SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
สรุปประเด็นการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24
และขอคำแนะนำเพื่อการจัดงานมหกรรมการศึกษาไทย ของ กสศ.
วันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 16.30 – 18.30 น.
ณ ห้องประชุมเสมอภาค กสศ. และการประชุมออนไลน์ผ่าน Zoom
ผู้เข้าร่วมประชุม
1. ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ
2. นพ. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สรพ.
3. พญ. ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบัน สรพ.
4. นพ. ทรนง พิราลัย หัวหน้ากลุ่มภารกิจพัฒนาองค์กรและนวัตกรรม สรพ.
5. นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล
6. นางสาววลีรัตน์ มิ่งศูนย์ ทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล
7. นางสาวรัตนภรณ์ ศรีประเสริฐ ทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล
8. นายณรงค์ชัย เต็นยะ ทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล
9. นางสาววิมลพร ใบสนธิ์ บริษัท คิดค้นคว้า จำกัด
10. นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กสศ.
11. นายอุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครูฯ
12. นางสาวชนกพรรณ วรดิลก หัวหน้าฝ่ายพัฒนาคุณภาพโรงเรียนและระบบนิเวศการเรียนรู้
13. นางสาวธารทิพย์ แก้วเจริญ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบการผลิตและ
พัฒนาครูเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา
14. นายภูริทัต ชัยวัฒนกุล นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครู
เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา
15. นายเทียนชัย ภัทรชนน นักวิชาการฯ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพโรงเรียนฯ
16. นางสาวเขมินทรา บุญธรรม นักบริหารแผนงาน ฝ่ายพัฒนาคุณภาพโรงเรียนฯ
17. นางสาวสุติมา งอกเงิน เจ้าหน้าที่สนับสนุนสำนักครูฯ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพโรงเรียนฯ
ประเด็นในการแลกเปลี่ยนในวง AAR จากการเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24
1. ความคาดหวังจากการได้เข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24
2. ความรู้สึกจากการได้เข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24
3. สิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่เห็นและตีความได้จากการเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24
4. การนำประเด็นที่น่าสนใจ นำไปสู่การต่อยอด และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับใช้
5. ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในการปรับใช้ในการจัดงานเวทีมหกรรมการศึกษาไทย ของ กสศ.
สรุปประเด็นจากความเห็นของแต่ละท่าน ตามของโจทย์ในแต่ละข้อ ได้ดังนี้
1. ความคาดหวังจากการได้เข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24
1) กสศ. มีแผนจัดงานมหกรรมการศึกษาไทยขึ้นในช่วง สิงหาคม 2567 จึงอยากที่จะเข้าไปเรียนรู้รูปแบบ
การจัดงานมหกรรมและนำมาปรับใช้ ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของ กสศ. คือ ครู บุคลากร
ทางการศึกษา และโรงเรียน
2) ต้องการไอเดียในการออกแบบรูปแบบของงานที่จะทำอย่างไรให้ครู บุคลากรทางการศึกษาที่
เข้าร่วมได้ความรู้ ความเข้าใจกลับไป ตัวอย่างรูปแบบของการกลั่นข้อมูลให้ครูนำกลับไปใช้ได้
3) ต้องการมองเห็นไอเดียการจัดการเรียนรู้ บรรยากาศของการจัดงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขนาดใหญว่า
ควรเป็นอย่างไร เมื่อเป็นงานของกลุ่มวิชาชีพสาธารณสุข
4) ต้องการทราบถึงรูปแบบและวิธีการพัฒนาการของงาน HA Forum มีการเปลี่ยนไปอย่างไรรวมถึง
บรรยายการเรียนรู้เป็นอย่างไร
5) ต้องการเข้าไปศึกษา Good Practice ของงานประกันคุณภาพของสถานพยาบาล ที่สามารถสร้าง
ไอเดียหรือทำให้มองเห็นแนวทางการแสดง Good Practice ของคุณครู โรงเรียน ที่เป็นการเชิดชู
นวัตกรรม การจัดการเรียนสอนที่โรงเรียนพยายามพัฒนา
6) คาดหวังว่าสิ่งที่ไปเห็น สิ่งที่ไปเรียนรู้ จะสามารถนำความรู้กลับมา และแปลงกลับไปใช้ประโยชน์ต่อไป
กับงานด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้
7) คาดหวังที่จะไปเรียนรู้รูปแบบการจัดการ และสนนใจที่จะเข้าไปเรียนรู้คุณค่าของงานนี้ เนื่องจาก
ผู้เข้าร่วมต้องเสียเงินเข้าร่สมไม่ใช่การเข้าร่วมงานฟรี แต่ผู้คนให้คุณค่า ยอมที่จะจ่ายเงิน และอยากที่จะ
เข้าร่วมงาน
2. ความรู้สึกจากการได้เข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24
1) มีความรู้สึกตื่นเต้น บางช่วงสนุก บางช่วงงงงวย รู้สึกตกใจในสิ่งที่เจอ คือ การเข้าร่วมห้องใหญ่ใน
พิธีเปิดบรรยายหัวข้อ “Growth mindset For Better Healthcare System (ระบบบริการสุขภาพ
ก้าวหน้า ด้วยกรอบความคิดที่ก้าวไกล” โดยอาจารณ์หมอปิยวรรณ ทำให้รู้สึกเซอร์ไพรส์และตกใจ
ตอนคุณหมอปิยวรรณเปิดงานซึ่งจุดนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจมีการปูถึง Theme งาน
มีการพูดขยายในการพิธีเปิด ชอบการเปิดตัวที่น่าสนใจ ประเด็นที่พูดรู้สึกไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไป
ซึ่งเป็นประเด็นที่อยากให้ผู้เข้าร่วมนำไปต่ออย่างไรบ้าง ซึ่งการเปิดงานในครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมมีส่วน
ร่วม คุณหมอใช้ Power ในการที่จะดึงคน และให้เข้าถึงเป้าหมายร่วมกัน สร้างความใกล้ชิด
ให้ผู้เข้าร่วมเข้าถึงผู้บริหารระดับสูงได้ ซึ่งเป็นช่วงการเปิดที่ดี
2) เกิดการตั้งคำถามที่ว่าทำไมหรือองค์ประกอบอะไรที่ทำให้งาน HA National Forum จัดได้ยาวนาน
มาจนถึงครั้งที่ 24
3) รู้สึกเซอร์ไพรส์ เนื่องจาก มีคาดการณ์ก่อนมางานว่า ต้องคนเยอะมาก ๆ แต่พอเข้าร่วมกลับรู้สึก
ไม่แอร์อัด งานมีความเป็นระบบ มีการจัดการที่ค่อนข้าง Flow ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเราสามารถเข้าไป
เรียนรู้ได้ทุกพื้นที่ของงาน มีระบบการจัดระบบออกแบบงานดี
4) มีความกังวลกลัวว่าเราไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูด แต่พอเข้าไปจริง ๆ ถึงแม้เราไม่ได้อยู่ในวงการ
สาธารณสุขแต่ประเด็นมีความครอบคลุมทุกวิชาชีพ รวมถึงรู้สึกสนุกมีจุดถ่ายรูปมากมาย และการ
ถ่ายรูปที่สื่อถึง growth Mindset ซึ่งมีจุดที่น่าสนใจมากมาย
5) ความรู้สึกสงสัย แต่พอไปเข้าร่วมกลับได้รับแรงบันดาลใจ โจทย์ที่เราไปศึกษาคือ เราไปเรียนรู้
รูปแบบการจัดการ และความสนใจที่จะเข้าไปเรียนรู้คุณค่าของงานนี้ ไม่ใช่เงินฟรี แต่ผู้คนให้คุณค่า
และอยากที่จะเข้าร่วมงาน
6) รู้สึกเกิดพลังการเรียนรู้ตลอดงาน และเกิด Inspire ในการไปทำงานต่อ ทำให้คนที่ไม่รู้จักทางการ
แพทย์เลย ได้รู้และมีพลัง เกิดแรงบันดาลใจหลังจากการเข้าร่วมได้ และสามารถมองเห็นการสร้างการ
เปลี่ยนแปลงต่อไปในวิชาชีพของตนเอง
3. สิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่เห็นและตีความได้จากการเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24
1) ความน่าสนใจของห้อง Workshop ที่มีการตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทุกวิชาชีพ ครอบคลุมบุคลากรทาง
การแพทย์ เนื้อหามีความครอบคลุมวิถีชีวิต ภาพรวมแสดงให้เห็นว่า “วงการวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
ไม่เพียงแค่คนที่อยู่ในวงการวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่านั้น” ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกมองเห็นจุดการ
เรียนรู้ และสามารถจัดเวลาการเรียนรู้ของตนเองได้ ผ่านการเรียนรู้ห้อง Workshop ต่าง ๆ
2) การออกแบบการจัดทำผังงาน มีคู่มือที่สามารถทำให้ทำความเข้าใจทั้งงานได้ รวมถึงมีการประมวล HA
journey ที่เป็นเส้นทางของงาน HA มองเห็นเส้นทางการจัดงานที่ผ่านมาในภาพรวม
3) ประเด็นของรูปแบบของงานน่าสนใจโดยเฉพาะเรื่องการเปิดงานที่น่าตื่นเต้น เร้าใจ ทำให้ผู้เข้าร่วม
มีส่วนร่วม โดย พญ. ปิยวรรณ ใช้ Power ในการที่จะดึงคน และให้เข้าถึงเป้าหมายร่วมกัน สร้าง
ความใกล้ชิดให้ผู้เข้าร่วมเข้าถึงผู้บริหารระดับสูงได้ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าอยากให้ผู้เข้าร่วมไปต่อ
อย่างไรบ้าง ซึ่งการเปิดงานในครั้งนี้ ซึ่งเป็นช่วงการเปิดที่ดี เป็นนิเวศการเรียนรู้ที่อบอุ่น
เป็น Section ที่เติมเต็มของคนทำงาน
4) การร้อยเรียงของ Theme งาน ตั้งแต่ห้องใหญ่ สู่การเชื่อมประเด็นไปที่ห้องย่อยที่มีโจทย์ที่ร้อยเรียงเช้า
กับธีมของงาน เช่น ห้องใหญ่ที่เข้าไปร่วมในพิธีเปิดเกี่ยวกับเรื่องของ Growth mindset For Better
Healthcare System (ระบบบริการสุขภาพก้าวหน้า ด้วยกรอบความคิดที่ก้าวไกล)
5) วิทยากรมีการนำเสนอประสบการณ์ร่วมของตนเองกับผู้เข้าร่วม และดึงผู้เข้าร่วมให้เข้ามามีส่วนร่วม ทำ
ให้ผู้เข้าร่วมฟังและติดตามไปร่วมกับวิทยากร
6) ในส่วนของนิทรรศการ ที่เป็นส่วนของหน้าจอล็อกสกรีนแสดงผลงานเป็นเครื่องที่ถูกให้ความสนใจจาก
บุคลากรทางการสาธารณสุขเป็นอย่างมาก เป็นจุดแสดงผลงานของคุณหมอ และพยาบาลให้รู้สึกถึง
ความภูมิใจ และการให้คุณค่ากับงานวิจัยสายสาธารณสุข
7) บรรยากาศของการมีจุดสร้างความสนใจ เช่น จุดถ่ายรูป มีการสร้างแบรนด์ทำให้เกิดกระแส
ความรับรู้ จุดเล่นเกมหรือจุดพัก บูธขายคอนโด บัตรเครดิต สปอร์เซอร์ต่าง ๆ ซึ่ง
8) รูปแบบการจัดกิจกรรมของงานมีความหลากหลาย ทั้งในลักษณะของเวทีใหญ่ เวทีเสวนา
ห้องย่อย นิทรรศการ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล็ก ๆ โซนนิทรรศการ ทำให้งานมีความหลากหลาย
ในส่วนของห้องย่อยมีการชวนพูดชวนคุย การแลกเปลี่ยน มีจุดให้ถามคำถามไม่ใช่แค่นำเสนอ PPT
9) ความรู้นำประสบการณ์มาร่วมดีไซน์งาน นิทรรศการบอร์ดต่าง ๆ มีความเป็น Growth mindset ตามธี
มของงาน เช่น มีการทำแบบทดสอบความมี Growth mindset ทำให้เราเข้าใจสามารถ Get to
(สามารถหยิบไปใช้ได้)
10) สะท้อนให้เห็นความสำคัญและเป้าหมายของการจัด HA National Forum คือ เป็นงานที่เป็นลักษณะ
ของพิธีกรรม การสร้างตัวตนของชาว HA และ สังสรรค์ เพื่อเป้าหมายในการขยายเป้าหมาย แสดง
ผลงานและนวัตกรรม รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพ
11) การร้อยเรียงประเด็นในห้องใหญ่ในการเลือก Speaker เพื่อเล่าเรื่องราวความเป็นมาเป็นส่วนที่ท้าทาย
โดยในช่วงของที่คุณหมอจรัส พูดถึงมีการพูดถึงอดีต บทเรียน และอนาคต ส่วนคุณหมอวิจารณ์พูดถึง
ความยั่งยืนด้านคุณภาพและระบบความปลอดภัยของ System Healthcare หัวข้อที่กำหนด เป็นการ
ร้อยเรียงเรื่องที่ต่อเนื่องกัน แต่ท้าทายว่าจะทำอย่างไรให้รูปแบบของการนำเสนอเรียกคนเข้าร่วมให้มา
ฟังมากขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่สามารถถ่ายทอดหรือเล่าเรื่องราวความเป็นมาของพัฒนาการของเวทีได้
12) หัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละห้องน่าสนใจ บรรยากาศที่เกิดขึ้นเป็นบรรยากาศของการสร้างการ
เรียนรู้ได้ดี และเป็นแรงขับเคลื่อน พลังแนวคิดใหม่ ๆ พร้อมทั้งเห็นถึงพลังการขับเคลื่อน/การสร้างพลัง
ของวงการสาธารณสุข
13) ประเด็นเรื่องของการจัดการความรู้ (KM) เป็นกระบวนการในระดับโรงพยาบาล และการจัดการความรู้
เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการเชิดชูผลงานของโรงพยาบาลที่กระจายอยู่
ทั่วประเทศ เป็นการสร้างความภาคภูมิใจของโรงพยาบาล การเลือกใช้รูปแบบของการแสดงผลงานใน
ลักษณะของจอทัชสกรีน น่าสนใจ และเห็นการได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายในงานจำนวนมาก
เนื่องจากเป็นการสะท้อนการให้คุณค่ากับงานของเขา และเขารู้สึกภูมิใจในผลงานของตนเอง
14) การเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคส่วนต่าง ๆ มีบูธการขายของ
มีหน่วยงานที่เข้ามารับผิดชอบงานในห้องต่าง ๆ เพื่อสร้างการเป็นเจ้าของร่วมกัน
15) การจัดการภายในมีการวางแผนที่ดี ทำให้การบริหารจัดการภาพรวมของงานออกมาดี ดังนี้
- จัดการ Flow ของคนเข้าร่วมงานได้ราบรื่น การลงทะเบียน การจัดการผู้เข้าร่วมได้ดี มีความลื่นไหล
ไม่มีคนยืนอออยู่หน้างาน ทำให้ไม่แออัด เป็นระบบ ทำให้ไม่ว่าจะพื้นที่ไหนสามารถให้คนเข้าไป
เรียนรู้ได้ทุกพื้นที่
- Flow ในห้องย่อยมีการบริหารจัดการโดยมีการสำรองที่นั่งสำรองผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนมา ทดแทน
คนที่ลงทะเบียนไม่ทัน แบ่งหน้าที่สตาฟอย่างชัดเจน
- การมีผังงาน (ห้องย่อย) มีคิวอาร์โค้ดให้แสกน มีจุดลงทะเบียนที่ครอบครุม (มีฐานข้อมูลของ
ผู้เข้าร่วมหลายจุด) มีจุดให้คำปรึกษา มีป้ายชื่อ รวมถึงมีจุดบริการของหายโดยการให้บริหารเช็ค
กล้องวงจรปิด เป็นการสร้างความปลอดภัยให้ผู้เข้าร่วม
- การแสกนคิวอาร์โค้ดเพื่อลดจำนวนคนในการให้บริหาร การมีจุดลงทะเบียนที่ครอบคลุม
มีฐานข้อมูลในจุดลงทะเบียนหลายจุด มีจุดให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้าร่วมที่มีคำถาม
4. การนำประเด็นที่น่าสนใจ นำไปสู่การต่อยอด และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับใช้
1) ด้านการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
1.1) กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัด มีห้องย่อยต่าง ๆ ตอบโจทย์ทุกวิชาชีพ ที่ครอบคลุมบุคลากร
ในโจทย์ของเราเอง เทียบเคียงกับกลุ่มเป้าหมายหลักของงานพัฒนาโรงเรียนคือ ครู ทำให้คิด
ต่อว่าในการจัดงานมหกรรมการศึกษาจะนำใครมาเข้าร่วมนอกจากครูหรือไม่ ความรู้ก้อน
ไหนตอบโจทย์งานของผู้เข้าร่วม นำเสนอให้ตอบรับกับผู้เข้าร่วม คุณลักษณะของวิทยากร
การมีทักษะการสร้างจุดสนใจ และสร้างเป้าหมายความเข้าใจร่วมกับวิทยากรเพื่อให้เขา
เข้าใจงานของเราในการสื่อสารออกไป
1.2) การออกแบบธีมงาน และสาระของเนื้อหาที่ตอบโจทย์ของสถานการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน
ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทุกคน ทุกวิชาชีพ และการวาง Theme งานล่วงหน้า 1 ปี น่าจะใช้
ประโยชน์ได้ในเชิงของการขับเคลื่อน และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
1.3) การกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ที่ออกแบบการจัดอบรมหรือ Workshop
ที่เชื่อมโยงกับการให้เครดิตทางวิชาชีพ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบในวงการ
การศึกษาได้
2) ด้านการคัดเลือกประเด็นและการออกแบบรูปแบบของงาน
2.1) ห้องย่อยที่บรรยายถึงการประกันคุณภาพของโรงพยาบาล รวมถึงการวัดคุณภาพของ
โรงพยาบาล ท่านคุณหมออนุวัฒน์ได้บรรยายการวัดคุณภาพของโรงพยาบาล ปัญหาการ
โยกย้ายของผู้อำนวยการโรงพยาบาลเป็นปัญหาเดียวกันกับโรงเรียน แล้วจะทำอย่างไรให้มี
โรงพยาบาลเข้มแข็ง ท่านได้บรรยายถึงว่า “เราต้องสร้างบุคลากรที่เข้มแข็ง” โดยเราอาจ
นำมาเปรียบเทียบกับโรงเรียนมีความสอดคล้องกับปัญหาที่โรงพยาบาล หากเราสร้างแกนนำ
วิชาการให้เข้มแข็ง สามารถทำได้แม้จะโยกย้ายผู้อำนวยการ เราก็ดำเนินงานต่อไปได้ ห้องนี้
อาจจะใช้เปรียบเทียบกับโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงพยาบาลขนาดเล็กที่มีบุคลากรน้อย
หากสมมติว่าเราทำมหกรรมโรงเรียน เราจะมี Section ให้โรงเรียนเข้าร่วม มีแนวทางใน
การประกันคุณภาพโรงเรียนของตนเอง ทำให้โรงเรียนสามารถนำแนวทางกลับไปใช้ในการ
ประกันคุณภาพโรงเรียนของตนเองได้
2.2) ห้อง Workshop ที่เป็นห้องย่อยวิทยากรนำเสนอตัวอย่าง ประสบการณ์ ทำให้ผู้เข้าร่วมฟัง
และติดตามไปร่วมกับวิทยากร โดยทำให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจ และหากนำเรื่องนี้ไปปรับใช้
บริหารจัดการย่อยเทคนิค How to ที่ครูเข้ามาเข้าร่วม ได้หยิบไปใช้ต่อ
2.3) การจัดการความรู้ KM เชื่อมโยงกับกระบวนการเชิงชูผลงานวิชาการ นวัตกรรมที่กระจายอยู่
ภายในโรงพยาบาลถ้วนประเทศ การวางโครงสร้าง KM ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพ
ของกลุ่มสาธารณสุข หาก กสศ. อยากใช้แนวทางนี้เพื่อการเชิดชูผลงานของครูและบุคลากร
ทางการศึกษา อาจจะต้องคุยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นประเด็นย่อย ๆ มาใช้ต่อใน
งานของมหกรรมการศึกษาของไทย
2.4) ในช่วงของที่คุณหมอจรัส พูดถึงมีการพูดถึงอดีตบทเรียน มองที่อนาคต ส่วนคุณหมอวิจารณ์
พูดถึงความยั่งยืนด้านคุณภาพและระบบความปลอดภัย หากในงานมหกรรมการศึกษา
และมีความจำเป็นต้องนำเรื่องอดีตหรือประวัติศาสตร์ Timeline ต่าง ๆ มาเล่า รวมถึงการ
เล่าถึงบทเรียนของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต่างๆ สื่อสารเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายนำความรู้ไปใช้ในการ
ทำงานได้ กสศ. อาจจะต้องคิดและออกแบบประเด็นหรือรูปแบบในการพัฒนาการศึกษาให้
นำเสนอออกมาได้อย่างน่าสนใจได้อย่างไร
2.5) ทุก Zone ทั้งนิทรรศการ ห้องย่อย (Workshop) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความน่าสนใจ
มีจุดสร้างความสนใจต่าง ๆ เช่น จุดเล่นเกมหรือจุดพัก บูธ สปอร์เซอร์ต่าง ๆ มีจุดที่ดึงดูด
ความสนใจ ทั้งตัวบอร์ด หรือการให้โรงพยาบาลมีตั้งบูธ เราเห็นถึงความภูมิใจของ
โรงพยาบาล และการพัฒนาโดยไม่หยุดนิ่งเราเห็นความคิดที่พยายามพัฒนา เมื่อ
เปรียบเทียบกับโรงเรียนที่พยายามพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ กับการศึกษา เราอาจจะให้เขามา
ส่วนร่วมในการจัดบูธ เสนอผลงานของโรงเรียน
2.6) ในโซนของห้องย่อยเกี่ยวกับการ Trauma คือ บาดแผลหรือปมในจิตใจ โดยนำ Good
Practice ที่สามารถทำได้ทั้งในโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลรัฐ โดยเนื้อหาคือ
การสร้างการดูแลคนไข้ ดูแลบาดแผลในใจ โดยภายในโรงพยาบาลมีการประสานงานเป็น
ลำดับ ตั้งแต่หน้าโรงพยาบาล ถึงการดูแลคนไข้ เช่น มีเด็กที่ป่วย โรงพยาบาลก็จะมีการ
ประสานสู่ผู้ปกครอง (เพื่อสร้างความอุ่นใจ) หากเรานำไปเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เข้าไปดูแล
เด็กที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ที่จะทำให้เขาสามารถมีที่ปรึกษาและรู้สึกอุ่นใจ หากเรานำ
โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนรัฐมานำเสนอ แสดง Good Practice จะทำให้เห็นถึงโรงเรียน
รัฐการสามารถทำได้เช่นกัน
2.7) ป้ายและผังงานทำให้เรามองเห็นเส้นทางของงาน จุดนี้มีอะไร/คืออะไร มีนิทรรศการที่
น่าสนใจ นอกนิทรรศการยังมีเวทีแลกเปลี่ยน และป้ายสปอร์เซอร์ที่ทำให้เห็นภาพใหญ่ของ
สายวิชาชีพ โดยสิ่งที่เราจะนำมาปรับใช้กับงานมหกรรมการศึกษาได้ คือ การกำหนดธีมงาน
ให้ชัดเจน มีการร้อยเรียงธีมงาน ออกแบบรูปแบบการจัดงานที่สร้างพลัง มีนิทรรศการ
มีวงเสวนา การเปิดงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วม การเข้าไปในห้องย่อย อาจจะมี
การชวนพูดชวนคุย การแลกเปลี่ยน มีจุดให้ถามคำถามไม่ใช่แค่นำเสนอ PPT การสร้าง
รูปแบบของงานที่มีความหลากหลายมากขึ้น
2.8) การใช้แนวคิดที่ว่าทำให้ผู้เข้าร่วมจดจำสัก 1 เรื่องกลับไปหลังเข้าร่วมงาน เช่น เป็นจำได้ขึ้น
ใจในเรื่อง "Sense ที่ Care คือสิ่งเดียวที่ สิ่งมีชีวิตอย่าง “มนุษย์” มี และ เป็นสิ่งเดียวที่
เทคโนโลยีหรือ AI เข้ามาแทนที่ไม่ได้ " จากช่วง Senses and science for Good life and
better health
2.9) การออกแบบบอร์ดหลักของงานที่มีการรวบรวม HA journey ทำให้เห็น Timing ของงานที่
ผ่านมา อาจนำตัวอย่างในส่วนนี้มาออกแบบรูปแบบของการเล่าเรื่องของงานมหกรรมให้
เป็น Timing ของงาน หรือประเด็นอื่น ๆ ที่ต้องการนำเสนอ Journey
2.10) งาน HA Forum เกิดขึ้น เกิดจาก Concept ของการจัดการความรู้ การเตรียมวิทยากรเป็น
เรื่องสำคัญและเป็นการเตรียมเรื่องเล่าเร้าพลัง ในส่วนของด้านวงการการศึกษาก็เช่นกัน
3) ด้านการสร้างการมีส่วนร่วม
3.1) พิธีเปิดควรเป็นการเปิดที่น่าสนใจ ด้วยระยะเวลาและเทคนิคการดึงดูดความสนใจที่
เหมาะสม ไปจนถึงการนำไปสู่ธีมของงานได้ เป็นการเปิดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ให้
กลุ่มเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วม สร้างความใกล้ชิดระดับผู้ใหญ่หรือผู้ทรงให้เป็นภาพที่เข้าถึง
ได้ จับต้องได้ และใช้เป็นสร้างความเข้าใจร่วมกันต่อเป้าหมายของงาน
3.2) ในแต่ละกิจกรรมต้องมีกระบวนการสร้างบรรยากาศให้ผู้เข้าร่วมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สามารถแสดงความเห็นร่วมกันได้ โดยไม่เป็นลักษณะของวิชาการมากเกินไป เพื่อสร้างให้
ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมกับกิตกรรม ทำให้เขามองเห็นคุณค่า ได้รับแรงบันดาลใจกลับไป และ
สามารถมองเห็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพของเขาต่อไป
3.3) การใช้เทคนิคการสร้างการเป็นเจ้าของร่วมกัน การเปิดมุมมองใหม่ ๆ ในการมีอินฟูเรนเซอร์
ไม่ใช่แค่คนในวงการที่เป็นเป้าหมายหลักของงานเท่านั้น เปิดมุมมองให้คนปลายทางเข้ามามี
ส่วนร่วมในงาน (สร้างงานให้เป็นของทุกคน)
3.4) การค้นหาโรงเรียนที่มี Good Practice ด้านนั้น ๆ (กลไกขับเคลื่อน ทุกคนในองค์กรต้องมี
บทบาทในการรับผิดชอบ ดึงข้อมูลในส่วนของงานต่างๆ มา คือ ทุกคนในองค์กรรับผิดชอบ
การเปิดพื้นที่ในเครือข่ายเข้ามาทำกิจกรรม ภายใต้พื้นที่ที่กำหนด) ทำให้โหนดเองสามารถ
เป็นเจ้าของห้องในการจัด Workshop ในการจัดได้ การจัดอบรมหรือ WS ให้เครดิตการ
เป็นเจ้าของ
3.5) การเปิดโอกาสให้บริษัท องค์กรที่สามารถมาเป็น Sponser ของงานเข้ามาจัดแสดง หรือว่า
เข้ามาเป็นส่วนร่วมของ Workshop ได้ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการระดมงบประมาณ
4) ข้อเสนอแนะจากการเข้าร่วมเพื่อการปรับใช้ในงาน HA Forum ในอนาคต
4.1) จุดประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนเข้าร่วมได้สื่อสาร ซึ่งหากมีจุดประชาสัมพันธ์ที่จะแนะนำ ทำให้
เพิ่มความตื่นเต้นได้
4.2) อาจจะเพิ่มเติมจุดสำคัญ อาจจะเพิ่มจุดเวทีย่อยเพื่อการจัดการความรู้ เพื่อสร้าง
กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสร้างความเคลื่อนไหว (การใช้ประโยชน์ของห้องที่ได้มีประสทธิ
ภาพมากขึ้น)
4.3) การออกแบบผังงาน อาจมีคู่มือให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจงานได้ง่ายขึ้น
4.4) ตัวอย่างในห้อง Workshop โยคะหัวเราะ คาดหวังอยากจะ How to ไปใช้ต่อ แต่เราได้
เป็นข้อมูลที่เป็นการบรรยายมากกว่า ผู้เข้าร่วมเข้ามาไม่ได้มีส่วนร่วมเท่าไหร่ อาจเพิ่มเติม
รูปแบบของกิจกรรมให้เป็นลักษณะของการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมมากขึ้น
4.5) ในการเขียนประชาสัมพันธ์นอกจากแค่ชื่อแล้ว เราอาจจะมีคำอธิบายที่สื่อถึงห้องย่อย
ก่อนที่เราจะตัดสินใจเข้าห้องเรียน คือ ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถออกแบบ Learning Space
ในการที่จะออกแบบการเรียนรู้ของด้วยตนเองได้ ซึ่งอาจเป็นส่วนที่ช่วยจุดประกายคนที่
อยากเข้าไปเรียนรู้มากขึ้น
5. ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในการปรับใช้ในการจัดงานเวทีมหกรรมการศึกษาไทย ของ กสศ.
• นพ. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล
1) แนวคิดการจัดงาน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ (1) Operation (การประสานงาน) ส่วนนี้ต้องคุยกับคน
ที่รู้รายละเอียด โดยไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ (2) Conceptual ส่วนนี้สำคัญมาก อยากให้ตั้งคำถาม
เยอะ ๆ โดยมีข้อสังเกต ว่าทำไมถึงทำแบบนั้น โดยเฉพาะการใช้ Story Telling ในการนำเสนอ โดย
งาน HA เกิดขึ้นครั้ง 4 รู้สึกว่ามันน่าเบื่อเพราะ เราพูดแต่เรื่องวิชาการ ดังนั้น Story telling จึงเกิด
จากการพยายามสร้างความต่างให้งานวิชาการไม่น่าเบื่อ
2) แนวทางที่น่าสนใจเพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมคือคนบนเวทีเล่า และคนฟังสร้าง Second story ทำให้
คนฟังได้แรงบันดาลใจ ดังนั้น การเตรียมกระบวนการเตรียมวิทยากรจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เป้าหมาย
ชัดเจน ว่าผู้ฟังได้อะไร และเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไร ไม่ใช่ว่าผู้พูดจะพูดอะไร
3) ธีมการประชุม แนวทางสำคัญคือจะหาอะไรที่เป็นตัวปลุกเร้าพลัง คือ 1) พื้นฐานที่กลุ่มเป้าหมายมีอยู่
จะหาอะไรในเติมเครื่องมือให้เขา ในบทบาทความรับผิดชอบ สิ่งที่ต้องทำ และเติมเครื่องมือ ตัวที่เพิ่ม
เข้ามาและกระตุ้นความสนใจ และเชื่อมโยงกับมาตรฐานได้ 2) ตัวที่จะเพิ่มและเชื่อมโยงกับมาตรฐาน
กับคำที่กำหนดธีม (ต้องตอบ Vibe ให้ชัด ตอบ How อย่าไปกังวลว่าเราจะกำหนดธีมอย่างไร
อย่าให้ธีมมาเป็นตัวจำกัดกรอบ ธีมที่เป็นที่สนใจต่อผู้คน ต้องหาวิธีเชื่อมกับธีม บางเรื่องเอาธีมนำ
บางเรื่องเอาเนื้อหานำ ธีมของการประชุมจะเอาอะไรเป็นตัวปลุกเร้าพลัง ไม่ต้องกำหนดยาก และอยู่
ในแวดวงปัจจุบัน)
4) เครือข่ายความร่วมมือ Strategic partner มีหลายกลุ่ม ในการดำเนินงานเรามีเครือข่ายด้านเนื้อหา
จัดบูธ เครือข่ายที่เป็นมดงาน มีอาสาสมัครที่มีสร้างบทเรียนในห้อง หากมีเครือข่ายตรงนั้นเราสามารถ
เชิญให้เขามามีส่วนร่วมได้ เช่น อาสาสมัครมาทำหน้าที่พิธีกร อาสามาร่วมงาน ทั้งด้านเนื้อหา
วิทยากร ธุรกิจ
5) จุดสำคัญคือ การทำในสิ่งที่คนอื่นคิดไม่ถึง และการไม่มีพิธีกรรม ไม่มีการดอกไม้ธูปเทียน เมื่อไม่มีพิธี
ตรงนี้ แล้วหาอะไรมาทดแทน คือการพยายามตอบโจทย์ในทุกวิชาชีพ หากเปรียบเทียบคือ ครู
สามารถที่จะสามารถเรียนรู้ในองค์กรอะไรได้บ้าง เช่น Design Thinking จิตวิทยา เราต้องทำให้
วิทยากรเข้าใจการศึกษา เช่น ครูต้องทำหน้าที่ที่หลากหลาย ครูสามารถที่จะเรียนรู้จากองค์ความรู้
อะไรบ้าง เพื่อให้เกิดเนื้อหา วิทยากรให้เข้าใจโจทย์การศึกษา เพื่อให้ความรู้ครู
6) ต้องทำให้รู้สึกว่า “เลือกไม่ถูก ว่าอยากเข้าห้องไหน” เกิดความรู้สึกคนมีทางเลือกมากพอจนไม่รู้สึก
เสียดายที่ได้เข้าร่วม ไม่ใช่ไม่รู้จะเข้าห้องไหน สร้างบรรยากาศของการสังสรรค์ ซึ่งจุดถ่ายรูปช่วยสร้าง
พลังได้ดี
7) ในส่วนของการ Workshop (โยคะหัวเราะ) อาจจะเหมือนขายคอร์ส แต่เป้าหมายที่แท้จริงแล้วเป็น
การถือโอกาสที่จะได้ประโยชน์ เพราะว่าการเชิญเจ้าของหลักสูตรมาได้มาเปิดเผยบางส่วนที่ได้สอนอยู่
ให้บุคลากรของเราได้รับรู้ และเป็น Partner ของเราได้ในอนาคต หลักการสำคัญคือหาเครือข่ายร่วม
มาสร้างการขับเคลื่อนด้วยกันให้เพียงพอ
8) การเสนอสิ่งแปลกใหม่ เราจะดึงบางเรื่อง ที่สามารถดึงคำตอบมาใช้ได้ และจะเปลี่ยนเรื่องที่จะค้นหา
ในจุดที่ตั้งต้นอย่างไร เนื้อหาอยู่ที่ผู้นำเสนอ ค้นหาได้อย่างไรว่ามีเรื่องดี ๆ อยู่ที่ไหน สิ่งที่แตกต่าง
บางเรื่องชวนให้เปลี่ยนความคิดใหม่ ทำอย่างไรให้คนสนใจฟัง โรงเรียนมีงานวิจัยมากพอไหมที่จะมา
เป็นจุดตั้งต้นในการประชุม
• พญ. ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ
1) การ Respond หากมีโอกาสมางานที่แล้ว และงานปีนี้เป็นงานที่ Full option HA ได้รับ feedback
มากมาย เราเปิดรับทุกข้อเสนอแนะ และใช้กลไกของ Feedback เอาสิ่งนี้เป็นแหล่งปูพลัง
ปรับเปลี่ยนคนทำงานและเพื่อการปรับปรุงแก้ไขที่ดีต่อไป
2) หลักสำคัญของกลไกการทำงานคือ มี BAR AAR หลังงาน หมุนวงจรอย่างต่อเนื่อง ทำงานใหม่ภายใต้
บุคคลเดิมเพื่อให้เห็น progress แม้ว่าการทำงานของ สรพ. ทำงานภายใต้คนเดิม แต่มีระบบ
ลงทะเบียนใหม่ คือ ภายใต้ความต้องการของผู้เข้าร่วมการประชุม เอาทั้งหมดมาดีไซน์แต่ต้องตอบ
ความต้องการของผู้เข้าร่วม ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์ได้ว่าหากคนของเรามีแค่นี้ จะทำอย่างไรให้การ
ทำงานให้ครอบคลุม โดยเริ่มจากการคุยงานร่วมกัน (วาง BAR ร่วมกันก่อนจัดงาน) AAR ทำก่อนงาน
หาจุดที่จะแก้ไข มีกระบวนการเกิดขึ้น AAR สิ่งที่ชื่นชม สิ่งที่เป็นปัญหา สิ่งที่ต้องการความช่วยเหลือ
3) การวางสตอรี่ของงาน พยายามเรียงสตอรี่ทำให้ธีมมีความไหลต่อเรื่อง มีสตอรี่ที่ต่อได้ และที่สำคัญ
มีธีมใหม่ให้ไหลต่อเนื่องกันไป ใช้ธีมงานเป็นหนึ่งในกลยุทธ์พัฒนาระบบ Heath care system หาก
เรากำหนดธีม ต้องไปค้นหาเพื่อทำเป็นหนังสือ สื่อสารเพื่อให้เป็นการสร้างการเรียนรู้
4) การบริหารจัดการเพื่องาน Forum มีการกระจายการทำงาน ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดงาน
5) ลักษณะของบรรยากาศของงานถูกวางงานให้เป็นคอนเซปต์มีโดยตลอด ไม่ได้เป็นภาพของนักวิชาการ
เป็นภาพของพี่น้อง
6) การเรียนรู้จากการจัดงานในแต่ละปี เมื่อทำมี 2-3 ปี เอาข้อมูลมาวิเคราะห์ ใช้ประโยชน์ในการจัดงาน
เพื่อให้เห็นถึงความต้องการของผู้เข้าร่วม การปรับปรุงพัฒนา
7) ด้านของวิทยากร ต้องมีการคุยก่อน มีการเตรียมความพร้อม
8) ต้องกล้าทำอะไรใหม่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ต้องเชื่อในสิ่งที่เราทำเป็น Learning Zone
• นพ. ทรนง พิลาลัย
1) ให้ความสำคัญกับ Feedback พร้อมรับ Feedback ในกระบวนการ น้อง ๆ ที่ทำงานหน้างาน คือ
ทีมงานของเรา ต้องรับฟังและบริหารจัดการ อีกหนึ่งมุมที่ได้รับสะท้อนคือ เครื่องมือในการจัดการ
ความรู้อยู่เยอะ การจัดการความรู้ Story board คือ ต้องการอะไร เขียนให้เป็นรูปธรรม
2) มุมมองของการสร้างจุดถ่ายภาพ คือ การสร้างแบรนด์เพื่อสร้างการรับรู้
3) การลงทะเบียน การมีป้ายห้อยคอที่ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับความปลอดภัย
• ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ต่อเป้าหมายการจัดงาน HA Forum สู่การสร้าง Movement
1) เป้าหมายงานที่จะทำคืออะไร จะเห็นได้ชัดเจนว่า HA Forum จะเป็น Forum ของสถานบริการสุขภาพ
สังเกตบรรยากาศอารมณ์ ความรู้สึก จะเห็นว่าขบวนการ หน่วยงาน สรพ. ไม่ได้เป็นเจ้าของ แต่เป็น
เพียงผู้ Movement ดึงให้ทุกคนเข้ามาสร้างการเป็นเจ้าของร่วมกัน HA ของภาคีเครือข่าย ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียของงาน สรพ. ไม่ได้เป็นเจ้าของ และผู้ที่มาร่วมเป็นเจ้าของงาน
2) ขบวนการคือ Movement ใช้ HA Forum เป็นที่จะเป็นการขับเคลื่อนผลงานของสถานพยาบาล
และการขับเคลื่อนแนวคิด growth mindset เป็นวิธีการที่เขาขับเคลื่อนการพัฒนาระบบ
3) จุดที่น่าสนใจคือ สรพ. เกิดขึ้นพร้อมกับ สมศ. แต่ สมศ. กำหนดคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้
Approach ต่างกันในการทำงาน ใช้วิธีการแบบ Top down ในขณะที่ สรพ. ใช้เกณฑ์จากต่างประเทศ
และนำตัวแทนมาทำความเข้าใจร่วมกัน ในลักษณะของ Bottom up และใช้เป็นงานที่เรียนรู้
ความสำเร็จทั้งหลาย และแนวคิดใหม่ ๆ เช่น Growth Mindset พร้อมคนระดับปฏิบัติ เอาเรื่องราว
ของตนเองมาเล่า โดยขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพของระบบสุขภาพ ไม่ใช้รูปแบบตายตัว ดังนั้น ข้อ
เรียนรู้สำคัญคือ การดำเนินงานต้องมีทั้งล่างขึ้นบน และบนลงล่าง เป็นสัดส่วนที่ต่างกัน 70 : 30

More Related Content

Similar to สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ

บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..Wiwat Ch
 
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
Journal Of Km Lerdsin Hospittal V 2 n 2 2009
Journal Of Km Lerdsin Hospittal V 2 n 2 2009Journal Of Km Lerdsin Hospittal V 2 n 2 2009
Journal Of Km Lerdsin Hospittal V 2 n 2 2009DMS Library
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
Education_Research.pdf
Education_Research.pdfEducation_Research.pdf
Education_Research.pdfPattie Pattie
 
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ พาณิชย์กิจเจริญ
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ  พาณิชย์กิจเจริญเผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ  พาณิชย์กิจเจริญ
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ พาณิชย์กิจเจริญPrasong Somarat
 
Project-based Learning with Mentoring in Control system Engineering
Project-based Learning with Mentoring in Control system EngineeringProject-based Learning with Mentoring in Control system Engineering
Project-based Learning with Mentoring in Control system EngineeringSanti Hutamarn
 
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้Nona Khet
 

Similar to สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ (20)

Thinking
ThinkingThinking
Thinking
 
Pcm
PcmPcm
Pcm
 
Ha forum20
Ha forum20Ha forum20
Ha forum20
 
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
 
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
Journal Of Km Lerdsin Hospittal V 2 n 2 2009
Journal Of Km Lerdsin Hospittal V 2 n 2 2009Journal Of Km Lerdsin Hospittal V 2 n 2 2009
Journal Of Km Lerdsin Hospittal V 2 n 2 2009
 
Expand
ExpandExpand
Expand
 
Introduction to Knowledge Management
Introduction to Knowledge ManagementIntroduction to Knowledge Management
Introduction to Knowledge Management
 
R2R
R2RR2R
R2R
 
8
88
8
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
project
projectproject
project
 
Education_Research.pdf
Education_Research.pdfEducation_Research.pdf
Education_Research.pdf
 
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ พาณิชย์กิจเจริญ
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ  พาณิชย์กิจเจริญเผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ  พาณิชย์กิจเจริญ
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ พาณิชย์กิจเจริญ
 
Project-based Learning with Mentoring in Control system Engineering
Project-based Learning with Mentoring in Control system EngineeringProject-based Learning with Mentoring in Control system Engineering
Project-based Learning with Mentoring in Control system Engineering
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
 
บทบาทบริหารกิจการนักเรียน
บทบาทบริหารกิจการนักเรียนบทบาทบริหารกิจการนักเรียน
บทบาทบริหารกิจการนักเรียน
 

More from Pattie Pattie

สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567Pattie Pattie
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินPattie Pattie
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรPattie Pattie
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชPattie Pattie
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...Pattie Pattie
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationPattie Pattie
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีPattie Pattie
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Pattie Pattie
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfPattie Pattie
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPattie Pattie
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxPattie Pattie
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxPattie Pattie
 
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdfPattie Pattie
 

More from Pattie Pattie (20)

สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdf
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
 
670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf
 
NoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdfNoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdf
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptx
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptx
 
Udom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdfUdom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdf
 
Kregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdfKregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdf
 
Phuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdfPhuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdf
 
Surin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptxSurin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptx
 
Nakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdfNakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdf
 
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
 

สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ

  • 1. สรุปประเด็นการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 และขอคำแนะนำเพื่อการจัดงานมหกรรมการศึกษาไทย ของ กสศ. วันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 16.30 – 18.30 น. ณ ห้องประชุมเสมอภาค กสศ. และการประชุมออนไลน์ผ่าน Zoom ผู้เข้าร่วมประชุม 1. ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ 2. นพ. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สรพ. 3. พญ. ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบัน สรพ. 4. นพ. ทรนง พิราลัย หัวหน้ากลุ่มภารกิจพัฒนาองค์กรและนวัตกรรม สรพ. 5. นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล 6. นางสาววลีรัตน์ มิ่งศูนย์ ทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล 7. นางสาวรัตนภรณ์ ศรีประเสริฐ ทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล 8. นายณรงค์ชัย เต็นยะ ทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล 9. นางสาววิมลพร ใบสนธิ์ บริษัท คิดค้นคว้า จำกัด 10. นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กสศ. 11. นายอุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครูฯ 12. นางสาวชนกพรรณ วรดิลก หัวหน้าฝ่ายพัฒนาคุณภาพโรงเรียนและระบบนิเวศการเรียนรู้ 13. นางสาวธารทิพย์ แก้วเจริญ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบการผลิตและ พัฒนาครูเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา 14. นายภูริทัต ชัยวัฒนกุล นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครู เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา 15. นายเทียนชัย ภัทรชนน นักวิชาการฯ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพโรงเรียนฯ 16. นางสาวเขมินทรา บุญธรรม นักบริหารแผนงาน ฝ่ายพัฒนาคุณภาพโรงเรียนฯ 17. นางสาวสุติมา งอกเงิน เจ้าหน้าที่สนับสนุนสำนักครูฯ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพโรงเรียนฯ ประเด็นในการแลกเปลี่ยนในวง AAR จากการเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 1. ความคาดหวังจากการได้เข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 2. ความรู้สึกจากการได้เข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24
  • 2. 3. สิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่เห็นและตีความได้จากการเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 4. การนำประเด็นที่น่าสนใจ นำไปสู่การต่อยอด และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับใช้ 5. ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในการปรับใช้ในการจัดงานเวทีมหกรรมการศึกษาไทย ของ กสศ. สรุปประเด็นจากความเห็นของแต่ละท่าน ตามของโจทย์ในแต่ละข้อ ได้ดังนี้ 1. ความคาดหวังจากการได้เข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 1) กสศ. มีแผนจัดงานมหกรรมการศึกษาไทยขึ้นในช่วง สิงหาคม 2567 จึงอยากที่จะเข้าไปเรียนรู้รูปแบบ การจัดงานมหกรรมและนำมาปรับใช้ ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของ กสศ. คือ ครู บุคลากร ทางการศึกษา และโรงเรียน 2) ต้องการไอเดียในการออกแบบรูปแบบของงานที่จะทำอย่างไรให้ครู บุคลากรทางการศึกษาที่ เข้าร่วมได้ความรู้ ความเข้าใจกลับไป ตัวอย่างรูปแบบของการกลั่นข้อมูลให้ครูนำกลับไปใช้ได้ 3) ต้องการมองเห็นไอเดียการจัดการเรียนรู้ บรรยากาศของการจัดงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขนาดใหญว่า ควรเป็นอย่างไร เมื่อเป็นงานของกลุ่มวิชาชีพสาธารณสุข 4) ต้องการทราบถึงรูปแบบและวิธีการพัฒนาการของงาน HA Forum มีการเปลี่ยนไปอย่างไรรวมถึง บรรยายการเรียนรู้เป็นอย่างไร 5) ต้องการเข้าไปศึกษา Good Practice ของงานประกันคุณภาพของสถานพยาบาล ที่สามารถสร้าง ไอเดียหรือทำให้มองเห็นแนวทางการแสดง Good Practice ของคุณครู โรงเรียน ที่เป็นการเชิดชู นวัตกรรม การจัดการเรียนสอนที่โรงเรียนพยายามพัฒนา 6) คาดหวังว่าสิ่งที่ไปเห็น สิ่งที่ไปเรียนรู้ จะสามารถนำความรู้กลับมา และแปลงกลับไปใช้ประโยชน์ต่อไป กับงานด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ 7) คาดหวังที่จะไปเรียนรู้รูปแบบการจัดการ และสนนใจที่จะเข้าไปเรียนรู้คุณค่าของงานนี้ เนื่องจาก ผู้เข้าร่วมต้องเสียเงินเข้าร่สมไม่ใช่การเข้าร่วมงานฟรี แต่ผู้คนให้คุณค่า ยอมที่จะจ่ายเงิน และอยากที่จะ เข้าร่วมงาน 2. ความรู้สึกจากการได้เข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 1) มีความรู้สึกตื่นเต้น บางช่วงสนุก บางช่วงงงงวย รู้สึกตกใจในสิ่งที่เจอ คือ การเข้าร่วมห้องใหญ่ใน พิธีเปิดบรรยายหัวข้อ “Growth mindset For Better Healthcare System (ระบบบริการสุขภาพ ก้าวหน้า ด้วยกรอบความคิดที่ก้าวไกล” โดยอาจารณ์หมอปิยวรรณ ทำให้รู้สึกเซอร์ไพรส์และตกใจ ตอนคุณหมอปิยวรรณเปิดงานซึ่งจุดนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจมีการปูถึง Theme งาน มีการพูดขยายในการพิธีเปิด ชอบการเปิดตัวที่น่าสนใจ ประเด็นที่พูดรู้สึกไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไป
  • 3. ซึ่งเป็นประเด็นที่อยากให้ผู้เข้าร่วมนำไปต่ออย่างไรบ้าง ซึ่งการเปิดงานในครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมมีส่วน ร่วม คุณหมอใช้ Power ในการที่จะดึงคน และให้เข้าถึงเป้าหมายร่วมกัน สร้างความใกล้ชิด ให้ผู้เข้าร่วมเข้าถึงผู้บริหารระดับสูงได้ ซึ่งเป็นช่วงการเปิดที่ดี 2) เกิดการตั้งคำถามที่ว่าทำไมหรือองค์ประกอบอะไรที่ทำให้งาน HA National Forum จัดได้ยาวนาน มาจนถึงครั้งที่ 24 3) รู้สึกเซอร์ไพรส์ เนื่องจาก มีคาดการณ์ก่อนมางานว่า ต้องคนเยอะมาก ๆ แต่พอเข้าร่วมกลับรู้สึก ไม่แอร์อัด งานมีความเป็นระบบ มีการจัดการที่ค่อนข้าง Flow ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเราสามารถเข้าไป เรียนรู้ได้ทุกพื้นที่ของงาน มีระบบการจัดระบบออกแบบงานดี 4) มีความกังวลกลัวว่าเราไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูด แต่พอเข้าไปจริง ๆ ถึงแม้เราไม่ได้อยู่ในวงการ สาธารณสุขแต่ประเด็นมีความครอบคลุมทุกวิชาชีพ รวมถึงรู้สึกสนุกมีจุดถ่ายรูปมากมาย และการ ถ่ายรูปที่สื่อถึง growth Mindset ซึ่งมีจุดที่น่าสนใจมากมาย 5) ความรู้สึกสงสัย แต่พอไปเข้าร่วมกลับได้รับแรงบันดาลใจ โจทย์ที่เราไปศึกษาคือ เราไปเรียนรู้ รูปแบบการจัดการ และความสนใจที่จะเข้าไปเรียนรู้คุณค่าของงานนี้ ไม่ใช่เงินฟรี แต่ผู้คนให้คุณค่า และอยากที่จะเข้าร่วมงาน 6) รู้สึกเกิดพลังการเรียนรู้ตลอดงาน และเกิด Inspire ในการไปทำงานต่อ ทำให้คนที่ไม่รู้จักทางการ แพทย์เลย ได้รู้และมีพลัง เกิดแรงบันดาลใจหลังจากการเข้าร่วมได้ และสามารถมองเห็นการสร้างการ เปลี่ยนแปลงต่อไปในวิชาชีพของตนเอง 3. สิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่เห็นและตีความได้จากการเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 1) ความน่าสนใจของห้อง Workshop ที่มีการตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทุกวิชาชีพ ครอบคลุมบุคลากรทาง การแพทย์ เนื้อหามีความครอบคลุมวิถีชีวิต ภาพรวมแสดงให้เห็นว่า “วงการวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ไม่เพียงแค่คนที่อยู่ในวงการวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่านั้น” ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกมองเห็นจุดการ เรียนรู้ และสามารถจัดเวลาการเรียนรู้ของตนเองได้ ผ่านการเรียนรู้ห้อง Workshop ต่าง ๆ 2) การออกแบบการจัดทำผังงาน มีคู่มือที่สามารถทำให้ทำความเข้าใจทั้งงานได้ รวมถึงมีการประมวล HA journey ที่เป็นเส้นทางของงาน HA มองเห็นเส้นทางการจัดงานที่ผ่านมาในภาพรวม 3) ประเด็นของรูปแบบของงานน่าสนใจโดยเฉพาะเรื่องการเปิดงานที่น่าตื่นเต้น เร้าใจ ทำให้ผู้เข้าร่วม มีส่วนร่วม โดย พญ. ปิยวรรณ ใช้ Power ในการที่จะดึงคน และให้เข้าถึงเป้าหมายร่วมกัน สร้าง ความใกล้ชิดให้ผู้เข้าร่วมเข้าถึงผู้บริหารระดับสูงได้ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าอยากให้ผู้เข้าร่วมไปต่อ อย่างไรบ้าง ซึ่งการเปิดงานในครั้งนี้ ซึ่งเป็นช่วงการเปิดที่ดี เป็นนิเวศการเรียนรู้ที่อบอุ่น เป็น Section ที่เติมเต็มของคนทำงาน
  • 4. 4) การร้อยเรียงของ Theme งาน ตั้งแต่ห้องใหญ่ สู่การเชื่อมประเด็นไปที่ห้องย่อยที่มีโจทย์ที่ร้อยเรียงเช้า กับธีมของงาน เช่น ห้องใหญ่ที่เข้าไปร่วมในพิธีเปิดเกี่ยวกับเรื่องของ Growth mindset For Better Healthcare System (ระบบบริการสุขภาพก้าวหน้า ด้วยกรอบความคิดที่ก้าวไกล) 5) วิทยากรมีการนำเสนอประสบการณ์ร่วมของตนเองกับผู้เข้าร่วม และดึงผู้เข้าร่วมให้เข้ามามีส่วนร่วม ทำ ให้ผู้เข้าร่วมฟังและติดตามไปร่วมกับวิทยากร 6) ในส่วนของนิทรรศการ ที่เป็นส่วนของหน้าจอล็อกสกรีนแสดงผลงานเป็นเครื่องที่ถูกให้ความสนใจจาก บุคลากรทางการสาธารณสุขเป็นอย่างมาก เป็นจุดแสดงผลงานของคุณหมอ และพยาบาลให้รู้สึกถึง ความภูมิใจ และการให้คุณค่ากับงานวิจัยสายสาธารณสุข 7) บรรยากาศของการมีจุดสร้างความสนใจ เช่น จุดถ่ายรูป มีการสร้างแบรนด์ทำให้เกิดกระแส ความรับรู้ จุดเล่นเกมหรือจุดพัก บูธขายคอนโด บัตรเครดิต สปอร์เซอร์ต่าง ๆ ซึ่ง 8) รูปแบบการจัดกิจกรรมของงานมีความหลากหลาย ทั้งในลักษณะของเวทีใหญ่ เวทีเสวนา ห้องย่อย นิทรรศการ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล็ก ๆ โซนนิทรรศการ ทำให้งานมีความหลากหลาย ในส่วนของห้องย่อยมีการชวนพูดชวนคุย การแลกเปลี่ยน มีจุดให้ถามคำถามไม่ใช่แค่นำเสนอ PPT 9) ความรู้นำประสบการณ์มาร่วมดีไซน์งาน นิทรรศการบอร์ดต่าง ๆ มีความเป็น Growth mindset ตามธี มของงาน เช่น มีการทำแบบทดสอบความมี Growth mindset ทำให้เราเข้าใจสามารถ Get to (สามารถหยิบไปใช้ได้) 10) สะท้อนให้เห็นความสำคัญและเป้าหมายของการจัด HA National Forum คือ เป็นงานที่เป็นลักษณะ ของพิธีกรรม การสร้างตัวตนของชาว HA และ สังสรรค์ เพื่อเป้าหมายในการขยายเป้าหมาย แสดง ผลงานและนวัตกรรม รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพ 11) การร้อยเรียงประเด็นในห้องใหญ่ในการเลือก Speaker เพื่อเล่าเรื่องราวความเป็นมาเป็นส่วนที่ท้าทาย โดยในช่วงของที่คุณหมอจรัส พูดถึงมีการพูดถึงอดีต บทเรียน และอนาคต ส่วนคุณหมอวิจารณ์พูดถึง ความยั่งยืนด้านคุณภาพและระบบความปลอดภัยของ System Healthcare หัวข้อที่กำหนด เป็นการ ร้อยเรียงเรื่องที่ต่อเนื่องกัน แต่ท้าทายว่าจะทำอย่างไรให้รูปแบบของการนำเสนอเรียกคนเข้าร่วมให้มา ฟังมากขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่สามารถถ่ายทอดหรือเล่าเรื่องราวความเป็นมาของพัฒนาการของเวทีได้ 12) หัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละห้องน่าสนใจ บรรยากาศที่เกิดขึ้นเป็นบรรยากาศของการสร้างการ เรียนรู้ได้ดี และเป็นแรงขับเคลื่อน พลังแนวคิดใหม่ ๆ พร้อมทั้งเห็นถึงพลังการขับเคลื่อน/การสร้างพลัง ของวงการสาธารณสุข 13) ประเด็นเรื่องของการจัดการความรู้ (KM) เป็นกระบวนการในระดับโรงพยาบาล และการจัดการความรู้ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการเชิดชูผลงานของโรงพยาบาลที่กระจายอยู่ ทั่วประเทศ เป็นการสร้างความภาคภูมิใจของโรงพยาบาล การเลือกใช้รูปแบบของการแสดงผลงานใน
  • 5. ลักษณะของจอทัชสกรีน น่าสนใจ และเห็นการได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายในงานจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการสะท้อนการให้คุณค่ากับงานของเขา และเขารู้สึกภูมิใจในผลงานของตนเอง 14) การเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคส่วนต่าง ๆ มีบูธการขายของ มีหน่วยงานที่เข้ามารับผิดชอบงานในห้องต่าง ๆ เพื่อสร้างการเป็นเจ้าของร่วมกัน 15) การจัดการภายในมีการวางแผนที่ดี ทำให้การบริหารจัดการภาพรวมของงานออกมาดี ดังนี้ - จัดการ Flow ของคนเข้าร่วมงานได้ราบรื่น การลงทะเบียน การจัดการผู้เข้าร่วมได้ดี มีความลื่นไหล ไม่มีคนยืนอออยู่หน้างาน ทำให้ไม่แออัด เป็นระบบ ทำให้ไม่ว่าจะพื้นที่ไหนสามารถให้คนเข้าไป เรียนรู้ได้ทุกพื้นที่ - Flow ในห้องย่อยมีการบริหารจัดการโดยมีการสำรองที่นั่งสำรองผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนมา ทดแทน คนที่ลงทะเบียนไม่ทัน แบ่งหน้าที่สตาฟอย่างชัดเจน - การมีผังงาน (ห้องย่อย) มีคิวอาร์โค้ดให้แสกน มีจุดลงทะเบียนที่ครอบครุม (มีฐานข้อมูลของ ผู้เข้าร่วมหลายจุด) มีจุดให้คำปรึกษา มีป้ายชื่อ รวมถึงมีจุดบริการของหายโดยการให้บริหารเช็ค กล้องวงจรปิด เป็นการสร้างความปลอดภัยให้ผู้เข้าร่วม - การแสกนคิวอาร์โค้ดเพื่อลดจำนวนคนในการให้บริหาร การมีจุดลงทะเบียนที่ครอบคลุม มีฐานข้อมูลในจุดลงทะเบียนหลายจุด มีจุดให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้าร่วมที่มีคำถาม 4. การนำประเด็นที่น่าสนใจ นำไปสู่การต่อยอด และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับใช้ 1) ด้านการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 1.1) กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัด มีห้องย่อยต่าง ๆ ตอบโจทย์ทุกวิชาชีพ ที่ครอบคลุมบุคลากร ในโจทย์ของเราเอง เทียบเคียงกับกลุ่มเป้าหมายหลักของงานพัฒนาโรงเรียนคือ ครู ทำให้คิด ต่อว่าในการจัดงานมหกรรมการศึกษาจะนำใครมาเข้าร่วมนอกจากครูหรือไม่ ความรู้ก้อน ไหนตอบโจทย์งานของผู้เข้าร่วม นำเสนอให้ตอบรับกับผู้เข้าร่วม คุณลักษณะของวิทยากร การมีทักษะการสร้างจุดสนใจ และสร้างเป้าหมายความเข้าใจร่วมกับวิทยากรเพื่อให้เขา เข้าใจงานของเราในการสื่อสารออกไป 1.2) การออกแบบธีมงาน และสาระของเนื้อหาที่ตอบโจทย์ของสถานการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทุกคน ทุกวิชาชีพ และการวาง Theme งานล่วงหน้า 1 ปี น่าจะใช้ ประโยชน์ได้ในเชิงของการขับเคลื่อน และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น 1.3) การกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ที่ออกแบบการจัดอบรมหรือ Workshop ที่เชื่อมโยงกับการให้เครดิตทางวิชาชีพ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบในวงการ การศึกษาได้
  • 6. 2) ด้านการคัดเลือกประเด็นและการออกแบบรูปแบบของงาน 2.1) ห้องย่อยที่บรรยายถึงการประกันคุณภาพของโรงพยาบาล รวมถึงการวัดคุณภาพของ โรงพยาบาล ท่านคุณหมออนุวัฒน์ได้บรรยายการวัดคุณภาพของโรงพยาบาล ปัญหาการ โยกย้ายของผู้อำนวยการโรงพยาบาลเป็นปัญหาเดียวกันกับโรงเรียน แล้วจะทำอย่างไรให้มี โรงพยาบาลเข้มแข็ง ท่านได้บรรยายถึงว่า “เราต้องสร้างบุคลากรที่เข้มแข็ง” โดยเราอาจ นำมาเปรียบเทียบกับโรงเรียนมีความสอดคล้องกับปัญหาที่โรงพยาบาล หากเราสร้างแกนนำ วิชาการให้เข้มแข็ง สามารถทำได้แม้จะโยกย้ายผู้อำนวยการ เราก็ดำเนินงานต่อไปได้ ห้องนี้ อาจจะใช้เปรียบเทียบกับโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงพยาบาลขนาดเล็กที่มีบุคลากรน้อย หากสมมติว่าเราทำมหกรรมโรงเรียน เราจะมี Section ให้โรงเรียนเข้าร่วม มีแนวทางใน การประกันคุณภาพโรงเรียนของตนเอง ทำให้โรงเรียนสามารถนำแนวทางกลับไปใช้ในการ ประกันคุณภาพโรงเรียนของตนเองได้ 2.2) ห้อง Workshop ที่เป็นห้องย่อยวิทยากรนำเสนอตัวอย่าง ประสบการณ์ ทำให้ผู้เข้าร่วมฟัง และติดตามไปร่วมกับวิทยากร โดยทำให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจ และหากนำเรื่องนี้ไปปรับใช้ บริหารจัดการย่อยเทคนิค How to ที่ครูเข้ามาเข้าร่วม ได้หยิบไปใช้ต่อ 2.3) การจัดการความรู้ KM เชื่อมโยงกับกระบวนการเชิงชูผลงานวิชาการ นวัตกรรมที่กระจายอยู่ ภายในโรงพยาบาลถ้วนประเทศ การวางโครงสร้าง KM ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพ ของกลุ่มสาธารณสุข หาก กสศ. อยากใช้แนวทางนี้เพื่อการเชิดชูผลงานของครูและบุคลากร ทางการศึกษา อาจจะต้องคุยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นประเด็นย่อย ๆ มาใช้ต่อใน งานของมหกรรมการศึกษาของไทย 2.4) ในช่วงของที่คุณหมอจรัส พูดถึงมีการพูดถึงอดีตบทเรียน มองที่อนาคต ส่วนคุณหมอวิจารณ์ พูดถึงความยั่งยืนด้านคุณภาพและระบบความปลอดภัย หากในงานมหกรรมการศึกษา และมีความจำเป็นต้องนำเรื่องอดีตหรือประวัติศาสตร์ Timeline ต่าง ๆ มาเล่า รวมถึงการ เล่าถึงบทเรียนของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต่างๆ สื่อสารเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายนำความรู้ไปใช้ในการ ทำงานได้ กสศ. อาจจะต้องคิดและออกแบบประเด็นหรือรูปแบบในการพัฒนาการศึกษาให้ นำเสนอออกมาได้อย่างน่าสนใจได้อย่างไร 2.5) ทุก Zone ทั้งนิทรรศการ ห้องย่อย (Workshop) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความน่าสนใจ มีจุดสร้างความสนใจต่าง ๆ เช่น จุดเล่นเกมหรือจุดพัก บูธ สปอร์เซอร์ต่าง ๆ มีจุดที่ดึงดูด ความสนใจ ทั้งตัวบอร์ด หรือการให้โรงพยาบาลมีตั้งบูธ เราเห็นถึงความภูมิใจของ โรงพยาบาล และการพัฒนาโดยไม่หยุดนิ่งเราเห็นความคิดที่พยายามพัฒนา เมื่อ
  • 7. เปรียบเทียบกับโรงเรียนที่พยายามพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ กับการศึกษา เราอาจจะให้เขามา ส่วนร่วมในการจัดบูธ เสนอผลงานของโรงเรียน 2.6) ในโซนของห้องย่อยเกี่ยวกับการ Trauma คือ บาดแผลหรือปมในจิตใจ โดยนำ Good Practice ที่สามารถทำได้ทั้งในโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลรัฐ โดยเนื้อหาคือ การสร้างการดูแลคนไข้ ดูแลบาดแผลในใจ โดยภายในโรงพยาบาลมีการประสานงานเป็น ลำดับ ตั้งแต่หน้าโรงพยาบาล ถึงการดูแลคนไข้ เช่น มีเด็กที่ป่วย โรงพยาบาลก็จะมีการ ประสานสู่ผู้ปกครอง (เพื่อสร้างความอุ่นใจ) หากเรานำไปเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เข้าไปดูแล เด็กที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ที่จะทำให้เขาสามารถมีที่ปรึกษาและรู้สึกอุ่นใจ หากเรานำ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนรัฐมานำเสนอ แสดง Good Practice จะทำให้เห็นถึงโรงเรียน รัฐการสามารถทำได้เช่นกัน 2.7) ป้ายและผังงานทำให้เรามองเห็นเส้นทางของงาน จุดนี้มีอะไร/คืออะไร มีนิทรรศการที่ น่าสนใจ นอกนิทรรศการยังมีเวทีแลกเปลี่ยน และป้ายสปอร์เซอร์ที่ทำให้เห็นภาพใหญ่ของ สายวิชาชีพ โดยสิ่งที่เราจะนำมาปรับใช้กับงานมหกรรมการศึกษาได้ คือ การกำหนดธีมงาน ให้ชัดเจน มีการร้อยเรียงธีมงาน ออกแบบรูปแบบการจัดงานที่สร้างพลัง มีนิทรรศการ มีวงเสวนา การเปิดงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วม การเข้าไปในห้องย่อย อาจจะมี การชวนพูดชวนคุย การแลกเปลี่ยน มีจุดให้ถามคำถามไม่ใช่แค่นำเสนอ PPT การสร้าง รูปแบบของงานที่มีความหลากหลายมากขึ้น 2.8) การใช้แนวคิดที่ว่าทำให้ผู้เข้าร่วมจดจำสัก 1 เรื่องกลับไปหลังเข้าร่วมงาน เช่น เป็นจำได้ขึ้น ใจในเรื่อง "Sense ที่ Care คือสิ่งเดียวที่ สิ่งมีชีวิตอย่าง “มนุษย์” มี และ เป็นสิ่งเดียวที่ เทคโนโลยีหรือ AI เข้ามาแทนที่ไม่ได้ " จากช่วง Senses and science for Good life and better health 2.9) การออกแบบบอร์ดหลักของงานที่มีการรวบรวม HA journey ทำให้เห็น Timing ของงานที่ ผ่านมา อาจนำตัวอย่างในส่วนนี้มาออกแบบรูปแบบของการเล่าเรื่องของงานมหกรรมให้ เป็น Timing ของงาน หรือประเด็นอื่น ๆ ที่ต้องการนำเสนอ Journey 2.10) งาน HA Forum เกิดขึ้น เกิดจาก Concept ของการจัดการความรู้ การเตรียมวิทยากรเป็น เรื่องสำคัญและเป็นการเตรียมเรื่องเล่าเร้าพลัง ในส่วนของด้านวงการการศึกษาก็เช่นกัน 3) ด้านการสร้างการมีส่วนร่วม 3.1) พิธีเปิดควรเป็นการเปิดที่น่าสนใจ ด้วยระยะเวลาและเทคนิคการดึงดูดความสนใจที่ เหมาะสม ไปจนถึงการนำไปสู่ธีมของงานได้ เป็นการเปิดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ให้
  • 8. กลุ่มเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วม สร้างความใกล้ชิดระดับผู้ใหญ่หรือผู้ทรงให้เป็นภาพที่เข้าถึง ได้ จับต้องได้ และใช้เป็นสร้างความเข้าใจร่วมกันต่อเป้าหมายของงาน 3.2) ในแต่ละกิจกรรมต้องมีกระบวนการสร้างบรรยากาศให้ผู้เข้าร่วมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถแสดงความเห็นร่วมกันได้ โดยไม่เป็นลักษณะของวิชาการมากเกินไป เพื่อสร้างให้ ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมกับกิตกรรม ทำให้เขามองเห็นคุณค่า ได้รับแรงบันดาลใจกลับไป และ สามารถมองเห็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพของเขาต่อไป 3.3) การใช้เทคนิคการสร้างการเป็นเจ้าของร่วมกัน การเปิดมุมมองใหม่ ๆ ในการมีอินฟูเรนเซอร์ ไม่ใช่แค่คนในวงการที่เป็นเป้าหมายหลักของงานเท่านั้น เปิดมุมมองให้คนปลายทางเข้ามามี ส่วนร่วมในงาน (สร้างงานให้เป็นของทุกคน) 3.4) การค้นหาโรงเรียนที่มี Good Practice ด้านนั้น ๆ (กลไกขับเคลื่อน ทุกคนในองค์กรต้องมี บทบาทในการรับผิดชอบ ดึงข้อมูลในส่วนของงานต่างๆ มา คือ ทุกคนในองค์กรรับผิดชอบ การเปิดพื้นที่ในเครือข่ายเข้ามาทำกิจกรรม ภายใต้พื้นที่ที่กำหนด) ทำให้โหนดเองสามารถ เป็นเจ้าของห้องในการจัด Workshop ในการจัดได้ การจัดอบรมหรือ WS ให้เครดิตการ เป็นเจ้าของ 3.5) การเปิดโอกาสให้บริษัท องค์กรที่สามารถมาเป็น Sponser ของงานเข้ามาจัดแสดง หรือว่า เข้ามาเป็นส่วนร่วมของ Workshop ได้ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการระดมงบประมาณ 4) ข้อเสนอแนะจากการเข้าร่วมเพื่อการปรับใช้ในงาน HA Forum ในอนาคต 4.1) จุดประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนเข้าร่วมได้สื่อสาร ซึ่งหากมีจุดประชาสัมพันธ์ที่จะแนะนำ ทำให้ เพิ่มความตื่นเต้นได้ 4.2) อาจจะเพิ่มเติมจุดสำคัญ อาจจะเพิ่มจุดเวทีย่อยเพื่อการจัดการความรู้ เพื่อสร้าง กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสร้างความเคลื่อนไหว (การใช้ประโยชน์ของห้องที่ได้มีประสทธิ ภาพมากขึ้น) 4.3) การออกแบบผังงาน อาจมีคู่มือให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจงานได้ง่ายขึ้น 4.4) ตัวอย่างในห้อง Workshop โยคะหัวเราะ คาดหวังอยากจะ How to ไปใช้ต่อ แต่เราได้ เป็นข้อมูลที่เป็นการบรรยายมากกว่า ผู้เข้าร่วมเข้ามาไม่ได้มีส่วนร่วมเท่าไหร่ อาจเพิ่มเติม รูปแบบของกิจกรรมให้เป็นลักษณะของการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมมากขึ้น 4.5) ในการเขียนประชาสัมพันธ์นอกจากแค่ชื่อแล้ว เราอาจจะมีคำอธิบายที่สื่อถึงห้องย่อย ก่อนที่เราจะตัดสินใจเข้าห้องเรียน คือ ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถออกแบบ Learning Space ในการที่จะออกแบบการเรียนรู้ของด้วยตนเองได้ ซึ่งอาจเป็นส่วนที่ช่วยจุดประกายคนที่ อยากเข้าไปเรียนรู้มากขึ้น
  • 9. 5. ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในการปรับใช้ในการจัดงานเวทีมหกรรมการศึกษาไทย ของ กสศ. • นพ. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล 1) แนวคิดการจัดงาน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ (1) Operation (การประสานงาน) ส่วนนี้ต้องคุยกับคน ที่รู้รายละเอียด โดยไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ (2) Conceptual ส่วนนี้สำคัญมาก อยากให้ตั้งคำถาม เยอะ ๆ โดยมีข้อสังเกต ว่าทำไมถึงทำแบบนั้น โดยเฉพาะการใช้ Story Telling ในการนำเสนอ โดย งาน HA เกิดขึ้นครั้ง 4 รู้สึกว่ามันน่าเบื่อเพราะ เราพูดแต่เรื่องวิชาการ ดังนั้น Story telling จึงเกิด จากการพยายามสร้างความต่างให้งานวิชาการไม่น่าเบื่อ 2) แนวทางที่น่าสนใจเพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมคือคนบนเวทีเล่า และคนฟังสร้าง Second story ทำให้ คนฟังได้แรงบันดาลใจ ดังนั้น การเตรียมกระบวนการเตรียมวิทยากรจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เป้าหมาย ชัดเจน ว่าผู้ฟังได้อะไร และเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไร ไม่ใช่ว่าผู้พูดจะพูดอะไร 3) ธีมการประชุม แนวทางสำคัญคือจะหาอะไรที่เป็นตัวปลุกเร้าพลัง คือ 1) พื้นฐานที่กลุ่มเป้าหมายมีอยู่ จะหาอะไรในเติมเครื่องมือให้เขา ในบทบาทความรับผิดชอบ สิ่งที่ต้องทำ และเติมเครื่องมือ ตัวที่เพิ่ม เข้ามาและกระตุ้นความสนใจ และเชื่อมโยงกับมาตรฐานได้ 2) ตัวที่จะเพิ่มและเชื่อมโยงกับมาตรฐาน กับคำที่กำหนดธีม (ต้องตอบ Vibe ให้ชัด ตอบ How อย่าไปกังวลว่าเราจะกำหนดธีมอย่างไร อย่าให้ธีมมาเป็นตัวจำกัดกรอบ ธีมที่เป็นที่สนใจต่อผู้คน ต้องหาวิธีเชื่อมกับธีม บางเรื่องเอาธีมนำ บางเรื่องเอาเนื้อหานำ ธีมของการประชุมจะเอาอะไรเป็นตัวปลุกเร้าพลัง ไม่ต้องกำหนดยาก และอยู่ ในแวดวงปัจจุบัน) 4) เครือข่ายความร่วมมือ Strategic partner มีหลายกลุ่ม ในการดำเนินงานเรามีเครือข่ายด้านเนื้อหา จัดบูธ เครือข่ายที่เป็นมดงาน มีอาสาสมัครที่มีสร้างบทเรียนในห้อง หากมีเครือข่ายตรงนั้นเราสามารถ เชิญให้เขามามีส่วนร่วมได้ เช่น อาสาสมัครมาทำหน้าที่พิธีกร อาสามาร่วมงาน ทั้งด้านเนื้อหา วิทยากร ธุรกิจ 5) จุดสำคัญคือ การทำในสิ่งที่คนอื่นคิดไม่ถึง และการไม่มีพิธีกรรม ไม่มีการดอกไม้ธูปเทียน เมื่อไม่มีพิธี ตรงนี้ แล้วหาอะไรมาทดแทน คือการพยายามตอบโจทย์ในทุกวิชาชีพ หากเปรียบเทียบคือ ครู สามารถที่จะสามารถเรียนรู้ในองค์กรอะไรได้บ้าง เช่น Design Thinking จิตวิทยา เราต้องทำให้ วิทยากรเข้าใจการศึกษา เช่น ครูต้องทำหน้าที่ที่หลากหลาย ครูสามารถที่จะเรียนรู้จากองค์ความรู้ อะไรบ้าง เพื่อให้เกิดเนื้อหา วิทยากรให้เข้าใจโจทย์การศึกษา เพื่อให้ความรู้ครู 6) ต้องทำให้รู้สึกว่า “เลือกไม่ถูก ว่าอยากเข้าห้องไหน” เกิดความรู้สึกคนมีทางเลือกมากพอจนไม่รู้สึก เสียดายที่ได้เข้าร่วม ไม่ใช่ไม่รู้จะเข้าห้องไหน สร้างบรรยากาศของการสังสรรค์ ซึ่งจุดถ่ายรูปช่วยสร้าง พลังได้ดี
  • 10. 7) ในส่วนของการ Workshop (โยคะหัวเราะ) อาจจะเหมือนขายคอร์ส แต่เป้าหมายที่แท้จริงแล้วเป็น การถือโอกาสที่จะได้ประโยชน์ เพราะว่าการเชิญเจ้าของหลักสูตรมาได้มาเปิดเผยบางส่วนที่ได้สอนอยู่ ให้บุคลากรของเราได้รับรู้ และเป็น Partner ของเราได้ในอนาคต หลักการสำคัญคือหาเครือข่ายร่วม มาสร้างการขับเคลื่อนด้วยกันให้เพียงพอ 8) การเสนอสิ่งแปลกใหม่ เราจะดึงบางเรื่อง ที่สามารถดึงคำตอบมาใช้ได้ และจะเปลี่ยนเรื่องที่จะค้นหา ในจุดที่ตั้งต้นอย่างไร เนื้อหาอยู่ที่ผู้นำเสนอ ค้นหาได้อย่างไรว่ามีเรื่องดี ๆ อยู่ที่ไหน สิ่งที่แตกต่าง บางเรื่องชวนให้เปลี่ยนความคิดใหม่ ทำอย่างไรให้คนสนใจฟัง โรงเรียนมีงานวิจัยมากพอไหมที่จะมา เป็นจุดตั้งต้นในการประชุม • พญ. ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ 1) การ Respond หากมีโอกาสมางานที่แล้ว และงานปีนี้เป็นงานที่ Full option HA ได้รับ feedback มากมาย เราเปิดรับทุกข้อเสนอแนะ และใช้กลไกของ Feedback เอาสิ่งนี้เป็นแหล่งปูพลัง ปรับเปลี่ยนคนทำงานและเพื่อการปรับปรุงแก้ไขที่ดีต่อไป 2) หลักสำคัญของกลไกการทำงานคือ มี BAR AAR หลังงาน หมุนวงจรอย่างต่อเนื่อง ทำงานใหม่ภายใต้ บุคคลเดิมเพื่อให้เห็น progress แม้ว่าการทำงานของ สรพ. ทำงานภายใต้คนเดิม แต่มีระบบ ลงทะเบียนใหม่ คือ ภายใต้ความต้องการของผู้เข้าร่วมการประชุม เอาทั้งหมดมาดีไซน์แต่ต้องตอบ ความต้องการของผู้เข้าร่วม ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์ได้ว่าหากคนของเรามีแค่นี้ จะทำอย่างไรให้การ ทำงานให้ครอบคลุม โดยเริ่มจากการคุยงานร่วมกัน (วาง BAR ร่วมกันก่อนจัดงาน) AAR ทำก่อนงาน หาจุดที่จะแก้ไข มีกระบวนการเกิดขึ้น AAR สิ่งที่ชื่นชม สิ่งที่เป็นปัญหา สิ่งที่ต้องการความช่วยเหลือ 3) การวางสตอรี่ของงาน พยายามเรียงสตอรี่ทำให้ธีมมีความไหลต่อเรื่อง มีสตอรี่ที่ต่อได้ และที่สำคัญ มีธีมใหม่ให้ไหลต่อเนื่องกันไป ใช้ธีมงานเป็นหนึ่งในกลยุทธ์พัฒนาระบบ Heath care system หาก เรากำหนดธีม ต้องไปค้นหาเพื่อทำเป็นหนังสือ สื่อสารเพื่อให้เป็นการสร้างการเรียนรู้ 4) การบริหารจัดการเพื่องาน Forum มีการกระจายการทำงาน ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดงาน 5) ลักษณะของบรรยากาศของงานถูกวางงานให้เป็นคอนเซปต์มีโดยตลอด ไม่ได้เป็นภาพของนักวิชาการ เป็นภาพของพี่น้อง 6) การเรียนรู้จากการจัดงานในแต่ละปี เมื่อทำมี 2-3 ปี เอาข้อมูลมาวิเคราะห์ ใช้ประโยชน์ในการจัดงาน เพื่อให้เห็นถึงความต้องการของผู้เข้าร่วม การปรับปรุงพัฒนา 7) ด้านของวิทยากร ต้องมีการคุยก่อน มีการเตรียมความพร้อม 8) ต้องกล้าทำอะไรใหม่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ต้องเชื่อในสิ่งที่เราทำเป็น Learning Zone
  • 11. • นพ. ทรนง พิลาลัย 1) ให้ความสำคัญกับ Feedback พร้อมรับ Feedback ในกระบวนการ น้อง ๆ ที่ทำงานหน้างาน คือ ทีมงานของเรา ต้องรับฟังและบริหารจัดการ อีกหนึ่งมุมที่ได้รับสะท้อนคือ เครื่องมือในการจัดการ ความรู้อยู่เยอะ การจัดการความรู้ Story board คือ ต้องการอะไร เขียนให้เป็นรูปธรรม 2) มุมมองของการสร้างจุดถ่ายภาพ คือ การสร้างแบรนด์เพื่อสร้างการรับรู้ 3) การลงทะเบียน การมีป้ายห้อยคอที่ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับความปลอดภัย • ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ต่อเป้าหมายการจัดงาน HA Forum สู่การสร้าง Movement 1) เป้าหมายงานที่จะทำคืออะไร จะเห็นได้ชัดเจนว่า HA Forum จะเป็น Forum ของสถานบริการสุขภาพ สังเกตบรรยากาศอารมณ์ ความรู้สึก จะเห็นว่าขบวนการ หน่วยงาน สรพ. ไม่ได้เป็นเจ้าของ แต่เป็น เพียงผู้ Movement ดึงให้ทุกคนเข้ามาสร้างการเป็นเจ้าของร่วมกัน HA ของภาคีเครือข่าย ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียของงาน สรพ. ไม่ได้เป็นเจ้าของ และผู้ที่มาร่วมเป็นเจ้าของงาน 2) ขบวนการคือ Movement ใช้ HA Forum เป็นที่จะเป็นการขับเคลื่อนผลงานของสถานพยาบาล และการขับเคลื่อนแนวคิด growth mindset เป็นวิธีการที่เขาขับเคลื่อนการพัฒนาระบบ 3) จุดที่น่าสนใจคือ สรพ. เกิดขึ้นพร้อมกับ สมศ. แต่ สมศ. กำหนดคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้ Approach ต่างกันในการทำงาน ใช้วิธีการแบบ Top down ในขณะที่ สรพ. ใช้เกณฑ์จากต่างประเทศ และนำตัวแทนมาทำความเข้าใจร่วมกัน ในลักษณะของ Bottom up และใช้เป็นงานที่เรียนรู้ ความสำเร็จทั้งหลาย และแนวคิดใหม่ ๆ เช่น Growth Mindset พร้อมคนระดับปฏิบัติ เอาเรื่องราว ของตนเองมาเล่า โดยขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพของระบบสุขภาพ ไม่ใช้รูปแบบตายตัว ดังนั้น ข้อ เรียนรู้สำคัญคือ การดำเนินงานต้องมีทั้งล่างขึ้นบน และบนลงล่าง เป็นสัดส่วนที่ต่างกัน 70 : 30