SlideShare a Scribd company logo
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 1
Service Profile
อาคารเย็นศิระ วัดโคกนาว (อรรถกระวีสุนทร)
1. บริบท1 (context)
ก. ความมุ่งหมาย (Purpose)
หลังจากโรงพยาบาลเปิดบริการเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2525 ผู้ป่วยและญาติที่มีฐานะยากจนและ
อยู่ห่างไกลโรงพยาบาล เมื่อเจ็บป่วยได้ขอเข้าพักอาศัยค้างคืนที่วัดโคกนาว (เดิมเป็นสานักสงฆ์) ตั้งอยู่
ตรงข้ามกับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ วันละหลาย ๆ คนซึ่งเป็นภาระกับทางวัดเป็นอย่างมาก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้หารือกับสโมสรโรตารี่หาดใหญ่ และสมาคม
ธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมเดินสุขภาพและการกุศล เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2525 ได้รับเงิน 128,104 บาท
ในขณะที่การก่อสร้างได้ออกแบบและประมาณการราคาก่อสร้างไว้ 300,000 บาท คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สโมสรโรตารี่หาดใหญ่ รวมทั้งคณะกรรมการวัดโคกนาว ได้ช่วยกันจัดหา
วัสดุก่อสร้างเพิ่มเติม จนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2526 และได้ทา
พิธีมอบอาคารให้วัดโคกนาว เพื่อเป็นที่พักผู้ป่วยชั่วคราว จานวน 1 หลัง รองรับผู้ป่วยและญาติได้
48 ราย/วัน โดยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2526 แบ่งครึ่งชายและหญิง ต่อมาจานวน
ผู้ป่วยและญาติเพิ่มมากขึ้น จนอาคารไม่สามารถรองรับได้ ภายหลังความทราบถึงพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในคราวเสด็จพระราชดาเนินทรงเปิดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529
ได้พระราชทานราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างอาคารที่พัก จานวน 300,000
บาท ให้แก่ผู้อานวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (รศ.นพ.อุดม ชมชาญ) เพื่อก่อสร้างอาคารที่พัก
ผู้ป่วยเพิ่มเติม ผู้อานวยการโรงพยาบาลฯ ได้รายงานในที่ประชุมคณะกรรมการประจาคณะฯ และ
เสนออธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอานวยการก่อสร้างอาคารที่พักผู้ป่วยและญาติ
ประกอบด้วยบุคคลจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น เทศบาลหาดใหญ่ (ปัจจุบันเทศบาลนคร
หาดใหญ่) สโมสรโรตารี่หาดใหญ่ สโมสรไลออนส์หาดใหญ่ ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 3 กรรมการ
สานักสงฆ์วัดโคกนาว กรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ และบริษัทหาดทิพย์ จากัด (มหาชน) ร่วมกัน
ระดมทุนก่อสร้างอาคารที่พัก เพิ่มอีก 1 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น สามารถรับ
ผู้ป่วยและญาติได้ เฉลี่ย 250 คน/วัน วันที่ 9 มกราคม 2531 การก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ
คณะกรรมการมีมติใช้ชื่อว่า “อาคารเย็นศิระ” เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นการแสดงออกถึงความสานึก
1
การทาความเข้าใจลักษณะเฉพาะของหน่วยงานเอง อาจจะเป็นลักษณะภายในหรือสิ่งแวดล้อมของการทางานก็ได้ หัวข้อที่กาหนดให้ไว้เป็น
แนวทางในการพิจารณา ทั้งนี้การพิจารณาว่าลักษณะหรือปัจจัยใดที่จะมีความสาคัญ ควรมุ่งเน้นพิจารณาว่าอะไรที่มีความสาคัญต่อการออกแบบ
วิธีการทางาน การวางแผน การตัดสินใจ
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 2
ในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชสักการะเฉลิมพระเกียรติ ในศุภวาระที่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา
จากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ทาให้
มหาวิทยาลัยฯ สามารถรวบรวมเงินบริจาคได้ เป็นเงิน 2,781,553.40 บาท รวมค่าใช้จ่ายในการ
ก่อสร้าง 1,785,655 บาท ยอดคงเหลือ 995,888.40 คณะกรรมการมีมติจัดตั้ง “กองทุนเย็นศิระ” เพื่อ
ใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร วันพุธที่ 28 กันยายน 2531 เวลา 10.00 น. สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคาร
เย็นศิระ เพื่อใช้เป็นที่พักผู้ป่วยและญาติตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วันที่ 11 ตุลาคม 2549 เจ้าอาวาส
วัดโคกนาว (ท่านพระครูปลัดลิ่ง ฐตปุญโญ (อินสุวรรณโณ) ได้ทาหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรมอบการ
บริหารจัดการให้กับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เนื่องจากผู้เข้าพักอาศัยเจ็บป่วยด้วยโรคที่มีความยาก
และซับซ้อนตามภาระกิจของโรงพยาบาล การดูแลผู้ป่วยและญาติและการอานวยความสะดวกขยาย
เพิ่มมากขึ้น ต่อมาจานวนผู้เข้าพักเพิ่มมากขึ้น และอาคารชารุด ปี พ.ศ. 2552 คณบดีคณะ
แพทยศาสตร์ ผู้อานวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และทีมงานสิทธิประโยชน์ผู้ป่วย ได้เสนอขอ
งบประมาณของจังหวัดสงขลา เป็นงบประมาณแผ่นดิน ได้รับสนับสนุนเป็นเงิน 20,000 ,000 บาท
จัดสร้างอาคารเย็นศิระ 2 จานวน 4 ชั้น และปรับปรุงหลังเก่าให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น
วันที่ 26 เมษายน 2555 เจ้าอาวาสวัดโคกนาวอรรถกระวีสุนทร ท่านพระครูปลัดลิ่ง ฐิตปุญโญ (อิน
สุวรรณโณ) ร่วมกับสานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสงขลา ได้จัดทาหนังสือเป็นลายอักษรแสดงการ
อนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่วัดอันเป็นที่ตั้งอาคารเย็นศิระและบริเวณโดยรอบ ความกว้าง 15 เมตร
ความยาว 60 เมตร รวมพื้นที่ 900 ตารางเมตร วันที่ 28 มิถุนายน 2553 เปิดให้บริการอาคาร
เย็นศิระ 2 สามารถรองรับผู้ป่วยและญาติที่มีความยากลาบาก ห่างไกลโรงพยาบาล ได้พักอาศัยยาม
เจ็บป่วยจานวนมากได้ ปัจจุบัน อาคารเย็นศิระ มีอาคาร 2 หลัง อาคารเย็นศิระ 1 อาคาร 3
ชั้น มีชั้นลอย สามารถรอรับผู้ป่วยและญาติ 200 – 250 ราย/วัน และอาคารเย็นศิระ 2 อาคาร 4 ชั้น
สามารถรองรับผู้ป่วยและญาติ 200 – 250 ราย/วัน รวม 500 คน/วัน
ผู้เข้าพักอาศัยส่วนใหญ่เป็นผู้ยากไร้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง หรือโรคเรื้อรัง มีทั้งชาวไทย-พุทธ
ชาวไทย-มุสลิม ที่มีภูมิลาเนาห่างไกลโรงพยาบาลเดินทางมาจาก 14 จังหวัดภาคใต้ และภูมิภาคอื่น ๆ
ทั่วประเทศ ทั้งที่มารับการฉายแสง รับยาเคมีบาบัด ใส่แร่ มารับการผ่าตัด มาพบแพทย์ตามนัด ฯลฯ
อาคารเย็นศิระไม่เพียงแต่เป็นที่พักพิงเพื่อมุ่งที่จะให้ผู้ป่วยได้รักษาโรคเท่านั้น แต่ยังได้ดาเนิน
กิจกรรมที่กว้างขวางออกไปมากกว่าตัวผู้ป่วย กล่าวคือ ทุกภาคส่วนจะเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะ
องค์รวม ในส่วนของผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าของชีวิต อยากมีชีวิตที่ยืนยาว สามารถดูแลตนเอง
และผู้อื่น เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คาแนะนา ให้กาลังใจซึ่งกันและกัน และเอื้ออาทรต่อกันฉันท์กัลยาณมิตร ใน
ส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ อาคารเย็นศิระ เป็นแหล่งของการศึกษา การเรียนรู้ของแพทย์ นักศึกษา
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 3
แพทย์ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ให้เข้าใจมิติของจิตวิญญาณของผู้ป่วยและญาติ อันได้แก่ เรื่องของ
ความเชื่อ ความศรัทธา สิ่งที่ผู้ป่วยให้ความสาคัญ ให้คุณค่า อันจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากโรค
และช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาว ทั้งยังเป็นที่ปลูกฝัง หล่อหลอม บ่มเพาะ ฝึกปฏิบัติให้กับนักเรียน นักศึกษา
คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และใกล้เคียง ให้รู้จักการให้ การมีน้าใจ ความเอื้ออาทร
รู้สึกถึงความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ อันเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีน้าใจ มีจิตสาธารณะ มีความเห็นอก
เห็นใจ และคานึงถึงศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์
อาคารเย็นศิระ ซึ่งมีสถานที่ตั้งภายในบริเวณวัดโคกนาว อรรถกระวีสุนทร อันเป็นวัดในบวร
พุทธศาสนา โดยได้รับการอนุเคราะห์และการสนับสนุนจากเจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะภาค
ให้ใช้พื้นที่ นับเป็นเมตตาธรรมของฝ่ายพระศาสนา ที่เผื่อแผ่ไปยังผู้ทุกข์ยาก ไม่ว่าจะนับถือศาสนาหรือ
มีความเชื่อในลัทธินิภายใด นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสมานฉันท์และภราดรภาพของ
ประชาชนคนไทย
วิสัยทัศน์ (Vision)
อาคารแห่งการให้
พันธกิจ (Mission)
1. ให้บริการจัดที่พักอาศัยสาหรับผู้ป่วยและญาติ
2. ให้บริการด้านสวัสดิการทางสังคมตามสภาพที่ผู้ป่วยและครอบครัวเผชิญขณะเจ็บป่วย
3. สร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรในสังคม
4. เป็นแหล่งศึกษา บ่มเพาะ และหล่อหลอม มิติของจิตวิญญาณ
เป้าหมาย (Goal)
ประชาชนที่อยู่ห่างไกลได้เข้าพักอาศัย และเป็นต้นแบบของการอยู่ร่วมกันของชาว
ไทยพุทธ และไทยมุสลิม
ข. ขอบเขตบริการ (Scope of service)
ให้บริการผู้เข้าพักอาศัยทั้งผู้ป่วยและญาติที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง โรคเรื้อรัง ทั้งชาวไทย
พุทธ ไทยมุสลิม และศาสนาอื่น ๆ โดยให้บริการตามมาตรฐานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
ค. ผู้รับผลงานและความต้องการที่สาคัญ (จาแนกตามกลุ่มผู้รับผลงาน)
ผู้รับผลงาน ความต้องการที่สาคัญ
ลูกค้าภายนอก
1. ผู้ป่วย
2. ญาติผู้ป่วย
3. นักเรียน
1. ผู้ป่วยและญาติมีที่พักพิงขณะมารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล
สงขลานครินทร์ ได้รับการดูแลด้านบริบาลทางการพยาบาล และ
ได้รับสวัสดิการทางสังคมตามความจาเป็นในการดารงชีวิตประจาวัน
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 4
4. นักศึกษา
5. บุคลากรสาธารณสุข
6. เครือข่าย
2. นักเรียน นักศึกษา บุคลากรสาธารณสุข ได้เรียนรู้มิติของจิตวิญญาณ
การฝึกปฏิบัติจิตอาสา
3. เครือข่ายได้ทาเชิงร่วมกันเชิงบูรณาการ
ลูกค้าภายใน
1. แพทย์
2. พยาบาล
3. ผู้บริหารโรงพยาบาล
1. ได้เรียนรู้มิติจิตวิญญาณของผู้ป่วย
2. สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้กับองค์กร
ง. ความต้องการในการประสานงานภายในที่สาคัญ
การประสานงาน ความต้องการที่สาคัญ
ภายในหน่วยงาน 1. มีการสื่อสาร ทาความเข้าใจ ทีมงานภายในหน่วยงาน ทั้งที่ปฏิบัติงาน
ณ อาคารเย็นศิระ และให้บริการผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลสงขลา
นครินทร์ และต้องให้บริการผู้ป่วยสอดคล้องกัน ร่วมแก้สภาพปัญหาที่
ผู้ป่วยเผชิญในทิศทางเดียวกัน
ระหว่างหน่วยงาน 2. มีสื่อสารทาความเข้าใจกับทีมรักษา บุคลากรสังกัดหน่วยบริการ
ภายในโรงพยาบาลฯ ทั้งกรณีเจ็บป่วยเจ็บป่วยเมื่อต้องมารับบริการที่
ห้องตรวจฉุกเฉิน รับริการ OPD และ IPD
เครือข่าย 3. การสื่อสารประสาน และเชื่อมโยงงานกับเครือข่ายกรณีส่งผู้ป่วยและ
ญาติมาเข้าพักอาศัย การติดตามกรณีขาดนัด (ฉายแสง / ฝังแร่ / รับ
ยาเคมีบาบัด / พบแพทย์ตามนัด)
4. มีการสื่อสารประสานงานและเตรียมความพร้อมก่อนส่งกลับภูมิลาเนา
จ. ลักษณะสาคัญของงานบริการและปริมาณงาน
1. ลักษณะสาคัญของงานบริการตามกลุ่มผู้รับผลงาน
1.1 ระบบงานบริการผู้ป่วย
ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ
1. การลงทะเบียนเข้าพัก - สัมภาษณ์ พูดคุย เพื่อคัดกรองผู้ป่วยและญาติ
ประเมินความเดือดร้อน อาการเจ็บป่วยแรกรับ
เตรียมจัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้คาแนะนาการปฏิบัติ
ตนขณะเข้าพัก โดยมอบหมายเจ้าหน้าที่หมุนเวียน
ให้บริการ
- จัดเก็บค่าที่พัก 5 บาท/คน/คืน
- อนุญาตให้เข้าพักได้ ผู้ป่วย 1 คน : ญาติ 1 คน
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 5
ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ
2. ระบบการดูแลการเจ็บป่วย
และการบริบาลพยาบาล
- บริการห้องพยาบาล เพื่อให้บริการการปฐม
พยาบาล ทาแผลจากโรคมะเร็ง และโรคเรื้อรัง
พร้อมกับการบริการทางการพยาบาลตามอาการ
เจ็บป่วย
- จัดรถพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
3. จัดระบบความปลอดภัย - จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
- จัดระบบวงจรปิด
4. จัดสาธารณูปโภค - จัดระบบโทรศัพท์ โทรสาร ระบบไฟฟ้า (แยกมิเตอร์
ไฟฟ้าออกจากวัด) ระบบประปา (เพิ่มถังเก็บน้า
สารอง) ระบบความปลอดภัย (ติดตั้งระบบวงจรปิด
และจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย) ระบบเครื่อง
เสียง (เพื่อใช้สื่อสารกับผู้เข้าพักอาศัยประจาวัน)
ระบบตู้แช่ (เพื่อแช่อาหารเหลว อาหารแช่แข็ง)
ระบบหุงต้ม (จัดให้มีอุปกรณ์หุงต้มและเครื่องครัว
เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้ปรุงอาหารตามความวิถี
ชีวิตของชาวบ้านและเหมาะสมกับโรคที่เจ็บป่วย)
ระบบซักล้าง (มีเครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เพื่อฆ่า
เชื้อโรค) ระบบการฆ่าเชื้อ (จัดให้มีห้องปลอดเชื้อ
ใช้แสงยูวีในการฆ่าเชื้อโรค) เป็นต้น
- ปรับปรุงซ่อมแซมโดย บุคลากรประจาอาคารเย็น
ศิระ /ผู้เข้าพักอาศัย / งานวิศวกรรมซ่อมบารุง /
จัดจ้างภายนอก
5. จัดสิ่งแวดล้อม - จัดสิ่งแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับวิถีชีวิตของชาวบ้านให้
มากที่สุด สนับสนุนให้ผู้เข้าพักอาศัยร่วมออกแบบ
วิถีชีวิตด้วยตนเอง ตามแนวคิด ศ.นพ.ธาดา ยิบ
อินซอย “จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยและ
ญาติสามารถดูแลตนเองได้เป็นเสมือนบ้านอีกหลัง
หนึ่ง” เพื่อไปสู่ชุมชนอาคารเย็นศิระ
- ขอความร่วมมือ งานอาคารสถานที่ คณ ะ
แพทยศาสตร์ / เทศบาลนครหาดใหญ่ ฯลฯ
6. เครื่องอุปโภค และบริโภค - จัดบริการเครื่องอุปโภค – บริโภค และอุปกรณ์
เครื่องนอน (สิ่งของเครื่องใช้ประจาวัน หมอน ผ้า
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 6
ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ
ห่ม เสื่อ ฯลฯ)
7. อาหารและอาหารผสมทาง
สายยาง
- จัดบริการอาหาร (ผสมอาหารทางสายยาง /
บริการข้าวสวย 2 มื้อ/วัน อาหารบิณฑบาตจากวัด
ใกล้เคียง และคูปองอาหารเพื่อจัดซื้ออาหารที่
ร้านอาหารของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 40
บาท/2 มื้อ)
- ฝึกปฏิบัติการผสมอาหารให้กับผู้ป่วยและญาติ
8. บริการรถตุ๊ก ๆ - รับส่งผู้ป่วยที่สภาพร่างกายอ่อนเพลีย ผู้สูงอายุ ผู้
ที่มีแผลจากโรคมะเร็ง วันละ 3 – 4 เที่ยว (ไป –
กลับ)
9. โครงการส่งเสริมอาชีพ - จัดโครงการสงเสริมอาชีพแก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้
ผู้เข้าพักอาศัยมีรายได้ในการดารงชีวิตประจาวัน
ขณะมารับการรักษาพยาบาลหรือมาเฝ้าดูแลผู้ป่วย
ทั้งภายในโรงพยาบาลและอาคารเย็นศิระ
10. โครงการฌาปนกิจ
สงเคราะห์
- เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สาหรับผู้ยากไร้
และไร้ญาติ เมื่อถึงแก่กรรมอย่างสงบตามความเชื่อ
และศรัทธาครอบคลุมทุกศาสนา และเป็นการ
บูรณาการร่วมกับเครือข่ายทางสังคมในการร่วม
กิจกรรม
11. สวัสดิการทางสังคม - ให้บริการช่วยเหลือสวัสดิการสังคมตามสภาพปัญหา
ที่ผู้ป่วยเผชิญขณะเจ็บป่วย เช่น การจัดหาที่พัก
อาศัยและสถานสงเคราะห์หลังแพทย์สิ้นสุดการ
รักษาพยาบาล ช่วยเหลือค่าพาหนะ ค่าครองชีพ
ทุนประกอบอาชีพ ส่งกลับภูมิลาเนา หรือ
โรงพยาบาลใกล้บ้าน จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์
หมุนเวียน ฯลฯ
12. จัจัดกิจกรรม - จัดกิจกรรมตามประเพณีท้องถิ่น วันสาคัญ เพื่อให้
เกิดความรัก สามัคคี ความเห็นอกเห็นใจ เอื้อ
อาทรซึ่งกันและกัน วันพ่อ วันแม่ วันสงกรานต์
วันปีใหม่ ฯลฯ
13. จัดระบบการเรียนการสอน
การศึกษาดูงาน และจิต
เป็นแหล่งสนับสนุน การเรียนการสอน การศึกษาดูงาน
และการวิจัย สาหรับนักเรียน นักศึกษา และบุคลากร
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 7
ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ
อาสา สาธารณสุข ทั้งภายในและต่างประเทศ
1) นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 5 รายวิชาภาคบังคับ
Palliative Care
2) นักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ ม.สงขลา
นครินทร์ ชั้นปีที่ 1/ ปี 2
3) นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรศิลปะศาสตร์
บัณฑิต สาขาวิชาภาษาและภาษาไทยประยุกต์
ชั้นปีที่ 2 รายวิชา 880-101
4) นั ก ศึ ก ษ าภ าค วิช าวิศ วก รรม เค มี ค ณ ะ
วิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรรายวิชา 231-001
5) นักศึกษา กลุ่มงานวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะ
พยาบาลศาสตร์ หลักสูตร พยาบาลมหาบัณฑิต
สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตภาคพิเศษ
ชั้นปีที่ 2
6) นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ รายวิชา 315 -101
กิจกรรมเสริมหลักสูตร 1 โครงการกะลาบาบัด
7) นักศึกษากลุ่มงานวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะ
พยาบาลศาสตร์ โครงการบ้านแห่งความสุขผ่านวิถี
5 ส หลักสูตรรายวิชา 642-514 ระบบสุขภาพ
ภาวะผู้นา และการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการ
พยาบาล
8) นักศึกษาปริญญาโท ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาการ
จัดการหลักสูตรวิชา 460-511 จริยธรรมทางธุรกิจ
และความรับผิดชอบต่อสังคม
9) นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการโครงการ We can
you can พวกเราทาได้คุณก็ทาได้ ภายใต้โครงการ
The New Day Project สานฝันเพื่อวันใหม่
10) นักเรียนทุนมูลนิธิพลเอกเปรม ติณลสูลานนท์
ม.ราชภัฏสงขลา โครงการบ่มเพาะคนดี
11) นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ รายวิชากิจกรรม
เสริมหลักสูตร ชั้นปีที่ 1 โครงการร่วมสานใจ
โครงการสร้างสุข จิตอาสา พัฒนาอาคารเย็นศิระ
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 8
ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ
โครงการสุขอนามัยที่ดี เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน
12) นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ รายวิชา 460 –
400 กิจกรรมเสริมหลักสูตร 1 (Co – Curricular
Activities I)
13) นักศึกษาคณะแพทย์แผนไทย รายวิชา 190 –
404 ธรรมชาติบาบัด จัดโครงการ SKT สมาธิ
บาบัด ทางเลือกใหม่ ห่างไกลโรค
14) ฯลฯ
1.2 การเงิน (Money)
1.2.1 แหล่งเงินทุนสนับสนุน
ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ
1. กองทุนอาคารเย็นศิระ - เป็นการรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา
- เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร
2. มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลา
นครินทร์
- สนับสนุนค่าใช้จ่ายสาหรับช่วยเหลือผู้ป่วย
- สนับสนุนกิจกรรมสังคมและบาเพ็ญประโยชน์
- ฯลฯ
1.2.2 ระบบค่าใช้จ่าย
ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ
1. หลักเกณฑ์การช่วยเหลือ - ให้บริการตามหลักเกณฑ์นโยบายโรงพยาบาลและ
ตามมาตรฐานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
- เสนอขออนุมัติผ่านผู้อานวยการโรงพาบาลสงขลา
นครินทร์
- การเบิกจ่ายตามระเบียบคณะแพทยศาสตร์
ฉ. ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues)
ลาดับที่ Key Customer ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues)
1. ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับการ
ฉายแสง ฝังแร่ รับยาเคมี
บาบัด พบแพทย์ตามนัด
- การพักอาศัยให้ผู้ป่วยตามโซนพื้นที่ที่เหมาะสมกับ
อาการเจ็บป่วย
- การจัดรถพยาบาลรับส่งกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินได้
ทันเวลา
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 9
ลาดับที่ Key Customer ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues)
- การจัดรถตุ๊ก ๆ กรณีต้องเดินทางมาฉายแสง ฝังแร่
รับยาเคมีบาบัด และพบแพทย์ตามนัดกรณีสภาพ
ร่างกายอ่อนเพลีย ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ฯลฯ ตาม
กาหนดเวลานัดของแพทย์
- จัดระบบ Morning round เพื่อดูแลผู้ป่วย
2. ผู้ป่วยรอผ่าตัด / รอเตียง
ว่างของโรงพยาบาล
- เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วย และได้รับการดูแลทันทีเมื่อ
เกิดกรณีฉุกเฉิน
3. กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย - ให้การดูแลครอบคลุม 4 มิติ ด้านร่างกาย จิตใจ
สังคม และจิตวิญญาณ
1) ด้านร่างกาย แพทย์ นักศึกษาแพทย์ บุคลากร
ทางการแพทย์ ให้การรักษาพยาบาลทั้งใน
โรงพยาบาล และการติดตามดูแลต่อเนื่องเมื่อ
ผู้ป่วยต้องรักษาและเข้าพัก ณ อาคารเย็นศิระ
กรณีเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินจัดทีมแพทย์/พยาบาล
ประจาห้องฉุกเฉิน หรือศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน
หรือมูลนิธิเอกชน ให้บริการรักษาพยาบาลหรือ
รับ-ส่งผู้ป่วยไปยังห้องตรวจฉุกเฉิน ทาให้ผู้ป่วย
ได้รับการรักษาทันท่วงทีตามอาการเจ็บป่วย
และได้จัดห้องพยาบาล ณ อาคารเย็นศิระเพื่อ
ดูแลทางการบริบาลพยาบาล เช่น ทาความ
สะอาดแผลจากโรคมะเร็งหรือโรคเรื้อรัง การจัด
ยาสามัญประจาบ้าน การพลิกตัวลดภาวะแผล
กดทับ ฯลฯ รวมทั้งการดูแลสภาพร่างกายของ
ผู้ป่วยหลังการฉายแสง รับยาเคมีบาบัด หรือพบ
แพทย์ตามนัด เช่น อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องเสีย
ฯลฯ โดยดูแลเสมือนญาติ ทาให้คนไข้เกิด
ความไว้วางใจ พูดคุยในสิ่งที่ทุกข์ใจ ส่งผลให้
มองหาและให้การดูแลตามมิติของจิตวิญญาณได้
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 10
ลาดับที่ Key Customer ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues)
ง่าย
2) ด้านจิตใจ มีทีมสหวิชาชีพ ทั้งแพทย์ นักศึกษา
แพทย์ พยาบาล (อาสาสมัคร) พนักงานช่วยการ
พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัครมูลนิธิ
พุทธฉือจี้ จิตอาสา ฯลฯ ร่วมให้กาลังใจหรือ
เพิ่มพลังในขณะที่พบว่าผู้ป่วยเกิดความท้อแท้
หมดหวัง จากโรคร้าย ผ่านการจัดกิจกรรม เช่น
การพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นั่งสมาธิ มินิทัวร์
ชมรมพลังกายทิพย์เพื่อสุขภาพ ให้ผู้ป่วยได้ผ่อน
คลาย รวมทั้งเครือข่ายในชุมชนช่วยติดตามผู้
ใกล้ชิดหรือผู้ที่ผู้ป่วยต้องการพบในวาระสุดท้าย
ส่งผลต่อยอดของการเกิดกัลยาณมิตรในชุมชน
3) ด้านสังคม เป็นการทางานร่วมกันของทีมสห
วิชาชีพ เครือข่าย องค์กรการกุศลต่าง ๆ ที่มีใน
พื้นที่และนอกพื้นที่ ทั้งบริษัท ห้างร้าน สโมสร
สมาคม มูลนิธิ และผู้มีจิตศรัทธา เนื่องจากใน
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เร่ร่อน ไม่มีญาติ ไม่มีที่อยู่
อาศัย ญาติไม่ยอมรับ เข้าพักอาศัยจานวนเพิ่ม
มากขึ้น ต้องทางานประสานกันแบบบูรณาการ
เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปอยู่ในสังคมได้อย่างมี
คุณภาพชีวิตที่ดี เช่น จัดบริการเครื่องอุปโภค
บริโภค อาหารเหลว จัดบริการอาหาร ช่วยเหลือ
ค่าพาหนะ ค่าครองชีพ ทุนประกอบอาชีพ มี
ผู้ป่วยหรือญาติหลายรายที่ร่างกายพอจะทางาน
ได้ โรงพยาบาลฯ จัดให้มี “โครงการส่งเสริม
อาชีพและรายได้แก่ผู้ป่วยและญาติ” โดยให้
ทางานทั้งในโรงพยาบาล เช่น พับผ้า รับส่ง
เอกสาร ฯลฯ หรือทางานที่อาคารเย็นศิระตาม
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 11
ลาดับที่ Key Customer ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues)
ความถนัด ทาสี ทาความสะอาด พาผู้ป่วยมาพบ
แพทย์ตามนัด ฯลฯ และบางรายเมื่อแพทย์
สิ้นสุดการรักษาพยาบาล มูลนิธิโรงพยาบาล
สงขลานครินทร์ สนับสนุนเงินเพื่อประกอบ
อาชีพ พอมีรายได้เลี้ยงลูกและครอบครัว หลาย
รายกลับ มาเป็ น พี่ เลี้ยงห รือถ่ายท อด
ประสบการณ์ให้กับผู้ป่วยรายใหม่ เป็น
อาสาสมัคร มีโอกาสได้ศึกษาต่อและกลับมา
ทางานดูแลผู้ป่วย ณ อาคารเย็นศิระ และจัด
โครงการรับเบี้ยยังชีพคนพิการ เมื่อผู้ป่วยเกิด
ความพิการจากการเจ็บป่วย มูลนิธิโรงพยาบาล
ฯ ให้การช่วยเหลือเบี้ยยังชีพเพื่อให้ผู้ป่วยและ
ครอบครัวได้ปรับตัว และประสานกับ
เครือข่ายเพื่อเตรียมผู้ป่วยกลับชุมชน เกิด
กัลยาณมิตรมากมาย ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่
ในการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน
4) ด้านจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่ท้าทายทีมงาน
เริ่มต้นด้วยการเตรียมความพร้อมของทีม โดย
ให้ทุกคนเข้าใจมิติของจิตวิญญาณ : ความเชื่อ
ความศรัทธา ความต้องการที่แท้จริง ความ
สวยงาม สิ่งที่คนไข้ให้ความสาคัญ ให้คุณค่า
เป้าหมายชีวิต หรือพลังที่ทาให้คนไข้อยากมีชีวิต
ยืนยาว หลังจากนั้นเป็นการ สร้างความสัมพันธ์
โดยการดูแลผู้ป่วยเสมือนญาติ ยิ้ม ทักทาย
แ น ะ น า ตั ว เ อ ง ช่ ว ย ป้ อ น ข้ า ว
ป้อนอาหาร เช็ดตัว พาไปพบแพทย์ พูดคุยในสิ่ง
ที่คนไข้สบายใจ เยี่ยมให้กาลังใจเป็นระยะ จน
เกิดความไว้วางใจ หลังจากคนไข้ยอมรับหรือ
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 12
ลาดับที่ Key Customer ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues)
พวกเราเรียกว่า “เปิดประตูใจ” เรา มองหามิติ
ของจิตวิญญาณ โดยสังเกตจากพฤติกรรม หรือ
คาพูดของคนไข้ เมื่อสังเกตเห็นคนไข้ไว้วางใจ
ค่อย ๆ พูดคุยในสิ่งหรือลักษณะที่เกิดประโยชน์
ต่อคนไข้ เช่น “หากยายได้เอาผ้าเช็ดหน้า
ผืนที่ลูกชายถือขณะบวชแห่นาคเวียนโบสถ์
มาแนบอกขณะจะสิ้นลมหายใจ ยายเชื่อว่า
ยายจะได้พบกับลูกชายของยายอีกในภพ
หน้า” / “หากลุงได้พบกับลูกชายก่อนลุงจาก
ไป เหมือนลุงได้ขึ้นสวรรค์” เป็นต้น
ช. ความท้าทาย ความเสี่ยงสาคัญ (จุดเน้นในการพัฒนา)
1. บริหารจัดการที่พักให้เพียงพอสาหรับผู้ป่วยและญาติที่เดินทางมาจากภูมิลาเนาห่างไกล
2. การประสานงานการจัดหาที่พักอาศัยให้ผู้ป่วยและญาติ กรณีที่พักที่อาคารเย็นศิระเต็ม
3. ผู้ป่วยได้รับการดูแลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ทันท่วงที
ซ. ศักยภาพและข้อจากัดในด้านผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือ และเทคโนโลยี
1. จัดระบบการลงทะเบียนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ สามารถสืบค้นผู้เข้าพักอาศัยได้ทันที
2. การสืบค้นและยืนยันผู้ป่วยไม่สามารถตรวจสอบได้ ต้องประสานงานมายังโรงพยาบาลในขณะ
ลงทะเบียน
ฌ. ประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
1. ผู้ป่วยและญาติ
1.1. จัดกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่เพื่อให้ผู้ป่วยมีความผ่อนคลาย
1.2. จัดโครงการด้านมิติจิตวิญญาณ “เจ็บไข้ ได้พึ่งพิงอิงวิถีชุมชน ณ อาคารเย็นศิระ”
2. บุคลากร
2.1. สนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานเข้ารับการตรวจวัดสมรรถภาพ (One mile walk test)
ประจาปี ตามที่คณะแพทยศาสตร์กาหนด และตามที่ภาครัฐจัดให้ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกัน
ไข้หวัดนก / ไข้หวัด 2010
2.2. ส่งเสริมสุขภาพตามความต้องการและถนัดของแต่ละบุคคล
2.2.1. กิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เดิน-วิ่ง หลังเลิกงาน เต้นแอโรบิก ต ฯลฯ
2.2.2. กิจกรรมเกี่ยวกับงาน/ครอบครัว เช่น ส่งเสริมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
ทาบุญตักบาตร ไหว้พระ สวดมนต์ ฯลฯ
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 13
2.2.3. Health Living Programs เช่น การจัดการความเครียดโดยการนั่งสมาธิ สุนทรีย
สนทนา ธรรมชาติบาบัด ฯลฯ
2.2.4. กิจกรรมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในที่ทางาน เช่น การทาความสะอาดในสถานที่ทางาน
ส่งเสริมบุคากรแต่งเครื่องแบบยูนิฟอร์ม หรือเสื้อทีม
2.2.5. กิจกรรมสุขภาพอื่น ๆ และทันตอนามัย เช่น การนวด แปรงฟันหลังรับประทาน
อาหารเที่ยง เล่นดนตรี ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสผู้ป่วยและก่อนรับประทานอาหาร
2. วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด การพัฒนา2
กระบวนการสาคัญKey Processes, Process Requirement, Performance Indicator
ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ
ความเสี่ยง ความท้าทาย
ที่สาคัญ (มาจาก บริบท)
เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและผลลัพธ์
(Link)
กิจกรรมการพัฒนา
การเข้าถึงบริการ ผู้ป่วยและญาติได้เข้าพัก
อาศัย ณ อาคารเย็นศิระ
อัตราการเข้าพัก
>80%
*วัดกระบวนการ
ทบทวนกระบวนการ
กลั่นกรองนโยบายการเข้าพัก
จัดทาแบบประเมินการ
ติดตามการให้บริการ
(วัดความครอบคลุม)
การเจ็บป่วยกรณี
ฉุกเฉิน
ผู้ป่วยได้รับการ
รักษาพยาบาลเบื้องต้น
และส่งห้องตรวจฉุกเฉิน
อัตราการส่งผู้ป่วย
ถึงห้องฉุกเฉิน
100%
ทวนนโยบายการประสาน
การจัดรถพยาบาล
3. ตัวชี้วัดผลการดาเนินงานที่สาคัญ (Key Performance Indicator)3 ในรอบปี 2560
1) อัตราการเข้าพักของผู้ป่วยและญาติ >80%
เป้าหมาย: ผู้ป่วยและญาติที่อยู่ห่างไกลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์มีที่พักยามเจ็บป่วย
วัตถุประสงค์: ประเมินผลลัพธ์จานวนผู้ป่วยและญาติที่เข้าพักอาศัย ณ อาคารเย็นศิระ
ผลลัพธ์: GOAL > 80 % ของจานวนผู้ป่วยและญาติที่ต้องการเข้าพัก
ณ อาคารเย็นศิระ
2
แสดงความเชื่อมโยงต่าง ๆ กับเป้าหมายหลักของบริการ/ทีม ข้อมูลที่บันทึกในหัวข้อนี้จะเป็นหัวข้อสั้นๆ และสามารถ link ไปสู่รายละเอียดใน
เรื่องตัวชี้วัดและกิจกรรมพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวข้องได้
3
นาเสนอกราฟแสดงข้อมูลตัวชี้วัดสาคัญ (ก) ตัวชี้วัดของหน่วยงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงานและมีการติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่อง
(พร้อมคาอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นประกอบภาพอย่างสั้นๆ) (ข) ข้อมูลผลการพัฒนาตามโครงการสาคัญในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 14
ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559
ระดับที่ปฏิบัติได้ 73.24% 76.11% 77.45% 78.84 %
2) อัตราการได้รับการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ 100%
เป้าหมาย: ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติได้รับการรักษาพยาบาล
วัตถุประสงค์: ประเมินผลลัพธ์จานวนผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินวิกฤติที่ได้รับการรักษาพยาบาล
ผลลัพธ์: GOAL 100% ของจานวนผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ
ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559
ระดับที่ปฏิบัติได้ 92.50% 95.60% 100% 100%
4. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ
4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพที่เสร็จสิ้นแล้ว4)
1) การร่วมกันทางานอย่างเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ รู้เขา รู้เรา โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ทาให้เกิด
ความสมานฉันท์ของทีมงาน
2) ได้ฝึกการฟังและเรียนรู้การช่วยเหลือคนไข้ใน “มิติของจิตวิญญาณ” ทาให้มองหาความสวยงาม
สิ่งที่คนไข้ให้คุณค่าให้ความสาคัญ ความเชื่อ ความศรัทธา ความต้องการที่แท้จริง เป้าหมายชีวิต
หรือพลังชีวิตที่ทาให้คนไข้อยากมีชีวิตยืนยาว เมื่อเรามองหาได้ พบเราก็สามารถเติมเต็มในส่วน
นั้น ๆ ได้ ทาให้คนไข้รวมทั้งคนใกล้ชิดมีความสุขนาสู่สุขภาวะที่ดีหรือยอมรับการจากไปอย่าง
สงบ
3) ได้ฝึกและเรียนรู้การให้บริการจากภายใน (จิตใจที่สงบ ฟังอย่างใส่ใจ สะท้อนความคิดด้วยความ
ไม่มีอคติ มองเชิงบวก) หรือการเติมเต็มด้วยหัวใจ ทาให้เราเกิดพลัง เกิดความคิดในการศึกษา
เรียนรู้ช่องทางการดูแลคนไข้และคนใกล้ชิด ทั้งบริการที่มีในโรงพยาบาล หรือเครือข่ายภายนอก
และปรึกษาเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้บริหาร ซึ่งให้กาลังใจพวกเราเสมอ ผู้บริหารเข้าใจ
ภาระงานที่ยาก ซับซ้อน และหนัก หากมีผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน มักให้กาลังใจ ร่วมให้
ความเห็น ร่วมพิจารณา ร่วมตัดสิน ทาให้พวกเรารู้สึกว่ามีพี่เลี้ยงคอยดูแลอยู่ข้าง ๆ
4) ได้ฝึกและเรียนรู้วิธีการค้นหา มิติของจิตวิญญาณ ทาให้คนไข้หรือคนใกล้ชิดเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรม หรือเปลี่ยนความคิด เช่น จากไม่ยอมรับการรักษา เป็นยอมรับการรักษา ผ่านการ
มอบความรักใน “วันพ่อ” หรือการชี้ให้คนไข้เห็นถึง ความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย จาก
4
สรุปความสาเร็จของการพัฒนาคุณภาพที่สาคัญในช่วงเวลาที่ผ่านมา อย่างสั้นๆ ประมาณ 5 บรรทัดถึงครึ่งหน้า ระบุแนวคิด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และ
วิธีการทางานสาคัญที่เป็นข้อสรุปจากการพัฒนา
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 15
ครอบครัว เช่น เมื่อคนไข้มารับการฉายแสงและต้องพักอยู่ที่อาคารเย็นศิระเพียงคนเดียว พวก
เราให้โอกาสคนไข้ได้พูดคุยกับญาติผ่านทางโทรศัพท์ ฯลฯ
5) ได้เรียนรู้การทางานร่วมกันของเครือข่าย เห็นความเชื่อมโยงการดูแลคนไข้ร่วมกัน จาก
ครอบครัว/พื้นที่ชุมชน สู่โรงพยาบาล จากโรงพยาบาลสู่ครอบครัว /พื้นที่ในชุมชน เช่น คุณยาย
ไม่มารับการฉายแสงตามนัด พวกเราได้โทรศัพท์ประสานเชื่อมโยงกับพื้นที่ทราบว่าที่คุณยายไม่
มารับการฉายแสงตามแพทย์นัดเพราะคุณตาที่เป็นผู้ต้องพาคุณยายมาทุกครั้งล้มลง ไม่สามารถ
เดินทางได้ อบต.ในพื้นที่ได้จัดรถมาส่งคนไข้ได้การฉายแสงครบตามแผนการรักษาของแพทย์
และคุณตาได้รับการรักษาเช่นเดียวกัน และเมื่อแพทย์สิ้นสุดการรักษาทั้งคุณตาและคุณยาย
ได้รับการดูแลจากอาสาสมัครในพื้นที่ เห็นความสวยงามของทีมงาน
6) ได้เรียนรู้ความรัก ความเอื้ออาทร ของคนไข้ และญาติ ๆ ที่พักอาศัย ณ อาคารเย็นศิระ เช่น ชาว
ไทย-มุสลิม จูงมือ ชาวไทย-พุทธ ไปพบแพทย์ / เมื่อวันที่คนหนึ่งคนใดต้องจากไปอย่างสงบ เข้า
ร่วมพิธีกรรมทางศาสนาในวันสุดท้าย ฯลฯ
7) บุคลากรเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง ลดตัวตน มีความอ่อนโยน ยอมรับ
พฤติกรรมของคนไข้ (เกิดจากโรค/เจ็บปวด) รู้จักให้ความรัก ความเมตตา เช่น รู้จักป้อนอาหาร
คนไข้ / เช็ดตัว / เช็ดอุจจาระ ปัสสาวะ /จัดหาเสื้อผ้า /เปลี่ยน/ปูผ้าที่นอน / เยี่ยมผู้ป่วยเป็น
ระยะ ฯลฯ สร้างแรงบันดาลใจในการดูแลคนไข้ รวมไปถึง นักศึกษาแพทย์ หลังจากเสร็จสิ้นการ
เรียนการสอน นักศึกษาแพทย์คนหนึ่งได้พูดว่า “ผมขออนุญาตมาเยี่ยมคนไข้ต่อนะครับ ได้ฟัง
คนไข้เล่าชีวิตแล้ว ทาให้ผมเกิดปัญญา”
8) ได้นาชีวิตของคนไข้มาเป็นกาลังใจในการทางานเมื่อเราเครียดและท้อแท้ เราก็กลับย้อนมองไปที่
คนไข้ว่าเขาผ่านตรงนั้นมาได้อย่างสวยงาม และบางครั้งคาพูดของคนไข้ คุณลุง คุณป้า กลับมา
สอนพวกเรา เช่น รู้จักปล่อยวางนะลูกนะ/ โรคหรือความทุกข์มาอยู่กับเราสักวันก็หายไป/
ความเจ็บป่วย ทาให้เรารู้จักความอดทน เสียสละ / ฝึกเรียนรู้ที่อยู่กับปัญหา ความเจ็บปวด ทา
ให้ชีวิตมีพลัง / พลังความรักทาให้หายจากความเจ็บปวด ความทุกข์ / ยอมรับว่าเป็นกรรมเก่า /
เราต้องสู้ ยังไงก็ต้องสู้ เมื่อชีวิตยังอยู่ก็ต้องเดินไปข้างหน้าสู้ให้ถึงที่สุด / การร้องไห้เป็นวิธีหนึ่งที่
ช่วยคลายความทุกข์ / แม้เราไม่มีเงิน ไม่มีสิ่งของให้เขา แต่เรามีหัวใจให้ทั้งดวงเลย มอบความรัก
ให้กับทุกคน / ขอบคุณความเจ็บปวด ทาให้เราได้เรียนรู้และรู้จักที่จะปรับตัวให้เข้ากันได้ / ไข้
คิดว่าไม่ไข้ ทุกข์คิดว่าไม่ทุกข์ ฯลฯ ทาให้พวกเราได้เติมเต็มความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งในชีวิต
ครอบครัว และชีวิตการทางาน
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 16
4.2 การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดาเนินการ
1) การทา KM (Knowledge Management) เพื่อให้เกิดความรู้ถ่ายทอดบุคลากร และขยายไปยัง
เพื่อนร่วมวิชาชีพ
2) การสร้างจิตสานึกผู้ป่วยและญาติที่เข้าพักอาศัย ณ อาคารเย็นศิระ ตามมาตรฐาน 5 ส สะสาง
สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน สร้างวินัย ทุกที่ทุกเวลา
5. แผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง5
5.1 การปรับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้เข้าพักอาศัยให้มีที่พักผ่อน คลาย
ทุกข์ รับประทานอาหาร บริเวณด้านหน้าอาคารเย็นศิระ
6. ผลลัพธ์ ปี พ.ศ. 2559
6.1 จานวนผู้เข้าพัก 166,418 ราย (13,868 ราย/เดือน : 456 ราย/วัน)
1) แยกตามศาสนา
- ไทยพุทธ จานวน 120,544 ราย (330 ราย/วัน) : 71.07%
- ไทยมุสลิม จานวน 45,874 ราย (126 ราย/วัน) : 28.93%
2) แยกผู้ป่วยและญาติ
- ผู้ป่วย จานวน 67,952 ราย (186 ราย/วัน) : 40.84%
- ญาติ จานวน 98,466 ราย (270 ราย/วัน) : 59.16%
6.2 ด้านบริการสวัสดิการสังคม
รายการ จานวนราย
1. ติดตามสิทธิพึ่งมีพึงได้ (ร่วมกับนักสังคมสงเคราะห์ประจาหอผู้ป่วย) 105 ราย
2. จดทะเบียนผู้พิการเพื่อให้ได้ซึ่งสิทธิหลักประกันสุขภาพ 12 ราย
3. ส่งเข้าสถานสงเคราะห์ 1 ราย
4. ติดตามญาติ (เร่ร่อน /ไร้บ้าน/ปฏิเสธจากครอบครัว/รับกลับบ้าน/พบ
แพทย์เพื่อร่วมวางแผนการรักษา )
354 ราย
5. ส่งกลับภูมิลาเนา 21 ราย
6. ช่วยเหลือค่าครองชีพ เครื่องอุปโภค – บริโภคในการดารงชีพ 15,897 ราย
5
อาจระบุทิศทางของการพัฒนา, โครงการสาคัญที่วางแผนไว้หรืออาจจะระบุรายละเอียดของโครงการ (วัตถุประสงค์ กรอบเวลา ข้อมูลที่จะใช้
ติดตามกากับ)
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 17
7. สื่อสารทาความเข้าใจกรณีปฏิเสธการรักษา / สภาพปัญหาทางสังคม 114 ราย
8. ร่วมกับ อปท. / ส่วนราชการ ประสานงาน / อานวยความสะดวกให้
ผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด (การจัดรถ / จัดที่พัก)
6.3 สรุปค่าใช้จ่ายในการให้การช่วยเหลือ
รายการ 2557 2558 2559
1. อาหารผู้ป่วยมะเร็ง (ภ.รังสีวิทยา) 113,775.00 352,510.00 355,860.00
2. อุปโภค – บริโภค 300,000.00 8,297.00 38,927.00
3. โครงการส่งเสริมอาชีพ 155,200.00 235,700.00 303,850.00
4. กิจกรรมเพื่อผู้ป่วย 66,955.00 186,614.00 575,414.00
5. ค่าพาหนะ/ครองชีพ 22,284.00 1,900.00 6,280.00
6. ค่าไฟฟ้า-น้าประปา 575,779.69 716,869.56 635,688.98
7. บริการรถรับส่งผู้ป่วย 175,200.00 123,600.00 94,530.00
8. ค่าจัดจ้างทาความสะอาด 497,536.00 96,536.00 48,768.00
9. ค่าใช้จ่ายดาเนินงาน 133,667.75 224,733.35 572,358.65
10. ค่าตอบแทนบุคลากร 572,420.00 650,000.00 468,724.00
11. ข้าวสาร/อาหารเหลวผู้ไร้สิทธิ 71,050.00 80,750.00 -
12. ค่าใช้จ่ายห้องพยาบาล 100,000.00 12,825.00 -
13. พัฒนาบุคลากร (ประชุม/อบรม) 0.00 19,561.00 -
รวมทั้งหมด 2,659,171.43 2,621,716.41 3,100,400.63
6.4 เกิดกัลยาณมิตรการร่วมดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในสังคม และร่วมบริจาคเครื่อง
อุปโภคบริโภคเพื่อผู้ป่วยและญาติ
- เครื่องอุปโภค – บริโภค
รายการ จานวนชิ้น จานวนเงิน
1. พัดลม 32 22,336
2. กระดาษทิชชู 958 253,736
3. ข้าวสาร 1,152 55,373
4. นมกล่อง 2,723 40,844
5. ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 277 44,247
6. บะหมี่กึ่งสาเร็จรูป (ถ้วย) 170 2,553
7. บะหมี่กึ่งสาเร็จรูป (ห่อ) 252 13,845
8. น้าหวาน 5,105 178,691
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 18
รายการ จานวนชิ้น จานวนเงิน
9. ปลากระป๋อง 455 6,825
10. ผ้าถุงผู้หญิง 92 9,218
11. ผ้าถุงผู้ชาย 66 6,618
12. แปรงสีฟัน 280 5,602
13. ยาสีฟัน 652 6,524
14. สบู่ 908 18,153
15. แป้ง 187 3,735
16. ยาสระผม 326 6,524
17. โอวัลติน 115 9,171
18. กาแฟ 53 4,255
19. ขนมขบเคี้ยว / ขนมปัง 199 39,709
20. น้าดื่ม 13,615 68,073
รวม 27,617 796,030
- วัสดุทางการแพทย์
รายการ จานวนชิ้น จานวนเงิน
1. ผ้าก๊อซ 3x3 /ผ้าก๊อซ 4x4 116 10,258
2. ไม้พันสาลี 50 1,489
3. เทปตบแต่งแผล (ทรานสพอร์) 183 6,541
4. เทปตบแต่งแผล (ไมโครพอร์) ½ นิ้ว 232 9,002
5. น้าเกลือล้างแผล 500 ซีซี /1000 ซีซี 243 9,372
6. แอลกอฮอล์ 64 4,467
7. เบต้าดีน 24 6,382
8. ถุงมือยาง 41 7,239
9. ผ้าปิดจมูก 50 4,467
10. Set ทาแผลสาเร็จรูป 207 2,586
11. แอลกอฮอล์ล้างมือ 99 2,482
รวม 1,308 64,285
- ยาสามัญประจาบ้าน
รายการ จานวน จานวนเงิน
1. ยาดม 404 8,084
2. ยาธาตุน้าขาว 92 1,844
3. ยาธาตุน้าแดง 73 1,465
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 19
4. ยาแก้ปวด ชนิดเม็ด 430 6,453
5. ยาแก้ปวดชนิดน้า 69 2,399
6. ยานวดคลายกล้ามเนื้อ 142 3,829
7. ผงเกลือแร่ / ORS 278 1,980
รวม 22,045
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 20
ภาพประกอบ
บริการการเจ็บป่วย
ผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน
บริการรถตุ๊ก ๆ
มอบเครื่องอุปโภค – บริโภค
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 21
โครงการส่งเสริมอาชีพ
ซ่อมแซม/ทาความสะอาด ณ อาคารเย็นศิระ ดูแลผู้ป่วยไร้ญาติ พับผ้าในโรงพยาบาล
กิจกรรมเพื่อผู้ป่วย
ทาบุญประจาปีอาคารเย็นศิระและสวัสดีปีใหม่ วันสงกรานต์
ถวายพระพร วันแม่ วันพ่อ วันลอยกระทง
การเรียนการสอน แหล่งหล่อหลอม บ่มเพาะ จิตอาสา

More Related Content

What's hot

Drug in pregnancy and lactation present
Drug in pregnancy and lactation presentDrug in pregnancy and lactation present
Drug in pregnancy and lactation present
AuMi Pharmaza
 
งานเยี่ยมบ้าน
งานเยี่ยมบ้านงานเยี่ยมบ้าน
งานเยี่ยมบ้าน
Aimmary
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำPrathan Somrith
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)Aiman Sadeeyamu
 
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูงคู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
Utai Sukviwatsirikul
 
การใช้ยาในเด็ก
การใช้ยาในเด็กการใช้ยาในเด็ก
การใช้ยาในเด็ก
Ozone Thanasak
 
คุณภาพเวชระเบียน
คุณภาพเวชระเบียนคุณภาพเวชระเบียน
คุณภาพเวชระเบียนtechno UCH
 
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9พัน พัน
 
การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
CC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
บท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกบท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอก
Wichai Likitponrak
 
เซรุ่มแก้พิษงู
เซรุ่มแก้พิษงูเซรุ่มแก้พิษงู
เซรุ่มแก้พิษงูDashodragon KaoKaen
 
ตัวอย่างการเขียนประเมินค่างาน
ตัวอย่างการเขียนประเมินค่างานตัวอย่างการเขียนประเมินค่างาน
ตัวอย่างการเขียนประเมินค่างาน
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
Dr.Suradet Chawadet
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
Utai Sukviwatsirikul
 
จำแนกประเภท
จำแนกประเภทจำแนกประเภท
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารีการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารี
Chutchavarn Wongsaree
 

What's hot (20)

หน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญหน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญ
 
Drug in pregnancy and lactation present
Drug in pregnancy and lactation presentDrug in pregnancy and lactation present
Drug in pregnancy and lactation present
 
งานเยี่ยมบ้าน
งานเยี่ยมบ้านงานเยี่ยมบ้าน
งานเยี่ยมบ้าน
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำ
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
 
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูงคู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
 
การใช้ยาในเด็ก
การใช้ยาในเด็กการใช้ยาในเด็ก
การใช้ยาในเด็ก
 
คุณภาพเวชระเบียน
คุณภาพเวชระเบียนคุณภาพเวชระเบียน
คุณภาพเวชระเบียน
 
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
 
การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
 
บท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกบท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอก
 
เซรุ่มแก้พิษงู
เซรุ่มแก้พิษงูเซรุ่มแก้พิษงู
เซรุ่มแก้พิษงู
 
ตัวอย่างการเขียนประเมินค่างาน
ตัวอย่างการเขียนประเมินค่างานตัวอย่างการเขียนประเมินค่างาน
ตัวอย่างการเขียนประเมินค่างาน
 
Handbook for-pharmacist-vol.22553
Handbook for-pharmacist-vol.22553Handbook for-pharmacist-vol.22553
Handbook for-pharmacist-vol.22553
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
 
Drug
DrugDrug
Drug
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
 
จำแนกประเภท
จำแนกประเภทจำแนกประเภท
จำแนกประเภท
 
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารีการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารี
 

Similar to ประวัติอาคารเย็นศิระ

แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
Utai Sukviwatsirikul
 
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวรPed emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวรtaem
 
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทกเภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
pitsanu duangkartok
 
PC11. communication skills in pc
PC11. communication skills in pcPC11. communication skills in pc
PC11. communication skills in pc
CAPD AngThong
 
NoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdfNoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdf
Pattie Pattie
 
Emergency prevention
Emergency preventionEmergency prevention
Emergency preventiontaem
 
District health system
District health systemDistrict health system
District health system
Narathiwat Provincial Public health
 
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
vveerapong
 
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
vveerapong
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสานแนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
Vorawut Wongumpornpinit
 
Thai Emergency Medicine Journal no. 1
Thai Emergency Medicine Journal no. 1Thai Emergency Medicine Journal no. 1
Thai Emergency Medicine Journal no. 1
taem
 
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์Apichat kon
 
4 คลินิกมาตามนัด
4 คลินิกมาตามนัด4 คลินิกมาตามนัด
4 คลินิกมาตามนัดwptraining
 

Similar to ประวัติอาคารเย็นศิระ (17)

แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
 
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวรPed emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
 
(20 พ.ค 56) service profile (ส่งเจี๊ยบ)
(20 พ.ค 56) service profile (ส่งเจี๊ยบ)(20 พ.ค 56) service profile (ส่งเจี๊ยบ)
(20 พ.ค 56) service profile (ส่งเจี๊ยบ)
 
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทกเภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
 
Concept pc.
Concept pc.Concept pc.
Concept pc.
 
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
 
PC11. communication skills in pc
PC11. communication skills in pcPC11. communication skills in pc
PC11. communication skills in pc
 
NoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdfNoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdf
 
Emergency prevention
Emergency preventionEmergency prevention
Emergency prevention
 
District health system
District health systemDistrict health system
District health system
 
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
 
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
ความรู้บูรณาการสำหรับอายุรแพทย์
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสานแนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
 
แพทย์
แพทย์แพทย์
แพทย์
 
Thai Emergency Medicine Journal no. 1
Thai Emergency Medicine Journal no. 1Thai Emergency Medicine Journal no. 1
Thai Emergency Medicine Journal no. 1
 
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
 
4 คลินิกมาตามนัด
4 คลินิกมาตามนัด4 คลินิกมาตามนัด
4 คลินิกมาตามนัด
 

More from Pattie Pattie

ความสุจริตทางวิชาการ “เชื่อมไทยเชื่อมโลก”.pdf
ความสุจริตทางวิชาการ “เชื่อมไทยเชื่อมโลก”.pdfความสุจริตทางวิชาการ “เชื่อมไทยเชื่อมโลก”.pdf
ความสุจริตทางวิชาการ “เชื่อมไทยเชื่อมโลก”.pdf
Pattie Pattie
 
670501 global health program for executives
670501 global health program for executives670501 global health program for executives
670501 global health program for executives
Pattie Pattie
 
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศสรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
Pattie Pattie
 
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
Pattie Pattie
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
Pattie Pattie
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
Pattie Pattie
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
Pattie Pattie
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
Pattie Pattie
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
Pattie Pattie
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
Pattie Pattie
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Pattie Pattie
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdf
Pattie Pattie
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
Pattie Pattie
 
670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf
Pattie Pattie
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptx
Pattie Pattie
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptx
Pattie Pattie
 
Udom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdfUdom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdf
Pattie Pattie
 
Kregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdfKregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdf
Pattie Pattie
 
Phuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdfPhuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdf
Pattie Pattie
 
Surin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptxSurin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptx
Pattie Pattie
 

More from Pattie Pattie (20)

ความสุจริตทางวิชาการ “เชื่อมไทยเชื่อมโลก”.pdf
ความสุจริตทางวิชาการ “เชื่อมไทยเชื่อมโลก”.pdfความสุจริตทางวิชาการ “เชื่อมไทยเชื่อมโลก”.pdf
ความสุจริตทางวิชาการ “เชื่อมไทยเชื่อมโลก”.pdf
 
670501 global health program for executives
670501 global health program for executives670501 global health program for executives
670501 global health program for executives
 
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศสรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
 
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdf
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
 
670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptx
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptx
 
Udom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdfUdom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdf
 
Kregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdfKregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdf
 
Phuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdfPhuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdf
 
Surin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptxSurin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptx
 

Recently uploaded

bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
CholapruekSangkamane1
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
Postharvest Technology Innovation Center
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
NuttavutThongjor1
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
SweetdelMelon
 
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
pakpoomounhalekjit
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
NuttavutThongjor1
 

Recently uploaded (6)

bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
 
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
 

ประวัติอาคารเย็นศิระ

  • 1. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 1 Service Profile อาคารเย็นศิระ วัดโคกนาว (อรรถกระวีสุนทร) 1. บริบท1 (context) ก. ความมุ่งหมาย (Purpose) หลังจากโรงพยาบาลเปิดบริการเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2525 ผู้ป่วยและญาติที่มีฐานะยากจนและ อยู่ห่างไกลโรงพยาบาล เมื่อเจ็บป่วยได้ขอเข้าพักอาศัยค้างคืนที่วัดโคกนาว (เดิมเป็นสานักสงฆ์) ตั้งอยู่ ตรงข้ามกับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ วันละหลาย ๆ คนซึ่งเป็นภาระกับทางวัดเป็นอย่างมาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้หารือกับสโมสรโรตารี่หาดใหญ่ และสมาคม ธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมเดินสุขภาพและการกุศล เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2525 ได้รับเงิน 128,104 บาท ในขณะที่การก่อสร้างได้ออกแบบและประมาณการราคาก่อสร้างไว้ 300,000 บาท คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สโมสรโรตารี่หาดใหญ่ รวมทั้งคณะกรรมการวัดโคกนาว ได้ช่วยกันจัดหา วัสดุก่อสร้างเพิ่มเติม จนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2526 และได้ทา พิธีมอบอาคารให้วัดโคกนาว เพื่อเป็นที่พักผู้ป่วยชั่วคราว จานวน 1 หลัง รองรับผู้ป่วยและญาติได้ 48 ราย/วัน โดยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2526 แบ่งครึ่งชายและหญิง ต่อมาจานวน ผู้ป่วยและญาติเพิ่มมากขึ้น จนอาคารไม่สามารถรองรับได้ ภายหลังความทราบถึงพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในคราวเสด็จพระราชดาเนินทรงเปิดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529 ได้พระราชทานราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างอาคารที่พัก จานวน 300,000 บาท ให้แก่ผู้อานวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (รศ.นพ.อุดม ชมชาญ) เพื่อก่อสร้างอาคารที่พัก ผู้ป่วยเพิ่มเติม ผู้อานวยการโรงพยาบาลฯ ได้รายงานในที่ประชุมคณะกรรมการประจาคณะฯ และ เสนออธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอานวยการก่อสร้างอาคารที่พักผู้ป่วยและญาติ ประกอบด้วยบุคคลจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น เทศบาลหาดใหญ่ (ปัจจุบันเทศบาลนคร หาดใหญ่) สโมสรโรตารี่หาดใหญ่ สโมสรไลออนส์หาดใหญ่ ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 3 กรรมการ สานักสงฆ์วัดโคกนาว กรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ และบริษัทหาดทิพย์ จากัด (มหาชน) ร่วมกัน ระดมทุนก่อสร้างอาคารที่พัก เพิ่มอีก 1 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น สามารถรับ ผู้ป่วยและญาติได้ เฉลี่ย 250 คน/วัน วันที่ 9 มกราคม 2531 การก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ คณะกรรมการมีมติใช้ชื่อว่า “อาคารเย็นศิระ” เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นการแสดงออกถึงความสานึก 1 การทาความเข้าใจลักษณะเฉพาะของหน่วยงานเอง อาจจะเป็นลักษณะภายในหรือสิ่งแวดล้อมของการทางานก็ได้ หัวข้อที่กาหนดให้ไว้เป็น แนวทางในการพิจารณา ทั้งนี้การพิจารณาว่าลักษณะหรือปัจจัยใดที่จะมีความสาคัญ ควรมุ่งเน้นพิจารณาว่าอะไรที่มีความสาคัญต่อการออกแบบ วิธีการทางาน การวางแผน การตัดสินใจ
  • 2. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 2 ในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชสักการะเฉลิมพระเกียรติ ในศุภวาระที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา จากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ทาให้ มหาวิทยาลัยฯ สามารถรวบรวมเงินบริจาคได้ เป็นเงิน 2,781,553.40 บาท รวมค่าใช้จ่ายในการ ก่อสร้าง 1,785,655 บาท ยอดคงเหลือ 995,888.40 คณะกรรมการมีมติจัดตั้ง “กองทุนเย็นศิระ” เพื่อ ใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร วันพุธที่ 28 กันยายน 2531 เวลา 10.00 น. สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคาร เย็นศิระ เพื่อใช้เป็นที่พักผู้ป่วยและญาติตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วันที่ 11 ตุลาคม 2549 เจ้าอาวาส วัดโคกนาว (ท่านพระครูปลัดลิ่ง ฐตปุญโญ (อินสุวรรณโณ) ได้ทาหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรมอบการ บริหารจัดการให้กับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เนื่องจากผู้เข้าพักอาศัยเจ็บป่วยด้วยโรคที่มีความยาก และซับซ้อนตามภาระกิจของโรงพยาบาล การดูแลผู้ป่วยและญาติและการอานวยความสะดวกขยาย เพิ่มมากขึ้น ต่อมาจานวนผู้เข้าพักเพิ่มมากขึ้น และอาคารชารุด ปี พ.ศ. 2552 คณบดีคณะ แพทยศาสตร์ ผู้อานวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และทีมงานสิทธิประโยชน์ผู้ป่วย ได้เสนอขอ งบประมาณของจังหวัดสงขลา เป็นงบประมาณแผ่นดิน ได้รับสนับสนุนเป็นเงิน 20,000 ,000 บาท จัดสร้างอาคารเย็นศิระ 2 จานวน 4 ชั้น และปรับปรุงหลังเก่าให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น วันที่ 26 เมษายน 2555 เจ้าอาวาสวัดโคกนาวอรรถกระวีสุนทร ท่านพระครูปลัดลิ่ง ฐิตปุญโญ (อิน สุวรรณโณ) ร่วมกับสานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสงขลา ได้จัดทาหนังสือเป็นลายอักษรแสดงการ อนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่วัดอันเป็นที่ตั้งอาคารเย็นศิระและบริเวณโดยรอบ ความกว้าง 15 เมตร ความยาว 60 เมตร รวมพื้นที่ 900 ตารางเมตร วันที่ 28 มิถุนายน 2553 เปิดให้บริการอาคาร เย็นศิระ 2 สามารถรองรับผู้ป่วยและญาติที่มีความยากลาบาก ห่างไกลโรงพยาบาล ได้พักอาศัยยาม เจ็บป่วยจานวนมากได้ ปัจจุบัน อาคารเย็นศิระ มีอาคาร 2 หลัง อาคารเย็นศิระ 1 อาคาร 3 ชั้น มีชั้นลอย สามารถรอรับผู้ป่วยและญาติ 200 – 250 ราย/วัน และอาคารเย็นศิระ 2 อาคาร 4 ชั้น สามารถรองรับผู้ป่วยและญาติ 200 – 250 ราย/วัน รวม 500 คน/วัน ผู้เข้าพักอาศัยส่วนใหญ่เป็นผู้ยากไร้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง หรือโรคเรื้อรัง มีทั้งชาวไทย-พุทธ ชาวไทย-มุสลิม ที่มีภูมิลาเนาห่างไกลโรงพยาบาลเดินทางมาจาก 14 จังหวัดภาคใต้ และภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วประเทศ ทั้งที่มารับการฉายแสง รับยาเคมีบาบัด ใส่แร่ มารับการผ่าตัด มาพบแพทย์ตามนัด ฯลฯ อาคารเย็นศิระไม่เพียงแต่เป็นที่พักพิงเพื่อมุ่งที่จะให้ผู้ป่วยได้รักษาโรคเท่านั้น แต่ยังได้ดาเนิน กิจกรรมที่กว้างขวางออกไปมากกว่าตัวผู้ป่วย กล่าวคือ ทุกภาคส่วนจะเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะ องค์รวม ในส่วนของผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าของชีวิต อยากมีชีวิตที่ยืนยาว สามารถดูแลตนเอง และผู้อื่น เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คาแนะนา ให้กาลังใจซึ่งกันและกัน และเอื้ออาทรต่อกันฉันท์กัลยาณมิตร ใน ส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ อาคารเย็นศิระ เป็นแหล่งของการศึกษา การเรียนรู้ของแพทย์ นักศึกษา
  • 3. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 3 แพทย์ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ให้เข้าใจมิติของจิตวิญญาณของผู้ป่วยและญาติ อันได้แก่ เรื่องของ ความเชื่อ ความศรัทธา สิ่งที่ผู้ป่วยให้ความสาคัญ ให้คุณค่า อันจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากโรค และช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาว ทั้งยังเป็นที่ปลูกฝัง หล่อหลอม บ่มเพาะ ฝึกปฏิบัติให้กับนักเรียน นักศึกษา คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และใกล้เคียง ให้รู้จักการให้ การมีน้าใจ ความเอื้ออาทร รู้สึกถึงความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ อันเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีน้าใจ มีจิตสาธารณะ มีความเห็นอก เห็นใจ และคานึงถึงศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ อาคารเย็นศิระ ซึ่งมีสถานที่ตั้งภายในบริเวณวัดโคกนาว อรรถกระวีสุนทร อันเป็นวัดในบวร พุทธศาสนา โดยได้รับการอนุเคราะห์และการสนับสนุนจากเจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะภาค ให้ใช้พื้นที่ นับเป็นเมตตาธรรมของฝ่ายพระศาสนา ที่เผื่อแผ่ไปยังผู้ทุกข์ยาก ไม่ว่าจะนับถือศาสนาหรือ มีความเชื่อในลัทธินิภายใด นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสมานฉันท์และภราดรภาพของ ประชาชนคนไทย วิสัยทัศน์ (Vision) อาคารแห่งการให้ พันธกิจ (Mission) 1. ให้บริการจัดที่พักอาศัยสาหรับผู้ป่วยและญาติ 2. ให้บริการด้านสวัสดิการทางสังคมตามสภาพที่ผู้ป่วยและครอบครัวเผชิญขณะเจ็บป่วย 3. สร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรในสังคม 4. เป็นแหล่งศึกษา บ่มเพาะ และหล่อหลอม มิติของจิตวิญญาณ เป้าหมาย (Goal) ประชาชนที่อยู่ห่างไกลได้เข้าพักอาศัย และเป็นต้นแบบของการอยู่ร่วมกันของชาว ไทยพุทธ และไทยมุสลิม ข. ขอบเขตบริการ (Scope of service) ให้บริการผู้เข้าพักอาศัยทั้งผู้ป่วยและญาติที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง โรคเรื้อรัง ทั้งชาวไทย พุทธ ไทยมุสลิม และศาสนาอื่น ๆ โดยให้บริการตามมาตรฐานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ค. ผู้รับผลงานและความต้องการที่สาคัญ (จาแนกตามกลุ่มผู้รับผลงาน) ผู้รับผลงาน ความต้องการที่สาคัญ ลูกค้าภายนอก 1. ผู้ป่วย 2. ญาติผู้ป่วย 3. นักเรียน 1. ผู้ป่วยและญาติมีที่พักพิงขณะมารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล สงขลานครินทร์ ได้รับการดูแลด้านบริบาลทางการพยาบาล และ ได้รับสวัสดิการทางสังคมตามความจาเป็นในการดารงชีวิตประจาวัน
  • 4. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 4 4. นักศึกษา 5. บุคลากรสาธารณสุข 6. เครือข่าย 2. นักเรียน นักศึกษา บุคลากรสาธารณสุข ได้เรียนรู้มิติของจิตวิญญาณ การฝึกปฏิบัติจิตอาสา 3. เครือข่ายได้ทาเชิงร่วมกันเชิงบูรณาการ ลูกค้าภายใน 1. แพทย์ 2. พยาบาล 3. ผู้บริหารโรงพยาบาล 1. ได้เรียนรู้มิติจิตวิญญาณของผู้ป่วย 2. สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้กับองค์กร ง. ความต้องการในการประสานงานภายในที่สาคัญ การประสานงาน ความต้องการที่สาคัญ ภายในหน่วยงาน 1. มีการสื่อสาร ทาความเข้าใจ ทีมงานภายในหน่วยงาน ทั้งที่ปฏิบัติงาน ณ อาคารเย็นศิระ และให้บริการผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลสงขลา นครินทร์ และต้องให้บริการผู้ป่วยสอดคล้องกัน ร่วมแก้สภาพปัญหาที่ ผู้ป่วยเผชิญในทิศทางเดียวกัน ระหว่างหน่วยงาน 2. มีสื่อสารทาความเข้าใจกับทีมรักษา บุคลากรสังกัดหน่วยบริการ ภายในโรงพยาบาลฯ ทั้งกรณีเจ็บป่วยเจ็บป่วยเมื่อต้องมารับบริการที่ ห้องตรวจฉุกเฉิน รับริการ OPD และ IPD เครือข่าย 3. การสื่อสารประสาน และเชื่อมโยงงานกับเครือข่ายกรณีส่งผู้ป่วยและ ญาติมาเข้าพักอาศัย การติดตามกรณีขาดนัด (ฉายแสง / ฝังแร่ / รับ ยาเคมีบาบัด / พบแพทย์ตามนัด) 4. มีการสื่อสารประสานงานและเตรียมความพร้อมก่อนส่งกลับภูมิลาเนา จ. ลักษณะสาคัญของงานบริการและปริมาณงาน 1. ลักษณะสาคัญของงานบริการตามกลุ่มผู้รับผลงาน 1.1 ระบบงานบริการผู้ป่วย ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ 1. การลงทะเบียนเข้าพัก - สัมภาษณ์ พูดคุย เพื่อคัดกรองผู้ป่วยและญาติ ประเมินความเดือดร้อน อาการเจ็บป่วยแรกรับ เตรียมจัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้คาแนะนาการปฏิบัติ ตนขณะเข้าพัก โดยมอบหมายเจ้าหน้าที่หมุนเวียน ให้บริการ - จัดเก็บค่าที่พัก 5 บาท/คน/คืน - อนุญาตให้เข้าพักได้ ผู้ป่วย 1 คน : ญาติ 1 คน
  • 5. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 5 ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ 2. ระบบการดูแลการเจ็บป่วย และการบริบาลพยาบาล - บริการห้องพยาบาล เพื่อให้บริการการปฐม พยาบาล ทาแผลจากโรคมะเร็ง และโรคเรื้อรัง พร้อมกับการบริการทางการพยาบาลตามอาการ เจ็บป่วย - จัดรถพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3. จัดระบบความปลอดภัย - จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย - จัดระบบวงจรปิด 4. จัดสาธารณูปโภค - จัดระบบโทรศัพท์ โทรสาร ระบบไฟฟ้า (แยกมิเตอร์ ไฟฟ้าออกจากวัด) ระบบประปา (เพิ่มถังเก็บน้า สารอง) ระบบความปลอดภัย (ติดตั้งระบบวงจรปิด และจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย) ระบบเครื่อง เสียง (เพื่อใช้สื่อสารกับผู้เข้าพักอาศัยประจาวัน) ระบบตู้แช่ (เพื่อแช่อาหารเหลว อาหารแช่แข็ง) ระบบหุงต้ม (จัดให้มีอุปกรณ์หุงต้มและเครื่องครัว เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้ปรุงอาหารตามความวิถี ชีวิตของชาวบ้านและเหมาะสมกับโรคที่เจ็บป่วย) ระบบซักล้าง (มีเครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เพื่อฆ่า เชื้อโรค) ระบบการฆ่าเชื้อ (จัดให้มีห้องปลอดเชื้อ ใช้แสงยูวีในการฆ่าเชื้อโรค) เป็นต้น - ปรับปรุงซ่อมแซมโดย บุคลากรประจาอาคารเย็น ศิระ /ผู้เข้าพักอาศัย / งานวิศวกรรมซ่อมบารุง / จัดจ้างภายนอก 5. จัดสิ่งแวดล้อม - จัดสิ่งแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับวิถีชีวิตของชาวบ้านให้ มากที่สุด สนับสนุนให้ผู้เข้าพักอาศัยร่วมออกแบบ วิถีชีวิตด้วยตนเอง ตามแนวคิด ศ.นพ.ธาดา ยิบ อินซอย “จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยและ ญาติสามารถดูแลตนเองได้เป็นเสมือนบ้านอีกหลัง หนึ่ง” เพื่อไปสู่ชุมชนอาคารเย็นศิระ - ขอความร่วมมือ งานอาคารสถานที่ คณ ะ แพทยศาสตร์ / เทศบาลนครหาดใหญ่ ฯลฯ 6. เครื่องอุปโภค และบริโภค - จัดบริการเครื่องอุปโภค – บริโภค และอุปกรณ์ เครื่องนอน (สิ่งของเครื่องใช้ประจาวัน หมอน ผ้า
  • 6. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 6 ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ ห่ม เสื่อ ฯลฯ) 7. อาหารและอาหารผสมทาง สายยาง - จัดบริการอาหาร (ผสมอาหารทางสายยาง / บริการข้าวสวย 2 มื้อ/วัน อาหารบิณฑบาตจากวัด ใกล้เคียง และคูปองอาหารเพื่อจัดซื้ออาหารที่ ร้านอาหารของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 40 บาท/2 มื้อ) - ฝึกปฏิบัติการผสมอาหารให้กับผู้ป่วยและญาติ 8. บริการรถตุ๊ก ๆ - รับส่งผู้ป่วยที่สภาพร่างกายอ่อนเพลีย ผู้สูงอายุ ผู้ ที่มีแผลจากโรคมะเร็ง วันละ 3 – 4 เที่ยว (ไป – กลับ) 9. โครงการส่งเสริมอาชีพ - จัดโครงการสงเสริมอาชีพแก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้ ผู้เข้าพักอาศัยมีรายได้ในการดารงชีวิตประจาวัน ขณะมารับการรักษาพยาบาลหรือมาเฝ้าดูแลผู้ป่วย ทั้งภายในโรงพยาบาลและอาคารเย็นศิระ 10. โครงการฌาปนกิจ สงเคราะห์ - เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สาหรับผู้ยากไร้ และไร้ญาติ เมื่อถึงแก่กรรมอย่างสงบตามความเชื่อ และศรัทธาครอบคลุมทุกศาสนา และเป็นการ บูรณาการร่วมกับเครือข่ายทางสังคมในการร่วม กิจกรรม 11. สวัสดิการทางสังคม - ให้บริการช่วยเหลือสวัสดิการสังคมตามสภาพปัญหา ที่ผู้ป่วยเผชิญขณะเจ็บป่วย เช่น การจัดหาที่พัก อาศัยและสถานสงเคราะห์หลังแพทย์สิ้นสุดการ รักษาพยาบาล ช่วยเหลือค่าพาหนะ ค่าครองชีพ ทุนประกอบอาชีพ ส่งกลับภูมิลาเนา หรือ โรงพยาบาลใกล้บ้าน จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ หมุนเวียน ฯลฯ 12. จัจัดกิจกรรม - จัดกิจกรรมตามประเพณีท้องถิ่น วันสาคัญ เพื่อให้ เกิดความรัก สามัคคี ความเห็นอกเห็นใจ เอื้อ อาทรซึ่งกันและกัน วันพ่อ วันแม่ วันสงกรานต์ วันปีใหม่ ฯลฯ 13. จัดระบบการเรียนการสอน การศึกษาดูงาน และจิต เป็นแหล่งสนับสนุน การเรียนการสอน การศึกษาดูงาน และการวิจัย สาหรับนักเรียน นักศึกษา และบุคลากร
  • 7. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 7 ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ อาสา สาธารณสุข ทั้งภายในและต่างประเทศ 1) นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 5 รายวิชาภาคบังคับ Palliative Care 2) นักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ ม.สงขลา นครินทร์ ชั้นปีที่ 1/ ปี 2 3) นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรศิลปะศาสตร์ บัณฑิต สาขาวิชาภาษาและภาษาไทยประยุกต์ ชั้นปีที่ 2 รายวิชา 880-101 4) นั ก ศึ ก ษ าภ าค วิช าวิศ วก รรม เค มี ค ณ ะ วิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรรายวิชา 231-001 5) นักศึกษา กลุ่มงานวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะ พยาบาลศาสตร์ หลักสูตร พยาบาลมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตภาคพิเศษ ชั้นปีที่ 2 6) นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ รายวิชา 315 -101 กิจกรรมเสริมหลักสูตร 1 โครงการกะลาบาบัด 7) นักศึกษากลุ่มงานวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะ พยาบาลศาสตร์ โครงการบ้านแห่งความสุขผ่านวิถี 5 ส หลักสูตรรายวิชา 642-514 ระบบสุขภาพ ภาวะผู้นา และการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการ พยาบาล 8) นักศึกษาปริญญาโท ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาการ จัดการหลักสูตรวิชา 460-511 จริยธรรมทางธุรกิจ และความรับผิดชอบต่อสังคม 9) นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการโครงการ We can you can พวกเราทาได้คุณก็ทาได้ ภายใต้โครงการ The New Day Project สานฝันเพื่อวันใหม่ 10) นักเรียนทุนมูลนิธิพลเอกเปรม ติณลสูลานนท์ ม.ราชภัฏสงขลา โครงการบ่มเพาะคนดี 11) นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ รายวิชากิจกรรม เสริมหลักสูตร ชั้นปีที่ 1 โครงการร่วมสานใจ โครงการสร้างสุข จิตอาสา พัฒนาอาคารเย็นศิระ
  • 8. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 8 ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ โครงการสุขอนามัยที่ดี เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน 12) นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ รายวิชา 460 – 400 กิจกรรมเสริมหลักสูตร 1 (Co – Curricular Activities I) 13) นักศึกษาคณะแพทย์แผนไทย รายวิชา 190 – 404 ธรรมชาติบาบัด จัดโครงการ SKT สมาธิ บาบัด ทางเลือกใหม่ ห่างไกลโรค 14) ฯลฯ 1.2 การเงิน (Money) 1.2.1 แหล่งเงินทุนสนับสนุน ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ 1. กองทุนอาคารเย็นศิระ - เป็นการรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา - เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร 2. มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลา นครินทร์ - สนับสนุนค่าใช้จ่ายสาหรับช่วยเหลือผู้ป่วย - สนับสนุนกิจกรรมสังคมและบาเพ็ญประโยชน์ - ฯลฯ 1.2.2 ระบบค่าใช้จ่าย ลาดับที่ ระบบงาน ลักษณะการให้บริการ 1. หลักเกณฑ์การช่วยเหลือ - ให้บริการตามหลักเกณฑ์นโยบายโรงพยาบาลและ ตามมาตรฐานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ - เสนอขออนุมัติผ่านผู้อานวยการโรงพาบาลสงขลา นครินทร์ - การเบิกจ่ายตามระเบียบคณะแพทยศาสตร์ ฉ. ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues) ลาดับที่ Key Customer ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues) 1. ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับการ ฉายแสง ฝังแร่ รับยาเคมี บาบัด พบแพทย์ตามนัด - การพักอาศัยให้ผู้ป่วยตามโซนพื้นที่ที่เหมาะสมกับ อาการเจ็บป่วย - การจัดรถพยาบาลรับส่งกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ ทันเวลา
  • 9. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 9 ลาดับที่ Key Customer ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues) - การจัดรถตุ๊ก ๆ กรณีต้องเดินทางมาฉายแสง ฝังแร่ รับยาเคมีบาบัด และพบแพทย์ตามนัดกรณีสภาพ ร่างกายอ่อนเพลีย ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ฯลฯ ตาม กาหนดเวลานัดของแพทย์ - จัดระบบ Morning round เพื่อดูแลผู้ป่วย 2. ผู้ป่วยรอผ่าตัด / รอเตียง ว่างของโรงพยาบาล - เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วย และได้รับการดูแลทันทีเมื่อ เกิดกรณีฉุกเฉิน 3. กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย - ให้การดูแลครอบคลุม 4 มิติ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ 1) ด้านร่างกาย แพทย์ นักศึกษาแพทย์ บุคลากร ทางการแพทย์ ให้การรักษาพยาบาลทั้งใน โรงพยาบาล และการติดตามดูแลต่อเนื่องเมื่อ ผู้ป่วยต้องรักษาและเข้าพัก ณ อาคารเย็นศิระ กรณีเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินจัดทีมแพทย์/พยาบาล ประจาห้องฉุกเฉิน หรือศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน หรือมูลนิธิเอกชน ให้บริการรักษาพยาบาลหรือ รับ-ส่งผู้ป่วยไปยังห้องตรวจฉุกเฉิน ทาให้ผู้ป่วย ได้รับการรักษาทันท่วงทีตามอาการเจ็บป่วย และได้จัดห้องพยาบาล ณ อาคารเย็นศิระเพื่อ ดูแลทางการบริบาลพยาบาล เช่น ทาความ สะอาดแผลจากโรคมะเร็งหรือโรคเรื้อรัง การจัด ยาสามัญประจาบ้าน การพลิกตัวลดภาวะแผล กดทับ ฯลฯ รวมทั้งการดูแลสภาพร่างกายของ ผู้ป่วยหลังการฉายแสง รับยาเคมีบาบัด หรือพบ แพทย์ตามนัด เช่น อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องเสีย ฯลฯ โดยดูแลเสมือนญาติ ทาให้คนไข้เกิด ความไว้วางใจ พูดคุยในสิ่งที่ทุกข์ใจ ส่งผลให้ มองหาและให้การดูแลตามมิติของจิตวิญญาณได้
  • 10. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 10 ลาดับที่ Key Customer ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues) ง่าย 2) ด้านจิตใจ มีทีมสหวิชาชีพ ทั้งแพทย์ นักศึกษา แพทย์ พยาบาล (อาสาสมัคร) พนักงานช่วยการ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัครมูลนิธิ พุทธฉือจี้ จิตอาสา ฯลฯ ร่วมให้กาลังใจหรือ เพิ่มพลังในขณะที่พบว่าผู้ป่วยเกิดความท้อแท้ หมดหวัง จากโรคร้าย ผ่านการจัดกิจกรรม เช่น การพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นั่งสมาธิ มินิทัวร์ ชมรมพลังกายทิพย์เพื่อสุขภาพ ให้ผู้ป่วยได้ผ่อน คลาย รวมทั้งเครือข่ายในชุมชนช่วยติดตามผู้ ใกล้ชิดหรือผู้ที่ผู้ป่วยต้องการพบในวาระสุดท้าย ส่งผลต่อยอดของการเกิดกัลยาณมิตรในชุมชน 3) ด้านสังคม เป็นการทางานร่วมกันของทีมสห วิชาชีพ เครือข่าย องค์กรการกุศลต่าง ๆ ที่มีใน พื้นที่และนอกพื้นที่ ทั้งบริษัท ห้างร้าน สโมสร สมาคม มูลนิธิ และผู้มีจิตศรัทธา เนื่องจากใน ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เร่ร่อน ไม่มีญาติ ไม่มีที่อยู่ อาศัย ญาติไม่ยอมรับ เข้าพักอาศัยจานวนเพิ่ม มากขึ้น ต้องทางานประสานกันแบบบูรณาการ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปอยู่ในสังคมได้อย่างมี คุณภาพชีวิตที่ดี เช่น จัดบริการเครื่องอุปโภค บริโภค อาหารเหลว จัดบริการอาหาร ช่วยเหลือ ค่าพาหนะ ค่าครองชีพ ทุนประกอบอาชีพ มี ผู้ป่วยหรือญาติหลายรายที่ร่างกายพอจะทางาน ได้ โรงพยาบาลฯ จัดให้มี “โครงการส่งเสริม อาชีพและรายได้แก่ผู้ป่วยและญาติ” โดยให้ ทางานทั้งในโรงพยาบาล เช่น พับผ้า รับส่ง เอกสาร ฯลฯ หรือทางานที่อาคารเย็นศิระตาม
  • 11. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 11 ลาดับที่ Key Customer ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues) ความถนัด ทาสี ทาความสะอาด พาผู้ป่วยมาพบ แพทย์ตามนัด ฯลฯ และบางรายเมื่อแพทย์ สิ้นสุดการรักษาพยาบาล มูลนิธิโรงพยาบาล สงขลานครินทร์ สนับสนุนเงินเพื่อประกอบ อาชีพ พอมีรายได้เลี้ยงลูกและครอบครัว หลาย รายกลับ มาเป็ น พี่ เลี้ยงห รือถ่ายท อด ประสบการณ์ให้กับผู้ป่วยรายใหม่ เป็น อาสาสมัคร มีโอกาสได้ศึกษาต่อและกลับมา ทางานดูแลผู้ป่วย ณ อาคารเย็นศิระ และจัด โครงการรับเบี้ยยังชีพคนพิการ เมื่อผู้ป่วยเกิด ความพิการจากการเจ็บป่วย มูลนิธิโรงพยาบาล ฯ ให้การช่วยเหลือเบี้ยยังชีพเพื่อให้ผู้ป่วยและ ครอบครัวได้ปรับตัว และประสานกับ เครือข่ายเพื่อเตรียมผู้ป่วยกลับชุมชน เกิด กัลยาณมิตรมากมาย ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ในการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน 4) ด้านจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่ท้าทายทีมงาน เริ่มต้นด้วยการเตรียมความพร้อมของทีม โดย ให้ทุกคนเข้าใจมิติของจิตวิญญาณ : ความเชื่อ ความศรัทธา ความต้องการที่แท้จริง ความ สวยงาม สิ่งที่คนไข้ให้ความสาคัญ ให้คุณค่า เป้าหมายชีวิต หรือพลังที่ทาให้คนไข้อยากมีชีวิต ยืนยาว หลังจากนั้นเป็นการ สร้างความสัมพันธ์ โดยการดูแลผู้ป่วยเสมือนญาติ ยิ้ม ทักทาย แ น ะ น า ตั ว เ อ ง ช่ ว ย ป้ อ น ข้ า ว ป้อนอาหาร เช็ดตัว พาไปพบแพทย์ พูดคุยในสิ่ง ที่คนไข้สบายใจ เยี่ยมให้กาลังใจเป็นระยะ จน เกิดความไว้วางใจ หลังจากคนไข้ยอมรับหรือ
  • 12. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 12 ลาดับที่ Key Customer ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ (Key Quality Issues) พวกเราเรียกว่า “เปิดประตูใจ” เรา มองหามิติ ของจิตวิญญาณ โดยสังเกตจากพฤติกรรม หรือ คาพูดของคนไข้ เมื่อสังเกตเห็นคนไข้ไว้วางใจ ค่อย ๆ พูดคุยในสิ่งหรือลักษณะที่เกิดประโยชน์ ต่อคนไข้ เช่น “หากยายได้เอาผ้าเช็ดหน้า ผืนที่ลูกชายถือขณะบวชแห่นาคเวียนโบสถ์ มาแนบอกขณะจะสิ้นลมหายใจ ยายเชื่อว่า ยายจะได้พบกับลูกชายของยายอีกในภพ หน้า” / “หากลุงได้พบกับลูกชายก่อนลุงจาก ไป เหมือนลุงได้ขึ้นสวรรค์” เป็นต้น ช. ความท้าทาย ความเสี่ยงสาคัญ (จุดเน้นในการพัฒนา) 1. บริหารจัดการที่พักให้เพียงพอสาหรับผู้ป่วยและญาติที่เดินทางมาจากภูมิลาเนาห่างไกล 2. การประสานงานการจัดหาที่พักอาศัยให้ผู้ป่วยและญาติ กรณีที่พักที่อาคารเย็นศิระเต็ม 3. ผู้ป่วยได้รับการดูแลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ทันท่วงที ซ. ศักยภาพและข้อจากัดในด้านผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือ และเทคโนโลยี 1. จัดระบบการลงทะเบียนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ สามารถสืบค้นผู้เข้าพักอาศัยได้ทันที 2. การสืบค้นและยืนยันผู้ป่วยไม่สามารถตรวจสอบได้ ต้องประสานงานมายังโรงพยาบาลในขณะ ลงทะเบียน ฌ. ประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง 1. ผู้ป่วยและญาติ 1.1. จัดกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่เพื่อให้ผู้ป่วยมีความผ่อนคลาย 1.2. จัดโครงการด้านมิติจิตวิญญาณ “เจ็บไข้ ได้พึ่งพิงอิงวิถีชุมชน ณ อาคารเย็นศิระ” 2. บุคลากร 2.1. สนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานเข้ารับการตรวจวัดสมรรถภาพ (One mile walk test) ประจาปี ตามที่คณะแพทยศาสตร์กาหนด และตามที่ภาครัฐจัดให้ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกัน ไข้หวัดนก / ไข้หวัด 2010 2.2. ส่งเสริมสุขภาพตามความต้องการและถนัดของแต่ละบุคคล 2.2.1. กิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เดิน-วิ่ง หลังเลิกงาน เต้นแอโรบิก ต ฯลฯ 2.2.2. กิจกรรมเกี่ยวกับงาน/ครอบครัว เช่น ส่งเสริมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ทาบุญตักบาตร ไหว้พระ สวดมนต์ ฯลฯ
  • 13. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 13 2.2.3. Health Living Programs เช่น การจัดการความเครียดโดยการนั่งสมาธิ สุนทรีย สนทนา ธรรมชาติบาบัด ฯลฯ 2.2.4. กิจกรรมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในที่ทางาน เช่น การทาความสะอาดในสถานที่ทางาน ส่งเสริมบุคากรแต่งเครื่องแบบยูนิฟอร์ม หรือเสื้อทีม 2.2.5. กิจกรรมสุขภาพอื่น ๆ และทันตอนามัย เช่น การนวด แปรงฟันหลังรับประทาน อาหารเที่ยง เล่นดนตรี ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสผู้ป่วยและก่อนรับประทานอาหาร 2. วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด การพัฒนา2 กระบวนการสาคัญKey Processes, Process Requirement, Performance Indicator ประเด็นคุณภาพที่สาคัญ ความเสี่ยง ความท้าทาย ที่สาคัญ (มาจาก บริบท) เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและผลลัพธ์ (Link) กิจกรรมการพัฒนา การเข้าถึงบริการ ผู้ป่วยและญาติได้เข้าพัก อาศัย ณ อาคารเย็นศิระ อัตราการเข้าพัก >80% *วัดกระบวนการ ทบทวนกระบวนการ กลั่นกรองนโยบายการเข้าพัก จัดทาแบบประเมินการ ติดตามการให้บริการ (วัดความครอบคลุม) การเจ็บป่วยกรณี ฉุกเฉิน ผู้ป่วยได้รับการ รักษาพยาบาลเบื้องต้น และส่งห้องตรวจฉุกเฉิน อัตราการส่งผู้ป่วย ถึงห้องฉุกเฉิน 100% ทวนนโยบายการประสาน การจัดรถพยาบาล 3. ตัวชี้วัดผลการดาเนินงานที่สาคัญ (Key Performance Indicator)3 ในรอบปี 2560 1) อัตราการเข้าพักของผู้ป่วยและญาติ >80% เป้าหมาย: ผู้ป่วยและญาติที่อยู่ห่างไกลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์มีที่พักยามเจ็บป่วย วัตถุประสงค์: ประเมินผลลัพธ์จานวนผู้ป่วยและญาติที่เข้าพักอาศัย ณ อาคารเย็นศิระ ผลลัพธ์: GOAL > 80 % ของจานวนผู้ป่วยและญาติที่ต้องการเข้าพัก ณ อาคารเย็นศิระ 2 แสดงความเชื่อมโยงต่าง ๆ กับเป้าหมายหลักของบริการ/ทีม ข้อมูลที่บันทึกในหัวข้อนี้จะเป็นหัวข้อสั้นๆ และสามารถ link ไปสู่รายละเอียดใน เรื่องตัวชี้วัดและกิจกรรมพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ 3 นาเสนอกราฟแสดงข้อมูลตัวชี้วัดสาคัญ (ก) ตัวชี้วัดของหน่วยงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงานและมีการติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่อง (พร้อมคาอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นประกอบภาพอย่างสั้นๆ) (ข) ข้อมูลผลการพัฒนาตามโครงการสาคัญในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา
  • 14. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 14 ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ระดับที่ปฏิบัติได้ 73.24% 76.11% 77.45% 78.84 % 2) อัตราการได้รับการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ 100% เป้าหมาย: ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติได้รับการรักษาพยาบาล วัตถุประสงค์: ประเมินผลลัพธ์จานวนผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินวิกฤติที่ได้รับการรักษาพยาบาล ผลลัพธ์: GOAL 100% ของจานวนผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ระดับที่ปฏิบัติได้ 92.50% 95.60% 100% 100% 4. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ 4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพที่เสร็จสิ้นแล้ว4) 1) การร่วมกันทางานอย่างเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ รู้เขา รู้เรา โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ทาให้เกิด ความสมานฉันท์ของทีมงาน 2) ได้ฝึกการฟังและเรียนรู้การช่วยเหลือคนไข้ใน “มิติของจิตวิญญาณ” ทาให้มองหาความสวยงาม สิ่งที่คนไข้ให้คุณค่าให้ความสาคัญ ความเชื่อ ความศรัทธา ความต้องการที่แท้จริง เป้าหมายชีวิต หรือพลังชีวิตที่ทาให้คนไข้อยากมีชีวิตยืนยาว เมื่อเรามองหาได้ พบเราก็สามารถเติมเต็มในส่วน นั้น ๆ ได้ ทาให้คนไข้รวมทั้งคนใกล้ชิดมีความสุขนาสู่สุขภาวะที่ดีหรือยอมรับการจากไปอย่าง สงบ 3) ได้ฝึกและเรียนรู้การให้บริการจากภายใน (จิตใจที่สงบ ฟังอย่างใส่ใจ สะท้อนความคิดด้วยความ ไม่มีอคติ มองเชิงบวก) หรือการเติมเต็มด้วยหัวใจ ทาให้เราเกิดพลัง เกิดความคิดในการศึกษา เรียนรู้ช่องทางการดูแลคนไข้และคนใกล้ชิด ทั้งบริการที่มีในโรงพยาบาล หรือเครือข่ายภายนอก และปรึกษาเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้บริหาร ซึ่งให้กาลังใจพวกเราเสมอ ผู้บริหารเข้าใจ ภาระงานที่ยาก ซับซ้อน และหนัก หากมีผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน มักให้กาลังใจ ร่วมให้ ความเห็น ร่วมพิจารณา ร่วมตัดสิน ทาให้พวกเรารู้สึกว่ามีพี่เลี้ยงคอยดูแลอยู่ข้าง ๆ 4) ได้ฝึกและเรียนรู้วิธีการค้นหา มิติของจิตวิญญาณ ทาให้คนไข้หรือคนใกล้ชิดเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม หรือเปลี่ยนความคิด เช่น จากไม่ยอมรับการรักษา เป็นยอมรับการรักษา ผ่านการ มอบความรักใน “วันพ่อ” หรือการชี้ให้คนไข้เห็นถึง ความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย จาก 4 สรุปความสาเร็จของการพัฒนาคุณภาพที่สาคัญในช่วงเวลาที่ผ่านมา อย่างสั้นๆ ประมาณ 5 บรรทัดถึงครึ่งหน้า ระบุแนวคิด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และ วิธีการทางานสาคัญที่เป็นข้อสรุปจากการพัฒนา
  • 15. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 15 ครอบครัว เช่น เมื่อคนไข้มารับการฉายแสงและต้องพักอยู่ที่อาคารเย็นศิระเพียงคนเดียว พวก เราให้โอกาสคนไข้ได้พูดคุยกับญาติผ่านทางโทรศัพท์ ฯลฯ 5) ได้เรียนรู้การทางานร่วมกันของเครือข่าย เห็นความเชื่อมโยงการดูแลคนไข้ร่วมกัน จาก ครอบครัว/พื้นที่ชุมชน สู่โรงพยาบาล จากโรงพยาบาลสู่ครอบครัว /พื้นที่ในชุมชน เช่น คุณยาย ไม่มารับการฉายแสงตามนัด พวกเราได้โทรศัพท์ประสานเชื่อมโยงกับพื้นที่ทราบว่าที่คุณยายไม่ มารับการฉายแสงตามแพทย์นัดเพราะคุณตาที่เป็นผู้ต้องพาคุณยายมาทุกครั้งล้มลง ไม่สามารถ เดินทางได้ อบต.ในพื้นที่ได้จัดรถมาส่งคนไข้ได้การฉายแสงครบตามแผนการรักษาของแพทย์ และคุณตาได้รับการรักษาเช่นเดียวกัน และเมื่อแพทย์สิ้นสุดการรักษาทั้งคุณตาและคุณยาย ได้รับการดูแลจากอาสาสมัครในพื้นที่ เห็นความสวยงามของทีมงาน 6) ได้เรียนรู้ความรัก ความเอื้ออาทร ของคนไข้ และญาติ ๆ ที่พักอาศัย ณ อาคารเย็นศิระ เช่น ชาว ไทย-มุสลิม จูงมือ ชาวไทย-พุทธ ไปพบแพทย์ / เมื่อวันที่คนหนึ่งคนใดต้องจากไปอย่างสงบ เข้า ร่วมพิธีกรรมทางศาสนาในวันสุดท้าย ฯลฯ 7) บุคลากรเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง ลดตัวตน มีความอ่อนโยน ยอมรับ พฤติกรรมของคนไข้ (เกิดจากโรค/เจ็บปวด) รู้จักให้ความรัก ความเมตตา เช่น รู้จักป้อนอาหาร คนไข้ / เช็ดตัว / เช็ดอุจจาระ ปัสสาวะ /จัดหาเสื้อผ้า /เปลี่ยน/ปูผ้าที่นอน / เยี่ยมผู้ป่วยเป็น ระยะ ฯลฯ สร้างแรงบันดาลใจในการดูแลคนไข้ รวมไปถึง นักศึกษาแพทย์ หลังจากเสร็จสิ้นการ เรียนการสอน นักศึกษาแพทย์คนหนึ่งได้พูดว่า “ผมขออนุญาตมาเยี่ยมคนไข้ต่อนะครับ ได้ฟัง คนไข้เล่าชีวิตแล้ว ทาให้ผมเกิดปัญญา” 8) ได้นาชีวิตของคนไข้มาเป็นกาลังใจในการทางานเมื่อเราเครียดและท้อแท้ เราก็กลับย้อนมองไปที่ คนไข้ว่าเขาผ่านตรงนั้นมาได้อย่างสวยงาม และบางครั้งคาพูดของคนไข้ คุณลุง คุณป้า กลับมา สอนพวกเรา เช่น รู้จักปล่อยวางนะลูกนะ/ โรคหรือความทุกข์มาอยู่กับเราสักวันก็หายไป/ ความเจ็บป่วย ทาให้เรารู้จักความอดทน เสียสละ / ฝึกเรียนรู้ที่อยู่กับปัญหา ความเจ็บปวด ทา ให้ชีวิตมีพลัง / พลังความรักทาให้หายจากความเจ็บปวด ความทุกข์ / ยอมรับว่าเป็นกรรมเก่า / เราต้องสู้ ยังไงก็ต้องสู้ เมื่อชีวิตยังอยู่ก็ต้องเดินไปข้างหน้าสู้ให้ถึงที่สุด / การร้องไห้เป็นวิธีหนึ่งที่ ช่วยคลายความทุกข์ / แม้เราไม่มีเงิน ไม่มีสิ่งของให้เขา แต่เรามีหัวใจให้ทั้งดวงเลย มอบความรัก ให้กับทุกคน / ขอบคุณความเจ็บปวด ทาให้เราได้เรียนรู้และรู้จักที่จะปรับตัวให้เข้ากันได้ / ไข้ คิดว่าไม่ไข้ ทุกข์คิดว่าไม่ทุกข์ ฯลฯ ทาให้พวกเราได้เติมเต็มความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งในชีวิต ครอบครัว และชีวิตการทางาน
  • 16. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 16 4.2 การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดาเนินการ 1) การทา KM (Knowledge Management) เพื่อให้เกิดความรู้ถ่ายทอดบุคลากร และขยายไปยัง เพื่อนร่วมวิชาชีพ 2) การสร้างจิตสานึกผู้ป่วยและญาติที่เข้าพักอาศัย ณ อาคารเย็นศิระ ตามมาตรฐาน 5 ส สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน สร้างวินัย ทุกที่ทุกเวลา 5. แผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง5 5.1 การปรับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้เข้าพักอาศัยให้มีที่พักผ่อน คลาย ทุกข์ รับประทานอาหาร บริเวณด้านหน้าอาคารเย็นศิระ 6. ผลลัพธ์ ปี พ.ศ. 2559 6.1 จานวนผู้เข้าพัก 166,418 ราย (13,868 ราย/เดือน : 456 ราย/วัน) 1) แยกตามศาสนา - ไทยพุทธ จานวน 120,544 ราย (330 ราย/วัน) : 71.07% - ไทยมุสลิม จานวน 45,874 ราย (126 ราย/วัน) : 28.93% 2) แยกผู้ป่วยและญาติ - ผู้ป่วย จานวน 67,952 ราย (186 ราย/วัน) : 40.84% - ญาติ จานวน 98,466 ราย (270 ราย/วัน) : 59.16% 6.2 ด้านบริการสวัสดิการสังคม รายการ จานวนราย 1. ติดตามสิทธิพึ่งมีพึงได้ (ร่วมกับนักสังคมสงเคราะห์ประจาหอผู้ป่วย) 105 ราย 2. จดทะเบียนผู้พิการเพื่อให้ได้ซึ่งสิทธิหลักประกันสุขภาพ 12 ราย 3. ส่งเข้าสถานสงเคราะห์ 1 ราย 4. ติดตามญาติ (เร่ร่อน /ไร้บ้าน/ปฏิเสธจากครอบครัว/รับกลับบ้าน/พบ แพทย์เพื่อร่วมวางแผนการรักษา ) 354 ราย 5. ส่งกลับภูมิลาเนา 21 ราย 6. ช่วยเหลือค่าครองชีพ เครื่องอุปโภค – บริโภคในการดารงชีพ 15,897 ราย 5 อาจระบุทิศทางของการพัฒนา, โครงการสาคัญที่วางแผนไว้หรืออาจจะระบุรายละเอียดของโครงการ (วัตถุประสงค์ กรอบเวลา ข้อมูลที่จะใช้ ติดตามกากับ)
  • 17. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 17 7. สื่อสารทาความเข้าใจกรณีปฏิเสธการรักษา / สภาพปัญหาทางสังคม 114 ราย 8. ร่วมกับ อปท. / ส่วนราชการ ประสานงาน / อานวยความสะดวกให้ ผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด (การจัดรถ / จัดที่พัก) 6.3 สรุปค่าใช้จ่ายในการให้การช่วยเหลือ รายการ 2557 2558 2559 1. อาหารผู้ป่วยมะเร็ง (ภ.รังสีวิทยา) 113,775.00 352,510.00 355,860.00 2. อุปโภค – บริโภค 300,000.00 8,297.00 38,927.00 3. โครงการส่งเสริมอาชีพ 155,200.00 235,700.00 303,850.00 4. กิจกรรมเพื่อผู้ป่วย 66,955.00 186,614.00 575,414.00 5. ค่าพาหนะ/ครองชีพ 22,284.00 1,900.00 6,280.00 6. ค่าไฟฟ้า-น้าประปา 575,779.69 716,869.56 635,688.98 7. บริการรถรับส่งผู้ป่วย 175,200.00 123,600.00 94,530.00 8. ค่าจัดจ้างทาความสะอาด 497,536.00 96,536.00 48,768.00 9. ค่าใช้จ่ายดาเนินงาน 133,667.75 224,733.35 572,358.65 10. ค่าตอบแทนบุคลากร 572,420.00 650,000.00 468,724.00 11. ข้าวสาร/อาหารเหลวผู้ไร้สิทธิ 71,050.00 80,750.00 - 12. ค่าใช้จ่ายห้องพยาบาล 100,000.00 12,825.00 - 13. พัฒนาบุคลากร (ประชุม/อบรม) 0.00 19,561.00 - รวมทั้งหมด 2,659,171.43 2,621,716.41 3,100,400.63 6.4 เกิดกัลยาณมิตรการร่วมดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในสังคม และร่วมบริจาคเครื่อง อุปโภคบริโภคเพื่อผู้ป่วยและญาติ - เครื่องอุปโภค – บริโภค รายการ จานวนชิ้น จานวนเงิน 1. พัดลม 32 22,336 2. กระดาษทิชชู 958 253,736 3. ข้าวสาร 1,152 55,373 4. นมกล่อง 2,723 40,844 5. ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 277 44,247 6. บะหมี่กึ่งสาเร็จรูป (ถ้วย) 170 2,553 7. บะหมี่กึ่งสาเร็จรูป (ห่อ) 252 13,845 8. น้าหวาน 5,105 178,691
  • 18. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 18 รายการ จานวนชิ้น จานวนเงิน 9. ปลากระป๋อง 455 6,825 10. ผ้าถุงผู้หญิง 92 9,218 11. ผ้าถุงผู้ชาย 66 6,618 12. แปรงสีฟัน 280 5,602 13. ยาสีฟัน 652 6,524 14. สบู่ 908 18,153 15. แป้ง 187 3,735 16. ยาสระผม 326 6,524 17. โอวัลติน 115 9,171 18. กาแฟ 53 4,255 19. ขนมขบเคี้ยว / ขนมปัง 199 39,709 20. น้าดื่ม 13,615 68,073 รวม 27,617 796,030 - วัสดุทางการแพทย์ รายการ จานวนชิ้น จานวนเงิน 1. ผ้าก๊อซ 3x3 /ผ้าก๊อซ 4x4 116 10,258 2. ไม้พันสาลี 50 1,489 3. เทปตบแต่งแผล (ทรานสพอร์) 183 6,541 4. เทปตบแต่งแผล (ไมโครพอร์) ½ นิ้ว 232 9,002 5. น้าเกลือล้างแผล 500 ซีซี /1000 ซีซี 243 9,372 6. แอลกอฮอล์ 64 4,467 7. เบต้าดีน 24 6,382 8. ถุงมือยาง 41 7,239 9. ผ้าปิดจมูก 50 4,467 10. Set ทาแผลสาเร็จรูป 207 2,586 11. แอลกอฮอล์ล้างมือ 99 2,482 รวม 1,308 64,285 - ยาสามัญประจาบ้าน รายการ จานวน จานวนเงิน 1. ยาดม 404 8,084 2. ยาธาตุน้าขาว 92 1,844 3. ยาธาตุน้าแดง 73 1,465
  • 19. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 19 4. ยาแก้ปวด ชนิดเม็ด 430 6,453 5. ยาแก้ปวดชนิดน้า 69 2,399 6. ยานวดคลายกล้ามเนื้อ 142 3,829 7. ผงเกลือแร่ / ORS 278 1,980 รวม 22,045
  • 20. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 20 ภาพประกอบ บริการการเจ็บป่วย ผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน บริการรถตุ๊ก ๆ มอบเครื่องอุปโภค – บริโภค
  • 21. แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน HA ส่วนที่ III ข้อมูลระดับหน่วยงาน สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล 21 โครงการส่งเสริมอาชีพ ซ่อมแซม/ทาความสะอาด ณ อาคารเย็นศิระ ดูแลผู้ป่วยไร้ญาติ พับผ้าในโรงพยาบาล กิจกรรมเพื่อผู้ป่วย ทาบุญประจาปีอาคารเย็นศิระและสวัสดีปีใหม่ วันสงกรานต์ ถวายพระพร วันแม่ วันพ่อ วันลอยกระทง การเรียนการสอน แหล่งหล่อหลอม บ่มเพาะ จิตอาสา