SlideShare a Scribd company logo
1
โรหณมิคชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๕. โรหณมิคชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๐๑)
ว่าด้วยพญาเนื้อชื่อโรหณะ
(พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาเนื้อโรหณะพบเนื้อจิตตกะตัวน้อง
จึงกล่าวว่า)
[๑๐๔] พ่อจิตตกะ ฝูงเนื้อเหล่านั้นกลัวตายจึงพากันหลบหนีไป
ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย ฝูงเนื้อเหล่านั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อจิตตกะตอบว่า)
[๑๐๕] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่
(พญาเนื้อโรหณะกล่าวว่า)
[๑๐๖] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา ท่านทั้ง ๒
นั้นไม่มีผู้นาจักต้องตายแน่ ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย ท่านทั้ง ๒
นั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อจิตตกะกล่าวว่า)
[๑๐๗] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ผู้ติดบ่วงไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่
(พระโพธิสัตว์โรหณะเห็นน้องสุตนากลับมา จึงกล่าวว่า)
[๑๐๘] หนีไปเถิด น้องหญิงผู้มีความกลัว เจ้าจงหนีไป
พี่ติดบ่วงที่ล่ามติดกับเหล็ก ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย
ฝูงเนื้อเหล่านั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อสุตนากล่าวว่า)
[๑๐๙] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่
(พญาเนื้อโพธิสัตว์โรหณะกล่าวว่า)
[๑๑๐] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา ท่านทั้ง ๒
นั้นไม่มีผู้นาจักต้องตายแน่ ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย ท่านทั้ง ๒
นั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อสุตนาตอบว่า)
[๑๑๑] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ผู้ติดบ่วงไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่
(พญาเนื้อโพธิสัตว์โรหณะเห็นนายพรานกาลังเดินมา จึงกล่าวว่า)
2
[๑๑๒] นั่นไง นายพรานผู้โหดร้ายพร้อมทั้งอาวุธ
ผู้จักใช้ลูกศรหรือหอกฆ่าพวกเราในวันนี้กาลังเดินมา
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า)
[๑๑๓] นางลูกเนื้อนั้น ถูกภัยบีบคั้นคุกคามวิ่งหนีไปครู่หนึ่ง
ถึงจะมีความกลัวแต่ก็ได้ทาสิ่งที่ทาได้แสนยาก ได้กลับมาเผชิญหน้าต่อความตาย
(นายพรานถามเหตุผลที่เนื้อ ๒ ตัวเป็นอะไรกับพญาเนื้อว่า)
[๑๑๔] เนื้อทั้ง ๒ นี้เป็ นอะไรกับเจ้าหนอ
พ้นไปแล้วยังกลับมาหาเจ้าผู้ติดบ่วงอีก
พวกเขาไม่ปรารถนาจะทิ้งเจ้าไปแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต
(ลาดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้บอกแก่นายพรานนั้นว่า)
[๑๑๕] นายพราน เขาทั้ง ๒ เป็นพี่น้อง
ร่วมท้องมารดาเดียวกันกับข้าพเจ้า
พวกเขาจึงไม่ปรารถนาจะทิ้งข้าพเจ้าไปแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต
(พญาเนื้อจิตตกะรู้ว่านายพรานมีจิตอ่อนโยนจึงกล่าวเหตุผลต่างๆ ว่า)
[๑๑๖] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา ท่านทั้ง ๒
นั้นไม่มีผู้นาจักต้องตายแน่ ขอท่านจงให้ชีวิตแก่พวกเราทั้ง ๕
โปรดปล่อยพี่ชายของพวกเราเถิด พ่อพราน
(นายพรานนั้นฟังธรรมของเนื้อจิตตกะแล้วมีจิตเลื่อมใส
จึงกล่าวปลอบโยนว่า)
[๑๑๗] เรานั้นจะปล่อยเนื้อที่เลี้ยงบิดามารดา
ขอบิดามารดาของพวกเจ้าจงรื่นเริงบันเทิงใจ
เพราะได้เห็นพญาเนื้อหลุดพ้นจากบ่วงแล้วเถิด
(เนื้อจิตตกะพบพระโพธิสัตว์แล้วดีใจจึงอนุโมทนาแก่นายพรานว่า)
[๑๑๘] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้าเห็นพญาเนื้อ
พ้นจากอันตรายแล้วย่อมร่าเริงฉันใด
ขอท่านพร้อมกับญาติทั้งหมดจงร่าเริงฉันนั้นเถิด
(บิดามารดาถามถึงเหตุที่พญาเนื้อโรหณะหลุดจากบ่วงว่า)
[๑๑๙] เมื่อชีวิตเข้ามาใกล้ความตาย เจ้าหลุดพ้นมาได้อย่างไร ลูกรัก
ทาไมนายพรานจึงได้ปลดปล่อยเจ้าออกจากบ่วงเสียเล่า
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๒๐] น้องจิตตกะ เมื่อกล่าววาจาอันไพเราะหู จับจิตจับใจ
ซาบซึ้งตรึงใจ ช่วยให้ลูกหลุดพ้นมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต
[๑๒๑] น้องสุตนา เมื่อกล่าววาจาอันไพเราะหู จับจิตจับใจ
ซาบซึ้งตรึงใจ ช่วยให้ลูกหลุดพ้นมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต
3
[๑๒๒] เพราะฟังวาจาไพเราะหู จับจิตจับใจ ซาบซึ้งตรึงใจ
และเพราะได้ฟังวาจาสุภาษิต นายพรานจึงได้ปล่อยลูกมา
(บิดามารดาอนุโมทนาต่อนายพรานว่า)
[๑๒๓] ขอให้นายพรานจงรื่นเริงบันเทิงใจพร้อมกับบุตรและภรรยา
เหมือนพวกเรารื่นเริงบันเทิงใจในวันนี้ เพราะได้เห็นพ่อโรหณะกลับมา
(พระราชาทรงเห็นนายพรานมาเฝ้ า จึงตรัสว่า)
[๑๒๔] นายพราน เจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า
จักนาตัวเนื้อหรือหนังมามิใช่หรือ ก็เพราะเหตุอะไรเล่า
เจ้าจึงไม่นาตัวเนื้อหรือหนังมาเลย
(นายพรานกราบทูลว่า)
[๑๒๕] พญาเนื้อได้มาสู่เงื้อมมือและได้ติดบ่วงแล้ว แต่เนื้อที่ไม่ติดบ่วง
๒ ตัวได้เข้ามาหาพญาเนื้อนั้น
[๑๒๖] ข้าพระองค์นั้นได้มีความสังเวช ขนพองสยองเกล้า
ไม่เคยเป็นมาก่อนว่า ถ้าเราฆ่าเนื้อตัวนี้ เราจักเสียชีวิตในวันนี้
(พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสว่า)
[๑๒๗] นายพราน เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นไร มีธรรมเช่นไร มีสีสันอย่างไร
มีปกติอย่างไร เจ้าจึงสรรเสริญพวกมันเสียหนักหนา
(นายพรานกราบทูลว่า)
[๑๒๘] เนื้อเหล่านั้นมีเขาสีขาว ขนหางสะอาด ผิวหนังประดุจทองคา
เท้าแดง ดวงตาเยิ้ม เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ
(นายพรานประกาศสีกายของเนื้อเหล่านั้นว่า)
[๑๒๙] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นนี้
มีธรรมเช่นนี้ เป็นผู้เลี้ยงดูบิดามารดา ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้าจึงมิได้นามาถวายพระองค์
(พระราชาทรงพอพระทัยแล้วทรงรับสั่งปูนบาเหน็จชุบเลี้ยงบุตรนายพรานด้วยยศ
ใหญ่โดยตรัสว่า)
[๑๓๐] พ่อพราน เราจะให้ทองคาแก่ท่าน ๑๐๐ แท่ง
ต่างหูแก้วมณีที่มีค่ามาก และบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม มีสีอันเป็นสิริคล้ายดอกสามหาว
[๑๓๑] ภรรยาที่เหมาะสมกัน ๒ คน และโคอุสภะอีก ๑๐๐ ตัว
เราจักครอบครองราชสมบัติโดยธรรม พ่อพราน ท่านมีอุปการะแก่เรามาก
[๑๓๒] พ่อพราน ท่านจงเลี้ยงดูภรรยาด้วยกสิกรรม พาณิชกรรม
การให้กู้หนี้ และการเที่ยวแสวงหาโดยธรรมเถิด อย่าได้กระทาบาปอีกเลย
โรหณมิคชาดกที่ ๕ จบ
----------------------------
4
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
โรหนมิคชาดก
ว่าด้วย ความรักในสายเลือด
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการเสียสละชีวิตของท่านพระอานนท์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
ก็การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนท์นั้น
จักปรากฏชัดเจนในเรื่องทรมานช้าง ชื่อว่าธนบาล ในจุลลหังสชาดก อสีตินิบาต.
เมื่อท่านพระอานนท์นั้นสละชีวิตเพื่อป้ องกันพระศาสดาอย่างนี้แล้ว
ภิกษุทั้งหลายจึงสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย
ท่านพระอานนท์เป็นเสกขบุคคล บรรลุปฏิสัมภิทา
ยอมสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่พระทศพล.
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อน
อานนท์ก็เคยสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่เราเหมือนกัน
ดังนี้แล้วทรงนาอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนครพาราณสี
พระองค์มีอัครมเหสีทรงพระนามว่า เขมา ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในกา
เนิดมฤคชาติ มีผิวพรรณเหมือนสีทอง อยู่ในหิมวันตประเทศ
แม้เนื้อน้องชายของพระโพธิสัตว์ชื่อจิตตมิคะ ก็เป็นสัตว์ถึงความเป็นเยี่ยมด้วยคว
ามงาม มีผิวพรรณเสมอด้วยสีทองเหมือนกัน แม้เนื้อน้องสาวของพระโพธิสัตว์
ที่ชื่อว่าสุตตนานั้น ก็เป็นสัตว์มีผิวพรรณปานทองคาเหมือนกัน.
ส่วนพระมหาสัตว์ได้เป็นพญาเนื้อ ชื่อ โรหนมฤคราช พญาเนื้อนั้นมีเ
นื้อแปดหมื่น เป็ นบริวาร สาเร็จนิวาสถานอยู่อาศัยสระชื่อโรหนะ ระหว่างชั้นที่ ๓
เลยเทือกเขาสองลูกไปในหิมวันตประเทศ.
พญาเนื้อโรหนะเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้ชราตาบอด.
ครั้งนั้น มีบุตรพรานคนหนึ่งอยู่ในเนสาทคาม
ไม่ห่างจากพระนครพาราณสีนัก เขาเข้าไปสู่หิมวันตประเทศพบมหาสัตว์เจ้า
แล้วกลับมาบ้านของตน ต่อมาเมื่อจะทากาลกิริยาจึงบอกแก่บุตรชายว่า พ่อคุณ
ในที่ชื่อโน้น ณ ภาคนี้สถานที่ทากินของพวกเรา มีเนื้อสีทองอาศัยอยู่
ถ้าพระราชาตรัสถามพึงกราบทูลให้ทรงทราบ.
อยู่มาวันหนึ่ง พระนางเขมาบรมราชเทวี ทรงพระสุบินในเวลาใกล้รุ่ง.
พระสุบินนั้นปรากฏอย่างนี้ว่า
มีพญาเนื้อสีเหมือนทองยืนอยู่บนแท่นทอง
5
แสดงธรรมแด่พระเทวีด้วยเสียงอันไพเราะ เหมือนบุคคลเคาะกระดิ่งทอง
พระนางประทานสาธุการ แล้วสดับพระธรรมเทศนาอยู่.
เมื่อธรรมกถายังไม่ทันจบ เนื้อทองนั้นก็ลุกเดินไปเสีย.
ส่วนพระนางเทวีก็มีพระเสาวนีย์ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับเนื้อ
ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับเนื้อดังนี้ อยู่จนตื่นพระบรรทม.
พวกนางสนมได้ยินเสียงพระนางพากันขบขันว่า
ประตูหน้าต่างห้องบรรทมก็ปิดหมดแล้ว แม้คนก็ไม่มีโอกาสจะเข้าไปได้
พระแม่เจ้ายังรับสั่งให้จับเนื้อในเวลานี้ได้
ขณะนั้นพระเทวีทรงรู้พระองค์ว่า นี้เป็นความฝัน จึงทรงพระดาริว่า
ถ้าเราจักกราบทูลพระราชาว่า เราฝันเห็นดังนี้ พระองค์ก็จักไม่ทรงสนพระทัย
แต่เมื่อเรากราบทูลว่า แพ้พระครรภ์
พระองค์ก็จักช่วยแสวงหามาให้ด้วยความสนพระทัย
เราจักได้ฟังธรรมของพญามฤคตัวมีสีเหมือนทอง พระนางจึงทรงบรรทม
ทามายาว่าประชวร.
พระราชาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนพระนางผู้มีพักตร์อันเจริญ
เธอไม่สบายเป็นอะไรไปหรือ? พระเทวีกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ โรคอย่างอื่นไม่มีดอกเพคะ
แต่กระหม่อมฉันเกิดแพ้ท้อง.
พระราชาตรัสถามว่า เธออยากได้อะไร? พระนางจึงกราบทูลว่า
ขอเดชะ กระหม่อมฉันปรารถนาจักฟังธรรมของพญาเนื้อมีสีเหมือนทองพะยะค่ะ
พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพระนางผู้มีพักตร์อันเจริญ สิ่งใดไม่มี
เจ้าก็เกิดแพ้ท้องต้องประสงค์สิ่งนั้นหรือ ขึ้นชื่อว่าเนื้อสีทองไม่มีดอก.
พระนางกราบทูลว่า ถ้าไม่ได้หม่อมฉันจักนอนตายในที่นี้แหละ แล้วผินเบื้องพระ
ปฤษฏางค์ให้พระราชา ทรงบรรทมเฉยเสีย
พระราชาทรงปลอบโยนว่า ถ้าหากมีอยู่เจ้าก็จักได้
แล้วประทับนั่งท่ามกลางบริษัท ตรัสถามพวกอามาตย์และพวกพราหมณ์
ตามนัยที่กล่าวแล้วในโมรชาดกนั่นเอง
ทรงสดับว่า เนื้อที่มีสีเหมือนทองมีอยู่จึงมี
พระบรมราชโองการให้พวกนายพรานประชุมกัน ตรัสถามว่า
เนื้อสีเหมือนทองเห็นปานนี้ ใครเคยเห็น เคยได้ยินมาบ้าง?
เมื่อบุตรนายเนสาทกราบทูลโดยทานองที่ตนได้ยินมาจากสานักบิดาแล้ว
จึงตรัสว่า ดูก่อนสหาย เมื่อเจ้านาเนื้อนั้นมาได้ เราจักทาสักการะใหญ่แก่เจ้า
ไปเถิด จงไปนาเนื้อนั้นมา พระราชทานเสบียงแล้วทรงส่งเขาไป.
ฝ่ายบุตรนายเนสาทก็กราบทูลว่า ขอเดชะ
พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
6
ถ้าหากข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะนาเนื้อทองนั้นมาถวายได้
ข้าพระพุทธเจ้าจักนาหนังของมันมาถวาย เมื่อไม่อาจนาหนังมาถวายได้
ก็จักนาแม้ขนของมันมาถวาย ขอพระองค์อย่าทรงวิตกเลย
แล้วไปเรือนมอบเสบียงแก่ลูกและเมีย
แล้วไปที่หิมวันตประเทศนั้นพบพญาเนื้อนั้นแล้ว ดาริว่า เราจะดักบ่วง ณ
ที่ไหนหนอจึงจักสามารถจับเนื้อนี้ได้
เมื่อพิจารณาไปจึงเห็นช่องทางที่ท่าน้า
เขาจึงฟั่นเชือกหนังทาเป็นบ่วงให้มั่นคง
แล้วปักหลักดักบ่วงไว้ในสถานที่พระมหาสัตว์เจ้าลงดื่มน้า.
ในวันรุ่งขึ้น พระมหาสัตว์พร้อมด้วยเนื้อบริวารแปดหมื่น
เที่ยวไปแสวงหาอาหาร คิดว่า เราจักดื่มน้าที่ท่าเดิมนั่นแหละจึงไปที่ท่านั้น
พอก้าวลงไปเท่านั้นก็ติดบ่วง พระมหาสัตว์ดาริว่า
ถ้าหากเราจักร้องว่าติดบ่วงเสียในบัดนี้ทีเดียว หมู่ญาติของเราจักไม่ดื่มน้า
จักพากันตกใจกลัวแตกหนีไป จึงแอบหลักเบี่ยงไว้ข้างตัว ทาทีเหมือนดื่มน้าอยู่
ครั้นเวลาที่เนื้อทั้งแปดหมื่นดื่มน้าขึ้นไปแล้ว
คิดว่าเราจักตัดบ่วงให้ขาด จึงกระชากมา ๓ ครั้ง ในวาระแรกหนังขาดไป
วาระที่สองเนื้อหลุด วาระที่สามเอ็นขาด บ่วงบาดลึกจดแนบกระดูก.
เมื่อพระมหาสัตว์ไม่สามารถจะตัดให้ขาดได้ จึงร้องขึ้นว่าเราติดบ่วง.
หมู่เนื้อทั้งหลายตกใจกลัวพากันแยกหลบหนีไปเป็น ๓ ฝูง
จิตตมฤคไม่เห็นพระมหาสัตว์ ในระหว่างฝูงเนื้อทั้ง ๓ แล้วจึงคิดว่า
เมื่อภัยนี้เกิดคงจักเกิดแก่พี่ชายของเรา จึงมายังสานักของพญาเนื้อนั้น
เห็นพระมหาสัตว์ติดบ่วงอยู่.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์เห็นจิตตมฤค จึงพูดว่า พ่อน้องชาย
เธออย่ามายืนอยู่ที่นี่ สถานที่นี้น่ารังเกียจ เมื่อจะส่งกลับไปจึงกล่าวคาถาที่ ๑
ความว่า
ดูก่อนน้องจิตตกะ ฝูงเนื้อเหล่านี้กลัวความตายจึงพากันหนีกลับไป
ถึงเธอก็จงไปเสียเถิด อย่าห่วงพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเธอ.
ต่อจากนั้นเป็นคาถาที่เนื้อทั้งสองสนทนาโต้ตอบกันรวม ๓
คาถาเป็นลาดับกันดังต่อไปนี้
พี่โรหนะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักมาคร่าเอาหัวใจของฉันไป
ฉันก็จักไม่ทิ้งพี่ไป ฉันจักยอมสละชีวิตอยู่ในที่นี้.
ก็มารดาบิดาทั้งสองเรานั้น ท่านตาบอดเมื่อไม่มีผู้นาจักต้องตายแน่
เธอจงไปเถิดอย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเธอ.
พี่โรหนะ ฉันไม่ยอมไป ถึงใครจักมาคร่าเอาดวงใจของฉันไป
ฉันจักไม่ทิ้งพี่ผู้ถูกมัดไป ฉันจักยอมสละชีวิตไว้ในที่นี้.
7
ครั้นจิตตมฤคกล่าวดังนี้แล้ว
ก็เดินไปยืนพิงแนบข้างเบื้องขวาของพระโพธิสัตว์ ปลอบโยนให้ดารงกาย
สบายใจ ฝ่ายนางสุตตนามฤคี หนีไปไม่เห็นพี่ชายทั้งสองในระหว่างฝูงเนื้อ
คิดว่าภัยนี้จักเกิดแก่พี่ชายทั้งสองของเรา
จึงหวนกลับมายังสานักของเนื้อทั้งสองนั้น
พระมหาสัตว์เห็นนางสุตตนามฤคีกาลังเดินทาง จึงกล่าวคาถาที่ ๕
ความว่า
เจ้าเป็นผู้ขลาด จงหนีไปเสียเถิด พี่ติดอยู่ในหลักเหล็ก
เธอจงไปเสียเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ.
เบื้องหน้าแต่นั้น มีคาถา ๓ คาถา
ซึ่งเนื้อสองพี่น้องโต้ตอบกันโดยนัยก่อนนั่นแหละดังนี้
พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอาหัวใจของฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ ฉันจักยอมทิ้งชีวิตไว้ในที่นี้.
ก็มารดาบิดาทั้งสองของเรานั้น ท่านตาบอดขาดผู้ปรนนิบัตินาทาง
จักต้องตายแน่ เธอจงไปเถิดอย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ.
พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอาหัวใจของฉันไป
ฉันจะไม่ละทิ้งพี่ผู้ถูกมัด ฉันจักยอมทิ้งชีวิตไว้ในที่นี้แหละ.
แม้นางสุตตนามฤคีนั้น ครั้นปฏิเสธอย่างนั้นแล้ว
ไปยืนพิงข้างเบื้องซ้ายของพระมหาสัตว์ผู้พี่ชายปลอบใจอยู่
ฝ่ายนายพรานเห็นเนื้อเหล่านั้นหนีไป และได้ยินเสียงร้องแห่งเนื้อที่ติดบ่วง
คิดว่าพญาเนื้อคงจักติดบ่วง แล้วนุ่งผ้าหยักรั้งมั่นคง ถือหอกสาหรับฆ่าเนื้อ
วิ่งมาโดยเร็ว
พระมหาสัตว์เห็นนายพรานกาลังวิ่งมา จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ความว่า
วันนี้นายพรานคนใด จักฆ่าเราด้วยลูกศรหรือหอก นายพรานคนนี้นั้น
มีรูปร่างร้ายกาจ ถืออาวุธเดินมาแล้ว.
จิตตมฤคแม้เห็นพรานนั้นแล้วก็มิได้หนีไป
ส่วนนางสุตตนามฤคีไม่อาจดารงอยู่โดยภาวะของตนได้ มีความกลัวต่อมรณภัย
หนีไปหน่อยหนึ่งแล้วกลับคิดว่า เราจักทิ้งพี่ชายทั้งสองคนหนีไปไหน
จึงยอมสละชีวิตของตน กล้ากลืนความกลัวตาย ย้อนกลับมาใหม่
ยืนอยู่เคียงข้างซ้ายพี่ชายของตน.
เมื่อจะประกาศความนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ความว่า
นางสุตตนามฤคีนั้นถูกภัยบีบคั้นคุกคามหนีไปครู่หนึ่ง
แล้วย้อนกลับมาเผชิญหน้ามฤตยู
ถึงจะมีขวัญอ่อนก็ได้กระทากรรมที่ทาได้แสนยาก.
ฝ่ายนายพรานเห็นสัตว์ทั้ง ๓ ยืนเผชิญหน้ากันอยู่ก็เกิดเมตตาจิต
8
มีความสาคัญประหนึ่งว่า เป็ นพี่น้องเกิดร่วมท้องเดียวกัน จึงคิดว่า
พญาเนื้อติดบ่วงเราก่อน แต่เนื้อทั้งสองนี้ติดอยู่ด้วยหิริโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งสองนี้เป็ นอะไรกันกับพญาเนื้อนี้หนอ ครั้นคิดดังนี้แล้ว
เมื่อจะถามเหตุนั้น จึงกล่าวคาถาความว่า
เนื้อทั้งสองนี้เป็ นอะไรกับท่านหนอ
พ้นไปแล้วยังย้อนกลับมาหาเครื่องผูกอีก ไม่ปรารถนาจะละทิ้งท่านไป
แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.
ลาดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงบอกแก่นายพรานว่า
ดูก่อนนายพราน เนื้อทั้งสองนี้ เป็นน้องชายน้องสาวของข้าพเจ้า
ร่วมท้องมารดาเดียวกัน ไม่ปรารถนาละข้าพเจ้าไป แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.
นายพรานได้ฟังคาของพระโพธิสัตว์แล้ว
เป็นผู้มีจิตอ่อนลงไปเป็นอันมาก. จิตตมฤคราชรู้ว่านายพรานมีจิตอ่อนแล้ว
จึงกล่าวว่า ดูก่อนนายพรานผู้สหาย ท่านอย่าสาคัญพญาเนื้อนี้ว่า
เป็นเพียงเนื้อสามัญเท่านั้น แท้จริง พญาเนื้อนี้เป็ นราชาแห่งเนื้อแปดหมื่น
ถึงพร้อมด้วยศีลและมรรยาท มีจิตอ่อนโยนในสรรพสัตว์ มีปัญญามาก
เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้ชราตาบอด
ถ้าหากท่านฆ่าเนื้อผู้ตั้งอยู่ในธรรมเห็นปานนี้ให้ตายลง ชื่อว่าฆ่าพวกเราให้ตายถึง
๕ ชีวิต คือ มารดาบิดาของเรา ตัวเรา และน้องสาวของเราทีเดียว
แต่เมื่อท่านให้ชีวิตแก่พี่ชายของเรา เป็นอันได้ชื่อว่าให้ชีวิตแก่พวกเราแม้ทั้ง ๕
แล้วกล่าวคาถาความว่า
ข้าแต่นายพราน มารดาบิดาของเราเหล่านั้นตาบอด
หาผู้ปรนนิบัตินาทางไม่ได้ คงจักต้องตายแน่แท้ โปรดให้ชีวิตแก่พวกเราทั้ง ๕
เถิด โปรดปล่อยพี่ชายเสียเถิด.
นายพรานได้ฟังธรรมกถาของจิตตมฤคแล้ว
มีจิตเลื่อมใสแล้วกล่าวว่าท่านอย่ากลัวเลย
แล้วกล่าวคาถาเป็นลาดับไปว่า
ข้าพเจ้าจะปล่อยเนื้อ ผู้เลี้ยงมารดาบิดาแน่นอน
มารดาบิดาได้เห็นพญาเนื้อหลุดจากบ่วงแล้ว จงยินดีเถิด.
ก็แลนายพรานครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงคิดว่า
ยศที่พระราชาพระราชทานแล้ว จักช่วยอะไรเราได้
ถ้าหากเราจักฆ่าพญาเนื้อนี้เสีย แผ่นดินนี้จักแยกออกให้ช่องแก่เรา
หรือสายอสนีบาตจักฟาดลงบนกระหม่อมของเรา เราจักปล่อยพญาเนื้อนั้น.
เขาจึงเข้าไปหาพระมหาสัตว์เจ้า แล้วกล่าวว่า
ข้าพเจ้าจักโยกหลักบ่วงให้ล้มลง แล้วตัดเชือกหนังออกดังนี้แล้ว
ประคองพญาเนื้อให้นอนลงที่ชายน้า ค่อยๆ แก้บ่วงออกด้วยมุทิตาจิต
9
ทาเส้นเอ็นให้ประสานกับเส้นเอ็น เนื้อให้ประสานกับเนื้อ หนังให้ประสานกับหนัง
แล้วเอาน้าล้างเลือด ลูบคลาไปมาด้วยมุทิตาจิต.
ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาจิตของนายพราน
และด้วยอานุภาพแห่งบารมีที่พระมหาสัตว์ได้บาเพ็ญมา เอ็น
หนังและเนื้อทั้งหมด ก็สมานติดสนิทดังเดิม เท้าก็ได้มีหนังและขนปกปิดสนิทดี
ในอวัยวะที่มีแผลเก่าไม่ปรากฏว่า มีแผลติดอยู่เลย.
พระมหาสัตว์ถึงความสบายปลอดภัยลุกขึ้นยืนแล้ว
จิตตมฤคเห็นดังนั้นแล้วเกิดความโสมนัส
เมื่อจะทาอนุโมทนาต่อนายพราน จึงกล่าวคาถาความว่า
ข้าแต่นายพราน ท่านจงยินดีเพลิดเพลินกับพวกญาติทั้งปวง
เหมือนข้าพเจ้าเห็นพญาเนื้อที่หลุดจากบ่วงแล้ว ชื่นชมยินดีในวันนี้ ฉะนั้น.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าคิดว่า นายพรานนี้เมื่อจะจับเรา
จับโดยงานอาชีพของตน หรือว่าจับโดยการบังคับของผู้อื่น จึงถามเหตุที่จับ.
บุตรนายพรานตอบว่า ดูก่อนพญาเนื้อ ข้าพเจ้าจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับท่านก็หามิได้
แต่พระอัครมเหสีของพระราชาซึ่งมีพระนามว่า พระนางเขมาราชเทวี
มีพระประสงค์จะฟังธรรมกถาของท่าน
ท่านจึงถูกข้าพเจ้าจับโดยพระราชโองการเพื่อประโยชน์แก่พระเทวีนั้น.
พระมหาสัตว์กล่าวว่า สหายเอ๋ย เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านปล่อยเราเสีย
ชื่อว่าทาสิ่งที่ทาได้ยากยิ่ง มาเถิด จงนาเราไปแสดงแก่บรมกษัตริย์เถิด
เราจักแสดงธรรมถวายพระนางเทวี.
นายพรานกล่าวว่า ดูก่อนพญาเนื้อ
ธรรมดาพระราชาทั้งหลายมีพระเดชานุภาพร้ายกาจ ใครจักรู้ว่าจักมีอะไรเกิดขึ้น
ข้าพเจ้าไม่ยินดียศศักดิ์ที่ทรงพระราชทานดอก
เชิญท่านไปตามสบายของท่านเถิด.
พระมหาสัตว์คิดว่า พรานนี้เมื่อปล่อยเราไป
ชื่อว่าทากิจที่ทาได้ยากอย่างยิ่ง เราจักทาอุบายให้พรานนั้นได้รับยศศักดิ์
แล้วจึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงเอามือลูบหลังเราก่อนเถิด.
นายพรานจึงเอามือลูบหลังพญาเนื้อ
มือของเขาก็เต็มไปด้วยขนมีสีเหมือนทองคา.
เขาจึงถามว่าดูก่อนพญาเนื้อ ข้าพเจ้าจักทาอย่างไรกับขนเหล่านี้
พญาเนื้อจึงบอกว่า ดูก่อนสหาย
ท่านจงเอาขนเหล่านี้ไปถวายแด่พระราชาและพระราชเทวี ทูลว่า
นี้เป็นขนของสุวรรณมฤคนั้น ดังนี้ ตั้งอยู่ในฐานะตัวแทนของเรา
แสดงธรรมถวายพระบรมราชเทวีด้วยคาถาเหล่านี้
การแพ้พระครรภ์ของพระนางก็จักสงบ เพราะทรงสดับธรรมกถานั้นแล ดังนี้แล้ว
10
ให้นายพรานเรียนราชธรรมคาถา ๑๐ คาถา
กล่าวสอนด้วยความไม่ประมาทแล้วส่งไป.
บุตรของนายพรานยกย่องพระมหาสัตว์ไว้ในตาแหน่งอาจารย์
กระทาประทักษิณสามครั้ง แล้วไหว้ในฐานะสี่
เอาใบบัวห่อขนทองทั้งหลายแล้วลาหลีกไป.
เนื้อทั้งสามตามไปส่งนายพรานหน่อยหนึ่ง แล้วเอาปากคาบอาหารและน้า
พากันกลับไปยังสานักของมารดาบิดา.
มารดาบิดาทั้งสองเมื่อจะถามว่า โรหนะลูกรัก
ได้ยินว่าเจ้าติดบ่วงแล้วพ้นมาได้อย่างไร จึงกล่าวคาถาความว่า
ลูกรัก เมื่อชีวิตเข้าไปใกล้ความตายแล้ว เจ้าหลุดมาได้อย่างไร
ไฉนนายพรานจึงปล่อยจากบ่วงเหล็กมาเล่า
พระโพธิสัตว์ฟังคานั้นแล้ว กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
น้องจิตตกะกล่าววาจาไพเราะหู เป็นที่จับใจดื่มด่าในหฤทัย
ช่วยให้ข้าพเจ้าหลุดมาได้ ด้วยวาจาสุภาษิต
น้องสุตตนาได้กล่าววาจาไพเราะหู จับใจดื่มด่าในหฤทัย
ช่วยข้าพเจ้าให้หลุดมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต
นายพรานได้ฟังวาจาไพเราะหู เป็นที่จับใจดื่มด่าในหฤทัย
แล้วปล่อยข้าพเจ้า เพราะฟังวาจาสุภาษิตของน้องทั้งสองนี้.
ลาดับนั้น เมื่อมารดาบิดาพระโพธิสัตว์จะอนุโมทนา จึงกล่าวว่า
ก็เราทั้งหลายเห็นลูกโรหนะมาแล้ว พากันชื่นชมยินดี ฉันใด
ขอนายพรานพร้อมด้วยลูกเมีย จงชื่นชมยินดี ฉันนั้นเถิด.
ฝ่ายนายพรานออกจากป่าแล้วไปสู่ราชตระกูล
ถวายบังคมพระราชาแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระราชาเห็นเขาแล้วตรัสพระคาถาว่า
แน่ะนายพราน เจ้าได้บอกไว้ว่า จะนาเนื้อหรือหนังเนื้อมามิใช่หรือ
เออก็เหตุอะไรเล่า เจ้าจึงไม่นาเอาเนื้อหรือหนังเนื้อมา.
นายพรานได้ฟังพระดารัสแล้วกล่าวคาถา ความว่า
เนื้อนั้นได้มาติดบ่วงเหล็กถึงมือแล้ว แต่มีเนื้อสองตัวไม่ได้ติดบ่วง
มายืนอยู่ใกล้เนื้อตัวนั้น ข้าพระองค์ได้เกิดความสังเวชใจ
ความอัศจรรย์ใจขนพองสยองเกล้าว่า ถ้าเราฆ่าเนื้อตัวนี้ เราจักต้องละทิ้งชีวิต
ในสถานที่นี้แหละในวันนี้ทีเดียว.
พระราชาสดับคานั้นแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนนายพราน เนื้อนั้นเป็ นเช่นไร เป็ นเนื้อมีธรรมอย่างไร
มีสีสรรอย่างไร มีศีลอย่างไร ท่านจึงได้สรรเสริญเนื้อเหล่านั้นนัก.
พระราชาตรัสถามเช่นนี้บ่อยๆ ด้วยสามารถทรงพิศวงพระทัย.
11
นายพรานได้ฟังพระดารัสนั้นแล้ว กล่าวคาถาความว่า
เนื้อเหล่านั้นมีเขาขาว ขนสะอาด หนังเปรียบด้วยทองคา เท้าแดง
ตาสุกสะกาว เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ.
เมื่อนายพรานกราบทูลอยู่อย่างนี้แลได้วางโลมชาติทั้งหลายมีสีเหมือน
ทองของพระโพธิสัตว์ ไว้ในพระหัตถ์ของพระราชา
เมื่อจะประกาศสีกายแห่งเนื้อเหล่านั้น จึงกล่าวคาถาความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นนี้
เป็นเนื้อมีธรรมเช่นนี้ เป็นเนื้อเลี้ยงมารดาบิดา
ข้าพระพุทธเจ้าจึงมิได้นาเนื้อเหล่านั้นมาถวายพระองค์ พระเจ้าข้า.
นายพรานกล่าวพรรณนาคุณความดีของพระโพธิสัตว์ จิตตมฤค
และนางมฤคีโปติกาชื่อสุตตนา ด้วยประการฉะนี้แล้ว กราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าอันพญาเนื้อนั้นให้ขนของตนมาแล้ว
ให้ศึกษาบทธรรมสั่งบังคับว่า ท่านพึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเรา
แสดงธรรมถวายพระราชเทวี ด้วยคาถาราชธรรมจรรยา ๑๐ ประการเถิด.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว
ตรัสสั่งให้นายพรานนั่งเหนือราชบัลลังก์อันขจิตด้วยรัตนะ ๗ ประการ
พระองค์เองกับพระบรมราชเทวีประทับนั่งบนพระราชอาสน์ที่ต่า ณ
ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ทรงประคองอัญชลี เชื้อเชิญนายพราน.
เมื่อนายพรานนั้นจะแสดงธรรมถวาย จึงทูลว่า
ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรม
ในพระราชมารดาบิดา ข้าแต่องค์ราชันย์
พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วจักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรม
ในพระราชบุตร และพระราชชายาทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์
พระองค์ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรม
ในมิตรและอามาตย์ทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์
พระองค์ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช
ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรมในพาหนะ และพลทั้งหลาย
ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่มหาราชเจ้า
ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรมในบ้านและนิคมทั้งหลาย
ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วจักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม
12
ในแว่นแคว้นและชนบททั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์
พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วจักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรม
ในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์
พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็ นธรรม
ในหมู่มฤคและปักษีทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์
พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม
เพราะธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนาสุขมาให้ ข้าแต่องค์ราชันย์
พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์.
ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม พระอินทร์
เทพยเจ้าทั้งหลายพร้อมทั้งพระพรหม ได้เสวยทิพยสมบัติ
เพราะธรรมอันประพฤติดีแล้ว
ข้าแต่องค์ราชันย์ ขอพระองค์อย่าได้ทรงประมาทธรรม
ธรรมเหล่านั้นเป็นวัตตบทในทศราชธรรมนั่นเอง ข้อนี้แล
เป็ นอนุสาสนีที่พร่าสอนกันมา
กัลยาณชนมาซ่องเสพผู้มีปัญญา
พระองค์ทรงประพฤติอย่างนี้แล้วจะได้ไปสู่ไตรทิพยสถาน ด้วยประการฉะนี้.
บุตรนายพรานแสดงธรรมด้วยพุทธลีลา
โดยนิยามอันพระมหาสัตว์ทรงแสดงแล้วนั่นเอง
เหมือนเทวดาผู้วิเศษยังแม่น้าในอากาศ ให้ตกลงมาฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.
มหาชนยังสาธุการให้เป็นไปนับเป็นพัน
ความแพ้พระครรภ์ของพระบรมราชเทวีก็ระงับไป
เพราะทรงสดับธรรมกถานั่นเอง.
พระราชาทรงดีพระทัย
เมื่อจะทรงปูนบาเหน็จชุบเลี้ยงบุตรนายพรานด้วยยศใหญ่ ได้ตรัสพระคาถา ๓
คาถาความว่า
ดูก่อนนายพราน เราให้ทองคา ๑๐๐ แท่ง กุณฑลแก้วมณีอันมีค่ามาก
เตียงสี่เหลี่ยมมีสีคล้ายดอกสามหาว และภรรยาผู้ทัดเทียมกันสองคน กับโค ๑๐๐
ตัวแก่ท่าน เราจักปกครองราชสมบัติโดยธรรม ท่านเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก
ดูก่อนนายพราน ท่านจงเลี้ยงดูบุตรและภรรยาด้วยกสิกรรม
พาณิชยกรรม การให้กู้หนี้ และด้วยการประพฤติเลี้ยงชีพโดยสัมมาอาชีวะเถิด
อย่าได้กระทาบาปอีกเลย.
นายพรานฟังพระดารัสของพระราชาแล้ว กราบทูลว่า
13
ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะอยู่ครอบครองเรือน
ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตการบรรพชาแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด
ครั้นได้พระบรมราชานุญาตแล้ว
ก็มอบทรัพย์สมบัติที่พระราชาทรงพระราชทานแก่ตน แก่บุตรภรรยา
แล้วเข้าไปสู่หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี ยังสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด
เป็นผู้มีพรหมโลกเป็ นที่ไปในเบื้องหน้า.
ฝ่ายพระราชาทรงดารงอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์เจ้า
แล้วทรงบาเพ็ญทางแห่งสวรรค์ให้เต็มบริบูรณ์
โอวาทของพระมหาสัตว์นั้นก็ดาเนินติดต่อมาเป็ นเวลาพันปี.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในชาติก่อน
พระอานนท์ก็ได้สละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่เรา ด้วยประการอย่างนี้เหมือนกัน
แล้วทรงประชุมชาดกว่า
นายพรานในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระฉันนะ ในบัดนี้
พระราชาได้มาเป็น พระสารีบุตร
พระเทวีได้มาเป็ น เขมาภิกษุณี
มารดาบิดาได้มาเป็น ตระกูลมหาราช
สุตตนามฤคีได้มาเป็น อุบลวรรณาเถรี
จิตตมฤคได้มาเป็น พระอานนท์
เนื้อแปดหมื่นได้มาเป็น หมู่สากิยราช
ส่วนพญาเนื้อได้มาเป็น เราตถาคต แล.
จบอรรถกถาโรหนมิคชาดกที่ ๕
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 501 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapanaTongsamut vorasan
 
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
maruay songtanin
 
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
077 มหาสุปินชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
077 มหาสุปินชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...077 มหาสุปินชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
077 มหาสุปินชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
014 วาตมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
014 วาตมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx014 วาตมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
014 วาตมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
153 สูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
153 สูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx153 สูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
153 สูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

Similar to 501 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
458 อุทยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana
6 คุณสมบัติโสดาบัน sotapana
 
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
295 อันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
 
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
495 ทสพราหมณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
077 มหาสุปินชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
077 มหาสุปินชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...077 มหาสุปินชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
077 มหาสุปินชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
๐๔. เนมิราชชาดก.pdf
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
 
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
322 ทุททุภายชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
014 วาตมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
014 วาตมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx014 วาตมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
014 วาตมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
153 สูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
153 สูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx153 สูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
153 สูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

More from maruay songtanin

๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
maruay songtanin
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
maruay songtanin
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 

501 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๕. โรหณมิคชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๐๑) ว่าด้วยพญาเนื้อชื่อโรหณะ (พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาเนื้อโรหณะพบเนื้อจิตตกะตัวน้อง จึงกล่าวว่า) [๑๐๔] พ่อจิตตกะ ฝูงเนื้อเหล่านั้นกลัวตายจึงพากันหลบหนีไป ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย ฝูงเนื้อเหล่านั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า (เนื้อจิตตกะตอบว่า) [๑๐๕] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่ (พญาเนื้อโรหณะกล่าวว่า) [๑๐๖] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา ท่านทั้ง ๒ นั้นไม่มีผู้นาจักต้องตายแน่ ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย ท่านทั้ง ๒ นั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า (เนื้อจิตตกะกล่าวว่า) [๑๐๗] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ผู้ติดบ่วงไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่ (พระโพธิสัตว์โรหณะเห็นน้องสุตนากลับมา จึงกล่าวว่า) [๑๐๘] หนีไปเถิด น้องหญิงผู้มีความกลัว เจ้าจงหนีไป พี่ติดบ่วงที่ล่ามติดกับเหล็ก ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย ฝูงเนื้อเหล่านั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า (เนื้อสุตนากล่าวว่า) [๑๐๙] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่ (พญาเนื้อโพธิสัตว์โรหณะกล่าวว่า) [๑๑๐] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา ท่านทั้ง ๒ นั้นไม่มีผู้นาจักต้องตายแน่ ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย ท่านทั้ง ๒ นั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า (เนื้อสุตนาตอบว่า) [๑๑๑] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ผู้ติดบ่วงไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่ (พญาเนื้อโพธิสัตว์โรหณะเห็นนายพรานกาลังเดินมา จึงกล่าวว่า)
  • 2. 2 [๑๑๒] นั่นไง นายพรานผู้โหดร้ายพร้อมทั้งอาวุธ ผู้จักใช้ลูกศรหรือหอกฆ่าพวกเราในวันนี้กาลังเดินมา (พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า) [๑๑๓] นางลูกเนื้อนั้น ถูกภัยบีบคั้นคุกคามวิ่งหนีไปครู่หนึ่ง ถึงจะมีความกลัวแต่ก็ได้ทาสิ่งที่ทาได้แสนยาก ได้กลับมาเผชิญหน้าต่อความตาย (นายพรานถามเหตุผลที่เนื้อ ๒ ตัวเป็นอะไรกับพญาเนื้อว่า) [๑๑๔] เนื้อทั้ง ๒ นี้เป็ นอะไรกับเจ้าหนอ พ้นไปแล้วยังกลับมาหาเจ้าผู้ติดบ่วงอีก พวกเขาไม่ปรารถนาจะทิ้งเจ้าไปแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต (ลาดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้บอกแก่นายพรานนั้นว่า) [๑๑๕] นายพราน เขาทั้ง ๒ เป็นพี่น้อง ร่วมท้องมารดาเดียวกันกับข้าพเจ้า พวกเขาจึงไม่ปรารถนาจะทิ้งข้าพเจ้าไปแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต (พญาเนื้อจิตตกะรู้ว่านายพรานมีจิตอ่อนโยนจึงกล่าวเหตุผลต่างๆ ว่า) [๑๑๖] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา ท่านทั้ง ๒ นั้นไม่มีผู้นาจักต้องตายแน่ ขอท่านจงให้ชีวิตแก่พวกเราทั้ง ๕ โปรดปล่อยพี่ชายของพวกเราเถิด พ่อพราน (นายพรานนั้นฟังธรรมของเนื้อจิตตกะแล้วมีจิตเลื่อมใส จึงกล่าวปลอบโยนว่า) [๑๑๗] เรานั้นจะปล่อยเนื้อที่เลี้ยงบิดามารดา ขอบิดามารดาของพวกเจ้าจงรื่นเริงบันเทิงใจ เพราะได้เห็นพญาเนื้อหลุดพ้นจากบ่วงแล้วเถิด (เนื้อจิตตกะพบพระโพธิสัตว์แล้วดีใจจึงอนุโมทนาแก่นายพรานว่า) [๑๑๘] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้าเห็นพญาเนื้อ พ้นจากอันตรายแล้วย่อมร่าเริงฉันใด ขอท่านพร้อมกับญาติทั้งหมดจงร่าเริงฉันนั้นเถิด (บิดามารดาถามถึงเหตุที่พญาเนื้อโรหณะหลุดจากบ่วงว่า) [๑๑๙] เมื่อชีวิตเข้ามาใกล้ความตาย เจ้าหลุดพ้นมาได้อย่างไร ลูกรัก ทาไมนายพรานจึงได้ปลดปล่อยเจ้าออกจากบ่วงเสียเล่า (พระโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๑๒๐] น้องจิตตกะ เมื่อกล่าววาจาอันไพเราะหู จับจิตจับใจ ซาบซึ้งตรึงใจ ช่วยให้ลูกหลุดพ้นมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต [๑๒๑] น้องสุตนา เมื่อกล่าววาจาอันไพเราะหู จับจิตจับใจ ซาบซึ้งตรึงใจ ช่วยให้ลูกหลุดพ้นมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต
  • 3. 3 [๑๒๒] เพราะฟังวาจาไพเราะหู จับจิตจับใจ ซาบซึ้งตรึงใจ และเพราะได้ฟังวาจาสุภาษิต นายพรานจึงได้ปล่อยลูกมา (บิดามารดาอนุโมทนาต่อนายพรานว่า) [๑๒๓] ขอให้นายพรานจงรื่นเริงบันเทิงใจพร้อมกับบุตรและภรรยา เหมือนพวกเรารื่นเริงบันเทิงใจในวันนี้ เพราะได้เห็นพ่อโรหณะกลับมา (พระราชาทรงเห็นนายพรานมาเฝ้ า จึงตรัสว่า) [๑๒๔] นายพราน เจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า จักนาตัวเนื้อหรือหนังมามิใช่หรือ ก็เพราะเหตุอะไรเล่า เจ้าจึงไม่นาตัวเนื้อหรือหนังมาเลย (นายพรานกราบทูลว่า) [๑๒๕] พญาเนื้อได้มาสู่เงื้อมมือและได้ติดบ่วงแล้ว แต่เนื้อที่ไม่ติดบ่วง ๒ ตัวได้เข้ามาหาพญาเนื้อนั้น [๑๒๖] ข้าพระองค์นั้นได้มีความสังเวช ขนพองสยองเกล้า ไม่เคยเป็นมาก่อนว่า ถ้าเราฆ่าเนื้อตัวนี้ เราจักเสียชีวิตในวันนี้ (พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสว่า) [๑๒๗] นายพราน เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นไร มีธรรมเช่นไร มีสีสันอย่างไร มีปกติอย่างไร เจ้าจึงสรรเสริญพวกมันเสียหนักหนา (นายพรานกราบทูลว่า) [๑๒๘] เนื้อเหล่านั้นมีเขาสีขาว ขนหางสะอาด ผิวหนังประดุจทองคา เท้าแดง ดวงตาเยิ้ม เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ (นายพรานประกาศสีกายของเนื้อเหล่านั้นว่า) [๑๒๙] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นนี้ มีธรรมเช่นนี้ เป็นผู้เลี้ยงดูบิดามารดา ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าจึงมิได้นามาถวายพระองค์ (พระราชาทรงพอพระทัยแล้วทรงรับสั่งปูนบาเหน็จชุบเลี้ยงบุตรนายพรานด้วยยศ ใหญ่โดยตรัสว่า) [๑๓๐] พ่อพราน เราจะให้ทองคาแก่ท่าน ๑๐๐ แท่ง ต่างหูแก้วมณีที่มีค่ามาก และบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม มีสีอันเป็นสิริคล้ายดอกสามหาว [๑๓๑] ภรรยาที่เหมาะสมกัน ๒ คน และโคอุสภะอีก ๑๐๐ ตัว เราจักครอบครองราชสมบัติโดยธรรม พ่อพราน ท่านมีอุปการะแก่เรามาก [๑๓๒] พ่อพราน ท่านจงเลี้ยงดูภรรยาด้วยกสิกรรม พาณิชกรรม การให้กู้หนี้ และการเที่ยวแสวงหาโดยธรรมเถิด อย่าได้กระทาบาปอีกเลย โรหณมิคชาดกที่ ๕ จบ ----------------------------
  • 4. 4 คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา โรหนมิคชาดก ว่าด้วย ความรักในสายเลือด พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการเสียสละชีวิตของท่านพระอานนท์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. ก็การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนท์นั้น จักปรากฏชัดเจนในเรื่องทรมานช้าง ชื่อว่าธนบาล ในจุลลหังสชาดก อสีตินิบาต. เมื่อท่านพระอานนท์นั้นสละชีวิตเพื่อป้ องกันพระศาสดาอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านพระอานนท์เป็นเสกขบุคคล บรรลุปฏิสัมภิทา ยอมสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่พระทศพล. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อน อานนท์ก็เคยสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่เราเหมือนกัน ดังนี้แล้วทรงนาอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้ ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนครพาราณสี พระองค์มีอัครมเหสีทรงพระนามว่า เขมา ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในกา เนิดมฤคชาติ มีผิวพรรณเหมือนสีทอง อยู่ในหิมวันตประเทศ แม้เนื้อน้องชายของพระโพธิสัตว์ชื่อจิตตมิคะ ก็เป็นสัตว์ถึงความเป็นเยี่ยมด้วยคว ามงาม มีผิวพรรณเสมอด้วยสีทองเหมือนกัน แม้เนื้อน้องสาวของพระโพธิสัตว์ ที่ชื่อว่าสุตตนานั้น ก็เป็นสัตว์มีผิวพรรณปานทองคาเหมือนกัน. ส่วนพระมหาสัตว์ได้เป็นพญาเนื้อ ชื่อ โรหนมฤคราช พญาเนื้อนั้นมีเ นื้อแปดหมื่น เป็ นบริวาร สาเร็จนิวาสถานอยู่อาศัยสระชื่อโรหนะ ระหว่างชั้นที่ ๓ เลยเทือกเขาสองลูกไปในหิมวันตประเทศ. พญาเนื้อโรหนะเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้ชราตาบอด. ครั้งนั้น มีบุตรพรานคนหนึ่งอยู่ในเนสาทคาม ไม่ห่างจากพระนครพาราณสีนัก เขาเข้าไปสู่หิมวันตประเทศพบมหาสัตว์เจ้า แล้วกลับมาบ้านของตน ต่อมาเมื่อจะทากาลกิริยาจึงบอกแก่บุตรชายว่า พ่อคุณ ในที่ชื่อโน้น ณ ภาคนี้สถานที่ทากินของพวกเรา มีเนื้อสีทองอาศัยอยู่ ถ้าพระราชาตรัสถามพึงกราบทูลให้ทรงทราบ. อยู่มาวันหนึ่ง พระนางเขมาบรมราชเทวี ทรงพระสุบินในเวลาใกล้รุ่ง. พระสุบินนั้นปรากฏอย่างนี้ว่า มีพญาเนื้อสีเหมือนทองยืนอยู่บนแท่นทอง
  • 5. 5 แสดงธรรมแด่พระเทวีด้วยเสียงอันไพเราะ เหมือนบุคคลเคาะกระดิ่งทอง พระนางประทานสาธุการ แล้วสดับพระธรรมเทศนาอยู่. เมื่อธรรมกถายังไม่ทันจบ เนื้อทองนั้นก็ลุกเดินไปเสีย. ส่วนพระนางเทวีก็มีพระเสาวนีย์ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับเนื้อ ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับเนื้อดังนี้ อยู่จนตื่นพระบรรทม. พวกนางสนมได้ยินเสียงพระนางพากันขบขันว่า ประตูหน้าต่างห้องบรรทมก็ปิดหมดแล้ว แม้คนก็ไม่มีโอกาสจะเข้าไปได้ พระแม่เจ้ายังรับสั่งให้จับเนื้อในเวลานี้ได้ ขณะนั้นพระเทวีทรงรู้พระองค์ว่า นี้เป็นความฝัน จึงทรงพระดาริว่า ถ้าเราจักกราบทูลพระราชาว่า เราฝันเห็นดังนี้ พระองค์ก็จักไม่ทรงสนพระทัย แต่เมื่อเรากราบทูลว่า แพ้พระครรภ์ พระองค์ก็จักช่วยแสวงหามาให้ด้วยความสนพระทัย เราจักได้ฟังธรรมของพญามฤคตัวมีสีเหมือนทอง พระนางจึงทรงบรรทม ทามายาว่าประชวร. พระราชาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนพระนางผู้มีพักตร์อันเจริญ เธอไม่สบายเป็นอะไรไปหรือ? พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ โรคอย่างอื่นไม่มีดอกเพคะ แต่กระหม่อมฉันเกิดแพ้ท้อง. พระราชาตรัสถามว่า เธออยากได้อะไร? พระนางจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ กระหม่อมฉันปรารถนาจักฟังธรรมของพญาเนื้อมีสีเหมือนทองพะยะค่ะ พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพระนางผู้มีพักตร์อันเจริญ สิ่งใดไม่มี เจ้าก็เกิดแพ้ท้องต้องประสงค์สิ่งนั้นหรือ ขึ้นชื่อว่าเนื้อสีทองไม่มีดอก. พระนางกราบทูลว่า ถ้าไม่ได้หม่อมฉันจักนอนตายในที่นี้แหละ แล้วผินเบื้องพระ ปฤษฏางค์ให้พระราชา ทรงบรรทมเฉยเสีย พระราชาทรงปลอบโยนว่า ถ้าหากมีอยู่เจ้าก็จักได้ แล้วประทับนั่งท่ามกลางบริษัท ตรัสถามพวกอามาตย์และพวกพราหมณ์ ตามนัยที่กล่าวแล้วในโมรชาดกนั่นเอง ทรงสดับว่า เนื้อที่มีสีเหมือนทองมีอยู่จึงมี พระบรมราชโองการให้พวกนายพรานประชุมกัน ตรัสถามว่า เนื้อสีเหมือนทองเห็นปานนี้ ใครเคยเห็น เคยได้ยินมาบ้าง? เมื่อบุตรนายเนสาทกราบทูลโดยทานองที่ตนได้ยินมาจากสานักบิดาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนสหาย เมื่อเจ้านาเนื้อนั้นมาได้ เราจักทาสักการะใหญ่แก่เจ้า ไปเถิด จงไปนาเนื้อนั้นมา พระราชทานเสบียงแล้วทรงส่งเขาไป. ฝ่ายบุตรนายเนสาทก็กราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
  • 6. 6 ถ้าหากข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะนาเนื้อทองนั้นมาถวายได้ ข้าพระพุทธเจ้าจักนาหนังของมันมาถวาย เมื่อไม่อาจนาหนังมาถวายได้ ก็จักนาแม้ขนของมันมาถวาย ขอพระองค์อย่าทรงวิตกเลย แล้วไปเรือนมอบเสบียงแก่ลูกและเมีย แล้วไปที่หิมวันตประเทศนั้นพบพญาเนื้อนั้นแล้ว ดาริว่า เราจะดักบ่วง ณ ที่ไหนหนอจึงจักสามารถจับเนื้อนี้ได้ เมื่อพิจารณาไปจึงเห็นช่องทางที่ท่าน้า เขาจึงฟั่นเชือกหนังทาเป็นบ่วงให้มั่นคง แล้วปักหลักดักบ่วงไว้ในสถานที่พระมหาสัตว์เจ้าลงดื่มน้า. ในวันรุ่งขึ้น พระมหาสัตว์พร้อมด้วยเนื้อบริวารแปดหมื่น เที่ยวไปแสวงหาอาหาร คิดว่า เราจักดื่มน้าที่ท่าเดิมนั่นแหละจึงไปที่ท่านั้น พอก้าวลงไปเท่านั้นก็ติดบ่วง พระมหาสัตว์ดาริว่า ถ้าหากเราจักร้องว่าติดบ่วงเสียในบัดนี้ทีเดียว หมู่ญาติของเราจักไม่ดื่มน้า จักพากันตกใจกลัวแตกหนีไป จึงแอบหลักเบี่ยงไว้ข้างตัว ทาทีเหมือนดื่มน้าอยู่ ครั้นเวลาที่เนื้อทั้งแปดหมื่นดื่มน้าขึ้นไปแล้ว คิดว่าเราจักตัดบ่วงให้ขาด จึงกระชากมา ๓ ครั้ง ในวาระแรกหนังขาดไป วาระที่สองเนื้อหลุด วาระที่สามเอ็นขาด บ่วงบาดลึกจดแนบกระดูก. เมื่อพระมหาสัตว์ไม่สามารถจะตัดให้ขาดได้ จึงร้องขึ้นว่าเราติดบ่วง. หมู่เนื้อทั้งหลายตกใจกลัวพากันแยกหลบหนีไปเป็น ๓ ฝูง จิตตมฤคไม่เห็นพระมหาสัตว์ ในระหว่างฝูงเนื้อทั้ง ๓ แล้วจึงคิดว่า เมื่อภัยนี้เกิดคงจักเกิดแก่พี่ชายของเรา จึงมายังสานักของพญาเนื้อนั้น เห็นพระมหาสัตว์ติดบ่วงอยู่. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์เห็นจิตตมฤค จึงพูดว่า พ่อน้องชาย เธออย่ามายืนอยู่ที่นี่ สถานที่นี้น่ารังเกียจ เมื่อจะส่งกลับไปจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า ดูก่อนน้องจิตตกะ ฝูงเนื้อเหล่านี้กลัวความตายจึงพากันหนีกลับไป ถึงเธอก็จงไปเสียเถิด อย่าห่วงพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเธอ. ต่อจากนั้นเป็นคาถาที่เนื้อทั้งสองสนทนาโต้ตอบกันรวม ๓ คาถาเป็นลาดับกันดังต่อไปนี้ พี่โรหนะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักมาคร่าเอาหัวใจของฉันไป ฉันก็จักไม่ทิ้งพี่ไป ฉันจักยอมสละชีวิตอยู่ในที่นี้. ก็มารดาบิดาทั้งสองเรานั้น ท่านตาบอดเมื่อไม่มีผู้นาจักต้องตายแน่ เธอจงไปเถิดอย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเธอ. พี่โรหนะ ฉันไม่ยอมไป ถึงใครจักมาคร่าเอาดวงใจของฉันไป ฉันจักไม่ทิ้งพี่ผู้ถูกมัดไป ฉันจักยอมสละชีวิตไว้ในที่นี้.
  • 7. 7 ครั้นจิตตมฤคกล่าวดังนี้แล้ว ก็เดินไปยืนพิงแนบข้างเบื้องขวาของพระโพธิสัตว์ ปลอบโยนให้ดารงกาย สบายใจ ฝ่ายนางสุตตนามฤคี หนีไปไม่เห็นพี่ชายทั้งสองในระหว่างฝูงเนื้อ คิดว่าภัยนี้จักเกิดแก่พี่ชายทั้งสองของเรา จึงหวนกลับมายังสานักของเนื้อทั้งสองนั้น พระมหาสัตว์เห็นนางสุตตนามฤคีกาลังเดินทาง จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า เจ้าเป็นผู้ขลาด จงหนีไปเสียเถิด พี่ติดอยู่ในหลักเหล็ก เธอจงไปเสียเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ. เบื้องหน้าแต่นั้น มีคาถา ๓ คาถา ซึ่งเนื้อสองพี่น้องโต้ตอบกันโดยนัยก่อนนั่นแหละดังนี้ พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอาหัวใจของฉันไป ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ ฉันจักยอมทิ้งชีวิตไว้ในที่นี้. ก็มารดาบิดาทั้งสองของเรานั้น ท่านตาบอดขาดผู้ปรนนิบัตินาทาง จักต้องตายแน่ เธอจงไปเถิดอย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ. พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอาหัวใจของฉันไป ฉันจะไม่ละทิ้งพี่ผู้ถูกมัด ฉันจักยอมทิ้งชีวิตไว้ในที่นี้แหละ. แม้นางสุตตนามฤคีนั้น ครั้นปฏิเสธอย่างนั้นแล้ว ไปยืนพิงข้างเบื้องซ้ายของพระมหาสัตว์ผู้พี่ชายปลอบใจอยู่ ฝ่ายนายพรานเห็นเนื้อเหล่านั้นหนีไป และได้ยินเสียงร้องแห่งเนื้อที่ติดบ่วง คิดว่าพญาเนื้อคงจักติดบ่วง แล้วนุ่งผ้าหยักรั้งมั่นคง ถือหอกสาหรับฆ่าเนื้อ วิ่งมาโดยเร็ว พระมหาสัตว์เห็นนายพรานกาลังวิ่งมา จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ความว่า วันนี้นายพรานคนใด จักฆ่าเราด้วยลูกศรหรือหอก นายพรานคนนี้นั้น มีรูปร่างร้ายกาจ ถืออาวุธเดินมาแล้ว. จิตตมฤคแม้เห็นพรานนั้นแล้วก็มิได้หนีไป ส่วนนางสุตตนามฤคีไม่อาจดารงอยู่โดยภาวะของตนได้ มีความกลัวต่อมรณภัย หนีไปหน่อยหนึ่งแล้วกลับคิดว่า เราจักทิ้งพี่ชายทั้งสองคนหนีไปไหน จึงยอมสละชีวิตของตน กล้ากลืนความกลัวตาย ย้อนกลับมาใหม่ ยืนอยู่เคียงข้างซ้ายพี่ชายของตน. เมื่อจะประกาศความนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ความว่า นางสุตตนามฤคีนั้นถูกภัยบีบคั้นคุกคามหนีไปครู่หนึ่ง แล้วย้อนกลับมาเผชิญหน้ามฤตยู ถึงจะมีขวัญอ่อนก็ได้กระทากรรมที่ทาได้แสนยาก. ฝ่ายนายพรานเห็นสัตว์ทั้ง ๓ ยืนเผชิญหน้ากันอยู่ก็เกิดเมตตาจิต
  • 8. 8 มีความสาคัญประหนึ่งว่า เป็ นพี่น้องเกิดร่วมท้องเดียวกัน จึงคิดว่า พญาเนื้อติดบ่วงเราก่อน แต่เนื้อทั้งสองนี้ติดอยู่ด้วยหิริโอตตัปปะ สัตว์ทั้งสองนี้เป็ นอะไรกันกับพญาเนื้อนี้หนอ ครั้นคิดดังนี้แล้ว เมื่อจะถามเหตุนั้น จึงกล่าวคาถาความว่า เนื้อทั้งสองนี้เป็ นอะไรกับท่านหนอ พ้นไปแล้วยังย้อนกลับมาหาเครื่องผูกอีก ไม่ปรารถนาจะละทิ้งท่านไป แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต. ลาดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงบอกแก่นายพรานว่า ดูก่อนนายพราน เนื้อทั้งสองนี้ เป็นน้องชายน้องสาวของข้าพเจ้า ร่วมท้องมารดาเดียวกัน ไม่ปรารถนาละข้าพเจ้าไป แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต. นายพรานได้ฟังคาของพระโพธิสัตว์แล้ว เป็นผู้มีจิตอ่อนลงไปเป็นอันมาก. จิตตมฤคราชรู้ว่านายพรานมีจิตอ่อนแล้ว จึงกล่าวว่า ดูก่อนนายพรานผู้สหาย ท่านอย่าสาคัญพญาเนื้อนี้ว่า เป็นเพียงเนื้อสามัญเท่านั้น แท้จริง พญาเนื้อนี้เป็ นราชาแห่งเนื้อแปดหมื่น ถึงพร้อมด้วยศีลและมรรยาท มีจิตอ่อนโยนในสรรพสัตว์ มีปัญญามาก เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้ชราตาบอด ถ้าหากท่านฆ่าเนื้อผู้ตั้งอยู่ในธรรมเห็นปานนี้ให้ตายลง ชื่อว่าฆ่าพวกเราให้ตายถึง ๕ ชีวิต คือ มารดาบิดาของเรา ตัวเรา และน้องสาวของเราทีเดียว แต่เมื่อท่านให้ชีวิตแก่พี่ชายของเรา เป็นอันได้ชื่อว่าให้ชีวิตแก่พวกเราแม้ทั้ง ๕ แล้วกล่าวคาถาความว่า ข้าแต่นายพราน มารดาบิดาของเราเหล่านั้นตาบอด หาผู้ปรนนิบัตินาทางไม่ได้ คงจักต้องตายแน่แท้ โปรดให้ชีวิตแก่พวกเราทั้ง ๕ เถิด โปรดปล่อยพี่ชายเสียเถิด. นายพรานได้ฟังธรรมกถาของจิตตมฤคแล้ว มีจิตเลื่อมใสแล้วกล่าวว่าท่านอย่ากลัวเลย แล้วกล่าวคาถาเป็นลาดับไปว่า ข้าพเจ้าจะปล่อยเนื้อ ผู้เลี้ยงมารดาบิดาแน่นอน มารดาบิดาได้เห็นพญาเนื้อหลุดจากบ่วงแล้ว จงยินดีเถิด. ก็แลนายพรานครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงคิดว่า ยศที่พระราชาพระราชทานแล้ว จักช่วยอะไรเราได้ ถ้าหากเราจักฆ่าพญาเนื้อนี้เสีย แผ่นดินนี้จักแยกออกให้ช่องแก่เรา หรือสายอสนีบาตจักฟาดลงบนกระหม่อมของเรา เราจักปล่อยพญาเนื้อนั้น. เขาจึงเข้าไปหาพระมหาสัตว์เจ้า แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักโยกหลักบ่วงให้ล้มลง แล้วตัดเชือกหนังออกดังนี้แล้ว ประคองพญาเนื้อให้นอนลงที่ชายน้า ค่อยๆ แก้บ่วงออกด้วยมุทิตาจิต
  • 9. 9 ทาเส้นเอ็นให้ประสานกับเส้นเอ็น เนื้อให้ประสานกับเนื้อ หนังให้ประสานกับหนัง แล้วเอาน้าล้างเลือด ลูบคลาไปมาด้วยมุทิตาจิต. ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาจิตของนายพราน และด้วยอานุภาพแห่งบารมีที่พระมหาสัตว์ได้บาเพ็ญมา เอ็น หนังและเนื้อทั้งหมด ก็สมานติดสนิทดังเดิม เท้าก็ได้มีหนังและขนปกปิดสนิทดี ในอวัยวะที่มีแผลเก่าไม่ปรากฏว่า มีแผลติดอยู่เลย. พระมหาสัตว์ถึงความสบายปลอดภัยลุกขึ้นยืนแล้ว จิตตมฤคเห็นดังนั้นแล้วเกิดความโสมนัส เมื่อจะทาอนุโมทนาต่อนายพราน จึงกล่าวคาถาความว่า ข้าแต่นายพราน ท่านจงยินดีเพลิดเพลินกับพวกญาติทั้งปวง เหมือนข้าพเจ้าเห็นพญาเนื้อที่หลุดจากบ่วงแล้ว ชื่นชมยินดีในวันนี้ ฉะนั้น. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าคิดว่า นายพรานนี้เมื่อจะจับเรา จับโดยงานอาชีพของตน หรือว่าจับโดยการบังคับของผู้อื่น จึงถามเหตุที่จับ. บุตรนายพรานตอบว่า ดูก่อนพญาเนื้อ ข้าพเจ้าจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับท่านก็หามิได้ แต่พระอัครมเหสีของพระราชาซึ่งมีพระนามว่า พระนางเขมาราชเทวี มีพระประสงค์จะฟังธรรมกถาของท่าน ท่านจึงถูกข้าพเจ้าจับโดยพระราชโองการเพื่อประโยชน์แก่พระเทวีนั้น. พระมหาสัตว์กล่าวว่า สหายเอ๋ย เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านปล่อยเราเสีย ชื่อว่าทาสิ่งที่ทาได้ยากยิ่ง มาเถิด จงนาเราไปแสดงแก่บรมกษัตริย์เถิด เราจักแสดงธรรมถวายพระนางเทวี. นายพรานกล่าวว่า ดูก่อนพญาเนื้อ ธรรมดาพระราชาทั้งหลายมีพระเดชานุภาพร้ายกาจ ใครจักรู้ว่าจักมีอะไรเกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยินดียศศักดิ์ที่ทรงพระราชทานดอก เชิญท่านไปตามสบายของท่านเถิด. พระมหาสัตว์คิดว่า พรานนี้เมื่อปล่อยเราไป ชื่อว่าทากิจที่ทาได้ยากอย่างยิ่ง เราจักทาอุบายให้พรานนั้นได้รับยศศักดิ์ แล้วจึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงเอามือลูบหลังเราก่อนเถิด. นายพรานจึงเอามือลูบหลังพญาเนื้อ มือของเขาก็เต็มไปด้วยขนมีสีเหมือนทองคา. เขาจึงถามว่าดูก่อนพญาเนื้อ ข้าพเจ้าจักทาอย่างไรกับขนเหล่านี้ พญาเนื้อจึงบอกว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงเอาขนเหล่านี้ไปถวายแด่พระราชาและพระราชเทวี ทูลว่า นี้เป็นขนของสุวรรณมฤคนั้น ดังนี้ ตั้งอยู่ในฐานะตัวแทนของเรา แสดงธรรมถวายพระบรมราชเทวีด้วยคาถาเหล่านี้ การแพ้พระครรภ์ของพระนางก็จักสงบ เพราะทรงสดับธรรมกถานั้นแล ดังนี้แล้ว
  • 10. 10 ให้นายพรานเรียนราชธรรมคาถา ๑๐ คาถา กล่าวสอนด้วยความไม่ประมาทแล้วส่งไป. บุตรของนายพรานยกย่องพระมหาสัตว์ไว้ในตาแหน่งอาจารย์ กระทาประทักษิณสามครั้ง แล้วไหว้ในฐานะสี่ เอาใบบัวห่อขนทองทั้งหลายแล้วลาหลีกไป. เนื้อทั้งสามตามไปส่งนายพรานหน่อยหนึ่ง แล้วเอาปากคาบอาหารและน้า พากันกลับไปยังสานักของมารดาบิดา. มารดาบิดาทั้งสองเมื่อจะถามว่า โรหนะลูกรัก ได้ยินว่าเจ้าติดบ่วงแล้วพ้นมาได้อย่างไร จึงกล่าวคาถาความว่า ลูกรัก เมื่อชีวิตเข้าไปใกล้ความตายแล้ว เจ้าหลุดมาได้อย่างไร ไฉนนายพรานจึงปล่อยจากบ่วงเหล็กมาเล่า พระโพธิสัตว์ฟังคานั้นแล้ว กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า น้องจิตตกะกล่าววาจาไพเราะหู เป็นที่จับใจดื่มด่าในหฤทัย ช่วยให้ข้าพเจ้าหลุดมาได้ ด้วยวาจาสุภาษิต น้องสุตตนาได้กล่าววาจาไพเราะหู จับใจดื่มด่าในหฤทัย ช่วยข้าพเจ้าให้หลุดมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต นายพรานได้ฟังวาจาไพเราะหู เป็นที่จับใจดื่มด่าในหฤทัย แล้วปล่อยข้าพเจ้า เพราะฟังวาจาสุภาษิตของน้องทั้งสองนี้. ลาดับนั้น เมื่อมารดาบิดาพระโพธิสัตว์จะอนุโมทนา จึงกล่าวว่า ก็เราทั้งหลายเห็นลูกโรหนะมาแล้ว พากันชื่นชมยินดี ฉันใด ขอนายพรานพร้อมด้วยลูกเมีย จงชื่นชมยินดี ฉันนั้นเถิด. ฝ่ายนายพรานออกจากป่าแล้วไปสู่ราชตระกูล ถวายบังคมพระราชาแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. พระราชาเห็นเขาแล้วตรัสพระคาถาว่า แน่ะนายพราน เจ้าได้บอกไว้ว่า จะนาเนื้อหรือหนังเนื้อมามิใช่หรือ เออก็เหตุอะไรเล่า เจ้าจึงไม่นาเอาเนื้อหรือหนังเนื้อมา. นายพรานได้ฟังพระดารัสแล้วกล่าวคาถา ความว่า เนื้อนั้นได้มาติดบ่วงเหล็กถึงมือแล้ว แต่มีเนื้อสองตัวไม่ได้ติดบ่วง มายืนอยู่ใกล้เนื้อตัวนั้น ข้าพระองค์ได้เกิดความสังเวชใจ ความอัศจรรย์ใจขนพองสยองเกล้าว่า ถ้าเราฆ่าเนื้อตัวนี้ เราจักต้องละทิ้งชีวิต ในสถานที่นี้แหละในวันนี้ทีเดียว. พระราชาสดับคานั้นแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนนายพราน เนื้อนั้นเป็ นเช่นไร เป็ นเนื้อมีธรรมอย่างไร มีสีสรรอย่างไร มีศีลอย่างไร ท่านจึงได้สรรเสริญเนื้อเหล่านั้นนัก. พระราชาตรัสถามเช่นนี้บ่อยๆ ด้วยสามารถทรงพิศวงพระทัย.
  • 11. 11 นายพรานได้ฟังพระดารัสนั้นแล้ว กล่าวคาถาความว่า เนื้อเหล่านั้นมีเขาขาว ขนสะอาด หนังเปรียบด้วยทองคา เท้าแดง ตาสุกสะกาว เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ. เมื่อนายพรานกราบทูลอยู่อย่างนี้แลได้วางโลมชาติทั้งหลายมีสีเหมือน ทองของพระโพธิสัตว์ ไว้ในพระหัตถ์ของพระราชา เมื่อจะประกาศสีกายแห่งเนื้อเหล่านั้น จึงกล่าวคาถาความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นนี้ เป็นเนื้อมีธรรมเช่นนี้ เป็นเนื้อเลี้ยงมารดาบิดา ข้าพระพุทธเจ้าจึงมิได้นาเนื้อเหล่านั้นมาถวายพระองค์ พระเจ้าข้า. นายพรานกล่าวพรรณนาคุณความดีของพระโพธิสัตว์ จิตตมฤค และนางมฤคีโปติกาชื่อสุตตนา ด้วยประการฉะนี้แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าอันพญาเนื้อนั้นให้ขนของตนมาแล้ว ให้ศึกษาบทธรรมสั่งบังคับว่า ท่านพึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเรา แสดงธรรมถวายพระราชเทวี ด้วยคาถาราชธรรมจรรยา ๑๐ ประการเถิด. พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสสั่งให้นายพรานนั่งเหนือราชบัลลังก์อันขจิตด้วยรัตนะ ๗ ประการ พระองค์เองกับพระบรมราชเทวีประทับนั่งบนพระราชอาสน์ที่ต่า ณ ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ทรงประคองอัญชลี เชื้อเชิญนายพราน. เมื่อนายพรานนั้นจะแสดงธรรมถวาย จึงทูลว่า ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรม ในพระราชมารดาบิดา ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วจักได้ไปสู่สวรรค์. ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรม ในพระราชบุตร และพระราชชายาทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์. ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรม ในมิตรและอามาตย์ทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์. ข้าแต่บรมขัตติยมหาราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรมในพาหนะ และพลทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์. ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรมในบ้านและนิคมทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วจักได้ไปสู่สวรรค์. ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม
  • 12. 12 ในแว่นแคว้นและชนบททั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วจักได้ไปสู่สวรรค์. ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็นธรรม ในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์. ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติให้เป็ นธรรม ในหมู่มฤคและปักษีทั้งหลาย ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์. ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม เพราะธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนาสุขมาให้ ข้าแต่องค์ราชันย์ พระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักได้ไปสู่สวรรค์. ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม พระอินทร์ เทพยเจ้าทั้งหลายพร้อมทั้งพระพรหม ได้เสวยทิพยสมบัติ เพราะธรรมอันประพฤติดีแล้ว ข้าแต่องค์ราชันย์ ขอพระองค์อย่าได้ทรงประมาทธรรม ธรรมเหล่านั้นเป็นวัตตบทในทศราชธรรมนั่นเอง ข้อนี้แล เป็ นอนุสาสนีที่พร่าสอนกันมา กัลยาณชนมาซ่องเสพผู้มีปัญญา พระองค์ทรงประพฤติอย่างนี้แล้วจะได้ไปสู่ไตรทิพยสถาน ด้วยประการฉะนี้. บุตรนายพรานแสดงธรรมด้วยพุทธลีลา โดยนิยามอันพระมหาสัตว์ทรงแสดงแล้วนั่นเอง เหมือนเทวดาผู้วิเศษยังแม่น้าในอากาศ ให้ตกลงมาฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้. มหาชนยังสาธุการให้เป็นไปนับเป็นพัน ความแพ้พระครรภ์ของพระบรมราชเทวีก็ระงับไป เพราะทรงสดับธรรมกถานั่นเอง. พระราชาทรงดีพระทัย เมื่อจะทรงปูนบาเหน็จชุบเลี้ยงบุตรนายพรานด้วยยศใหญ่ ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถาความว่า ดูก่อนนายพราน เราให้ทองคา ๑๐๐ แท่ง กุณฑลแก้วมณีอันมีค่ามาก เตียงสี่เหลี่ยมมีสีคล้ายดอกสามหาว และภรรยาผู้ทัดเทียมกันสองคน กับโค ๑๐๐ ตัวแก่ท่าน เราจักปกครองราชสมบัติโดยธรรม ท่านเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก ดูก่อนนายพราน ท่านจงเลี้ยงดูบุตรและภรรยาด้วยกสิกรรม พาณิชยกรรม การให้กู้หนี้ และด้วยการประพฤติเลี้ยงชีพโดยสัมมาอาชีวะเถิด อย่าได้กระทาบาปอีกเลย. นายพรานฟังพระดารัสของพระราชาแล้ว กราบทูลว่า
  • 13. 13 ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะอยู่ครอบครองเรือน ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตการบรรพชาแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด ครั้นได้พระบรมราชานุญาตแล้ว ก็มอบทรัพย์สมบัติที่พระราชาทรงพระราชทานแก่ตน แก่บุตรภรรยา แล้วเข้าไปสู่หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี ยังสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด เป็นผู้มีพรหมโลกเป็ นที่ไปในเบื้องหน้า. ฝ่ายพระราชาทรงดารงอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์เจ้า แล้วทรงบาเพ็ญทางแห่งสวรรค์ให้เต็มบริบูรณ์ โอวาทของพระมหาสัตว์นั้นก็ดาเนินติดต่อมาเป็ นเวลาพันปี. พระบรมศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในชาติก่อน พระอานนท์ก็ได้สละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่เรา ด้วยประการอย่างนี้เหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า นายพรานในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระฉันนะ ในบัดนี้ พระราชาได้มาเป็น พระสารีบุตร พระเทวีได้มาเป็ น เขมาภิกษุณี มารดาบิดาได้มาเป็น ตระกูลมหาราช สุตตนามฤคีได้มาเป็น อุบลวรรณาเถรี จิตตมฤคได้มาเป็น พระอานนท์ เนื้อแปดหมื่นได้มาเป็น หมู่สากิยราช ส่วนพญาเนื้อได้มาเป็น เราตถาคต แล. จบอรรถกถาโรหนมิคชาดกที่ ๕ -----------------------------------------------------