SlideShare a Scribd company logo
1 of 24
Download to read offline
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อความสูงลําต้นของต้นเข็ม
นําเสนอครูผู้สอน
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ตําแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
1. น.ส.นัทพร สุรินทร์ศิริรัฐ เลขที่ 10
2. น.ส.ปริม ศิลปรัตนาภรณ์ เลขที่ 11
3. น.ส.วริศรา วิวัลย์ศิริกุล เลขที่ 17
4. น.ส.สิริกร อัศวนิก เลขที่ 22
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 125
สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
2
บทคัดย่อ
ในการเจริญเติบโตของพืชย่อมเกิดจากปัจจัยหลายๆอย่างร่วมกัน ปัจจัยหลักอย่างหนึ่งคือฮอร์โมนที่
ควบคุมการเจริญเติบโต ฮอร์โมนออกซินก็เป็นฮอร์โมนที่สําคัญอย่างหนึ่งในการเติบโตของพืช และระดับ
ความเข้มข้นที่แตกต่างกันของฮอร์โมนก็ส่งผลต่อการเติบโตของพืชด้วย
คณะผู้จัดทําได้ทําการทดลองเรื่องการศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อความสูงลําต้นของต้น
เข็ม โดยออกแบบการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มมีระดับความเข้มข้นที่ต่างกัน คือ High dose
0.45% W/V Low dose 0.09% W/V และชุดควบคุม 0.00% W/V เพื่อศึกษาเปรียบเทียบว่าระดับฮอร์โมน
ใดที่ส่งผลให้มีการเจริญเติบโต(การเพิ่มความสูงของลําต้น)ของต้นเข็มมากที่สุด
จากผลการทดลองพบว่าต้นเข็มในกลุ่มLow Doseนั้น มีค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงเพิ่มขึ้นสูง
ที่สุดเนื่องจากได้รับสารละลายฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้นเหมาะสม แต่ต้นเข็มในกลุ่มHigh Doseนั้น
มีค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงเพิ่มขึ้นตํ่าที่สุดเนื่องจากได้รับสารละลายฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้น
มากเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับต้นเข็มกลุ่มควบคุมแล้ว พบว่า ต้นเข็มกลุ่มLow Doseได้รับการกระตุ้น
ในขณะที่ต้นเข็มกลุ่มHigh Doseถูกยับยั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนออกซิน
3
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อความสูงลําต้นของต้นเข็มจะสําเร็จลุล่วง
ไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากนายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ครูประจําวิชา ที่ช่วยชี้แนะแนวทางการทํางาน
ให้คําแนะนํา คําปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน
ขอขอบคุณผู้ปกครอง ครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ และให้
กําลังใจตลอดมา
คณะผู้จัดทําโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ณ โอกาสนี้
คณะผู้จัดทํา
4
สารบัญ
หน้า
บทที่ 1 บทนํา
ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 5
สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 5
อาจารย์ผู้สอน 5
ที่มาและความสําคัญ 5
คําถามการทําโครงงาน 5
สมมติฐานการทดลอง 5
วัตถุประสงค์ของโครงงาน 6
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6
ขอบเขตของโครงงาน 6
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 6
ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน 6
วิธีการเก็บข้อมูล 6
วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล 7
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลของพืชที่ใช้ทดลอง 8
ข้อมูลของฮอร์โมนที่ใช้ทดลอง 9
บทที่ 3 การดําเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี 12
ขั้นตอนการทําโครงงาน 12
บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง
ตารางและกราฟบันทึกผลการทดลอง 16
วิเคราะห์ผลการทดลอง 18
บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
สรุปผลการทดลอง 19
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 19
บรรณานุกรม 20
ภาคผนวก 21
5
บทที่ 1 บทนํา
ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อความสูงลําต้นของต้นเข็ม
สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
1. น.ส.นัทพร สุรินทร์ศิริรัฐ เลขที่ 10
2. น.ส.ปริม ศิลปรัตนาภรณ์ เลขที่ 11
3. น.ส.วริศรา วิวัลย์ศิริกุล เลขที่ 17
4. น.ส.สิริกร อัศวนิก เลขที่ 22
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 125
สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
อาจารย์ผู้สอน
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ที่มาและความสําคัญ
เนื่องจากต้นเข็มเป็นพืชที่พบเห็นได้มากมายทั่วไป และเป็นไม้ดอกที่นิยมนํามาปลูก เนื่องจากมี
ความคงทน และดูแลรักษาง่าย จึงสร้างรายได้จํานวนหนึ่งให้กับผู้ปลูกขาย นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีความสําคัญ
ต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างหนึ่งก็คือฮอร์โมน พืชมีฮอร์โมนหลายชนิดซึ่งมีผลต่อพืชในด้านต่างๆกัน
ฮอร์โมนออกซิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช อาทิเช่น การเพิ่มจํานวนยอด การ
เพิ่มความยาวรากและการเพิ่มความสูงของต้น
คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช จึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อ
ลําต้นของต้นเข็มมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินในระดับความเข้มข้นต่างๆกันที่มีต่อ
ความสูงลําต้นของต้นเข็ม
คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชมีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลที่ได้จะมี
ประโยชน์ต่อการศึกษาระดับฮอร์โมนที่เหมาะสมต่อการเพิ่มความสูงของต้นเข็มในอนาคตต่อไป
คําถามการทําโครงงาน
สารละลายฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้นใดจะส่งผลให้ต้นเข็มมีการเพิ่มความสูงลําต้นมากที่สุด
สมมติฐานการทดลอง
ถ้าฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้น 0.09 % โดยมวลต่อปริมาตร (ชุดการทดลอง low dose) มีผลต่อ
ความสูงของต้นเข็มทําให้เจริญดีที่สุด ดังนั้น สารละลายออกซินที่ความเข้มข้น 0.09 % โดยมวลต่อปริมาตร
จะทําให้ต้นเข็มมีการเจริญเติบโตด้านความสูงลําต้นมากที่สุด
6
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาการตอบสนองของพืชด้านความสูงของลําต้นต่อระดับความเข้มข้นต่างๆกันของฮอร์โมน
ออกซิน
2. เพื่อเปรียบเทียบหาความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดของฮอร์โมนออกซินที่สามารถทําให้พืช
เจริญเติบโตดีที่สุด
3. ฝึกฝนความรับผิดชอบ และเรียนรู้วิธีการดูแลสิ่งมีชีวิตอื่น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการตอบสนองของพืชด้านความสูงต่อความเข้มข้นระดับต่างๆ
ของฮอร์โมนออกซิน
2. ได้ศึกษาเปรียบเทียบความเข้นข้นระดับต่างๆของฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อความสูงของลําต้น
ต้นเข็ม
3. เป็นการส่งเสริมความรับผิดชอบในการดูแลต้นไม้และสิ่งมีชีวิตอื่น พัฒนาทักษะการทํางาน
เป็นกลุ่มและเพิ่มพูนความสามัคคี
ขอบเขตของโครงงาน
การทําโครงงานครั้งนี้คณะผู้รับผิดชอบมุ่งเน้นที่จะศึกษาเฉพาะความเข้มข้นระดับต่างๆของ
ฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อความสูงลําต้นของต้นเข็ม
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น คือ ความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซิน
ตัวแปรตาม คือ ความสูงลําต้นของต้นเข็ม
ตัวแปรควบคุม คือ ชนิดของพืช(เข็ม) ปริมาณดิน ปริมาณนํ้าที่รด ปริมาณแสง อุณหภูมิ ชนิด
ของฮอร์โมน ขนาดกระถาง
ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน
เริ่มการทดลองวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และสิ้นสุดการทดลองในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2560
วิธีการเก็บข้อมูล
1. ใช้ไม้บรรทัดวัดส่วนสูงของต้นเข็มแต่ละต้น โดยวัดจากขอบกระถางขึ้นมาจนปลายยอดของต้นเข็ม
7
2. บันทึกค่าความสูงที่วัดได้ในแต่ละครั้งและนําข้อมูลค่าความสูงที่ได้มาเปรียบเทียบ โดยทําการวัดความ
สูง ๑ ครั้งต่อสัปดาห์ คือในทุกวันจันทร์
วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล
1. ในการวัดติดตามความสูงของต้นเข็ม สมาชิกกลุ่มได้ทําตารางแสดงค่าความสูงของต้นเข็มจากการ
ได้รับฮอร์โมนในระดับความเข้มข้นต่างๆ โดยบันทึกความสูงของต้นเข็มทั้ง9 ต้นทุกวันจันทร์
จากนั้น ทําการเฉลี่ยความสูงของต้นไม้ในแต่ละชุดการทดลองทุกสัปดาห์ เมื่อเสร็จการทดลองแล้ว
ก็หาค่าเฉลี่ยของค่าความต่างความสูงของทุกต้นตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการทดลอง เพื่อนํามาเฉลี่ยรวม
อีกครั้งเพื่อสรุปผล ว่าต้นไม้จากชุดการทดลองได้มีการเจริญเติบโตด้านความสูงได้ดีที่สุด
2. หาความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยความสูงของเต้นเข็มแต่ละชุดทดลองตลอดระยะเวลาที่ทําการ
ทดลองแปดสัปดาห์โดยการทํากราฟเส้น
3. หาความสัมพันธ์ให้เด่นชัดในการเปรียบเทียบค่าความต่างความสูงของชุด high dose, low dose,
control ในรูปแบบกราฟแท่ง
8
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลของพืชที่ใช้ทดลอง
ต้นเข็มแดง
ลักษณะทั่วไปของต้นเข็ม
ต้น เข็มเป็นไม้พุ่ม มีขนาดความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร ลักษณะของกิ่งเป็นกิ่งเดี่ยว แตกกอแผ่
ขยายออก และมักจะแตกกิ่งบนยอดต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเช่นกัน แต่ลักษณะใบจะแข็งเปราะ ปลายใบแหลม มี
สีเขียวสด มักจะขึ้นแซมรอบต้น ส่วนดอกเข็มจะแหลมเล็ก รวมกลุ่มกันเป็นพุ่ม มักจะมีก้านดอกหุ้มปกป้อง
ดอกเข็มไว้ส่วนสีและขนาดจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ของต้นเข็ม
ความหมายของต้นเข็ม
ดอกเข็มยังจัดว่าเป็นไม้มงคล ตามความเชื่อของโบราณจะถือว่า ดอกเข็มที่แหลมเรียว ก็เปรียบเสมือน
ปัญญาที่เฉียบแหลม ดอกเข็มจึงถูกยกย่องให้เป็นดอกไม้ประจําวันไหว้ครู และมักจะถูกนําไปบูชาพระ และ
ใช้ประดับแจกัน ตามงานพิธีกรรมต่าง ๆ
การปลูกต้นเข็ม
เราสามารถปลูกต้นเข็มได้ทั้งในกระถาง และปลูกลงดินประดับสวน โดยมีวิธีปลูกต้นเข็มดังนี้
1.การปลูกต้นเข็มในกระถาง
ต้นเข็มจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง และหากคุณอยากปลูกต้นเข็มใน กระถาง แนะนํา
ให้ใช้กระถางทรงสูงขนาด 8-12 นิ้ว ปลูกด้วยดินร่วน ผสมปุ๋ ยคอก หรือปุ๋ ยหมัก และแกลบผุในอัตราส่วน
เท่า ๆ กัน ที่สําคัญเมื่อต้นเข็มเติบโตขึ้น ก็ต้องเปลี่ยนกระถางและเปลี่ยนดิน โดยระยะห่างการเปลี่ยน
กระถาง และดินไม่ควรเกิน 1 ปี
2.การปลูกต้นเข็มประดับสวน และปลูกริมรั้ว
9
หากต้องการปลูกต้นเข็มลงดิน ควรต้องขุดดินให้ลึกประมาณ 30×30×30 เซนติเมตร โดยใช้ดินร่วน
ผสมปุ๋ ยหมัก หรือปุ๋ ยคอก ในอัตราส่วน 1 : 2 ผสมกับดินปลูก และถ้าคุณต้องการปลูกต้นเข็มประดับแนวรั้ว
ต้องลงต้นเข็มติดกัน ให้ต้นเข็มโตในลักษณะจับกลุ่มกัน หรือตัดแต่งทรงต้นเข็มตามต้องการ ทั้งนี้ทาง
โบราณยังเชื่อว่า การปลูกต้นเข็มเเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ต้องปลูกต้นเข็มทางทิศ
ตะวันออก และควรปลูกในวันพุธด้วย
การดูแลรดนํ้าต้นเข็ม
ต้นเข็มเป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการนํ้าเพียงแค่ปานกลาง คือ รดนํ้าสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งก็พอ แต่ชอบแดดจัด
ดังนั้นควรปลูกกลางแจ้ง เพราะต้นเข็มสามารถทนความแห้งแล้งได้นอกจากนี้ก็ควรใส่ปุ๋ ยคอก หรือปุ๋ ยหมัก
ในอัตราส่วน 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ซึ่งควรใส่ 5-6 ครั้ง/ปี
การขยายพันธุ์ต้นเข็ม
วิธีการขยายพันธุ์ต้นเข็มสามารถทําได้ทั้งปักชํากิ่ง ตอนกิ่ง และการเพาะเมล็ด แต่ส่วนใหญ่จะนิยม
ขยายพันธุ์ด้วยการปักชํา และตอนกิ่งมากกว่า เนื่องจากได้ผลดีกว่า
การใส่ปุ๋ ยเร่งดอกต้นเข็ม
หากต้นเข็มไม่ค่อยมีดอกให้เชยชม อาจจะต้องดูว่า คุณปลูกต้นเข็มในที่ที่มีแดดจัดหรือเปล่า เพราะต้น
เข็มเป็นพืชที่ชอบแดดมาก รวมทั้งคุณอาจจะต้องคอยตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ เพื่อเร่งให้ต้นเข็มมีการเจริญเติบโต
แต่ก็สามารถใช้ปุ๋ ยเร่งดอก ใส่เดือนละครั้ง พร้อมทั้งรดนํ้าต้นเข็มอย่างสมํ่าเสมอ
ข้อมูลของฮอร์โมนที่ใช้ทดลอง
ฮอร์โมนออกซิน
ออกซิน (Auxin) เป็นกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นการเจริญเติบโต ทําให้มีการแบ่งเซลล์และยืด
ตัวของเซลล์การขนส่งออกซินภายในพืชเป็นการขนส่งอย่างมีทิศทาง
การสังเคราะห์ออกซิน
ออกซินเป็นฮอร์โมนที่แพร่กระจายทั่วไปในพืช มีเข้มข้นสูงที่เนื้อเยื่อเจริญ ตําแหน่งที่มีการสังเคราะห์ออก
ซิน ได้แก่เนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายยอดและปลายราก ใบอ่อน ช่อดอกที่กําลังเจริญ เมล็ดที่กําลังงอก
เอ็มบริโอและผลที่กําลังเจริญ การสังเคราะห์ออกซินเกิดในเนื้อเยื่อที่มีอายุมากน้อยหรือไม่มีเลย สารตั้งต้น
ของการสังเคราะห์ออกซินในพืช คือกรดอะมิโนทริปโตแฟน (Trytophan) ออกซินที่พืชสร้างขึ้นมีสองแบบ
คือแบบอิสระ สามารถเคลื่อนที่ได้ดี กับอีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่จับอยู่กับสารอื่นๆ ทําให้เคลื่อนที่ได้น้อย
หรือไม่ออกฤทธิ์
10
การออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนของออกซิน
-การชักนําการยืดขยายเซลล์ลําต้น และเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด ถ้าออกซินสูงเกินไปจะยับยั้งการเติบโต
เพราะออกซินที่สูงเกินจะกระตุ้นให้พืชสร้างเอทิลีนออกมา และไปกดการยืดขยายตัวของเซลล์
-การเพิ่มความยืดหยุ่นของผนังเซลล์โดยเฉพาะในต้นอ่อนและเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด การเพิ่มความยืดหยุ่น
ของผนังเซลล์จะช่วยให้เซลล์ยืดขยายตัวได้
-กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการยืดขยายตัวของเซลล์เกิดจากการเพิ่มความยืดหยุ่นที่ผนังเซลล์เพิ่มความดัน
ออสโมติกและลดความกดดันที่ผนังเซลล์ทําให้เซลล์ขยายขนาดได้ง่าย และอาจจะส่งเสริมการสังเคราะห์
โปรตีนที่จําเป็นต่อการเติบโต
-เร่งการเติบโตของพืชทั้งในส่วนที่เป็นต้นและราก โดยปกติแล้ว ส่วนต่างๆของพืชตอบสนองต่อปริมาณ
ออกซินไม่เท่ากัน ลําต้นต้องการออกซินสูงกว่าในราก ถ้าสูงเกินไปจะยับยั้งการเติบโต
-ส่งเสริมการเจริญของไซเลม ซึ่งจากการศึกษาในแคลลัส เมื่อเติมออกซินลงไป ออกซินจะช่วยให้การ
เชื่อมต่อของเนื้เยื่อลําเลียงในแคลลัส ทําให้แคลลัสเกิดเป็นตา การเพิ่มนํ้าตาลและออกซินลงในอาหารเลี้ยง
ทําให้แคลลัสเจริญเป็นลําต้นและกลายเป็นพืชต้นใหม่
-การเพิ่มกิจกรรมของกรดนิวคลีอิก โดยออกซินเช่น IAA มีส่วนช่วยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์ RNA โดย
ออกซินอาจจะมีบทบาทช่วยในการเข้าถึงยีน เช่นช่วยให้ฮิสโตนหลุดออกจาก DNA ทําให้ RNA polymerase
II โดยเฉพาะการสร้างเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการยืดขยายของผนังเซลล์
-การยับยั้งการร่วงของใบ การร่วงของใบเกิดจากการเกิดชั้นก่อการร่วงที่ผนังเซลล์ของเซลล์ในแนวดังกล่าว
จะเกิดการแยกออกจากกิ่งหรือต้น ในเนื้อเยื่ออ่อนที่มีออกซินสูง การเกิดชั้นก่อการร่วงจะไม่เกิดขึ้น ถ้าตัด
แผ่นใบทิ้งเหลือแต่ก้านใบ แล้วนําออกซินมาทาที่ก้านใบ ก้านใบที่ได้รับออกซินจะร่วงช้ากว่า ถ้าให้ออกซิน
แก่ใบตั้งแต่ระยะแรกๆก่อนโตเต็มที่ จะทําให้ใบร่วงช้ากว่าใบพืชที่ไม่ได้รับออกซิน
-การยืดขยายความยาวของราก รากจะไวต่อความเข้มข้นของออกซินมาก IAA ปริมาณตํ่าจะกระตุ้นการ
ขยายตัวของรากได้ดี โดยที่ไม่มีผลต่อลําต้น ส่วนความเข้มข้นที่กระตุ้นการเจริญของลําต้นจะสูงเกินไป
สําหรับราก จนกลายเป็นการยับยั้ง
-การเกิดรากแขนง ออกซินมีผลต่อการกระตุ้นให้เกิดรากแขนง การตัดใบหรือตาอ่อนที่สร้างออกซินออกไป
ทําให้การแตกรากแขนงน้อยลง แสดงว่าการเกิดรากแขนงถูกควบคุมโดยออกซินที่สร้างจากลําต้น
นอกจากนั้นออกซินยังส่งเสริมการเกิดรากแขนงในกิ่งปักชําโดยรากแขนงเกิดได้ดีจากโฟลเอมส่วนใกล้ๆข้อ
11
-ความเข้มข้นที่สูงเกินไปของออกซินจะยับยั้งการเจริญเติบโตและเป็นพิษต่อพืช โดยทําให้อวัยวะของพืชมี
การเติบโตที่ไม่สัมพันธ์กัน เช่นแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้นแต่เซลล์ไม่ขยายขนาด อวัยวะบิดเบี้ยวเสียรูปทรง การเจริญ
ของพืชลดลง และหยุดไปในที่สุด
การเกิดอวัยวะของพืช
เมื่อออกซินนําไปสู่การสร้างอวัยวะ ออกซินจะมีบทบาทสําคัญในการควบคุมพัฒนาการของพืช
หากไม่มีการควบคุมด้วยฮอร์โมน พืชจะเป็นเพียงกลุ่มของเซลล์ที่คล้ายกัน การทํางานออกซินเริ่มขึ้นในตัว
อ่อนของพืชที่ทิศทางการกระจายของออกซิน เกี่ยวข้องกับการกําหนดขั้วของเจริญเติบโตและการพัฒนา ซึ่ง
จะไปเป็นยอดและรากแรกเกิด ออกซินช่วยให้พืชรักษาขั้วของการเจริญเติบโตและการแตกกิ่งก้านได้ตลอด
ชีวิตของการเติบโต
หลักการสําคัญของการเกิดอวัยวะในพืชขึ้นอยู่กับการกระจายของออกซิที่ปลายยอด ซึ่งหมายความ
ว่าออกซินผลิตมากที่ตายอด แพร่กระจายลงมาและลดการพัฒนาของตาข้างที่จะแข่งขันกับตายอดเพื่อแย่ง
แสงและสารอาหารที่เรียกการข่มของตายอดต่อตาข้าง (Apical dominance) โดยทั่วไปในพืช เมื่อมีตายอดอยู่
จะข่มการเจริญของตาข้างทําให้ตาข้างเติบโตช้า ถ้าตัดปลายยอดออก ตาข้างจะเติบโตได้ทันที การข่มของตา
ยอดอาจมาจากส่วนยอดบดบังแสงไว้ทําให้ตาข้างได้รับแสงไม่เต็มที่
การกระจายของออกซินที่ไม่สมํ่าเสมอ : ในการทําให้มีการเจริญเติบโตในส่วนที่ต้องการนั้น มัน
เป็นสิ่งจําเป็นที่ออกซินจะต้องทํางานในบริเวณนั้นมาก แม้ว่าจะไม่มีการสังเคราะห์ออกซินในทุกเซลล์แต่
แต่ละเซลล์ยังคงมีความสามารถในการสังเคราะห์ออกซินได้และจะถูกกระตุ้นให้สร้างภายใต้เงื่อนไขที่
เฉพาะ และยังมีการขนส่งออกซินเข้าสู่บริเวณที่ต้องการใช้ด้วย ในการขนส่งระยะทางไกล จะมีระบบ
เฉพาะที่มีทิศทางแน่นอนในการขนส่งระหว่างเซลล์ที่มีการควบคุม มันขึ้นอยู่ในการกระจายไม่สมํ่าเสมอ
ของตัวพาออกซินในเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งกําหนดให้ขนส่งออกซินในทิศทางที่ถูกต้อง การศึกษาในปี พ.ศ. 2549
พบโปรตีน PIN มีความสําคัญในการลําเลียงออกซิน
การควบคุมการสร้างโปรตีน PIN ในเซลล์จะเป็นตัวกําหนดทิศทางของการขนส่งออกซินในการ
เพิ่มปริมาณออกซินในบริเวณนั้นให้ถึงจุดสูงสุด จุดสูงสุดของออกซินช่วยในการพัฒนาของยอดและราก
เซลล์ที่อยู่รอบๆบริเวณนั้นเป็นเซลล์ที่มีออกซินตํ่า ใน Arabidopsis การมีออกซินปริมาณตํ่าในผลจะมี
ความสําคัญต่อการพัฒนาของเนื้อเยื่อ.ในการสร้างดอกและผล การให้ออกซินแก่พืชที่มีดอกเพศผู้และเพศ
เมียแยกกันตั้งแต่ระยะแรกของการเจริญจะทําให้เกิดดอกเพศเมียมากขึ้น ละอองเรณูเป็นส่วนที่มีออกซินสูง
สารสกัดจากละอองเรณูจะกระตุ้นการติดผลโดยไม่ต้องมีการถ่ายละอองเกสรที่เรียกว่าการเกิดผลลม
(Parthenocarpy) ซึ่งเป็นผลที่ไม่มีเมล็ด และมีประโยชน์ทางการค้า
12
บทที่ 3 การดําเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
1. ต้นเข็ม 9 ต้นพร้อมดินและกระถาง
2. สารละลายฮอร์โมนออกซิน โดยผสมนํ้าในอัตราส่วนต่างๆให้ได้ความเข้มข้นต่างกันเป็น low
dose (0.09% W/V) และ high dose (0.45% W/V)
3. กระบอกฉีดนํ้าและฮอร์โมน 3 กระบอก
4. แผ่นป้ายกันนํ้าปักในกระถาง
5. แผ่นกระดาษและเทปกันนํ้าเพื่อแปะบนกระบอกฉีด
6. ถุงพลาสติกเพื่อหล่อนํ้าในวันที่ไม่ได้มาโรงเรียน(วันหยุดปลายสัปดาห์) และเพื่อแบ่งชุดการ
ทดลอง
7. ตลับเมตรและไม้บรรทัดเพื่อวัดความสูงของต้นเข็ม
8. แบบบันทึกติดตามผลการเจริญเติบโตของพืช
ขั้นตอนการทําโครงงาน
1. ประชุมวางแผนคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ ซึ่งคือการศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อความ
สูงของต้นเข็ม
2. ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานดังนี้
2.1. ต้นไม้ที่จะนํามาศึกษา คือ ต้นเข็ม
2.2. ฮอร์โมนที่สนใจศึกษา คือ ฮอร์โมนออกซิน
3. วางแผนรายละเ อียดการทดลอง โดยแบ่งกลุ่มที่ใช้ศึกษาเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 คือกลุ่ม High dose โดยในกลุ่มนี้จะพ่นฮอร์โมนออกซิน 0.45% W/V
กลุ่มที่2 คือ กลุ่ม Low dose โดยในกลุ่มนี้จะพ่นฮอร์โมนออกซิน 0.09% W/V
กลุ่มที่3 คือ กลุ่มควบคุม ในกลุ่มนี้จะไม่พ่นฮอร์โมนออกซิน
4. หาสถานที่ที่เหมาะสมต่อทดลองโดยต้องเป็นสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท แสงแดดส่องถึงซึ่งต้องเหมาะสม
ต่อการปลูกต้นเข็มตามที่ได้ศึกษาหาข้อมูล
5. จัดทําเค้าโครงงาน เพื่อนําเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อนําไปปรับปรุงแก้ไข
6. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําการทดลองการศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อความสูงของต้น
เข็ม
13
7. ขั้นตอนกระบวนการทําการทดลอง
7.1. ผสมฮอร์โมนให้ได้ความเข้มข้นตามที่กําหนดไว้คือ low dose (0.09% W/V) และ high dose
(0.45% W/V)
7.2. นําต้นเข็มลงกระถางพร้อมใส่ดินให้เรียบร้อย จากนั้นจึงนําต้นเข็มไปวางในสถานที่ที่ได้เลือกไว้
7.3. ทําป้ายเพื่อปักที่กระถางเพื่อระบุรายละเอียดของต้นเข็มต้นนั้นๆ จากนั้นจึงนําไปปักที่ต้นไม้แต่ละ
ต้น
14
7.4. รดนํ้าและพ่นฮอร์โมนให้ต้นเข็ม 3 ครั้ง/สัปดาห์ คือในทุกวันจันทร์ วันพุธและวันศุกร์
7.4.1.ในกลุ่ม High dose จะฉีดฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้น 0.45% W/V ทั้งหมด 10 ครั้ง
7.4.2. ในกลุ่ม Low dose จะฉีดฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้น 0.09% W/V ทั้งหมด 10 ครั้ง
7.4.3. ในกลุ่มควบคุมจะไม่มีการฉีดฮอร์โมน ดังนั้นจึงรดนํ้าเพียงอย่างเดียว
7.5. สังเกตและบันทึกความสูงของต้นเข็มทุกสัปดาห์
15
7.6. จับวัชพืชหรือศัตรูพืชที่อาจส่งผลต่อผลการทดลองออกเมื่อพบ
8. สรุปผล อภิปราย และเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะ
9. จัดทําเอกสารเป็นรูปเล่มโครงงานให้สมบูรณ์
10. จัดทําสื่ออภิปรายแสดงผลการทดลอง
11. นําเสนอโครงงาน
16
บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
ตารางแสดงค่าความสูงของต้นเข็มที่ได้รับฮอร์โมนความเข้มข้นแตกต่างกัน
วันที่บันทึก
ผล
ความสูงต้นเข็ม (ซม.)
ชุด High Dose (0.45% W/V) ชุด Low Dose (0.09% W/V) ชุดควบคุม (0% W/V)
ต้น 1 ต้น 2 ต้น 3 เฉลี่ย ต้น 1 ต้น 2 ต้น 3 เฉลี่ย ต้น 1 ต้น 2 ต้น 3 เฉลี่ย
12 มิ.ย. 60 22.7 22.5 23.0 22.73 16.5 20.5 17.3 18.10 20.0 18.0 19.5 19.17
19 มิ.ย. 60 23.8 22.8 23.5 23.37 18.1 21.1 17.9 19.03 20.3 18.1 19.6 19.33
26 มิ.ย. 60 24.2 23.0 23.9 23.70 18.8 21.2 18.7 19.57 19.8 17.2 20.0 19.00
3 ก.ค. 60 24.6 23.9 24.1 24.20 18.4 22.6 18.9 21.03 20.9 18.4 20.2 19.83
10 ก.ค. 60 23.7 23.6 23.5 23.60 18.8 22.7 17.8 19.77 20.7 18.5 21.0 20.07
17 ก.ค. 60 24.1 23.9 23.6 23.87 18.5 23.1 18.1 19.90 21.3 18.7 22.5 20.83
24 ก.ค. 60 24.3 23.9 23.8 24.00 19.2 23.2 18.2 20.20 22.1 18.9 22.6 21.20
31 ก.ค. 60 24.5 24.1 24.2 24.27 19.6 24.0 18.3 20.63 22.7 19.1 22.9 21.57
ค่าความต่าง
ของความสูง
ต้นเข็ม (ซม.)
1.8 1.6 1.2 1.53 3.1 3.5 1.0 2.53 2.7 1.1 3.4 2.4
17
กราฟแสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความสูงของต้นเข็ม(cm) ที่ได้รับความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซิน
แตกต่างกัน ระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2560
กราฟแสดงการเปรียบเทียบค่าความต่างของความสูงต้นเข็ม(cm)ที่ได้รับความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซิน
แตกต่างกัน คือ ชุดHigh Dose, ชุดLow Dose และชุดควบคุม
0
5
10
15
20
25
30
12 มิ.ย. 60 19 มิ.ย. 60 26 มิ.ย. 60 3 ก.ค. 60 10 ก.ค. 60 17 ก.ค. 60 24 ก.ค. 60 31 ก.ค. 60
ชุดHigh Dose
ชุดLow Dose
ชุดควบคุม
0
0.5
1
1.5
2
2.5
3
3.5
ชุดHigh Dose ชุดLow Dose ชุดควบคุม
ต้น 1
ต้น 2
ต้น 3
18
วิเคราะห์ผลการทดลอง
จากข้อมูลผลการทดลองวัดค่าความสูงของต้นเข็มที่ได้รับฮอร์โมนความเข้มข้นแตกต่างกัน พบว่า
ต้นเข็มกลุ่ม High Dose ซึ่งได้รับฮอร์โมนออกซินความเข้มข้น 0.45% W/V นั้น มีค่าความสูงเพิ่มขึ้น 1.8,
1.6 และ 1.2 ซม. ตามลําดับต้นที่ 1, 2 และ 3 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.53 ซม. ต้นเข็มกลุ่ม Low Dose ซึ่งได้รับ
ฮอร์โมนออกซินความเข้มข้น 0.09% W/V มีความสูงเพิ่มขึ้น 3.1, 3.5 และ 1.0 ซม. ตามลําดับต้นที่ 1, 2 และ
3 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.53 ซม. และต้นเข็มกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับฮอร์โมนออกซินนั้น พบว่ามีความสูงเพิ่มขึ้น
2.7, 1.1 และ 3.4 ซม. ตามลําดับต้นที่ 1, 2 และ 3 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.40 ซม.
จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงที่เพิ่มขึ้นของต้นเข็มนั้น พบว่า ต้นเข็มกลุ่ม Low
Dose สูงเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 2.53 ซม. ต้นเข็มกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มถัดมา คือ 2.40 ซม. ในขณะที่ต้นเข็ม
กลุ่ม High Dose มีค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงต้นเข็มน้อยที่สุด นั่นคือ 1.53 ซม.
19
บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
สรุปผลการทดลอง
ฮอร์โมนออกซิน เป็นฮอร์โมนที่มีผลในการชักนําการแบ่งเซลล์และการยืดขยายของเซลล์ลําต้น
และเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด โดยความเข้มข้นที่สูงเกินไปของออกซินจะยับยั้งการเจริญเติบโตและเป็นพิษต่อ
พืช เพราะออกซินที่สูงเกินจะกระตุ้นให้พืชสร้างเอทิลีนออกมา และไปกดการยืดขยายตัวของเซลล์ทําให้
การเจริญของพืชลดลงและหยุดไปในที่สุด
จากผลการทดลองพบว่าต้นเข็มในกลุ่มLow Doseนั้น มีค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงเพิ่มขึ้นสูง
ที่สุดเนื่องจากได้รับสารละลายฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้นเหมาะสม แต่ต้นเข็มในกลุ่มHigh Doseนั้น
มีค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงเพิ่มขึ้นตํ่าที่สุดเนื่องจากได้รับสารละลายฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้น
มากเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับต้นเข็มกลุ่มควบคุมแล้ว พบว่า ต้นเข็มกลุ่มLow Doseได้รับการกระตุ้น
ในขณะที่ต้นเข็มกลุ่มHigh Doseถูกยับยั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนออกซิน
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
1. ควรใช้ต้นไม้ที่มีอายุใกล้เคียงกัน มีความสูงเริ่มต้นใกล้เคียงกัน เพื่อความแม่นยําของการทดลอง
2. การนําต้นไม้ลงกระถาง ควรใช้ดินในปริมาณเท่าๆกัน อัดดินให้แน่นพอเหมาะ เพื่อป้องกันการทรุดตัว
ของดิน
3. ควรวางต้นเข็มในที่ที่มีแสงแดดจัด เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการแดดจัด และวางต้นเข็มในที่ที่นํ้าท่วมไม่ถึง
เพื่อป้องกันการโดนนํ้าท่วมพัดลอยไป
20
บรรณานุกรม
วันทนี สว่างอารมณ์. 2542. การเจริญและการเติบโตของพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สถาพร ดียิ่ง. 2542. ฮอร์โมนพืช. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
กระปุกดอทคอม. ต้นเข็ม ต้นไม้ริมรั้วสีสวย ปลูกประดับหน้าบ้าน. 2557. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
https://home.kap ook.com/view96253.html [ 27 กรกฎาคม 2560 ].
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. เข็ม (พืช). 2554. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/
เข็ม_(พืช) [ 27 กรกฎาคม 2560 ].
21
ภาคผนวก
รูปแสดงการจัดเตรียมสถานที่ที่จะทําการทดลอง
รูปแสดงการรดนํ้าและฉีดพ่นสารละลายฮอร์โมน
22
รูปแสดงการวัดความสูงต้นเข็ม
รูปแสดงการบันทึกผลการทดลอง
23
รูปแสดงการตรวจติดตามโครงงาน ครั้งที่ 1
24
รูปแสดงการตรวจติดตามโครงงาน ครั้งที่ 2

More Related Content

What's hot

Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60
Wichai Likitponrak
 
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี รายวิชาเคมีพื้นฐาน กลุ่มสาระก...
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  เรื่อง  ปฏิกิริยาเคมี   รายวิชาเคมีพื้นฐาน  กลุ่มสาระก...ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  เรื่อง  ปฏิกิริยาเคมี   รายวิชาเคมีพื้นฐาน  กลุ่มสาระก...
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี รายวิชาเคมีพื้นฐาน กลุ่มสาระก...
Supaporn Tummang
 
M6 78 60_4
M6 78 60_4M6 78 60_4
M6 78 60_4
Wichai Likitponrak
 
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_2
M6 78 60_2M6 78 60_2
M6 78 60_2
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_6
M6 143 60_6M6 143 60_6
M6 143 60_6
Wichai Likitponrak
 
การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1
Wichai Likitponrak
 
Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60
Wichai Likitponrak
 
รายงานผลการดำเนินงานกลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ ร.ร.นนทรีวิทยา 1 2554
รายงานผลการดำเนินงานกลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ ร.ร.นนทรีวิทยา 1 2554รายงานผลการดำเนินงานกลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ ร.ร.นนทรีวิทยา 1 2554
รายงานผลการดำเนินงานกลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ ร.ร.นนทรีวิทยา 1 2554
Kobwit Piriyawat
 
การแนะนำบทเรียน ม5เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม5เทอม1การแนะนำบทเรียน ม5เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม5เทอม1
Wichai Likitponrak
 
การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6
Wichai Likitponrak
 

What's hot (20)

Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60
 
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี รายวิชาเคมีพื้นฐาน กลุ่มสาระก...
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  เรื่อง  ปฏิกิริยาเคมี   รายวิชาเคมีพื้นฐาน  กลุ่มสาระก...ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  เรื่อง  ปฏิกิริยาเคมี   รายวิชาเคมีพื้นฐาน  กลุ่มสาระก...
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี รายวิชาเคมีพื้นฐาน กลุ่มสาระก...
 
Herbarium group 1 room 341
Herbarium group 1 room 341Herbarium group 1 room 341
Herbarium group 1 room 341
 
M6 78 60_4
M6 78 60_4M6 78 60_4
M6 78 60_4
 
Lessonplanunit2 plantkruwichai62
Lessonplanunit2 plantkruwichai62Lessonplanunit2 plantkruwichai62
Lessonplanunit2 plantkruwichai62
 
656 pre3
656 pre3656 pre3
656 pre3
 
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
 
M6 78 60_2
M6 78 60_2M6 78 60_2
M6 78 60_2
 
Herbarium
HerbariumHerbarium
Herbarium
 
Course Syllabus
Course SyllabusCourse Syllabus
Course Syllabus
 
Herbarium กลุ่ม 3 341
Herbarium กลุ่ม 3 341Herbarium กลุ่ม 3 341
Herbarium กลุ่ม 3 341
 
Herbariumต้นตีนเป็ด
Herbariumต้นตีนเป็ดHerbariumต้นตีนเป็ด
Herbariumต้นตีนเป็ด
 
834 pre8
834 pre8834 pre8
834 pre8
 
M6 143 60_6
M6 143 60_6M6 143 60_6
M6 143 60_6
 
การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1
 
Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60
 
931 pre12
931 pre12931 pre12
931 pre12
 
รายงานผลการดำเนินงานกลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ ร.ร.นนทรีวิทยา 1 2554
รายงานผลการดำเนินงานกลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ ร.ร.นนทรีวิทยา 1 2554รายงานผลการดำเนินงานกลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ ร.ร.นนทรีวิทยา 1 2554
รายงานผลการดำเนินงานกลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ ร.ร.นนทรีวิทยา 1 2554
 
การแนะนำบทเรียน ม5เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม5เทอม1การแนะนำบทเรียน ม5เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม5เทอม1
 
การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6
 

Similar to M6 125 60_4

M6 125 60_10
M6 125 60_10M6 125 60_10
M6 125 60_10
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_10
M6 78 60_10M6 78 60_10
M6 78 60_10
Wichai Likitponrak
 
M6 125 60_3
M6 125 60_3M6 125 60_3
M6 125 60_3
Wichai Likitponrak
 
M6 125 60_6
M6 125 60_6M6 125 60_6
M6 125 60_6
Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_1
M6 144 60_1M6 144 60_1
M6 144 60_1
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_5
M6 78 60_5M6 78 60_5
M6 78 60_5
Wichai Likitponrak
 
M6 126 60_8
M6 126 60_8M6 126 60_8
M6 126 60_8
Wichai Likitponrak
 
M6 126 60_1
M6 126 60_1M6 126 60_1
M6 126 60_1
Wichai Likitponrak
 
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชบทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
Wichai Likitponrak
 
Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60
Wichai Likitponrak
 
M6 126 60_10
M6 126 60_10M6 126 60_10
M6 126 60_10
Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_9
M6 144 60_9M6 144 60_9
M6 144 60_9
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_7
M6 78 60_7M6 78 60_7
M6 78 60_7
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_3
M6 143 60_3M6 143 60_3
M6 143 60_3
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_4
M6 143 60_4M6 143 60_4
M6 143 60_4
Wichai Likitponrak
 
บทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโนบทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโน
Pew Juthiporn
 
M6 143 60_7
M6 143 60_7M6 143 60_7
M6 143 60_7
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_1
M6 78 60_1M6 78 60_1
M6 78 60_1
Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_8
M6 144 60_8M6 144 60_8
M6 144 60_8
Wichai Likitponrak
 
Plant hor 6_77_60
Plant hor 6_77_60Plant hor 6_77_60
Plant hor 6_77_60
Wichai Likitponrak
 

Similar to M6 125 60_4 (20)

M6 125 60_10
M6 125 60_10M6 125 60_10
M6 125 60_10
 
M6 78 60_10
M6 78 60_10M6 78 60_10
M6 78 60_10
 
M6 125 60_3
M6 125 60_3M6 125 60_3
M6 125 60_3
 
M6 125 60_6
M6 125 60_6M6 125 60_6
M6 125 60_6
 
M6 144 60_1
M6 144 60_1M6 144 60_1
M6 144 60_1
 
M6 78 60_5
M6 78 60_5M6 78 60_5
M6 78 60_5
 
M6 126 60_8
M6 126 60_8M6 126 60_8
M6 126 60_8
 
M6 126 60_1
M6 126 60_1M6 126 60_1
M6 126 60_1
 
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชบทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
 
Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60
 
M6 126 60_10
M6 126 60_10M6 126 60_10
M6 126 60_10
 
M6 144 60_9
M6 144 60_9M6 144 60_9
M6 144 60_9
 
M6 78 60_7
M6 78 60_7M6 78 60_7
M6 78 60_7
 
M6 143 60_3
M6 143 60_3M6 143 60_3
M6 143 60_3
 
M6 143 60_4
M6 143 60_4M6 143 60_4
M6 143 60_4
 
บทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโนบทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโน
 
M6 143 60_7
M6 143 60_7M6 143 60_7
M6 143 60_7
 
M6 78 60_1
M6 78 60_1M6 78 60_1
M6 78 60_1
 
M6 144 60_8
M6 144 60_8M6 144 60_8
M6 144 60_8
 
Plant hor 6_77_60
Plant hor 6_77_60Plant hor 6_77_60
Plant hor 6_77_60
 

More from Wichai Likitponrak

Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
Wichai Likitponrak
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
Wichai Likitponrak
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
Wichai Likitponrak
 

More from Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

M6 125 60_4

  • 1. โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อความสูงลําต้นของต้นเข็ม นําเสนอครูผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตําแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 1. น.ส.นัทพร สุรินทร์ศิริรัฐ เลขที่ 10 2. น.ส.ปริม ศิลปรัตนาภรณ์ เลขที่ 11 3. น.ส.วริศรา วิวัลย์ศิริกุล เลขที่ 17 4. น.ส.สิริกร อัศวนิก เลขที่ 22 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 125 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • 2. 2 บทคัดย่อ ในการเจริญเติบโตของพืชย่อมเกิดจากปัจจัยหลายๆอย่างร่วมกัน ปัจจัยหลักอย่างหนึ่งคือฮอร์โมนที่ ควบคุมการเจริญเติบโต ฮอร์โมนออกซินก็เป็นฮอร์โมนที่สําคัญอย่างหนึ่งในการเติบโตของพืช และระดับ ความเข้มข้นที่แตกต่างกันของฮอร์โมนก็ส่งผลต่อการเติบโตของพืชด้วย คณะผู้จัดทําได้ทําการทดลองเรื่องการศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อความสูงลําต้นของต้น เข็ม โดยออกแบบการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มมีระดับความเข้มข้นที่ต่างกัน คือ High dose 0.45% W/V Low dose 0.09% W/V และชุดควบคุม 0.00% W/V เพื่อศึกษาเปรียบเทียบว่าระดับฮอร์โมน ใดที่ส่งผลให้มีการเจริญเติบโต(การเพิ่มความสูงของลําต้น)ของต้นเข็มมากที่สุด จากผลการทดลองพบว่าต้นเข็มในกลุ่มLow Doseนั้น มีค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงเพิ่มขึ้นสูง ที่สุดเนื่องจากได้รับสารละลายฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้นเหมาะสม แต่ต้นเข็มในกลุ่มHigh Doseนั้น มีค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงเพิ่มขึ้นตํ่าที่สุดเนื่องจากได้รับสารละลายฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้น มากเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับต้นเข็มกลุ่มควบคุมแล้ว พบว่า ต้นเข็มกลุ่มLow Doseได้รับการกระตุ้น ในขณะที่ต้นเข็มกลุ่มHigh Doseถูกยับยั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนออกซิน
  • 3. 3 กิตติกรรมประกาศ โครงงานเรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อความสูงลําต้นของต้นเข็มจะสําเร็จลุล่วง ไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากนายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ครูประจําวิชา ที่ช่วยชี้แนะแนวทางการทํางาน ให้คําแนะนํา คําปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ขอขอบคุณผู้ปกครอง ครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ และให้ กําลังใจตลอดมา คณะผู้จัดทําโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทํา
  • 4. 4 สารบัญ หน้า บทที่ 1 บทนํา ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 5 สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 5 อาจารย์ผู้สอน 5 ที่มาและความสําคัญ 5 คําถามการทําโครงงาน 5 สมมติฐานการทดลอง 5 วัตถุประสงค์ของโครงงาน 6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6 ขอบเขตของโครงงาน 6 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 6 ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน 6 วิธีการเก็บข้อมูล 6 วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล 7 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลของพืชที่ใช้ทดลอง 8 ข้อมูลของฮอร์โมนที่ใช้ทดลอง 9 บทที่ 3 การดําเนินงาน วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี 12 ขั้นตอนการทําโครงงาน 12 บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง ตารางและกราฟบันทึกผลการทดลอง 16 วิเคราะห์ผลการทดลอง 18 บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปผลการทดลอง 19 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 19 บรรณานุกรม 20 ภาคผนวก 21
  • 5. 5 บทที่ 1 บทนํา ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อความสูงลําต้นของต้นเข็ม สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 1. น.ส.นัทพร สุรินทร์ศิริรัฐ เลขที่ 10 2. น.ส.ปริม ศิลปรัตนาภรณ์ เลขที่ 11 3. น.ส.วริศรา วิวัลย์ศิริกุล เลขที่ 17 4. น.ส.สิริกร อัศวนิก เลขที่ 22 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 125 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อาจารย์ผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มาและความสําคัญ เนื่องจากต้นเข็มเป็นพืชที่พบเห็นได้มากมายทั่วไป และเป็นไม้ดอกที่นิยมนํามาปลูก เนื่องจากมี ความคงทน และดูแลรักษาง่าย จึงสร้างรายได้จํานวนหนึ่งให้กับผู้ปลูกขาย นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีความสําคัญ ต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างหนึ่งก็คือฮอร์โมน พืชมีฮอร์โมนหลายชนิดซึ่งมีผลต่อพืชในด้านต่างๆกัน ฮอร์โมนออกซิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช อาทิเช่น การเพิ่มจํานวนยอด การ เพิ่มความยาวรากและการเพิ่มความสูงของต้น คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช จึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อ ลําต้นของต้นเข็มมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินในระดับความเข้มข้นต่างๆกันที่มีต่อ ความสูงลําต้นของต้นเข็ม คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชมีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลที่ได้จะมี ประโยชน์ต่อการศึกษาระดับฮอร์โมนที่เหมาะสมต่อการเพิ่มความสูงของต้นเข็มในอนาคตต่อไป คําถามการทําโครงงาน สารละลายฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้นใดจะส่งผลให้ต้นเข็มมีการเพิ่มความสูงลําต้นมากที่สุด สมมติฐานการทดลอง ถ้าฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้น 0.09 % โดยมวลต่อปริมาตร (ชุดการทดลอง low dose) มีผลต่อ ความสูงของต้นเข็มทําให้เจริญดีที่สุด ดังนั้น สารละลายออกซินที่ความเข้มข้น 0.09 % โดยมวลต่อปริมาตร จะทําให้ต้นเข็มมีการเจริญเติบโตด้านความสูงลําต้นมากที่สุด
  • 6. 6 วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1. เพื่อศึกษาการตอบสนองของพืชด้านความสูงของลําต้นต่อระดับความเข้มข้นต่างๆกันของฮอร์โมน ออกซิน 2. เพื่อเปรียบเทียบหาความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดของฮอร์โมนออกซินที่สามารถทําให้พืช เจริญเติบโตดีที่สุด 3. ฝึกฝนความรับผิดชอบ และเรียนรู้วิธีการดูแลสิ่งมีชีวิตอื่น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการตอบสนองของพืชด้านความสูงต่อความเข้มข้นระดับต่างๆ ของฮอร์โมนออกซิน 2. ได้ศึกษาเปรียบเทียบความเข้นข้นระดับต่างๆของฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อความสูงของลําต้น ต้นเข็ม 3. เป็นการส่งเสริมความรับผิดชอบในการดูแลต้นไม้และสิ่งมีชีวิตอื่น พัฒนาทักษะการทํางาน เป็นกลุ่มและเพิ่มพูนความสามัคคี ขอบเขตของโครงงาน การทําโครงงานครั้งนี้คณะผู้รับผิดชอบมุ่งเน้นที่จะศึกษาเฉพาะความเข้มข้นระดับต่างๆของ ฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อความสูงลําต้นของต้นเข็ม ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ตัวแปรต้น คือ ความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซิน ตัวแปรตาม คือ ความสูงลําต้นของต้นเข็ม ตัวแปรควบคุม คือ ชนิดของพืช(เข็ม) ปริมาณดิน ปริมาณนํ้าที่รด ปริมาณแสง อุณหภูมิ ชนิด ของฮอร์โมน ขนาดกระถาง ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน เริ่มการทดลองวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และสิ้นสุดการทดลองในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2560 วิธีการเก็บข้อมูล 1. ใช้ไม้บรรทัดวัดส่วนสูงของต้นเข็มแต่ละต้น โดยวัดจากขอบกระถางขึ้นมาจนปลายยอดของต้นเข็ม
  • 7. 7 2. บันทึกค่าความสูงที่วัดได้ในแต่ละครั้งและนําข้อมูลค่าความสูงที่ได้มาเปรียบเทียบ โดยทําการวัดความ สูง ๑ ครั้งต่อสัปดาห์ คือในทุกวันจันทร์ วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล 1. ในการวัดติดตามความสูงของต้นเข็ม สมาชิกกลุ่มได้ทําตารางแสดงค่าความสูงของต้นเข็มจากการ ได้รับฮอร์โมนในระดับความเข้มข้นต่างๆ โดยบันทึกความสูงของต้นเข็มทั้ง9 ต้นทุกวันจันทร์ จากนั้น ทําการเฉลี่ยความสูงของต้นไม้ในแต่ละชุดการทดลองทุกสัปดาห์ เมื่อเสร็จการทดลองแล้ว ก็หาค่าเฉลี่ยของค่าความต่างความสูงของทุกต้นตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการทดลอง เพื่อนํามาเฉลี่ยรวม อีกครั้งเพื่อสรุปผล ว่าต้นไม้จากชุดการทดลองได้มีการเจริญเติบโตด้านความสูงได้ดีที่สุด 2. หาความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยความสูงของเต้นเข็มแต่ละชุดทดลองตลอดระยะเวลาที่ทําการ ทดลองแปดสัปดาห์โดยการทํากราฟเส้น 3. หาความสัมพันธ์ให้เด่นชัดในการเปรียบเทียบค่าความต่างความสูงของชุด high dose, low dose, control ในรูปแบบกราฟแท่ง
  • 8. 8 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลของพืชที่ใช้ทดลอง ต้นเข็มแดง ลักษณะทั่วไปของต้นเข็ม ต้น เข็มเป็นไม้พุ่ม มีขนาดความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร ลักษณะของกิ่งเป็นกิ่งเดี่ยว แตกกอแผ่ ขยายออก และมักจะแตกกิ่งบนยอดต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเช่นกัน แต่ลักษณะใบจะแข็งเปราะ ปลายใบแหลม มี สีเขียวสด มักจะขึ้นแซมรอบต้น ส่วนดอกเข็มจะแหลมเล็ก รวมกลุ่มกันเป็นพุ่ม มักจะมีก้านดอกหุ้มปกป้อง ดอกเข็มไว้ส่วนสีและขนาดจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ของต้นเข็ม ความหมายของต้นเข็ม ดอกเข็มยังจัดว่าเป็นไม้มงคล ตามความเชื่อของโบราณจะถือว่า ดอกเข็มที่แหลมเรียว ก็เปรียบเสมือน ปัญญาที่เฉียบแหลม ดอกเข็มจึงถูกยกย่องให้เป็นดอกไม้ประจําวันไหว้ครู และมักจะถูกนําไปบูชาพระ และ ใช้ประดับแจกัน ตามงานพิธีกรรมต่าง ๆ การปลูกต้นเข็ม เราสามารถปลูกต้นเข็มได้ทั้งในกระถาง และปลูกลงดินประดับสวน โดยมีวิธีปลูกต้นเข็มดังนี้ 1.การปลูกต้นเข็มในกระถาง ต้นเข็มจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง และหากคุณอยากปลูกต้นเข็มใน กระถาง แนะนํา ให้ใช้กระถางทรงสูงขนาด 8-12 นิ้ว ปลูกด้วยดินร่วน ผสมปุ๋ ยคอก หรือปุ๋ ยหมัก และแกลบผุในอัตราส่วน เท่า ๆ กัน ที่สําคัญเมื่อต้นเข็มเติบโตขึ้น ก็ต้องเปลี่ยนกระถางและเปลี่ยนดิน โดยระยะห่างการเปลี่ยน กระถาง และดินไม่ควรเกิน 1 ปี 2.การปลูกต้นเข็มประดับสวน และปลูกริมรั้ว
  • 9. 9 หากต้องการปลูกต้นเข็มลงดิน ควรต้องขุดดินให้ลึกประมาณ 30×30×30 เซนติเมตร โดยใช้ดินร่วน ผสมปุ๋ ยหมัก หรือปุ๋ ยคอก ในอัตราส่วน 1 : 2 ผสมกับดินปลูก และถ้าคุณต้องการปลูกต้นเข็มประดับแนวรั้ว ต้องลงต้นเข็มติดกัน ให้ต้นเข็มโตในลักษณะจับกลุ่มกัน หรือตัดแต่งทรงต้นเข็มตามต้องการ ทั้งนี้ทาง โบราณยังเชื่อว่า การปลูกต้นเข็มเเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ต้องปลูกต้นเข็มทางทิศ ตะวันออก และควรปลูกในวันพุธด้วย การดูแลรดนํ้าต้นเข็ม ต้นเข็มเป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการนํ้าเพียงแค่ปานกลาง คือ รดนํ้าสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งก็พอ แต่ชอบแดดจัด ดังนั้นควรปลูกกลางแจ้ง เพราะต้นเข็มสามารถทนความแห้งแล้งได้นอกจากนี้ก็ควรใส่ปุ๋ ยคอก หรือปุ๋ ยหมัก ในอัตราส่วน 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ซึ่งควรใส่ 5-6 ครั้ง/ปี การขยายพันธุ์ต้นเข็ม วิธีการขยายพันธุ์ต้นเข็มสามารถทําได้ทั้งปักชํากิ่ง ตอนกิ่ง และการเพาะเมล็ด แต่ส่วนใหญ่จะนิยม ขยายพันธุ์ด้วยการปักชํา และตอนกิ่งมากกว่า เนื่องจากได้ผลดีกว่า การใส่ปุ๋ ยเร่งดอกต้นเข็ม หากต้นเข็มไม่ค่อยมีดอกให้เชยชม อาจจะต้องดูว่า คุณปลูกต้นเข็มในที่ที่มีแดดจัดหรือเปล่า เพราะต้น เข็มเป็นพืชที่ชอบแดดมาก รวมทั้งคุณอาจจะต้องคอยตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ เพื่อเร่งให้ต้นเข็มมีการเจริญเติบโต แต่ก็สามารถใช้ปุ๋ ยเร่งดอก ใส่เดือนละครั้ง พร้อมทั้งรดนํ้าต้นเข็มอย่างสมํ่าเสมอ ข้อมูลของฮอร์โมนที่ใช้ทดลอง ฮอร์โมนออกซิน ออกซิน (Auxin) เป็นกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นการเจริญเติบโต ทําให้มีการแบ่งเซลล์และยืด ตัวของเซลล์การขนส่งออกซินภายในพืชเป็นการขนส่งอย่างมีทิศทาง การสังเคราะห์ออกซิน ออกซินเป็นฮอร์โมนที่แพร่กระจายทั่วไปในพืช มีเข้มข้นสูงที่เนื้อเยื่อเจริญ ตําแหน่งที่มีการสังเคราะห์ออก ซิน ได้แก่เนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายยอดและปลายราก ใบอ่อน ช่อดอกที่กําลังเจริญ เมล็ดที่กําลังงอก เอ็มบริโอและผลที่กําลังเจริญ การสังเคราะห์ออกซินเกิดในเนื้อเยื่อที่มีอายุมากน้อยหรือไม่มีเลย สารตั้งต้น ของการสังเคราะห์ออกซินในพืช คือกรดอะมิโนทริปโตแฟน (Trytophan) ออกซินที่พืชสร้างขึ้นมีสองแบบ คือแบบอิสระ สามารถเคลื่อนที่ได้ดี กับอีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่จับอยู่กับสารอื่นๆ ทําให้เคลื่อนที่ได้น้อย หรือไม่ออกฤทธิ์
  • 10. 10 การออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนของออกซิน -การชักนําการยืดขยายเซลล์ลําต้น และเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด ถ้าออกซินสูงเกินไปจะยับยั้งการเติบโต เพราะออกซินที่สูงเกินจะกระตุ้นให้พืชสร้างเอทิลีนออกมา และไปกดการยืดขยายตัวของเซลล์ -การเพิ่มความยืดหยุ่นของผนังเซลล์โดยเฉพาะในต้นอ่อนและเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด การเพิ่มความยืดหยุ่น ของผนังเซลล์จะช่วยให้เซลล์ยืดขยายตัวได้ -กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการยืดขยายตัวของเซลล์เกิดจากการเพิ่มความยืดหยุ่นที่ผนังเซลล์เพิ่มความดัน ออสโมติกและลดความกดดันที่ผนังเซลล์ทําให้เซลล์ขยายขนาดได้ง่าย และอาจจะส่งเสริมการสังเคราะห์ โปรตีนที่จําเป็นต่อการเติบโต -เร่งการเติบโตของพืชทั้งในส่วนที่เป็นต้นและราก โดยปกติแล้ว ส่วนต่างๆของพืชตอบสนองต่อปริมาณ ออกซินไม่เท่ากัน ลําต้นต้องการออกซินสูงกว่าในราก ถ้าสูงเกินไปจะยับยั้งการเติบโต -ส่งเสริมการเจริญของไซเลม ซึ่งจากการศึกษาในแคลลัส เมื่อเติมออกซินลงไป ออกซินจะช่วยให้การ เชื่อมต่อของเนื้เยื่อลําเลียงในแคลลัส ทําให้แคลลัสเกิดเป็นตา การเพิ่มนํ้าตาลและออกซินลงในอาหารเลี้ยง ทําให้แคลลัสเจริญเป็นลําต้นและกลายเป็นพืชต้นใหม่ -การเพิ่มกิจกรรมของกรดนิวคลีอิก โดยออกซินเช่น IAA มีส่วนช่วยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์ RNA โดย ออกซินอาจจะมีบทบาทช่วยในการเข้าถึงยีน เช่นช่วยให้ฮิสโตนหลุดออกจาก DNA ทําให้ RNA polymerase II โดยเฉพาะการสร้างเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการยืดขยายของผนังเซลล์ -การยับยั้งการร่วงของใบ การร่วงของใบเกิดจากการเกิดชั้นก่อการร่วงที่ผนังเซลล์ของเซลล์ในแนวดังกล่าว จะเกิดการแยกออกจากกิ่งหรือต้น ในเนื้อเยื่ออ่อนที่มีออกซินสูง การเกิดชั้นก่อการร่วงจะไม่เกิดขึ้น ถ้าตัด แผ่นใบทิ้งเหลือแต่ก้านใบ แล้วนําออกซินมาทาที่ก้านใบ ก้านใบที่ได้รับออกซินจะร่วงช้ากว่า ถ้าให้ออกซิน แก่ใบตั้งแต่ระยะแรกๆก่อนโตเต็มที่ จะทําให้ใบร่วงช้ากว่าใบพืชที่ไม่ได้รับออกซิน -การยืดขยายความยาวของราก รากจะไวต่อความเข้มข้นของออกซินมาก IAA ปริมาณตํ่าจะกระตุ้นการ ขยายตัวของรากได้ดี โดยที่ไม่มีผลต่อลําต้น ส่วนความเข้มข้นที่กระตุ้นการเจริญของลําต้นจะสูงเกินไป สําหรับราก จนกลายเป็นการยับยั้ง -การเกิดรากแขนง ออกซินมีผลต่อการกระตุ้นให้เกิดรากแขนง การตัดใบหรือตาอ่อนที่สร้างออกซินออกไป ทําให้การแตกรากแขนงน้อยลง แสดงว่าการเกิดรากแขนงถูกควบคุมโดยออกซินที่สร้างจากลําต้น นอกจากนั้นออกซินยังส่งเสริมการเกิดรากแขนงในกิ่งปักชําโดยรากแขนงเกิดได้ดีจากโฟลเอมส่วนใกล้ๆข้อ
  • 11. 11 -ความเข้มข้นที่สูงเกินไปของออกซินจะยับยั้งการเจริญเติบโตและเป็นพิษต่อพืช โดยทําให้อวัยวะของพืชมี การเติบโตที่ไม่สัมพันธ์กัน เช่นแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้นแต่เซลล์ไม่ขยายขนาด อวัยวะบิดเบี้ยวเสียรูปทรง การเจริญ ของพืชลดลง และหยุดไปในที่สุด การเกิดอวัยวะของพืช เมื่อออกซินนําไปสู่การสร้างอวัยวะ ออกซินจะมีบทบาทสําคัญในการควบคุมพัฒนาการของพืช หากไม่มีการควบคุมด้วยฮอร์โมน พืชจะเป็นเพียงกลุ่มของเซลล์ที่คล้ายกัน การทํางานออกซินเริ่มขึ้นในตัว อ่อนของพืชที่ทิศทางการกระจายของออกซิน เกี่ยวข้องกับการกําหนดขั้วของเจริญเติบโตและการพัฒนา ซึ่ง จะไปเป็นยอดและรากแรกเกิด ออกซินช่วยให้พืชรักษาขั้วของการเจริญเติบโตและการแตกกิ่งก้านได้ตลอด ชีวิตของการเติบโต หลักการสําคัญของการเกิดอวัยวะในพืชขึ้นอยู่กับการกระจายของออกซิที่ปลายยอด ซึ่งหมายความ ว่าออกซินผลิตมากที่ตายอด แพร่กระจายลงมาและลดการพัฒนาของตาข้างที่จะแข่งขันกับตายอดเพื่อแย่ง แสงและสารอาหารที่เรียกการข่มของตายอดต่อตาข้าง (Apical dominance) โดยทั่วไปในพืช เมื่อมีตายอดอยู่ จะข่มการเจริญของตาข้างทําให้ตาข้างเติบโตช้า ถ้าตัดปลายยอดออก ตาข้างจะเติบโตได้ทันที การข่มของตา ยอดอาจมาจากส่วนยอดบดบังแสงไว้ทําให้ตาข้างได้รับแสงไม่เต็มที่ การกระจายของออกซินที่ไม่สมํ่าเสมอ : ในการทําให้มีการเจริญเติบโตในส่วนที่ต้องการนั้น มัน เป็นสิ่งจําเป็นที่ออกซินจะต้องทํางานในบริเวณนั้นมาก แม้ว่าจะไม่มีการสังเคราะห์ออกซินในทุกเซลล์แต่ แต่ละเซลล์ยังคงมีความสามารถในการสังเคราะห์ออกซินได้และจะถูกกระตุ้นให้สร้างภายใต้เงื่อนไขที่ เฉพาะ และยังมีการขนส่งออกซินเข้าสู่บริเวณที่ต้องการใช้ด้วย ในการขนส่งระยะทางไกล จะมีระบบ เฉพาะที่มีทิศทางแน่นอนในการขนส่งระหว่างเซลล์ที่มีการควบคุม มันขึ้นอยู่ในการกระจายไม่สมํ่าเสมอ ของตัวพาออกซินในเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งกําหนดให้ขนส่งออกซินในทิศทางที่ถูกต้อง การศึกษาในปี พ.ศ. 2549 พบโปรตีน PIN มีความสําคัญในการลําเลียงออกซิน การควบคุมการสร้างโปรตีน PIN ในเซลล์จะเป็นตัวกําหนดทิศทางของการขนส่งออกซินในการ เพิ่มปริมาณออกซินในบริเวณนั้นให้ถึงจุดสูงสุด จุดสูงสุดของออกซินช่วยในการพัฒนาของยอดและราก เซลล์ที่อยู่รอบๆบริเวณนั้นเป็นเซลล์ที่มีออกซินตํ่า ใน Arabidopsis การมีออกซินปริมาณตํ่าในผลจะมี ความสําคัญต่อการพัฒนาของเนื้อเยื่อ.ในการสร้างดอกและผล การให้ออกซินแก่พืชที่มีดอกเพศผู้และเพศ เมียแยกกันตั้งแต่ระยะแรกของการเจริญจะทําให้เกิดดอกเพศเมียมากขึ้น ละอองเรณูเป็นส่วนที่มีออกซินสูง สารสกัดจากละอองเรณูจะกระตุ้นการติดผลโดยไม่ต้องมีการถ่ายละอองเกสรที่เรียกว่าการเกิดผลลม (Parthenocarpy) ซึ่งเป็นผลที่ไม่มีเมล็ด และมีประโยชน์ทางการค้า
  • 12. 12 บทที่ 3 การดําเนินงาน วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี 1. ต้นเข็ม 9 ต้นพร้อมดินและกระถาง 2. สารละลายฮอร์โมนออกซิน โดยผสมนํ้าในอัตราส่วนต่างๆให้ได้ความเข้มข้นต่างกันเป็น low dose (0.09% W/V) และ high dose (0.45% W/V) 3. กระบอกฉีดนํ้าและฮอร์โมน 3 กระบอก 4. แผ่นป้ายกันนํ้าปักในกระถาง 5. แผ่นกระดาษและเทปกันนํ้าเพื่อแปะบนกระบอกฉีด 6. ถุงพลาสติกเพื่อหล่อนํ้าในวันที่ไม่ได้มาโรงเรียน(วันหยุดปลายสัปดาห์) และเพื่อแบ่งชุดการ ทดลอง 7. ตลับเมตรและไม้บรรทัดเพื่อวัดความสูงของต้นเข็ม 8. แบบบันทึกติดตามผลการเจริญเติบโตของพืช ขั้นตอนการทําโครงงาน 1. ประชุมวางแผนคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ ซึ่งคือการศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อความ สูงของต้นเข็ม 2. ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานดังนี้ 2.1. ต้นไม้ที่จะนํามาศึกษา คือ ต้นเข็ม 2.2. ฮอร์โมนที่สนใจศึกษา คือ ฮอร์โมนออกซิน 3. วางแผนรายละเ อียดการทดลอง โดยแบ่งกลุ่มที่ใช้ศึกษาเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คือกลุ่ม High dose โดยในกลุ่มนี้จะพ่นฮอร์โมนออกซิน 0.45% W/V กลุ่มที่2 คือ กลุ่ม Low dose โดยในกลุ่มนี้จะพ่นฮอร์โมนออกซิน 0.09% W/V กลุ่มที่3 คือ กลุ่มควบคุม ในกลุ่มนี้จะไม่พ่นฮอร์โมนออกซิน 4. หาสถานที่ที่เหมาะสมต่อทดลองโดยต้องเป็นสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท แสงแดดส่องถึงซึ่งต้องเหมาะสม ต่อการปลูกต้นเข็มตามที่ได้ศึกษาหาข้อมูล 5. จัดทําเค้าโครงงาน เพื่อนําเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อนําไปปรับปรุงแก้ไข 6. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําการทดลองการศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อความสูงของต้น เข็ม
  • 13. 13 7. ขั้นตอนกระบวนการทําการทดลอง 7.1. ผสมฮอร์โมนให้ได้ความเข้มข้นตามที่กําหนดไว้คือ low dose (0.09% W/V) และ high dose (0.45% W/V) 7.2. นําต้นเข็มลงกระถางพร้อมใส่ดินให้เรียบร้อย จากนั้นจึงนําต้นเข็มไปวางในสถานที่ที่ได้เลือกไว้ 7.3. ทําป้ายเพื่อปักที่กระถางเพื่อระบุรายละเอียดของต้นเข็มต้นนั้นๆ จากนั้นจึงนําไปปักที่ต้นไม้แต่ละ ต้น
  • 14. 14 7.4. รดนํ้าและพ่นฮอร์โมนให้ต้นเข็ม 3 ครั้ง/สัปดาห์ คือในทุกวันจันทร์ วันพุธและวันศุกร์ 7.4.1.ในกลุ่ม High dose จะฉีดฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้น 0.45% W/V ทั้งหมด 10 ครั้ง 7.4.2. ในกลุ่ม Low dose จะฉีดฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้น 0.09% W/V ทั้งหมด 10 ครั้ง 7.4.3. ในกลุ่มควบคุมจะไม่มีการฉีดฮอร์โมน ดังนั้นจึงรดนํ้าเพียงอย่างเดียว 7.5. สังเกตและบันทึกความสูงของต้นเข็มทุกสัปดาห์
  • 15. 15 7.6. จับวัชพืชหรือศัตรูพืชที่อาจส่งผลต่อผลการทดลองออกเมื่อพบ 8. สรุปผล อภิปราย และเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะ 9. จัดทําเอกสารเป็นรูปเล่มโครงงานให้สมบูรณ์ 10. จัดทําสื่ออภิปรายแสดงผลการทดลอง 11. นําเสนอโครงงาน
  • 16. 16 บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง ตารางบันทึกผลการทดลอง ตารางแสดงค่าความสูงของต้นเข็มที่ได้รับฮอร์โมนความเข้มข้นแตกต่างกัน วันที่บันทึก ผล ความสูงต้นเข็ม (ซม.) ชุด High Dose (0.45% W/V) ชุด Low Dose (0.09% W/V) ชุดควบคุม (0% W/V) ต้น 1 ต้น 2 ต้น 3 เฉลี่ย ต้น 1 ต้น 2 ต้น 3 เฉลี่ย ต้น 1 ต้น 2 ต้น 3 เฉลี่ย 12 มิ.ย. 60 22.7 22.5 23.0 22.73 16.5 20.5 17.3 18.10 20.0 18.0 19.5 19.17 19 มิ.ย. 60 23.8 22.8 23.5 23.37 18.1 21.1 17.9 19.03 20.3 18.1 19.6 19.33 26 มิ.ย. 60 24.2 23.0 23.9 23.70 18.8 21.2 18.7 19.57 19.8 17.2 20.0 19.00 3 ก.ค. 60 24.6 23.9 24.1 24.20 18.4 22.6 18.9 21.03 20.9 18.4 20.2 19.83 10 ก.ค. 60 23.7 23.6 23.5 23.60 18.8 22.7 17.8 19.77 20.7 18.5 21.0 20.07 17 ก.ค. 60 24.1 23.9 23.6 23.87 18.5 23.1 18.1 19.90 21.3 18.7 22.5 20.83 24 ก.ค. 60 24.3 23.9 23.8 24.00 19.2 23.2 18.2 20.20 22.1 18.9 22.6 21.20 31 ก.ค. 60 24.5 24.1 24.2 24.27 19.6 24.0 18.3 20.63 22.7 19.1 22.9 21.57 ค่าความต่าง ของความสูง ต้นเข็ม (ซม.) 1.8 1.6 1.2 1.53 3.1 3.5 1.0 2.53 2.7 1.1 3.4 2.4
  • 17. 17 กราฟแสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความสูงของต้นเข็ม(cm) ที่ได้รับความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซิน แตกต่างกัน ระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 กราฟแสดงการเปรียบเทียบค่าความต่างของความสูงต้นเข็ม(cm)ที่ได้รับความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซิน แตกต่างกัน คือ ชุดHigh Dose, ชุดLow Dose และชุดควบคุม 0 5 10 15 20 25 30 12 มิ.ย. 60 19 มิ.ย. 60 26 มิ.ย. 60 3 ก.ค. 60 10 ก.ค. 60 17 ก.ค. 60 24 ก.ค. 60 31 ก.ค. 60 ชุดHigh Dose ชุดLow Dose ชุดควบคุม 0 0.5 1 1.5 2 2.5 3 3.5 ชุดHigh Dose ชุดLow Dose ชุดควบคุม ต้น 1 ต้น 2 ต้น 3
  • 18. 18 วิเคราะห์ผลการทดลอง จากข้อมูลผลการทดลองวัดค่าความสูงของต้นเข็มที่ได้รับฮอร์โมนความเข้มข้นแตกต่างกัน พบว่า ต้นเข็มกลุ่ม High Dose ซึ่งได้รับฮอร์โมนออกซินความเข้มข้น 0.45% W/V นั้น มีค่าความสูงเพิ่มขึ้น 1.8, 1.6 และ 1.2 ซม. ตามลําดับต้นที่ 1, 2 และ 3 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.53 ซม. ต้นเข็มกลุ่ม Low Dose ซึ่งได้รับ ฮอร์โมนออกซินความเข้มข้น 0.09% W/V มีความสูงเพิ่มขึ้น 3.1, 3.5 และ 1.0 ซม. ตามลําดับต้นที่ 1, 2 และ 3 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.53 ซม. และต้นเข็มกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับฮอร์โมนออกซินนั้น พบว่ามีความสูงเพิ่มขึ้น 2.7, 1.1 และ 3.4 ซม. ตามลําดับต้นที่ 1, 2 และ 3 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.40 ซม. จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงที่เพิ่มขึ้นของต้นเข็มนั้น พบว่า ต้นเข็มกลุ่ม Low Dose สูงเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 2.53 ซม. ต้นเข็มกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มถัดมา คือ 2.40 ซม. ในขณะที่ต้นเข็ม กลุ่ม High Dose มีค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงต้นเข็มน้อยที่สุด นั่นคือ 1.53 ซม.
  • 19. 19 บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปผลการทดลอง ฮอร์โมนออกซิน เป็นฮอร์โมนที่มีผลในการชักนําการแบ่งเซลล์และการยืดขยายของเซลล์ลําต้น และเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด โดยความเข้มข้นที่สูงเกินไปของออกซินจะยับยั้งการเจริญเติบโตและเป็นพิษต่อ พืช เพราะออกซินที่สูงเกินจะกระตุ้นให้พืชสร้างเอทิลีนออกมา และไปกดการยืดขยายตัวของเซลล์ทําให้ การเจริญของพืชลดลงและหยุดไปในที่สุด จากผลการทดลองพบว่าต้นเข็มในกลุ่มLow Doseนั้น มีค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงเพิ่มขึ้นสูง ที่สุดเนื่องจากได้รับสารละลายฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้นเหมาะสม แต่ต้นเข็มในกลุ่มHigh Doseนั้น มีค่าเฉลี่ยความต่างของความสูงเพิ่มขึ้นตํ่าที่สุดเนื่องจากได้รับสารละลายฮอร์โมนออกซินที่มีความเข้มข้น มากเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับต้นเข็มกลุ่มควบคุมแล้ว พบว่า ต้นเข็มกลุ่มLow Doseได้รับการกระตุ้น ในขณะที่ต้นเข็มกลุ่มHigh Doseถูกยับยั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนออกซิน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 1. ควรใช้ต้นไม้ที่มีอายุใกล้เคียงกัน มีความสูงเริ่มต้นใกล้เคียงกัน เพื่อความแม่นยําของการทดลอง 2. การนําต้นไม้ลงกระถาง ควรใช้ดินในปริมาณเท่าๆกัน อัดดินให้แน่นพอเหมาะ เพื่อป้องกันการทรุดตัว ของดิน 3. ควรวางต้นเข็มในที่ที่มีแสงแดดจัด เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการแดดจัด และวางต้นเข็มในที่ที่นํ้าท่วมไม่ถึง เพื่อป้องกันการโดนนํ้าท่วมพัดลอยไป
  • 20. 20 บรรณานุกรม วันทนี สว่างอารมณ์. 2542. การเจริญและการเติบโตของพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา สถาพร ดียิ่ง. 2542. ฮอร์โมนพืช. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. กระปุกดอทคอม. ต้นเข็ม ต้นไม้ริมรั้วสีสวย ปลูกประดับหน้าบ้าน. 2557. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://home.kap ook.com/view96253.html [ 27 กรกฎาคม 2560 ]. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. เข็ม (พืช). 2554. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ เข็ม_(พืช) [ 27 กรกฎาคม 2560 ].