างทางกายวิภาคของสิ่งมีชีวิต ใช้เป็น แนวคิด ในการศึกษาอนุกรมวิธาน 1.2 สปีชีส์ทางด้านชีววิทยา หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติ ให้กาเนิดลูกที่ไม่เป็นหมันแต่ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตต่างส ปีชีส์กัน ก็อาจให้กาเนิดลูกได้เช่นกันแต่เป็นหมัน แนวคิดของสปีชีส์ทางด้านชีววิทยาโดยพิจารณา ความสามารถในการผสมพันธุ์และให้กาเนิดลูกหลานที่ไม่เป็นหมัน ในธรรมชาติมีสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันอยู่ ด้วยกันจานวนมาก กลไกที่แบ่งแยกการสืบพันธุ์มีผลยับยั้งมิให้เกิดการผสมาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือพันธ์ข้ามสปีชีส์ อ 1. กลไกแบ่งแยกระดับก่อนไซโกต (prezygotic isolating mechanism) เป็นกลไกป้องกันไม่ให้เกิด Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 12. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 12 การปฏิสนธิ อันประกอบด้วยความแตกต่างในเรื่องต่อไปนี้ 1.1 ระยะเวลาผสมพันธุ์ หรือฤดูกาลผสมพันธุ์ที่ต่างกัน (temporal isolation) 1.2 สภาพนิเวศวิทยาที่แตกต่างกัน (ecological isolation) 1.3 พฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่แตกต่างกัน (behavioral isolation) 1.4 โครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน (mechanical isolation) 1.5 สรีรวิทยาของเซลล์สืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน (genetic isolation) 2. กลไกแบ่งแยกระยะหลังไซโกต (postzygotic isolating mechanism) ถ้าหากในกรณีที่กลไกแบบแรกล้มเหลวยังสามารถควบคุมได้โดย 2.1 ลูกที่ผสมได้ตายก่อนวัยเจริญพันธุ์ 2.2 ลูกที่ผสมได้เป็นหมัน 2.3 ลูกที่ผสมล้มเหลว 5.2. การเกิดสปีชีส์ใหม่ 2.1 การเกิดสปีชีส์ใหม่จากการแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์ กลไกการเกิดสปีชีส์ใหม่ลักษณะนี้ เกิดจากประชากรดั้งเดิมในรุ่นบรรพบุรุษที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ เดียวกัน เมื่อมีอุปสรรคมาขวางกั้น เช่น ภูเขา แม่น้า ทะเล เป็นต้น ทาให้ประชากรในรุ่นบรรพบุรุษที่เคย อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เกิดการแบ่งแยก ออกจากกันเป็นประชากรย่อยๆและไม่ค่อยมีการถ่ายเท เคลื่อนย้ายยีนระหว่างกัน ประกอบกับประชากรแต่ละแห่งต่างก็มีการปรับเปลี่ยน องค์ประกอบทาง พันธุกรรมเป็นไปตามทิศทางการคัดเลือกโดยธรรมชาติจนกระทั่งเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่ ภาพ 11 การเกิดสปีชีส์ใหม่ของกุ้งในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลคาริเบียนจากกุ้งสปีชีส์ เดียวกันแต่ถูกแยกกันด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากประชากรได้แยกกันอยู่ตามสภาพ ภูมิศาสตร์จนขาดการติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางทางภูมิศาสตร์ ผล ทาให้เกิด sub species เป็น species ใหม่ กระรอก 2 สปีชีส์ใน รัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก แต่พบว่าอาศัยอยู่บริเวณขอบเหว แต่ละ ด้านของแกรนด์แคนยอนซึ่งเป็นหุบผาที่ลึกและกว้าง นักชีววิทยาเชื่อกันว่ากระรอก 2 สปีชีส์ นี้เคยอยู่ใน สปีชีส์เดียวกันมาก่อน ที่จะเกิดการแยกของแผ่นดินขึ้น Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 13. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 13 2.2 การเกิดสปีชีส์ใหม่ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกัน เป็นการเกิดสปีชีส์ใหม่ในถิ่นอาศัยเดียวกับบรรพบุรุษ โดยมีกลไกมาป้องกันทาให้ไม่สามารถ ผสมพันธุ์กันได้ แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่เดียวกันก็ตาม การเกิดสปีชีส์ใหม่ลักษณะนี้เห็นได้ชัดเจนในวิวัฒนาการ ของพืช เช่น การเกิดพอลิพลอยดีของพืชในการเพิ่มจานวนชุดของโครโมโซม ภาพ 12 กล้วยพันธุ์ต่าง ๆ การพัฒนากับวิวัฒนาการ 1. การดื้อสารฆ่าแมลง ตัวอย่างเช่นการใช้สาร DDT ปราบแมลงศัตรูที่ได้ผลดีมากในระยะแรกเมื่อ ประมาณ 50 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันสารดังกล่าวไม่สามารถทาร้ายแมลงหลายร้อยชนิดได้ โดยที่แมลง สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยสลายสาร DDT ได้ก่อนที่จะออกฤทธิ์มีผลให้เกิดการดื้อสารดังกล่าว 2. การดื้อยาปฏิชีวนะ เป็นการปรับตัวของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทาให้เกิดวัณโรค หนอง ฝี ปวดท้อง ท้องร่วง อันเนื่องมาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อ แบคทีเรีย ที่มีต่อยาปฏิชีวนะที่มนุษย์ได้พัฒนาและสังเคราะห์ขึ้นมา อาจมาจากสาเหตุที่เชื้อโรคเหล่านี้ ได้รับสารเคมีในตัวยาที่ต่ากว่าขนาด แล้วทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ใหม่ที่สามารถอยู่รอดได้ Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 14. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 14 แบบฝึกหัด เรื่องวิวัฒนาการ 1. ขอบเขตและเป้าหมายของประเด็นที่จะเรียนรู้ ที่นักเรียนและครูกาหนดร่วมกัน ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………..……………….. 2. แต่ละกลุ่มได้ผลการสืบค้นและผลการศึกษาเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 3. จากภาพ 19.2 ซากดึกดาบรรพ์ที่พบในชั้นหินใดมีอายุมากที่สุด เพราะเหตุใด ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 4. เมื่อเปรียบเทียบความซับซ้อนของโครงสร้างซากดึกดาบรรพ์ที่พบในหินชั้นล่างกับหินชั้นบน แล้ว มีโครงสร้างซับซ้อนแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………..………………….. 5. ระหว่างสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีโอกาสเกิดซากดึกดาบรรพ์ แตกต่างกันอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………..………………….. 6. หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์บอกอะไรแก่เราบ้าง ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………….. 7. จากภาพแสดงวิวัฒนาการของม้า มีลักษณะใดบ้างที่เปลี่ยนแปลงไป และการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นใช้เวลานานเท่าใด ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 8. จากการสืบค้น ซากดึกดาบรรพ์มีลักษณะใกล้เคียงกับสิ่งมีชีวิตกลุ่มใด เพราะเหตุใดจึงจัดอยู่ ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตดังกล่าว ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 9. ซากดึกดาบรรพ์มีลักษณะแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตในกลุ่มที่กล่าวข้างต้นอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 15. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 15 10. ซากดึกดาบรรพ์นี้สนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการได้อย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 11. โครงสร้างของรยางศ์คู่หน้าของสัตว์เหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………… 12. ความคล้ายคลึงกันจะบอกถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการได้หรือไม่ อย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..………………………….. 13. การเจริญเติบโตระยะใดที่มีความคล้ายคลึงกันมาก เพราะเหตุใด ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..………………………….. 14. การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอของคนคล้ายคลึงกับสิ่งมีชีวิตใดมากที่สุด ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..………………………….. 15. จากภาพ 19.5 บอกอะไรแก่เราบ้าง ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………..………………………….. 16. จากตาราง 19.1 จะอธิบายความใกล้ชิดกันทางด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ กับคนได้ อย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 17. จงใช้แนวคิดของลามาร์ก ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของยีราฟที่มีลักษณะคอและ ขายาวขึ้นได้อย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 18. จากภาพ 19.11 ถ้านกฟินซ์มาจากบรรพบุรุษเดียวกันและสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะงอยปากของนกฟินซ์จะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 16. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 16 ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 19. จงอธิบายเกี่ยวกับการเกิดนกฟินซ์หลายสปีชีส์บนหมู่เกาะกาลาปากอส โดยใช้ทฤษฎีของ ดาร์วิน ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 20. แนวคิดของลามาร์กกับดาร์วินเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 21. จากคากล่าวที่ว่า แมลงที่ได้รับสารฆ่าแมลงทาให้มีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงมากยิ่งขึ้น นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 22. จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวิวัฒนาการระดับจุลภาคกับวิวัฒนาการระดับมหภาค การคัดเลือกโดยธรรมชาติและการคัดเลือกพันธ์ของมนุษย์แตกต่างกันอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………..……………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 23. การแปรผันทางพันธุกรรม มิวเทชัน และการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ทาให้เกิดวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………..…….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 24. เหตุใดการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศของสิ่งมีชีวิตจึงมีความสาคัญต่อการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..…………………….………………….. Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 17. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 17 25. การที่ยีราฟมีคอยาวขึ้น ชอง ลามาร์ก และ ชาลส์ ดาร์วิน อธิบายปรากฎการณ์นี้อย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………..……………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..……………………..………………….. 26. จากภาพซากดึกดาบรรพ์ของหอยโข่ง หมายเลข 1 มีอายุประมาณ 10 ล้านปี หมายเลข 10 มีอายุประมาณ 3 ล้านปี - หอยเหล่านี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………….……..………………………….. - ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………….…………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..……………………..………………….. - ถ้าซากดึกดาบรรพ์หมายเลข 3 4 5 และ 6 ขาดหายไป จะสรุปได้อย่างไร ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………….………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. 27. จากการศึกษาซากดึกดาบรรพ์ไทรโลไบท์ ในชั้นหินตะกอน ได้ผลดังตาราง - จงนาข้อมูลมาเขียนเป็นกราฟ ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..……………………….……………….. - ไทรโลไบท์ความยาวเท่าใดที่พบมากทั้งในชั้นหินและชั้นหินลึก ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………..……………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..………………………..……………….. 28. แนวคิดในการนาความเข้าใจเกี่ยวกับหลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และ แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตไปใช้ประโยชน์ ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………..…..………………………….. Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 18. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 18 29. สรุปเกี่ยวกับหลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. กิจกรรมที่ การใช้ทฤษฎีของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ให้นักเรียนทาแบบฝึกหัดโดยใช้โจทย์ทีกาหนดให้ดังนี้ ่ 1.ในประชากรกลุ่มหนึ่งพบว่ามีประชากรหมู่เลือด Rh อยู่ 16% เมื่อประชากรนี้อยู่ในภาวะ สมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก จงคานวณหาความถี่ของแอลลีลในประชากร 2.ประชากรของหนู ณ ทุ่งหญ้าแห่งหนึ่ง อยู่ในสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก พบว่า 36%ของ ประชากรหนูมีสีเทาซึ่งเป็นลักษณะด้วย (aa)นอกนั้นเป็นหนูสีดาซึ่งเป็นลักษณะเด่น 2.1จานวนประชากรที่มีจีโนไทป์แบบเฮเทอโรไซกัสเป็นเท่าใด 2.2ความถี่ของแอลลีล a ในยีนพูลของประชากรเป็นเท่าใด 2.3ถ้าประชากรหนูมีจานวน 500 ตัว จะที่มีลักษณะขนสีดาที่มีจีโนโทป์แบบฮอมอไซกัสกี่ตัว 30. บันทึกหลังเรียน ด้านความรู้……………………………………………………………………………………..…………..………………………………. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… …………………………………………………………………………………….………………………………..………………………….. ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ………………………………………….……………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………….…………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ด้านจิตวิทยาศาสตร์.…………………………………………………………..………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ……………………………………………………………………………………………..………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ด้านอื่น ๆ…………………………………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………..………………………….. ………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..…………………………..…………….. Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 19. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 19 แบบทดสอบ เรื่อง วิวัฒนาการ 1. ข้อความที่สอดคล้องกับวิวัฒนาการมากที่สุดคือข้อใด? ก. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมีทิศทางที่ไม่แน่นอน ข. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจากแบบง่ายๆไปซับซ้อนขึ้น ค. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมักมีโครงสร้างใหม่เกิดขึ้นเสมอ ง. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป สืบเนื่องกันตลอดเวลา 2. กรณีใดต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่สนับสนุนทฤษฎี Natural selection ? ก. จิ้งจกเปลี่ยนสีตามสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ข. นกกะทาวางไข่จานวนมากขึ้นเมื่อช่วงกลางวันยาวนานขึ้น ค. มีพลาสโมเดียมสายพันธุ์ที่ต้านยารักษาโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้น ง. เชื้อเอดส์แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ 3. วิวัฒนาการตามแนวคิดของดาร์วินยึดหลักต่างๆยกเว้นหลักเกี่ยวกับข้อใด? ก. หลักการเกี่ยวกับการแปรผันของสิ่งมีชีวิต ข. หลักการเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ค. หลักการเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นของสิ่งมีชีวิต ง. หลักการเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะจากบรรพบุรุษไปลูกหลาน 4. หลักฐานหรือข้อมูลในข้อใดที่เหมาะสมที่สุดในการบ่งให้ทราบว่า สิ่งมีชีวิต 2 ชนิดมีสายวิวัฒนาการ ใกล้เคียงกันมากที่สุด ? ก. หลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุล ข. หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต ค. ข้อมูลสนับสนุนจากกายวิภาคเปรียบเทียบ ง. ข้อมูลสนับสนุนจากคัพภะวิทยาเปรียบเทียบ 5. จากการสังเกตพบว่าผีเสื้อที่มีสีสันกลมกลืนกับสีของเปลือกไม้จะมีจานวนมากกว่าผีเสื้อชนิดอื่นๆ ข้อสังเกตนี้จะใช้ข้อมูลใดมาอธิบายสนับสนุนได้เหมาะสมที่สุด ? ก. ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน ข. สัญชาตญาณในการหลบหนีศัตรูของสิ่งมีชีวิต ค. การถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ของลามาร์ก ง. การผ่าเหล่าอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม 6. หลักฐานในข้อใดสนับสนุนกฎการใช้และไม่ใช้ของลามาร์ก ? Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555
  • 20. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง วิวัฒนาการ 20 ก. ผู้ชายไม่ต้องให้นมลูกจึงไม่มีต่อมน้านม ข. กิ้งกือเดินเร็วกว่าตะขาบจึงมีขาจานวนมากกว่า ค. ค้างคาวรับฟังเสียงด้วยระบบโซนาร์จึงไม่มีใบหู ง. คนที่ฝึกว่ายน้ามาตั้งแต่เด็กเมื่อโตขึ้นจะมีไหล่กว้าง 7. สิ่งมีชีวิตชนิดใดที่ไม่ได้อยู่ในอาณาจักรฟังไจ ? ก. รา ข. เห็ด ค. ยีสต์ ง. แบคทีเรีย 8. . ในการศึกษาวิวัฒนาการระดับโมเลกุล นักชีววิทยาศึกษาจากสิ่งใด ? ก. จานวนโปรตีนที่สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันสร้างได้ ข. จานวนกรดอะมิโนในโปรตีนที่สิ่งมีชีวิตสร้างได้ ค. จานวนกรดอะมิโนที่แตกต่างกันในโปรตีนชนิดเดียวกันที่สิ่งมีชีวิตสร้าง ง. จานวนกรดอะมิโนที่แตกต่างกันในโปรตีนคนละชนิดกันที่สิ่งมีชีวิตสร้าง 9. ปัจจัยใดสาคัญที่สุดในการเกิดวิวัฒนาการของนกฟินช์ในหมู่เกาะกาลาปากอส ซึ่งมีหลายสปีชีส์ ต่างๆกัน? ก. การเกิดภัยธรรมชาติ ข. การอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาล ค. กลไกการแยกทางการสืบพันธุ์ ง. การแยกกันทางสภาพภูมิศาสตร์ 10. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง? ก. เผ่าพันธุ์มนุษย์ยังคงมีวิวัฒนาการต่อไป ข. ยีนที่กลายพันธุ์ส่วนมากเกิดขึ้นในทางที่ดีและมีประโยชน์ ค. การที่เชื้อมาเลเรียดื้อต่อยา อธิบายได้โดยกฏแห่งการใช้และไม่ใช้ของลามาร์ก ง. จากหลักฐานชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยทาให้สรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตมีกาเนิดมาจากนอกโลก Biologynsp.wordpress.com 20 สิงหาคม 2555