SlideShare a Scribd company logo
1 of 28
Download to read offline
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของลําต้นมะลิลา
นําเสนอครูผู้สอน
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ตําแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
1.น.ส.ปัณฑรีย์ แท่งทอง เลขที่ 7
2.น.ส.ปาลิตา ทองขุนนา เลขที่ 9
3.น.ส.สุพิชญา พ.จานุพิบูล เลขที่ 20
4.นายจิรภาส จารุเมธิตานนท์ เลขที่ 26
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง143
สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของจิบเบอเรอลินที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันส่งผลต่อความสูงของลําต้น
ของต้นมะลิลา บริเวณหน้าตึก2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโดยศึกษาเป็นระยะเวลาตั้งแต่วันที่12 มิถนายน
2560- 31 กรกฏาคม 2560โดยมีชุดควบคุม ชุดlow dose และชุด high doseจํานวนชุดละ3ต้น ซึ่งชุดhigh dose
มีความเข้มข้น 1% ชุดlow dose มีความเข้มข้น 0.6% มีการวัดผลการทดลองโดยใช้ไม้บรรทัดวัดตั้งแต่ขอบ
กระถางไปจนถึงปลายลําต้นของต้นไม้ มีการรดนํ้าต้นไม้ในตอนเย็นทุกวัน ฉีดฮอร์โมนและวัดส่วนสูงใน
วันที่17 ก.ค. 2560 , 24 ก.ค. 2560, 31 ก.ค. 2560 ซึ่งก่อนหน้าวันที่17 ก.ค. 2560ทางคณะผู้จัดทําได้
ทําการศึกษาในเรื่องผลของฮอร์โมนที่มีต่อการออกดอกแต่เนื่องจากไม่มีการออกดอก จึงเปลี่ยนเป็นการวัด
ส่วนสูงแทน
ผลการทดลองพบว่า ชุดควบคุมมีความสูง 38.87ซม. 30.6ซม. และ 26.27 ซม.ม ชุด high
doseมีความสูง62.43 ซม.61.83ซม.และ60.67ซม.และชุดlow dose มีความสูง 51.87ซม.72.13ซม.และ74.33
ซม.ซึ่งจะสามารถเห็นได้ว่าความสูงของต้นlow doseสูงที่สุดแต่เมื่อดูจากขนาดของใบพบว่าใบของต้นhigh
dose มีขนาดใหญ่มากที่สุด
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชเรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของ
ต้นมะลิลาจะสําเร็จลุล่วงไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากคุณครูประจําวิชา นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ที่ช่วยให้
คําปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน และขอขอบคุณผู้ปกครองที่ให้คําปรึกษาและให้ความ
ช่วยเหลือในด้านต่างๆ
คณะผู้จัดทําโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ณ โอกาสนี้
คณะผู้จัดทํา
สารบัญ
หน้า
บทที่ 1 บทนํา 1
.
.
บทที่ 2 4
.
.
บทที่ 3 15
.
.
บทที่ 4 17
.
.
บทที่ 5 20
.
บรรณานุกรม 21
ภาคผนวก 22
บทที่ 1 บทนํา
ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของลําต้นมะลิลา
สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
1.น.ส.ปัณฑรีย์ แท่งทอง เลขที่ 7
2.น.ส.ปาลิตา ทองขุนนา เลขที่ 9
3.น.ส.สุพิชญา พ.จานุพิบูล เลขที่ 20
4.นายจิรภาส จารุเมธิตานนท์ เลขที่ 26
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง143
สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
อาจารย์ผู้สอน
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ที่มาและความสําคัญ
เนื่องจากต้นมะลิลามีความสําคัญทางเศรษฐกิจเพราะมะลิสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่าง
มากมาย ทําให้ปัจจุบันมะลิกลายเป็นไม้ดอกที่ปลูกเพื่อเป็นการค้า สามารถทํารายได้ให้กับผู้ปลูกได้เป็นอย่าง
ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาวดอกมะลิจะมีราคาแพงมาก นอกจากประโยชน์ที่มากมายแล้วมะลิยัง
ก่อให้เกิดอาชีพต่างๆ ตามมามากมาย เช่น เกษตรกรผู้ปลูกดอกมะลิ ขยายพันธุ์และจําหน่ายต้นพันธุ์มะลิ
อาชีพทําพวงมาลัย ทําพวงหรีด อาชีพขายพวงมาลัยและดอกมะลิตามตลาดทั่วไป ตลอดจนถึงเด็กที่วิ่งขาย
พวงมาลัยตามที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ด้วย จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของมะลิมีส่วนช่วยสร้างรายได้ให้กับ
ประชาชนได้มากอย่างหนึ่ง มะลิจึงนับเป็นไม้ดอกที่มีความสําคัญยิ่งชนิดหนึ่ง และนับวันจะมีความสําคัญ
มากยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่นแล้วมะลิเป็นพืชที่ปลุกง่าย ทนทาน และทํารายได้ดีกว่าไม้ดอก
ชนิดอื่นหลายชนิดและเนื่องจากมะลิเป็นส่วนสําคัญในการใช้ร้อยพวงมาลัยเพื่อนํามาไหว้พระซึ่งมี
ความสําคัญในชีวิตประจําวันทําให้คณะผู้จัดทํามีความสนใจในการเลือกต้นมะลิลามาทดลอง นอกจากนี้
ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินช่วยเพิ่มผลผลิตเป็นสารที่มีผลในการยืดตัวของเซลล์และช่วยในการเติบโตของใบจึง
ใช้เพิ่มผลผลิตและช่วยเพิ่มการติดผลเพิ่มขนาดผลยืดความยาวของช่อดอกและผลสามารถเปลี่ยนเพศดอกได้
กระตุ้นการแทงช่อดอกชะลอการแก่และการสุกซึ่งเป็นประโยชน์ในการเก็บรักษาผลผลิตทําลายการพักตัว
ของตาและเมล็ดทําให้ช่วยเพิ่มการงอกเนื่องจากฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมีผลในการยืดตัวของเซลล์และความ
สูงของพืชเกิดจากการยืดตัวของเซลล์
คณะผู้จัดทําโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช จึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอ
เรลลินที่มีต่อความสูงของลําต้นมะลิลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบว่าระหว่างความเข้มข้น Low
dose High dose หรือแบบควบคุม แบบใดทําให้ลําต้นมะลิลาเจริญดีที่สุดคณะผู้รับผิดชอบโครงงานการ
ทดลองฮอร์โมนพืชมีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลที่ได้จะมีประโยชน์ต่อการศึกษาเกี่ยวกับฮอร์โมนจิบเบอ
เรลลินในอนาคตต่อไป
คําถามการทําโครงงาน
สารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้นใดจะส่งผลให้ต้นมะลิลามีความสูงมากที่สุด
สมมติฐานการทดลอง
ถ้าฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้น 1% มีผลต่อลําต้นเจริญดีที่สุด ดังนั้น สารละลายฮอร์โมนจิบเบอ
เรลลินที่ความเข้มข้น 1%จะทําให้ลําต้นมีความสูงมากที่สุด
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นมะลิลา
2.เพื่อเปรียบเทียบว่าฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้นใดทําให้ต้นมะลิลาเจริญดีสุด
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินต่อส่วนต่างๆของพืช
2.ได้ศึกษาเปรียบเทียบความเข้มข้นแบบ Low dose และ High dose
3.เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง
ขอบเขตของโครงงาน
การทําโครงงานครั้งนี้คณะผู้รับผิดชอบมุ่งเน้นที่จะศึกษาเฉพาะลําต้นมะลิลา
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น คือ ความเข้มข้นของจิบเบอเรลลิน
ตัวแปรตาม คือ ความสูงของต้นมะลิลา
ตัวแปรควบคุม คือ อุณหภูมิ ปริมาณดิน ปริมาณนํ้า แสงแดด
ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน
12 มิถุนายน 2560 –31 กรกฎาคม 2560
วิธีการเก็บข้อมูล
ใช้ไม้บรรทัดที่มีมาตรฐานวัดความสูงของต้นไม้โดยวัดจากขอบกระถางจนถึงปลายยอดพร้อมจด
บันทึกผลการวัดความสูงลงในตารางแบบบันทึกที่ได้ออกแบบไว้
วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล
หาความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของลําต้นมะลิลากับความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ใช้
ในรูปแบบกราฟแท่งและกราฟเส้น
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.ต้นมะลิลา
มะลิ ชื่อสามัญ Arabian jasmine, Seented star jusmine, Jusmine, Kampopot
มะลิ ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminumsambac (L.) Aiton, จัดอยู่ในวงศ์มะลิ (OLEACEAE)
มะลิ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ),
มะลิซ้อน มะลิลา (ภาคกลาง), มะลิ มะลิลา มะลิซ้อน (ทั่วไป), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่
งสอน), บักหลี่ฮวยเซียวหนํ่าเคี้ยง (จีน), หม้อลี่ฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของต้นมะลิ
ต้นมะลิ มีถิ่นกําเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบประเทศเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบียโดยจัดเป็นไม้
พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม มีใบแน่น มีความสูงประมาณ 5 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ลํา
ต้น อแอขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชํา (ในช่วงฤดูฝนเป็นวิธีการที่ดีที่สุด) และการตอนกิ่ง (เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี)
เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดจัด การให้นํ้ามากเกินไปจะทําให้
ออกดอกน้อยลง และการตัดแต่งใบภายหลังการออกดอกชุดใหญ่จะทําให้การออกดอกดีขึ้น (ทั้งจํานวนและ
ขนาดของดอก)
ใบมะลิ ใบออกเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยใบเดียว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่
รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปมนป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบ
มีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบมันเป็นสีเขียวแก่ ที่
ท้องใบเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นใบมีขนาดใหญ่ มีประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบมีขนาดสั้นมากและมีขน
ดอกมะลิ ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ลักษณะของดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกไม่ซ้อน ดอก
ซ้อนเราจะเรียกว่า “มะลิซ้อน” ส่วนดอกที่ไม่ซ้อนจะเรียกว่า “มะลิลา” โดยทั้งสองชนิดจะเป็นดอกสีขาว
และมีกลิ่นหอม ซึ่งดอกมะลิลาจะมีกลิ่นหอมมากกว่าดอกมะลิซ้อนขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาด
กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมะลิลาปลายแยกเป็น 5-8 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว
ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมสีเหลือง
อ่อน ส่วนปลายแยกเป็นเส้น มีเกสรเพศผู้2 ก้านติดกับกลีบดอกในหลอดสีขาว และมักไม่ติดผล
ผลมะลิ ผลเป็นผลสด
สรรพคุณของมะลิ
ดอกมะลิมีรสหอมเย็น มีสรรพคุณบํารุงหัวใจ ทําให้ชื่นใจ จิตใจชุมชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกําลัง
ชาวโอรังอัสลี ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะใช้รากนําไปต้มแล้วดื่มนํ้าเป็นยาแก้เบาหวาน หากมีอาการ
นอนไม่หลับ ให้ใช้รากแห้งประมาณ 1-1.5 กรัมนํามาฝนกับนํ้ารับประทาน ดอกสดนํามาตําให้ละเอียดใช้
พอกขมับ จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้หรือจะใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัมนํามาต้มกับนํ้าดื่มเป็นยาแก้
ปวดศีรษะก็ได้ช่วยแก้เจ็บตา รากสดใช้ทําเป็นยาล้างตาแก้เยื่อตาอักเสบใบและรากใช้ทําเป็นยาหยอดตา บ้าง
ว่าใช้ดอกมะลิสดที่ล้างนํ้าสะอาด นํามาต้มกับนํ้าจนเดือดสักครู่ แล้วนํานํ้าที่ได้มาใช้ล้างตาแก้ตาแดง เยื่อตา
ขาวอักเสบ ช่วยแก้อาการเจ็บหู ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนํามาทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจน
ร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด หากปวดฟันผุให้ใช้รากมะลิตากแห้งนํามาบดให้เป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุก
แล้วจนได้ยาที่เหนียวข้น ใช้ใส่ในรูฟันผุ ดอกและใบมีรสเผ็ดชุ่ม เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายนํ้า ขับเหงื่อขับความชื้น แก้ไข้หวัดแดดรากใช้ฝนกับนํ้าเป็นยาแก้ร้อนใน ใช้ใบ
สดประมาณ 3-6 กรัม นํามาต้มกับนํ้ารับประทานเป็นยาแก้ไข้ตํารับยาแก้หวัดแดด มีไข้ให้ใช้ดอกมะลิแห้ง
3 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 9 กรัมนํามารวมกันต้มกับนํ้ารับประทาน ดอกสดนํามาตําใส่พิมเสน
ใช้สุมหัวเด็กแก้ซาง แก้หวัด แก้ตัวร้อน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1-1.5
กรัมนํามาต้มกับนํ้ารับประทาน ดอกแก่ใช้เข้ายาหอมเป็นยาแก้หืด ช่วยแก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ ด้วยการ
ใช้รากสด 1-1.5 กรัมนํามาต้มกับนํ้ารับประทาน รากใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ดอกสดนํามาตําให้
ละเอียดใช้พอกหรือเช็ดบริเวณเต้านมเพื่อให้หยุดการหลั่งของนํ้านมได้ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นํามาต้ม
กับนํ้ากินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืดแน่น หรือจะใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม, เมล็ด
เฉาก๊วย 9 กรัม นํามารวมกันต้มกับนํ้ากินเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย ช่วยแก้อาการเสียดท้อง ใช้ดอก
สดหรือดอกแห้งประมาณ 1.5-3 กรัม นํามาต้มกับนํ้ารับประทานเป็นยาแก้โรคบิด แก้อาการปวดท้อง ชาวโอ
รังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะนําใบอ่อนใสแช่ในนํ้าเย็น ใช้ดื่มแก้นิ่วในถุงนํ้าดี ช่วยบํารุงครรภ์
รักษา ช่วยขับประจําเดือนของสตรี ดอกสดนํามาตําใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง ทาฝีหนอง ผิวหนังผื่นคัน
เยื่อตาอักเสบ และแก้ปวดหูชั้นกลาง ช่วยแก้ฝีหนอง ใบสดนํามาตําใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แผลโรคผิวหนัง
เรื้อรัง แก้ฟกชํ้า และบาดแผล หรือใช้ใบสดนํามาตําให้ละเอียดผสมกับนํ้ามันมะพร้าวใหม่ ๆ นําไปลนไฟ
ใช้ทารักษาแผล ฝีพุพอง รากมีรสเผ็ดขม เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาชา ยาแก้ปวด ให้ใช้รากสด
ประมาณ 1-1.5 กรัม นํามาต้มกับนํ้ารับประทานเป็นยาแก้ปวด ใช้แก้กระดูกร้าว ฟกชํ้า ให้ใช้รากแห้ง 1.5
กรัม นํามาฝนกับเหล้ารับประทาน หรือจะใช้รากสดตําพอกแก้ฟกชํ้า เคล็ดขัดยอกเนื่องจากการหกล้ม ใบ
ช่วยขับนํ้านมของสตรี ตํารายาไทยจะใช้ดอกมะลิแห้งปรุงเป็นยาหอม โดยจัดให้ดอกมะลิอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง
5, พิกัดเกสรทั้ง 7, พิกัดเกสรทั้ง 9 เป็นตํารับยาที่มีสรรพคุณแก้ไข้ช่วยทําให้จิตใจชุ่มชื่น
นอกจากนี้ยังมีการนําดอกมะลิผสมเข้ายาหอมที่มีสรรพคุณบํารุงหัวใจ ทําให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ลม
วิงเวียน เช่น ในตํารับยาหอมเทพจิต ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมนวโกฐ และยาหอมอินทจักร์ ซึ่งมี
ส่วนประกอบหลักเป็นดอกมะลิ และยังใช้เป็นส่วนผสมในตํารับยาแก้ไข้มิรู้จักสติสมปฤดี ยาประสะจันทน์
แดง ยามหานิลแท่งทอง เป็นต้น
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะลิ
ดอกมะลิ มีนํ้ามันระเหยประมาณ 0.2-0.3% ซึ่งในนํ้ามันระเหยจากดอกมะลิพบสาร Benzyl alcohol,
Benzyl alcohol ester, Benzyl acetate, Cadinene, Caryophyllene, Geraniol, hexenyl benzoate, Jasmone,
Jasmine lactone, Linalool (สารที่ทําให้ดอกมะลิลามีกลิ่น), Methyl benzoate, Methyl jasmonte, และพบสาร
Pipid, Linalyl benzoate ส่วนในใบพบสาร Jasmine, Sambacinและรากพบสาร Alkaloids, Sterols เป็นต้น
ใบและลําต้นของมะลิลาพบสารสําคัญหลายกลุ่ม เช่น flavonoid, triterpenoid, irridoid glycoside เช่น
sambacin, sambacoside A, E, F, jasminin, benzyl acetate, cis-linalool oxide, d-fenchene, quercetin,
isoquercetin, limonene, linalool, methyl benzoate, kaempferol-3-rhamnooglycoside, methyl salicylate,
myrcene, rutin, trans-3-hexenyl butyrate
สาร jasmolactone B และ D ที่แยกได้จากดอกมะลิพวงออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดโคโรนารี
(coronary vasodilating) และกระตุ้นหัวใจ (cardiotropic activities) จึงอาจสนับสนุนการใช้ดอกมะลิในตํารับ
ยาหอมในการรักษาอาการวิงเวียน เป็นลม ที่มีการใช้ในยาไทยมาแต่โบราณนํ้าคั้นที่ได้จากรากสดของต้น
มะลิ เมื่อนํามาทดลองกับสัตว์ทดลอง เช่น การนํามาฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูใหญ่ หนูตะเภา สุนัข
กระต่าย กบ และนกพิราบในปริมาณที่ไม่เท่ากัน พบว่าจะทําให้การเต้นหัวใจของกระต่ายและกบเต้นช้าลง
ทําให้กล้ามเนื้อของกบคลายตัว ทําให้หลอดเลือดดําของกระต่ายขยายตัวขึ้น และทําให้มีฤทธิ์ในการกด
ประสาทของกระต่าย ทําให้กระต่ายเคลื่อนไหวได้ช้าลง
เมื่อนํารากที่สกัดด้วยนํ้ามาทดลองกับหัวใจของกบและกระต่ายที่อยู่นอกตัว พบว่าจะทําให้หัว
ใจเต้นช้าลง และเมื่อนํามาทดลองกับมดลูกที่อยู่นอกตัวของหนูและกระต่ายทดลอง จะพบว่ามีฤทธิ์กระตุ้น
มดลูกที่ตั้งท้องและไม่ได้ตั้งท้องให้เกิดการบีบตัวแรงขึ้น
เมื่อนําสารสกัดจากรากของต้นมะลิด้วยแอลกอฮอล์หรือนํ้าในปริมาณ 1-8 กรัมต่อ 1 กิโลกรัม นํามา
ฉีดข้าทางช่องท้องของสัตว์ทดลอง เช่น หนู กระต่าย กบ สุนัข พบว่าจะทําให้สัตว์ทดลองมีอาการหลับได้ดี
ทําให้หลับสบาย และช่วยทําให้สงบนิ่ง แต่ถ้าใช้สารนี้ในปริมาณมากขึ้น แล้วนํามาฉีดให้กบจะทําให้กบเป็น
อัมพาตทั้งตัว จึงแสดงให้เห็นว่าสารดังกล่าวมีฤทธิ์ในการยับยั้งประสาทส่วนกลางของสัตว์
นํ้ามันระเหยจากดอกมะลิลา มีผลช่วยทําให้ระยะเวลาการหลับของยา pentobarbital สั้นลง โดยไป
การกระตุ้นประสาทสัมผัสกลิ่น และสารสําคัญคือ phytol กลิ่นชามะลิที่มีสารสําคัญ (R)-(-)-linalool พบว่า
สามารถช่วยทําให้สงบในอาสาสมัคร 24 คน จากการทดสอบตํารับยาที่มีนํ้ามันหอมระเหยในตํารับ 3-20%
(โดยมีนํ้ามันหอมระเหยจากมะลิคิดเป็น 50-90%) พบว่ามีฤทธิ์กระต้นความรู้สึกทางเพศ
สารสกัดเมทานอลจากดอกมะลิลาแห้งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus sanguinisที่เป็น
สาเหตุให้เกิดฟันผุ โดยมีค่าความเข้มข้นตํ่าสุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 1 mg/ml ดังนั้นสารสกัด
ดังกล่าวจึงมีผลต่อสุขภาพในช่องปาก
สาร benzyl benzoate, caryophyllene oxide, farnesyl acetate, methyl isoeugenolจากดอกมะลิ
ลาออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosaและเชื้อรา Aspergillusniger
นํ้ามันหอมระเหยจากดอกมะลิลามีฤทธิ์ในการไล่หมัดได้ดีกว่าสารเคมี diethyltoluamide
จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าสารสกัดจากดอกมะลาด้วยนํ้าและแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน
1:1 ในขนาดเทียบเท่ากับยาผง 10 กรัมต่อกิโลกรัมไม่เป็นพิษต่อหนูถีบจักร ไม่ว่าจะให้ด้วยการฉีดเข้าใต้
ผิวหนังหรือให้ด้วยการป้อน ส่วนสารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นด้วยนํ้าและแอลกอฮอล์ใน
อัตราส่วน 1:1 เมื่อทําการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่ทําให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง
มีค่าเท่ากับ1 กรัมต่อกิโลกรัม
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรมะลิ
รากมะลิหากรับประทานมาก ๆอาจทําให้สลบได้ดอกมะลิที่นํามาใช้แต่งกลิ่นชาไม่ควรนํามา
รับประทานเป็นประจํา เพราะอาจทําให้ความจําเสื่อมหรือเป็นคนลืมง่ายดอกมะลิเป็นยารสหอมเย็น อย่าใช้
มากเกินไป เพราะจะไปแสลงกับโรคลมจุกเสียดแน่นการดื่มนํ้าลอยดอกมะลิเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังอย่าง
ยิ่ง เพราะในปัจจุบันการปลูกและการดูแลรักษามะลิก็เพื่อการค้าเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจมีการใช้สารเคมีชนิด
ต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก
ประโยชน์ของมะลิ
ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและยังมีสีขาวบริสุทธิ์ คนไทยนิยมยกย่องดอกมะลิให้เป็นดอกไม้
ของวันแม่แห่งชาติและดอกมะลิลายังเป็นดอกไม้ประจําชาติของประเทศฟิลิปปินส์อีกด้วย
นิยมเก็บดอกเพื่อนํามาร้อยเป็นพวงมาลัย หรือใช้ทําดอกไม้แห้ง ใช้ในอุตสาหกรรมนํ้ามันหอมระเหย ใช้
แต่งกลิ่นใบชา ใช้อบขนมต่าง ๆ
ในทางสุคนธบําบัด (Aromatherapy) หรือการบําบัดโดยการใช้กลิ่นหอม จะใช้นํ้ามันหอมระเหย
ของดอกมะลิ ในการกระตุ้นระบบประสาทสําหรับผู้ที่มีภาวะอ่อนล้าทางจิตใจ เฉื่อยชา อ่อนเพลีย ง่วง ช่วย
ปรับอารมณ์และสภาพสมดุลของจิตใจให้ดีขึ้น บรรเทาอาการปวดศีรษะ ความเครียด ความกลัว และช่วย
บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ส่งกลิ่นหอม
ตลอดทั้งวัน ยิ่งในช่วงที่มีอุณหภูมิตํ่าจะยิ่งส่งกลิ่นแรง เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ปลูกได้ง่าย ปลูกได้ดีทั้งในพื้นที่
แคบหรือในกระถาง เจริญเติบโตเร็ว ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน และสามารถควบคุมการออกดอกได้
โดยการควบคุมการให้นํ้าและการใส่ปุ๋ ยอย่างเหมาะสมในด้านของความเชื่อ คนไทยเชื่อว่าการปลูกต้นมะลิ
ไว้เป็นไม้ประจําบ้าน จะทําให้มีความสงบสุข ร่มเย็น เป็นที่ประทับใจแก่ผู้คนรอบข้าง ช่วยเกื้อหนุนให้เกิด
ความกตัญ�ูของผู้เป็นลูกที่มีต่อแม่ และเพื่อความสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศ
ตะวันตกเฉียงเหนือ และให้ปลูกในวันพุธเพื่อเอาคุณ โดยผู้ปลูกควรเป็นสตรีที่สูงอายุเพราะเป็นผู้ที่มีความ
รับผิดชอบสูง และยังเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีเป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไป โดยต้นมะลิที่นิยมปลูกไว้
ในบ้านเพื่อความเป็นมงคลมีอยู่5 ชนิดด้วยกัน คือ มะลิซ้อน มะละฉัตร มะลิพวง มะลิวัลย์และพุทธชาด
นอกจากนี้ต้นมะลิยังเป็นต้นไม้ประจําวันเกิดของผู้เกิดวันจันทร์อีกด้วย ซึ่งหมายถึงความนุ่มนวลอ่อนโยน
และเรียบร้อย
2.ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน(Gibberellins)
การค้นพบกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่ปัจจุบันเรียกว่าจิบเบอเรลลินนั้น เกิดประมาณปี 1920 เมื่อ
Kurosawa นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ศึกษาในต้นข้าวที่เป็นโรค Bakanaeหรือโรคข้าวตัวผู้ ซึ่งเกิดจากเชื้อรา
Gibberellafujikuroiหรือ Fusariummoniliformeซึ่งทําให้ต้นข้าวมีลักษณะสูงกว่าต้นข้าวปกติ ทําให้ล้มง่าย
จากการศึกษาพบว่า ถ้าเลี้ยงเชื้อราในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวแล้วกรองเอาเชื้อราออกไปเหลือแต่อาหารเลี้ยงเชื้อ
เมื่อนําไปราดต้นข้าวจะทําให้ต้นข้าวเป็นโรคได้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่า เชื้อราชนิดนี้สามารถสร้างสารบางชนิด
ขึ้นในต้นพืชหรือในอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งกระตุ้นให้ต้นข้าวเกิดการสูงผิดปกติได้ในปี 1939 ได้มีผู้ตั้งชื่อสารนี้
ว่าจิบเบอเรลลิน การค้นพบจิบเบอเรลลิน เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่พบออกซิน การศึกษาส่วนใหญ่จึงเน้นไป
ทางออกซิน ส่วนการศึกษาจิบเบอเรลลินในช่วงแรกจะเป็นไปในแง่ของโรคพืช ในการศึกษาขั้นแรก
ค่อนข้างยากเพราะมักจะมีกรดฟิวซาริค (Fusaric Acid) ปะปนอยู่ซึ่งเป็นสารระงับการเจริญเติบโต ความรู้
เกี่ยวกับโครงสร้างและส่วนประกอบทางเคมีของจิบเบอเรลลินนั้นได้รับการศึกษาในปี 1954โดยนักเคมีชาว
อังกฤษซึ่งสามารถแยกสารบริสุทธิ์จากอาหารเลี้ยงเชื้อรา Gibberellafujikuroiและเรียกสารนี้ว่ากรดจิบเบอ
เรลลิค (Gibberellic Acid)การให้กรดจิบเบอเรลลิคกับพืชที่สมบูรณ์ทั้งต้น จะเร่งให้เกิดการยืดตัวเพิ่มขึ้นของ
ลําต้นและใบอย่างผิดปกติ การตอบสนองจะปรากฏเด่นชัดเมื่อให้กรดนี้กับพืชที่เตี้ยแคระโดยพันธุกรรม
เพราะจะกระตุ้นให้พืชเหล่านี้เจริญสูงตามปกติ กรดจิบเบอเรลลิคที่พบในอาหารเลี้ยงเชื้อรานั้นมี
โครงสร้างทางเคมี และกิจกรรมทางชีววิทยาเหมือนกับกรดจิบเบอเรลลิคในพืชปกติทุก ๆ ชนิด (พืชปกติ
หมายถึงพืชที่ไม่เป็นโรค) มีสารประกอบประเภทนี้จํานวนมากที่แยกเป็นสารบริสุทธิ์ได้จากพืชชั้นสูง ใน
ปัจจุบันมีจิบเบอเรลลินซึ่งเป็นชื่อเรียกทั่ว ๆ ไปของสารประกอบประเภทนี้ ประมาณไม่น้อยกว่า 80 ชนิด
ชื่อเรียกสารประกอบชนิดนี้จะตั้งชื่อดังนี้ คือ Gibberellins A1 (GA1), A2, A3 เป็นต้น โดยที่กรดจิบเบอ
เรลลิค คือ GA3GA ทุกชนิดจะมีโครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลเป็น Gibberellane Carbon Skeleton ซึ่งจะ
เหมือนกับกรดจิบเบอเรลลิค จะแตกต่างกันตรงจํานวนและตําแหน่งของกลุ่มที่เข้าแทนที่ในวงแหวนและ
ระดับของความอิ่มตัวของวงแหวน A GA ประกอบด้วยคาร์บอนประมาณ 19-20 อะตอม ซึ่งจะ
รวมกันเป็นวงแหวน 4 หรือ 5 วงและจะต้องมีกลุ่มคาร์บอกซิลอย่างน้อย 1 กลุ่ม โดยใช้ชื่อย่อว่า GA ซึ่ง
GA3 เป็นชนิดที่พบมากและได้รับความสนใจศึกษามากกว่าชนิดอื่นๆ GA เป็นฮอร์โมนที่พบในพืช
ชั้นสูงทุกชนิด นอกจากนั้นยังพบในเฟิร์น สาหร่าย และเชื้อราบางชนิด แต่ไม่พบในแบคทีเรีย
การสังเคราะห์จิบเบอเรลลิน
จิบเบอเรลลินเป็นฮอร์โมนพืชซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีเป็นไดเทอพีนส์ (diterpenes) ซึ่งเป็น
สารประกอบที่เกิดตามธรรมชาติในพืช ในกลุ่มของเทอพีนอยส์ (Terpenoids) การสังเคราะห์ GA จึงเกิดมา
จากวิถีการสังเคราะห์สารเทอพีนอยส์ โดยที่มีบางส่วนยังไม่เข้าใจเด่นชัดนักการสังเคราะห์ GA สาร
เริ่มต้นเป็นกรดเมวาโลนิค (Mevalonic Acid) เปลี่ยนไปตามวิถีจนเกิดเป็นกรดคอรีโนอิค (Kaurenoic Acid)
แล้วจึงเปลี่ยนไปเป็น GA ซึ่งวิถีในช่วงที่เปลี่ยนไปเป็น GA ชนิดต่าง ๆ นี้ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก สารชนิด
แรกที่มีวงแหวนของ Gibberellaneคือ อัลดีไฮด์ของ GA12
ในปัจจุบันมีสารชะงักการเจริญเติบโต เช่น CCC หรือ Cycocel AM0-1618 Phosfon-D และ
SADH หรือ Alar ซึ่งใช้กันมากในการเกษตร สารเหล่านี้บางชนิดสามารถระงับ กระบวนการสังเคราะห์จิบ
เบอเรลลินได้เช่น AMO-1618 สามารถระงับการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินในอาหารสํารอง (Endosperm)
ของแตงกวาป่า โดยระงับในช่วงการเปลี่ยน Geranylgeranyl pyrophosphate ไปเป็น Kaureneในทํานอง
เดียวกัน CCC สามารถระงับกระบวนการนี้ได้ด้วยจากการศึกษาโดยวิธี Diffusion Technique แสดงให้เห็น
ว่าใบอ่อน ผลอ่อนและต้นอ่อนเป็นส่วนที่สร้าง GA ของพืช รากพืชอาจจะสามารถสร้าง GA ได้บ้าง แต่
GA มีผลต่อการเจริญของรากน้อยมาก และอาจจะระงับการสร้างรากแขนงพวก Adventitious Root ด้วย
ในปัจจุบันยังไม่มีการสังเคราะห์ GA เนื่องจากกระบวนการสร้างซับซ้อนและต้องใช้เอนไซม์หลายชนิด
GA ที่พบในปัจจุบันจึงเป็นสารธรรมชาติทั้งสิ้นการสลายตัวของจิบเบอเรลลินความรู้ทางด้านนี้ยังมีไม่มาก
นัก แต่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าจิบเบอเรลลินมีกิจกรรมทางสรีรวิทยาอยู่ได้เป็นระยะเวลานานใน
เนื้อเยื่อพืช ซึ่งตรงกันข้ามกับออกซินที่สลายตัวเร็วในเนื้อเยื่อพืช และในเนื้อเยื่อพืชที่มีจิบเบอเรลลินอยู่สูง
จะไม่แสดงผลเสีย แต่ถ้าเนื้อเยื่อพืชมีปริมาณออกซินสูงเกินไป ออกซินจะทําลายเนื้อเยื่อพืชได้ ซึ่งอาจจะ
เกิดมาจากการที่ออกซินกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์เอทธิลีนในต้นพืช อาจจะเป็นด้วยสาเหตุนี้ที่พืชต้องมี
กระบวนการสลายออกซินเพื่อไม่ให้มีการสะสมออกซินในต้นพืชมากเกินไป อย่างไรก็ตามจิบเบอเรลลิน
สามารถเปลี่ยนจากชนิดหนึ่งไปเป็นจิบเบอเรลลินอีกชนิดหนึ่งได้ในเนื้อเยื่อพืช ยิ่งไปกว่านั้นในเนื้อเยื่อพืช
ยังมีจิบเบอเรลลินในรูปของไกลโคไซด์(Glycosides) ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการทําให้จิบเบอเรลลินไม่
สามารถแสดงคุณสมบัติออกมา กรดจิบเบอเรลลิค ซึ่งอยู่ในสภาพสารละลายถูกทําให้สลายตัวได้โดยใช้
Acid Hydrolysis ที่อุณหภูมิสูงและได้ผลิตภัณฑ์คือกรดจิบเบอเรลลีนิค (Gibberellenic Acid) และกรด
จิบเบอริค (Gibberic Acid)
การหาปริมาณจิบเบอเรลลิน
1. ใช้วิธีโครมาโตกราฟ เช่น GC หรือ Gas Chromatographและ Paper Chromatograph
2. ใช้วิธี Bioassay โดยการที่จิบเบอเรลลินสามารถทําให้พืชแคระ (ข้าวโพดและถั่ว) เจริญเป็นต้นปกติได้
หรือโดยการที่จิบเบอเรลลินสามารถป้องกันการเกิดการเสื่อมสลาย (Senescence) หรือโดยหาปริมาณจิบ
เบอเรลลินจากการกระตุ้นให้เมล็ดข้าวบาร์เลย์สร้างเอนไซม์แอลฟา อะไมเลส( a-amylase) ในอาหารสํารอง
ความสัมพันธ์ของโครงสร้างของโมเลกุลและกิจกรรมของจิบเบอเรลลิน
ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของโมเลกุล และกิจกรรมทางสรีรวิทยาของ จิบเบอเรลลิน ยังมี
การศึกษาน้อยกว่าออกซิน ตามที่กล่าวแล้วว่า ในปัจจุบันมีจิบเบอเรลลินมากกว่า 80 ชนิด ซึ่งได้จากแหล่งใน
ธรรมชาติ เช่นจาก Gibberellafujikuroiและจากพืชชั้นสูง โครงสร้างของ GA ต่างชนิดกันจะคล้ายคลึงกัน
เพราะจะมีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกันมีลักษณะที่แตกต่างกันที่จํานวนของกลุ่มคาร์บอกซิลและความ
อิ่มตัวของวงแหวน A ในปัจจุบันความรู้เหล่านี้ทําให้ทราบว่าโมเลกุลที่จะมีคุณสมบัติของจิบเบอเรลลินได้
นั้นต้องมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับจิบเบอเรลลินที่เกิดในธรรมชาติ ในทางตรงกันข้ามสารไดเทอร์พีนอยด์ซึ่ง
เกิดตามธรรมชาติซึ่งเรียกว่าสะตีวีออล (Steviol) ซึ่งไม่มีโครงสร้างพื้นฐานจิบเบน (Gibbane) แต่มี
คุณสมบัติในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชอย่างอ่อน ๆ คล้ายคลึงกับจิบเบอเรลลิน อย่างไรก็ตาม
อาจจะเป็นเพราะว่าการเปลี่ยนสะตีวีออล โดยเอนไซม์ของพืชไปสู่รูปที่มีกิจกรรมมากกว่าที่จะมีกิจกรรม
ของฮอร์โมนด้วยตัวเองเป็นที่สังเกตว่า จิบเบอเรลลินที่พบในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการ
เจริญเติบโตได้ไม่เท่ากัน และความจริงกิจกรรมของจิบเบอเรลลินซึ่งทดสอบกับพืชต่างชนิดกันหรือคนละ
พันธุ์กัน สามารถใช้แยกชนิดของจิบเบอเรลลินได้การเคลื่อนย้ายของจิบเบอเรลลินในต้นพืชจิบเบอเรลลิน
สามารถเคลื่อนย้ายหรือเคลื่อนที่ในพืชได้ทั้งทางเบสิพีตัล และ อะโครพีตัล และการเคลื่อนที่ไม่มีโพลาริตี้
การเคลื่อนย้ายเกิดขึ้นทั้งในส่วนของท่ออาหารและท่อนํ้า แต่การเคลื่อนที่ของจิบเบอเรลลินจากยอดอ่อนลง
มาสู่ส่วนล่างของลําต้นนั้นไม่ได้เกิดในท่อนํ้าท่ออาหารเพราะส่วนของยอดอ่อนเป็นส่วนที่ดึงอาหารและ
ธาตุอาหารให้เคลื่อนที่ขึ้นไปแบบ อะโครพีตัล ดังนั้นจิบเบอเรลลินจึงไม่ได้เคลื่อนที่ทางท่ออาหาร และยัง
ไม่ทราบวิถีการเคลื่อนที่แน่ชัดกลไกในการทํางานของจิบเบอเรลลินการศึกษาด้านกลไกในการทํางานของ
จิบเบอเรลลินเกิดจากการที่พบว่ามีระดับของกิจกรรมของเอนไซม์หลายชนิดมีผลกระทบจากปริมาณของจิบ
เบอเรลลิน เอนไซม์ซึ่งมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับจิบเบอเรลลิน คือ เอนไซม์แอลฟาและเบตา-อะมัยเลส (a
และ b-amylase) โปรตีเอส (Protease) และไรโบนิวคลีเอส (Ribonuclease) ซึ่งพบในเมล็ดข้าวบาร์เลย์ซึ่ง
กําลังงอก นอกจากนั้นในพืชบางชนิดยังพบว่ากิจกรรมของไนเตรท รีดักเตส (Nitrate Reductase) และ
ไรบูโลสฟอสเฟสคาร์บอกซิเลส (Ribulose Phosphate Carboxylase) มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นด้วยในต้นอ้อยนั้น
พบว่า ผลของจิบเบอเรลลินจะชะลอการสังเคราะห์อินเวอร์เทส (Invertase) และเพอรอกซิเดส (Peroxidase)
ความสนใจในกลไกการทํางานของจิบเบอเรลลิน จึงเน้นไปที่การศึกษาว่าจิบเบอเรลลินควบคุมกิจกรรม
ของเอนไซม์ได้เพราะเป็นผลเนื่องมาจากเปลี่ยนแปลงการสังเคราะห์โปรตีนโดยการศึกษาตัวอย่างของระดับ
กิจกรรมของเอนไซม์ซึ่งถูกควบคุมโดยจิบเบอเรลลิน ทํากันมากในเอนไซม์ แอลฟา อะมัยเลส ในเมล็ดข้าว
บาร์เลย์ ในเมล็ดข้าวบาร์เลย์ที่แห้งที่ยังไม่ดูดซับนํ้าจะไม่มีเอนไซม์แอลฟา อะมัยเลสปรากฏอยู่ เอนไซม์
นี้จะปรากฏขึ้นและปลดปล่อยออกมาจากชั้นของอะลีโรนของเมล็ด เป็นการตอบสนองต่อจิบเบอเรลลินซึ่ง
สังเคราะห์จากต้นอ่อนที่กําลังงอก เนื้อเยื่อชั้นอะลีโรนซึ่งแยกจากเมล็ดที่ไม่งอกจะมีกิจกรรมของแอลฟา อะ
มัยเลส น้อยมาก แต่ถ้านําเนื้อเยื่อนี้ไปแช่ในจิบเบอเรลลินจะทําให้เกิดการเพิ่มกิจกรรมของแอลฟา อะมัยเล
สมากขึ้นโดยเกิดขึ้นหลังจากแช่ไว้นาน 8 ชั่วโมงแล้ว การกระตุ้นให้เกิดการสร้างแอลฟา อะมัยเลสนี้ จะ
ชะงักไปเมื่อใช้สารระงับการสังเคราะห์ RNA และโปรตีน รวมอยู่ในสารละลายจิบเบอเรลลิน ซึ่งจากการ
ทดลองดังกล่าวแสดงว่าจิบเบอเรลลินควบคุมกิจกรรมของแอลฟา อะมัยเลส ผ่านทางการสังเคราะห์ RNA
สารชะงักการสังเคราะห์ RNA เช่น แอคติโนมัยซิน-ดี (Actinomycin-D) จะชะงักกระบวนการกระตุ้นการ
สังเคราะห์ RNA 2-3 ชั่วโมง หลังจากเติมจิบเบอเรลลิน ในขณะที่สารชะงักการสังเคราะห์โปรตีน เช่น ไซ
โคลเฮคซิไมด์(Cycloheximide) จะระงับการปรากฏของกิจกรรมของแอลฟา อะมัยเลส หลังจากช่วง
"lag" เริ่มต้นกลไกในการทํางานขั้นแรกของจิบเบอเรลลินนั้นจะเปลี่ยนระบบเยื่อหุ้มเซลล์แล้วจึงจะไปมีผล
ในการกระตุ้นการสังเคราะห์ RNA และโปรตีน นั่นคือในการกระตุ้นระยะสั้นจะเกี่ยวข้องกับระบบเยื่อหุ้ม
เซลล์ในระยะยาวจะเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ RNA และโปรตีน กลไกที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนระบบของ
เยื่อหุ้ม คือ เพิ่มการสังเคราะห์เยื่อหุ้มทําให้เกิดเอนโดพลาสมิคเรตติคิวลัม มากขึ้น และกระตุ้นการสร้างเวส
ซิเคิลซึ่งมีเอนไซม์อยู่ภายใน นอกจากนั้นยังกระตุ้นให้มีการปลดปล่อย แอลฟา อะมัยเลส ผ่านเยื่อหุ้ม
เซลล์ออกมา
บทบาทของจิบเบอเรลลินที่มีต่อพืช
1. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชทั้งต้น จิบเบอเรลลินมีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งสามารถกระตุ้นการ
เจริญเติบโตของพืชทั้งต้นได้โดยทําให้เกิดการยืดตัวของเซลล์ซึ่งผลนี้จะต่างจากออกซินซึ่งสามารถกระตุ้น
การเจริญเติบโตของชิ้นส่วนของพืชได้พืชบางชนิดอาจจะไม่ตอบสนองต่อจิบเบอเรลลิน อาจจะเป็น
เพราะว่าในพืชชนิดนั้นมีปริมาณจิบเบอเรลลินเพียงพอแล้ว จิบเบอเรลลินสามารถกระตุ้นการยืดยาวของช่อ
ดอกไม้บางชนิดและทําให้ผลไม้มีรูปร่างยาวออกมา เช่น องุ่น และแอปเปิ้ลกะหลํ่าปลีซึ่งเจริญในลักษณะต้น
เตี้ยเป็นพุ่ม (Rosette) มีปล้องสั้นมาก เมื่อให้ GA3 กับต้นกะหลํ่าปลีดังกล่าวจะทําให้สูงขึ้นถึง 2 เมตรได้ถั่ว
พุ่มที่ได้รับ GA จะกลายเป็นถั่วเลื้อยได้พืชซึ่งมีต้นเตี้ยทางพันธุกรรม เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่ว แตงกวาและ
แตงโมสามารถแสดงลักษณะปกติได้เมื่อได้รับ GA3 ในข้าวโพดแคระนั้นพบว่าความผิดปกติเกิดจากยีนส์
ควบคุม ซึ่งอาจจะเกี่ยวพันกับวิถีในการสังเคราะห์จิบเบอเรลลิน ส่วนข้าวโพดปกติหากได้รับจิบเบอเรลลิน
จะไม่สามารถสูงขึ้นได้อีก ดังนั้นในกรณีข้าวโพดการแคระเกิดจากมีปริมาณจิบเบอเรลลินในต้นน้อยเกินไป
แต่อาการแคระของพืชบางชนิด เช่น Japanese Morning Glory พบว่ามีจิบเบอเรลลินมากพอแล้ว แต่เมื่อ
ได้รับ จิบเบอเรลลินเพิ่มก็จะสูงขึ้นได้ในกรณีนี้อาจจะเป็นเพราะในต้นมีปริมาณของสารระงับการ
เจริญเติบโตอยู่
2. กระตุ้นการงอกของเมล็ดที่พักตัวและตาที่พักตัว ตาของพืชหลายชนิดที่เจริญอยู่ในเขตอบอุ่นจะพักตัวใน
ฤดูหนาว เมล็ดของพืชหลายชนิดมีพฤติกรรมเช่นนี้ด้วย ซึ่งการพักตัวจะลดลงจนหมดไป เมื่อได้รับความ
เย็นเพียงพอ การพักตัวของเมล็ดและตา อันเนื่องมาจากต้องการอุณหภูมิตํ่า วันยาว และต้องการแสงสี
แดงจะหมดไปเมื่อได้รับจิบเบอเรลลิน
3. การแทงช่อดอก การออกดอกของพืชเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุและสภาพแวดล้อม จิบ
เบอเรลลินสามารถแทนความต้องการวันยาวในพืชบางชนิดได้และยังสามารถทดแทนความต้องการ
อุณหภูมิตํ่า (Vernalization) ในพืชพวกกะหลํ่าปลี และแครอท
4.จิบเบอเรลลิน สามารถกระตุ้นการเคลื่อนที่ของอาหารในเซลล์สะสมอาหาร หลังจากที่เมล็ดงอกแล้ว
เพราะรากและยอดที่ยังอ่อนตัวเริ่มใช้อาหาร เช่น ไขมัน แป้ ง และโปรตีน จากเซลล์สะสมอาหาร จิบเบอ
เรลลินจะกระตุ้นให้มีการย่อยสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็ก เช่น ซูโครสและกรดอะมิโน ซึ่ง
เกี่ยวพันกับการสังเคราะห์เอนไซม์หลายชนิดดังกล่าวข้างต้น
5. กระตุ้นให้เกิดผลแบบ Parthenocarpicในพืชบางชนิด เปลี่ยนรูปร่างของใบพืชบางชนิด เช่น English Ivy
และทําให้พืชพัฒนาการเพื่อทนความเย็นได้
6. พืชที่มีดอกตัวผู้ และตัวเมียแยกกันไม่ว่าจะต้นเดียวกัน หรือแยกต้นก็ตาม จิบเบอเรลลินสามารถ
เปลี่ยนเพศของดอกได้ จิบเบอเรลลินมักเร่งให้เกิดดอกตัวผู้ ส่วนออกซิน เอทธิลีน และไซโตไคนิน
มักจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมีย ในแตงกวาดอกล่าง ๆ มักเป็นดอกตัวผู้และดอกบนเป็นดอกตัวเมีย การให้สาร
อีธีฟอนจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมียขึ้น
บทที่ 3 การดําเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
1.ต้นมะลิลา
2.ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน
3.กระบอกฉีดฮอร์โมน
4.กระถางต้นไม้
ขั้นตอนการทําโครงงาน
1.ประชุมวางแผนคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ ซึ่งคือการศึกษาการส่งผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินต่อ
ส่วนต่างๆของพืช
2.ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานดังนี้
2.1.ลักษณะของต้นมะลิลา
2.2.การทํางานของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน
3.วางแผนรายละเอียดการทดลอง
4.เลือกสถานที่ที่ใช้ในการทําทดลอง
5.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําการทดลอง
5.1. ต้นมะลิลา 9 ต้น
5.2. ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน
5.3. สารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินHigh dose
5.4. สารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินLow dose
5.5. กระบอกฉีดฮอร์โมน 3 กระบอก
5.6. กระถางต้นไม้ 9 ใบ
6.ขั้นตอนกระบวนการทําการทดลอง
6.1.ตอนที่ 1 การเปรียบเทียบความสูงของลําต้นมะลิลาที่ทดลองโดยใช้ฮอร์โมน High dose
6.1.1.เตรียมไม้บรรทัดที่มีมาตรฐาน
6.1.2.วัดความสูงของลําต้นตั้งแต่ขอบกระถางจนถึงปลายยอด
6.1.3.วัดทั้งหมด3ต้นจากนั้นจึงหาค่าเฉลี่ย
6.2.ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความสูงของลําต้นมะลิลาที่ทดลองโดยใช้ฮอร์โมน Low dose
6.2.1.เตรียมไม้บรรทัดที่มีมาตรฐาน
6.2.2.วัดความสูงของลําต้นตั้งแต่ขอบกระถางจนถึงปลายยอด
6.2.3.วัดทั้งหมด3ต้นจากนั้นจึงหาค่าเฉลี่ย
6.3.ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบความสูงของลําต้นมะลิลาที่ทดลองโดยใช้ฮอร์โมนชุดควบคุม
6.3.1.เตรียมไม้บรรทัดที่มีมาตรฐาน
6.3.2.วัดความสูงของลําต้นตั้งแต่ขอบกระถางจนถึงปลายยอด
6.3.3.วัดทั้งหมด3ต้นจากนั้นจึงหาค่าเฉลี่ย
7. สรุปผล อภิปราย และเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระยะ
8. จัดทําเอกสารเป็นรูปเล่มโครงงานให้สมบูรณ์
9. จัดทําสื่ออภิปรายแสดงผลการทดลอง
10. นําเสนอโครงงาน
บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
* หมายเหตุ เนื่องจากไม่มีการออกดอกทางคณะผู้จัดทําจึงเปลี่ยนเป็นการวัดความสูงของต้นมะลิลาแทน
วันที่บันทึก
จํานวนดอกมะลิลา (ดอก)
High dose (1%) Low dose(0.6%) ชุดควบคุม (0%)
ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3 ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3 ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3
12 มิ.ย. 60 0 0 0 0 0 0 0 0 0
19มิ.ย. 60 0 0 0 0 0 0 0 0 0
26 มิ.ย. 60 0 0 0 0 0 0 0 0 0
3 ก.ค. 60 0 0 0 0 0 0 0 0 0
10 ก.ค. 60 0 0 0 0 0 0 0 0 0
ค่าเฉลี่ย 0 0 0 0 0 0 0 0 0
วันที่บันทึก
ความสูงของต้นมะลิลา (ซม.)
High dose(1%) Low dose(0.6%) ชุดควบคุม (0%)
ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3 ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3 ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3
17.ก.ค. 60 60 59.3 58.2 49.7 65.2 70 35.2 28.7 24.3
24 ก.ค. 60 62.1 61.8 60.3 50.9 73.1 74.9 39.1 30.4 25.9
31 ก.ค. 60 65.2 64.4 63.5 55 77.2 78.1 42.3 32.9 28.6
ค่าเฉลี่ย 62.43 61.83 60.67 51.87 72.13 74.33 38.87 30.67 26.27
กราฟแท่งแสดงผลการทดลอง
* หมายเหตุ เนื่องจากไม่มีการออกดอกทางคณะผู้จัดทําจึงเปลี่ยนเป็นการวัดความสูงของต้นมะลิลาแทน
กราฟแท่งแสดงผลการทดลอง
0
10
20
30
40
50
60
70
80
High dose (1%) Low dose (0.6%) ชุดควบคุม (0%)
ความสุงของต้นมะลิลา(เซนติเมตร)
ความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน
กราฟแท่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน กับ
ความสูงของต้นมะลิลา
ต้นที่ 1
ต้นที่ 2
ต้นที่ 3
0
0.2
0.4
0.6
0.8
1
High dose (1%) Low dose (0.6%) ชุดควบคุม (0%)
จํานวนดอก(ดอก)
ความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน
กราฟแท่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน กับ
จํานวนดอก
ต้นที่ 1
ต้นที่ 2
ต้นที่ 3
วิเคราะห์ผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่าพืชที่อยู่ในกลุ่ม low dose 0.6% นั้นจะมีความสูงมากที่สุดโดยเทียบจากกลุ่มควบคุม
และกลุ่ม high dose 1% แต่ใบของกลุ่ม high dose จะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ซึ่งทําให้เกิดข้อ
สันนิษฐานว่าฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินที่เข้มข้น 1% นั้นได้ไปกระตุ้นขนาดของใบด้วยเลยทําให้ความสูงของ
ต้นไม้ที่อยู่กลุ่ม high dose นั้นเจริญเติบโตด้านความสูงไม่เท่ากับกลุ่ม low dose ซึ่งความเข้มข้น0.6%จะเป็น
ความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในด้านความสูงของต้นไม้มากกว่าความเข้มข้น1% ซึ่งฮอร์โมน
จิบเบอร์เรลลินนั้นมีหน้าที่ช่วยในการยืดของกิ่งก้านเลยทําให้ผลการทดลองออกมาเป็นเช่นนี้
บทที่ 5สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่าพืชกลุ่มLow dose ซึ่งใช้ฮอร์โมนที่มีความเข้มข้น0.6%มีความสูงเฉลี่ย66.11ซม. พืช
กลุ่มHigh dose ซึ่งใช้ฮอร์โมนที่มีความเข้มข้น1%มีความสูงเฉลี่ย61.64ซม. โดยชุดการทดลองLow dose
เป็นชุดการทดลองที่มีความสูงเฉลี่ยมากที่สุดและรองลงมาคือชุดการทดลอง High dose และชุดควบคุม
ตามลําดับ เนื่องจากฮอร์โมนที่ใช้ในชุดการทดลองLow doseส่งผลต่อลําต้นมากกว่าส่วนประกอบอื่นๆของ
ต้นไม้แต่ชุดการทดลองHigh doseส่งผลต่อใบของต้นมะลิลามากกว่าลําต้นทําให้ชุดการทดลองHigh dose มี
ความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า ดังนั้นอ้างอิงรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ผลของสารจิบเบอเรลลินต่อการเจริญเติบโต
และการพัฒนาช่อดอกว่านนางคุ้มจึงควรใช้ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งส่วนต่างๆของ
พืชจะใช้ปริมาณฮอร์โมนในการเจริญที่เหมาะสมแตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
เนื่องจากตอนแรกต้องการติดตามดูจํานวนดอกแต่เมื่อทําการทดลองไประยะหนึ่งแล้วพบว่าไม่มีดอกจึงต้อง
ทําการเปลี่ยนจากการติดตามดูดอกเป็นการวัดความสูงของลําต้นแทน
บรรณานุกรม
สํานักงานเกษตรอําเภอเขาคิชฌกูฏ,มะลิลา.กรกฎาคม2560, จาก
http://khaokhitchakut.chanthaburi.doae.go.th/PAGE/kebmafak/Mali/mali1.htm
รศ.ดร.ดนัย บุณยเกียรติ,จิบเบอเรลลิน.กรกฎาคม2560, จาก
http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/index.htm
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “มะลิ”.(ดร.วิทย์เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 639-641.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะลิลา Arabian Jasmine”.
หน้า 128.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “มะลิ”.หน้า 454.
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “มะลิ”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก: www.thaicrudedrug.com. [17 พ.ค. 2014].
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สํานักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะลิลา”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [17 พ.ค. 2014].
โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะลิ”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
www.shc.ac.th/learning/botanical-garden/. [17 พ.ค. 2014].
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “มะลิซ้อน”.(นพพล เกตุประสาท).
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [17 พ.ค. 2014].
ไขปริศนา พฤกษาพรรณ, สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยามหิดล. “มะลิลา”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก: www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants/. [17 พ.ค. 2014].
รุ่งนภา ช่างเจรจา และ อัญชนา จาปา.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผลของสารจิบเบอเรลลินต่อการ
เจริญเติบโตและการพัฒนาช่อดอกว่านนางคุ้ม.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา,2557.
ภาคผนวก
รูปแสดงการฉีดฮอร์โมน
รูปแสดงการรดนํ้าต้นไม้
รูปแสดงการฉีดฮอร์โมน
รูปแสดงการติดตามผลการดําเนินโครงงานฮอร์โมน
รูปแสดงการติดตามผลการดําเนินโตรงงานฮอร์โมน
รูปแสดงต้นมะลิลาชุดควบคุม
รูปแสดงต้นมะลิลาชุดLow dose
รูปแสดงต้นมะลิลาชุด High dose

More Related Content

What's hot (20)

Plant hor 6_77_60
Plant hor 6_77_60Plant hor 6_77_60
Plant hor 6_77_60
 
M6 78 60_6
M6 78 60_6M6 78 60_6
M6 78 60_6
 
Plant hor 3_77_60
Plant hor 3_77_60Plant hor 3_77_60
Plant hor 3_77_60
 
M6 78 60_8
M6 78 60_8M6 78 60_8
M6 78 60_8
 
M6 78 60_2
M6 78 60_2M6 78 60_2
M6 78 60_2
 
M6 78 60_4
M6 78 60_4M6 78 60_4
M6 78 60_4
 
M6 125 60_3
M6 125 60_3M6 125 60_3
M6 125 60_3
 
M6 78 60_7
M6 78 60_7M6 78 60_7
M6 78 60_7
 
M6 125 60_8
M6 125 60_8M6 125 60_8
M6 125 60_8
 
M6 125 60_10
M6 125 60_10M6 125 60_10
M6 125 60_10
 
Lesson2plantreproduction2561
Lesson2plantreproduction2561Lesson2plantreproduction2561
Lesson2plantreproduction2561
 
M6 126 60_1
M6 126 60_1M6 126 60_1
M6 126 60_1
 
M6 78 60_3
M6 78 60_3M6 78 60_3
M6 78 60_3
 
M6 144 60_8
M6 144 60_8M6 144 60_8
M6 144 60_8
 
M6 126 60_8
M6 126 60_8M6 126 60_8
M6 126 60_8
 
Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60
 
Lesson2 plantrepro wichaitu62
Lesson2 plantrepro wichaitu62Lesson2 plantrepro wichaitu62
Lesson2 plantrepro wichaitu62
 
M6 143 60_4
M6 143 60_4M6 143 60_4
M6 143 60_4
 
Ecosys 1 62_new
Ecosys 1 62_newEcosys 1 62_new
Ecosys 1 62_new
 
M6 144 60_9
M6 144 60_9M6 144 60_9
M6 144 60_9
 

Similar to M6 143 60_7

The structure of flowers(Minnieroot , morning glory , Frangipani )
The structure of flowers(Minnieroot , morning glory , Frangipani )The structure of flowers(Minnieroot , morning glory , Frangipani )
The structure of flowers(Minnieroot , morning glory , Frangipani )lingkwankamon
 
โครงงาน เรื่องการศึกษาสรรพคุณและประโยชน์ของต้นตะขบ
โครงงานเรื่องการศึกษาสรรพคุณและประโยชน์ของต้นตะขบโครงงานเรื่องการศึกษาสรรพคุณและประโยชน์ของต้นตะขบ
โครงงาน เรื่องการศึกษาสรรพคุณและประโยชน์ของต้นตะขบLatcha MaMiew
 
Rose, Bougainvillea and Ruellia tuberosa Flower Structure Observation by M.5 ...
Rose, Bougainvillea and Ruellia tuberosa Flower Structure Observation by M.5 ...Rose, Bougainvillea and Ruellia tuberosa Flower Structure Observation by M.5 ...
Rose, Bougainvillea and Ruellia tuberosa Flower Structure Observation by M.5 ...bmmg1
 
การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931SasipaChaya
 
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ThanyapornK1
 

Similar to M6 143 60_7 (20)

Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60
 
M6 126 60_3
M6 126 60_3M6 126 60_3
M6 126 60_3
 
The structure of flowers(Minnieroot , morning glory , Frangipani )
The structure of flowers(Minnieroot , morning glory , Frangipani )The structure of flowers(Minnieroot , morning glory , Frangipani )
The structure of flowers(Minnieroot , morning glory , Frangipani )
 
Biocontest2014 happytime
Biocontest2014 happytimeBiocontest2014 happytime
Biocontest2014 happytime
 
โครงงาน เรื่องการศึกษาสรรพคุณและประโยชน์ของต้นตะขบ
โครงงานเรื่องการศึกษาสรรพคุณและประโยชน์ของต้นตะขบโครงงานเรื่องการศึกษาสรรพคุณและประโยชน์ของต้นตะขบ
โครงงาน เรื่องการศึกษาสรรพคุณและประโยชน์ของต้นตะขบ
 
M6 125 60_5
M6 125 60_5M6 125 60_5
M6 125 60_5
 
Rose, Bougainvillea and Ruellia tuberosa Flower Structure Observation by M.5 ...
Rose, Bougainvillea and Ruellia tuberosa Flower Structure Observation by M.5 ...Rose, Bougainvillea and Ruellia tuberosa Flower Structure Observation by M.5 ...
Rose, Bougainvillea and Ruellia tuberosa Flower Structure Observation by M.5 ...
 
การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931
 
M6 126 60_9
M6 126 60_9M6 126 60_9
M6 126 60_9
 
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
 
Biomapcontest2014 powergirls
Biomapcontest2014 powergirlsBiomapcontest2014 powergirls
Biomapcontest2014 powergirls
 
931 pre12
931 pre12931 pre12
931 pre12
 
โครงงาน54เห็ด
โครงงาน54เห็ดโครงงาน54เห็ด
โครงงาน54เห็ด
 
931 pre8
931 pre8931 pre8
931 pre8
 
M6 126 60_7
M6 126 60_7M6 126 60_7
M6 126 60_7
 
Minibook bio 834 group 5
Minibook bio 834 group 5Minibook bio 834 group 5
Minibook bio 834 group 5
 
M6 125 60_7
M6 125 60_7M6 125 60_7
M6 125 60_7
 
M6 125 60_4
M6 125 60_4M6 125 60_4
M6 125 60_4
 
Minibook 932 group 1
Minibook 932 group 1Minibook 932 group 1
Minibook 932 group 1
 
Plant ser 144_60_7
Plant ser 144_60_7Plant ser 144_60_7
Plant ser 144_60_7
 

More from Wichai Likitponrak

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfWichai Likitponrak
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64Wichai Likitponrak
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564Wichai Likitponrak
 

More from Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

M6 143 60_7

  • 1. โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของลําต้นมะลิลา นําเสนอครูผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตําแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 1.น.ส.ปัณฑรีย์ แท่งทอง เลขที่ 7 2.น.ส.ปาลิตา ทองขุนนา เลขที่ 9 3.น.ส.สุพิชญา พ.จานุพิบูล เลขที่ 20 4.นายจิรภาส จารุเมธิตานนท์ เลขที่ 26 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง143 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • 2. บทคัดย่อ การศึกษาผลของจิบเบอเรอลินที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันส่งผลต่อความสูงของลําต้น ของต้นมะลิลา บริเวณหน้าตึก2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาโดยศึกษาเป็นระยะเวลาตั้งแต่วันที่12 มิถนายน 2560- 31 กรกฏาคม 2560โดยมีชุดควบคุม ชุดlow dose และชุด high doseจํานวนชุดละ3ต้น ซึ่งชุดhigh dose มีความเข้มข้น 1% ชุดlow dose มีความเข้มข้น 0.6% มีการวัดผลการทดลองโดยใช้ไม้บรรทัดวัดตั้งแต่ขอบ กระถางไปจนถึงปลายลําต้นของต้นไม้ มีการรดนํ้าต้นไม้ในตอนเย็นทุกวัน ฉีดฮอร์โมนและวัดส่วนสูงใน วันที่17 ก.ค. 2560 , 24 ก.ค. 2560, 31 ก.ค. 2560 ซึ่งก่อนหน้าวันที่17 ก.ค. 2560ทางคณะผู้จัดทําได้ ทําการศึกษาในเรื่องผลของฮอร์โมนที่มีต่อการออกดอกแต่เนื่องจากไม่มีการออกดอก จึงเปลี่ยนเป็นการวัด ส่วนสูงแทน ผลการทดลองพบว่า ชุดควบคุมมีความสูง 38.87ซม. 30.6ซม. และ 26.27 ซม.ม ชุด high doseมีความสูง62.43 ซม.61.83ซม.และ60.67ซม.และชุดlow dose มีความสูง 51.87ซม.72.13ซม.และ74.33 ซม.ซึ่งจะสามารถเห็นได้ว่าความสูงของต้นlow doseสูงที่สุดแต่เมื่อดูจากขนาดของใบพบว่าใบของต้นhigh dose มีขนาดใหญ่มากที่สุด
  • 3. กิตติกรรมประกาศ โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชเรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของ ต้นมะลิลาจะสําเร็จลุล่วงไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากคุณครูประจําวิชา นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ที่ช่วยให้ คําปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน และขอขอบคุณผู้ปกครองที่ให้คําปรึกษาและให้ความ ช่วยเหลือในด้านต่างๆ คณะผู้จัดทําโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทํา
  • 4. สารบัญ หน้า บทที่ 1 บทนํา 1 . . บทที่ 2 4 . . บทที่ 3 15 . . บทที่ 4 17 . . บทที่ 5 20 . บรรณานุกรม 21 ภาคผนวก 22
  • 5. บทที่ 1 บทนํา ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของลําต้นมะลิลา สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 1.น.ส.ปัณฑรีย์ แท่งทอง เลขที่ 7 2.น.ส.ปาลิตา ทองขุนนา เลขที่ 9 3.น.ส.สุพิชญา พ.จานุพิบูล เลขที่ 20 4.นายจิรภาส จารุเมธิตานนท์ เลขที่ 26 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง143 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อาจารย์ผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มาและความสําคัญ เนื่องจากต้นมะลิลามีความสําคัญทางเศรษฐกิจเพราะมะลิสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่าง มากมาย ทําให้ปัจจุบันมะลิกลายเป็นไม้ดอกที่ปลูกเพื่อเป็นการค้า สามารถทํารายได้ให้กับผู้ปลูกได้เป็นอย่าง ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาวดอกมะลิจะมีราคาแพงมาก นอกจากประโยชน์ที่มากมายแล้วมะลิยัง ก่อให้เกิดอาชีพต่างๆ ตามมามากมาย เช่น เกษตรกรผู้ปลูกดอกมะลิ ขยายพันธุ์และจําหน่ายต้นพันธุ์มะลิ อาชีพทําพวงมาลัย ทําพวงหรีด อาชีพขายพวงมาลัยและดอกมะลิตามตลาดทั่วไป ตลอดจนถึงเด็กที่วิ่งขาย พวงมาลัยตามที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ด้วย จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของมะลิมีส่วนช่วยสร้างรายได้ให้กับ ประชาชนได้มากอย่างหนึ่ง มะลิจึงนับเป็นไม้ดอกที่มีความสําคัญยิ่งชนิดหนึ่ง และนับวันจะมีความสําคัญ มากยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่นแล้วมะลิเป็นพืชที่ปลุกง่าย ทนทาน และทํารายได้ดีกว่าไม้ดอก ชนิดอื่นหลายชนิดและเนื่องจากมะลิเป็นส่วนสําคัญในการใช้ร้อยพวงมาลัยเพื่อนํามาไหว้พระซึ่งมี ความสําคัญในชีวิตประจําวันทําให้คณะผู้จัดทํามีความสนใจในการเลือกต้นมะลิลามาทดลอง นอกจากนี้ ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินช่วยเพิ่มผลผลิตเป็นสารที่มีผลในการยืดตัวของเซลล์และช่วยในการเติบโตของใบจึง ใช้เพิ่มผลผลิตและช่วยเพิ่มการติดผลเพิ่มขนาดผลยืดความยาวของช่อดอกและผลสามารถเปลี่ยนเพศดอกได้ กระตุ้นการแทงช่อดอกชะลอการแก่และการสุกซึ่งเป็นประโยชน์ในการเก็บรักษาผลผลิตทําลายการพักตัว ของตาและเมล็ดทําให้ช่วยเพิ่มการงอกเนื่องจากฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมีผลในการยืดตัวของเซลล์และความ สูงของพืชเกิดจากการยืดตัวของเซลล์
  • 6. คณะผู้จัดทําโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช จึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอ เรลลินที่มีต่อความสูงของลําต้นมะลิลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบว่าระหว่างความเข้มข้น Low dose High dose หรือแบบควบคุม แบบใดทําให้ลําต้นมะลิลาเจริญดีที่สุดคณะผู้รับผิดชอบโครงงานการ ทดลองฮอร์โมนพืชมีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลที่ได้จะมีประโยชน์ต่อการศึกษาเกี่ยวกับฮอร์โมนจิบเบอ เรลลินในอนาคตต่อไป คําถามการทําโครงงาน สารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้นใดจะส่งผลให้ต้นมะลิลามีความสูงมากที่สุด สมมติฐานการทดลอง ถ้าฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้น 1% มีผลต่อลําต้นเจริญดีที่สุด ดังนั้น สารละลายฮอร์โมนจิบเบอ เรลลินที่ความเข้มข้น 1%จะทําให้ลําต้นมีความสูงมากที่สุด วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1.เพื่อศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นมะลิลา 2.เพื่อเปรียบเทียบว่าฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้นใดทําให้ต้นมะลิลาเจริญดีสุด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินต่อส่วนต่างๆของพืช 2.ได้ศึกษาเปรียบเทียบความเข้มข้นแบบ Low dose และ High dose 3.เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง ขอบเขตของโครงงาน การทําโครงงานครั้งนี้คณะผู้รับผิดชอบมุ่งเน้นที่จะศึกษาเฉพาะลําต้นมะลิลา ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ตัวแปรต้น คือ ความเข้มข้นของจิบเบอเรลลิน ตัวแปรตาม คือ ความสูงของต้นมะลิลา ตัวแปรควบคุม คือ อุณหภูมิ ปริมาณดิน ปริมาณนํ้า แสงแดด
  • 7. ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน 12 มิถุนายน 2560 –31 กรกฎาคม 2560 วิธีการเก็บข้อมูล ใช้ไม้บรรทัดที่มีมาตรฐานวัดความสูงของต้นไม้โดยวัดจากขอบกระถางจนถึงปลายยอดพร้อมจด บันทึกผลการวัดความสูงลงในตารางแบบบันทึกที่ได้ออกแบบไว้ วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล หาความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของลําต้นมะลิลากับความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ใช้ ในรูปแบบกราฟแท่งและกราฟเส้น
  • 8. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 1.ต้นมะลิลา มะลิ ชื่อสามัญ Arabian jasmine, Seented star jusmine, Jusmine, Kampopot มะลิ ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminumsambac (L.) Aiton, จัดอยู่ในวงศ์มะลิ (OLEACEAE) มะลิ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), มะลิซ้อน มะลิลา (ภาคกลาง), มะลิ มะลิลา มะลิซ้อน (ทั่วไป), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ งสอน), บักหลี่ฮวยเซียวหนํ่าเคี้ยง (จีน), หม้อลี่ฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น ลักษณะของต้นมะลิ ต้นมะลิ มีถิ่นกําเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบประเทศเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบียโดยจัดเป็นไม้ พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม มีใบแน่น มีความสูงประมาณ 5 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ลํา ต้น อแอขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชํา (ในช่วงฤดูฝนเป็นวิธีการที่ดีที่สุด) และการตอนกิ่ง (เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี) เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดจัด การให้นํ้ามากเกินไปจะทําให้ ออกดอกน้อยลง และการตัดแต่งใบภายหลังการออกดอกชุดใหญ่จะทําให้การออกดอกดีขึ้น (ทั้งจํานวนและ ขนาดของดอก) ใบมะลิ ใบออกเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยใบเดียว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปมนป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบ มีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบมันเป็นสีเขียวแก่ ที่ ท้องใบเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นใบมีขนาดใหญ่ มีประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบมีขนาดสั้นมากและมีขน
  • 9. ดอกมะลิ ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ลักษณะของดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกไม่ซ้อน ดอก ซ้อนเราจะเรียกว่า “มะลิซ้อน” ส่วนดอกที่ไม่ซ้อนจะเรียกว่า “มะลิลา” โดยทั้งสองชนิดจะเป็นดอกสีขาว และมีกลิ่นหอม ซึ่งดอกมะลิลาจะมีกลิ่นหอมมากกว่าดอกมะลิซ้อนขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาด กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมะลิลาปลายแยกเป็น 5-8 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมสีเหลือง อ่อน ส่วนปลายแยกเป็นเส้น มีเกสรเพศผู้2 ก้านติดกับกลีบดอกในหลอดสีขาว และมักไม่ติดผล ผลมะลิ ผลเป็นผลสด สรรพคุณของมะลิ ดอกมะลิมีรสหอมเย็น มีสรรพคุณบํารุงหัวใจ ทําให้ชื่นใจ จิตใจชุมชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกําลัง ชาวโอรังอัสลี ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะใช้รากนําไปต้มแล้วดื่มนํ้าเป็นยาแก้เบาหวาน หากมีอาการ นอนไม่หลับ ให้ใช้รากแห้งประมาณ 1-1.5 กรัมนํามาฝนกับนํ้ารับประทาน ดอกสดนํามาตําให้ละเอียดใช้ พอกขมับ จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้หรือจะใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัมนํามาต้มกับนํ้าดื่มเป็นยาแก้ ปวดศีรษะก็ได้ช่วยแก้เจ็บตา รากสดใช้ทําเป็นยาล้างตาแก้เยื่อตาอักเสบใบและรากใช้ทําเป็นยาหยอดตา บ้าง ว่าใช้ดอกมะลิสดที่ล้างนํ้าสะอาด นํามาต้มกับนํ้าจนเดือดสักครู่ แล้วนํานํ้าที่ได้มาใช้ล้างตาแก้ตาแดง เยื่อตา ขาวอักเสบ ช่วยแก้อาการเจ็บหู ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนํามาทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจน ร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด หากปวดฟันผุให้ใช้รากมะลิตากแห้งนํามาบดให้เป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุก แล้วจนได้ยาที่เหนียวข้น ใช้ใส่ในรูฟันผุ ดอกและใบมีรสเผ็ดชุ่ม เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
  • 10. ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายนํ้า ขับเหงื่อขับความชื้น แก้ไข้หวัดแดดรากใช้ฝนกับนํ้าเป็นยาแก้ร้อนใน ใช้ใบ สดประมาณ 3-6 กรัม นํามาต้มกับนํ้ารับประทานเป็นยาแก้ไข้ตํารับยาแก้หวัดแดด มีไข้ให้ใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 9 กรัมนํามารวมกันต้มกับนํ้ารับประทาน ดอกสดนํามาตําใส่พิมเสน ใช้สุมหัวเด็กแก้ซาง แก้หวัด แก้ตัวร้อน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัมนํามาต้มกับนํ้ารับประทาน ดอกแก่ใช้เข้ายาหอมเป็นยาแก้หืด ช่วยแก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ ด้วยการ ใช้รากสด 1-1.5 กรัมนํามาต้มกับนํ้ารับประทาน รากใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ดอกสดนํามาตําให้ ละเอียดใช้พอกหรือเช็ดบริเวณเต้านมเพื่อให้หยุดการหลั่งของนํ้านมได้ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นํามาต้ม กับนํ้ากินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืดแน่น หรือจะใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม, เมล็ด เฉาก๊วย 9 กรัม นํามารวมกันต้มกับนํ้ากินเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย ช่วยแก้อาการเสียดท้อง ใช้ดอก สดหรือดอกแห้งประมาณ 1.5-3 กรัม นํามาต้มกับนํ้ารับประทานเป็นยาแก้โรคบิด แก้อาการปวดท้อง ชาวโอ รังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะนําใบอ่อนใสแช่ในนํ้าเย็น ใช้ดื่มแก้นิ่วในถุงนํ้าดี ช่วยบํารุงครรภ์ รักษา ช่วยขับประจําเดือนของสตรี ดอกสดนํามาตําใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง ทาฝีหนอง ผิวหนังผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ และแก้ปวดหูชั้นกลาง ช่วยแก้ฝีหนอง ใบสดนํามาตําใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แผลโรคผิวหนัง เรื้อรัง แก้ฟกชํ้า และบาดแผล หรือใช้ใบสดนํามาตําให้ละเอียดผสมกับนํ้ามันมะพร้าวใหม่ ๆ นําไปลนไฟ ใช้ทารักษาแผล ฝีพุพอง รากมีรสเผ็ดขม เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาชา ยาแก้ปวด ให้ใช้รากสด ประมาณ 1-1.5 กรัม นํามาต้มกับนํ้ารับประทานเป็นยาแก้ปวด ใช้แก้กระดูกร้าว ฟกชํ้า ให้ใช้รากแห้ง 1.5 กรัม นํามาฝนกับเหล้ารับประทาน หรือจะใช้รากสดตําพอกแก้ฟกชํ้า เคล็ดขัดยอกเนื่องจากการหกล้ม ใบ ช่วยขับนํ้านมของสตรี ตํารายาไทยจะใช้ดอกมะลิแห้งปรุงเป็นยาหอม โดยจัดให้ดอกมะลิอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 5, พิกัดเกสรทั้ง 7, พิกัดเกสรทั้ง 9 เป็นตํารับยาที่มีสรรพคุณแก้ไข้ช่วยทําให้จิตใจชุ่มชื่น นอกจากนี้ยังมีการนําดอกมะลิผสมเข้ายาหอมที่มีสรรพคุณบํารุงหัวใจ ทําให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ลม วิงเวียน เช่น ในตํารับยาหอมเทพจิต ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมนวโกฐ และยาหอมอินทจักร์ ซึ่งมี ส่วนประกอบหลักเป็นดอกมะลิ และยังใช้เป็นส่วนผสมในตํารับยาแก้ไข้มิรู้จักสติสมปฤดี ยาประสะจันทน์ แดง ยามหานิลแท่งทอง เป็นต้น
  • 11. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะลิ ดอกมะลิ มีนํ้ามันระเหยประมาณ 0.2-0.3% ซึ่งในนํ้ามันระเหยจากดอกมะลิพบสาร Benzyl alcohol, Benzyl alcohol ester, Benzyl acetate, Cadinene, Caryophyllene, Geraniol, hexenyl benzoate, Jasmone, Jasmine lactone, Linalool (สารที่ทําให้ดอกมะลิลามีกลิ่น), Methyl benzoate, Methyl jasmonte, และพบสาร Pipid, Linalyl benzoate ส่วนในใบพบสาร Jasmine, Sambacinและรากพบสาร Alkaloids, Sterols เป็นต้น ใบและลําต้นของมะลิลาพบสารสําคัญหลายกลุ่ม เช่น flavonoid, triterpenoid, irridoid glycoside เช่น sambacin, sambacoside A, E, F, jasminin, benzyl acetate, cis-linalool oxide, d-fenchene, quercetin, isoquercetin, limonene, linalool, methyl benzoate, kaempferol-3-rhamnooglycoside, methyl salicylate, myrcene, rutin, trans-3-hexenyl butyrate สาร jasmolactone B และ D ที่แยกได้จากดอกมะลิพวงออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดโคโรนารี (coronary vasodilating) และกระตุ้นหัวใจ (cardiotropic activities) จึงอาจสนับสนุนการใช้ดอกมะลิในตํารับ ยาหอมในการรักษาอาการวิงเวียน เป็นลม ที่มีการใช้ในยาไทยมาแต่โบราณนํ้าคั้นที่ได้จากรากสดของต้น มะลิ เมื่อนํามาทดลองกับสัตว์ทดลอง เช่น การนํามาฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูใหญ่ หนูตะเภา สุนัข กระต่าย กบ และนกพิราบในปริมาณที่ไม่เท่ากัน พบว่าจะทําให้การเต้นหัวใจของกระต่ายและกบเต้นช้าลง ทําให้กล้ามเนื้อของกบคลายตัว ทําให้หลอดเลือดดําของกระต่ายขยายตัวขึ้น และทําให้มีฤทธิ์ในการกด ประสาทของกระต่าย ทําให้กระต่ายเคลื่อนไหวได้ช้าลง เมื่อนํารากที่สกัดด้วยนํ้ามาทดลองกับหัวใจของกบและกระต่ายที่อยู่นอกตัว พบว่าจะทําให้หัว ใจเต้นช้าลง และเมื่อนํามาทดลองกับมดลูกที่อยู่นอกตัวของหนูและกระต่ายทดลอง จะพบว่ามีฤทธิ์กระตุ้น มดลูกที่ตั้งท้องและไม่ได้ตั้งท้องให้เกิดการบีบตัวแรงขึ้น เมื่อนําสารสกัดจากรากของต้นมะลิด้วยแอลกอฮอล์หรือนํ้าในปริมาณ 1-8 กรัมต่อ 1 กิโลกรัม นํามา ฉีดข้าทางช่องท้องของสัตว์ทดลอง เช่น หนู กระต่าย กบ สุนัข พบว่าจะทําให้สัตว์ทดลองมีอาการหลับได้ดี ทําให้หลับสบาย และช่วยทําให้สงบนิ่ง แต่ถ้าใช้สารนี้ในปริมาณมากขึ้น แล้วนํามาฉีดให้กบจะทําให้กบเป็น อัมพาตทั้งตัว จึงแสดงให้เห็นว่าสารดังกล่าวมีฤทธิ์ในการยับยั้งประสาทส่วนกลางของสัตว์ นํ้ามันระเหยจากดอกมะลิลา มีผลช่วยทําให้ระยะเวลาการหลับของยา pentobarbital สั้นลง โดยไป การกระตุ้นประสาทสัมผัสกลิ่น และสารสําคัญคือ phytol กลิ่นชามะลิที่มีสารสําคัญ (R)-(-)-linalool พบว่า
  • 12. สามารถช่วยทําให้สงบในอาสาสมัคร 24 คน จากการทดสอบตํารับยาที่มีนํ้ามันหอมระเหยในตํารับ 3-20% (โดยมีนํ้ามันหอมระเหยจากมะลิคิดเป็น 50-90%) พบว่ามีฤทธิ์กระต้นความรู้สึกทางเพศ สารสกัดเมทานอลจากดอกมะลิลาแห้งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus sanguinisที่เป็น สาเหตุให้เกิดฟันผุ โดยมีค่าความเข้มข้นตํ่าสุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 1 mg/ml ดังนั้นสารสกัด ดังกล่าวจึงมีผลต่อสุขภาพในช่องปาก สาร benzyl benzoate, caryophyllene oxide, farnesyl acetate, methyl isoeugenolจากดอกมะลิ ลาออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosaและเชื้อรา Aspergillusniger นํ้ามันหอมระเหยจากดอกมะลิลามีฤทธิ์ในการไล่หมัดได้ดีกว่าสารเคมี diethyltoluamide จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าสารสกัดจากดอกมะลาด้วยนํ้าและแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 1:1 ในขนาดเทียบเท่ากับยาผง 10 กรัมต่อกิโลกรัมไม่เป็นพิษต่อหนูถีบจักร ไม่ว่าจะให้ด้วยการฉีดเข้าใต้ ผิวหนังหรือให้ด้วยการป้อน ส่วนสารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นด้วยนํ้าและแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 เมื่อทําการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่ทําให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง มีค่าเท่ากับ1 กรัมต่อกิโลกรัม ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรมะลิ รากมะลิหากรับประทานมาก ๆอาจทําให้สลบได้ดอกมะลิที่นํามาใช้แต่งกลิ่นชาไม่ควรนํามา รับประทานเป็นประจํา เพราะอาจทําให้ความจําเสื่อมหรือเป็นคนลืมง่ายดอกมะลิเป็นยารสหอมเย็น อย่าใช้ มากเกินไป เพราะจะไปแสลงกับโรคลมจุกเสียดแน่นการดื่มนํ้าลอยดอกมะลิเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังอย่าง ยิ่ง เพราะในปัจจุบันการปลูกและการดูแลรักษามะลิก็เพื่อการค้าเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจมีการใช้สารเคมีชนิด ต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก ประโยชน์ของมะลิ ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและยังมีสีขาวบริสุทธิ์ คนไทยนิยมยกย่องดอกมะลิให้เป็นดอกไม้ ของวันแม่แห่งชาติและดอกมะลิลายังเป็นดอกไม้ประจําชาติของประเทศฟิลิปปินส์อีกด้วย
  • 13. นิยมเก็บดอกเพื่อนํามาร้อยเป็นพวงมาลัย หรือใช้ทําดอกไม้แห้ง ใช้ในอุตสาหกรรมนํ้ามันหอมระเหย ใช้ แต่งกลิ่นใบชา ใช้อบขนมต่าง ๆ ในทางสุคนธบําบัด (Aromatherapy) หรือการบําบัดโดยการใช้กลิ่นหอม จะใช้นํ้ามันหอมระเหย ของดอกมะลิ ในการกระตุ้นระบบประสาทสําหรับผู้ที่มีภาวะอ่อนล้าทางจิตใจ เฉื่อยชา อ่อนเพลีย ง่วง ช่วย ปรับอารมณ์และสภาพสมดุลของจิตใจให้ดีขึ้น บรรเทาอาการปวดศีรษะ ความเครียด ความกลัว และช่วย บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ส่งกลิ่นหอม ตลอดทั้งวัน ยิ่งในช่วงที่มีอุณหภูมิตํ่าจะยิ่งส่งกลิ่นแรง เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ปลูกได้ง่าย ปลูกได้ดีทั้งในพื้นที่ แคบหรือในกระถาง เจริญเติบโตเร็ว ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน และสามารถควบคุมการออกดอกได้ โดยการควบคุมการให้นํ้าและการใส่ปุ๋ ยอย่างเหมาะสมในด้านของความเชื่อ คนไทยเชื่อว่าการปลูกต้นมะลิ ไว้เป็นไม้ประจําบ้าน จะทําให้มีความสงบสุข ร่มเย็น เป็นที่ประทับใจแก่ผู้คนรอบข้าง ช่วยเกื้อหนุนให้เกิด ความกตัญ�ูของผู้เป็นลูกที่มีต่อแม่ และเพื่อความสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ และให้ปลูกในวันพุธเพื่อเอาคุณ โดยผู้ปลูกควรเป็นสตรีที่สูงอายุเพราะเป็นผู้ที่มีความ รับผิดชอบสูง และยังเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีเป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไป โดยต้นมะลิที่นิยมปลูกไว้ ในบ้านเพื่อความเป็นมงคลมีอยู่5 ชนิดด้วยกัน คือ มะลิซ้อน มะละฉัตร มะลิพวง มะลิวัลย์และพุทธชาด นอกจากนี้ต้นมะลิยังเป็นต้นไม้ประจําวันเกิดของผู้เกิดวันจันทร์อีกด้วย ซึ่งหมายถึงความนุ่มนวลอ่อนโยน และเรียบร้อย 2.ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน(Gibberellins) การค้นพบกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่ปัจจุบันเรียกว่าจิบเบอเรลลินนั้น เกิดประมาณปี 1920 เมื่อ Kurosawa นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ศึกษาในต้นข้าวที่เป็นโรค Bakanaeหรือโรคข้าวตัวผู้ ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Gibberellafujikuroiหรือ Fusariummoniliformeซึ่งทําให้ต้นข้าวมีลักษณะสูงกว่าต้นข้าวปกติ ทําให้ล้มง่าย จากการศึกษาพบว่า ถ้าเลี้ยงเชื้อราในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวแล้วกรองเอาเชื้อราออกไปเหลือแต่อาหารเลี้ยงเชื้อ เมื่อนําไปราดต้นข้าวจะทําให้ต้นข้าวเป็นโรคได้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่า เชื้อราชนิดนี้สามารถสร้างสารบางชนิด ขึ้นในต้นพืชหรือในอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งกระตุ้นให้ต้นข้าวเกิดการสูงผิดปกติได้ในปี 1939 ได้มีผู้ตั้งชื่อสารนี้ ว่าจิบเบอเรลลิน การค้นพบจิบเบอเรลลิน เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่พบออกซิน การศึกษาส่วนใหญ่จึงเน้นไป ทางออกซิน ส่วนการศึกษาจิบเบอเรลลินในช่วงแรกจะเป็นไปในแง่ของโรคพืช ในการศึกษาขั้นแรก
  • 14. ค่อนข้างยากเพราะมักจะมีกรดฟิวซาริค (Fusaric Acid) ปะปนอยู่ซึ่งเป็นสารระงับการเจริญเติบโต ความรู้ เกี่ยวกับโครงสร้างและส่วนประกอบทางเคมีของจิบเบอเรลลินนั้นได้รับการศึกษาในปี 1954โดยนักเคมีชาว อังกฤษซึ่งสามารถแยกสารบริสุทธิ์จากอาหารเลี้ยงเชื้อรา Gibberellafujikuroiและเรียกสารนี้ว่ากรดจิบเบอ เรลลิค (Gibberellic Acid)การให้กรดจิบเบอเรลลิคกับพืชที่สมบูรณ์ทั้งต้น จะเร่งให้เกิดการยืดตัวเพิ่มขึ้นของ ลําต้นและใบอย่างผิดปกติ การตอบสนองจะปรากฏเด่นชัดเมื่อให้กรดนี้กับพืชที่เตี้ยแคระโดยพันธุกรรม เพราะจะกระตุ้นให้พืชเหล่านี้เจริญสูงตามปกติ กรดจิบเบอเรลลิคที่พบในอาหารเลี้ยงเชื้อรานั้นมี โครงสร้างทางเคมี และกิจกรรมทางชีววิทยาเหมือนกับกรดจิบเบอเรลลิคในพืชปกติทุก ๆ ชนิด (พืชปกติ หมายถึงพืชที่ไม่เป็นโรค) มีสารประกอบประเภทนี้จํานวนมากที่แยกเป็นสารบริสุทธิ์ได้จากพืชชั้นสูง ใน ปัจจุบันมีจิบเบอเรลลินซึ่งเป็นชื่อเรียกทั่ว ๆ ไปของสารประกอบประเภทนี้ ประมาณไม่น้อยกว่า 80 ชนิด ชื่อเรียกสารประกอบชนิดนี้จะตั้งชื่อดังนี้ คือ Gibberellins A1 (GA1), A2, A3 เป็นต้น โดยที่กรดจิบเบอ เรลลิค คือ GA3GA ทุกชนิดจะมีโครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลเป็น Gibberellane Carbon Skeleton ซึ่งจะ เหมือนกับกรดจิบเบอเรลลิค จะแตกต่างกันตรงจํานวนและตําแหน่งของกลุ่มที่เข้าแทนที่ในวงแหวนและ ระดับของความอิ่มตัวของวงแหวน A GA ประกอบด้วยคาร์บอนประมาณ 19-20 อะตอม ซึ่งจะ รวมกันเป็นวงแหวน 4 หรือ 5 วงและจะต้องมีกลุ่มคาร์บอกซิลอย่างน้อย 1 กลุ่ม โดยใช้ชื่อย่อว่า GA ซึ่ง GA3 เป็นชนิดที่พบมากและได้รับความสนใจศึกษามากกว่าชนิดอื่นๆ GA เป็นฮอร์โมนที่พบในพืช ชั้นสูงทุกชนิด นอกจากนั้นยังพบในเฟิร์น สาหร่าย และเชื้อราบางชนิด แต่ไม่พบในแบคทีเรีย การสังเคราะห์จิบเบอเรลลิน จิบเบอเรลลินเป็นฮอร์โมนพืชซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีเป็นไดเทอพีนส์ (diterpenes) ซึ่งเป็น สารประกอบที่เกิดตามธรรมชาติในพืช ในกลุ่มของเทอพีนอยส์ (Terpenoids) การสังเคราะห์ GA จึงเกิดมา จากวิถีการสังเคราะห์สารเทอพีนอยส์ โดยที่มีบางส่วนยังไม่เข้าใจเด่นชัดนักการสังเคราะห์ GA สาร เริ่มต้นเป็นกรดเมวาโลนิค (Mevalonic Acid) เปลี่ยนไปตามวิถีจนเกิดเป็นกรดคอรีโนอิค (Kaurenoic Acid) แล้วจึงเปลี่ยนไปเป็น GA ซึ่งวิถีในช่วงที่เปลี่ยนไปเป็น GA ชนิดต่าง ๆ นี้ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก สารชนิด แรกที่มีวงแหวนของ Gibberellaneคือ อัลดีไฮด์ของ GA12 ในปัจจุบันมีสารชะงักการเจริญเติบโต เช่น CCC หรือ Cycocel AM0-1618 Phosfon-D และ SADH หรือ Alar ซึ่งใช้กันมากในการเกษตร สารเหล่านี้บางชนิดสามารถระงับ กระบวนการสังเคราะห์จิบ
  • 15. เบอเรลลินได้เช่น AMO-1618 สามารถระงับการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินในอาหารสํารอง (Endosperm) ของแตงกวาป่า โดยระงับในช่วงการเปลี่ยน Geranylgeranyl pyrophosphate ไปเป็น Kaureneในทํานอง เดียวกัน CCC สามารถระงับกระบวนการนี้ได้ด้วยจากการศึกษาโดยวิธี Diffusion Technique แสดงให้เห็น ว่าใบอ่อน ผลอ่อนและต้นอ่อนเป็นส่วนที่สร้าง GA ของพืช รากพืชอาจจะสามารถสร้าง GA ได้บ้าง แต่ GA มีผลต่อการเจริญของรากน้อยมาก และอาจจะระงับการสร้างรากแขนงพวก Adventitious Root ด้วย ในปัจจุบันยังไม่มีการสังเคราะห์ GA เนื่องจากกระบวนการสร้างซับซ้อนและต้องใช้เอนไซม์หลายชนิด GA ที่พบในปัจจุบันจึงเป็นสารธรรมชาติทั้งสิ้นการสลายตัวของจิบเบอเรลลินความรู้ทางด้านนี้ยังมีไม่มาก นัก แต่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าจิบเบอเรลลินมีกิจกรรมทางสรีรวิทยาอยู่ได้เป็นระยะเวลานานใน เนื้อเยื่อพืช ซึ่งตรงกันข้ามกับออกซินที่สลายตัวเร็วในเนื้อเยื่อพืช และในเนื้อเยื่อพืชที่มีจิบเบอเรลลินอยู่สูง จะไม่แสดงผลเสีย แต่ถ้าเนื้อเยื่อพืชมีปริมาณออกซินสูงเกินไป ออกซินจะทําลายเนื้อเยื่อพืชได้ ซึ่งอาจจะ เกิดมาจากการที่ออกซินกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์เอทธิลีนในต้นพืช อาจจะเป็นด้วยสาเหตุนี้ที่พืชต้องมี กระบวนการสลายออกซินเพื่อไม่ให้มีการสะสมออกซินในต้นพืชมากเกินไป อย่างไรก็ตามจิบเบอเรลลิน สามารถเปลี่ยนจากชนิดหนึ่งไปเป็นจิบเบอเรลลินอีกชนิดหนึ่งได้ในเนื้อเยื่อพืช ยิ่งไปกว่านั้นในเนื้อเยื่อพืช ยังมีจิบเบอเรลลินในรูปของไกลโคไซด์(Glycosides) ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการทําให้จิบเบอเรลลินไม่ สามารถแสดงคุณสมบัติออกมา กรดจิบเบอเรลลิค ซึ่งอยู่ในสภาพสารละลายถูกทําให้สลายตัวได้โดยใช้ Acid Hydrolysis ที่อุณหภูมิสูงและได้ผลิตภัณฑ์คือกรดจิบเบอเรลลีนิค (Gibberellenic Acid) และกรด จิบเบอริค (Gibberic Acid) การหาปริมาณจิบเบอเรลลิน 1. ใช้วิธีโครมาโตกราฟ เช่น GC หรือ Gas Chromatographและ Paper Chromatograph 2. ใช้วิธี Bioassay โดยการที่จิบเบอเรลลินสามารถทําให้พืชแคระ (ข้าวโพดและถั่ว) เจริญเป็นต้นปกติได้ หรือโดยการที่จิบเบอเรลลินสามารถป้องกันการเกิดการเสื่อมสลาย (Senescence) หรือโดยหาปริมาณจิบ เบอเรลลินจากการกระตุ้นให้เมล็ดข้าวบาร์เลย์สร้างเอนไซม์แอลฟา อะไมเลส( a-amylase) ในอาหารสํารอง ความสัมพันธ์ของโครงสร้างของโมเลกุลและกิจกรรมของจิบเบอเรลลิน ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของโมเลกุล และกิจกรรมทางสรีรวิทยาของ จิบเบอเรลลิน ยังมี การศึกษาน้อยกว่าออกซิน ตามที่กล่าวแล้วว่า ในปัจจุบันมีจิบเบอเรลลินมากกว่า 80 ชนิด ซึ่งได้จากแหล่งใน
  • 16. ธรรมชาติ เช่นจาก Gibberellafujikuroiและจากพืชชั้นสูง โครงสร้างของ GA ต่างชนิดกันจะคล้ายคลึงกัน เพราะจะมีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกันมีลักษณะที่แตกต่างกันที่จํานวนของกลุ่มคาร์บอกซิลและความ อิ่มตัวของวงแหวน A ในปัจจุบันความรู้เหล่านี้ทําให้ทราบว่าโมเลกุลที่จะมีคุณสมบัติของจิบเบอเรลลินได้ นั้นต้องมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับจิบเบอเรลลินที่เกิดในธรรมชาติ ในทางตรงกันข้ามสารไดเทอร์พีนอยด์ซึ่ง เกิดตามธรรมชาติซึ่งเรียกว่าสะตีวีออล (Steviol) ซึ่งไม่มีโครงสร้างพื้นฐานจิบเบน (Gibbane) แต่มี คุณสมบัติในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชอย่างอ่อน ๆ คล้ายคลึงกับจิบเบอเรลลิน อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นเพราะว่าการเปลี่ยนสะตีวีออล โดยเอนไซม์ของพืชไปสู่รูปที่มีกิจกรรมมากกว่าที่จะมีกิจกรรม ของฮอร์โมนด้วยตัวเองเป็นที่สังเกตว่า จิบเบอเรลลินที่พบในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการ เจริญเติบโตได้ไม่เท่ากัน และความจริงกิจกรรมของจิบเบอเรลลินซึ่งทดสอบกับพืชต่างชนิดกันหรือคนละ พันธุ์กัน สามารถใช้แยกชนิดของจิบเบอเรลลินได้การเคลื่อนย้ายของจิบเบอเรลลินในต้นพืชจิบเบอเรลลิน สามารถเคลื่อนย้ายหรือเคลื่อนที่ในพืชได้ทั้งทางเบสิพีตัล และ อะโครพีตัล และการเคลื่อนที่ไม่มีโพลาริตี้ การเคลื่อนย้ายเกิดขึ้นทั้งในส่วนของท่ออาหารและท่อนํ้า แต่การเคลื่อนที่ของจิบเบอเรลลินจากยอดอ่อนลง มาสู่ส่วนล่างของลําต้นนั้นไม่ได้เกิดในท่อนํ้าท่ออาหารเพราะส่วนของยอดอ่อนเป็นส่วนที่ดึงอาหารและ ธาตุอาหารให้เคลื่อนที่ขึ้นไปแบบ อะโครพีตัล ดังนั้นจิบเบอเรลลินจึงไม่ได้เคลื่อนที่ทางท่ออาหาร และยัง ไม่ทราบวิถีการเคลื่อนที่แน่ชัดกลไกในการทํางานของจิบเบอเรลลินการศึกษาด้านกลไกในการทํางานของ จิบเบอเรลลินเกิดจากการที่พบว่ามีระดับของกิจกรรมของเอนไซม์หลายชนิดมีผลกระทบจากปริมาณของจิบ เบอเรลลิน เอนไซม์ซึ่งมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับจิบเบอเรลลิน คือ เอนไซม์แอลฟาและเบตา-อะมัยเลส (a และ b-amylase) โปรตีเอส (Protease) และไรโบนิวคลีเอส (Ribonuclease) ซึ่งพบในเมล็ดข้าวบาร์เลย์ซึ่ง กําลังงอก นอกจากนั้นในพืชบางชนิดยังพบว่ากิจกรรมของไนเตรท รีดักเตส (Nitrate Reductase) และ ไรบูโลสฟอสเฟสคาร์บอกซิเลส (Ribulose Phosphate Carboxylase) มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นด้วยในต้นอ้อยนั้น พบว่า ผลของจิบเบอเรลลินจะชะลอการสังเคราะห์อินเวอร์เทส (Invertase) และเพอรอกซิเดส (Peroxidase) ความสนใจในกลไกการทํางานของจิบเบอเรลลิน จึงเน้นไปที่การศึกษาว่าจิบเบอเรลลินควบคุมกิจกรรม ของเอนไซม์ได้เพราะเป็นผลเนื่องมาจากเปลี่ยนแปลงการสังเคราะห์โปรตีนโดยการศึกษาตัวอย่างของระดับ กิจกรรมของเอนไซม์ซึ่งถูกควบคุมโดยจิบเบอเรลลิน ทํากันมากในเอนไซม์ แอลฟา อะมัยเลส ในเมล็ดข้าว บาร์เลย์ ในเมล็ดข้าวบาร์เลย์ที่แห้งที่ยังไม่ดูดซับนํ้าจะไม่มีเอนไซม์แอลฟา อะมัยเลสปรากฏอยู่ เอนไซม์ นี้จะปรากฏขึ้นและปลดปล่อยออกมาจากชั้นของอะลีโรนของเมล็ด เป็นการตอบสนองต่อจิบเบอเรลลินซึ่ง สังเคราะห์จากต้นอ่อนที่กําลังงอก เนื้อเยื่อชั้นอะลีโรนซึ่งแยกจากเมล็ดที่ไม่งอกจะมีกิจกรรมของแอลฟา อะ มัยเลส น้อยมาก แต่ถ้านําเนื้อเยื่อนี้ไปแช่ในจิบเบอเรลลินจะทําให้เกิดการเพิ่มกิจกรรมของแอลฟา อะมัยเล
  • 17. สมากขึ้นโดยเกิดขึ้นหลังจากแช่ไว้นาน 8 ชั่วโมงแล้ว การกระตุ้นให้เกิดการสร้างแอลฟา อะมัยเลสนี้ จะ ชะงักไปเมื่อใช้สารระงับการสังเคราะห์ RNA และโปรตีน รวมอยู่ในสารละลายจิบเบอเรลลิน ซึ่งจากการ ทดลองดังกล่าวแสดงว่าจิบเบอเรลลินควบคุมกิจกรรมของแอลฟา อะมัยเลส ผ่านทางการสังเคราะห์ RNA สารชะงักการสังเคราะห์ RNA เช่น แอคติโนมัยซิน-ดี (Actinomycin-D) จะชะงักกระบวนการกระตุ้นการ สังเคราะห์ RNA 2-3 ชั่วโมง หลังจากเติมจิบเบอเรลลิน ในขณะที่สารชะงักการสังเคราะห์โปรตีน เช่น ไซ โคลเฮคซิไมด์(Cycloheximide) จะระงับการปรากฏของกิจกรรมของแอลฟา อะมัยเลส หลังจากช่วง "lag" เริ่มต้นกลไกในการทํางานขั้นแรกของจิบเบอเรลลินนั้นจะเปลี่ยนระบบเยื่อหุ้มเซลล์แล้วจึงจะไปมีผล ในการกระตุ้นการสังเคราะห์ RNA และโปรตีน นั่นคือในการกระตุ้นระยะสั้นจะเกี่ยวข้องกับระบบเยื่อหุ้ม เซลล์ในระยะยาวจะเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ RNA และโปรตีน กลไกที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนระบบของ เยื่อหุ้ม คือ เพิ่มการสังเคราะห์เยื่อหุ้มทําให้เกิดเอนโดพลาสมิคเรตติคิวลัม มากขึ้น และกระตุ้นการสร้างเวส ซิเคิลซึ่งมีเอนไซม์อยู่ภายใน นอกจากนั้นยังกระตุ้นให้มีการปลดปล่อย แอลฟา อะมัยเลส ผ่านเยื่อหุ้ม เซลล์ออกมา บทบาทของจิบเบอเรลลินที่มีต่อพืช 1. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชทั้งต้น จิบเบอเรลลินมีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งสามารถกระตุ้นการ เจริญเติบโตของพืชทั้งต้นได้โดยทําให้เกิดการยืดตัวของเซลล์ซึ่งผลนี้จะต่างจากออกซินซึ่งสามารถกระตุ้น การเจริญเติบโตของชิ้นส่วนของพืชได้พืชบางชนิดอาจจะไม่ตอบสนองต่อจิบเบอเรลลิน อาจจะเป็น เพราะว่าในพืชชนิดนั้นมีปริมาณจิบเบอเรลลินเพียงพอแล้ว จิบเบอเรลลินสามารถกระตุ้นการยืดยาวของช่อ ดอกไม้บางชนิดและทําให้ผลไม้มีรูปร่างยาวออกมา เช่น องุ่น และแอปเปิ้ลกะหลํ่าปลีซึ่งเจริญในลักษณะต้น เตี้ยเป็นพุ่ม (Rosette) มีปล้องสั้นมาก เมื่อให้ GA3 กับต้นกะหลํ่าปลีดังกล่าวจะทําให้สูงขึ้นถึง 2 เมตรได้ถั่ว พุ่มที่ได้รับ GA จะกลายเป็นถั่วเลื้อยได้พืชซึ่งมีต้นเตี้ยทางพันธุกรรม เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่ว แตงกวาและ แตงโมสามารถแสดงลักษณะปกติได้เมื่อได้รับ GA3 ในข้าวโพดแคระนั้นพบว่าความผิดปกติเกิดจากยีนส์ ควบคุม ซึ่งอาจจะเกี่ยวพันกับวิถีในการสังเคราะห์จิบเบอเรลลิน ส่วนข้าวโพดปกติหากได้รับจิบเบอเรลลิน จะไม่สามารถสูงขึ้นได้อีก ดังนั้นในกรณีข้าวโพดการแคระเกิดจากมีปริมาณจิบเบอเรลลินในต้นน้อยเกินไป แต่อาการแคระของพืชบางชนิด เช่น Japanese Morning Glory พบว่ามีจิบเบอเรลลินมากพอแล้ว แต่เมื่อ
  • 18. ได้รับ จิบเบอเรลลินเพิ่มก็จะสูงขึ้นได้ในกรณีนี้อาจจะเป็นเพราะในต้นมีปริมาณของสารระงับการ เจริญเติบโตอยู่ 2. กระตุ้นการงอกของเมล็ดที่พักตัวและตาที่พักตัว ตาของพืชหลายชนิดที่เจริญอยู่ในเขตอบอุ่นจะพักตัวใน ฤดูหนาว เมล็ดของพืชหลายชนิดมีพฤติกรรมเช่นนี้ด้วย ซึ่งการพักตัวจะลดลงจนหมดไป เมื่อได้รับความ เย็นเพียงพอ การพักตัวของเมล็ดและตา อันเนื่องมาจากต้องการอุณหภูมิตํ่า วันยาว และต้องการแสงสี แดงจะหมดไปเมื่อได้รับจิบเบอเรลลิน 3. การแทงช่อดอก การออกดอกของพืชเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุและสภาพแวดล้อม จิบ เบอเรลลินสามารถแทนความต้องการวันยาวในพืชบางชนิดได้และยังสามารถทดแทนความต้องการ อุณหภูมิตํ่า (Vernalization) ในพืชพวกกะหลํ่าปลี และแครอท 4.จิบเบอเรลลิน สามารถกระตุ้นการเคลื่อนที่ของอาหารในเซลล์สะสมอาหาร หลังจากที่เมล็ดงอกแล้ว เพราะรากและยอดที่ยังอ่อนตัวเริ่มใช้อาหาร เช่น ไขมัน แป้ ง และโปรตีน จากเซลล์สะสมอาหาร จิบเบอ เรลลินจะกระตุ้นให้มีการย่อยสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็ก เช่น ซูโครสและกรดอะมิโน ซึ่ง เกี่ยวพันกับการสังเคราะห์เอนไซม์หลายชนิดดังกล่าวข้างต้น 5. กระตุ้นให้เกิดผลแบบ Parthenocarpicในพืชบางชนิด เปลี่ยนรูปร่างของใบพืชบางชนิด เช่น English Ivy และทําให้พืชพัฒนาการเพื่อทนความเย็นได้ 6. พืชที่มีดอกตัวผู้ และตัวเมียแยกกันไม่ว่าจะต้นเดียวกัน หรือแยกต้นก็ตาม จิบเบอเรลลินสามารถ เปลี่ยนเพศของดอกได้ จิบเบอเรลลินมักเร่งให้เกิดดอกตัวผู้ ส่วนออกซิน เอทธิลีน และไซโตไคนิน มักจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมีย ในแตงกวาดอกล่าง ๆ มักเป็นดอกตัวผู้และดอกบนเป็นดอกตัวเมีย การให้สาร อีธีฟอนจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมียขึ้น
  • 19. บทที่ 3 การดําเนินงาน วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี 1.ต้นมะลิลา 2.ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน 3.กระบอกฉีดฮอร์โมน 4.กระถางต้นไม้ ขั้นตอนการทําโครงงาน 1.ประชุมวางแผนคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ ซึ่งคือการศึกษาการส่งผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินต่อ ส่วนต่างๆของพืช 2.ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานดังนี้ 2.1.ลักษณะของต้นมะลิลา 2.2.การทํางานของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน 3.วางแผนรายละเอียดการทดลอง 4.เลือกสถานที่ที่ใช้ในการทําทดลอง 5.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําการทดลอง 5.1. ต้นมะลิลา 9 ต้น 5.2. ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน 5.3. สารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินHigh dose 5.4. สารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินLow dose 5.5. กระบอกฉีดฮอร์โมน 3 กระบอก 5.6. กระถางต้นไม้ 9 ใบ
  • 20. 6.ขั้นตอนกระบวนการทําการทดลอง 6.1.ตอนที่ 1 การเปรียบเทียบความสูงของลําต้นมะลิลาที่ทดลองโดยใช้ฮอร์โมน High dose 6.1.1.เตรียมไม้บรรทัดที่มีมาตรฐาน 6.1.2.วัดความสูงของลําต้นตั้งแต่ขอบกระถางจนถึงปลายยอด 6.1.3.วัดทั้งหมด3ต้นจากนั้นจึงหาค่าเฉลี่ย 6.2.ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความสูงของลําต้นมะลิลาที่ทดลองโดยใช้ฮอร์โมน Low dose 6.2.1.เตรียมไม้บรรทัดที่มีมาตรฐาน 6.2.2.วัดความสูงของลําต้นตั้งแต่ขอบกระถางจนถึงปลายยอด 6.2.3.วัดทั้งหมด3ต้นจากนั้นจึงหาค่าเฉลี่ย 6.3.ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบความสูงของลําต้นมะลิลาที่ทดลองโดยใช้ฮอร์โมนชุดควบคุม 6.3.1.เตรียมไม้บรรทัดที่มีมาตรฐาน 6.3.2.วัดความสูงของลําต้นตั้งแต่ขอบกระถางจนถึงปลายยอด 6.3.3.วัดทั้งหมด3ต้นจากนั้นจึงหาค่าเฉลี่ย 7. สรุปผล อภิปราย และเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระยะ 8. จัดทําเอกสารเป็นรูปเล่มโครงงานให้สมบูรณ์ 9. จัดทําสื่ออภิปรายแสดงผลการทดลอง 10. นําเสนอโครงงาน
  • 21. บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง ตารางบันทึกผลการทดลอง * หมายเหตุ เนื่องจากไม่มีการออกดอกทางคณะผู้จัดทําจึงเปลี่ยนเป็นการวัดความสูงของต้นมะลิลาแทน วันที่บันทึก จํานวนดอกมะลิลา (ดอก) High dose (1%) Low dose(0.6%) ชุดควบคุม (0%) ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3 ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3 ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3 12 มิ.ย. 60 0 0 0 0 0 0 0 0 0 19มิ.ย. 60 0 0 0 0 0 0 0 0 0 26 มิ.ย. 60 0 0 0 0 0 0 0 0 0 3 ก.ค. 60 0 0 0 0 0 0 0 0 0 10 ก.ค. 60 0 0 0 0 0 0 0 0 0 ค่าเฉลี่ย 0 0 0 0 0 0 0 0 0 วันที่บันทึก ความสูงของต้นมะลิลา (ซม.) High dose(1%) Low dose(0.6%) ชุดควบคุม (0%) ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3 ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3 ต้นที่1 ต้นที่2 ต้นที่3 17.ก.ค. 60 60 59.3 58.2 49.7 65.2 70 35.2 28.7 24.3 24 ก.ค. 60 62.1 61.8 60.3 50.9 73.1 74.9 39.1 30.4 25.9 31 ก.ค. 60 65.2 64.4 63.5 55 77.2 78.1 42.3 32.9 28.6 ค่าเฉลี่ย 62.43 61.83 60.67 51.87 72.13 74.33 38.87 30.67 26.27
  • 22. กราฟแท่งแสดงผลการทดลอง * หมายเหตุ เนื่องจากไม่มีการออกดอกทางคณะผู้จัดทําจึงเปลี่ยนเป็นการวัดความสูงของต้นมะลิลาแทน กราฟแท่งแสดงผลการทดลอง 0 10 20 30 40 50 60 70 80 High dose (1%) Low dose (0.6%) ชุดควบคุม (0%) ความสุงของต้นมะลิลา(เซนติเมตร) ความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน กราฟแท่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน กับ ความสูงของต้นมะลิลา ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 0 0.2 0.4 0.6 0.8 1 High dose (1%) Low dose (0.6%) ชุดควบคุม (0%) จํานวนดอก(ดอก) ความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน กราฟแท่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน กับ จํานวนดอก ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3
  • 23. วิเคราะห์ผลการทดลอง จากการทดลองพบว่าพืชที่อยู่ในกลุ่ม low dose 0.6% นั้นจะมีความสูงมากที่สุดโดยเทียบจากกลุ่มควบคุม และกลุ่ม high dose 1% แต่ใบของกลุ่ม high dose จะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ซึ่งทําให้เกิดข้อ สันนิษฐานว่าฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลินที่เข้มข้น 1% นั้นได้ไปกระตุ้นขนาดของใบด้วยเลยทําให้ความสูงของ ต้นไม้ที่อยู่กลุ่ม high dose นั้นเจริญเติบโตด้านความสูงไม่เท่ากับกลุ่ม low dose ซึ่งความเข้มข้น0.6%จะเป็น ความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในด้านความสูงของต้นไม้มากกว่าความเข้มข้น1% ซึ่งฮอร์โมน จิบเบอร์เรลลินนั้นมีหน้าที่ช่วยในการยืดของกิ่งก้านเลยทําให้ผลการทดลองออกมาเป็นเช่นนี้
  • 24. บทที่ 5สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปผลการทดลอง จากการทดลองพบว่าพืชกลุ่มLow dose ซึ่งใช้ฮอร์โมนที่มีความเข้มข้น0.6%มีความสูงเฉลี่ย66.11ซม. พืช กลุ่มHigh dose ซึ่งใช้ฮอร์โมนที่มีความเข้มข้น1%มีความสูงเฉลี่ย61.64ซม. โดยชุดการทดลองLow dose เป็นชุดการทดลองที่มีความสูงเฉลี่ยมากที่สุดและรองลงมาคือชุดการทดลอง High dose และชุดควบคุม ตามลําดับ เนื่องจากฮอร์โมนที่ใช้ในชุดการทดลองLow doseส่งผลต่อลําต้นมากกว่าส่วนประกอบอื่นๆของ ต้นไม้แต่ชุดการทดลองHigh doseส่งผลต่อใบของต้นมะลิลามากกว่าลําต้นทําให้ชุดการทดลองHigh dose มี ความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า ดังนั้นอ้างอิงรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ผลของสารจิบเบอเรลลินต่อการเจริญเติบโต และการพัฒนาช่อดอกว่านนางคุ้มจึงควรใช้ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งส่วนต่างๆของ พืชจะใช้ปริมาณฮอร์โมนในการเจริญที่เหมาะสมแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เนื่องจากตอนแรกต้องการติดตามดูจํานวนดอกแต่เมื่อทําการทดลองไประยะหนึ่งแล้วพบว่าไม่มีดอกจึงต้อง ทําการเปลี่ยนจากการติดตามดูดอกเป็นการวัดความสูงของลําต้นแทน
  • 25. บรรณานุกรม สํานักงานเกษตรอําเภอเขาคิชฌกูฏ,มะลิลา.กรกฎาคม2560, จาก http://khaokhitchakut.chanthaburi.doae.go.th/PAGE/kebmafak/Mali/mali1.htm รศ.ดร.ดนัย บุณยเกียรติ,จิบเบอเรลลิน.กรกฎาคม2560, จาก http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/index.htm หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “มะลิ”.(ดร.วิทย์เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 639-641. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะลิลา Arabian Jasmine”. หน้า 128. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “มะลิ”.หน้า 454. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “มะลิ”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก: www.thaicrudedrug.com. [17 พ.ค. 2014]. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สํานักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะลิลา”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [17 พ.ค. 2014]. โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะลิ”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th/learning/botanical-garden/. [17 พ.ค. 2014]. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “มะลิซ้อน”.(นพพล เกตุประสาท). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [17 พ.ค. 2014]. ไขปริศนา พฤกษาพรรณ, สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยามหิดล. “มะลิลา”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก: www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants/. [17 พ.ค. 2014]. รุ่งนภา ช่างเจรจา และ อัญชนา จาปา.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผลของสารจิบเบอเรลลินต่อการ เจริญเติบโตและการพัฒนาช่อดอกว่านนางคุ้ม.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา,2557.