SlideShare a Scribd company logo
เกณฑ์คุณภาพ
งานเยี่ยม
สำนักการพยาบาล
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข
บ้าน

พระบรมราโชวาท 
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕

	 การปฏิบัติราชการในปัจจุบันนี้มุ่งหมาย
เอาประสิทธิภาพปริมาณงานและความรวดเร็ว
เป็นสำคัญ ผู้ปฎิบัติราชการจึงพากันเอา
วิทยาการก้าวหน้าพร้อมทั้งเครื่องกลที่ทรง
ประสิทธิภาพสูงต่างๆ มาใช้กันอย่างกว้างขวาง
วิทยาการเครื่องกลเหล่านี้เมื่อนำมาปฏิบัติการ
แล้ว จะต้องได้ผลอย่างสูงทุกครั้งไป คือถ้าใช้ถูก
ก็ทำให้ได้ประโยชน์มาก ถ้าใช้ไม่ถูกก็ทำให้เสียหาย
ได้มากเท่าๆ กัน การจะนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาใช้
งาน จึงต้องระมัดระวัง ศึกษาให้ทราบแน่แท้

โดยตลอดก่อน ทั้งโครงงานที่จะทำ ทั้งเครื่อง
ปฎิบัติงานที่จะใช้ มิฉะนั้นจะเกิดความสิ้นเปลือง
และสูญเปล่าได้ง่ายดายที่สุด

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕

สำนักการพยาบาล
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข
เกณฑคุณภาพ
งานเยี่ยม
สำนักการพยาบาล
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข
ºéÒ¹
สำนักการพยาบาล
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข
หนังสือเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
ที่ปรึกษา
ดร.กาญจนา จันทร์ไทย 		 ผู้อำนวยการสำนักการพยาบาล
บรรณาธิการ
นางนวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา		 สำนักการพยาบาล
นางสาวพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์	 สำนักการพยาบาล
คณะผู้เขียน
นางนวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา		 สำนักการพยาบาล
ดร.ธีรพร สถิรอังกูร		 สำนักการพยาบาล
นางทิพย์สุดา ลาภภักดี		 สำนักการพยาบาล
นางสาวอรรถยา อมรพรหมภักดี 	 สำนักการพยาบาล
นางสาวพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์	 สำนักการพยาบาล พิมพ์ที่
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
โทร. 0 2525 4807 โทรสาร 0 2525 4855
เกณฑ์คุณภาพ
งานเยี่ยมบ้าน
สำนักการพยาบาล
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
การพยาบาลในชุมชนเป็นงานบริการที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีความ
หลากหลายตามสภาวะสุขภาพของประชาชน พยาบาลชุมชนมีบทบาทในการดูแล
ผู้เจ็บป่วยนอกโรงพยาบาลด้วยการเป็นกัลยาณมิตรกับเพื่อนมนุษย์ทุกกลุ่มวัยและ
ทุกช่วงระยะเปลี่ยนผ่านของชีวิต เพื่อช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งกาย
และใจ โดยพยาบาลจะให้การดูแลในขอบเขตมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งต้องมีองค์
ประกอบสำคัญของศาสตร์ความรู้ที่เป็นระบบ  มีทฤษฎีรองรับ และนำความรู้สู่
การปฏิบัติดูแลผู้ป่วยด้วยความละเอียดอ่อนนุ่มนวลให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงสัมผัสที่เปี่ยม
ด้วยความรู้สึกเมตตารักใคร่ มีความเข้าใจมนุษย์แบบองค์รวม  และใช้วิจารณญาณ
ช่วยหาทางแก้ปัญหาที่เกิดกับผู้ป่วยภายใต้บริบทสภาพแวดล้อม อันส่งผลต่อการ
เจ็บป่วย การฟื้นหายจากโรคของผู้ป่วยด้วยทรัพยากรที่มีอยู่  สำนักการพยาบาล
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล มองเห็นว่ากลวิธีการเยี่ยม
บ้านเป็นวิธีที่ช่วยให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยในชุมชนได้ผลดี จึงได้จัดทำ “หนังสือการ
พยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน” เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานสำหรับทีมการ
พยาบาลที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยในพื้นที่นอกโรงพยาบาล (ที่บ้าน) ในปี พศ.๒๕๕๕
ต่อมาในปี ๒๕๕๖ จึงได้จัดทำหนังสือเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน เป็นเกณฑ์

ประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อใช้คู่กับหนังสือการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน หนังสือ
คำนำ
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วยเกณฑ์ที่เป็นปัจจัยองค์ประกอบของ
ทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการเยี่ยมบ้าน  กระบวนการหลักสำคัญที่
ต้องดำเนินงานให้ครบถ้วน และผลลัพธ์การดำเนินงาน ที่ต้องการให้เกิดจากการ
ดำเนินงานเยี่ยมบ้าน  ทีมการพยาบาลสามารถนำเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน

ไปใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเพื่อหาจุดพัฒนา ให้เกิดความสมบูรณ์ของปัจจัย

องค์ประกอบ  กระบวนการดำเนินงาน  และผลลัพธ์ที่คาดหวังให้บรรลุจากการให้
บริการพยาบาลที่บ้านได้
         สำนักการพยาบาลขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะทำงานทุกท่านที่
กรุณาสละเวลา มาร่วมคิดและให้ข้อคิดเห็นต่างๆ อันเป็นประโยชน์ทำให้หนังสือ
เล่มนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพยาบาลที่ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่
บ้าน จะนำเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนผู้รับ
บริการต่อไป 
	 	 	 	 	 สำนักการพยาบาล
	 	 	 	 	 มกราคม 2557
สารบัญ
หน้า
คำนำ

ความเป็นมา “เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน”	 1
วัตถุประสงค์	 2 
ผู้ใช้เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน	 2	
ขั้นตอนการจัดทำเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน	 3
แนวคิดการพัฒนาเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน	 3	
กรอบแนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน	 4	
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน Input,  Process, Output/ Outcome	 6
คำชี้แจง	 7
การนำเกณฑ์นี้ไปใช้	 7
การจัดระดับการพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน	 8
คำอธิบายผลการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน	 9
คำจำกัดความเกณฑ์ย่อยแต่ละประเด็นของเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน	 10
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน	 16
บรรณานุกรม	 25

ภาคผนวก	
ภาคผนวกที่ 1  รายนามผู้ทรงคุณวุฒิและคณะทำงาน	 27
ภาคผนวกที่ 2  รายนามคณะกรรมการวิชาการพิจารณาเนื้อหา	 28
1
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
	 ความเป็นมา

	 สำนักการพยาบาล มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพบริการ
พยาบาลเห็นความสำคัญของการพัฒนาบริการพยาบาลเยี่ยมบ้าน จึงได้จัดทำ
โครงการ “พัฒนาบริการพยาบาลปฐมภูมิ : การเยี่ยมบ้าน” เพื่อส่งเสริมบทบาท
พยาบาลให้สังคมประจักษ์และให้สอดคล้อง ตามพรบ.วิชาชีพการพยาบาลและ
ผดุงครรภ์ พ.ศ.2540 มาตรา 3 ที่กำหนดไว้ว่า  การประกอบวิชาชีพการพยาบาล  
หมายถึง “การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการดูแลและการช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย  
การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ…….”  และด้วยข้อ
กำหนดนี้พยาบาลวิชาชีพ จึงต้องขยายบทบาทการดูแลผู้เจ็บป่วยจากโรงพยาบาล
ครอบคลุม ไปถึงผู้ป่วยที่บ้าน/ชุมชน ด้วย
	 สำนักการพยาบาล ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดบริการพยาบาล

ผู้ป่วยที่บ้านให้เป็นแนวทางเดียวกันในสถานบริการทุกระดับให้ประชาชนประจักษ์
ทั้งประเทศ   และพยาบาลเป็นบุคลากรสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน
การบริการพยาบาลระดับปฐมภูมิ งานการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านเป็นส่วนหนึ่งของ
บริการปฐมภูมิซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพยาบาลระดับปฐมภูมิ   สำนักการ
พยาบาล จึงได้จัดทำแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านขึ้น พร้อมกับจัดทำเกณฑ์
คุณภาพงานเยี่ยมบ้านเป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพงานเยี่ยมบ้านโดยมีเป้า
หมาย เพื่อให้ผู้ป่วยที่บ้านได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ ตามนโยบายการพัฒนาหน่วย
บริการปฐมภูมิทั้งในเขตเมืองและชนบท
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2

	 วัตถุประสงค์

	 1.	 เพื่อให้ผู้นิเทศงานการเยี่ยมบ้านใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพ
งานเยี่ยมบ้านของหน่วยบริการ
	 2.	 เพื่อให้บุคลากรพยาบาลที่ปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านใช้เป็นเครื่องมือใน
การประเมินตนเองเพื่อวิเคราะห์ส่วนขาดที่ต้องพัฒนาให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์
คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน


	 ผู้ใช้เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน

       	 1.	 ผู้นิเทศระดับจังหวัด
      	 2.	 ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ
3
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน

	 ขั้นตอนการจัดทำเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน

	 1.	 ยกร่างเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน โดยคณะทำงาน สำนักการ
พยาบาล
	 2.	 พิจารณาร่างเกณฑ์คุณภาพฯ โดยคณะทำงานจัดทำเกณฑ์คุณภาพ
งานเยี่ยมบ้าน
	 3.	 วิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านให้สมบูรณ์
	 4.	 นำเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านไปทดลองใช้กับสถานบริการปฐมภูมิ
4 ภาค 4 เครือข่ายบริการ
	 5.	 แก้ไขปรับปรุงเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านให้มีความสมบูรณ์ครบ
ถ้วน มีความเข้าใจตรงกันทั้งผู้ปฏิบัติและผู้นิเทศงานเยี่ยมบ้าน
	 6.	 จัดประชุมสรุปเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
	 7.	 จัดพิมพ์เผยแพร่สู่การปฏิบัติในระดับจังหวัด


	    แนวคิดการพัฒนาเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน

	 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ใช้แนวคิดเชิงระบบ  ประกอบด้วย ปัจจัย
นำเข้าการดำเนินงาน (Input) กระบวนการบริการ (Process) และผลลัพธ์การ
พยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน (Output and Outcome) โดยให้สอดคล้องกับกรอบ
แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน ตามแผนภาพดังนี้
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
4
ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
ความต้องการการพยาบาลที่บ้าน
ก่อนเยี่ยมบ้าน
♦	 เตรียมข้อมูลสุขภาพ
♦	 กำหนดแผนและ
วัตถุประสงค์การเยี่ยม
♦	 เตรียมอุปกรณ์เครื่อง
ใช้ผู้ป่วยแต่ละราย
ระหว่างเยี่ยมบ้าน
♦	 ประเมินภาวะสุขภาพ
สิ่งแวดล้อม/ชุมชน/
ครอบครัว/ผู้ดูแล  
♦	 วินิจฉัยการพยาบาล
♦	 วางแผนการพยาบาล
♦	 ปฏิบัติการพยาบาล
	 ประเมินผลการพยาบาล
♦	 บันทึกการพยาบาล

Input
 Process
1. 	ทีมเยี่ยมบ้าน
2.	ระบบการพยาบาลเชื่อม
โยงการดูแลผู้ป่วย
3. 	อุปกรณ์ / เครื่องใช้
4.	ปัจจัยสนับสนุนการ
พยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน   
	 4.1	ศักยภาพของชุมชน
	 4.2 	ผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
	 4.3	แหล่งประโยชน์ใน
ชุมชน

กรอบแนวคิด      
ข้อมูลป้อนกลับ
ก่อนเยี่ยมบ้าน
 ระหว่างเยี่ยมบ้าน
ประเมินผลการดูแลสุขภาพที่บ้าน
5
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
หลังเยี่ยมบ้าน
♦	 ประเมินผลตาม
	 วัตถุประสงค์และ
	 แผนการเยี่ยม
♦	 กำหนดแผนการ			
	 พยาบาลต่อเนื่อง
♦	 การจำหน่าย
♦	 การส่งต่อ
♦	 บันทึกการพยาบาล
1.	 อัตราความครอบคลุมการ
เยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน
2. 	อัตราผู้ป่วยส่งกลับได้รับ
การเยี่ยมบ้าน
3.	 จำนวนชั่วโมงเยี่ยมบ้าน
4.	 อัตราการเกิดภาวะ
แทรกซ้อน
5.	 ร้อยละผู้ป่วยสามารถ
ควบคุมภาวะโรค
6.	 อัตราการตอบกลับข้อมูล
7. ความพึงพอใจของผู้รับ
บริการ
8. ความพึงพอใจของทีมเยี่ยม
บ้าน
Output
 Outcome
1.	 ผู้ป่วยสามารถดูแล	
ตนเองได้
2.	 กลุ่มเสี่ยงลดลง
3.	 อุบัติการณ์กลุ่มป่วย	
รายใหม่ลดลง
4.	 อุบัติการณ์กลุ่มป่วย	
ที่มีภาวะแทรกซ้อน	
ลดลง
5.	 ลดอัตราความพิการ	
และการสูญเสียชีวิต	
จากโรค

      การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
หลังเยี่ยมบ้าน
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
6
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านมีประเด็นต่างๆ ดังนี้  

  Input   ประกอบด้วย 
1. ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการเยี่ยมบ้าน 
2. ทีมเยี่ยมบ้าน  แบ่งเป็นเกณฑ์ย่อย 4 ประเด็น คือ  
	 2.1 ทีมเยี่ยมบ้านของสถานบริการปฐมภูมิ  
	 2.2 การทำงานเป็นทีม (ทั้งภายในและภายนอก) 
	 2.3 สมรรถนะของทีมเยี่ยมบ้าน  
	 2.4 การสร้างการมีส่วนร่วม
3. ปัจจัยสนับสนุนการจัดบริการ  ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้

  Process ประกอบด้วย
1. งานบริการเยี่ยมบ้าน แบ่งเป็นเกณฑ์ย่อย 3 ประเด็น คือ 1.1 กลุ่มเป้าหมาย
เยี่ยมบ้าน 1.2 กระบวนการเยี่ยมบ้าน 1.3 กิจกรรมการพยาบาลที่บ้าน
2. ระบบการดูแลต่อเนื่อง แบ่งเป็นเกณฑ์ย่อย 4 ประเด็น คือ 2.1 การประสาน
การดูแลต่อเนื่อง 2.2 ศูนย์การดูแลต่อเนื่อง (COC) 2.3 การเยี่ยมบ้านร่วมกัน
ระหว่างหน่วยบริการ 2.4 การบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้าน 

  Output/Outcome   ประกอบด้วย
1. ตัวชี้วัดผลลัพธ์การเยี่ยมบ้าน แบ่งเป็นตัวชี้วัดย่อย 4 ประเด็น คือ  
	 1.1 ผลการปฏิบัติงานการเยี่ยมบ้าน    
	 1.2 คุณภาพการเยี่ยมบ้าน 
	 1.3 ประสิทธิภาพของผู้ให้บริการเยี่ยมบ้าน 
	 1.4 ประสิทธิภาพการดูแลที่ไร้รอยต่อ
7
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
คำชี้แจง 
	 1.	 ผู้ใช้เกณฑ์นี้ต้องทำความเข้าใจข้อความเกณฑ์แต่ละข้ออย่างถ่องแท้
โดยแปลความตามอักษรและอ่านคำอธิบาย/ความหมาย (หน้า 10-15) เพื่อให้
เข้าใจความหมายของคำที่ใช้ในเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านตรงกัน
	 2.	 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านหัวข้อ “ข้อมูลสนับสนุน” หมายถึง
แหล่งข้อมูล/หลักฐานเชิงประจักษ์ ผู้ประเมินต้องใช้ประกอบการตัดสินใจขณะ
ประเมินว่า “มี” หรือ “ไม่มี” ตามเกณฑ์ ทั้งนี้ผู้ประเมินสามารถใช้ข้อมูลจาก
แหล่งอื่นเพิ่มเติมได้หรือใช้เพียงบางส่วนของข้อมูลสนับสนุนที่ระบุไว้ในเกณฑ์นี้
โดยไม่ต้องมีครบทั้งหมดที่ระบุ แต่ผู้ประเมินต้องพิจารณาหลักฐานที่แสดงถึง
คุณภาพการดำเนินงานในภาพรวมของประเด็นแต่ละข้อในการส่งผลต่องาน
บริการเยี่ยมบ้านว่ามีพอที่จะทำให้เกิดคุณภาพได้หรือไม่ ก่อนระบุว่า “มี”
	 3.	 เกณฑ์ย่อยแต่ละประเด็นประกอบด้วย 3 เกณฑ์ประเมินย่อย เกณฑ์
ประเมินย่อยแต่ละข้อมีความสำคัญเท่ากันและกำหนดให้มีน้ำหนักคะแนนเท่ากับ
1 เท่ากันทุกข้อ การประเมินจะให้คะแนน 1 คะแนน ถ้ามี และถ้าไม่มี ให้ 0
คะแนน การประเมินเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านจะสมบูรณ์ต้องประเมินเกณฑ์
ประเมินย่อยครบทุกข้อในแต่ละประเด็นเกณฑ์

การนำเกณฑ์นี้ไปใช้
	 สำหรับผู้นิเทศระดับจังหวัด   สามารถนำเกณฑ์นี้ไปใช้ประเมิน การ
บริการพยาบาลเยี่ยมบ้านของหน่วยบริการปฐมภูมิทุกแห่ง เพื่อนำคะแนนที่ได้จาก
การใช้เกณฑ์ประเมินแบ่งระดับการบริการเยี่ยมบ้านเป็นระดับ 1 ระดับ 2 และ
ระดับ 3 ตามลำดับ  และเสนอแนะหน่วยบริการจัดทำแผนแผนพัฒนาตัวเองในข้อ
ประเด็นเกณฑ์ที่หน่วยบริการพัฒนาตัวเองได้ แต่ในข้อประเด็นเกณฑ์ที่เกินอำนาจ
หน่วยบริการต้องจัดทำแผนพัฒนาในภาพรวมของจังหวัด เพื่อหาวิธีสนับสนุนให้
สถานบริการทุกแห่ง จัดระบบบริการเยี่ยมบ้าน มีคุณภาพในระดับใกล้เคียงกันทุก
แห่ง
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
8
	 สำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ   สามารถนำเกณฑ์นี้ไปใช้
ประเมินการบริการพยาบาลเยี่ยมบ้าน ที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน  โดยให้จัดทำราย
ละเอียดวิธีปฏิบัติที่เป็นรายละเอียดของเกณฑ์แต่ละข้อให้สมบูรณ์ ตามบริบทของ
การจัดบริการและข้อใดประเมินได้ 0 คะแนน แสดงว่า เกณฑ์ข้อนั้นยังขาดความ
สมบูรณ์ในองค์ประกอบหลัก ควรมีการพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์
ตามเกณฑ์ต้นแบบที่กำหนด เพื่อเลื่อนระดับหลังการพัฒนาจากระดับ 1 เลื่อนมา
เป็นระดับ 2 หรือระดับ 3


การจัดระดับการพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 
	 โดยนำคะแนนที่ประเมินได้รวมทุกข้อแล้วนำมาเทียบระดับคะแนน
ดังนี้
	 คะแนนของ Input / procress และ Output
	 คะแนน Input/procress ได้ 1 - 30 คะแนน  รวมทำตัวชี้วัดผลลัพธ์
สำเร็จ (Out put) ไม่น้อยกว่า 4 ตัว  ผ่านเกณฑ์เยี่ยมบ้าน  ระดับ  1 
	 คะแนน Input/procress ได้  31 - 36 คะแนน  รวมทำตัวชี้วัดผลลัพธ์
สำเร็จ (Out put)  ไม่น้อยกว่า 6 ตัว  ผ่านเกณฑ์เยี่ยมบ้าน  ระดับ  2
	 คะแนน Input/procress ได้ 37 - 39 คะแนน รวมทำตัวชี้วัดผลลัพธ์
สำเร็จ (Out put) ครบ  8 ตัว  ผ่านเกณฑ์เยี่ยมบ้าน  ระดับ  3
9
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน



           คำอธิบายผลการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
ระดับของเกณฑ์คุณภาพ
งานเยี่ยมบ้าน
ผลการประเมิน
ระดับ  1

อยู่ในระดับเริ่มต้นของการพัฒนา ยังมีประเด็นที่
ต้องพัฒนาและการปฏิบัติตามเกณฑ์เยี่ยมบ้านเพื่อ
ให้สมบูรณ์ตามเกณฑ์ต้นแบบ 
ระดับ  2

การพัฒนามีความสมบูรณ์ตามเกณฑ์ต้นแบบเป็น
ส่วนมาก แต่ยังมีประเด็นที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อ
ให้สมบูรณ์ตามเกณฑ์ต้นแบบ
ระดับ  3

มีการพัฒนาและการปฏิบัติตามเกณฑ์เยี่ยมบ้าน
ครบถ้วนเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิต้นแบบการ
เยี่ยมบ้าน
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
10
คำจำกัดความเกณฑ์ย่อยแต่ละประเด็น
ของเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 
เกณฑ์ย่อย
แต่ละ
ประเด็น
คำอธิบาย / ความหมาย
ระบบงาน
 ระบบงานที่เกี่ยวข้องและต้องนำมาใช้ในการเยี่ยมบ้าน ประกอบ
ด้วย 3 ระบบ คือ
	 1.	 ระบบการดูแลต่อเนื่องเชื่อมโยงจากโรงพยาบาลถึงบ้านเน้นถึง
ระบบที่สนับสนุนส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วย 
	 2.	 การบูรณาการฐานข้อมูลมาใช้ในการวางแผนเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
แต่ละราย โดยข้อมูลอาจเป็นลายลักษณ์อักษร/อิเล็กทรอนิกส์ไฟล์

ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์
	 3.	 ระบบสร้างภาคีเครือข่าย (อปท. อบต. พมจ. เครือข่ายภาคี
ภาคประชาชน) เพื่อให้ได้รับความร่วมมือสนับสนุนทรัพยากรในการ
เยี่ยมบ้านของชุมชน
ทีมเยี่ยมบ้าน
ของสถาน
บริการ
ปฐมภูมิ
เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ  ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ แพทย์ 

นักกายภาพบำบัด เภสัชกร และบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ที่มีอยู่

ในหน่วยปฐมภูมิ เช่น นักวิชาการสาธารณสุข ทันตาภิบาล และภาคี
เครือข่ายอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการดูแล

ผู้ป่วยที่บ้าน 
การทำงาน
เป็นทีม (ทั้ง
ภายในและ
ภายนอก)
การที่บุคคลหลายคนกระทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ มี
การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน มีความสัมพันธ์เป็นทีมงาน
เดียวกัน หรือคาดหวัง/มีวัตถุประสงค์เป้าหมายร่วมกัน
11
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
เกณฑ์ย่อย
แต่ละ
ประเด็น
คำอธิบาย / ความหมาย
สมรรถนะ
ของทีมเยี่ยม
บ้าน
ความสามารถที่หลากหลายของสมาชิกทีมในการจัดการดูแลสุขภาพ
ของผู้ป่วยที่บ้าน บนฐานความรู้ เรื่องโรค ยา อาการแทรกซ้อน
สามารถคัดกรองและส่งต่อได้ทันเวลา และทักษะของการเป็น

ผู้ประกอบวิชาชีพ ในการเลือกใช้หรือสร้างเครื่องมือเฉพาะโรค

ตามสภาพปัญหาผู้ป่วยที่เหมาะสม  วิเคราะห์ต้นทุนทางสังคม ข้อมูล
ความเจ็บป่วยและคืนข้อมูลเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
การสร้างการ
มีส่วนร่วม
มีการระดมทรัพยากร / กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นๆ มาร่วม

รับผิดชอบ ทำกิจกรรมช่วยเหลือผู้ป่วย ร่วมทีมเยี่ยมบ้าน โดยมีการ
ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
	 1.	 มีเป้าหมายในการทำงานร่วมกันชัดเจน
	 2.	 มีระบบบริหารจัดการชัดเจน
	 3.	 มีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
	 4.	 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
	 5.	 มีการสรุปการทำงานร่วมกัน
	 6.	 มีการขยายภาคีเครือข่ายไปยังกลุ่มบุคคล องค์กรอื่น เพื่อเพิ่ม
สมาชิกในการทำงาน
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
12
เกณฑ์ย่อย
แต่ละ
ประเด็น
คำอธิบาย / ความหมาย
วัสดุ อุปกรณ์
เครื่องใช้ ใน
การเยี่ยมบ้าน
อุปกรณ์เครื่องใช้ในการเยี่ยมบ้าน
อุปกรณ์ประเภทที่ 1  สำหรับการเยี่ยมผู้ป่วยที่จัดไว้เป็นชุดอุปกรณ์
พื้นฐาน ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล เบอร์โทรศัพท์ผู้ป่วยหรือ

ผู้ดูแล เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัดรอบเอว เครื่องวัดความดันแบบพกพา
หูฟัง เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบพกพาพร้อมแถบตรวจน้ำตาล ปรอท
วัดไข้ ไฟฉาย ไม้กดลิ้น ชุดทำแผลและเวชภัณฑ์ยาที่สำคัญเบื้องต้น
เช่น ยาลดไข้ แก้แพ้ แก้ปวดท้อง ผงเกลือแร่ เป็นต้น
อุปกรณ์ประเภทที่ 2  เครื่องมือที่ต้องเตรียมเฉพาะราย/เฉพาะโรค  
สำหรับผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ติดตัว เช่น  ชุดสายสวน สาย
ยางให้อาหาร ชุดให้ออกซิเจน หรือชุดพ่นยาแบบพกพา สายดูดเสมหะ
สารหล่อลื่น และสื่อการสอน   แผ่นพับประกอบการสอนสุขศึกษา
อุปกรณ์ประเภทที่ 3  เป็นอุปกรณ์สนับสนุนต่อการเยี่ยมบ้าน เช่น
กล้องถ่ายภาพ กล้องถ่ายวีดีโอ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้หรือ
สนับสนุนในการปรับพฤติกรรมสุขภาพและสภาพสิ่งแวดล้อมที่บ้าน

ผู้ป่วย เช่น เครื่องมือแบบประเมิน  ไม้กระดาน ไม้ไผ่ เชือก  เพื่อปรับ
สภาพบ้าน ถุงยังชีพ ข้าวสาร-อาหารแห้ง เป็นต้น
** การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สามารถยืดหยุ่นตามปัญหา/
สถานการณ์ที่เฉพาะของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน
13
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
เกณฑ์ย่อย
แต่ละ
ประเด็น
คำอธิบาย / ความหมาย
กลุ่มเป้า
หมายเยี่ยม
บ้าน
กลุ่มผู้ป่วยในชุมชนเป็นรายกลุ่ม/รายโรค ที่กำหนดเกณฑ์ตามความ
รุนแรงของแต่ละโรคเป็นระดับ 1-3 เพื่อคัดกรองเป็นกลุ่มเป้าหมายใน
การเยี่ยมบ้าน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ Re-admit ด้วยภาวะ Hypo-
Hyperglycemia ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วย COPD ที่ Re-
admit  มากกว่า 2 ครั้ง / เดือน เป็นต้น โดยมีการจัดทำแนวทาง /
เครื่องมือในการเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดขึ้น และมีการจัดการ
ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบ
กระบวนการ
เยี่ยมบ้าน
กระบวนการเยี่ยมบ้านตามแผนการรักษา และความถี่ในการเยี่ยมบ้าน
ทั้งรายกลุ่มและรายโรค  รวมถึงการเยี่ยมบ้านในกรณีเกิดภาวะ
เฉียบพลัน  มีการติดตาม ควบคุม กำกับ ผลการดำเนินงานของการ
เยี่ยมบ้าน
กิจกรรมการ
พยาบาลที่
บ้าน
การจัดให้บริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านให้มีมาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์
แนวทางการรักษาพยาบาลที่กำหนดไว้ในระดับจังหวัดในแต่ละโรค
ภายใต้มาตรฐานวิชาชีพ รวมถึงให้การพยาบาลเพื่อลดอาการ

ไม่สุขสบาย/อาการรบกวน และการประสานส่งต่อเพื่อการรักษา

อย่างเหมาะสม
การประสาน
การดูแล
ต่อเนื่อง
การติดต่อประสาน การส่งข้อมูลการรักษา ปัญหาสุขภาพที่ต้องการให้
พยาบาลดูแลต่อเนื่องกันในแต่ละระดับสถานบริการเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับ
การรักษาต่อเนื่อง เตรียมผู้ป่วย/ญาติมีความพร้อมในการดูแลตนเอง

ที่บ้านได้ภายใต้บริบทและทรัพยากรที่เป็นไปได้
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
14
เกณฑ์ย่อย
แต่ละ
ประเด็น
คำอธิบาย / ความหมาย
ศูนย์การดูแล
ต่อเนื่อง     
(COC)
เป็นหน่วยประสานสนับสนุนพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องโดยเชื่อม
โยงระหว่างหน่วยงานทั้งภายใน  ภายนอกโรงพยาบาล   เพื่อให้เกิด
ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง ตั้งแต่วางแผนจำหน่าย การ
สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ การจัดการสารสนเทศและพัฒนา
ศักยภาพเครือข่ายในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน รวมถึงการนิเทศติดตาม
ประเมินผล
การเยี่ยมบ้าน
ร่วมกัน
ระหว่าง
หน่วยบริการ
มีการจัดระบบ/การให้คำปรึกษา/กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน/ การใช้
แผนการจำหน่ายที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยบริการทั้งระดับ
ตติยภูมิ/ทุติยภูมิ/ปฐมภูมิ  และหรือจากทีมเยี่ยมบ้านระดับจังหวัด

สูงกว่า ในกรณีผู้ป่วยมีปัญหาซับซ้อน
การบันทึก
ข้อมูลการ
เยี่ยมบ้าน
การบันทึกข้อมูลการให้บริการเยี่ยมบ้านเป็นลายลักษณ์อักษรอย่าง

ต่อเนื่อง แสดงถึงการใช้กระบวนการพยาบาลนำมาใช้ในการกำหนด
ประเด็นปัญหา แผนการดูแล และการพยาบาลช่วยเหลือที่ตรงตาม
ความต้องการ รวมถึงแผนการดูแลครั้งต่อไปที่สอดคล้องกับภาวะ
สุขภาพ  
ตัวชี้วัด
ผลลัพธ์การ
เยี่ยมบ้าน
เป็นตัวชี้วัดที่ใช้วัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากการให้บริการที่บ้าน ที่วัดทั้ง
ปริมาณภาระงาน  คุณภาพการเยี่ยมบ้าน   ประสิทธิภาพของผู้ให้
บริการเยี่ยมบ้าน และประสิทธิภาพการดูแลที่ไร้รอยต่อ
15
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
เกณฑ์ย่อย
แต่ละ
ประเด็น
คำอธิบาย / ความหมาย
ประเภทของ
ผู้ป่วยที่เยี่ยม
บ้าน
ประเภทของผู้ป่วยที่เยี่ยมบ้าน แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ผู้ป่วยประเภทที่ 1 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่เริ่มเจ็บป่วยระยะแรก มีการ
เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเล็กน้อย ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือการเกิดภาวะ
โรคร่วม  ยังช่วยเหลือตัวเองได้แต่ขาดความรู้ ความเข้าใจและการปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมกับสภาวะของโรค
ผู้ป่วยประเภทที่ 2 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีการดำเนินของโรคส่งผล
กระทบต่อวิถีชีวิตปกติมีความจำกัด/ไร้ความสามารถเล็กน้อย 

ช่วยเหลือตัวเองได้ไม่เต็มที่ ต้องการผู้ดูแลในการทำกิจวัตรประจำวันให้
ผู้ป่วยประเภทที่ 3 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของโรคทำให้
เกิด ความพิการ/จำกัดความสามารถในการทำกิจกรรมของตนเอง
หรือมีอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อช่วยในการดำรงชีวิต มี
ความจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือการทำกิจวัตรประจำวันให้
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
16
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
ชื่อสถานพยาบาล/โรงพยาบาล.....................................

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ตำบล..............................อำเภอ...............................จังหวัด.....................................
ชื่อผู้ประเมิน..........................................วัน เดือน ปี ที่ประเมิน...............................

ส่วนที่ 2 เกณฑ์การเยี่ยมบ้าน
องค์
ประกอบ
 ประเด็น
เกณฑ์
แต่ละ
ประเด็น
เกณฑ์ประเมินย่อย
ผลการ
ประเมิน
 ข้อมูล
สนับสนุน
มี
(1)
ไม่มี
(0) 
Input
 ระบบที่
เกี่ยวข้อง
กับการ
เยี่ยมบ้าน
ระบบงาน
 1. มีระบบการดูแลเชื่อมโยงจากโรงพยาบาล
มาถึงบ้านที่สนับสนุนการดูแลตนเองของผู้
ป่วย
-คู่มือ/เอกสารที่
แสดงระบบการ
ดูแลต่อเนื่องของ
CUP
-Flow chart
การดูแลต่อเนื่อง
2. มีระบบฐานข้อมูลการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย
สะดวกในการใช้และเป็นปัจจุบัน 
-ทะเบียนข้อมูลผู้
ป่วยจำแนกตาม
ระดับความ
รุนแรงเป็นกลุ่ม
โรคเป้าหมาย
สำคัญ
-แบบฟอร์มการ
ส่งต่อ
17
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
องค์
ประกอบ
 ประเด็น
เกณฑ์
แต่ละ
ประเด็น
เกณฑ์ประเมินย่อย
ผลการ
ประเมิน
 ข้อมูล
สนับสนุน
มี
(1)
ไม่มี
(0) 
3. มีระบบสร้างภาคีเครือข่ายสนับสนุนความ
ร่วมมือจากชุมชน
-รายงานการ
ประชุมของภาคี
เครือข่ายด้าน
สุขภาพ
-รายชื่อภาคีเครือ
ข่าย
ทีมเยี่ยม
บ้าน
ทีมเยี่ยม
บ้านของ
สถาน
บริการ
ปฐมภูมิ
4. เยี่ยมโดยพยาบาลวิชาชีพ
 -ใบมอบหมาย
งานตามลักษณะ
ความต้องการ
การดูแล
-เอกสารขอบเขต
ความรับผิดชอบ
ตาม flow chart
ในข้อ 1
5. เยี่ยมโดยบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ของ
หน่วยปฐมภูมินั้นๆ
6. เยี่ยมโดยบุคลากรของหน่วยปฐมภูมิร่วม
กับทีมภาคีเครือข่ายจากหน่วยงานอื่นๆ ทั้ง
ภาครัฐและเอกชน
-อธิบายคำสั่ง
แต่งตั้งคณะ
กรรมการ/คณะ
ทำงานระดับ
อำเภอ/จังหวัด
-บันทึกการเยี่ยม
บ้าน
การ
ทำงาน
เป็นทีม
(ทั้งภายใน
และ
ภายนอก)
7.ทีมสหสาขารับผิดชอบเยี่ยมบ้านตาม
ขอบเขต สาขาวิชาชีพและทำงานร่วมกัน
อย่างเป็นระบบ
-ใบมอบหมาย
งาน
-บันทึกการเยี่ยม
บ้านของแต่ละ
สาขาวิชาชีพ
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
18
องค์
ประกอบ
 ประเด็น
เกณฑ์
แต่ละ
ประเด็น
เกณฑ์ประเมินย่อย
ผลการ
ประเมิน
 ข้อมูล
สนับสนุน
มี
(1)
ไม่มี
(0) 
8.มีพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้จัดการ  กำหนด
เป้าหมายการเยี่ยมผู้ป่วย การวางแผน
จำหน่าย  และจัดทีมเยี่ยมบ้าน
-คำสั่งแต่งตั้ง/คำ
สั่งมอบหมายงาน
9.มีการวางแผนการจำหน่าย/ปรับแผนตาม
สภาพปัญหาผู้ป่วย และมีการประเมินผลลัพธ์
การดูแลร่วมกันของทีมเยี่ยมบ้าน
-แผนการ
จำหน่าย
สมรรถนะ
ของทีม
เยี่ยมบ้าน
10.มีความรู้เรื่องโรค ยา อาการแทรกซ้อน /
ซับซ้อน สามารถคัดกรองและส่งต่อได้ทัน
เวลา
-บันทึกการเยี่ยม
บ้าน
-สัมภาษณ์ทีม
เยี่ยมบ้าน
11.เลือกใช้หรือสร้างเครื่องมือเฉพาะโรค ตาม
สภาพปัญหาผู้ป่วยได้เหมาะสม เช่น
ADL,PPS,2Q,9Q ฯลฯ
-เอกสารหลักฐาน
การใช้เครื่องมือที่
เหมาะสมกับ
ผู้ป่วยแต่ละโรค
12.วิเคราะห์ต้นทุนทางสังคม ข้อมูลความเจ็บ
ป่วย และคืนข้อมูล เพื่อ empowerment
ให้เกิดความร่วมมือ
-บันทึกการเยี่ยม
บ้าน
-จากการ
สอบถามชุมชน/
ผู้ป่วย/ญาติเกี่ยว
กับการคืนข้อมูล
การสร้าง
การมีส่วน
ร่วม
13.พัฒนาให้เกิดภาคีเครือข่ายภาครัฐ และ
ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการเยี่ยม
บ้าน
-เอกสาร/
ภาพถ่ายแสดง
ความร่วมมือของ
ภาคีเครือข่าย
19
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
องค์
ประกอบ
 ประเด็น
เกณฑ์
แต่ละ
ประเด็น
เกณฑ์ประเมินย่อย
ผลการ
ประเมิน
 ข้อมูล
สนับสนุน
มี
(1)
ไม่มี
(0) 
14.สร้างความเข้มแข็งและขยายเครือข่าย
ภาคประชาชนมีบทบาทร่วมทีมเยี่ยมบ้าน
-เอกสาร/
ภาพถ่ายกิจกรรม
แสดงความร่วม
มือของประชาชน
-กองทุน
-กรรมการ
15.มีระบบสอน แนะนำ ที่ช่วยให้ อสม./
จิตอาสา รู้วิธีปฏิบัติ ในบทบาททีมเยี่ยมบ้าน
ภาคประชาชน
-เอกสาร/
ภาพถ่ายแสดง
การสอนแนะนำ
ทีมเยี่ยมบ้านภาค
ประชาชน
ปัจจัย
สนับสนุน
การจัด
บริการ
วัสดุ
อุปกรณ์-
เครื่องใช้
16. มีอุปกรณ์เยี่ยมบ้านครบถ้วนสภาพพร้อม
ใช้
-กระเป๋าเยี่ยม
บ้านครบถ้วน
สภาพพร้อมใช้
17. มีการบริหารจัดการวัสดุ อุปกรณ์ เครื่อง
ใช้ให้มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้
-หลักฐานการ
ตรวจสอบ
อุปกรณ์เครื่องใช้
รายวันเช่น
กระเป๋าเยี่ยม
บ้านฯ
18. มีการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีในบ้าน /
ชุมชนเพื่อให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย
-เอกสาร/
ภาพถ่าย
Process
 งาน
บริการ
เยี่ยมบ้าน
กลุ่มเป้า
หมาย
เยี่ยมบ้าน
19. มีเกณฑ์คัดกรองกำหนดผู้ป่วยกลุ่มเป้า
หมายเยี่ยมบ้านเป็นรายโรค
-เกณฑ์การคัด
กรองผู้ป่วยกลุ่ม
เป้าหมาย
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
20
องค์
ประกอบ
 ประเด็น
เกณฑ์
แต่ละ
ประเด็น
เกณฑ์ประเมินย่อย
ผลการ
ประเมิน
 ข้อมูล
สนับสนุน
มี
(1)
ไม่มี
(0) 
20. มีระบบสารสนเทศผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย
เยี่ยมบ้านเป็นปัจจุบัน
-ข้อมูลระบบ
สารสนเทศที่ใช้
21. มีผังแสดงความชุกของกลุ่มเป้าหมายใน
พื้นที่ตามระดับความรุนแรง
-SPOT MAP
กระบวน
การเยี่ยม
บ้าน
22.มีกระบวนการเยี่ยมบ้านตามแผนการ
รักษาและความถี่การเยี่ยมบ้านเป็นรายกลุ่ม /
รายโรค ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อมุ่งส่งเสริม
การดูแลตนเองของผู้ป่วย 
หมายเหตุ  ภายใน CUP ร่วมกันหาแนวทาง
การดูแลผู้ป่วยรายโรค และแผนการเยี่ยม
บ้าน 
-แนวทางการ
ดูแลผู้ป่วยราย
โรค
-แผนการเยี่ยม
บ้าน ประกอบกับ
บันทึกการเยี่ยม
บ้านและผลการ
เยี่ยมบ้าน
23. มีการเยี่ยมบ้านในกรณีเกิดภาวะ
เฉียบพลันได้ทันเวลาตามสภาพความรุนแรง
/ ซับซ้อนของแต่ละโรค
หมายเหตุ      ภายใน CUP ร่วมกันหา
แนวทางปฏิบัติการเยี่ยมบ้านกรณีเกิดภาวะ
เฉียบพลัน
-แนวทางปฏิบัติ
การเยี่ยมบ้าน
กรณีเกิดภาวะ
เฉียบพลัน
24. มีการติดตาม  ควบคุม  กำกับ  ผลการ
ดำเนินงาน
-สัมภาษณ์
ผู้นิเทศและ
ผู้ปฏิบัติงานเยี่ยม
บ้าน
-รายงานสรุป
ประเมินผล
กิจกรรม
การ
พยาบาลที่
บ้าน
25. ติดตามผลการรักษา /ทำหัตถการที่
จำเป็น / ฟื้นฟูสภาพป้องกันภาวะแทรกซ้อน 

-บันทึกการเยี่ยม
บ้าน
-สุ่มเยี่ยมบ้าน
21
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
องค์
ประกอบ
 ประเด็น
เกณฑ์
แต่ละ
ประเด็น
เกณฑ์ประเมินย่อย
ผลการ
ประเมิน
 ข้อมูล
สนับสนุน
มี
(1)
ไม่มี
(0) 
26. ให้การพยาบาลเพื่อลดอาการไม่สุขสบาย
/ อาการรบกวน
27. การประสานเพื่อการรักษาเบื้องต้น /
ส่งต่อ / ช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการ
ช่วยเหลือตามความเหมาะสม
ระบบการ
ดูแลต่อ
เนื่อง
การ
ประสาน
การดูแล
ต่อเนื่อง
28. มีช่องทางการสื่อสารเพื่อประสานและ
ปรับแผนการจำหน่ายตามภาวะของผู้ป่วย
ระหว่างเครือข่ายบริการที่มีประสิทธิภาพ
-หลักฐานช่อง
ทางการสื่อสาร
-บันทึกการรับ
โทรศัพท์
29. มีผู้รับผิดชอบหลักในการวางแผน
จำหน่ายทุกหน่วยบริการ
-หลักฐานการ
มอบหมายงาน
30. มีระบบข้อมูล สารสนเทศ เทคโนโลยีการ
สื่อสารข้อมูลงานเยี่ยมบ้านระหว่างสถาน
บริการที่เหมาะสมกับบริบท
-หลักฐานช่อง
ทางการสื่อสาร
-แบบบันทึกการ
ส่งต่อ line หรือ
ช่องทางอื่น
-ข้อมูลจาก 21
แฟ้ม
ศูนย์การ
ดูแลต่อ
เนื่อง
(COC)
31. มีการดำเนินการวางแผนจำหน่ายและ
การจัดการสารสนเทศ ข้อมูลการดูแลต่อเนื่อง
การประสาน ส่งต่อ หน่วยงานต่างๆ
-หลักฐานการ
ประสานข้อมูล
การดูแล
-หลักฐานการ
ส่งต่อ
32. มีทีมงานและมีการพัฒนาศักยภาพ
เครือข่ายดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
-หลักฐานการ
พัฒนาศักยภาพ
เครือข่ายฯ
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
22
องค์
ประกอบ
 ประเด็น
เกณฑ์
แต่ละ
ประเด็น
เกณฑ์ประเมินย่อย
ผลการ
ประเมิน
 ข้อมูล
สนับสนุน
มี
(1)
ไม่มี
(0) 
33. มีศูนย์/เครือข่าย แหล่งสนับสนุน
เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้ที่บ้าน
ผู้ป่วย
-หลักฐานการ
สนับสนุนเครื่อง
มือ อุปกรณ์ โดย
ศูนย์ฯในกรณีไม่มี
ของหน่วยงาน
เองต้องบอกได้ว่า
ใช้ร่วมกับใคร
การเยี่ยม
บ้านร่วม
กัน
ระหว่าง
หน่วย
บริการ
34. มีระบบการเยี่ยมบ้านร่วมกันระหว่าง
หน่วยบริการ กรณีผู้ป่วยส่งต่อมีปัญหา
ซับซ้อน

-หลักฐานการ
เยี่ยมบ้านร่วมกัน
ระหว่างหน่วย
งาน
35. มีการใช้แผนการจำหน่ายร่วมกันระหว่าง
สถานบริการต่างระดับ
36. มีกระบวนการให้คำปรึกษา/ระบบพี่เลี้ยง
ในระดับตติยภูมิ / ทุติยภูมิ / ปฐมภูมิ
-หลักฐานการจัด
ระบบ พี่เลี้ยงใน
เครือข่าย
การบันทึก
ข้อมูลการ
เยี่ยมบ้าน
37. มีการบันทึกข้อมูลการให้บริการทุกครั้ง

-บันทึกการเยี่ยม
บ้าน
38. มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปัญหาสุขภาพ
และการดูแลช่วยเหลือที่ตรงความต้องการ
39. มีการบันทึกที่แสดงถึงการใช้กระบวนการ
พยาบาลกำหนดประเด็นปัญหาและแผนการ
ดูแลครั้งต่อไปสอดคล้องกับภาวะผู้ป่วย
รวม  (คะแนนเต็ม 39 คะแนน)
23
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
องค์
ประกอบ
 ประเด็น
เกณฑ์
แต่ละ
ประเด็น
เกณฑ์ประเมินย่อย
ผลการ
ประเมิน
 ข้อมูล
สนับสนุน
มี
(1)
ไม่มี
(0) 
Output
 ตัวชี้วัด
ผลลัพธ์
การเยี่ยม
บ้าน
ผลการ
ปฏิบัติ
งานการ
เยี่ยมบ้าน 
1. จำนวนชั่วโมงการเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่
ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง / สัปดาห์ / คน
-ข้อมูลตัวชี้วัด
การเยี่ยมบ้าน
หมายเหตุ  
ภายใน CUP
ร่วมกันกำหนด
ตัวชี้วัดการเยี่ยม
บ้าน
2. อัตราความครอบคลุมการเยี่ยมผู้ป่วยที่
บ้านไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
คุณภาพ
การเยี่ยม
บ้าน
3. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่บ้านไม่เกิน
ร้อยละ 5
4. อัตราผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมบ้านสามารถ
ควบคุมภาวะโรค/ดูแลตนเองได้ ร้อยละ 80
ประสิทธิ
ผลของผู้
ให้บริการ
เยี่ยมบ้าน
5. ความพึงพอใจของทีมเยี่ยมบ้าน 
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

6. ความพึงพอใจของผู้รับบริการไม่น้อยกว่า    
ร้อยละ 80
ประสิทธิ
ภาพการ
ดูแลที่ไร้
รอยต่อ
7. อัตราผู้ป่วยส่งกลับจาก รพศ./รพท./รพช.
ได้รับการเยี่ยมบ้านภายใน 14 วัน 
ร้อยละ 100
8. อัตราการส่งข้อมูลผู้ป่วยระดับ 3 ถึงหน่วย
บริการปลายทางภายใน 5 วันร้อยละ 80
รวม  (คะแนนเต็ม 8 คะแนน)
รวมคะแนนทั้งหมด  (คะแนนเต็ม 47 คะแนน)
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
24
ข้อเสนอแนะ
…………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..............

สรุปการประเมินคุณภาพงานเยี่ยมบ้านอยู่ในระดับ        
❏ ระดับ 1         ❏ ระดับ 2           ❏ ระดับ  3  




	 ลงชื่อ…………………………………………………………ผู้ตรวจ
	 ลงชื่อ……………………………………………....ผู้รับการตรวจ
	 วันที่…………………………………………………..……….…......
25
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน


กองการพยาบาล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2544). มาตรฐานการ
พยาบาลในชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
กองการพยาบาล  สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2545). แนวทางการจัด
บริการพยาบาลระดับปฐมภูมิ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ จำกัด.	 
จันทร์เพ็ญ   สันตวาจา.(2552). แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎีและกระบวนการ
พยาบาล.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : บริษัทธนาเพรส จำกัด.
ประพิณ วัฒนกิจ.(2536). สุขภาพดีเริ่มที่บ้าน. (พิมพ์ครั้งที่  2).กรุงเทพฯ : สาม
เจริญพานิชย์.
ประพิณ วัฒนกิจ. (2542). การประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน
ในประเทศไทย. นนทบุรี : กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง
สาธารณสุข.
วันเพ็ญ พิชิตพรชัย  และ  อุษาวดี   อัศดรวิเศษ.(2546). การวางแผนจำหน่ายผู้
ป่วย แนวคิดและการประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ :  คณะ
พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริพร ขัมภลิขิต.(2539). แบบแผนสุขภาพ : การเก็บรวบรวมข้อมูล.กรุงเทพฯ :  
เทมการพิมพ์. 
ศิราณี อินทรหนองไผ่. (2553). กระบวนการพยาบาล : เครื่องมือนักจัดการ
สุขภาพองค์รวมเพื่อพัฒนาสุขภาพระดับปฐมภูมิ.(พิมพ์ครั้งที่ 4).
มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรีย์  ลี้มงคล.(2553). คู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วยในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน.
กรุงเทพมหานคร :  โรงพยาบาลศิริราช. 
บรรณานุกรม
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
26
สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2550). มาตรฐานการพยาบาลใน

โรงพยาบาล. (ปรับปรุงครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์
ทหารผ่านศึก.
Bates , B. (1995). A guide to physical examination and history
taking.  (6th
ed.).  Philadelphia :  J.B. Lippincott  Company.               
Bull, M. J., Hansen, H. E., &  Gross, C. R. (2000). A professional-patient
partnership model of discharge planning with elders
hospitalized with heart failure. Applier Nursing Research, 13,
19-28.
Cohen, J. M.,  &  Uphoff, N. T. (1980).  Participation’s  place  in  rural  
development : Seeking clarity through specificity. World
Development, 8(3), 219-222.
Holzemer, W.L.  (2010).  The impact of nursing care in Latin America
and the Caribbean: A focus on outcomes.  Journal of
Advanced Nursing,  20,  5-12.
Humphrey, C., &  Milone-Nuzzo, P.(1996). Orientation to Home
Care Nursing. United  States : Aspen   Publishers, Inc.
Kozier, b., Erb., G.,  &  Berman, A. J. (2000). Fundamentals of
nursing : Concepts, process, and practice.  (6th
ed.).  New  
Jersey  :  Prentice-Hall, Inc.
McKeehan, K.M. (1981).  Continuing care: A multidisciplinary
approach to discharge to discharge planning.  St.Louis: C.V.
Mosby.
27
เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
  ภาคผนวกที่  1
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิและคณะทำงาน   “เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน”
1.	 นางสิริวรรณ เดียวสุรินทร์  	 โรงพยาบาลหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา
2.	 นางอังคณี จ.ผลิต  	 	 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
3.	 นางนภัสวรรณ บุตรแสนคม  	 โรงพยาบาลสกลนคร
4.	 นางรัตนา แก้วประเทศ  	 โรงพยาบาลลำปาง  
5.	 นางลักขณา ลี้ประเสริฐ  	 โรงพยาบาลลอง จังหวัดแพร่
6.	 นางนัฏฐิกา ธีรสุนทรานันท์  	 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว 
	 	 	 	 	 จังหวัดน่าน 
7.	 นางบุษลักษณ์ สาฆะ      	 โรงพยาบาลนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู
8.	 นางสาวยุวดี  โกมาสถิตย์    	 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
	 	 	 	 	 เครือข่ายเพชรเจริญ  จังหวัดเลย
9.	 นางสาวปนัดดา วณิชชาพัชร	 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุลาว
  	 	 	 	 	 อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์
10.	นางอุมาภรณ์   กำลังดี   	 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรมณีย์   
	 	 	 	 	 อำเภอปะกง  จังหวัดพังงา
11.	นางมนัสชกรณ์   พิชัยจุมพล   	 ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านมาง  
	 	 	 	 	 โรงพยาบาลเชียงม่วน  จังหวัดพะเยา
12.	นายเทพนรินทร์ เทพบุปผา	 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำโสม
   	 	 	 	 	 อำเภอน้ำโสม  จังหวัดอุดรธานี
13.	นางสาวบุญเตือน เหลืองเลิศขจร	โรงพยาบาลหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี   
14.	นางสาวรุ้งลาวัลย์ กาวิละ   	 โรงพยาบาลแม่ลาว    จังหวัดเชียงราย
15.	นางธีรนุช ชละเอม     		 โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า  จังหวัดนนทบุรี
ภาคผนวก
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
28
16.	นางนวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา 	 สำนักการพยาบาล 
	 	 	 	 	 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
17.	นางสาวอรรถยา อมรพรหมภักดี สำนักการพยาบาล 
	 	 	 	 	 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
18.	นางทิพย์สุดา ลาภภักดี  	 สำนักการพยาบาล 
	 	 	 	 	 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
19.	นางสาวพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์  	 สำนักการพยาบาล 
	 	 	 	 	 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข


ภาคผนวกที่  2
รายนามคณะกรรมการวิชาการพิจารณาเนื้อหา  
“เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน” สำนักการพยาบาล

1.	 นางสาวชุติกาญจน์  หฤทัย  
2.	 นางศิริมา  ลีละวงศ์
3.	 นางสาวอัมภา  ศรารัชต์
เกณฑคุณภาพ
งานเยี่ยม
สำนักการพยาบาล
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข
ºéÒ¹
สำนักการพยาบาล
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข
หนังสือเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
ที่ปรึกษา
ดร.กาญจนา จันทร์ไทย 		 ผู้อำนวยการสำนักการพยาบาล
บรรณาธิการ
นางนวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา		 สำนักการพยาบาล
นางสาวพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์	 สำนักการพยาบาล
คณะผู้เขียน
นางนวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา		 สำนักการพยาบาล
ดร.ธีรพร สถิรอังกูร		 สำนักการพยาบาล
นางทิพย์สุดา ลาภภักดี		 สำนักการพยาบาล
นางสาวอรรถยา อมรพรหมภักดี 	 สำนักการพยาบาล
นางสาวพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์	 สำนักการพยาบาล พิมพ์ที่
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
โทร. 0 2525 4807 โทรสาร 0 2525 4855
เกณฑ์คุณภาพ
งานเยี่ยม
สำนักการพยาบาล
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข
บ้าน

พระบรมราโชวาท 
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕

	 การปฏิบัติราชการในปัจจุบันนี้มุ่งหมาย
เอาประสิทธิภาพปริมาณงานและความรวดเร็ว
เป็นสำคัญ ผู้ปฎิบัติราชการจึงพากันเอา
วิทยาการก้าวหน้าพร้อมทั้งเครื่องกลที่ทรง
ประสิทธิภาพสูงต่างๆ มาใช้กันอย่างกว้างขวาง
วิทยาการเครื่องกลเหล่านี้เมื่อนำมาปฏิบัติการ
แล้ว จะต้องได้ผลอย่างสูงทุกครั้งไป คือถ้าใช้ถูก
ก็ทำให้ได้ประโยชน์มาก ถ้าใช้ไม่ถูกก็ทำให้เสียหาย
ได้มากเท่าๆ กัน การจะนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาใช้
งาน จึงต้องระมัดระวัง ศึกษาให้ทราบแน่แท้

โดยตลอดก่อน ทั้งโครงงานที่จะทำ ทั้งเครื่อง
ปฎิบัติงานที่จะใช้ มิฉะนั้นจะเกิดความสิ้นเปลือง
และสูญเปล่าได้ง่ายดายที่สุด

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕

สำนักการพยาบาล
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงสาธารณสุข

More Related Content

What's hot

อาหาร Dm
อาหาร Dmอาหาร Dm
อาหาร Dm
CAPD AngThong
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนคู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
Utai Sukviwatsirikul
 
สอนยาเสพติด.ppt
สอนยาเสพติด.pptสอนยาเสพติด.ppt
สอนยาเสพติด.ppt
พรพจน์ แสงแก้ว
 
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
Utai Sukviwatsirikul
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
Utai Sukviwatsirikul
 
วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่
tassanee chaicharoen
 
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุแนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุDashodragon KaoKaen
 
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
Gawewat Dechaapinun
 
แผนการจัดประสบการณ์ วันลอยกระทง- กิจกรรมการเล่นตามมุม (1)
แผนการจัดประสบการณ์   วันลอยกระทง-  กิจกรรมการเล่นตามมุม (1)แผนการจัดประสบการณ์   วันลอยกระทง-  กิจกรรมการเล่นตามมุม (1)
แผนการจัดประสบการณ์ วันลอยกระทง- กิจกรรมการเล่นตามมุม (1)krutitirut
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตsivapong klongpanich
 
การให้ยาฉีด
การให้ยาฉีดการให้ยาฉีด
การให้ยาฉีด
CC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfMaytinee Beudam
 
Genogram
GenogramGenogram
Genogram
George Sonthi
 
ขั้นตอนการให้บริการ - ผู้ป่วยนอก
ขั้นตอนการให้บริการ - ผู้ป่วยนอกขั้นตอนการให้บริการ - ผู้ป่วยนอก
ขั้นตอนการให้บริการ - ผู้ป่วยนอก
mutod
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
Dr.Suradet Chawadet
 
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพคู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
Utai Sukviwatsirikul
 
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
Vorawut Wongumpornpinit
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
Utai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

อาหาร Dm
อาหาร Dmอาหาร Dm
อาหาร Dm
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
 
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนคู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
 
สอนยาเสพติด.ppt
สอนยาเสพติด.pptสอนยาเสพติด.ppt
สอนยาเสพติด.ppt
 
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
 
วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่
 
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุแนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
 
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
 
แผนการจัดประสบการณ์ วันลอยกระทง- กิจกรรมการเล่นตามมุม (1)
แผนการจัดประสบการณ์   วันลอยกระทง-  กิจกรรมการเล่นตามมุม (1)แผนการจัดประสบการณ์   วันลอยกระทง-  กิจกรรมการเล่นตามมุม (1)
แผนการจัดประสบการณ์ วันลอยกระทง- กิจกรรมการเล่นตามมุม (1)
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสต
 
การให้ยาฉีด
การให้ยาฉีดการให้ยาฉีด
การให้ยาฉีด
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
Genogram
GenogramGenogram
Genogram
 
ขั้นตอนการให้บริการ - ผู้ป่วยนอก
ขั้นตอนการให้บริการ - ผู้ป่วยนอกขั้นตอนการให้บริการ - ผู้ป่วยนอก
ขั้นตอนการให้บริการ - ผู้ป่วยนอก
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
 
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพคู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
 
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
 

Viewers also liked

แนวทางการพัฒนาศูนย์ดูแลต่อเนื่อง
แนวทางการพัฒนาศูนย์ดูแลต่อเนื่องแนวทางการพัฒนาศูนย์ดูแลต่อเนื่อง
แนวทางการพัฒนาศูนย์ดูแลต่อเนื่อง
PPtocky
 
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากร
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากรรูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากร
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากร
Kamol Khositrangsikun
 
Home visit rcfpt handout
Home visit rcfpt handoutHome visit rcfpt handout
Home visit rcfpt handoutDaoo Pattrapon
 
การวิเคราะห์และจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อจัดทำโครงการชุมชน 2016.10.28
การวิเคราะห์และจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อจัดทำโครงการชุมชน 2016.10.28การวิเคราะห์และจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อจัดทำโครงการชุมชน 2016.10.28
การวิเคราะห์และจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อจัดทำโครงการชุมชน 2016.10.28
Borwornsom Leerapan
 
คู่มือ PCA เล่มฟ้า
คู่มือ PCA  เล่มฟ้าคู่มือ PCA  เล่มฟ้า
คู่มือ PCA เล่มฟ้า
Dr.Suradet Chawadet
 
การสำรวจของเครือข่ายวิจัยทางการแพทย์เรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2557
การสำรวจของเครือข่ายวิจัยทางการแพทย์เรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2557การสำรวจของเครือข่ายวิจัยทางการแพทย์เรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2557
การสำรวจของเครือข่ายวิจัยทางการแพทย์เรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2557
Chuchai Sornchumni
 
Phd thesis presentation short 19 dec 2014
Phd thesis presentation short 19 dec 2014Phd thesis presentation short 19 dec 2014
Phd thesis presentation short 19 dec 2014
Nathawut Kaewsutha
 
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3
Auamporn Junthong
 
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557
เทวัญ ภูพานทอง
 
การสร้าง Family care team หมอครอบครัว
การสร้าง Family care team หมอครอบครัวการสร้าง Family care team หมอครอบครัว
การสร้าง Family care team หมอครอบครัว
Dr.Suradet Chawadet
 
Ppt. stroke1
Ppt. stroke1Ppt. stroke1
Ppt. stroke1
Prachaya Sriswang
 
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sssบันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
Dr.Suradet Chawadet
 

Viewers also liked (12)

แนวทางการพัฒนาศูนย์ดูแลต่อเนื่อง
แนวทางการพัฒนาศูนย์ดูแลต่อเนื่องแนวทางการพัฒนาศูนย์ดูแลต่อเนื่อง
แนวทางการพัฒนาศูนย์ดูแลต่อเนื่อง
 
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากร
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากรรูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากร
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากร
 
Home visit rcfpt handout
Home visit rcfpt handoutHome visit rcfpt handout
Home visit rcfpt handout
 
การวิเคราะห์และจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อจัดทำโครงการชุมชน 2016.10.28
การวิเคราะห์และจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อจัดทำโครงการชุมชน 2016.10.28การวิเคราะห์และจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อจัดทำโครงการชุมชน 2016.10.28
การวิเคราะห์และจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อจัดทำโครงการชุมชน 2016.10.28
 
คู่มือ PCA เล่มฟ้า
คู่มือ PCA  เล่มฟ้าคู่มือ PCA  เล่มฟ้า
คู่มือ PCA เล่มฟ้า
 
การสำรวจของเครือข่ายวิจัยทางการแพทย์เรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2557
การสำรวจของเครือข่ายวิจัยทางการแพทย์เรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2557การสำรวจของเครือข่ายวิจัยทางการแพทย์เรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2557
การสำรวจของเครือข่ายวิจัยทางการแพทย์เรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2557
 
Phd thesis presentation short 19 dec 2014
Phd thesis presentation short 19 dec 2014Phd thesis presentation short 19 dec 2014
Phd thesis presentation short 19 dec 2014
 
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3
 
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557
 
การสร้าง Family care team หมอครอบครัว
การสร้าง Family care team หมอครอบครัวการสร้าง Family care team หมอครอบครัว
การสร้าง Family care team หมอครอบครัว
 
Ppt. stroke1
Ppt. stroke1Ppt. stroke1
Ppt. stroke1
 
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sssบันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
 

Similar to งานเยี่ยมบ้าน

การเตร ยมการของเขตเร _องร_านยาค_ณภาพ
การเตร ยมการของเขตเร _องร_านยาค_ณภาพการเตร ยมการของเขตเร _องร_านยาค_ณภาพ
การเตร ยมการของเขตเร _องร_านยาค_ณภาพ
ศักดิธัช ปัญญามูลวงศา
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงาน
AjBenny Pong
 
เส้นทางสู่Haยาเสพติด
เส้นทางสู่Haยาเสพติดเส้นทางสู่Haยาเสพติด
เส้นทางสู่Haยาเสพติดpluakdeang Hospital
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมChanakarn Phophot
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมMintra Pudprom
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมSoldic Kalayanee
 
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Tang Thowr
 
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์sa_jaimun
 
การพัฒนาสารสนเทศ Thai refer
การพัฒนาสารสนเทศ Thai referการพัฒนาสารสนเทศ Thai refer
การพัฒนาสารสนเทศ Thai refer
Lampang Hospital
 
แนวข้อสอบนักจัดการงานทั่วไป กรมการแพทย์
แนวข้อสอบนักจัดการงานทั่วไป กรมการแพทย์แนวข้อสอบนักจัดการงานทั่วไป กรมการแพทย์
แนวข้อสอบนักจัดการงานทั่วไป กรมการแพทย์
kidsana pajjaika
 
มาตรฐานสินค้า Otop
มาตรฐานสินค้า Otopมาตรฐานสินค้า Otop
มาตรฐานสินค้า OtopWatcharee Phetwong
 
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4) Page 51 100
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4)  Page 51 100หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4)  Page 51 100
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4) Page 51 100
Makin Puttaisong
 
เส้นทางสู่Haยาเสพติด
เส้นทางสู่Haยาเสพติดเส้นทางสู่Haยาเสพติด
เส้นทางสู่Haยาเสพติดpluakdeang Hospital
 
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...omsnooo
 
คำอธิบายรายวิชา ม.ต้น
คำอธิบายรายวิชา ม.ต้นคำอธิบายรายวิชา ม.ต้น
คำอธิบายรายวิชา ม.ต้น
school
 

Similar to งานเยี่ยมบ้าน (20)

Qa nus-dansaihospital
Qa nus-dansaihospitalQa nus-dansaihospital
Qa nus-dansaihospital
 
Qaพยาบาลเสนอจังหวัด
QaพยาบาลเสนอจังหวัดQaพยาบาลเสนอจังหวัด
Qaพยาบาลเสนอจังหวัด
 
การเตร ยมการของเขตเร _องร_านยาค_ณภาพ
การเตร ยมการของเขตเร _องร_านยาค_ณภาพการเตร ยมการของเขตเร _องร_านยาค_ณภาพ
การเตร ยมการของเขตเร _องร_านยาค_ณภาพ
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงาน
 
เส้นทางสู่Haยาเสพติด
เส้นทางสู่Haยาเสพติดเส้นทางสู่Haยาเสพติด
เส้นทางสู่Haยาเสพติด
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอม
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอม
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอม
 
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
 
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์
 
File1
File1File1
File1
 
การพัฒนาสารสนเทศ Thai refer
การพัฒนาสารสนเทศ Thai referการพัฒนาสารสนเทศ Thai refer
การพัฒนาสารสนเทศ Thai refer
 
แนวข้อสอบนักจัดการงานทั่วไป กรมการแพทย์
แนวข้อสอบนักจัดการงานทั่วไป กรมการแพทย์แนวข้อสอบนักจัดการงานทั่วไป กรมการแพทย์
แนวข้อสอบนักจัดการงานทั่วไป กรมการแพทย์
 
มาตรฐานสินค้า Otop
มาตรฐานสินค้า Otopมาตรฐานสินค้า Otop
มาตรฐานสินค้า Otop
 
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4) Page 51 100
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4)  Page 51 100หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4)  Page 51 100
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4) Page 51 100
 
เส้นทางสู่Haยาเสพติด
เส้นทางสู่Haยาเสพติดเส้นทางสู่Haยาเสพติด
เส้นทางสู่Haยาเสพติด
 
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
 
คำอธิบายรายวิชา ม.ต้น
คำอธิบายรายวิชา ม.ต้นคำอธิบายรายวิชา ม.ต้น
คำอธิบายรายวิชา ม.ต้น
 
5.การประเมินบุคคล
5.การประเมินบุคคล5.การประเมินบุคคล
5.การประเมินบุคคล
 
Sallai pro
Sallai proSallai pro
Sallai pro
 

More from Aimmary

Rdu book
Rdu bookRdu book
Rdu book
Aimmary
 
Smoking cessation1
Smoking cessation1Smoking cessation1
Smoking cessation1
Aimmary
 
Heal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sicknessHeal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sickness
Aimmary
 
Healed body healed_mind
Healed body healed_mindHealed body healed_mind
Healed body healed_mind
Aimmary
 
Narain c-spine injury 2
Narain c-spine injury 2Narain c-spine injury 2
Narain c-spine injury 2Aimmary
 
Ed building-asea ncommunity-2
Ed building-asea ncommunity-2Ed building-asea ncommunity-2
Ed building-asea ncommunity-2Aimmary
 
Chitlada upper gi bleeding 2
Chitlada upper gi bleeding 2Chitlada upper gi bleeding 2
Chitlada upper gi bleeding 2Aimmary
 
การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา
การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา
การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาAimmary
 
Thai hiv guideline2010
Thai hiv guideline2010Thai hiv guideline2010
Thai hiv guideline2010Aimmary
 
Oa knee guideline
Oa knee guidelineOa knee guideline
Oa knee guidelineAimmary
 
Fooddiabe 03334
Fooddiabe 03334Fooddiabe 03334
Fooddiabe 03334Aimmary
 
Cpg cancer pain_2556
Cpg cancer pain_2556Cpg cancer pain_2556
Cpg cancer pain_2556Aimmary
 
143.irritable bowel syndrome (guideline 2012)
143.irritable bowel syndrome (guideline 2012)143.irritable bowel syndrome (guideline 2012)
143.irritable bowel syndrome (guideline 2012)Aimmary
 
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)24.hbv and hcv guideline 2012 (update)
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)Aimmary
 
คู่มือประชาชน สำหรับการป้องกันน้ำท่วม54
คู่มือประชาชน สำหรับการป้องกันน้ำท่วม54คู่มือประชาชน สำหรับการป้องกันน้ำท่วม54
คู่มือประชาชน สำหรับการป้องกันน้ำท่วม54Aimmary
 
Vis varicella-zoster
Vis varicella-zosterVis varicella-zoster
Vis varicella-zosterAimmary
 

More from Aimmary (20)

Rdu book
Rdu bookRdu book
Rdu book
 
Smoking cessation1
Smoking cessation1Smoking cessation1
Smoking cessation1
 
Heal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sicknessHeal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sickness
 
Healed body healed_mind
Healed body healed_mindHealed body healed_mind
Healed body healed_mind
 
Narain c-spine injury 2
Narain c-spine injury 2Narain c-spine injury 2
Narain c-spine injury 2
 
Ed building-asea ncommunity-2
Ed building-asea ncommunity-2Ed building-asea ncommunity-2
Ed building-asea ncommunity-2
 
Chitlada upper gi bleeding 2
Chitlada upper gi bleeding 2Chitlada upper gi bleeding 2
Chitlada upper gi bleeding 2
 
การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา
การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา
การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา
 
Ped hiv
Ped  hivPed  hiv
Ped hiv
 
Thai hiv guideline2010
Thai hiv guideline2010Thai hiv guideline2010
Thai hiv guideline2010
 
Oa knee guideline
Oa knee guidelineOa knee guideline
Oa knee guideline
 
Hiv adult
Hiv adultHiv adult
Hiv adult
 
Fooddiabe 03334
Fooddiabe 03334Fooddiabe 03334
Fooddiabe 03334
 
Cpg cancer pain_2556
Cpg cancer pain_2556Cpg cancer pain_2556
Cpg cancer pain_2556
 
143.irritable bowel syndrome (guideline 2012)
143.irritable bowel syndrome (guideline 2012)143.irritable bowel syndrome (guideline 2012)
143.irritable bowel syndrome (guideline 2012)
 
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)24.hbv and hcv guideline 2012 (update)
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)
 
คู่มือประชาชน สำหรับการป้องกันน้ำท่วม54
คู่มือประชาชน สำหรับการป้องกันน้ำท่วม54คู่มือประชาชน สำหรับการป้องกันน้ำท่วม54
คู่มือประชาชน สำหรับการป้องกันน้ำท่วม54
 
Vis varicella-zoster
Vis varicella-zosterVis varicella-zoster
Vis varicella-zoster
 
Vis ipv
Vis ipvVis ipv
Vis ipv
 
Vis hpv
Vis hpvVis hpv
Vis hpv
 

งานเยี่ยมบ้าน

  • 1. เกณฑ์คุณภาพ งานเยี่ยม สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข บ้าน พระบรมราโชวาท ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ การปฏิบัติราชการในปัจจุบันนี้มุ่งหมาย เอาประสิทธิภาพปริมาณงานและความรวดเร็ว เป็นสำคัญ ผู้ปฎิบัติราชการจึงพากันเอา วิทยาการก้าวหน้าพร้อมทั้งเครื่องกลที่ทรง ประสิทธิภาพสูงต่างๆ มาใช้กันอย่างกว้างขวาง วิทยาการเครื่องกลเหล่านี้เมื่อนำมาปฏิบัติการ แล้ว จะต้องได้ผลอย่างสูงทุกครั้งไป คือถ้าใช้ถูก ก็ทำให้ได้ประโยชน์มาก ถ้าใช้ไม่ถูกก็ทำให้เสียหาย ได้มากเท่าๆ กัน การจะนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาใช้ งาน จึงต้องระมัดระวัง ศึกษาให้ทราบแน่แท้ โดยตลอดก่อน ทั้งโครงงานที่จะทำ ทั้งเครื่อง ปฎิบัติงานที่จะใช้ มิฉะนั้นจะเกิดความสิ้นเปลือง และสูญเปล่าได้ง่ายดายที่สุด พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
  • 2. เกณฑคุณภาพ งานเยี่ยม สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ºéÒ¹ สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข หนังสือเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ที่ปรึกษา ดร.กาญจนา จันทร์ไทย ผู้อำนวยการสำนักการพยาบาล บรรณาธิการ นางนวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา สำนักการพยาบาล นางสาวพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์ สำนักการพยาบาล คณะผู้เขียน นางนวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา สำนักการพยาบาล ดร.ธีรพร สถิรอังกูร สำนักการพยาบาล นางทิพย์สุดา ลาภภักดี สำนักการพยาบาล นางสาวอรรถยา อมรพรหมภักดี สำนักการพยาบาล นางสาวพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์ สำนักการพยาบาล พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย โทร. 0 2525 4807 โทรสาร 0 2525 4855
  • 4. การพยาบาลในชุมชนเป็นงานบริการที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีความ หลากหลายตามสภาวะสุขภาพของประชาชน พยาบาลชุมชนมีบทบาทในการดูแล ผู้เจ็บป่วยนอกโรงพยาบาลด้วยการเป็นกัลยาณมิตรกับเพื่อนมนุษย์ทุกกลุ่มวัยและ ทุกช่วงระยะเปลี่ยนผ่านของชีวิต เพื่อช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งกาย และใจ โดยพยาบาลจะให้การดูแลในขอบเขตมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งต้องมีองค์ ประกอบสำคัญของศาสตร์ความรู้ที่เป็นระบบ มีทฤษฎีรองรับ และนำความรู้สู่ การปฏิบัติดูแลผู้ป่วยด้วยความละเอียดอ่อนนุ่มนวลให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงสัมผัสที่เปี่ยม ด้วยความรู้สึกเมตตารักใคร่ มีความเข้าใจมนุษย์แบบองค์รวม และใช้วิจารณญาณ ช่วยหาทางแก้ปัญหาที่เกิดกับผู้ป่วยภายใต้บริบทสภาพแวดล้อม อันส่งผลต่อการ เจ็บป่วย การฟื้นหายจากโรคของผู้ป่วยด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ สำนักการพยาบาล เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล มองเห็นว่ากลวิธีการเยี่ยม บ้านเป็นวิธีที่ช่วยให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยในชุมชนได้ผลดี จึงได้จัดทำ “หนังสือการ พยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน” เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานสำหรับทีมการ พยาบาลที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยในพื้นที่นอกโรงพยาบาล (ที่บ้าน) ในปี พศ.๒๕๕๕ ต่อมาในปี ๒๕๕๖ จึงได้จัดทำหนังสือเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน เป็นเกณฑ์ ประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อใช้คู่กับหนังสือการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน หนังสือ คำนำ
  • 5. เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วยเกณฑ์ที่เป็นปัจจัยองค์ประกอบของ ทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการเยี่ยมบ้าน กระบวนการหลักสำคัญที่ ต้องดำเนินงานให้ครบถ้วน และผลลัพธ์การดำเนินงาน ที่ต้องการให้เกิดจากการ ดำเนินงานเยี่ยมบ้าน ทีมการพยาบาลสามารถนำเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ไปใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเพื่อหาจุดพัฒนา ให้เกิดความสมบูรณ์ของปัจจัย องค์ประกอบ กระบวนการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่คาดหวังให้บรรลุจากการให้ บริการพยาบาลที่บ้านได้ สำนักการพยาบาลขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะทำงานทุกท่านที่ กรุณาสละเวลา มาร่วมคิดและให้ข้อคิดเห็นต่างๆ อันเป็นประโยชน์ทำให้หนังสือ เล่มนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพยาบาลที่ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ บ้าน จะนำเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนผู้รับ บริการต่อไป สำนักการพยาบาล มกราคม 2557
  • 6. สารบัญ หน้า คำนำ ความเป็นมา “เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน” 1 วัตถุประสงค์ 2 ผู้ใช้เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 2 ขั้นตอนการจัดทำเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 3 แนวคิดการพัฒนาเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 3 กรอบแนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน 4 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน Input, Process, Output/ Outcome 6 คำชี้แจง 7 การนำเกณฑ์นี้ไปใช้ 7 การจัดระดับการพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 8 คำอธิบายผลการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 9 คำจำกัดความเกณฑ์ย่อยแต่ละประเด็นของเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 10 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 16 บรรณานุกรม 25 ภาคผนวก ภาคผนวกที่ 1 รายนามผู้ทรงคุณวุฒิและคณะทำงาน 27 ภาคผนวกที่ 2 รายนามคณะกรรมการวิชาการพิจารณาเนื้อหา 28
  • 7. 1 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ความเป็นมา สำนักการพยาบาล มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพบริการ พยาบาลเห็นความสำคัญของการพัฒนาบริการพยาบาลเยี่ยมบ้าน จึงได้จัดทำ โครงการ “พัฒนาบริการพยาบาลปฐมภูมิ : การเยี่ยมบ้าน” เพื่อส่งเสริมบทบาท พยาบาลให้สังคมประจักษ์และให้สอดคล้อง ตามพรบ.วิชาชีพการพยาบาลและ ผดุงครรภ์ พ.ศ.2540 มาตรา 3 ที่กำหนดไว้ว่า การประกอบวิชาชีพการพยาบาล หมายถึง “การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการดูแลและการช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ…….” และด้วยข้อ กำหนดนี้พยาบาลวิชาชีพ จึงต้องขยายบทบาทการดูแลผู้เจ็บป่วยจากโรงพยาบาล ครอบคลุม ไปถึงผู้ป่วยที่บ้าน/ชุมชน ด้วย สำนักการพยาบาล ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดบริการพยาบาล ผู้ป่วยที่บ้านให้เป็นแนวทางเดียวกันในสถานบริการทุกระดับให้ประชาชนประจักษ์ ทั้งประเทศ และพยาบาลเป็นบุคลากรสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน การบริการพยาบาลระดับปฐมภูมิ งานการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านเป็นส่วนหนึ่งของ บริการปฐมภูมิซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพยาบาลระดับปฐมภูมิ สำนักการ พยาบาล จึงได้จัดทำแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านขึ้น พร้อมกับจัดทำเกณฑ์ คุณภาพงานเยี่ยมบ้านเป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพงานเยี่ยมบ้านโดยมีเป้า หมาย เพื่อให้ผู้ป่วยที่บ้านได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ ตามนโยบายการพัฒนาหน่วย บริการปฐมภูมิทั้งในเขตเมืองและชนบท เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน
  • 8. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้นิเทศงานการเยี่ยมบ้านใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพ งานเยี่ยมบ้านของหน่วยบริการ 2. เพื่อให้บุคลากรพยาบาลที่ปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านใช้เป็นเครื่องมือใน การประเมินตนเองเพื่อวิเคราะห์ส่วนขาดที่ต้องพัฒนาให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์ คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ผู้ใช้เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 1. ผู้นิเทศระดับจังหวัด 2. ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ
  • 9. 3 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ขั้นตอนการจัดทำเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 1. ยกร่างเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน โดยคณะทำงาน สำนักการ พยาบาล 2. พิจารณาร่างเกณฑ์คุณภาพฯ โดยคณะทำงานจัดทำเกณฑ์คุณภาพ งานเยี่ยมบ้าน 3. วิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านให้สมบูรณ์ 4. นำเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านไปทดลองใช้กับสถานบริการปฐมภูมิ 4 ภาค 4 เครือข่ายบริการ 5. แก้ไขปรับปรุงเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านให้มีความสมบูรณ์ครบ ถ้วน มีความเข้าใจตรงกันทั้งผู้ปฏิบัติและผู้นิเทศงานเยี่ยมบ้าน 6. จัดประชุมสรุปเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน 7. จัดพิมพ์เผยแพร่สู่การปฏิบัติในระดับจังหวัด แนวคิดการพัฒนาเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ใช้แนวคิดเชิงระบบ ประกอบด้วย ปัจจัย นำเข้าการดำเนินงาน (Input) กระบวนการบริการ (Process) และผลลัพธ์การ พยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน (Output and Outcome) โดยให้สอดคล้องกับกรอบ แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน ตามแผนภาพดังนี้
  • 10. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 4 ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ความต้องการการพยาบาลที่บ้าน ก่อนเยี่ยมบ้าน ♦ เตรียมข้อมูลสุขภาพ ♦ กำหนดแผนและ วัตถุประสงค์การเยี่ยม ♦ เตรียมอุปกรณ์เครื่อง ใช้ผู้ป่วยแต่ละราย ระหว่างเยี่ยมบ้าน ♦ ประเมินภาวะสุขภาพ สิ่งแวดล้อม/ชุมชน/ ครอบครัว/ผู้ดูแล ♦ วินิจฉัยการพยาบาล ♦ วางแผนการพยาบาล ♦ ปฏิบัติการพยาบาล ประเมินผลการพยาบาล ♦ บันทึกการพยาบาล Input Process 1. ทีมเยี่ยมบ้าน 2. ระบบการพยาบาลเชื่อม โยงการดูแลผู้ป่วย 3. อุปกรณ์ / เครื่องใช้ 4. ปัจจัยสนับสนุนการ พยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน 4.1 ศักยภาพของชุมชน 4.2 ผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 4.3 แหล่งประโยชน์ใน ชุมชน กรอบแนวคิด ข้อมูลป้อนกลับ ก่อนเยี่ยมบ้าน ระหว่างเยี่ยมบ้าน ประเมินผลการดูแลสุขภาพที่บ้าน
  • 11. 5 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน หลังเยี่ยมบ้าน ♦ ประเมินผลตาม วัตถุประสงค์และ แผนการเยี่ยม ♦ กำหนดแผนการ พยาบาลต่อเนื่อง ♦ การจำหน่าย ♦ การส่งต่อ ♦ บันทึกการพยาบาล 1. อัตราความครอบคลุมการ เยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน 2. อัตราผู้ป่วยส่งกลับได้รับ การเยี่ยมบ้าน 3. จำนวนชั่วโมงเยี่ยมบ้าน 4. อัตราการเกิดภาวะ แทรกซ้อน 5. ร้อยละผู้ป่วยสามารถ ควบคุมภาวะโรค 6. อัตราการตอบกลับข้อมูล 7. ความพึงพอใจของผู้รับ บริการ 8. ความพึงพอใจของทีมเยี่ยม บ้าน Output Outcome 1. ผู้ป่วยสามารถดูแล ตนเองได้ 2. กลุ่มเสี่ยงลดลง 3. อุบัติการณ์กลุ่มป่วย รายใหม่ลดลง 4. อุบัติการณ์กลุ่มป่วย ที่มีภาวะแทรกซ้อน ลดลง 5. ลดอัตราความพิการ และการสูญเสียชีวิต จากโรค การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน หลังเยี่ยมบ้าน
  • 12. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 6 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านมีประเด็นต่างๆ ดังนี้ Input ประกอบด้วย 1. ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการเยี่ยมบ้าน 2. ทีมเยี่ยมบ้าน แบ่งเป็นเกณฑ์ย่อย 4 ประเด็น คือ 2.1 ทีมเยี่ยมบ้านของสถานบริการปฐมภูมิ 2.2 การทำงานเป็นทีม (ทั้งภายในและภายนอก) 2.3 สมรรถนะของทีมเยี่ยมบ้าน 2.4 การสร้างการมีส่วนร่วม 3. ปัจจัยสนับสนุนการจัดบริการ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ Process ประกอบด้วย 1. งานบริการเยี่ยมบ้าน แบ่งเป็นเกณฑ์ย่อย 3 ประเด็น คือ 1.1 กลุ่มเป้าหมาย เยี่ยมบ้าน 1.2 กระบวนการเยี่ยมบ้าน 1.3 กิจกรรมการพยาบาลที่บ้าน 2. ระบบการดูแลต่อเนื่อง แบ่งเป็นเกณฑ์ย่อย 4 ประเด็น คือ 2.1 การประสาน การดูแลต่อเนื่อง 2.2 ศูนย์การดูแลต่อเนื่อง (COC) 2.3 การเยี่ยมบ้านร่วมกัน ระหว่างหน่วยบริการ 2.4 การบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้าน Output/Outcome ประกอบด้วย 1. ตัวชี้วัดผลลัพธ์การเยี่ยมบ้าน แบ่งเป็นตัวชี้วัดย่อย 4 ประเด็น คือ 1.1 ผลการปฏิบัติงานการเยี่ยมบ้าน 1.2 คุณภาพการเยี่ยมบ้าน 1.3 ประสิทธิภาพของผู้ให้บริการเยี่ยมบ้าน 1.4 ประสิทธิภาพการดูแลที่ไร้รอยต่อ
  • 13. 7 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน คำชี้แจง 1. ผู้ใช้เกณฑ์นี้ต้องทำความเข้าใจข้อความเกณฑ์แต่ละข้ออย่างถ่องแท้ โดยแปลความตามอักษรและอ่านคำอธิบาย/ความหมาย (หน้า 10-15) เพื่อให้ เข้าใจความหมายของคำที่ใช้ในเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านตรงกัน 2. เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านหัวข้อ “ข้อมูลสนับสนุน” หมายถึง แหล่งข้อมูล/หลักฐานเชิงประจักษ์ ผู้ประเมินต้องใช้ประกอบการตัดสินใจขณะ ประเมินว่า “มี” หรือ “ไม่มี” ตามเกณฑ์ ทั้งนี้ผู้ประเมินสามารถใช้ข้อมูลจาก แหล่งอื่นเพิ่มเติมได้หรือใช้เพียงบางส่วนของข้อมูลสนับสนุนที่ระบุไว้ในเกณฑ์นี้ โดยไม่ต้องมีครบทั้งหมดที่ระบุ แต่ผู้ประเมินต้องพิจารณาหลักฐานที่แสดงถึง คุณภาพการดำเนินงานในภาพรวมของประเด็นแต่ละข้อในการส่งผลต่องาน บริการเยี่ยมบ้านว่ามีพอที่จะทำให้เกิดคุณภาพได้หรือไม่ ก่อนระบุว่า “มี” 3. เกณฑ์ย่อยแต่ละประเด็นประกอบด้วย 3 เกณฑ์ประเมินย่อย เกณฑ์ ประเมินย่อยแต่ละข้อมีความสำคัญเท่ากันและกำหนดให้มีน้ำหนักคะแนนเท่ากับ 1 เท่ากันทุกข้อ การประเมินจะให้คะแนน 1 คะแนน ถ้ามี และถ้าไม่มี ให้ 0 คะแนน การประเมินเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านจะสมบูรณ์ต้องประเมินเกณฑ์ ประเมินย่อยครบทุกข้อในแต่ละประเด็นเกณฑ์ การนำเกณฑ์นี้ไปใช้ สำหรับผู้นิเทศระดับจังหวัด สามารถนำเกณฑ์นี้ไปใช้ประเมิน การ บริการพยาบาลเยี่ยมบ้านของหน่วยบริการปฐมภูมิทุกแห่ง เพื่อนำคะแนนที่ได้จาก การใช้เกณฑ์ประเมินแบ่งระดับการบริการเยี่ยมบ้านเป็นระดับ 1 ระดับ 2 และ ระดับ 3 ตามลำดับ และเสนอแนะหน่วยบริการจัดทำแผนแผนพัฒนาตัวเองในข้อ ประเด็นเกณฑ์ที่หน่วยบริการพัฒนาตัวเองได้ แต่ในข้อประเด็นเกณฑ์ที่เกินอำนาจ หน่วยบริการต้องจัดทำแผนพัฒนาในภาพรวมของจังหวัด เพื่อหาวิธีสนับสนุนให้ สถานบริการทุกแห่ง จัดระบบบริการเยี่ยมบ้าน มีคุณภาพในระดับใกล้เคียงกันทุก แห่ง
  • 14. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 8 สำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ สามารถนำเกณฑ์นี้ไปใช้ ประเมินการบริการพยาบาลเยี่ยมบ้าน ที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน โดยให้จัดทำราย ละเอียดวิธีปฏิบัติที่เป็นรายละเอียดของเกณฑ์แต่ละข้อให้สมบูรณ์ ตามบริบทของ การจัดบริการและข้อใดประเมินได้ 0 คะแนน แสดงว่า เกณฑ์ข้อนั้นยังขาดความ สมบูรณ์ในองค์ประกอบหลัก ควรมีการพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ตามเกณฑ์ต้นแบบที่กำหนด เพื่อเลื่อนระดับหลังการพัฒนาจากระดับ 1 เลื่อนมา เป็นระดับ 2 หรือระดับ 3 การจัดระดับการพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน โดยนำคะแนนที่ประเมินได้รวมทุกข้อแล้วนำมาเทียบระดับคะแนน ดังนี้ คะแนนของ Input / procress และ Output คะแนน Input/procress ได้ 1 - 30 คะแนน รวมทำตัวชี้วัดผลลัพธ์ สำเร็จ (Out put) ไม่น้อยกว่า 4 ตัว ผ่านเกณฑ์เยี่ยมบ้าน ระดับ 1 คะแนน Input/procress ได้ 31 - 36 คะแนน รวมทำตัวชี้วัดผลลัพธ์ สำเร็จ (Out put) ไม่น้อยกว่า 6 ตัว ผ่านเกณฑ์เยี่ยมบ้าน ระดับ 2 คะแนน Input/procress ได้ 37 - 39 คะแนน รวมทำตัวชี้วัดผลลัพธ์ สำเร็จ (Out put) ครบ 8 ตัว ผ่านเกณฑ์เยี่ยมบ้าน ระดับ 3
  • 15. 9 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน คำอธิบายผลการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ระดับของเกณฑ์คุณภาพ งานเยี่ยมบ้าน ผลการประเมิน ระดับ 1 อยู่ในระดับเริ่มต้นของการพัฒนา ยังมีประเด็นที่ ต้องพัฒนาและการปฏิบัติตามเกณฑ์เยี่ยมบ้านเพื่อ ให้สมบูรณ์ตามเกณฑ์ต้นแบบ ระดับ 2 การพัฒนามีความสมบูรณ์ตามเกณฑ์ต้นแบบเป็น ส่วนมาก แต่ยังมีประเด็นที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อ ให้สมบูรณ์ตามเกณฑ์ต้นแบบ ระดับ 3 มีการพัฒนาและการปฏิบัติตามเกณฑ์เยี่ยมบ้าน ครบถ้วนเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิต้นแบบการ เยี่ยมบ้าน
  • 16. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 10 คำจำกัดความเกณฑ์ย่อยแต่ละประเด็น ของเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน เกณฑ์ย่อย แต่ละ ประเด็น คำอธิบาย / ความหมาย ระบบงาน ระบบงานที่เกี่ยวข้องและต้องนำมาใช้ในการเยี่ยมบ้าน ประกอบ ด้วย 3 ระบบ คือ 1. ระบบการดูแลต่อเนื่องเชื่อมโยงจากโรงพยาบาลถึงบ้านเน้นถึง ระบบที่สนับสนุนส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วย 2. การบูรณาการฐานข้อมูลมาใช้ในการวางแผนเยี่ยมบ้านผู้ป่วย แต่ละราย โดยข้อมูลอาจเป็นลายลักษณ์อักษร/อิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ 3. ระบบสร้างภาคีเครือข่าย (อปท. อบต. พมจ. เครือข่ายภาคี ภาคประชาชน) เพื่อให้ได้รับความร่วมมือสนับสนุนทรัพยากรในการ เยี่ยมบ้านของชุมชน ทีมเยี่ยมบ้าน ของสถาน บริการ ปฐมภูมิ เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ แพทย์ นักกายภาพบำบัด เภสัชกร และบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ที่มีอยู่ ในหน่วยปฐมภูมิ เช่น นักวิชาการสาธารณสุข ทันตาภิบาล และภาคี เครือข่ายอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการดูแล ผู้ป่วยที่บ้าน การทำงาน เป็นทีม (ทั้ง ภายในและ ภายนอก) การที่บุคคลหลายคนกระทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ มี การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน มีความสัมพันธ์เป็นทีมงาน เดียวกัน หรือคาดหวัง/มีวัตถุประสงค์เป้าหมายร่วมกัน
  • 17. 11 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน เกณฑ์ย่อย แต่ละ ประเด็น คำอธิบาย / ความหมาย สมรรถนะ ของทีมเยี่ยม บ้าน ความสามารถที่หลากหลายของสมาชิกทีมในการจัดการดูแลสุขภาพ ของผู้ป่วยที่บ้าน บนฐานความรู้ เรื่องโรค ยา อาการแทรกซ้อน สามารถคัดกรองและส่งต่อได้ทันเวลา และทักษะของการเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพ ในการเลือกใช้หรือสร้างเครื่องมือเฉพาะโรค ตามสภาพปัญหาผู้ป่วยที่เหมาะสม วิเคราะห์ต้นทุนทางสังคม ข้อมูล ความเจ็บป่วยและคืนข้อมูลเพื่อให้เกิดความร่วมมือ การสร้างการ มีส่วนร่วม มีการระดมทรัพยากร / กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นๆ มาร่วม รับผิดชอบ ทำกิจกรรมช่วยเหลือผู้ป่วย ร่วมทีมเยี่ยมบ้าน โดยมีการ ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. มีเป้าหมายในการทำงานร่วมกันชัดเจน 2. มีระบบบริหารจัดการชัดเจน 3. มีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 4. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 5. มีการสรุปการทำงานร่วมกัน 6. มีการขยายภาคีเครือข่ายไปยังกลุ่มบุคคล องค์กรอื่น เพื่อเพิ่ม สมาชิกในการทำงาน
  • 18. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 12 เกณฑ์ย่อย แต่ละ ประเด็น คำอธิบาย / ความหมาย วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ใน การเยี่ยมบ้าน อุปกรณ์เครื่องใช้ในการเยี่ยมบ้าน อุปกรณ์ประเภทที่ 1 สำหรับการเยี่ยมผู้ป่วยที่จัดไว้เป็นชุดอุปกรณ์ พื้นฐาน ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล เบอร์โทรศัพท์ผู้ป่วยหรือ ผู้ดูแล เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัดรอบเอว เครื่องวัดความดันแบบพกพา หูฟัง เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบพกพาพร้อมแถบตรวจน้ำตาล ปรอท วัดไข้ ไฟฉาย ไม้กดลิ้น ชุดทำแผลและเวชภัณฑ์ยาที่สำคัญเบื้องต้น เช่น ยาลดไข้ แก้แพ้ แก้ปวดท้อง ผงเกลือแร่ เป็นต้น อุปกรณ์ประเภทที่ 2 เครื่องมือที่ต้องเตรียมเฉพาะราย/เฉพาะโรค สำหรับผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ติดตัว เช่น ชุดสายสวน สาย ยางให้อาหาร ชุดให้ออกซิเจน หรือชุดพ่นยาแบบพกพา สายดูดเสมหะ สารหล่อลื่น และสื่อการสอน แผ่นพับประกอบการสอนสุขศึกษา อุปกรณ์ประเภทที่ 3 เป็นอุปกรณ์สนับสนุนต่อการเยี่ยมบ้าน เช่น กล้องถ่ายภาพ กล้องถ่ายวีดีโอ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้หรือ สนับสนุนในการปรับพฤติกรรมสุขภาพและสภาพสิ่งแวดล้อมที่บ้าน ผู้ป่วย เช่น เครื่องมือแบบประเมิน ไม้กระดาน ไม้ไผ่ เชือก เพื่อปรับ สภาพบ้าน ถุงยังชีพ ข้าวสาร-อาหารแห้ง เป็นต้น ** การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สามารถยืดหยุ่นตามปัญหา/ สถานการณ์ที่เฉพาะของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน
  • 19. 13 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน เกณฑ์ย่อย แต่ละ ประเด็น คำอธิบาย / ความหมาย กลุ่มเป้า หมายเยี่ยม บ้าน กลุ่มผู้ป่วยในชุมชนเป็นรายกลุ่ม/รายโรค ที่กำหนดเกณฑ์ตามความ รุนแรงของแต่ละโรคเป็นระดับ 1-3 เพื่อคัดกรองเป็นกลุ่มเป้าหมายใน การเยี่ยมบ้าน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ Re-admit ด้วยภาวะ Hypo- Hyperglycemia ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วย COPD ที่ Re- admit มากกว่า 2 ครั้ง / เดือน เป็นต้น โดยมีการจัดทำแนวทาง / เครื่องมือในการเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดขึ้น และมีการจัดการ ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบ กระบวนการ เยี่ยมบ้าน กระบวนการเยี่ยมบ้านตามแผนการรักษา และความถี่ในการเยี่ยมบ้าน ทั้งรายกลุ่มและรายโรค รวมถึงการเยี่ยมบ้านในกรณีเกิดภาวะ เฉียบพลัน มีการติดตาม ควบคุม กำกับ ผลการดำเนินงานของการ เยี่ยมบ้าน กิจกรรมการ พยาบาลที่ บ้าน การจัดให้บริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านให้มีมาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ แนวทางการรักษาพยาบาลที่กำหนดไว้ในระดับจังหวัดในแต่ละโรค ภายใต้มาตรฐานวิชาชีพ รวมถึงให้การพยาบาลเพื่อลดอาการ ไม่สุขสบาย/อาการรบกวน และการประสานส่งต่อเพื่อการรักษา อย่างเหมาะสม การประสาน การดูแล ต่อเนื่อง การติดต่อประสาน การส่งข้อมูลการรักษา ปัญหาสุขภาพที่ต้องการให้ พยาบาลดูแลต่อเนื่องกันในแต่ละระดับสถานบริการเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับ การรักษาต่อเนื่อง เตรียมผู้ป่วย/ญาติมีความพร้อมในการดูแลตนเอง ที่บ้านได้ภายใต้บริบทและทรัพยากรที่เป็นไปได้
  • 20. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 14 เกณฑ์ย่อย แต่ละ ประเด็น คำอธิบาย / ความหมาย ศูนย์การดูแล ต่อเนื่อง (COC) เป็นหน่วยประสานสนับสนุนพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องโดยเชื่อม โยงระหว่างหน่วยงานทั้งภายใน ภายนอกโรงพยาบาล เพื่อให้เกิด ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง ตั้งแต่วางแผนจำหน่าย การ สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ การจัดการสารสนเทศและพัฒนา ศักยภาพเครือข่ายในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน รวมถึงการนิเทศติดตาม ประเมินผล การเยี่ยมบ้าน ร่วมกัน ระหว่าง หน่วยบริการ มีการจัดระบบ/การให้คำปรึกษา/กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน/ การใช้ แผนการจำหน่ายที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยบริการทั้งระดับ ตติยภูมิ/ทุติยภูมิ/ปฐมภูมิ และหรือจากทีมเยี่ยมบ้านระดับจังหวัด สูงกว่า ในกรณีผู้ป่วยมีปัญหาซับซ้อน การบันทึก ข้อมูลการ เยี่ยมบ้าน การบันทึกข้อมูลการให้บริการเยี่ยมบ้านเป็นลายลักษณ์อักษรอย่าง ต่อเนื่อง แสดงถึงการใช้กระบวนการพยาบาลนำมาใช้ในการกำหนด ประเด็นปัญหา แผนการดูแล และการพยาบาลช่วยเหลือที่ตรงตาม ความต้องการ รวมถึงแผนการดูแลครั้งต่อไปที่สอดคล้องกับภาวะ สุขภาพ ตัวชี้วัด ผลลัพธ์การ เยี่ยมบ้าน เป็นตัวชี้วัดที่ใช้วัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากการให้บริการที่บ้าน ที่วัดทั้ง ปริมาณภาระงาน คุณภาพการเยี่ยมบ้าน ประสิทธิภาพของผู้ให้ บริการเยี่ยมบ้าน และประสิทธิภาพการดูแลที่ไร้รอยต่อ
  • 21. 15 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน เกณฑ์ย่อย แต่ละ ประเด็น คำอธิบาย / ความหมาย ประเภทของ ผู้ป่วยที่เยี่ยม บ้าน ประเภทของผู้ป่วยที่เยี่ยมบ้าน แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ผู้ป่วยประเภทที่ 1 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่เริ่มเจ็บป่วยระยะแรก มีการ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเล็กน้อย ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือการเกิดภาวะ โรคร่วม ยังช่วยเหลือตัวเองได้แต่ขาดความรู้ ความเข้าใจและการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมกับสภาวะของโรค ผู้ป่วยประเภทที่ 2 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีการดำเนินของโรคส่งผล กระทบต่อวิถีชีวิตปกติมีความจำกัด/ไร้ความสามารถเล็กน้อย ช่วยเหลือตัวเองได้ไม่เต็มที่ ต้องการผู้ดูแลในการทำกิจวัตรประจำวันให้ ผู้ป่วยประเภทที่ 3 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของโรคทำให้ เกิด ความพิการ/จำกัดความสามารถในการทำกิจกรรมของตนเอง หรือมีอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อช่วยในการดำรงชีวิต มี ความจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือการทำกิจวัตรประจำวันให้
  • 22. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 16 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ชื่อสถานพยาบาล/โรงพยาบาล..................................... ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตำบล..............................อำเภอ...............................จังหวัด..................................... ชื่อผู้ประเมิน..........................................วัน เดือน ปี ที่ประเมิน............................... ส่วนที่ 2 เกณฑ์การเยี่ยมบ้าน องค์ ประกอบ ประเด็น เกณฑ์ แต่ละ ประเด็น เกณฑ์ประเมินย่อย ผลการ ประเมิน ข้อมูล สนับสนุน มี (1) ไม่มี (0) Input ระบบที่ เกี่ยวข้อง กับการ เยี่ยมบ้าน ระบบงาน 1. มีระบบการดูแลเชื่อมโยงจากโรงพยาบาล มาถึงบ้านที่สนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ ป่วย -คู่มือ/เอกสารที่ แสดงระบบการ ดูแลต่อเนื่องของ CUP -Flow chart การดูแลต่อเนื่อง 2. มีระบบฐานข้อมูลการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย สะดวกในการใช้และเป็นปัจจุบัน -ทะเบียนข้อมูลผู้ ป่วยจำแนกตาม ระดับความ รุนแรงเป็นกลุ่ม โรคเป้าหมาย สำคัญ -แบบฟอร์มการ ส่งต่อ
  • 23. 17 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน องค์ ประกอบ ประเด็น เกณฑ์ แต่ละ ประเด็น เกณฑ์ประเมินย่อย ผลการ ประเมิน ข้อมูล สนับสนุน มี (1) ไม่มี (0) 3. มีระบบสร้างภาคีเครือข่ายสนับสนุนความ ร่วมมือจากชุมชน -รายงานการ ประชุมของภาคี เครือข่ายด้าน สุขภาพ -รายชื่อภาคีเครือ ข่าย ทีมเยี่ยม บ้าน ทีมเยี่ยม บ้านของ สถาน บริการ ปฐมภูมิ 4. เยี่ยมโดยพยาบาลวิชาชีพ -ใบมอบหมาย งานตามลักษณะ ความต้องการ การดูแล -เอกสารขอบเขต ความรับผิดชอบ ตาม flow chart ในข้อ 1 5. เยี่ยมโดยบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ของ หน่วยปฐมภูมินั้นๆ 6. เยี่ยมโดยบุคลากรของหน่วยปฐมภูมิร่วม กับทีมภาคีเครือข่ายจากหน่วยงานอื่นๆ ทั้ง ภาครัฐและเอกชน -อธิบายคำสั่ง แต่งตั้งคณะ กรรมการ/คณะ ทำงานระดับ อำเภอ/จังหวัด -บันทึกการเยี่ยม บ้าน การ ทำงาน เป็นทีม (ทั้งภายใน และ ภายนอก) 7.ทีมสหสาขารับผิดชอบเยี่ยมบ้านตาม ขอบเขต สาขาวิชาชีพและทำงานร่วมกัน อย่างเป็นระบบ -ใบมอบหมาย งาน -บันทึกการเยี่ยม บ้านของแต่ละ สาขาวิชาชีพ
  • 24. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 18 องค์ ประกอบ ประเด็น เกณฑ์ แต่ละ ประเด็น เกณฑ์ประเมินย่อย ผลการ ประเมิน ข้อมูล สนับสนุน มี (1) ไม่มี (0) 8.มีพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้จัดการ กำหนด เป้าหมายการเยี่ยมผู้ป่วย การวางแผน จำหน่าย และจัดทีมเยี่ยมบ้าน -คำสั่งแต่งตั้ง/คำ สั่งมอบหมายงาน 9.มีการวางแผนการจำหน่าย/ปรับแผนตาม สภาพปัญหาผู้ป่วย และมีการประเมินผลลัพธ์ การดูแลร่วมกันของทีมเยี่ยมบ้าน -แผนการ จำหน่าย สมรรถนะ ของทีม เยี่ยมบ้าน 10.มีความรู้เรื่องโรค ยา อาการแทรกซ้อน / ซับซ้อน สามารถคัดกรองและส่งต่อได้ทัน เวลา -บันทึกการเยี่ยม บ้าน -สัมภาษณ์ทีม เยี่ยมบ้าน 11.เลือกใช้หรือสร้างเครื่องมือเฉพาะโรค ตาม สภาพปัญหาผู้ป่วยได้เหมาะสม เช่น ADL,PPS,2Q,9Q ฯลฯ -เอกสารหลักฐาน การใช้เครื่องมือที่ เหมาะสมกับ ผู้ป่วยแต่ละโรค 12.วิเคราะห์ต้นทุนทางสังคม ข้อมูลความเจ็บ ป่วย และคืนข้อมูล เพื่อ empowerment ให้เกิดความร่วมมือ -บันทึกการเยี่ยม บ้าน -จากการ สอบถามชุมชน/ ผู้ป่วย/ญาติเกี่ยว กับการคืนข้อมูล การสร้าง การมีส่วน ร่วม 13.พัฒนาให้เกิดภาคีเครือข่ายภาครัฐ และ ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการเยี่ยม บ้าน -เอกสาร/ ภาพถ่ายแสดง ความร่วมมือของ ภาคีเครือข่าย
  • 25. 19 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน องค์ ประกอบ ประเด็น เกณฑ์ แต่ละ ประเด็น เกณฑ์ประเมินย่อย ผลการ ประเมิน ข้อมูล สนับสนุน มี (1) ไม่มี (0) 14.สร้างความเข้มแข็งและขยายเครือข่าย ภาคประชาชนมีบทบาทร่วมทีมเยี่ยมบ้าน -เอกสาร/ ภาพถ่ายกิจกรรม แสดงความร่วม มือของประชาชน -กองทุน -กรรมการ 15.มีระบบสอน แนะนำ ที่ช่วยให้ อสม./ จิตอาสา รู้วิธีปฏิบัติ ในบทบาททีมเยี่ยมบ้าน ภาคประชาชน -เอกสาร/ ภาพถ่ายแสดง การสอนแนะนำ ทีมเยี่ยมบ้านภาค ประชาชน ปัจจัย สนับสนุน การจัด บริการ วัสดุ อุปกรณ์- เครื่องใช้ 16. มีอุปกรณ์เยี่ยมบ้านครบถ้วนสภาพพร้อม ใช้ -กระเป๋าเยี่ยม บ้านครบถ้วน สภาพพร้อมใช้ 17. มีการบริหารจัดการวัสดุ อุปกรณ์ เครื่อง ใช้ให้มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้ -หลักฐานการ ตรวจสอบ อุปกรณ์เครื่องใช้ รายวันเช่น กระเป๋าเยี่ยม บ้านฯ 18. มีการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีในบ้าน / ชุมชนเพื่อให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย -เอกสาร/ ภาพถ่าย Process งาน บริการ เยี่ยมบ้าน กลุ่มเป้า หมาย เยี่ยมบ้าน 19. มีเกณฑ์คัดกรองกำหนดผู้ป่วยกลุ่มเป้า หมายเยี่ยมบ้านเป็นรายโรค -เกณฑ์การคัด กรองผู้ป่วยกลุ่ม เป้าหมาย
  • 26. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 20 องค์ ประกอบ ประเด็น เกณฑ์ แต่ละ ประเด็น เกณฑ์ประเมินย่อย ผลการ ประเมิน ข้อมูล สนับสนุน มี (1) ไม่มี (0) 20. มีระบบสารสนเทศผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย เยี่ยมบ้านเป็นปัจจุบัน -ข้อมูลระบบ สารสนเทศที่ใช้ 21. มีผังแสดงความชุกของกลุ่มเป้าหมายใน พื้นที่ตามระดับความรุนแรง -SPOT MAP กระบวน การเยี่ยม บ้าน 22.มีกระบวนการเยี่ยมบ้านตามแผนการ รักษาและความถี่การเยี่ยมบ้านเป็นรายกลุ่ม / รายโรค ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อมุ่งส่งเสริม การดูแลตนเองของผู้ป่วย หมายเหตุ ภายใน CUP ร่วมกันหาแนวทาง การดูแลผู้ป่วยรายโรค และแผนการเยี่ยม บ้าน -แนวทางการ ดูแลผู้ป่วยราย โรค -แผนการเยี่ยม บ้าน ประกอบกับ บันทึกการเยี่ยม บ้านและผลการ เยี่ยมบ้าน 23. มีการเยี่ยมบ้านในกรณีเกิดภาวะ เฉียบพลันได้ทันเวลาตามสภาพความรุนแรง / ซับซ้อนของแต่ละโรค หมายเหตุ ภายใน CUP ร่วมกันหา แนวทางปฏิบัติการเยี่ยมบ้านกรณีเกิดภาวะ เฉียบพลัน -แนวทางปฏิบัติ การเยี่ยมบ้าน กรณีเกิดภาวะ เฉียบพลัน 24. มีการติดตาม ควบคุม กำกับ ผลการ ดำเนินงาน -สัมภาษณ์ ผู้นิเทศและ ผู้ปฏิบัติงานเยี่ยม บ้าน -รายงานสรุป ประเมินผล กิจกรรม การ พยาบาลที่ บ้าน 25. ติดตามผลการรักษา /ทำหัตถการที่ จำเป็น / ฟื้นฟูสภาพป้องกันภาวะแทรกซ้อน -บันทึกการเยี่ยม บ้าน -สุ่มเยี่ยมบ้าน
  • 27. 21 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน องค์ ประกอบ ประเด็น เกณฑ์ แต่ละ ประเด็น เกณฑ์ประเมินย่อย ผลการ ประเมิน ข้อมูล สนับสนุน มี (1) ไม่มี (0) 26. ให้การพยาบาลเพื่อลดอาการไม่สุขสบาย / อาการรบกวน 27. การประสานเพื่อการรักษาเบื้องต้น / ส่งต่อ / ช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการ ช่วยเหลือตามความเหมาะสม ระบบการ ดูแลต่อ เนื่อง การ ประสาน การดูแล ต่อเนื่อง 28. มีช่องทางการสื่อสารเพื่อประสานและ ปรับแผนการจำหน่ายตามภาวะของผู้ป่วย ระหว่างเครือข่ายบริการที่มีประสิทธิภาพ -หลักฐานช่อง ทางการสื่อสาร -บันทึกการรับ โทรศัพท์ 29. มีผู้รับผิดชอบหลักในการวางแผน จำหน่ายทุกหน่วยบริการ -หลักฐานการ มอบหมายงาน 30. มีระบบข้อมูล สารสนเทศ เทคโนโลยีการ สื่อสารข้อมูลงานเยี่ยมบ้านระหว่างสถาน บริการที่เหมาะสมกับบริบท -หลักฐานช่อง ทางการสื่อสาร -แบบบันทึกการ ส่งต่อ line หรือ ช่องทางอื่น -ข้อมูลจาก 21 แฟ้ม ศูนย์การ ดูแลต่อ เนื่อง (COC) 31. มีการดำเนินการวางแผนจำหน่ายและ การจัดการสารสนเทศ ข้อมูลการดูแลต่อเนื่อง การประสาน ส่งต่อ หน่วยงานต่างๆ -หลักฐานการ ประสานข้อมูล การดูแล -หลักฐานการ ส่งต่อ 32. มีทีมงานและมีการพัฒนาศักยภาพ เครือข่ายดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน -หลักฐานการ พัฒนาศักยภาพ เครือข่ายฯ
  • 28. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 22 องค์ ประกอบ ประเด็น เกณฑ์ แต่ละ ประเด็น เกณฑ์ประเมินย่อย ผลการ ประเมิน ข้อมูล สนับสนุน มี (1) ไม่มี (0) 33. มีศูนย์/เครือข่าย แหล่งสนับสนุน เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้ที่บ้าน ผู้ป่วย -หลักฐานการ สนับสนุนเครื่อง มือ อุปกรณ์ โดย ศูนย์ฯในกรณีไม่มี ของหน่วยงาน เองต้องบอกได้ว่า ใช้ร่วมกับใคร การเยี่ยม บ้านร่วม กัน ระหว่าง หน่วย บริการ 34. มีระบบการเยี่ยมบ้านร่วมกันระหว่าง หน่วยบริการ กรณีผู้ป่วยส่งต่อมีปัญหา ซับซ้อน -หลักฐานการ เยี่ยมบ้านร่วมกัน ระหว่างหน่วย งาน 35. มีการใช้แผนการจำหน่ายร่วมกันระหว่าง สถานบริการต่างระดับ 36. มีกระบวนการให้คำปรึกษา/ระบบพี่เลี้ยง ในระดับตติยภูมิ / ทุติยภูมิ / ปฐมภูมิ -หลักฐานการจัด ระบบ พี่เลี้ยงใน เครือข่าย การบันทึก ข้อมูลการ เยี่ยมบ้าน 37. มีการบันทึกข้อมูลการให้บริการทุกครั้ง -บันทึกการเยี่ยม บ้าน 38. มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปัญหาสุขภาพ และการดูแลช่วยเหลือที่ตรงความต้องการ 39. มีการบันทึกที่แสดงถึงการใช้กระบวนการ พยาบาลกำหนดประเด็นปัญหาและแผนการ ดูแลครั้งต่อไปสอดคล้องกับภาวะผู้ป่วย รวม (คะแนนเต็ม 39 คะแนน)
  • 29. 23 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน องค์ ประกอบ ประเด็น เกณฑ์ แต่ละ ประเด็น เกณฑ์ประเมินย่อย ผลการ ประเมิน ข้อมูล สนับสนุน มี (1) ไม่มี (0) Output ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ การเยี่ยม บ้าน ผลการ ปฏิบัติ งานการ เยี่ยมบ้าน 1. จำนวนชั่วโมงการเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่ ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง / สัปดาห์ / คน -ข้อมูลตัวชี้วัด การเยี่ยมบ้าน หมายเหตุ ภายใน CUP ร่วมกันกำหนด ตัวชี้วัดการเยี่ยม บ้าน 2. อัตราความครอบคลุมการเยี่ยมผู้ป่วยที่ บ้านไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 คุณภาพ การเยี่ยม บ้าน 3. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่บ้านไม่เกิน ร้อยละ 5 4. อัตราผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมบ้านสามารถ ควบคุมภาวะโรค/ดูแลตนเองได้ ร้อยละ 80 ประสิทธิ ผลของผู้ ให้บริการ เยี่ยมบ้าน 5. ความพึงพอใจของทีมเยี่ยมบ้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 6. ความพึงพอใจของผู้รับบริการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ประสิทธิ ภาพการ ดูแลที่ไร้ รอยต่อ 7. อัตราผู้ป่วยส่งกลับจาก รพศ./รพท./รพช. ได้รับการเยี่ยมบ้านภายใน 14 วัน ร้อยละ 100 8. อัตราการส่งข้อมูลผู้ป่วยระดับ 3 ถึงหน่วย บริการปลายทางภายใน 5 วันร้อยละ 80 รวม (คะแนนเต็ม 8 คะแนน) รวมคะแนนทั้งหมด (คะแนนเต็ม 47 คะแนน)
  • 30. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 24 ข้อเสนอแนะ ………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………….............. สรุปการประเมินคุณภาพงานเยี่ยมบ้านอยู่ในระดับ ❏ ระดับ 1 ❏ ระดับ 2 ❏ ระดับ 3 ลงชื่อ…………………………………………………………ผู้ตรวจ ลงชื่อ……………………………………………....ผู้รับการตรวจ วันที่…………………………………………………..……….…......
  • 31. 25 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน กองการพยาบาล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2544). มาตรฐานการ พยาบาลในชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. กองการพยาบาล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2545). แนวทางการจัด บริการพยาบาลระดับปฐมภูมิ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ จำกัด. จันทร์เพ็ญ สันตวาจา.(2552). แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎีและกระบวนการ พยาบาล.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : บริษัทธนาเพรส จำกัด. ประพิณ วัฒนกิจ.(2536). สุขภาพดีเริ่มที่บ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : สาม เจริญพานิชย์. ประพิณ วัฒนกิจ. (2542). การประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานสุขภาพดีเริ่มที่บ้าน ในประเทศไทย. นนทบุรี : กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. วันเพ็ญ พิชิตพรชัย และ อุษาวดี อัศดรวิเศษ.(2546). การวางแผนจำหน่ายผู้ ป่วย แนวคิดและการประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ศิริพร ขัมภลิขิต.(2539). แบบแผนสุขภาพ : การเก็บรวบรวมข้อมูล.กรุงเทพฯ : เทมการพิมพ์. ศิราณี อินทรหนองไผ่. (2553). กระบวนการพยาบาล : เครื่องมือนักจัดการ สุขภาพองค์รวมเพื่อพัฒนาสุขภาพระดับปฐมภูมิ.(พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สุรีย์ ลี้มงคล.(2553). คู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วยในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน. กรุงเทพมหานคร : โรงพยาบาลศิริราช. บรรณานุกรม
  • 32. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 26 สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2550). มาตรฐานการพยาบาลใน โรงพยาบาล. (ปรับปรุงครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก. Bates , B. (1995). A guide to physical examination and history taking. (6th ed.). Philadelphia : J.B. Lippincott Company. Bull, M. J., Hansen, H. E., & Gross, C. R. (2000). A professional-patient partnership model of discharge planning with elders hospitalized with heart failure. Applier Nursing Research, 13, 19-28. Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation’s place in rural development : Seeking clarity through specificity. World Development, 8(3), 219-222. Holzemer, W.L. (2010). The impact of nursing care in Latin America and the Caribbean: A focus on outcomes. Journal of Advanced Nursing, 20, 5-12. Humphrey, C., & Milone-Nuzzo, P.(1996). Orientation to Home Care Nursing. United States : Aspen Publishers, Inc. Kozier, b., Erb., G., & Berman, A. J. (2000). Fundamentals of nursing : Concepts, process, and practice. (6th ed.). New Jersey : Prentice-Hall, Inc. McKeehan, K.M. (1981). Continuing care: A multidisciplinary approach to discharge to discharge planning. St.Louis: C.V. Mosby.
  • 33. 27 เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ภาคผนวกที่ 1 รายนามผู้ทรงคุณวุฒิและคณะทำงาน “เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน” 1. นางสิริวรรณ เดียวสุรินทร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2. นางอังคณี จ.ผลิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย 3. นางนภัสวรรณ บุตรแสนคม โรงพยาบาลสกลนคร 4. นางรัตนา แก้วประเทศ โรงพยาบาลลำปาง 5. นางลักขณา ลี้ประเสริฐ โรงพยาบาลลอง จังหวัดแพร่ 6. นางนัฏฐิกา ธีรสุนทรานันท์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน 7. นางบุษลักษณ์ สาฆะ โรงพยาบาลนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู 8. นางสาวยุวดี โกมาสถิตย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายเพชรเจริญ จังหวัดเลย 9. นางสาวปนัดดา วณิชชาพัชร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุลาว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 10. นางอุมาภรณ์ กำลังดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรมณีย์ อำเภอปะกง จังหวัดพังงา 11. นางมนัสชกรณ์ พิชัยจุมพล ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านมาง โรงพยาบาลเชียงม่วน จังหวัดพะเยา 12. นายเทพนรินทร์ เทพบุปผา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี 13. นางสาวบุญเตือน เหลืองเลิศขจร โรงพยาบาลหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 14. นางสาวรุ้งลาวัลย์ กาวิละ โรงพยาบาลแม่ลาว จังหวัดเชียงราย 15. นางธีรนุช ชละเอม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ภาคผนวก
  • 34. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 28 16. นางนวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 17. นางสาวอรรถยา อมรพรหมภักดี สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 18. นางทิพย์สุดา ลาภภักดี สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 19. นางสาวพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์ สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคผนวกที่ 2 รายนามคณะกรรมการวิชาการพิจารณาเนื้อหา “เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน” สำนักการพยาบาล 1. นางสาวชุติกาญจน์ หฤทัย 2. นางศิริมา ลีละวงศ์ 3. นางสาวอัมภา ศรารัชต์
  • 35. เกณฑคุณภาพ งานเยี่ยม สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ºéÒ¹ สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข หนังสือเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน ที่ปรึกษา ดร.กาญจนา จันทร์ไทย ผู้อำนวยการสำนักการพยาบาล บรรณาธิการ นางนวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา สำนักการพยาบาล นางสาวพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์ สำนักการพยาบาล คณะผู้เขียน นางนวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา สำนักการพยาบาล ดร.ธีรพร สถิรอังกูร สำนักการพยาบาล นางทิพย์สุดา ลาภภักดี สำนักการพยาบาล นางสาวอรรถยา อมรพรหมภักดี สำนักการพยาบาล นางสาวพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์ สำนักการพยาบาล พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย โทร. 0 2525 4807 โทรสาร 0 2525 4855
  • 36. เกณฑ์คุณภาพ งานเยี่ยม สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข บ้าน พระบรมราโชวาท ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ การปฏิบัติราชการในปัจจุบันนี้มุ่งหมาย เอาประสิทธิภาพปริมาณงานและความรวดเร็ว เป็นสำคัญ ผู้ปฎิบัติราชการจึงพากันเอา วิทยาการก้าวหน้าพร้อมทั้งเครื่องกลที่ทรง ประสิทธิภาพสูงต่างๆ มาใช้กันอย่างกว้างขวาง วิทยาการเครื่องกลเหล่านี้เมื่อนำมาปฏิบัติการ แล้ว จะต้องได้ผลอย่างสูงทุกครั้งไป คือถ้าใช้ถูก ก็ทำให้ได้ประโยชน์มาก ถ้าใช้ไม่ถูกก็ทำให้เสียหาย ได้มากเท่าๆ กัน การจะนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาใช้ งาน จึงต้องระมัดระวัง ศึกษาให้ทราบแน่แท้ โดยตลอดก่อน ทั้งโครงงานที่จะทำ ทั้งเครื่อง ปฎิบัติงานที่จะใช้ มิฉะนั้นจะเกิดความสิ้นเปลือง และสูญเปล่าได้ง่ายดายที่สุด พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข