SlideShare a Scribd company logo
บทที่ ๓
กระบวนการพัฒนาสังขารในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ในบทนี้จะได้ศึกษากระบวนการพัฒนาสังขารตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
เพื่อให้ทราบว่า กระบวนพัฒนาสังขารเป็นอย่างไร เพื่อจะได้นําเอาข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปเป็น
แนวทางในการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการทํางานของสังขารเพื่อนําไปสู่การบรรลุธรรมในบท
ต่อไป
๓.๑ กระบวนการพัฒนาสังขารในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
จากหลักฐานในพระไตรปิฎกตอนที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในที่นี้พระองค์ทรงแสดงให้เห็นอริยสัจสี่ก่อน คือให้
รู้จัก ทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ คําว่า ทุกข์ ในที่นี้
พระองค์หมายถึง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ สมุทัย สาเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา ความทะยาน
อยากในกามคุณ ความทุกข์เหล่านี้จะดับลงได้ด้วยการดับสาเหตุของทุกข์โดยการปฏิบัติตามวิธีการ
คือปฏิบัติตามมรรคมีองค์๘ประการในการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรกนี้ทําให้อัญญาโกณฑัญญะ
ผู้ที่มีอายุมากกว่าปัญญจวัคคีย์อื่นๆ ได้บรรลุธรรม0
๑
หลังจากนั้นพระองค์ให้ปัญจวัคคีย์ที่เหลืออบรมจิตใจเพื่อรอความแก่กล้าของอินทรีย์
หรือสังขารก่อน เมื่อรอเวลาพอสมควรแล้ว พระองค์จึงแสดงเรื่องไตรลักษณ์ ลักษณะที่มีความ
เสมอกัน ๓ ประการของสังขาร คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนที่
แท้จริง การแสดงพระธรรมเทศนาครั้งนี้ พระองค์ใช้วิธีการ ถาม ตอบ กับปัญจวัคคีย์เช่น พระองค์
ตรัสถามว่า สังขาร เที่ยง หรือไม่เที่ยง พวกปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระองค์ถามต่อไปว่า
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข พวกปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า เป็นทุกข์ พระองค์ถามให้
พวกปัญจวัคคีย์ตอบไปอย่างนี้จนครบ ๕ ขันธ์นับตั้งแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ไปจนถึงวิญญาณ
ในการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งนี้ทําให้พวกปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระอรหันต์ครบทุกรูป1
๒
๑
ดูรายละเอียดใน วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๓-๑๙/๒๐-๒๗.
๒
ดูรายละเอียดใน วิ. ม. (ไทย) ๔/๒๐-๒๔/๒๗-๓๑.
๔๘
จากนั้นมาไม่นานมีลูกชายของเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อว่า ยสะเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตการ
ครองเรือน จึงหนีออกจากบ้านในตอนกลางคืน เขาเดินเปล่งอุทานมาว่า ที่นี่ยุ่งหนอ ที่นี่วุ่นวาย
หนอ ขณะที่เขาเดินไปป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น เป็นเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธองค์กําลังเสด็จเดิน
จงกรมอยู่ได้ยินเสียงของเขา พระองค์จึงเรียกให้เขาเข้าไปหาด้วยบอกว่า เชิญมาที่นี่ ที่นี่ไม่ยุ่ง ที่นี่
ไม่วุ่นวาย ยสะเดินเข้าไปหาพระพุทธองค์แล้ว พระองค์ได้แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง อนุปุพพีกถา
เป็นการกล่าวถึง การให้ทาน การรักษาศีล การไปเกิดในสวรรค์ โทษของการเสพกามคุณใน
สวรรค์ จากนั้นกล่าวถึงอานิสงส์ของการออกบวช เมื่อจบพระธรรมเทศนา ยสะ ได้ดวงตาเห็น
ธรรมคือได้สําเร็จเป็นพระโสดาบัน เมื่อตอนสายของวันนั้น บิดาของยสะ ไม่เห็นลูกชายจึงออก
ตามหา ไปพบพระพุทธองค์ในที่เดียวกันพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาเนื้อความเหมือนกันให้ฟัง
เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ยสะ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนบิดาได้บรรลุโสดาบัน จากนั้นทั้ง
สองพ่อลูกได้กราบทูลนิมนต์พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระปัญจวัคคีย์ไปรับภัตตาหารที่บ้านของตน
เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วพระองค์แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์เดียวกันนี้ให้แก่ภรรยาของอุบาสกทั้งสอง
ฟังเมื่อจบพระธรรมเทศนา อุบาสิกาทั้งสองนั้นได้บรรลุโสดาบันเหมือนกัน2
๓
เนื้อความจากพระสูตรที่ได้กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการพัฒนาสังขารที่พระ
พุทธองค์ทรงใช้ในการสอน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายผู้สอน และฝ่ายผู้เรียน ฝ่ายผู้สอนคือพระ
พุทธองค์ได้เห็นกระบวนการสอนของพระพุทธองค์อยู่หลายวิธี หลายขั้นตอน ดังนี้
๑) ทรงชี้ให้เห็นปัญหาหรือเห็นทุกข์ก่อน เปรียบเหมือนชี้ให้คนไข้รู้จักก่อนว่าตัวเอง
เป็นโรคอะไร เมื่อรู้แล้วจึง แนะนําให้หาสาเหตุของปัญหา หรือของทุกข์ เมื่อรู้จักสาเหตุแล้ว จึง
แนะนําวิธีแก้ปัญหาหรือแก้ทุกข์ให้ วิธีนั้นก็คือ อิรยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
๒) ทรงรอเวลาหรือความพร้อมของผู้ฟังหรือผู้เรียนก่อน ขั้นตอนนี้เหมือนกับหมอ
รักษาคนไข้ว่าคนไข้พร้อมที่จะรับการรักษาหรือยัง พระธรรมเทศนาของพระองค์เปรียบเหมือนยา
รักษาโรค
๓) ทรงเลือกพระธรรมเทศนาให้เหมาะกับผู้เรียนหรือผู้ฟัง เช่น ทรงแสดงอริยสัจสี่แก่
พวกปัญจวัคคีย์ แต่ทรงเลือกอนุปุพพีกถา แก่ ยสะ และบิดา มารดา พร้อมด้วยภรรยาของเขา
ฝ่ายผู้ฟังได้เห็นว่า กระบวนการพัฒนาสังขารของผู้ฟัง อาศัยเหตุ ๒ อย่าง คือ เหตุใน
อดีตและเหตุในปัจจุบัน เหตุในอดีต ได้แก่ เคยได้สร้างสมอบรมบารมีมาก่อน หลายภพหลายชาติ
๓
ดูรายละเอียดใน วิ. ม. (ไทย) ๔/๒๕-๓๐/๓๑-๓๙.
๔๙
เรียกตามศัพท์พระพุทธศาสนาว่า ปุพเพกตปุญญตา เหตุในปัจจุบัน ได้แก่ การวางตนไว้ดี คือ
ดําเนินชีวิตถูกตามทํานองคลองธรรม ภาษาบาลีว่า อัตตสัมมาปณิธิ ที่ว่าเคยทําเหตุไว้ในอดีต
เพราะว่าแต่ละรูป แต่ละคน มีประวัติอันยาวนานเกี่ยวกับการสร้างบุญบารมี เช่น อัญญาโกณฑัญญะ
เคย ได้ทําบุญและอธิษฐานต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าปทุมุตตระไว้ว่า ขอให้ได้บรรลุธรรมใน
พระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งก่อนกว่าสาวกคนอื่น3
๔
ยสกุลบุตร เคยบําเพ็ญอสุภ
สัญญามาก่อน ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนเหมือนกัน4
๕
จากหลักการของอริยสัจสี่ที่พระองค์ทรงค้นพบนี้ พระองค์จึงวางเป็นหลักในการ
พัฒนาจิตวิญญาณของสาวกสืบต่อมา จะเห็นหลักฐานเหล่านี้ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
หลายแห่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ เมื่อย่อลงให้สั้น ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ไตรสิกขา จึงกล่าวได้ว่ากระบวนการพัฒนาสังขารในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ได้วางหลัก
ไตรสิกขาไว้ได้แก่ ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา หรือเรียกสั้นๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เหตุผลที่
พระองค์ได้วางหลักไตรสิกขาไว้ก็เพราะต้องการให้ผู้ศึกษาเป็นคนดีก่อน จึงสอนเรื่องปัญญาให้
เพราะถ้าคนไม่ดีมีปัญญาเขาก็จะนําเอาปัญญาไปสร้างความเดือดร้อนให้ทั้งตนเองและคนอื่น เพราะ
ขาดการยับยั้งชั่งใจ เพราะคนที่มีปัญญาแต่ไม่มีศีล และสมาธิคอยควบคุมจะหาทางเอาเปรียบคนอื่น
เป็นคนแข็งกระด้าง ก้าวร้าวไม่ยําเกรงผู้อื่น
ในส่วนของศีลสิกขา หรือศีล พระองค์ได้วางหลักที่ต่อมามีการจัดหมวดหมู่เรียกว่า
ปาริสุทธิศีล ๔ ประการไว้ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล คือการสํารวมระวังในศีลหรือสิกขาบทที่มาใน
พระปาฏิโมกข์สําหรับพระภิกษุมีทั้งหมด ๒๒๗ สิกขาบท มีปาราชิก ๔ เป็นต้น อินทรียสังวรศีล
ได้แก่ การสํารวมอินทรีย์ คือสํารวมระวังอายตนะภายใน ๖ อย่าง มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ
อายตนะภายนอก ๖ อย่าง มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ อาชีวปาริสุทธิศีล ได้แก่ การเลี้ยง
ชีพที่บริสุทธิ์ กล่าวคือไม่หลอกลวงคนอื่นเลี้ยงชีพ ปัจจัยสันนิสสิตศีล ได้แก่การสํารวมระวังใน
การใช้สอยปัจจัยสี่ มีการบริโภคภัตตาหารเป็นต้น ให้รู้จักประมาณหรือความพอดีในการบริโภคใช้
สอยปัจจัยนั้นๆ
ในส่วนของจิตตสิกขาหรือสมาธิ พระองค์ได้วางหลักการฝึกจิตไว้หลายอย่างเรียกว่า
“สมถกรรมฐาน” แปลว่า กรรมฐานที่ทําให้จิตใจสงบระงับจากกิเลสชั่วคราว มีอานาปานสติ
กรรมฐาน อนุสสติกรรมฐาน อสุภะกรรมฐาน เป็นต้น
๔
ดูรายละเอียดใน ขุ.อป. (ไทย) ๓๒/๕๙๖/๙๑, ขุ.อป.อ. (ไทย) ๑/๓๐๖-๓๑๐, ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๕๔.
๕
ดูรายละเอีดยใน ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๑-๒๘/๓๓๕-๓๓๙, ขุ.อป.อ. (ไทย) ๒/๒๕๓-๒๕๗, ขุ.ธ.อ.
(ไทย) ๑/๕๔.
๕๐
ในส่วนของปัญญาสิกขาหรือปัญญา พระองค์ได้วางหลักการฝึกจิตเพื่อให้เกิดปัญญา
หรือให้ปัญญาเกิดขึ้นเรียกว่า “วิปัสสนากรรมฐาน” แปลว่ากรรมฐานที่ทําให้เห็นแจ้งคือเห็น
ธรรมชาติของจิตใจแจ่มแจ้งขึ้น มีมหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น สําหรับหมวดธรรมที่เป็นบาทฐานของ
ปัญญาหรือของวิปัสสนานั้น พระพุทธองค์ได้วางหมวดธรรมเหล่านี้คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ
๑๘ อินทรีย์๒๒ และอริยสัจ ๔ ในบรรดาหมวดธรรมเหล่านี้ สามารถนํามาปฏิบัติเฉพาะหมวดใด
หมวดหนึ่งก็สามารถทําให้บรรลุธรรมได้หรือสามารถทําให้ธรรมะหมวดอื่นๆบริบูรณ์ไปด้วย
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ ได้วางโครงสร้างตามแนวพระไตรปิฎก คือ
ได้วางหลักศีลสมาธิ ปัญญาตามลําดับแต่มีรายละเอียดเพิ่มเข้ามา ท่านแต่งคัมภีร์นี้จากพระพุทธพจน์
หนึ่งคาถาที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบแก่เทวดาที่มาทูลถามปัญหาซึ่งมีใจความว่า
หมู่สัตว์ยุ่งทั้งภายใน ยุ่งทั้งภายนอก
ถูกความยุ่งพาให้นุงนังแล้ว ข้าแต่พระโคดม
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า
ใครพึงแก้ความยุ่งนี้ได้5
๖
พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบเป็นคาถาว่า
นรชนผู้มีปัญญา เห็นภัยในสังสารวัฏ
ดํารงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญา
มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร
นั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้6
๗
จากเนื้อความพระคาถานี้เอง พระพุทธโฆสเถระได้นํามาเป็นกระบวนการพัฒนาสังขาร
โดยเริ่มต้นด้วยหลักของศีล ในส่วนของศีลท่านได้ตั้งปัญหาขึ้นไว้เพื่อค้นหาคําตอบด้วยตนเอง ท่าน
ตั้งปัญหาว่า อะไรชื่อว่าศีล ที่ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่ากระไร อะไร เป็นลักษณะ เป็นรส เป็นอาการ
ปรากฏและเป็นปทัฏฐานของศีล ศีลมีอานิสงส์อย่างไร ศีลนี้มีกี่อย่าง อะไรเป็นความเศร้าหมองของ
ศีล และ อะไรเป็นความผ่องแผ้วของศีล7
๘
ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาว่า อะไร ชื่อว่าศีล ท่านแก้ว่า
ธรรมทั้งหลายมีเจตนาเป็นต้นของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น และของบุคคลผู้บําเพ็ญ
๖
สํ. ส. (ไทย) ๑๕/๒๓/๒๖, วิสุทฺธิ. (ไทย) ๑/๑.
๗
สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๒๓/๒๗, วิสุทธิ. (ไทย) ๑/๑.
“สีเล ปติฏฺฐาย นโร สป�ฺโญ, จิตฺตํป�ฺญ�ฺจ ภาวยํ.
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ, โส อิมํวิชฏเย ชฏํ.”
๘
วิสุทฺธิ. (ไทย) ๖/๙.
๕๑
วัตตปฏิบัติ ชื่อว่าศีล โดยท่านอ้างถึงคําพูดวิสัชนาของพระสารีบุตรเถระมาสนับสนุนคําวิสัชนาของ
ท่าน พระสารีบุตรกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคว่า เจตนาชื่อว่าศีล เจตสิกชื่อว่าศีล สังวรชื่อว่า
ศีล การไม่ล่วงละเมิดชื่อว่าศีล8
๙
เมื่อแก้ปัญหาข้อนี้จบแล้วท่านก็แก้ปัญหาข้ออื่นๆ ต่อไปโดยนําเอา
หลักฐานในพระไตรปิฎกมาสนับสนุนความคิดของท่านไม่ได้คิดเอาเองโดยปราศจากหลักฐานเดิม
การพัฒนาในขั้นของสมาธิท่านได้นํากระบวนการพัฒนาโดยเริ่มต้นด้วยการให้ปฏิบัติ
สมถกรรมฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎก แต่ก่อนที่จะนําเสนอประเภทของสมถกรรมฐานเหล่านั้น
ท่านได้ตั้งปัญหาขึ้นเหมือนกับที่ตั้งปัญหาในส่วนของศีลเช่นเดียวกัน เมื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ
จบแล้วท่านจึงแสดงประเภทของกรรมฐานต่อไป สมถกรรมฐานที่ท่านแนะนําไว้ในคัมภีร์
วิสุทธิมรรคมีอยู่ ๔๐ อย่างด้วยกัน ประกอบด้วย กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔
อารุปปะ ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑9
๑๐
การพัฒนาสังขารในส่วนของปัญญาในเบื้องต้นท่านได้ตั้งปัญหาขึ้นมาเหมือนกับสอง
หัวข้อแรกว่า อะไรชื่อว่าปัญญา ที่ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถว่าอะไร ลักษณะ กิจ ผล เหตุใกล้ ของ
ปัญญานั้น เป็นอย่างไร ปัญญามีกี่อย่าง จะเจริญปัญญาอย่างไร และการเจริญปัญญามีอานิสงส์
อย่างไร จากนั้นท่านก็วิสัชนาปัญหาเหล่านี้ไปตามลําดับ ยกตัวอย่างมาให้ดูสักเล็กน้อย ก่อนอื่น
ท่านออกตัวว่า ปัญญามีหลายอย่างถ้าจะพูดหมดทุกอย่างก็จะทําให้เสียเวลา จะพูดเอาเฉพาะปัญญา
ที่ประสงค์เอาในการแต่งคัมภีร์นี้ว่า วิปัสสนาญาณที่ประกอบด้วยกุศลจิตชื่อว่า ปัญญา ปัญหาข้อที่
๒ ว่า อะไรชื่อว่าปัญญา ท่านแก้ว่า ความรู้ชัด คือรู้โดยประการต่างๆ พิเศษกว่าความหมายรู้และ
ความรู้แจ้ง ซึ่งหัวข้อเหล่านี้ท่านแสดงไว้ในขันธนิเทศ เนื้อหาส่วนใหญ่พูดถึงขันธ์ ๕ กระบวนการ
ต่อไปเป็นอายตนธาตุนิเทศ พูดถึงอายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ประการ จากนั้นเป็นอินทริยสัจจนิเทศ
พูดถึงอินทรีย์๒๒กับอริยสัจ๔จากนั้นเป็นปัญญาภูมินิเทศพูดถึงปฏิจจสมุปบาท สุดท้ายท่านพูดถึง
วิสุทธิ ๗ โดยเริ่มด้วยทิฏฐิวิสุทธินิเทศ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทา-
ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ และสุดท้ายพูดถึงอานิสงส์ของการเจริญภาวนา
สรุปว่า ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาเน้นการพัฒนาสังขารระดับโลกุตระตามหลัก
ไตรสิกขาหรืออริยมรรค มุ่งการบรรลุมรรคผลนิพพาน ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ไม่ทรงละเลยการ
พัฒนาสังขารระดับโลกิยะสําหรับกัลยาณปุถุชนซึ่งจะเป็นบาทฐานของการพัฒนาระดับโลกุตระ
ต่อไป การพัฒนาสังขารระดับโลกิยะและระดับโลกุตตระ จะกล่าวในหัวข้อถัดไป
๙
ขุ.ป. (ไทย) ๓๑/๓๙/๖๐.
๑๐
วิสุทฺธิ. (ไทย) ๔๗/๑๘๒.
๕๒
๓.๒ เป้ าหมายของการพัฒนาสังขารในพระพุทธศาสนา
เป้าหมายในการพัฒนาสังขารตามหลักพระพุทธศาสนา ได้แก่ ประโยชน์ที่จะพึงได้รับ
จากการพัฒนาซึ่งมีทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์คนอื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งสามารถจัดแบ่ง
ประโยชน์ได้ ๒ ระดับคือ ระดับโลกิยะ และระดับโลกุตตระ มีรายละเอียด ดังนี้
ประโยชน์ตน ได้แก่ ความเป็นอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ถูกต้องตามหลักคําสอนของ
พระพุทธศาสนา ไม่ถูกกิเลสรบกวนจิตใจมากนัก ไม่เป็นทาสของกิเลส ดําเนินชีวิตด้วยความไม่
ประมาท มีธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึกของจิตใจ ในระดับโลกิยะ มีทั้งประโยชน์ในปัจจุบันและ
ประโยชน์ในอนาคต หรือประโยชน์ในโลกนี้กับประโยชน์ในโลกหน้าหลังจากตายแล้ว เรียกว่า
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์และสัมปรายิกัตถประโยชน์ ระดับโลกุตตระคือพ้นจากกิเลสโดยเด็ดขาด
เป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่ขั้นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหันต์
ประโยชน์คนอื่น เป็นเป้าหมายสําคัญของพระพุทธศาสนา จะเห็นได้จากพุทธประวัติตอน
ที่พระองค์ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาใหม่ๆ ในพรรษาแรกพระองค์ทรงเน้นว่า ให้แต่
ละรูปไปคนเดียวห้ามไปด้วยกัน เพราะตอนนั้นพระสาวกมีน้อย ทรงกําชับว่า ให้เที่ยวไปเพื่อ
ประโยชน์เพื่อความสุข เพื่อเกื้อกูลแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก จาก
หลักฐานในพุทธประวัติพระพุทธองค์ไม่ทรงคํานึงถึงความเหน็ดเหนื่อยของพระองค์เมื่อมีเวไนย
บุคคลที่จะได้บรรลุธรรมถึงแม้จะอยู่ไกลแค่ไหนพระองค์ก็จะรีบเสด็จไปโปรดคนนั้น เช่น
พระองค์เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสปเถระในวันที่ท่านออกบวชสิ้นระยะทาง ๓ คาวุต เสด็จ
ดําเนินไปสิ้นระยะทางเกิน ๓๐๐ โยชน์ เพื่อแสดงธรรมที่ฝั่งแม่นํ้าคงคา ให้พระเจ้ามหากัปปินะ
พร้อม ทั้งบริวารดํารงอยู่ในอรหัตตผล ในเวลาหลังภัตคราวหนึ่ง ได้เสด็จดําเนินสิ้นระยะทาง ๔๕
โยชน์ เพื่อตรัสธรรมีกถาตลอด ๓ ยาม ในที่อยู่ของนายช่างหม้อ เพื่อโปรดปุกกุสาติหลังจากจบการ
แสดงธรรมปุกกุสาติได้บรรลุอนาคามิผล เสด็จดําเนินไป ๒,๐๐๐ โยชน์ เพื่ออนุเคราะห์วนวาสี
สามเณร เสด็จดําเนินไป ๖๐ โยชน์เพื่อแสดงธรรมแก่พระขทิรวนิยเถระ10
๑๑
จากตัวอย่างที่ยกมานี้แสดงให้เห็นความมีพระมหากรุณาของพระองค์ที่มุ่งหวังประโยชน์
คนอื่นโดยไม่ทรงคํานึงถึงความเหน็ดเหนื่อยของพระองค์
ส่วนประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นนั้น จะเห็นได้จากการที่
พระองค์ทรงวางหลักการพัฒนาสังขารทั้งส่วนที่เป็นของปัจเจกบุคคลและส่วนที่เป็นของสังคม
ตามหัวข้อว่าด้วยระดับขั้นของการพัฒนาสังขารที่จะศึกษาต่อไป
๑๑
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน ม.มู.อ. (ไทย) ๒/๓๘.
๕๓
๓.๓ ระดับขั้นการพัฒนาสังขารตามทรรศนะของพระพุทธศาสนา
เมื่อมีบุคคลหลายพวก หลายระดับ จุดประสงค์หรือเป้ าหมายของคนแต่ละพวกจึง
แตกต่างกัน พวกบรรพชิตต้องการความหลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิง ส่วนพวกฆราวาสต้องการให้
ความทุกข์ลดน้อยลง ดังนั้น พระองค์จึงวางหลักการการพัฒนาสังขารของคน ๒ กลุ่มนี้ต่างกัน คือ
สําหรับฆราวาส เน้นระดับโลกียะ แต่พระองค์ก็ไม่ได้ปิดกั้นระดับโลกุตตระสําหรับฆราวาส ตาม
หลักฐานในพระไตรปิฎกและอรรถกถาจะเห็นว่า ฆราวาสได้บรรลุเป็นอริยบุคคลระดับโสดาบัน
จนถึงอนาคามี หลายคน เช่น นางวิสาขา มหาอุบาสิกา ได้บรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ปี1 1
๑๒
วิสาขะ
อุบาสก ได้บรรลุอนาคามี เป็นต้น1 2
๑๓
ส่วนพวกบรรพชิต เน้นระดับโลกุตตระ ระดับโลกียะ
พระองค์ได้วางหลักธรรมตามที่กล่าวแล้วในหัวข้อที่ผ่านมา ส่วนระดับโลกุตตระ พระองค์วางหลัก
สมถวิปัสสนากรรมฐานไว้และหลักธรรมอื่นๆ รวมทั้งข้อปฏิบัติคือวินัยหรือสิกขาบทต่างๆ สําหรับ
พระสงฆ์ โดยมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่การพัฒนาสังขารระดับโลกียะจะเป็นบาทฐานของ
การพัฒนาสังขารในระดับโลกุตระ
อย่างไรก็ตาม เครื่องมือสําคัญที่ใช้ในการพัฒนาทั้งสองระดับนี้ยังเป็นไตรสิกขา
เหมือนเดิม ต่างกันแต่ความเข้มข้นของการปฏิบัติ เท่านั้น โดยแบ่งเป็นระดับขั้นเป็น ๓ ขั้น คือ ๑)
ระดับพื้นฐาน ได้แก่ ศีล ๒) ระดับกลาง ได้แก่ สมาธิ ๓) ระดับสูง ได้แก่ ปัญญา13
๑๔
ซึ่งรายละเอียด
ของเรื่องนี้จะกล่าวในหัวข้อต่อไป ในที่นี้จะนํามากล่าวพอเป็นแนวทาง ดังนี้
๓.๓.๑ ขั้นโลกียะ
เพื่อให้ผู้เรียนมีความเป็นอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และปลอดภัย ไม่ถูกเอารัดเอา
เปรียบหรือไม่ถูกคนอื่นรังแก พระพุทธองค์ได้วางหลักการพัฒนาไว้แบ่งตามประเภทของบุคคล คือ
บรรพชิตและคฤหัสถ์ ดังนี้
การพัฒนาระดับปัจเจกบุคคล มุ่งเน้นให้แต่ละบุคคลพัฒนาตนเองตามกรอบที่พระองค์
ได้วางไว้ ตั้งแต่ระดับโลกียะ คือระดับธรรมดาของโลกมนุษย์ที่จะพึงพัฒนาตนเองตาม
กําลังสติปัญญา จนถึงระดับโลกุตระ คือระดับเหนือโลกได้แก่การพัฒนาจนยกจิตใจให้อยู่เหนือ
การควบคุมของโลก จากเนื้อความในธัมมจักกัปปวัตนสูตรและในอนัตตลักขณสูตรที่พระองค์ใช้
สอนพวกปัญจวัคคีย์กับสอนยสกุลบุตร บิดา มารดาและภรรยาของเขานั้นทําให้ทราบว่า ระดับการ
๑๒
ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (บาลี) ๑/๑๕๗/๑๗๑, ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๒๑๔-๒๓๒.
๑๓
ดูรายละเอียดใน ขุ.เถรี.อ. (บาลี) ๑๒/๑๑-๑๕, ขุ.เถรี.อ. (ไทย) ๑๒/๑๑-๑๓.
๑๔
ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๖๙, องฺ.อฏฺฐก. (ไทย) ๒๓/๓๖/๒๙๔.
๕๔
รับรู้ของแต่ละคนไม่เท่ากันและพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงจึงแตกต่างกัน จากเรื่องนี้ทําให้ทราบ
ว่า ความหลากหลายของผู้ฟัง วิธีการสอนจึงแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะกับผู้ฟัง การใช้วิธีเลือก
บทเรียนที่เหมาะกับผู้เรียนเป็นวิธีที่ประสบความสําเร็จทั้งผู้สอนและผู้เรียน ดังตัวอย่างที่กล่าว
มาแล้วนั้น แต่เมื่อมีคนเป็นจํานวนมาก พระองค์ไม่สามารถที่จะสอนได้ทุกคน พระองค์จึงได้วาง
หลักการไว้เพื่อให้สาวกนําไปปฏิบัติด้วยตนเอง ทั้งในระดับโลกียะและโลกุตตระ
หลักการที่พระพุทธองค์ทรงแนะนําในการพัฒนาระดับโลกียะมี ๓ ระดับด้วยกัน คือ
ระดับเบื้องต้น ได้แก่ “การให้ทาน” เป็นการขจัดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัวออกจากจิตใจก่อน
ระดับกลาง ได้แก่ “การรักษาศีล” เมื่อขจัดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัวได้แล้ว จิตใจเริ่มสะอาด
ปลอดโปร่งมากขึ้น จิตใจจะเกิดความรัก ความเมตตา ต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์อื่น มีความ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น ความคิดที่จะฆ่า จะทําร้ายเพื่อนมนุษย์ย่อมลดน้อยลง ศีลก็เกิดขึ้นในจิตใจ
โดยอัตโนมัติ การพัฒนาระดับนี้จึงเรียกว่า การรักษาศีล เมื่อรักษาศีลได้ระดับหนึ่งแล้ว จิตใจเริ่มตั้ง
มั่นแน่วแน่ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบ เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ที่จะทําให้เกิดความโกรธ
ความพยาบาท ความอาฆาตขึ้น จิตใจก็รู้ทัน สามารถระงับยับยั้งไว้ได้ จิตใจที่อยู่ในระดับนี้เรียกว่า
ระดับ “ภาวนา” การพัฒนาทั้ง ๓ ระดับนี้ เรียกว่า หลักบุญกิริยาวัตถุ14
๑๕
การพัฒนาสังขารระดับโลกียะแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มเป้าหมาย คือ เพื่อบรรพชิตและเพื่อ
คฤหัสถ์
ก. หลักการเพื่อบรรพชิต
หลักการเพื่อบรรพชิตแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับปัจเจกบุคคล และระดับสังคม
ดังนี้
ระดับปัจเจกบุคคล หรือส่วนตัว พระองค์วางหลัก กฎ ระเบียบเพื่อความสะดวกแก่การ
ประพฤติพรหมจรรย์ หลักพื้นฐานทั่วไปคือ นิสสัย ๔ อกรณียกิจ ๔ รวมเรียกว่าอนุศาสน์ ๘
ประการ1 5
๑๖
ที่บรรพชิตจะต้องปฏิบัติตลอดชีวิต นิสสัย ๔ เป็นคําสั่งสอนเพื่อนําไปปฏิบัติ ได้แก่
บรรพชิตต้องบิณฑบาตเลี้ยงชีพ ต้องอยู่ตามป่า เขา โคนไม้ เรือนว่าง ที่เป็นสัปปายะแก่การ
ประพฤติพรหมจรรย์หรือการปฏิบัติสมณธรรมเพื่อการบรรลุคุณธรรมเบื้องสูงที่เป็นเป้าหมายสูงสุด
ของพระพุทธศาสนา คือพระนิพพาน หรือความหมดกิเลสอาสวะทั้งหลาย อกรณียกิจ ๔ เป็นข้อ
๑๕
ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๖๙, องฺ.อฏฺฐก. (ไทย) ๒๓/๓๖/๒๙๔.
๑๖
ดูรายละเอียดใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส, นวโกวาท, พิมพ์ครั้งที่ ๓๘,
(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๔๗๙), หน้า ๔.
๕๕
ห้ามไม่ให้ประพฤติ ถ้าขืนทําลงไปจะขาดจากความเป็นภิกษุ ไม่เจริญก้าวหน้าในการประพฤติ
พรหมจรรย์ได้แก่ ไม่ให้เสพเมถุน ทั้งกับมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน ไม่ให้ลักขโมยสิ่งของของคน
อื่น มีราคาเกิน ๕ มาสก หรือเทียบอัตราเงินไทย คือ ๑ บาท ไม่ให้ฆ่ามนุษย์ และไม่ให้พูดอวดคุณ
วิเศษที่ไม่มีอยู่ในตัวเอง เช่น พูดว่า ได้บรรลุฌาน อภิญญา ได้บรรลุโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี
เป็นต้น
หลักการเพื่อนําไปพัฒนาตนเองให้เกิดความองอาจกล้าหาญ ได้แก่ เวสารัชชกรณธรรม
๕ ประการ คือ สัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา16
๑๗
อริยทรัพย์ ทรัพย์ภายใน ๗ ประการ คือ
สัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา17
๑๘
อริยทรัพย์อีกนัยหนึ่ง คือ ๑) เป็นผู้ไม่มุ่งลาภ
๒) เป็นผู้ไม่มุ่งสักการะ ๓) เป็นผู้ไม่มุ่งชื่อเสียง ๔) เป็นผู้มีหิริ ๕) เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๖) เป็นผู้
มักน้อย18
๑๙
สรุปแล้วหลักการทั้งสองนี้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นข้อปฏิบัติ ส่วนที่
สอง เป็นข้อห้าม
ระดับสังคมหรือระดับสงฆ์ พระองค์วางหลัก อปริหานิยธรรม คือหลักปฏิบัติเพื่อ
ความเจริญของหมู่คณะ รายละเอียดของหมวดธรรมนี้ ได้แก่ ให้มีการประชุมปรึกษาหารือกันบ่อย
ๆ เมื่อประชุมกันก็ให้พร้อมเพรียงกันหรือให้ประชุมพร้อมกันเลิกพร้อมกัน ไม่บัญญัติสิ่งที่พระ
ศาสดาไม่บัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ให้พากันสมาทานศึกษาในสิกขาบทตามที่ได้
บัญญัติไว้ ให้เคารพยําเกรงพระเถระผู้มีพรรษายุกาลมากกว่า เชื่อฟังถ้อยคําของท่าน ปฏิบัติตามที่
ท่านแนะนําสั่งสอน ไม่ตกไปในอํานาจของตัณหาที่เกิดขึ้นในจิตใจ ให้ยินดีในการอยู่ป่าที่เหมาะ
แก่การประพฤติปฏิบัติสมณธรรม ให้ตั้งความปรารถนาไว้ในใจว่า ขอให้เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลที่
ยังไม่มาสู่วัดหรือที่อยู่ของตนขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่อย่างมีความสุข1 9
๒๐
หลักอปริหานิยธรรม
อีกนัยหนึ่ง คือ ๑) สมบูรณ์ด้วยศีล ๒) คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๓) รู้จักประมาณในการ
บริโภค ๔) ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ20
๒๑
อีกนัยหนึ่ง คือ ๑) ความเป็นผู้ไม่ชอบการ
งาน ๒) ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ๓) ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ๔) ความเป็นผู้ไม่
๑๗
องฺ.ป�ฺจก. (ไทย) ๒๒/๑๕๘/๒๖๒.
๑๘
ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๓๐/๓๓๑.
๑๙
องฺ.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๑/๒.
๒๐
ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๓๖/๘๑-๘๓, องฺ.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๒๓/๓๗-๓๘.
๒๑
องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๓๗/๖๐.
๕๖
ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕) ความเป็นผู้ว่าง่าย ๖) ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี)2 1
๒๒
หลัก
สัปปุริสธรรม คือหลักปฏิบัติของสัตบุรุษ ได้แก่ การเป็นคนรู้จักกาลเทศะ รู้จักสถานที่ รู้จักบุคคลที่
ตนจะปฏิบัติต่ออย่างเหมาะสม เป็นต้น22
๒๓
หลักสาราณียธรรม เป็นหลักธรรมเป็นเครื่องอยู่ด้วยกัน
อย่างมีความสุขไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ให้อยู่ด้วยกันด้วยความรักความเมตตาต่อกัน เอื้อเฟื้อแก่กัน
เป็นต้น23
๒๔
ข. หลักการเพื่อคฤหัสถ์
หลักการเพื่อคฤหัสถ์แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับปัจเจกบุคคลและระดับสังคม ซึ่ง
ทั้ง ๒ ระดับนี้ใช้หลักการพัฒนาอย่างเดียวกัน คือ ศีล ๕ ได้แก่ การไม่ทําร้าย เบียดเบียนกัน ไม่ลัก
ขโมยทรัพย์สินของกัน ไม่ละเมิดสิทธิในคนรักของคนอื่น ไม่พูดโกหกหลอกลวงกัน ไม่หมกมุ่น
กับการเสพสิ่งมึนเมาต่างๆ มีสุราเมรัย เป็นต้น2 4
๒๕
ฆราวาสธรรม หลักธรรมที่ผู้อยู่ครองเรือนควร
ประพฤติ ได้แก่ สัจจะ ความซื่อสัตย์ต่อกันระหว่างสามีกับภรรยา บิดามารดากับบุตร นายกับ
ลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน เป็นต้น ทมะ และขันติ ความอดทน อดกลั้น ต่อความลําบากทางกาย และ
ทางใจ จาคะ การสละแบ่งปันสิ่งของ ทรัพย์สินเงินทอง ที่ควรจะแบ่งปันแก่กัน ตลอดจนสละ
อารมณ์ที่ทําให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา2 5
๒๖
สังคหวัตถุ วัตถุเป็นเครื่อง
สงเคราะห์กันและกัน ได้แก่ การให้ทาน การพูดจาด้วยถ้อยคําไพเราะ ใช้วจีสุจริต เว้นวจีทุจริต
อัตถจริยา การทําประโยชน์แก่กัน สมานัตตตา วางตนให้พอเหมาะพอควรแก่ฐานะ ไม่หลงระเริง
เมื่อประสบความสําเร็จ ไม่เศร้าโศกเซื่องซึมเมื่อผิดหวัง26
๒๗
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หลักการเพื่อ
ประโยชน์ในปัจจุบันคือในชาตินี้ ประกอบด้วย อุฏฐานสัมปทา ความขยัน ในการประกอบอาชีพ
การงาน อารักขสัมปทา รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ กัลยาณมิตตตารู้จักคบมิตรหรือคบเพื่อน สมชีวิตา
เลี้ยงชีพให้พอประมาณแก่ฐานะ ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้ งเฟ้ อเกินไป และไม่ประหยัดมัธยัสถ์จนทําให้ตน
และคนใกล้ชิดลําบาก27
๒๘
สัมปรายิกัตถประโยชน์ ประโยชน์ในภายหน้าหรือประโยชน์ที่จะได้รับ
เมื่อตายไปแล้ว หลักในพระพุทธศาสนาสอนว่า ชาติหน้ามีจริง สิ่งจะติดตามผู้ที่ตายไปแล้วคือบุญ
๒๒
องฺ.ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๒๒/๔๕๒-๔๕๓.
๒๓
ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๓๐/๓๓๓.
๒๔
ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๙๒/๕๓๑-๕๓๒, ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๕๔/๕๙-๖๐.
๒๕
สํ.สฬา. (ไทย) ๑๘/๓๐๓/๓๒๕.
๒๖
สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๒๔๖/๓๕๔.
๒๗
ขุ.ชา. (ไทย) ๒๘/๑๗๘/๘๓.
๒๘
องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๓/๕๔/๓๔๐-๓๔๑.
๕๗
กุศลที่เคยทําไว้ตั้งแต่ตอนยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นพระองค์จึงวางหลักสัมปรายิกัตถประโยชน์ไว้เพื่อเป็น
ทรัพย์สินที่ผู้ตายไปจะได้รับ ได้แก่ สัทธา ศีล จาคะ ปัญญา28
๒๙
เมื่อกล่าวโดยสรุป หลักการทั้งสองนี้ ใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดย
แบ่งเป็น ๓ ระดับ ดังที่กล่าวแล้ว ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงรายละเอียดของการพัฒนาทั้ง ๓ ขั้นนี้
โดยสังเขปดังนี้
(๑). ขั้นพื้นฐาน (ศีล)
การพัฒนาสังขารระดับพื้นฐาน คือ การพัฒนาขั้นศีลธรรม จริยธรรม ได้แก่การพัฒนา
พฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในทางที่เหมาะสมแก่ฐานะของตน เช่น การพัฒนาพฤติกรรม
ของนักเรียนให้เป็นคนมีระเบียบวินัยในการเข้าห้องเรียนตามเวลา การตั้งใจฟังครูสอน ไม่เล่น
ซุกซนในขณะที่ครูสอน ไม่ส่งเสียงดัง รู้จักการใช้ถ้อยคําที่เหมาะสมกับคนที่ตัวเองสื่อสารด้วย
เช่น พูดกับพ่อแม่ ครู อาจารย์ เพื่อน ฝูง เป็นต้น การพัฒนาจิตใจให้เป็นคนอ่อนน้อม อ่อนโยน มี
เมตตา กรุณา ต่อคนอื่น สัตว์อื่น ไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่น
การพัฒนาสังขารระดับนี้ เป็นการพัฒนามุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์จากสัตว์
ทั่วไป กล่าวโดยทั่วไป มนุษย์และสัตว์ต่างมีสิ่งหนึ่งร่วมกันคือสัญชาตญาณ การที่มนุษย์แตกต่าง
จากสัตว์อื่นๆ ก็คือรู้จักว่าอะไรชั่ว หรือดี หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็มีศีลนั่นเอง ดังนั้นเป้ าหมายระดับนี้
จึงมุ่งที่จะพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ให้เป็นไปในทางดีงาม มีการดํารงชีพในทางที่สุจริต มี
ระเบียบวินัยมีกิริยามารยาทงดงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้ าหมายของพฤติกรรมระดับศีลนี้ เน้นการ
ไม่เบียดเบียนหรือการอยู่ร่วมกันด้วยดีโดยสงบสุขในสังคม กล่าวคือ การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและ
ร่างกาย การไม่ละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของกันและกัน การไม่ละเมิดต่อของรัก ไม่ประทุษร้าย
จิตใจลบหลู่เกียรติทําลายวงศ์ตระกูลของกันและกัน การไม่หักรานลิดรอนผลประโยชน์กันด้วยวิธี
ประทุษร้ายทางวาจา และการไม่ซํ้าเติมตนเองด้วยสิ่งเสพติด ซึ่งทําให้เสื่อมทรามเสียสติสัมปชัญญะ
ที่เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งป้ องกันจากความผิดพลาดเสียหายและคุ้มตัวไว้ในคุณความดี นอกจากนี้
เป้ าหมายของพฤติกรรมระดับนี้ ยังเน้นให้บุคคลรู้จักพยายามฝึกตนเพิ่มขึ้นในด้านการงดเว้นสิ่ง
หรูหราฟุ่มเฟือย บํารุงบําเรอปรนเปรอความสุขต่างๆ และหัดให้เป็นคนอยู่อย่างเรียบง่าย ด้วยการ
รักษาอุโบสถ ถือศีล ๘ ตลอดจนศีล ๑๐ ประการ ตามโอกาส หรือปฏิบัติในทางบวก เช่น ขวนขวาย
ช่วยเหลือรับใช้ร่วมมือและบริการต่างๆ (ไวยาวัจกรรม)๓๐
๒๙
องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๓/๕๔/๓๔๓-๓๔๔.
๓๐
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หน้า ๕๙๗.
๕๘
(๒). ขั้นกลาง (สมาธิ)
การพัฒนาสังขารระดับกลาง คือ การพัฒนาพฤติกรรมที่สูงขึ้นมาอีกหน่อย สามารถ
เป็นแบบอย่างแก่คนอื่นได้ เป็นการพัฒนาสังขารในส่วนของ สติ ปัญญา จนนําสติ ปัญญามาใช้ใน
การประกอบกิจการงานต่างๆ ให้บรรลุความสําเร็จตามที่ตนปรารถนาได้ และในขณะเดียวกันก็ให้
เป็นไปเพื่อความเจริญทั้งแก่ตนเองและคนอื่นด้วย ไม่ใช่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองและคนอื่น
การพัฒนาสังขารระดับนี้ ทําให้รู้จักอดทน อดกลั้น ข่มจิตตนเอง ไม่ให้ลุแก่อํานาจของกิเลส
ปรับตัวเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดําเนินชีวิตตามหลักของอริยมรรค ในฝ่ายของสมาธิ
คือ สัมมาวายามะ มีความพากเพียรชอบ คือใฝ่ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ให้ตัวเอง
ประกอบอาชีพที่สุจริต สัมมาสติ มีความระลึกชอบ คือหมั่นฝึกฝนอบรมตนให้เป็นคนตื่นตัวอยู่
เสมอไม่เป็นคนเฉื่อยชาจับจดเซื่องซึมสัมมาสมาธิ มีความตั้งใจมั่นชอบ คือมีความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ
ต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่รอให้โชคหรือวาสนาช่วย แต่เป็นผู้สร้างโชคและวาสนาขึ้นมาเอง
(๓). ขั้นสูง (ปัญญา)
การพัฒนาสังขารระดับนี้มุ่งเน้นให้พฤติกรรมของบุคคลมีความประณีตด้านภายในมาก
ขึ้น หลังจากเป้ าหมายระดับศีลช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านกายหรือภายนอกแล้ว กล่าวคือ ให้
รู้จักปรับปรุงพฤติกรรมของตนเอง ด้วยการอบรมจิตใจให้เจริญขึ้นด้วยคุณธรรมต่างๆ ให้เข้มแข็ง
มั่นคงหนักแน่น และให้มีปัญญารู้เท่าทันความเป็นไปของสังขาร หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่ารู้เท่าทันโลก
และชีวิต หรือมีโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง นอกจากนี้เป้ าหมายของการแสดงพฤติกรรมระดับ
ปัญญา ยังอยู่ที่การให้เพียรละกิเลส เพียรอบรมปลูกฝังกุศลธรรม โดยดําเนินตามหลักทางสายกลาง
(มัชฌิมาปฏิปทา) มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดําริชอบ ที่เป็นหมวดปัญญา
ในอริยมรรคมีองค์๘ ประการ ซึ่งเป็นวิธีการและข้อปฏิบัติที่เน้นสําหรับการฝึกฝนจิตและปัญญาคือ
การแสวงหาปัญญาและชําระจิตใจด้วยการสดับธรรม (รวมทั้งอ่าน) ที่เรียกว่าธรรมสวนะ การแสดง
ธรรม สนทนาธรรม การแก้ไขปลูกฝังความเชื่อ ความเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้อง การเจริญเมตตา
และการควบคุมขัดเกลากิเลส เป็นต้น
อีกนัยหนึ่ง การพัฒนาสังขารระดับสูง คือการพัฒนาสังขารที่จัดอยู่ในหมวด พลธรรม
๕ หรืออินทรีย์๕ ประกอบด้วย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา3 0
๓๑
การพัฒนาขั้นนี้ไม่ได้มุ่งถึงความ
ถูกต้องหรือความผิดของพฤติกรรมแต่เป็นการพัฒนาเพื่อมุ่งความหลุดพ้นจากขันธ์ ๕ โดยเน้นการ
๓๑
สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๔๗๑-๔๘๐/๒๘๒-๒๙๑.
๕๙
พัฒนาสติเป็นตัวนํา รูปแบบของการพัฒนาสังขารในระดับนี้ใช้หลักสติปัฏฐาน ๔ เป็นแกนกลาง
โดยใช้ฝึกสติให้รู้เท่าทันอาการที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือกําหนดรู้อารมณ์ปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม การแยกพูดเป็น ๓ เรื่อง ๓ ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่าแยกปฏิบัติกันอย่าง
เด็ดขาด เช่น ในขั้นต้นไม่ต้องปฏิบัติสมาธิและปัญญาเลย ที่จริง ยังต้องปฏิบัติอยู่เพียงแต่เป็นการ
ปฏิบัติในระดับน้อยหรือระดับตํ่า ทั้งนี้เป็นเพราะการปฏิบัติที่ถูกต้อง จําต้องอาศัยหลักธรรมหลาย
อย่างมา เสริมกัน
๓.๓.๒ ขั้นโลกุตตระ
การพัฒนาสังขารในขั้นนี้พระพุทธองค์เน้นการบรรลุธรรมเป็นหลัก มีทั้งฆราวาสและ
บรรพชิตที่มีอินทรีย์แก่กล้าสามารถฟังธรรมหรือปฏิบัติธรรมแล้วบรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ขั้นนี้
พระองค์ทรงวางหลักของไตรสิกขาเหมือนกัน แต่เป็นไตรสิกขาในขั้นสูงกว่าหลักไตรสิกขาขั้นสูง
หรือขั้นอุกฤษฏ์ เป็นไตรสิกขาในอริยวินัย เช่น หลักของศีล ได้แก่ จาตุปาริสุทธิศีล ๔ ประการ
หลักของสมาธิ ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ อย่าง หลักของปัญญา ได้แก่ วิปัสสนาภาวนา หรือวิปัสสนา
กรรมฐาน รายละเอียดของหลักการเหล่านี้จะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
๓.๔ การพัฒนาสังขารตามหลักไตรสิกขา
หลักไตรสิกขา ถือว่าเป็นหัวใจสําคัญของระบบการศึกษาทางด้านพระพุทธศาสนาที่
พระพุทธองค์ได้วางเอาไว้มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา บ้าง
เรียกสั้นๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา บ้าง หลักเหล่านี้พระพุทธองค์วางไว้เพื่อให้สาวกนําไปฝึกฝน
พัฒนาตนเอง เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งหลายที่หมักดองอยู่ในสันดานตน โดยตั้งอยู่บน
พื้นฐานทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา ภิกษุผู้ไม่สมาทานศึกษาไตรสิกขา พระพุทธองค์ตรัสว่า
เปรียบเหมือนลาในฝูงโค พระองค์ทรงอธิบายว่า ลาเดินตามฝูงโคไปข้างหลังพลางร้องว่า เราเป็นโค
เราเป็นโค แต่เสียงของมัน ตัวของมัน รอยเท้าของมันก็ยังเป็นลาอยู่ ฉันใด ภิกษุผู้ไม่ได้สมาทาน
ศึกษาในไตรสิกขาคืออธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา แม้จะเดินไปตามหลังหมู่ภิกษุและ
ปฏิญาณตนว่า เราเป็นภิกษุ เราเป็นภิกษุ แต่เขาก็ไม่ได้สมาทานศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เหมือนภิกษุอื่น เพียงแต่ติดตามไปข้างหลังเท่านั้น ฉันนั้น31
๓๒
เนื้อความจากพระสูตร
นี้แสดงให้เห็นว่า ความเป็นภิกษุจะสมบูรณ์ได้หรือเป็นภิกษุตามพุทธประสงค์ต้องสมาทานศึกษา
ตามหลักไตรสิกขาตามสติปัญญาของตน
๓๒
องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๓/๓๐๙.
๖๐
ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจการพัฒนาสังขารตามหลักไตรสิกขาดังกล่าวนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นจะ
ได้ศึกษาในรายละเอียดของแต่ละสิกขาไปตามลําดับ
๓.๔.๑ การพัฒนาสังขารตามหลักศีล
ศีล เป็นหลักเบื้องต้นในการฝึกหัดกาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย ในพระพุทธศาสนา มีคน
หลายวรรณะเข้ามาบวชเป็นสาวก แต่ละคนล้วนแต่มีวิชาความรู้แตกต่างกัน ได้รับการฝึกฝนอบรม
มาต่างกัน ถ้าแต่ละคนปฏิบัติตามลัทธิเดิมของตน ก็จะทําให้หมู่คณะที่อยู่ร่วมกันไม่เป็นระเบียบ
เพราะต่างคนต่างทําในสิ่งที่ตนเคยปฏิบัติมา เพื่อความมีระเบียบเรียบร้อยของหมู่คณะพระพุทธองค์
จึงทรงบัญญัติข้อที่พระสาวกต้องปฏิบัติและพึงปฏิบัติร่วมกัน เรียกว่า พระวินัย หรือ ศีล ซึ่งรวมทั้ง
ที่เป็นสิกขาบทและข้อวัตรต่างๆ เมื่อพระสาวกได้รับการฝึกหัด กาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในทิศทาง
เดียวกันแล้ว ก็ทําให้หมู่คณะเป็นอยู่เรียบร้อยสวยงาม เป็นที่เลื่อมใสของผู้พบเห็น เมื่อหมู่คณะเป็น
ระเบียบเรียบร้อยแล้วจะฝึกสอนเรื่องใดๆ ผู้แนะนําสั่งสอนก็ทําได้ง่าย และผู้เรียนที่มีระเบียบวินัย
เรียนด้วยความเคารพและตั้งใจย่อมเข้าใจในสิ่งที่เรียนได้ง่าย ศีลจึงเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนา
สังขาร ในพลสูตร พระพุทธองค์ทรงเปรียบศีลเหมือนแผ่นดินเป็นที่ยืนของบุคคลผู้ที่จะทํางานด้วย
กําลังให้สําเร็จลุล่วงตามความปรารถนา ดังพระพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทําด้วย
กําลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดํารงอยู่บนแผ่นดินจึงทําได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน อาศัยศีล ดํารงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทําอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก”๓๓
ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย3 3
๓๔
สังขารที่จัดอยู่ในหมวดศีล คือ วิรัติเจตสิก ๓ ประการ
ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ซึ่งสังขารเหล่านี้จัดอยู่ในอริยมรรคมีองค์ ๘
ประการ สงเคราะห์เข้าในอธิศีลสิกขา เมื่อสังขารเหล่านี้ได้รับการพัฒนาแล้ว เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
สังขารเหล่าอื่นที่อยู่ในองค์มรรคนอกนี้ได้รับการพัฒนาไปด้วย สังขารเหล่านี้พระพุทธองค์เปรียบ
เหมือนแสงอรุณของพระอาทิตย์ในยามเช้า ดังเนื้อความที่ปรากฏในสีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กําลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด สีล
สัมปทา34
๓๕
ก็เป็นตัวนํา เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค มีองค์๘ ฉันนั้น”๓๖
พระองค์ยัง
๓๓
สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๑๔๙/๗๘.
๓๔
สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๓๘๑-๓๘๓/๒๓๖-๒๓๙.
๓๕
สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล)ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔;สํ.ม.อ.(บาลี)๓/๔๙-๖๒/๑๙๖)
๓๖
สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๕๐-๕๔/๔๔.
๖๑
ตรัสต่อไปว่า ผู้ที่มีศีลบริบูรณ์คุณธรรมเหล่านี้คือ ฉันทะ อัตตะ ทิฏฐิ อัปปมาทะ ก็จะบริบูรณ์ด้วย3 6
๓๗
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมไม่ประสบภัยอันตรายจากการสํารวมในศีล เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้รับ
มูรธาภิเษกเป็นพระราชา กําจัดข้าศึกได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยอันตรายจากข้าศึก ภิกษุผู้สมบูรณ์
ด้วยอริยสีลขันธ์ย่อมเสวยสุขอันไม่มีโทษในภายใน37
๓๘
ในอัสสลายนสูตร กล่าวถึงมาณพ ๒ คนเป็น
พี่น้องกัน คนหนึ่งได้รับการศึกษาดี แต่เป็นคนทุศีล คนหนึ่งไม่ได้รับการศึกษาแต่เป็นคนมีศีล คนที่
มีศีลจะได้รับการเชื้อเชิญให้บริโภคก่อนในงานเลี้ยงต่างๆ มีงานเลี้ยงของผู้มีศรัทธาเป็นต้น38
๓๙
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นความสําคัญของศีล ต่อไปนี้จะได้ศึกษารายละเอียดของสังขาร
ทั้ง ๓ อย่างนี้ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ต่อไป
ก. การพัฒนาสังขารตามแนวสัมมาวาจา
สัมมาวาจาคือเจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท(พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณาวาจา
(พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคําหยาบ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากสัมผัปปลาปะ
(พูดเพ้อเจ้อ)๔๐
จากพระพุทธพจน์ตรงนี้ทําให้ทราบว่า การพัฒนาสัมมาวาจาก็คือ พัฒนาตัวเจตนา
ซึ่งเป็นตัวนําไปสู่การพูดจริง พูดคํามีสาระ สุภาพอ่อนโยน เป็นคําพูดที่ประกอบด้วยประโยชน์ทั้ง
สองฝ่ายคือทั้งผู้พูดและผู้ฟัง บางครั้งอาจจะมีการพูดถ้อยคําที่เลี่ยงความจริงบ้างแต่ก็เพียงเพื่อให้
ผู้ฟังได้รับประโยชน์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การที่พระพุทธองค์ใช้คําพูดที่เป็นอุบายให้พระนันทะ
พระอนุชาต่างพระมารดา คลายความคิดถึงเจ้าสาวที่รอคอยอยู่ด้วยรับรองว่าจะนํานางฟ้ ามาเป็น
ภรรยา ถ้าลืมเรื่องเจ้าสาวและตั้งใจปฏิบัติธรรม ทําให้พระนันทะตั้งใจปฏิบัติสมณธรรมจนได้
บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์40
๔๑
การใช้คําพูดเลี่ยงอย่างนี้ไม่จัดว่าเป็นการพูดมุสา หรือพูดเท็จเพราะ
ไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้ฟังเสียประโยชน์แต่เป็นความมุ่งหวังให้ผู้ฟังได้ประโยชน์ จัดเป็นสัมมาวาจาได้
ตัวอย่างการใช้อุบายลักษณะเช่นนี้ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทหลายแห่ง เช่น เรื่อง นาง
๓๗
สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๕๐-๕๔/๔๔, ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ) ในที่นี้หมายถึงความ
พอใจคือความต้องการที่จะทําความดี, อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยตน) ในที่นี้หมายถึงความเป็นผู้มีจิต
สมบูรณ์, ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) ในที่นี้หมายถึงความถึงพร้อมด้วยญาณ, อัปปมาทสัมปทา (ความ
ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท) ในที่นี้หมายถึงความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท อันเป็นเหตุให้บรรลุธรรม; สํ.
ม.อ. ๓/๔๙-๖๒/๑๙๖.
๓๘
ที.สี. (ไทย) ๙/๔๐๑/๑๗๐.
๓๙
ดูรายละเอียดใน ม.ม. (ไทย) ๑๓/๔๐๙/๕๑๑.
๔๐
ที.ม.(ไทย) ๑๐/๔๐๒/๓๓๕-๓๓๖, สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๘/๑๑, อภิ.วิ. (ไทย) ๓๕/๒๐๕/๑๗๒.
๔๑
ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๖๓-๖๙.
๖๒
กีสาโคตรมี ที่บุตรชายเสียชีวิต แต่นางไม่ยอมรับว่าลูกเสียชีวิต จึงพยายามจะหาหมอและยาที่
สามารถรักษาลูกของตนให้ฟื้นคืนได้จนในที่สุดได้มาพบพระพุทธเจ้า พระองค์จึงใช้อุบายให้นาง
ไปนําเอาเมล็ดพันธ์ผักกาดจากบ้านที่ไม่เคยมีคนตายมาปรุงยา แต่นางก็หาไม่ได้และได้สติกลับคืน
มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จึงแสดงพระธรรมเทศนาให้ฟัง นางได้ฟังแล้วคลายความเศร้าโศก
เพราะบุตรลงได้ แล้วขออุปสมบทเป็นภิกษุณี อยู่ต่อมานางก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์4 1
๔๒
อีกเรื่อง
หนึ่ง คือ เรื่องโจรเคราแดง โจรคนนี้เคยฆ่าคนมามากเพราะได้รับตําแหน่งเพชฌฆาต ต่อมาทางการ
ให้เกษียณอายุเพราะร่างกายอ่อนกําลังลงไม่สามารถจะประหารโจรให้ตายด้วยการฟันคอครั้งเดียว
เหมือนเมื่อก่อนต้องฟันซํ้าหลายครั้งทําให้ผู้ถูกประหารทรมาน เมื่อได้ฟังธรรมจากพระสารีบุตรเถระ
ก็ไม่ สามารถรวบรวมสมาธิให้เป็นหนึ่งได้เพราะคิดถึงแต่บาปกรรมคือการฆ่าคนที่ตนทํามาเป็น
เวลายาวนาน พระเถระจึงใช้คําพูดเป็นอุบายเพื่อให้เขาคลายความวิตกกังวลด้วยการถามว่า ที่ฆ่าคน
เป็นจํานวนมากนั้นเขาฆ่าเองหรือมีคนอื่นสั่งให้ฆ่า เขาตอบว่า มีคนอื่นสั่งให้ฆ่า พระเถระจึงกล่าว
ว่า ถ้าคนอื่นสั่งให้ฆ่าก็ไม่เป็นบาป คําพูดของพระเถระทําให้เขาดีใจว่า ตนไม่เป็นบาปจึงเริ่มมี
สมาธิตั้งใจฟังธรรม จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน42
๔๓
จากตัวอย่างทั้ง ๓ เรื่องนี้ จะเห็นว่า สัมมาวาจาเป็นวาจาที่มุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟังถึงแม้ว่า
คําพูดนั้นจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในเบื้องต้นแต่ก็ทําให้ผู้ฟังคลายความเศร้าโศก ความวิตกกังวลได้
ต่างจากมิจฉาวาจา ที่มุ่งให้ผู้ฟังเสียประโยชน์ ถึงแม้คําพูดนั้นจะเป็นคําพูดที่สุภาพอ่อนโยนด้วยลีลา
และนํ้าเสียงของผู้พูดแต่มีเจตนาร้ายต่อผู้ฟัง เช่น มีเจตนาจะฆ่าใครสักคนหนึ่งให้ตายไป สั่งให้คน
อื่นฆ่าเขาโดยใช้คําสุภาพอ่อนโยนว่า ช่วยทําให้เขานอนอย่างสบายเถิด คําพูดอย่างนี้จัดเป็นมิจฉาวาจา
สัมมาวาจา มีทั้งระดับต้นและระดับสูง ตัวอย่างดังกล่าวมานั้นจัดเป็นสัมมาวาจาระดับต้น ส่วน
สัมมาวาจาระดับสูง ได้แก่ สัมมาวาจาในองค์มรรค คือวิรตีสัมมาวาจา การงดเว้นจากวจีทุจริต ๔
อย่างโดยเด็ดขาด4 3
๔๔
เป็นสัมมาวาจาในขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หมายความว่า ในขณะที่
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน การใช้วาจา บริกรรมกรรมฐาน เช่น พองหนอ ยุบหนอ ปวดหนอ คิด
หนอ เป็นต้น จัดเป็นสัมมาวาจาในองค์มรรคเพราะเป็นวาจากําหนดอารมณ์ปรมัตถ์ สัมมาวาจาเป็น
๔๒
ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๒๑๖-๒๑๙.
๔๓
ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๒๑๖-๒๑๙.
๔๔
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ),วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๒ : ว่าด้วย มหาสติปัฏฐาน,
(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๘), หน้า ๕๖๑.
๖๓
เรื่องของเจตนาเป็นเหตุงดเว้น ไม่ได้มุ่งถึงการพูดคําจริงและคําที่มีประโยชน์ซึ่งเป็นพฤติกรรมทาง
กายและวาจาที่แสดงออกมาในภายนอก44
๔๕
จากเนื้อหาสาระที่ได้ศึกษามานี้สรุปได้ว่า การพัฒนาสังขารตามแนวสัมมาวาจา ๒
ระดับนี้สามารถพัฒนาได้ดังนี้ คือ การพัฒนาสัมมาวาจาระดับต้น ได้แก่ การงดเว้นจากวจีทุจริต ๔
อย่างแล้วเจริญวจีสุจริต ๔ รวมถึงการใช้กุศโลบายต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์ด้วย ส่วน
การพัฒนาสัมมาวาจาระดับสูง ได้แก่ การใช้วาจาบริกรรมบทพระกรรมฐานขณะเจริญวิปัสสนา
กรรมฐาน เช่น การบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ คิดหนอ ปวดหนอ เป็นต้น
ข. การพัฒนาสังขารตามแนวสัมมากัมมันตะ
สัมมากัมมันตะ คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้น
จาก อทินนาทาน (การลักทรัพย์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากอพรหมจรรย์(พฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อ
พรหมจรรย์)๔๖
จากพระพุทธพจน์ตรงนี้จะเห็นว่า สัมมากัมมันตะ มีนัยคล้ายกันกับสัมมาวาจา
มุ่งเอาตัวเจตนาเป็นตัวนําไปสู่การงดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน และอพรหมจรรย์ พระพุทธ
พจน์ที่ยกมานี้ต่างกันจากพระพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรและในสัจจวิภังคสูตร เล็กน้อย
กล่าวคือ ในพระสูตรทั้งสองนี้ สองข้อแรกมีความหมายเหมือนกัน ส่วนข้อที่ ๓ เป็นเจตนาเป็นเหตุ
เว้นจากการประพฤติผิดในกาม4 6
๔๗
เมื่อพิจารณาแล้วพระสูตรเหล่านี้พระองค์คงจะเน้นไปที่ผู้ฟัง
เป็นสําคัญเพราะในมหาสติปัฏฐานสูตร พระองค์ตรัสแก่ชาวกุรุที่เป็นผู้ครองเรือน ส่วนในวิภังคสูตร
พระองค์ตรัสแก่หมู่ภิกษุ ตามพระวินัยแล้วภิกษุไม่สามารถจะเสพเมถุนอยู่แล้ว พระองค์จึงได้ตรัส
ให้เว้นจากอพรหมจรรย์เลย แต่ชาวบ้านทั่วไปยังสามารถมีเพศสัมพันธ์กับภรรยา หรือสามีของตน
อยู่เพียงแต่ห้ามไม่ให้ประพฤติล่วงเกินภรรยาหรือสามีของคนอื่นเท่านั้น ส่วนคัมภีร์วิภังค์47
๔๘
ไม่ได้
ปรารภบุคคลประเภทไหน แต่เนื้อความเหมือนกับในมหาสติปัฏฐานสูตรและสัจจวิภังคสูตร จาก
หลักฐานตรงนี้พระองค์คงจะเน้นไปที่ประชาชนทั่วไปเป็นหลัก เพราะถ้าคนทั่วไปไม่งดเว้นข้อนี้จะ
ทําให้สังคมวุ่นวายไม่สงบ เมื่อจิตใจหวาดระแวงก็จะทําให้การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นไปได้
ยาก ไม่สามารถบรรลุผลตามที่ต้องการ
๔๕
วัชระ งามจิตรเจริญ, พุทธศาสนาเถรวาท, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๒), หน้า ๔๐๐.
๔๖
สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๘/๑๑.
๔๗
ที.ม.(ไทย) ๑๐/๔๐๒/๓๓๕-๓๓๖, ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๓๗๕/๔๒๒,อภิ.วิ. (ไทย) ๓๕/๒๐๕/๑๗๒.
๔๘
อภิ.วิ. (ไทย) ๓๕/๒๐๕/๑๗๒.
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่

More Related Content

What's hot

เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
CC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 3
สุขฯ ม.2 หน่วย 3สุขฯ ม.2 หน่วย 3
สุขฯ ม.2 หน่วย 3supap6259
 
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdf
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdfโครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdf
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdf
mimizung
 
หลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหารหลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหาร
Panuwat Beforetwo
 
เฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรก
เฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรกเฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรก
เฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรก
Wichai Likitponrak
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O-net ปี53
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O-net ปี53ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O-net ปี53
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O-net ปี53
flimgold
 
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖Makiya Khompong
 
Chem equation
Chem equation  Chem equation
Chem equation
Saipanya school
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
Theeraphisith Candasaro
 
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 4 โจทย์ปัญหาการบวกเศษส่วน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 4 โจทย์ปัญหาการบวกเศษส่วนชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 4 โจทย์ปัญหาการบวกเศษส่วน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 4 โจทย์ปัญหาการบวกเศษส่วน
KanlayaratKotaboot
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
Thongsawan Seeha
 
Ijso biology 2561
Ijso biology 2561Ijso biology 2561
Ijso biology 2561
Wichai Likitponrak
 
Ethics of psychologists (จรรยาบรรณนักจิตวิทยา)
Ethics of psychologists (จรรยาบรรณนักจิตวิทยา)Ethics of psychologists (จรรยาบรรณนักจิตวิทยา)
Ethics of psychologists (จรรยาบรรณนักจิตวิทยา)
Ritthiporn Lekdee
 
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ป.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ป.6 ชุด 1ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ป.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ป.6 ชุด 1
Manas Panjai
 
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
gchom
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาprimpatcha
 

What's hot (20)

1แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 1)
1แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 1)1แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 1)
1แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 1)
 
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
 
แนวข้อสอบอภิธรรมปิฎก (เวิร์ด)
แนวข้อสอบอภิธรรมปิฎก (เวิร์ด)แนวข้อสอบอภิธรรมปิฎก (เวิร์ด)
แนวข้อสอบอภิธรรมปิฎก (เวิร์ด)
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 3
สุขฯ ม.2 หน่วย 3สุขฯ ม.2 หน่วย 3
สุขฯ ม.2 หน่วย 3
 
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdf
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdfโครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdf
โครงงานคณิตศาสตร์math_box_lock_ความเย็น.pdf
 
หลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหารหลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหาร
 
เฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรก
เฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรกเฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรก
เฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรก
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O-net ปี53
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O-net ปี53ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O-net ปี53
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O-net ปี53
 
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖
 
Chem equation
Chem equation  Chem equation
Chem equation
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
 
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 4 โจทย์ปัญหาการบวกเศษส่วน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 4 โจทย์ปัญหาการบวกเศษส่วนชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 4 โจทย์ปัญหาการบวกเศษส่วน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เล่มที่ 4 โจทย์ปัญหาการบวกเศษส่วน
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
Ijso biology 2561
Ijso biology 2561Ijso biology 2561
Ijso biology 2561
 
Ethics of psychologists (จรรยาบรรณนักจิตวิทยา)
Ethics of psychologists (จรรยาบรรณนักจิตวิทยา)Ethics of psychologists (จรรยาบรรณนักจิตวิทยา)
Ethics of psychologists (จรรยาบรรณนักจิตวิทยา)
 
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ป.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ป.6 ชุด 1ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ป.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ป.6 ชุด 1
 
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
 

Viewers also liked

Guerrero- Group Generator
Guerrero- Group GeneratorGuerrero- Group Generator
Guerrero- Group Generator
TLBaldwin1
 
Vita di don orione in italiano (1)
Vita di don orione in italiano (1)Vita di don orione in italiano (1)
Vita di don orione in italiano (1)
adamoa4
 
The Genocide against Mayan Peoples in Guatemala during the 80s
The Genocide against Mayan Peoples in Guatemala during the 80sThe Genocide against Mayan Peoples in Guatemala during the 80s
The Genocide against Mayan Peoples in Guatemala during the 80s
vgrinb
 
พระพุทธศาสนาในสหรัฐ
พระพุทธศาสนาในสหรัฐพระพุทธศาสนาในสหรัฐ
พระพุทธศาสนาในสหรัฐ
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Open development, the story behind open data
Open development, the story behind open dataOpen development, the story behind open data
Open development, the story behind open data
Arjan Fassed
 
Don orione nel mondo in italiano (1)
Don orione nel mondo in italiano (1)Don orione nel mondo in italiano (1)
Don orione nel mondo in italiano (1)
adamoa4
 
Elizabeth paniccia
Elizabeth panicciaElizabeth paniccia
Elizabeth paniccia
elizabethpaniccia
 
Using punctuation marks
Using punctuation marksUsing punctuation marks
Using punctuation marks
Eric Cruz
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Algemene Rekenkamer: Transparantie in de 21ste eeuw
Algemene Rekenkamer: Transparantie in de 21ste eeuwAlgemene Rekenkamer: Transparantie in de 21ste eeuw
Algemene Rekenkamer: Transparantie in de 21ste eeuw
Arjan Fassed
 
Social media presentation - template
Social media presentation - templateSocial media presentation - template
Social media presentation - template
darkskyamee
 
ios 5 arc完全指南
ios 5 arc完全指南ios 5 arc完全指南
ios 5 arc完全指南lambokini
 
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...
Jonas Rosland
 
Democratische basis open data
Democratische basis open dataDemocratische basis open data
Democratische basis open data
Arjan Fassed
 
305
305305
Activity e Ciclo de Vida de Activity
Activity e Ciclo de Vida de ActivityActivity e Ciclo de Vida de Activity
Activity e Ciclo de Vida de Activity
Messias Batista
 
Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.
KUMAR LANG
 

Viewers also liked (20)

Guerrero- Group Generator
Guerrero- Group GeneratorGuerrero- Group Generator
Guerrero- Group Generator
 
Vita di don orione in italiano (1)
Vita di don orione in italiano (1)Vita di don orione in italiano (1)
Vita di don orione in italiano (1)
 
The Genocide against Mayan Peoples in Guatemala during the 80s
The Genocide against Mayan Peoples in Guatemala during the 80sThe Genocide against Mayan Peoples in Guatemala during the 80s
The Genocide against Mayan Peoples in Guatemala during the 80s
 
พระพุทธศาสนาในสหรัฐ
พระพุทธศาสนาในสหรัฐพระพุทธศาสนาในสหรัฐ
พระพุทธศาสนาในสหรัฐ
 
บทที่ ๕ สรุปใหม่
บทที่ ๕ สรุปใหม่บทที่ ๕ สรุปใหม่
บทที่ ๕ สรุปใหม่
 
Open development, the story behind open data
Open development, the story behind open dataOpen development, the story behind open data
Open development, the story behind open data
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
 
Don orione nel mondo in italiano (1)
Don orione nel mondo in italiano (1)Don orione nel mondo in italiano (1)
Don orione nel mondo in italiano (1)
 
Elizabeth paniccia
Elizabeth panicciaElizabeth paniccia
Elizabeth paniccia
 
Using punctuation marks
Using punctuation marksUsing punctuation marks
Using punctuation marks
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
 
Algemene Rekenkamer: Transparantie in de 21ste eeuw
Algemene Rekenkamer: Transparantie in de 21ste eeuwAlgemene Rekenkamer: Transparantie in de 21ste eeuw
Algemene Rekenkamer: Transparantie in de 21ste eeuw
 
Social media presentation - template
Social media presentation - templateSocial media presentation - template
Social media presentation - template
 
ios 5 arc完全指南
ios 5 arc完全指南ios 5 arc完全指南
ios 5 arc完全指南
 
บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)
 
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...
 
Democratische basis open data
Democratische basis open dataDemocratische basis open data
Democratische basis open data
 
305
305305
305
 
Activity e Ciclo de Vida de Activity
Activity e Ciclo de Vida de ActivityActivity e Ciclo de Vida de Activity
Activity e Ciclo de Vida de Activity
 
Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.
 

Similar to บทที่ ๓ ใหม่

หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาหลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาNew Nan
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
maruay songtanin
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrareciteTongsamut vorasan
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
สาวิณี
สาวิณีสาวิณี
สาวิณีsawinee37
 
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
utumporn charoensuk
 
Wansamkarn tippaya
Wansamkarn tippayaWansamkarn tippaya
Wansamkarn tippayatippaya6563
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)
Sarawut Sangnarin
 
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานAnchalee BuddhaBucha
 
หน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธหน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธprimpatcha
 

Similar to บทที่ ๓ ใหม่ (20)

บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาหลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
สาวิณี
สาวิณีสาวิณี
สาวิณี
 
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
 
Wansamkarn tippaya
Wansamkarn tippayaWansamkarn tippaya
Wansamkarn tippaya
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)
 
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 
หน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธหน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธ
 
งาน
งานงาน
งาน
 

More from วัดดอนทอง กาฬสินธุ์

กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
รูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนารูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนา
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

More from วัดดอนทอง กาฬสินธุ์ (20)

กถาวัตถุ
กถาวัตถุกถาวัตถุ
กถาวัตถุ
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
 
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
 
รูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนารูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนา
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Pptธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
 
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำรายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
 

บทที่ ๓ ใหม่

  • 1. บทที่ ๓ กระบวนการพัฒนาสังขารในพระพุทธศาสนาเถรวาท ในบทนี้จะได้ศึกษากระบวนการพัฒนาสังขารตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา เพื่อให้ทราบว่า กระบวนพัฒนาสังขารเป็นอย่างไร เพื่อจะได้นําเอาข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปเป็น แนวทางในการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการทํางานของสังขารเพื่อนําไปสู่การบรรลุธรรมในบท ต่อไป ๓.๑ กระบวนการพัฒนาสังขารในพระไตรปิฎกและอรรถกถา จากหลักฐานในพระไตรปิฎกตอนที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในที่นี้พระองค์ทรงแสดงให้เห็นอริยสัจสี่ก่อน คือให้ รู้จัก ทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ คําว่า ทุกข์ ในที่นี้ พระองค์หมายถึง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ สมุทัย สาเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา ความทะยาน อยากในกามคุณ ความทุกข์เหล่านี้จะดับลงได้ด้วยการดับสาเหตุของทุกข์โดยการปฏิบัติตามวิธีการ คือปฏิบัติตามมรรคมีองค์๘ประการในการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรกนี้ทําให้อัญญาโกณฑัญญะ ผู้ที่มีอายุมากกว่าปัญญจวัคคีย์อื่นๆ ได้บรรลุธรรม0 ๑ หลังจากนั้นพระองค์ให้ปัญจวัคคีย์ที่เหลืออบรมจิตใจเพื่อรอความแก่กล้าของอินทรีย์ หรือสังขารก่อน เมื่อรอเวลาพอสมควรแล้ว พระองค์จึงแสดงเรื่องไตรลักษณ์ ลักษณะที่มีความ เสมอกัน ๓ ประการของสังขาร คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนที่ แท้จริง การแสดงพระธรรมเทศนาครั้งนี้ พระองค์ใช้วิธีการ ถาม ตอบ กับปัญจวัคคีย์เช่น พระองค์ ตรัสถามว่า สังขาร เที่ยง หรือไม่เที่ยง พวกปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระองค์ถามต่อไปว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข พวกปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า เป็นทุกข์ พระองค์ถามให้ พวกปัญจวัคคีย์ตอบไปอย่างนี้จนครบ ๕ ขันธ์นับตั้งแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ไปจนถึงวิญญาณ ในการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งนี้ทําให้พวกปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระอรหันต์ครบทุกรูป1 ๒ ๑ ดูรายละเอียดใน วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๓-๑๙/๒๐-๒๗. ๒ ดูรายละเอียดใน วิ. ม. (ไทย) ๔/๒๐-๒๔/๒๗-๓๑.
  • 2. ๔๘ จากนั้นมาไม่นานมีลูกชายของเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อว่า ยสะเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตการ ครองเรือน จึงหนีออกจากบ้านในตอนกลางคืน เขาเดินเปล่งอุทานมาว่า ที่นี่ยุ่งหนอ ที่นี่วุ่นวาย หนอ ขณะที่เขาเดินไปป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น เป็นเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธองค์กําลังเสด็จเดิน จงกรมอยู่ได้ยินเสียงของเขา พระองค์จึงเรียกให้เขาเข้าไปหาด้วยบอกว่า เชิญมาที่นี่ ที่นี่ไม่ยุ่ง ที่นี่ ไม่วุ่นวาย ยสะเดินเข้าไปหาพระพุทธองค์แล้ว พระองค์ได้แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง อนุปุพพีกถา เป็นการกล่าวถึง การให้ทาน การรักษาศีล การไปเกิดในสวรรค์ โทษของการเสพกามคุณใน สวรรค์ จากนั้นกล่าวถึงอานิสงส์ของการออกบวช เมื่อจบพระธรรมเทศนา ยสะ ได้ดวงตาเห็น ธรรมคือได้สําเร็จเป็นพระโสดาบัน เมื่อตอนสายของวันนั้น บิดาของยสะ ไม่เห็นลูกชายจึงออก ตามหา ไปพบพระพุทธองค์ในที่เดียวกันพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาเนื้อความเหมือนกันให้ฟัง เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ยสะ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนบิดาได้บรรลุโสดาบัน จากนั้นทั้ง สองพ่อลูกได้กราบทูลนิมนต์พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระปัญจวัคคีย์ไปรับภัตตาหารที่บ้านของตน เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วพระองค์แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์เดียวกันนี้ให้แก่ภรรยาของอุบาสกทั้งสอง ฟังเมื่อจบพระธรรมเทศนา อุบาสิกาทั้งสองนั้นได้บรรลุโสดาบันเหมือนกัน2 ๓ เนื้อความจากพระสูตรที่ได้กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการพัฒนาสังขารที่พระ พุทธองค์ทรงใช้ในการสอน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายผู้สอน และฝ่ายผู้เรียน ฝ่ายผู้สอนคือพระ พุทธองค์ได้เห็นกระบวนการสอนของพระพุทธองค์อยู่หลายวิธี หลายขั้นตอน ดังนี้ ๑) ทรงชี้ให้เห็นปัญหาหรือเห็นทุกข์ก่อน เปรียบเหมือนชี้ให้คนไข้รู้จักก่อนว่าตัวเอง เป็นโรคอะไร เมื่อรู้แล้วจึง แนะนําให้หาสาเหตุของปัญหา หรือของทุกข์ เมื่อรู้จักสาเหตุแล้ว จึง แนะนําวิธีแก้ปัญหาหรือแก้ทุกข์ให้ วิธีนั้นก็คือ อิรยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ๒) ทรงรอเวลาหรือความพร้อมของผู้ฟังหรือผู้เรียนก่อน ขั้นตอนนี้เหมือนกับหมอ รักษาคนไข้ว่าคนไข้พร้อมที่จะรับการรักษาหรือยัง พระธรรมเทศนาของพระองค์เปรียบเหมือนยา รักษาโรค ๓) ทรงเลือกพระธรรมเทศนาให้เหมาะกับผู้เรียนหรือผู้ฟัง เช่น ทรงแสดงอริยสัจสี่แก่ พวกปัญจวัคคีย์ แต่ทรงเลือกอนุปุพพีกถา แก่ ยสะ และบิดา มารดา พร้อมด้วยภรรยาของเขา ฝ่ายผู้ฟังได้เห็นว่า กระบวนการพัฒนาสังขารของผู้ฟัง อาศัยเหตุ ๒ อย่าง คือ เหตุใน อดีตและเหตุในปัจจุบัน เหตุในอดีต ได้แก่ เคยได้สร้างสมอบรมบารมีมาก่อน หลายภพหลายชาติ ๓ ดูรายละเอียดใน วิ. ม. (ไทย) ๔/๒๕-๓๐/๓๑-๓๙.
  • 3. ๔๙ เรียกตามศัพท์พระพุทธศาสนาว่า ปุพเพกตปุญญตา เหตุในปัจจุบัน ได้แก่ การวางตนไว้ดี คือ ดําเนินชีวิตถูกตามทํานองคลองธรรม ภาษาบาลีว่า อัตตสัมมาปณิธิ ที่ว่าเคยทําเหตุไว้ในอดีต เพราะว่าแต่ละรูป แต่ละคน มีประวัติอันยาวนานเกี่ยวกับการสร้างบุญบารมี เช่น อัญญาโกณฑัญญะ เคย ได้ทําบุญและอธิษฐานต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าปทุมุตตระไว้ว่า ขอให้ได้บรรลุธรรมใน พระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งก่อนกว่าสาวกคนอื่น3 ๔ ยสกุลบุตร เคยบําเพ็ญอสุภ สัญญามาก่อน ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนเหมือนกัน4 ๕ จากหลักการของอริยสัจสี่ที่พระองค์ทรงค้นพบนี้ พระองค์จึงวางเป็นหลักในการ พัฒนาจิตวิญญาณของสาวกสืบต่อมา จะเห็นหลักฐานเหล่านี้ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา หลายแห่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ เมื่อย่อลงให้สั้น ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไตรสิกขา จึงกล่าวได้ว่ากระบวนการพัฒนาสังขารในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ได้วางหลัก ไตรสิกขาไว้ได้แก่ ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา หรือเรียกสั้นๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เหตุผลที่ พระองค์ได้วางหลักไตรสิกขาไว้ก็เพราะต้องการให้ผู้ศึกษาเป็นคนดีก่อน จึงสอนเรื่องปัญญาให้ เพราะถ้าคนไม่ดีมีปัญญาเขาก็จะนําเอาปัญญาไปสร้างความเดือดร้อนให้ทั้งตนเองและคนอื่น เพราะ ขาดการยับยั้งชั่งใจ เพราะคนที่มีปัญญาแต่ไม่มีศีล และสมาธิคอยควบคุมจะหาทางเอาเปรียบคนอื่น เป็นคนแข็งกระด้าง ก้าวร้าวไม่ยําเกรงผู้อื่น ในส่วนของศีลสิกขา หรือศีล พระองค์ได้วางหลักที่ต่อมามีการจัดหมวดหมู่เรียกว่า ปาริสุทธิศีล ๔ ประการไว้ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล คือการสํารวมระวังในศีลหรือสิกขาบทที่มาใน พระปาฏิโมกข์สําหรับพระภิกษุมีทั้งหมด ๒๒๗ สิกขาบท มีปาราชิก ๔ เป็นต้น อินทรียสังวรศีล ได้แก่ การสํารวมอินทรีย์ คือสํารวมระวังอายตนะภายใน ๖ อย่าง มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ อายตนะภายนอก ๖ อย่าง มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ อาชีวปาริสุทธิศีล ได้แก่ การเลี้ยง ชีพที่บริสุทธิ์ กล่าวคือไม่หลอกลวงคนอื่นเลี้ยงชีพ ปัจจัยสันนิสสิตศีล ได้แก่การสํารวมระวังใน การใช้สอยปัจจัยสี่ มีการบริโภคภัตตาหารเป็นต้น ให้รู้จักประมาณหรือความพอดีในการบริโภคใช้ สอยปัจจัยนั้นๆ ในส่วนของจิตตสิกขาหรือสมาธิ พระองค์ได้วางหลักการฝึกจิตไว้หลายอย่างเรียกว่า “สมถกรรมฐาน” แปลว่า กรรมฐานที่ทําให้จิตใจสงบระงับจากกิเลสชั่วคราว มีอานาปานสติ กรรมฐาน อนุสสติกรรมฐาน อสุภะกรรมฐาน เป็นต้น ๔ ดูรายละเอียดใน ขุ.อป. (ไทย) ๓๒/๕๙๖/๙๑, ขุ.อป.อ. (ไทย) ๑/๓๐๖-๓๑๐, ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๕๔. ๕ ดูรายละเอีดยใน ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๑-๒๘/๓๓๕-๓๓๙, ขุ.อป.อ. (ไทย) ๒/๒๕๓-๒๕๗, ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๕๔.
  • 4. ๕๐ ในส่วนของปัญญาสิกขาหรือปัญญา พระองค์ได้วางหลักการฝึกจิตเพื่อให้เกิดปัญญา หรือให้ปัญญาเกิดขึ้นเรียกว่า “วิปัสสนากรรมฐาน” แปลว่ากรรมฐานที่ทําให้เห็นแจ้งคือเห็น ธรรมชาติของจิตใจแจ่มแจ้งขึ้น มีมหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น สําหรับหมวดธรรมที่เป็นบาทฐานของ ปัญญาหรือของวิปัสสนานั้น พระพุทธองค์ได้วางหมวดธรรมเหล่านี้คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์๒๒ และอริยสัจ ๔ ในบรรดาหมวดธรรมเหล่านี้ สามารถนํามาปฏิบัติเฉพาะหมวดใด หมวดหนึ่งก็สามารถทําให้บรรลุธรรมได้หรือสามารถทําให้ธรรมะหมวดอื่นๆบริบูรณ์ไปด้วย ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ ได้วางโครงสร้างตามแนวพระไตรปิฎก คือ ได้วางหลักศีลสมาธิ ปัญญาตามลําดับแต่มีรายละเอียดเพิ่มเข้ามา ท่านแต่งคัมภีร์นี้จากพระพุทธพจน์ หนึ่งคาถาที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบแก่เทวดาที่มาทูลถามปัญหาซึ่งมีใจความว่า หมู่สัตว์ยุ่งทั้งภายใน ยุ่งทั้งภายนอก ถูกความยุ่งพาให้นุงนังแล้ว ข้าแต่พระโคดม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า ใครพึงแก้ความยุ่งนี้ได้5 ๖ พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบเป็นคาถาว่า นรชนผู้มีปัญญา เห็นภัยในสังสารวัฏ ดํารงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญา มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร นั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้6 ๗ จากเนื้อความพระคาถานี้เอง พระพุทธโฆสเถระได้นํามาเป็นกระบวนการพัฒนาสังขาร โดยเริ่มต้นด้วยหลักของศีล ในส่วนของศีลท่านได้ตั้งปัญหาขึ้นไว้เพื่อค้นหาคําตอบด้วยตนเอง ท่าน ตั้งปัญหาว่า อะไรชื่อว่าศีล ที่ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่ากระไร อะไร เป็นลักษณะ เป็นรส เป็นอาการ ปรากฏและเป็นปทัฏฐานของศีล ศีลมีอานิสงส์อย่างไร ศีลนี้มีกี่อย่าง อะไรเป็นความเศร้าหมองของ ศีล และ อะไรเป็นความผ่องแผ้วของศีล7 ๘ ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาว่า อะไร ชื่อว่าศีล ท่านแก้ว่า ธรรมทั้งหลายมีเจตนาเป็นต้นของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น และของบุคคลผู้บําเพ็ญ ๖ สํ. ส. (ไทย) ๑๕/๒๓/๒๖, วิสุทฺธิ. (ไทย) ๑/๑. ๗ สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๒๓/๒๗, วิสุทธิ. (ไทย) ๑/๑. “สีเล ปติฏฺฐาย นโร สป�ฺโญ, จิตฺตํป�ฺญ�ฺจ ภาวยํ. อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ, โส อิมํวิชฏเย ชฏํ.” ๘ วิสุทฺธิ. (ไทย) ๖/๙.
  • 5. ๕๑ วัตตปฏิบัติ ชื่อว่าศีล โดยท่านอ้างถึงคําพูดวิสัชนาของพระสารีบุตรเถระมาสนับสนุนคําวิสัชนาของ ท่าน พระสารีบุตรกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคว่า เจตนาชื่อว่าศีล เจตสิกชื่อว่าศีล สังวรชื่อว่า ศีล การไม่ล่วงละเมิดชื่อว่าศีล8 ๙ เมื่อแก้ปัญหาข้อนี้จบแล้วท่านก็แก้ปัญหาข้ออื่นๆ ต่อไปโดยนําเอา หลักฐานในพระไตรปิฎกมาสนับสนุนความคิดของท่านไม่ได้คิดเอาเองโดยปราศจากหลักฐานเดิม การพัฒนาในขั้นของสมาธิท่านได้นํากระบวนการพัฒนาโดยเริ่มต้นด้วยการให้ปฏิบัติ สมถกรรมฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎก แต่ก่อนที่จะนําเสนอประเภทของสมถกรรมฐานเหล่านั้น ท่านได้ตั้งปัญหาขึ้นเหมือนกับที่ตั้งปัญหาในส่วนของศีลเช่นเดียวกัน เมื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ จบแล้วท่านจึงแสดงประเภทของกรรมฐานต่อไป สมถกรรมฐานที่ท่านแนะนําไว้ในคัมภีร์ วิสุทธิมรรคมีอยู่ ๔๐ อย่างด้วยกัน ประกอบด้วย กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อารุปปะ ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑9 ๑๐ การพัฒนาสังขารในส่วนของปัญญาในเบื้องต้นท่านได้ตั้งปัญหาขึ้นมาเหมือนกับสอง หัวข้อแรกว่า อะไรชื่อว่าปัญญา ที่ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถว่าอะไร ลักษณะ กิจ ผล เหตุใกล้ ของ ปัญญานั้น เป็นอย่างไร ปัญญามีกี่อย่าง จะเจริญปัญญาอย่างไร และการเจริญปัญญามีอานิสงส์ อย่างไร จากนั้นท่านก็วิสัชนาปัญหาเหล่านี้ไปตามลําดับ ยกตัวอย่างมาให้ดูสักเล็กน้อย ก่อนอื่น ท่านออกตัวว่า ปัญญามีหลายอย่างถ้าจะพูดหมดทุกอย่างก็จะทําให้เสียเวลา จะพูดเอาเฉพาะปัญญา ที่ประสงค์เอาในการแต่งคัมภีร์นี้ว่า วิปัสสนาญาณที่ประกอบด้วยกุศลจิตชื่อว่า ปัญญา ปัญหาข้อที่ ๒ ว่า อะไรชื่อว่าปัญญา ท่านแก้ว่า ความรู้ชัด คือรู้โดยประการต่างๆ พิเศษกว่าความหมายรู้และ ความรู้แจ้ง ซึ่งหัวข้อเหล่านี้ท่านแสดงไว้ในขันธนิเทศ เนื้อหาส่วนใหญ่พูดถึงขันธ์ ๕ กระบวนการ ต่อไปเป็นอายตนธาตุนิเทศ พูดถึงอายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ประการ จากนั้นเป็นอินทริยสัจจนิเทศ พูดถึงอินทรีย์๒๒กับอริยสัจ๔จากนั้นเป็นปัญญาภูมินิเทศพูดถึงปฏิจจสมุปบาท สุดท้ายท่านพูดถึง วิสุทธิ ๗ โดยเริ่มด้วยทิฏฐิวิสุทธินิเทศ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทา- ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ และสุดท้ายพูดถึงอานิสงส์ของการเจริญภาวนา สรุปว่า ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาเน้นการพัฒนาสังขารระดับโลกุตระตามหลัก ไตรสิกขาหรืออริยมรรค มุ่งการบรรลุมรรคผลนิพพาน ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ไม่ทรงละเลยการ พัฒนาสังขารระดับโลกิยะสําหรับกัลยาณปุถุชนซึ่งจะเป็นบาทฐานของการพัฒนาระดับโลกุตระ ต่อไป การพัฒนาสังขารระดับโลกิยะและระดับโลกุตตระ จะกล่าวในหัวข้อถัดไป ๙ ขุ.ป. (ไทย) ๓๑/๓๙/๖๐. ๑๐ วิสุทฺธิ. (ไทย) ๔๗/๑๘๒.
  • 6. ๕๒ ๓.๒ เป้ าหมายของการพัฒนาสังขารในพระพุทธศาสนา เป้าหมายในการพัฒนาสังขารตามหลักพระพุทธศาสนา ได้แก่ ประโยชน์ที่จะพึงได้รับ จากการพัฒนาซึ่งมีทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์คนอื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งสามารถจัดแบ่ง ประโยชน์ได้ ๒ ระดับคือ ระดับโลกิยะ และระดับโลกุตตระ มีรายละเอียด ดังนี้ ประโยชน์ตน ได้แก่ ความเป็นอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ถูกต้องตามหลักคําสอนของ พระพุทธศาสนา ไม่ถูกกิเลสรบกวนจิตใจมากนัก ไม่เป็นทาสของกิเลส ดําเนินชีวิตด้วยความไม่ ประมาท มีธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึกของจิตใจ ในระดับโลกิยะ มีทั้งประโยชน์ในปัจจุบันและ ประโยชน์ในอนาคต หรือประโยชน์ในโลกนี้กับประโยชน์ในโลกหน้าหลังจากตายแล้ว เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์และสัมปรายิกัตถประโยชน์ ระดับโลกุตตระคือพ้นจากกิเลสโดยเด็ดขาด เป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่ขั้นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ประโยชน์คนอื่น เป็นเป้าหมายสําคัญของพระพุทธศาสนา จะเห็นได้จากพุทธประวัติตอน ที่พระองค์ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาใหม่ๆ ในพรรษาแรกพระองค์ทรงเน้นว่า ให้แต่ ละรูปไปคนเดียวห้ามไปด้วยกัน เพราะตอนนั้นพระสาวกมีน้อย ทรงกําชับว่า ให้เที่ยวไปเพื่อ ประโยชน์เพื่อความสุข เพื่อเกื้อกูลแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก จาก หลักฐานในพุทธประวัติพระพุทธองค์ไม่ทรงคํานึงถึงความเหน็ดเหนื่อยของพระองค์เมื่อมีเวไนย บุคคลที่จะได้บรรลุธรรมถึงแม้จะอยู่ไกลแค่ไหนพระองค์ก็จะรีบเสด็จไปโปรดคนนั้น เช่น พระองค์เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสปเถระในวันที่ท่านออกบวชสิ้นระยะทาง ๓ คาวุต เสด็จ ดําเนินไปสิ้นระยะทางเกิน ๓๐๐ โยชน์ เพื่อแสดงธรรมที่ฝั่งแม่นํ้าคงคา ให้พระเจ้ามหากัปปินะ พร้อม ทั้งบริวารดํารงอยู่ในอรหัตตผล ในเวลาหลังภัตคราวหนึ่ง ได้เสด็จดําเนินสิ้นระยะทาง ๔๕ โยชน์ เพื่อตรัสธรรมีกถาตลอด ๓ ยาม ในที่อยู่ของนายช่างหม้อ เพื่อโปรดปุกกุสาติหลังจากจบการ แสดงธรรมปุกกุสาติได้บรรลุอนาคามิผล เสด็จดําเนินไป ๒,๐๐๐ โยชน์ เพื่ออนุเคราะห์วนวาสี สามเณร เสด็จดําเนินไป ๖๐ โยชน์เพื่อแสดงธรรมแก่พระขทิรวนิยเถระ10 ๑๑ จากตัวอย่างที่ยกมานี้แสดงให้เห็นความมีพระมหากรุณาของพระองค์ที่มุ่งหวังประโยชน์ คนอื่นโดยไม่ทรงคํานึงถึงความเหน็ดเหนื่อยของพระองค์ ส่วนประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นนั้น จะเห็นได้จากการที่ พระองค์ทรงวางหลักการพัฒนาสังขารทั้งส่วนที่เป็นของปัจเจกบุคคลและส่วนที่เป็นของสังคม ตามหัวข้อว่าด้วยระดับขั้นของการพัฒนาสังขารที่จะศึกษาต่อไป ๑๑ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน ม.มู.อ. (ไทย) ๒/๓๘.
  • 7. ๕๓ ๓.๓ ระดับขั้นการพัฒนาสังขารตามทรรศนะของพระพุทธศาสนา เมื่อมีบุคคลหลายพวก หลายระดับ จุดประสงค์หรือเป้ าหมายของคนแต่ละพวกจึง แตกต่างกัน พวกบรรพชิตต้องการความหลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิง ส่วนพวกฆราวาสต้องการให้ ความทุกข์ลดน้อยลง ดังนั้น พระองค์จึงวางหลักการการพัฒนาสังขารของคน ๒ กลุ่มนี้ต่างกัน คือ สําหรับฆราวาส เน้นระดับโลกียะ แต่พระองค์ก็ไม่ได้ปิดกั้นระดับโลกุตตระสําหรับฆราวาส ตาม หลักฐานในพระไตรปิฎกและอรรถกถาจะเห็นว่า ฆราวาสได้บรรลุเป็นอริยบุคคลระดับโสดาบัน จนถึงอนาคามี หลายคน เช่น นางวิสาขา มหาอุบาสิกา ได้บรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ปี1 1 ๑๒ วิสาขะ อุบาสก ได้บรรลุอนาคามี เป็นต้น1 2 ๑๓ ส่วนพวกบรรพชิต เน้นระดับโลกุตตระ ระดับโลกียะ พระองค์ได้วางหลักธรรมตามที่กล่าวแล้วในหัวข้อที่ผ่านมา ส่วนระดับโลกุตตระ พระองค์วางหลัก สมถวิปัสสนากรรมฐานไว้และหลักธรรมอื่นๆ รวมทั้งข้อปฏิบัติคือวินัยหรือสิกขาบทต่างๆ สําหรับ พระสงฆ์ โดยมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่การพัฒนาสังขารระดับโลกียะจะเป็นบาทฐานของ การพัฒนาสังขารในระดับโลกุตระ อย่างไรก็ตาม เครื่องมือสําคัญที่ใช้ในการพัฒนาทั้งสองระดับนี้ยังเป็นไตรสิกขา เหมือนเดิม ต่างกันแต่ความเข้มข้นของการปฏิบัติ เท่านั้น โดยแบ่งเป็นระดับขั้นเป็น ๓ ขั้น คือ ๑) ระดับพื้นฐาน ได้แก่ ศีล ๒) ระดับกลาง ได้แก่ สมาธิ ๓) ระดับสูง ได้แก่ ปัญญา13 ๑๔ ซึ่งรายละเอียด ของเรื่องนี้จะกล่าวในหัวข้อต่อไป ในที่นี้จะนํามากล่าวพอเป็นแนวทาง ดังนี้ ๓.๓.๑ ขั้นโลกียะ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเป็นอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และปลอดภัย ไม่ถูกเอารัดเอา เปรียบหรือไม่ถูกคนอื่นรังแก พระพุทธองค์ได้วางหลักการพัฒนาไว้แบ่งตามประเภทของบุคคล คือ บรรพชิตและคฤหัสถ์ ดังนี้ การพัฒนาระดับปัจเจกบุคคล มุ่งเน้นให้แต่ละบุคคลพัฒนาตนเองตามกรอบที่พระองค์ ได้วางไว้ ตั้งแต่ระดับโลกียะ คือระดับธรรมดาของโลกมนุษย์ที่จะพึงพัฒนาตนเองตาม กําลังสติปัญญา จนถึงระดับโลกุตระ คือระดับเหนือโลกได้แก่การพัฒนาจนยกจิตใจให้อยู่เหนือ การควบคุมของโลก จากเนื้อความในธัมมจักกัปปวัตนสูตรและในอนัตตลักขณสูตรที่พระองค์ใช้ สอนพวกปัญจวัคคีย์กับสอนยสกุลบุตร บิดา มารดาและภรรยาของเขานั้นทําให้ทราบว่า ระดับการ ๑๒ ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (บาลี) ๑/๑๕๗/๑๗๑, ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๒๑๔-๒๓๒. ๑๓ ดูรายละเอียดใน ขุ.เถรี.อ. (บาลี) ๑๒/๑๑-๑๕, ขุ.เถรี.อ. (ไทย) ๑๒/๑๑-๑๓. ๑๔ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๖๙, องฺ.อฏฺฐก. (ไทย) ๒๓/๓๖/๒๙๔.
  • 8. ๕๔ รับรู้ของแต่ละคนไม่เท่ากันและพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงจึงแตกต่างกัน จากเรื่องนี้ทําให้ทราบ ว่า ความหลากหลายของผู้ฟัง วิธีการสอนจึงแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะกับผู้ฟัง การใช้วิธีเลือก บทเรียนที่เหมาะกับผู้เรียนเป็นวิธีที่ประสบความสําเร็จทั้งผู้สอนและผู้เรียน ดังตัวอย่างที่กล่าว มาแล้วนั้น แต่เมื่อมีคนเป็นจํานวนมาก พระองค์ไม่สามารถที่จะสอนได้ทุกคน พระองค์จึงได้วาง หลักการไว้เพื่อให้สาวกนําไปปฏิบัติด้วยตนเอง ทั้งในระดับโลกียะและโลกุตตระ หลักการที่พระพุทธองค์ทรงแนะนําในการพัฒนาระดับโลกียะมี ๓ ระดับด้วยกัน คือ ระดับเบื้องต้น ได้แก่ “การให้ทาน” เป็นการขจัดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัวออกจากจิตใจก่อน ระดับกลาง ได้แก่ “การรักษาศีล” เมื่อขจัดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัวได้แล้ว จิตใจเริ่มสะอาด ปลอดโปร่งมากขึ้น จิตใจจะเกิดความรัก ความเมตตา ต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์อื่น มีความ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น ความคิดที่จะฆ่า จะทําร้ายเพื่อนมนุษย์ย่อมลดน้อยลง ศีลก็เกิดขึ้นในจิตใจ โดยอัตโนมัติ การพัฒนาระดับนี้จึงเรียกว่า การรักษาศีล เมื่อรักษาศีลได้ระดับหนึ่งแล้ว จิตใจเริ่มตั้ง มั่นแน่วแน่ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบ เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ที่จะทําให้เกิดความโกรธ ความพยาบาท ความอาฆาตขึ้น จิตใจก็รู้ทัน สามารถระงับยับยั้งไว้ได้ จิตใจที่อยู่ในระดับนี้เรียกว่า ระดับ “ภาวนา” การพัฒนาทั้ง ๓ ระดับนี้ เรียกว่า หลักบุญกิริยาวัตถุ14 ๑๕ การพัฒนาสังขารระดับโลกียะแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มเป้าหมาย คือ เพื่อบรรพชิตและเพื่อ คฤหัสถ์ ก. หลักการเพื่อบรรพชิต หลักการเพื่อบรรพชิตแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับปัจเจกบุคคล และระดับสังคม ดังนี้ ระดับปัจเจกบุคคล หรือส่วนตัว พระองค์วางหลัก กฎ ระเบียบเพื่อความสะดวกแก่การ ประพฤติพรหมจรรย์ หลักพื้นฐานทั่วไปคือ นิสสัย ๔ อกรณียกิจ ๔ รวมเรียกว่าอนุศาสน์ ๘ ประการ1 5 ๑๖ ที่บรรพชิตจะต้องปฏิบัติตลอดชีวิต นิสสัย ๔ เป็นคําสั่งสอนเพื่อนําไปปฏิบัติ ได้แก่ บรรพชิตต้องบิณฑบาตเลี้ยงชีพ ต้องอยู่ตามป่า เขา โคนไม้ เรือนว่าง ที่เป็นสัปปายะแก่การ ประพฤติพรหมจรรย์หรือการปฏิบัติสมณธรรมเพื่อการบรรลุคุณธรรมเบื้องสูงที่เป็นเป้าหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา คือพระนิพพาน หรือความหมดกิเลสอาสวะทั้งหลาย อกรณียกิจ ๔ เป็นข้อ ๑๕ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๖๙, องฺ.อฏฺฐก. (ไทย) ๒๓/๓๖/๒๙๔. ๑๖ ดูรายละเอียดใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส, นวโกวาท, พิมพ์ครั้งที่ ๓๘, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๔๗๙), หน้า ๔.
  • 9. ๕๕ ห้ามไม่ให้ประพฤติ ถ้าขืนทําลงไปจะขาดจากความเป็นภิกษุ ไม่เจริญก้าวหน้าในการประพฤติ พรหมจรรย์ได้แก่ ไม่ให้เสพเมถุน ทั้งกับมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน ไม่ให้ลักขโมยสิ่งของของคน อื่น มีราคาเกิน ๕ มาสก หรือเทียบอัตราเงินไทย คือ ๑ บาท ไม่ให้ฆ่ามนุษย์ และไม่ให้พูดอวดคุณ วิเศษที่ไม่มีอยู่ในตัวเอง เช่น พูดว่า ได้บรรลุฌาน อภิญญา ได้บรรลุโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี เป็นต้น หลักการเพื่อนําไปพัฒนาตนเองให้เกิดความองอาจกล้าหาญ ได้แก่ เวสารัชชกรณธรรม ๕ ประการ คือ สัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา16 ๑๗ อริยทรัพย์ ทรัพย์ภายใน ๗ ประการ คือ สัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา17 ๑๘ อริยทรัพย์อีกนัยหนึ่ง คือ ๑) เป็นผู้ไม่มุ่งลาภ ๒) เป็นผู้ไม่มุ่งสักการะ ๓) เป็นผู้ไม่มุ่งชื่อเสียง ๔) เป็นผู้มีหิริ ๕) เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๖) เป็นผู้ มักน้อย18 ๑๙ สรุปแล้วหลักการทั้งสองนี้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นข้อปฏิบัติ ส่วนที่ สอง เป็นข้อห้าม ระดับสังคมหรือระดับสงฆ์ พระองค์วางหลัก อปริหานิยธรรม คือหลักปฏิบัติเพื่อ ความเจริญของหมู่คณะ รายละเอียดของหมวดธรรมนี้ ได้แก่ ให้มีการประชุมปรึกษาหารือกันบ่อย ๆ เมื่อประชุมกันก็ให้พร้อมเพรียงกันหรือให้ประชุมพร้อมกันเลิกพร้อมกัน ไม่บัญญัติสิ่งที่พระ ศาสดาไม่บัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ให้พากันสมาทานศึกษาในสิกขาบทตามที่ได้ บัญญัติไว้ ให้เคารพยําเกรงพระเถระผู้มีพรรษายุกาลมากกว่า เชื่อฟังถ้อยคําของท่าน ปฏิบัติตามที่ ท่านแนะนําสั่งสอน ไม่ตกไปในอํานาจของตัณหาที่เกิดขึ้นในจิตใจ ให้ยินดีในการอยู่ป่าที่เหมาะ แก่การประพฤติปฏิบัติสมณธรรม ให้ตั้งความปรารถนาไว้ในใจว่า ขอให้เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลที่ ยังไม่มาสู่วัดหรือที่อยู่ของตนขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่อย่างมีความสุข1 9 ๒๐ หลักอปริหานิยธรรม อีกนัยหนึ่ง คือ ๑) สมบูรณ์ด้วยศีล ๒) คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๓) รู้จักประมาณในการ บริโภค ๔) ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ20 ๒๑ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑) ความเป็นผู้ไม่ชอบการ งาน ๒) ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ๓) ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ๔) ความเป็นผู้ไม่ ๑๗ องฺ.ป�ฺจก. (ไทย) ๒๒/๑๕๘/๒๖๒. ๑๘ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๓๐/๓๓๑. ๑๙ องฺ.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๑/๒. ๒๐ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๓๖/๘๑-๘๓, องฺ.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๒๓/๓๗-๓๘. ๒๑ องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๓๗/๖๐.
  • 10. ๕๖ ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕) ความเป็นผู้ว่าง่าย ๖) ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี)2 1 ๒๒ หลัก สัปปุริสธรรม คือหลักปฏิบัติของสัตบุรุษ ได้แก่ การเป็นคนรู้จักกาลเทศะ รู้จักสถานที่ รู้จักบุคคลที่ ตนจะปฏิบัติต่ออย่างเหมาะสม เป็นต้น22 ๒๓ หลักสาราณียธรรม เป็นหลักธรรมเป็นเครื่องอยู่ด้วยกัน อย่างมีความสุขไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ให้อยู่ด้วยกันด้วยความรักความเมตตาต่อกัน เอื้อเฟื้อแก่กัน เป็นต้น23 ๒๔ ข. หลักการเพื่อคฤหัสถ์ หลักการเพื่อคฤหัสถ์แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับปัจเจกบุคคลและระดับสังคม ซึ่ง ทั้ง ๒ ระดับนี้ใช้หลักการพัฒนาอย่างเดียวกัน คือ ศีล ๕ ได้แก่ การไม่ทําร้าย เบียดเบียนกัน ไม่ลัก ขโมยทรัพย์สินของกัน ไม่ละเมิดสิทธิในคนรักของคนอื่น ไม่พูดโกหกหลอกลวงกัน ไม่หมกมุ่น กับการเสพสิ่งมึนเมาต่างๆ มีสุราเมรัย เป็นต้น2 4 ๒๕ ฆราวาสธรรม หลักธรรมที่ผู้อยู่ครองเรือนควร ประพฤติ ได้แก่ สัจจะ ความซื่อสัตย์ต่อกันระหว่างสามีกับภรรยา บิดามารดากับบุตร นายกับ ลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน เป็นต้น ทมะ และขันติ ความอดทน อดกลั้น ต่อความลําบากทางกาย และ ทางใจ จาคะ การสละแบ่งปันสิ่งของ ทรัพย์สินเงินทอง ที่ควรจะแบ่งปันแก่กัน ตลอดจนสละ อารมณ์ที่ทําให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา2 5 ๒๖ สังคหวัตถุ วัตถุเป็นเครื่อง สงเคราะห์กันและกัน ได้แก่ การให้ทาน การพูดจาด้วยถ้อยคําไพเราะ ใช้วจีสุจริต เว้นวจีทุจริต อัตถจริยา การทําประโยชน์แก่กัน สมานัตตตา วางตนให้พอเหมาะพอควรแก่ฐานะ ไม่หลงระเริง เมื่อประสบความสําเร็จ ไม่เศร้าโศกเซื่องซึมเมื่อผิดหวัง26 ๒๗ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หลักการเพื่อ ประโยชน์ในปัจจุบันคือในชาตินี้ ประกอบด้วย อุฏฐานสัมปทา ความขยัน ในการประกอบอาชีพ การงาน อารักขสัมปทา รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ กัลยาณมิตตตารู้จักคบมิตรหรือคบเพื่อน สมชีวิตา เลี้ยงชีพให้พอประมาณแก่ฐานะ ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้ งเฟ้ อเกินไป และไม่ประหยัดมัธยัสถ์จนทําให้ตน และคนใกล้ชิดลําบาก27 ๒๘ สัมปรายิกัตถประโยชน์ ประโยชน์ในภายหน้าหรือประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อตายไปแล้ว หลักในพระพุทธศาสนาสอนว่า ชาติหน้ามีจริง สิ่งจะติดตามผู้ที่ตายไปแล้วคือบุญ ๒๒ องฺ.ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๒๒/๔๕๒-๔๕๓. ๒๓ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๓๐/๓๓๓. ๒๔ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๙๒/๕๓๑-๕๓๒, ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๕๔/๕๙-๖๐. ๒๕ สํ.สฬา. (ไทย) ๑๘/๓๐๓/๓๒๕. ๒๖ สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๒๔๖/๓๕๔. ๒๗ ขุ.ชา. (ไทย) ๒๘/๑๗๘/๘๓. ๒๘ องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๓/๕๔/๓๔๐-๓๔๑.
  • 11. ๕๗ กุศลที่เคยทําไว้ตั้งแต่ตอนยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นพระองค์จึงวางหลักสัมปรายิกัตถประโยชน์ไว้เพื่อเป็น ทรัพย์สินที่ผู้ตายไปจะได้รับ ได้แก่ สัทธา ศีล จาคะ ปัญญา28 ๒๙ เมื่อกล่าวโดยสรุป หลักการทั้งสองนี้ ใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดย แบ่งเป็น ๓ ระดับ ดังที่กล่าวแล้ว ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงรายละเอียดของการพัฒนาทั้ง ๓ ขั้นนี้ โดยสังเขปดังนี้ (๑). ขั้นพื้นฐาน (ศีล) การพัฒนาสังขารระดับพื้นฐาน คือ การพัฒนาขั้นศีลธรรม จริยธรรม ได้แก่การพัฒนา พฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในทางที่เหมาะสมแก่ฐานะของตน เช่น การพัฒนาพฤติกรรม ของนักเรียนให้เป็นคนมีระเบียบวินัยในการเข้าห้องเรียนตามเวลา การตั้งใจฟังครูสอน ไม่เล่น ซุกซนในขณะที่ครูสอน ไม่ส่งเสียงดัง รู้จักการใช้ถ้อยคําที่เหมาะสมกับคนที่ตัวเองสื่อสารด้วย เช่น พูดกับพ่อแม่ ครู อาจารย์ เพื่อน ฝูง เป็นต้น การพัฒนาจิตใจให้เป็นคนอ่อนน้อม อ่อนโยน มี เมตตา กรุณา ต่อคนอื่น สัตว์อื่น ไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่น การพัฒนาสังขารระดับนี้ เป็นการพัฒนามุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์จากสัตว์ ทั่วไป กล่าวโดยทั่วไป มนุษย์และสัตว์ต่างมีสิ่งหนึ่งร่วมกันคือสัญชาตญาณ การที่มนุษย์แตกต่าง จากสัตว์อื่นๆ ก็คือรู้จักว่าอะไรชั่ว หรือดี หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็มีศีลนั่นเอง ดังนั้นเป้ าหมายระดับนี้ จึงมุ่งที่จะพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ให้เป็นไปในทางดีงาม มีการดํารงชีพในทางที่สุจริต มี ระเบียบวินัยมีกิริยามารยาทงดงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้ าหมายของพฤติกรรมระดับศีลนี้ เน้นการ ไม่เบียดเบียนหรือการอยู่ร่วมกันด้วยดีโดยสงบสุขในสังคม กล่าวคือ การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและ ร่างกาย การไม่ละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของกันและกัน การไม่ละเมิดต่อของรัก ไม่ประทุษร้าย จิตใจลบหลู่เกียรติทําลายวงศ์ตระกูลของกันและกัน การไม่หักรานลิดรอนผลประโยชน์กันด้วยวิธี ประทุษร้ายทางวาจา และการไม่ซํ้าเติมตนเองด้วยสิ่งเสพติด ซึ่งทําให้เสื่อมทรามเสียสติสัมปชัญญะ ที่เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งป้ องกันจากความผิดพลาดเสียหายและคุ้มตัวไว้ในคุณความดี นอกจากนี้ เป้ าหมายของพฤติกรรมระดับนี้ ยังเน้นให้บุคคลรู้จักพยายามฝึกตนเพิ่มขึ้นในด้านการงดเว้นสิ่ง หรูหราฟุ่มเฟือย บํารุงบําเรอปรนเปรอความสุขต่างๆ และหัดให้เป็นคนอยู่อย่างเรียบง่าย ด้วยการ รักษาอุโบสถ ถือศีล ๘ ตลอดจนศีล ๑๐ ประการ ตามโอกาส หรือปฏิบัติในทางบวก เช่น ขวนขวาย ช่วยเหลือรับใช้ร่วมมือและบริการต่างๆ (ไวยาวัจกรรม)๓๐ ๒๙ องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๓/๕๔/๓๔๓-๓๔๔. ๓๐ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หน้า ๕๙๗.
  • 12. ๕๘ (๒). ขั้นกลาง (สมาธิ) การพัฒนาสังขารระดับกลาง คือ การพัฒนาพฤติกรรมที่สูงขึ้นมาอีกหน่อย สามารถ เป็นแบบอย่างแก่คนอื่นได้ เป็นการพัฒนาสังขารในส่วนของ สติ ปัญญา จนนําสติ ปัญญามาใช้ใน การประกอบกิจการงานต่างๆ ให้บรรลุความสําเร็จตามที่ตนปรารถนาได้ และในขณะเดียวกันก็ให้ เป็นไปเพื่อความเจริญทั้งแก่ตนเองและคนอื่นด้วย ไม่ใช่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองและคนอื่น การพัฒนาสังขารระดับนี้ ทําให้รู้จักอดทน อดกลั้น ข่มจิตตนเอง ไม่ให้ลุแก่อํานาจของกิเลส ปรับตัวเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดําเนินชีวิตตามหลักของอริยมรรค ในฝ่ายของสมาธิ คือ สัมมาวายามะ มีความพากเพียรชอบ คือใฝ่ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ให้ตัวเอง ประกอบอาชีพที่สุจริต สัมมาสติ มีความระลึกชอบ คือหมั่นฝึกฝนอบรมตนให้เป็นคนตื่นตัวอยู่ เสมอไม่เป็นคนเฉื่อยชาจับจดเซื่องซึมสัมมาสมาธิ มีความตั้งใจมั่นชอบ คือมีความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ ต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่รอให้โชคหรือวาสนาช่วย แต่เป็นผู้สร้างโชคและวาสนาขึ้นมาเอง (๓). ขั้นสูง (ปัญญา) การพัฒนาสังขารระดับนี้มุ่งเน้นให้พฤติกรรมของบุคคลมีความประณีตด้านภายในมาก ขึ้น หลังจากเป้ าหมายระดับศีลช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านกายหรือภายนอกแล้ว กล่าวคือ ให้ รู้จักปรับปรุงพฤติกรรมของตนเอง ด้วยการอบรมจิตใจให้เจริญขึ้นด้วยคุณธรรมต่างๆ ให้เข้มแข็ง มั่นคงหนักแน่น และให้มีปัญญารู้เท่าทันความเป็นไปของสังขาร หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่ารู้เท่าทันโลก และชีวิต หรือมีโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง นอกจากนี้เป้ าหมายของการแสดงพฤติกรรมระดับ ปัญญา ยังอยู่ที่การให้เพียรละกิเลส เพียรอบรมปลูกฝังกุศลธรรม โดยดําเนินตามหลักทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดําริชอบ ที่เป็นหมวดปัญญา ในอริยมรรคมีองค์๘ ประการ ซึ่งเป็นวิธีการและข้อปฏิบัติที่เน้นสําหรับการฝึกฝนจิตและปัญญาคือ การแสวงหาปัญญาและชําระจิตใจด้วยการสดับธรรม (รวมทั้งอ่าน) ที่เรียกว่าธรรมสวนะ การแสดง ธรรม สนทนาธรรม การแก้ไขปลูกฝังความเชื่อ ความเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้อง การเจริญเมตตา และการควบคุมขัดเกลากิเลส เป็นต้น อีกนัยหนึ่ง การพัฒนาสังขารระดับสูง คือการพัฒนาสังขารที่จัดอยู่ในหมวด พลธรรม ๕ หรืออินทรีย์๕ ประกอบด้วย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา3 0 ๓๑ การพัฒนาขั้นนี้ไม่ได้มุ่งถึงความ ถูกต้องหรือความผิดของพฤติกรรมแต่เป็นการพัฒนาเพื่อมุ่งความหลุดพ้นจากขันธ์ ๕ โดยเน้นการ ๓๑ สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๔๗๑-๔๘๐/๒๘๒-๒๙๑.
  • 13. ๕๙ พัฒนาสติเป็นตัวนํา รูปแบบของการพัฒนาสังขารในระดับนี้ใช้หลักสติปัฏฐาน ๔ เป็นแกนกลาง โดยใช้ฝึกสติให้รู้เท่าทันอาการที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือกําหนดรู้อารมณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การแยกพูดเป็น ๓ เรื่อง ๓ ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่าแยกปฏิบัติกันอย่าง เด็ดขาด เช่น ในขั้นต้นไม่ต้องปฏิบัติสมาธิและปัญญาเลย ที่จริง ยังต้องปฏิบัติอยู่เพียงแต่เป็นการ ปฏิบัติในระดับน้อยหรือระดับตํ่า ทั้งนี้เป็นเพราะการปฏิบัติที่ถูกต้อง จําต้องอาศัยหลักธรรมหลาย อย่างมา เสริมกัน ๓.๓.๒ ขั้นโลกุตตระ การพัฒนาสังขารในขั้นนี้พระพุทธองค์เน้นการบรรลุธรรมเป็นหลัก มีทั้งฆราวาสและ บรรพชิตที่มีอินทรีย์แก่กล้าสามารถฟังธรรมหรือปฏิบัติธรรมแล้วบรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ขั้นนี้ พระองค์ทรงวางหลักของไตรสิกขาเหมือนกัน แต่เป็นไตรสิกขาในขั้นสูงกว่าหลักไตรสิกขาขั้นสูง หรือขั้นอุกฤษฏ์ เป็นไตรสิกขาในอริยวินัย เช่น หลักของศีล ได้แก่ จาตุปาริสุทธิศีล ๔ ประการ หลักของสมาธิ ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ อย่าง หลักของปัญญา ได้แก่ วิปัสสนาภาวนา หรือวิปัสสนา กรรมฐาน รายละเอียดของหลักการเหล่านี้จะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป ๓.๔ การพัฒนาสังขารตามหลักไตรสิกขา หลักไตรสิกขา ถือว่าเป็นหัวใจสําคัญของระบบการศึกษาทางด้านพระพุทธศาสนาที่ พระพุทธองค์ได้วางเอาไว้มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา บ้าง เรียกสั้นๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา บ้าง หลักเหล่านี้พระพุทธองค์วางไว้เพื่อให้สาวกนําไปฝึกฝน พัฒนาตนเอง เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งหลายที่หมักดองอยู่ในสันดานตน โดยตั้งอยู่บน พื้นฐานทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา ภิกษุผู้ไม่สมาทานศึกษาไตรสิกขา พระพุทธองค์ตรัสว่า เปรียบเหมือนลาในฝูงโค พระองค์ทรงอธิบายว่า ลาเดินตามฝูงโคไปข้างหลังพลางร้องว่า เราเป็นโค เราเป็นโค แต่เสียงของมัน ตัวของมัน รอยเท้าของมันก็ยังเป็นลาอยู่ ฉันใด ภิกษุผู้ไม่ได้สมาทาน ศึกษาในไตรสิกขาคืออธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา แม้จะเดินไปตามหลังหมู่ภิกษุและ ปฏิญาณตนว่า เราเป็นภิกษุ เราเป็นภิกษุ แต่เขาก็ไม่ได้สมาทานศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เหมือนภิกษุอื่น เพียงแต่ติดตามไปข้างหลังเท่านั้น ฉันนั้น31 ๓๒ เนื้อความจากพระสูตร นี้แสดงให้เห็นว่า ความเป็นภิกษุจะสมบูรณ์ได้หรือเป็นภิกษุตามพุทธประสงค์ต้องสมาทานศึกษา ตามหลักไตรสิกขาตามสติปัญญาของตน ๓๒ องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๓/๓๐๙.
  • 14. ๖๐ ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจการพัฒนาสังขารตามหลักไตรสิกขาดังกล่าวนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นจะ ได้ศึกษาในรายละเอียดของแต่ละสิกขาไปตามลําดับ ๓.๔.๑ การพัฒนาสังขารตามหลักศีล ศีล เป็นหลักเบื้องต้นในการฝึกหัดกาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย ในพระพุทธศาสนา มีคน หลายวรรณะเข้ามาบวชเป็นสาวก แต่ละคนล้วนแต่มีวิชาความรู้แตกต่างกัน ได้รับการฝึกฝนอบรม มาต่างกัน ถ้าแต่ละคนปฏิบัติตามลัทธิเดิมของตน ก็จะทําให้หมู่คณะที่อยู่ร่วมกันไม่เป็นระเบียบ เพราะต่างคนต่างทําในสิ่งที่ตนเคยปฏิบัติมา เพื่อความมีระเบียบเรียบร้อยของหมู่คณะพระพุทธองค์ จึงทรงบัญญัติข้อที่พระสาวกต้องปฏิบัติและพึงปฏิบัติร่วมกัน เรียกว่า พระวินัย หรือ ศีล ซึ่งรวมทั้ง ที่เป็นสิกขาบทและข้อวัตรต่างๆ เมื่อพระสาวกได้รับการฝึกหัด กาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกันแล้ว ก็ทําให้หมู่คณะเป็นอยู่เรียบร้อยสวยงาม เป็นที่เลื่อมใสของผู้พบเห็น เมื่อหมู่คณะเป็น ระเบียบเรียบร้อยแล้วจะฝึกสอนเรื่องใดๆ ผู้แนะนําสั่งสอนก็ทําได้ง่าย และผู้เรียนที่มีระเบียบวินัย เรียนด้วยความเคารพและตั้งใจย่อมเข้าใจในสิ่งที่เรียนได้ง่าย ศีลจึงเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนา สังขาร ในพลสูตร พระพุทธองค์ทรงเปรียบศีลเหมือนแผ่นดินเป็นที่ยืนของบุคคลผู้ที่จะทํางานด้วย กําลังให้สําเร็จลุล่วงตามความปรารถนา ดังพระพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทําด้วย กําลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดํารงอยู่บนแผ่นดินจึงทําได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน อาศัยศีล ดํารงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทําอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก”๓๓ ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย3 3 ๓๔ สังขารที่จัดอยู่ในหมวดศีล คือ วิรัติเจตสิก ๓ ประการ ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ซึ่งสังขารเหล่านี้จัดอยู่ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ สงเคราะห์เข้าในอธิศีลสิกขา เมื่อสังขารเหล่านี้ได้รับการพัฒนาแล้ว เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ สังขารเหล่าอื่นที่อยู่ในองค์มรรคนอกนี้ได้รับการพัฒนาไปด้วย สังขารเหล่านี้พระพุทธองค์เปรียบ เหมือนแสงอรุณของพระอาทิตย์ในยามเช้า ดังเนื้อความที่ปรากฏในสีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กําลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด สีล สัมปทา34 ๓๕ ก็เป็นตัวนํา เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค มีองค์๘ ฉันนั้น”๓๖ พระองค์ยัง ๓๓ สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๑๔๙/๗๘. ๓๔ สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๓๘๑-๓๘๓/๒๓๖-๒๓๙. ๓๕ สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล)ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔;สํ.ม.อ.(บาลี)๓/๔๙-๖๒/๑๙๖) ๓๖ สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๕๐-๕๔/๔๔.
  • 15. ๖๑ ตรัสต่อไปว่า ผู้ที่มีศีลบริบูรณ์คุณธรรมเหล่านี้คือ ฉันทะ อัตตะ ทิฏฐิ อัปปมาทะ ก็จะบริบูรณ์ด้วย3 6 ๓๗ ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมไม่ประสบภัยอันตรายจากการสํารวมในศีล เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้รับ มูรธาภิเษกเป็นพระราชา กําจัดข้าศึกได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยอันตรายจากข้าศึก ภิกษุผู้สมบูรณ์ ด้วยอริยสีลขันธ์ย่อมเสวยสุขอันไม่มีโทษในภายใน37 ๓๘ ในอัสสลายนสูตร กล่าวถึงมาณพ ๒ คนเป็น พี่น้องกัน คนหนึ่งได้รับการศึกษาดี แต่เป็นคนทุศีล คนหนึ่งไม่ได้รับการศึกษาแต่เป็นคนมีศีล คนที่ มีศีลจะได้รับการเชื้อเชิญให้บริโภคก่อนในงานเลี้ยงต่างๆ มีงานเลี้ยงของผู้มีศรัทธาเป็นต้น38 ๓๙ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นความสําคัญของศีล ต่อไปนี้จะได้ศึกษารายละเอียดของสังขาร ทั้ง ๓ อย่างนี้ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ต่อไป ก. การพัฒนาสังขารตามแนวสัมมาวาจา สัมมาวาจาคือเจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท(พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคําหยาบ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากสัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)๔๐ จากพระพุทธพจน์ตรงนี้ทําให้ทราบว่า การพัฒนาสัมมาวาจาก็คือ พัฒนาตัวเจตนา ซึ่งเป็นตัวนําไปสู่การพูดจริง พูดคํามีสาระ สุภาพอ่อนโยน เป็นคําพูดที่ประกอบด้วยประโยชน์ทั้ง สองฝ่ายคือทั้งผู้พูดและผู้ฟัง บางครั้งอาจจะมีการพูดถ้อยคําที่เลี่ยงความจริงบ้างแต่ก็เพียงเพื่อให้ ผู้ฟังได้รับประโยชน์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การที่พระพุทธองค์ใช้คําพูดที่เป็นอุบายให้พระนันทะ พระอนุชาต่างพระมารดา คลายความคิดถึงเจ้าสาวที่รอคอยอยู่ด้วยรับรองว่าจะนํานางฟ้ ามาเป็น ภรรยา ถ้าลืมเรื่องเจ้าสาวและตั้งใจปฏิบัติธรรม ทําให้พระนันทะตั้งใจปฏิบัติสมณธรรมจนได้ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์40 ๔๑ การใช้คําพูดเลี่ยงอย่างนี้ไม่จัดว่าเป็นการพูดมุสา หรือพูดเท็จเพราะ ไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้ฟังเสียประโยชน์แต่เป็นความมุ่งหวังให้ผู้ฟังได้ประโยชน์ จัดเป็นสัมมาวาจาได้ ตัวอย่างการใช้อุบายลักษณะเช่นนี้ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทหลายแห่ง เช่น เรื่อง นาง ๓๗ สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๕๐-๕๔/๔๔, ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ) ในที่นี้หมายถึงความ พอใจคือความต้องการที่จะทําความดี, อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยตน) ในที่นี้หมายถึงความเป็นผู้มีจิต สมบูรณ์, ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) ในที่นี้หมายถึงความถึงพร้อมด้วยญาณ, อัปปมาทสัมปทา (ความ ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท) ในที่นี้หมายถึงความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท อันเป็นเหตุให้บรรลุธรรม; สํ. ม.อ. ๓/๔๙-๖๒/๑๙๖. ๓๘ ที.สี. (ไทย) ๙/๔๐๑/๑๗๐. ๓๙ ดูรายละเอียดใน ม.ม. (ไทย) ๑๓/๔๐๙/๕๑๑. ๔๐ ที.ม.(ไทย) ๑๐/๔๐๒/๓๓๕-๓๓๖, สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๘/๑๑, อภิ.วิ. (ไทย) ๓๕/๒๐๕/๑๗๒. ๔๑ ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๖๓-๖๙.
  • 16. ๖๒ กีสาโคตรมี ที่บุตรชายเสียชีวิต แต่นางไม่ยอมรับว่าลูกเสียชีวิต จึงพยายามจะหาหมอและยาที่ สามารถรักษาลูกของตนให้ฟื้นคืนได้จนในที่สุดได้มาพบพระพุทธเจ้า พระองค์จึงใช้อุบายให้นาง ไปนําเอาเมล็ดพันธ์ผักกาดจากบ้านที่ไม่เคยมีคนตายมาปรุงยา แต่นางก็หาไม่ได้และได้สติกลับคืน มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จึงแสดงพระธรรมเทศนาให้ฟัง นางได้ฟังแล้วคลายความเศร้าโศก เพราะบุตรลงได้ แล้วขออุปสมบทเป็นภิกษุณี อยู่ต่อมานางก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์4 1 ๔๒ อีกเรื่อง หนึ่ง คือ เรื่องโจรเคราแดง โจรคนนี้เคยฆ่าคนมามากเพราะได้รับตําแหน่งเพชฌฆาต ต่อมาทางการ ให้เกษียณอายุเพราะร่างกายอ่อนกําลังลงไม่สามารถจะประหารโจรให้ตายด้วยการฟันคอครั้งเดียว เหมือนเมื่อก่อนต้องฟันซํ้าหลายครั้งทําให้ผู้ถูกประหารทรมาน เมื่อได้ฟังธรรมจากพระสารีบุตรเถระ ก็ไม่ สามารถรวบรวมสมาธิให้เป็นหนึ่งได้เพราะคิดถึงแต่บาปกรรมคือการฆ่าคนที่ตนทํามาเป็น เวลายาวนาน พระเถระจึงใช้คําพูดเป็นอุบายเพื่อให้เขาคลายความวิตกกังวลด้วยการถามว่า ที่ฆ่าคน เป็นจํานวนมากนั้นเขาฆ่าเองหรือมีคนอื่นสั่งให้ฆ่า เขาตอบว่า มีคนอื่นสั่งให้ฆ่า พระเถระจึงกล่าว ว่า ถ้าคนอื่นสั่งให้ฆ่าก็ไม่เป็นบาป คําพูดของพระเถระทําให้เขาดีใจว่า ตนไม่เป็นบาปจึงเริ่มมี สมาธิตั้งใจฟังธรรม จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน42 ๔๓ จากตัวอย่างทั้ง ๓ เรื่องนี้ จะเห็นว่า สัมมาวาจาเป็นวาจาที่มุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟังถึงแม้ว่า คําพูดนั้นจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในเบื้องต้นแต่ก็ทําให้ผู้ฟังคลายความเศร้าโศก ความวิตกกังวลได้ ต่างจากมิจฉาวาจา ที่มุ่งให้ผู้ฟังเสียประโยชน์ ถึงแม้คําพูดนั้นจะเป็นคําพูดที่สุภาพอ่อนโยนด้วยลีลา และนํ้าเสียงของผู้พูดแต่มีเจตนาร้ายต่อผู้ฟัง เช่น มีเจตนาจะฆ่าใครสักคนหนึ่งให้ตายไป สั่งให้คน อื่นฆ่าเขาโดยใช้คําสุภาพอ่อนโยนว่า ช่วยทําให้เขานอนอย่างสบายเถิด คําพูดอย่างนี้จัดเป็นมิจฉาวาจา สัมมาวาจา มีทั้งระดับต้นและระดับสูง ตัวอย่างดังกล่าวมานั้นจัดเป็นสัมมาวาจาระดับต้น ส่วน สัมมาวาจาระดับสูง ได้แก่ สัมมาวาจาในองค์มรรค คือวิรตีสัมมาวาจา การงดเว้นจากวจีทุจริต ๔ อย่างโดยเด็ดขาด4 3 ๔๔ เป็นสัมมาวาจาในขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หมายความว่า ในขณะที่ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน การใช้วาจา บริกรรมกรรมฐาน เช่น พองหนอ ยุบหนอ ปวดหนอ คิด หนอ เป็นต้น จัดเป็นสัมมาวาจาในองค์มรรคเพราะเป็นวาจากําหนดอารมณ์ปรมัตถ์ สัมมาวาจาเป็น ๔๒ ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๒๑๖-๒๑๙. ๔๓ ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๒๑๖-๒๑๙. ๔๔ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ),วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๒ : ว่าด้วย มหาสติปัฏฐาน, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๘), หน้า ๕๖๑.
  • 17. ๖๓ เรื่องของเจตนาเป็นเหตุงดเว้น ไม่ได้มุ่งถึงการพูดคําจริงและคําที่มีประโยชน์ซึ่งเป็นพฤติกรรมทาง กายและวาจาที่แสดงออกมาในภายนอก44 ๔๕ จากเนื้อหาสาระที่ได้ศึกษามานี้สรุปได้ว่า การพัฒนาสังขารตามแนวสัมมาวาจา ๒ ระดับนี้สามารถพัฒนาได้ดังนี้ คือ การพัฒนาสัมมาวาจาระดับต้น ได้แก่ การงดเว้นจากวจีทุจริต ๔ อย่างแล้วเจริญวจีสุจริต ๔ รวมถึงการใช้กุศโลบายต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์ด้วย ส่วน การพัฒนาสัมมาวาจาระดับสูง ได้แก่ การใช้วาจาบริกรรมบทพระกรรมฐานขณะเจริญวิปัสสนา กรรมฐาน เช่น การบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ คิดหนอ ปวดหนอ เป็นต้น ข. การพัฒนาสังขารตามแนวสัมมากัมมันตะ สัมมากัมมันตะ คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้น จาก อทินนาทาน (การลักทรัพย์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากอพรหมจรรย์(พฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อ พรหมจรรย์)๔๖ จากพระพุทธพจน์ตรงนี้จะเห็นว่า สัมมากัมมันตะ มีนัยคล้ายกันกับสัมมาวาจา มุ่งเอาตัวเจตนาเป็นตัวนําไปสู่การงดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน และอพรหมจรรย์ พระพุทธ พจน์ที่ยกมานี้ต่างกันจากพระพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรและในสัจจวิภังคสูตร เล็กน้อย กล่าวคือ ในพระสูตรทั้งสองนี้ สองข้อแรกมีความหมายเหมือนกัน ส่วนข้อที่ ๓ เป็นเจตนาเป็นเหตุ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม4 6 ๔๗ เมื่อพิจารณาแล้วพระสูตรเหล่านี้พระองค์คงจะเน้นไปที่ผู้ฟัง เป็นสําคัญเพราะในมหาสติปัฏฐานสูตร พระองค์ตรัสแก่ชาวกุรุที่เป็นผู้ครองเรือน ส่วนในวิภังคสูตร พระองค์ตรัสแก่หมู่ภิกษุ ตามพระวินัยแล้วภิกษุไม่สามารถจะเสพเมถุนอยู่แล้ว พระองค์จึงได้ตรัส ให้เว้นจากอพรหมจรรย์เลย แต่ชาวบ้านทั่วไปยังสามารถมีเพศสัมพันธ์กับภรรยา หรือสามีของตน อยู่เพียงแต่ห้ามไม่ให้ประพฤติล่วงเกินภรรยาหรือสามีของคนอื่นเท่านั้น ส่วนคัมภีร์วิภังค์47 ๔๘ ไม่ได้ ปรารภบุคคลประเภทไหน แต่เนื้อความเหมือนกับในมหาสติปัฏฐานสูตรและสัจจวิภังคสูตร จาก หลักฐานตรงนี้พระองค์คงจะเน้นไปที่ประชาชนทั่วไปเป็นหลัก เพราะถ้าคนทั่วไปไม่งดเว้นข้อนี้จะ ทําให้สังคมวุ่นวายไม่สงบ เมื่อจิตใจหวาดระแวงก็จะทําให้การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นไปได้ ยาก ไม่สามารถบรรลุผลตามที่ต้องการ ๔๕ วัชระ งามจิตรเจริญ, พุทธศาสนาเถรวาท, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๒), หน้า ๔๐๐. ๔๖ สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๘/๑๑. ๔๗ ที.ม.(ไทย) ๑๐/๔๐๒/๓๓๕-๓๓๖, ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๓๗๕/๔๒๒,อภิ.วิ. (ไทย) ๓๕/๒๐๕/๑๗๒. ๔๘ อภิ.วิ. (ไทย) ๓๕/๒๐๕/๑๗๒.