SlideShare a Scribd company logo
1 of 45
Download to read offline
4-1
หน่วย​ที่ 4
หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย และ​กฎหมาย​ทรัสต์
อาจารย์​สิริ​พันธ์ พล​รบ
4-2
หลักความ
เป็นธรรมทาง
กฎหมาย และ
กฎหมายทรัสต์	
4.1 	หลักความ
	 เป็นธรรมทาง
	 กฎหมายหรือ
	 เอ็คควิตี้
4.2 	กฎหมายทรัสต์
4.1.1 	ที่มาและพัฒนาการของเอ็คควิตี้
4.2.1 	ที่มาและความหมายของทรัสต์
4.1.2 	หลักกฎหมายเอ็คควิตี้ที่สำคัญ
4.2.2 	หลักกฎหมายทรัสต์
4.2.3	 ทรัสต์ในระบบกฎหมายไทย
แผนผัง​แนวคิด​หน่วย​ที่ 4
4-3
หน่วย​ที่ 4
หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย และ​กฎหมาย​ทรัสต์
เค้าโครง​เนื้อหา
ตอน​ที่ 4.1 	 หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ​เอ็คค​วิ​ตี้
	 4.1.1 	ที่มา​และ​พัฒนาการ​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้
	 4.1.2 	หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​สำคัญ
ตอน​ที่ 4.2 	 กฎหมาย​ทรัสต์
	 4.2.1 	ที่มา​และ​ความ​หมาย​ของ​ทรัสต์
	 4.2.2 	หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์
	 4.2.3 	ทรัสต์​ใน​ระบบ​กฎหมาย​ไทย
แนวคิด
1. 	หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ “เอ็คค​วิ​ตี้” (Equity) เป็น​หลัก​กฎหมาย​ที่​พัฒนา​
ใน​อังกฤษ​และ​เวลส์​ใน​ยุค​กลาง มี​ที่มา​จาก​คำ​ตัดสิน​ของ​ขุนนาง​ตำแหน่ง​ชาน​เซล​เลอ​ร์​เพื่อ​
เยียวยา​คู่​ความ​ใน​กรณี​ที่​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ไม่​สามารถ​ให้การ​เยียวยา​ได้​เท่า​ที่​ควร ต่อ​
มา​พัฒนา​เป็น​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equity) และ​ถูก​นำ​ไป​ใช้​ใน​ศาล​พิเศษ เรียก​ว่า “ศาล​ชาน-
​เซอ​รี” (Court of Chancery) ปัจจุบัน ยัง​คง​มี​แนว​ความ​คิด​และ​หลัก​กฎหมาย​ที่​ใช้​อยู่ เช่น
วิธี​การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable remedies) หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable
doctrines) ต่างๆ ซึ่ง​รวม​ถึง​การ​จัดการ​ทรัพย์สิน​โดย​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์ (Trusts)
2. 	ทรัสต์ (Trusts) คือ กอง​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​จัด​ตั้ง​ขึ้น​โดย​ผู้​ก่อ​ตั้ง (Settlor) มี​ทรัส​ตี
(Trustee) เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์​ตาม​กฎหมาย และ​มีหน้า​ที่​จัดการ​กอง​ทรัพย์สิน​ให้​เป็น​ไป​
ตาม​วัตถุประสงค์​ของ​ทรัสต์​เพื่อ​ให้​ผล​ประโยชน์​ตก​แก่​ผู้รับ​ประโยชน์ (Benificiary) โดยที่​
ทรัสต์​เป็น​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​สาขา​หนึ่ง ดัง​นั้น การ​จะ​เข้าใจ​หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์​ได้​ดี
จึง​ควร​ทำความ​เข้าใจ​หลัก​พื้น​ฐาน​และ​พัฒนาการ​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้​ด้วย
3. 	นอกจาก​ประเทศ​อังกฤษ​และ​ประเทศ​ใน​กลุ่ม​ที่​ใช้​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​แล้ว ปัจจุบัน​หลาย​
ประเทศ​ใน​ระบบ​กฎหมาย​อื่น รวม​ถึง​ประเทศไทย นำ​หลัก​กฎหมาย​และ​ระบบ​การ​จัด​ตั้ง
ทรัสต์​ไป​ใช้​ใน​การ​จัดการ​ทรัพย์สิน โดย​อาจ​มี​ขอบเขต​ของ​กฎหมาย​และ​วัตถุประสงค์​ใน​
การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์​แตก​ต่าง​กัน​ไป
4-4
วัตถุประสงค์
เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 4 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ
1.	 อธิบาย​และ​วิเคราะห์​เกี่ยว​กับ​หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ​เอ็คค​วิ​ตี้​ได้
2.	 อธิบาย​และ​วิเคราะห์​เกี่ยว​กับ​กฎหมาย​ทรัสต์​ได้
กิจกรรม
1.	 กิจกรรม​การ​เรียน
1)	 ศึกษา​แผนผัง​แนวคิด​หน่วย​ที่ 4
2)	 อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ​หน่วย​ที่ 4
3)	 ทำ​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน​หน่วย​ที่ 4
4)	 ศึกษา​เนื้อหา​สาระ
5)	 ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง
6)	 ตรวจ​สอบ​กิจกรรม​จาก​แนว​ตอบ
7)	 ทำ​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​หลัง​เรียน​หน่วย​ที่ 4
2.	 งาน​ที่​กำหนด​ให้​ทำ
1)	 ทำ​แบบ​ฝึกหัด​ทุก​ข้อ​ที่​กำหนด​ให้​ทำ
2)	 อ่าน​เอกสาร​เพิ่ม​เติม​จาก​บรรณานุกรม
แหล่ง​วิทยาการ
1. 	สื่อ​การ​ศึกษา
1) 	แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 4
2) 	หนังสือ​ประกอบ​การ​สอน
2.1) 	กิตติ​ศักดิ์ปรกติ(2551)ความ​เป็น​มาและ​หลัก​การ​ใช้​นิติ​วิธีใน​ระบบ​ซี​วิลลอว์​
และคอม​มอน​ลอว์ พิมพ์​ครั้ง​ที่ 3 วิญญูชน กรุงเทพมหานคร
2.2) 	ประชุมโฉมฉายศาสตราจารย์​เกียรติคุณดร.(2552)กฎหมาย​เอกชน​เปรียบ​
เทียบเบื้อง​ต้น:จารีต​โรมัน​และ​แอง​โกล​แซก​ซอนพิมพ์​ครั้ง​ที่2โครงการ​ตำรา​
และเอกสาร​ประกอบ​การ​สอน คณะ​นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์
4-5
2.3) 	สุ​นัยมโนมัย​อุดม(2552) ระบบ​กฎหมาย​อังกฤษ(EnglishLegalSystem)
พิมพ์​ครั้ง​ที่ 3 แก้ไข​เพิ่ม​เติม โครงการ​ตำรา​และ​เอกสาร​ประกอบ​การ​สอน
คณะ​นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์
2.4) 	GarrySlapperandDavidKelly,(2006)EnglishLaw,2nded.,London,
Routledge-Cavendish.
2.	 เอกสาร​อ้างอิง​ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 4
	
การ​ประเมิน​ผล​การ​เรียน
1.	 ประเมิน​ผล​จาก​การ​สัมมนา​เสริม​และ​งาน​ที่​กำหนด​ให้​ทำ​ใน​แผน​กิจกรรม
2.	 ประเมิน​ผล​จาก​การ​สอบไล่​ประจำ​ภาค​การ​ศึกษา
4-6
แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน
วัตถุประสงค์	เพื่อ​ประเมิน​ความ​รู้​เดิม​ใน​การ​เรียน​รู้​ของ​นักศึกษา​เกี่ยว​กับ​เรื่อง “หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​
ทางกฎหมาย และ​กฎหมาย​ทรัสต์”
คำ​แนะนำ	 อ่าน​คำถาม​แล้ว​เขียน​คำ​ตอบ​ลง​ใน​ช่อง​ว่าง นักศึกษา​มี​เวลา​ทำ​แบบ​ประเมิน​ชุด​นี้ 30 นาที
1. 	หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ​เอ็คค​วิ​ตี้​คือ​อะไร มี​ที่มา​อย่างไร
2. 	ทรัสต์ คือ​อะไร และ​มี​หลัก​กฎหมาย​ที่​สำคัญ​อย่างไร
4-7
ตอน​ที่ 4.1
หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ​เอ็คค​วิ​ตี้
โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ​ตอน​ที่ 14.1 แล้ว​จึง​ศึกษา​สาระ​สังเขป พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง
หัว​เรื่อง
เรื่อง​ที่ 4.1.1 	ที่มา​และ​พัฒนาการ​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้
เรื่อง​ที่ 4.1.2 	หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​สำคัญ
แนวคิด		
1. 	หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ “เอ็คค​วิ​ตี้” (Equity) เป็น​หลัก​กฎหมาย​ที่​พัฒนา​
ใน​อังกฤษ​และ​เวลส์​ใน​ยุค​กลาง มี​ที่มา​จาก​คำ​ตัดสิน​ของ​ขุนนาง​ตำแหน่ง​ชาน​เซล​เลอ​ร์​เพื่อ​
เยียวยา​คู่​ความ​ใน​กรณี​ที่​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ไม่​สามารถ​ให้การ​เยียวยา​ได้​เท่า​ที่​ควร ต่อ​มา
​พัฒนา​เป็น​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equity) และ​ถูก​นำ​ไป​ใช้​ใน​ศาล​พิเศษ เรียก​ว่า “ศาล​ชานเซอ​รี”
(Court of Chancery)
2. 	เอ็คค​วิ​ตี้​มี​พัฒนาการ​มา​ตาม​ลำดับ โดย​ระยะ​แรก​เป็นการ​เสริม​เพิ่ม​เติม​หลัก​คอม​มอน​ลอว์
ต่อ​มา​นำ​มา​ใช้​ร่วม​กับ​คอม​มอน​ลอว์​ใน​ศาล​ต่างๆ ปัจจุบัน​ยัง​คง​มี​แนว​ความ​คิด​และ​หลัก​
กฎหมาย​ที่​ใช้​อยู่ เช่น วิธี​การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable remedies) อาทิ การ​ปฏิบัติ​
การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ (specific performance) คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชัน
(injunction) และ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable doctrines) ที่​สำคัญ เช่น อำนาจ​
ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม (undue influence) การ​เก็บ​
รักษา​ความ​ลับ (confidentiality) ตลอด​จน​การ​จัดการ​ทรัพย์สิน​โดย​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์
วัตถุประสงค์
เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 4.1 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ
1. 	อธิบาย​ที่มา​และ​พัฒนาการ​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้​ได้
2. 	อธิบาย​และ​วิเคราะห์​เกี่ยว​กับ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​สำคัญ​ได้
4-8
เรื่อง​ที่ 4.1.1	ที่มา​และ​พัฒนาการ​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้
สาระ​สังเขป
1. ที่มา​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equity)
หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย หรือ​ที่​เรียก​ว่า “เอ็คค​วิ​ตี้” (Equity)1 เป็น​หลัก​กฎหมาย​ที่​พัฒนา​
ใน​อังกฤษ​และ​เวลส์​ใน​ยุค​กลาง​เพื่อ​เยียวยา​คู่​ความ​ใน​กรณี​ที่​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ไม่​สามารถ​ให้การ​เยียวยา​
ได้​เท่า​ที่​ควร ตัวอย่าง​เช่น เดิม​การ​ฟ้อง​คดี​ส่วน​มาก​จะ​ทำได้​ก็​ต่อ​เมื่อ​มี​การ​ออก​หมาย (writ) อนุญาต​ให้​ฟ้อง​
ซึ่ง​มัก​เป็นการ​ใช้​ภาษา​ทาง​กฎหมาย​ที่​ซับ​ซ้อน หาก​มี​การ​ใช้​ภาษา​ผิด​ไป​ก็​ทำให้​การ​ฟ้อง​เสีย​ไป​ทั้งหมด จึง​ต้อง​
ไป​ฟ้อง​ใหม่​ที่​ศาล​พิเศษ​ของ​พระเจ้า​แผ่นดินอีก​ประการ​หนึ่ง​การ​เยียวยา​ใน​ระบบ​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​มี​แต่​
การ​ได้​รับ​ค่า​สินไหม​ทดแทนศาล​ไม่​อาจ​กำหนด​เกี่ยว​กับ​การก​ระ​ทำ​ของ​จำเลยเช่นการ​โอน​ทรัพย์​ให้ตลอด​จน
​การ​งด​เว้น​ของ​จำเลย เช่น การ​ไม่​ก่อ​ความ​รำคาญ ให้​ได้
ผู้​เสีย​หาย​ที่​ไม่​ได้​รับ​ความ​พึง​พอใจ​จึง​เลือก​ไป​ร้องขอ​ต่อ​กษัตริย์​ให้​ช่วย​เมื่อ​เกิด​ความ​ไม่​ยุติธรรม​ซึ่ง​
กษัตริย์​ก็​มีหน้า​ที่​ต้อง​ช่วย​เพราะ​ศาล​คอม​มอน​ลอว์​ซึ่ง​เกิด​จาก​การ​ใช้​อำนาจ​ปกครอง​ของ​กษัตริย์ปกติ​มี​ขุนนาง​
ตำแหน่ง​ลอร์ด​ชาน​เซล​เลอ​ร์(LordChancellor)คอย​ดูแล​คำร้อง​ที่​ยื่น​ต่อ​กษัตริย์คำ​ตัดสิน​ของ​ชาน​เซล​เลอ​ร์​
เพื่อ​สร้าง​ความ​เป็น​ธรรม​ดัง​กล่าว​นาน​ปี​เข้า​ก็​พัฒนา​เป็น​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equity) กฎ​ใหม่​ใน​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​นี้ ถูก​
นำ​ไป​ใช้​ใน​ศาล​พิเศษ​แห่ง​หนึ่ง คือ ศาล​ของ​ชาน​เซล​เลอ​ร์ (The Chancellor’s Court) ซึ่ง​บาง​ที่​เรียก​ว่า “ศาล​
ชาน​เซอ​รี” (Court of Chancery)
2. การ​พัฒนา​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ใน​ศาล​ชาน​เซอ​รี
การ​ใช้​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ใน​ศาล​ชาน​เซอ​รี ใน​ช่วง​ศตวรรษ​ที่ 18 แม้​จะ​เป็น​ดุลพินิจ​ของ​ชาน​เซล​เลอ​ร์​ที่​จะ​
นำ​มา​ใช้​เพื่อ​เยียวยา​แก้ไข​ความ​ไม่​เป็น​ธรรม แต่​ก็​เริ่ม​เป็น​ระบบ​มี​กฎ​เกณฑ์​ที่​แน่นอน และ​มี​ลักษณะ​ไป​ใน​
ทาง​ที่​เสริม​หรือ​เพิ่ม​เติม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​มากกว่า​จะ​เป็นการ​แก้ไข​ตัว​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ ตัวอย่าง​
กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ที่​มี​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​เข้า​มา​เสริม​มาก ได้แก่ กฎหมาย​เกี่ยว​กับ​ทรัพย์สิน รอง​ลง​มา
คือ กฎหมาย​ละเมิด
	
	 1 “Equity” เป็น​หลัก​กฎหมาย​ที่​เดิม​แยก​ออก​จาก​คอม​มอน​ลอว์ มี​ขึ้น​เพื่อ​แก้ไข​ข้อ​บกพร่อง​ของ​คอม​มอน​ลอว์ แต่​ปัจจุบัน​
นับ​ว่า​รวม​อยู่​ใน​คอม​มอน​ลอว์ เพราะ​มี​การ​รวม​ศาล​เอ็คค​วิ​ตี้​เข้า​กับ​ศาล​คอม​มอน​ลอว์ หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​จึง​กลาย​เป็น​หลัก​ที่​ประกอบ​เป็น​ส่วน​
หนึ่ง​ของ​คอม​มอน​ลอว์ หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​เคย​มี​ผู้​เรียก​ชื่อ​อย่าง​อื่น คือ “หลัก​ความ​เป็น​ธรรม” และ​บาง​ท่าน​ใช้​ทับ​ศัพท์​ว่า “Equity” อย่างไร​
ก็​ดี เนื่องจาก​ตำรา​ที่​ใช้​อ้างอิง​ใน​แนว​การ​สอน​นี้​ใช้​ทับ​ศัพท์​คำ​อ่าน​ภาษา​อังกฤษ​ว่า “เอ็คค​วิ​ตี้” เพื่อ​ให้​เข้าใจ​ตรง​กัน ใน​เนื้อหา​จึง​ขอ​ใช้​
วิธี​การ​ทับ​ศัพท์​คำ​อ่าน​ภาษา​อังกฤษ​ว่า “เอ็คค​วิ​ตี้” เช่น​เดียว​กับ​ใน​ตำรา​ที่​ใช้​อ้างอิง
4-9
ใน​ส่วน​ของ​อำนาจ​ศาล​ชาน​เซอ​รี​ที่​เกี่ยว​กับ​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ไม่มี​ใน​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ที่​สำคัญได้แก่
ทรัสต์ การ​แยก​ทรัพย์สิน​ของ​หญิง​ที่​สมรส​แล้ว การ​จำนอง และ​การ​โอน​สิทธิ​เรียก​ร้อง​ตาม​สัญญา
3. การ​ปฏิรูป​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​และ​เอ็คค​วิ​ตี้
ระ​หว่าง​ปีค.ศ.1830และ1860ได้​มี​การ​ปฏิรูป​วิธี​พิจารณา​ใน​ศาล​คอม​มอน​ลอว์​และ​เอ็คค​วิ​ตี้​ให้​เป็น​
แนว​เดียวกันและ​เป็น​พื้น​ฐาน​ใน​การ​ปฏิรูป​ทาง​ศาล​ให้การ​พิจารณา​โดย​ใช้​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​และ​เอ็คค​วิ​ตี้​
อยู่​ใน​ศาล​เดียวกัน​ใน​เวลา​ต่อ​มาก่อน​ปีค.ศ.1875ศาล​คอม​มอน​ลอว์​สามารถ​รับ​ฟัง​ข้อ​ต่อสู้​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​และ​
พิพากษา​ให้การ​เยียวยา​ตาม​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ และ​ให้​ศาล​เอ็คค​วิ​ตี้​พิจารณา​คดี​ตาม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์
ซึ่ง​รวม​ถึง​การ​พิพากษา​ให้​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย​ด้วย
ต่อ​มา​ได้​มี​การ​ตรา​พระ​ราช​บัญญัติ The Judicature Acts, 1873–1875 ให้​จัด​ตั้ง​ศาลสูง (High
Court) ขึ้น​ศาล​เดียว​มี​อำนาจ​พิจารณา​คดี​ต่างๆ ทั้ง​ตาม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​และ​เอ็คค​วิ​ตี้ ใน​ศาลสูง​นี้​ได้​
แบ่ง​งาน​ของ​ศาล​ออก​เป็น 5 แผนก หนึ่ง​ใน​นั้น คือ แผนก​ชาน​เซอ​รี (Chancery Division) ซึ่ง​นอกจาก​จะ​
มี​อำนาจ​พิจารณา​คดี​ตาม​ที่​กฎหมาย​ต่างๆ กำหนด​ไว้​แล้ว ยัง​มี​อำนาจ​พิจารณา​คดี​เช่น​เดียว​กับ​ศาล​แผนก​
อื่น ใน​คดี​ที่​อาจ​ฟ้อง​ร้อง​ตาม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​แต่​โจทก์​ประสงค์​จะ​ขอ​เยียวยา​ตาม​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้
ได้แก่ การ​ขอ​หมาย​อิน​จัง​ชัน (injunction) (หรือ​คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ) และ​ขอ​ให้​กระทำ​การ​บาง​อย่าง (specific
performance)
การ​รวม​คดี​คอม​มอน​ลอว์​และ​เอ็คค​วิ​ตี้​มา​พิจารณา​ใน​คดี​เดียวกัน​นี้​ไม่​ก่อ​ให้​เกิด​ปัญหา​ใน​ทาง​ปฏิบัติ​
มาก​นัก เพราะ​การ​มี​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ก็​เพื่อ​เสริม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ให้​สมบูรณ์ มิได้​มี​วัตถุประสงค์​
เป็นการ​ขัด​กับ​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​แต่​อย่าง​ใด ตัวอย่าง​คดี​ที่​เกี่ยว​กับ​ทรัสต์ ตาม​คอม​มอน​ลอว์ นาย ก.
ถือว่า​เป็น​เจ้าของ​กรรมสิทธิ์ แต่​นาย ก. อาจ​ถือ​ครอง​ที่ดิน​ดัง​กล่าว​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​นาย ข. ได้ อย่างไร​ก็​ดี
อาจ​มี​กรณี​ที่​ขัด​แย้ง​กัน​บ้างแต่​ก็​เป็น​เพียง​ส่วน​น้อยเช่นกรณี​การ​ขอ​ให้​ออก​หมาย​อิน​จัง​ชัน(injunction)ซึ่ง​
ไม่​เป็น​ที่​ยอมรับ​ใน​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์
4. การ​ใช้​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ใน​ปัจจุบัน
ใน​ประเทศ​อังกฤษ​ปัจจุบัน ศาล​ที่​มี​อำนาจ​พิจารณา​คดี​แพ่ง​ตาม​ลำดับ​ชั้น​ศาล ได้แก่
1) 	ศาลสูง​สุด ได้แก่ สภา​ขุนนาง (House of Lords)
2) 	ศาลสูง​ชั้น​กลาง ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ The Supreme Court of Judicature Act 1873, 1875
บัญญัติ​ให้​จัด​ตั้ง​ศาลสูง​ขึ้น คือ Supreme Court of Judicature ซึ่ง​แบ่ง​ออก​เป็น 2 ส่วน คือ ศาลสูง (The
High Court of Justice) และ​ศาล​อุทธรณ์ (The Court of Appeal)
3) 	ศาล​ชั้น​ล่างได้แก่ศาล​เคา​น์​ตี​คอร์ท(CountyCourts)และ​ศาล​มา​จิ​ส​เตรทส์​คอร์ท(Magistrates
Courts)
ใน​ศาล​แต่ละ​ระดับ​ดัง​กล่าวยัง​คง​มี​การ​พิจารณา​เกี่ยว​กับ​คดี​เอ็คค​วิ​ตี้​หรือ​ใช้​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​
ที่​เกี่ยวข้อง​อยู่ แล้ว​แต่​กรณี เพื่อ​สร้าง​ความ​เป็น​ธรรม​เคียง​คู่​กับ​หลัก​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ ซึ่ง​รัฐสภา​ได้​
4-10
ออก​กฎหมาย​รับรอง​หลัก​กฎหมาย​ทั้ง​สอง แต่​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​จะ​บังคับ​ได้​นั้น ปัจจุบัน​ได้​กลาย​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​
ของ​หลัก​กฎหมาย​ตาม​คำ​พิพากษา (precedent) ไป มิได้​เป็น​หลัก​ที่​เกิด​จาก​เหตุผล​ทาง​จริยธรรม​ล้วนๆ อีก
ใน​ขณะ​ที่​นัก​วิชาการ​บาง​ท่าน (Worthington) เห็น​ว่า ใน​ปัจจุบัน​ได้​เข้า​สู่​ช่วง​ที่​เอ็คค​วิ​ตี้​และ​คอม​มอน​ลอว์​
ได้​บูรณ​า​การ​กัน​แล้ว​โดย​สมบูรณ์ ดัง​ตัวอย่าง​ที่​เกิด​ขึ้น คือ โดย​หลัก​หาก​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​และ​คอม​มอน​ลอว์​
ขัด​แย้ง​กัน พระ​ราช​บัญญัติ The Judicature Acts, 1873 (หรือ​ปัจจุบัน คือ มาตรา 49 แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ
The Supreme Court Act 1981) บัญญัติ​ว่า ใน​กรณี​ดัง​กล่าว​ให้​ใช้​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ อย่างไร​ก็​ดี ใน​บาง​กรณี​ที่​
หาก​ใช้​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​อาจ​ไม่​เกิด​ความ​เป็น​ธรรม ศาล​ก็​อาจ​ใช้​หลัก​คอม​มอน​ลอว์​ได้​เช่น​กัน2
(โปรด​อ่าน​เนื้อหา​สาระ​โดย​ละเอียด​ใน​หนังสือ​ความ​เป็น​มา​และ​หลัก​การ​ใช้​นิติ​วิธี ใน​ระบบ​ซี​วิลลอว์​และ
​คอม​มอน​ลอว์ บท​ที่ 3 โดย​กิตติ​ศักดิ์ ปรกติ ; หนังสือระบบ​กฎหมาย​อังกฤษ (English Legal System)
บท​ที่ 8 บท​ที่ 13 บท​ที่ 14 และ​บท​ที่ 16 โดย​สุ​นัย มโนมัย​อุดม ; และ​หนังสือ English Law, “Chapter 10:
The Law of Equity and Trust” by Garry Slapper and David Kelly)
กิจกรรม 4.1.1
อำนาจ​ของ​ศาล​ชาน​เซอ​รี​ที่​เกี่ยว​กับ​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ไม่มี​ใน​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ ที่​สำคัญ​ได้แก่​
เรื่อง​ใด​บ้าง
	 2 ตัวอย่าง​เช่น บ้าน​ที่​ภรรยา​อยู่​อาศัย​เป็น​ของ​สามี (นาย​เอ) ซึ่ง​เป็น​เจ้าของ​ร่วม​กับ​บุคคล​อื่น ต่อ​มา​ต้อง​ถูก​บังคับ​ให้​โอน​บ้าน​
ให้​แก่​ผู้​ซื้อ​ซึ่ง​เป็นการ​สั่ง​ให้​ปฏิบัติ​การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ (specific performance) ตาม​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ (เนื่องจาก​การ​เยียวยา​ตาม​หลัก​
คอม​มอน​ลอว์ คือ การ​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย (damages) จะ​ไม่​ตรง​ตาม​วัตถุประสงค์​ของ​ผู้​ซื้อ​บ้าน ที่​ประสงค์​จะ​ได้​บ้าน​มากกว่า​จะ​ได้​เงิน) แต่​
ใน​ขณะ​นั้น​ภรรยา​ของ​นาย​เอ กำลัง​ป่วย​และ​อยู่​ใน​ความ​ยาก​ลำบาก​เพราะ​สามี​ติด​คุก หาก​ศาล​บังคับ​ให้​มี​การ​ขาย​บ้าน​ตาม​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​
ก็​จะ​เป็นการ​สร้าง​ความ​ทุกข์​ยาก (hardship) ให้​แก่​ภรรยา​ของ​นาย​เอ​เป็น​อย่าง​มาก ซึ่ง​ใน​คดี​ดัง​กล่าว ศาล​เห็น​ว่า “การ​สร้าง​ความ​ทุกข์​
ยาก​ให้​แก่​บุคคล​ถือ​เป็น​ความอ​ยุติธรรม – hardship amounting to injustice” ศาล​จึง​ไม่​บังคับการ​เยียวยา​ตาม​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ คือ
การ​ให้​โอน​บ้าน​ให้​แก่​ผู้​ซื้อ แต่​ให้​ใช้​การ​เยียวยา​ตาม​หลัก​คอม​มอน​ลอว์ คือ การ​ให้​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย แทน (สรุป​ความ​จาก​คดี Patel v.
Ali [1984] Ch 283 อ้าง​ถึง​ใน John Duddington, “Chapter 1 : Nature of Equity”, Essentials of Equity and Trusts Law,
Harlow, Pearson Education, 2006, pp. 3-5)
4-11
บันทึกคำตอบ​กิจกรรม 4.1.1
(โปรด​ตรวจ​คำ​ตอบ​จาก​แนว​ตอบ​ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 4 ตอน​ที่ 4.1 กิจกรรม 4.1.1)
4-12
เรื่อง​ที่ 4.1.2 	หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​สำคัญ
สาระ​สังเขป
ใน​ปัจจุบัน ยัง​คง​มี​การ​ใช้​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ใน​กฎหมาย​ของ​ประเทศ​อังกฤษ​และ​ประเทศ​ที่​ใช้​
กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ โดย​เฉพาะ​ใน​เรื่อง​ทรัสต์3 และ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable doctrines) ใน​
เรื่อง​อื่น เช่น สัญญา ละเมิด นอกจาก​นั้น ยัง​มี​วิธี​การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable remedies) ที่​นำ​มา​
ใช้​เพื่อ​สร้าง​ความ​เป็น​ธรรม​ให้​แก่​คู่​ความ
สำหรับ​ราย​ละเอียด​ของ​กฎหมาย​ทรัสต์​ซึ่ง​เป็น​หัวข้อ​ใหญ่จะ​ขอ​นำ​ไป​กล่าว​ใน​ตอน​ที่4.2ใน​ส่วน​นี้​จะ​
กล่าว​เฉพาะ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​อื่น​ที่​สำคัญ​และ​ยัง​คง​มี​บทบาท​ใน​ปัจจุบันได้แก่อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​
ธรรม4 หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม5 (undueinfluence)และ​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ(confidentiality)
ตลอด​จน​การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้(equitableremedies)เช่นการ​ปฏิบัติ​การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ(specific
performance)คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชัน(injunction)การ​แก้​ให้​ถูก​ต้อง(rectification)และ​การ​
เลิก​สัญญา​แล้วก​ลับ​คืน​สู่​ฐานะ​เดิม (rescission)
1. หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equitable Doctrines)
ใน​การ​นำ​เอ็คค​วิ​ตี้​มา​ใช้​มี​การ​พัฒนา​หลัก​ทฤษฎี​กฎหมาย​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​ขึ้น​หลาย​ประการเช่นหลัก​การ​
ไถ่ถอน​จำนอง​ซึ่ง​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​กฎหมาย​ที่ดินและ​อื่นๆ6 ใน​ที่​นี้จะ​นำ​ทฤษฎี​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​ซึ่ง​ได้​รับ​การ​พัฒนา​
ขึ้น​และ​ยัง​คง​มี​บทบาท​สำคัญ​มา​จนถึง​ปัจจุบัน​มา​เป็น​ตัวอย่าง2เรื่องได้แก่อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​
การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม (undue influence) และ​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ (confidentiality)
	 3 ใน​ประเทศ​ที่​อยู่​ใน​ระบบ​ประมวล​กฎหมาย (civil law) บาง​ประเทศ เช่น ส​วิต​เซอร์​แลนด์ และ​ใน​ระบบ​กฎหมาย​อื่น ​เช่น
สาธารณรัฐ​ประชาธิปไตย​ประชาชน​จีน มี​การนำ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ เช่น ทรัสต์ ไป​ใช้​โดย​ออก​เป็น​กฎหมาย​ระดับ​พระ​ราช​บัญญัติ​เช่น​
กัน (http://en.wikipedia.org/wiki/Trust_law_in_Civil_law_jurisdictions)	
	 4 ตาม​คำ​แปล​ที่​ปรากฏ​ใน “ศัพท์​นิติศาสตร์ อังกฤษ – ไทย ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน” (2541)	
	 5 ตาม​คำ​แปล​ที่​นัก​วิชาการ เช่น ผู้​ช่วย​ศาสตราจารย์ ดร.พินัย ณ นคร ใช้​ใน​บทความ	
	 6 ทฤษฎี​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​อื่นๆ เช่น หลัก “conversion” ได้แก่ การ​ถือว่า​เงิน​ที่​จะ​ใช้​ใน​การ​ซื้อ​ที่ดิน​ถือ​เป็น​ที่ดิน หรือ​ที่ดิน​ที่​ประสงค์​
จะ​ขาย​แต่​ยัง​มิได้​ขาย​ถือ​เป็น​เงิน​จาก​การ​ขาย​ที่ดิน​นั้น หรือ​หลัก “election” ได้แก่ สิทธิ​ใน​การ​เลือก เช่น เมื่อ​นาย ก. ได้​รับ​แจกัน​โบราณ​
ติด​มา​กับ​โต๊ะ​โบราณ​ที่​นาย ข. ได้​มอบ​ให้ ซึ่ง​เกิด​จาก​ความ​ผิด​พลาด ใน​ขณะ​ที่​นาย ข. ก็​ตกลง​มอบ​แจกัน​โบราณ​นั้น​ให้​แก่ นาย ค. แล้ว
นาย ก. ย่อม​มี​สิทธิ​ที่​จะ​เลือก​ได้​ว่า​จะ​มอบ​แจกัน​ให้​กับ​นาย ค. หรือ​เก็บ​แจกัน​นั้น​ไว้​โดย​มอบ​โต๊ะ​ไป​แทน หรือ​หลัก “satisfaction” ได้แก่
การ​ที่​บุคคล​มี​หนี้​ตาม​กฎหมาย​ที่​ต้อง​กระทำ​การ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง แต่​ใน​การ​ชำระ​หนี้​ได้​กระทำ​การ​ต่าง​ออก​ไป หาก​ผู้​กระทำ​มี​เจตนา​ที่​จะ​
ชำระ​หนี้ ก็​ถือว่า​ได้​มี​การ​ปฏิบัติ​การ​ชำระ​หนี้​แล้ว เป็นต้น (ผู้​สนใจ​ศึกษา​ราย​ละเอียด​ได้​ใน John Duddington, “Chapter 1 : Nature
of Equity”, Essentials of Equity and Trusts Law, Harlow, Pearson Education, 2006, pp. 3-5)
4-13
1.1 	อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม (Undue Influence) อำนาจ​
ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม (undue influence) เป็น​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่มา​ขยาย​
ขอบเขต​ของ​การ​ข่มขู่​ตาม​หลัก​คอม​มอน​ลอว์ เนื่องจาก​ใน​ระยะ​แรก​หลัก​เรื่อง​การ​ข่มขู่​ใช้ได้​เฉพาะ​การ​ข่มขู่​ว่า​
จะ​ก่อ​ให้​เกิด​อันตราย​แก่​ชีวิต​หรือ​ร่างกาย​เท่านั้น ด้วย​เหตุ​นี้ ศาล​จึง​สร้าง​หลัก อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​
หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​ขึ้น​มา​เพื่อ​อุด​ช่อง​ว่าง​ของ​กฎหมาย
อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม เป็น​เรื่อง​ที่​ยาก​จะ​นิยาม​ความ​
หมาย​ให้​ชัดเจน​ได้ แต่​โดย​เนื้อหา​สาระ​แล้ว​มี​วัตถุประสงค์​เพื่อ​คุ้มครอง​บุคคล​ที่​อ่อนแอ​มิ​ให้​ถูก​หา​ประโยชน์​
จาก​บุคคล​อื่น ใน​การ​พิจารณา​ว่า​มี​การ​ครอบงำ​อย่าง​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​ไม่ จะ​ดู​ที่​ลักษณะ​ของ​การ​เข้า​สร้าง​
ความ​ผูกพัน หรือ​เจตนา​ใน​การ​เข้า​สร้าง​ความ​ผูกพัน มากกว่า​จะ​ดู​ว่า​ผู้​ที่​ตก​เป็น​เหยื่อ​นั้น​รู้ตัว​ว่า​ตน​ได้​กระทำ​
การ​อย่าง​ใด​หรือ​ไม่ หรือ​ที่​กล่าว​ว่า อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​เป็น​เรื่อง​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​ความ​เป็น​ธรรม​ใน​
ทาง​ขั้น​ตอน​ของ​การก​ระ​ทำ มากกว่า​จะ​เกี่ยว​กับ​ความ​เป็น​ธรรม​ใน​ทาง​เนื้อหา​สาระ
ตัวอย่าง​เช่น นาง​เอฟ เศรษฐีนีสูง​อายุ​ซึ่ง​คุ้น​เคย​และ​เชื่อ​ถือ​คำ​แนะนำ​ของ​นาย​ที เจ้า​หน้าที่​บัญชี​ของ​
เธอ​เป็น​อย่าง​มากได้​พูด​คุย​กับ​นาย​ทีว่า​เธอ​ประสงค์​จะ​ที่​จะ​ทำ​พินัยกรรม​แต่​ไม่​ทราบ​ว่า​จะ​ยก​ทรัพย์สิน​ให้​กับ​ผู้​
ใดใน​การ​สนทนา​กัน​หลาย​ครั้งนาย​ทีค่อยๆเกลี้ย​กล่อม​ชักจูง​จน​เธอ​ยก​ทรัพย์สิน​จำนวน​มาก​ให้​เขาใน​กรณี​
นี้​ไม่​ปรากฏ​ข้อ​เท็จ​จริง​ว่า​มี​การ​ข่มขู่​หรือ​กระทำ​การ​อัน​เป็น​ความ​ผิด​แต่​อย่าง​ใดอย่างไร​ก็​ดีจะ​มอง​เห็น​ว่านาย​
ที อยู่​ใน​ฐานะ​ที่​มี​อิทธิพล​บาง​ประการ​ต่อ​นาง​เอฟ ซึ่ง​กรณี​ดัง​กล่าว​เป็นการ​ยาก​ที่​จะ​วินิจฉัย​ได้​ใน​ทันที​เหมือน​
กับ​การ​พิจารณา​ว่า​มี​การ​ข่มขู่​หรือ​ไม่ เพราะ​ส่วน​หนึ่ง​เป็น​เหตุการณ์​ที่​ค่อยๆ เกิด​ขึ้น​โดย​ใช้​ระยะ​เวลา
ใน​คดีRoyalBankofScotlandv.Etridge(1997)7 ศาล​อุทธรณ์​วินิจฉัย​ว่าจะ​วินิจฉัย​ว่า​มี​การ​ใช้​อำนาจ​
ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม ต่อ​เมื่อ​บุคคล​ฝ่าย​หนึ่ง​ได้​กระทำ​การ​ที่​ไม่​เป็น​ธรรม​เพื่อ​แสวงหา​ประโยชน์​จาก​อำนาจ​
ที่​จะ​ชี้​แนวทาง​ให้​อีก​บุคคล​หนึ่ง​กระทำ​การ ซึ่ง​เป็น​ผล​สืบ​เนื่อง​มา​จาก​ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​บุคคล​เหล่า​นั้น
(... undue influence ‘is brought into play whenever one party has acted unconscionably in
exploiting the power to direct of another which is derived from the relationship between
them’...)
อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​อาจ​แบ่ง​ได้​เป็น 2 ประ​เภท​ใหญ่ๆ
ได้แก่
ประเภท​ที่ 1 อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​ตาม​ความ​
เป็น​จริง​หรือ​โดย​ชัด​แจ้ง (actual (or express) undue influence) คือ มี​การ​ขู่เข็ญ​กัน​จริงๆ เช่น การ​ที่​บิดา​ถูก​
ธนาคาร​เรียก​ร้อง​ให้​จำนอง​ทรัพย์สิน มิ​เช่น​นั้น​ธนาคาร​นั้น​จะ​ฟ้อง​คดี​​บุตร​ชาย​ใน​ฐาน​ปลอม​ลายมือ​ชื่อ​บิดา ซึ่ง​
บิดา​ก็​จำ​ต้อง​ยินยอม​เพื่อ​ป้องกัน​มิ​ให้​บุตร​ชาย​ของ​ตน​ต้อง​ถูก​ธนาคาร​ฟ้อง​คดี และ
ประเภท​ที่ 2 อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​โดย​
ข้อ​สันนิษฐาน (presumed undue influence) ซึ่ง​ประเภท​ที่ 2 ยัง​แยก​ย่อย​เป็น​อีก 2 ประเภท คือ อำนาจ​ครอบงำ​
	 7 Royal Bank of Scotland v. Etridge [1997] All ER 628.
4-14
ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​ซึ่ง​เกิด​จาก​หน้าที่​ใน​การ​ดูแล​หรือ​รักษา​ผล​ประโยชน์ เช่น กรณี​ผู้​ปกครอง​กับ​
เด็กแพทย์​กับ​คนไข้ทนายความ​กับ​ลูก​ความทรัส​ตี​กับ​ผู้รับ​ประโยชน์และ​อีก​ประเภท​หนึ่งคืออำนาจ​ครอบงำ​
ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​ที่​เกิด​จาก​ความ​ไว้​เนื้อ​เชื่อ​ใจ​หรือ​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ​ของ​
อีก​ฝ่าย​หนึ่ง ซึ่ง​มี​ลักษณะ​เป็น​ความ​สัมพันธ์​พิเศษ เช่น ภรรยา​กับ​สามี
คู่​สัญญา​ที่​ทำ​ขึ้น​โดย​เหตุ​ที่​มี​การ​ใช้​อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรมหรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​
มี​ผล​ตก​เป็น​โมฆียะ คู่​กรณี​ฝ่าย​ที่​เสีย​หาย​จึง​อาจ​บอก​ล้าง​สัญญา​หรือ​ให้​สัตยาบัน​ได้8
1.2 	การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ (Confidentiality)
การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ (confidentiality) เป็น​หลัก​การ​ที่​เกิด​จาก​เอ็คค​วิ​ตี้​เพื่อ​คุ้มครอง​ความ​ลับ​
มิ​ให้​ถูก​เปิด​เผยซึ่ง​ใน​ปัจจุบัน​สามารถ​พบ​ได้​ใน​กฎ​หมา​ยอื่นๆโดย​เฉพาะ​หน้าที่​ใน​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ​ทั้ง​ที่​
เป็นการ​กำหนด​โดย​ชัด​แจ้ง​และ​ปริยาย​ตาม​ข้อ​ตกลง​ของ​สัญญา นอกจาก​นั้น​ยัง​มี​ได้​ใน​กรณี​ที่​ไม่มี​ข้อ​สัญญา​
ด้วย ดัง​ที่​กล่าว​ใน​คดี Stephen v. Avery (1988) ว่า หลัก​การ​พื้น​ฐาน​ของ​การ​แทรกแซง​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​เพื่อ​
คุ้มครอง​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ ได้แก่ การ​ที่​ถือว่า “เป็น​สิ่ง​ที่​ไม่​เป็น​ธรรม​ใน​การ​ที่​บุคคล​ซึ่ง​ได้​ล่วง​รู้​ข้อมูล
(อัน​เป็น​ความ​ลับ) ของ​บุคคล​อื่น...แล้ว​ต่อ​มา​จะ​เปิด​เผย​ข้อมูล​นั้น”
ดัง​นั้น การ​ไม่​ปฏิบัติ​ตาม​หน้าที่​ใน​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ​อาจ​ถือ​เป็นการ​ละเมิด และ​นอกจาก​นี้​ยัง​
เป็นการ​ละเมิด​ต่อ​สิทธิ​ความ​เป็น​ส่วน​ตัว​ของ​บุคคล (right of personal privacy) ด้วย โดย​ใน​เรื่อง​นี้​ถือว่า​
เป็นการ​แตก​หน่อ​ของ​หน้าที่​ใน​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับซึ่ง​ปัจจุบัน​ได้​รับ​การ​รับรอง​อยู่​ใน​อนุสัญญา​ยุโรป​ว่า​ด้วย​
สิทธิ​มนุษย​ชน (European Convention on Human Rights) และ​นำ​มา​บัญญัติ​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​กฎหมาย​
ของ​สห​ราช​อาณาจักร​โดย​พระ​ราช​บัญญัติ The Human Rights Act, 1998
ผู้​ถูก​ละเมิด​จาก​การ​เปิด​เผย​ความ​ลับ สามารถ​ได้​รับ​ชดใช้​ค่า​สินไหม​ทดแทน​ได้ (แม้ว่า​ใน​ระยะ​แรก​
ศาล​ใน​ประเทศ​คอม​มอน​ลอว์​บาง​ประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ จะ​ไม่​พิพากษา​ให้​โดย​อ้าง​ว่า การ​เรียก​ค่า​สินไหม​
ทดแทน​เป็น​หลัก​ตาม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ จึง​ไม่​สามารถ​นำ​มา​ใช้​ใน​กรณี​การ​ละเมิด​สิทธิ​ใน​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​
ได้ แต่​ต่อ​มา​คำ​พิพากษา​ดัง​กล่าว​ถูก​พิพากษา​กลับ จึง​ถือว่า​ใน​ปัจจุบัน​สามารถ​เรียก​ค่า​สินไหม​ทดแทน​จาก​
การ​เปิด​เผย​ความ​ลับ​ได้ โดย​มี​มาตรการ​เช่น​เดียว​กับ​ที่​มี​อยู่​ใน​คอม​มอน​ลอว์)9
2. การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equitable Remedies)
การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​ไม่​ถือ​เป็น​สิทธิ​ของ​คู่​ความ แต่​มี​ลักษณะ​เป็น​ดุลพินิจ​ของ​ศาล​เพื่อ​ความ​
เป็น​ธรรม ดัง​นั้น​จึง​มี​หลัก​ว่าศาล​จะ​ไม่​สั่ง​เยียวยา​ให้​หาก​ผู้​ร้องขอ​มิได้​ปฏิบัติ​ตน​อย่าง​เหมาะ​สม ซึ่ง​ใน​เรื่อง​นี้​
	 8 ผู้​สนใจ​ศึกษา​ราย​ละเอียด​ได้​ใน​บทความ​ของ ดร.พินัย ณ นคร (ผู้​ช่วย​ศาสตราจารย์ ดร.พินัย ณ นคร “หลัก​กฎหมาย​
สัญญา​ของ​ประเทศ​อังกฤษ” หนังสือ​อนุสรณ์​งาน​พระราชทาน​เพลิง​ศพ​อาจารย์​นุ​กูล ณ นคร กรกฎาคม 2541 หน้า 229 – 234)
	 9 ผู้​สนใจ​ศึกษา​ใน​ราย​ละเอียด​สามารถ​อ่าน​เพิ่ม​เติม​ได้​ใน​หนังสือ​ที่​เกี่ยว​กับ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ เช่น John Duddington,
“Chapter 2 : Equitable Remedies, Chapter 3 : Equitable Doctrines”, Essentials of Equity and Trusts Law, Harlow,
Pearson Education, 2006, pp. 21–59.
4-15
มี​สุภาษิต​ที่​นำ​มา​ใช้​หลาย​สำนวน อาทิ “ผู้​ที่มา​ขอ​ให้​ใช้​เอ็คค​วิ​ตี้ ต้อง​มา​โดย​มี​มือ​ที่​สะอาด” (He who comes
to equity must come with clean hand) เป็นต้น การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​ส่วน​ใหญ่​ใช้​กัน ได้แก่
2.1 	การ​ปฏิบัติ​การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ (Specific performance)
ตาม​ปกติ คู่​สัญญา​อาจ​เลือก​ไม่​ปฏิบัติ​การ​ชำระ​หนี้​ตาม​สัญญา​และ​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย​ให้​แก่​คู่​สัญญา​
อีก​ฝ่าย​หนึ่ง​ได้ แต่​ใน​กรณี​ที่​ศาล​มี​คำ​สั่ง​ให้​บุคคล​นั้น​ปฏิบัติ​การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ (an order for specific
performance) เช่น การ​โอน​กรรมสิทธิ์​ใน​ทรัพย์สิน​ให้ คู่​สัญญา​ฝ่าย​นั้น​จะ​ต้อง​ปฏิบัติ​การ​ชำระ​หนี้​ของ​ตน​
ให้​เสร็จ​สมบูรณ์ ซึ่ง​ตาม​หลัก​แล้ว​การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​จะ​กระทำ​ได้​ต่อ​เมื่อ​การ​เยียวยา​ทาง​คอม​มอน​ลอว์​
ไม่​เพียง​พอ​เท่านั้น และ​เป็น​กรณี​ที่​ไม่มี​ข้อ​ยกเว้น​มิ​ให้​ออก​คำ​สั่ง​ประเภท​นี้​ได้ โดย​ทั่วไป​มัก​จะ​ไม่​ใช้​วิธี​การ​
เยียวยา​นี้​กับ​สัญญา​ที่​เกี่ยว​กับ​การ​ซื้อ​ขาย​สินค้า​ที่​สามารถ​ใช้​วิธี​เปลี่ยน​ให้​ใหม่​ได้ ส่วน​ใหญ่​จะ​เป็นการ​ใช้​ใน​
คดี​ที่​เกี่ยว​กับ​การ​ซื้อ​ขาย​ที่ดิน ซึ่ง​วัตถุ​แห่ง​สัญญา​เป็น​สิ่ง​ที่​มี​เพียง​หนึ่ง​เดียว​หรือ​หา​ได้​ยาก นอกจาก​นี้ จะ​ไม่​
ใช้​การ​เยียวยา​วิธี​นี้​กับ​สัญญา​จ้าง​แรงงาน​หรือ​จ้าง​บริการ (แต่​ก็​มี​ข้อ​ยกเว้น​ใน​บาง​กรณี)
2.2 	คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชัน (Injunction)
คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชันได้แก่การ​ที่​ศาล​ใช้​อำนาจ​ออก​คำ​สั่ง​ให้​บุคคล​ใด​บุคคล​หนึ่ง​กระทำ​
การ​หรือ​งด​เว้น​กระทำ​การ​อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใดทั้งนี้ตาม​มาตรา37แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ​สุ​พรีม​คอร์ทค.ศ.1981
(TheSupremeCourtAct,1981)โดย​เป็น​กรณี​ที่​ศาล​จะ​ออก​ให้​เป็นการ​ชั่วคราว​หรือ​ถาวร​ก็ได้(aninterim
or a permanent basis) การ​ไม่​ปฏิบัติ​คาม​คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชัน​นี้ ถือ​เป็นการ​ละเมิด​อำนาจ​
ศาล ตัวอย่าง​ของ​คำ​สั่ง​ประเภท​นี้ ได้แก่ “freezing order” หรือ​ที่​รู้จัก​กัน​ใน​ชื่อ “Mareva injunctions”
ซึ่ง​เป็น​คำ​สั่ง​ชั่วคราว​ที่​ห้าม​จำเลย​เคลื่อน​ย้าย​ทรัพย์สิน​ออก​นอก​เขต​อำนาจ​ศาล​อังกฤษ​ก่อน​จะ​มี​การ​พิจารณา​
คดี คำ​สั่ง​อื่น​ที่​เป็น​ที่​รู้จัก​กัน คือ หมาย​ค้น (เดิม​รู้จัก​กัน​ใน​ชื่อ “Anton Piller order”) ซึ่ง​ห้าม​ซ่อน​เร้น​หรือ​
จำหน่าย​เอกสาร​ที่​อาจ​นำ​มา​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​คดีตลอด​จน​เป็นการ​ให้​อำนาจ​ใน​การ​เข้า​ค้น​อาคาร​สถาน​ที่​
ที่​อาจ​เก็บ​เอกสาร​ดัง​กล่าว​ด้วย
2.3 	ค่า​เสีย​หาย​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equitable Damages)
เดิม​การ​เยียวยา​โดย​การ​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย​หรือ​การ​จ่าย​ค่า​สินไหม​ทดแทน มี​เฉพาะ​ตาม​หลัก
​คอม​มอน​ลอว์ ต่อ​มา​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ Lord Cairns’ Act (Chancery Amendment Act) 1858 ใน​
มาตรา 2 บัญญัติ​ให้​อำนาจ​ศาล​ชาน​เซอ​รี​ใน​การ​กำหนด​ค่า​เสีย​หาย​ได้​ทั้ง​ที่​เป็นการ​เพิ่ม​เติม​จาก​การ​ออก​
คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชัน​และ​คำ​สั่ง​ให้​บุคคล​ปฏิบัติ​การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ หรือ​เป็นการ​ให้​จ่าย​
ค่าเสีย​หาย​แทน​การ​เยียวยา​ทั้ง​สอง​ประการ​ดัง​กล่าว​ก็ได้ (ปัจจุบัน ปรากฏ​หลัก​กฎหมาย​นี้​ใน​มาตรา 50 แห่ง​
พระ​ราช​บัญญัติ​สุ​พรีม​คอร์ท ค.ศ. 1981 (The Supreme Court Act, 1981)) โดย​เจตนารมณ์​ของ​กฎหมาย​
มาตรา​นี้ คือ เพื่อ​ให้​อำนาจ​แก่​ศาล​ใน​กรณี​ที่​ศาล​เห็น​ว่า​ไม่​สามารถ​เรียก​ค่า​เสีย​หาย​ตาม​หลัก​คอม​มอน​ลอว์​ได้
วิธี​การ​เยียวยา​นี้​ได้​นำ​มา​ใช้​กับ​กรณี​ความ​รับ​ผิด​ของ​ทรัส​ตี​ใน​ความ​รับ​ผิด​ที่​ต้อง​รับ​เป็น​ส่วน​ตัว​ด้วย
2.4 	การ​แก้​ให้​ถูก​ต้อง (Rectification)
วิธี​การ​เยียวยา​นี้ เป็นการ​ออก​ให้​เพื่อ​แก้ไข​เอกสาร​สัญญา ซึ่ง​ตาม​ปกติ​แล้ว ถือ​เป็น​ข้อ​สันนิษฐาน​ว่า​
เอกสาร​สัญญา​ที่​เป็น​ลาย​ลักษณ์​อักษร​จะ​แสดง​ถึง​ข้อ​ตกลง​ที่​ถูก​ต้อง​ของ​คู่​สัญญา โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​เมื่อ​ได้​
4-16
มี​การ​ลง​นาม​ใน​เอกสาร​นั้น​แล้ว อย่างไร​ก็​ดี ใน​บาง​กรณี​หาก​ศาล​เห็น​ว่า ข้อความ​ใน​เอกสาร​นั้น​ไม่​แสดง​ถึง​
ข้อ​ตกลง​ที่แท้​จริง ศาล​ก็​อาจ​สั่ง​ให้​มี​การ​แก้ไข​ข้อความ​นั้น​ได้ หลัก​นี้​เป็น​ข้อ​ยกเว้น​ของ​หลัก parole evidence
rule คือ หลัก​ที่​ว่า​เมื่อ​ได้​ทำ​สัญญา​เป็น​ลาย​ลักษณ์​อักษร​แล้ว ห้าม​มิ​ให้​คู่​สัญญา​นำ​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​เพื่อ​
เปลี่ยนแปลง​แก้ไข​หรือ​ให้​มี​ผล​แตก​ต่าง​ไป​จาก​ข้อ​สัญญา​ใน​เอกสาร​ที่​ทำ​ขึ้น(ซึ่ง​เป็น​หลัก​ทำนอง​เดียว​กับ​มาตรา
94 แห่ง​ประมวล​กฎหมาย​วิธี​พิจารณา​ความ​แพ่ง​ของ​ไทย)
2.5 	การ​เลิก​สัญญา​แล้วก​ลับ​คืน​สู่​ฐานะ​เดิม (Rescission)
วิธี​การ​เยียวยา​นี้เป็นการ​เพิก​ถอน​ข้อ​ตกลง​ตาม​สัญญา​แล้ว​ให้​คู่​สัญญา​กลับ​สู่​ฐานะ​เดิม​ก่อน​มี​การ​เข้า​
ทำ​สัญญา สิทธิ​ใน​การ​เลิก​สัญญา​จะ​มี​ได้​ด้วย​เหตุ เช่น การ​ฉ้อฉล การ​สำคัญ​ผิด​ใน​ลักษณะ​ต่างๆ หรือ​การ​ถูก​
ครอบงำ​โดย​ผิด​คลอง​ธรรมอย่างไร​ก็​ดีสิทธิ​นี้​เป็น​อัน​สิ้น​ไป​ด้วย​หลาย​สาเหตุเช่นหาก​คู่​สัญญา​ไม่​อยู่​ใน​ฐานะ​
ที่​อาจ​คืน​สู่​ฐานะ​เดิม​ได้ การ​ให้​สัตยาบัน หรือ​การ​หน่วง​เวลา​หรือ​การ​แทรกแซง​โดย​บุคคล​ภายนอก
(โปรด​อ่าน​เนื้อหา​สาระ​โดย​ละเอียด​ใน English Law, “Chapter 10 : The Law of Equity and Trusts”,
by Garry Slapper and David Kelly)
กิจกรรม 4.1.2
การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable remedies) ที่​ยัง​คง​นำ​มา​ใช้​ใน​ปัจจุบัน ได้แก่ วิธี​การ​
ใด​บ้าง
บันทึก​คำ​ตอบ​กิจกรรม 4.1.2
(โปรด​ตรวจ​คำ​ตอบ​จาก​แนว​ตอบ​ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 4 ตอน​ที่ 4.1 กิจกรรม 4.1.2)
4-17
ตอน​ที่ 4.2
กฎหมาย​ทรัสต์
โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ​ตอน​ที่ 4.2 แล้ว​จึง​ศึกษา​สาระ​สังเขป พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง
หัว​เรื่อง
เรื่อง​ที่ 4.2.1 	ที่มา​และ​ความ​หมาย​ของ​ทรัสต์
เรื่อง​ที่ 4.2.2 	หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์
เรื่อง​ที่ 4.2.3 	ทรัสต์​ใน​ระบบ​กฎหมาย​ไทย
แนวคิด
1. 	ทรัสต์ (Trusts) เป็น​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​สาขา​หนึ่ง​ซึ่ง​พัฒนา​จาก​แนว​ความ​คิด​ใน​สมัย​
กลาง ใน​ส่วน​ของ​ความ​หมาย ทรัสต์ คือ กอง​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​มี​ผู้​ก่อ​ตั้ง (Settlor) ตั้ง​ขึ้น​โดย​
เอกสาร​เป็น​หนังสือ​ซึ่ง​อาจ​จะ​เป็น​พินัยกรรม​ก็ได้ มี​ทรัส​ตี (Trustee) เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์​
ตาม​กฎหมาย​และ​มีหน้า​ที่​จัดการ​กอง​ทรัพย์สิน​ให้​เป็น​ไป​ตาม​วัตถุประสงค์​ของ​ทรัสต์
เพื่อ​ให้​ผล​ประโยชน์​ซึ่ง​อาจ​จะ​รวม​ถึง​ตัว​ทรัพย์สิน​ที่​ใช้​จัด​ตั้ง​ตก​แก่​ผู้รับ​ประโยชน์
(Benificiary)
2. 	ทรัสต์ มี​หลาย​ประเภท ที่​สำคัญ​คือ ทรัสต์​โดย​ชัด​แจ้ง (Express Trusts) ทรัสต์​โดย​เป็น​ผล​
ตาม​มา (Resulting Trusts) ทรัสต์​ที่​เกิด​จาก​การ​ตีความ​แบบ​ขยาย​ความ (Constructive
Trusts) และ​ทรัสต์​เพื่อ​การ​กุศล (Charitable Trusts) หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์​ของ​อังกฤษ​
วาง​หลัก​เกณฑ์​ต่างๆ เกี่ยว​กับ​ทรัสต์ เช่น การ​ก่อ​ตั้ง​ทรัสต์ การ​แต่ง​ตั้ง การพ้นจาก​การ​ทำ​
หน้าที่ และ​การ​ถอด​ถอน​ทรัส​ตี หน้าที่​และ​อำนาจ​ของ​ทรัส​ตี การ​เปลี่ยนแปลง​ทรัสต์ ตลอด​
จน​หลัก​เกณฑ์​ใน​กรณี​ที่​มี​การ​ละเมิด​ทรัสต์
3. 	ก่อน​ใช้​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ ใน​ประเทศไทย​มี​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์​อยู่​บ้าง​ตาม​
หลัก​กฎหมาย​ของ​ประเทศ​อังกฤษ แต่​เมื่อ​มี​การ​ใช้​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์
มาตรา 1686 ได้​บัญญัติ​ห้าม​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์​ตาม​กฎหมาย​ไทย อย่างไร​ก็​ดี ใน​ปัจจุบัน​
ได้​เล็ง​เห็น​ความ​จำเป็น​และ​ประโยชน์​ของ​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์​เพื่อ​วัตถุประสงค์​บาง​ประการ
เช่น การ​ดำเนิน​ธุรกรรม​ใน​ตลาด​ทุน จึง​ได้​มี​การ​ตรา​กฎหมาย​ว่า​ด้วย​ทรัสต์​เพื่อ​ธุรกรรม​
ใน​ตลาด​ทุน​ขึ้น​ใน​ปี พ.ศ. 2550 แต่​โดย​หลัก​ตาม​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​แล้ว
ยัง​คง​ห้าม​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์​ของ​บุคคล​โดย​ทั่วไป​อยู่
4-18
วัตถุประสงค์
เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 4.2 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ
1.	 อธิบาย​ที่มา​และ​ความ​หมาย​ของ​ทรัสต์​ได้
2.	 อธิบาย​และ​วิเคราะห์​หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์​ได้
3.	 อธิบาย​และ​วิเคราะห์​หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์​ใน​ระบบ​กฎหมาย​ไทย​ได้
4-19
เรื่อง​ที่ 4.2.1 ที่มา​และ​ความ​หมาย​ของ​ทรัสต์
สาระ​สังเขป
1. ที่มา​และ​ความ​หมาย​ของ​ทรัสต์
ทรัสต์(Trusts)คือกอง​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​มี​ผู้​ก่อ​ตั้ง(Settlor)ตั้ง​ขึ้น​โดย​เอกสาร​เป็น​หนังสือ​ซึ่ง​อาจ​จะ​เป็น​
พินัยกรรม​ก็ได้มี​ทรัส​ตี(Trustee)เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์​ตาม​กฎหมาย​และ​มีหน้า​ที่​จัดการ​กอง​ทรัพย์สิน​ให้​เป็น​ไป​
ตาม​วัตถุประสงค์​ของ​ทรัสต์เพื่อ​ให้​ผล​ประโยชน์​ซึ่ง​อาจ​จะ​รวม​ถึง​ตัว​ทรัพย์สิน​ที่​ใช้​จัด​ตั้ง​ตก​แก่​ผู้รับ​ประโยชน์
(Benificiary)ซึ่ง​เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์​นั้น​ตาม​จริงซึ่ง​เป็น​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้(Equity)ใน​ประเทศ​อังกฤษ​และ​
ประเทศ​คอม​มอน​ลอว์​อื่นโดย​แต่​เดิม​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ซึ่ง​คำนึง​ถึง​ความ​เป็น​ธรรม​นี้​แยก​ต่าง​หาก​จาก​คอม​มอน​ลอว์​
โดย​เกิด​ภาย​หลังค​อม​มอน​ลอว์ เป็น​หลัก​ที่​มี​ขึ้น​จาก​คำ​พิพากษา​ศาล​ชาน​เซอ​รี เพื่อ​แก้ไข​ข้อ​บกพร่อง​ของ
​คอม​มอน​ลอว์ต่อ​มา​ได้​รวม​กับ​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​จึง​เหลือ​เป็น​หลัก​กฎหมาย​ชนิด​หนึ่ง​ใน​ระบบ​กฎหมาย​
คอม​มอน​ลอว์ดัง​นั้นการ​จะ​เข้าใจ​เรื่อง​กฎหมาย​ทรัสต์​ต้อง​เข้าใจ​หลัก​พื้น​ฐาน​ของ​เรื่อง​เอ็คค​วิ​ตี้และ​พัฒนาการ​
ของ​หลัก​กฎหมาย​ดัง​กล่าว ซึ่ง​ได้​กล่าว​มา​แล้ว​ใน​ตอน​ที่ 4.1
ตัวอย่าง​ความ​สัมพันธ์​ตาม​หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์ (Trusts) คือ ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​บุคคล​ผู้​ถือ​
กรรมสิทธิ์​ใน​ทรัพย์ คือ ทรัส​ตี (Trustee) เพื่อ​ประโยชน์​ของ​อีก​บุคคล​หนึ่ง คือ ผู้รับ​ประโยชน์ (Benificiary)
ปกติ​เกิด​จาก​การ​ที่ก.เจ้าของ​เดิม​ผู้​ก่อ​ตั้ง​ทรัสต์(Settlor)โอน​ทรัพย์​ให้​แก่ข.(Trustee)เพื่อ​ถือ​ไว้​แทน​ทรัสต์​
ซึ่ง​เป็น​นิติบุคคล โดย​ให้ ข. จัดการ​ทรัพย์​นั้น และ ข. ก็​มี​อำนาจ​จัดการ​ได้​เพราะ ข. เป็น​ผู้​ถือ​กรรมสิทธิ์ แต่​
ทั้งนี้​ผล​ประโยชน์​จาก​การ​จัดการ​ทรัพย์​ไป​ตก​ได้แก่ ค. ผู้รับ​ประโยชน์ (Benificiary)
ตาม​ประวัติ​แล้ว​ทรัสต์​พัฒนา​จาก​ความ​คิด​เรื่อง “ยูส” (use) (หรือ​นัก​วิชาการ​บาง​ท่าน​ใช้​คำ​ว่า
“ยูส​เซส”(uses)10 เกิด​ใน​สมัย​กลาง​เมื่อ​บุคคล​โอน​ทรัพย์สิน​ชนิด​ใด​แก่​บุคคล​อีก​คน​หนึ่ง​โดย​มี​ความ​เข้าใจ​กัน​
ว่า​บุคคล​ผู้รับ​โอน​นั้น​จะ​ต้อง​ถือ​ทรัพย์​นั้น​ไว้​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ผู้​โอน หรือ​เพื่อ​บุคคล​ที่​สาม (cestui que use
หรือ “ผู้รับ​ประโยชน์”) บุคคล​ที่​ได้​รับ​ความ​ไว้​วางใจ​ให้​ดูแล​ทรัพย์ (a feoffee to use หรือ “ทรัส​ตี”) อยู่​ใน​
สถานะ​ที่​ได้​รับ​ความ​ไว้​วางใจ ซึ่ง​อาจ​นำ​ไป​ใช้​โดย​ไม่​ชอบ​ได้​ง่าย ผล​ตาม​มา​ก็​คือ​สิทธิ​ต่างๆ ของ​ผู้รับ​ประโยชน์​
ต้อง​ได้​รับ​การ​คุ้มครอง ศาล​คอม​มอน​ลอว์​ธรรมดา​ทั้ง​หลาย​ไม่​รับ​รู้​เรื่อง​ผู้รับ​ประโยชน์​เช่น​นั้น จึง​ไม่​ได้​ทำ​
ประการ​ใด​เพื่อ​จัด​ให้​มี​การ​คุ้มครองใน​ระยะ​แรก​ศาล​ชาน​เซอ​รี​ได้​กระทำ​ตน​เป็น​ศาล​แห่ง​มโนธรรม​ได้​สอด​เข้า​
มา​เพื่อ​บังคับ​ให้​ทรัส​ตี​ต้อง​บริหาร​ทรัพย์สิน​ชิ้น​นั้น​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ผู้รับ​ประโยชน์​ตาม​ข้อ​กำหนด​ของ​การ​ให้
	 10 เช่น​ที่​ใช้​ใน​ตำรา​ของ​ท่าน​อาจารย์​สุ​นัย มโนมัย​อุดม (สุ​นัย มโนมัย​อุดม ระบบ​กฎหมาย​อังกฤษ (English Legal System)
พิมพ์​ครั้ง​ที่ 3 แก้ไข​เพิ่ม​เติม โครงการ​ตำรา​และ​เอกสาร​ประกอบ​การ​สอน คณะ​นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์ 2552 หน้า 87)
4-20
เมื่อ​เวลา​ผ่าน​ไป​นาน​เข้า มี​คำ​พิพากษา​ของ​ศาล​ชาน​เซอ​รี​สะสม​มากมาย​หลาย​ฉบับ ผู้รับ​ประโยชน์​ก็​เริ่ม​มี​ผล​
ประโยชน์​พิเศษ​ใน​ตัว​ทรัพย์​ที่​อาจ​ถูก​บังคับ​ให้​เป็น​ไป​ตาม​นั้น​โดย​ศาล​ชาน​เซอ​รี ผล​ประโยชน์​ที่​เป็น​ที่​รู้จัก​กัน​
ใน​นาม​ของ​ผล​ประโยชน์​ตาม​เอ็คค​วิ​ตี้ ใน​ที่สุด “ผู้รับ​ประโยชน์” ที่​เคย​เรียก​กัน​ว่า “cestui que use” ก็ได้​
รับ​การ​เรียก​เสีย​ใหม่​ว่า “cestui que trust” และ​คำ​ว่า “ผู้​ครอบ​ครอง​เพื่อ​การ​ใช้” หรือ “feoffee to use” ก็​
กลาย​เป็น “ทรัส​ตี”
นิยาม​สมัย​ใหม่​ของ​ทรัสต์​เกิด​ขึ้น​และ​รวม​อยู่​ใน​ข้อ 2 (Article 2) ของ​อนุสัญญา​ว่า​ด้วย​การ​ยอมรับ​
ทรัสต์ (Hague Convention on the Recognition of Trusts)11 ซึ่ง​ได้​รับ​การ​ตรา​ไว้​ใน​พระ​ราช​บัญญัติ​การ​
ยอมรับ​ทรัสต์ 1987 (Recognition of Trusts Act 1987) ซึ่ง​มี​ความ​บัญญัติ​ว่า
“คำ​ว่า ทรัสต์ หมาย​ถึง ความ​สัมพันธ์​ทาง​กฎหมาย​ที่​เกิด​ขึ้น​ใน​ระหว่าง​มี​ชีวิต หรือ​เมื่อ​ถึงแก่​กรรม​
โดย​บุคคล​ผู้​ก่อ​ตั้ง เมื่อ​กอง​ทรัพย์สิน​ได้​รับ​การ​มอบ​ให้​อยู่​ใต้​การ​ควบคุม​ของ​ทรัส​ตี​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ผู้รับ​
ประโยชน์ หรือ​เพื่อ​วัตถุประสงค์​ที่​ระบุ​ให้​เป็นการ​เฉพาะ​อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใด
ทรัสต์​มี​ลักษณะ​ดัง​ต่อ​ไป​นี้
(เอ) 	กอง​ทรัพย์สิน​ประกอบ​เป็นก​อง​ทุน​ต่าง​หาก และ​ไม่​ได้​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​ทรัพย์สิน​ของ​ตัว​
ทรัส​ตี​เอง
(บี) 	กรรมสิทธิ์​ใน​กอง​ทรัพย์สิน​แห่ง​ทรัสต์​อยู่​ใน​นาม​ของ​ทรัส​ตีหรือ​ใน​นาม​บุคคล​อื่น​ที่ทำการ​แทน​
ทรัสตี
(ซี) 	ทรัส​ตี​มี​อำนาจ​และ​หน้าที่​ใน​การ​จัดการใช้​หรือ​จำหน่าย​กอง​ทรัพย์สิน​ให้​เป็น​ไป​ตาม​ข้อ​กำหนด​
แห่ง​ทรัสต์ และ​หน้าที่​พิเศษ​ที่​เขา​มี​ตาม​กฎหมาย และ​ทรัส​ตี​ต้อง​รับ​ผิด​ชอบ​ตาม​อำนาจ​และ​หน้าที่​ข้าง​ต้น​ทั้ง​
หลาย​เหล่า​นั้น
ข้อ​สงวน​ที่​ผู้​ก่อ​ตั้ง​กำหนด​เกี่ยว​กับ​สิทธิ​และ​อำนาจ​บาง​ประการ​และ​ความ​จริง​ที่​ว่า​ตัว​ทรัส​ตี​เอง​มี​
สิทธิ​ต่างๆ ใน​ฐานะ​ผู้รับ​ประโยชน์​ไม่​จำเป็น​ต้อง​ขัดแย้งกับ​การ​มี​อยู่​ของ​ทรัสต์”
กล่าว​โดย​ทั่วไปทรัสต์​ทำให้​บุคคล​ได้​ประโยชน์​จาก​ตัว​ทรัพย์​เมื่อ​บุคคล​นั้น​ไม่​สามารถ​หรือ​ไม่​ประสงค์​
ที่​จะ​ถือ​กรรมสิทธิ์​ตาม​กฎหมาย​ด้วย​ตนเองไม่​ว่า​ด้วย​เหตุผล​ใด​ก็ตามกลุ่ม​หรือ​การ​รวม​ตัว​กัน​ของ​บุคคลเช่น
สมาคม​ที่​ไม่​ได้​จด​ทะเบียน​นิติบุคคล อาจ​ได้​ประโยชน์​ใน​ตัว​ทรัพย์​ที่​ถือ​ไว้​ใน​ทรัสต์ (โดย​ทรัส​ตี) แม้​กฎหมาย​
จะ​ไม่​ยอมรับ​สถานภาพ​บุคคล​ตาม​กฎหมาย(ใน​สถานะ​ปัจเจก​ชน)ของ​กลุ่ม​บุคคล​นั้นหนึ่ง​ใน​ประเด็น​หลักๆ
ใน​การ​เข้าใจ​เรื่องกฎหมาย​ทรัสต์ก็​คือการ​รับ​รู้​ถึง​ความ​สำคัญ​ที่​ว่ากรรมสิทธิ์​สอง​ลักษณะ(ตาม​กฎหมาย​และ​
ตาม​เอ็คค​วิ​ตี้)อาจ​แยก​กัน​ได้เมื่อ​เกิด​กรณี​เช่น​นี้ทรัสต์​ก็ได้​รับ​การ​สร้าง​ขึ้นกรรมสิทธิ์​ตาม​กฎหมาย​ได้​ไป​โดย​
ทรัส​ตี แต่​ผล​ประโยชน์​หรือ​กรรมสิทธิ์​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ ได้​ไป​โดย​เจ้าของ​ตาม​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้
	 11 ชื่อ​เต็ม​คือ “Convention on the law applicable to Trusts and on their Recognition” ตกลง​กัน​ใน​ปี ค.ศ. 1985
และ​มี​ผล​บังคับ​ใช้​ใน​ปี ค.ศ. 1992
4-21
2. 	ประเภท​ของ​ทรัสต์12
ทรัสต์ อาจ​แบ่ง​ออก​ตาม​ลักษณะ​ของ​การ​ก่อ​ตั้ง​หรือ​การ​จัดการ​ได้​เป็น​ประ​เภท​ใหญ่ๆ คือ
1. 	ทรัสต์​โดย​ชัด​แจ้ง (Express Trusts)
2. 	ทรัสต์​โดย​ลับ (Secret Trusts)
3. 	ทรัสต์​โดย​เป็น​ผล​ตาม​มา (Resulting Trusts)
4. 	ทรัสต์​ที่​เกิด​จาก​การ​ตีความ​แบบ​ขยาย​ความ (Constructive Trusts)
5. 	ทรัสต์​ตาม​ความ​มุ่ง​หมาย (Purpose Trusts)
6. 	ทรัสต์​เพื่อ​การ​กุศล (Charitable Trusts)
(โปรด​อ่าน​เนื้อหา​สาระ​โดย​ละเอียด​ใน English Law, “Chapter 10 : The Law of Equity and Trusts” ,
by Garry Slapper and David Kelly)
กิจกรรม 4.2.1
แนว​ความ​คิด​เรื่อง “ทรัสต์” พัฒนา​มา​จาก​ความ​คิด​เรื่อง​ใด
บันทึก​คำ​ตอบ​กิจกรรม 4.2.1
(โปรด​ตรวจ​คำ​ตอบ​จาก​แนว​ตอบ​ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 4 ตอน​ที่ 4.2 กิจกรรม 4.2.1)
	 12 การ​แบ่ง​ประเภท​ของ​ทรัสต์​ใน​ลักษณะ​อื่นๆ ศึกษา​ได้​ใน บัญญัติ สุ​ชีวะ “ทรัสต์” บทความ​ออนไลน์​จาก http://www.
panyathai.or.th
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย
หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย

More Related Content

What's hot

ภาวะผู้นำทางวิชาการ
ภาวะผู้นำทางวิชาการภาวะผู้นำทางวิชาการ
ภาวะผู้นำทางวิชาการTwatchai Tangutairuang
 
การแปรผันทางพันธุกรรม (Genetic variation)
การแปรผันทางพันธุกรรม (Genetic variation)การแปรผันทางพันธุกรรม (Genetic variation)
การแปรผันทางพันธุกรรม (Genetic variation)พัน พัน
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนssuserd18196
 
แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการความรู้
แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการความรู้ แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการความรู้
แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Somsiri Rattanarat
 
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบบทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบJariya Jaiyot
 
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษาวิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษาธนกร ทองแก้ว
 
ข้าราชการกับการเมือง
ข้าราชการกับการเมือง ข้าราชการกับการเมือง
ข้าราชการกับการเมือง Taraya Srivilas
 
การทุจริตอรัปชั่นของไทย
การทุจริตอรัปชั่นของไทยการทุจริตอรัปชั่นของไทย
การทุจริตอรัปชั่นของไทยTaraya Srivilas
 
การรับรู้และการตอบนอง
การรับรู้และการตอบนองการรับรู้และการตอบนอง
การรับรู้และการตอบนองNokko Bio
 
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษา
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษาข้อบกพร่องของการใช้ภาษา
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษาkingkarn somchit
 
038พระพุทธศาสนากับการเมืองไทย
038พระพุทธศาสนากับการเมืองไทย038พระพุทธศาสนากับการเมืองไทย
038พระพุทธศาสนากับการเมืองไทยniralai
 
การตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมายการตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมายsukanya khakit
 
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมายวรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมายchontee55
 
พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร Prathum Charoenroop
 
วัฒนธรรม กับ ภาษาของมนุษย์
วัฒนธรรม กับ ภาษาของมนุษย์วัฒนธรรม กับ ภาษาของมนุษย์
วัฒนธรรม กับ ภาษาของมนุษย์Lilrat Witsawachatkun
 
แบบจำลองอะตอม
แบบจำลองอะตอมแบบจำลองอะตอม
แบบจำลองอะตอมAekkarin Inta
 

What's hot (20)

1 อิศรญาณภาษิต ok
1 อิศรญาณภาษิต  ok1 อิศรญาณภาษิต  ok
1 อิศรญาณภาษิต ok
 
ภาวะผู้นำทางวิชาการ
ภาวะผู้นำทางวิชาการภาวะผู้นำทางวิชาการ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ
 
การแปรผันทางพันธุกรรม (Genetic variation)
การแปรผันทางพันธุกรรม (Genetic variation)การแปรผันทางพันธุกรรม (Genetic variation)
การแปรผันทางพันธุกรรม (Genetic variation)
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
 
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยการเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทย
 
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทยความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
 
แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการความรู้
แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการความรู้ แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการความรู้
แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการความรู้
 
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบบทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
 
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษาวิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
 
ข้าราชการกับการเมือง
ข้าราชการกับการเมือง ข้าราชการกับการเมือง
ข้าราชการกับการเมือง
 
การทุจริตอรัปชั่นของไทย
การทุจริตอรัปชั่นของไทยการทุจริตอรัปชั่นของไทย
การทุจริตอรัปชั่นของไทย
 
การรับรู้และการตอบนอง
การรับรู้และการตอบนองการรับรู้และการตอบนอง
การรับรู้และการตอบนอง
 
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษา
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษาข้อบกพร่องของการใช้ภาษา
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษา
 
พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก
 
038พระพุทธศาสนากับการเมืองไทย
038พระพุทธศาสนากับการเมืองไทย038พระพุทธศาสนากับการเมืองไทย
038พระพุทธศาสนากับการเมืองไทย
 
การตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมายการตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมาย
 
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมายวรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
 
พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร
 
วัฒนธรรม กับ ภาษาของมนุษย์
วัฒนธรรม กับ ภาษาของมนุษย์วัฒนธรรม กับ ภาษาของมนุษย์
วัฒนธรรม กับ ภาษาของมนุษย์
 
แบบจำลองอะตอม
แบบจำลองอะตอมแบบจำลองอะตอม
แบบจำลองอะตอม
 

Viewers also liked

การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 4
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 4การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 4
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 4ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

Viewers also liked (19)

การกระทำผิดทางอาญา
การกระทำผิดทางอาญาการกระทำผิดทางอาญา
การกระทำผิดทางอาญา
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
Microsoft word สัปดาห์ที่14
Microsoft word   สัปดาห์ที่14Microsoft word   สัปดาห์ที่14
Microsoft word สัปดาห์ที่14
 
บทความการบริการสาธารณใหม่
บทความการบริการสาธารณใหม่บทความการบริการสาธารณใหม่
บทความการบริการสาธารณใหม่
 
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 4
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 4การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 4
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 4
 
Microsoft word สัปดาห์ที่1
Microsoft word   สัปดาห์ที่1Microsoft word   สัปดาห์ที่1
Microsoft word สัปดาห์ที่1
 
Howie grace
Howie graceHowie grace
Howie grace
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
 
Ppt charuaypon 130
Ppt charuaypon 130Ppt charuaypon 130
Ppt charuaypon 130
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
แก๊สชีวภาพ
แก๊สชีวภาพแก๊สชีวภาพ
แก๊สชีวภาพ
 
การพิจารณาว่าบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา
การพิจารณาว่าบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาการพิจารณาว่าบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา
การพิจารณาว่าบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2Microsoft word   สัปดาห์ที่ 2
Microsoft word สัปดาห์ที่ 2
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
 
Biodiversity definition and concept
Biodiversity definition and conceptBiodiversity definition and concept
Biodiversity definition and concept
 
ลักษณะความผิดทางอาญา
ลักษณะความผิดทางอาญาลักษณะความผิดทางอาญา
ลักษณะความผิดทางอาญา
 
หลักกฎหมายอาญาทั่วไป
หลักกฎหมายอาญาทั่วไปหลักกฎหมายอาญาทั่วไป
หลักกฎหมายอาญาทั่วไป
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สารบัญ
Microsoft word   สารบัญMicrosoft word   สารบัญ
Microsoft word สารบัญ
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Microsoft word สัปดาห์ที่10
Microsoft word   สัปดาห์ที่10Microsoft word   สัปดาห์ที่10
Microsoft word สัปดาห์ที่10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
 
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word   ปกเอกสารประกอบการสอนMicrosoft word   ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
 

หลักความเป็นธรรมของกฎหมาย

  • 2. 4-2 หลักความ เป็นธรรมทาง กฎหมาย และ กฎหมายทรัสต์ 4.1 หลักความ เป็นธรรมทาง กฎหมายหรือ เอ็คควิตี้ 4.2 กฎหมายทรัสต์ 4.1.1 ที่มาและพัฒนาการของเอ็คควิตี้ 4.2.1 ที่มาและความหมายของทรัสต์ 4.1.2 หลักกฎหมายเอ็คควิตี้ที่สำคัญ 4.2.2 หลักกฎหมายทรัสต์ 4.2.3 ทรัสต์ในระบบกฎหมายไทย แผนผัง​แนวคิด​หน่วย​ที่ 4
  • 3. 4-3 หน่วย​ที่ 4 หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย และ​กฎหมาย​ทรัสต์ เค้าโครง​เนื้อหา ตอน​ที่ 4.1 หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ​เอ็คค​วิ​ตี้ 4.1.1 ที่มา​และ​พัฒนาการ​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้ 4.1.2 หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​สำคัญ ตอน​ที่ 4.2 กฎหมาย​ทรัสต์ 4.2.1 ที่มา​และ​ความ​หมาย​ของ​ทรัสต์ 4.2.2 หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์ 4.2.3 ทรัสต์​ใน​ระบบ​กฎหมาย​ไทย แนวคิด 1. หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ “เอ็คค​วิ​ตี้” (Equity) เป็น​หลัก​กฎหมาย​ที่​พัฒนา​ ใน​อังกฤษ​และ​เวลส์​ใน​ยุค​กลาง มี​ที่มา​จาก​คำ​ตัดสิน​ของ​ขุนนาง​ตำแหน่ง​ชาน​เซล​เลอ​ร์​เพื่อ​ เยียวยา​คู่​ความ​ใน​กรณี​ที่​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ไม่​สามารถ​ให้การ​เยียวยา​ได้​เท่า​ที่​ควร ต่อ​ มา​พัฒนา​เป็น​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equity) และ​ถูก​นำ​ไป​ใช้​ใน​ศาล​พิเศษ เรียก​ว่า “ศาล​ชาน- ​เซอ​รี” (Court of Chancery) ปัจจุบัน ยัง​คง​มี​แนว​ความ​คิด​และ​หลัก​กฎหมาย​ที่​ใช้​อยู่ เช่น วิธี​การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable remedies) หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable doctrines) ต่างๆ ซึ่ง​รวม​ถึง​การ​จัดการ​ทรัพย์สิน​โดย​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์ (Trusts) 2. ทรัสต์ (Trusts) คือ กอง​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​จัด​ตั้ง​ขึ้น​โดย​ผู้​ก่อ​ตั้ง (Settlor) มี​ทรัส​ตี (Trustee) เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์​ตาม​กฎหมาย และ​มีหน้า​ที่​จัดการ​กอง​ทรัพย์สิน​ให้​เป็น​ไป​ ตาม​วัตถุประสงค์​ของ​ทรัสต์​เพื่อ​ให้​ผล​ประโยชน์​ตก​แก่​ผู้รับ​ประโยชน์ (Benificiary) โดยที่​ ทรัสต์​เป็น​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​สาขา​หนึ่ง ดัง​นั้น การ​จะ​เข้าใจ​หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์​ได้​ดี จึง​ควร​ทำความ​เข้าใจ​หลัก​พื้น​ฐาน​และ​พัฒนาการ​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้​ด้วย 3. นอกจาก​ประเทศ​อังกฤษ​และ​ประเทศ​ใน​กลุ่ม​ที่​ใช้​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​แล้ว ปัจจุบัน​หลาย​ ประเทศ​ใน​ระบบ​กฎหมาย​อื่น รวม​ถึง​ประเทศไทย นำ​หลัก​กฎหมาย​และ​ระบบ​การ​จัด​ตั้ง ทรัสต์​ไป​ใช้​ใน​การ​จัดการ​ทรัพย์สิน โดย​อาจ​มี​ขอบเขต​ของ​กฎหมาย​และ​วัตถุประสงค์​ใน​ การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์​แตก​ต่าง​กัน​ไป
  • 4. 4-4 วัตถุประสงค์ เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 4 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​และ​วิเคราะห์​เกี่ยว​กับ​หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ​เอ็คค​วิ​ตี้​ได้ 2. อธิบาย​และ​วิเคราะห์​เกี่ยว​กับ​กฎหมาย​ทรัสต์​ได้ กิจกรรม 1. กิจกรรม​การ​เรียน 1) ศึกษา​แผนผัง​แนวคิด​หน่วย​ที่ 4 2) อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ​หน่วย​ที่ 4 3) ทำ​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน​หน่วย​ที่ 4 4) ศึกษา​เนื้อหา​สาระ 5) ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง 6) ตรวจ​สอบ​กิจกรรม​จาก​แนว​ตอบ 7) ทำ​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​หลัง​เรียน​หน่วย​ที่ 4 2. งาน​ที่​กำหนด​ให้​ทำ 1) ทำ​แบบ​ฝึกหัด​ทุก​ข้อ​ที่​กำหนด​ให้​ทำ 2) อ่าน​เอกสาร​เพิ่ม​เติม​จาก​บรรณานุกรม แหล่ง​วิทยาการ 1. สื่อ​การ​ศึกษา 1) แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 4 2) หนังสือ​ประกอบ​การ​สอน 2.1) กิตติ​ศักดิ์ปรกติ(2551)ความ​เป็น​มาและ​หลัก​การ​ใช้​นิติ​วิธีใน​ระบบ​ซี​วิลลอว์​ และคอม​มอน​ลอว์ พิมพ์​ครั้ง​ที่ 3 วิญญูชน กรุงเทพมหานคร 2.2) ประชุมโฉมฉายศาสตราจารย์​เกียรติคุณดร.(2552)กฎหมาย​เอกชน​เปรียบ​ เทียบเบื้อง​ต้น:จารีต​โรมัน​และ​แอง​โกล​แซก​ซอนพิมพ์​ครั้ง​ที่2โครงการ​ตำรา​ และเอกสาร​ประกอบ​การ​สอน คณะ​นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์
  • 5. 4-5 2.3) สุ​นัยมโนมัย​อุดม(2552) ระบบ​กฎหมาย​อังกฤษ(EnglishLegalSystem) พิมพ์​ครั้ง​ที่ 3 แก้ไข​เพิ่ม​เติม โครงการ​ตำรา​และ​เอกสาร​ประกอบ​การ​สอน คณะ​นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์ 2.4) GarrySlapperandDavidKelly,(2006)EnglishLaw,2nded.,London, Routledge-Cavendish. 2. เอกสาร​อ้างอิง​ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 4 การ​ประเมิน​ผล​การ​เรียน 1. ประเมิน​ผล​จาก​การ​สัมมนา​เสริม​และ​งาน​ที่​กำหนด​ให้​ทำ​ใน​แผน​กิจกรรม 2. ประเมิน​ผล​จาก​การ​สอบไล่​ประจำ​ภาค​การ​ศึกษา
  • 6. 4-6 แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน วัตถุประสงค์ เพื่อ​ประเมิน​ความ​รู้​เดิม​ใน​การ​เรียน​รู้​ของ​นักศึกษา​เกี่ยว​กับ​เรื่อง “หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ ทางกฎหมาย และ​กฎหมาย​ทรัสต์” คำ​แนะนำ อ่าน​คำถาม​แล้ว​เขียน​คำ​ตอบ​ลง​ใน​ช่อง​ว่าง นักศึกษา​มี​เวลา​ทำ​แบบ​ประเมิน​ชุด​นี้ 30 นาที 1. หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ​เอ็คค​วิ​ตี้​คือ​อะไร มี​ที่มา​อย่างไร 2. ทรัสต์ คือ​อะไร และ​มี​หลัก​กฎหมาย​ที่​สำคัญ​อย่างไร
  • 7. 4-7 ตอน​ที่ 4.1 หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ​เอ็คค​วิ​ตี้ โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ​ตอน​ที่ 14.1 แล้ว​จึง​ศึกษา​สาระ​สังเขป พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง หัว​เรื่อง เรื่อง​ที่ 4.1.1 ที่มา​และ​พัฒนาการ​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้ เรื่อง​ที่ 4.1.2 หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​สำคัญ แนวคิด 1. หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย​หรือ “เอ็คค​วิ​ตี้” (Equity) เป็น​หลัก​กฎหมาย​ที่​พัฒนา​ ใน​อังกฤษ​และ​เวลส์​ใน​ยุค​กลาง มี​ที่มา​จาก​คำ​ตัดสิน​ของ​ขุนนาง​ตำแหน่ง​ชาน​เซล​เลอ​ร์​เพื่อ​ เยียวยา​คู่​ความ​ใน​กรณี​ที่​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ไม่​สามารถ​ให้การ​เยียวยา​ได้​เท่า​ที่​ควร ต่อ​มา ​พัฒนา​เป็น​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equity) และ​ถูก​นำ​ไป​ใช้​ใน​ศาล​พิเศษ เรียก​ว่า “ศาล​ชานเซอ​รี” (Court of Chancery) 2. เอ็คค​วิ​ตี้​มี​พัฒนาการ​มา​ตาม​ลำดับ โดย​ระยะ​แรก​เป็นการ​เสริม​เพิ่ม​เติม​หลัก​คอม​มอน​ลอว์ ต่อ​มา​นำ​มา​ใช้​ร่วม​กับ​คอม​มอน​ลอว์​ใน​ศาล​ต่างๆ ปัจจุบัน​ยัง​คง​มี​แนว​ความ​คิด​และ​หลัก​ กฎหมาย​ที่​ใช้​อยู่ เช่น วิธี​การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable remedies) อาทิ การ​ปฏิบัติ​ การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ (specific performance) คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชัน (injunction) และ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable doctrines) ที่​สำคัญ เช่น อำนาจ​ ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม (undue influence) การ​เก็บ​ รักษา​ความ​ลับ (confidentiality) ตลอด​จน​การ​จัดการ​ทรัพย์สิน​โดย​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์ วัตถุประสงค์ เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 4.1 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​ที่มา​และ​พัฒนาการ​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้​ได้ 2. อธิบาย​และ​วิเคราะห์​เกี่ยว​กับ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​สำคัญ​ได้
  • 8. 4-8 เรื่อง​ที่ 4.1.1 ที่มา​และ​พัฒนาการ​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้ สาระ​สังเขป 1. ที่มา​ของ​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equity) หลัก​ความ​เป็น​ธรรม​ทาง​กฎหมาย หรือ​ที่​เรียก​ว่า “เอ็คค​วิ​ตี้” (Equity)1 เป็น​หลัก​กฎหมาย​ที่​พัฒนา​ ใน​อังกฤษ​และ​เวลส์​ใน​ยุค​กลาง​เพื่อ​เยียวยา​คู่​ความ​ใน​กรณี​ที่​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ไม่​สามารถ​ให้การ​เยียวยา​ ได้​เท่า​ที่​ควร ตัวอย่าง​เช่น เดิม​การ​ฟ้อง​คดี​ส่วน​มาก​จะ​ทำได้​ก็​ต่อ​เมื่อ​มี​การ​ออก​หมาย (writ) อนุญาต​ให้​ฟ้อง​ ซึ่ง​มัก​เป็นการ​ใช้​ภาษา​ทาง​กฎหมาย​ที่​ซับ​ซ้อน หาก​มี​การ​ใช้​ภาษา​ผิด​ไป​ก็​ทำให้​การ​ฟ้อง​เสีย​ไป​ทั้งหมด จึง​ต้อง​ ไป​ฟ้อง​ใหม่​ที่​ศาล​พิเศษ​ของ​พระเจ้า​แผ่นดินอีก​ประการ​หนึ่ง​การ​เยียวยา​ใน​ระบบ​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​มี​แต่​ การ​ได้​รับ​ค่า​สินไหม​ทดแทนศาล​ไม่​อาจ​กำหนด​เกี่ยว​กับ​การก​ระ​ทำ​ของ​จำเลยเช่นการ​โอน​ทรัพย์​ให้ตลอด​จน ​การ​งด​เว้น​ของ​จำเลย เช่น การ​ไม่​ก่อ​ความ​รำคาญ ให้​ได้ ผู้​เสีย​หาย​ที่​ไม่​ได้​รับ​ความ​พึง​พอใจ​จึง​เลือก​ไป​ร้องขอ​ต่อ​กษัตริย์​ให้​ช่วย​เมื่อ​เกิด​ความ​ไม่​ยุติธรรม​ซึ่ง​ กษัตริย์​ก็​มีหน้า​ที่​ต้อง​ช่วย​เพราะ​ศาล​คอม​มอน​ลอว์​ซึ่ง​เกิด​จาก​การ​ใช้​อำนาจ​ปกครอง​ของ​กษัตริย์ปกติ​มี​ขุนนาง​ ตำแหน่ง​ลอร์ด​ชาน​เซล​เลอ​ร์(LordChancellor)คอย​ดูแล​คำร้อง​ที่​ยื่น​ต่อ​กษัตริย์คำ​ตัดสิน​ของ​ชาน​เซล​เลอ​ร์​ เพื่อ​สร้าง​ความ​เป็น​ธรรม​ดัง​กล่าว​นาน​ปี​เข้า​ก็​พัฒนา​เป็น​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equity) กฎ​ใหม่​ใน​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​นี้ ถูก​ นำ​ไป​ใช้​ใน​ศาล​พิเศษ​แห่ง​หนึ่ง คือ ศาล​ของ​ชาน​เซล​เลอ​ร์ (The Chancellor’s Court) ซึ่ง​บาง​ที่​เรียก​ว่า “ศาล​ ชาน​เซอ​รี” (Court of Chancery) 2. การ​พัฒนา​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ใน​ศาล​ชาน​เซอ​รี การ​ใช้​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ใน​ศาล​ชาน​เซอ​รี ใน​ช่วง​ศตวรรษ​ที่ 18 แม้​จะ​เป็น​ดุลพินิจ​ของ​ชาน​เซล​เลอ​ร์​ที่​จะ​ นำ​มา​ใช้​เพื่อ​เยียวยา​แก้ไข​ความ​ไม่​เป็น​ธรรม แต่​ก็​เริ่ม​เป็น​ระบบ​มี​กฎ​เกณฑ์​ที่​แน่นอน และ​มี​ลักษณะ​ไป​ใน​ ทาง​ที่​เสริม​หรือ​เพิ่ม​เติม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​มากกว่า​จะ​เป็นการ​แก้ไข​ตัว​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ ตัวอย่าง​ กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ที่​มี​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​เข้า​มา​เสริม​มาก ได้แก่ กฎหมาย​เกี่ยว​กับ​ทรัพย์สิน รอง​ลง​มา คือ กฎหมาย​ละเมิด 1 “Equity” เป็น​หลัก​กฎหมาย​ที่​เดิม​แยก​ออก​จาก​คอม​มอน​ลอว์ มี​ขึ้น​เพื่อ​แก้ไข​ข้อ​บกพร่อง​ของ​คอม​มอน​ลอว์ แต่​ปัจจุบัน​ นับ​ว่า​รวม​อยู่​ใน​คอม​มอน​ลอว์ เพราะ​มี​การ​รวม​ศาล​เอ็คค​วิ​ตี้​เข้า​กับ​ศาล​คอม​มอน​ลอว์ หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​จึง​กลาย​เป็น​หลัก​ที่​ประกอบ​เป็น​ส่วน​ หนึ่ง​ของ​คอม​มอน​ลอว์ หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​เคย​มี​ผู้​เรียก​ชื่อ​อย่าง​อื่น คือ “หลัก​ความ​เป็น​ธรรม” และ​บาง​ท่าน​ใช้​ทับ​ศัพท์​ว่า “Equity” อย่างไร​ ก็​ดี เนื่องจาก​ตำรา​ที่​ใช้​อ้างอิง​ใน​แนว​การ​สอน​นี้​ใช้​ทับ​ศัพท์​คำ​อ่าน​ภาษา​อังกฤษ​ว่า “เอ็คค​วิ​ตี้” เพื่อ​ให้​เข้าใจ​ตรง​กัน ใน​เนื้อหา​จึง​ขอ​ใช้​ วิธี​การ​ทับ​ศัพท์​คำ​อ่าน​ภาษา​อังกฤษ​ว่า “เอ็คค​วิ​ตี้” เช่น​เดียว​กับ​ใน​ตำรา​ที่​ใช้​อ้างอิง
  • 9. 4-9 ใน​ส่วน​ของ​อำนาจ​ศาล​ชาน​เซอ​รี​ที่​เกี่ยว​กับ​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ไม่มี​ใน​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ที่​สำคัญได้แก่ ทรัสต์ การ​แยก​ทรัพย์สิน​ของ​หญิง​ที่​สมรส​แล้ว การ​จำนอง และ​การ​โอน​สิทธิ​เรียก​ร้อง​ตาม​สัญญา 3. การ​ปฏิรูป​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​และ​เอ็คค​วิ​ตี้ ระ​หว่าง​ปีค.ศ.1830และ1860ได้​มี​การ​ปฏิรูป​วิธี​พิจารณา​ใน​ศาล​คอม​มอน​ลอว์​และ​เอ็คค​วิ​ตี้​ให้​เป็น​ แนว​เดียวกันและ​เป็น​พื้น​ฐาน​ใน​การ​ปฏิรูป​ทาง​ศาล​ให้การ​พิจารณา​โดย​ใช้​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​และ​เอ็คค​วิ​ตี้​ อยู่​ใน​ศาล​เดียวกัน​ใน​เวลา​ต่อ​มาก่อน​ปีค.ศ.1875ศาล​คอม​มอน​ลอว์​สามารถ​รับ​ฟัง​ข้อ​ต่อสู้​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​และ​ พิพากษา​ให้การ​เยียวยา​ตาม​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ และ​ให้​ศาล​เอ็คค​วิ​ตี้​พิจารณา​คดี​ตาม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ ซึ่ง​รวม​ถึง​การ​พิพากษา​ให้​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย​ด้วย ต่อ​มา​ได้​มี​การ​ตรา​พระ​ราช​บัญญัติ The Judicature Acts, 1873–1875 ให้​จัด​ตั้ง​ศาลสูง (High Court) ขึ้น​ศาล​เดียว​มี​อำนาจ​พิจารณา​คดี​ต่างๆ ทั้ง​ตาม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​และ​เอ็คค​วิ​ตี้ ใน​ศาลสูง​นี้​ได้​ แบ่ง​งาน​ของ​ศาล​ออก​เป็น 5 แผนก หนึ่ง​ใน​นั้น คือ แผนก​ชาน​เซอ​รี (Chancery Division) ซึ่ง​นอกจาก​จะ​ มี​อำนาจ​พิจารณา​คดี​ตาม​ที่​กฎหมาย​ต่างๆ กำหนด​ไว้​แล้ว ยัง​มี​อำนาจ​พิจารณา​คดี​เช่น​เดียว​กับ​ศาล​แผนก​ อื่น ใน​คดี​ที่​อาจ​ฟ้อง​ร้อง​ตาม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​แต่​โจทก์​ประสงค์​จะ​ขอ​เยียวยา​ตาม​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ ได้แก่ การ​ขอ​หมาย​อิน​จัง​ชัน (injunction) (หรือ​คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ) และ​ขอ​ให้​กระทำ​การ​บาง​อย่าง (specific performance) การ​รวม​คดี​คอม​มอน​ลอว์​และ​เอ็คค​วิ​ตี้​มา​พิจารณา​ใน​คดี​เดียวกัน​นี้​ไม่​ก่อ​ให้​เกิด​ปัญหา​ใน​ทาง​ปฏิบัติ​ มาก​นัก เพราะ​การ​มี​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ก็​เพื่อ​เสริม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​ให้​สมบูรณ์ มิได้​มี​วัตถุประสงค์​ เป็นการ​ขัด​กับ​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​แต่​อย่าง​ใด ตัวอย่าง​คดี​ที่​เกี่ยว​กับ​ทรัสต์ ตาม​คอม​มอน​ลอว์ นาย ก. ถือว่า​เป็น​เจ้าของ​กรรมสิทธิ์ แต่​นาย ก. อาจ​ถือ​ครอง​ที่ดิน​ดัง​กล่าว​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​นาย ข. ได้ อย่างไร​ก็​ดี อาจ​มี​กรณี​ที่​ขัด​แย้ง​กัน​บ้างแต่​ก็​เป็น​เพียง​ส่วน​น้อยเช่นกรณี​การ​ขอ​ให้​ออก​หมาย​อิน​จัง​ชัน(injunction)ซึ่ง​ ไม่​เป็น​ที่​ยอมรับ​ใน​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ 4. การ​ใช้​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ใน​ปัจจุบัน ใน​ประเทศ​อังกฤษ​ปัจจุบัน ศาล​ที่​มี​อำนาจ​พิจารณา​คดี​แพ่ง​ตาม​ลำดับ​ชั้น​ศาล ได้แก่ 1) ศาลสูง​สุด ได้แก่ สภา​ขุนนาง (House of Lords) 2) ศาลสูง​ชั้น​กลาง ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ The Supreme Court of Judicature Act 1873, 1875 บัญญัติ​ให้​จัด​ตั้ง​ศาลสูง​ขึ้น คือ Supreme Court of Judicature ซึ่ง​แบ่ง​ออก​เป็น 2 ส่วน คือ ศาลสูง (The High Court of Justice) และ​ศาล​อุทธรณ์ (The Court of Appeal) 3) ศาล​ชั้น​ล่างได้แก่ศาล​เคา​น์​ตี​คอร์ท(CountyCourts)และ​ศาล​มา​จิ​ส​เตรทส์​คอร์ท(Magistrates Courts) ใน​ศาล​แต่ละ​ระดับ​ดัง​กล่าวยัง​คง​มี​การ​พิจารณา​เกี่ยว​กับ​คดี​เอ็คค​วิ​ตี้​หรือ​ใช้​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ ที่​เกี่ยวข้อง​อยู่ แล้ว​แต่​กรณี เพื่อ​สร้าง​ความ​เป็น​ธรรม​เคียง​คู่​กับ​หลัก​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ ซึ่ง​รัฐสภา​ได้​
  • 10. 4-10 ออก​กฎหมาย​รับรอง​หลัก​กฎหมาย​ทั้ง​สอง แต่​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​จะ​บังคับ​ได้​นั้น ปัจจุบัน​ได้​กลาย​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ ของ​หลัก​กฎหมาย​ตาม​คำ​พิพากษา (precedent) ไป มิได้​เป็น​หลัก​ที่​เกิด​จาก​เหตุผล​ทาง​จริยธรรม​ล้วนๆ อีก ใน​ขณะ​ที่​นัก​วิชาการ​บาง​ท่าน (Worthington) เห็น​ว่า ใน​ปัจจุบัน​ได้​เข้า​สู่​ช่วง​ที่​เอ็คค​วิ​ตี้​และ​คอม​มอน​ลอว์​ ได้​บูรณ​า​การ​กัน​แล้ว​โดย​สมบูรณ์ ดัง​ตัวอย่าง​ที่​เกิด​ขึ้น คือ โดย​หลัก​หาก​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​และ​คอม​มอน​ลอว์​ ขัด​แย้ง​กัน พระ​ราช​บัญญัติ The Judicature Acts, 1873 (หรือ​ปัจจุบัน คือ มาตรา 49 แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ The Supreme Court Act 1981) บัญญัติ​ว่า ใน​กรณี​ดัง​กล่าว​ให้​ใช้​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ อย่างไร​ก็​ดี ใน​บาง​กรณี​ที่​ หาก​ใช้​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​อาจ​ไม่​เกิด​ความ​เป็น​ธรรม ศาล​ก็​อาจ​ใช้​หลัก​คอม​มอน​ลอว์​ได้​เช่น​กัน2 (โปรด​อ่าน​เนื้อหา​สาระ​โดย​ละเอียด​ใน​หนังสือ​ความ​เป็น​มา​และ​หลัก​การ​ใช้​นิติ​วิธี ใน​ระบบ​ซี​วิลลอว์​และ ​คอม​มอน​ลอว์ บท​ที่ 3 โดย​กิตติ​ศักดิ์ ปรกติ ; หนังสือระบบ​กฎหมาย​อังกฤษ (English Legal System) บท​ที่ 8 บท​ที่ 13 บท​ที่ 14 และ​บท​ที่ 16 โดย​สุ​นัย มโนมัย​อุดม ; และ​หนังสือ English Law, “Chapter 10: The Law of Equity and Trust” by Garry Slapper and David Kelly) กิจกรรม 4.1.1 อำนาจ​ของ​ศาล​ชาน​เซอ​รี​ที่​เกี่ยว​กับ​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ไม่มี​ใน​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ ที่​สำคัญ​ได้แก่​ เรื่อง​ใด​บ้าง 2 ตัวอย่าง​เช่น บ้าน​ที่​ภรรยา​อยู่​อาศัย​เป็น​ของ​สามี (นาย​เอ) ซึ่ง​เป็น​เจ้าของ​ร่วม​กับ​บุคคล​อื่น ต่อ​มา​ต้อง​ถูก​บังคับ​ให้​โอน​บ้าน​ ให้​แก่​ผู้​ซื้อ​ซึ่ง​เป็นการ​สั่ง​ให้​ปฏิบัติ​การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ (specific performance) ตาม​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ (เนื่องจาก​การ​เยียวยา​ตาม​หลัก​ คอม​มอน​ลอว์ คือ การ​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย (damages) จะ​ไม่​ตรง​ตาม​วัตถุประสงค์​ของ​ผู้​ซื้อ​บ้าน ที่​ประสงค์​จะ​ได้​บ้าน​มากกว่า​จะ​ได้​เงิน) แต่​ ใน​ขณะ​นั้น​ภรรยา​ของ​นาย​เอ กำลัง​ป่วย​และ​อยู่​ใน​ความ​ยาก​ลำบาก​เพราะ​สามี​ติด​คุก หาก​ศาล​บังคับ​ให้​มี​การ​ขาย​บ้าน​ตาม​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ ก็​จะ​เป็นการ​สร้าง​ความ​ทุกข์​ยาก (hardship) ให้​แก่​ภรรยา​ของ​นาย​เอ​เป็น​อย่าง​มาก ซึ่ง​ใน​คดี​ดัง​กล่าว ศาล​เห็น​ว่า “การ​สร้าง​ความ​ทุกข์​ ยาก​ให้​แก่​บุคคล​ถือ​เป็น​ความอ​ยุติธรรม – hardship amounting to injustice” ศาล​จึง​ไม่​บังคับการ​เยียวยา​ตาม​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ คือ การ​ให้​โอน​บ้าน​ให้​แก่​ผู้​ซื้อ แต่​ให้​ใช้​การ​เยียวยา​ตาม​หลัก​คอม​มอน​ลอว์ คือ การ​ให้​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย แทน (สรุป​ความ​จาก​คดี Patel v. Ali [1984] Ch 283 อ้าง​ถึง​ใน John Duddington, “Chapter 1 : Nature of Equity”, Essentials of Equity and Trusts Law, Harlow, Pearson Education, 2006, pp. 3-5)
  • 12. 4-12 เรื่อง​ที่ 4.1.2 หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​สำคัญ สาระ​สังเขป ใน​ปัจจุบัน ยัง​คง​มี​การ​ใช้​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​ใน​กฎหมาย​ของ​ประเทศ​อังกฤษ​และ​ประเทศ​ที่​ใช้​ กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ โดย​เฉพาะ​ใน​เรื่อง​ทรัสต์3 และ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable doctrines) ใน​ เรื่อง​อื่น เช่น สัญญา ละเมิด นอกจาก​นั้น ยัง​มี​วิธี​การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable remedies) ที่​นำ​มา​ ใช้​เพื่อ​สร้าง​ความ​เป็น​ธรรม​ให้​แก่​คู่​ความ สำหรับ​ราย​ละเอียด​ของ​กฎหมาย​ทรัสต์​ซึ่ง​เป็น​หัวข้อ​ใหญ่จะ​ขอ​นำ​ไป​กล่าว​ใน​ตอน​ที่4.2ใน​ส่วน​นี้​จะ​ กล่าว​เฉพาะ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​อื่น​ที่​สำคัญ​และ​ยัง​คง​มี​บทบาท​ใน​ปัจจุบันได้แก่อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ ธรรม4 หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม5 (undueinfluence)และ​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ(confidentiality) ตลอด​จน​การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้(equitableremedies)เช่นการ​ปฏิบัติ​การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ(specific performance)คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชัน(injunction)การ​แก้​ให้​ถูก​ต้อง(rectification)และ​การ​ เลิก​สัญญา​แล้วก​ลับ​คืน​สู่​ฐานะ​เดิม (rescission) 1. หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equitable Doctrines) ใน​การ​นำ​เอ็คค​วิ​ตี้​มา​ใช้​มี​การ​พัฒนา​หลัก​ทฤษฎี​กฎหมาย​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​ขึ้น​หลาย​ประการเช่นหลัก​การ​ ไถ่ถอน​จำนอง​ซึ่ง​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​กฎหมาย​ที่ดินและ​อื่นๆ6 ใน​ที่​นี้จะ​นำ​ทฤษฎี​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​ซึ่ง​ได้​รับ​การ​พัฒนา​ ขึ้น​และ​ยัง​คง​มี​บทบาท​สำคัญ​มา​จนถึง​ปัจจุบัน​มา​เป็น​ตัวอย่าง2เรื่องได้แก่อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​ การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม (undue influence) และ​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ (confidentiality) 3 ใน​ประเทศ​ที่​อยู่​ใน​ระบบ​ประมวล​กฎหมาย (civil law) บาง​ประเทศ เช่น ส​วิต​เซอร์​แลนด์ และ​ใน​ระบบ​กฎหมาย​อื่น ​เช่น สาธารณรัฐ​ประชาธิปไตย​ประชาชน​จีน มี​การนำ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ เช่น ทรัสต์ ไป​ใช้​โดย​ออก​เป็น​กฎหมาย​ระดับ​พระ​ราช​บัญญัติ​เช่น​ กัน (http://en.wikipedia.org/wiki/Trust_law_in_Civil_law_jurisdictions) 4 ตาม​คำ​แปล​ที่​ปรากฏ​ใน “ศัพท์​นิติศาสตร์ อังกฤษ – ไทย ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน” (2541) 5 ตาม​คำ​แปล​ที่​นัก​วิชาการ เช่น ผู้​ช่วย​ศาสตราจารย์ ดร.พินัย ณ นคร ใช้​ใน​บทความ 6 ทฤษฎี​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​อื่นๆ เช่น หลัก “conversion” ได้แก่ การ​ถือว่า​เงิน​ที่​จะ​ใช้​ใน​การ​ซื้อ​ที่ดิน​ถือ​เป็น​ที่ดิน หรือ​ที่ดิน​ที่​ประสงค์​ จะ​ขาย​แต่​ยัง​มิได้​ขาย​ถือ​เป็น​เงิน​จาก​การ​ขาย​ที่ดิน​นั้น หรือ​หลัก “election” ได้แก่ สิทธิ​ใน​การ​เลือก เช่น เมื่อ​นาย ก. ได้​รับ​แจกัน​โบราณ​ ติด​มา​กับ​โต๊ะ​โบราณ​ที่​นาย ข. ได้​มอบ​ให้ ซึ่ง​เกิด​จาก​ความ​ผิด​พลาด ใน​ขณะ​ที่​นาย ข. ก็​ตกลง​มอบ​แจกัน​โบราณ​นั้น​ให้​แก่ นาย ค. แล้ว นาย ก. ย่อม​มี​สิทธิ​ที่​จะ​เลือก​ได้​ว่า​จะ​มอบ​แจกัน​ให้​กับ​นาย ค. หรือ​เก็บ​แจกัน​นั้น​ไว้​โดย​มอบ​โต๊ะ​ไป​แทน หรือ​หลัก “satisfaction” ได้แก่ การ​ที่​บุคคล​มี​หนี้​ตาม​กฎหมาย​ที่​ต้อง​กระทำ​การ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง แต่​ใน​การ​ชำระ​หนี้​ได้​กระทำ​การ​ต่าง​ออก​ไป หาก​ผู้​กระทำ​มี​เจตนา​ที่​จะ​ ชำระ​หนี้ ก็​ถือว่า​ได้​มี​การ​ปฏิบัติ​การ​ชำระ​หนี้​แล้ว เป็นต้น (ผู้​สนใจ​ศึกษา​ราย​ละเอียด​ได้​ใน John Duddington, “Chapter 1 : Nature of Equity”, Essentials of Equity and Trusts Law, Harlow, Pearson Education, 2006, pp. 3-5)
  • 13. 4-13 1.1 อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม (Undue Influence) อำนาจ​ ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม (undue influence) เป็น​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่มา​ขยาย​ ขอบเขต​ของ​การ​ข่มขู่​ตาม​หลัก​คอม​มอน​ลอว์ เนื่องจาก​ใน​ระยะ​แรก​หลัก​เรื่อง​การ​ข่มขู่​ใช้ได้​เฉพาะ​การ​ข่มขู่​ว่า​ จะ​ก่อ​ให้​เกิด​อันตราย​แก่​ชีวิต​หรือ​ร่างกาย​เท่านั้น ด้วย​เหตุ​นี้ ศาล​จึง​สร้าง​หลัก อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​ หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​ขึ้น​มา​เพื่อ​อุด​ช่อง​ว่าง​ของ​กฎหมาย อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม เป็น​เรื่อง​ที่​ยาก​จะ​นิยาม​ความ​ หมาย​ให้​ชัดเจน​ได้ แต่​โดย​เนื้อหา​สาระ​แล้ว​มี​วัตถุประสงค์​เพื่อ​คุ้มครอง​บุคคล​ที่​อ่อนแอ​มิ​ให้​ถูก​หา​ประโยชน์​ จาก​บุคคล​อื่น ใน​การ​พิจารณา​ว่า​มี​การ​ครอบงำ​อย่าง​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​ไม่ จะ​ดู​ที่​ลักษณะ​ของ​การ​เข้า​สร้าง​ ความ​ผูกพัน หรือ​เจตนา​ใน​การ​เข้า​สร้าง​ความ​ผูกพัน มากกว่า​จะ​ดู​ว่า​ผู้​ที่​ตก​เป็น​เหยื่อ​นั้น​รู้ตัว​ว่า​ตน​ได้​กระทำ​ การ​อย่าง​ใด​หรือ​ไม่ หรือ​ที่​กล่าว​ว่า อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​เป็น​เรื่อง​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​ความ​เป็น​ธรรม​ใน​ ทาง​ขั้น​ตอน​ของ​การก​ระ​ทำ มากกว่า​จะ​เกี่ยว​กับ​ความ​เป็น​ธรรม​ใน​ทาง​เนื้อหา​สาระ ตัวอย่าง​เช่น นาง​เอฟ เศรษฐีนีสูง​อายุ​ซึ่ง​คุ้น​เคย​และ​เชื่อ​ถือ​คำ​แนะนำ​ของ​นาย​ที เจ้า​หน้าที่​บัญชี​ของ​ เธอ​เป็น​อย่าง​มากได้​พูด​คุย​กับ​นาย​ทีว่า​เธอ​ประสงค์​จะ​ที่​จะ​ทำ​พินัยกรรม​แต่​ไม่​ทราบ​ว่า​จะ​ยก​ทรัพย์สิน​ให้​กับ​ผู้​ ใดใน​การ​สนทนา​กัน​หลาย​ครั้งนาย​ทีค่อยๆเกลี้ย​กล่อม​ชักจูง​จน​เธอ​ยก​ทรัพย์สิน​จำนวน​มาก​ให้​เขาใน​กรณี​ นี้​ไม่​ปรากฏ​ข้อ​เท็จ​จริง​ว่า​มี​การ​ข่มขู่​หรือ​กระทำ​การ​อัน​เป็น​ความ​ผิด​แต่​อย่าง​ใดอย่างไร​ก็​ดีจะ​มอง​เห็น​ว่านาย​ ที อยู่​ใน​ฐานะ​ที่​มี​อิทธิพล​บาง​ประการ​ต่อ​นาง​เอฟ ซึ่ง​กรณี​ดัง​กล่าว​เป็นการ​ยาก​ที่​จะ​วินิจฉัย​ได้​ใน​ทันที​เหมือน​ กับ​การ​พิจารณา​ว่า​มี​การ​ข่มขู่​หรือ​ไม่ เพราะ​ส่วน​หนึ่ง​เป็น​เหตุการณ์​ที่​ค่อยๆ เกิด​ขึ้น​โดย​ใช้​ระยะ​เวลา ใน​คดีRoyalBankofScotlandv.Etridge(1997)7 ศาล​อุทธรณ์​วินิจฉัย​ว่าจะ​วินิจฉัย​ว่า​มี​การ​ใช้​อำนาจ​ ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม ต่อ​เมื่อ​บุคคล​ฝ่าย​หนึ่ง​ได้​กระทำ​การ​ที่​ไม่​เป็น​ธรรม​เพื่อ​แสวงหา​ประโยชน์​จาก​อำนาจ​ ที่​จะ​ชี้​แนวทาง​ให้​อีก​บุคคล​หนึ่ง​กระทำ​การ ซึ่ง​เป็น​ผล​สืบ​เนื่อง​มา​จาก​ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​บุคคล​เหล่า​นั้น (... undue influence ‘is brought into play whenever one party has acted unconscionably in exploiting the power to direct of another which is derived from the relationship between them’...) อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​อาจ​แบ่ง​ได้​เป็น 2 ประ​เภท​ใหญ่ๆ ได้แก่ ประเภท​ที่ 1 อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​ตาม​ความ​ เป็น​จริง​หรือ​โดย​ชัด​แจ้ง (actual (or express) undue influence) คือ มี​การ​ขู่เข็ญ​กัน​จริงๆ เช่น การ​ที่​บิดา​ถูก​ ธนาคาร​เรียก​ร้อง​ให้​จำนอง​ทรัพย์สิน มิ​เช่น​นั้น​ธนาคาร​นั้น​จะ​ฟ้อง​คดี​​บุตร​ชาย​ใน​ฐาน​ปลอม​ลายมือ​ชื่อ​บิดา ซึ่ง​ บิดา​ก็​จำ​ต้อง​ยินยอม​เพื่อ​ป้องกัน​มิ​ให้​บุตร​ชาย​ของ​ตน​ต้อง​ถูก​ธนาคาร​ฟ้อง​คดี และ ประเภท​ที่ 2 อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​โดย​ ข้อ​สันนิษฐาน (presumed undue influence) ซึ่ง​ประเภท​ที่ 2 ยัง​แยก​ย่อย​เป็น​อีก 2 ประเภท คือ อำนาจ​ครอบงำ​ 7 Royal Bank of Scotland v. Etridge [1997] All ER 628.
  • 14. 4-14 ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​ซึ่ง​เกิด​จาก​หน้าที่​ใน​การ​ดูแล​หรือ​รักษา​ผล​ประโยชน์ เช่น กรณี​ผู้​ปกครอง​กับ​ เด็กแพทย์​กับ​คนไข้ทนายความ​กับ​ลูก​ความทรัส​ตี​กับ​ผู้รับ​ประโยชน์และ​อีก​ประเภท​หนึ่งคืออำนาจ​ครอบงำ​ ผิด​คลอง​ธรรม​หรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​ที่​เกิด​จาก​ความ​ไว้​เนื้อ​เชื่อ​ใจ​หรือ​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ​ของ​ อีก​ฝ่าย​หนึ่ง ซึ่ง​มี​ลักษณะ​เป็น​ความ​สัมพันธ์​พิเศษ เช่น ภรรยา​กับ​สามี คู่​สัญญา​ที่​ทำ​ขึ้น​โดย​เหตุ​ที่​มี​การ​ใช้​อำนาจ​ครอบงำ​ผิด​คลอง​ธรรมหรือ​การ​ใช้​อิทธิพล​อัน​ไม่​เป็น​ธรรม​ มี​ผล​ตก​เป็น​โมฆียะ คู่​กรณี​ฝ่าย​ที่​เสีย​หาย​จึง​อาจ​บอก​ล้าง​สัญญา​หรือ​ให้​สัตยาบัน​ได้8 1.2 การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ (Confidentiality) การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ (confidentiality) เป็น​หลัก​การ​ที่​เกิด​จาก​เอ็คค​วิ​ตี้​เพื่อ​คุ้มครอง​ความ​ลับ​ มิ​ให้​ถูก​เปิด​เผยซึ่ง​ใน​ปัจจุบัน​สามารถ​พบ​ได้​ใน​กฎ​หมา​ยอื่นๆโดย​เฉพาะ​หน้าที่​ใน​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ​ทั้ง​ที่​ เป็นการ​กำหนด​โดย​ชัด​แจ้ง​และ​ปริยาย​ตาม​ข้อ​ตกลง​ของ​สัญญา นอกจาก​นั้น​ยัง​มี​ได้​ใน​กรณี​ที่​ไม่มี​ข้อ​สัญญา​ ด้วย ดัง​ที่​กล่าว​ใน​คดี Stephen v. Avery (1988) ว่า หลัก​การ​พื้น​ฐาน​ของ​การ​แทรกแซง​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​เพื่อ​ คุ้มครอง​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ ได้แก่ การ​ที่​ถือว่า “เป็น​สิ่ง​ที่​ไม่​เป็น​ธรรม​ใน​การ​ที่​บุคคล​ซึ่ง​ได้​ล่วง​รู้​ข้อมูล (อัน​เป็น​ความ​ลับ) ของ​บุคคล​อื่น...แล้ว​ต่อ​มา​จะ​เปิด​เผย​ข้อมูล​นั้น” ดัง​นั้น การ​ไม่​ปฏิบัติ​ตาม​หน้าที่​ใน​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับ​อาจ​ถือ​เป็นการ​ละเมิด และ​นอกจาก​นี้​ยัง​ เป็นการ​ละเมิด​ต่อ​สิทธิ​ความ​เป็น​ส่วน​ตัว​ของ​บุคคล (right of personal privacy) ด้วย โดย​ใน​เรื่อง​นี้​ถือว่า​ เป็นการ​แตก​หน่อ​ของ​หน้าที่​ใน​การ​เก็บ​รักษา​ความ​ลับซึ่ง​ปัจจุบัน​ได้​รับ​การ​รับรอง​อยู่​ใน​อนุสัญญา​ยุโรป​ว่า​ด้วย​ สิทธิ​มนุษย​ชน (European Convention on Human Rights) และ​นำ​มา​บัญญัติ​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​กฎหมาย​ ของ​สห​ราช​อาณาจักร​โดย​พระ​ราช​บัญญัติ The Human Rights Act, 1998 ผู้​ถูก​ละเมิด​จาก​การ​เปิด​เผย​ความ​ลับ สามารถ​ได้​รับ​ชดใช้​ค่า​สินไหม​ทดแทน​ได้ (แม้ว่า​ใน​ระยะ​แรก​ ศาล​ใน​ประเทศ​คอม​มอน​ลอว์​บาง​ประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ จะ​ไม่​พิพากษา​ให้​โดย​อ้าง​ว่า การ​เรียก​ค่า​สินไหม​ ทดแทน​เป็น​หลัก​ตาม​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์ จึง​ไม่​สามารถ​นำ​มา​ใช้​ใน​กรณี​การ​ละเมิด​สิทธิ​ใน​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​ ได้ แต่​ต่อ​มา​คำ​พิพากษา​ดัง​กล่าว​ถูก​พิพากษา​กลับ จึง​ถือว่า​ใน​ปัจจุบัน​สามารถ​เรียก​ค่า​สินไหม​ทดแทน​จาก​ การ​เปิด​เผย​ความ​ลับ​ได้ โดย​มี​มาตรการ​เช่น​เดียว​กับ​ที่​มี​อยู่​ใน​คอม​มอน​ลอว์)9 2. การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equitable Remedies) การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​ไม่​ถือ​เป็น​สิทธิ​ของ​คู่​ความ แต่​มี​ลักษณะ​เป็น​ดุลพินิจ​ของ​ศาล​เพื่อ​ความ​ เป็น​ธรรม ดัง​นั้น​จึง​มี​หลัก​ว่าศาล​จะ​ไม่​สั่ง​เยียวยา​ให้​หาก​ผู้​ร้องขอ​มิได้​ปฏิบัติ​ตน​อย่าง​เหมาะ​สม ซึ่ง​ใน​เรื่อง​นี้​ 8 ผู้​สนใจ​ศึกษา​ราย​ละเอียด​ได้​ใน​บทความ​ของ ดร.พินัย ณ นคร (ผู้​ช่วย​ศาสตราจารย์ ดร.พินัย ณ นคร “หลัก​กฎหมาย​ สัญญา​ของ​ประเทศ​อังกฤษ” หนังสือ​อนุสรณ์​งาน​พระราชทาน​เพลิง​ศพ​อาจารย์​นุ​กูล ณ นคร กรกฎาคม 2541 หน้า 229 – 234) 9 ผู้​สนใจ​ศึกษา​ใน​ราย​ละเอียด​สามารถ​อ่าน​เพิ่ม​เติม​ได้​ใน​หนังสือ​ที่​เกี่ยว​กับ​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้ เช่น John Duddington, “Chapter 2 : Equitable Remedies, Chapter 3 : Equitable Doctrines”, Essentials of Equity and Trusts Law, Harlow, Pearson Education, 2006, pp. 21–59.
  • 15. 4-15 มี​สุภาษิต​ที่​นำ​มา​ใช้​หลาย​สำนวน อาทิ “ผู้​ที่มา​ขอ​ให้​ใช้​เอ็คค​วิ​ตี้ ต้อง​มา​โดย​มี​มือ​ที่​สะอาด” (He who comes to equity must come with clean hand) เป็นต้น การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​ที่​ส่วน​ใหญ่​ใช้​กัน ได้แก่ 2.1 การ​ปฏิบัติ​การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ (Specific performance) ตาม​ปกติ คู่​สัญญา​อาจ​เลือก​ไม่​ปฏิบัติ​การ​ชำระ​หนี้​ตาม​สัญญา​และ​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย​ให้​แก่​คู่​สัญญา​ อีก​ฝ่าย​หนึ่ง​ได้ แต่​ใน​กรณี​ที่​ศาล​มี​คำ​สั่ง​ให้​บุคคล​นั้น​ปฏิบัติ​การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ (an order for specific performance) เช่น การ​โอน​กรรมสิทธิ์​ใน​ทรัพย์สิน​ให้ คู่​สัญญา​ฝ่าย​นั้น​จะ​ต้อง​ปฏิบัติ​การ​ชำระ​หนี้​ของ​ตน​ ให้​เสร็จ​สมบูรณ์ ซึ่ง​ตาม​หลัก​แล้ว​การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้​จะ​กระทำ​ได้​ต่อ​เมื่อ​การ​เยียวยา​ทาง​คอม​มอน​ลอว์​ ไม่​เพียง​พอ​เท่านั้น และ​เป็น​กรณี​ที่​ไม่มี​ข้อ​ยกเว้น​มิ​ให้​ออก​คำ​สั่ง​ประเภท​นี้​ได้ โดย​ทั่วไป​มัก​จะ​ไม่​ใช้​วิธี​การ​ เยียวยา​นี้​กับ​สัญญา​ที่​เกี่ยว​กับ​การ​ซื้อ​ขาย​สินค้า​ที่​สามารถ​ใช้​วิธี​เปลี่ยน​ให้​ใหม่​ได้ ส่วน​ใหญ่​จะ​เป็นการ​ใช้​ใน​ คดี​ที่​เกี่ยว​กับ​การ​ซื้อ​ขาย​ที่ดิน ซึ่ง​วัตถุ​แห่ง​สัญญา​เป็น​สิ่ง​ที่​มี​เพียง​หนึ่ง​เดียว​หรือ​หา​ได้​ยาก นอกจาก​นี้ จะ​ไม่​ ใช้​การ​เยียวยา​วิธี​นี้​กับ​สัญญา​จ้าง​แรงงาน​หรือ​จ้าง​บริการ (แต่​ก็​มี​ข้อ​ยกเว้น​ใน​บาง​กรณี) 2.2 คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชัน (Injunction) คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชันได้แก่การ​ที่​ศาล​ใช้​อำนาจ​ออก​คำ​สั่ง​ให้​บุคคล​ใด​บุคคล​หนึ่ง​กระทำ​ การ​หรือ​งด​เว้น​กระทำ​การ​อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใดทั้งนี้ตาม​มาตรา37แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ​สุ​พรีม​คอร์ทค.ศ.1981 (TheSupremeCourtAct,1981)โดย​เป็น​กรณี​ที่​ศาล​จะ​ออก​ให้​เป็นการ​ชั่วคราว​หรือ​ถาวร​ก็ได้(aninterim or a permanent basis) การ​ไม่​ปฏิบัติ​คาม​คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชัน​นี้ ถือ​เป็นการ​ละเมิด​อำนาจ​ ศาล ตัวอย่าง​ของ​คำ​สั่ง​ประเภท​นี้ ได้แก่ “freezing order” หรือ​ที่​รู้จัก​กัน​ใน​ชื่อ “Mareva injunctions” ซึ่ง​เป็น​คำ​สั่ง​ชั่วคราว​ที่​ห้าม​จำเลย​เคลื่อน​ย้าย​ทรัพย์สิน​ออก​นอก​เขต​อำนาจ​ศาล​อังกฤษ​ก่อน​จะ​มี​การ​พิจารณา​ คดี คำ​สั่ง​อื่น​ที่​เป็น​ที่​รู้จัก​กัน คือ หมาย​ค้น (เดิม​รู้จัก​กัน​ใน​ชื่อ “Anton Piller order”) ซึ่ง​ห้าม​ซ่อน​เร้น​หรือ​ จำหน่าย​เอกสาร​ที่​อาจ​นำ​มา​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​คดีตลอด​จน​เป็นการ​ให้​อำนาจ​ใน​การ​เข้า​ค้น​อาคาร​สถาน​ที่​ ที่​อาจ​เก็บ​เอกสาร​ดัง​กล่าว​ด้วย 2.3 ค่า​เสีย​หาย​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (Equitable Damages) เดิม​การ​เยียวยา​โดย​การ​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย​หรือ​การ​จ่าย​ค่า​สินไหม​ทดแทน มี​เฉพาะ​ตาม​หลัก ​คอม​มอน​ลอว์ ต่อ​มา​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ Lord Cairns’ Act (Chancery Amendment Act) 1858 ใน​ มาตรา 2 บัญญัติ​ให้​อำนาจ​ศาล​ชาน​เซอ​รี​ใน​การ​กำหนด​ค่า​เสีย​หาย​ได้​ทั้ง​ที่​เป็นการ​เพิ่ม​เติม​จาก​การ​ออก​ คำ​สั่ง​ให้​ร่วม​มือ​หรือ​หมาย​อิน​จัง​ชัน​และ​คำ​สั่ง​ให้​บุคคล​ปฏิบัติ​การ​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ หรือ​เป็นการ​ให้​จ่าย​ ค่าเสีย​หาย​แทน​การ​เยียวยา​ทั้ง​สอง​ประการ​ดัง​กล่าว​ก็ได้ (ปัจจุบัน ปรากฏ​หลัก​กฎหมาย​นี้​ใน​มาตรา 50 แห่ง​ พระ​ราช​บัญญัติ​สุ​พรีม​คอร์ท ค.ศ. 1981 (The Supreme Court Act, 1981)) โดย​เจตนารมณ์​ของ​กฎหมาย​ มาตรา​นี้ คือ เพื่อ​ให้​อำนาจ​แก่​ศาล​ใน​กรณี​ที่​ศาล​เห็น​ว่า​ไม่​สามารถ​เรียก​ค่า​เสีย​หาย​ตาม​หลัก​คอม​มอน​ลอว์​ได้ วิธี​การ​เยียวยา​นี้​ได้​นำ​มา​ใช้​กับ​กรณี​ความ​รับ​ผิด​ของ​ทรัส​ตี​ใน​ความ​รับ​ผิด​ที่​ต้อง​รับ​เป็น​ส่วน​ตัว​ด้วย 2.4 การ​แก้​ให้​ถูก​ต้อง (Rectification) วิธี​การ​เยียวยา​นี้ เป็นการ​ออก​ให้​เพื่อ​แก้ไข​เอกสาร​สัญญา ซึ่ง​ตาม​ปกติ​แล้ว ถือ​เป็น​ข้อ​สันนิษฐาน​ว่า​ เอกสาร​สัญญา​ที่​เป็น​ลาย​ลักษณ์​อักษร​จะ​แสดง​ถึง​ข้อ​ตกลง​ที่​ถูก​ต้อง​ของ​คู่​สัญญา โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​เมื่อ​ได้​
  • 16. 4-16 มี​การ​ลง​นาม​ใน​เอกสาร​นั้น​แล้ว อย่างไร​ก็​ดี ใน​บาง​กรณี​หาก​ศาล​เห็น​ว่า ข้อความ​ใน​เอกสาร​นั้น​ไม่​แสดง​ถึง​ ข้อ​ตกลง​ที่แท้​จริง ศาล​ก็​อาจ​สั่ง​ให้​มี​การ​แก้ไข​ข้อความ​นั้น​ได้ หลัก​นี้​เป็น​ข้อ​ยกเว้น​ของ​หลัก parole evidence rule คือ หลัก​ที่​ว่า​เมื่อ​ได้​ทำ​สัญญา​เป็น​ลาย​ลักษณ์​อักษร​แล้ว ห้าม​มิ​ให้​คู่​สัญญา​นำ​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​เพื่อ​ เปลี่ยนแปลง​แก้ไข​หรือ​ให้​มี​ผล​แตก​ต่าง​ไป​จาก​ข้อ​สัญญา​ใน​เอกสาร​ที่​ทำ​ขึ้น(ซึ่ง​เป็น​หลัก​ทำนอง​เดียว​กับ​มาตรา 94 แห่ง​ประมวล​กฎหมาย​วิธี​พิจารณา​ความ​แพ่ง​ของ​ไทย) 2.5 การ​เลิก​สัญญา​แล้วก​ลับ​คืน​สู่​ฐานะ​เดิม (Rescission) วิธี​การ​เยียวยา​นี้เป็นการ​เพิก​ถอน​ข้อ​ตกลง​ตาม​สัญญา​แล้ว​ให้​คู่​สัญญา​กลับ​สู่​ฐานะ​เดิม​ก่อน​มี​การ​เข้า​ ทำ​สัญญา สิทธิ​ใน​การ​เลิก​สัญญา​จะ​มี​ได้​ด้วย​เหตุ เช่น การ​ฉ้อฉล การ​สำคัญ​ผิด​ใน​ลักษณะ​ต่างๆ หรือ​การ​ถูก​ ครอบงำ​โดย​ผิด​คลอง​ธรรมอย่างไร​ก็​ดีสิทธิ​นี้​เป็น​อัน​สิ้น​ไป​ด้วย​หลาย​สาเหตุเช่นหาก​คู่​สัญญา​ไม่​อยู่​ใน​ฐานะ​ ที่​อาจ​คืน​สู่​ฐานะ​เดิม​ได้ การ​ให้​สัตยาบัน หรือ​การ​หน่วง​เวลา​หรือ​การ​แทรกแซง​โดย​บุคคล​ภายนอก (โปรด​อ่าน​เนื้อหา​สาระ​โดย​ละเอียด​ใน English Law, “Chapter 10 : The Law of Equity and Trusts”, by Garry Slapper and David Kelly) กิจกรรม 4.1.2 การ​เยียวยา​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ (equitable remedies) ที่​ยัง​คง​นำ​มา​ใช้​ใน​ปัจจุบัน ได้แก่ วิธี​การ​ ใด​บ้าง บันทึก​คำ​ตอบ​กิจกรรม 4.1.2 (โปรด​ตรวจ​คำ​ตอบ​จาก​แนว​ตอบ​ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 4 ตอน​ที่ 4.1 กิจกรรม 4.1.2)
  • 17. 4-17 ตอน​ที่ 4.2 กฎหมาย​ทรัสต์ โปรด​อ่าน​แผนการ​สอน​ประจำ​ตอน​ที่ 4.2 แล้ว​จึง​ศึกษา​สาระ​สังเขป พร้อม​ปฏิบัติ​กิจกรรม​ใน​แต่ละ​เรื่อง หัว​เรื่อง เรื่อง​ที่ 4.2.1 ที่มา​และ​ความ​หมาย​ของ​ทรัสต์ เรื่อง​ที่ 4.2.2 หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์ เรื่อง​ที่ 4.2.3 ทรัสต์​ใน​ระบบ​กฎหมาย​ไทย แนวคิด 1. ทรัสต์ (Trusts) เป็น​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้​สาขา​หนึ่ง​ซึ่ง​พัฒนา​จาก​แนว​ความ​คิด​ใน​สมัย​ กลาง ใน​ส่วน​ของ​ความ​หมาย ทรัสต์ คือ กอง​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​มี​ผู้​ก่อ​ตั้ง (Settlor) ตั้ง​ขึ้น​โดย​ เอกสาร​เป็น​หนังสือ​ซึ่ง​อาจ​จะ​เป็น​พินัยกรรม​ก็ได้ มี​ทรัส​ตี (Trustee) เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์​ ตาม​กฎหมาย​และ​มีหน้า​ที่​จัดการ​กอง​ทรัพย์สิน​ให้​เป็น​ไป​ตาม​วัตถุประสงค์​ของ​ทรัสต์ เพื่อ​ให้​ผล​ประโยชน์​ซึ่ง​อาจ​จะ​รวม​ถึง​ตัว​ทรัพย์สิน​ที่​ใช้​จัด​ตั้ง​ตก​แก่​ผู้รับ​ประโยชน์ (Benificiary) 2. ทรัสต์ มี​หลาย​ประเภท ที่​สำคัญ​คือ ทรัสต์​โดย​ชัด​แจ้ง (Express Trusts) ทรัสต์​โดย​เป็น​ผล​ ตาม​มา (Resulting Trusts) ทรัสต์​ที่​เกิด​จาก​การ​ตีความ​แบบ​ขยาย​ความ (Constructive Trusts) และ​ทรัสต์​เพื่อ​การ​กุศล (Charitable Trusts) หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์​ของ​อังกฤษ​ วาง​หลัก​เกณฑ์​ต่างๆ เกี่ยว​กับ​ทรัสต์ เช่น การ​ก่อ​ตั้ง​ทรัสต์ การ​แต่ง​ตั้ง การพ้นจาก​การ​ทำ​ หน้าที่ และ​การ​ถอด​ถอน​ทรัส​ตี หน้าที่​และ​อำนาจ​ของ​ทรัส​ตี การ​เปลี่ยนแปลง​ทรัสต์ ตลอด​ จน​หลัก​เกณฑ์​ใน​กรณี​ที่​มี​การ​ละเมิด​ทรัสต์ 3. ก่อน​ใช้​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ ใน​ประเทศไทย​มี​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์​อยู่​บ้าง​ตาม​ หลัก​กฎหมาย​ของ​ประเทศ​อังกฤษ แต่​เมื่อ​มี​การ​ใช้​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ มาตรา 1686 ได้​บัญญัติ​ห้าม​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์​ตาม​กฎหมาย​ไทย อย่างไร​ก็​ดี ใน​ปัจจุบัน​ ได้​เล็ง​เห็น​ความ​จำเป็น​และ​ประโยชน์​ของ​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์​เพื่อ​วัตถุประสงค์​บาง​ประการ เช่น การ​ดำเนิน​ธุรกรรม​ใน​ตลาด​ทุน จึง​ได้​มี​การ​ตรา​กฎหมาย​ว่า​ด้วย​ทรัสต์​เพื่อ​ธุรกรรม​ ใน​ตลาด​ทุน​ขึ้น​ใน​ปี พ.ศ. 2550 แต่​โดย​หลัก​ตาม​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​แล้ว ยัง​คง​ห้าม​การ​จัด​ตั้ง​ทรัสต์​ของ​บุคคล​โดย​ทั่วไป​อยู่
  • 18. 4-18 วัตถุประสงค์ เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 4.2 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ 1. อธิบาย​ที่มา​และ​ความ​หมาย​ของ​ทรัสต์​ได้ 2. อธิบาย​และ​วิเคราะห์​หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์​ได้ 3. อธิบาย​และ​วิเคราะห์​หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์​ใน​ระบบ​กฎหมาย​ไทย​ได้
  • 19. 4-19 เรื่อง​ที่ 4.2.1 ที่มา​และ​ความ​หมาย​ของ​ทรัสต์ สาระ​สังเขป 1. ที่มา​และ​ความ​หมาย​ของ​ทรัสต์ ทรัสต์(Trusts)คือกอง​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​มี​ผู้​ก่อ​ตั้ง(Settlor)ตั้ง​ขึ้น​โดย​เอกสาร​เป็น​หนังสือ​ซึ่ง​อาจ​จะ​เป็น​ พินัยกรรม​ก็ได้มี​ทรัส​ตี(Trustee)เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์​ตาม​กฎหมาย​และ​มีหน้า​ที่​จัดการ​กอง​ทรัพย์สิน​ให้​เป็น​ไป​ ตาม​วัตถุประสงค์​ของ​ทรัสต์เพื่อ​ให้​ผล​ประโยชน์​ซึ่ง​อาจ​จะ​รวม​ถึง​ตัว​ทรัพย์สิน​ที่​ใช้​จัด​ตั้ง​ตก​แก่​ผู้รับ​ประโยชน์ (Benificiary)ซึ่ง​เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์​นั้น​ตาม​จริงซึ่ง​เป็น​หลัก​กฎ​หมาย​เอ็คค​วิ​ตี้(Equity)ใน​ประเทศ​อังกฤษ​และ​ ประเทศ​คอม​มอน​ลอว์​อื่นโดย​แต่​เดิม​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้​ซึ่ง​คำนึง​ถึง​ความ​เป็น​ธรรม​นี้​แยก​ต่าง​หาก​จาก​คอม​มอน​ลอว์​ โดย​เกิด​ภาย​หลังค​อม​มอน​ลอว์ เป็น​หลัก​ที่​มี​ขึ้น​จาก​คำ​พิพากษา​ศาล​ชาน​เซอ​รี เพื่อ​แก้ไข​ข้อ​บกพร่อง​ของ ​คอม​มอน​ลอว์ต่อ​มา​ได้​รวม​กับ​กฎหมาย​คอม​มอน​ลอว์​จึง​เหลือ​เป็น​หลัก​กฎหมาย​ชนิด​หนึ่ง​ใน​ระบบ​กฎหมาย​ คอม​มอน​ลอว์ดัง​นั้นการ​จะ​เข้าใจ​เรื่อง​กฎหมาย​ทรัสต์​ต้อง​เข้าใจ​หลัก​พื้น​ฐาน​ของ​เรื่อง​เอ็คค​วิ​ตี้และ​พัฒนาการ​ ของ​หลัก​กฎหมาย​ดัง​กล่าว ซึ่ง​ได้​กล่าว​มา​แล้ว​ใน​ตอน​ที่ 4.1 ตัวอย่าง​ความ​สัมพันธ์​ตาม​หลัก​กฎหมาย​ทรัสต์ (Trusts) คือ ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​บุคคล​ผู้​ถือ​ กรรมสิทธิ์​ใน​ทรัพย์ คือ ทรัส​ตี (Trustee) เพื่อ​ประโยชน์​ของ​อีก​บุคคล​หนึ่ง คือ ผู้รับ​ประโยชน์ (Benificiary) ปกติ​เกิด​จาก​การ​ที่ก.เจ้าของ​เดิม​ผู้​ก่อ​ตั้ง​ทรัสต์(Settlor)โอน​ทรัพย์​ให้​แก่ข.(Trustee)เพื่อ​ถือ​ไว้​แทน​ทรัสต์​ ซึ่ง​เป็น​นิติบุคคล โดย​ให้ ข. จัดการ​ทรัพย์​นั้น และ ข. ก็​มี​อำนาจ​จัดการ​ได้​เพราะ ข. เป็น​ผู้​ถือ​กรรมสิทธิ์ แต่​ ทั้งนี้​ผล​ประโยชน์​จาก​การ​จัดการ​ทรัพย์​ไป​ตก​ได้แก่ ค. ผู้รับ​ประโยชน์ (Benificiary) ตาม​ประวัติ​แล้ว​ทรัสต์​พัฒนา​จาก​ความ​คิด​เรื่อง “ยูส” (use) (หรือ​นัก​วิชาการ​บาง​ท่าน​ใช้​คำ​ว่า “ยูส​เซส”(uses)10 เกิด​ใน​สมัย​กลาง​เมื่อ​บุคคล​โอน​ทรัพย์สิน​ชนิด​ใด​แก่​บุคคล​อีก​คน​หนึ่ง​โดย​มี​ความ​เข้าใจ​กัน​ ว่า​บุคคล​ผู้รับ​โอน​นั้น​จะ​ต้อง​ถือ​ทรัพย์​นั้น​ไว้​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ผู้​โอน หรือ​เพื่อ​บุคคล​ที่​สาม (cestui que use หรือ “ผู้รับ​ประโยชน์”) บุคคล​ที่​ได้​รับ​ความ​ไว้​วางใจ​ให้​ดูแล​ทรัพย์ (a feoffee to use หรือ “ทรัส​ตี”) อยู่​ใน​ สถานะ​ที่​ได้​รับ​ความ​ไว้​วางใจ ซึ่ง​อาจ​นำ​ไป​ใช้​โดย​ไม่​ชอบ​ได้​ง่าย ผล​ตาม​มา​ก็​คือ​สิทธิ​ต่างๆ ของ​ผู้รับ​ประโยชน์​ ต้อง​ได้​รับ​การ​คุ้มครอง ศาล​คอม​มอน​ลอว์​ธรรมดา​ทั้ง​หลาย​ไม่​รับ​รู้​เรื่อง​ผู้รับ​ประโยชน์​เช่น​นั้น จึง​ไม่​ได้​ทำ​ ประการ​ใด​เพื่อ​จัด​ให้​มี​การ​คุ้มครองใน​ระยะ​แรก​ศาล​ชาน​เซอ​รี​ได้​กระทำ​ตน​เป็น​ศาล​แห่ง​มโนธรรม​ได้​สอด​เข้า​ มา​เพื่อ​บังคับ​ให้​ทรัส​ตี​ต้อง​บริหาร​ทรัพย์สิน​ชิ้น​นั้น​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ผู้รับ​ประโยชน์​ตาม​ข้อ​กำหนด​ของ​การ​ให้ 10 เช่น​ที่​ใช้​ใน​ตำรา​ของ​ท่าน​อาจารย์​สุ​นัย มโนมัย​อุดม (สุ​นัย มโนมัย​อุดม ระบบ​กฎหมาย​อังกฤษ (English Legal System) พิมพ์​ครั้ง​ที่ 3 แก้ไข​เพิ่ม​เติม โครงการ​ตำรา​และ​เอกสาร​ประกอบ​การ​สอน คณะ​นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์ 2552 หน้า 87)
  • 20. 4-20 เมื่อ​เวลา​ผ่าน​ไป​นาน​เข้า มี​คำ​พิพากษา​ของ​ศาล​ชาน​เซอ​รี​สะสม​มากมาย​หลาย​ฉบับ ผู้รับ​ประโยชน์​ก็​เริ่ม​มี​ผล​ ประโยชน์​พิเศษ​ใน​ตัว​ทรัพย์​ที่​อาจ​ถูก​บังคับ​ให้​เป็น​ไป​ตาม​นั้น​โดย​ศาล​ชาน​เซอ​รี ผล​ประโยชน์​ที่​เป็น​ที่​รู้จัก​กัน​ ใน​นาม​ของ​ผล​ประโยชน์​ตาม​เอ็คค​วิ​ตี้ ใน​ที่สุด “ผู้รับ​ประโยชน์” ที่​เคย​เรียก​กัน​ว่า “cestui que use” ก็ได้​ รับ​การ​เรียก​เสีย​ใหม่​ว่า “cestui que trust” และ​คำ​ว่า “ผู้​ครอบ​ครอง​เพื่อ​การ​ใช้” หรือ “feoffee to use” ก็​ กลาย​เป็น “ทรัส​ตี” นิยาม​สมัย​ใหม่​ของ​ทรัสต์​เกิด​ขึ้น​และ​รวม​อยู่​ใน​ข้อ 2 (Article 2) ของ​อนุสัญญา​ว่า​ด้วย​การ​ยอมรับ​ ทรัสต์ (Hague Convention on the Recognition of Trusts)11 ซึ่ง​ได้​รับ​การ​ตรา​ไว้​ใน​พระ​ราช​บัญญัติ​การ​ ยอมรับ​ทรัสต์ 1987 (Recognition of Trusts Act 1987) ซึ่ง​มี​ความ​บัญญัติ​ว่า “คำ​ว่า ทรัสต์ หมาย​ถึง ความ​สัมพันธ์​ทาง​กฎหมาย​ที่​เกิด​ขึ้น​ใน​ระหว่าง​มี​ชีวิต หรือ​เมื่อ​ถึงแก่​กรรม​ โดย​บุคคล​ผู้​ก่อ​ตั้ง เมื่อ​กอง​ทรัพย์สิน​ได้​รับ​การ​มอบ​ให้​อยู่​ใต้​การ​ควบคุม​ของ​ทรัส​ตี​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ผู้รับ​ ประโยชน์ หรือ​เพื่อ​วัตถุประสงค์​ที่​ระบุ​ให้​เป็นการ​เฉพาะ​อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใด ทรัสต์​มี​ลักษณะ​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ (เอ) กอง​ทรัพย์สิน​ประกอบ​เป็นก​อง​ทุน​ต่าง​หาก และ​ไม่​ได้​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​ทรัพย์สิน​ของ​ตัว​ ทรัส​ตี​เอง (บี) กรรมสิทธิ์​ใน​กอง​ทรัพย์สิน​แห่ง​ทรัสต์​อยู่​ใน​นาม​ของ​ทรัส​ตีหรือ​ใน​นาม​บุคคล​อื่น​ที่ทำการ​แทน​ ทรัสตี (ซี) ทรัส​ตี​มี​อำนาจ​และ​หน้าที่​ใน​การ​จัดการใช้​หรือ​จำหน่าย​กอง​ทรัพย์สิน​ให้​เป็น​ไป​ตาม​ข้อ​กำหนด​ แห่ง​ทรัสต์ และ​หน้าที่​พิเศษ​ที่​เขา​มี​ตาม​กฎหมาย และ​ทรัส​ตี​ต้อง​รับ​ผิด​ชอบ​ตาม​อำนาจ​และ​หน้าที่​ข้าง​ต้น​ทั้ง​ หลาย​เหล่า​นั้น ข้อ​สงวน​ที่​ผู้​ก่อ​ตั้ง​กำหนด​เกี่ยว​กับ​สิทธิ​และ​อำนาจ​บาง​ประการ​และ​ความ​จริง​ที่​ว่า​ตัว​ทรัส​ตี​เอง​มี​ สิทธิ​ต่างๆ ใน​ฐานะ​ผู้รับ​ประโยชน์​ไม่​จำเป็น​ต้อง​ขัดแย้งกับ​การ​มี​อยู่​ของ​ทรัสต์” กล่าว​โดย​ทั่วไปทรัสต์​ทำให้​บุคคล​ได้​ประโยชน์​จาก​ตัว​ทรัพย์​เมื่อ​บุคคล​นั้น​ไม่​สามารถ​หรือ​ไม่​ประสงค์​ ที่​จะ​ถือ​กรรมสิทธิ์​ตาม​กฎหมาย​ด้วย​ตนเองไม่​ว่า​ด้วย​เหตุผล​ใด​ก็ตามกลุ่ม​หรือ​การ​รวม​ตัว​กัน​ของ​บุคคลเช่น สมาคม​ที่​ไม่​ได้​จด​ทะเบียน​นิติบุคคล อาจ​ได้​ประโยชน์​ใน​ตัว​ทรัพย์​ที่​ถือ​ไว้​ใน​ทรัสต์ (โดย​ทรัส​ตี) แม้​กฎหมาย​ จะ​ไม่​ยอมรับ​สถานภาพ​บุคคล​ตาม​กฎหมาย(ใน​สถานะ​ปัจเจก​ชน)ของ​กลุ่ม​บุคคล​นั้นหนึ่ง​ใน​ประเด็น​หลักๆ ใน​การ​เข้าใจ​เรื่องกฎหมาย​ทรัสต์ก็​คือการ​รับ​รู้​ถึง​ความ​สำคัญ​ที่​ว่ากรรมสิทธิ์​สอง​ลักษณะ(ตาม​กฎหมาย​และ​ ตาม​เอ็คค​วิ​ตี้)อาจ​แยก​กัน​ได้เมื่อ​เกิด​กรณี​เช่น​นี้ทรัสต์​ก็ได้​รับ​การ​สร้าง​ขึ้นกรรมสิทธิ์​ตาม​กฎหมาย​ได้​ไป​โดย​ ทรัส​ตี แต่​ผล​ประโยชน์​หรือ​กรรมสิทธิ์​ทาง​เอ็คค​วิ​ตี้ ได้​ไป​โดย​เจ้าของ​ตาม​หลัก​เอ็คค​วิ​ตี้ 11 ชื่อ​เต็ม​คือ “Convention on the law applicable to Trusts and on their Recognition” ตกลง​กัน​ใน​ปี ค.ศ. 1985 และ​มี​ผล​บังคับ​ใช้​ใน​ปี ค.ศ. 1992
  • 21. 4-21 2. ประเภท​ของ​ทรัสต์12 ทรัสต์ อาจ​แบ่ง​ออก​ตาม​ลักษณะ​ของ​การ​ก่อ​ตั้ง​หรือ​การ​จัดการ​ได้​เป็น​ประ​เภท​ใหญ่ๆ คือ 1. ทรัสต์​โดย​ชัด​แจ้ง (Express Trusts) 2. ทรัสต์​โดย​ลับ (Secret Trusts) 3. ทรัสต์​โดย​เป็น​ผล​ตาม​มา (Resulting Trusts) 4. ทรัสต์​ที่​เกิด​จาก​การ​ตีความ​แบบ​ขยาย​ความ (Constructive Trusts) 5. ทรัสต์​ตาม​ความ​มุ่ง​หมาย (Purpose Trusts) 6. ทรัสต์​เพื่อ​การ​กุศล (Charitable Trusts) (โปรด​อ่าน​เนื้อหา​สาระ​โดย​ละเอียด​ใน English Law, “Chapter 10 : The Law of Equity and Trusts” , by Garry Slapper and David Kelly) กิจกรรม 4.2.1 แนว​ความ​คิด​เรื่อง “ทรัสต์” พัฒนา​มา​จาก​ความ​คิด​เรื่อง​ใด บันทึก​คำ​ตอบ​กิจกรรม 4.2.1 (โปรด​ตรวจ​คำ​ตอบ​จาก​แนว​ตอบ​ใน​แนว​การ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 4 ตอน​ที่ 4.2 กิจกรรม 4.2.1) 12 การ​แบ่ง​ประเภท​ของ​ทรัสต์​ใน​ลักษณะ​อื่นๆ ศึกษา​ได้​ใน บัญญัติ สุ​ชีวะ “ทรัสต์” บทความ​ออนไลน์​จาก http://www. panyathai.or.th