SlideShare a Scribd company logo
1 of 23
Download to read offline
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อการออกดอกของต้นพุดซ้อน
นําเสนอครูผู้สอน
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ตําแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
1. นางสาวณัฐธิดา ภาสพานทอง เลขที่ 8
2. นางสาวณิชกมล กิตติวรรณศักดิ์ เลขที่ 9
3. นายณธกร วาสนาส่งชูสกุล เลขที่ 26
4. นายตรัยภพ แอร่มหล้า เลขที่ 28
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 78
สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ก
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการเกษตรมีความสําคัญอย่างมากไม่เพียงแค่ในประเทศแต่ยังร่วมถึงทั้งโลกเลยทีเดียวเพราะ
มนุษย์มีอาหารและยารักษาโรคเป็นหนึ่งในปัจจัยในการดํารงชีวิตเพราะฉะนั้นการที่เราสามารถพัฒนา
ผลผลิตทางการเกษตรได้นั้นจึงเป็นสิ่งที่สําคัญยิ่ง
วิธีการที่จะพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรนั้นมีมากมายทางคณะผู้จัดทําได้เลือกวิธีการเร่งการ
เจริญเติบโตของพืชโดยการใช้ฮอร์โมนโดยฮอร์โมนที่เราเลือกนั้นคือฮอร์โมนออกซินที่ช่วยในการ
เจริญเติบโตของพืชโดยเราเลือกใช้ต้นพุดซ้อนเป็นตัวอย่างในการศึกษา นอกจากนั้นเรายังทดลองใช้ความ
เข้มข้นของฮอร์โมนออกซินในปริมาณที่แตกต่างกันเพื่อเปรียบเทียบผลของฮอร์โมนที่มีต่อต้นพุดซ้อนโดย
เราแบ่งการทดลองเป็น3ชุด ชุดละ3ต้นแบ่งเป็น 1.ชุดควบคุม 2.High dose 3. Low dose
จากการทดลองพบว่า ฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้น 0.15 % (High dose) มีผลต่อการออกดอกดี
ที่สุดรองลงมาคือ คือความเข้มข้น 0.1%(Low dose) และชุดควบคุมตามลําดับ ดังนั้น สารละลายฮอร์โมน
ออกซินที่ความเข้มข้น 0.15 % (High dose) จึงมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเร่งการเจริญเติบโตของต้นพุด
ซ้อน
ข
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อการออกดอกของ
ต้นพุดซ้อน จะสําเร็จลุล่วงไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากคุณครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์คุณครูประจําวิชา
ชีววิทยา ที่ช่วยให้คําปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ตลอดจนเอื้อเฟื้อสถานที่ในการทํา
การทดลอง
ขอขอบคุณผู้ปกครองนายตรัยภพ แอร่มหล้า สําหรับความช่วยเหลือในการจัดซื้อต้นไม้และการขน
ย้ายต้นไม้และขอขอบคุณผู้ปกครองนางสาวณัฐธิดา ภาสพานทอง สําหรับความช่วยเหลือในการจัดซื้อ
ฮอร์โมนออกซิน และให้คําแนะนําตลอดมา
คณะผู้จัดทําโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ณ โอกาสนี้
คณะผู้จัดทํา
ค
สารบัญ
หัวข้อ หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
บทที่ 1 บทนํา 1
ที่มาและความสําคัญ 1
สมมติฐานการทดลอง 1
วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
ขอบเขตของโครงงาน 2
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 2
ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน 2
วิธีการเก็บข้อมูล 2
วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3
ข้อมูลเกี่ยวกับต้นพุดซ้อน 3
ข้อมูลเกี่ยวกับฮอร์โมนออกซิน 4
บทที่ 3 การดําเนินงาน 12
บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง 14
บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 16
บรรณานุกรม 17
ภาคผนวก 18
1
บทที่ 1 บทนํา
ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อการออกดอกของต้นพุดซ้อน
สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
1. นางสาวณัฐธิดา ภาสพานทอง เลขที่ 8
2. นางสาวณิชกมล กิตติวรรณศักดิ์ เลขที่ 9
3. นายณธกร วาสนาส่งชูสกุล เลขที่ 26
4. นายตรัยภพ แอร่มหล้า เลขที่ 28
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 78
สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
อาจารย์ผู้สอน
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ที่มาและความสําคัญ
เนื่องจาก ต้นพุดซ้อนเป็นต้นไม้ที่มีประโยชน์อย่างมากสามารถนํามาร้อยพวงมาลัยบูชาพระ เมล็ดสี
เหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทําสีย้อม ส่วนดอกใช้สกัดนํ้ามันหอมระเหย ใช้ทํานํ้าหอมและแต่งกลิ่น
เครื่องสําอาง ผลสดหรือผลที่เผาจนเป็นเถ้าใช้เป็นยาระบายความร้อนและขับสารพิษ เราจึงใช้ฮอร์โมน
ออกซิน เร่งการเติบโตของพืชทั้งในส่วนที่เป็นต้นและราก โดยปกติแล้ว ส่วนต่างๆของพืชตอบสนองต่อ
ปริมาณออกซินไม่เท่ากัน ลําต้นต้องการออกซินสูงกว่าในราก ถ้าสูงเกินไปจะยับยั้งการเติบโต
คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช จึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของฮอร์โมนออก
ซินที่มีผลต่อดอกของต้นพุดซ้อนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เร่งการออกดอกของต้นพุดซ้อนเพื่อนําไปใช้
ประโยชน์ได้เร็วขึ้น คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชมีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลที่ได้
จะมีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาในอนาคตต่อไป
คําถามการทําโครงงาน
สารละลายฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้นใดจะส่งผลให้ต้นพุดซ้อนมีการออกดอกมากที่สุด
สมมติฐานการทดลอง
ถ้าฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้น 0.15 % (High dose) มีผลต่อการออกดอกดีที่สุด ดังนั้น สารละลาย
ฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้น 0.15 % (High dose) จะทําให้มีจํานวนดอกมากที่สุด
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อการออกดอกของต้นพุดซ้อน
2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อต้นพุดซ้อน
2. ได้ศึกษาเปรียบเทียบความเข้มข้นต่างต่างของฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อต้นพุดซ้อน
3. เป็นการส่งเสริมการปลูกต้นพุดซ้อนให้ได้ผลผลิตที่เร็วขึ้นและมากขึ้น
ขอบเขตของโครงงาน
การทําโครงงานครั้งนี้คณะผู้รับผิดชอบมุ่งเน้นที่จะศึกษาเฉพาะการเร่งการออกดอกของต้นพุดซ้อน
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น คือ ความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซิน
ตัวแปรตาม คือ จํานวนดอกของต้นพุดซ้อน
ตัวแปรควบคุม คือ อายุของต้นพุดซ้อน ปริมาณนํ้า แสง อุณหภูมิ
ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน
วันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ถึง 31 กรกฎาคม 2560
วิธีการเก็บข้อมูล
ใช้วิธีการนับจํานวนดอกทั้งหมดที่มีบนต้นพุดซ้อนแต่ละต้นโดยนับจํานวนดอกครั้งแรก เมื่อ
แรกเริ่มซื้อต้นไม้มา ต่อมาหลังจากเริ่มการทดลอง จะนับทุกๆวันจันทร์ของสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน
พ.ศ.2560 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ.2560 แล้วบันทึกผลการทดลองลงในตาราง รวมแล้วมีการบันทึกผลการ
ทดลองฮอร์โมนพืชทั้งหมด 9 ครั้ง
วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล
การหาความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนดอกของต้นพุดซ้อนกับความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซินที่ใช้
ในรูปแบบกราฟแท่งและกราฟเส้น
3
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. ต้นพุดซ้อน
พุดซ้อน ถิ่นเดิมของพุดซ้อนเข้าใจว่าอยู่ในประเทศจีน และเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับเข็มพวง
ขาว กระทุ่ม และกาแฟ มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ พุดจีน พุดใหญ่ เก็ดถะหวา (ภาคเหนือ) และอินถะหวา
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลําต้นเรียวเป็นรูปกรวย ใบเดี่ยว รูปหอก
ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน ดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนา
เป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว และชนิดดอกซ้อน มีกลีบดอกจํานวนมากเรียงซ้อนกัน
เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 เซนติเมตร กลิ่นหอมแรง ออกดอกตลอดปี
การปลูกเลี้ยง
พุดซ้อนเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ ขยายพันธุ์โดย
การเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
ประโยชน์
นิยมนําไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ เมล็ดสีเหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทําสีย้อม ส่วนดอกใช้สกัด
นํ้ามันหอมระเหย ใช้ทํานํ้าหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสําอาง ในตํารายาจีนเรียกจือจื่อ (ภาษาจีนกลาง)
หรือกี้จือ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ผลสดหรือผลที่เผาจนเป็นเถ้าใช้เป็นยาระบายความร้อนและขับสารพิษ
4
2. ฮอร์โมนออกซิน (Auxin Hormone)
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับออกซินนั้นเกิดขึ้นจากงานของ Charles darwin ซึ่งศึกษาเรื่อง Phototropism
ซึ่งพืชจะโค้งงอเข้าหาแสง Darwin ทดลองกับต้นกล้าของ Phalaris canariensisและพบว่าโคลีออพไทล์
ของพืชชนิดนี้จะตอบสนองต่อการได้รับแสงเพียงด้านเดียวทําให้เกิดการโค้งเข้าหาแสง Darwin สรุปว่า
เมื่อต้นกล้าได้รับแสงจะทําให้มี "อิทธิพล" (Influence) บางอย่างส่งผ่านจากส่วนยอดมายังส่วนล่างของ
โคลีออพไทล์ทําให้เกิดการโค้งงอเข้าหาแสง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาได้ศึกษาถึง "อิทธิพล" ดังกล่าว
ต่อมา Boysen-Jensen และ Paal ได้ศึกษาและแสดงให้เห็นว่า "อิทธิพล" ดังกล่าวนี้มีสภาพเป็น
สารเคมี ซึ่งในสภาพที่โคลีออพไทล์ได้รับแสงเท่ากันทั้งสองด้าน สารเคมีนี้จะเคลื่อนที่ลงสู่ส่วนล่าง
ของโคลีออพไทล์ ในอัตราเท่ากันทุกด้านและทําหน้าที่เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต
ในปี ค.ศ. 1926 Went ได้ทํางานทดลองและสามารถแยกสารชนิดนี้ออกจากโคลีออพไทล์ได้
โดยตัดส่วนยอดของโคลีออพไทล์ของข้าวโอ๊ตแล้ววางลงบนวุ้นจะทําให้สารเคมีที่กระตุ้นการ
เจริญเติบโตไหลลงสู่วุ้น เมื่อนําวุ้นไปวางลงที่ด้านหนึ่งของโคลีออพไทล์ที่ไม่มียอดด้านใดด้านหนึ่งจะ
ทําให้โคลีออพไทล์ดังกล่าวโค้งได้เขาสรุปว่าสารเคมีได้ซึมลงสู่วุ้นแล้วซึมจากวุ้นลงสู่ส่วนของโคลี
ออพไทล์ วิธีการดังกล่าวนอกจากเป็นวิธีการแรกที่แยกสารเคมีชนิดนี้ได้แล้ว ยังเป็นวิธีการวัดปริมาณ
ของฮอร์โมนได้ด้วย เป็นวิธีที่เรียกว่า Bioassay
สารเคมีดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า ออกซิน ซึ่งในปัจจุบันพบในพืชชั้นสูงทั่วๆไปและมีความสําคัญ
ต่อการเจริญเติบโตของพืช สังเคราะห์ได้จากส่วนเนื้อเยื่อเจริญของลําต้น ปลายราก ใบอ่อน ดอกและผล
และพบมากที่บริเวณเนื้อเยื่อเจริญ โคลีออพไทด์และคัพภะ รวมทั้งใบที่กําลังเจริญด้วย
การสังเคราะห์ออกซิน
ในปี ค.ศ. 1934 ได้พบว่าออกซินมีลักษณะทางเคมีเป็นสาร Indole-3-acetic acid หรือเรียกย่อๆ
ว่า IAA ซึ่งในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นออกซินส่วนใหญ่ที่พบในพืชและในสภาพธรรมชาติ อยู่ในรูป Indole
ทั้งสิ้น โดยที่ IAA เป็นสารที่สําคัญที่สุด นอกจากนั้นยังพบในรูปของ Indole-3-acetaldehyde หรือ
IAAld Indole-3-Pyruvic acid หรือ IPyA และ Indole-3-acetonitrile หรือ IAN ซึ่งสารทั้ง 3 ชนิดนี้
สามารถเปลี่ยนเป็น IAA ได้พืชสังเคราะห์ออกซินที่ใบอ่อน จุดกําเนิดของใบและเมล็ดซึ่งกําลัง
เจริญเติบโต
5
การสังเคราะห์ออกซินนั้นมีกรดอะมิโน L-Tryptophan เป็นสารเริ่มต้น (Precursor) L-Tryptophan
เป็นกรดอะมิโนที่มีโครงสร้างของ Indole อยู่ ในการสังเคราะห์ IAA นั้นจะมี IAAld และ IPyA เป็น
สารที่พบในระหว่างการสังเคราะห์ ในพืชบางชนิด เช่น ข้าวโอ๊ต ยาสูบ มะเขือเทศ ทานตะวัน และ
ข้าวบาร์เลย์ พบว่า Tryptophan สามารถเปลี่ยนเป็น Tryptamineได้ในพืชตระกูลกะหลํ่า Tryptamine
อาจจะเปลี่ยนไปเป็น Indoleacetaldoxime แล้วเปลี่ยนไปเป็น IAN แล้วจึงเปลี่ยนเป็น IAA
การศึกษาเรื่องการสังเคราะห์ออกซินมักศึกษาจากเนื้อเยื่อปลายรากหรือปลายยอด และ
พบว่า IAA นี้สังเคราะห์ได้ทั้งในส่วนไซโตซอล (Cytosol) ไมโตคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์ ใน
การศึกษาในปัจจุบันพบว่าPhenylacetic acid หรือ PAA มีคุณสมบัติของออกซินด้วย และสามารถ
สังเคราะห์ได้จาก L-Phenylalanine โดยพบในคลอโรพลาสต์ และไมโตคอนเดรียของทานตะวัน
สารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติของออกซินมีหลายชนิดที่สําคัญทางการเกษตร เช่น สาร 2,4-
dichlorophenoxyacetic acid หรือ 2,4-D ซึ่งใช้ในการกําจัดวัชพืช IBA หรือ Indole butyric acid ใช้ใน
การเร่งให้ส่วนที่จะนําไปปักชําเกิดรากเร็วขึ้น และ NAA หรือ Napthalene acetic acid จะช่วยในการติด
ผลของผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิล
ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของโมเลกุลและการมีคุณสมบัติของออกซิน
เนื่องจากมีสารที่เกิดในธรรมชาติและสารสังเคราะห์จํานวนมากมีคุณสมบัติของออกซิน จึง
จําเป็นต้องรู้โครงสร้างของโมเลกุลที่จะก่อให้เกิดคุณสมบัติของออกซินได้ซึ่งมีการศึกษากันมาก ใน
ขั้นต้น เข้าใจว่าสารที่จะมีคุณสมบัติของออกซินต้องประกอบด้วยวงแหวนที่ไม่อิ่มตัว มี side chain เป็น
กรด ซึ่งต่อมาพบว่าไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง เพราะมีสารหลายชนิดที่ไม่มีลักษณะดังกล่าว แต่มีคุณสมบัติ
ของออกซิน จากการศึกษาของ Thimannในปี ค.ศ. 1963 ได้สรุปว่าโครงสร้างของโมเลกุลที่สําคัญของ
สารที่จะมีคุณสมบัติของออกซินคือ ต้องประกอบด้วยประจุลบ (Strong Negative Charge) ซึ่งเกิดจาก
การแตกตัวของกลุ่มคาร์บอกซิล และประจุลบจะต้องอยู่ห่างจากประจุบวก (Weaker Positive Charge)
บนวงแหวนด้วยระยะทางประมาณ 5.5 Angstrom สมมุติฐานของ Thimannนับว่าใช้อธิบายโครงสร้าง
โมเลกุลของสารที่มีคุณสมบัติของออกซินได้ครบ
6
การสลายตัวของ IAA
ปริมาณของ IAA ในพืชนั้นไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับอัตราการสังเคราะห์เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับอัตรา
การสลายตัว ซึ่งการสลายตัวของ IAA นั้น สามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธี
1. Photo-oxidation IAA ที่อยู่ในสภาพสารละลายจะสลายตัวได้เมื่อได้รับแสง การเกิด
Photo-oxidation ของ IAA จะถูกเร่งโดยการปรากฏของรงควัตถุตามธรรมชาติ หรือที่สังเคราะห์ได้
จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าการที่รงควัตถุของพืชดูดซับพลังงานจากแสงแล้วทําให้เกิดการ
ออกซิไดซ์ IAA ซึ่งรงควัตถุที่เกี่ยวข้อง คือ ไรโบฟลาวินและไวโอลา
แซนธิน (Riboflavin และ Violaxanthin) สารที่เกิดขึ้นเมื่อ IAA สลายตัวโดยแสงคือ 3-methylene-
2-oxindole และ Indoleacetaldehyde
2. การออกซิไดซ์โดยเอนไซม์ (Enzymic Oxidation of IAA) พืชหลายชนิดมีเอนไซม์เรียกว่า IAA-
oxidase ซึ่งจะคะตะไลท์ สลาย IAA ได้คาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นปฏิกิริยาที่ใช้ออกซิเจน IAA-
oxidase มีคุณสมบัติคล้ายเอนไซม์ประเภทเพอร์ออกซิเดส (Peroxidase) และเป็นเอนไซม์ที่ต้องการ
แมงกานีสเป็นโค-แฟคเตอร์ กระบวนการออกซิไดซ์ โดย IAA-oxidase ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันมากนัก
จากการทดลองIn vitro พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ 3-methylene-2-oxindole และถูกเมตาโบไลซ์
ต่อไป เป็น 3-methyl-2-oxindole มีการทดลองหลายครั้งที่ยืนยันว่า IAA-oxidase จะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ
ของพืชเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่างอัตราการเจริญเติบโตและปริมาณ
ของ IAA-oxidase ในเนื้อเยื่อของรากจะมี IAA ในปริมาณตํ่า แต่มี IAA-oxidase เป็นจํานวนมาก
3. รวมกับสารชนิดอื่นในไซโตพลาสต์
4. เปลี่ยนเป็นอนุพันธ์ชนิดอื่น
การวัดปริมาณออกซิน
1. Bioassay คือการวัดปริมาณออกซินโดยใช้ชิ้นส่วนของพืช เช่น โคลีออพไทล์ของข้าวโอ๊ตหรือ
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวอื่นๆ แล้ววัดความโค้งของยอดโดยการวางออกซินที่ต้องการวัดปริมาณลงบนส่วนของ
โคลีออพไทล์ซึ่งตัดยอดออกแล้ว มุมที่โค้งจะบอกปริมาณของออกซินได้โดยเปรียบเทียบจากเส้น
มาตรฐาน (Standard Curve)
7
2. การวัดจากคุณสมบัติทางฟิสิกส์ คือ การวัดปริมาณของออกซินโดยใช้การดูดกลืนแสงของ IAA
ซึ่งเมื่อมีความเข้มข้นต่างกันจะดูดกลืนแสงได้ต่างกัน โดยใช้ความยาวคลื่นแสงที่ 280 nm หรือสกัดจน
เป็นสารบริสุทธิ์แล้วจึงใช้เครื่อง Gas Chromatograph ร่วมกับ Mass Spectrometry ในการจําแนกและหา
ปริมาณ
3. การวัดโดยวิธีเคมี โดยให้ออกซินทําปฏิกิริยากับ Salkowski's Reagent (acidified ferric
chloride) หรือใช้ Ehrllch's Reagent ซึ่งจะเกิดสีขึ้นมา จากนั้นวัดความเข้มของสีแล้วเปรียบเทียบกับเส้น
มาตรฐาน
การเคลื่อนที่ของออกซินในต้นพืช
จากส่วนของพืชที่มีการสังเคราะห์ ฮอร์โมนจะเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนอื่นๆ และมีผลกระทบต่อ
เนื้อเยื่อที่ได้รับฮอร์โมน การเคลื่อนที่จะถูกควบคุมอย่างดี การเคลื่อนที่ของออกซินจะเป็นแบบ
โพลาไรซ์ (Polarized) คือ เคลื่อนที่ไปตามยาวของลําต้นโดยไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากกว่าทิศทาง
ตรงกันข้าม ซึ่งการเคลื่อนที่แบบโพลาร์ (Polar) นี้จะเกี่ยวข้องกับการเจริญและการเปลี่ยนแปลงทาง
คุณภาพของพืชทั้งต้น
การเคลื่อนที่ของออกซินในส่วนที่อยู่เหนือดิน จะเป็นแบบโพลาร์ เบสิพีตัล (Polar Basipetal) คือ
จะเคลื่อนที่จากแหล่งผลิตที่ยอดไปสู่โคนต้น ซึ่งการทดลองที่แสดงว่ามีการเคลื่อนที่แบบนี้สามารถทํา
ได้โดยใช้ก้อนวุ้นที่เป็นแหล่งให้ออกซินและรับออกซิน (Donor-Receiver Agar Block) คือ ใช้ก้อนวุ้น
ที่มีออกซินอยู่วางบนท่อนของเนื้อเยื่อ ส่วนก้อนวุ้นอีกก้อนซึ่งทําหน้าที่รับออกซินอยู่อีกปลายหนึ่งของ
ท่อนเนื้อเยื่อ ออกซินจะเคลื่อนที่จากก้อนวุ้นที่มีออกซินผ่านเนื้อเยื่อลงไปสู่ก้อนวุ้นที่ไม่มีออกซิน ซึ่ง
จากวิธีการนี้สามารถคํานวณความเร็วของการเคลื่อนที่ของออกซินในเนื้อเยื่อได้ เพราะทราบความยาว
ของท่อนเนื้อเยื่อ ความเร็วในการเคลื่อนที่แสดงเป็นระยะทางต่อหน่วยเวลา ซึ่งความเร็วในการเคลื่อนที่
ของออกซินจะประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
การเคลื่อนที่ของออกซินจะเกิดแบบเบสิพีตัลก็เมื่อท่อนเนื้อเยื่อวางอยู่ในลักษณะปกติของลักษณะ
ทางสัณฐานวิทยาเท่านั้น คือ ก้อนวุ้นที่เป็นก้อนที่รับออกซินจะต้องอยู่ทางด้านโคนของท่อนเนื้อเยื่อ
ถ้าหากกลับท่อนเนื้อเยื่อเอาด้านโคนกลับขึ้นเป็นด้านยอด การเคลื่อนที่แบบเบสิพีตัลจะลดลงทันที
อัตราการเคลื่อนที่ของสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติของออกซินจะช้ากว่าการเคลื่อนที่ของ IAA แต่
ลักษณะการเคลื่อนที่ของสารสังเคราะห์ เช่น 2,4-D IBA และ NAAก็เกิดในลักษณะโพลาร์
เช่นเดียวกับสาร IAA
8
การเคลื่อนที่ของออกซินในส่วนที่อยู่เหนือดินของพืช เกิดแบบอะโครพีตัล (Acropetal) ได้บ้างแต่
น้อยมาก การเคลื่อนที่แบบโพลาร์จะลดลงเมื่ออายุของพืชเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า
ออกซินเคลื่อนที่ผ่านไปในส่วนใดของเนื้อเยื่ออาจจะเป็นแบบจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง
เพราะการเคลื่อนที่ช้ากว่าการเคลื่อนที่ของสารในท่ออาหาร (Phloem) ซึ่งประมาณ 10-100 เซนติเมตร
ต่อชั่วโมง และการเคลื่อนที่ของสารในท่ออาหารจะเป็นแบบอะโครพีตัลมากกว่า ดังนั้นออกซินจึง
ไม่ได้เคลื่อนที่ในท่ออาหาร แต่การเคลื่อนที่ในรากอาจจะเป็นแบบตาม Phloem และเป็นที่เด่นชัดว่า
ออกซินไม่ได้เคลื่อนที่ในท่อนํ้าของพืชเพราะการไหลของนํ้าจะเป็นไปในทิศทางที่ขึ้นสู่ยอด และ
นอกจากนั้นท่อนํ้ายังเป็นเนื้อเยื่อที่ตายแล้วไม่มีพลังงานที่จะทําให้ออกซินเคลื่อนที่แบบโพลาร์ได้ใน
กรณีของโคลีออพไทล์ของพืชนั้นชี้ให้เห็นว่าออกซินเคลื่อนที่ผ่านเซลล์ทุกเซลล์ลงมา แต่ในกรณีของ
ลําต้นนั้นยังไม่มีหลักฐานชี้ให้เห็นเด่นชัดนัก แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าโปรแคมเบียม (Procambium) และ
แคมเบียม (Cambium) โดยเฉพาะส่วนที่จะกลายเป็นท่ออาหารอาจจะเป็นทางเคลื่อนที่ของออกซิน
การเคลื่อนที่ของออกซินในรากก็มีลักษณะเป็นโพลาร์ แต่เป็นแบบอะโครพีตัล ซึ่งกลับกันกับกรณี
ของลําต้น ความเร็วของออกซินที่เคลื่อนที่ไปในรากพืชประมาณ 1 เซนติเมตรต่อชั่วโมง โดยคาดว่าเกิด
ในส่วนของแคมเบียมและท่ออาหารที่เกิดใหม่
การเคลื่อนที่ของออกซินเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังงานโดยมีหลักฐานที่สนับสนุนดังนี้
1. การเคลื่อนที่เร็วกว่าการซึม 10 เท่า
2. เคลื่อนที่ได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนเท่านั้น และการเคลื่อนที่หยุดได้โดยสารบางชนิด (Inhibitor)
3. เคลื่อนที่จากบริเวณที่มีปริมาณมากไปสู่บริเวณที่มีปริมาณน้อย (Gradient)
4. เกิด Saturation Effect ได้
กลไกการทํางานของออกซิน
โดยทั่วไปฮอร์โมนจะสามารถก่อให้เกิดผลต่อการเจริญเติบโตได้ในปริมาณที่ตํ่ามาก จึงสรุปกันว่า
การทํางานของฮอร์โมนต้องเกี่ยวข้องกับการขยายสัญญาณของฮอร์โมน (Large Amplification) แล้ว
ฮอร์โมนสามารถทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลจํานวนมากขึ้นได้ โดยทั่วไปฮอร์โมนจะมีผล
ต่อการเจริญเติบโตโดยผ่านมาทางการควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนหรือกรดนิวคลีอิคควบคุม
"pace-setter" ของเอนไซม์และควบคุมการยอมให้สารเข้าออกจากเซลล์ของเยื่อหุ้มเซลล์
9
กลไกในการทํางานของออกซินในระยะที่ผ่านมาจะมีแนวความคิดเป็นสองอย่าง คือ แนวคิดที่
เกี่ยวข้องกับผนังเซลล์เป็นส่วนที่รับผลกระทบของออกซินและขยายตัว และแนวคิดหนึ่งมุ่งไปที่ผลของ
ออกซินต่อเมตาบอลิสม์ของกรดนิวคลีอิค ในปัจจุบันได้นําสองแนวคิดมาวิเคราะห์ ร่วมกันเพื่อศึกษา
กลไกในการทํางานของออกซิน และยังศึกษาผลของออกซินต่อเยื่อหุ้มเซลล์ด้วย
การขยายตัวของเซลล์จะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงปริมาณและกิจกรรมของเอนไซม์ โดยออกซิน
จะมีบทบาทต่อ กระบวนการเมตาบอลิสม์ของกรดนิวคลีอิค โดยการศึกษาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่
เป็นไส้ของต้นยาสูบ (Tobacco Pith) ซึ่งจะเจริญไปเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อ (Callus) นั้นพบว่ามีปริมาณ
ของ RNA เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะออกซินจะกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์ RNA มากขึ้น แล้วส่งผลไปถึง
การเจริญของกลุ่มเนื้อเยื่อ ถ้าหากใช้สารระงับการสังเคราะห์โปรตีนหรือ RNA ความสามารถในการ
กระตุ้นการเจริญเติบโตของออกซินจะหายไป
การทดลองอีกเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่าออกซินกระตุ้นให้มีการสร้าง RNA คือ การใช้นิวเคลียส หรือโคร
มาตินเลี้ยงไว้ในสารที่เป็นสารเริ่มต้นของ RNA เช่น ATP CTP GTP และ UTP ซึ่งสารเริ่มต้นเหล่านี้จะ
มีสารกัมมันตรังสีปรากฏอยู่ด้วย RNA ที่เกิดขึ้นมาใหม่จะมีสารกัมมันตรังสีด้วย ซึ่งการที่จะเกิด
RNA ใหม่ขึ้นได้นี้เซลล์จะต้องได้รับออกซินก่อนที่นิวเคลียสหรือโครมาตินจะถูกแยกออกจากเซลล์
เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าออกซินไปกระตุ้นการสังเคราะห์ RNA
ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่าออกซินมีผลต่อระดับเอนไซม์โดยผ่านทางการสังเคราะห์ RNA
นอกจากนั้นออกซินยังมีผลกระทบต่อกิจกรรมของเอนไซม์โดยตรง เช่น การกระตุ้นให้เอนไซม์เกิด
กิจกรรมหรือเปลี่ยนรูปมาอยู่ในรูปที่มีกิจกรรมได้ แต่ไม่ว่าออกซินจะมีผลกระทบต่อเอนไซม์แบบใดก็
ตาม นักวิทยาศาสตร์ได้มุ่งความสนใจไปสู่เอนไซม์ที่สัมพันธ์กับกระบวนการขยายตัวของเซลล์
เซลล์พืชจะมีผนังเซลล์อยู่ข้างนอกสุด ดังนั้นการเจริญของเซลล์จะเกิดขึ้นได้เมื่อคุณสมบัติของผนัง
เซลล์เปลี่ยนไปในทางที่ก่อให้เกิดการขยายตัวของโปรโตพลาสต์จากความจริงดังกล่าวการศึกษา
ทางด้านนี้จึงมุ่งไปสู่ผลกระทบของออกซินต่อคุณสมบัติของผนังเซลล์
เซลล์พืชทุกชนิดที่ผ่านขั้นตอนของเนื้อเยื่อเจริญมาแล้วจะผ่านขั้นตอนการเจริญเติบโต 2 ขั้น คือ
การแบ่งเซลล์และการขยายตัวแวคคิวโอขึ้นภายในเซลล์ (Vacuolation) ในการศึกษาการเจริญเติบโต
ของโคลีออพไทล์ของข้าวโอ๊ต พบว่าการแบ่งเซลล์จะหยุดเมื่อมีความยาว 10 มิลลิเมตร การเจริญเติบโต
ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นจะเนื่องมาจากการขยายขนาดของเซลล์ ดังนั้นในการศึกษาถึงผลกระทบของ
ออกซินต่อการเจริญเติบโตของพืชจึงเน้นไปที่ผลต่อการขยายตัวของเซลล์ ในระหว่างการขยายขนาด
ของเซลล์เพราะการขยายตัวของแวคคิวโอ หรืออาจจะเกิดช่องว่างภายในเซลล์ขึ้น ที่ผนังเซลล์จะเกิด
10
การยืดตัวชนิดที่ไม่สามารถหดได้อีก มีการทดลองหลายการทดลองสนับสนุนว่าออกซินเพิ่มการ
ยืดตัวของผนังเซลล์ (Plasticity)
ในระหว่างการขยายตัวของเซลล์นั้น ไม่เพียงแต่ผนังเซลล์ยืดตัวเท่านั้น แต่ยังมีการเพิ่มความหนา
ของผนังเซลล์เพราะมีสารใหม่ ๆไปเกาะด้วย ซึ่งการเจริญดังกล่าวนี้ก็เป็นผลจากการกระตุ้นของ
ออกซิน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อการยืดตัวของเซลล์หยุดลงแล้ว
จากบทที่ 1 ได้กล่าวแล้วว่าผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลล์ลูโลสไมโครไฟบริลฝังตัวอยู่ในส่วนที่
เป็นแมททริกซ์ (Matrix) และโปรตีน ดังนั้นถ้าพิจารณาดูผนังเซลล์จะมีลักษณะเหมือนคอนกรีตเสริม
เหล็กโดยเซลลูโลสจะเป็นส่วนของเหล็ก โมเลกุลของเซลลูโลสยึดติดกันด้วยแขนไฮโดรเจน
(Hydrogen bond) ในขณะที่ส่วนของแมททริกซ์เกาะกันด้วยแขนโควาเลนท์ (Covalent bond) และใน
เนื้อเยื่อใบเลี้ยงของพืชใบเลี้ยงคู่เซลลูโลสเกาะอยู่กับแมททริกซ์โดยแขนไฮโดรเจน ดังนั้นการที่ออกซิน
จะทําให้เซลล์ยืดตัวนั้นต้องทําลายแขนเหล่านี้เสียก่อน ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าแม้ว่าการ
ขยายตัวของเซลล์เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนและ RNA รวมทั้งพลังงานจากการหายใจก็ตาม
แต่ถ้าให้ออกซินจากภายนอกต่อลําต้นหรือโคลีออพไทล์อัตราการเจริญเติบโตจะเพิ่มขึ้นหลังจาก
ระยะเวลา "lag" เพียง 2-3 นาทีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่การเจริญเติบโตถูกเร่งโดยการเปลี่ยนอัตราของ
การ Transcription และ Translation แต่ดูเหมือนว่าออกซินจะไปมีผลต่อระบบที่ปรากฏอยู่ในพืช
แล้ว (Pre-formed System) ดังนั้นจากเหตุผลข้างต้น การทําลายการเกาะกันของโครงสร้างของผนัง
เซลล์จะไม่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์
ในการทดลองต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้นําเอาโคลีออพไทล์หรือลําต้นที่ไม่ได้รับแสงไปแช่ลงใน
สภาพที่มี pH ประมาณ 3 ปรากฏว่าโคลีออพไทล์และลําต้นสามารถยืดตัวได้และเรียกปรากฏการณ์นี้
ว่า "Acid Growth Effect" ซึ่งให้ผลเหมือนกับการให้ออกซินแก่พืช การทดลองนี้ได้นําไปสู่การศึกษา
ที่แสดงว่า ออกซินกระตุ้นการปลดปล่อย H+ หรือโปรตอนจากเนื้อเยื่อ ทําให้ pH ของผนังเซลล์ตํ่าลง
ซึ่งการปลดปล่อย H+ นี้ต้องใช้พลังงานจากการหายใจด้วย สมมุติฐานเกี่ยวกับ "Proton-Pump" นี้
คาดว่าเกิดในเยื่อหุ้มเซลล์
ในการยอมรับปรากฏการณ์ข้างต้นว่าเป็นการทํางานของออกซินในการกระตุ้นอัตราการ
เจริญเติบโตของพืช ต้องสามารถอธิบายเหตุผลว่าออกซินกระตุ้นการปลดปล่อย H+ ได้อย่างไรหรือ
ทําไมการสังเคราะห์โปรตีนและ RNA จึงจําเป็นต่อการยืดตัวของเซลล์ และการเปลี่ยน pH ทําให้
คุณสมบัติของผนังเซลล์เปลี่ยนไปได้อย่างไร
11
คําตอบว่าออกซินกระตุ้นการปลดปล่อย H+ อย่างไรนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด ยังต้องมีการทดลองอีก
มากเพื่ออธิบาย การเจริญของเซลล์ต้องการ RNA และโปรตีนในช่วงที่เซลล์ยืดตัว เพราะในการยืดตัว
ของเซลล์นั้นผนังเซลล์ไม่ได้บางลงไป แต่ยังคงหนาเท่าเดิมหรือหนาขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างผนัง
เซลล์เพิ่มขึ้นด้วย ในการสร้างผนังเซลล์นั้นต้องใช้เอนไซม์และ RNA pH ตํ่ามีผลต่อการเปลี่ยน
คุณสมบัติของผนังเซลล์ในแง่ที่ว่า แขนที่เกาะกันของผนังเซลล์นั้นอาจจะถูกทําลายในสภาพที่ pH ตํ่า
หรืออาจจะเป็น pH ที่เหมาะสมสําหรับเอนไซม์ ที่จะทําให้ผนังเซลล์เปลี่ยนไป
การตอบสนองของพืชต่อออกซิน
1. การตอบสนองในระดับเซลล์ออกซินทําให้เกิดการขยายตัวของเซลล์ (Cell enlargement) เช่น
ทําให้เกิดการขยายตัวของใบ ทําให้ผลเจริญเติบโต เช่น กรณีของสตรอเบอรี่ ถ้าหากกําจัดแหล่งของ
ออกซิน ซึ่งคือส่วนของเมล็ดที่อยู่ภายนอกของผล (ผลแห้งแบบ Achene) จะทําให้เนื้อเยื่อของผลบริเวณ
ที่ไม่มีเมล็ดรอบนอกไม่เจริญเติบโต ออกซินทําให้เกิดการแบ่งเซลล์ได้ในบางกรณี เช่น กระตุ้นการ
แบ่งเซลล์ของแคมเบียมและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ เช่น กระตุ้นให้เกิดท่อนํ้าและ
ท่ออาหาร กระตุ้นให้เกิดรากจากการปักชําพืช เช่น การใช้IBA ในการเร่งรากของกิ่งชํา แล้วยังกระตุ้น
ให้เกิดแคลลัส (Callus) ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่การตอบสนองในระดับเซลล์ที่เกิดเสมอคือ
การขยายตัวของเซลล์
2. การตอบสนองของอวัยวะหรือพืชทั้งต้น
2.1 เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืชต่อแสง (Phototropism Geotropism)
2.2 การที่ตายอดข่มไม่ให้ตาข้างเจริญเติบโต (Apical Dominance)
2.3 การติดผล เช่น กรณีของมะเขือเทศ ออกซินในรูปของ 4 CPA จะเร่งให้เกิดผลแบบ
Pathenocarpic และในเงาะถ้าใช้NAA 4.5 เปอร์เซ็นต์ จะเร่งการเจริญของเกสรตัวผู้ทําให้สามารถผสมกับ
เกสรตัวเมียได้ ในดอกที่ได้รับ NAA เกสรตัวเมียจะไม่เจริญเพราะได้รับ NAA ที่มีความเข้มข้นสูงเกินไป
แต่เกสรตัวผู้ยังเจริญได้ทําให้การติดผลเกิดมากขึ้น
2.4 ป้องกันการร่วงของผลโดยออกซินจะยับยั้งไม่ให้เกิด Abcission
layer ขึ้นมา เช่น การใช้ 2, 4-D ป้องกันผลส้มไม่ให้ร่วง หรือ NAA
สามารถป้องกันการร่วงของผลมะม่วง
2.5 ป้องกันการร่วงของใบ
2.6 ในบางกรณีออกซินสามารถทําให้สัดส่วนของดอก
ตัวเมียและตัวผู้เปลี่ยนไปโดยออกซินจะกระตุ้นให้มีดอกตัวเมียมากขึ้น
12
บทที่ 3 การดําเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
1. ต้นพุดซ้อน 9 ต้น
2. ฮอร์โมนออกซิน 1 ขวด ขนาด 100 มิลลิลิตร
3. ป้ายระบุข้อมูลต้นไม้9 ป้าย
4. ขวดรดนํ้าต้นไม้3-4 ขวด
5. กระบอกฉีดยา 3 กระบอก
6. นํ้า
7. หลอดฉีดยา 1 อัน
ขั้นตอนการทําโครงงาน
1. ประชุมวางแผนคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ ซึ่งคือการศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อการ
ออกดอกของต้นพุดซ้อน
2. ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานดังนี้
2.1. ดอกพุดซ้อน
2.2. ฮอร์โมนออกซิน
3. วางแผนรายละเอียดการทดลอง
4. หาสถานที่ที่ใช้ในการทําทดลอง บริเวณหน้าตึกศิลปะ
5. จัดทําเค้าโครงโครงงาน เพื่อนําเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อนําไปปรับปรุงและแก้ไข
6. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําการทดลอง
6.1 ต้นพุดซ้อน 9 ต้น
6.2 ฮอร์โมนออกซิน 1 ขวด ขนาด 100มิลลิลิตร
6.3 ป้ายระบุข้อมูลต้นไม้9 ป้าย
6.4 ขวดรดนํ้าต้นไม้3-4 ขวด
6.5 กระบอกฉีดยา 1 อัน
6.6 นํ้า
6.7 หลอดดูดยา
13
7. ขั้นตอนกระบวนการทําการทดลอง
7.1 นําต้นพุดซ้อนมาจัดวางตามชุดการทดลอง จากซ้ายไปขวา ดังนี้ ชุดควบคุม (0%),
ชุด Low dose (0.1%), ชุด High dose (0.15%)
7.2 ปักป้ายระบุข้อมูลต้นไม้ให้เรียบร้อย
7.3 ผสมฮอร์โมนออกซิน 1 มิลลิลิตร กับ นํ้า 1 ลิตร สําหรับการทดลองชุด Low dose (0.1%)
แล้วนําไปแบ่งใส่กระบอกฉีดนํ้าสีเหลือง
7.4 ผสมฮอร์โมนออกซิน 1.5 มิลลิลิตร กับ นํ้า 1 ลิตร สําหรับการทดลองชุด High dose (0.15%)
แล้วนําไปแบ่งใส่กระบอกฉีดนํ้าสีแดง
7.5 ฉีดฮอร์โมนแก่ต้นไม้ตามชุดการทดลองแต่ละชุด วันเว้นวัน หลังจากรดนํ้าต้นไม้
ฉีดประมาณ 7-8 ครั้ง
7.6 สังเกตและบันทึกผลการทดลอง
8. สรุปผล อภิปราย และเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระยะ
9. จัดทําเอกสารเป็นรูปเล่มโครงงานให้สมบูรณ์
10. จัดทําสื่ออภิปรายแสดงผลการทดลอง
11. นําเสนอโครงงาน
14
บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
กราฟแท่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนดอกของต้นพุดซ้อนและความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ใช้ เทียบ
กับวันที่บันทึกผลการทดลอง
0
1
2
3
31/5/2017 12/6/2017 19/6/2017 26/6/2017 3/7/2017 10/7/2017 17/7/2017 24/7/2017 31/7/2017
Control 0% Low dose 0.1% High dose 0.15%
ครั้ง
ที่
วันที่
บันทึก
ผล
จํานวนดอกของต้นพุดซ้อน (ดอก)
หมายเหตุ
ชุดควบคุม 0 % ชุด Low dose 0.1% ชุด High dose 0.15%
ต้น
ที่1
ต้น
ที่ 2
ต้น
ที่ 3
ค่าเฉลี่ย
ต้น
ที่
1
ต้น
ที่ 2
ต้น
ที่ 3
ค่าเฉลี่ย
ต้น
ที่ 1
ต้น
ที่ 2
ต้น
ที่ 3
ค่าเฉลี่ย
1 31/05/60 3 0 0 1 0 3 1 2 1 0 3 2
นําต้นไม้มาวางบริเวณ
ที่ทําการทดลอง
2 12/6/60 1 1 0 1 0 3 1 2 1 0 3 2
เริ่มทดลองฉีด
ฮอร์โมน
3 19/6/60 0 1 1 1 0 4 1 2 2 2 3 3
4 26/6/60 2 1 1 2 2 4 2 3 2 3 4 3
5 3/7/60 0 2 1 1 2 3 1 2 2 3 4 3
6 10/7/60 0 1 1 1 0 2 2 2 1 2 2 2
7 17/7/60 0 0 1 1 0 1 1 1 1 2 1 2
8 24/7/60 0 0 0 0 0 0 1 1 1 1 2 2
9 31/7/60 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
15
กราฟเส้นแสดงผลการทดลอง
วิเคราะห์ผลการทดลอง
จากการทดลองเห็นได้ชัดว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซินมีผลต่อการออกดอกของต้นพุดซ้อน
โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการออกดอกของต้นพุดซ้อนในแต่ละอาทิตย์นั้น พบว่า ต้นพุดซ้อน
ชุดทดลอง High dose (ความเข้มข้น 0.15%) มีอัตราการออกดอกในแต่ละสัปดาห์มากสุด คือ การออกดอก
ในสัปดาห์ที่ 3-5 มากถึง 3 ดอก รองลงมา คือต้นพุดซ้อนชุดทดลอง Low dose (ความเข้มข้น 0.1%)
และต้นพุดซ้อนชุดทดลองควบคุม (ความเข้มข้น 0%)มีอัตราการออกดอกตํ่าที่สุด
0
1
2
3
4
กราฟเส้ นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนดอกของต้นพุดซ้อน
และความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ใช้ เทียบกับวันที่บันทึกผลการทดลอง
Control 0% Low dose 0.1% High dose 0.15%
16
บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
สรุปผลการทดลอง
กลุ่มต้น High dose(ความเข้มข้น 0.15%) มีอัตราการออกดอกสูงที่สุด รองลงมาคือ low dose (ความ
เข้มข้น0.1%)และ ชุดควบคุมตามลําดับ เนื่องจากฮอร์โมนออกซินมีความสําคัญต่อการเจริญเติบโต การออก
ดอกของพืช อ้างอิงจากงานวิจัยผลของฮอร์โมนพืชที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช ที่ว่ากลุ่มออกซิน (Auxins)
เป็นฮอร์โมนพืชชนิดแรกที่มีการค้นพบ และเป็นสารที่มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นการเจริญเติบโตและ
พัฒนาการของพืช เพราะมีผลเกี่ยวกับการเจริญของลํา ต้นและราก การแตกตา การออกดอก การติดผล การ
เจริญของผลและเมล็ด นอกจากนี้ ยังมีบทบาทต่อขบวนการทางสรีรวิทยาอีกมากมาย ออกซินเป็นสารที่มี
บทบาทอย่างมากในด้านการเพิ่มขนาดของเซล (Cell enlargement) นอกจากนี้ ยังมีบทบาทต่อการเพิ่มความ
ยาวของเซล (Cell elongation) อีกด้วย ในธรรมชาติ พืชมีการสังเคราะห์สารในกลุ่มออกซินขึ้นมาหลายชนิด
ด้วยกัน แต่ชนิดที่มีบทบาทและมีความสําคัญมากที่สุด คือ indole-3-acetic acid (IAA) ซึ่งสังเคราะห์ได้จาก
กรดอะมิโน Tryptophan
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
− ควรเอาใจใส่มากขึ้นเกี่ยวกับอุปสรรคในการทดลองเช่น หนอน มด ที่มากัดกินต้นไม้
− ไม่ควรทิ้งช่วงห่างในการรดนํ้าต้นไม้นานจนเกินไป ทําให้ใบพุดซ้อนบางใบเริ่มเหี่ยวเฉา
− นอกเหนือจากการทดลองผลเกี่ยวกับจํานวนดอก สังเกตได้ว่า กลุ่มต้น High dose (ความเข้มข้น
0.15%) จะมีอัตราการเกิดมากที่สุด ยังมีส่วนสูงของต้นที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย สามารถ
นํามาอภิปรายเพิ่มเติมได้อีกสําหรับผลของฮอร์โมนออกซินต่อความสูงของต้นไม้
17
บรรณานุกรม
รศ.ดร.ดนัย บุณยเกียรติ, ฮอร์โมนพืช, แหล่งที่มา : http://web.agri.cmu.ac.th,
พุดซ้อน, แหล่งที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/พุดซ้อน
พุดซ้อน สรรพคุณและประโยชน์ของดอกพุดซ้อน 29 ข้อ, แหล่งที่มา : https://medthai.com/พุดซ้อน
พุดซ้อน, แหล่งที่มา :http://prayod.com/พุดซ้อน
ต้นพุด ไม้มงคลแห่งพรรณไม้นําโชค และ ความสําเร็จ, แหล่งที่มา :http://www.rukbarn.com/3863/
ตํานานดอกพุดซ้อนของภาคอีสาน, แหล่งที่มา :https://sangkae.wordpress.com
ออกซิน, แหล่งที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/ออกซิน
ประโยชน์ของออกซินที่ใช้ในการผลิตพืช, แหล่งที่มา :http://www.plantmediashop.com
ประโยชน์ของออกซิน, แหล่งที่มา :http://topicauxin.blogspot.com/p/blog-page_12.html
18
ภาคผนวก
รดนํ้าต้นไม้ทุกวัน แบ่งเวรกันภายในกลุ่ม
ฉีดฮอร์โมนตามชุดการทดลอง
กระบอกฉีดฮอร์โมนแบ่งตามชุดการทดลอง ควบคุม, low dose, high dose (จากซ้ายไปขวา)
19
บันทึกผลการทดลองรายสัปดาห์ (นับจํานวนดอกของต้นพุดซ้อน)
นําเสนอรายละเอียดและผลการดําเนินการทดลอง

More Related Content

What's hot

มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกPikaya
 
โครงงาน พืชผักสวนครัว
โครงงาน พืชผักสวนครัวโครงงาน พืชผักสวนครัว
โครงงาน พืชผักสวนครัวgreatzaza007
 
โครงงานศึกษาดินที่ปลูกพืชได้ดีที่สุด
โครงงานศึกษาดินที่ปลูกพืชได้ดีที่สุดโครงงานศึกษาดินที่ปลูกพืชได้ดีที่สุด
โครงงานศึกษาดินที่ปลูกพืชได้ดีที่สุดJoy Jantima
 
การศึกษาโครงสร้างดอกเข็ม มะลิ ชวนชม
การศึกษาโครงสร้างดอกเข็ม มะลิ ชวนชมการศึกษาโครงสร้างดอกเข็ม มะลิ ชวนชม
การศึกษาโครงสร้างดอกเข็ม มะลิ ชวนชมNarubordinPremsri
 
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้านโครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้านChok Ke
 
โครงงานเคมีกัญ (1)
โครงงานเคมีกัญ (1)โครงงานเคมีกัญ (1)
โครงงานเคมีกัญ (1)Guntima NaLove
 
การศึกษาโครงสร้างดอกกุหลาบ เข็ม เฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 8 ม.5 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้างดอกกุหลาบ เข็ม เฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 8 ม.5 ห้อง 931การศึกษาโครงสร้างดอกกุหลาบ เข็ม เฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 8 ม.5 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้างดอกกุหลาบ เข็ม เฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 8 ม.5 ห้อง 931KantnateeHarnkijroon
 
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...Totsaporn Inthanin
 
โครงงานน้ำหอมปรับอากาศชนิดเจล
โครงงานน้ำหอมปรับอากาศชนิดเจลโครงงานน้ำหอมปรับอากาศชนิดเจล
โครงงานน้ำหอมปรับอากาศชนิดเจลjellyjel
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกThanyamon Chat.
 
ขนราก
ขนรากขนราก
ขนรากdnavaroj
 
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชdnavaroj
 
การอภิปรายและสรุปผลการวิจัย
การอภิปรายและสรุปผลการวิจัยการอภิปรายและสรุปผลการวิจัย
การอภิปรายและสรุปผลการวิจัยThana Chirapiwat
 
การใช้โทรศัพท์ของนักเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
การใช้โทรศัพท์ของนักเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5การใช้โทรศัพท์ของนักเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
การใช้โทรศัพท์ของนักเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5Puet Mp
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนพัน พัน
 

What's hot (20)

มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
โครงงาน พืชผักสวนครัว
โครงงาน พืชผักสวนครัวโครงงาน พืชผักสวนครัว
โครงงาน พืชผักสวนครัว
 
โครงงานศึกษาดินที่ปลูกพืชได้ดีที่สุด
โครงงานศึกษาดินที่ปลูกพืชได้ดีที่สุดโครงงานศึกษาดินที่ปลูกพืชได้ดีที่สุด
โครงงานศึกษาดินที่ปลูกพืชได้ดีที่สุด
 
การศึกษาโครงสร้างดอกเข็ม มะลิ ชวนชม
การศึกษาโครงสร้างดอกเข็ม มะลิ ชวนชมการศึกษาโครงสร้างดอกเข็ม มะลิ ชวนชม
การศึกษาโครงสร้างดอกเข็ม มะลิ ชวนชม
 
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้านโครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
 
โครงงานเคมีกัญ (1)
โครงงานเคมีกัญ (1)โครงงานเคมีกัญ (1)
โครงงานเคมีกัญ (1)
 
การศึกษาโครงสร้างดอกกุหลาบ เข็ม เฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 8 ม.5 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้างดอกกุหลาบ เข็ม เฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 8 ม.5 ห้อง 931การศึกษาโครงสร้างดอกกุหลาบ เข็ม เฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 8 ม.5 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้างดอกกุหลาบ เข็ม เฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 8 ม.5 ห้อง 931
 
ทักษะ
ทักษะทักษะ
ทักษะ
 
แผ่นพับIs...
แผ่นพับIs...แผ่นพับIs...
แผ่นพับIs...
 
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
 
M6 126 60_9
M6 126 60_9M6 126 60_9
M6 126 60_9
 
โครงงานน้ำหอมปรับอากาศชนิดเจล
โครงงานน้ำหอมปรับอากาศชนิดเจลโครงงานน้ำหอมปรับอากาศชนิดเจล
โครงงานน้ำหอมปรับอากาศชนิดเจล
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
 
หน่วย 1
หน่วย 1หน่วย 1
หน่วย 1
 
ขนราก
ขนรากขนราก
ขนราก
 
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
 
การอภิปรายและสรุปผลการวิจัย
การอภิปรายและสรุปผลการวิจัยการอภิปรายและสรุปผลการวิจัย
การอภิปรายและสรุปผลการวิจัย
 
การใช้โทรศัพท์ของนักเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
การใช้โทรศัพท์ของนักเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5การใช้โทรศัพท์ของนักเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
การใช้โทรศัพท์ของนักเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
 

Similar to M6 78 60_1

การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931SasipaChaya
 
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834Z-class Puttichon
 
Bio minibook ab complete
Bio minibook ab completeBio minibook ab complete
Bio minibook ab completeOninUntarijan
 
การศึกษาโครงสร้างดอกลิลลี่ ดอกประทัดจีน และดอกปีบ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม....
การศึกษาโครงสร้างดอกลิลลี่ ดอกประทัดจีน และดอกปีบ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม....การศึกษาโครงสร้างดอกลิลลี่ ดอกประทัดจีน และดอกปีบ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม....
การศึกษาโครงสร้างดอกลิลลี่ ดอกประทัดจีน และดอกปีบ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม....PimlapusBoonsuphap
 

Similar to M6 78 60_1 (20)

Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60
 
Plant hor 5_77_60
Plant hor 5_77_60Plant hor 5_77_60
Plant hor 5_77_60
 
M6 78 60_9
M6 78 60_9M6 78 60_9
M6 78 60_9
 
M6 143 60_4
M6 143 60_4M6 143 60_4
M6 143 60_4
 
M6 78 60_5
M6 78 60_5M6 78 60_5
M6 78 60_5
 
M6 125 60_3
M6 125 60_3M6 125 60_3
M6 125 60_3
 
Bio 656 group4
Bio 656 group4Bio 656 group4
Bio 656 group4
 
การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931
การศึกษาโครงสร้าง ดอกพุดพิชญา ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า กลุ่มที่ 10 ห้อง 931
 
Minibook group 8 m.5/834
Minibook group 8 m.5/834Minibook group 8 m.5/834
Minibook group 8 m.5/834
 
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834
 
Biomapcontest2014 xoxo
Biomapcontest2014 xoxoBiomapcontest2014 xoxo
Biomapcontest2014 xoxo
 
Bio minibook ab complete
Bio minibook ab completeBio minibook ab complete
Bio minibook ab complete
 
Plant ser 125_60_10
Plant ser 125_60_10Plant ser 125_60_10
Plant ser 125_60_10
 
Plant hor 10_77_60
Plant hor 10_77_60Plant hor 10_77_60
Plant hor 10_77_60
 
Minibook 2.931
Minibook 2.931Minibook 2.931
Minibook 2.931
 
932 tu80 group 4
932 tu80 group 4932 tu80 group 4
932 tu80 group 4
 
931 pre8
931 pre8931 pre8
931 pre8
 
การศึกษาโครงสร้างดอกลิลลี่ ดอกประทัดจีน และดอกปีบ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม....
การศึกษาโครงสร้างดอกลิลลี่ ดอกประทัดจีน และดอกปีบ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม....การศึกษาโครงสร้างดอกลิลลี่ ดอกประทัดจีน และดอกปีบ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม....
การศึกษาโครงสร้างดอกลิลลี่ ดอกประทัดจีน และดอกปีบ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม....
 
Bio project m.5 group10
Bio project m.5 group10Bio project m.5 group10
Bio project m.5 group10
 
Plant ser 77_60_2
Plant ser 77_60_2Plant ser 77_60_2
Plant ser 77_60_2
 

More from Wichai Likitponrak

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfWichai Likitponrak
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64Wichai Likitponrak
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564Wichai Likitponrak
 

More from Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

M6 78 60_1

  • 1. โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อการออกดอกของต้นพุดซ้อน นําเสนอครูผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตําแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 1. นางสาวณัฐธิดา ภาสพานทอง เลขที่ 8 2. นางสาวณิชกมล กิตติวรรณศักดิ์ เลขที่ 9 3. นายณธกร วาสนาส่งชูสกุล เลขที่ 26 4. นายตรัยภพ แอร่มหล้า เลขที่ 28 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 78 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • 2. ก บทคัดย่อ ปัจจุบันการเกษตรมีความสําคัญอย่างมากไม่เพียงแค่ในประเทศแต่ยังร่วมถึงทั้งโลกเลยทีเดียวเพราะ มนุษย์มีอาหารและยารักษาโรคเป็นหนึ่งในปัจจัยในการดํารงชีวิตเพราะฉะนั้นการที่เราสามารถพัฒนา ผลผลิตทางการเกษตรได้นั้นจึงเป็นสิ่งที่สําคัญยิ่ง วิธีการที่จะพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรนั้นมีมากมายทางคณะผู้จัดทําได้เลือกวิธีการเร่งการ เจริญเติบโตของพืชโดยการใช้ฮอร์โมนโดยฮอร์โมนที่เราเลือกนั้นคือฮอร์โมนออกซินที่ช่วยในการ เจริญเติบโตของพืชโดยเราเลือกใช้ต้นพุดซ้อนเป็นตัวอย่างในการศึกษา นอกจากนั้นเรายังทดลองใช้ความ เข้มข้นของฮอร์โมนออกซินในปริมาณที่แตกต่างกันเพื่อเปรียบเทียบผลของฮอร์โมนที่มีต่อต้นพุดซ้อนโดย เราแบ่งการทดลองเป็น3ชุด ชุดละ3ต้นแบ่งเป็น 1.ชุดควบคุม 2.High dose 3. Low dose จากการทดลองพบว่า ฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้น 0.15 % (High dose) มีผลต่อการออกดอกดี ที่สุดรองลงมาคือ คือความเข้มข้น 0.1%(Low dose) และชุดควบคุมตามลําดับ ดังนั้น สารละลายฮอร์โมน ออกซินที่ความเข้มข้น 0.15 % (High dose) จึงมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเร่งการเจริญเติบโตของต้นพุด ซ้อน
  • 3. ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อการออกดอกของ ต้นพุดซ้อน จะสําเร็จลุล่วงไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากคุณครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์คุณครูประจําวิชา ชีววิทยา ที่ช่วยให้คําปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ตลอดจนเอื้อเฟื้อสถานที่ในการทํา การทดลอง ขอขอบคุณผู้ปกครองนายตรัยภพ แอร่มหล้า สําหรับความช่วยเหลือในการจัดซื้อต้นไม้และการขน ย้ายต้นไม้และขอขอบคุณผู้ปกครองนางสาวณัฐธิดา ภาสพานทอง สําหรับความช่วยเหลือในการจัดซื้อ ฮอร์โมนออกซิน และให้คําแนะนําตลอดมา คณะผู้จัดทําโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทํา
  • 4. ค สารบัญ หัวข้อ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค บทที่ 1 บทนํา 1 ที่มาและความสําคัญ 1 สมมติฐานการทดลอง 1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 ขอบเขตของโครงงาน 2 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 2 ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน 2 วิธีการเก็บข้อมูล 2 วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล 2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 ข้อมูลเกี่ยวกับต้นพุดซ้อน 3 ข้อมูลเกี่ยวกับฮอร์โมนออกซิน 4 บทที่ 3 การดําเนินงาน 12 บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง 14 บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 16 บรรณานุกรม 17 ภาคผนวก 18
  • 5. 1 บทที่ 1 บทนํา ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อการออกดอกของต้นพุดซ้อน สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 1. นางสาวณัฐธิดา ภาสพานทอง เลขที่ 8 2. นางสาวณิชกมล กิตติวรรณศักดิ์ เลขที่ 9 3. นายณธกร วาสนาส่งชูสกุล เลขที่ 26 4. นายตรัยภพ แอร่มหล้า เลขที่ 28 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 78 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อาจารย์ผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มาและความสําคัญ เนื่องจาก ต้นพุดซ้อนเป็นต้นไม้ที่มีประโยชน์อย่างมากสามารถนํามาร้อยพวงมาลัยบูชาพระ เมล็ดสี เหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทําสีย้อม ส่วนดอกใช้สกัดนํ้ามันหอมระเหย ใช้ทํานํ้าหอมและแต่งกลิ่น เครื่องสําอาง ผลสดหรือผลที่เผาจนเป็นเถ้าใช้เป็นยาระบายความร้อนและขับสารพิษ เราจึงใช้ฮอร์โมน ออกซิน เร่งการเติบโตของพืชทั้งในส่วนที่เป็นต้นและราก โดยปกติแล้ว ส่วนต่างๆของพืชตอบสนองต่อ ปริมาณออกซินไม่เท่ากัน ลําต้นต้องการออกซินสูงกว่าในราก ถ้าสูงเกินไปจะยับยั้งการเติบโต คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช จึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของฮอร์โมนออก ซินที่มีผลต่อดอกของต้นพุดซ้อนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เร่งการออกดอกของต้นพุดซ้อนเพื่อนําไปใช้ ประโยชน์ได้เร็วขึ้น คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชมีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลที่ได้ จะมีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาในอนาคตต่อไป คําถามการทําโครงงาน สารละลายฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้นใดจะส่งผลให้ต้นพุดซ้อนมีการออกดอกมากที่สุด สมมติฐานการทดลอง ถ้าฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้น 0.15 % (High dose) มีผลต่อการออกดอกดีที่สุด ดังนั้น สารละลาย ฮอร์โมนออกซินที่ความเข้มข้น 0.15 % (High dose) จะทําให้มีจํานวนดอกมากที่สุด วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1. เพื่อศึกษาความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อการออกดอกของต้นพุดซ้อน
  • 6. 2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อต้นพุดซ้อน 2. ได้ศึกษาเปรียบเทียบความเข้มข้นต่างต่างของฮอร์โมนออกซินที่มีผลต่อต้นพุดซ้อน 3. เป็นการส่งเสริมการปลูกต้นพุดซ้อนให้ได้ผลผลิตที่เร็วขึ้นและมากขึ้น ขอบเขตของโครงงาน การทําโครงงานครั้งนี้คณะผู้รับผิดชอบมุ่งเน้นที่จะศึกษาเฉพาะการเร่งการออกดอกของต้นพุดซ้อน ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ตัวแปรต้น คือ ความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซิน ตัวแปรตาม คือ จํานวนดอกของต้นพุดซ้อน ตัวแปรควบคุม คือ อายุของต้นพุดซ้อน ปริมาณนํ้า แสง อุณหภูมิ ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน วันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ถึง 31 กรกฎาคม 2560 วิธีการเก็บข้อมูล ใช้วิธีการนับจํานวนดอกทั้งหมดที่มีบนต้นพุดซ้อนแต่ละต้นโดยนับจํานวนดอกครั้งแรก เมื่อ แรกเริ่มซื้อต้นไม้มา ต่อมาหลังจากเริ่มการทดลอง จะนับทุกๆวันจันทร์ของสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2560 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ.2560 แล้วบันทึกผลการทดลองลงในตาราง รวมแล้วมีการบันทึกผลการ ทดลองฮอร์โมนพืชทั้งหมด 9 ครั้ง วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล การหาความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนดอกของต้นพุดซ้อนกับความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซินที่ใช้ ในรูปแบบกราฟแท่งและกราฟเส้น
  • 7. 3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. ต้นพุดซ้อน พุดซ้อน ถิ่นเดิมของพุดซ้อนเข้าใจว่าอยู่ในประเทศจีน และเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับเข็มพวง ขาว กระทุ่ม และกาแฟ มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ พุดจีน พุดใหญ่ เก็ดถะหวา (ภาคเหนือ) และอินถะหวา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลําต้นเรียวเป็นรูปกรวย ใบเดี่ยว รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน ดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนา เป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว และชนิดดอกซ้อน มีกลีบดอกจํานวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 เซนติเมตร กลิ่นหอมแรง ออกดอกตลอดปี การปลูกเลี้ยง พุดซ้อนเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ประโยชน์ นิยมนําไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ เมล็ดสีเหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทําสีย้อม ส่วนดอกใช้สกัด นํ้ามันหอมระเหย ใช้ทํานํ้าหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสําอาง ในตํารายาจีนเรียกจือจื่อ (ภาษาจีนกลาง) หรือกี้จือ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ผลสดหรือผลที่เผาจนเป็นเถ้าใช้เป็นยาระบายความร้อนและขับสารพิษ
  • 8. 4 2. ฮอร์โมนออกซิน (Auxin Hormone) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับออกซินนั้นเกิดขึ้นจากงานของ Charles darwin ซึ่งศึกษาเรื่อง Phototropism ซึ่งพืชจะโค้งงอเข้าหาแสง Darwin ทดลองกับต้นกล้าของ Phalaris canariensisและพบว่าโคลีออพไทล์ ของพืชชนิดนี้จะตอบสนองต่อการได้รับแสงเพียงด้านเดียวทําให้เกิดการโค้งเข้าหาแสง Darwin สรุปว่า เมื่อต้นกล้าได้รับแสงจะทําให้มี "อิทธิพล" (Influence) บางอย่างส่งผ่านจากส่วนยอดมายังส่วนล่างของ โคลีออพไทล์ทําให้เกิดการโค้งงอเข้าหาแสง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาได้ศึกษาถึง "อิทธิพล" ดังกล่าว ต่อมา Boysen-Jensen และ Paal ได้ศึกษาและแสดงให้เห็นว่า "อิทธิพล" ดังกล่าวนี้มีสภาพเป็น สารเคมี ซึ่งในสภาพที่โคลีออพไทล์ได้รับแสงเท่ากันทั้งสองด้าน สารเคมีนี้จะเคลื่อนที่ลงสู่ส่วนล่าง ของโคลีออพไทล์ ในอัตราเท่ากันทุกด้านและทําหน้าที่เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต ในปี ค.ศ. 1926 Went ได้ทํางานทดลองและสามารถแยกสารชนิดนี้ออกจากโคลีออพไทล์ได้ โดยตัดส่วนยอดของโคลีออพไทล์ของข้าวโอ๊ตแล้ววางลงบนวุ้นจะทําให้สารเคมีที่กระตุ้นการ เจริญเติบโตไหลลงสู่วุ้น เมื่อนําวุ้นไปวางลงที่ด้านหนึ่งของโคลีออพไทล์ที่ไม่มียอดด้านใดด้านหนึ่งจะ ทําให้โคลีออพไทล์ดังกล่าวโค้งได้เขาสรุปว่าสารเคมีได้ซึมลงสู่วุ้นแล้วซึมจากวุ้นลงสู่ส่วนของโคลี ออพไทล์ วิธีการดังกล่าวนอกจากเป็นวิธีการแรกที่แยกสารเคมีชนิดนี้ได้แล้ว ยังเป็นวิธีการวัดปริมาณ ของฮอร์โมนได้ด้วย เป็นวิธีที่เรียกว่า Bioassay สารเคมีดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า ออกซิน ซึ่งในปัจจุบันพบในพืชชั้นสูงทั่วๆไปและมีความสําคัญ ต่อการเจริญเติบโตของพืช สังเคราะห์ได้จากส่วนเนื้อเยื่อเจริญของลําต้น ปลายราก ใบอ่อน ดอกและผล และพบมากที่บริเวณเนื้อเยื่อเจริญ โคลีออพไทด์และคัพภะ รวมทั้งใบที่กําลังเจริญด้วย การสังเคราะห์ออกซิน ในปี ค.ศ. 1934 ได้พบว่าออกซินมีลักษณะทางเคมีเป็นสาร Indole-3-acetic acid หรือเรียกย่อๆ ว่า IAA ซึ่งในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นออกซินส่วนใหญ่ที่พบในพืชและในสภาพธรรมชาติ อยู่ในรูป Indole ทั้งสิ้น โดยที่ IAA เป็นสารที่สําคัญที่สุด นอกจากนั้นยังพบในรูปของ Indole-3-acetaldehyde หรือ IAAld Indole-3-Pyruvic acid หรือ IPyA และ Indole-3-acetonitrile หรือ IAN ซึ่งสารทั้ง 3 ชนิดนี้ สามารถเปลี่ยนเป็น IAA ได้พืชสังเคราะห์ออกซินที่ใบอ่อน จุดกําเนิดของใบและเมล็ดซึ่งกําลัง เจริญเติบโต
  • 9. 5 การสังเคราะห์ออกซินนั้นมีกรดอะมิโน L-Tryptophan เป็นสารเริ่มต้น (Precursor) L-Tryptophan เป็นกรดอะมิโนที่มีโครงสร้างของ Indole อยู่ ในการสังเคราะห์ IAA นั้นจะมี IAAld และ IPyA เป็น สารที่พบในระหว่างการสังเคราะห์ ในพืชบางชนิด เช่น ข้าวโอ๊ต ยาสูบ มะเขือเทศ ทานตะวัน และ ข้าวบาร์เลย์ พบว่า Tryptophan สามารถเปลี่ยนเป็น Tryptamineได้ในพืชตระกูลกะหลํ่า Tryptamine อาจจะเปลี่ยนไปเป็น Indoleacetaldoxime แล้วเปลี่ยนไปเป็น IAN แล้วจึงเปลี่ยนเป็น IAA การศึกษาเรื่องการสังเคราะห์ออกซินมักศึกษาจากเนื้อเยื่อปลายรากหรือปลายยอด และ พบว่า IAA นี้สังเคราะห์ได้ทั้งในส่วนไซโตซอล (Cytosol) ไมโตคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์ ใน การศึกษาในปัจจุบันพบว่าPhenylacetic acid หรือ PAA มีคุณสมบัติของออกซินด้วย และสามารถ สังเคราะห์ได้จาก L-Phenylalanine โดยพบในคลอโรพลาสต์ และไมโตคอนเดรียของทานตะวัน สารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติของออกซินมีหลายชนิดที่สําคัญทางการเกษตร เช่น สาร 2,4- dichlorophenoxyacetic acid หรือ 2,4-D ซึ่งใช้ในการกําจัดวัชพืช IBA หรือ Indole butyric acid ใช้ใน การเร่งให้ส่วนที่จะนําไปปักชําเกิดรากเร็วขึ้น และ NAA หรือ Napthalene acetic acid จะช่วยในการติด ผลของผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิล ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของโมเลกุลและการมีคุณสมบัติของออกซิน เนื่องจากมีสารที่เกิดในธรรมชาติและสารสังเคราะห์จํานวนมากมีคุณสมบัติของออกซิน จึง จําเป็นต้องรู้โครงสร้างของโมเลกุลที่จะก่อให้เกิดคุณสมบัติของออกซินได้ซึ่งมีการศึกษากันมาก ใน ขั้นต้น เข้าใจว่าสารที่จะมีคุณสมบัติของออกซินต้องประกอบด้วยวงแหวนที่ไม่อิ่มตัว มี side chain เป็น กรด ซึ่งต่อมาพบว่าไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง เพราะมีสารหลายชนิดที่ไม่มีลักษณะดังกล่าว แต่มีคุณสมบัติ ของออกซิน จากการศึกษาของ Thimannในปี ค.ศ. 1963 ได้สรุปว่าโครงสร้างของโมเลกุลที่สําคัญของ สารที่จะมีคุณสมบัติของออกซินคือ ต้องประกอบด้วยประจุลบ (Strong Negative Charge) ซึ่งเกิดจาก การแตกตัวของกลุ่มคาร์บอกซิล และประจุลบจะต้องอยู่ห่างจากประจุบวก (Weaker Positive Charge) บนวงแหวนด้วยระยะทางประมาณ 5.5 Angstrom สมมุติฐานของ Thimannนับว่าใช้อธิบายโครงสร้าง โมเลกุลของสารที่มีคุณสมบัติของออกซินได้ครบ
  • 10. 6 การสลายตัวของ IAA ปริมาณของ IAA ในพืชนั้นไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับอัตราการสังเคราะห์เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับอัตรา การสลายตัว ซึ่งการสลายตัวของ IAA นั้น สามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธี 1. Photo-oxidation IAA ที่อยู่ในสภาพสารละลายจะสลายตัวได้เมื่อได้รับแสง การเกิด Photo-oxidation ของ IAA จะถูกเร่งโดยการปรากฏของรงควัตถุตามธรรมชาติ หรือที่สังเคราะห์ได้ จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าการที่รงควัตถุของพืชดูดซับพลังงานจากแสงแล้วทําให้เกิดการ ออกซิไดซ์ IAA ซึ่งรงควัตถุที่เกี่ยวข้อง คือ ไรโบฟลาวินและไวโอลา แซนธิน (Riboflavin และ Violaxanthin) สารที่เกิดขึ้นเมื่อ IAA สลายตัวโดยแสงคือ 3-methylene- 2-oxindole และ Indoleacetaldehyde 2. การออกซิไดซ์โดยเอนไซม์ (Enzymic Oxidation of IAA) พืชหลายชนิดมีเอนไซม์เรียกว่า IAA- oxidase ซึ่งจะคะตะไลท์ สลาย IAA ได้คาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นปฏิกิริยาที่ใช้ออกซิเจน IAA- oxidase มีคุณสมบัติคล้ายเอนไซม์ประเภทเพอร์ออกซิเดส (Peroxidase) และเป็นเอนไซม์ที่ต้องการ แมงกานีสเป็นโค-แฟคเตอร์ กระบวนการออกซิไดซ์ โดย IAA-oxidase ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันมากนัก จากการทดลองIn vitro พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ 3-methylene-2-oxindole และถูกเมตาโบไลซ์ ต่อไป เป็น 3-methyl-2-oxindole มีการทดลองหลายครั้งที่ยืนยันว่า IAA-oxidase จะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ ของพืชเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่างอัตราการเจริญเติบโตและปริมาณ ของ IAA-oxidase ในเนื้อเยื่อของรากจะมี IAA ในปริมาณตํ่า แต่มี IAA-oxidase เป็นจํานวนมาก 3. รวมกับสารชนิดอื่นในไซโตพลาสต์ 4. เปลี่ยนเป็นอนุพันธ์ชนิดอื่น การวัดปริมาณออกซิน 1. Bioassay คือการวัดปริมาณออกซินโดยใช้ชิ้นส่วนของพืช เช่น โคลีออพไทล์ของข้าวโอ๊ตหรือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวอื่นๆ แล้ววัดความโค้งของยอดโดยการวางออกซินที่ต้องการวัดปริมาณลงบนส่วนของ โคลีออพไทล์ซึ่งตัดยอดออกแล้ว มุมที่โค้งจะบอกปริมาณของออกซินได้โดยเปรียบเทียบจากเส้น มาตรฐาน (Standard Curve)
  • 11. 7 2. การวัดจากคุณสมบัติทางฟิสิกส์ คือ การวัดปริมาณของออกซินโดยใช้การดูดกลืนแสงของ IAA ซึ่งเมื่อมีความเข้มข้นต่างกันจะดูดกลืนแสงได้ต่างกัน โดยใช้ความยาวคลื่นแสงที่ 280 nm หรือสกัดจน เป็นสารบริสุทธิ์แล้วจึงใช้เครื่อง Gas Chromatograph ร่วมกับ Mass Spectrometry ในการจําแนกและหา ปริมาณ 3. การวัดโดยวิธีเคมี โดยให้ออกซินทําปฏิกิริยากับ Salkowski's Reagent (acidified ferric chloride) หรือใช้ Ehrllch's Reagent ซึ่งจะเกิดสีขึ้นมา จากนั้นวัดความเข้มของสีแล้วเปรียบเทียบกับเส้น มาตรฐาน การเคลื่อนที่ของออกซินในต้นพืช จากส่วนของพืชที่มีการสังเคราะห์ ฮอร์โมนจะเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนอื่นๆ และมีผลกระทบต่อ เนื้อเยื่อที่ได้รับฮอร์โมน การเคลื่อนที่จะถูกควบคุมอย่างดี การเคลื่อนที่ของออกซินจะเป็นแบบ โพลาไรซ์ (Polarized) คือ เคลื่อนที่ไปตามยาวของลําต้นโดยไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากกว่าทิศทาง ตรงกันข้าม ซึ่งการเคลื่อนที่แบบโพลาร์ (Polar) นี้จะเกี่ยวข้องกับการเจริญและการเปลี่ยนแปลงทาง คุณภาพของพืชทั้งต้น การเคลื่อนที่ของออกซินในส่วนที่อยู่เหนือดิน จะเป็นแบบโพลาร์ เบสิพีตัล (Polar Basipetal) คือ จะเคลื่อนที่จากแหล่งผลิตที่ยอดไปสู่โคนต้น ซึ่งการทดลองที่แสดงว่ามีการเคลื่อนที่แบบนี้สามารถทํา ได้โดยใช้ก้อนวุ้นที่เป็นแหล่งให้ออกซินและรับออกซิน (Donor-Receiver Agar Block) คือ ใช้ก้อนวุ้น ที่มีออกซินอยู่วางบนท่อนของเนื้อเยื่อ ส่วนก้อนวุ้นอีกก้อนซึ่งทําหน้าที่รับออกซินอยู่อีกปลายหนึ่งของ ท่อนเนื้อเยื่อ ออกซินจะเคลื่อนที่จากก้อนวุ้นที่มีออกซินผ่านเนื้อเยื่อลงไปสู่ก้อนวุ้นที่ไม่มีออกซิน ซึ่ง จากวิธีการนี้สามารถคํานวณความเร็วของการเคลื่อนที่ของออกซินในเนื้อเยื่อได้ เพราะทราบความยาว ของท่อนเนื้อเยื่อ ความเร็วในการเคลื่อนที่แสดงเป็นระยะทางต่อหน่วยเวลา ซึ่งความเร็วในการเคลื่อนที่ ของออกซินจะประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง การเคลื่อนที่ของออกซินจะเกิดแบบเบสิพีตัลก็เมื่อท่อนเนื้อเยื่อวางอยู่ในลักษณะปกติของลักษณะ ทางสัณฐานวิทยาเท่านั้น คือ ก้อนวุ้นที่เป็นก้อนที่รับออกซินจะต้องอยู่ทางด้านโคนของท่อนเนื้อเยื่อ ถ้าหากกลับท่อนเนื้อเยื่อเอาด้านโคนกลับขึ้นเป็นด้านยอด การเคลื่อนที่แบบเบสิพีตัลจะลดลงทันที อัตราการเคลื่อนที่ของสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติของออกซินจะช้ากว่าการเคลื่อนที่ของ IAA แต่ ลักษณะการเคลื่อนที่ของสารสังเคราะห์ เช่น 2,4-D IBA และ NAAก็เกิดในลักษณะโพลาร์ เช่นเดียวกับสาร IAA
  • 12. 8 การเคลื่อนที่ของออกซินในส่วนที่อยู่เหนือดินของพืช เกิดแบบอะโครพีตัล (Acropetal) ได้บ้างแต่ น้อยมาก การเคลื่อนที่แบบโพลาร์จะลดลงเมื่ออายุของพืชเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ออกซินเคลื่อนที่ผ่านไปในส่วนใดของเนื้อเยื่ออาจจะเป็นแบบจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง เพราะการเคลื่อนที่ช้ากว่าการเคลื่อนที่ของสารในท่ออาหาร (Phloem) ซึ่งประมาณ 10-100 เซนติเมตร ต่อชั่วโมง และการเคลื่อนที่ของสารในท่ออาหารจะเป็นแบบอะโครพีตัลมากกว่า ดังนั้นออกซินจึง ไม่ได้เคลื่อนที่ในท่ออาหาร แต่การเคลื่อนที่ในรากอาจจะเป็นแบบตาม Phloem และเป็นที่เด่นชัดว่า ออกซินไม่ได้เคลื่อนที่ในท่อนํ้าของพืชเพราะการไหลของนํ้าจะเป็นไปในทิศทางที่ขึ้นสู่ยอด และ นอกจากนั้นท่อนํ้ายังเป็นเนื้อเยื่อที่ตายแล้วไม่มีพลังงานที่จะทําให้ออกซินเคลื่อนที่แบบโพลาร์ได้ใน กรณีของโคลีออพไทล์ของพืชนั้นชี้ให้เห็นว่าออกซินเคลื่อนที่ผ่านเซลล์ทุกเซลล์ลงมา แต่ในกรณีของ ลําต้นนั้นยังไม่มีหลักฐานชี้ให้เห็นเด่นชัดนัก แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าโปรแคมเบียม (Procambium) และ แคมเบียม (Cambium) โดยเฉพาะส่วนที่จะกลายเป็นท่ออาหารอาจจะเป็นทางเคลื่อนที่ของออกซิน การเคลื่อนที่ของออกซินในรากก็มีลักษณะเป็นโพลาร์ แต่เป็นแบบอะโครพีตัล ซึ่งกลับกันกับกรณี ของลําต้น ความเร็วของออกซินที่เคลื่อนที่ไปในรากพืชประมาณ 1 เซนติเมตรต่อชั่วโมง โดยคาดว่าเกิด ในส่วนของแคมเบียมและท่ออาหารที่เกิดใหม่ การเคลื่อนที่ของออกซินเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังงานโดยมีหลักฐานที่สนับสนุนดังนี้ 1. การเคลื่อนที่เร็วกว่าการซึม 10 เท่า 2. เคลื่อนที่ได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนเท่านั้น และการเคลื่อนที่หยุดได้โดยสารบางชนิด (Inhibitor) 3. เคลื่อนที่จากบริเวณที่มีปริมาณมากไปสู่บริเวณที่มีปริมาณน้อย (Gradient) 4. เกิด Saturation Effect ได้ กลไกการทํางานของออกซิน โดยทั่วไปฮอร์โมนจะสามารถก่อให้เกิดผลต่อการเจริญเติบโตได้ในปริมาณที่ตํ่ามาก จึงสรุปกันว่า การทํางานของฮอร์โมนต้องเกี่ยวข้องกับการขยายสัญญาณของฮอร์โมน (Large Amplification) แล้ว ฮอร์โมนสามารถทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลจํานวนมากขึ้นได้ โดยทั่วไปฮอร์โมนจะมีผล ต่อการเจริญเติบโตโดยผ่านมาทางการควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนหรือกรดนิวคลีอิคควบคุม "pace-setter" ของเอนไซม์และควบคุมการยอมให้สารเข้าออกจากเซลล์ของเยื่อหุ้มเซลล์
  • 13. 9 กลไกในการทํางานของออกซินในระยะที่ผ่านมาจะมีแนวความคิดเป็นสองอย่าง คือ แนวคิดที่ เกี่ยวข้องกับผนังเซลล์เป็นส่วนที่รับผลกระทบของออกซินและขยายตัว และแนวคิดหนึ่งมุ่งไปที่ผลของ ออกซินต่อเมตาบอลิสม์ของกรดนิวคลีอิค ในปัจจุบันได้นําสองแนวคิดมาวิเคราะห์ ร่วมกันเพื่อศึกษา กลไกในการทํางานของออกซิน และยังศึกษาผลของออกซินต่อเยื่อหุ้มเซลล์ด้วย การขยายตัวของเซลล์จะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงปริมาณและกิจกรรมของเอนไซม์ โดยออกซิน จะมีบทบาทต่อ กระบวนการเมตาบอลิสม์ของกรดนิวคลีอิค โดยการศึกษาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ เป็นไส้ของต้นยาสูบ (Tobacco Pith) ซึ่งจะเจริญไปเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อ (Callus) นั้นพบว่ามีปริมาณ ของ RNA เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะออกซินจะกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์ RNA มากขึ้น แล้วส่งผลไปถึง การเจริญของกลุ่มเนื้อเยื่อ ถ้าหากใช้สารระงับการสังเคราะห์โปรตีนหรือ RNA ความสามารถในการ กระตุ้นการเจริญเติบโตของออกซินจะหายไป การทดลองอีกเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่าออกซินกระตุ้นให้มีการสร้าง RNA คือ การใช้นิวเคลียส หรือโคร มาตินเลี้ยงไว้ในสารที่เป็นสารเริ่มต้นของ RNA เช่น ATP CTP GTP และ UTP ซึ่งสารเริ่มต้นเหล่านี้จะ มีสารกัมมันตรังสีปรากฏอยู่ด้วย RNA ที่เกิดขึ้นมาใหม่จะมีสารกัมมันตรังสีด้วย ซึ่งการที่จะเกิด RNA ใหม่ขึ้นได้นี้เซลล์จะต้องได้รับออกซินก่อนที่นิวเคลียสหรือโครมาตินจะถูกแยกออกจากเซลล์ เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าออกซินไปกระตุ้นการสังเคราะห์ RNA ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่าออกซินมีผลต่อระดับเอนไซม์โดยผ่านทางการสังเคราะห์ RNA นอกจากนั้นออกซินยังมีผลกระทบต่อกิจกรรมของเอนไซม์โดยตรง เช่น การกระตุ้นให้เอนไซม์เกิด กิจกรรมหรือเปลี่ยนรูปมาอยู่ในรูปที่มีกิจกรรมได้ แต่ไม่ว่าออกซินจะมีผลกระทบต่อเอนไซม์แบบใดก็ ตาม นักวิทยาศาสตร์ได้มุ่งความสนใจไปสู่เอนไซม์ที่สัมพันธ์กับกระบวนการขยายตัวของเซลล์ เซลล์พืชจะมีผนังเซลล์อยู่ข้างนอกสุด ดังนั้นการเจริญของเซลล์จะเกิดขึ้นได้เมื่อคุณสมบัติของผนัง เซลล์เปลี่ยนไปในทางที่ก่อให้เกิดการขยายตัวของโปรโตพลาสต์จากความจริงดังกล่าวการศึกษา ทางด้านนี้จึงมุ่งไปสู่ผลกระทบของออกซินต่อคุณสมบัติของผนังเซลล์ เซลล์พืชทุกชนิดที่ผ่านขั้นตอนของเนื้อเยื่อเจริญมาแล้วจะผ่านขั้นตอนการเจริญเติบโต 2 ขั้น คือ การแบ่งเซลล์และการขยายตัวแวคคิวโอขึ้นภายในเซลล์ (Vacuolation) ในการศึกษาการเจริญเติบโต ของโคลีออพไทล์ของข้าวโอ๊ต พบว่าการแบ่งเซลล์จะหยุดเมื่อมีความยาว 10 มิลลิเมตร การเจริญเติบโต ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นจะเนื่องมาจากการขยายขนาดของเซลล์ ดังนั้นในการศึกษาถึงผลกระทบของ ออกซินต่อการเจริญเติบโตของพืชจึงเน้นไปที่ผลต่อการขยายตัวของเซลล์ ในระหว่างการขยายขนาด ของเซลล์เพราะการขยายตัวของแวคคิวโอ หรืออาจจะเกิดช่องว่างภายในเซลล์ขึ้น ที่ผนังเซลล์จะเกิด
  • 14. 10 การยืดตัวชนิดที่ไม่สามารถหดได้อีก มีการทดลองหลายการทดลองสนับสนุนว่าออกซินเพิ่มการ ยืดตัวของผนังเซลล์ (Plasticity) ในระหว่างการขยายตัวของเซลล์นั้น ไม่เพียงแต่ผนังเซลล์ยืดตัวเท่านั้น แต่ยังมีการเพิ่มความหนา ของผนังเซลล์เพราะมีสารใหม่ ๆไปเกาะด้วย ซึ่งการเจริญดังกล่าวนี้ก็เป็นผลจากการกระตุ้นของ ออกซิน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อการยืดตัวของเซลล์หยุดลงแล้ว จากบทที่ 1 ได้กล่าวแล้วว่าผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลล์ลูโลสไมโครไฟบริลฝังตัวอยู่ในส่วนที่ เป็นแมททริกซ์ (Matrix) และโปรตีน ดังนั้นถ้าพิจารณาดูผนังเซลล์จะมีลักษณะเหมือนคอนกรีตเสริม เหล็กโดยเซลลูโลสจะเป็นส่วนของเหล็ก โมเลกุลของเซลลูโลสยึดติดกันด้วยแขนไฮโดรเจน (Hydrogen bond) ในขณะที่ส่วนของแมททริกซ์เกาะกันด้วยแขนโควาเลนท์ (Covalent bond) และใน เนื้อเยื่อใบเลี้ยงของพืชใบเลี้ยงคู่เซลลูโลสเกาะอยู่กับแมททริกซ์โดยแขนไฮโดรเจน ดังนั้นการที่ออกซิน จะทําให้เซลล์ยืดตัวนั้นต้องทําลายแขนเหล่านี้เสียก่อน ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าแม้ว่าการ ขยายตัวของเซลล์เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนและ RNA รวมทั้งพลังงานจากการหายใจก็ตาม แต่ถ้าให้ออกซินจากภายนอกต่อลําต้นหรือโคลีออพไทล์อัตราการเจริญเติบโตจะเพิ่มขึ้นหลังจาก ระยะเวลา "lag" เพียง 2-3 นาทีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่การเจริญเติบโตถูกเร่งโดยการเปลี่ยนอัตราของ การ Transcription และ Translation แต่ดูเหมือนว่าออกซินจะไปมีผลต่อระบบที่ปรากฏอยู่ในพืช แล้ว (Pre-formed System) ดังนั้นจากเหตุผลข้างต้น การทําลายการเกาะกันของโครงสร้างของผนัง เซลล์จะไม่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ ในการทดลองต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้นําเอาโคลีออพไทล์หรือลําต้นที่ไม่ได้รับแสงไปแช่ลงใน สภาพที่มี pH ประมาณ 3 ปรากฏว่าโคลีออพไทล์และลําต้นสามารถยืดตัวได้และเรียกปรากฏการณ์นี้ ว่า "Acid Growth Effect" ซึ่งให้ผลเหมือนกับการให้ออกซินแก่พืช การทดลองนี้ได้นําไปสู่การศึกษา ที่แสดงว่า ออกซินกระตุ้นการปลดปล่อย H+ หรือโปรตอนจากเนื้อเยื่อ ทําให้ pH ของผนังเซลล์ตํ่าลง ซึ่งการปลดปล่อย H+ นี้ต้องใช้พลังงานจากการหายใจด้วย สมมุติฐานเกี่ยวกับ "Proton-Pump" นี้ คาดว่าเกิดในเยื่อหุ้มเซลล์ ในการยอมรับปรากฏการณ์ข้างต้นว่าเป็นการทํางานของออกซินในการกระตุ้นอัตราการ เจริญเติบโตของพืช ต้องสามารถอธิบายเหตุผลว่าออกซินกระตุ้นการปลดปล่อย H+ ได้อย่างไรหรือ ทําไมการสังเคราะห์โปรตีนและ RNA จึงจําเป็นต่อการยืดตัวของเซลล์ และการเปลี่ยน pH ทําให้ คุณสมบัติของผนังเซลล์เปลี่ยนไปได้อย่างไร
  • 15. 11 คําตอบว่าออกซินกระตุ้นการปลดปล่อย H+ อย่างไรนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด ยังต้องมีการทดลองอีก มากเพื่ออธิบาย การเจริญของเซลล์ต้องการ RNA และโปรตีนในช่วงที่เซลล์ยืดตัว เพราะในการยืดตัว ของเซลล์นั้นผนังเซลล์ไม่ได้บางลงไป แต่ยังคงหนาเท่าเดิมหรือหนาขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างผนัง เซลล์เพิ่มขึ้นด้วย ในการสร้างผนังเซลล์นั้นต้องใช้เอนไซม์และ RNA pH ตํ่ามีผลต่อการเปลี่ยน คุณสมบัติของผนังเซลล์ในแง่ที่ว่า แขนที่เกาะกันของผนังเซลล์นั้นอาจจะถูกทําลายในสภาพที่ pH ตํ่า หรืออาจจะเป็น pH ที่เหมาะสมสําหรับเอนไซม์ ที่จะทําให้ผนังเซลล์เปลี่ยนไป การตอบสนองของพืชต่อออกซิน 1. การตอบสนองในระดับเซลล์ออกซินทําให้เกิดการขยายตัวของเซลล์ (Cell enlargement) เช่น ทําให้เกิดการขยายตัวของใบ ทําให้ผลเจริญเติบโต เช่น กรณีของสตรอเบอรี่ ถ้าหากกําจัดแหล่งของ ออกซิน ซึ่งคือส่วนของเมล็ดที่อยู่ภายนอกของผล (ผลแห้งแบบ Achene) จะทําให้เนื้อเยื่อของผลบริเวณ ที่ไม่มีเมล็ดรอบนอกไม่เจริญเติบโต ออกซินทําให้เกิดการแบ่งเซลล์ได้ในบางกรณี เช่น กระตุ้นการ แบ่งเซลล์ของแคมเบียมและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ เช่น กระตุ้นให้เกิดท่อนํ้าและ ท่ออาหาร กระตุ้นให้เกิดรากจากการปักชําพืช เช่น การใช้IBA ในการเร่งรากของกิ่งชํา แล้วยังกระตุ้น ให้เกิดแคลลัส (Callus) ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่การตอบสนองในระดับเซลล์ที่เกิดเสมอคือ การขยายตัวของเซลล์ 2. การตอบสนองของอวัยวะหรือพืชทั้งต้น 2.1 เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืชต่อแสง (Phototropism Geotropism) 2.2 การที่ตายอดข่มไม่ให้ตาข้างเจริญเติบโต (Apical Dominance) 2.3 การติดผล เช่น กรณีของมะเขือเทศ ออกซินในรูปของ 4 CPA จะเร่งให้เกิดผลแบบ Pathenocarpic และในเงาะถ้าใช้NAA 4.5 เปอร์เซ็นต์ จะเร่งการเจริญของเกสรตัวผู้ทําให้สามารถผสมกับ เกสรตัวเมียได้ ในดอกที่ได้รับ NAA เกสรตัวเมียจะไม่เจริญเพราะได้รับ NAA ที่มีความเข้มข้นสูงเกินไป แต่เกสรตัวผู้ยังเจริญได้ทําให้การติดผลเกิดมากขึ้น 2.4 ป้องกันการร่วงของผลโดยออกซินจะยับยั้งไม่ให้เกิด Abcission layer ขึ้นมา เช่น การใช้ 2, 4-D ป้องกันผลส้มไม่ให้ร่วง หรือ NAA สามารถป้องกันการร่วงของผลมะม่วง 2.5 ป้องกันการร่วงของใบ 2.6 ในบางกรณีออกซินสามารถทําให้สัดส่วนของดอก ตัวเมียและตัวผู้เปลี่ยนไปโดยออกซินจะกระตุ้นให้มีดอกตัวเมียมากขึ้น
  • 16. 12 บทที่ 3 การดําเนินงาน วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี 1. ต้นพุดซ้อน 9 ต้น 2. ฮอร์โมนออกซิน 1 ขวด ขนาด 100 มิลลิลิตร 3. ป้ายระบุข้อมูลต้นไม้9 ป้าย 4. ขวดรดนํ้าต้นไม้3-4 ขวด 5. กระบอกฉีดยา 3 กระบอก 6. นํ้า 7. หลอดฉีดยา 1 อัน ขั้นตอนการทําโครงงาน 1. ประชุมวางแผนคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ ซึ่งคือการศึกษาผลของฮอร์โมนออกซินที่มีต่อการ ออกดอกของต้นพุดซ้อน 2. ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานดังนี้ 2.1. ดอกพุดซ้อน 2.2. ฮอร์โมนออกซิน 3. วางแผนรายละเอียดการทดลอง 4. หาสถานที่ที่ใช้ในการทําทดลอง บริเวณหน้าตึกศิลปะ 5. จัดทําเค้าโครงโครงงาน เพื่อนําเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อนําไปปรับปรุงและแก้ไข 6. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําการทดลอง 6.1 ต้นพุดซ้อน 9 ต้น 6.2 ฮอร์โมนออกซิน 1 ขวด ขนาด 100มิลลิลิตร 6.3 ป้ายระบุข้อมูลต้นไม้9 ป้าย 6.4 ขวดรดนํ้าต้นไม้3-4 ขวด 6.5 กระบอกฉีดยา 1 อัน 6.6 นํ้า 6.7 หลอดดูดยา
  • 17. 13 7. ขั้นตอนกระบวนการทําการทดลอง 7.1 นําต้นพุดซ้อนมาจัดวางตามชุดการทดลอง จากซ้ายไปขวา ดังนี้ ชุดควบคุม (0%), ชุด Low dose (0.1%), ชุด High dose (0.15%) 7.2 ปักป้ายระบุข้อมูลต้นไม้ให้เรียบร้อย 7.3 ผสมฮอร์โมนออกซิน 1 มิลลิลิตร กับ นํ้า 1 ลิตร สําหรับการทดลองชุด Low dose (0.1%) แล้วนําไปแบ่งใส่กระบอกฉีดนํ้าสีเหลือง 7.4 ผสมฮอร์โมนออกซิน 1.5 มิลลิลิตร กับ นํ้า 1 ลิตร สําหรับการทดลองชุด High dose (0.15%) แล้วนําไปแบ่งใส่กระบอกฉีดนํ้าสีแดง 7.5 ฉีดฮอร์โมนแก่ต้นไม้ตามชุดการทดลองแต่ละชุด วันเว้นวัน หลังจากรดนํ้าต้นไม้ ฉีดประมาณ 7-8 ครั้ง 7.6 สังเกตและบันทึกผลการทดลอง 8. สรุปผล อภิปราย และเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระยะ 9. จัดทําเอกสารเป็นรูปเล่มโครงงานให้สมบูรณ์ 10. จัดทําสื่ออภิปรายแสดงผลการทดลอง 11. นําเสนอโครงงาน
  • 18. 14 บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง ตารางบันทึกผลการทดลอง กราฟแท่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนดอกของต้นพุดซ้อนและความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ใช้ เทียบ กับวันที่บันทึกผลการทดลอง 0 1 2 3 31/5/2017 12/6/2017 19/6/2017 26/6/2017 3/7/2017 10/7/2017 17/7/2017 24/7/2017 31/7/2017 Control 0% Low dose 0.1% High dose 0.15% ครั้ง ที่ วันที่ บันทึก ผล จํานวนดอกของต้นพุดซ้อน (ดอก) หมายเหตุ ชุดควบคุม 0 % ชุด Low dose 0.1% ชุด High dose 0.15% ต้น ที่1 ต้น ที่ 2 ต้น ที่ 3 ค่าเฉลี่ย ต้น ที่ 1 ต้น ที่ 2 ต้น ที่ 3 ค่าเฉลี่ย ต้น ที่ 1 ต้น ที่ 2 ต้น ที่ 3 ค่าเฉลี่ย 1 31/05/60 3 0 0 1 0 3 1 2 1 0 3 2 นําต้นไม้มาวางบริเวณ ที่ทําการทดลอง 2 12/6/60 1 1 0 1 0 3 1 2 1 0 3 2 เริ่มทดลองฉีด ฮอร์โมน 3 19/6/60 0 1 1 1 0 4 1 2 2 2 3 3 4 26/6/60 2 1 1 2 2 4 2 3 2 3 4 3 5 3/7/60 0 2 1 1 2 3 1 2 2 3 4 3 6 10/7/60 0 1 1 1 0 2 2 2 1 2 2 2 7 17/7/60 0 0 1 1 0 1 1 1 1 2 1 2 8 24/7/60 0 0 0 0 0 0 1 1 1 1 2 2 9 31/7/60 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
  • 19. 15 กราฟเส้นแสดงผลการทดลอง วิเคราะห์ผลการทดลอง จากการทดลองเห็นได้ชัดว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนออกซินมีผลต่อการออกดอกของต้นพุดซ้อน โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการออกดอกของต้นพุดซ้อนในแต่ละอาทิตย์นั้น พบว่า ต้นพุดซ้อน ชุดทดลอง High dose (ความเข้มข้น 0.15%) มีอัตราการออกดอกในแต่ละสัปดาห์มากสุด คือ การออกดอก ในสัปดาห์ที่ 3-5 มากถึง 3 ดอก รองลงมา คือต้นพุดซ้อนชุดทดลอง Low dose (ความเข้มข้น 0.1%) และต้นพุดซ้อนชุดทดลองควบคุม (ความเข้มข้น 0%)มีอัตราการออกดอกตํ่าที่สุด 0 1 2 3 4 กราฟเส้ นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนดอกของต้นพุดซ้อน และความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ใช้ เทียบกับวันที่บันทึกผลการทดลอง Control 0% Low dose 0.1% High dose 0.15%
  • 20. 16 บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปผลการทดลอง กลุ่มต้น High dose(ความเข้มข้น 0.15%) มีอัตราการออกดอกสูงที่สุด รองลงมาคือ low dose (ความ เข้มข้น0.1%)และ ชุดควบคุมตามลําดับ เนื่องจากฮอร์โมนออกซินมีความสําคัญต่อการเจริญเติบโต การออก ดอกของพืช อ้างอิงจากงานวิจัยผลของฮอร์โมนพืชที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช ที่ว่ากลุ่มออกซิน (Auxins) เป็นฮอร์โมนพืชชนิดแรกที่มีการค้นพบ และเป็นสารที่มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นการเจริญเติบโตและ พัฒนาการของพืช เพราะมีผลเกี่ยวกับการเจริญของลํา ต้นและราก การแตกตา การออกดอก การติดผล การ เจริญของผลและเมล็ด นอกจากนี้ ยังมีบทบาทต่อขบวนการทางสรีรวิทยาอีกมากมาย ออกซินเป็นสารที่มี บทบาทอย่างมากในด้านการเพิ่มขนาดของเซล (Cell enlargement) นอกจากนี้ ยังมีบทบาทต่อการเพิ่มความ ยาวของเซล (Cell elongation) อีกด้วย ในธรรมชาติ พืชมีการสังเคราะห์สารในกลุ่มออกซินขึ้นมาหลายชนิด ด้วยกัน แต่ชนิดที่มีบทบาทและมีความสําคัญมากที่สุด คือ indole-3-acetic acid (IAA) ซึ่งสังเคราะห์ได้จาก กรดอะมิโน Tryptophan ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม − ควรเอาใจใส่มากขึ้นเกี่ยวกับอุปสรรคในการทดลองเช่น หนอน มด ที่มากัดกินต้นไม้ − ไม่ควรทิ้งช่วงห่างในการรดนํ้าต้นไม้นานจนเกินไป ทําให้ใบพุดซ้อนบางใบเริ่มเหี่ยวเฉา − นอกเหนือจากการทดลองผลเกี่ยวกับจํานวนดอก สังเกตได้ว่า กลุ่มต้น High dose (ความเข้มข้น 0.15%) จะมีอัตราการเกิดมากที่สุด ยังมีส่วนสูงของต้นที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย สามารถ นํามาอภิปรายเพิ่มเติมได้อีกสําหรับผลของฮอร์โมนออกซินต่อความสูงของต้นไม้
  • 21. 17 บรรณานุกรม รศ.ดร.ดนัย บุณยเกียรติ, ฮอร์โมนพืช, แหล่งที่มา : http://web.agri.cmu.ac.th, พุดซ้อน, แหล่งที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/พุดซ้อน พุดซ้อน สรรพคุณและประโยชน์ของดอกพุดซ้อน 29 ข้อ, แหล่งที่มา : https://medthai.com/พุดซ้อน พุดซ้อน, แหล่งที่มา :http://prayod.com/พุดซ้อน ต้นพุด ไม้มงคลแห่งพรรณไม้นําโชค และ ความสําเร็จ, แหล่งที่มา :http://www.rukbarn.com/3863/ ตํานานดอกพุดซ้อนของภาคอีสาน, แหล่งที่มา :https://sangkae.wordpress.com ออกซิน, แหล่งที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/ออกซิน ประโยชน์ของออกซินที่ใช้ในการผลิตพืช, แหล่งที่มา :http://www.plantmediashop.com ประโยชน์ของออกซิน, แหล่งที่มา :http://topicauxin.blogspot.com/p/blog-page_12.html