SlideShare a Scribd company logo
1 of 23
Download to read offline
4
งานนาเสนอโครงงานการทดลอง
เรื่อง ฮอร์โมนไซโตไคนินต่อความสูงของต้นมะลิลา
นาเสนอ
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ครู คศ. 1 สาขาวิชาชีววิทยา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สมาชิกกลุ่มนาเสนอ
1. นส.จัสมิน ซอหิรัญ เลขที่ 1…………
2. นส.พรรษมนต์ ศรีวิไลเจริญ เลขที่ 11
3. นส.สลิลธาร เอ่งฉ้วน เลขที่ 19………
4. นายจิรัฏฐ์ งามสกุลรุ่งโรจน์ เลขที่ 24
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 77 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
งานนาเสนอข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
5
ชื่อโครงงาน ฮอร์โมนไซโตไคนินต่อความสูงของต้นมะลิลา
ผู้จัดทา 1. นส.จัสมิน ซอหิรัญ เลขที่ 1
2. นส.พรรษมนต์ศรีวิไลเจริญ เลขที่ 11
3. นส.สลิลธาร เอ่งฉ้วน เลขที่ 19
4. นายจิรัฏฐ์ งามสกุลรุ่งโรจน์ เลขที่ 24
บทคัดย่อ
โครงงานทดลองวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ฮอร์โมนไซโตไคนินต่อความสูงของต้นมะลิลา จัดทาขึ้น
เพื่อประกอบการศึกษาเรียนรู้และทดลองว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินมีผลอย่างไรต่อความสูงของ
ต้นมะลิลา โดยในการทดลองครั้งนี้ ได้นาต้นมะลิลามาเป็นพืชที่ใช้ประกอบการทดลอง ซึ่งต้นมะลิลา หรือ
มะลิซ้อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac) เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 15-25 ซม. ใบออกตรงข้าม รูปไข่กว้าง
3.5 - 4.5 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายแหลม โคนมน ก้านใบสั้น มี 3 ใบใน 1 ข้อ ดอกสีขาว กลิ่นหอมแรง ออกดอก
เดี่ยวหรือออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ใช้ทาเป็นน้าลอยมะลิ ใช้ทาเป็นขนมไทย ใช้ประดับตกแต่งในโอกาสต่าง
ๆ และนิยมใช้กราบแม่ในโอกาสวันแม่แห่งชาติ
จากการทดลองสรุปได้ว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินส่งผลต่อความสูงของต้นมะลิลา ดังนี้
1. ความเข้มข้นองฮอร์โมนไซโตไคนินมีผลต่อการเจริญเติบโตและความสูงของต้นมะลิลา
2. โดยที่ความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินที่มากกว่าจะทาให้ต้นมะลิลาเจริญเติบโตและสูงกว่า
ต้นที่ได้รับความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินน้อยกว่า
3. ทั้งนี้ จากการทดลองพบว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนิน 2-4%ไม่เป็นอันตรายต่อต้นมะลิลา
คือ ไม่ทาให้ต้นมะลิลาตาย
สรุปได้ว่า ความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโทโคนินที่มากกว่าส่งผลให้ต้นมะลิลาสูงกว่าต้นที่ได้รับ
ฮอร์โมนไซโตไคนินในความเข้มข้นน้อยกว่า
ก
6
กิตติกรรมประกาศ
การทาโครงงานทดลองวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ฮอร์โมนไซโตไคนินต่อความสูงของต้นมะลิลา
ในครั้งนี้ ได้รับความรู้ การอบรม สั่งสอน และได้รับคาแนะนาติดตามผลการทดลองอย่างดียิ่ง จากคุณครูวิชัย
ลิขิตพรรักษ์ ทาให้การทาโครงงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประสบความสาเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ทุกประการ ซึ่งเพื่อนสมาชิกในกลุ่มทุกคนได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ รวมถึงผู้ปกครองที่ได้ให้
การสนับสนุน และให้กาลังใจในการทาโครงงานจนสาเร็จ
คณะผู้จัดทาโครงงานจึงขอขอบพระคุณคุณครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง
ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้
คณะผู้จัดทาโครงงาน
31 กรกฏาคม 2560
ข
7
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
บทที่ 1 บทนา
- ที่มาและความสาคัญของโครงงาน 1
- วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1
- สมมติฐาน 1
- ขอบเขตการศึกษา 1
- ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 1
บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
- ต้นมะลิลา 2
- ไซโตไคนิน 3
- บทคัดย่อโครงงานเรื่อง ผลไซโตไคนินต่อการเพิ่มจาานวนยอด- 6
ของ Zingiber mekongense Gagnep. ในหลอดทดลอง
บทที่ 3 วิธีการศึกษาค้นคว้า
- วัสดุอุปกรณ์ 7
- วิธีการศึกษาค้นคว้า 7
- วิธีการทดลอง 8
บทที่ 4 ผลการทดลอง
- ผลการทดลองความสูงของต้นมะลิลา 9
บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายผลการทดลอง
- วัตถุประสงค์ 13
- สรุปผลการดาเนินงาน/การทดลอง/การทาโครงงาน 13
- ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน 13
บรรณานุกรม 15
ภาคผนวก 16
1
บทที่ 1
บทนา
ที่มาและความสาคัญ
เนื่องจากในปัจจุบันนี้ ต้นมะลิลาเป็นที่ต้องการของตลาดและเกษตรกร เป็นที่นิยมแพร่หลาย
โดยเฉพาะไม้ประดับ การดูแลให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ต้นโตไวและดอกมีคุณภาพดีแข็งแรง จึงเป็นสิ่งที่สาคัญ
จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า ฮอร์โมนที่สาคัญในการเจริญเติบโตของพืชอย่างหนึ่งคือไซโตไคนิน ซึ่งสามารถ
ทาให้พืชเจริญเติบโตได้ไวขึ้น สังเกตได้จากความสูงของลาต้นที่เพิ่มขึ้น ขนาดใบของพืชที่ใหญ่ขึ้น และ
ปริมาณดอกที่เพิ่มขึ้น
ทางกลุ่มของพวกเราจึงได้เลือกศึกษาโดยใช้ฮอร์โมนไซโตไคนินในการทดลองกับต้นมะลิลาซึ่งเป็น
พืชเศรษฐกิจที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เป็นต้นไม้ที่เหมาะกับสภาพอากาศของเมืองไทย เติบโตได้ง่าย และต้นมี
ขนาดเล็กเหมาะสมกับการทดลอง โดยใช้ฮอร์โมนไซโตไคนินในปริมาณที่แตกต่างกันแล้วบันทึกผล
เปรียบเทียบความสูงของต้นมะลิลา และบันทึกผลจากความสูงของลาต้น เพื่อนาผลการทดลองไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินที่แตกต่างกันมีผลต่อความสูงของต้นมะลิลา
หรือไม่ โดยศึกษาสังเกตและเปรียบเทียบความสูงของต้นมะลิลา
สมมติฐาน
ความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินมีผลต่อความสูงของต้นมะลิลา
ขอบเขตการศึกษา
ระยะเวลาที่ทาการทดลอง ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2560 ถึงมิถุนายน 2560
สถานที่ทาการทดลอง อาคารศิลปศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น ความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนิน
ตัวแปรตาม ความสูงของต้นมะลิลา
ตัวแปรควบคุม
-ปริมาณของน้า
- ภาชนะที่ใช้ปลูกต้นมะลิลา
-ระยะเวลา
-สภาพแวดล้อม
2
บทที่ 2
เอกสารความรู้และโครงงานที่เกี่ยวข้อง
ในการทาโครงงานเรื่อง การทดลองผลของไซโตไคนิน ที่มีต่อความสูงของต้นมะลิลา ครั้งนี้ผู้จัดทา
ได้ศึกษา สารวจเอกสาร ความรู้ และโครงงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนามาประกอบการทาโครงงาน ตามลาดับต่อไปนี้
1. ต้นไม้ที่ใช้ในการทดลอง คือ ต้นมะลิลา
2. สารเคมีที่ใช้คือ สารไซโตไคนิน
3. บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง ผลของไซโตไคนินต่อการเพิ่มจานวนยอดของ Zingiber mekongense
Gagnep. ในหลอดทดลอง (Effect of cytokinins on in vitro shoot multiplication of Zingiber
mekongense Gagnep.)
1. ต้นไม้ที่ใช้ในการทดลอง คือ ต้นมะลิลา
ภาพที่ 1 ต้นมะลิลา สืบค้นจาก https://www.google.co.th เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2560
ต้นมะลิลา มีชื่อวิทยาศาสตร์คือJasminumsambac (L.) Aitonมีชื่อสามัญคือ Arabian Jasmine,
Jusmine ,Kampopot มีชื่อตามท้องถิ่นดังนี้ มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), มะลิหลวง
(แม่ฮ่องสอน), ข้าวแตก (ฉาน-แม่อ่องสอน), เตียมุน (ละว้า-เชียงใหม่), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่)มะลิซ้อน เป็น
ต้นไม้ในวงศ์OLEACEAEต้นมะลิลามีถิ่นกาเนิดจากประเทศอินเดีย เป็นไม้กลางแจ้งชอบแสงแดดจัด
เจริญเติบโตดีในที่ดินร่วนซุย ต้นมีลักษณะเป็นพุ่ม สูงประมาณ 1.50 เมตร แต่จัดเป็นไม้เลื้อย เพราะมีกิ่ง
3
กึ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่ ที่อาจจะยืดตัวพันกับสิ่งอื่นได้กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่มีขน ใบเรียงตรงข้าม
ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยใบเดียว รูปไข่ รีหรือรีขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม. โคนใบมน
หรือสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมัน ด้านท้องใบเห็นเส้นใบชัดเจน เส้นใบขนาดใหญ่
มี 4-6 คู่ ก้านใบสั้นมากและมีขน สามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี แต่จะออกดอกมากในช่วงฤดูร้อนและ
ฤดูฝน ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกมีสีขาว
กลิ่นหอม มักจะเริ่มขยายกลีบและส่งกลิ่นหอมในช่วงเวลาเย็นจนถึงวันรุ่งขึ้น ดอกบานเต็มที่ประมาณ 2 ซม.
การขยายพันธุ์มะลิลา ใช้วิธีตอนกิ่ง ปักชา หรือทับกิ่งประโยชน์ของมะลิลามีหลายประการ คือ ดอกสดหรือ
ดอกแห้งใบต้มกินแก้โรคบิดปวดท้อง ดอกสดตาพอกแก้ปวดศีรษะผิวหนังผื่นคันดอกใช้ทาพวงมาลัย
ทาน้าหอมและบูชาพระดอกแห้งใช้เป็นยาแต่งกลิ่นดอกมะลาลินี้ใช้เป็นดอกไม้ของวันแม่แห่งชาติ
2. สารเคมีที่ใช้ คือ ไซโตไคนิน
ไซโตไคนิน
ภาพที่ 2 ไซโตไคนิน สืบค้นจาก https://www.google.co.th เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2560
ไซโตไคนิน (Cytokinin) การค้นพบฮอร์โมนในกลุ่มนี้เริ่มจากการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยในปี
ค.ศ.1920 Haberlandt ได้แสดงให้เห็นว่ามีสารชนิดหนึ่งเกิดอยู่ในเนื้อเยื่อพืชและกระตุ้นให้เนื้อเยื่อพาเรนไคมา
ในหัวมันฝรั่งกลับกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้ ซึ่งแสดงว่าสารชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์ ต่อมามี
การพบว่าน้ามะพร้าวและเนื้อเยื่อของหัวแครอทมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์เช่นกัน
นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเช่น Skoog และ Steward ทาการทดลองในสหรัฐอเมริกา โดยศึกษาความต้องการ
สิ่งที่ใช้ในการเจริญเติบโตของกลุ่มก้อนของเซลล์ (Callus) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ไม่มีการ
4
เปลี่ยนแปลงทางคุณภาพเกิดขึ้นของ pith จากยาสูบและรากของแครอท จากผลการทดลองนี้ทาให้รู้จักไซโต
ไคนินในระยะปี ค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชที่จาเป็นต่อการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ
ของเนื้อเยื่อในปัจจุบันพบว่าไซโตไคนิน ยังเกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพ (Senescence) และ การควบคุมการ
เจริญของตาข้างโดยตายอด (Apical Dominance)
การสังเคราะห์ไซโตไคนินในต้นพืชเกิดโดยการ substitution ของ side chain บนคาร์บอนอะตอม
ที่ 6 ของอะดีนีน ซึ่ง sidechain ของไซโตไคนินในสภาพธรรมชาติประกอบด้วยคาร์บอน 5 อะตอม จึงเป็นการ
ชี้ให้เห็นว่าเกิดมาจากวิถีการสังเคราะห์ ไอโซพรีนอยด์ (Isoprenoid) ต่อมาพบว่า กลุ่มของไซโตไค
นิน เกิดขึ้นบน t-RNA ได้และเมื่อใช้เมวาโลเนต (Mavalonate หรือ MVA) ที่มีสารกัมมันตรังสีจะสามารถไป
รวมกับกลุ่ม อะดีนีนของ t-RNA เกิดเป็นไดเมทธิลอัลลิล (Dimethylallyl side chain) เกาะด้านข้างในเชื้อ
รา Rhizopus นั้น Dimethylallyl adenine สามารถเปลี่ยนไปเป็น Zeatin ได้ จึงคาดกันว่า Zeatin อาจจะเกิดจาก
การออกซิไดซ์ Dimethylallyl adenine
การเกิดกลุ่มของไซโตไคนินใน t-RNA นี้หมายความว่าไซโตไคนิน อาจจะเกิดขึ้นมาจากการสลายตัว
ของ t-RNA ซึ่งความเป็นจริงก็พบเหตุการณ์ดังกล่าวบ้าง อย่างไรก็ตามยังมีข้อสงสัยอีกมากที่เกี่ยวข้องกับ
การเกิดไซโตไคนินจาก t-RNA อาจจะมีวิถีเฉพาะที่ก่อให้เกิดการสังเคราะห์ไซโตไคนินซึ่งเป็นวิถีที่แยกอย่าง
เด็ดขาดจากการเกิดไซโตไคนินโดยการสลายตัวของ t-RNA
ไซโตไคนินพบมากในผลอ่อนและเมล็ด ในใบอ่อนและปลายรากซึ่งไซโตไคนิน อาจจะสังเคราะห์
ที่บริเวณดังกล่าวหรืออาจจะเคลื่อนย้ายมาจากส่วนอื่นๆ ในรากนั้นมีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าไซโตไคนิน
สังเคราะห์ที่บริเวณนี้ได้เพราะเมื่อมีการตัดรากหรือลาต้น พบว่าของเหลวที่ไหลออกมาจากท่อน้าจะปรากฏไซ
โตไคนินจากส่วนล่างขึ้นมา หลักฐานที่แสดงว่าสังเคราะห์ที่ส่วนอื่นยังไม่พบและการเคลื่อนย้ายของไซโตไค
นินจากส่วนอ่อน เช่น ใบ เมล็ด ผล ยังเกิดไม่ดีและไม่มาก
ไซโตไคนินมีบทบาทสาคัญคือควบคุมการแบ่งเซลล์ และไซโตไคนินที่เกิดในสภาพธรรมชาตินั้น
เป็นอนุพันธ์ของอะดีนีนทั้งสิ้น ดังนั้นงานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการทางานจึงมีแนวโน้มในความสัมพันธ์กับกรด
นิวคลีอิค กลไกการทางานของไซโตไคนินยังไม่เด่นชัดเหมือนกับออกซิน และจิบเบอเรลลิน แต่ไซโตไคนิน
มีผลให้เกิดการสังเคราะห์ RNA และโปรตีนมากขึ้นในเซลล์พืช ผลการทดลองบางรายงานกล่าวว่า หลังจาก
ให้ไซโตไคนินกับเซลล์พืชแล้วจะเพิ่มปริมาณของ m-RNA, t-RNA และ r-RNA
จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทาให้พอสรุปได้ว่าไซโตไคนินอาจจะทางาน
โดยควบคุม กิจกรรมของเอนไซม์โดยตรงมากกว่าที่จะเกี่ยวกับการสังเคราะห์เอนไซม์ ไซโตไคนินมีอิทธิพล
ต่อเอนไซม์หลายชนิด เช่น ไคเนส (Kinases) ที่ใช้ในกระบวนการหายใจ นอกจากนั้นกิจกรรมของเอนไซม์ที่
ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงก็เพิ่มขึ้น
5
ผลของไซโตไคนิน
1. กระตุ้นให้เกิดการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพใน tissue culture โดยต้องใช้
ร่วมกับ Auxin ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนั้นหากให้ฮอร์โมน ไซโตไคนินมากกว่าออกซิน จะทาให้เนื้อเยื่อนั้น
เจริญเป็น ตา ใบ และลาต้น แต่ถ้าหากสัดส่วนของออกซินมากขึ้นกว่าไซโตไคนินจะทาให้เนื้อเยื่อนั้นสร้าง
รากขึ้นมา การ differentiate ของตาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจาก Callus จากส่วนของลาต้นนั้น auxin
จะระงับ และไซโตไคนินนั้นจะกระตุ้นการเกิด และต้องมีความสมดุลระหว่างไซโตไคนินและออกซินชิ้น
เนื้อเยื่อจึงจะสร้างตาได้
2. ชะลอกระบวนการเสื่อมสลาย เช่น กรณีของใบที่เจริญเต็มที่แล้วถูกตัดออกจาก
ต้น คลอโรฟิลล์ RNA และโปรตีนจะเริ่มสลายตัวเร็วกว่าใบที่ติดอยู่กับต้น แม้จะมีการให้อาหารกับ
ใบเหล่านี้ก็ตาม ถ้าหากเก็บใบเหล่านี้ไว้ในที่มืดการเสื่อมสลายยิ่งเกิดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามหากใบเหล่านี้เกิด
รากขึ้นที่โคนใบหรือก้านใบ จะทาให้การเสื่อมสลายเกิดช้าลง เพราะไซโตไคนินผ่านขึ้นมาจากราก
ทางท่อน้า อย่างไรก็ตามการให้ไซโตไคนินกับใบพืชเหล่านี้จะชะลอการเสื่อมสลายได้เหมือนกับราก
เช่นกัน นอกจากนั้นไซโตไคนินยังทาให้มีการเคลื่อนย้ายอาหารจากส่วนอื่นมายังส่วนที่ได้รับไซโตไคนินได้
เช่น กรณีของใบอ่อนซึ่งมีไซโตไคนินมากกว่าใบแก่จะสามารถดึงอาหารจากใบแก่ได้ในกรณีเชื้อราที่ทาให้
เกิดโรคราสนิม ซึ่งทาให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อแล้วบริเวณเนื้อเยื่อที่ตายจะเกิดสีเขียวล้อมรอบขึ้นมาซึ่ง
บริเวณสีเขียวนี้มีแป้งสะสมมากแม้กระทั่งส่วนอื่นๆ ของใบตายไปแล้ว ส่วนสีเขียวอาจจะยังคงอยู่ ลักษณะนี้
เรียกว่าGreen Island ซึ่งบริเวณนี้จะมี ไซโตไคนินสูง คาดว่าเชื้อราสร้างขึ้นมาเพื่อดึงอาหารมาจากส่วนอื่น
3. ทาให้ตาข้างแตกออกมาหรือกาจัดลักษณะ Apical Dominanceได้การเพิ่มไซโตไคนินให้กับตาข้าง
จะทาให้แตกออกมาเป็นใบได้ ทั้งนี้เพราะตาข้างจะดึงอาหารมาจากส่วนอื่นทาให้ตาข้างเจริญได้ เชื้อจุลินทรีย์
บางชนิดสามารถสร้างไซโตไคนินกระตุ้นให้พืชเกิดการแตกตาจานวนมากมีลักษณะผิดปกติ เช่น
โรค Fascination นอกจากนั้นยังเร่งการแตกหน่อของพืช เช่น บอน และโกสน
4. ทาให้ใบเลี้ยงคลี่ขยายตัว กรณีเมล็ดของพืชใบเลี้ยงคู่งอกในความมืด ใบเลี้ยงจะเหลืองและ
เล็ก เมื่อได้รับแสงจึงจะขยายตัวขึ้นมา ซึ่งเป็นการควบคุมของไฟโตโครม แต่ถ้าหากให้ไซโตโคนินโดยการ
ตัดใบเลี้ยงมาแช่ในไซโตไคนิน ใบเลี้ยงจะคลี่ขยายได้เช่นกัน ลักษณะดังกล่าวพบกับแรดิช ผักสลัดและ
แตงกวา ออกซินและจิบเบอเรลลินจะไม่ให้ผลดังกล่าว
5. ทาให้เกิดการสร้างคลอโรพลาสต์มากขึ้นซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพอย่างหนึ่ง เช่น
เมื่อCallus ได้รับแสงและไซโตไคนิน Callus จะกลายเป็นสีเขียว เพราะพลาสติคเปลี่ยนเป็นคลอโรพลาสต์ได้
โดยการเกิดกรานาจะถูกกระตุ้นโดยไซโตไคนิน
6. ทาให้พืชทั้งต้นเจริญเติบโต
7. กระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด
6
3. บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง ผลของไซโตไคนินต่อการเพิ่มจานวนยอดของ Zingiber mekongense
Gagnep. ในหลอดทดลอง (Effect of cytokinins on in vitro shoot multiplication of Zingiber
mekongense Gagnep.)
ดาเนินการโดย พันธิตรา กมล ปวีร์รฐา วรดิลกพิพัฒน์ คงศักดิ์ พร้อมเทพ และ ปรียานันท์ แสน
โภชน์ สรุปผลได้ว่า จากการนาต้นอ่อนของ Zingiber mekongense Gagnep. ที่พัฒนามาจากการเลี้ยงเอมบริโอ
ในสภาพปลอดเชื้อ มาเลี้ยงบนอาหารสูตร Murashige and Skoog MS (1962) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต
ในกลุ่มของไซโตไคนิน ได้แก่ BA, Kinetin (Kn) และ TDZ ที่แปรผันความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 2.0 mg/l เป็น
เวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสูตรอาหารที่ให้จานวนต้นและจานวนรากได้มากที่สุดคือ อาหารสูตร MS (1962) ที่
เติม Kn ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักน าให้เกิดจ านวนต้น 2 ยอดต่อชิ้นส่วนและ 10.62 ราก
ต่อชิ้นส่วน ตามลาดับ
7
บทที่ 3
วิธีการศึกษาค้นคว้า
สถานที่และระยะเวลา
ในการทาโครงงานเรื่อง การทดลองผลของไซโตไคนิน ที่มีต่อความสูงของต้นมะลิลา ครั้งนี้ ได้ทา
การทดลองที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เลขที่ 227 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ระหว่างวันที่
29 พฤษภาคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 15 กรกฏาคม 2560
วัสดุอุปกรณ์
1. ต้นมะลิลา 5. ขวดฉีดฮอร์โมน
2. ไซโตไคนิน 6. น้าเปล่าบริสุทธิ์
3. กระถางต้นไม้
4. ที่รดน้าต้นไม้
วิธีการศึกษาค้นคว้าและเก็บข้อมูล
1. ศึกษาเอกสาร ความรู้ และโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการทดลองใช้ไซโตไคนินเพื่อกระตุ้น
การเจริญเติบโตของต้นมะลิลา
2. ดาเนินการทดลอง
3. มีการเก็บข้อมูลโดยการวัดความสูงของต้นจาก บริเวณขีดที่ 4 ของกระถางต้นไม้ถึงบริเวณยอดกิ่งหลักเพื่อ
วัดความสูง
4. บันทึกผลการทดลอง
8
วิธีการทดลอง
1. นาต้นมะลิลาจานวน 9 ต้น มาปลูกใส่กระถางที่เหมือนกัน แยกออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มละ 3 ต้น ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม
กลุ่มที่ 2 กลุ่มฮอร์โมนความเข้มข้นต่า
กลุ่มที่ 3 กลุ่มฮอร์โมนความเข้มข้นสูง
2. สังเกตและบันทึกผล ความสูงของต้นมะลิลาก่อนการทดลองของทั้ง 9 ต้น
3. นาฮอร์โมนไซโตไคนินเข้มข้นมาเจอจางในปริมาณ 2 cc ต่อน้าบริสุทธิ์ 1000 cc ซึ่งจะทาให้ได้
ฮอร์โมนไซโคไตนินที่มีความเข้มข้น0.2%โดยปริมาตรและนาฮอร์โมนไซโคไตนิน
เข้มข้นมาเจอจางในปริมาณ4ccต่อน้าบริสุทธิ์ 1000ccซึ่งจะทาให้ได้ฮอร์โมนไซโคไตนิน
ที่มีความเข้มข้น 0.4 % โดยปริมาตร
4. รดน้าต้นไม้และให้แสงแดดอย่างสม่าเสมอกับต้นไม้ทั้ง 3 กลุ่ม
โดยฉีดฮอร์โมนไซโคไตนิน ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุมไม่ฉีดใส่ฮอร์โมนไซโตไคนิน
กลุ่มที่ 2 มีการฉีดใส่ฮอร์โมนไซโตไคนินที่มีความเข้มข้น 0.2 % โดยปริมาตร
กลุ่มที่ 3 มีการฉีดใส่ฮอร์โมนไซโตไคนินที่มีความเข้มข้น 0.4 % โดยปริมาตร
5. สังเกตและบันทึกผลการทดลอง
9
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการทดลอง
ในการทาโครงงานเรื่อง การทดลองผลของไซโตไคนิน ที่มีต่อความสูงของต้นมะลิลา ครั้ง
นี้ ปรากฏผลจากการทดลอง ดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่า
1. ต้นมะลิลาที่ได้รับฮอร์โมนไซโตไคนิน Cytokinin ทั้ง 6 ต้น (ความ เข้มข้น 0.4% 3 ต้น
และ ความเข้มข้น 0.2% 3 ต้น )มีความสูงของต้นที่สั้นกว่าต้นที่ไม่ได้รับฮอร์โมนทั้ง 3 ต้น
3. ต้นมะลิลาที่ได้รับฮอร์โมนไซโตไคนิน Cytokinin ความเข้มข้น 0.4% ( High-Dose )
และต้นมะลิลาที่ได้รับฮอร์โมนไซโตไคนิน Cytokinin ความเข้มข้น 0.2% ( Low-Dose) มีความสูงที่แตกต่าง
กัน โดย ต้นมะลิลาที่ได้รับฮอร์โมนไซโตไคนิน Cytokinin ความเข้มข้น 0.4% นั้นมีความสูงน้อยกว่า ต้นมะลิ
ลาที่ได้รับฮอร์โมนไซโตไคนิน Cytokinin เข้มข้น0. 2%
10
ครั้งที่
วันที่ทา
การวัด
ความ
สูง
ความสูงของต้นมะลิลา (cm.)
ชุดควบคุม ชุดทดลอง
0% 0.2% < High Dose > 0.4% < Low Dose>
1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 2/6/60 46.6 34.6 36.5 34.9 31.9 35.9 38.1 37.8 37.2
2 9/6/60 47.0 35.2 37.0 35.2 32.3 36.3 38.3 37.8 37.4
3 16/6/60 47.7 35.7 37.6 35.7 32.7 36.7 38.5 37.9 37.6
4 23/6/60 48.4 36.2 38.1 36.1 33.0 37.0 38.6 38.1 37.9
5 30/6/60 49.0 36.8 38.7 36.3 33.1 37.5 38.9 38.3 38.1
6 7/7/60 49.6 37.4 39.3 36.6 33.4 37.8 39.1 38.5 38.3
7 14/7/60 50.3 38.0 39.9 36.9 33.7 38.2 39.1 38.6 38.5
8 21/7/60 51.0 38.7 40.6 37.2 34.0 38.6 39.1 38.7 38.7
11
ครั้ง
ที่
วันที่ทา
การวัด
ความ
สูง
การเปลี่ยนแปลงความสูงของต้นมะลิลา (cm.)
ชุดควบคุม ชุดทดลอง
0% 0.2% < High Dose > 0.4% < Low Dose>
1 2 3 ค่าเฉลี่ย 1 2 3 ค่าเฉลี่ย 1 2 3 ค่าเฉลี่ย
1 2/6/60 0.60 0.60 0.50 0.57 0.40 0.40 0.30 0.37 0.10 0.10 0.20 0.13
2 9/6/60 0.40 0.60 0.50 0.50 0.30 0.40 0.40 0.37 0.20 0.00 0.20 0.13
3 16/6/60 0.70 0.50 0.60 0.60 0.50 0.40 0.40 0.43 0.20 0.10 0.20 0.16
4 23/6/60 0.70 0.50 0.50 0.57 0.40 0.30 0.30 0.33 0.10 0.20 0.30 0.20
5 30/6/60 0.60 0.60 0.60 0.60 0.20 0.10 0.50 0.26 0.30 0.20 0.20 0.23
6 7/7/60 0.60 0.60 0.60 0.63 0.30 0.30 0.30 0.30 0.20 0.20 0.20 0.20
7 14/7/60 0.70 0.60 0.60 0.70 0.30 0.30 0.40 0.33 0.00 0.10 0.20 0.10
8 21/7/60 0.70 0.70 0.70 0.70 0.30 0.30 0.40 0.33 0.00 0.10 0.20 0.10
12
กราฟค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงความสูงของต้นมะลิลา
0
0.1
0.2
0.3
0.4
0.5
0.6
0.7
0.8
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 ครั้งที่ 6 ครั้งที่ 7 ครั้งที่ 8
แผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงความสูงของต้นมะลิลาในการวัด 8 ครั้ง
ชุดควบคุม ชุด low dose ชุด high dose
0
0.1
0.2
0.3
0.4
0.5
0.6
0.7
0.8
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 ครั้งที่ 6 ครั้งที่ 7 ครั้งที่ 8
แผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงความสูงของต้นมะลิลาในการวัด 8 ครั้ง
ชุดควบคุม ชุด low dose ชุด high dose
13
บทที่ 5
สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลกระทบของฮอร์โมน Cytokinin และความเข้มข้นของฮอร์โมนที่มีต่อต้นมะลิลา
วัสดุอุปกรณ์สารเคมีที่ใช้ในการทดลอง
1. ต้นมะลิลาพร้อมกระถางและดิน 9 ต้น
2. ฮอร์โมน Cytokinin 1 ขวด
3. ที่พ่นแบบเป็นละออง 2 กระบอก
4. ขวดน้า 500 มม. 2 ขวด
5. ที่พรวนดิน 1. อัน
6. Cylinder 1 กระบอก
สรุปผลการดาเนินงาน/การทดลอง/การทาโครงงาน
5.1 จากการทดลองสรุปได้ว่าฮอร์โมน Cytokinin ส่งผลต่อความสูงของต้น โดยที่ ส่งผลยับยั้งการ
เจริญปลายยอด
5.2 จากการทดลองสรุปได้ว่าปริมาณของฮอร์โมน Cytokinin มีผลต่อการเจริญโดยที่ ความเข้มข้น
มากจะมีผลให้มีความสูงน้อยกว่าความเข้มข้นน้อย
5.3 จากการทดลองสรุปได้ว่าความเข้มข้นของฮอร์โมน Cytokinin ปริมาณ 0.2- 0.4 % ไม่เป็น
อันตรายต่อต้นมะลิลาหรือทาให้ต้นมะลิลาตาย
14
อภิปรายผลการทดลอง
1. เนื่องจากการทดลองนี้ได้ทาขึ้นในฤดูฝน ทาให้ความข้นข้นของฮอร์โมนไม่ตรงตามที่
กาหนดไว้เนื่องจากการเจือจางของน้าฝน
2. เนื่องจากปริมาณแร่ธาตุบางส่วนถูกชะล้างไปกับน้าและปริมาณที่แสงแดดน้อย
เนื่องจากมีระเบียงยืนออกมาบัง จึงทาให้ต้นมะลิลาจานวน 2 ต้น ( high dose และ
low doseอย่างละต้น ) มีอาการใบเหลือง และ อีกจานวน 2 ต้น (0% ทั้งสองต้น ) มี
อาการใบหงิก
15
บรรณนานุกรม
1. ภาพต้นมะลิลาสืบค้นจาก http://panmainaiban.blogspot.com/2011/06/blog-post_11.html
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2560
2. ภาพไซโตไคนิน สืบค้นจากhttp://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY10_hormone.htm#cyto
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2560
3. บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง ผลของไซโตไคนินต่อการเพิ่มจาานวนยอดของ Zingiber mekongense
Gagnep. ในหลอดทดลอง (Effect of cytokinins on in vitro shoot multiplication of Zingiber
mekongense Gagnep.) สืบค้นจาก https://www.google.co.th เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2560
16
ภาคผนวก
17
ภาพ คุณครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ กาลังติดตามผล
และให้คาแนะนาในการทาโครงงานแก่นักเรียนฯ
18
ภาพ การดาเนินการทาการทดลองและ
การตระเตรียมต้นไม้ในการทดลอง
19
ภาพ การดาเนินการทาการทดลองและ
การตระเตรียมต้นไม้ในการทดลอง

More Related Content

What's hot

M6 78 60_5
M6 78 60_5M6 78 60_5
M6 78 60_5
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_7
M6 78 60_7M6 78 60_7
M6 78 60_7
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_1
M6 78 60_1M6 78 60_1
M6 78 60_1
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_4
M6 78 60_4M6 78 60_4
M6 78 60_4
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_2
M6 78 60_2M6 78 60_2
M6 78 60_2
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_8
M6 78 60_8M6 78 60_8
M6 78 60_8
Wichai Likitponrak
 
M6 125 60_8
M6 125 60_8M6 125 60_8
M6 125 60_8
Wichai Likitponrak
 
M6 78 60_3
M6 78 60_3M6 78 60_3
M6 78 60_3
Wichai Likitponrak
 
Plant hor 6_77_60
Plant hor 6_77_60Plant hor 6_77_60
Plant hor 6_77_60
Wichai Likitponrak
 
M6 125 60_10
M6 125 60_10M6 125 60_10
M6 125 60_10
Wichai Likitponrak
 
M6 126 60_1
M6 126 60_1M6 126 60_1
M6 126 60_1
Wichai Likitponrak
 
Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_4
M6 143 60_4M6 143 60_4
M6 143 60_4
Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_5
M6 144 60_5M6 144 60_5
M6 144 60_5
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_7
M6 143 60_7M6 143 60_7
M6 143 60_7
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_3
M6 143 60_3M6 143 60_3
M6 143 60_3
Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_2
M6 144 60_2M6 144 60_2
M6 144 60_2
Wichai Likitponrak
 
M6 126 60_9
M6 126 60_9M6 126 60_9
M6 126 60_9
Wichai Likitponrak
 

What's hot (20)

M6 78 60_5
M6 78 60_5M6 78 60_5
M6 78 60_5
 
M6 78 60_7
M6 78 60_7M6 78 60_7
M6 78 60_7
 
M6 78 60_1
M6 78 60_1M6 78 60_1
M6 78 60_1
 
M6 78 60_4
M6 78 60_4M6 78 60_4
M6 78 60_4
 
M6 78 60_2
M6 78 60_2M6 78 60_2
M6 78 60_2
 
M6 78 60_8
M6 78 60_8M6 78 60_8
M6 78 60_8
 
M6 125 60_8
M6 125 60_8M6 125 60_8
M6 125 60_8
 
M6 78 60_3
M6 78 60_3M6 78 60_3
M6 78 60_3
 
Plant hor 6_77_60
Plant hor 6_77_60Plant hor 6_77_60
Plant hor 6_77_60
 
M6 125 60_10
M6 125 60_10M6 125 60_10
M6 125 60_10
 
M6 126 60_1
M6 126 60_1M6 126 60_1
M6 126 60_1
 
Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60
 
M6 143 60_4
M6 143 60_4M6 143 60_4
M6 143 60_4
 
M6 144 60_5
M6 144 60_5M6 144 60_5
M6 144 60_5
 
M6 143 60_7
M6 143 60_7M6 143 60_7
M6 143 60_7
 
M6 143 60_3
M6 143 60_3M6 143 60_3
M6 143 60_3
 
M6 144 60_2
M6 144 60_2M6 144 60_2
M6 144 60_2
 
M6 126 60_9
M6 126 60_9M6 126 60_9
M6 126 60_9
 
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
 
Lesson2 plantrepro wichaitu62
Lesson2 plantrepro wichaitu62Lesson2 plantrepro wichaitu62
Lesson2 plantrepro wichaitu62
 

Similar to Plant hor 2_77_60

M6 126 60_8
M6 126 60_8M6 126 60_8
M6 126 60_8
Wichai Likitponrak
 
M6 126 60_3
M6 126 60_3M6 126 60_3
M6 126 60_3
Wichai Likitponrak
 
M6 125 60_7
M6 125 60_7M6 125 60_7
M6 125 60_7
Wichai Likitponrak
 
M6 125 60_4
M6 125 60_4M6 125 60_4
M6 125 60_4
Wichai Likitponrak
 
M6 125 60_6
M6 125 60_6M6 125 60_6
M6 125 60_6
Wichai Likitponrak
 
20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao
Kanjanjao
 
M6 126 60_5
M6 126 60_5M6 126 60_5
M6 126 60_5
Wichai Likitponrak
 
Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60
Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_1
M6 144 60_1M6 144 60_1
M6 144 60_1
Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_8
M6 144 60_8M6 144 60_8
M6 144 60_8
Wichai Likitponrak
 
M6 143 60_8
M6 143 60_8M6 143 60_8
M6 143 60_8
Wichai Likitponrak
 
ชื่อเรื่อ..
ชื่อเรื่อ..ชื่อเรื่อ..
ชื่อเรื่อ..
Hasanie Chill
 
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียง
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียงCourse syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียง
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียง
กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 

Similar to Plant hor 2_77_60 (20)

M6 126 60_8
M6 126 60_8M6 126 60_8
M6 126 60_8
 
M6 126 60_3
M6 126 60_3M6 126 60_3
M6 126 60_3
 
M6 125 60_7
M6 125 60_7M6 125 60_7
M6 125 60_7
 
M6 125 60_4
M6 125 60_4M6 125 60_4
M6 125 60_4
 
M6 125 60_6
M6 125 60_6M6 125 60_6
M6 125 60_6
 
20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao
 
M6 126 60_5
M6 126 60_5M6 126 60_5
M6 126 60_5
 
Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60Plant hor 1_77_60
Plant hor 1_77_60
 
File
FileFile
File
 
M6 144 60_1
M6 144 60_1M6 144 60_1
M6 144 60_1
 
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
 
Minibook bio 834 group 5
Minibook bio 834 group 5Minibook bio 834 group 5
Minibook bio 834 group 5
 
M6 144 60_8
M6 144 60_8M6 144 60_8
M6 144 60_8
 
Biocontest2014 happytime
Biocontest2014 happytimeBiocontest2014 happytime
Biocontest2014 happytime
 
M6 143 60_8
M6 143 60_8M6 143 60_8
M6 143 60_8
 
ชื่อเรื่อ..
ชื่อเรื่อ..ชื่อเรื่อ..
ชื่อเรื่อ..
 
Sweet
SweetSweet
Sweet
 
Minibook pdf 931 number 5,6,15,32
Minibook pdf 931 number 5,6,15,32Minibook pdf 931 number 5,6,15,32
Minibook pdf 931 number 5,6,15,32
 
Ixora group 5/334
Ixora group 5/334Ixora group 5/334
Ixora group 5/334
 
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียง
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียงCourse syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียง
Course syllabus ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 บูรณาการภาษาอังกฤษและเศรษฐกิจพอเพียง
 

More from Wichai Likitponrak

Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
Wichai Likitponrak
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
Wichai Likitponrak
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
Wichai Likitponrak
 

More from Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

Plant hor 2_77_60

  • 1. 4 งานนาเสนอโครงงานการทดลอง เรื่อง ฮอร์โมนไซโตไคนินต่อความสูงของต้นมะลิลา นาเสนอ นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ. 1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สมาชิกกลุ่มนาเสนอ 1. นส.จัสมิน ซอหิรัญ เลขที่ 1………… 2. นส.พรรษมนต์ ศรีวิไลเจริญ เลขที่ 11 3. นส.สลิลธาร เอ่งฉ้วน เลขที่ 19……… 4. นายจิรัฏฐ์ งามสกุลรุ่งโรจน์ เลขที่ 24 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 77 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ งานนาเสนอข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
  • 2. 5 ชื่อโครงงาน ฮอร์โมนไซโตไคนินต่อความสูงของต้นมะลิลา ผู้จัดทา 1. นส.จัสมิน ซอหิรัญ เลขที่ 1 2. นส.พรรษมนต์ศรีวิไลเจริญ เลขที่ 11 3. นส.สลิลธาร เอ่งฉ้วน เลขที่ 19 4. นายจิรัฏฐ์ งามสกุลรุ่งโรจน์ เลขที่ 24 บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ฮอร์โมนไซโตไคนินต่อความสูงของต้นมะลิลา จัดทาขึ้น เพื่อประกอบการศึกษาเรียนรู้และทดลองว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินมีผลอย่างไรต่อความสูงของ ต้นมะลิลา โดยในการทดลองครั้งนี้ ได้นาต้นมะลิลามาเป็นพืชที่ใช้ประกอบการทดลอง ซึ่งต้นมะลิลา หรือ มะลิซ้อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac) เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 15-25 ซม. ใบออกตรงข้าม รูปไข่กว้าง 3.5 - 4.5 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายแหลม โคนมน ก้านใบสั้น มี 3 ใบใน 1 ข้อ ดอกสีขาว กลิ่นหอมแรง ออกดอก เดี่ยวหรือออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ใช้ทาเป็นน้าลอยมะลิ ใช้ทาเป็นขนมไทย ใช้ประดับตกแต่งในโอกาสต่าง ๆ และนิยมใช้กราบแม่ในโอกาสวันแม่แห่งชาติ จากการทดลองสรุปได้ว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินส่งผลต่อความสูงของต้นมะลิลา ดังนี้ 1. ความเข้มข้นองฮอร์โมนไซโตไคนินมีผลต่อการเจริญเติบโตและความสูงของต้นมะลิลา 2. โดยที่ความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินที่มากกว่าจะทาให้ต้นมะลิลาเจริญเติบโตและสูงกว่า ต้นที่ได้รับความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินน้อยกว่า 3. ทั้งนี้ จากการทดลองพบว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนิน 2-4%ไม่เป็นอันตรายต่อต้นมะลิลา คือ ไม่ทาให้ต้นมะลิลาตาย สรุปได้ว่า ความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโทโคนินที่มากกว่าส่งผลให้ต้นมะลิลาสูงกว่าต้นที่ได้รับ ฮอร์โมนไซโตไคนินในความเข้มข้นน้อยกว่า ก
  • 3. 6 กิตติกรรมประกาศ การทาโครงงานทดลองวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ฮอร์โมนไซโตไคนินต่อความสูงของต้นมะลิลา ในครั้งนี้ ได้รับความรู้ การอบรม สั่งสอน และได้รับคาแนะนาติดตามผลการทดลองอย่างดียิ่ง จากคุณครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ทาให้การทาโครงงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประสบความสาเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ทุกประการ ซึ่งเพื่อนสมาชิกในกลุ่มทุกคนได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ รวมถึงผู้ปกครองที่ได้ให้ การสนับสนุน และให้กาลังใจในการทาโครงงานจนสาเร็จ คณะผู้จัดทาโครงงานจึงขอขอบพระคุณคุณครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทาโครงงาน 31 กรกฏาคม 2560 ข
  • 4. 7 สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข บทที่ 1 บทนา - ที่มาและความสาคัญของโครงงาน 1 - วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1 - สมมติฐาน 1 - ขอบเขตการศึกษา 1 - ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 1 บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง - ต้นมะลิลา 2 - ไซโตไคนิน 3 - บทคัดย่อโครงงานเรื่อง ผลไซโตไคนินต่อการเพิ่มจาานวนยอด- 6 ของ Zingiber mekongense Gagnep. ในหลอดทดลอง บทที่ 3 วิธีการศึกษาค้นคว้า - วัสดุอุปกรณ์ 7 - วิธีการศึกษาค้นคว้า 7 - วิธีการทดลอง 8 บทที่ 4 ผลการทดลอง - ผลการทดลองความสูงของต้นมะลิลา 9 บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายผลการทดลอง - วัตถุประสงค์ 13 - สรุปผลการดาเนินงาน/การทดลอง/การทาโครงงาน 13 - ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน 13 บรรณานุกรม 15 ภาคผนวก 16
  • 5. 1 บทที่ 1 บทนา ที่มาและความสาคัญ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ ต้นมะลิลาเป็นที่ต้องการของตลาดและเกษตรกร เป็นที่นิยมแพร่หลาย โดยเฉพาะไม้ประดับ การดูแลให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ต้นโตไวและดอกมีคุณภาพดีแข็งแรง จึงเป็นสิ่งที่สาคัญ จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า ฮอร์โมนที่สาคัญในการเจริญเติบโตของพืชอย่างหนึ่งคือไซโตไคนิน ซึ่งสามารถ ทาให้พืชเจริญเติบโตได้ไวขึ้น สังเกตได้จากความสูงของลาต้นที่เพิ่มขึ้น ขนาดใบของพืชที่ใหญ่ขึ้น และ ปริมาณดอกที่เพิ่มขึ้น ทางกลุ่มของพวกเราจึงได้เลือกศึกษาโดยใช้ฮอร์โมนไซโตไคนินในการทดลองกับต้นมะลิลาซึ่งเป็น พืชเศรษฐกิจที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เป็นต้นไม้ที่เหมาะกับสภาพอากาศของเมืองไทย เติบโตได้ง่าย และต้นมี ขนาดเล็กเหมาะสมกับการทดลอง โดยใช้ฮอร์โมนไซโตไคนินในปริมาณที่แตกต่างกันแล้วบันทึกผล เปรียบเทียบความสูงของต้นมะลิลา และบันทึกผลจากความสูงของลาต้น เพื่อนาผลการทดลองไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินที่แตกต่างกันมีผลต่อความสูงของต้นมะลิลา หรือไม่ โดยศึกษาสังเกตและเปรียบเทียบความสูงของต้นมะลิลา สมมติฐาน ความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนินมีผลต่อความสูงของต้นมะลิลา ขอบเขตการศึกษา ระยะเวลาที่ทาการทดลอง ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2560 ถึงมิถุนายน 2560 สถานที่ทาการทดลอง อาคารศิลปศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ตัวแปรต้น ความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโตไคนิน ตัวแปรตาม ความสูงของต้นมะลิลา ตัวแปรควบคุม -ปริมาณของน้า - ภาชนะที่ใช้ปลูกต้นมะลิลา -ระยะเวลา -สภาพแวดล้อม
  • 6. 2 บทที่ 2 เอกสารความรู้และโครงงานที่เกี่ยวข้อง ในการทาโครงงานเรื่อง การทดลองผลของไซโตไคนิน ที่มีต่อความสูงของต้นมะลิลา ครั้งนี้ผู้จัดทา ได้ศึกษา สารวจเอกสาร ความรู้ และโครงงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนามาประกอบการทาโครงงาน ตามลาดับต่อไปนี้ 1. ต้นไม้ที่ใช้ในการทดลอง คือ ต้นมะลิลา 2. สารเคมีที่ใช้คือ สารไซโตไคนิน 3. บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง ผลของไซโตไคนินต่อการเพิ่มจานวนยอดของ Zingiber mekongense Gagnep. ในหลอดทดลอง (Effect of cytokinins on in vitro shoot multiplication of Zingiber mekongense Gagnep.) 1. ต้นไม้ที่ใช้ในการทดลอง คือ ต้นมะลิลา ภาพที่ 1 ต้นมะลิลา สืบค้นจาก https://www.google.co.th เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2560 ต้นมะลิลา มีชื่อวิทยาศาสตร์คือJasminumsambac (L.) Aitonมีชื่อสามัญคือ Arabian Jasmine, Jusmine ,Kampopot มีชื่อตามท้องถิ่นดังนี้ มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), ข้าวแตก (ฉาน-แม่อ่องสอน), เตียมุน (ละว้า-เชียงใหม่), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่)มะลิซ้อน เป็น ต้นไม้ในวงศ์OLEACEAEต้นมะลิลามีถิ่นกาเนิดจากประเทศอินเดีย เป็นไม้กลางแจ้งชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตดีในที่ดินร่วนซุย ต้นมีลักษณะเป็นพุ่ม สูงประมาณ 1.50 เมตร แต่จัดเป็นไม้เลื้อย เพราะมีกิ่ง
  • 7. 3 กึ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่ ที่อาจจะยืดตัวพันกับสิ่งอื่นได้กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่มีขน ใบเรียงตรงข้าม ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยใบเดียว รูปไข่ รีหรือรีขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม. โคนใบมน หรือสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมัน ด้านท้องใบเห็นเส้นใบชัดเจน เส้นใบขนาดใหญ่ มี 4-6 คู่ ก้านใบสั้นมากและมีขน สามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี แต่จะออกดอกมากในช่วงฤดูร้อนและ ฤดูฝน ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม มักจะเริ่มขยายกลีบและส่งกลิ่นหอมในช่วงเวลาเย็นจนถึงวันรุ่งขึ้น ดอกบานเต็มที่ประมาณ 2 ซม. การขยายพันธุ์มะลิลา ใช้วิธีตอนกิ่ง ปักชา หรือทับกิ่งประโยชน์ของมะลิลามีหลายประการ คือ ดอกสดหรือ ดอกแห้งใบต้มกินแก้โรคบิดปวดท้อง ดอกสดตาพอกแก้ปวดศีรษะผิวหนังผื่นคันดอกใช้ทาพวงมาลัย ทาน้าหอมและบูชาพระดอกแห้งใช้เป็นยาแต่งกลิ่นดอกมะลาลินี้ใช้เป็นดอกไม้ของวันแม่แห่งชาติ 2. สารเคมีที่ใช้ คือ ไซโตไคนิน ไซโตไคนิน ภาพที่ 2 ไซโตไคนิน สืบค้นจาก https://www.google.co.th เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2560 ไซโตไคนิน (Cytokinin) การค้นพบฮอร์โมนในกลุ่มนี้เริ่มจากการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยในปี ค.ศ.1920 Haberlandt ได้แสดงให้เห็นว่ามีสารชนิดหนึ่งเกิดอยู่ในเนื้อเยื่อพืชและกระตุ้นให้เนื้อเยื่อพาเรนไคมา ในหัวมันฝรั่งกลับกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้ ซึ่งแสดงว่าสารชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์ ต่อมามี การพบว่าน้ามะพร้าวและเนื้อเยื่อของหัวแครอทมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์เช่นกัน นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเช่น Skoog และ Steward ทาการทดลองในสหรัฐอเมริกา โดยศึกษาความต้องการ สิ่งที่ใช้ในการเจริญเติบโตของกลุ่มก้อนของเซลล์ (Callus) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ไม่มีการ
  • 8. 4 เปลี่ยนแปลงทางคุณภาพเกิดขึ้นของ pith จากยาสูบและรากของแครอท จากผลการทดลองนี้ทาให้รู้จักไซโต ไคนินในระยะปี ค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชที่จาเป็นต่อการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ ของเนื้อเยื่อในปัจจุบันพบว่าไซโตไคนิน ยังเกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพ (Senescence) และ การควบคุมการ เจริญของตาข้างโดยตายอด (Apical Dominance) การสังเคราะห์ไซโตไคนินในต้นพืชเกิดโดยการ substitution ของ side chain บนคาร์บอนอะตอม ที่ 6 ของอะดีนีน ซึ่ง sidechain ของไซโตไคนินในสภาพธรรมชาติประกอบด้วยคาร์บอน 5 อะตอม จึงเป็นการ ชี้ให้เห็นว่าเกิดมาจากวิถีการสังเคราะห์ ไอโซพรีนอยด์ (Isoprenoid) ต่อมาพบว่า กลุ่มของไซโตไค นิน เกิดขึ้นบน t-RNA ได้และเมื่อใช้เมวาโลเนต (Mavalonate หรือ MVA) ที่มีสารกัมมันตรังสีจะสามารถไป รวมกับกลุ่ม อะดีนีนของ t-RNA เกิดเป็นไดเมทธิลอัลลิล (Dimethylallyl side chain) เกาะด้านข้างในเชื้อ รา Rhizopus นั้น Dimethylallyl adenine สามารถเปลี่ยนไปเป็น Zeatin ได้ จึงคาดกันว่า Zeatin อาจจะเกิดจาก การออกซิไดซ์ Dimethylallyl adenine การเกิดกลุ่มของไซโตไคนินใน t-RNA นี้หมายความว่าไซโตไคนิน อาจจะเกิดขึ้นมาจากการสลายตัว ของ t-RNA ซึ่งความเป็นจริงก็พบเหตุการณ์ดังกล่าวบ้าง อย่างไรก็ตามยังมีข้อสงสัยอีกมากที่เกี่ยวข้องกับ การเกิดไซโตไคนินจาก t-RNA อาจจะมีวิถีเฉพาะที่ก่อให้เกิดการสังเคราะห์ไซโตไคนินซึ่งเป็นวิถีที่แยกอย่าง เด็ดขาดจากการเกิดไซโตไคนินโดยการสลายตัวของ t-RNA ไซโตไคนินพบมากในผลอ่อนและเมล็ด ในใบอ่อนและปลายรากซึ่งไซโตไคนิน อาจจะสังเคราะห์ ที่บริเวณดังกล่าวหรืออาจจะเคลื่อนย้ายมาจากส่วนอื่นๆ ในรากนั้นมีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าไซโตไคนิน สังเคราะห์ที่บริเวณนี้ได้เพราะเมื่อมีการตัดรากหรือลาต้น พบว่าของเหลวที่ไหลออกมาจากท่อน้าจะปรากฏไซ โตไคนินจากส่วนล่างขึ้นมา หลักฐานที่แสดงว่าสังเคราะห์ที่ส่วนอื่นยังไม่พบและการเคลื่อนย้ายของไซโตไค นินจากส่วนอ่อน เช่น ใบ เมล็ด ผล ยังเกิดไม่ดีและไม่มาก ไซโตไคนินมีบทบาทสาคัญคือควบคุมการแบ่งเซลล์ และไซโตไคนินที่เกิดในสภาพธรรมชาตินั้น เป็นอนุพันธ์ของอะดีนีนทั้งสิ้น ดังนั้นงานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการทางานจึงมีแนวโน้มในความสัมพันธ์กับกรด นิวคลีอิค กลไกการทางานของไซโตไคนินยังไม่เด่นชัดเหมือนกับออกซิน และจิบเบอเรลลิน แต่ไซโตไคนิน มีผลให้เกิดการสังเคราะห์ RNA และโปรตีนมากขึ้นในเซลล์พืช ผลการทดลองบางรายงานกล่าวว่า หลังจาก ให้ไซโตไคนินกับเซลล์พืชแล้วจะเพิ่มปริมาณของ m-RNA, t-RNA และ r-RNA จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทาให้พอสรุปได้ว่าไซโตไคนินอาจจะทางาน โดยควบคุม กิจกรรมของเอนไซม์โดยตรงมากกว่าที่จะเกี่ยวกับการสังเคราะห์เอนไซม์ ไซโตไคนินมีอิทธิพล ต่อเอนไซม์หลายชนิด เช่น ไคเนส (Kinases) ที่ใช้ในกระบวนการหายใจ นอกจากนั้นกิจกรรมของเอนไซม์ที่ ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงก็เพิ่มขึ้น
  • 9. 5 ผลของไซโตไคนิน 1. กระตุ้นให้เกิดการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพใน tissue culture โดยต้องใช้ ร่วมกับ Auxin ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนั้นหากให้ฮอร์โมน ไซโตไคนินมากกว่าออกซิน จะทาให้เนื้อเยื่อนั้น เจริญเป็น ตา ใบ และลาต้น แต่ถ้าหากสัดส่วนของออกซินมากขึ้นกว่าไซโตไคนินจะทาให้เนื้อเยื่อนั้นสร้าง รากขึ้นมา การ differentiate ของตาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจาก Callus จากส่วนของลาต้นนั้น auxin จะระงับ และไซโตไคนินนั้นจะกระตุ้นการเกิด และต้องมีความสมดุลระหว่างไซโตไคนินและออกซินชิ้น เนื้อเยื่อจึงจะสร้างตาได้ 2. ชะลอกระบวนการเสื่อมสลาย เช่น กรณีของใบที่เจริญเต็มที่แล้วถูกตัดออกจาก ต้น คลอโรฟิลล์ RNA และโปรตีนจะเริ่มสลายตัวเร็วกว่าใบที่ติดอยู่กับต้น แม้จะมีการให้อาหารกับ ใบเหล่านี้ก็ตาม ถ้าหากเก็บใบเหล่านี้ไว้ในที่มืดการเสื่อมสลายยิ่งเกิดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามหากใบเหล่านี้เกิด รากขึ้นที่โคนใบหรือก้านใบ จะทาให้การเสื่อมสลายเกิดช้าลง เพราะไซโตไคนินผ่านขึ้นมาจากราก ทางท่อน้า อย่างไรก็ตามการให้ไซโตไคนินกับใบพืชเหล่านี้จะชะลอการเสื่อมสลายได้เหมือนกับราก เช่นกัน นอกจากนั้นไซโตไคนินยังทาให้มีการเคลื่อนย้ายอาหารจากส่วนอื่นมายังส่วนที่ได้รับไซโตไคนินได้ เช่น กรณีของใบอ่อนซึ่งมีไซโตไคนินมากกว่าใบแก่จะสามารถดึงอาหารจากใบแก่ได้ในกรณีเชื้อราที่ทาให้ เกิดโรคราสนิม ซึ่งทาให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อแล้วบริเวณเนื้อเยื่อที่ตายจะเกิดสีเขียวล้อมรอบขึ้นมาซึ่ง บริเวณสีเขียวนี้มีแป้งสะสมมากแม้กระทั่งส่วนอื่นๆ ของใบตายไปแล้ว ส่วนสีเขียวอาจจะยังคงอยู่ ลักษณะนี้ เรียกว่าGreen Island ซึ่งบริเวณนี้จะมี ไซโตไคนินสูง คาดว่าเชื้อราสร้างขึ้นมาเพื่อดึงอาหารมาจากส่วนอื่น 3. ทาให้ตาข้างแตกออกมาหรือกาจัดลักษณะ Apical Dominanceได้การเพิ่มไซโตไคนินให้กับตาข้าง จะทาให้แตกออกมาเป็นใบได้ ทั้งนี้เพราะตาข้างจะดึงอาหารมาจากส่วนอื่นทาให้ตาข้างเจริญได้ เชื้อจุลินทรีย์ บางชนิดสามารถสร้างไซโตไคนินกระตุ้นให้พืชเกิดการแตกตาจานวนมากมีลักษณะผิดปกติ เช่น โรค Fascination นอกจากนั้นยังเร่งการแตกหน่อของพืช เช่น บอน และโกสน 4. ทาให้ใบเลี้ยงคลี่ขยายตัว กรณีเมล็ดของพืชใบเลี้ยงคู่งอกในความมืด ใบเลี้ยงจะเหลืองและ เล็ก เมื่อได้รับแสงจึงจะขยายตัวขึ้นมา ซึ่งเป็นการควบคุมของไฟโตโครม แต่ถ้าหากให้ไซโตโคนินโดยการ ตัดใบเลี้ยงมาแช่ในไซโตไคนิน ใบเลี้ยงจะคลี่ขยายได้เช่นกัน ลักษณะดังกล่าวพบกับแรดิช ผักสลัดและ แตงกวา ออกซินและจิบเบอเรลลินจะไม่ให้ผลดังกล่าว 5. ทาให้เกิดการสร้างคลอโรพลาสต์มากขึ้นซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพอย่างหนึ่ง เช่น เมื่อCallus ได้รับแสงและไซโตไคนิน Callus จะกลายเป็นสีเขียว เพราะพลาสติคเปลี่ยนเป็นคลอโรพลาสต์ได้ โดยการเกิดกรานาจะถูกกระตุ้นโดยไซโตไคนิน 6. ทาให้พืชทั้งต้นเจริญเติบโต 7. กระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด
  • 10. 6 3. บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง ผลของไซโตไคนินต่อการเพิ่มจานวนยอดของ Zingiber mekongense Gagnep. ในหลอดทดลอง (Effect of cytokinins on in vitro shoot multiplication of Zingiber mekongense Gagnep.) ดาเนินการโดย พันธิตรา กมล ปวีร์รฐา วรดิลกพิพัฒน์ คงศักดิ์ พร้อมเทพ และ ปรียานันท์ แสน โภชน์ สรุปผลได้ว่า จากการนาต้นอ่อนของ Zingiber mekongense Gagnep. ที่พัฒนามาจากการเลี้ยงเอมบริโอ ในสภาพปลอดเชื้อ มาเลี้ยงบนอาหารสูตร Murashige and Skoog MS (1962) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต ในกลุ่มของไซโตไคนิน ได้แก่ BA, Kinetin (Kn) และ TDZ ที่แปรผันความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 2.0 mg/l เป็น เวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสูตรอาหารที่ให้จานวนต้นและจานวนรากได้มากที่สุดคือ อาหารสูตร MS (1962) ที่ เติม Kn ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักน าให้เกิดจ านวนต้น 2 ยอดต่อชิ้นส่วนและ 10.62 ราก ต่อชิ้นส่วน ตามลาดับ
  • 11. 7 บทที่ 3 วิธีการศึกษาค้นคว้า สถานที่และระยะเวลา ในการทาโครงงานเรื่อง การทดลองผลของไซโตไคนิน ที่มีต่อความสูงของต้นมะลิลา ครั้งนี้ ได้ทา การทดลองที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เลขที่ 227 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 15 กรกฏาคม 2560 วัสดุอุปกรณ์ 1. ต้นมะลิลา 5. ขวดฉีดฮอร์โมน 2. ไซโตไคนิน 6. น้าเปล่าบริสุทธิ์ 3. กระถางต้นไม้ 4. ที่รดน้าต้นไม้ วิธีการศึกษาค้นคว้าและเก็บข้อมูล 1. ศึกษาเอกสาร ความรู้ และโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการทดลองใช้ไซโตไคนินเพื่อกระตุ้น การเจริญเติบโตของต้นมะลิลา 2. ดาเนินการทดลอง 3. มีการเก็บข้อมูลโดยการวัดความสูงของต้นจาก บริเวณขีดที่ 4 ของกระถางต้นไม้ถึงบริเวณยอดกิ่งหลักเพื่อ วัดความสูง 4. บันทึกผลการทดลอง
  • 12. 8 วิธีการทดลอง 1. นาต้นมะลิลาจานวน 9 ต้น มาปลูกใส่กระถางที่เหมือนกัน แยกออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ต้น ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 กลุ่มฮอร์โมนความเข้มข้นต่า กลุ่มที่ 3 กลุ่มฮอร์โมนความเข้มข้นสูง 2. สังเกตและบันทึกผล ความสูงของต้นมะลิลาก่อนการทดลองของทั้ง 9 ต้น 3. นาฮอร์โมนไซโตไคนินเข้มข้นมาเจอจางในปริมาณ 2 cc ต่อน้าบริสุทธิ์ 1000 cc ซึ่งจะทาให้ได้ ฮอร์โมนไซโคไตนินที่มีความเข้มข้น0.2%โดยปริมาตรและนาฮอร์โมนไซโคไตนิน เข้มข้นมาเจอจางในปริมาณ4ccต่อน้าบริสุทธิ์ 1000ccซึ่งจะทาให้ได้ฮอร์โมนไซโคไตนิน ที่มีความเข้มข้น 0.4 % โดยปริมาตร 4. รดน้าต้นไม้และให้แสงแดดอย่างสม่าเสมอกับต้นไม้ทั้ง 3 กลุ่ม โดยฉีดฮอร์โมนไซโคไตนิน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุมไม่ฉีดใส่ฮอร์โมนไซโตไคนิน กลุ่มที่ 2 มีการฉีดใส่ฮอร์โมนไซโตไคนินที่มีความเข้มข้น 0.2 % โดยปริมาตร กลุ่มที่ 3 มีการฉีดใส่ฮอร์โมนไซโตไคนินที่มีความเข้มข้น 0.4 % โดยปริมาตร 5. สังเกตและบันทึกผลการทดลอง
  • 13. 9 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการทดลอง ในการทาโครงงานเรื่อง การทดลองผลของไซโตไคนิน ที่มีต่อความสูงของต้นมะลิลา ครั้ง นี้ ปรากฏผลจากการทดลอง ดังนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการทดลอง จากการทดลองพบว่า 1. ต้นมะลิลาที่ได้รับฮอร์โมนไซโตไคนิน Cytokinin ทั้ง 6 ต้น (ความ เข้มข้น 0.4% 3 ต้น และ ความเข้มข้น 0.2% 3 ต้น )มีความสูงของต้นที่สั้นกว่าต้นที่ไม่ได้รับฮอร์โมนทั้ง 3 ต้น 3. ต้นมะลิลาที่ได้รับฮอร์โมนไซโตไคนิน Cytokinin ความเข้มข้น 0.4% ( High-Dose ) และต้นมะลิลาที่ได้รับฮอร์โมนไซโตไคนิน Cytokinin ความเข้มข้น 0.2% ( Low-Dose) มีความสูงที่แตกต่าง กัน โดย ต้นมะลิลาที่ได้รับฮอร์โมนไซโตไคนิน Cytokinin ความเข้มข้น 0.4% นั้นมีความสูงน้อยกว่า ต้นมะลิ ลาที่ได้รับฮอร์โมนไซโตไคนิน Cytokinin เข้มข้น0. 2%
  • 14. 10 ครั้งที่ วันที่ทา การวัด ความ สูง ความสูงของต้นมะลิลา (cm.) ชุดควบคุม ชุดทดลอง 0% 0.2% < High Dose > 0.4% < Low Dose> 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2/6/60 46.6 34.6 36.5 34.9 31.9 35.9 38.1 37.8 37.2 2 9/6/60 47.0 35.2 37.0 35.2 32.3 36.3 38.3 37.8 37.4 3 16/6/60 47.7 35.7 37.6 35.7 32.7 36.7 38.5 37.9 37.6 4 23/6/60 48.4 36.2 38.1 36.1 33.0 37.0 38.6 38.1 37.9 5 30/6/60 49.0 36.8 38.7 36.3 33.1 37.5 38.9 38.3 38.1 6 7/7/60 49.6 37.4 39.3 36.6 33.4 37.8 39.1 38.5 38.3 7 14/7/60 50.3 38.0 39.9 36.9 33.7 38.2 39.1 38.6 38.5 8 21/7/60 51.0 38.7 40.6 37.2 34.0 38.6 39.1 38.7 38.7
  • 15. 11 ครั้ง ที่ วันที่ทา การวัด ความ สูง การเปลี่ยนแปลงความสูงของต้นมะลิลา (cm.) ชุดควบคุม ชุดทดลอง 0% 0.2% < High Dose > 0.4% < Low Dose> 1 2 3 ค่าเฉลี่ย 1 2 3 ค่าเฉลี่ย 1 2 3 ค่าเฉลี่ย 1 2/6/60 0.60 0.60 0.50 0.57 0.40 0.40 0.30 0.37 0.10 0.10 0.20 0.13 2 9/6/60 0.40 0.60 0.50 0.50 0.30 0.40 0.40 0.37 0.20 0.00 0.20 0.13 3 16/6/60 0.70 0.50 0.60 0.60 0.50 0.40 0.40 0.43 0.20 0.10 0.20 0.16 4 23/6/60 0.70 0.50 0.50 0.57 0.40 0.30 0.30 0.33 0.10 0.20 0.30 0.20 5 30/6/60 0.60 0.60 0.60 0.60 0.20 0.10 0.50 0.26 0.30 0.20 0.20 0.23 6 7/7/60 0.60 0.60 0.60 0.63 0.30 0.30 0.30 0.30 0.20 0.20 0.20 0.20 7 14/7/60 0.70 0.60 0.60 0.70 0.30 0.30 0.40 0.33 0.00 0.10 0.20 0.10 8 21/7/60 0.70 0.70 0.70 0.70 0.30 0.30 0.40 0.33 0.00 0.10 0.20 0.10
  • 16. 12 กราฟค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงความสูงของต้นมะลิลา 0 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5 0.6 0.7 0.8 ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 ครั้งที่ 6 ครั้งที่ 7 ครั้งที่ 8 แผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงความสูงของต้นมะลิลาในการวัด 8 ครั้ง ชุดควบคุม ชุด low dose ชุด high dose 0 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5 0.6 0.7 0.8 ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 ครั้งที่ 6 ครั้งที่ 7 ครั้งที่ 8 แผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงความสูงของต้นมะลิลาในการวัด 8 ครั้ง ชุดควบคุม ชุด low dose ชุด high dose
  • 17. 13 บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของฮอร์โมน Cytokinin และความเข้มข้นของฮอร์โมนที่มีต่อต้นมะลิลา วัสดุอุปกรณ์สารเคมีที่ใช้ในการทดลอง 1. ต้นมะลิลาพร้อมกระถางและดิน 9 ต้น 2. ฮอร์โมน Cytokinin 1 ขวด 3. ที่พ่นแบบเป็นละออง 2 กระบอก 4. ขวดน้า 500 มม. 2 ขวด 5. ที่พรวนดิน 1. อัน 6. Cylinder 1 กระบอก สรุปผลการดาเนินงาน/การทดลอง/การทาโครงงาน 5.1 จากการทดลองสรุปได้ว่าฮอร์โมน Cytokinin ส่งผลต่อความสูงของต้น โดยที่ ส่งผลยับยั้งการ เจริญปลายยอด 5.2 จากการทดลองสรุปได้ว่าปริมาณของฮอร์โมน Cytokinin มีผลต่อการเจริญโดยที่ ความเข้มข้น มากจะมีผลให้มีความสูงน้อยกว่าความเข้มข้นน้อย 5.3 จากการทดลองสรุปได้ว่าความเข้มข้นของฮอร์โมน Cytokinin ปริมาณ 0.2- 0.4 % ไม่เป็น อันตรายต่อต้นมะลิลาหรือทาให้ต้นมะลิลาตาย
  • 18. 14 อภิปรายผลการทดลอง 1. เนื่องจากการทดลองนี้ได้ทาขึ้นในฤดูฝน ทาให้ความข้นข้นของฮอร์โมนไม่ตรงตามที่ กาหนดไว้เนื่องจากการเจือจางของน้าฝน 2. เนื่องจากปริมาณแร่ธาตุบางส่วนถูกชะล้างไปกับน้าและปริมาณที่แสงแดดน้อย เนื่องจากมีระเบียงยืนออกมาบัง จึงทาให้ต้นมะลิลาจานวน 2 ต้น ( high dose และ low doseอย่างละต้น ) มีอาการใบเหลือง และ อีกจานวน 2 ต้น (0% ทั้งสองต้น ) มี อาการใบหงิก
  • 19. 15 บรรณนานุกรม 1. ภาพต้นมะลิลาสืบค้นจาก http://panmainaiban.blogspot.com/2011/06/blog-post_11.html เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2560 2. ภาพไซโตไคนิน สืบค้นจากhttp://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY10_hormone.htm#cyto เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2560 3. บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง ผลของไซโตไคนินต่อการเพิ่มจาานวนยอดของ Zingiber mekongense Gagnep. ในหลอดทดลอง (Effect of cytokinins on in vitro shoot multiplication of Zingiber mekongense Gagnep.) สืบค้นจาก https://www.google.co.th เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2560
  • 21. 17 ภาพ คุณครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ กาลังติดตามผล และให้คาแนะนาในการทาโครงงานแก่นักเรียนฯ