SlideShare a Scribd company logo
1
ปัณฑรกนาคราชชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๑๘)
ว่าด้วยปัณฑรกนาคราช
(ปัณฑรกนาคราชคร่าครวญว่า)
[๒๕๘] ภัยที่ตนเองก่อขึ้นย่อมติดตามคนไร้ปัญญา พูดจาพล่อยๆ
ไม่ปกปิดความรู้ ขาดความระมัดระวัง ไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบ
เหมือนพญาครุฑไล่จับปัณฑรกนาคราช
[๒๕๙] นรชนใดพอใจบอกมนต์ที่ลี้ลับ ที่ตนควรจะปกปิดรักษา
เพราะความเขลา ภัยย่อมติดตามเขาผู้เปิดเผยมนต์โดยพลัน
เหมือนพญาครุฑไล่จับปัณฑรกนาคราช
[๒๖๐] มิตรเทียมไม่ควรจะรู้เนื้อความสาคัญซึ่งเป็ นความลับ
แต่มิตรแท้ผู้ไม่รู้หรือรู้สิ่งที่ไม่เป็ นประโยชน์ ก็ไม่ควรจะรู้ความลับนั้น
[๒๖๑] เราไว้วางใจอเจลก(ชีเปลือย)ว่า ผู้นี้เป็ นสมณะ ชาวโลกนับถือ
อบรมตนดีแล้ว ได้เปิดเผยบอกความลับแก่เขา จึงล่วงเลยประโยชน์
ร้องไห้อยู่อย่างลาเค็ญ
[๒๖๒] พญาครุฑผู้ประเสริฐ สาหรับเขา
ข้าพเจ้าไม่อาจจะระวังวาจาที่เร้นลับอย่างยิ่งนี้ได้ เพราะเหตุนั้น
ภัยจากฝ่ายเขาจึงมาถึงข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงล่วงเลยประโยชน์
ร้องไห้อยู่อย่างลาเค็ญ
[๒๖๓] นรชนใดสาคัญผู้นี้ว่า เป็ นคนมีใจดี
บอกความลับกับคนที่เกิดในสกุลต่าทราม เพราะความรัก ความชัง
หรือเพราะความเกรงกลัว นรชนนั้นเป็ นคนโง่ ต้องย่อยยับโดยไม่ต้องสงสัย
[๒๖๔] นรชนใดมีปกติพูดนอกเรื่อง นับเนื่องเข้าในพวกอสัตบุรุษ
ชอบกล่าวถ้อยคาในที่ประชุมชน นรชนนั้นปราชญ์กล่าวว่า คนมีพิษร้าย ปากเสีย
ควรระมัดระวังคนเช่นนั้นให้ห่างไกล
[๒๖๕] ข้าพเจ้าได้ละทิ้งสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งหมดไปแล้ว คือ ข้าว น้า
ผ้าแคว้นกาสี จุรณแก่นจันทน์แดง หญิงที่เจริญใจ พวงดอกไม้
และเครื่องชโลมทา ข้าแต่พญาครุฑ ข้าพเจ้าขอมอบชีวิตแก่ท่าน
(พญาครุฑกล่าวคาถาตาหนิปัณฑรกนาคราชว่า)
[๒๖๖] บรรดาเราทั้ง ๓ ในที่นี้ ใครหนอย่อมถูกตาหนิ นาคราช
เราทั้งหลายเป็นสัตว์มีชีวิตในโลกนี้ คือ สมณะ ครุฑ
หรือว่าท่านกันแน่ย่อมถูกตาหนิ ปัณฑรกนาคราช
ท่านถูกข้าพเจ้าจับเพราะเหตุไร
2
(ปัณฑรกนาคราชฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๒๖๗] อเจลกนั้นเป็นผู้ที่ข้าพเจ้ายกย่องว่า เป็นสมณะ
เป็นที่รักของข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายกย่องด้วยใจจริง
ข้าพเจ้าจึงได้เปิดเผยบอกความลับแก่เขา จึงได้ล่วงเลยประโยชน์
ร้องไห้อยู่อย่างลาเค็ญ
(พญาครุฑกล่าวว่า)
[๒๖๘] แท้จริง สัตว์ชื่อว่าจะไม่ตายไม่มีในแผ่นดิน
ปัญญามีอยู่หลายอย่าง บุคคลไม่ควรนินทา
นรชนในโลกนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่บรรลุ ได้ด้วยสัจจะ ๑ ธรรมะ ๑ ปัญญา
๑ ทมะ ๑
[๒๖๙] มารดาบิดานับว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมแห่งเผ่าพันธุ์ บุคคลที่ ๓
ผู้ช่วยเหลือเขาไม่มี เมื่อระแวงสงสัยว่า ความลับที่ปรึกษาไว้จะแตก
ก็ไม่พึงบอกความลับที่สาคัญ แม้แก่มารดาบิดาเหล่านั้น
[๒๗๐] เมื่อสงสัยว่า มนต์จะแตกทาลาย
บัณฑิตไม่พึงบอกความลับที่สาคัญแม้แก่มารดาบิดา พี่สาวน้องสาว
พี่ชายน้องชาย เพื่อนสหาย หรือญาติพวกพ้องของตน
[๒๗๑] ถึงภรรยาจะยังสาวพูดจาไพเราะ ถึงพร้อมด้วยบุตรธิดา
มีรูปร่างสวยงาม มีเกียรติยศชื่อเสียง มีหมู่ญาติแวดล้อม พูดอ้อนสามี เมื่อสงสัยว่า
ความลับที่ปรึกษาไว้จะแตก บัณฑิตไม่พึงบอกความลับที่สาคัญแม้แก่นาง
[๒๗๒] บัณฑิตไม่พึงเปิดเผยความลับ
พึงรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์
เพราะว่าความลับบุคคลรู้อยู่ไม่เปิดเผยได้เป็นการดี
[๒๗๓] บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ๑ ศัตรู ๑ คนที่ใช้อามิสล่อ
๑ คนผู้ล้วงความลับ ๑
[๒๗๔] คนผู้รู้ความลับที่ผู้อื่นไม่รู้
เพราะกลัวความลับที่ปรึกษาหารือกันไว้จะแตก
ย่อมอดกลั้นไว้ดุจบุคคลผู้เป็นทาสเขา
[๒๗๕] คนมีประมาณเท่าใดล่วงรู้ความลับที่เขาปรึกษากัน
คนมีประมาณเท่านั้นเป็นบุคคลที่น่าหวาดกลัวของเขา เพราะฉะนั้น
บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับ
[๒๗๖] เวลากลางวันควรพูดความลับในที่สงัด
เวลากลางคืนไม่ควรพูดดังเกินไป
เพราะเหตุว่าคนแอบฟังได้ยินความลับที่ปรึกษากันเข้า
ความลับนั้นจะถึงการแพร่งพรายโดยเร็วพลัน
3
[๒๗๗] นครใหญ่ที่สร้างด้วยเหล็ก ไม่มีประตู
มีโรงเรือนล้วนสร้างด้วยเหล็ก มีคูขุดไว้ล้อมรอบ ย่อมปรากฏแม้ฉันใด
แม้ผู้มีความคิดอันลี้ลับในโลกนี้ก็ปรากฏแก่เราฉันนั้น
[๒๗๘] นาคราชผู้มีลิ้นสองแฉก นรชนเหล่าใดปกปิดความคิดไว้
ไม่พูดพล่อย มั่นคงอยู่ในประโยชน์ของตน
ศัตรูทั้งหลายย่อมหลีกห่างไกลจากนรชนเหล่านั้น
เหมือนคนรักชีวิตหลีกห่างไกลจากหมู่สัตว์อสรพิษฉะนั้น
(เมื่อพญาครุฑกล่าวอย่างนั้นแล้ว ปัณฑรกนาคราชจึงกล่าวว่า)
[๒๗๙] อเจลกละทิ้งบ้านเรือนแล้วบวช มีศีรษะโล้น
ประพฤติเป็นคนเปลือยเพราะเหตุแห่งการหากิน
เพราะข้าพเจ้าเปิดเผยความลับกับเขาแล จึงได้เสื่อมจากอรรถและธรรม
[๒๘๐] พญาครุฑ บุคคลกระทาอย่างไร มีศีลอย่างไร บาเพ็ญวัตรอะไร
ประพฤติละความยึดมั่นว่าเป็ นของเราอย่างไร จึงจะเป็นสมณะได้ อนึ่ง
สมณะกระทาอย่างไรจึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
(พญาครุฑกล่าวว่า)
[๒๘๑] บุคคลประกอบด้วยหิริ ด้วยความอดกลั้น ด้วยการฝึกตน
ไม่โกรธ ละคาส่อเสียด ประพฤติละความยึดมั่นว่าเป็ นของเราเสีย
จึงจะเป็นสมณะได้ สมณะกระทาอย่างนี้จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
(ปัณฑรกนาคราชเมื่อจะขอชีวิต จึงกล่าวว่า)
[๒๘๒] มารดากอดสัมผัสบุตรอ่อนซึ่งเกิดแต่ตน
แผ่ซ่านเรือนร่างทุกส่วนสัดปกป้ องฉันใด ท่านผู้เป็นจอมแห่งนก
ท่านจงปรากฏแก่ข้าพเจ้าแม้ฉันนั้น เหมือนมารดาเอ็นดูบุตร
(พญาครุฑเมื่อจะให้ชีวิตแก่ปัณฑรกนาคราช จึงกล่าวว่า)
[๒๘๓] เอาเถิด ท่านผู้มีลิ้นสองแฉก วันนี้ท่านจงพ้นจากการถูกฆ่า
ธรรมดาลูกมี ๓ ประเภท คือ (๑) ลูกศิษย์ (๒) ลูกบุญธรรม (๓) ลูกในไส้
อย่างอื่นหามีไม่ ท่านจงยินดีเถิด ท่านได้เป็ นบุตรประเภทหนึ่งของข้าพเจ้าแล้ว
(พระศาสดาตรัสพระคาถาแล้วทรงประกาศความนั้นว่า)
[๒๘๔] พญาครุฑกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็โผลงจับภาคพื้นปล่อยพญานาค
กล่าวว่า วันนี้ท่านรอดพ้นภัยทั้งปวงแล้ว
จงเป็ นผู้มีข้าพเจ้าคุ้มครองทั้งทางบกทางน้าเถิด
[๒๘๕] หมอผู้ฉลาดเป็ นที่พึ่งของคนไข้ได้ฉันใด
ห้วงน้าเย็นเป็ นที่พึ่งของคนผู้กระหายได้ฉันใด
ที่พักเป็ นที่พึ่งของคนผู้ถูกความเย็นเพราะหิมะรบกวนฉันใด
แม้ข้าพเจ้าก็จะเป็ นที่พึ่งของท่านฉันนั้น
(พญาครุฑเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า)
4
[๒๘๖] นี่พญานาคผู้เกิดในครรภ์ ท่านเชื่อมสัมพันธ์กับพญาครุฑ
ผู้เกิดในฟองไข่ที่เป็ นศัตรู ยังนอนแยกเขี้ยวอยู่ ภัยนั้นมีมาแต่ไหนหนอ
(พญานาคกล่าวว่า)
[๒๘๗] ในศัตรูบุคคลพึงระแวงไว้ก่อน แม้ในมิตรก็ไม่พึงวางใจ
ภัยที่เกิดขึ้นจากคนไม่มีภัยย่อมกัดกร่อนจนถึงโคนราก
[๒๘๘]
บุคคลจะพึงวางใจในคนผู้เคยทาการทะเลาะกันมาแล้วได้อย่างไรเล่า
บุคคลผู้ดารงอยู่ด้วยการเตรียมตัวอยู่เป็นนิตย์ ย่อมไม่ยินดีกับศัตรู
[๒๘๙] พึงทาให้ผู้อื่นวางใจตน แต่ตนเองไม่พึงวางใจเขา
ไม่พึงให้ผู้อื่นระแวงตน แต่ตนพึงระแวงผู้อื่น
วิญญูชนพึงพยายามโดยที่ผู้อื่นจะไม่รู้ความเป็นไปของตน
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๒๙๐] สัตว์ผู้ประเสริฐทั้ง ๒ นั้นมีเพศพรรณดุจเทพยดาสุขุมาลชาติ
มีทรวดทรงสัณฐานและวัยงามเสมอกัน บริสุทธิ์ มีกองกุศลผลบุญ คลอเคลียกันไป
เหมือนพาหนะเทียมด้วยม้า ได้เข้าไปหากรัมปิยอเจลก
[๒๙๑] ลาดับนั้นแล ปัณฑรกนาคราชได้เข้าไปหาอเจลก
ตามลาพังตนเองแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ ข้าพเจ้ารอดตาย
ผ่านพ้นภัยทั้งปวงมาได้ คงไม่เป็นที่พอใจของท่านแน่นอน
(อเจลกกล่าวว่า)
[๒๙๒] ก็พญาครุฑเป็ นที่รักของเราอย่างแท้จริง
ยิ่งกว่าปัณฑรกนาคราชโดยไม่ต้องสงสัย เรานั้นมีความรักใคร่ ทั้งๆ ที่รู้อยู่
ก็ได้กระทากรรมชั่วช้านั้นลงไป หาทาไปเพราะความโง่เขลาไม่
(นาคราชกล่าวว่า)
[๒๙๓] ธรรมดาบรรพชิตผู้พิจารณาเห็นโลกนี้และโลกหน้า
ย่อมจะไม่มีความคิดว่า สิ่งนี้เป็ นที่รักของเรา หรือสิ่งนี้ไม่เป็นที่รักของเรา
ก็ท่านเป็นผู้ไม่สารวม
แต่ประพฤติลวงชาวโลกนี้ด้วยเพศแห่งผู้มีความสารวมด้วยดี
[๒๙๔] ท่านมิใช่พระอริยะ แต่ทาเหมือนพระอริยะ มิใช่คนสารวม
แต่ทาเหมือนคนสารวม มีชาติต่าทราม หาใช่ผู้ประเสริฐไม่
ได้ประพฤติชั่วช้าลามกเป็นอันมาก
(ครั้นตาหนิแล้วเมื่อจะสาป จึงกล่าวว่า)
[๒๙๕] เจ้าคนผู้มีนิสัยประทุษร้าย เจ้าเป็นคนประทุษร้ายมิตร
ผู้ไม่ประทุษร้าย ทั้งเป็นคนพูดจาส่อเสียด ด้วยการกล่าวคาสัตย์นี้
ขอศีรษะของเจ้าจงแตก ๗ เสี่ยง
(พระศาสดาทรงประกาศความที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ จึงตรัสว่า)
5
[๒๙๖] เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่ควรประทุษร้ายมิตร
เพราะว่าคนอื่นที่จะเลวกว่าคนผู้ประทุษร้ายมิตรไม่มี
อเจลกถูกสัตว์มีพิษสาปกาจัดลงแล้วในแผ่นดิน ทั้งๆ ที่ปฏิญญาว่า
เรามีความสารวม ก็ถูกทาลายแล้วด้วยคาของจอมนาคินทร์
ปัณฑรกนาคราชชาดกที่ ๘ จบ
--------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
ปัณฑรกชาดก
ว่าด้วย ไม่ควรบอกความลับแก่คนอื่น
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการที่พระเทวทัตทามุสาวาทแล้วถูกแผ่นดินสูบ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
ความย่อว่า เมื่อพวกภิกษุพากันกล่าวโทษพระเทวทัต ในคราวนั้น
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้
แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตก็กระทามุสาวาท ถูกแผ่นดินสูบแล้วเหมือนกันดังนี้
แล้วทรงนาอดีตนิทานมาตรัส ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพาราณสี
พ่อค้า ๕๐๐ คน แล่นสาเภาไปยังมหาสมุทร ในวันคารบเจ็ด
สาเภาอันอยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็นฝั่ง ได้แตกลงในหลังมหาสมุทร
ผู้คนได้เป็ นเหยื่อแห่งปลาและเต่าหมด มีเหลือเพียงคนเดียว.
ก็บุรุษที่เหลือคนเดียวนั้น ด้วยกาลังลมพัดลอยไปถึงท่าชื่อกทัมพิยะ
เขาขึ้นจากทะเลได้แล้ว เปลือยกายล่อนจ้อน เที่ยวขอทานตามท่านั้น.
มนุษย์ทั้งหลายเห็นเขาเข้าก็พากันสรรเสริญว่า ท่านผู้นี้เป็นสมณะ
มักน้อยสันโดษ แล้วทาสักการะบูชา. เขาคิดว่า เราได้ช่องทางหาเลี้ยงชีพแล้ว
แม้เมื่อชนเหล่านั้นให้เครื่องนุ่งห่ม ก็มิได้ปรารถนา ชนเหล่านั้นเข้าใจว่า
สมณะผู้มักน้อยยิ่งกว่าท่านผู้นี้ไม่มี ดังนี้แล้วพากันเลื่อมใสยิ่งขึ้น
ช่วยกันสร้างอาศรมบทให้ชีเปลือยนั้นพานักอยู่ที่นั้น.
เขามีชื่อปรากฏว่ากทัมพิยอเจลก เมื่อเขาอยู่ ณ ที่นั้น
ลาภสักการะเกิดขึ้นมากมาย.
พญานาคราชตนหนึ่งกับพญาครุฑตนหนึ่ง
พากันมายังที่บารุงของชีเปลือยนั้น ในพญาสัตว์ทั้งสองนั้น
พญานาคชื่อว่า ปัณฑรกนาคราช.
อยู่มาวันหนึ่ง พญาครุฑไปยังสานักชีเปลือยนั้น ไหว้แล้วจับอยู่ ณ
ที่ส่วนข้างหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ญาติของกระผม
เมื่อจับพวกนาคย่อมพินาศไปเสียมากมาย เพราะพวกกระผมไม่รู้วิธีที่จะจับนาค
6
ได้ยินว่าเหตุที่ซ่อนเร้นของพวกนาคเหล่านั้นมีอยู่ ท่านจะสามารถหรือหนอ
เพื่อประเล้าประโลมถามเหตุนั้นกะพวกนาค.
ชีเปลือยรับคาแล้ว ครั้นพญาครุฑไหว้แล้วลากลับไป.
ในเวลาที่พญานาคมาหา จึงถามพญานาคผู้ไหว้แล้วนั่งพักอยู่ว่า
พญานาคเอ๋ย เขาว่า เมื่อพวกครุฑจับพวกท่าน ต้องพินาศไปมากมาย
ทาไมเมื่อมันจะจับพวกท่าน จึงไม่สามารถจะจับได้?
พญานาคตอบว่า ท่านขอรับ
ข้อนี้เป็นเหตุซ่อนเร้นลึกลับของพวกกระผม เมื่อกระผมบอกเหตุนี้แล้ว
ย่อมได้ชื่อว่านาความตายมาให้แก่หมู่ญาติ.
ชีเปลือยจึงพูดว่า อาวุโส ก็ท่านเข้าใจว่า
คนอย่างเรานี้จักบอกแก่คนอื่นอย่างนี้หรือ เราจักไม่บอกแก่คนอื่นเลย
ก็เราถามเนื่องด้วยตนอยากจะรู้ ท่านเชื่อเราแล้วต้องปลอดภัย จงบอกเถิด.
พญานาคตอบว่า ท่านขอรับ กระผมบอกไม่ได้ ไหว้แล้วก็ลาหลีกไป.
แม้ในวันรุ่งขึ้น ชีเปลือยก็ถามอีก แม้ถึงอย่างนั้น
พญานาคก็ไม่ยอมบอกดุจเดิม.
ครั้นต่อมาในวันที่ ๓ ชีเปลือยจึงถามพญานาคผู้มานั่งอยู่ว่า
วันนี้เป็นวันที่ ๓ เมื่อเราถาม ทาไมท่านจึงไม่บอก?
พญานาคตอบว่า ท่านขอรับ
เพราะกระผมกลัวว่าท่านจักบอกแก่คนอื่น. ชีเปลือยย้าว่า เราจักไม่บอกใคร
ท่านปลอดภัยแน่ จงบอกเถิด.
พญานาคจึงกล่าวว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น
ท่านโปรดอย่าบอกคนอื่นเลย รับปฏิญญาแล้ว จึงบอกว่า ท่านขอรับ
พวกกระผมกลืนกินก้อนหินใหญ่เข้าไว้ ทาตัวให้หนักนอนอยู่
ในเวลาพวกครุฑมา ก็ยื่นหน้าออกแยกเขี้ยวคอยจะขบครุฑ
พวกครุฑมาถึงก็จับศีรษะของพวกกระผมไว้ เมื่อมันพยายามจะฉุดพวกกระผม
ซึ่งเป็ นเหมือนภาระหนักอึ้งนอนอยู่ขึ้น น้าก็ท่วมทับมัน
พวกมันก็ตายภายในน้านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ พวกครุฑจึงพินาศไปเป็นจานวนมาก
เมื่อพวกมันจะจับพวกกระผม ทาไมจะต้องจับที่ศีรษะ พวกครุฑโง่ๆ
จะต้องจับที่ขนดหาง ทาให้พวกกระผมมีศีรษะห้อยลงเบื้องต่า
ให้สารอกอาหารที่กลืนไว้ออกทางปาก ทาตัวให้เบาแล้วอาจจะจับไปได้
พญานาคบอกเหตุเร้นลับของตนแก่ชีเปลือยผู้ทุศีล ด้วยประการฉะนี้.
ครั้นเมื่อพญานาคลากลับไปแล้ว
ต่อมาพญาครุฑมาไหว้กทัมพิยอเจลกแล้วถามว่า ท่านขอรับ
ท่านถามเหตุซ่อนเร้นของพญานาคแล้วหรือ?
ชีเปลือยตอบว่า เอออาวุโส
7
แล้วบอกความตามที่พญานาคบอกแก่ตนนั้นทุกประการ.
พญาครุฑได้ฟังเช่นนั้นจึงคิดว่า พญานาคทากรรมที่ไม่สมควรเสียแล้ว
ธรรมดาลู่ทางที่จะให้มวลญาติฉิบหาย ไม่ควรบอกแก่คนอื่นเลย ถึงทีเราแล้ว
วันนี้ควรที่เราจะต้องทาลมกาลังสุบรรณ จับปัณฑรกนาคราชนี้ก่อนทีเดียว.
พญาครุฑนั้นก็กระทาลมกาลังสุบรรณ
จับปัณฑรกนาคราชทางขนดหางทาให้มีศีรษะห้อยลง
ทาให้สารอกอาหารที่กลืนเข้าไป แล้วโผขึ้นบินไปในอากาศ.
ปัณฑรกนาคราช เมื่อต้องห้อยศีรษะลงในอากาศ ก็ปริเทวนาการว่า
เรานาทุกข์มาให้แก่ตัวเองแท้ๆ กล่าวคาถาความว่า
ภัยเกิดจากตนเอง ย่อมตามถึงบุคคลผู้ไร้ปัญญา พูดพล่อยๆ
ไม่ปิดบังความรู้ ขาดความระมัดระวัง ขาดความพินิจพิจารณา
เหมือนครุฑตามถึงเราผู้ปัณฑรกนาคราช ฉะนั้น.
นรชนใดยินดีบอกมนต์ลึกลับที่ตนควรจะรักษาแก่คนชั่ว
เพราะความหลง ภัยย่อมตามถึงนรชนนั้นผู้มีมนต์อันแพร่งพรายแล้วโดยพลัน
เหมือนครุฑตามถึงเราผู้ปัณฑรกนาคราช ฉะนั้น.
มิตรเทียมไม่ควรจะให้รู้เหตุสาคัญอันลึกลับ ถึงมิตรแท้แต่เป็นคนโง่
หรือมีปัญญาแต่ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ก็ไม่ควรจะให้รู้ความลับเหมือนกัน.
เราได้ถึงความคุ้นเคยกับชีเปลือย ด้วยเข้าใจว่า สมณะนี้โลกเขานับถือ
มีตนอบรมดีแล้ว ได้บอกเปิดเผยความลับแก่มัน จึงได้ล่วงเลยประโยชน์
ร้องไห้อยู่ดุจคนกาพร้า ฉะนั้น.
ดูก่อนพญาครุฑที่ประเสริฐ เมื่อก่อนเรามีวาจาปกปิด
ไม่บอกความลับแก่มัน แต่ก็ไม่อาจระมัดระวังได้ แท้จริง
ภัยได้มาถึงเราจากทางชีเปลือยนั้น เราจึงได้ล่วงเลยประโยชน์
ร้องไห้อยู่ดุจคนกาพร้า ฉะนั้น.
นรชนใดสาคัญว่า ผู้นี้มีใจดี บอกความลับกะคนสกุลทราม
นรชนนั้นเป็ นคนโง่เขลา ทรุดโทรมลงโดยไม่ต้องสงสัย เพราะโทสาคติ ภยาคติ
หรือเพราะฉันทาคติ.
ผู้ใดปากบอนนับเข้าในพวกอสัตบุรุษ ชอบกล่าวถ้อยคาในที่ประชุมชน
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ผู้มีปากชั่วร้าย คล้ายอสรพิษ
ควรระมัดระวังคนเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล.
เราได้ละทิ้ง ข้าว น้า ผ้าแคว้นกาสี และจุรณจันทน์
สตรีที่เจริญใจดอกไม้และเครื่องชโลมทาซึ่งเป็ นส่วนกามารมณ์ทั้งปวงไปหมดแล้
ว ดูก่อนพญาครุฑ เราขอถึงท่านเป็นสรณะด้วยชีวิต.
ปัณฑรกนาคราชมีศีรษะห้อยลงในอากาศ ปริเทวนาการด้วยคาถาทั้ง
8
๘ อยู่อย่างนี้.
พญาครุฑได้ยินเสียงปริเทวนาการของพญานาคราชนั้น
จึงติเตียนพญานาคราชนั้นว่า ท่านนาคราช
ท่านบอกความลับของตนแก่ชีเปลือยแล้ว ทาไมบัดนี้จึงปริเทวนาการอยู่เล่า
แล้วกล่าวคาถาความว่า
ดูก่อนปัณฑรกนาคราช บรรดาสัตว์ทั้ง ๓ จาพวก คือสมณะ
ครุฑและนาค ใครหนอควรจะได้รับคาติเตียนในโลกนี้
ที่จริงตัวท่านนั่นแหละควรจะได้รับ ท่านถูกครุฑจับเพราะเหตุไร.
ในพวกเราทั้ง ๓ อย่าติเตียนชีเปลือยก่อน
เพราะชีเปลือยนั้นถามความลับด้วยอุบาย ท่านอย่าติเตียนแม้สุบรรณ
เพราะเราก็เป็นข้าศึกของท่านโดยตรง.
ปัณฑรกนาคราชได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาความว่า
ชีเปลือยนั้นเป็นผู้มีอัตภาพ อันเรายกย่องว่า เป็ นสมณะ
เป็นที่รักของเรา ทั้งเป็นผู้อันเรายกย่องด้วยใจจริง
เราจึงบอกเปิดเผยความลับแก่มัน เราเป็นคนขาดประโยชน์แล้ว
ต้องร้องไห้อยู่ดุจคนกาพร้าฉะนั้น.
ลาดับนั้น พญาครุฑได้กล่าวคาถา ๔ คาถาความว่า
แท้จริง สัตว์ที่จะไม่ตายไม่มีเลยในแผ่นดิน
ธรรมชาติเช่นกับปัญญาไม่ควรติเตียน คนในโลกนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้
เพราะสัจจธรรม ปัญญาและทมะ.
มารดาบิดาเป็นยอดเยี่ยมแห่งเผ่าพันธุ์
คนที่สามชื่อว่ามีความอนุเคราะห์แก่บุตรนั้น ไม่มีเลย เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตก
ก็ไม่ควรบอกความลับสาคัญ แม้แก่มารดาบิดานั้น.
เมื่อบุคคลรังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่ควรแพร่งพรายความลับที่สาคัญ
แม้แก่บิดามารดา พี่สาว น้องสาว พี่ชาย น้องชาย หรือแก่สหาย
แก่ญาติฝ่ายเดียวกับตน.
ถ้าภรรยาสาวพูดไพเราะ ถึงพร้อมด้วยบุตรธิดา รูปและยศ
ห้อมล้อมด้วยหมู่ญาติ จะพึงกล่าวอ้อนวอนสามีให้บอกความลับ
เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตก ไม่ควรแพร่งพรายความลับสาคัญ แม้แก่ภรรยานั้น.
พญาครุฑกล่าวคาเป็นคาถาต่อไปอีก ความว่า
บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับเลย ควรรักษาความลับนั้นไว้
เหมือนรักษาขุมทรัพย์ ความลับอันบุคคลอื่นรู้เข้าทาให้แพร่งพราย ไม่ดีเลย.
คนฉลาดไม่ควรขยายความลับแก่สตรี ศัตรู คนมุ่งอามิส
และแก่คนผู้หมายล้วงดวงใจ.
คนใดให้ผู้ไม่มีความคิดล่วงรู้ความลับ ถึงแม้เขาจะเป็นคนใช้ของตน
9
ก็จาต้องอดกลั้นไว้ เพราะกลัวความคิดจะแตก.
คนมีประมาณเท่าใด รู้ความลับที่ปรึกษากันของบุรุษ
คนประมาณเท่านั้นย่อมขู่ให้บุรุษนั้นหวาดกลัวได้ เพราะเหตุนั้น
จึงไม่ควรขยายความลับ.
ในกลางวันก็ดี กลางคืนก็ดี ควรพูดเปิดเผยความลับในที่สงัด
ไม่ควรเปล่งวาจาให้เกินเวลา เพราะคนที่คอยแอบฟัง
ก็จะได้ยินข้อความที่ปรึกษากัน เพราะเหตุนั้น ข้อความที่ปรึกษากัน
ก็จะถึงความแพร่งพรายทันที.
คาถาทั้ง ๕ คาถาจักมีแจ้งในบัณฑิตปัญหา ๕ ข้อ ในอุมมังคชาดก.
พญาครุฑได้กล่าวคาถา ๒ คาถาถัดนั้นไป ความว่า
ผู้มีความคิดอันลี้ลับในโลกนี้ ย่อมปรากฏแก่เรา
เปรียบเหมือนนครอันล้วนแล้วด้วยเหล็กใหญ่โตไม่มีประตู
เจริญด้วยเรือนโรงล้วนแต่เหล็กประกอบด้วยคูอันขุดไว้โดยรอบ ฉะนั้น.
ดูก่อนปัณฑรกนาคราชผู้มีลิ้นชั่ว คนจาพวกใดมีความคิดลี้ลับ
ต้องไม่พูดแพร่งพราย มั่นคงในประโยชน์ของตน
อมิตรทั้งหลายย่อมเว้นไกลจากคนจาพวกนั้น
ดุจคนผู้รักชีวิตเว้นไกลจากหมู่อสรพิษฉะนั้น.
ท่านอธิบายความไว้ว่า
เครื่องอุปโภคของประชาชนย่อมอยู่ภายในนครเหล็ก
อันไม่มีประตูเข้าออกเท่านั้น คนที่อยู่ภายในก็ไม่ออกไปข้างนอก
คนที่อยู่ข้างนอกก็ไม่เข้าไปข้างใน ขาดการสัญจรไปมาติดต่อกันฉันใด
บุรุษทั้งหลายผู้มีความคิดลี้ลับต้องเป็ นฉันนั้น
คือให้ความลับของตนจางหายไปภายในใจของตนผู้เดียว ไม่ต้องบอกแก่คนอื่น.
ท่านกล่าวคาอธิบายไว้ว่า ศัตรูย่อมหลีกห่างไกลจากคน
ผู้มีความคิดลี้ลับเหล่านั้น ดุจเหล่ามนุษย์ผู้มุ่งจะมีชีวิตอยู่
ย่อมเว้นไกลจากหมู่สัตว์ร้าย เหล่าอสรพิษฉะนั้น คือไม่ได้โอกาสที่จะเข้าใกล้.
เมื่อพญาครุฑกล่าวธรรมอย่างนี้แล้ว
ปัณฑรกนาคราชจึงกล่าวคาถาความว่า
อเจลกชีเปลือย ละเรือนออกบวช มีศีรษะโล้น
เที่ยวไปเพราะเหตุแห่งอาหาร เราได้ขยายความลับแก่มันซิหนอ
เราจึงเป็นผู้ปราศจากประโยชน์และธรรม.
ดูก่อนพญาครุฑ บุคคลผู้ละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว
มาประพฤติเป็นนักบวช มีการทาอย่างไร มีศีลอย่างไร ประพฤติพรตอย่างไร
จึงจะชื่อว่าเป็นสมณะ สมณะนั้นมีการทาอย่างไร จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์.
พญาครุฑกล่าวตอบเป็นคาถา ความว่า
10
บุคคลผู้ละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว มาประพฤติเป็นนักบวช
ต้องประกอบด้วยความละอาย ความอดกลั้น ความฝึกตน ความอดทน
ไม่โกรธง่าย ละวาจาส่อเสียด จึงจะชื่อว่าเป็นสมณะ สมณะนั้นมีการกระทาอย่างนี้
จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์.
ปัณฑรกนาคราชได้ฟังธรรมกถาของพญาครุฑนี้แล้ว
เมื่อจะอ้อนวอนขอชีวิต จึงกล่าวคาถาความว่า
ข้าแต่พญาครุฑ ขอท่านจงปรากฏแก่ข้าพเจ้า
เหมือนมารดาที่กกกอดลูกอ่อนที่เกิดแต่ตน แผ่ร่างกายทุกส่วนสัดปกป้ อง
หรือดุจมารดาผู้เอ็นดูบุตรฉะนั้นเถิด.
คาถานั้นมีอธิบายดังนี้
มารดาเห็นบุตรอ่อนที่เกิดแต่ตัว เกิดแล้วในสรีระของตน
แล้วให้นอนในอ้อมอกให้ดื่มน้านม แผ่เรือนร่างทุกส่วนเพื่อปกป้ องบุตรไว้
คือมารดาไม่ไปจากบุตร บุตรก็ไม่ไปจากมารดาฉันใด
ท่านจงปรากฏแก่เราเหมือนฉันนั้นเถิด.
ลาดับนั้น พญาครุฑ เมื่อจะให้ชีวิตแก่พญานาค
จึงกล่าวคาถานอกนี้ความว่า
ดูก่อนพญานาคราชผู้มีลิ้นชั่ว เอาเถอะ
ท่านจงพ้นจากการถูกฆ่าในวันนี้ ก็บุตรมี ๓ จาพวก คือศิษย์ ๑ บุตรบุญธรรม ๑
บุตรตัว ๑ บุตรอื่นหามีไม่ ท่านยินดีจะเป็ นบุตรจาพวกไหนของเรา.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๒
คาถาความว่า
พญาครุฑจอมทิชชาติกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็โผลงจับที่แผ่นดิน
แล้วปล่อยพญานาคไปด้วยกล่าวว่า วันนี้ท่านรอดพ้นล่วงสรรพภัยแล้ว
จงเป็ นผู้อันเราคุ้มครองแล้ว ทั้งทางบกทางน้า.
หมอผู้ฉลาดเป็ นที่พึ่งของคนไข้ได้ฉันใด
ห้วงน้าอันเย็นเป็ นที่พึ่งของคนหิวระหายได้ฉันใด
สถานที่พักเป็ นที่พึ่งของคนเดินทางได้ฉันใด เราก็จะเป็ นที่พึ่งของท่าน ฉันนั้น.
พญาครุฑปล่อยนาคราชไปว่าท่านจงไปเถิด.
นาคราชนั้นก็เข้าไปสู่นาคพิภพ.
ฝ่ายพญาครุฑกลับไปสู่สุบรรณพิภพแล้วคิดว่า ปัณฑรกนาคราช
เราได้ทาการสบถให้เชื่อปล่อยไปแล้ว จะมีดวงใจต่อเราเช่นไรหนอ
เราจักทดลองดู แล้วไปยังนาคพิภพได้ทาลมแห่งครุฑ.
พญานาคราชเห็นเช่นนั้นสาคัญว่า พญาครุฑจักมาจับเรา
จึงเนรมิตอัตภาพยาวประมาณพันวา กลืนก้อนหินและทรายเข้าไว้ในตัวหนัก
นอนแผ่พังพานไว้ยอดขนดจดหางลงเบื้องต่า
11
ทาอาการประหนึ่งว่ามุ่งจะขบพญาครุฑ.
พญาครุฑเห็นอาการเช่นนั้น จึงกล่าวคาถานอกนี้ความว่า
แน่ะท่านผู้ชลามพุชชาติ ท่านแยกเขี้ยวจะขบ
มองดูดังจะทากับศัตรูผู้อัณฑชชาติ ภัยของท่านมีมาจากไหนกัน.
พญานาคราชได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาความว่า
บุคคลพึงรังเกียจในศัตรูทีเดียว แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้วางใจ
ภัยเกิดขึ้นได้จากที่ที่ไม่มีภัย มิตรย่อมตัดโค่นรากได้แท้จริง.
จะพึงไว้วางใจในบุคคล ที่ทาการทะเลาะกันมาแล้วอย่างไรได้เล่า
ผู้ใดดารงอยู่ได้ด้วยการเตรียมตัวเป็ นนิตย์ ผู้นั้นย่อมไม่ยินดีกับศัตรูของตน.
บุคคลพึงทาให้เป็นที่ไว้วางใจของคนอื่น
แต่ไม่ควรจะวางใจคนอื่นจนเกินไป ตนเองอย่าให้คนอื่นรังเกียจได้
แต่ควรรังเกียจเขา วิญญูชนพึงพากเพียรไปด้วยอาการที่ฝ่ายปรปักษ์จะรู้ไม่ได้.
ครั้นสองสัตว์ (คือพญาครุฑและพญานาคราช) เจรจากันอย่างนี้แล้ว
ก็สมัครสโมสรรื่นเริง บันเทิงกัน พากันไปยังอาศรมชีเปลือย.
พระบรมศาสดา เมื่อจะประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
สัตว์ทั้งสองมีเพศพรรณดังเทวดา สุขุมาลชาติเช่นเดียวกัน
อาจผจญได้ดี มีบุญบารมีได้ทาไว้ เคล้าคลึงกันไปราวกะว่าม้าเทียมรถ
พากันเข้าไปหากรัมปิยอเจลก.
ครั้นไปถึงแล้ว พญาครุฑคิดว่า พญานาคนี้คงจักไม่ให้ชีวิตแก่ชีเปลือย
เราก็จักไม่ไหว้มันผู้ทุศีล. พญาครุฑจึงยืนอยู่ข้างนอก
ปล่อยให้พญานาคเข้าไปยังสานักชีเปลือยแต่ผู้เดียว.
พระบรมศาสดาทรงหมายเหตุนั้น จึงตรัสพระคาถานอกนี้ความว่า
ลาดับนั้น ปัณฑรกนาคราชเข้าไปหาชีเปลือยแต่ลาพังตนเท่านั้น
แล้วได้กล่าวว่า วันนี้เรารอดพ้นความตาย ล่วงภัยทั้งปวงแล้ว
คงไม่เป็นที่รักที่พอใจท่านเสียเลยเป็นแน่.
ลาดับนั้น ชีเปลือยจึงกล่าวคาถานอกนี้ ความว่า
พญาครุฑเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าปัณฑรกนาคราชอย่างแท้จริง
โดยไม่ต้องสงสัย เรามีความรักใคร่ในพญาครุฑ ทั้งที่รู้ก็ได้กระทากรรมอันลามก
ไม่ใช่ทาเพราะความลุ่มหลงเลย.
พญานาคราชได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาสองคาถา ความว่า
ความถือว่า สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา หรือสิ่งนี้ไม่เป็ นที่รักของเรา ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่บรรพชิตผู้พิจารณาเห็นโลกนี้และโลกหน้า ก็ท่านเป็นคนไม่สารวม
แต่ประพฤติลวงโลกด้วยเพศของผู้สารวมดี.
ท่านไม่เป็ นอริยะ แต่ปลอมตัวเป็นอริยะ ไม่ใช่คนสารวม
แต่ทาคล้ายคนสารวม ท่านเป็นคนชาติเลวทราม ไม่ใช่คนประเสริฐ
12
ได้ประพฤติบาปทุจริตเป็นอันมาก.
ครั้นปัณฑรกนาคราชติเตียนชีเปลือยอย่างนี้แล้ว
เมื่อจะสาปแช่งจึงกล่าวคาถานี้ความว่า
แน่ะเจ้าคนเลวทราม เจ้าประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย
ทั้งเป็นคนส่อเสียด ด้วยคาสัตย์นี้ ขอศีรษะของเจ้าจงแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง.
คาถานั้นมีอธิบายว่า
เฮ้ย! เจ้าคนเลวทราม ด้วยอันกล่าวคาสัตย์นี้ว่า
เจ้าเป็นคนมักประทุษร้ายต่อมิตรผู้ไม่ประทุษร้าย ทั้งเป็ นคนส่อเสียดด้วย
ขอศีรษะของเจ้าจงแตกออกเป็นเจ็ดภาค.
เมื่อพญานาคราชสาปแช่งอยู่อย่างนี้
ศีรษะของชีเปลือย ก็แตกออกเป็นเจ็ดภาค
พื้นแผ่นดินตรงที่ชีเปลือยนั่งอยู่นั่นเอง ก็ได้แยกออกเป็นช่อง
ชีเปลือยนั้นเข้าสู่แผ่นดิน บังเกิดในอเวจีมหานรก
พญานาคราชและพญาครุฑทั้งสอง ก็ได้ไปยังพิภพของตนๆ ตามเดิม.
พระบรมศาสดา เมื่อจะประกาศความที่ชีเปลือยนั้นถูกแผ่นดินสูบ
จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายความว่า
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลไม่พึงประทุษร้ายต่อมิตร
เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทรามที่สุด จะหาคนอื่นที่เลวกว่าเป็นไม่มี
ชีเปลือยถูกอสรพิษกาจัดแล้วในแผ่นดิน ทั้งที่ได้ปฏิญญาว่าเรามีสังวร
ก็ได้ถูกทาลายลงด้วยคาของพญานาคราช.
พระบรมศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน
พระเทวทัตก็กระทามุสาวาทจนถูกแผ่นดินสูบ
แล้วทรงประชุมชาดกว่า
ชีเปลือยได้มาเป็น พระเทวทัต
นาคราชได้มาเป็น พระสารีบุตร
ส่วนสุบรรณราชได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาปัณฑรกชาดกที่ ๘
-----------------------------------------------------

More Related Content

More from maruay songtanin

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 

518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๑๘) ว่าด้วยปัณฑรกนาคราช (ปัณฑรกนาคราชคร่าครวญว่า) [๒๕๘] ภัยที่ตนเองก่อขึ้นย่อมติดตามคนไร้ปัญญา พูดจาพล่อยๆ ไม่ปกปิดความรู้ ขาดความระมัดระวัง ไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบ เหมือนพญาครุฑไล่จับปัณฑรกนาคราช [๒๕๙] นรชนใดพอใจบอกมนต์ที่ลี้ลับ ที่ตนควรจะปกปิดรักษา เพราะความเขลา ภัยย่อมติดตามเขาผู้เปิดเผยมนต์โดยพลัน เหมือนพญาครุฑไล่จับปัณฑรกนาคราช [๒๖๐] มิตรเทียมไม่ควรจะรู้เนื้อความสาคัญซึ่งเป็ นความลับ แต่มิตรแท้ผู้ไม่รู้หรือรู้สิ่งที่ไม่เป็ นประโยชน์ ก็ไม่ควรจะรู้ความลับนั้น [๒๖๑] เราไว้วางใจอเจลก(ชีเปลือย)ว่า ผู้นี้เป็ นสมณะ ชาวโลกนับถือ อบรมตนดีแล้ว ได้เปิดเผยบอกความลับแก่เขา จึงล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้อยู่อย่างลาเค็ญ [๒๖๒] พญาครุฑผู้ประเสริฐ สาหรับเขา ข้าพเจ้าไม่อาจจะระวังวาจาที่เร้นลับอย่างยิ่งนี้ได้ เพราะเหตุนั้น ภัยจากฝ่ายเขาจึงมาถึงข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้อยู่อย่างลาเค็ญ [๒๖๓] นรชนใดสาคัญผู้นี้ว่า เป็ นคนมีใจดี บอกความลับกับคนที่เกิดในสกุลต่าทราม เพราะความรัก ความชัง หรือเพราะความเกรงกลัว นรชนนั้นเป็ นคนโง่ ต้องย่อยยับโดยไม่ต้องสงสัย [๒๖๔] นรชนใดมีปกติพูดนอกเรื่อง นับเนื่องเข้าในพวกอสัตบุรุษ ชอบกล่าวถ้อยคาในที่ประชุมชน นรชนนั้นปราชญ์กล่าวว่า คนมีพิษร้าย ปากเสีย ควรระมัดระวังคนเช่นนั้นให้ห่างไกล [๒๖๕] ข้าพเจ้าได้ละทิ้งสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งหมดไปแล้ว คือ ข้าว น้า ผ้าแคว้นกาสี จุรณแก่นจันทน์แดง หญิงที่เจริญใจ พวงดอกไม้ และเครื่องชโลมทา ข้าแต่พญาครุฑ ข้าพเจ้าขอมอบชีวิตแก่ท่าน (พญาครุฑกล่าวคาถาตาหนิปัณฑรกนาคราชว่า) [๒๖๖] บรรดาเราทั้ง ๓ ในที่นี้ ใครหนอย่อมถูกตาหนิ นาคราช เราทั้งหลายเป็นสัตว์มีชีวิตในโลกนี้ คือ สมณะ ครุฑ หรือว่าท่านกันแน่ย่อมถูกตาหนิ ปัณฑรกนาคราช ท่านถูกข้าพเจ้าจับเพราะเหตุไร
  • 2. 2 (ปัณฑรกนาคราชฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๒๖๗] อเจลกนั้นเป็นผู้ที่ข้าพเจ้ายกย่องว่า เป็นสมณะ เป็นที่รักของข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายกย่องด้วยใจจริง ข้าพเจ้าจึงได้เปิดเผยบอกความลับแก่เขา จึงได้ล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้อยู่อย่างลาเค็ญ (พญาครุฑกล่าวว่า) [๒๖๘] แท้จริง สัตว์ชื่อว่าจะไม่ตายไม่มีในแผ่นดิน ปัญญามีอยู่หลายอย่าง บุคคลไม่ควรนินทา นรชนในโลกนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่บรรลุ ได้ด้วยสัจจะ ๑ ธรรมะ ๑ ปัญญา ๑ ทมะ ๑ [๒๖๙] มารดาบิดานับว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมแห่งเผ่าพันธุ์ บุคคลที่ ๓ ผู้ช่วยเหลือเขาไม่มี เมื่อระแวงสงสัยว่า ความลับที่ปรึกษาไว้จะแตก ก็ไม่พึงบอกความลับที่สาคัญ แม้แก่มารดาบิดาเหล่านั้น [๒๗๐] เมื่อสงสัยว่า มนต์จะแตกทาลาย บัณฑิตไม่พึงบอกความลับที่สาคัญแม้แก่มารดาบิดา พี่สาวน้องสาว พี่ชายน้องชาย เพื่อนสหาย หรือญาติพวกพ้องของตน [๒๗๑] ถึงภรรยาจะยังสาวพูดจาไพเราะ ถึงพร้อมด้วยบุตรธิดา มีรูปร่างสวยงาม มีเกียรติยศชื่อเสียง มีหมู่ญาติแวดล้อม พูดอ้อนสามี เมื่อสงสัยว่า ความลับที่ปรึกษาไว้จะแตก บัณฑิตไม่พึงบอกความลับที่สาคัญแม้แก่นาง [๒๗๒] บัณฑิตไม่พึงเปิดเผยความลับ พึงรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์ เพราะว่าความลับบุคคลรู้อยู่ไม่เปิดเผยได้เป็นการดี [๒๗๓] บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ๑ ศัตรู ๑ คนที่ใช้อามิสล่อ ๑ คนผู้ล้วงความลับ ๑ [๒๗๔] คนผู้รู้ความลับที่ผู้อื่นไม่รู้ เพราะกลัวความลับที่ปรึกษาหารือกันไว้จะแตก ย่อมอดกลั้นไว้ดุจบุคคลผู้เป็นทาสเขา [๒๗๕] คนมีประมาณเท่าใดล่วงรู้ความลับที่เขาปรึกษากัน คนมีประมาณเท่านั้นเป็นบุคคลที่น่าหวาดกลัวของเขา เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับ [๒๗๖] เวลากลางวันควรพูดความลับในที่สงัด เวลากลางคืนไม่ควรพูดดังเกินไป เพราะเหตุว่าคนแอบฟังได้ยินความลับที่ปรึกษากันเข้า ความลับนั้นจะถึงการแพร่งพรายโดยเร็วพลัน
  • 3. 3 [๒๗๗] นครใหญ่ที่สร้างด้วยเหล็ก ไม่มีประตู มีโรงเรือนล้วนสร้างด้วยเหล็ก มีคูขุดไว้ล้อมรอบ ย่อมปรากฏแม้ฉันใด แม้ผู้มีความคิดอันลี้ลับในโลกนี้ก็ปรากฏแก่เราฉันนั้น [๒๗๘] นาคราชผู้มีลิ้นสองแฉก นรชนเหล่าใดปกปิดความคิดไว้ ไม่พูดพล่อย มั่นคงอยู่ในประโยชน์ของตน ศัตรูทั้งหลายย่อมหลีกห่างไกลจากนรชนเหล่านั้น เหมือนคนรักชีวิตหลีกห่างไกลจากหมู่สัตว์อสรพิษฉะนั้น (เมื่อพญาครุฑกล่าวอย่างนั้นแล้ว ปัณฑรกนาคราชจึงกล่าวว่า) [๒๗๙] อเจลกละทิ้งบ้านเรือนแล้วบวช มีศีรษะโล้น ประพฤติเป็นคนเปลือยเพราะเหตุแห่งการหากิน เพราะข้าพเจ้าเปิดเผยความลับกับเขาแล จึงได้เสื่อมจากอรรถและธรรม [๒๘๐] พญาครุฑ บุคคลกระทาอย่างไร มีศีลอย่างไร บาเพ็ญวัตรอะไร ประพฤติละความยึดมั่นว่าเป็ นของเราอย่างไร จึงจะเป็นสมณะได้ อนึ่ง สมณะกระทาอย่างไรจึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์ได้ (พญาครุฑกล่าวว่า) [๒๘๑] บุคคลประกอบด้วยหิริ ด้วยความอดกลั้น ด้วยการฝึกตน ไม่โกรธ ละคาส่อเสียด ประพฤติละความยึดมั่นว่าเป็ นของเราเสีย จึงจะเป็นสมณะได้ สมณะกระทาอย่างนี้จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์ได้ (ปัณฑรกนาคราชเมื่อจะขอชีวิต จึงกล่าวว่า) [๒๘๒] มารดากอดสัมผัสบุตรอ่อนซึ่งเกิดแต่ตน แผ่ซ่านเรือนร่างทุกส่วนสัดปกป้ องฉันใด ท่านผู้เป็นจอมแห่งนก ท่านจงปรากฏแก่ข้าพเจ้าแม้ฉันนั้น เหมือนมารดาเอ็นดูบุตร (พญาครุฑเมื่อจะให้ชีวิตแก่ปัณฑรกนาคราช จึงกล่าวว่า) [๒๘๓] เอาเถิด ท่านผู้มีลิ้นสองแฉก วันนี้ท่านจงพ้นจากการถูกฆ่า ธรรมดาลูกมี ๓ ประเภท คือ (๑) ลูกศิษย์ (๒) ลูกบุญธรรม (๓) ลูกในไส้ อย่างอื่นหามีไม่ ท่านจงยินดีเถิด ท่านได้เป็ นบุตรประเภทหนึ่งของข้าพเจ้าแล้ว (พระศาสดาตรัสพระคาถาแล้วทรงประกาศความนั้นว่า) [๒๘๔] พญาครุฑกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็โผลงจับภาคพื้นปล่อยพญานาค กล่าวว่า วันนี้ท่านรอดพ้นภัยทั้งปวงแล้ว จงเป็ นผู้มีข้าพเจ้าคุ้มครองทั้งทางบกทางน้าเถิด [๒๘๕] หมอผู้ฉลาดเป็ นที่พึ่งของคนไข้ได้ฉันใด ห้วงน้าเย็นเป็ นที่พึ่งของคนผู้กระหายได้ฉันใด ที่พักเป็ นที่พึ่งของคนผู้ถูกความเย็นเพราะหิมะรบกวนฉันใด แม้ข้าพเจ้าก็จะเป็ นที่พึ่งของท่านฉันนั้น (พญาครุฑเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า)
  • 4. 4 [๒๘๖] นี่พญานาคผู้เกิดในครรภ์ ท่านเชื่อมสัมพันธ์กับพญาครุฑ ผู้เกิดในฟองไข่ที่เป็ นศัตรู ยังนอนแยกเขี้ยวอยู่ ภัยนั้นมีมาแต่ไหนหนอ (พญานาคกล่าวว่า) [๒๘๗] ในศัตรูบุคคลพึงระแวงไว้ก่อน แม้ในมิตรก็ไม่พึงวางใจ ภัยที่เกิดขึ้นจากคนไม่มีภัยย่อมกัดกร่อนจนถึงโคนราก [๒๘๘] บุคคลจะพึงวางใจในคนผู้เคยทาการทะเลาะกันมาแล้วได้อย่างไรเล่า บุคคลผู้ดารงอยู่ด้วยการเตรียมตัวอยู่เป็นนิตย์ ย่อมไม่ยินดีกับศัตรู [๒๘๙] พึงทาให้ผู้อื่นวางใจตน แต่ตนเองไม่พึงวางใจเขา ไม่พึงให้ผู้อื่นระแวงตน แต่ตนพึงระแวงผู้อื่น วิญญูชนพึงพยายามโดยที่ผู้อื่นจะไม่รู้ความเป็นไปของตน (พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า) [๒๙๐] สัตว์ผู้ประเสริฐทั้ง ๒ นั้นมีเพศพรรณดุจเทพยดาสุขุมาลชาติ มีทรวดทรงสัณฐานและวัยงามเสมอกัน บริสุทธิ์ มีกองกุศลผลบุญ คลอเคลียกันไป เหมือนพาหนะเทียมด้วยม้า ได้เข้าไปหากรัมปิยอเจลก [๒๙๑] ลาดับนั้นแล ปัณฑรกนาคราชได้เข้าไปหาอเจลก ตามลาพังตนเองแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ ข้าพเจ้ารอดตาย ผ่านพ้นภัยทั้งปวงมาได้ คงไม่เป็นที่พอใจของท่านแน่นอน (อเจลกกล่าวว่า) [๒๙๒] ก็พญาครุฑเป็ นที่รักของเราอย่างแท้จริง ยิ่งกว่าปัณฑรกนาคราชโดยไม่ต้องสงสัย เรานั้นมีความรักใคร่ ทั้งๆ ที่รู้อยู่ ก็ได้กระทากรรมชั่วช้านั้นลงไป หาทาไปเพราะความโง่เขลาไม่ (นาคราชกล่าวว่า) [๒๙๓] ธรรมดาบรรพชิตผู้พิจารณาเห็นโลกนี้และโลกหน้า ย่อมจะไม่มีความคิดว่า สิ่งนี้เป็ นที่รักของเรา หรือสิ่งนี้ไม่เป็นที่รักของเรา ก็ท่านเป็นผู้ไม่สารวม แต่ประพฤติลวงชาวโลกนี้ด้วยเพศแห่งผู้มีความสารวมด้วยดี [๒๙๔] ท่านมิใช่พระอริยะ แต่ทาเหมือนพระอริยะ มิใช่คนสารวม แต่ทาเหมือนคนสารวม มีชาติต่าทราม หาใช่ผู้ประเสริฐไม่ ได้ประพฤติชั่วช้าลามกเป็นอันมาก (ครั้นตาหนิแล้วเมื่อจะสาป จึงกล่าวว่า) [๒๙๕] เจ้าคนผู้มีนิสัยประทุษร้าย เจ้าเป็นคนประทุษร้ายมิตร ผู้ไม่ประทุษร้าย ทั้งเป็นคนพูดจาส่อเสียด ด้วยการกล่าวคาสัตย์นี้ ขอศีรษะของเจ้าจงแตก ๗ เสี่ยง (พระศาสดาทรงประกาศความที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ จึงตรัสว่า)
  • 5. 5 [๒๙๖] เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่ควรประทุษร้ายมิตร เพราะว่าคนอื่นที่จะเลวกว่าคนผู้ประทุษร้ายมิตรไม่มี อเจลกถูกสัตว์มีพิษสาปกาจัดลงแล้วในแผ่นดิน ทั้งๆ ที่ปฏิญญาว่า เรามีความสารวม ก็ถูกทาลายแล้วด้วยคาของจอมนาคินทร์ ปัณฑรกนาคราชชาดกที่ ๘ จบ -------------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา ปัณฑรกชาดก ว่าด้วย ไม่ควรบอกความลับแก่คนอื่น พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการที่พระเทวทัตทามุสาวาทแล้วถูกแผ่นดินสูบ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. ความย่อว่า เมื่อพวกภิกษุพากันกล่าวโทษพระเทวทัต ในคราวนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตก็กระทามุสาวาท ถูกแผ่นดินสูบแล้วเหมือนกันดังนี้ แล้วทรงนาอดีตนิทานมาตรัส ดังต่อไปนี้. ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพาราณสี พ่อค้า ๕๐๐ คน แล่นสาเภาไปยังมหาสมุทร ในวันคารบเจ็ด สาเภาอันอยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็นฝั่ง ได้แตกลงในหลังมหาสมุทร ผู้คนได้เป็ นเหยื่อแห่งปลาและเต่าหมด มีเหลือเพียงคนเดียว. ก็บุรุษที่เหลือคนเดียวนั้น ด้วยกาลังลมพัดลอยไปถึงท่าชื่อกทัมพิยะ เขาขึ้นจากทะเลได้แล้ว เปลือยกายล่อนจ้อน เที่ยวขอทานตามท่านั้น. มนุษย์ทั้งหลายเห็นเขาเข้าก็พากันสรรเสริญว่า ท่านผู้นี้เป็นสมณะ มักน้อยสันโดษ แล้วทาสักการะบูชา. เขาคิดว่า เราได้ช่องทางหาเลี้ยงชีพแล้ว แม้เมื่อชนเหล่านั้นให้เครื่องนุ่งห่ม ก็มิได้ปรารถนา ชนเหล่านั้นเข้าใจว่า สมณะผู้มักน้อยยิ่งกว่าท่านผู้นี้ไม่มี ดังนี้แล้วพากันเลื่อมใสยิ่งขึ้น ช่วยกันสร้างอาศรมบทให้ชีเปลือยนั้นพานักอยู่ที่นั้น. เขามีชื่อปรากฏว่ากทัมพิยอเจลก เมื่อเขาอยู่ ณ ที่นั้น ลาภสักการะเกิดขึ้นมากมาย. พญานาคราชตนหนึ่งกับพญาครุฑตนหนึ่ง พากันมายังที่บารุงของชีเปลือยนั้น ในพญาสัตว์ทั้งสองนั้น พญานาคชื่อว่า ปัณฑรกนาคราช. อยู่มาวันหนึ่ง พญาครุฑไปยังสานักชีเปลือยนั้น ไหว้แล้วจับอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ญาติของกระผม เมื่อจับพวกนาคย่อมพินาศไปเสียมากมาย เพราะพวกกระผมไม่รู้วิธีที่จะจับนาค
  • 6. 6 ได้ยินว่าเหตุที่ซ่อนเร้นของพวกนาคเหล่านั้นมีอยู่ ท่านจะสามารถหรือหนอ เพื่อประเล้าประโลมถามเหตุนั้นกะพวกนาค. ชีเปลือยรับคาแล้ว ครั้นพญาครุฑไหว้แล้วลากลับไป. ในเวลาที่พญานาคมาหา จึงถามพญานาคผู้ไหว้แล้วนั่งพักอยู่ว่า พญานาคเอ๋ย เขาว่า เมื่อพวกครุฑจับพวกท่าน ต้องพินาศไปมากมาย ทาไมเมื่อมันจะจับพวกท่าน จึงไม่สามารถจะจับได้? พญานาคตอบว่า ท่านขอรับ ข้อนี้เป็นเหตุซ่อนเร้นลึกลับของพวกกระผม เมื่อกระผมบอกเหตุนี้แล้ว ย่อมได้ชื่อว่านาความตายมาให้แก่หมู่ญาติ. ชีเปลือยจึงพูดว่า อาวุโส ก็ท่านเข้าใจว่า คนอย่างเรานี้จักบอกแก่คนอื่นอย่างนี้หรือ เราจักไม่บอกแก่คนอื่นเลย ก็เราถามเนื่องด้วยตนอยากจะรู้ ท่านเชื่อเราแล้วต้องปลอดภัย จงบอกเถิด. พญานาคตอบว่า ท่านขอรับ กระผมบอกไม่ได้ ไหว้แล้วก็ลาหลีกไป. แม้ในวันรุ่งขึ้น ชีเปลือยก็ถามอีก แม้ถึงอย่างนั้น พญานาคก็ไม่ยอมบอกดุจเดิม. ครั้นต่อมาในวันที่ ๓ ชีเปลือยจึงถามพญานาคผู้มานั่งอยู่ว่า วันนี้เป็นวันที่ ๓ เมื่อเราถาม ทาไมท่านจึงไม่บอก? พญานาคตอบว่า ท่านขอรับ เพราะกระผมกลัวว่าท่านจักบอกแก่คนอื่น. ชีเปลือยย้าว่า เราจักไม่บอกใคร ท่านปลอดภัยแน่ จงบอกเถิด. พญานาคจึงกล่าวว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ท่านโปรดอย่าบอกคนอื่นเลย รับปฏิญญาแล้ว จึงบอกว่า ท่านขอรับ พวกกระผมกลืนกินก้อนหินใหญ่เข้าไว้ ทาตัวให้หนักนอนอยู่ ในเวลาพวกครุฑมา ก็ยื่นหน้าออกแยกเขี้ยวคอยจะขบครุฑ พวกครุฑมาถึงก็จับศีรษะของพวกกระผมไว้ เมื่อมันพยายามจะฉุดพวกกระผม ซึ่งเป็ นเหมือนภาระหนักอึ้งนอนอยู่ขึ้น น้าก็ท่วมทับมัน พวกมันก็ตายภายในน้านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ พวกครุฑจึงพินาศไปเป็นจานวนมาก เมื่อพวกมันจะจับพวกกระผม ทาไมจะต้องจับที่ศีรษะ พวกครุฑโง่ๆ จะต้องจับที่ขนดหาง ทาให้พวกกระผมมีศีรษะห้อยลงเบื้องต่า ให้สารอกอาหารที่กลืนไว้ออกทางปาก ทาตัวให้เบาแล้วอาจจะจับไปได้ พญานาคบอกเหตุเร้นลับของตนแก่ชีเปลือยผู้ทุศีล ด้วยประการฉะนี้. ครั้นเมื่อพญานาคลากลับไปแล้ว ต่อมาพญาครุฑมาไหว้กทัมพิยอเจลกแล้วถามว่า ท่านขอรับ ท่านถามเหตุซ่อนเร้นของพญานาคแล้วหรือ? ชีเปลือยตอบว่า เอออาวุโส
  • 7. 7 แล้วบอกความตามที่พญานาคบอกแก่ตนนั้นทุกประการ. พญาครุฑได้ฟังเช่นนั้นจึงคิดว่า พญานาคทากรรมที่ไม่สมควรเสียแล้ว ธรรมดาลู่ทางที่จะให้มวลญาติฉิบหาย ไม่ควรบอกแก่คนอื่นเลย ถึงทีเราแล้ว วันนี้ควรที่เราจะต้องทาลมกาลังสุบรรณ จับปัณฑรกนาคราชนี้ก่อนทีเดียว. พญาครุฑนั้นก็กระทาลมกาลังสุบรรณ จับปัณฑรกนาคราชทางขนดหางทาให้มีศีรษะห้อยลง ทาให้สารอกอาหารที่กลืนเข้าไป แล้วโผขึ้นบินไปในอากาศ. ปัณฑรกนาคราช เมื่อต้องห้อยศีรษะลงในอากาศ ก็ปริเทวนาการว่า เรานาทุกข์มาให้แก่ตัวเองแท้ๆ กล่าวคาถาความว่า ภัยเกิดจากตนเอง ย่อมตามถึงบุคคลผู้ไร้ปัญญา พูดพล่อยๆ ไม่ปิดบังความรู้ ขาดความระมัดระวัง ขาดความพินิจพิจารณา เหมือนครุฑตามถึงเราผู้ปัณฑรกนาคราช ฉะนั้น. นรชนใดยินดีบอกมนต์ลึกลับที่ตนควรจะรักษาแก่คนชั่ว เพราะความหลง ภัยย่อมตามถึงนรชนนั้นผู้มีมนต์อันแพร่งพรายแล้วโดยพลัน เหมือนครุฑตามถึงเราผู้ปัณฑรกนาคราช ฉะนั้น. มิตรเทียมไม่ควรจะให้รู้เหตุสาคัญอันลึกลับ ถึงมิตรแท้แต่เป็นคนโง่ หรือมีปัญญาแต่ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่ควรจะให้รู้ความลับเหมือนกัน. เราได้ถึงความคุ้นเคยกับชีเปลือย ด้วยเข้าใจว่า สมณะนี้โลกเขานับถือ มีตนอบรมดีแล้ว ได้บอกเปิดเผยความลับแก่มัน จึงได้ล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้อยู่ดุจคนกาพร้า ฉะนั้น. ดูก่อนพญาครุฑที่ประเสริฐ เมื่อก่อนเรามีวาจาปกปิด ไม่บอกความลับแก่มัน แต่ก็ไม่อาจระมัดระวังได้ แท้จริง ภัยได้มาถึงเราจากทางชีเปลือยนั้น เราจึงได้ล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้อยู่ดุจคนกาพร้า ฉะนั้น. นรชนใดสาคัญว่า ผู้นี้มีใจดี บอกความลับกะคนสกุลทราม นรชนนั้นเป็ นคนโง่เขลา ทรุดโทรมลงโดยไม่ต้องสงสัย เพราะโทสาคติ ภยาคติ หรือเพราะฉันทาคติ. ผู้ใดปากบอนนับเข้าในพวกอสัตบุรุษ ชอบกล่าวถ้อยคาในที่ประชุมชน นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ผู้มีปากชั่วร้าย คล้ายอสรพิษ ควรระมัดระวังคนเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล. เราได้ละทิ้ง ข้าว น้า ผ้าแคว้นกาสี และจุรณจันทน์ สตรีที่เจริญใจดอกไม้และเครื่องชโลมทาซึ่งเป็ นส่วนกามารมณ์ทั้งปวงไปหมดแล้ ว ดูก่อนพญาครุฑ เราขอถึงท่านเป็นสรณะด้วยชีวิต. ปัณฑรกนาคราชมีศีรษะห้อยลงในอากาศ ปริเทวนาการด้วยคาถาทั้ง
  • 8. 8 ๘ อยู่อย่างนี้. พญาครุฑได้ยินเสียงปริเทวนาการของพญานาคราชนั้น จึงติเตียนพญานาคราชนั้นว่า ท่านนาคราช ท่านบอกความลับของตนแก่ชีเปลือยแล้ว ทาไมบัดนี้จึงปริเทวนาการอยู่เล่า แล้วกล่าวคาถาความว่า ดูก่อนปัณฑรกนาคราช บรรดาสัตว์ทั้ง ๓ จาพวก คือสมณะ ครุฑและนาค ใครหนอควรจะได้รับคาติเตียนในโลกนี้ ที่จริงตัวท่านนั่นแหละควรจะได้รับ ท่านถูกครุฑจับเพราะเหตุไร. ในพวกเราทั้ง ๓ อย่าติเตียนชีเปลือยก่อน เพราะชีเปลือยนั้นถามความลับด้วยอุบาย ท่านอย่าติเตียนแม้สุบรรณ เพราะเราก็เป็นข้าศึกของท่านโดยตรง. ปัณฑรกนาคราชได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาความว่า ชีเปลือยนั้นเป็นผู้มีอัตภาพ อันเรายกย่องว่า เป็ นสมณะ เป็นที่รักของเรา ทั้งเป็นผู้อันเรายกย่องด้วยใจจริง เราจึงบอกเปิดเผยความลับแก่มัน เราเป็นคนขาดประโยชน์แล้ว ต้องร้องไห้อยู่ดุจคนกาพร้าฉะนั้น. ลาดับนั้น พญาครุฑได้กล่าวคาถา ๔ คาถาความว่า แท้จริง สัตว์ที่จะไม่ตายไม่มีเลยในแผ่นดิน ธรรมชาติเช่นกับปัญญาไม่ควรติเตียน คนในโลกนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้ เพราะสัจจธรรม ปัญญาและทมะ. มารดาบิดาเป็นยอดเยี่ยมแห่งเผ่าพันธุ์ คนที่สามชื่อว่ามีความอนุเคราะห์แก่บุตรนั้น ไม่มีเลย เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่ควรบอกความลับสาคัญ แม้แก่มารดาบิดานั้น. เมื่อบุคคลรังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่ควรแพร่งพรายความลับที่สาคัญ แม้แก่บิดามารดา พี่สาว น้องสาว พี่ชาย น้องชาย หรือแก่สหาย แก่ญาติฝ่ายเดียวกับตน. ถ้าภรรยาสาวพูดไพเราะ ถึงพร้อมด้วยบุตรธิดา รูปและยศ ห้อมล้อมด้วยหมู่ญาติ จะพึงกล่าวอ้อนวอนสามีให้บอกความลับ เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตก ไม่ควรแพร่งพรายความลับสาคัญ แม้แก่ภรรยานั้น. พญาครุฑกล่าวคาเป็นคาถาต่อไปอีก ความว่า บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับเลย ควรรักษาความลับนั้นไว้ เหมือนรักษาขุมทรัพย์ ความลับอันบุคคลอื่นรู้เข้าทาให้แพร่งพราย ไม่ดีเลย. คนฉลาดไม่ควรขยายความลับแก่สตรี ศัตรู คนมุ่งอามิส และแก่คนผู้หมายล้วงดวงใจ. คนใดให้ผู้ไม่มีความคิดล่วงรู้ความลับ ถึงแม้เขาจะเป็นคนใช้ของตน
  • 9. 9 ก็จาต้องอดกลั้นไว้ เพราะกลัวความคิดจะแตก. คนมีประมาณเท่าใด รู้ความลับที่ปรึกษากันของบุรุษ คนประมาณเท่านั้นย่อมขู่ให้บุรุษนั้นหวาดกลัวได้ เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรขยายความลับ. ในกลางวันก็ดี กลางคืนก็ดี ควรพูดเปิดเผยความลับในที่สงัด ไม่ควรเปล่งวาจาให้เกินเวลา เพราะคนที่คอยแอบฟัง ก็จะได้ยินข้อความที่ปรึกษากัน เพราะเหตุนั้น ข้อความที่ปรึกษากัน ก็จะถึงความแพร่งพรายทันที. คาถาทั้ง ๕ คาถาจักมีแจ้งในบัณฑิตปัญหา ๕ ข้อ ในอุมมังคชาดก. พญาครุฑได้กล่าวคาถา ๒ คาถาถัดนั้นไป ความว่า ผู้มีความคิดอันลี้ลับในโลกนี้ ย่อมปรากฏแก่เรา เปรียบเหมือนนครอันล้วนแล้วด้วยเหล็กใหญ่โตไม่มีประตู เจริญด้วยเรือนโรงล้วนแต่เหล็กประกอบด้วยคูอันขุดไว้โดยรอบ ฉะนั้น. ดูก่อนปัณฑรกนาคราชผู้มีลิ้นชั่ว คนจาพวกใดมีความคิดลี้ลับ ต้องไม่พูดแพร่งพราย มั่นคงในประโยชน์ของตน อมิตรทั้งหลายย่อมเว้นไกลจากคนจาพวกนั้น ดุจคนผู้รักชีวิตเว้นไกลจากหมู่อสรพิษฉะนั้น. ท่านอธิบายความไว้ว่า เครื่องอุปโภคของประชาชนย่อมอยู่ภายในนครเหล็ก อันไม่มีประตูเข้าออกเท่านั้น คนที่อยู่ภายในก็ไม่ออกไปข้างนอก คนที่อยู่ข้างนอกก็ไม่เข้าไปข้างใน ขาดการสัญจรไปมาติดต่อกันฉันใด บุรุษทั้งหลายผู้มีความคิดลี้ลับต้องเป็ นฉันนั้น คือให้ความลับของตนจางหายไปภายในใจของตนผู้เดียว ไม่ต้องบอกแก่คนอื่น. ท่านกล่าวคาอธิบายไว้ว่า ศัตรูย่อมหลีกห่างไกลจากคน ผู้มีความคิดลี้ลับเหล่านั้น ดุจเหล่ามนุษย์ผู้มุ่งจะมีชีวิตอยู่ ย่อมเว้นไกลจากหมู่สัตว์ร้าย เหล่าอสรพิษฉะนั้น คือไม่ได้โอกาสที่จะเข้าใกล้. เมื่อพญาครุฑกล่าวธรรมอย่างนี้แล้ว ปัณฑรกนาคราชจึงกล่าวคาถาความว่า อเจลกชีเปลือย ละเรือนออกบวช มีศีรษะโล้น เที่ยวไปเพราะเหตุแห่งอาหาร เราได้ขยายความลับแก่มันซิหนอ เราจึงเป็นผู้ปราศจากประโยชน์และธรรม. ดูก่อนพญาครุฑ บุคคลผู้ละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว มาประพฤติเป็นนักบวช มีการทาอย่างไร มีศีลอย่างไร ประพฤติพรตอย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นสมณะ สมณะนั้นมีการทาอย่างไร จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์. พญาครุฑกล่าวตอบเป็นคาถา ความว่า
  • 10. 10 บุคคลผู้ละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว มาประพฤติเป็นนักบวช ต้องประกอบด้วยความละอาย ความอดกลั้น ความฝึกตน ความอดทน ไม่โกรธง่าย ละวาจาส่อเสียด จึงจะชื่อว่าเป็นสมณะ สมณะนั้นมีการกระทาอย่างนี้ จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์. ปัณฑรกนาคราชได้ฟังธรรมกถาของพญาครุฑนี้แล้ว เมื่อจะอ้อนวอนขอชีวิต จึงกล่าวคาถาความว่า ข้าแต่พญาครุฑ ขอท่านจงปรากฏแก่ข้าพเจ้า เหมือนมารดาที่กกกอดลูกอ่อนที่เกิดแต่ตน แผ่ร่างกายทุกส่วนสัดปกป้ อง หรือดุจมารดาผู้เอ็นดูบุตรฉะนั้นเถิด. คาถานั้นมีอธิบายดังนี้ มารดาเห็นบุตรอ่อนที่เกิดแต่ตัว เกิดแล้วในสรีระของตน แล้วให้นอนในอ้อมอกให้ดื่มน้านม แผ่เรือนร่างทุกส่วนเพื่อปกป้ องบุตรไว้ คือมารดาไม่ไปจากบุตร บุตรก็ไม่ไปจากมารดาฉันใด ท่านจงปรากฏแก่เราเหมือนฉันนั้นเถิด. ลาดับนั้น พญาครุฑ เมื่อจะให้ชีวิตแก่พญานาค จึงกล่าวคาถานอกนี้ความว่า ดูก่อนพญานาคราชผู้มีลิ้นชั่ว เอาเถอะ ท่านจงพ้นจากการถูกฆ่าในวันนี้ ก็บุตรมี ๓ จาพวก คือศิษย์ ๑ บุตรบุญธรรม ๑ บุตรตัว ๑ บุตรอื่นหามีไม่ ท่านยินดีจะเป็ นบุตรจาพวกไหนของเรา. พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาความว่า พญาครุฑจอมทิชชาติกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็โผลงจับที่แผ่นดิน แล้วปล่อยพญานาคไปด้วยกล่าวว่า วันนี้ท่านรอดพ้นล่วงสรรพภัยแล้ว จงเป็ นผู้อันเราคุ้มครองแล้ว ทั้งทางบกทางน้า. หมอผู้ฉลาดเป็ นที่พึ่งของคนไข้ได้ฉันใด ห้วงน้าอันเย็นเป็ นที่พึ่งของคนหิวระหายได้ฉันใด สถานที่พักเป็ นที่พึ่งของคนเดินทางได้ฉันใด เราก็จะเป็ นที่พึ่งของท่าน ฉันนั้น. พญาครุฑปล่อยนาคราชไปว่าท่านจงไปเถิด. นาคราชนั้นก็เข้าไปสู่นาคพิภพ. ฝ่ายพญาครุฑกลับไปสู่สุบรรณพิภพแล้วคิดว่า ปัณฑรกนาคราช เราได้ทาการสบถให้เชื่อปล่อยไปแล้ว จะมีดวงใจต่อเราเช่นไรหนอ เราจักทดลองดู แล้วไปยังนาคพิภพได้ทาลมแห่งครุฑ. พญานาคราชเห็นเช่นนั้นสาคัญว่า พญาครุฑจักมาจับเรา จึงเนรมิตอัตภาพยาวประมาณพันวา กลืนก้อนหินและทรายเข้าไว้ในตัวหนัก นอนแผ่พังพานไว้ยอดขนดจดหางลงเบื้องต่า
  • 11. 11 ทาอาการประหนึ่งว่ามุ่งจะขบพญาครุฑ. พญาครุฑเห็นอาการเช่นนั้น จึงกล่าวคาถานอกนี้ความว่า แน่ะท่านผู้ชลามพุชชาติ ท่านแยกเขี้ยวจะขบ มองดูดังจะทากับศัตรูผู้อัณฑชชาติ ภัยของท่านมีมาจากไหนกัน. พญานาคราชได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาความว่า บุคคลพึงรังเกียจในศัตรูทีเดียว แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้วางใจ ภัยเกิดขึ้นได้จากที่ที่ไม่มีภัย มิตรย่อมตัดโค่นรากได้แท้จริง. จะพึงไว้วางใจในบุคคล ที่ทาการทะเลาะกันมาแล้วอย่างไรได้เล่า ผู้ใดดารงอยู่ได้ด้วยการเตรียมตัวเป็ นนิตย์ ผู้นั้นย่อมไม่ยินดีกับศัตรูของตน. บุคคลพึงทาให้เป็นที่ไว้วางใจของคนอื่น แต่ไม่ควรจะวางใจคนอื่นจนเกินไป ตนเองอย่าให้คนอื่นรังเกียจได้ แต่ควรรังเกียจเขา วิญญูชนพึงพากเพียรไปด้วยอาการที่ฝ่ายปรปักษ์จะรู้ไม่ได้. ครั้นสองสัตว์ (คือพญาครุฑและพญานาคราช) เจรจากันอย่างนี้แล้ว ก็สมัครสโมสรรื่นเริง บันเทิงกัน พากันไปยังอาศรมชีเปลือย. พระบรมศาสดา เมื่อจะประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า สัตว์ทั้งสองมีเพศพรรณดังเทวดา สุขุมาลชาติเช่นเดียวกัน อาจผจญได้ดี มีบุญบารมีได้ทาไว้ เคล้าคลึงกันไปราวกะว่าม้าเทียมรถ พากันเข้าไปหากรัมปิยอเจลก. ครั้นไปถึงแล้ว พญาครุฑคิดว่า พญานาคนี้คงจักไม่ให้ชีวิตแก่ชีเปลือย เราก็จักไม่ไหว้มันผู้ทุศีล. พญาครุฑจึงยืนอยู่ข้างนอก ปล่อยให้พญานาคเข้าไปยังสานักชีเปลือยแต่ผู้เดียว. พระบรมศาสดาทรงหมายเหตุนั้น จึงตรัสพระคาถานอกนี้ความว่า ลาดับนั้น ปัณฑรกนาคราชเข้าไปหาชีเปลือยแต่ลาพังตนเท่านั้น แล้วได้กล่าวว่า วันนี้เรารอดพ้นความตาย ล่วงภัยทั้งปวงแล้ว คงไม่เป็นที่รักที่พอใจท่านเสียเลยเป็นแน่. ลาดับนั้น ชีเปลือยจึงกล่าวคาถานอกนี้ ความว่า พญาครุฑเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าปัณฑรกนาคราชอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องสงสัย เรามีความรักใคร่ในพญาครุฑ ทั้งที่รู้ก็ได้กระทากรรมอันลามก ไม่ใช่ทาเพราะความลุ่มหลงเลย. พญานาคราชได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาสองคาถา ความว่า ความถือว่า สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา หรือสิ่งนี้ไม่เป็ นที่รักของเรา ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่บรรพชิตผู้พิจารณาเห็นโลกนี้และโลกหน้า ก็ท่านเป็นคนไม่สารวม แต่ประพฤติลวงโลกด้วยเพศของผู้สารวมดี. ท่านไม่เป็ นอริยะ แต่ปลอมตัวเป็นอริยะ ไม่ใช่คนสารวม แต่ทาคล้ายคนสารวม ท่านเป็นคนชาติเลวทราม ไม่ใช่คนประเสริฐ
  • 12. 12 ได้ประพฤติบาปทุจริตเป็นอันมาก. ครั้นปัณฑรกนาคราชติเตียนชีเปลือยอย่างนี้แล้ว เมื่อจะสาปแช่งจึงกล่าวคาถานี้ความว่า แน่ะเจ้าคนเลวทราม เจ้าประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ทั้งเป็นคนส่อเสียด ด้วยคาสัตย์นี้ ขอศีรษะของเจ้าจงแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง. คาถานั้นมีอธิบายว่า เฮ้ย! เจ้าคนเลวทราม ด้วยอันกล่าวคาสัตย์นี้ว่า เจ้าเป็นคนมักประทุษร้ายต่อมิตรผู้ไม่ประทุษร้าย ทั้งเป็ นคนส่อเสียดด้วย ขอศีรษะของเจ้าจงแตกออกเป็นเจ็ดภาค. เมื่อพญานาคราชสาปแช่งอยู่อย่างนี้ ศีรษะของชีเปลือย ก็แตกออกเป็นเจ็ดภาค พื้นแผ่นดินตรงที่ชีเปลือยนั่งอยู่นั่นเอง ก็ได้แยกออกเป็นช่อง ชีเปลือยนั้นเข้าสู่แผ่นดิน บังเกิดในอเวจีมหานรก พญานาคราชและพญาครุฑทั้งสอง ก็ได้ไปยังพิภพของตนๆ ตามเดิม. พระบรมศาสดา เมื่อจะประกาศความที่ชีเปลือยนั้นถูกแผ่นดินสูบ จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายความว่า เพราะเหตุนั้นแล บุคคลไม่พึงประทุษร้ายต่อมิตร เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทรามที่สุด จะหาคนอื่นที่เลวกว่าเป็นไม่มี ชีเปลือยถูกอสรพิษกาจัดแล้วในแผ่นดิน ทั้งที่ได้ปฏิญญาว่าเรามีสังวร ก็ได้ถูกทาลายลงด้วยคาของพญานาคราช. พระบรมศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตก็กระทามุสาวาทจนถูกแผ่นดินสูบ แล้วทรงประชุมชาดกว่า ชีเปลือยได้มาเป็น พระเทวทัต นาคราชได้มาเป็น พระสารีบุตร ส่วนสุบรรณราชได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล. จบอรรถกถาปัณฑรกชาดกที่ ๘ -----------------------------------------------------