SlideShare a Scribd company logo
1 of 26
Download to read offline
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็ม
นาเสนอครูผู้สอน
นาเสนอครูผู้สอน
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ตาแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
1. นางสาว พริมา โกยทอง เลขที่ 17
2. นางสาว ภัทริดา พิศาลรัศมี เลขที่ 20
3. นาย จิรภัทร ขจรบุญรัตนะ เลขที่ 29
4. นาย เธียร อุรเคนทร์ เลขที่ 36
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 126
สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
คานา
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา โครงงานนี้เป็นโครงงานทีทาการศึกษาเกี่ยวกับผลของ
ฮอร์โมนพืชจิบเบอเรลลินที่มีความต่อความสูงของต้นเข็ม ว่ามันจะทาให้ต้นเข็มมีการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้น
อย่างไร โดยโครงงานนี้ถือเป็นโครงงานประเภททดลอง การทดลองก็มีจุดประสงค์เพื่อจะเปรียบเทียบความ
แตกต่างแบะหาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนกับการเจริญเติบโตของต้นเข็ม
เป็นการหาว่าระดับความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนในการทดลองใด เหมาะสมกับต้นเข็มมากที่สุด การ
ทดลองจะแบ่งเป็น3ชุดคือชุดควบคุม ชุดlow dose และ ชุด high dose เราจะฉีดฮอร์โมนสัปดาห์ละ1ครั้ง เพื่อ
กันไม่ให้ต้นไม้ได้รับฮอร์โมนมากเกินไปจนอาจะตายได้จากนั้นจะทาการบันทึกผลสัปดาห์ละ1ครั้งเช่นกัน
ดังสรุปได้ตามตารางการทดลอง และจากการทดลองทั้งหมด เราสามารถสรุปการทดลองได้ว่า ฮอร์โมนจิบ
เบอเรลลินในระดับความเข้มข้นที่ใช้นี้ มีผลต่อความสูงของต้นเข็มเพียงเล็กน้อย ไม่ได้เพิ่มความสูงจนเห็น
ความแตกต่างได้อย่างชัดเจน แต่อาจมีเหตุมาจากระยะเวลาในการทดลองที่อาจสั้นเกินไปจึงทาให้เรายังไม่
ได้ผลที่ชัดเจน ในการทาโครงงานชิ้นนี้ พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านที่ได้มาศึกษาโครงงานนี้จะได้รับ
ความรู้ไม่มากก็น้อยและสามารถนาความรู้นี้ไปต่อยอดในชีวิตประจาวัน ในการประกอบอาชีพการเกษตร
หรือในการนาไปต่อยอดในงานวิจัยต่างๆต่อไป
คณะผู้จัดทา
27 กรกฎาคม 2560
บทคัดย่อ
ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินเป็นฮอร์โมนพืชที่มีความสาคัญมากชนิดหนึ่งและมีประโยชน์ในการทา
เกษตรกรรม ต้นเข็มก็เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายตามบ้านเรือนเพราะเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย
และค่อนข้างทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี แต่ในการจะขายต้นเข็มนั้นก็นิยมขายในขณะที่ต้นมีความสูง
พอควรและพอเหมาะ ในบางครั้งจึงต้องใช้ฮอร์โมนช่วยเพื่อย่นระยะเวลาในการรอให้มันสูงขึ้นลง
โครงงานนี้ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็ม โดยใน
การทดลองได้ทาการแบ่งชุดการทดลองเป็น 3 ชุด คือชุดควบคุมที่จะทาการฉีดสารละลายฮอร์โมนความ
เข้มข้น 0% หรือคือน้าเปล่า ชุดการทดลอง low dose ที่จะทาการฉีดสารละลายฮอร์โมนความเข้มข้น 0.02%
โดยปริมาตร และชุดการทดลอง high dose ที่จะทาการฉีดสารละลายฮอร์โมนความเข้มข้น 0.10%โดย
ปริมาตร หลังจากนั้นเราก็จะทาการบันทึกผลและสรุปผลต่อไป
โดยจากการทดลองและสรุปผลแล้วนั้น เราพบว่า สารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมีผลต่อความ
สูงขึ้นของต้นเข็มเพียงเล็กน้อย จากการสังเกตในช่วงเวลาที่ผ่านมาต้นเข็มนั้นมีความสูงเพิ่มขึ้นในชุดการ
ทดลอง high dose มากกว่า low dose และมากกว่า ชุดควบคุม ตามลาดับ
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็มจะสาเร็จลุล่วง
ไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากคุณครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ที่ช่วยให้คาปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
เกี่ยวกับโครงงาน ตลอดจนคอยตรวจสอบความคืบหน้าของงานเป็นระยะและคอยแนะนา ติชมให้ได้นา
คาแนะนาเหล่านั้นกลับไปแก้ไขจนเกิดเป็นโครงงานที่สมบูรณ์ได้
ขอขอบคุณผู้ปกครอง และคุณครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
ทั้งอุปกรณ์และสถานที่ตลอดมา
คณะผู้จัดทาโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ณ โอกาสนี้
คณะผู้จัดทา
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
บทที่ 1 บทนา
- ที่มาและความสาคัญ 1
- คาถามการทดลอง 2
- สมมติฐานการทดลอง 2
- วัตถุประสงค์ของโครงงาน 2
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
- ขอบเขตการศึกษา 2
- ตัวแปร 2
- ระยะเวลาการทดลอง 3
- วิธีการเก็บข้อมูล 3
- วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล 3
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน 4
- ข้อมูลพรรณไม้ต้นเข็ม 7
บทที่ 3 การดาเนินงาน
- วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี 12
- ขั้นตอนการทาโครงงาน 13
บทที่ 4 ผลการทดลอง
- ตารางบันทึกผลการทดลอง 15
- กราฟแสดงผลการทดลอง 16
บทที่ 5 สรุป อภิปราย และ เสนอแนะ
- สรุปผลการทดลอง 18
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 18
บรรณานุกรม 19
ภาคผนวก 20
บทที่ 1 บทนา
ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็ม
สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
1.นางสาว พริมา โกยทอง เลขที่ 17
2.นางสาว ภัทริดา พิศาลรัศมี เลขที่ 20
3.นาย จิรภัทร ขจรบุญรัตนะ เลขที่ 29
4.นาย เธียร อุรเคนทร์ เลขที่ 36
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 126
สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ครูผู้สอน
ครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ที่มาและความสาคัญ
เนื่องจาก เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายตามบ้านเรือนเพราะเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายและ
ค่อนข้างทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี นอกจากนี้ ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินเป็นฮอร์โมนพืชที่มีความสาคัญ
มากชนิดหนึ่งและมีประโยชน์ในการทาเกษตรกรรม ซึ่งฮอร์โมนนี้มีหน้าที่สามารถที่จะช่วยกระตุ้นการ
ขยายตัวของเซลล์พืชและมีส่วนในการช่วยการยืดตัวของลาต้นอีกด้วย
คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช จึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของฮอร์โมนจิบ
เบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็มโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมีอิทธิผลต่อการ
เพิ่มความสูงของต้นต้นเข็มอย่างไรคณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชมีความมุ่งหวังเป็น
อย่างยิ่งว่าผลที่ได้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ได้มาศึกษาโครงงานชินนี้และเกษตรกรที่สามารถนาความรู้ไป
ประยุกต์ใช้ได้ในอนาคตต่อไป
คาถามการทาโครงงาน
สารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้น0.10%โดยปริมาตรจะส่งผลให้ต้นเข็มมีความสูง
มากที่สุด
สมมติฐานการทดลอง
ถ้าฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้น0.10%โดยปริมาตรมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของความสูงดีที่สุด
ดังนั้น สารละลายฮอร์โมน จิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้น0.10%โดยปริมาตรจะทาให้ต้นเข็มมี ความสูงมาก
ที่สุด
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็ม
2. เพื่อเปรียบเทียบต้นเทียนหยดในกลุ่มการทดลองต่างๆสามกลุ่มคือกลุ่ม lose dose, high dose และ
กลุ่มควบคุม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีผลต่อตวามสูงของต้นเข็ม
2.ได้ศึกษาเปรียบเทียบต้นเข็มในกลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนในปริมาณเข้มข้นมาก เข้มข้นน้อย และกลุ่มที่
ไม่ได้รับฮอร์โมน จิบเบอเรลลิน
3. เป็นการส่งเสริมทักษการทางานกลุ่มและการวางแผนงาน ประสานงานร่วมกัน
ขอบเขตการศึกษา
การทาโครงงานในครั้งนี้คณะผู้รับผิดชอบมุ่งเน้นที่จะศึกษาเฉพาะ ผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่
มีต่อการเพิ่มความสูงของต้นเข็มเท่านั้น
ตัวแปร
ตัวแปรต้น : ความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน
ตัวแปรตาม : ความสูงของต้นเข็มที่เพิ่มขึ้น
ตัวแปรควบคุม : ปริมาณน้าที่ให้ ปริมาณดิน แสงแดด
ระยะเวลาการทดลอง
25 พฤษภาคม 2560 – 3 สิงหาคม 2560
วิธีการเก็บข้อมูล
ใช้ตลับเมตรวัดความสูงของต้นเข็มจากขอบกระถางถึงยอดต้นทุกๆวันจันทร์
วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล
1. การหาค่าเฉลี่ยของความสูงของต้นเข็มที่เพิ่มขึ้นในแต่ละชุดการทดลอง
2. การหาความสัมพันธ์ระหว่างความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของแต่ละชุดการทดลอง
กับ ชุดการทดลองในรูปแบบกราฟแท่งและกราฟเส้น
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดทาโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชเรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อ
ความสูงของต้นเข็ม กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน ดังต่อไปนี้
1. ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน
2. ต้นเข็ม
1.ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน
จิบเบอเรลลิน (Gibberellin) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ ควบคุมการ
เจริญเติบโตและมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางพัฒนาการรวมทั้งการยืดของข้อ การงอก การพักตัว การออก
ดอก การแสดงเพศ การชักนาการสร้างเอนไซม์รวมทั้งการชราของดอกและผล จิบเบอเรลลินถูกค้นพบครั้ง
แรกเมื่อ พ.ศ. 2469 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น Eiichi Kurosawa ผู้ศึกษาโรคบากาเนะในข้าว เริ่มจาก
การศึกษาต้นข้าวที่เป็นโรค Bakanae ซึ่งมีลักษณะสูง ผอม เกิดจากเชื้อรา Gibberella fujikuroi และถูกสกัด
ออกมาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2478 โดย Teijiro Yabuta จากเชื้อรา G. fujikuroi เมื่อสกัดสารที่เชื้อรานี้สร้าง
ขึ้นไปทดสอบกับพืชชนิดอื่น พบว่าทาให้พืชนั้นๆมีอาการอย่างเดียวกันคือต้นผอม สูง จึงตั้งชื่อสารที่พบนี้
ว่า จิบเบอเรลลิน สารที่พบชนิดแรกตั้งชื่อว่าจิบเบอเรลลิน ต่อมามีการพบอนุพันธ์ของกรดจิบเบอเรลลิ
กจากราอีกหลายชนิด รวมทั้งในพืช ใน พ.ศ. 2546 พบจิบเบอเรลลินแล้ว 126 ชนิดทั้งที่แยกได้จากพืช รา
และแบคทีเรีย
ผลของกรดจิบเบอเรลลินต่อ cannabis sprout
คุณลักษณะทางเคมีและการสังเคราะห์
จิบเบอเรลลินเป็นสารกลุ่มไดเทอร์พีนอยด์ที่สังเคราะห์โดยวิธีเทอร์พีนอยด์ในพลาสติกแล้วจึง
เปลี่ยนรูปในเอนโดพลาสมิก เรกติคิวลัมและไซโตซอลจนได้รูปที่ออกฤทธิ์ในสิ่งมีชีวิตได้จิบเบอเรลลิน
ทั้งหมดมีโครงสร้างหลักเป็น ent-gibberellane ที่สังเคราะห์มาจาก ent-kaurene การสังเคราะห์จิบเบอเรลลิน
ในพืชชั้นสูงเริ่มจากสร้าง Geranylgeranyl diphosphate (GGDP) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารกลุ่มดีเทอร์พี
นอยด์โดยทั่วไป จากนั้นจึงเปลี่ยน GGDP ไปเป็น ent-kaurene แล้วจึงเปลี่ยนเป็น GA12 แล้วจึงเปลี่ยนต่อไป
เป็นจิบเบอเรลลินตัวอื่นๆ จิบเบอเรลลินเป็นอนุพันธ์ของกรดจิบเบอเรลลิก (Gibberellic acid) จัดเป็นสาร
กลุ่มดีเทอร์พีนอยด์(Diterpenoid) ปัจจุบันพบแล้วมากกว่า 80 ชนิด มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่สร้างจิบเบอ
เรลลินได้เช่น แบคทีเรีย ไซยาโนแบคทีเรีย ยีสต์สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้าตาลและสาหร่ายสีแดง รวมทั้ง
ไมคอไรซาในรากกล้วยไม้ ในรา วิถีการผลิตจิบเบอเรลลิน คล้ายกับพืชชั้นสูง แม้ว่าเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องจะ
ต่างไป ในรากพืชตระกูลถั่วที่เกิดปม มีสารคล้าย จิบเบอเรลลินมากกว่ารากข้างเคียงที่ไม่เกิดปม
บทบาทของจิบเบอเรลลินที่มีต่อพืช
1. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชทั้งต้น จิบเบอเรลลินมีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งสามารถกระตุ้น
การเจริญเติบโตของพืชทั้งต้นได้โดยทาให้เกิดการยืดตัวของเซลล์ซึ่งผลนี้จะต่างจากออกซินซึ่งสามารถ
กระตุ้นการเจริญเติบโตของชิ้นส่วนของพืชได้พืชบางชนิดอาจจะไม่ตอบสนองต่อจิบเบอเรลลิน อาจจะ
เป็นเพราะว่าในพืชชนิดนั้นมีปริมาณจิบเบอเรลลินเพียงพอแล้ว จิบเบอเรลลินสามารถกระตุ้นการยืดยาว
ของช่อดอกไม้บางชนิดและทาให้ผลไม้มีรูปร่างยาวออกมา เช่น องุ่น และแอปเปิล
กะหล่าปลีซึ่งเจริญในลักษณะต้นเตี้ยเป็นพุ่ม (Rosette) มีปล้องสั้นมาก เมื่อให้ GA3 กับต้น
กะหล่าปลีดังกล่าวจะทาให้สูงขึ้นถึง 2 เมตรได้ถั่วพุ่มที่ได้รับ GA จะกลายเป็นถั่วเลื้อยได้พืชซึ่งมีต้นเตี้ย
ทางพันธุกรรม เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่ว แตงกวาและแตงโมสามารถแสดงลักษณะปกติได้เมื่อได้รับ GA3 ใน
ข้าวโพดแคระนั้นพบว่าความผิดปกติเกิดจากยีนส์ควบคุม ซึ่งอาจจะเกี่ยวพันกับวิถีในการสังเคราะห์
จิบเบอเรลลิน ส่วนข้าวโพดปกติหากได้รับจิบเบอเรลลินจะไม่สามารถสูงขึ้นได้อีก ดังนั้นในกรณีข้าวโพด
การแคระเกิดจากมีปริมาณจิบเบอเรลลินในต้นน้อยเกินไป แต่อาการแคระของพืชบางชนิด เช่น Japanese
Morning Glory พบว่ามีจิบเบอเรลลินมากพอแล้ว แต่เมื่อได้รับ จิบเบอเรลลินเพิ่มก็จะสูงขึ้นได้ในกรณีนี้
อาจจะเป็นเพราะในต้นมีปริมาณของสารระงับการ เจริญเติบโตอยู่สูง
2. กระตุ้นการงอกของเมล็ดที่พักตัวและตาที่พักตัว ตาของพืชหลายชนิดที่เจริญอยู่ในเขตอบอุ่น
จะพักตัวในฤดูหนาว เมล็ดของพืชหลายชนิดมีพฤติกรรมเช่นนี้ด้วย ซึ่งการพักตัวจะลดลงจนหมดไป เมื่อ
ได้รับความเย็นเพียงพอ การพักตัวของเมล็ดและตา อันเนื่องมาจากต้องการอุณหภูมิต่า วันยาว และ
ต้องการแสงสีแดงจะหมดไปเมื่อได้รับจิบเบอเรลลิน
3. การแทงช่อดอก การออกดอกของพืชเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ และ
สภาพแวดล้อม จิบเบอเรลลินสามารถแทนความต้องการวันยาวในพืชบางชนิดได้และยังสามารถทดแทน
ความต้องการอุณหภูมิต่า (Vernalization) ในพืชพวกกะหล่าปลี และแครอท
4.จิบเบอเรลลิน สามารถกระตุ้นการเคลื่อนที่ของอาหารในเซลล์สะสมอาหาร หลังจากที่เมล็ด
งอกแล้ว เพราะรากและยอดที่ยังอ่อนตัวเริ่มใช้อาหาร เช่น ไขมัน แป้ง และโปรตีน จากเซลล์สะสมอาหาร
จิบเบอเรลลินจะกระตุ้นให้มีการย่อยสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็ก เช่น ซูโครสและกรดอะมิโน
ซึ่งเกี่ยวพันกับการสังเคราะห์เอนไซม์หลายชนิดดังกล่าวข้างต้น
5. กระตุ้นให้เกิดผลแบบ Parthenocarpic ในพืชบางชนิด เปลี่ยนรูปร่างของใบพืชบางชนิด เช่น
English Ivy และทาให้พืชพัฒนาการเพื่อทนความเย็นได้
6. พืชที่มีดอกตัวผู้ และตัวเมียแยกกันไม่ว่าจะต้นเดียวกัน หรือแยกต้นก็ตาม จิบ
เบอเรลลินสามารถเปลี่ยนเพศของดอกได้ จิบเบอเรลลินมักเร่งให้เกิดดอกตัวผู้ ส่วนออกซิน เอทธิลีน
และไซโตไคนิน มักจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมีย ในแตงกวาดอกล่าง ๆ มักเป็นดอกตัวผู้และดอกบนเป็นดอก
ตัวเมีย การให้สารอีธีฟอนจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมียขึ้น
2. ต้นเข็ม
ชื่อพื้นเมือง : เข็ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora chinensis Lamk. Ixora spp.
ชื่อสามัญ (Common Name) : West Indian Jasmine
ชื่อวงศ์(Family Name) : Rubiaceae
เข็ม เป็นไม้พุ่มจัดอยู่ในวงศ์Rubiaceae ลักษณะของดอกจะเกิดจากการอยู่รวมกันเป็นช่อ ๆ มี
หลากหลายสี มีคุณค่าทางสมุนไพร ดอกเข็มที่ยังตูมสามารถนามาชุบแป้งหรือไข่ทอดทานเป็นอาหารได้
เข็มเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัด ต้องการปริมาณน้าปานกลาง สามารถทนต่อความแห้งแล้ง การให้
น้า 3-5 วัน/ครั้ง ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชุ่มชื้น ใส่ปุ๋ ยคอกหรือปุ๋ ยหมัก อัตรา 0.5-1
กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 5-6 ครั้ง/ปี ขยายพันธุ์โดยการปักชา การเพาะเมล็ด การตอน วิธีที่ได้ผลดีและนิยมกัน
คือ การปักชาและการตอน ไม่ค่อยพบและมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคได้ดี
ลักษณะทั่วไปของต้นเข็ม
ต้นเข็มเป็นไม้พุ่ม มีขนาดความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร ลักษณะของกิ่งเป็นกิ่งเดี่ยว แตกกอแผ่
ขยายออก และมักจะแตกกิ่งบนยอดต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเช่นกัน แต่ลักษณะใบจะแข็งเปราะ ปลายใบแหลม มี
สีเขียวสด มักจะขึ้นแซมรอบต้น ส่วนดอกเข็มจะแหลมเล็ก รวมกลุ่มกันเป็นพุ่ม มักจะมีก้านดอกหุ้มปกป้อง
ดอกเข็มไว้ส่วนสีและขนาดจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ของต้นเข็ม
ความเชื่อ
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกเข็มไว้ประจาบ้าน จะทาให้มีความฉลาดเฉียบแหลม เพราะเข็มคือ
สิ่งที่มีความแหลมคม ดังนั้นคนไทยโบราณจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้ครูเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มี
สติปัญญาฉลาดเฉียบแหลม นอกจากนี้ยังใช้ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนาได้เป็น
สิริมงคลยิ่งนักและมักจะถูกนาไปบูชาพระ และใช้ประดับแจกัน ตามงานพิธีกรรมต่าง ๆ และเพื่อเป็นสิริ
มงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเข็มไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อว่า
การปลูกไม้เพือเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอก ให้ปลูกในวันพุธ
การปลูกต้นเข็ม
เราสามารถปลูกต้นเข็มได้ทั้งในกระถาง และปลูกลงดินประดับสวน โดยมีวิธีปลูกต้นเข็มดังนี้
1. การปลูกต้นเข็มในกระถาง
ต้นเข็มจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง และหากคุณอยากปลูกต้นเข็มใน กระถาง
แนะนาให้ใช้กระถางทรงสูงขนาด 8-12 นิ้ว ปลูกด้วยดินร่วน ผสมปุ๋ ยคอก หรือปุ๋ ยหมัก และแกลบผุ
ในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน ที่สาคัญเมื่อต้นเข็มเติบโตขึ้น ก็ต้องเปลี่ยนกระถางและเปลี่ยนดิน โดย
ระยะห่างการเปลี่ยนกระถาง และดินไม่ควรเกิน 1 ปี
2. การปลูกต้นเข็มประดับสวน และปลูกริมรั้ว
หากต้องการปลูกต้นเข็มลงดิน ควรต้องขุดดินให้ลึกประมาณ 30×30×30 เซนติเมตร โดยใช้
ดินร่วน ผสมปุ๋ ยหมัก หรือปุ๋ ยคอก ในอัตราส่วน 1 : 2 ผสมกับดินปลูก และถ้าต้องการปลูกต้นเข็ม
ประดับแนวรั้ว ต้องลงต้นเข็มติดกัน ให้ต้นเข็มโตในลักษณะจับกลุ่มกัน หรือตัดแต่งทรงต้นเข็ม
ตามต้องการ ทั้งนี้ทางโบราณยังเชื่อว่า การปลูกต้นเข็มเเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย
ต้องปลูกต้นเข็มทางทิศตะวันออก และควรปลูกในวันพุธด้วย
การดูแลรดน้าต้นเข็ม
ต้นเข็มเป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการน้าเพียงแค่ปานกลาง คือ รดน้าสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งก็พอ แต่ชอบแดดจัด
ดังนั้นควรปลูกกลางแจ้ง เพราะต้นเข็มสามารถทนความแห้งแล้งได้นอกจากนี้ก็ควรใส่ปุ๋ ยคอก หรือปุ๋ ยหมัก
ในอัตราส่วน 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ซึ่งควรใส่ 5-6 ครั้ง/ปี
การขยายพันธุ์ต้นเข็ม
วิธีการขยายพันธุ์ต้นเข็มสามารถทาได้ทั้งปักชากิ่ง ตอนกิ่ง และการเพาะเมล็ด แต่ส่วนใหญ่จะนิยม
ขยายพันธุ์ด้วยการปักชา และตอนกิ่งมากกว่า เนื่องจากได้ผลดีกว่า
การใส่ปุ๋ ยเร่งดอกต้นเข็ม
หากต้นเข็มไม่ค่อยมีดอก อาจจะต้องดูว่า ได้ปลูกต้นเข็มในที่ที่มีแดดจัดหรือเปล่า เพราะต้นเข็มเป็น
พืชที่ชอบแดดมาก รวมทั้งอาจจะต้องคอยตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ เพื่อเร่งให้ต้นเข็มมีการเจริญเติบโต แต่ก็
สามารถใช้ปุ๋ ยเร่งดอก ใส่เดือนละครั้ง พร้อมทั้งรดน้าต้นเข็มอย่างสม่าเสมอ
ต้นเข็มมีกี่ชนิด
ต้นเข็ม มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด และจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ จุดเด่นที่เห็นง่ายคือสีที่
แตกต่างกันของดอกเข็ม ส่วนต้นเข็มสายพันธุ์ต่าง ๆ มีดังนี้
ภาพจาก สวนในฝัน
- ต้นเข็มเศรษฐี เข็มเศรษฐีเป็นพันธุ์นิยม เพราะดอกมีสีแดงสด ลักษณะดอกเป็นช่อสั้น ๆ กลีบดอกมี 4
กลีบ เป็นสีแดงยาวไปตลอดทั้งก้านดอก ปลายดอกแยกเป็น 5 แฉกแหลม มีเกสรตัวผู้ติดอยู่ที่ดอกประมาณ 4
อัน ส่วนลาต้นมีขนาดกลาง สูงระหว่าง 2-4 เมตร ชื่นชอบดินร่วยซุย และแสงแดด
ภาพจาก จิตรลดาแลนด์สเคป
- ต้นเข็มสีชมพู ต้นเข็มสีชมพู หรือบางที่เรียกว่า เข็มพิษณุโลกชมพู เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ทรงพุ่มดอก
อัดแน่นทึบ ดอกสีชมพูหวาน มักจะออกดอกเป็นพุ่มเล็ก ๆ กระจุ๋มกระจิ๋ม ต้นเข็มพันธุ์นี้ออกดอกตลอดทั้งปี
อีกทั้งยังออกดอกค่อนข้างเยอะ จึงเป็นพันธุ์เข็มที่นิยมปลูกไม่น้อยเลยทีเดียว
ภาพจาก วรากรสมุนไพร
- ต้นเข็มขาว ดอกเข็มพันธุ์นี้มีจุดเด่นอยู่ที่ความหอมละมุน และลักษณะดอกตูมสีเขียวอ่อน แต่พอโต
ขึ้นมาก็บานแผ่กลีบดอกกระจุ๋มกระจิ๋มสีขาว 4 แฉก พร้อมเกสรที่คอยแทรกอยู่ข้างกลีบดอก ใบโค้งมนมี
ขนาดใหญ่ คอยรองรับกลีบดอก ดอกเข็มขาวเป็นไม้พุ่มไม้ขนาดกลาง หากโตเต็มที่อาจมีความสูงประมาณ
2 เมตรเลยทีเดียว
ภาพจาก สวนสุขวัฒน์การเกษตร
- ต้นเข็มแดง ต้นเข็มแดงเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง มีขนาดตั้งแต่ 0.3-5 เมตร เรือนดอกเป็นพุ่ม
ขนาดใหญ่ ที่อัดแน่นไปด้วยกลีบดอกย่อยสีแดง แน่นขนัด กลีบดอกเวลาบานจะแผ่กลีบ 4-6 แฉก มีเกสรสี
เหลืองแซมข้างกลีบปะมาณ 4 อัน ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม ลักษณะใบหนาและแข็ง สีเขียวสด จัด
ว่าเป็นพันธุ์เข็มที่นิยมปลูกตามบ้าน และนาไปใช้ประกอบพิธีทางศาสนาเช่นกัน
ภาพจาก wanida garden
- ต้นเข็มชมพูนุช เข็มชมพูนุชมีลักษณะดอกที่ไม่เหมือนดอกเข็มทั่วไป เพราะเป็นไม้พื้นเมืองของ
เม็กซิโก ขนาดพุ่มดอก และกลีบดอกเล็กสีชมพูอมม่วง กลีบดอกหนา หากตูมจะเป็นดอกเล็ก ๆ กลมมน เมื่อ
โตดอกจะแผ่บานออกและโค้งงอตามแรงโน้มถ่วงโลก ส่วนใบจะเรียวยาว ปลายใบแหลม ก้านดอกก็สูงยาว
ด้วย อีกทั้งยามเย็นยังมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ด้วย
ภาพจาก สวนนฤมล-อินทรา พันธุ์ไม้คลอง15
- ต้นเข็มโบว์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง ลักษณะเด่นอยู่ที่ใบที่มีรูปร่างสวยงามคล้ายโบว์ช่อดอก
เป็นพุ่มหนาแน่นพอประมาณดอกมีลักษณะแหลมสีแดง หากบานจะแผ่ดอกออก 4-6 กลีบ ข้างดอกมีเกสรสี
เหลืองขึ้นแซม
- ต้นเข็มปัตตาเวีย เป็นพันธุ์เข็มที่ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ สีดอกมีหลากหลาย ทั้งสีแดง
ชมพู และชมพูอมม่วง เข็มพันธุ์นี้จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ทรงพุ่มสูงโปร่ง ความสูงประมาณ1.5-2 เมตร ลา
ต้นสีน้าตาลอมเทา ใบยาว รูปทรงรี หรือรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร
ภาพจาก WinVaGardens
- ต้นเข็มอินเดีย ดอกเข็มสายพันธุ์ใหม่ หรือต้นเข็มอินเดีย เป็นไม้พุ่มเตี้ย ใบมีลักษณะคล้ายใบ
โหระพา มีสีเขียวสด ดอกมีทั้งสีขาว แดง ชมพู ออกดอกเป็นช่อตามยอดต้น แผ่กลีบดอก 5 แฉก มีฐานดอก
เชื่อมกัน โคนดอกเป็นสีขาว เรื่อย ๆ มาจนถึงปลายใบเป็นสีม่วง หรืออาจออกดอกสลับสีกันบ้าง
บทที่ 3 การดาเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์
ต้นเข็ม จานวน 9 ต้น
ฟ็อกกี้บรรจุสารละลายฮอร์โมน จานวน 3 อัน
ฟิวเจอร์บอร์ดสีขาวสาหรับทาป้ายต้นไม้ จานวน 1 แผ่น
สก็อตเทป จานวน 1 ม้วน
ตะเกียบสาหรับทาป้ายต้นไม้ จานวน 5 แท่ง
กระถางต้นไม้ จานวน 9 กระถาง
ดิน จานวน 1 ถุง
ตลับเมตรสาหรับวัดความสูงของต้นเข็ม จานวน 1 อัน
สารเคมี
ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน จานวน 1 ขวด
ขั้นตอนการทาโครงงาน
1. ประชุมวางแผนคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ ซึ่งคือ การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อ
ความสูงของต้นเข็ม
2. ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานดังนี้
2.1. ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน
2.2. ต้นเข็ม
3. วางแผนรายละเอียดการทดลอง
คือการออกแบบการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของจิบเบอเรลลินในแต่ละชุดการทดลองที่มีผลต่อความ
สูงของต้นเข็ม
4. ปรึกษากันในการใช้พื้นที่บริเวณหน้าตึก2ในการทาการศึกษา
5. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทาการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของจิบเบอเรลลินในแต่ละชุดการ
ทดลองที่มีผลต่อความสูงของต้นเข็ม
5.1 ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินความเข้มข้น 0.02%โดยปริมาตร และความเข้มข้น 0.10%โดยปริมาตร
5.2 ต้นเข็มจานวน 9 ต้น
5.3 ฟ็อกกี้บรรจุสารละลายฮอร์โมนจานวน 3 อัน
6 ขั้นตอนกระบวนการทาการทดลอง
6.1 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินของแต่ละความเข้มข้นที่มีผลต่อความ
สูงของต้นเข็ม
6.1.1 เตรียมต้นเข็มไว้9 ต้น วางไว้บริเวณเดียวกัน แบ่งการทดลองเป็น 3 ชุด ชุดละ 3
ต้น เป็นชุด high dose, low dose และ ชุดควบคุม
6.1.2 รดน้าทุกวัน
6.1.3 ฉีดฮอร์โมนทุกวันจันทร์
6.1.4 สารวจและบันทึกความสูงทุกๆจันทร์
7 สรุปผล อภิปราย และเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระยะ
8 จัดทาเอกสารเป็นรูปเล่มโครงงานให้สมบูรณ์
9 จัดทาสื่ออภิปรายแสดงผลการทดลอง
10 จัดทาการส่งโครงงานแก่อาจารย์ที่ปรึกษา
8
บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
จากการทดลองการวัดความสูงของต้นเข็ม จากชุดทดลอง 3 กลุ่ม คือ ชุดควบคุม ชุด High Dose
( 0.1 %โดยปริมาตร)และ ชุด Low Dose ( 0.02 %โดยปริมาตร) ให้ผลดังตาราง
วันที่
ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3
3 ก.ค. 60 24 23.2 24.8 46.5 34.5 32.7 25.5 21.6 25
10 ก.ค. 60 24.2 23.6 25 47.1 35.2 33.4 25.9 22 25.5
17 ก.ค. 60 24.5 23.8 25.3 47.9 35.8 34 26.3 22.4 25.9
24 ก.ค. 60 24.8 23.9 25.7 48.5 36.5 34.4 26.8 22.7 26.2
31 ก.ค. 60 25 24 26 49 37 35 27 23 26.5
ความสูงเฉลี่ย 24.5 23.7 25.36 47.8 35.8 33.9 26.3 22.34 25.82
ความสูงที่เพิ่มขึ้น 1 0.8 1.2 2.5 2.5 2.3 1.5 1.4 1.5
ความสูงที่เพิ่มขึ้น
โดยเฉลี่ยของแต่
ละชุดการทดลอง
1 2.43 1.47
ความสูงของต้นเข็มชุดที่ 3
ชุด Low Dose ( 0.02 %โดยปริมาตร)
(เซนติเมตร)
ความสูงของต้นเข็มชุดที่ 2
ชุด High Dose ( 0.1 %โดยปริมาตร)
(เซนติเมตร)
ความสูงของต้นเข็มชุดที่ 1
ชุดควบคุม
(เซนติเมตร)
กราฟแสดงผลการทดลอง
0
0.5
1
1.5
2
2.5
3
ชุดควบคุม ชุด High dose ชุด Low dose
ความสูงที่เพิ่มขึ้น(เซนติเมตร)
ชุดการทดลอง
ความสูงที่เพิ่มขึ้นของต้นเข็มแต่ละต้นในแต่ละชุดการทดลอง
ต้นที่ 1
ต้นที่ 2
ต้นที่ 3
1
2.43
1.47
0
0.5
1
1.5
2
2.5
3
ชุดควบคุม ชุด High dose ชุด Low dose
ความสูงที่เพิ่ทขึ้นโดยเฉลี่ย(เซนติเมตร)
ชุดการทดลอง
ความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของแต่ละชุดการทดลอง
0
0.5
1
1.5
2
2.5
3
ชุดควบคุม ชุด High dose ชุด Low dose
ความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย(เซนติเมตร)
ชุดการทดลอง
ความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของแต่ละชุดการทดลอง
วิเคราะห์ผลการทดลอง
จากการทดลอง พบว่า ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมีผลต่อการเพิ่มความสูงของต้นเข็มเล็กน้อย โดย
ไม่ให้ผลแตกต่างกันมากนักระหว่างชุดควบคุม ชุดHigh dose และ ชุด Low dose ในชุดควบคุมนั้น โดยเฉลี่ย
ต้นเข็มจะสูงเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร ในชุด High dose โดยเฉลี่ยต้นเข็มจะสูงเพิ่มขึ้น 2.43 เซนติเมตร และใน
ชุด Low dose โดยเฉลี่ยต้นเข็มจะสูงเพิ่มขึ้น 1.47 เซนติเมตร และจะสังเกตได้ว่า ความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย
ของชุด High dose จะมากกว่าชุด Low dose และมากกว่าชุดควบคุมตามลาดับ หากแต่ความสูงที่เพิ่มขึ้นโดย
เฉลี่ยนั้นของแต่ละชุดก็ไม่ต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงอาจกล่าวได้ว่า ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมีผลต่อ
การเพิ่มความสูงของต้นเข็มเพียงเล็กน้อย
บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
สรุปผลการทดลอง
ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินไม่ส่งผลต่อการเพิ่มความสูงอย่างมีนัยสาคัญ เหตุเพราะฮอร์โมนจิบเบอ
เรลลินในพืชจะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาของดอก การติดผลและการงอกของเมล็ดมากกว่าการเจริญเติบโต
ของพืช ทาให้ผลการทดลองไม่แสดงความแตกต่างของการเพิ่มความสูงในแต่ละชุดการทดลองได้อย่าง
ชัดเจน หากแต่ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินก็ยังมีผลต่อการเพิ่มความสูงของต้นเข็ม ทาให้ผลการทดลองในแต่ละ
ชุดการทดลองมีความแตกต่างกันแต่ไม่แตกต่างกันมาก โดยจะมีการเพิ่มความสูงที่มากกว่าในชุด High dose
เพราะมีความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมากกว่า และตามด้วยชุด Low dose และชุด
ควบคุม ตามลาดับ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ปัญหาในทาโครงงานครั้งนี้ คือ เราได้กาหนดเวลาจดบันทึกผลการทดลองสั้นเกินไป คือ ระยะเวลา
เพียง 1 เดือน ทาให้เราไม่สามารถเห็นความแตกต่างของการเพิ่มความสูงของต้นเข็มระหว่างแต่ละชุดการ
ทดลองได้อย่างชัดเจน และในชุดการทดลองชุด High dose ต้นเข็มได้เกิดความผิดปกติขึ้น โดยสันนิฐานว่า
จะเป็นโรคใบด่าง คาดว่าจะเกิดจากการได้รับสารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในความเข้มข้นที่มากเกินไป
ส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับต้นเข็มในชุด High dose การทดลองครั้งต่อไป จึงควรใช้เวลาในศึกษาและ
ทดลองมากกว่านี้เพื่อให้เห็นผลการทดลองที่ชัดเจนและเห็นความแตกต่างได้ชัด และควรคานวณปริมาณ
ความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนให้เหมาะสม ไม่มากเกินไปจนส่งผลเสียต่อต้นไม้ที่ทาการทดลอง
บรรณานุกรม
2560. ต้นเข็ม. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://home.kapook.com/view96253.html. 20 กรกฎาคม 2560.
2560. ต้นเข็ม. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/เข็ม_(พืช). 20 กรกฎาคม 2560.
2560. ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/จิบเบอเรลลิน. 20
กรกฎาคม 2560.
2560. ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา : http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY10_hormone.htm. 20 กรกฎาคม 2560.
ภาคผนวก
ต้นเข็มทั้ง 9 ต้น ก่อนการทดลอง
การแบ่งต้นเข็มเป็นชุดการทดลอง 3 ชุด
ชุด High dose ชุด Low dose และชุดควบคุม ตามลาดับจากซ้ายไปขวา
การฉีดสารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินแก่ต้นเข็ม
การตรวจโครงงานครั้งที่ 1/2560
การตรวจโครงงานครั้งที่ 2/2560

More Related Content

What's hot

M6 78 60_7
M6 78 60_7M6 78 60_7
M6 78 60_7
Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_9
M6 144 60_9M6 144 60_9
M6 144 60_9
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_6
M6 143 60_6M6 143 60_6
M6 143 60_6
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_5
M6 78 60_5M6 78 60_5
M6 78 60_5
Wichai Likitponrak
 
M6 125 60_3
M6 125 60_3M6 125 60_3
M6 125 60_3
Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_8
M6 144 60_8M6 144 60_8
M6 144 60_8
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_10
M6 78 60_10M6 78 60_10
M6 78 60_10
Wichai Likitponrak
 
Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60
Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_1
M6 144 60_1M6 144 60_1
M6 144 60_1
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_4
M6 143 60_4M6 143 60_4
M6 143 60_4
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_6
M6 78 60_6M6 78 60_6
M6 78 60_6
Wichai Likitponrak
 
Plant hor 3_77_60
Plant hor 3_77_60Plant hor 3_77_60
Plant hor 3_77_60
Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_6
M6 144 60_6M6 144 60_6
M6 144 60_6
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_3
M6 143 60_3M6 143 60_3
M6 143 60_3
Wichai Likitponrak
 

What's hot (20)

M6 78 60_7
M6 78 60_7M6 78 60_7
M6 78 60_7
 
M6 144 60_9
M6 144 60_9M6 144 60_9
M6 144 60_9
 
M6 143 60_6
M6 143 60_6M6 143 60_6
M6 143 60_6
 
Herbarium group 1 room 341
Herbarium group 1 room 341Herbarium group 1 room 341
Herbarium group 1 room 341
 
M6 78 60_5
M6 78 60_5M6 78 60_5
M6 78 60_5
 
M6 125 60_3
M6 125 60_3M6 125 60_3
M6 125 60_3
 
M6 144 60_8
M6 144 60_8M6 144 60_8
M6 144 60_8
 
932 pre10
932 pre10932 pre10
932 pre10
 
M6 78 60_10
M6 78 60_10M6 78 60_10
M6 78 60_10
 
Herbarium กลุ่ม4 342
Herbarium กลุ่ม4 342Herbarium กลุ่ม4 342
Herbarium กลุ่ม4 342
 
Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60
 
M6 144 60_1
M6 144 60_1M6 144 60_1
M6 144 60_1
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลงโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
 
M6 143 60_4
M6 143 60_4M6 143 60_4
M6 143 60_4
 
M6 78 60_6
M6 78 60_6M6 78 60_6
M6 78 60_6
 
Plant hor 3_77_60
Plant hor 3_77_60Plant hor 3_77_60
Plant hor 3_77_60
 
931 pre12
931 pre12931 pre12
931 pre12
 
341 pre2
341 pre2 341 pre2
341 pre2
 
M6 144 60_6
M6 144 60_6M6 144 60_6
M6 144 60_6
 
M6 143 60_3
M6 143 60_3M6 143 60_3
M6 143 60_3
 

Similar to M6 126 60_3

M6 125 60_2
M6 125 60_2M6 125 60_2
M6 125 60_2
Wichai Likitponrak
 
M6 125 60_6
M6 125 60_6M6 125 60_6
M6 125 60_6
Wichai Likitponrak
 
M6 126 60_8
M6 126 60_8M6 126 60_8
M6 126 60_8
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_7
M6 143 60_7M6 143 60_7
M6 143 60_7
Wichai Likitponrak
 
M6 126 60_10
M6 126 60_10M6 126 60_10
M6 126 60_10
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_8
M6 143 60_8M6 143 60_8
M6 143 60_8
Wichai Likitponrak
 
Plant hor 2_77_60
Plant hor 2_77_60Plant hor 2_77_60
Plant hor 2_77_60
Wichai Likitponrak
 
Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60
Wichai Likitponrak
 
M6 125 60_9
M6 125 60_9M6 125 60_9
M6 125 60_9
Wichai Likitponrak
 

Similar to M6 126 60_3 (20)

M6 125 60_2
M6 125 60_2M6 125 60_2
M6 125 60_2
 
M6 125 60_6
M6 125 60_6M6 125 60_6
M6 125 60_6
 
M6 126 60_8
M6 126 60_8M6 126 60_8
M6 126 60_8
 
M6 143 60_7
M6 143 60_7M6 143 60_7
M6 143 60_7
 
M6 126 60_10
M6 126 60_10M6 126 60_10
M6 126 60_10
 
M6 143 60_8
M6 143 60_8M6 143 60_8
M6 143 60_8
 
931 pre7
931 pre7931 pre7
931 pre7
 
Pp tbio5lessonplanthormone
Pp tbio5lessonplanthormonePp tbio5lessonplanthormone
Pp tbio5lessonplanthormone
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืช
 
Herbarium Group2 Room825
Herbarium Group2 Room825Herbarium Group2 Room825
Herbarium Group2 Room825
 
Herbarium กลุ่ม 3 341
Herbarium กลุ่ม 3 341Herbarium กลุ่ม 3 341
Herbarium กลุ่ม 3 341
 
Plant hor 2_77_60
Plant hor 2_77_60Plant hor 2_77_60
Plant hor 2_77_60
 
Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60
 
342 pre6(1)
342 pre6(1)342 pre6(1)
342 pre6(1)
 
Anchan room341 group7
Anchan room341 group7Anchan room341 group7
Anchan room341 group7
 
M6 125 60_9
M6 125 60_9M6 125 60_9
M6 125 60_9
 
Pwp herbarium 343 plumeria
Pwp herbarium 343 plumeriaPwp herbarium 343 plumeria
Pwp herbarium 343 plumeria
 
932 pre9
932 pre9932 pre9
932 pre9
 
652 pre5
652 pre5652 pre5
652 pre5
 
ห้อง 341 กลุ่มที่ 9
ห้อง 341 กลุ่มที่ 9ห้อง 341 กลุ่มที่ 9
ห้อง 341 กลุ่มที่ 9
 

More from Wichai Likitponrak

Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
Wichai Likitponrak
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
Wichai Likitponrak
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
Wichai Likitponrak
 

More from Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

M6 126 60_3

  • 1. โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็ม นาเสนอครูผู้สอน นาเสนอครูผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตาแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 1. นางสาว พริมา โกยทอง เลขที่ 17 2. นางสาว ภัทริดา พิศาลรัศมี เลขที่ 20 3. นาย จิรภัทร ขจรบุญรัตนะ เลขที่ 29 4. นาย เธียร อุรเคนทร์ เลขที่ 36 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 126 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • 2. คานา รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา โครงงานนี้เป็นโครงงานทีทาการศึกษาเกี่ยวกับผลของ ฮอร์โมนพืชจิบเบอเรลลินที่มีความต่อความสูงของต้นเข็ม ว่ามันจะทาให้ต้นเข็มมีการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้น อย่างไร โดยโครงงานนี้ถือเป็นโครงงานประเภททดลอง การทดลองก็มีจุดประสงค์เพื่อจะเปรียบเทียบความ แตกต่างแบะหาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนกับการเจริญเติบโตของต้นเข็ม เป็นการหาว่าระดับความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนในการทดลองใด เหมาะสมกับต้นเข็มมากที่สุด การ ทดลองจะแบ่งเป็น3ชุดคือชุดควบคุม ชุดlow dose และ ชุด high dose เราจะฉีดฮอร์โมนสัปดาห์ละ1ครั้ง เพื่อ กันไม่ให้ต้นไม้ได้รับฮอร์โมนมากเกินไปจนอาจะตายได้จากนั้นจะทาการบันทึกผลสัปดาห์ละ1ครั้งเช่นกัน ดังสรุปได้ตามตารางการทดลอง และจากการทดลองทั้งหมด เราสามารถสรุปการทดลองได้ว่า ฮอร์โมนจิบ เบอเรลลินในระดับความเข้มข้นที่ใช้นี้ มีผลต่อความสูงของต้นเข็มเพียงเล็กน้อย ไม่ได้เพิ่มความสูงจนเห็น ความแตกต่างได้อย่างชัดเจน แต่อาจมีเหตุมาจากระยะเวลาในการทดลองที่อาจสั้นเกินไปจึงทาให้เรายังไม่ ได้ผลที่ชัดเจน ในการทาโครงงานชิ้นนี้ พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านที่ได้มาศึกษาโครงงานนี้จะได้รับ ความรู้ไม่มากก็น้อยและสามารถนาความรู้นี้ไปต่อยอดในชีวิตประจาวัน ในการประกอบอาชีพการเกษตร หรือในการนาไปต่อยอดในงานวิจัยต่างๆต่อไป คณะผู้จัดทา 27 กรกฎาคม 2560
  • 3. บทคัดย่อ ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินเป็นฮอร์โมนพืชที่มีความสาคัญมากชนิดหนึ่งและมีประโยชน์ในการทา เกษตรกรรม ต้นเข็มก็เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายตามบ้านเรือนเพราะเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย และค่อนข้างทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี แต่ในการจะขายต้นเข็มนั้นก็นิยมขายในขณะที่ต้นมีความสูง พอควรและพอเหมาะ ในบางครั้งจึงต้องใช้ฮอร์โมนช่วยเพื่อย่นระยะเวลาในการรอให้มันสูงขึ้นลง โครงงานนี้ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็ม โดยใน การทดลองได้ทาการแบ่งชุดการทดลองเป็น 3 ชุด คือชุดควบคุมที่จะทาการฉีดสารละลายฮอร์โมนความ เข้มข้น 0% หรือคือน้าเปล่า ชุดการทดลอง low dose ที่จะทาการฉีดสารละลายฮอร์โมนความเข้มข้น 0.02% โดยปริมาตร และชุดการทดลอง high dose ที่จะทาการฉีดสารละลายฮอร์โมนความเข้มข้น 0.10%โดย ปริมาตร หลังจากนั้นเราก็จะทาการบันทึกผลและสรุปผลต่อไป โดยจากการทดลองและสรุปผลแล้วนั้น เราพบว่า สารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมีผลต่อความ สูงขึ้นของต้นเข็มเพียงเล็กน้อย จากการสังเกตในช่วงเวลาที่ผ่านมาต้นเข็มนั้นมีความสูงเพิ่มขึ้นในชุดการ ทดลอง high dose มากกว่า low dose และมากกว่า ชุดควบคุม ตามลาดับ
  • 4. กิตติกรรมประกาศ โครงงานเรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็มจะสาเร็จลุล่วง ไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากคุณครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ที่ช่วยให้คาปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ตลอดจนคอยตรวจสอบความคืบหน้าของงานเป็นระยะและคอยแนะนา ติชมให้ได้นา คาแนะนาเหล่านั้นกลับไปแก้ไขจนเกิดเป็นโครงงานที่สมบูรณ์ได้ ขอขอบคุณผู้ปกครอง และคุณครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ทั้งอุปกรณ์และสถานที่ตลอดมา คณะผู้จัดทาโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทา
  • 5. สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค บทที่ 1 บทนา - ที่มาและความสาคัญ 1 - คาถามการทดลอง 2 - สมมติฐานการทดลอง 2 - วัตถุประสงค์ของโครงงาน 2 - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 - ขอบเขตการศึกษา 2 - ตัวแปร 2 - ระยะเวลาการทดลอง 3 - วิธีการเก็บข้อมูล 3 - วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล 3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง - ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน 4 - ข้อมูลพรรณไม้ต้นเข็ม 7 บทที่ 3 การดาเนินงาน - วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี 12 - ขั้นตอนการทาโครงงาน 13 บทที่ 4 ผลการทดลอง - ตารางบันทึกผลการทดลอง 15 - กราฟแสดงผลการทดลอง 16 บทที่ 5 สรุป อภิปราย และ เสนอแนะ - สรุปผลการทดลอง 18 - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 18 บรรณานุกรม 19 ภาคผนวก 20
  • 6. บทที่ 1 บทนา ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็ม สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 1.นางสาว พริมา โกยทอง เลขที่ 17 2.นางสาว ภัทริดา พิศาลรัศมี เลขที่ 20 3.นาย จิรภัทร ขจรบุญรัตนะ เลขที่ 29 4.นาย เธียร อุรเคนทร์ เลขที่ 36 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 126 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ครูผู้สอน ครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มาและความสาคัญ เนื่องจาก เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายตามบ้านเรือนเพราะเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายและ ค่อนข้างทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี นอกจากนี้ ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินเป็นฮอร์โมนพืชที่มีความสาคัญ มากชนิดหนึ่งและมีประโยชน์ในการทาเกษตรกรรม ซึ่งฮอร์โมนนี้มีหน้าที่สามารถที่จะช่วยกระตุ้นการ ขยายตัวของเซลล์พืชและมีส่วนในการช่วยการยืดตัวของลาต้นอีกด้วย คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช จึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของฮอร์โมนจิบ เบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็มโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมีอิทธิผลต่อการ เพิ่มความสูงของต้นต้นเข็มอย่างไรคณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชมีความมุ่งหวังเป็น อย่างยิ่งว่าผลที่ได้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ได้มาศึกษาโครงงานชินนี้และเกษตรกรที่สามารถนาความรู้ไป ประยุกต์ใช้ได้ในอนาคตต่อไป
  • 7. คาถามการทาโครงงาน สารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้น0.10%โดยปริมาตรจะส่งผลให้ต้นเข็มมีความสูง มากที่สุด สมมติฐานการทดลอง ถ้าฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้น0.10%โดยปริมาตรมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของความสูงดีที่สุด ดังนั้น สารละลายฮอร์โมน จิบเบอเรลลินที่ความเข้มข้น0.10%โดยปริมาตรจะทาให้ต้นเข็มมี ความสูงมาก ที่สุด วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1. เพื่อศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อความสูงของต้นเข็ม 2. เพื่อเปรียบเทียบต้นเทียนหยดในกลุ่มการทดลองต่างๆสามกลุ่มคือกลุ่ม lose dose, high dose และ กลุ่มควบคุม ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีผลต่อตวามสูงของต้นเข็ม 2.ได้ศึกษาเปรียบเทียบต้นเข็มในกลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนในปริมาณเข้มข้นมาก เข้มข้นน้อย และกลุ่มที่ ไม่ได้รับฮอร์โมน จิบเบอเรลลิน 3. เป็นการส่งเสริมทักษการทางานกลุ่มและการวางแผนงาน ประสานงานร่วมกัน ขอบเขตการศึกษา การทาโครงงานในครั้งนี้คณะผู้รับผิดชอบมุ่งเน้นที่จะศึกษาเฉพาะ ผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ มีต่อการเพิ่มความสูงของต้นเข็มเท่านั้น ตัวแปร ตัวแปรต้น : ความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ตัวแปรตาม : ความสูงของต้นเข็มที่เพิ่มขึ้น ตัวแปรควบคุม : ปริมาณน้าที่ให้ ปริมาณดิน แสงแดด
  • 8. ระยะเวลาการทดลอง 25 พฤษภาคม 2560 – 3 สิงหาคม 2560 วิธีการเก็บข้อมูล ใช้ตลับเมตรวัดความสูงของต้นเข็มจากขอบกระถางถึงยอดต้นทุกๆวันจันทร์ วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล 1. การหาค่าเฉลี่ยของความสูงของต้นเข็มที่เพิ่มขึ้นในแต่ละชุดการทดลอง 2. การหาความสัมพันธ์ระหว่างความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของแต่ละชุดการทดลอง กับ ชุดการทดลองในรูปแบบกราฟแท่งและกราฟเส้น
  • 9. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทาโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชเรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อ ความสูงของต้นเข็ม กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน ดังต่อไปนี้ 1. ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน 2. ต้นเข็ม 1.ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน จิบเบอเรลลิน (Gibberellin) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ ควบคุมการ เจริญเติบโตและมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางพัฒนาการรวมทั้งการยืดของข้อ การงอก การพักตัว การออก ดอก การแสดงเพศ การชักนาการสร้างเอนไซม์รวมทั้งการชราของดอกและผล จิบเบอเรลลินถูกค้นพบครั้ง แรกเมื่อ พ.ศ. 2469 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น Eiichi Kurosawa ผู้ศึกษาโรคบากาเนะในข้าว เริ่มจาก การศึกษาต้นข้าวที่เป็นโรค Bakanae ซึ่งมีลักษณะสูง ผอม เกิดจากเชื้อรา Gibberella fujikuroi และถูกสกัด ออกมาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2478 โดย Teijiro Yabuta จากเชื้อรา G. fujikuroi เมื่อสกัดสารที่เชื้อรานี้สร้าง ขึ้นไปทดสอบกับพืชชนิดอื่น พบว่าทาให้พืชนั้นๆมีอาการอย่างเดียวกันคือต้นผอม สูง จึงตั้งชื่อสารที่พบนี้ ว่า จิบเบอเรลลิน สารที่พบชนิดแรกตั้งชื่อว่าจิบเบอเรลลิน ต่อมามีการพบอนุพันธ์ของกรดจิบเบอเรลลิ กจากราอีกหลายชนิด รวมทั้งในพืช ใน พ.ศ. 2546 พบจิบเบอเรลลินแล้ว 126 ชนิดทั้งที่แยกได้จากพืช รา และแบคทีเรีย ผลของกรดจิบเบอเรลลินต่อ cannabis sprout
  • 10. คุณลักษณะทางเคมีและการสังเคราะห์ จิบเบอเรลลินเป็นสารกลุ่มไดเทอร์พีนอยด์ที่สังเคราะห์โดยวิธีเทอร์พีนอยด์ในพลาสติกแล้วจึง เปลี่ยนรูปในเอนโดพลาสมิก เรกติคิวลัมและไซโตซอลจนได้รูปที่ออกฤทธิ์ในสิ่งมีชีวิตได้จิบเบอเรลลิน ทั้งหมดมีโครงสร้างหลักเป็น ent-gibberellane ที่สังเคราะห์มาจาก ent-kaurene การสังเคราะห์จิบเบอเรลลิน ในพืชชั้นสูงเริ่มจากสร้าง Geranylgeranyl diphosphate (GGDP) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารกลุ่มดีเทอร์พี นอยด์โดยทั่วไป จากนั้นจึงเปลี่ยน GGDP ไปเป็น ent-kaurene แล้วจึงเปลี่ยนเป็น GA12 แล้วจึงเปลี่ยนต่อไป เป็นจิบเบอเรลลินตัวอื่นๆ จิบเบอเรลลินเป็นอนุพันธ์ของกรดจิบเบอเรลลิก (Gibberellic acid) จัดเป็นสาร กลุ่มดีเทอร์พีนอยด์(Diterpenoid) ปัจจุบันพบแล้วมากกว่า 80 ชนิด มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่สร้างจิบเบอ เรลลินได้เช่น แบคทีเรีย ไซยาโนแบคทีเรีย ยีสต์สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้าตาลและสาหร่ายสีแดง รวมทั้ง ไมคอไรซาในรากกล้วยไม้ ในรา วิถีการผลิตจิบเบอเรลลิน คล้ายกับพืชชั้นสูง แม้ว่าเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องจะ ต่างไป ในรากพืชตระกูลถั่วที่เกิดปม มีสารคล้าย จิบเบอเรลลินมากกว่ารากข้างเคียงที่ไม่เกิดปม บทบาทของจิบเบอเรลลินที่มีต่อพืช 1. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชทั้งต้น จิบเบอเรลลินมีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งสามารถกระตุ้น การเจริญเติบโตของพืชทั้งต้นได้โดยทาให้เกิดการยืดตัวของเซลล์ซึ่งผลนี้จะต่างจากออกซินซึ่งสามารถ กระตุ้นการเจริญเติบโตของชิ้นส่วนของพืชได้พืชบางชนิดอาจจะไม่ตอบสนองต่อจิบเบอเรลลิน อาจจะ เป็นเพราะว่าในพืชชนิดนั้นมีปริมาณจิบเบอเรลลินเพียงพอแล้ว จิบเบอเรลลินสามารถกระตุ้นการยืดยาว ของช่อดอกไม้บางชนิดและทาให้ผลไม้มีรูปร่างยาวออกมา เช่น องุ่น และแอปเปิล กะหล่าปลีซึ่งเจริญในลักษณะต้นเตี้ยเป็นพุ่ม (Rosette) มีปล้องสั้นมาก เมื่อให้ GA3 กับต้น กะหล่าปลีดังกล่าวจะทาให้สูงขึ้นถึง 2 เมตรได้ถั่วพุ่มที่ได้รับ GA จะกลายเป็นถั่วเลื้อยได้พืชซึ่งมีต้นเตี้ย ทางพันธุกรรม เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่ว แตงกวาและแตงโมสามารถแสดงลักษณะปกติได้เมื่อได้รับ GA3 ใน ข้าวโพดแคระนั้นพบว่าความผิดปกติเกิดจากยีนส์ควบคุม ซึ่งอาจจะเกี่ยวพันกับวิถีในการสังเคราะห์ จิบเบอเรลลิน ส่วนข้าวโพดปกติหากได้รับจิบเบอเรลลินจะไม่สามารถสูงขึ้นได้อีก ดังนั้นในกรณีข้าวโพด การแคระเกิดจากมีปริมาณจิบเบอเรลลินในต้นน้อยเกินไป แต่อาการแคระของพืชบางชนิด เช่น Japanese Morning Glory พบว่ามีจิบเบอเรลลินมากพอแล้ว แต่เมื่อได้รับ จิบเบอเรลลินเพิ่มก็จะสูงขึ้นได้ในกรณีนี้ อาจจะเป็นเพราะในต้นมีปริมาณของสารระงับการ เจริญเติบโตอยู่สูง
  • 11. 2. กระตุ้นการงอกของเมล็ดที่พักตัวและตาที่พักตัว ตาของพืชหลายชนิดที่เจริญอยู่ในเขตอบอุ่น จะพักตัวในฤดูหนาว เมล็ดของพืชหลายชนิดมีพฤติกรรมเช่นนี้ด้วย ซึ่งการพักตัวจะลดลงจนหมดไป เมื่อ ได้รับความเย็นเพียงพอ การพักตัวของเมล็ดและตา อันเนื่องมาจากต้องการอุณหภูมิต่า วันยาว และ ต้องการแสงสีแดงจะหมดไปเมื่อได้รับจิบเบอเรลลิน 3. การแทงช่อดอก การออกดอกของพืชเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ และ สภาพแวดล้อม จิบเบอเรลลินสามารถแทนความต้องการวันยาวในพืชบางชนิดได้และยังสามารถทดแทน ความต้องการอุณหภูมิต่า (Vernalization) ในพืชพวกกะหล่าปลี และแครอท 4.จิบเบอเรลลิน สามารถกระตุ้นการเคลื่อนที่ของอาหารในเซลล์สะสมอาหาร หลังจากที่เมล็ด งอกแล้ว เพราะรากและยอดที่ยังอ่อนตัวเริ่มใช้อาหาร เช่น ไขมัน แป้ง และโปรตีน จากเซลล์สะสมอาหาร จิบเบอเรลลินจะกระตุ้นให้มีการย่อยสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็ก เช่น ซูโครสและกรดอะมิโน ซึ่งเกี่ยวพันกับการสังเคราะห์เอนไซม์หลายชนิดดังกล่าวข้างต้น 5. กระตุ้นให้เกิดผลแบบ Parthenocarpic ในพืชบางชนิด เปลี่ยนรูปร่างของใบพืชบางชนิด เช่น English Ivy และทาให้พืชพัฒนาการเพื่อทนความเย็นได้ 6. พืชที่มีดอกตัวผู้ และตัวเมียแยกกันไม่ว่าจะต้นเดียวกัน หรือแยกต้นก็ตาม จิบ เบอเรลลินสามารถเปลี่ยนเพศของดอกได้ จิบเบอเรลลินมักเร่งให้เกิดดอกตัวผู้ ส่วนออกซิน เอทธิลีน และไซโตไคนิน มักจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมีย ในแตงกวาดอกล่าง ๆ มักเป็นดอกตัวผู้และดอกบนเป็นดอก ตัวเมีย การให้สารอีธีฟอนจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมียขึ้น
  • 12. 2. ต้นเข็ม ชื่อพื้นเมือง : เข็ม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora chinensis Lamk. Ixora spp. ชื่อสามัญ (Common Name) : West Indian Jasmine ชื่อวงศ์(Family Name) : Rubiaceae เข็ม เป็นไม้พุ่มจัดอยู่ในวงศ์Rubiaceae ลักษณะของดอกจะเกิดจากการอยู่รวมกันเป็นช่อ ๆ มี หลากหลายสี มีคุณค่าทางสมุนไพร ดอกเข็มที่ยังตูมสามารถนามาชุบแป้งหรือไข่ทอดทานเป็นอาหารได้ เข็มเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัด ต้องการปริมาณน้าปานกลาง สามารถทนต่อความแห้งแล้ง การให้ น้า 3-5 วัน/ครั้ง ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชุ่มชื้น ใส่ปุ๋ ยคอกหรือปุ๋ ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 5-6 ครั้ง/ปี ขยายพันธุ์โดยการปักชา การเพาะเมล็ด การตอน วิธีที่ได้ผลดีและนิยมกัน คือ การปักชาและการตอน ไม่ค่อยพบและมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคได้ดี ลักษณะทั่วไปของต้นเข็ม ต้นเข็มเป็นไม้พุ่ม มีขนาดความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร ลักษณะของกิ่งเป็นกิ่งเดี่ยว แตกกอแผ่ ขยายออก และมักจะแตกกิ่งบนยอดต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเช่นกัน แต่ลักษณะใบจะแข็งเปราะ ปลายใบแหลม มี สีเขียวสด มักจะขึ้นแซมรอบต้น ส่วนดอกเข็มจะแหลมเล็ก รวมกลุ่มกันเป็นพุ่ม มักจะมีก้านดอกหุ้มปกป้อง ดอกเข็มไว้ส่วนสีและขนาดจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ของต้นเข็ม ความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกเข็มไว้ประจาบ้าน จะทาให้มีความฉลาดเฉียบแหลม เพราะเข็มคือ สิ่งที่มีความแหลมคม ดังนั้นคนไทยโบราณจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้ครูเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มี สติปัญญาฉลาดเฉียบแหลม นอกจากนี้ยังใช้ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนาได้เป็น สิริมงคลยิ่งนักและมักจะถูกนาไปบูชาพระ และใช้ประดับแจกัน ตามงานพิธีกรรมต่าง ๆ และเพื่อเป็นสิริ มงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเข็มไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อว่า การปลูกไม้เพือเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอก ให้ปลูกในวันพุธ
  • 13. การปลูกต้นเข็ม เราสามารถปลูกต้นเข็มได้ทั้งในกระถาง และปลูกลงดินประดับสวน โดยมีวิธีปลูกต้นเข็มดังนี้ 1. การปลูกต้นเข็มในกระถาง ต้นเข็มจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง และหากคุณอยากปลูกต้นเข็มใน กระถาง แนะนาให้ใช้กระถางทรงสูงขนาด 8-12 นิ้ว ปลูกด้วยดินร่วน ผสมปุ๋ ยคอก หรือปุ๋ ยหมัก และแกลบผุ ในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน ที่สาคัญเมื่อต้นเข็มเติบโตขึ้น ก็ต้องเปลี่ยนกระถางและเปลี่ยนดิน โดย ระยะห่างการเปลี่ยนกระถาง และดินไม่ควรเกิน 1 ปี 2. การปลูกต้นเข็มประดับสวน และปลูกริมรั้ว หากต้องการปลูกต้นเข็มลงดิน ควรต้องขุดดินให้ลึกประมาณ 30×30×30 เซนติเมตร โดยใช้ ดินร่วน ผสมปุ๋ ยหมัก หรือปุ๋ ยคอก ในอัตราส่วน 1 : 2 ผสมกับดินปลูก และถ้าต้องการปลูกต้นเข็ม ประดับแนวรั้ว ต้องลงต้นเข็มติดกัน ให้ต้นเข็มโตในลักษณะจับกลุ่มกัน หรือตัดแต่งทรงต้นเข็ม ตามต้องการ ทั้งนี้ทางโบราณยังเชื่อว่า การปลูกต้นเข็มเเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ต้องปลูกต้นเข็มทางทิศตะวันออก และควรปลูกในวันพุธด้วย การดูแลรดน้าต้นเข็ม ต้นเข็มเป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการน้าเพียงแค่ปานกลาง คือ รดน้าสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งก็พอ แต่ชอบแดดจัด ดังนั้นควรปลูกกลางแจ้ง เพราะต้นเข็มสามารถทนความแห้งแล้งได้นอกจากนี้ก็ควรใส่ปุ๋ ยคอก หรือปุ๋ ยหมัก ในอัตราส่วน 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ซึ่งควรใส่ 5-6 ครั้ง/ปี การขยายพันธุ์ต้นเข็ม วิธีการขยายพันธุ์ต้นเข็มสามารถทาได้ทั้งปักชากิ่ง ตอนกิ่ง และการเพาะเมล็ด แต่ส่วนใหญ่จะนิยม ขยายพันธุ์ด้วยการปักชา และตอนกิ่งมากกว่า เนื่องจากได้ผลดีกว่า การใส่ปุ๋ ยเร่งดอกต้นเข็ม หากต้นเข็มไม่ค่อยมีดอก อาจจะต้องดูว่า ได้ปลูกต้นเข็มในที่ที่มีแดดจัดหรือเปล่า เพราะต้นเข็มเป็น พืชที่ชอบแดดมาก รวมทั้งอาจจะต้องคอยตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ เพื่อเร่งให้ต้นเข็มมีการเจริญเติบโต แต่ก็ สามารถใช้ปุ๋ ยเร่งดอก ใส่เดือนละครั้ง พร้อมทั้งรดน้าต้นเข็มอย่างสม่าเสมอ
  • 14. ต้นเข็มมีกี่ชนิด ต้นเข็ม มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด และจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ จุดเด่นที่เห็นง่ายคือสีที่ แตกต่างกันของดอกเข็ม ส่วนต้นเข็มสายพันธุ์ต่าง ๆ มีดังนี้ ภาพจาก สวนในฝัน - ต้นเข็มเศรษฐี เข็มเศรษฐีเป็นพันธุ์นิยม เพราะดอกมีสีแดงสด ลักษณะดอกเป็นช่อสั้น ๆ กลีบดอกมี 4 กลีบ เป็นสีแดงยาวไปตลอดทั้งก้านดอก ปลายดอกแยกเป็น 5 แฉกแหลม มีเกสรตัวผู้ติดอยู่ที่ดอกประมาณ 4 อัน ส่วนลาต้นมีขนาดกลาง สูงระหว่าง 2-4 เมตร ชื่นชอบดินร่วยซุย และแสงแดด ภาพจาก จิตรลดาแลนด์สเคป - ต้นเข็มสีชมพู ต้นเข็มสีชมพู หรือบางที่เรียกว่า เข็มพิษณุโลกชมพู เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ทรงพุ่มดอก อัดแน่นทึบ ดอกสีชมพูหวาน มักจะออกดอกเป็นพุ่มเล็ก ๆ กระจุ๋มกระจิ๋ม ต้นเข็มพันธุ์นี้ออกดอกตลอดทั้งปี อีกทั้งยังออกดอกค่อนข้างเยอะ จึงเป็นพันธุ์เข็มที่นิยมปลูกไม่น้อยเลยทีเดียว
  • 15. ภาพจาก วรากรสมุนไพร - ต้นเข็มขาว ดอกเข็มพันธุ์นี้มีจุดเด่นอยู่ที่ความหอมละมุน และลักษณะดอกตูมสีเขียวอ่อน แต่พอโต ขึ้นมาก็บานแผ่กลีบดอกกระจุ๋มกระจิ๋มสีขาว 4 แฉก พร้อมเกสรที่คอยแทรกอยู่ข้างกลีบดอก ใบโค้งมนมี ขนาดใหญ่ คอยรองรับกลีบดอก ดอกเข็มขาวเป็นไม้พุ่มไม้ขนาดกลาง หากโตเต็มที่อาจมีความสูงประมาณ 2 เมตรเลยทีเดียว ภาพจาก สวนสุขวัฒน์การเกษตร - ต้นเข็มแดง ต้นเข็มแดงเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง มีขนาดตั้งแต่ 0.3-5 เมตร เรือนดอกเป็นพุ่ม ขนาดใหญ่ ที่อัดแน่นไปด้วยกลีบดอกย่อยสีแดง แน่นขนัด กลีบดอกเวลาบานจะแผ่กลีบ 4-6 แฉก มีเกสรสี เหลืองแซมข้างกลีบปะมาณ 4 อัน ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม ลักษณะใบหนาและแข็ง สีเขียวสด จัด ว่าเป็นพันธุ์เข็มที่นิยมปลูกตามบ้าน และนาไปใช้ประกอบพิธีทางศาสนาเช่นกัน
  • 16. ภาพจาก wanida garden - ต้นเข็มชมพูนุช เข็มชมพูนุชมีลักษณะดอกที่ไม่เหมือนดอกเข็มทั่วไป เพราะเป็นไม้พื้นเมืองของ เม็กซิโก ขนาดพุ่มดอก และกลีบดอกเล็กสีชมพูอมม่วง กลีบดอกหนา หากตูมจะเป็นดอกเล็ก ๆ กลมมน เมื่อ โตดอกจะแผ่บานออกและโค้งงอตามแรงโน้มถ่วงโลก ส่วนใบจะเรียวยาว ปลายใบแหลม ก้านดอกก็สูงยาว ด้วย อีกทั้งยามเย็นยังมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ด้วย ภาพจาก สวนนฤมล-อินทรา พันธุ์ไม้คลอง15 - ต้นเข็มโบว์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง ลักษณะเด่นอยู่ที่ใบที่มีรูปร่างสวยงามคล้ายโบว์ช่อดอก เป็นพุ่มหนาแน่นพอประมาณดอกมีลักษณะแหลมสีแดง หากบานจะแผ่ดอกออก 4-6 กลีบ ข้างดอกมีเกสรสี เหลืองขึ้นแซม
  • 17. - ต้นเข็มปัตตาเวีย เป็นพันธุ์เข็มที่ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ สีดอกมีหลากหลาย ทั้งสีแดง ชมพู และชมพูอมม่วง เข็มพันธุ์นี้จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ทรงพุ่มสูงโปร่ง ความสูงประมาณ1.5-2 เมตร ลา ต้นสีน้าตาลอมเทา ใบยาว รูปทรงรี หรือรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ภาพจาก WinVaGardens - ต้นเข็มอินเดีย ดอกเข็มสายพันธุ์ใหม่ หรือต้นเข็มอินเดีย เป็นไม้พุ่มเตี้ย ใบมีลักษณะคล้ายใบ โหระพา มีสีเขียวสด ดอกมีทั้งสีขาว แดง ชมพู ออกดอกเป็นช่อตามยอดต้น แผ่กลีบดอก 5 แฉก มีฐานดอก เชื่อมกัน โคนดอกเป็นสีขาว เรื่อย ๆ มาจนถึงปลายใบเป็นสีม่วง หรืออาจออกดอกสลับสีกันบ้าง
  • 18. บทที่ 3 การดาเนินงาน วัสดุอุปกรณ์ ต้นเข็ม จานวน 9 ต้น ฟ็อกกี้บรรจุสารละลายฮอร์โมน จานวน 3 อัน ฟิวเจอร์บอร์ดสีขาวสาหรับทาป้ายต้นไม้ จานวน 1 แผ่น สก็อตเทป จานวน 1 ม้วน ตะเกียบสาหรับทาป้ายต้นไม้ จานวน 5 แท่ง กระถางต้นไม้ จานวน 9 กระถาง ดิน จานวน 1 ถุง ตลับเมตรสาหรับวัดความสูงของต้นเข็ม จานวน 1 อัน สารเคมี ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน จานวน 1 ขวด ขั้นตอนการทาโครงงาน 1. ประชุมวางแผนคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ ซึ่งคือ การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่มีต่อ ความสูงของต้นเข็ม 2. ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานดังนี้ 2.1. ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน 2.2. ต้นเข็ม 3. วางแผนรายละเอียดการทดลอง คือการออกแบบการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของจิบเบอเรลลินในแต่ละชุดการทดลองที่มีผลต่อความ สูงของต้นเข็ม 4. ปรึกษากันในการใช้พื้นที่บริเวณหน้าตึก2ในการทาการศึกษา
  • 19. 5. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทาการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของจิบเบอเรลลินในแต่ละชุดการ ทดลองที่มีผลต่อความสูงของต้นเข็ม 5.1 ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินความเข้มข้น 0.02%โดยปริมาตร และความเข้มข้น 0.10%โดยปริมาตร 5.2 ต้นเข็มจานวน 9 ต้น 5.3 ฟ็อกกี้บรรจุสารละลายฮอร์โมนจานวน 3 อัน 6 ขั้นตอนกระบวนการทาการทดลอง 6.1 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินของแต่ละความเข้มข้นที่มีผลต่อความ สูงของต้นเข็ม 6.1.1 เตรียมต้นเข็มไว้9 ต้น วางไว้บริเวณเดียวกัน แบ่งการทดลองเป็น 3 ชุด ชุดละ 3 ต้น เป็นชุด high dose, low dose และ ชุดควบคุม 6.1.2 รดน้าทุกวัน 6.1.3 ฉีดฮอร์โมนทุกวันจันทร์ 6.1.4 สารวจและบันทึกความสูงทุกๆจันทร์ 7 สรุปผล อภิปราย และเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระยะ 8 จัดทาเอกสารเป็นรูปเล่มโครงงานให้สมบูรณ์ 9 จัดทาสื่ออภิปรายแสดงผลการทดลอง 10 จัดทาการส่งโครงงานแก่อาจารย์ที่ปรึกษา 8
  • 20. บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง ตารางบันทึกผลการทดลอง จากการทดลองการวัดความสูงของต้นเข็ม จากชุดทดลอง 3 กลุ่ม คือ ชุดควบคุม ชุด High Dose ( 0.1 %โดยปริมาตร)และ ชุด Low Dose ( 0.02 %โดยปริมาตร) ให้ผลดังตาราง วันที่ ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 3 ก.ค. 60 24 23.2 24.8 46.5 34.5 32.7 25.5 21.6 25 10 ก.ค. 60 24.2 23.6 25 47.1 35.2 33.4 25.9 22 25.5 17 ก.ค. 60 24.5 23.8 25.3 47.9 35.8 34 26.3 22.4 25.9 24 ก.ค. 60 24.8 23.9 25.7 48.5 36.5 34.4 26.8 22.7 26.2 31 ก.ค. 60 25 24 26 49 37 35 27 23 26.5 ความสูงเฉลี่ย 24.5 23.7 25.36 47.8 35.8 33.9 26.3 22.34 25.82 ความสูงที่เพิ่มขึ้น 1 0.8 1.2 2.5 2.5 2.3 1.5 1.4 1.5 ความสูงที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยของแต่ ละชุดการทดลอง 1 2.43 1.47 ความสูงของต้นเข็มชุดที่ 3 ชุด Low Dose ( 0.02 %โดยปริมาตร) (เซนติเมตร) ความสูงของต้นเข็มชุดที่ 2 ชุด High Dose ( 0.1 %โดยปริมาตร) (เซนติเมตร) ความสูงของต้นเข็มชุดที่ 1 ชุดควบคุม (เซนติเมตร)
  • 21. กราฟแสดงผลการทดลอง 0 0.5 1 1.5 2 2.5 3 ชุดควบคุม ชุด High dose ชุด Low dose ความสูงที่เพิ่มขึ้น(เซนติเมตร) ชุดการทดลอง ความสูงที่เพิ่มขึ้นของต้นเข็มแต่ละต้นในแต่ละชุดการทดลอง ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 1 2.43 1.47 0 0.5 1 1.5 2 2.5 3 ชุดควบคุม ชุด High dose ชุด Low dose ความสูงที่เพิ่ทขึ้นโดยเฉลี่ย(เซนติเมตร) ชุดการทดลอง ความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของแต่ละชุดการทดลอง 0 0.5 1 1.5 2 2.5 3 ชุดควบคุม ชุด High dose ชุด Low dose ความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย(เซนติเมตร) ชุดการทดลอง ความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของแต่ละชุดการทดลอง
  • 22. วิเคราะห์ผลการทดลอง จากการทดลอง พบว่า ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมีผลต่อการเพิ่มความสูงของต้นเข็มเล็กน้อย โดย ไม่ให้ผลแตกต่างกันมากนักระหว่างชุดควบคุม ชุดHigh dose และ ชุด Low dose ในชุดควบคุมนั้น โดยเฉลี่ย ต้นเข็มจะสูงเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร ในชุด High dose โดยเฉลี่ยต้นเข็มจะสูงเพิ่มขึ้น 2.43 เซนติเมตร และใน ชุด Low dose โดยเฉลี่ยต้นเข็มจะสูงเพิ่มขึ้น 1.47 เซนติเมตร และจะสังเกตได้ว่า ความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย ของชุด High dose จะมากกว่าชุด Low dose และมากกว่าชุดควบคุมตามลาดับ หากแต่ความสูงที่เพิ่มขึ้นโดย เฉลี่ยนั้นของแต่ละชุดก็ไม่ต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงอาจกล่าวได้ว่า ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมีผลต่อ การเพิ่มความสูงของต้นเข็มเพียงเล็กน้อย
  • 23. บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปผลการทดลอง ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินไม่ส่งผลต่อการเพิ่มความสูงอย่างมีนัยสาคัญ เหตุเพราะฮอร์โมนจิบเบอ เรลลินในพืชจะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาของดอก การติดผลและการงอกของเมล็ดมากกว่าการเจริญเติบโต ของพืช ทาให้ผลการทดลองไม่แสดงความแตกต่างของการเพิ่มความสูงในแต่ละชุดการทดลองได้อย่าง ชัดเจน หากแต่ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินก็ยังมีผลต่อการเพิ่มความสูงของต้นเข็ม ทาให้ผลการทดลองในแต่ละ ชุดการทดลองมีความแตกต่างกันแต่ไม่แตกต่างกันมาก โดยจะมีการเพิ่มความสูงที่มากกว่าในชุด High dose เพราะมีความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินมากกว่า และตามด้วยชุด Low dose และชุด ควบคุม ตามลาดับ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ปัญหาในทาโครงงานครั้งนี้ คือ เราได้กาหนดเวลาจดบันทึกผลการทดลองสั้นเกินไป คือ ระยะเวลา เพียง 1 เดือน ทาให้เราไม่สามารถเห็นความแตกต่างของการเพิ่มความสูงของต้นเข็มระหว่างแต่ละชุดการ ทดลองได้อย่างชัดเจน และในชุดการทดลองชุด High dose ต้นเข็มได้เกิดความผิดปกติขึ้น โดยสันนิฐานว่า จะเป็นโรคใบด่าง คาดว่าจะเกิดจากการได้รับสารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในความเข้มข้นที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับต้นเข็มในชุด High dose การทดลองครั้งต่อไป จึงควรใช้เวลาในศึกษาและ ทดลองมากกว่านี้เพื่อให้เห็นผลการทดลองที่ชัดเจนและเห็นความแตกต่างได้ชัด และควรคานวณปริมาณ ความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนให้เหมาะสม ไม่มากเกินไปจนส่งผลเสียต่อต้นไม้ที่ทาการทดลอง
  • 24. บรรณานุกรม 2560. ต้นเข็ม. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://home.kapook.com/view96253.html. 20 กรกฎาคม 2560. 2560. ต้นเข็ม. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/เข็ม_(พืช). 20 กรกฎาคม 2560. 2560. ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/จิบเบอเรลลิน. 20 กรกฎาคม 2560. 2560. ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY10_hormone.htm. 20 กรกฎาคม 2560.
  • 25. ภาคผนวก ต้นเข็มทั้ง 9 ต้น ก่อนการทดลอง การแบ่งต้นเข็มเป็นชุดการทดลอง 3 ชุด ชุด High dose ชุด Low dose และชุดควบคุม ตามลาดับจากซ้ายไปขวา การฉีดสารละลายฮอร์โมนจิบเบอเรลลินแก่ต้นเข็ม