SlideShare a Scribd company logo
1
ฆตปัณฑิตชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๖. ฆตปัณฑิตชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๕๔)
ว่าด้วยฆตบัณฑิต
(โรหิเณยยอามาตย์สนทนากับพระเจ้าวาสุเทพว่า)
[๑๖๕] ขอเดชะพระเจ้ากัณหะ โปรดเสด็จลุกขึ้นเถิด
ทรงบรรทมอยู่ทาไม พระองค์มัวทรงพระสุบินจะมีประโยชน์อะไร
พระเจ้าน้องยาเธอผู้เป็นดังดวงพระหฤทัย
และนัยน์เนตรเบื้องขวาของพระองค์มีลมกาเริบ ข้าแต่พระเจ้าเกสวะ
พระเจ้าฆตบัณฑิตพร่าเพ้ออยู่
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๑๖๖] พระเจ้าเกสวะครั้นได้ทรงสดับวาจาของโรหิเณยยอามาตย์นั้น
รีบเสด็จลุกขึ้น ทรงกระวนกระวาย เพราะความโศกถึงพระเจ้าน้องยาเธอ
(พระราชาตรัสกับฆตบัณฑิตว่า)
[๑๖๗] เจ้าบ่นเพ้อว่า กระต่าย กระต่าย
ไปทั่วพระนครทวาราวดีนี้เหมือนคนบ้าเพราะเหตุไร ใครลักกระต่ายของเจ้าไป
(พระราชาได้ตรัสอีกว่า)
[๑๖๘] จะเป็นกระต่ายที่ทาด้วยทองคา ด้วยแก้วมณี ด้วยโลหะ
หรือจะเป็นกระต่ายที่ทาด้วยเงิน ด้วยสังข์ ด้วยศิลา ด้วยแก้วประพาฬก็ตามที
พี่จะให้เขาทามอบให้เจ้าทุกอย่าง
[๑๖๙] แม้กระต่ายอื่นๆ ที่มีอยู่ในป่า หากินอยู่ในป่า
พี่จะนากระต่ายแม้เหล่านั้นมาให้เจ้า กระต่ายชนิดไหนเล่าที่เจ้าปรารถนา
(ฆตบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๑๗๐] กระต่ายทั้งหลายบรรดาที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน
หม่อมฉันไม่ต้องการ หม่อมฉันต้องการกระต่ายจากดวงจันทร์
ขอเดชะพระเจ้าเกสวะ ขอพระองค์จงนากระต่ายนั้นลงมา ประทานแก่หม่อมฉัน
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๗๑] น้องเอ๋ย เจ้าปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา
มาต้องการกระต่ายจากดวงจันทร์ จักต้องละทิ้งชีวิตอันเป็นที่รักไปอย่างแน่นอน
(ฆตบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๑๗๒] ขอเดชะพระเจ้ากัณหะ พระเจ้าพี่ก็ทรงทราบ
อย่างที่ทรงสอนคนอื่นเขา แต่ทาไม พระโอรสที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนแล้ว
พระเจ้าพี่จึงยังทรงเศร้าโศกถึงจนทุกวันนี้เล่า
(ฆตบัณฑิตได้กราบทูลต่อไปอีกว่า)
2
[๑๗๓] ฐานะอันใดที่มนุษย์หรืออมนุษย์ไม่ควรได้ คือ
ลูกของเราที่เกิดมาแล้วขออย่าได้ตายเลย ฐานะอันเป็นสิ่งที่หาไม่ได้
จะได้มาจากไหนเล่า
[๑๗๔] ขอเดชะพระเจ้ากัณหะ จะใช้เวทมนต์ เภสัชรากไม้ โอสถต่างๆ
หรือพระราชทรัพย์ ก็ไม่สามารถจะพาพระราชโอรสที่ล่วงลับไปแล้ว
ที่พระองค์ทรงเศร้าโศกถึงอยู่กลับคืนมาได้
(พระราชาทรงสรรเสริญฆตบัณฑิตว่า)
[๑๗๕] พระราชาผู้มีพวกอามาตย์
ที่เป็นคนเฉลียวฉลาดเหมือนฆตบัณฑิต ทาเราให้สร่างเศร้าโศกได้ในวันนี้
จะมีความเศร้าโศกมาจากไหนเล่า
[๑๗๖] เจ้าช่วยระงับพี่ผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมดได้ เหมือนคนใช้น้าราดดับไฟที่ติดเปรียง
[๑๗๗] เจ้าได้บรรเทาความเศร้าโศกของพี่ผู้กาลังเศร้าโศกถึงบุตร
ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความเศร้าโศก ซึ่งเสียบที่หทัยของพี่ขึ้นได้แล้วหนอ
[๑๗๘] พ่อฆตบัณฑิต พี่ซึ่งเจ้าได้ช่วยถอนลูกศร
คือความเศร้าโศกขึ้นได้แล้วเป็ นผู้ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีความขุ่นมัว
จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคาของเจ้า
(พระศาสดาตรัสคาถาสุดท้ายว่า)
[๑๗๙] นรชนทั้งหลายผู้มีปัญญาจะเป็นผู้อนุเคราะห์
ย่อมกระทาให้ผู้อื่นปราศจากความเศร้าโศก
เหมือนฆตบัณฑิตทาให้เชฏฐภาดาปราศจากความเศร้าโศก
ฆตปัณฑิตชาดกที่ ๑๖ จบ
-------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
ฆตปัณฑิตชาดก
ว่าด้วย ความดับความโศก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
ทรงปรารภกุฎุมพีลูกตาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
เนื้อเรื่องเหมือนกับ เรื่องมัฏฐกุณฑลี นั่นแหละ
ส่วนในชาดกนี้มีความย่อดังต่อไปนี้ :-
พระศาสดาเสด็จเข้าไปหาอุบาสกนั้นแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนอุบาสก
ท่านเศร้าโศกถึงลูกตายหรือ? เมื่ออุบาสกกราบทูลว่า ถูกแล้วพระเจ้าข้า
พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก โบราณกบัณฑิตฟังถ้อยคาของบัณฑิตแล้ว
ไม่เศร้าโศกถึงลูกที่ตายไปแล้ว ผู้อันอุบาสกนั้นกราบทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว
จึงทรงนาเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
3
ในอดีตกาล
พระราชาทรงพระนามว่ามหาวังสะ ครองราชสมบัติอยู่ในอสิตัญชนคร
แคว้นกังสโคตรใกล้อุตราปถประเทศ พระองค์มีพระราชโอรส ๒ พระองค์
องค์หนึ่งพระนามว่ากังสะ องค์หนึ่งพระนามว่าอุปกังสะ มีพระราชธิดาองค์หนึ่งพ
ระนามว่าเทวคัพภา
ในวันที่พระราชธิดานั้นประสูติ พราหมณ์ผู้ทายลักษณะพยากรณ์ไว้ว่า
พระโอรสที่เกิดในพระครรภ์ของพระนางเทวคัพภานั้น
จักทากังสโคตรกังสวงศ์ให้พินาศ พระราชาไม่อาจให้สาเร็จโทษพระราชธิดาได้
เพราะทรงสิเนหามาก แม้พระเชษฐาทั้งสองก็ทรงทราบเหมือนกัน
พระราชาดารงราชสมบัติอยู่ตลอดพระชนมายุแล้ว
เสด็จสวรรคตด้วยประการฉะนี้
เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว กังสราชโอรสได้เป็ นพระราชา
อุปกังสราชโอรสได้เป็นอุปราช ทั้งสองพระองค์ทรงพระดาริว่า
ถ้าเราจักให้สาเร็จโทษภคินี เราก็จักถูกครหา เราจักไม่ให้ภคินีนี้แก่ใครๆ
จักเลี้ยงดูโดยไม่ให้มีสามี ดังนี้
ทั้งสองพระองค์จึงให้สร้างปราสาทเสาเดียวให้ราชธิดาอยู่ ณ ปราสาทนั้น
นางทาสีนามว่านันทโคปาได้เป็นปริจาริกาของพระนาง
ทาสนามว่าอันธกเวณฑุ ผู้เป็นสามีของนางนันทโคปาเป็นผู้พิทักษ์รักษาพระนาง.
ครั้งนั้น พระเจ้ามหาสาครราชเสวยราชสมบัติอยู่ในอุตตรปถประเทศ
พระองค์มีพระราชโอรส ๒ พระองค์
องค์หนึ่งพระนามว่าสาคร องค์หนึ่งพระนามว่าอุปสาคร ก็ในบรรดาพระราชโอร
ส ๒ พระองค์นั้น เมื่อพระชนกเสด็จสวรรคต สาครราชโอรสได้เป็นพระราชา
อุปสาครราชโอรสได้เป็นอุปราช อุปสาครอุปราชนั้นเป็นสหายของอุปกังสอุปราช
สาเร็จการศึกษาคราวเดียวกัน ในตระกูลอาจารย์คนเดียวกัน.
อุปสาครอุปราชได้ทามิดีมิงาม
นางสนมกานัลในของพระเจ้าพี่สาครราช
กลัวพระราชอาชญาหนีไปสานักอุปกังสอุปราช ในแคว้นกังสโคตร
อุปกังสอุปราชพาเข้าเฝ้ าพระเจ้ากังสราช
พระเจ้ากังสราชทรงประทานยศใหญ่แก่อุปสาครอุปราช
อุปสาครอุปราชเมื่อไปเฝ้ าพระราชา เห็นปราสาทเสาเดียว
ซึ่งเป็ นที่ประทับของพระนางเทวคัพภา จึงถามว่านี่ที่อยู่ของใคร
ครั้นทราบความนั้นแล้วก็มีจิตปฏิพัทธ์ในพระนางเทวคัพภา.
วันหนึ่ง
พระนางเทวคัพภาทอดพระเนตรเห็นอุปสาครอุปราชไปเฝ้ าพระราชาพร้อมกับอุ
ปกังสอุปราช จึงตรัสถามว่า นั่นใคร ทรงทราบจากนางนันทโคปาว่า
4
โอรสพระเจ้ามหาสาครราชพระนามว่าอุปสาคร
ก็มีจิตปฏิพัทธ์ในอุปสาครอุปราชนั้น อุปสาครอุปราชให้สินบนนางนันทโคปา
แล้วกล่าวว่า น้องหญิง ท่านอาจที่จักพาพระนางเทวคัพภามาให้เราไหม?
นางนันทโคปากล่าวว่า ข้อนั้นไม่ยากดอกนาย
แล้วก็บอกเรื่องนั้นแก่พระนางเทวคัพภา
ตามปกติพระนางก็มีจิตปฏิพัทธ์ในอุปสาครอุปราชอยู่แล้ว
พอได้ฟังดังนั้นก็รับว่า ดีแล้ว
นางนันทโคปาให้สัญญาแก่อุปสาครอุปราชให้ขึ้นปราสาทในเวลาราต
รี อุปสาครอุปราชได้ร่วมสังวาสกับพระนางเทวคัพภา โดยทานองนั้นบ่อยๆ
เข้าพระนางได้ตั้งครรภ์
ต่อมา ข่าวพระนางทรงครรภ์ก็ได้ปรากฏขึ้น
พระเชษฐาทั้งสองจึงถามนางนันทโคปา นางนันทโคปาทูลขออภัยแล้ว
กราบทูลความลับนั้นให้ทรงทราบ พระเชษฐาทั้งสองพระองค์ทรงทราบแล้ว
จึงปรึกษากันว่า เราไม่อาจที่จะสาเร็จโทษน้องหญิงได้ ถ้าเธอคลอดพระธิดา
เราจักไม่สาเร็จโทษ แต่ถ้าเป็นพระโอรส เราจักสาเร็จโทษเสีย
แล้วประทานพระนางเทวคัพภาแก่อุปสาครอุปราช
พระนางเทวคัพภาทรงครรภ์ครบกาหนดแล้วก็ประสูติพระธิดา
พระเชษฐาทั้งสองทรงทราบแล้วดีพระทัย
ตั้งพระนามให้พระธิดานั้นว่า อัญชนเทวี ได้พระราชทานบ้านส่วยชื่อโภควัฒมาน
ะแก่กษัตริย์ทั้งสอง
อุปสาครอุปราชจึงพาพระนางเทวคัพภาไปประทับ ณ
โภควัฒมานคาม พระนางเทวคัพภาก็ทรงครรภ์อีก
แม้นางนันทโคปาก็ตั้งครรภ์ในวันนั้นเหมือนกัน
เมื่อหญิงทั้งสองมีครรภ์ครบกาหนดแล้ว
พระนางเทวคัพภาประสูติพระโอรส
แม้นางนันทโคปาก็คลอดธิดาในวันเดียวกันนั่นเอง
พระนางเทวคัพภากลัวพระโอรสจะพินาศด้วยราชภัย
จึงส่งพระโอรสไปให้นางนันทโคปา
และให้นางนันทโคปานาธิดามาให้เปลี่ยนกันเลี้ยงเงียบ.
อามาตย์ทั้งหลายกราบทูลความที่พระนางเทวคัพภาประสูติแล้ว
ให้พระเชษฐาทั้งสองทรงทราบ พระเชษฐาทั้งสองพระองค์นั้นตรัสถามว่า
ประสูติโอรสหรือธิดา เมื่อได้รับตอบว่า ธิดา จึงรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น
ท่านทั้งหลายจงเลี้ยงไว้เถิด พระนางเทวคัพภาประสูติพระโอรสรวม ๑๐ องค์
นางนันทโคปาก็คลอดลูกหญิงรวม ๑๐ คน ได้เปลี่ยนให้กันเลี้ยงด้วยอุบายนี้
โอรสของพระนางเทวคัพภาเจริญอยู่ในสานักนางนันทโคปา
5
ลูกหญิงของนางนันทโคปาเจริญอยู่ในสานักของพระนางเทวคัพภา ใครๆ
มิได้รู้ความลับเรื่องนั้น.
โอรสองค์ใหญ่ของพระนางเทวคัพภานามว่าวาสุเทพ องค์ที่ ๒
นามว่าพลเทพ องค์ที่ ๓ นามว่าจันทเทพ องค์ที่ ๔ นามว่าสุริยเทพ องค์ที่ ๕
นามว่าอัคคิเทพ องค์ที่ ๖ นามว่าวรุณเทพ องค์ที่ ๗ นามว่าอัชชุนะ องค์ที่ ๘
นามว่าปัชชุนะ องค์ที่ ๙ นามว่าฆตบัณฑิต องค์ที่ ๑๐
นามว่าอังกุระ โอรสเหล่านั้นได้ปรากฏว่าพี่น้อง ๑๐
คนเป็นบุตรของอันธกเวณฑุทาส.
ต่อมา โอรสเหล่านั้นครั้นเจริญวัยแล้วมีกาลังเรี่ยวแรงมาก
เป็นผู้หยาบช้ากล้าแข็ง พากันเที่ยวปล้นประชาชน
แม้คนนาบรรณาการไปถวายพระราชาก็พากันปล้นเอาหมด
ประชาชนประชุมกันร้องทุกข์ที่พระลานหลวงว่า
พี่น้อง ๑๐ คนซึ่งเป็ นบุตรของอันธกเวณฑุทาสปล้นแว่นแคว้น
พระราชารับสั่งให้เรียกตัวอันธกเวณฑุทาสมาตรัสคุกคามว่า เหตุไร?
เจ้าจึงปล่อยให้ลูกทาการปล้น ดังนี้ เมื่อประชาชนร้องทุกข์ถึง ๒ ครั้ง ๓
ครั้งอย่างนี้ พระราชาก็ทรงคุกคามอันธกเวณฑุ เขากลัวต่อมรณภัย
ทูลขออภัยโทษกะพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
กุมารเหล่านั้นมิใช่บุตรของข้าพระองค์ เป็นโอรสของอุปสาครอุปราช
แล้วกราบทูลความลับเรื่องนั้นให้ทรงทราบ
พระราชาทรงตกพระทัย ตรัสถามอามาตย์ทั้งหลายว่า
เราจะใช้อุบายอย่างไร จึงจักจับกุมารเหล่านั้นได้? เมื่อพวกอามาตย์กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กุมารเหล่านั้นลาพองจิตด้วยมวยปล้า
ข้าพระองค์จักให้ทาการต่อสู้ขึ้นในพระนคร
แล้วให้จับกุมารเหล่านั้นผู้มาสู่สนามยุทธฆ่าเสีย ณ ที่นั้น
ดังนี้จึงรับสั่งให้เรียกนักมวยปล้ามา ๒ คน
คนหนึ่งชื่อวานุระ อีกคนหนึ่งชื่อมุฏฐิกะ แล้วให้ตีกลองประกาศทั่วพระนครว่า
จากวันนี้ไป ๗ วันจักมีการต่อสู้ ดังนี้แล้วให้ตระเตรียมสนามต่อสู้ที่พระลานหลวง
ให้ทาสังเวียนกั้นสนามต่อสู้แล้วให้ผูกธงและแผ่นผ้า.
เสียงเล่าลือกันแซ่ไปทั่วนคร
ประชาชนพากันผูกล้อเลื่อนและเตียงน้อยใหญ่
วานุระแลมุฏฐิกะก็มายังสนามต่อสู้ โห่ร้องคารามตบมือเดินไปมาอยู่
แม้กุมารพี่น้องทั้ง ๑๐ ก็มาแล้วยื้อแย่งตามถนนขายอาหาร
ของหอมและเครื่องย้อม แล้วนุ่งห่มผ้าสี
แย่งเอาของหอมตามร้านขายของหอมแลดอกไม้ตามร้านขายดอกไม้มาประดับตั
วทัดดอกไม้ ๒ หู โห่ร้องคารามตบมือเข้าสนามต่อสู้
6
ขณะนั้นวานุระเดินตบมืออยู่พลเทพเห็นดังนั้น จึงคิดว่า
เราจะไม่ถูกต้องวานุระด้วยมือ แล้วไปนาเชือกผูกช้างเส้นใหญ่มาแต่โรงช้าง
โห่ร้องคารามแล้วโยนเชือกไปพันท้องวานุระ รวบปลายเชือกทั้ง ๒ เข้ากัน
โห่ร้องยกขึ้นหมุนเหนือศีรษะแล้วฟาดลงแผ่นดิน โยนไปนอกสังเวียน
เมื่อวานุระตายแล้ว พระราชารับสั่งให้มุฏฐิกะคนปล้าทาการต่อสู้ต่อไป
มุฏฐิกะลุกออกไปโห่ร้องคารามตบมืออยู่ พลเทพทุบมุฏฐิกะจนกระดูกละเอียด
เมื่อมุฏฐิกะกล่าวว่า ท่านเป็นนักมวยปล้า ฉันไม่ใช่นักมวยปล้า จึงตอบว่า
เราไม่เข้าใจว่าท่านเป็นนักมวยปล้าหรือไม่ใช่นักมวยปล้า แล้วจับมือทั้ง ๒
ฟาดลงบนแผ่นดินให้ตายแล้วโยนไปนอกสังเวียน
มุฏฐิกะเมื่อจะตายได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า
ขอให้เราเป็นยักษ์ได้กินพลเทพ ครั้นเขาตายไปแล้ว
จึงเกิดเป็นยักษ์อยู่ในดงชื่อกาฬมัตติกะ.
พระราชาเสด็จลุกขึ้นตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงจับพี่น้องทั้ง ๑๐
คนเหล่านี้ให้ได้ ขณะนั้น
วาสุเทพขว้างจักรไปตกถูกพระเศียรกษัตริย์สองพี่น้องสิ้นพระชนม์
มหาชนพากันสะดุ้งหวาดกลัว หมอบลงแทบบาทของกุมารเหล่านั้นด้วยกล่าวว่า
ขอพระองค์ได้เป็ นที่พึ่งของพวกข้าพระองค์เถิด
กุมารเหล่านั้นครั้นปลงพระชนม์พระเจ้าลุงทั้งสอง
ก็ยึดราชสมบัติอสิตัญชนคร ยกมารดาบิดาขึ้นครองราชสมบัติแล้วปรึกษากันว่า
เรา ๑๐ คนจักชิงราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งหมด แล้วชวนกันยกออกไปโดยลาดับ
ถึงอยุชฌนครซึ่งเป็ นที่ประทับของพระเจ้ากาลโยนกราชล้อมเมืองไว้
ทาลายค่ายพังกาแพงเข้าไปจับพระราชา ยึดราชสมบัติอยู่ในเงื้อมมือของตน
แล้วพากันไปถึงกรุงทวาราวดี.
ก็กรุงทวาราวดีนั้นมีสมุทรตั้งอยู่ข้างหนึ่ง มีภูเขาตั้งอยู่ข้างหนึ่ง
ได้ยินว่านครนั้นมีอมนุษย์รักษา ยักษ์ผู้ยืนรักษานครนั้น
เห็นปัจจามิตรแล้วแปลงเพศเป็นลา ร้องเสียงเหมือนลา ขณะนั้น
นครทั้งสิ้นก็เลื่อนลอยไปอยู่บนเกาะเกาะหนึ่งกลางสมุทร ด้วยอานุภาพยักษ์
เมื่อพวกปัจจามิตรไปแล้ว นครก็กลับมาประดิษฐานตามเดิมอีก
แม้คราวนั้นยักษ์เพศลานั้นรู้ว่ากุมาร ๑๐ คนพี่น้องมา ก็ร้องเป็ นเสียงลาขึ้น
นครก็เลื่อนลอยไปประดิษฐานอยู่บนเกาะ กุมารเหล่านั้นไม่เห็นนครก็พากันกลับ
นครก็มาประดิษฐานอยู่ตามเดิมอีก กุมารเหล่านั้นกลับมาอีก
ยักษ์เพศลาก็ได้ทาเหมือนอย่างนั้นอีก
กุมารเหล่านั้น เมื่อไม่อาจชิงราชสมบัติในกรุงทวาราวดีได้
ก็พากันไปหากัณหทีปายนดาบส นมัสการแล้วถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าทั้งหลายไม่อาจชิงราชสมบัติทวาราวดี
7
ขอท่านได้บอกอุบายแก่พวกข้าพเจ้าสักอย่างหนึ่ง
เมื่อพระดาบสบอกว่า มีลาตัวหนึ่งเที่ยวอยู่ที่หลังคูแห่งโน้น
ลานั้นเห็นพวกอมิตรแล้วร้องขึ้น ขณะนั้น นครก็เลื่อนลอยไปเสีย
ท่านทั้งหลายจงจับเท้าของลานั้น นี้เป็ นอุบายที่จะให้ท่านถึงความสาเร็จดังนี้
กุมารทั้ง ๑๐ นมัสการพระดาบส แล้วไปหมอบจับเท้าของลาวิงวอนว่า
ข้าแต่นาย คนอื่นนอกจากท่านเสียแล้วไม่เป็ นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้าได้
กาลเมื่อพวกข้าพเจ้ายึดนคร ขอท่านอย่าได้ร้องขึ้นเลย
ยักษ์เพศลากล่าวว่า เราไม่อาจที่จะไม่ร้อง แต่ว่าท่าน ๔ คนจงมาก่อน
จงถือเอาไถเหล็กใหญ่ๆ แล้วตอกหลักเหล็กใหญ่ๆ
ลงกับพื้นแผ่นดินที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้าน กาลเมื่อนครจะเขยื่อนขึ้นจงจับไถ
แล้วช่วยกันเอาโซ่เหล็กที่ผูกกับไถล่ามไว้กับหลักเหล็กนครจักไม่อาจลอยไปได้.
กุมารเหล่านั้นรับว่า ดีแล้ว ครั้นเวลาเที่ยงคืนนั้น
ก็พากันถือเอาไถแล้วตอกหลักลงบนแผ่นดินที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้านยืนอยู่
ขณะนั้น ยักษ์เพศลาก็ร้องขึ้น นครเริ่มจะเลื่อนลอย
กุมารเหล่านั้นยืนอยู่ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้านจับไถเหล็ก ๔ คัน
เอาโซ่เหล็กผูกกับไถล่ามไว้กับหลักเหล็ก นครก็ไม่อาจเขยื้อนขึ้นได้
ลาดับนั้น กุมาร ๑๐ พี่น้องก็เข้านคร
ปลงพระชนม์พระราชาแล้วยึดราชสมบัติได้
กุมารเหล่านั้นได้ใช้จักรปลงพระชนม์พระราชาทั้งหมดในนคร ๖ หมื่น ๓
พันนคร แล้วมารวมกันอยู่ที่กรุงทวาราวดี แบ่งราชสมบัติเป็น ๑๐ ส่วน
แต่หาทันนึกถึงอัญชนเทวีเชษฐภคินีไม่ ต่อมานึกขึ้นได้จึงปรึกษากันใหม่ว่า
จะแบ่งเป็ น ๑๑ ส่วน
อังกุรกุมารพูดขึ้นว่า
ท่านทั้งหลายจงให้ส่วนของเราแก่อัญชนเทวีเชษฐภคินีเถิด
เราจะทาการค้าขายเลี้ยงชีพ
แต่ท่านทั้งหลายต้องแบ่งส่วยในชนบทของตนให้แก่เราทุกๆ คน พี่น้อง ๙
องค์รับว่า ดีแล้ว
ดังนี้แล้วมอบราชสมบัติส่วนของอังกุรกุมารให้แก่อัญชนเทวีเชษฐภคินี
ได้เป็นพระราชา ๙ องค์กับเชษฐภคินี อยู่ด้วยกันในกรุงทวาราวดี
ส่วนน้องกุรกุมารได้ทาการค้าขาย.
เมื่อพระราชาพี่น้องเหล่านั้นเจริญด้วยบุตรธิดาต่อๆ มาอีกอย่างนี้
ครั้นกาลล่วงไปนาน พระราชมารดาบิดาก็สิ้นพระชนม์ลง ได้ยินว่า
อายุกาลของมนุษย์ในครั้งนั้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี
ครั้งนั้น พระปิโยรสองค์หนึ่งของวาสุเทพมหาราชสิ้นพระชนม์
พระราชาทรงแต่เศร้าโศกละสรรพกิจเสีย นอนกอดแคร่พระแท่นบ่นเพ้ออยู่
8
กาลนั้น ฆตบัณฑิตคิดว่า เว้นเราเสียแล้ว
คนอื่นใครเล่าชื่อว่าสามารถกาจัดความโศกของพี่ชายเราย่อมไม่มี
เราจักใช้อุบายกาจัดความโศกของพี่ชาย คิดดังนี้แล้ว
จึงทาเป็นคนบ้าแหงนดูอากาศเดินบ่นไปทั่วเมืองว่า ท่านจงให้กระต่ายแก่เรา
ท่านจงให้กระต่ายแก่เรา ดังนี้
ข่าวเล่าลือกันไปทั่วเมืองว่า ฆตบัณฑิตเป็ นบ้าเสียแล้ว.
เวลานั้น อามาตย์ชื่อโรหิเณยยะไปเฝ้ าพระเจ้าวาสุเทพ
เมื่อจะเริ่มสนทนากับพระองค์ ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้นเถิด
จะมัวทรงบรรทมอยู่ทาไม
ความเจริญอะไรจะมีแก่พระองค์ด้วยพระสุบินเล่า พระภาดาของพระองค์แม้ใดเส
มอด้วยพระหฤทัย และเสมอด้วยพระเนตรข้างขวา
ลมได้กระทบดวงหทัยของพระภาดานั้น ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระเกศางาม
ฆตบัณฑิตทรงเพ้อไป.
เมื่ออามาตย์ทูลอย่างนี้แล้ว
พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงทราบความที่ฆตบัณฑิตมีจิตมั่นคง
จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า :-
พระเจ้าเกสวราชทรงสดับคาของโรหิเณยยะอามาตย์นั้นแล้ว
อัดอั้นพระหฤทัยด้วยความโศกถึงพระภาดา
มีพระวรกายกระสับกระส่ายเสด็จลุกขึ้น.
พระราชาเสด็จลุกขึ้น
รีบเสด็จลงจากปราสาทไปหาฆตบัณฑิตจับหัตถ์ทั้ง ๒ ไว้แน่น
เมื่อจะเจรจากับฆตบัณฑิต ได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนคนบ้า
เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ทั่วนครทวาราวดีนี้ว่า กระต่าย กระต่าย
ใครเขาลักกระต่ายของเจ้าไปหรือ?
เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว ฆตบัณฑิตก็ยังตรัสคานั้นแหละอยู่บ่อยๆ
พระราชาจึงตรัส ๒ คาถาอีกว่า :-
เจ้าอยากได้กระต่ายทอง กระต่ายเงิน กระต่ายแก้วมณี
กระต่ายสังขศิลา หรือกระต่ายแก้วประพาฬประการใด เจ้าจงบอกแก่เรา
เราจักให้เขาทาให้เจ้า
ถ้าแม้เจ้าไม่ชอบกระต่ายเหล่านี้ ฝูงกระต่ายป่าอื่นๆ มีอยู่ในป่า
เราจักให้เขานาเอากระต่ายเหล่านั้นให้เจ้า เจ้าต้องการกระต่ายชนิดไรเล่า ?
พึงทราบความย่อในพระคาถานั้น ดังนี้.
บรรดากระต่ายทั้งหลายมีกระต่ายทองเป็นต้นเหล่านั้น
9
เจ้าจงบอกกระต่ายที่เจ้าต้องการ เราจักให้เขาทาให้เจ้า
ถ้าแม้เจ้าไม่ชอบกระต่ายเหล่านั้น ฝูงกระต่ายป่าอื่นๆ ก็มีอยู่ในป่า
เราจักให้เขานาเอากระต่ายเหล่านั้นมาให้ ดูก่อนท่านผู้มีพระพักตร์อันงาม
เจ้าต้องการกระต่ายเช่นไรจงบอกมา?
ฆตบัณฑิตฟังพระดารัสของพระราชาแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระเกศางาม
กระต่ายเหล่าใดที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน หม่อมฉันไม่ปรารถนาสิ้นทั้งนั้น
หม่อมฉันปรารถนากระต่ายจากดวงจันทร์ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดสอยกระต่าย
นั้นมาให้หม่อมฉันเถิด.
พระราชาทรงสดับถ้อยคาของฆตบัณฑิตแล้วทรงโทมนัสว่า
น้องชายของเราเป็นบ้าเสียแล้วโดยไม่ต้องสงสัย จึงกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :-
น้อง เจ้าปรารถนาสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนากัน
อยากได้กระต่ายจากดวงจันทร์ จักละชีวิตที่ยังดีไปเสียเป็นแน่.
พระราชาเมื่อจะทรงทักพระกนิษฐาจึงตรัสว่า น้อง ในพระคาถานั้น
ข้อนี้มีอธิบายว่า แน่ะพ่อ ท่านใดปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา
ท่านนั้นผู้เป็นน้องของเรา จักละชีวิตของตนที่ดียิ่งไปเสียเป็นแน่.
ฆตบัณฑิตฟังพระราชดารัสแล้ว ยืนนิ่งอยู่กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่
เจ้าพี่ทรงทราบว่า ข้าพระองค์ปรารถนากระต่ายจากดวงจันทร์ไม่ได้แล้วจะตาย
ก็เหตุไร เจ้าพี่จึงเศร้าโศกถึงโอรสที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วเล่า?
แล้วกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ถ้าพระองค์ทรงทราบ
และตรัสสอนผู้อื่นอย่างนี้ไซร้ เหตุไรพระองค์จึงทรงเศร้าโศกถึงพระราชโอรสผู้สิ้
นพระชนม์ไปแล้ว ในกาลก่อน จนกระทั่งถึงวันนี้เล่า?
ฆตบัณฑิตยืนอยู่ระหว่างวิถีกราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่
หม่อมฉันปรารถนาสิ่งที่เห็นปรากฏอยู่แท้ๆ
แต่เจ้าพี่ทรงเศร้าโศกเพื่อทรงประสงค์สิ่งที่มิได้ปรากฏอยู่
เมื่อจะแสดงธรรมถวายพระราชา ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาอีกว่า :-
มนุษย์หรือเทวดาไม่พึงได้ฐานะอันใด คือความมุ่งหวังว่า
บุตรของเราที่เกิดมาแล้วอย่าตายเลย พระองค์ทรงปรารถนาฐานะอันนั้นอยู่
จะพึงทรงได้ฐานะที่ไม่ควรได้แต่ที่ไหน
ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์
พระองค์ทรงเศร้าโศกถึงพระโอรสองค์ใดผู้ไปปรโลกแล้ว
พระองค์ก็ไม่สามารถจะนาพระโอรสนั้นมาได้ด้วยมนต์ ยารากไม้ โอสถ
หรือพระราชทรัพย์เลย.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วตรัสว่า แน่ะพ่อฆตบัณฑิต
10
คาที่กล่าวนี้ควรกาหนดไว้ ท่านได้ทาให้เราหายโศกแล้ว
เมื่อจะสรรเสริญฆตบัณฑิต จึงตรัสพระคาถา ๔ พระคาถาว่า :-
บุรุษผู้เป็ นบัณฑิตเช่นนี้ เป็ นอามาตย์ของพระราชาพระองค์ใด
พระราชาพระองค์นั้นจะมีความโศกมาแต่ไหน
เหมือนฆตบัณฑิตดับความโศกของเราในวันนี้
ฆตบัณฑิตได้รดเราผู้เร่าร้อนให้สงบระงับ
ดับความกระวนกระวายทั้งปวงได้ เหมือนบุคคลดับไฟที่ติดเปรียงด้วยน้าฉะนั้น
ฆตบัณฑิตได้ถอนลูกศรที่เสียบแทงหทัยของเราออกแล้ว
ได้บรรเทาความโศกถึงบุตรของเราผู้ถูกความเศร้าโศกครอบงาแล้วหนอ
เราเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้แล้วปราศจากความโศก ไม่ขุ่นมัว
จะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคาของเจ้า นะน้อง
บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาที่หนึ่งมีความย่อดังนี้ว่า
บุรุษผู้เป็ นบัณฑิตเช่นนี้ เป็ นอามาตย์ของพระราชาแม้พระองค์อื่นใด
พระราชาพระองค์นั้นจะมีความโศกมาแต่ไหน เหมือนดังฆตบัณฑิต
ยังเราผู้ถูกความเศร้าโศกถึงบุตรครอบงาแล้วให้ดับ คือให้เย็นได้แก่ให้ตื่น
เพื่อประโยชน์แก่การกาจัดความโศกฉะนั้น.
ในอวสาน มีอภิสัมพุทธคาถา ซึ่งมีเนื้อความง่ายดังนี้ว่า :-
ผู้มีปัญญา มีใจกรุณา
ย่อมทาผู้ที่เศร้าโศกให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกได้
เหมือนฆตบัณฑิตทาพระเชษฐาผู้เศร้าโศกให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศก ฉะนั้น.
เมื่อพระเจ้าวาสุเทพผู้อันฆตบัณฑิตทาให้หมดความโศกแล้วอย่างนี้คร
องราชสมบัติอยู่ โดยล่วงไปแห่งกาลยืดยาวนาน
พระกุมารโอรสของกษัตริย์พี่น้องทั้ง ๑๐ ปรึกษากันว่า
เขากล่าวกันว่า กัณหทีปายนดาบสผู้มีตาดังทิพย์
พวกเราจักทดลองท่านดูก่อน จึงประดับกุมารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง
แสดงอาการเหมือนหญิงมีครรภ์ เอาลูกแก้วมรกตผูกไว้ที่ท้อง
แล้วนาไปหาพระดาบสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เด็กหญิงนี้จักคลอดหรือไม่?
พระดาบสพิจารณาดูรู้ว่า กาลวิบัติของกษัตริย์พี่น้อง ๑๐
องค์มาถึงแล้ว อายุสังขารของพวกเราเป็ นเช่นไรหนอ? ก็รู้ว่า จักตายวันนี้แน่
จึงกล่าวว่า กุมารทั้งหลาย พวกท่านต้องการอะไรด้วยเรื่องนี้
ถูกพวกกุมารเซ้าซี้ว่า ขอท่านจงบอกแก่พวกกระผมเถิด พระเจ้าข้า
จึงกล่าวว่า ต่อนี้ไป ๗ วัน กุมาริกาผู้นี้จักคลอดปุ่มไม้ตะเคียนออกมา
ด้วยเหตุนั้น ตระกูลของวาสุเทพจักพินาศ
อนึ่ง ท่านทั้งหลายจงเอาปุ่มไม้ตะเคียนนั้น
ไปเผาแล้วเอาเถ้าไปทิ้งในแม่น้า
11
ลาดับนั้น พระกุมารเหล่านั้นกล่าวกะพระดาบสว่า ดูก่อนชฎิลโกง
ธรรมดาผู้ชายออกลูกได้ไม่มีเลย แล้วทากรรมกรณ์ชื่อตันตรัชชุกะ
ให้ดาบสสิ้นชีวิตในที่นั้นเอง.
กษัตริย์พี่น้องทั้งหลาย เรียกพระกุมารมาตรัสถามว่า
พวกเจ้าฆ่าพระดาบสเพราะเหตุไร?
ครั้นได้สดับเรื่องทั้งหมดแล้วทรงหวาดกลัวจึงรักษาเด็กนั้นไว้
ครั้นถึงวันที่ ๗ ให้เผาปุ่มตะเคียนที่ออกจากท้องเด็กนั้น
แล้วเอาเถ้าไปทิ้งในแม่น้า เถ้านั้นถูกน้าพัดไปติดอยู่ที่ปากอ่าวข้างหนึ่ง
เกิดเป็ นตะไคร่น้าขึ้นที่นั้น.
อยู่มาวันหนึ่ง กษัตริย์เหล่านั้นชวนกันทรงสมุทรกีฬา
เสด็จไปถึงปากอ่าวแล้วให้ปลูกมหามณฑปทรงเสวยทรงดื่ม
ทรงหยอกเย้ากันที่มหามณฑปซึ่งตกแต่งงดงาม
ใช้พระหัตถ์และพระบาทถูกต้องกันแต่เป็นไปด้วยอานาจความเย้ยหยัน
จึงทะเลาะกันยกใหญ่ แตกกันเป็นสองพวก
ลาดับนั้น กษัตริย์พระองค์หนึ่ง
เมื่อไม่ได้ไม้ตะบองอย่างอื่นก็ถือใบตะไคร้น้าแต่กอตะไคร้น้าใบหนึ่ง
ใบตะไคร้น้านั้นพอถูกจับเข้าเท่านั้น ก็กลายเป็นสากไม้ตะเคียน
พระองค์ทรงตีมหาชนด้วยสากนั้นแล้ว
สิ่งที่คนทั้งหมดจับด้วยเข้าใจว่าเป็นอย่างอื่น ก็กลายเป็นสากไปหมด
เขาจึงประหารกันและกันถึงความพินาศสิ้น
เมื่อเขาเหล่านั้นกาลังพินาศอยู่ กษัตริย์ ๔ องค์คือวาสุเทพ พลเทพ
อัญชนเทวีภคินี และปุโรหิต พากันขึ้นรถหนีไป พวกที่เหลือพากันพินาศหมด
กษัตริย์ ๔ องค์เหล่านั้นขึ้นรถหนีไปถึงดงกาฬมัตติกะ
ก็มุฏฐิกะคนปล้านั้นซึ่งตั้งความปรารถนาไว้ได้เกิดเป็ นยักษ์อยู่ในดงนั้
น รู้ว่า พลเทพมาก็เนรมิตรบ้านขึ้นที่นั่น
แปลงเพศเป็นคนปล้าเที่ยวโห่ร้องคารามตบมือท้าทายว่า ใครต้องการสู้
พลเทพพอเห็นเขาเหล่านั้นก็กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่ หม่อมฉันจักสู้กับบุรุษนี้เอง
เมื่อวาสุเทพห้ามอยู่นั่นแหละลงจากรถตบมือเข้าไปหายักษ์นั้น. ลาดับนั้น
ยักษ์จึงจับมือที่เหยียดออกแล้วกินพลเทพเสียดุจเหง้าบัว.
วาสุเทพรู้ว่าพลเทพสิ้นชีวิต จึงพาภคินีและปุโรหิตเดินทางไปตลอดคืน
พอรุ่งสว่างก็ถึงปัจจันตคามตาบลหนึ่ง
สั่งภคินีและปุโรหิตไปยังบ้านสั่งว่า จงหุงอาหารแล้วนามา
ตัวเองเข้าไปนอนซ่อนอยู่ที่กอไม้กอหนึ่ง
ครั้งนั้น นายพรานคนหนึ่งชื่อชรา เห็นกอไม้ไหวๆ เข้าใจว่า
สุกรจักมีที่นั่น จึงพุ่งหอกไปถูกพระบาทวาสุเทพ
12
เมื่อวาสุเทพตรัสว่า ใครแทงเรา นายพรานรู้ว่าตนแทงมนุษย์
ก็ตกใจกลัว ปรารภจะหนีไป พระราชาดารงพระสติไว้เสด็จลุกขึ้น ตรัสเรียกว่า
ดูก่อนลุง อย่ากลัวเลยจงมาเถิด ครั้นนายพรานมาแล้ว จึงตรัสถามว่า
ท่านชื่ออะไร?
เมื่อนายพรานตอบว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าชื่อชรา ก็ทรงทราบว่า
นัยว่าคนรุ่นก่อนพยากรณ์เราไว้ว่า จักถูกนายชราแทงตาย
วันนี้เราคงตายโดยไม่ต้องสงสัย แล้วตรัสกะนายชราว่า ดูก่อนลุง ท่านอย่ากลัวเลย
จงมาช่วยพันแผลที่เท้าให้เรา
ให้นายพรานชราพันปากแผลแล้วก็ส่งนายพรานนั้นไป
เวทนามีกาลังได้เป็ นไปอย่างแรงกล้า
พระราชาไม่อาจจะเสวยพระกระยาหารที่ภคินีและปุโรหิตนามาได้
ลาดับนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกชนทั้งสองมาตรัสว่า เราจักตายวันนี้
ก็ท่านทั้งสองเป็นสุขุมาลชาติ ไม่อาจจะทาการงานอย่างอื่นเลี้ยงชีพได้
จงเรียนวิชานี้ไว้ แล้วให้ศึกษาวิชาอย่างหนึ่ง แล้วส่งเขากลับไป
พระองค์สิ้นพระชนม์อยู่ ณ ที่นั้นเอง กษัตริย์พี่น้องทั้งหมด
นอกจากอัญชนเทวีแล้วถึงความพินาศสิ้น.
พระศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนอุบาสก โบราณกบัณฑิตฟังด้วยคาของบัณฑิตแล้ว
กาจัดความโศกถึงบุตรของตนออกได้ ท่านอย่าคิดถึงเขาเลย
ดังนี้ แล้วทรงประกาศสัจธรรม
เวลาจบสัจจะ อุบาสกดารงอยู่ในโสดาปัตติผล
พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า
โรหิเณยยอามาตย์ในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ ในบัดนี้
วาสุเทพในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระสารีบุตร ในบัดนี้
พวกที่เหลือนอกนี้ในครั้งนั้น ได้มาเป็น พุทธบริษัท ในบัดนี้
ส่วนฆตบัณฑิตในครั้งนั้น ได้มาเป็น เราผู้สัมมาสัมพุทธะ เปิดหลังคาคื
อกิเลสในโลกได้แล้ว ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาฆตบัณฑิตชาดกที่ ๑๖
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
maruay songtanin
 
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
323 พรหมทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
323 พรหมทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...323 พรหมทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
323 พรหมทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
049 นักขัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
049 นักขัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....049 นักขัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
049 นักขัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
247 ปาทัญชลิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
247 ปาทัญชลิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...247 ปาทัญชลิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
247 ปาทัญชลิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 

Similar to 454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
461 ทสรถชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
 
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
066 มุทุลักขณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
215 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ร.docx
 
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
282 เสยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
494 สาธินราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
323 พรหมทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
323 พรหมทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...323 พรหมทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
323 พรหมทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
049 นักขัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
049 นักขัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....049 นักขัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
049 นักขัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
247 ปาทัญชลิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
247 ปาทัญชลิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...247 ปาทัญชลิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
247 ปาทัญชลิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
166 อุปสาฬหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

More from maruay songtanin

๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
maruay songtanin
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
maruay songtanin
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 

454 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 ฆตปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๑๖. ฆตปัณฑิตชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๕๔) ว่าด้วยฆตบัณฑิต (โรหิเณยยอามาตย์สนทนากับพระเจ้าวาสุเทพว่า) [๑๖๕] ขอเดชะพระเจ้ากัณหะ โปรดเสด็จลุกขึ้นเถิด ทรงบรรทมอยู่ทาไม พระองค์มัวทรงพระสุบินจะมีประโยชน์อะไร พระเจ้าน้องยาเธอผู้เป็นดังดวงพระหฤทัย และนัยน์เนตรเบื้องขวาของพระองค์มีลมกาเริบ ข้าแต่พระเจ้าเกสวะ พระเจ้าฆตบัณฑิตพร่าเพ้ออยู่ (พระศาสดาตรัสว่า) [๑๖๖] พระเจ้าเกสวะครั้นได้ทรงสดับวาจาของโรหิเณยยอามาตย์นั้น รีบเสด็จลุกขึ้น ทรงกระวนกระวาย เพราะความโศกถึงพระเจ้าน้องยาเธอ (พระราชาตรัสกับฆตบัณฑิตว่า) [๑๖๗] เจ้าบ่นเพ้อว่า กระต่าย กระต่าย ไปทั่วพระนครทวาราวดีนี้เหมือนคนบ้าเพราะเหตุไร ใครลักกระต่ายของเจ้าไป (พระราชาได้ตรัสอีกว่า) [๑๖๘] จะเป็นกระต่ายที่ทาด้วยทองคา ด้วยแก้วมณี ด้วยโลหะ หรือจะเป็นกระต่ายที่ทาด้วยเงิน ด้วยสังข์ ด้วยศิลา ด้วยแก้วประพาฬก็ตามที พี่จะให้เขาทามอบให้เจ้าทุกอย่าง [๑๖๙] แม้กระต่ายอื่นๆ ที่มีอยู่ในป่า หากินอยู่ในป่า พี่จะนากระต่ายแม้เหล่านั้นมาให้เจ้า กระต่ายชนิดไหนเล่าที่เจ้าปรารถนา (ฆตบัณฑิตกราบทูลว่า) [๑๗๐] กระต่ายทั้งหลายบรรดาที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน หม่อมฉันไม่ต้องการ หม่อมฉันต้องการกระต่ายจากดวงจันทร์ ขอเดชะพระเจ้าเกสวะ ขอพระองค์จงนากระต่ายนั้นลงมา ประทานแก่หม่อมฉัน (พระราชาตรัสว่า) [๑๗๑] น้องเอ๋ย เจ้าปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา มาต้องการกระต่ายจากดวงจันทร์ จักต้องละทิ้งชีวิตอันเป็นที่รักไปอย่างแน่นอน (ฆตบัณฑิตกราบทูลว่า) [๑๗๒] ขอเดชะพระเจ้ากัณหะ พระเจ้าพี่ก็ทรงทราบ อย่างที่ทรงสอนคนอื่นเขา แต่ทาไม พระโอรสที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนแล้ว พระเจ้าพี่จึงยังทรงเศร้าโศกถึงจนทุกวันนี้เล่า (ฆตบัณฑิตได้กราบทูลต่อไปอีกว่า)
  • 2. 2 [๑๗๓] ฐานะอันใดที่มนุษย์หรืออมนุษย์ไม่ควรได้ คือ ลูกของเราที่เกิดมาแล้วขออย่าได้ตายเลย ฐานะอันเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ จะได้มาจากไหนเล่า [๑๗๔] ขอเดชะพระเจ้ากัณหะ จะใช้เวทมนต์ เภสัชรากไม้ โอสถต่างๆ หรือพระราชทรัพย์ ก็ไม่สามารถจะพาพระราชโอรสที่ล่วงลับไปแล้ว ที่พระองค์ทรงเศร้าโศกถึงอยู่กลับคืนมาได้ (พระราชาทรงสรรเสริญฆตบัณฑิตว่า) [๑๗๕] พระราชาผู้มีพวกอามาตย์ ที่เป็นคนเฉลียวฉลาดเหมือนฆตบัณฑิต ทาเราให้สร่างเศร้าโศกได้ในวันนี้ จะมีความเศร้าโศกมาจากไหนเล่า [๑๗๖] เจ้าช่วยระงับพี่ผู้เร่าร้อนให้สงบ ดับความกระวนกระวายทั้งหมดได้ เหมือนคนใช้น้าราดดับไฟที่ติดเปรียง [๑๗๗] เจ้าได้บรรเทาความเศร้าโศกของพี่ผู้กาลังเศร้าโศกถึงบุตร ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความเศร้าโศก ซึ่งเสียบที่หทัยของพี่ขึ้นได้แล้วหนอ [๑๗๘] พ่อฆตบัณฑิต พี่ซึ่งเจ้าได้ช่วยถอนลูกศร คือความเศร้าโศกขึ้นได้แล้วเป็ นผู้ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีความขุ่นมัว จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคาของเจ้า (พระศาสดาตรัสคาถาสุดท้ายว่า) [๑๗๙] นรชนทั้งหลายผู้มีปัญญาจะเป็นผู้อนุเคราะห์ ย่อมกระทาให้ผู้อื่นปราศจากความเศร้าโศก เหมือนฆตบัณฑิตทาให้เชฏฐภาดาปราศจากความเศร้าโศก ฆตปัณฑิตชาดกที่ ๑๖ จบ ------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา ฆตปัณฑิตชาดก ว่าด้วย ความดับความโศก พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภกุฎุมพีลูกตาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. เนื้อเรื่องเหมือนกับ เรื่องมัฏฐกุณฑลี นั่นแหละ ส่วนในชาดกนี้มีความย่อดังต่อไปนี้ :- พระศาสดาเสด็จเข้าไปหาอุบาสกนั้นแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านเศร้าโศกถึงลูกตายหรือ? เมื่ออุบาสกกราบทูลว่า ถูกแล้วพระเจ้าข้า พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก โบราณกบัณฑิตฟังถ้อยคาของบัณฑิตแล้ว ไม่เศร้าโศกถึงลูกที่ตายไปแล้ว ผู้อันอุบาสกนั้นกราบทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนาเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
  • 3. 3 ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่ามหาวังสะ ครองราชสมบัติอยู่ในอสิตัญชนคร แคว้นกังสโคตรใกล้อุตราปถประเทศ พระองค์มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ องค์หนึ่งพระนามว่ากังสะ องค์หนึ่งพระนามว่าอุปกังสะ มีพระราชธิดาองค์หนึ่งพ ระนามว่าเทวคัพภา ในวันที่พระราชธิดานั้นประสูติ พราหมณ์ผู้ทายลักษณะพยากรณ์ไว้ว่า พระโอรสที่เกิดในพระครรภ์ของพระนางเทวคัพภานั้น จักทากังสโคตรกังสวงศ์ให้พินาศ พระราชาไม่อาจให้สาเร็จโทษพระราชธิดาได้ เพราะทรงสิเนหามาก แม้พระเชษฐาทั้งสองก็ทรงทราบเหมือนกัน พระราชาดารงราชสมบัติอยู่ตลอดพระชนมายุแล้ว เสด็จสวรรคตด้วยประการฉะนี้ เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว กังสราชโอรสได้เป็ นพระราชา อุปกังสราชโอรสได้เป็นอุปราช ทั้งสองพระองค์ทรงพระดาริว่า ถ้าเราจักให้สาเร็จโทษภคินี เราก็จักถูกครหา เราจักไม่ให้ภคินีนี้แก่ใครๆ จักเลี้ยงดูโดยไม่ให้มีสามี ดังนี้ ทั้งสองพระองค์จึงให้สร้างปราสาทเสาเดียวให้ราชธิดาอยู่ ณ ปราสาทนั้น นางทาสีนามว่านันทโคปาได้เป็นปริจาริกาของพระนาง ทาสนามว่าอันธกเวณฑุ ผู้เป็นสามีของนางนันทโคปาเป็นผู้พิทักษ์รักษาพระนาง. ครั้งนั้น พระเจ้ามหาสาครราชเสวยราชสมบัติอยู่ในอุตตรปถประเทศ พระองค์มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ องค์หนึ่งพระนามว่าสาคร องค์หนึ่งพระนามว่าอุปสาคร ก็ในบรรดาพระราชโอร ส ๒ พระองค์นั้น เมื่อพระชนกเสด็จสวรรคต สาครราชโอรสได้เป็นพระราชา อุปสาครราชโอรสได้เป็นอุปราช อุปสาครอุปราชนั้นเป็นสหายของอุปกังสอุปราช สาเร็จการศึกษาคราวเดียวกัน ในตระกูลอาจารย์คนเดียวกัน. อุปสาครอุปราชได้ทามิดีมิงาม นางสนมกานัลในของพระเจ้าพี่สาครราช กลัวพระราชอาชญาหนีไปสานักอุปกังสอุปราช ในแคว้นกังสโคตร อุปกังสอุปราชพาเข้าเฝ้ าพระเจ้ากังสราช พระเจ้ากังสราชทรงประทานยศใหญ่แก่อุปสาครอุปราช อุปสาครอุปราชเมื่อไปเฝ้ าพระราชา เห็นปราสาทเสาเดียว ซึ่งเป็ นที่ประทับของพระนางเทวคัพภา จึงถามว่านี่ที่อยู่ของใคร ครั้นทราบความนั้นแล้วก็มีจิตปฏิพัทธ์ในพระนางเทวคัพภา. วันหนึ่ง พระนางเทวคัพภาทอดพระเนตรเห็นอุปสาครอุปราชไปเฝ้ าพระราชาพร้อมกับอุ ปกังสอุปราช จึงตรัสถามว่า นั่นใคร ทรงทราบจากนางนันทโคปาว่า
  • 4. 4 โอรสพระเจ้ามหาสาครราชพระนามว่าอุปสาคร ก็มีจิตปฏิพัทธ์ในอุปสาครอุปราชนั้น อุปสาครอุปราชให้สินบนนางนันทโคปา แล้วกล่าวว่า น้องหญิง ท่านอาจที่จักพาพระนางเทวคัพภามาให้เราไหม? นางนันทโคปากล่าวว่า ข้อนั้นไม่ยากดอกนาย แล้วก็บอกเรื่องนั้นแก่พระนางเทวคัพภา ตามปกติพระนางก็มีจิตปฏิพัทธ์ในอุปสาครอุปราชอยู่แล้ว พอได้ฟังดังนั้นก็รับว่า ดีแล้ว นางนันทโคปาให้สัญญาแก่อุปสาครอุปราชให้ขึ้นปราสาทในเวลาราต รี อุปสาครอุปราชได้ร่วมสังวาสกับพระนางเทวคัพภา โดยทานองนั้นบ่อยๆ เข้าพระนางได้ตั้งครรภ์ ต่อมา ข่าวพระนางทรงครรภ์ก็ได้ปรากฏขึ้น พระเชษฐาทั้งสองจึงถามนางนันทโคปา นางนันทโคปาทูลขออภัยแล้ว กราบทูลความลับนั้นให้ทรงทราบ พระเชษฐาทั้งสองพระองค์ทรงทราบแล้ว จึงปรึกษากันว่า เราไม่อาจที่จะสาเร็จโทษน้องหญิงได้ ถ้าเธอคลอดพระธิดา เราจักไม่สาเร็จโทษ แต่ถ้าเป็นพระโอรส เราจักสาเร็จโทษเสีย แล้วประทานพระนางเทวคัพภาแก่อุปสาครอุปราช พระนางเทวคัพภาทรงครรภ์ครบกาหนดแล้วก็ประสูติพระธิดา พระเชษฐาทั้งสองทรงทราบแล้วดีพระทัย ตั้งพระนามให้พระธิดานั้นว่า อัญชนเทวี ได้พระราชทานบ้านส่วยชื่อโภควัฒมาน ะแก่กษัตริย์ทั้งสอง อุปสาครอุปราชจึงพาพระนางเทวคัพภาไปประทับ ณ โภควัฒมานคาม พระนางเทวคัพภาก็ทรงครรภ์อีก แม้นางนันทโคปาก็ตั้งครรภ์ในวันนั้นเหมือนกัน เมื่อหญิงทั้งสองมีครรภ์ครบกาหนดแล้ว พระนางเทวคัพภาประสูติพระโอรส แม้นางนันทโคปาก็คลอดธิดาในวันเดียวกันนั่นเอง พระนางเทวคัพภากลัวพระโอรสจะพินาศด้วยราชภัย จึงส่งพระโอรสไปให้นางนันทโคปา และให้นางนันทโคปานาธิดามาให้เปลี่ยนกันเลี้ยงเงียบ. อามาตย์ทั้งหลายกราบทูลความที่พระนางเทวคัพภาประสูติแล้ว ให้พระเชษฐาทั้งสองทรงทราบ พระเชษฐาทั้งสองพระองค์นั้นตรัสถามว่า ประสูติโอรสหรือธิดา เมื่อได้รับตอบว่า ธิดา จึงรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงเลี้ยงไว้เถิด พระนางเทวคัพภาประสูติพระโอรสรวม ๑๐ องค์ นางนันทโคปาก็คลอดลูกหญิงรวม ๑๐ คน ได้เปลี่ยนให้กันเลี้ยงด้วยอุบายนี้ โอรสของพระนางเทวคัพภาเจริญอยู่ในสานักนางนันทโคปา
  • 5. 5 ลูกหญิงของนางนันทโคปาเจริญอยู่ในสานักของพระนางเทวคัพภา ใครๆ มิได้รู้ความลับเรื่องนั้น. โอรสองค์ใหญ่ของพระนางเทวคัพภานามว่าวาสุเทพ องค์ที่ ๒ นามว่าพลเทพ องค์ที่ ๓ นามว่าจันทเทพ องค์ที่ ๔ นามว่าสุริยเทพ องค์ที่ ๕ นามว่าอัคคิเทพ องค์ที่ ๖ นามว่าวรุณเทพ องค์ที่ ๗ นามว่าอัชชุนะ องค์ที่ ๘ นามว่าปัชชุนะ องค์ที่ ๙ นามว่าฆตบัณฑิต องค์ที่ ๑๐ นามว่าอังกุระ โอรสเหล่านั้นได้ปรากฏว่าพี่น้อง ๑๐ คนเป็นบุตรของอันธกเวณฑุทาส. ต่อมา โอรสเหล่านั้นครั้นเจริญวัยแล้วมีกาลังเรี่ยวแรงมาก เป็นผู้หยาบช้ากล้าแข็ง พากันเที่ยวปล้นประชาชน แม้คนนาบรรณาการไปถวายพระราชาก็พากันปล้นเอาหมด ประชาชนประชุมกันร้องทุกข์ที่พระลานหลวงว่า พี่น้อง ๑๐ คนซึ่งเป็ นบุตรของอันธกเวณฑุทาสปล้นแว่นแคว้น พระราชารับสั่งให้เรียกตัวอันธกเวณฑุทาสมาตรัสคุกคามว่า เหตุไร? เจ้าจึงปล่อยให้ลูกทาการปล้น ดังนี้ เมื่อประชาชนร้องทุกข์ถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้งอย่างนี้ พระราชาก็ทรงคุกคามอันธกเวณฑุ เขากลัวต่อมรณภัย ทูลขออภัยโทษกะพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กุมารเหล่านั้นมิใช่บุตรของข้าพระองค์ เป็นโอรสของอุปสาครอุปราช แล้วกราบทูลความลับเรื่องนั้นให้ทรงทราบ พระราชาทรงตกพระทัย ตรัสถามอามาตย์ทั้งหลายว่า เราจะใช้อุบายอย่างไร จึงจักจับกุมารเหล่านั้นได้? เมื่อพวกอามาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กุมารเหล่านั้นลาพองจิตด้วยมวยปล้า ข้าพระองค์จักให้ทาการต่อสู้ขึ้นในพระนคร แล้วให้จับกุมารเหล่านั้นผู้มาสู่สนามยุทธฆ่าเสีย ณ ที่นั้น ดังนี้จึงรับสั่งให้เรียกนักมวยปล้ามา ๒ คน คนหนึ่งชื่อวานุระ อีกคนหนึ่งชื่อมุฏฐิกะ แล้วให้ตีกลองประกาศทั่วพระนครว่า จากวันนี้ไป ๗ วันจักมีการต่อสู้ ดังนี้แล้วให้ตระเตรียมสนามต่อสู้ที่พระลานหลวง ให้ทาสังเวียนกั้นสนามต่อสู้แล้วให้ผูกธงและแผ่นผ้า. เสียงเล่าลือกันแซ่ไปทั่วนคร ประชาชนพากันผูกล้อเลื่อนและเตียงน้อยใหญ่ วานุระแลมุฏฐิกะก็มายังสนามต่อสู้ โห่ร้องคารามตบมือเดินไปมาอยู่ แม้กุมารพี่น้องทั้ง ๑๐ ก็มาแล้วยื้อแย่งตามถนนขายอาหาร ของหอมและเครื่องย้อม แล้วนุ่งห่มผ้าสี แย่งเอาของหอมตามร้านขายของหอมแลดอกไม้ตามร้านขายดอกไม้มาประดับตั วทัดดอกไม้ ๒ หู โห่ร้องคารามตบมือเข้าสนามต่อสู้
  • 6. 6 ขณะนั้นวานุระเดินตบมืออยู่พลเทพเห็นดังนั้น จึงคิดว่า เราจะไม่ถูกต้องวานุระด้วยมือ แล้วไปนาเชือกผูกช้างเส้นใหญ่มาแต่โรงช้าง โห่ร้องคารามแล้วโยนเชือกไปพันท้องวานุระ รวบปลายเชือกทั้ง ๒ เข้ากัน โห่ร้องยกขึ้นหมุนเหนือศีรษะแล้วฟาดลงแผ่นดิน โยนไปนอกสังเวียน เมื่อวานุระตายแล้ว พระราชารับสั่งให้มุฏฐิกะคนปล้าทาการต่อสู้ต่อไป มุฏฐิกะลุกออกไปโห่ร้องคารามตบมืออยู่ พลเทพทุบมุฏฐิกะจนกระดูกละเอียด เมื่อมุฏฐิกะกล่าวว่า ท่านเป็นนักมวยปล้า ฉันไม่ใช่นักมวยปล้า จึงตอบว่า เราไม่เข้าใจว่าท่านเป็นนักมวยปล้าหรือไม่ใช่นักมวยปล้า แล้วจับมือทั้ง ๒ ฟาดลงบนแผ่นดินให้ตายแล้วโยนไปนอกสังเวียน มุฏฐิกะเมื่อจะตายได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ขอให้เราเป็นยักษ์ได้กินพลเทพ ครั้นเขาตายไปแล้ว จึงเกิดเป็นยักษ์อยู่ในดงชื่อกาฬมัตติกะ. พระราชาเสด็จลุกขึ้นตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงจับพี่น้องทั้ง ๑๐ คนเหล่านี้ให้ได้ ขณะนั้น วาสุเทพขว้างจักรไปตกถูกพระเศียรกษัตริย์สองพี่น้องสิ้นพระชนม์ มหาชนพากันสะดุ้งหวาดกลัว หมอบลงแทบบาทของกุมารเหล่านั้นด้วยกล่าวว่า ขอพระองค์ได้เป็ นที่พึ่งของพวกข้าพระองค์เถิด กุมารเหล่านั้นครั้นปลงพระชนม์พระเจ้าลุงทั้งสอง ก็ยึดราชสมบัติอสิตัญชนคร ยกมารดาบิดาขึ้นครองราชสมบัติแล้วปรึกษากันว่า เรา ๑๐ คนจักชิงราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งหมด แล้วชวนกันยกออกไปโดยลาดับ ถึงอยุชฌนครซึ่งเป็ นที่ประทับของพระเจ้ากาลโยนกราชล้อมเมืองไว้ ทาลายค่ายพังกาแพงเข้าไปจับพระราชา ยึดราชสมบัติอยู่ในเงื้อมมือของตน แล้วพากันไปถึงกรุงทวาราวดี. ก็กรุงทวาราวดีนั้นมีสมุทรตั้งอยู่ข้างหนึ่ง มีภูเขาตั้งอยู่ข้างหนึ่ง ได้ยินว่านครนั้นมีอมนุษย์รักษา ยักษ์ผู้ยืนรักษานครนั้น เห็นปัจจามิตรแล้วแปลงเพศเป็นลา ร้องเสียงเหมือนลา ขณะนั้น นครทั้งสิ้นก็เลื่อนลอยไปอยู่บนเกาะเกาะหนึ่งกลางสมุทร ด้วยอานุภาพยักษ์ เมื่อพวกปัจจามิตรไปแล้ว นครก็กลับมาประดิษฐานตามเดิมอีก แม้คราวนั้นยักษ์เพศลานั้นรู้ว่ากุมาร ๑๐ คนพี่น้องมา ก็ร้องเป็ นเสียงลาขึ้น นครก็เลื่อนลอยไปประดิษฐานอยู่บนเกาะ กุมารเหล่านั้นไม่เห็นนครก็พากันกลับ นครก็มาประดิษฐานอยู่ตามเดิมอีก กุมารเหล่านั้นกลับมาอีก ยักษ์เพศลาก็ได้ทาเหมือนอย่างนั้นอีก กุมารเหล่านั้น เมื่อไม่อาจชิงราชสมบัติในกรุงทวาราวดีได้ ก็พากันไปหากัณหทีปายนดาบส นมัสการแล้วถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายไม่อาจชิงราชสมบัติทวาราวดี
  • 7. 7 ขอท่านได้บอกอุบายแก่พวกข้าพเจ้าสักอย่างหนึ่ง เมื่อพระดาบสบอกว่า มีลาตัวหนึ่งเที่ยวอยู่ที่หลังคูแห่งโน้น ลานั้นเห็นพวกอมิตรแล้วร้องขึ้น ขณะนั้น นครก็เลื่อนลอยไปเสีย ท่านทั้งหลายจงจับเท้าของลานั้น นี้เป็ นอุบายที่จะให้ท่านถึงความสาเร็จดังนี้ กุมารทั้ง ๑๐ นมัสการพระดาบส แล้วไปหมอบจับเท้าของลาวิงวอนว่า ข้าแต่นาย คนอื่นนอกจากท่านเสียแล้วไม่เป็ นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้าได้ กาลเมื่อพวกข้าพเจ้ายึดนคร ขอท่านอย่าได้ร้องขึ้นเลย ยักษ์เพศลากล่าวว่า เราไม่อาจที่จะไม่ร้อง แต่ว่าท่าน ๔ คนจงมาก่อน จงถือเอาไถเหล็กใหญ่ๆ แล้วตอกหลักเหล็กใหญ่ๆ ลงกับพื้นแผ่นดินที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้าน กาลเมื่อนครจะเขยื่อนขึ้นจงจับไถ แล้วช่วยกันเอาโซ่เหล็กที่ผูกกับไถล่ามไว้กับหลักเหล็กนครจักไม่อาจลอยไปได้. กุมารเหล่านั้นรับว่า ดีแล้ว ครั้นเวลาเที่ยงคืนนั้น ก็พากันถือเอาไถแล้วตอกหลักลงบนแผ่นดินที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้านยืนอยู่ ขณะนั้น ยักษ์เพศลาก็ร้องขึ้น นครเริ่มจะเลื่อนลอย กุมารเหล่านั้นยืนอยู่ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้านจับไถเหล็ก ๔ คัน เอาโซ่เหล็กผูกกับไถล่ามไว้กับหลักเหล็ก นครก็ไม่อาจเขยื้อนขึ้นได้ ลาดับนั้น กุมาร ๑๐ พี่น้องก็เข้านคร ปลงพระชนม์พระราชาแล้วยึดราชสมบัติได้ กุมารเหล่านั้นได้ใช้จักรปลงพระชนม์พระราชาทั้งหมดในนคร ๖ หมื่น ๓ พันนคร แล้วมารวมกันอยู่ที่กรุงทวาราวดี แบ่งราชสมบัติเป็น ๑๐ ส่วน แต่หาทันนึกถึงอัญชนเทวีเชษฐภคินีไม่ ต่อมานึกขึ้นได้จึงปรึกษากันใหม่ว่า จะแบ่งเป็ น ๑๑ ส่วน อังกุรกุมารพูดขึ้นว่า ท่านทั้งหลายจงให้ส่วนของเราแก่อัญชนเทวีเชษฐภคินีเถิด เราจะทาการค้าขายเลี้ยงชีพ แต่ท่านทั้งหลายต้องแบ่งส่วยในชนบทของตนให้แก่เราทุกๆ คน พี่น้อง ๙ องค์รับว่า ดีแล้ว ดังนี้แล้วมอบราชสมบัติส่วนของอังกุรกุมารให้แก่อัญชนเทวีเชษฐภคินี ได้เป็นพระราชา ๙ องค์กับเชษฐภคินี อยู่ด้วยกันในกรุงทวาราวดี ส่วนน้องกุรกุมารได้ทาการค้าขาย. เมื่อพระราชาพี่น้องเหล่านั้นเจริญด้วยบุตรธิดาต่อๆ มาอีกอย่างนี้ ครั้นกาลล่วงไปนาน พระราชมารดาบิดาก็สิ้นพระชนม์ลง ได้ยินว่า อายุกาลของมนุษย์ในครั้งนั้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี ครั้งนั้น พระปิโยรสองค์หนึ่งของวาสุเทพมหาราชสิ้นพระชนม์ พระราชาทรงแต่เศร้าโศกละสรรพกิจเสีย นอนกอดแคร่พระแท่นบ่นเพ้ออยู่
  • 8. 8 กาลนั้น ฆตบัณฑิตคิดว่า เว้นเราเสียแล้ว คนอื่นใครเล่าชื่อว่าสามารถกาจัดความโศกของพี่ชายเราย่อมไม่มี เราจักใช้อุบายกาจัดความโศกของพี่ชาย คิดดังนี้แล้ว จึงทาเป็นคนบ้าแหงนดูอากาศเดินบ่นไปทั่วเมืองว่า ท่านจงให้กระต่ายแก่เรา ท่านจงให้กระต่ายแก่เรา ดังนี้ ข่าวเล่าลือกันไปทั่วเมืองว่า ฆตบัณฑิตเป็ นบ้าเสียแล้ว. เวลานั้น อามาตย์ชื่อโรหิเณยยะไปเฝ้ าพระเจ้าวาสุเทพ เมื่อจะเริ่มสนทนากับพระองค์ ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :- ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จะมัวทรงบรรทมอยู่ทาไม ความเจริญอะไรจะมีแก่พระองค์ด้วยพระสุบินเล่า พระภาดาของพระองค์แม้ใดเส มอด้วยพระหฤทัย และเสมอด้วยพระเนตรข้างขวา ลมได้กระทบดวงหทัยของพระภาดานั้น ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระเกศางาม ฆตบัณฑิตทรงเพ้อไป. เมื่ออามาตย์ทูลอย่างนี้แล้ว พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงทราบความที่ฆตบัณฑิตมีจิตมั่นคง จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า :- พระเจ้าเกสวราชทรงสดับคาของโรหิเณยยะอามาตย์นั้นแล้ว อัดอั้นพระหฤทัยด้วยความโศกถึงพระภาดา มีพระวรกายกระสับกระส่ายเสด็จลุกขึ้น. พระราชาเสด็จลุกขึ้น รีบเสด็จลงจากปราสาทไปหาฆตบัณฑิตจับหัตถ์ทั้ง ๒ ไว้แน่น เมื่อจะเจรจากับฆตบัณฑิต ได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :- เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนคนบ้า เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ทั่วนครทวาราวดีนี้ว่า กระต่าย กระต่าย ใครเขาลักกระต่ายของเจ้าไปหรือ? เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว ฆตบัณฑิตก็ยังตรัสคานั้นแหละอยู่บ่อยๆ พระราชาจึงตรัส ๒ คาถาอีกว่า :- เจ้าอยากได้กระต่ายทอง กระต่ายเงิน กระต่ายแก้วมณี กระต่ายสังขศิลา หรือกระต่ายแก้วประพาฬประการใด เจ้าจงบอกแก่เรา เราจักให้เขาทาให้เจ้า ถ้าแม้เจ้าไม่ชอบกระต่ายเหล่านี้ ฝูงกระต่ายป่าอื่นๆ มีอยู่ในป่า เราจักให้เขานาเอากระต่ายเหล่านั้นให้เจ้า เจ้าต้องการกระต่ายชนิดไรเล่า ? พึงทราบความย่อในพระคาถานั้น ดังนี้. บรรดากระต่ายทั้งหลายมีกระต่ายทองเป็นต้นเหล่านั้น
  • 9. 9 เจ้าจงบอกกระต่ายที่เจ้าต้องการ เราจักให้เขาทาให้เจ้า ถ้าแม้เจ้าไม่ชอบกระต่ายเหล่านั้น ฝูงกระต่ายป่าอื่นๆ ก็มีอยู่ในป่า เราจักให้เขานาเอากระต่ายเหล่านั้นมาให้ ดูก่อนท่านผู้มีพระพักตร์อันงาม เจ้าต้องการกระต่ายเช่นไรจงบอกมา? ฆตบัณฑิตฟังพระดารัสของพระราชาแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :- ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระเกศางาม กระต่ายเหล่าใดที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน หม่อมฉันไม่ปรารถนาสิ้นทั้งนั้น หม่อมฉันปรารถนากระต่ายจากดวงจันทร์ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดสอยกระต่าย นั้นมาให้หม่อมฉันเถิด. พระราชาทรงสดับถ้อยคาของฆตบัณฑิตแล้วทรงโทมนัสว่า น้องชายของเราเป็นบ้าเสียแล้วโดยไม่ต้องสงสัย จึงกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :- น้อง เจ้าปรารถนาสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนากัน อยากได้กระต่ายจากดวงจันทร์ จักละชีวิตที่ยังดีไปเสียเป็นแน่. พระราชาเมื่อจะทรงทักพระกนิษฐาจึงตรัสว่า น้อง ในพระคาถานั้น ข้อนี้มีอธิบายว่า แน่ะพ่อ ท่านใดปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา ท่านนั้นผู้เป็นน้องของเรา จักละชีวิตของตนที่ดียิ่งไปเสียเป็นแน่. ฆตบัณฑิตฟังพระราชดารัสแล้ว ยืนนิ่งอยู่กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่ เจ้าพี่ทรงทราบว่า ข้าพระองค์ปรารถนากระต่ายจากดวงจันทร์ไม่ได้แล้วจะตาย ก็เหตุไร เจ้าพี่จึงเศร้าโศกถึงโอรสที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วเล่า? แล้วกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :- ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ถ้าพระองค์ทรงทราบ และตรัสสอนผู้อื่นอย่างนี้ไซร้ เหตุไรพระองค์จึงทรงเศร้าโศกถึงพระราชโอรสผู้สิ้ นพระชนม์ไปแล้ว ในกาลก่อน จนกระทั่งถึงวันนี้เล่า? ฆตบัณฑิตยืนอยู่ระหว่างวิถีกราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่ หม่อมฉันปรารถนาสิ่งที่เห็นปรากฏอยู่แท้ๆ แต่เจ้าพี่ทรงเศร้าโศกเพื่อทรงประสงค์สิ่งที่มิได้ปรากฏอยู่ เมื่อจะแสดงธรรมถวายพระราชา ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาอีกว่า :- มนุษย์หรือเทวดาไม่พึงได้ฐานะอันใด คือความมุ่งหวังว่า บุตรของเราที่เกิดมาแล้วอย่าตายเลย พระองค์ทรงปรารถนาฐานะอันนั้นอยู่ จะพึงทรงได้ฐานะที่ไม่ควรได้แต่ที่ไหน ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ พระองค์ทรงเศร้าโศกถึงพระโอรสองค์ใดผู้ไปปรโลกแล้ว พระองค์ก็ไม่สามารถจะนาพระโอรสนั้นมาได้ด้วยมนต์ ยารากไม้ โอสถ หรือพระราชทรัพย์เลย. พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วตรัสว่า แน่ะพ่อฆตบัณฑิต
  • 10. 10 คาที่กล่าวนี้ควรกาหนดไว้ ท่านได้ทาให้เราหายโศกแล้ว เมื่อจะสรรเสริญฆตบัณฑิต จึงตรัสพระคาถา ๔ พระคาถาว่า :- บุรุษผู้เป็ นบัณฑิตเช่นนี้ เป็ นอามาตย์ของพระราชาพระองค์ใด พระราชาพระองค์นั้นจะมีความโศกมาแต่ไหน เหมือนฆตบัณฑิตดับความโศกของเราในวันนี้ ฆตบัณฑิตได้รดเราผู้เร่าร้อนให้สงบระงับ ดับความกระวนกระวายทั้งปวงได้ เหมือนบุคคลดับไฟที่ติดเปรียงด้วยน้าฉะนั้น ฆตบัณฑิตได้ถอนลูกศรที่เสียบแทงหทัยของเราออกแล้ว ได้บรรเทาความโศกถึงบุตรของเราผู้ถูกความเศร้าโศกครอบงาแล้วหนอ เราเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้แล้วปราศจากความโศก ไม่ขุ่นมัว จะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคาของเจ้า นะน้อง บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาที่หนึ่งมีความย่อดังนี้ว่า บุรุษผู้เป็ นบัณฑิตเช่นนี้ เป็ นอามาตย์ของพระราชาแม้พระองค์อื่นใด พระราชาพระองค์นั้นจะมีความโศกมาแต่ไหน เหมือนดังฆตบัณฑิต ยังเราผู้ถูกความเศร้าโศกถึงบุตรครอบงาแล้วให้ดับ คือให้เย็นได้แก่ให้ตื่น เพื่อประโยชน์แก่การกาจัดความโศกฉะนั้น. ในอวสาน มีอภิสัมพุทธคาถา ซึ่งมีเนื้อความง่ายดังนี้ว่า :- ผู้มีปัญญา มีใจกรุณา ย่อมทาผู้ที่เศร้าโศกให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกได้ เหมือนฆตบัณฑิตทาพระเชษฐาผู้เศร้าโศกให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศก ฉะนั้น. เมื่อพระเจ้าวาสุเทพผู้อันฆตบัณฑิตทาให้หมดความโศกแล้วอย่างนี้คร องราชสมบัติอยู่ โดยล่วงไปแห่งกาลยืดยาวนาน พระกุมารโอรสของกษัตริย์พี่น้องทั้ง ๑๐ ปรึกษากันว่า เขากล่าวกันว่า กัณหทีปายนดาบสผู้มีตาดังทิพย์ พวกเราจักทดลองท่านดูก่อน จึงประดับกุมารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง แสดงอาการเหมือนหญิงมีครรภ์ เอาลูกแก้วมรกตผูกไว้ที่ท้อง แล้วนาไปหาพระดาบสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เด็กหญิงนี้จักคลอดหรือไม่? พระดาบสพิจารณาดูรู้ว่า กาลวิบัติของกษัตริย์พี่น้อง ๑๐ องค์มาถึงแล้ว อายุสังขารของพวกเราเป็ นเช่นไรหนอ? ก็รู้ว่า จักตายวันนี้แน่ จึงกล่าวว่า กุมารทั้งหลาย พวกท่านต้องการอะไรด้วยเรื่องนี้ ถูกพวกกุมารเซ้าซี้ว่า ขอท่านจงบอกแก่พวกกระผมเถิด พระเจ้าข้า จึงกล่าวว่า ต่อนี้ไป ๗ วัน กุมาริกาผู้นี้จักคลอดปุ่มไม้ตะเคียนออกมา ด้วยเหตุนั้น ตระกูลของวาสุเทพจักพินาศ อนึ่ง ท่านทั้งหลายจงเอาปุ่มไม้ตะเคียนนั้น ไปเผาแล้วเอาเถ้าไปทิ้งในแม่น้า
  • 11. 11 ลาดับนั้น พระกุมารเหล่านั้นกล่าวกะพระดาบสว่า ดูก่อนชฎิลโกง ธรรมดาผู้ชายออกลูกได้ไม่มีเลย แล้วทากรรมกรณ์ชื่อตันตรัชชุกะ ให้ดาบสสิ้นชีวิตในที่นั้นเอง. กษัตริย์พี่น้องทั้งหลาย เรียกพระกุมารมาตรัสถามว่า พวกเจ้าฆ่าพระดาบสเพราะเหตุไร? ครั้นได้สดับเรื่องทั้งหมดแล้วทรงหวาดกลัวจึงรักษาเด็กนั้นไว้ ครั้นถึงวันที่ ๗ ให้เผาปุ่มตะเคียนที่ออกจากท้องเด็กนั้น แล้วเอาเถ้าไปทิ้งในแม่น้า เถ้านั้นถูกน้าพัดไปติดอยู่ที่ปากอ่าวข้างหนึ่ง เกิดเป็ นตะไคร่น้าขึ้นที่นั้น. อยู่มาวันหนึ่ง กษัตริย์เหล่านั้นชวนกันทรงสมุทรกีฬา เสด็จไปถึงปากอ่าวแล้วให้ปลูกมหามณฑปทรงเสวยทรงดื่ม ทรงหยอกเย้ากันที่มหามณฑปซึ่งตกแต่งงดงาม ใช้พระหัตถ์และพระบาทถูกต้องกันแต่เป็นไปด้วยอานาจความเย้ยหยัน จึงทะเลาะกันยกใหญ่ แตกกันเป็นสองพวก ลาดับนั้น กษัตริย์พระองค์หนึ่ง เมื่อไม่ได้ไม้ตะบองอย่างอื่นก็ถือใบตะไคร้น้าแต่กอตะไคร้น้าใบหนึ่ง ใบตะไคร้น้านั้นพอถูกจับเข้าเท่านั้น ก็กลายเป็นสากไม้ตะเคียน พระองค์ทรงตีมหาชนด้วยสากนั้นแล้ว สิ่งที่คนทั้งหมดจับด้วยเข้าใจว่าเป็นอย่างอื่น ก็กลายเป็นสากไปหมด เขาจึงประหารกันและกันถึงความพินาศสิ้น เมื่อเขาเหล่านั้นกาลังพินาศอยู่ กษัตริย์ ๔ องค์คือวาสุเทพ พลเทพ อัญชนเทวีภคินี และปุโรหิต พากันขึ้นรถหนีไป พวกที่เหลือพากันพินาศหมด กษัตริย์ ๔ องค์เหล่านั้นขึ้นรถหนีไปถึงดงกาฬมัตติกะ ก็มุฏฐิกะคนปล้านั้นซึ่งตั้งความปรารถนาไว้ได้เกิดเป็ นยักษ์อยู่ในดงนั้ น รู้ว่า พลเทพมาก็เนรมิตรบ้านขึ้นที่นั่น แปลงเพศเป็นคนปล้าเที่ยวโห่ร้องคารามตบมือท้าทายว่า ใครต้องการสู้ พลเทพพอเห็นเขาเหล่านั้นก็กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่ หม่อมฉันจักสู้กับบุรุษนี้เอง เมื่อวาสุเทพห้ามอยู่นั่นแหละลงจากรถตบมือเข้าไปหายักษ์นั้น. ลาดับนั้น ยักษ์จึงจับมือที่เหยียดออกแล้วกินพลเทพเสียดุจเหง้าบัว. วาสุเทพรู้ว่าพลเทพสิ้นชีวิต จึงพาภคินีและปุโรหิตเดินทางไปตลอดคืน พอรุ่งสว่างก็ถึงปัจจันตคามตาบลหนึ่ง สั่งภคินีและปุโรหิตไปยังบ้านสั่งว่า จงหุงอาหารแล้วนามา ตัวเองเข้าไปนอนซ่อนอยู่ที่กอไม้กอหนึ่ง ครั้งนั้น นายพรานคนหนึ่งชื่อชรา เห็นกอไม้ไหวๆ เข้าใจว่า สุกรจักมีที่นั่น จึงพุ่งหอกไปถูกพระบาทวาสุเทพ
  • 12. 12 เมื่อวาสุเทพตรัสว่า ใครแทงเรา นายพรานรู้ว่าตนแทงมนุษย์ ก็ตกใจกลัว ปรารภจะหนีไป พระราชาดารงพระสติไว้เสด็จลุกขึ้น ตรัสเรียกว่า ดูก่อนลุง อย่ากลัวเลยจงมาเถิด ครั้นนายพรานมาแล้ว จึงตรัสถามว่า ท่านชื่ออะไร? เมื่อนายพรานตอบว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าชื่อชรา ก็ทรงทราบว่า นัยว่าคนรุ่นก่อนพยากรณ์เราไว้ว่า จักถูกนายชราแทงตาย วันนี้เราคงตายโดยไม่ต้องสงสัย แล้วตรัสกะนายชราว่า ดูก่อนลุง ท่านอย่ากลัวเลย จงมาช่วยพันแผลที่เท้าให้เรา ให้นายพรานชราพันปากแผลแล้วก็ส่งนายพรานนั้นไป เวทนามีกาลังได้เป็ นไปอย่างแรงกล้า พระราชาไม่อาจจะเสวยพระกระยาหารที่ภคินีและปุโรหิตนามาได้ ลาดับนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกชนทั้งสองมาตรัสว่า เราจักตายวันนี้ ก็ท่านทั้งสองเป็นสุขุมาลชาติ ไม่อาจจะทาการงานอย่างอื่นเลี้ยงชีพได้ จงเรียนวิชานี้ไว้ แล้วให้ศึกษาวิชาอย่างหนึ่ง แล้วส่งเขากลับไป พระองค์สิ้นพระชนม์อยู่ ณ ที่นั้นเอง กษัตริย์พี่น้องทั้งหมด นอกจากอัญชนเทวีแล้วถึงความพินาศสิ้น. พระศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก โบราณกบัณฑิตฟังด้วยคาของบัณฑิตแล้ว กาจัดความโศกถึงบุตรของตนออกได้ ท่านอย่าคิดถึงเขาเลย ดังนี้ แล้วทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ อุบาสกดารงอยู่ในโสดาปัตติผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า โรหิเณยยอามาตย์ในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ ในบัดนี้ วาสุเทพในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระสารีบุตร ในบัดนี้ พวกที่เหลือนอกนี้ในครั้งนั้น ได้มาเป็น พุทธบริษัท ในบัดนี้ ส่วนฆตบัณฑิตในครั้งนั้น ได้มาเป็น เราผู้สัมมาสัมพุทธะ เปิดหลังคาคื อกิเลสในโลกได้แล้ว ฉะนี้แล. จบ อรรถกถาฆตบัณฑิตชาดกที่ ๑๖ -----------------------------------------------------