SlideShare a Scribd company logo
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
โดยทั่วไปเมื่อเอ่ยถึงประวัติศาสตร์ไทย เรามักจะเริ่มต้นกันที่อาณาจักรสุโขทัย เพราะถือว่าสุโขทัยเป็นอาณาจักรไทย
แห่งแรกที่มีหลักฐานแน่นอนทางประวัติศาสตร์ แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางด้านโบราณคดี ตานานต่าง ๆ และเอกสาร
ของชาวต่างชาติ ทาให้เราทราบว่า ก่อนการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย ดินแดนในประเทศมีอาณาจักรสาคัญเกิดขึ้นหลายอาณาจักร
แล้ว ทั้งในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อาณาจักรหริภุญไชย ทางภาคเหนือ
อาณาจักรนครชัยศรี ทางตะวันตกของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา อาณาจักรตามพรลิงค์ ในภาคใต้ และ อาณาจักรศรีจนาศะ ใน
บริเวณต้นแม่น้ามูล เป็นต้น แม้ว่าเรื่องราวความเป็นมาของอาณาจักรเหล่านี้จะยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน ยังต้องศึกษาค้นคว้า
กันอีกต่อไป แต่อาณาจักรเหล่านี้ก็น่าจะมีความสืบเนื่องเกี่ยวกันมาถึงอาณาจักรไทยในยุคหลัง ดังนั้น ก่อนที่จะศึกษาเรื่อง
อาณาจักรสุโขทัย เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจที่ดีขึ้น เราควรจะรู้อย่างสังเขปว่า กลุ่มชนชาวไทยเริ่มมีหลักฐานปรากฏขึ้นเป็นครั้ง
แรกในดินแดนประเทศไทย และอาณาจักรบริเวณใกล้เคียงเมื่อไร รวมทั้งรู้ความเป็นมาของอาณาจักรไทยต่าง ๆ อย่างสังเขป
ด้วย
หลักฐานเกี่ยวกับกลุ่มชนชาวไทย
จากร่องรอยทางโบราณคดีและหลักฐานตานานต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ทาให้สันนิษฐานได้ว่า ประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๓ ชนชาติไทยได้มาตั้งมั่นอยู่แล้วภาคเหนือของดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน มีการก่อตั้งเมืองซึ่งปรากฏชื่อในตานาน เช่น
เวียงหิรัญนครเงินยางเชียงแสน เวียงไชยปราการ และเวียงฝาง เป็นต้น เมืองเหล่านี้มีลักษณะการปกครองแบบนครรัฐ
อย่างไรก็ตาม นอกจากร่องรอยทางโบราณคดีและหลักฐานทางตานานแล้วไม่ปรากฏหลักฐานอื่น ๆ เกี่ยวกับนครรัฐไทย
เหล่านี้
เราจึงไม่ค่อยทราบความเป็นมา สภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของนครรัฐไทยในระยะแรก ๆ ส่วนหลักฐานที่ปรากฏใน
จารึกและภาพสลักศิลาของชนชาติอื่น ๆ นั้น จารึกของอาณาจักรจามปา พ.ศ. ๑๕๙๓ ที่วิหารโปนาการ์ เมืองญาตรัง ประเทศ
เวียดนามปัจจุบัน ได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยปรเมศวรทรงบูรณะพระปฏิมาเจ้าแม่ภควดีที่วิหารแห่งนี้ และได้ทรงอุทิศทาสเชลยศึก
ถวายเป็นข้าพระ ในบรรดาทาสที่อุทิศถวายนี้มีทาสเชลยศึกชาวสยามอยู่ด้วย ส่วนในจารึกพม่าปรากฏคาว่า “สยาม” เป็นครั้ง
แรกเมื่อ พ.ศ. ๑๖๖๓ และในช่วงปลาย
พุทธศตวรรษที่ ๑๗ ปรากฏภาพสลักศิลานูนต่าที่ระเบียงชั้นนอกของปราสาทนครวัดในเมืองพระนครหลวง ประเทศกัมพูชา
ปัจจุบัน เป็นภาพกองทัพชาวสยาม ตามเสด็จของขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖ – หลัง พ.ศ. ๑๖๖๘) พระ
เจ้าแผ่นดินแห่งอาณาจักรเขมร
จากหลักฐานต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นทาให้เราทราบว่า ชนชาติไทยได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน
เป็นเวลานานหลายร้อยปีก่อนการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย สันนิษฐานว่าชนชาติไทย คงจะได้แผ่กระจายอยู่ทั่วไปในอาณาบริเวณ
ลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา และอาจจะลงไปถึงคาบสมุทรภาคใต้ ชนชาติไทยกลุ่มต่าง ๆ นี้คงจะรวมกลุ่มกันเป็นนครรัฐหรือแว่นแคว้นเล็ก
ๆ ของตน และคงอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มชนที่กาลังมีอานาจอยู่ในแหลมอินโดจีนขณะนั้น คือ ชนชาติมอญ และชนชาติ
เขมร
อย่างไรก็ตาม ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ชนชาติมอญได้เสื่อมอานาจลงดินแดนในแถบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาจึง
ตกอยู่ภายใต้อานาจปกครองของอาณาจักรเขมรประมาณ ๒๐๐ ปี แต่ในช่วงระยะ ๒๐๐ ปีนี้ อานาจทางการเมืองของเขมรไม่
คงที่ บางครั้งเข็มแข็ง บางครั้งอ่อนแอ ช่วงที่เขมรมีอานาจมาก คือ ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๕ – ๑๕๙๓) พระ
เจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖ – หลัง พ.ศ. ๑๖๘๘) และพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ราว พ.ศ. ๑๗๖๐)
หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลงมาก ทาให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองและช่องว่างแห่งอานาจ
นครรัฐและแว่นแคว้นของคนไทยจึงพากันตั้งตนขึ้นเป็นอาณาจักรอิสระ ประวัติศาสตร์ไทยที่มีหลักฐานแน่นอนจึงเริ่มขึ้นในปลาย
พุทธศตวรรษที่ ๑๘ นี้
๔.๑ ความเป็นมาของอาณาจักรในไทยก่อนสมัยสุโขทัย
๑ ภาคเหนือตอนบน จากหลักฐานทางโบราณคดีและตานานต่าง ๆ คนไทยได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านแปลงเมืองในเขต
ภาคเหนือตอนบนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ โดยได้รวมกลุ่มกันก่อตั้งนครรัฐและแว่นแคว้นเล็ก ๆ ของตนขึ้นแถบเชียงรายและ
พะเยา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – พุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาบริเวณแถบเมืองลาพูน ลาปาง อยู่ภายใต้การปกครองของ
อาณาจักรหริภุญไชย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองลาพูน ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พระเจ้ามังราย ได้ยกกองทัพจากเชียงรายเข้า
ยึดอาณาจักรหริภุญไชยไว้ในอานาจ และได้ทรงสถาปนา อาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ โดยมีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี
ของอาณาจักร ในรัชสมัยพระเจ้ามังราย อาณาจักรล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ได้ทรงขยายอานาจขึ้นไปทางเหนือ
ทรงตีได้เมืองใหญ่เมืองน้อยที่เป็นของชนเผ่าไทย เช่น เชียงตุง เชียงรุ้ง ในขณะเดียวกัน พระเจ้ามังรายก็ได้ทรงสร้าง
ความสัมพันธ์กับพวกมอญทางด้านตะวันตกและอาณาจักรสุโขทัยทางด้านใต้
๒ ภาคเหนือตอนล่าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พ่อขุนศรีนาวนาถุม พระบิดาของพ่อขุนผาเมือง ได้ทรงเป็น
กษัตริย์ครองศรีสัชนาลัย – สุโขทัย ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของภาคเหนือตอนล่างที่มีกลุ่มชนชาวไทยอาศัยอยู่เป็น
จานวนมาก เมื่อพ่อขุนศรีนาวนาถุมสิ้นพระชนม์ ขอสมบาดและโขลญลาพงได้เข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยไว้ พ่อขุน
ผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาว จึงได้ร่วมมือกันยกกองทัพมาปราบขอมสบาดและโขลญลาพง พ่อขุนทั้งสองได้ชัยชนะ ได้เมือง
ศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยกลับคืนมา หลังจากนั้นพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์สุโขทัย ทรงพระ
นามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” สันนิษฐานว่าเหตุการณ์ครั้งนี้คงจะเกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๘๑
๓ ภาคกลาง หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกลุ่มคนไทยในลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่างก่อนการสถาปนาอาณาจักร
อยุธยามีไม่มากนัก แต่หลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุที่มีปรากฏอยู่ เป็นประจักษ์พยานอันเด่นชัดที่แสดงถึงความ
เจริญรุ่งเรืองของคนไทยในอาณาบริเวณนี้ สันนิษฐานว่าศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมในลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่างคงจะอยู่ที่เมือง
ลพบุรี ส่วนทางด้านการปกครองนั้นอนุมานว่าคงอยู่ระหว่างเมืองลพบุรีกับเมืองสุพรรณบุรี เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรง
สร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ แล้ว ศูนย์กลางทั้งทางด้านการปกครองและวัฒนธรรมได้ย้ายมาอยู่ที่ อยุธยา
๔ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ กลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณแถบนี้ได้สถาปนา
อาณาจักรล้านช้าง ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้าโขง พื้นที่แคบนี้ปรากฏหลักฐานการตั้งบ้านแปลงเมืองของกลุ่มคนไทยใน
ระยะเวลาใกล้เคียงกับทางภาคเหนือ (พุทธศตวรรษที่ ๑๓) ส่วนทางตะวันตกของแม่น้าโขงมีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์
เกี่ยวกับความเป็นมาของกลุ่มคนไทยน้อยมาก แม้ว่าก่อนหน้านั้นพื้นที่แถบนี้จะเป็นแหล่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน จนกระทั่ง
พุทธศตวรรษที่ ๒๐ จึงเริ่มปรากฏหลักฐานการกระจายของกลุ่มชนชาวไทยจากฝั่งตะวันออกของแม่น้าโขงเข้าตั้งถิ่นฐานในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงได้รวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ ๒๑
๕ ภาคใต้ ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๘ ได้มีอาณาจักรสาคัญก่อตัวขึ้นในเขตคาบสมุทรภาคใต้ โดยมีเมืองสาคัญ
อยู่ที่นครศรีธรรมราช อาณาจักรนี้มีชื่อว่า “อาณาจักรตามพรลิงค์” เชื่อกันว่าอาณาจักรตามพรลิงค์ได้พัฒนาสืบต่อมาเป็น
อาณาจักร
นครศรีธรรมชาติ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรนครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ได้ปกครองดินแดนต่าง ๆ
เกือบทั่วแหลมมลายู เช่น เมืองสายบุรี เมืองปัตตานี เมืองกลันตัน เมืองปะหัง เมืองไทรบุรี เมืองพัทลุง เมืองตรัง และเมือง
ชุมพร ในด้านวัฒนธรรม นครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลางของระบบความเชื่อต่าง ๆ ทั้งศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธมหายาน
และพุทธหินยานลัทธิลังกาวงศ์ อาณาจักรนครศรีธรรมราชเริ่มมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัยในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
และได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ
อาณาจักรอยุธยาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
จากความเป็นมาของอาณาจักรไทยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวอย่างสังเขปนี้ จะเห็นได้ว่า อาณาจักรไทย ที่มีหลักฐานแน่นอนทาง
ประวัติศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรก คือ อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรสุโขทัยได้มอบมรดกทางด้านภาษาไทย ศาสนาพุทธ
หินยานแบบลังกาวงศ์ ขนบธรรมประเพณี เทคนิควิทยาการ และศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ แก่อาณาจักรไทยในยุคหลัง สันนิษฐาน
ว่า อาณาจักรสุโขทัยคงจะนาเอาความเจริญของนครรัฐไทยต่าง ๆ มาปรุงแต่งสร้างสรรค์ให้เป็นแบบฉบับของวัฒนธรรมไทย
การกาเนิดอาณาจักรสุโขทัยจึงเป็นประดุจอรุณรุ่งของวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้รับการสร้างสรรค์สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
๔.๒ พัฒนาการของรัฐในแต่ละภูมิภาค
๑ ทวารวดี
รัฐทวารวดี เป็นรัฐที่พัฒนาขึ้นในดินแดนภาคกลางของประเทศไทยประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔ หรือ
ราว ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่า มีศูนย์กลางอยู่บริเวณลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่าง ได้แก่ บริเวณเมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี)
นครชัยศรี (นครปฐม) ทางฟากตะวันตกของแม่น้าเจ้าพระยา และเมืองละโว้ (หรือลพบุรี) ทางฟากตะวันออกของแม่น้า
เจ้าพระยา กลุ่มเมืองสาคัญเหล่านี้ล้วนเป็นดินแดนที่ติดต่อกับชายฝั่งที่มีการติดต่อทางทะเลกับโลกภายนอกได้สะดวก มี
ชาวต่างชาติ เช่น อินเดีย จีน นาเรือเข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานชั่วคราว และยังเป็นเมืองที่ตั้งบนฝั่งแม่น้าสาคัญๆ อยู่ในทาเลที่
เหมาะแก่การติดต่อกับดินแดนภายในได้โดยง่ายอีกด้วย จุดเริ่มต้นของทวารวดีจึงเกิดจากการรวมเมืองบริเวณแถบนี้เป็น
เครือข่ายเดียวกันเพื่อการค้าทางทะเล เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกจึงดึงดูดให้ผู้คนจากดินแดนภายในตอนบน
เคลื่อนย้ายลงมาตั้งหลักแหล่งเพิ่มขึ้นเป็นลาดับ จนเกิดเมืองใหญ่ขึ้นหลายเมือง
การมีตัวตนของรัฐทวาราวดีมีหลักฐานยืนยันแน่นอนคือ ได้มีการพบเหรียญเงิน จากแหล่งโบราณคดีที่เมืองอู่ทอง
บนเหรียญมีคาจารึกภาษาสันสกฤต อักษรปัลลวะว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ แปลว่า แปลว่าบุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี
หลักฐานที่ช่วยยืนยันความมีอยู่ของรัฐทวารวดี
นักวิชาการได้เทียบเคียงชื่อที่ปรากฏบนเหรียญกับชื่อในเอกสารจีน ซึ่งหลวงจีนฟาเหียน และ หลวงจีนอี้จึง ได้บันทึกไว้
โดยระบุว่าทางตะวันออกเฉียงใต้ของแคว้นศรีเกษตร (พม่า) มีแคว้นชื่อโตโลโปตี้ หรือ ตว้อหลอปอตี่ ซึ่งเทียบกับชื่อทวารวดี เป็น
ชื่อเดียวกัน คาว่า ทวารวดี เป็นคาภาษาสันสกฤต แปลว่า ประตู อาจหมายถึง เมืองท่า หรือแสดงถึงทาเลที่ตั้งของทวาราวดีว่า
ต้องอยู่ชายฝั่งหรือติดต่อถึงทะเลได้ และควรอยู่ในบริเวณที่พบเหรียญจารึกชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ซีกตะวันตกของแม่น้าเจ้าพระยา
ร่องรอยที่เก่าที่สุดของศิลปะทวารวดี อยู่
ตรงบริเวณซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นศูนย์กลางของรัฐทวารวดี คือ เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) เมืองนครชัยศรี (นครปฐม) เมืองคูบัว
(ราชบุรี) ได้พบศิลปวัฒนธรรมแบบทวารวดีในบริเวณทั้งสามแห่งเป็นอันมาก เป็นศิลปกรรมในทางพุทธศาสนา เช่นสถูปทรงโอ
คว่า ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่มีอยู่ในอินเดีย คือ แบบ สาญจิ ระยะ พุทธศักราช ๓๐๐-๖๐๐ เป็นสถูปซึ่งสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าอโศก
มหาราช และเชื่อว่าคงแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนไทยเมื่อพระองค์ได้ส่งสมณทูต คือ พระโสณเถระ และพระอุตรเถระ เข้ามาเผยแพร่
ศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ประเทศไทย จึงพบสถูป
รูป เหรียญเงินสมัยทวารวดีจารึกอักษรเป็นภาษาสันสกฤตว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ ”
ทรงโอคว่า ในดินแดนภาคกลางของไทยหลายแห่ง เช่น พบที่นครปฐม ๔ องค์ คูบัว ราชบุรี ๗ องค์ อาเภออู่ทอง จังหวัด
สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี ปราจีนบุรี บริเวณพระศรีมหาโพธิ์ และนครราชสีมา นอกจากสถูปทรงโอคว่าแล้ว ยังพบสิ่ง อื่น
ๆ ที่สาคัญมากเช่น ธรรมจักรศิลาจารึกพระคาถา พบที่นครปฐม และลพบุรี ซึ่งสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกพระพุทธเจ้าตอนแสดงปฐม
เทศนา นอกจากนั้นยังมีกวางหมอบปั้นด้วยดินเผา แสดงถึงป่า อีสิปตนมฤคทายวัน จึงแสดงว่าดินแดนไทยได้เริ่มรับ
พระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานเข้ามา มีการใช้ภาษาบาลี ซึ่งจารึกลงในธรรมจักรศิลา นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปซึ่งทาด้วยสาริด
ดินเผาหรือหิน มีขนาดเล็กและใหญ่สลักติดผนังถ้าเป็นปางประทับห้อยพระบาท
ลักษณะเด่นของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี คือ พระเกตุมาลาเป็น ต่อมสั้น ขมวดพระเกตุ พระพักตร์แบนกว้าง พระ
โอษฐ์แบะ
พระหนุป้าน จีวรแนบติดพระองค์ พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ นอกจากนี้ยังพบเครื่องใช้ของคนในสมัยทวารวดี ตามดินแดนต่าง
ๆ ซึ่งแหล่งที่พบส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ที่อาเภออู่ทอง
ของใช้มีจาพวกถ้วยชามหม้อดินเผา ตุ๊กตารูปทรงต่าง ๆ เครื่องประดับและของใช้ที่ทาจากสาริดและหินสีต่าง ๆ เมื่อ พุทธศักราช
๒๕๐๙ ศาสตราจารย์ชอง บอสเซลิเยร์ (Jean Boissielier) นักโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยซอบอนด์ ประเทศฝรั่งเศส
ดาเนินการขุดค้นร่วมกับทางราชการของไทยที่อาเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบโบราณวัตถุในช่วงสมัยนี้จานวนมาก
นอกจากการค้าแล้ว ความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกยังดึงดูดให้ผู้คนจากดินแดนภายในตอนบนเคลื่อนย้าย
ลงมาตั้งหลักแหล่งเพิ่มขึ้นจนเกิดเมืองใหญ่ขึ้นหลายเมือง การรับอารยธรรมอินเดียทาง ด้านศาสนา แบบแผนการปกครอง
และศิลปวัฒนธรรม โดยนามาปรับตัวให้มีบทบาทใหม่ต่อสังคม ดึงดูดคติความเชื่อเดิมและ คติย่อยอื่นไว้ให้หลอมละลายเข้ากับ
คนระดับล่างช่วยเชื่อมโยงความแตกต่างทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชนในดินแดนนี้ให้ยึดถือในความเชื่อศรัทธาเดียวกัน การ
กาหนดแบบแผนของกษัตริย์ ที่เป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเน้นความสาคัญของประเพณี
การทาบุญ การแบ่งชั้นสังคม เป็นชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นที่อยู่ใต้ปกครองโดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ปลูกฝังความเชื่อทางศาสนา
ให้แก่ประชาชนทั่วไป
โดยเหตุที่กลุ่มเมืองต่าง ๆ ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าในภาคกลางมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับดินแดนตอนในอื่น ๆ
อิทธิพลของทวารวดีในด้านพระพุทธศาสนา รูปแบบการปกครอง และศิลปวัฒนธรรมจึงแพร่หลายไปถึงเขตลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา
ตอนบน คือ รัฐหริภุญชัยในภาคเหนือ และดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมือง
เสมา จังหวัดนครราชสีมา ชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานคติพื้นเมืองเข้ากับพระพุทธศาสนา
เช่น เดิมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของดินแดนแถบนี้ใช้สลักหิน ปักแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เมื่อพระพุทธศาสนาจากภาคกลางเข้า
ไปถึมีการปรับปรุงโดยสลักภาพสถูปเจดีย์ ภาพพุทธประวัติ ชาดก ลงบนแผ่นหินนั้น แล้วนาไปปักไว้แสดงเครื่องหมายของการ
เป็นสถานที่สาคัญทางศาสนา จึงเกิดเป็นคติและประเพณีการปักเสมาหิน ตามศาสนาสถาน และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เป็น
จานวนมาก
การศึกษาในทางโบราณคดีว่า เมืองอู่ทองเป็นศูนย์กลางสาคัญของรัฐทางด้านการเมืองปกครองและเศรษฐกิจ เนื่องจาก
พบซากตัวเมืองอันประกอบด้วยปราสาทราชวังมีขนาดใหญ่โตแข็งแรง สมกับเป็นที่ประทับของกษัตริย์และผู้ปกครอง และยังพบ
โบราณวัตถุประเภทสินค้า เช่น เครื่องถ้วยชาม เครื่องประดับทาด้วยเงิน ทอง สาริด เป็นจานวนมาก รวมทั้งเหรียญกษาปณ์
สาหรับซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้าอีกด้วย สาหรับเมืองนครปฐม เป็นศูนย์กลางในทางพุทธศาสนาในสมัย ทวารวดี หลักฐาน
ที่ปรากฏคือซากเจดีย์ขนาดใหญ่ ปัจจุบันคือองค์พระปฐมเจดีย์ และพบโบราณวัตถุซึ่งเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเป็นจานวนมาก เช่น
พระพุทธรูป เสมาธรรมจักร กวางหมอบ
อย่างไรก็ตามกลุ่มเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าภาคกลาง มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับดินแดนตอนในอื่น ๆ อิทธิพล
ของทวารวดีในด้านพุทธศาสนา รูปแบบการปกครองและศิลปวัฒนธรรม จึงแพร่หลายไปถึงเขตลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนบน คือ รัฐ
หริภุญชัยในภาคเหนือ และดินแดนหลายส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองเสมา
จังหวัดนครราชสีมา ชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานคติพื้นเมืองเข้ากับพุทธศาสนา เช่นเดิม
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของดินแดนภาคนี้ ได้ใช้หินปักแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เมื่อพุทธศาสนาจากภาคกลางเข้าไปถึง จึงมีการ
ปรับปรุงโดยสลักภาพสถูปเจดีย์ ภาพพุทธประวัติ ชากด จึงเกิดเป็นคติและประเพณีการปักเสมาหิน ตามศาสนสถาน และสถานที่
ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ จานวนมาก ดังนั้นรัฐทวารวดีจึงมีความสาคัญต่องานด้านพื้นฐานทางวัฒนธรรมโดยวัฒนธรรมทวารดีแบ่งออกได้
เป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑ วัฒนธรรมทวารวดีแถบภาคกลาง บริเวณดังกล่าวได้แก่ ท้องที่ในเขตจังหวัด นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี
ปราจีนบุรี นครสวรรค์ ชัยนาท เพชรบุรี เป็นต้น งานศิลปกรรมในเขตดังกล่าวส่วนใหญ่ฝีมือช่างจะสูงกว่าเขตอื่น ๆ
๒ วัฒนธรรมทวารวดีแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบแถบจังหวัดกาฬสินธุ์ นครราชสีมา และนครพนม เป็นต้น
รูปแบบของศิลปะมีการผสมผสานกับฝีมือช่างพื้นเมืองเป็นอันมาก
๓ วัฒนธรรมทวารวดีแถบภาคเหนือ ส่วนใหญ่พบที่จังหวัดลาพูน เชื่อกันว่าศิลปกรรมทวาราวดีกลุ่มนี้คงขึ้นไปจาก
ละโว้ตั้งแต่ครั้งสมัยพระนางจามเทวีปกครองหริภุญชัย
ศิลปกรรมของสมัยทวารวดีส่วนใหญ่จะยึดถือแบบแผนของศิลปะอินเดียในสกุลช่างสมัยอมราวดี คุปตะและปาละ
ศิลปกรรมบางชิ้นมีลักษณะคล้ายผลงานของพวกเอเชียไมเนอร์โบราณ ดังนั้นจึงอาจจะเป็นไปได้ที่ทวารวดีอาจจะเคยเป็นแหล่ง
การค้าสาคัญแหล่งหนึ่งในสมัยนั้น
สาหรับหลักฐานด้านการเมืองการปกครองของรัฐทวารวดีไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนแต่ประการใด พบพระนามกษัตริย์
ทวารวดีองค์หนึ่งนามว่า พระอาทิตย์ ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ก็ไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ
แต่ประการใด อย่างไรก็ตามจากผลของการขุดค้นพลกลุ่มโบราณสถานของสมัยทวารวดีในบริเวณภาคกลาง และใกล้เคียงหลาย
แห่งนักประวัติศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวสันนิษฐานว่า การปกครองของรัฐทวารวดีคงจะแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มมีพระราชา
ปกครองและเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน ทวารวดีเสื่อมอานาจลงไปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หลังจากกัมพูชาได้แผ่อิทธิพลถึง
แม่น้าเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันการค้นคว้าเกี่ยวกับทวารวดีในปัจจุบันได้สร้างคาถามใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ที่มีกับคาว่า
“ทวารวดี” ว่าเป็นชื่อของรัฐหรือของบุคคล การสรุปว่าเมืองหลวงของรัฐทวารวดี ควรอยู่ที่ลพบุรี ล้วนเป็นคาถามที่ทาให้
การศึกษาเกี่ยวกับทวารวดียังคงท้าทายความสนใจอยู่แม้แต่ในปัจจุบัน
๒ ศรีวิชัย
ศาสตราจารย์ ยอร์จ เซเดส์ เป็นผู้บัญญัติคาว่า “ศรีวิชัย” ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๖๑ จากการอ่านศิลา
จารึกหลักที่ ๒๓ (ศิลาจารึกหลักนี้อาจอยู่ที่วัดเสมาเมือง อาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และที่วัดหัวเวียง อาเภอไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ซึ่งศิลาจารึกได้ลงศักราชกากับว่า พุทธศักราช ๑๓๑๘ ระบุข้อความเกี่ยวกับพระเจ้ากรุงศรีวิชัย เมื่อนาไป
ประกอบกับบันทึกของหลวงจีนอี้จิงที่เดินทางมาศึกษาพระธรรมวินัย เมื่อ พุทธศักราช ๑๒๑๔ ที่ชิลีโฟชิ คือ ศรีวิชัย และให้ข้อ
สันนิษฐานอย่างมั่นใจว่า ศรีวิชัยเป็นรัฐหนึ่งที่มีอานาจทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ครอบคลุมหมู่เกาะบริเวณตอนใต้
ของคาบสมุทรมลายู ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา
สมมติฐานของศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดส์ นับเป็นจุดเริ่มแรกที่ทาให้นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีเกือบทั่วโลก
สนใจต่อการเป็น”รัฐศรีวิชัย” นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเป็นจานวนมากมีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอของ
ศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดส์ แต่มีอีกหลายท่านคัดค้าน เช่น ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี ทรงเชื่อว่าศูนย์กลางของ
ศรีวิชัยน่าจะอยู่บนคาบสมุทร บริเวณอาเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีขอบเขตถึงอาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ต่อมานักวิชาการอีกหลายท่านได้เสนอหลักฐานและความเห็นว่า ศรีวิชัย ไม่ใช่ชื่อรัฐที่มีศูนย์กลางของอานาจในการ
ควบคุมเศรษฐกิจและการเมืองอยู่ที่เมืองใดเมืองหนึ่งเพียงเมืองเดียว แต่เป็นชื่อกว้าง ๆ ทางศิลปะและวัฒนธรรมของกลุ่ม
บ้านเมือง หรือ รัฐน้อยใหญ่ที่มีวัฒนธรรมบางประการร่วมกัน เช่น การนับถือศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงออกทางศิลปกรรม
ที่เรียกกันว่า “ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย”
หากกลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้น หรือรัฐน้อยใหญ่ที่มีรูปแบบทางศิลปวัฒนธรรมร่วมกันในชื่อศรีวิชัย จะมีความสัมพันธ์
เกี่ยวข้องกันทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแล้ว กลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้นหรือรัฐน้อยใหญ่เหล่านี้ ไม่ว่าจะตั้งอยู่บนคาบสมุทร
หรือบนหมู่เกาะแห่งใดแห่งหนึ่งก็ตาม ต่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในลักษณะที่เรียกกันในสมัยหลัง ๆ ว่าสมาพันธรัฐ หรือ
สหพันธรัฐ ซึ่งศูนย์กลางของอานาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเข้มแข็งของผู้นาแต่ละท้องถิ่น ที่สามารถควบคุมอานาจทางการ
เมืองและการค้า ดังนั้นศูนย์กลางของศรีวิชัยอาจอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา หรืออาเภอไชยา สุราษฎร์ธานี หรือบน
คาบสมุทรมลายู แต่ไม่มีอานาจแท้จริงที่จะควบคุมหรือบังคับบัญชาบ้านเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป บ้านเมืองอื่น ๆ จึงมีอิสระ
ในการปกครองตนเองอย่างค่อนข้างสมบูรณ์ การเข้ามาร่วมอยู่ในสมาพันธรัฐ ก็เพราะมีความเลื่อมใสศรัทธาในระบบความเชื่ออย่าง
เดียวกัน และหวังผลประโยชน์ทางการค้าทางทะเลร่วมกัน
ศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้า เนื่องจากศรีวิชัยตั้งอยู่ในเขตของเส้นทางการค้าทางเรือ จึงสามารถหาผลประโยชน์
ทางการค้าและการเดินเรือ ศรีวิชัยจึงเป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าขายระหว่างจีนกับอินเดียและอาหรับ ศรีวิชัยเริ่มมีอานาจขึ้นใน
พุทธศักราช ๑๓๑๘ และเจริญรุ่งเรืองมากเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ในสมัยที่ราชวงศ์ไศเลนทร์จากชวาแผ่อานาจเข้ามา
ปกครอง สมัยนี้บ้านเมืองมั่งคั่งมาก เนื่องจากมีผู้นาที่มีความเข้มแข็งและมีการค้าขายกับจีนอินเดียและอาหรับ ตลอดเวลาที่ศรี
วิชัยมีอานาจแม้จะถูกรุกรานจากชนต่างชาติเป็นระยะ ๆ เช่น การรุกรานของพวกโจฬะจากอินเดียภาคใต้ การรุกรานของพวก
ชวา แต่รัฐศรีวิชัยก็ยังคงดารงอยู่ได้ ดังจะเห็นได้จากเอกสารจีนที่กล่าวถึงศรีวิชัยว่า ในกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีเมืองขึ้นไม่
น้อยกว่า ๑๕ แห่ง เช่น ปาหัง ตรังกานู กลันตัน พัทลุง ตามพรลิงค์ เป็นต้น
วัฒนธรรมของศรีวิชัย เนื่องจากศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางทางการค้า จึงมีพ่อค้าเดินทางเขัามาติดต่อค้าขาย พวกนี้นอกจาก
นาความมั่งคั่งมาสู่รัฐแล้ว ยังนาความเจริญ ต่าง ๆ เข้ามาด้วย รัฐศรีวิชัยจึงเป็นแหล่งรับอารยธรรมของต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย
และถ่ายทอดไปยังดินแดนแห่งอื่น ความเจริญที่สาคัญ คือ
การปกครอง รัฐศรีวิชัยจัดการปกครองแบบเทวราชาตามแบบการปกครองของคุปตะแห่งอินเดีย
ศาสนา รัฐศรีวิชัยนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ศาสนาทั้งสองได้เจริญควบคู่และผสมผสานเข้าด้วยกัน พุทธศาสนาที่เข้าสู่
ศรีวิชัย ระยะแรกเป็นนิกายมหายาน แต่ระยะหลังเป็นหินยาน ซึ่งพบหลักฐานจานวนมากที่นครศรีธรรมราช ศิลปกรรมและ
สถาปัตยกรรม โบราณสถานส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา เช่น วิหาร ในชวา คือ บูโรพุทโธในประเทศไทย คือ เจดีย์
พระบรมธาตุไชยา เจดีย์วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ประติมากรรม มีการสร้างพระพุทธรูป เทวรูป และแกะสลักภาพนูน
ต่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาและวรรณคดีประติมากรรมที่พบ คือ รูปพระนารายณ์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระ
โพธิสัตว์ปัทมปาณิ
รัฐศรีวิชัยเริ่มเสื่อมอานาจลงในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สาเหตุเนื่องจากจีนได้เปลี่ยนระบบการค้าใหม่ โดยสนับสนุนให้
ชาวจีนนาเรือออกทะเล ตรงไปค้าขายกับบรรดาบ้านเมืองที่อยู่ในเขตชายทะเลรวมทั้งภายในดินแดนที่อยู่ในภาคพื้นต่าง ๆ
โดยตรงผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทาให้ศรีวิชัยซึ่งเคยมั่งคั่ง และมีอานาจ ต้องเสื่อมอานาจลง ในปี พุทธศักราช ๑๗๗๓ พระ
เจ้าจันทรภาณุกษัตริย์ของ
รัฐตามพรลิงค์ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ต่อมา พุทธศักราช ๑๘๑๘ พระเจ้ากฤตนครแห่งชวา ได้ยกทัพจากชวาเข้าโจมตีศรีวิชัย ศรีวิชัย
ตกเป็นเมืองขึ้นของชวา และเมื่อถึงสมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราช พระองค์ได้ขยายอานาจเข้ายึดรัฐตามพรลิงค์ และรัฐต่าง ๆ ใน
แหลมมลายู ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของศรีวิชัยใน พุทธศักราช ๑๙๓๘ รัฐศรีวิชัยจึงเสื่อมหายไป
๓ ตามพรลิงค์
ตามพรลิงค์รัฐ หรือ นครศรีธรรมราช เป็นชุมชนสาคัญแถบชายทะเลในดินแดนภาคใต้ของประเทศไทย จดหมายเหตุ
จีนเรียกว่า"ต้นเหมยหลิว" ตรงกับคาว่า "ตามพรลิงค์" ซึ่งปรากฏในเอกสารอินเดีย และศิลาจารึกที่พบในท้องถิ่น รัฐนี้เป็น
ทางผ่านในการเดินเรือระหว่างอินเดียกับจีนโดยติดต่อกับอินเดียใต้มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ จึงเป็นแหล่งรับอิทธิพลอารย
ธรรมอินเดียและจีนมาแต่โบราณ เมื่อถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ รัฐนี้ได้มีอานาจครอบคลุมส่วนใหญ่ของภาคใต้ของไทย มี
อานาจทางการเมืองครอบคลุมเมืองต่าง ๆ ถึง ๑๒ เมืองด้วยกัน คือ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง
ชุมพร ปันไทยสมอ สงขลา ตะกั่วป่า และกระบุรี โดยใช้สัตว์ประจาปีเป็นตราของเมืองนั้น ๆ เช่น สายบุรีใช้ตราหนู (ชวด)
ปัตตานีใช้ตราวัว (ฉลู) กลันตันใช้ตราเสือ (ขาล) ปาหังใช้ตรากระต่าย (เถาะ) เป็นต้น
ความสาคัญของนครศรีธรรมราชในฐานะเป็นแหล่งรวมสินค้า ทาให้ชุมชนขยายตัวจนกลายเป็นรัฐสาคัญในตอนพุทธ
ศตวรรษที่ ๑๑ พัฒนาต่อเนื่องไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ปรากฏพระนามกษัตริย์ชื่อ "ศรีธรรมาโศกราช" และ "จันทรภาณุ"
ครองเมืองนครศรีธรรมราช แต่นครศรีธรรมราชยังเป็นรัฐที่มีบทบาทสาคัญทางด้านพระพุทธศาสนาในฐานที่เป็นจุดเริ่มต้นของ
พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ในประเทศไทยก่อนจะได้แพร่หลายไปยังอาณาจักรสุโขทัย และหัวเมืองอื่น ๆ และความสาคัญของพระ
บรมธาตุนครศรีธรรมราชที่มีต่อภาคใต้ยังช่วยสะท้อนความสาคัญตั้งแต่อดีตของรัฐนี้ได้เป็นอย่างดี แม้จะถูกผนวกเข้าไปเป็นส่วน
หนึ่งของอยุธยาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก็ตาม
รูป ตราประจาเมืองนครศรีธรรมราช
๔ โคตรบูร
รัฐโคตรบูร มีที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีศุนย์กลางอยู่ที่นครพนม มีเจดีย์พระธาตุพนมเป็นศาสนสถาน
หลักของรัฐ ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนสองฝั่งแม่น้าโขง ในแอ่งสกลนคร ตั้งแต่อุดรธานี
หนองคาย เวียงจันทน์ นครพนม จดเขตมุกดาหาร อุบลราชธานี ทาเลที่ตั้งเป็นชุมทางคมนาคมที่ทางเหนือติดต่อกับเขตยูนาน
และภาคเหนือของไทย ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเส้นทางติดต่อกับเวียดนาม และข้ามไปติดต่อกับพวกจามทางตะวันออก
เฉียงใต้ ลงใต้ตามลาน้าโขงติดต่อกับพวกขอม ทางตะวันตกสามารถติดต่อกับชุมชนในแอ่งโคราช สุโขทัย และอโยธยา ความ
หลากหลายของคติและรูปแบบทางศิลปกรรมตลอดจนวัตถุทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่พบช่วยอธิบายถึงความหลากหลายของคนหลาย
กลุ่มหลายเหล่าที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนี้ หรือสัญจรผ่านทางคมนาคม สันนิษฐานได้ว่า เดิมกลุ่มชนในดินแดนแถบนี้นับถือผี
อันเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่ยึดถือกันและมีการบูชาพระยานาค ต่อมาได้หันไปนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทตามแบบทวารวดี ซึ่ง
แพร่ขึ้นไปจากลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาเข้าไปยังลาน้ามูลและลาน้าชี แล้วแพร่หลายไปทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้หลักฐาน
จากตานานอุรังคธาตุว่าด้วยประวัติความเป็นมาของบ้านเมืองในแถบนี้ กล่าวถึงการสร้างโบราณสถานสาคัญทางพระพุทธศาสนา
นิกายเถรวาท ในรัฐโคตรบูร คือ เจดีย์พระธาตุพนม ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นเจดีย์สถานที่เก่าแก่ที่สุดในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อกันว่าภายในเจดีย์เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (อุรังคธาตุหมายถึงพระบรมธาตุส่วนหน้าอกของ
พระพุทธเจ้า) เจดีย์นี้ถูกสร้างขึ้นโดยชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้าโขงเป็นปูชนียสถานที่ตั้งรวมศรัทธาและความเชื่อ
ของพุทธศาสนิกชนแถบลุ่มแม่น้าโขงและดินแดนต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและดารงความสาคัญทั้งในระดับชาติและ
ภูมิภาคแม้แต่ในปัจจุบัน
รัฐโคตรบูรนอกจากจะมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม กับดินแดนลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาในระยะแรกแล้ว ยังมีบทบาทต่อ
การอพยพโยกย้ายของกลุ่มคนหลายเผ่าพันธุ์ในลุ่มน้าโขงส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกลาวที่เข้าสู่สุโขทัยและแม้แต่ในตอนในของ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะต่อมา
รูป พระธาตุพนม
๕ หริภุญชัย
รัฐทางภาคเหนือของไทยปรากฏชื่อหริภุญชัยเป็นรัฐแรก เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มชนพื้นเมืองบนที่ราบสูงกับคนจาก
ภาคกลางซึ่งเจริญกว่า ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าปิงตอนบนและลาน้าแม่กวง หลักฐานทางตานานกล่าวว่าก่อตั้งขึ้นประมาณ
พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ แต่หลักฐานโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าน่าจะก่อตัวประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ตานานมูลศาสนาระบุว่า
ทางเมืองเหนือได้ติดต่อขอพระนางจามเทวีธิดากษัตริย์ผู้ครองเมืองละโว้ขึ้นไปปกครอง การขึ้นไปสร้างเมืองหริภุญชัยเป็นรัฐใหม่
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมครั้งสาคัญ เพราะพระนางจามเทวีได้นาคณะสงฆ์ นักปราชญ์ ช่างศิลปะแขนง
ต่าง ๆ ขึ้นไปด้วยเป็นจานวนมาก อิทธิพลของวัฒนธรรมทวารวดีจึงได้แพร่ขยายไปยังดินแดนตอนเหนือ ที่สาคัญคือการรับ
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาสาคัญของบ้านเมืองจนกลายเป็นศูนย์กลางสาคัญของวัฒนธรรมพุทธศาสนาในภาคเหนือ
ก่อนการตั้งเมืองเชียงใหม่ มีการสร้างวัดและรับการปกครองที่มีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุข รวมทั้งการจัดรูปแบบการปกครอง
ตามแบบภาคกลางที่ได้รับวัฒนธรรมสืบทอดจากอินเดียอีกต่อหนึ่งด้วย
สมัยพระนางจามเทวีเป็นระยะเวลาของการก่อสร้างเมือง ขยายอาณาเขตไปสร้างเมืองเขลางค์นคร (ลาปาง)
ในลุ่มแม่น้าวัง เป็นเมืองคู่กับเมืองหริภุญชัย (ลาพูน) นอกจากมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเมืองละโว้แล้ว ต่อมารัฐหริภุญชัยยังมี
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ,สังคมและวัฒนธรรมกับเมืองหงสาวดี และเมืองนครศรีธรรมราชด้วย รัฐหริภุญชัยมีกษัตริย์จาก
ราชวงศ์ต่าง ๆ ปกครองต่อกันมาเป็นเวลากว่า ๔๐๐ ปี ก่อนที่จะตกอยู่ภายใต้อานาจของพญามังรายใน พุทธศักราช ๑๘๒๔
อย่างไรก็ตามหริภุญชัยก็ยังคงเป็นแหล่ง ความเจริญทางด้านพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ที่เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักร
ล้านนาได้รับสืบทอดต่อมา
๖ ล้านนา
รัฐล้านนาเป็นการรวมตัวกันของชุมชนและเมืองต่าง ๆ แถบที่ราบลุ่มเชียงรายและที่ราบลุ่มเชียงใหม่ ทางตอนเหนือของ
ไทย เป็นการรวมตัวของเผ่าพันธุ์หลายกลุ่ม เช่น พวกลัวะ ลาว ไต ม่าน เม็ง เป็นชาวเชียงใหม่ หรือ “คนเมือง” ซึ่งสื่อสารกัน
ด้วยภาษาไทยลาว แต่ในการเขียนนั้นใช้ตัวอักษรต่างไปจากตัวอักษรสุโขทัย ได้มีการผสมผสานกันทางวัฒนธรรมและทางการ
แต่งงานระหว่างชนทั้งสองกลุ่ม เรียกว่า "พวกยวน" หรือ"พวกโยนก" ต่อมาเชียงใหม่รวมบ้านเล็กเมืองน้อยทั้งหลาย เกิดเป็น
แว่นแคว้นมีชื่อเรียกว่า “ล้านนา”
ดินแดนบริเวณแม่น้าปิง แม่น้ากกและแม่น้าโขง มีชุมชนตั้งกระจายอยู่ทั่วไป ประชาชนส่วนใหญ่นับถือ
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทควบคู่กับความเชื่อถือในผีและวิญญาณของบรรพบุรุษ มีผู้ปกครองเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน แต่ก็มี
ความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ ทางการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จนเกิดเป็นรัฐสาคัญขึ้นสองรัฐในเวลาต่อมา ได้แก่ รัฐ
โยนกเชียงแสน ในประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ โดยพระเจ้าสินหนวัติทรงสร้างเมืองโยนกนาคพันธุ์ในบริเวณลุ่มแม่น้าโขง
เขตที่ราบเชียงราย ตานานสิงหนวัติกล่าวว่า ต่อมาเมืองโยนกนาคพันธุ์เกิดภัยวิบัติน้าท่วมถล่มเมืองจนล่มเป็นหนองน้าใหญ่ และ
ยังถูกรุกรานจากภายนอกอีกด้วย รัฐโยนกเชียงแสนจึงสูญเสียอานาจทางการเมือง ส่วนรัฐเงินยางเชียงแสนอายุประมาณต้นพุทธ
ศตวรรษที่ ๑๓ ลวจังกราชหรือปู่จ้าวลาวจกเป็นหัวหน้าผู้คนที่อยู่บนที่สูงบริเวณดอยตุง ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมายังที่ราบลุ่ม
แม่น้ากกสร้างเมืองหิรัญนครเงินยาง หรือเชียงแสนเป็นศูนย์การปกครองของรัฐ กษัตริย์สาคัญของรัฐนี้ คือ ขุนเจือง ทรงดาเนิน
นโยบายขยายอานาจทางการเมืองโดยการส่งเจ้านายออกไปสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่บริเวณที่ราบลุ่มเชียงราย พะเยา
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พญามังรายเชื้อสายปู่เจ้าลาวจกขึ้นครองรัฐเงินยางเชียงแสน ใน พุทธศักราช ๑๘๐๒ เมื่อมี
พระชนมายุ ๒๒ พรรษา ทรงสามารถสร้างสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายกว้างขวางกับรัฐล้านช้าง สุโขทัย ศรีสัชชนาลัย
นอกเหนือจากสหสัมพันธ์ทางภาษาแล้ว พุทธศาสนาก็ยังเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้ภาษาไทเข้าไว้ด้วยกัน ที่สาคัญบรรดาผู้นาของกลุ่มที่
ใช้ภาษาไทเหล่านี้ ต่างประสานไมตรีบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทางเครือญาติ มิตรภาพและความร่วมมือหลังการขัดแย้ง ทาให้
เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมได้ในระดับหนึ่ง อย่างน้อยการทาสัตย์สาบานระหว่างพญาร่วง (พ่อขุนรามคาแหง) พญามังราย
พญางาเมือง ริมฝั่งแม่น้าอิง ตามเรื่องเล่าในตานาน ก็สะท้อนความสมานฉันท์ทางการเมืองและวัฒนธรรมอยู่ระยะเวลาหนึ่งในปี
พุทธศักราช ๑๘๓๙ พญามังรายทรงประสบความสาเร็จในการรวบรวมเมืองบริเวณที่ราบลุ่มเชียงราย และที่ราบลุ่มเชียงใหม่ไว้ใน
อานาจรวมทั้งรัฐหริภุญชัยด้วย ทรงเลือกชัยภูมิที่เหมาะสมเพื่อเป็นศูนย์รวมอานาจภาคเหนือตอนบน โดยสร้างเมืองนพบุรีศรี
นครพิงค์เชียงใหม่ เป็นราชธานีแห่งใหม่ที่บริเวณลุ่มแม่น้าปิง
ในรัชสมัยของพญามังราย (พุทธศักราช ๑๘๐๒-๑๘๖๐) ล้านนาขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง รวมพื้นที่เมือง
เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลาพูน ลาปาง แพร่ น่าน ไปจดเขตแดนเมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง และสิบสองปันนา พญามังราย
ทรงโปรดให้ตรากฎหมาย "มังรายศาสตร์" เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองจัดระบบการใช้ที่ดินและบารุงดูแลเหมืองฝายสาหรับการ
ชลประทานเพื่อส่งเสริมการทามาหากินของประชาชน มีตัวหนังสือของตนเอง เรียกว่า "อักษรไทยยวน" ด้านศาสนา ในชั้น
แรกล้านนารับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ผ่านทางกรุงสุโขทัย ต่อมาได้ส่งพระสงฆ์หลายรูปเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่
ลังกาโดยตรง จนทาให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ มีพระสงฆ์ทรงความรู้ทาง
พระพุทธศาสนา ในสมัยพระเจ้าติโลกราชพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองจนได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่วัดโพธาราม
วิหาร (วัดเจ็ดยอด)เมืองเชียงใหม่ใน พุทธศักราช ๒๐๒๐ นับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกในดินแดนเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้
กษัตริย์ราชวงศ์มังรายครองอาณาจักรล้านนาสืบต่อกันมาเป็นเวลานานถึง ๒๖๒ ปี นับตั้งแต่พญามังรายสร้างเมือง
เชียงใหม่เป็นราชธานีใน พุทธศักราช ๑๘๓๙ จนมาสิ้นอานาจลงตกเป็นเมืองขึ้นของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองใน
พุทธศักราช ๒๑๐๑ หลังจากนั้นล้านนาก็ตกอยู่ใต้อานาจของไทยบ้างพม่าบ้าง สามารถปกครองตนเองเป็นอิสระชั่วระยะเวลาอัน
สั้นเท่านั้น เชียงใหม่กลับมาขึ้นอยู่กับกรุงธนบุรีใน พุทธศักราช ๒๓๑๗ ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนาในฐานะประเทศราชกับ
กรุงรัตนโกสินทร์ส่วนใหญ่เป็นไปอย่างราบรื่น จนถึงการปฎิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ล้านนาจึงได้เข้ามารวมเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย
๗ สุโขทัย
รัฐสุโขทัย เป็นการรวมกลุ่มเมืองที่กระจายตัวอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้า ยม น่าน และปิง เช่น เมืองศรีสัชนาลัย เมือง
สุโขทัยในลุ่มแม่น้ายม เมืองสระหลวง (พิจิตร) เมืองสองแคว (พิษณุโลก)ในลุ่มแม่น้าน่าน เมืองนครชุม เมืองกาแพงเพชร และ
เมืองพระบาง (นครสวรรค์) ในลุ่มแม่น้าปิง โดยมีสุโขทัยรับบทบาทนาทางการค้าจากการที่ตั้งอยู่ตรงจุดที่เป็นเส้นทางคมนาคม
ภายในภูมิภาคตัดผ่านและสามารถติดต่อกับเมืองในลุ่มแม่น้าโขง มอญ พม่า ตลอดจนศูนย์กลางสาคัญอื่นในประเทศได้
โดยสะดวกจนสามารถสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติและดาเนินวิเทโศบายเหนือผู้อื่น
รัฐสุโขทัยมีพัฒนาการมาจากเมืองสาคัญ ๒ เมืองบนที่ราบลุ่มแม่น้ายม คือ เมืองเชลียง (ต่อมาคือศรีสัชนาลัย) และ
เมืองสุโขทัย เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ทางการเมืองที่เรียกว่า ระบบเมืองคู่ และสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เป็นระบบเครือ
ญาติกับเมืองและรัฐใกล้เคียง เช่น ลพบุรี เชียงใหม่ อโยธยา ไปจนถึงกัมพูชา แม้ว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ในเขตลุ่มแม่น้ายม
จะไม่อุดมสมบูรณ์มากนักจนพอเพียงที่จะดึงดูดประชากรให้มาตั้งถิ่นฐานเพื่อให้สุโขทัยเป็นรัฐที่เติบโตได้ยาวนาน แต่สุโขทัยมี
โอกาสที่ดีจากประกอบกับการที่ตั้งอยู่ตรงจุดที่เป็นเส้นทางคมนาคมภายในภูมิภาคตัดผ่านและสามารถติดต่อกับเมืองท่าสาคัญเช่น
เมาะตะมะได้ ทาให้.เมื่อจีนประสบอุปสรรคในการส่งเครื่องปั้นดินเผาออกนอกประเทศ สุโขทัยสามารถสะสมความมั่งคั่งจาก
การค้าสินค้าชนิดนี้กับต่างประเทศได้แทนจีนในช่วงเวลานั้น ข้อจากัดนี้ทาให้สุโขทัยสามารถเป็นศูนย์อานาจทางการเมืองใน
เวลาที่จากัดหลังจากที่เกิดศูนย์อานาจทางการเมืองอื่นขึ้นมาแข่งขันสุโขทัยไม่อาจที่จะต่อต้านได้ด้วยกาลังของตนจนต้องเลือกการ
ยอมรับการรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรที่เข้มแข็งกว่าเช่นอยุธยาในเวลาต่อมา
๘ สุพรรณภูมิ
รัฐสุพรรณภูมิ เป็นรัฐที่เติบโตมาจากชุมชนเมืองทางด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาซึ่งสืบเนื่องมาจากกลุ่มเมือง
หลัก ๓ เมือง คือ อู่ทอง-นครชัยศรี-คูบัว ของแคว้นทวารวดีเดิม โดยตั้งอยู่ตรงทาเลได้เปรียบจากการติดต่อค้าขายทางทะเลได้
สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพ่อค้าจีน พ่อค้าในถิ่นนี้สามารถติดต่อกับจีนเองโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์
อักษรว่า ละโว้และเพชรบุรีติดต่อค้าขายกับจีน เอกสารจีนกล่าวถึงชื่อเจนลี่ฟูซึ่งน่าจะหมายความถึงสุพรรณบุรีว่าเป็นเมืองท่า
ค้าขายที่สาคัญในสมัยนั้น จึงสามารถสร้างความเป็นตัวเองทางด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้สังคมเจริญเติบโตและมีศักยภาพพอที่จะ
เกิดเป็นรัฐสาคัญขึ้นได้ในภายหลัง อย่างน้อยหลักฐานการติดต่อค้าขายกับจีนก็มีอยู่โดยตลอดตั้งแต่ยุคนี้เรื่อยไป จนถึงสมัยพระ
นครินทราชาธิราช
สุพรรณภูมิเป็นรัฐที่รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจรัฐหนึ่งในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ บรรดาเมืองสาคัญของรัฐ เช่น เพชรบุรี
ราชบุรี มีลาน้าผ่านเมืองซึ่งสามารถเป็นเส้นทางติดต่อกับดินแดนภายในและติดต่อกับทะเลได้ โดยเฉพาะเมืองเพชรบุรีเป็น
เมืองท่าสาคัญที่คุมเส้นทางติดต่อกับรัฐทางตอนใต้ เช่น รัฐนครศรีธรรมราช รัฐสุพรรณภูมินั้นเติบโตในระยะเวลาใกล้เคียงกับ
รัฐอโยธยา คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีกษัตริย์ปกครองเช่นเดียวกับรัฐอโยธยาโดยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สาคัญ คือ การ
ปลูกข้าว และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เช่น แหล่งเตาเผาบ้านสมุน ผลิตภาชนะเนื้อดินจานวนมากสาหรับประโยชน์
ใช้สอยประจาวัน รูปแบบภาชนะและลวดลายเป็นลักษณะเฉพาะของเตาเผาเมืองสุพรรณบุรี และปรากฏว่ามีการผลิตจานวน
มากแต่ไม่พบว่ามีการส่งภาชนะลักษณะนี้เป็นสินค้าออก จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการผลิตเพื่อสนองความต้องการของประชากรใน
ท้องถิ่น อย่างน้อยชุมชนบริเวณนี้ต้องเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเมืองสาคัญต่าง ๆ ในช่วงเวลา
เดียวกัน เช่น ลพบุรี และอโยธยา การเกิดอาณาจักรอยุธยาจึงเป็นการรวมตัวสุพรรณบุรี ละโว้ สุโขทัย อโยธยา หลังจาก
การที่พระนครินทราชาธิราชจากสุพรรณบุรีครองสุโขทัยแล้วมาปกครองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเอกสารจีนบันทึกการรวมตัวครั้งนี้ว่า
เสียมหลอฮก ซึ่งหมายถึง กรุงศรีอยุธยา จึงเป็นการรวมเมืองของสยาม คือ เสียม ละโว้และสุพรรณภูมิ มาก่อตั้งเมืองหลวงที่กรุง
ศรีอยุธยา
ใน พุทธศักราช ๑๘๙๓
๙ ลพบุรี
ละโว้ หรือลพบุรี เป็นเมืองเก่ามาตั้งแต่ครั้งก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้าลพบุรี เมืองละโว้มีหลักฐานทาง
โบราณคดีว่า ได้มีมนุษย์อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ เชิงเขาทางด้านตะวันออกของเมืองละโว้ตั้งแต่สมัยหินกลางจนถึงสมัยหินใหม่ และ
ที่สาคัญคือสมัยโลหะตอนปลายได้มีการขุดพบหลุมฝังศพในบริเวณศูนย์การทหารปืนใหญ่ ซึ่งอยู่เชิงเขาพระงาม โบราณวัตถุที่พบ
นั้นแสดงว่าคนเหล่านั้นมีความเจริญทางเทคนิควิทยาสูง มีเครื่องใช้ทาด้วยโลหะที่มีรูปร่างและฝีมือระดับสูง ผู้คนที่อยู่ในบริเวณนี้
มีความเจริญถึงขนาดทานาแบบทดน้า และได้มีการขยายชุมชนลงสู่ที่ราบลุ่ม มีการติดต่อกับผู้คนบริเวณอื่น เช่น ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ
สมัยทวารวดีผู้คนที่อาศัยอยู่ตามเชิงเขาทางภาคตะวันออกของเมืองละโว้ได้เจริญขึ้น และได้ขยายชุมชนออกมาทางที่ราบ
ลุ่มตะวันออก ละโว้เกิดเป็นเมืองขึ้นเมื่อต้นสมัยทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เพราะได้มีการพบเหรียญเงินที่มีคาจารึก
เป็นภาษาสันสกฤตโบราณว่า “ลวปุระ” ละโว้ตั้งอยู่ตรงบริเวณที่มีการติดต่อถึงทะเลได้ นับเป็น “เมืองท่าชายฝั่ง” ที่มี
ความสาคัญ ในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทางทะเล และรับวัฒนธรรมอินเดีย กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญของท้องถิ่น
วัฒนธรรมรุ่นแรกของละโว้ คือวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมในพุทธศาสนาฝ่ายหีนยานมีการพบพระพุทธรูป ศิลาจารึก
และซากพระสถูปแบบทวารวดีในรัฐละโว้ เช่น ที่วัดข่อยพบพระศิลา และศิลาจารึก นอกเมืองออกไปทางเขาพระพุทธบาทพบ
รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปแบบทวารวดี ตามถ้าในภูเขา และที่วัดพุกร่าง พบถ้าที่มีจารึกอักษร อินเดียใต้ กล่าวถึงชื่อเมือง
อนุราชปุระ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศลังกาในยุคนั้นแสดงการเกี่ยวข้องในทางวัฒนธรรมระหว่างลังกาและรัฐละโว้ในยุคนั้น
ตานานชินกาลมาลีปกรณ์ของทางเหนือระบุว่า ในสมัยทวารวดีละโว้ได้ส่งพระนางจามเทวีขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย และนาเอา
อารยธรรมต่างทางพุทธศาสนา และศิลปกรรมจากเมืองละโว้ไปหริภุญชัย ซึ่งเห็นได้จากลักษณะของศิลปกรรม เช่น พระพุทธรูป
รูปปั้นดินเผาของเทวดาและยักษ์ที่ประดับสถาปัตยกรรมมีลักษณะคล้ายกับศิลปกรรมของละโว้
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ได้แผ่ขยายอานาจลงมาถึงตอนกลางของประเทศไทย ละโว้ได้รับอิทธิพล
ศิลปกรรมจากขอม ศิลปะของละโว้จึงมีการผสมผสานกันระหว่างพุทธศาสนามหายาน และศาสนาฮินดู เรียกศิลปะสมัยนี้ว่า
ศิลปะลพบุรี มีการสร้างโบราณสถานที่สาคัญคือ ปรางค์แขก พระปรางค์วัดมหาธาตุ พระปรางค์สามยอด พระพุทธรูปประทับนั่ง
ปางนาคปรก รูปยักษ์ และเทวรูปศิลปะและวัฒนธรรมลพบุรี ซึ่งได้เจริญอยู่ในเมืองละโว้ได้รุ่งเรืองมากที่สุดในตอนกลางพุทธ
ศตวรรษที่ ๑๘ ในระยะนี้ได้มีอิทธิพลของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และอิทธิพลของศิลปะขอมได้แพร่หลายเข้ามา มีการสร้าง
พระพุทธรูปและเทวรูปแบบขอม เนื่องจาก ในระยะนี้อาณาจักรกัมพูชาตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์พระองค์นี้นับ
ถือพุทธศาสนามหายาน พระองค์ได้ก่อสร้างศาสนสถานและอโรคยาศาลขึ้นหลายแห่งตามเมืองต่าง ๆ ในราชอาณาจักร ศิลปะ
ขอมพุทธศาสนาลัทธิมหายานจึงแพร่เข้ามาและมีอิทธิพลต่อละโว้ และเมืองอื่น ๆ ในภาคกลางของประเทศไทยเพราะได้กลายมา
เป็นแบบอย่างในการก่อสร้างศาสนสถาน ลพบุรี ได้เสื่อมลงในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เนื่องจากพุทธศาสนาหินยานลัทธิ
หัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย

More Related Content

What's hot

เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์Pannaray Kaewmarueang
 
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้krupornpana55
 
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ครูพัฒวิทย์ ครูพัฒวิทย์
 
01 โครงสร้างอะตอม
01 โครงสร้างอะตอม01 โครงสร้างอะตอม
01 โครงสร้างอะตอมkruannchem
 
วรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดีวรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดี
kingkarn somchit
 
พระพุทธศาสนา ม.3
พระพุทธศาสนา ม.3พระพุทธศาสนา ม.3
พระพุทธศาสนา ม.3New Nan
 
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะบทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะอุษณีษ์ ศรีสม
 
ประวัติศาสตร์จีน
ประวัติศาสตร์จีนประวัติศาสตร์จีน
ประวัติศาสตร์จีน
Kittayaporn Changpan
 
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายงานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
Santichon Islamic School
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
rewat Chitthaing
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1วรรณา ไชยศรี
 
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
คำเมย มุ่งเงินทอง
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
Thanawut Rattanadon
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
Pracha Wongsrida
 

What's hot (20)

เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์
 
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
 
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
 
01 โครงสร้างอะตอม
01 โครงสร้างอะตอม01 โครงสร้างอะตอม
01 โครงสร้างอะตอม
 
วรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดีวรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดี
 
พระพุทธศาสนา ม.3
พระพุทธศาสนา ม.3พระพุทธศาสนา ม.3
พระพุทธศาสนา ม.3
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะบทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
 
ประวัติศาสตร์จีน
ประวัติศาสตร์จีนประวัติศาสตร์จีน
ประวัติศาสตร์จีน
 
แบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด
 
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายงานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๑
 
8 การเขียนเชิงวิชาการ(238 262)
8 การเขียนเชิงวิชาการ(238 262)8 การเขียนเชิงวิชาการ(238 262)
8 การเขียนเชิงวิชาการ(238 262)
 
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
 
ใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือ
 

Viewers also liked

รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์
รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์
รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์kulrisa777_999
 
ประวัติศาสตร์ไทย (อาณาจักรสุโขทัย)
ประวัติศาสตร์ไทย (อาณาจักรสุโขทัย)ประวัติศาสตร์ไทย (อาณาจักรสุโขทัย)
ประวัติศาสตร์ไทย (อาณาจักรสุโขทัย)
พัน พัน
 
เมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชยเมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชย
4lifesecret
 
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
พัน พัน
 
สรุปวิชาประวัติศาสตร์
สรุปวิชาประวัติศาสตร์สรุปวิชาประวัติศาสตร์
สรุปวิชาประวัติศาสตร์
บอสคุง ฉึกฉึก
 

Viewers also liked (7)

รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์
รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์
รัฐโบราณในดินแดนไทย : ตามพรลิงค์
 
ประวัติศาสตร์ไทย (อาณาจักรสุโขทัย)
ประวัติศาสตร์ไทย (อาณาจักรสุโขทัย)ประวัติศาสตร์ไทย (อาณาจักรสุโขทัย)
ประวัติศาสตร์ไทย (อาณาจักรสุโขทัย)
 
เมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชยเมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชย
 
รัฐโบราณ
รัฐโบราณรัฐโบราณ
รัฐโบราณ
 
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียประวัติศาสตร์
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม3
 
สรุปวิชาประวัติศาสตร์
สรุปวิชาประวัติศาสตร์สรุปวิชาประวัติศาสตร์
สรุปวิชาประวัติศาสตร์
 

Similar to หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย

~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
chakaew4524
 
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยคร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
ปาล์มมี่ ไม่เล่นเกมส์
 
การสถาปนา..
การสถาปนา..การสถาปนา..
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Pracha Wongsrida
 
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
อาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาsangworn
 
111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143
sibsakul jutaphan
 
สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัยsangworn
 
Tutor social science
Tutor social scienceTutor social science
Tutor social science
Kwandjit Boonmak
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
chatsawat265
 
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
Patcha Jirasuwanpong
 
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัยการเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
Kamonchanok VrTen Poppy
 
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
Choengchai Rattanachai
 
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4
Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 

Similar to หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย (20)

~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
 
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยคร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
 
การสถาปนา..
การสถาปนา..การสถาปนา..
การสถาปนา..
 
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
 
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
 
อาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยา
 
อาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยา
 
กลุ่ม 1 การสถาปนา
กลุ่ม 1 การสถาปนากลุ่ม 1 การสถาปนา
กลุ่ม 1 การสถาปนา
 
111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143
 
สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัย
 
Tutor social science
Tutor social scienceTutor social science
Tutor social science
 
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรมพัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
 
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
 
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัยการเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
 
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4
 
Art
ArtArt
Art
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 

More from chakaew4524

หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัยหัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
chakaew4524
 
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยหัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
chakaew4524
 
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
chakaew4524
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
chakaew4524
 
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
chakaew4524
 
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่งบทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
chakaew4524
 
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
chakaew4524
 
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ดบทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
chakaew4524
 
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ดบทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
chakaew4524
 
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่งบทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
chakaew4524
 
บทที่8แ
บทที่8แบทที่8แ
บทที่8แ
chakaew4524
 
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
chakaew4524
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
chakaew4524
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
chakaew4524
 
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัยบทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
chakaew4524
 
บทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัยบทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัย
chakaew4524
 
บทที่ 5 วินาศภัย
บทที่ 5 วินาศภัยบทที่ 5 วินาศภัย
บทที่ 5 วินาศภัย
chakaew4524
 
บทที่5การประกันวินาศภัย
บทที่5การประกันวินาศภัยบทที่5การประกันวินาศภัย
บทที่5การประกันวินาศภัย
chakaew4524
 
บทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิตบทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิต
chakaew4524
 
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิตบทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
chakaew4524
 

More from chakaew4524 (20)

หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัยหัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
 
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยหัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
 
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
 
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่งบทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
 
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
 
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ดบทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
 
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ดบทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
 
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่งบทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
 
บทที่8แ
บทที่8แบทที่8แ
บทที่8แ
 
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
 
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัยบทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
 
บทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัยบทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัย
 
บทที่ 5 วินาศภัย
บทที่ 5 วินาศภัยบทที่ 5 วินาศภัย
บทที่ 5 วินาศภัย
 
บทที่5การประกันวินาศภัย
บทที่5การประกันวินาศภัยบทที่5การประกันวินาศภัย
บทที่5การประกันวินาศภัย
 
บทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิตบทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิต
 
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิตบทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
 

หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย

  • 1. หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย โดยทั่วไปเมื่อเอ่ยถึงประวัติศาสตร์ไทย เรามักจะเริ่มต้นกันที่อาณาจักรสุโขทัย เพราะถือว่าสุโขทัยเป็นอาณาจักรไทย แห่งแรกที่มีหลักฐานแน่นอนทางประวัติศาสตร์ แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางด้านโบราณคดี ตานานต่าง ๆ และเอกสาร ของชาวต่างชาติ ทาให้เราทราบว่า ก่อนการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย ดินแดนในประเทศมีอาณาจักรสาคัญเกิดขึ้นหลายอาณาจักร แล้ว ทั้งในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อาณาจักรหริภุญไชย ทางภาคเหนือ อาณาจักรนครชัยศรี ทางตะวันตกของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา อาณาจักรตามพรลิงค์ ในภาคใต้ และ อาณาจักรศรีจนาศะ ใน บริเวณต้นแม่น้ามูล เป็นต้น แม้ว่าเรื่องราวความเป็นมาของอาณาจักรเหล่านี้จะยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน ยังต้องศึกษาค้นคว้า กันอีกต่อไป แต่อาณาจักรเหล่านี้ก็น่าจะมีความสืบเนื่องเกี่ยวกันมาถึงอาณาจักรไทยในยุคหลัง ดังนั้น ก่อนที่จะศึกษาเรื่อง อาณาจักรสุโขทัย เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจที่ดีขึ้น เราควรจะรู้อย่างสังเขปว่า กลุ่มชนชาวไทยเริ่มมีหลักฐานปรากฏขึ้นเป็นครั้ง แรกในดินแดนประเทศไทย และอาณาจักรบริเวณใกล้เคียงเมื่อไร รวมทั้งรู้ความเป็นมาของอาณาจักรไทยต่าง ๆ อย่างสังเขป ด้วย หลักฐานเกี่ยวกับกลุ่มชนชาวไทย จากร่องรอยทางโบราณคดีและหลักฐานตานานต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ทาให้สันนิษฐานได้ว่า ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ชนชาติไทยได้มาตั้งมั่นอยู่แล้วภาคเหนือของดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน มีการก่อตั้งเมืองซึ่งปรากฏชื่อในตานาน เช่น เวียงหิรัญนครเงินยางเชียงแสน เวียงไชยปราการ และเวียงฝาง เป็นต้น เมืองเหล่านี้มีลักษณะการปกครองแบบนครรัฐ อย่างไรก็ตาม นอกจากร่องรอยทางโบราณคดีและหลักฐานทางตานานแล้วไม่ปรากฏหลักฐานอื่น ๆ เกี่ยวกับนครรัฐไทย เหล่านี้ เราจึงไม่ค่อยทราบความเป็นมา สภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของนครรัฐไทยในระยะแรก ๆ ส่วนหลักฐานที่ปรากฏใน จารึกและภาพสลักศิลาของชนชาติอื่น ๆ นั้น จารึกของอาณาจักรจามปา พ.ศ. ๑๕๙๓ ที่วิหารโปนาการ์ เมืองญาตรัง ประเทศ เวียดนามปัจจุบัน ได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยปรเมศวรทรงบูรณะพระปฏิมาเจ้าแม่ภควดีที่วิหารแห่งนี้ และได้ทรงอุทิศทาสเชลยศึก ถวายเป็นข้าพระ ในบรรดาทาสที่อุทิศถวายนี้มีทาสเชลยศึกชาวสยามอยู่ด้วย ส่วนในจารึกพม่าปรากฏคาว่า “สยาม” เป็นครั้ง แรกเมื่อ พ.ศ. ๑๖๖๓ และในช่วงปลาย พุทธศตวรรษที่ ๑๗ ปรากฏภาพสลักศิลานูนต่าที่ระเบียงชั้นนอกของปราสาทนครวัดในเมืองพระนครหลวง ประเทศกัมพูชา ปัจจุบัน เป็นภาพกองทัพชาวสยาม ตามเสด็จของขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖ – หลัง พ.ศ. ๑๖๖๘) พระ เจ้าแผ่นดินแห่งอาณาจักรเขมร จากหลักฐานต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นทาให้เราทราบว่า ชนชาติไทยได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน เป็นเวลานานหลายร้อยปีก่อนการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย สันนิษฐานว่าชนชาติไทย คงจะได้แผ่กระจายอยู่ทั่วไปในอาณาบริเวณ ลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา และอาจจะลงไปถึงคาบสมุทรภาคใต้ ชนชาติไทยกลุ่มต่าง ๆ นี้คงจะรวมกลุ่มกันเป็นนครรัฐหรือแว่นแคว้นเล็ก ๆ ของตน และคงอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มชนที่กาลังมีอานาจอยู่ในแหลมอินโดจีนขณะนั้น คือ ชนชาติมอญ และชนชาติ เขมร อย่างไรก็ตาม ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ชนชาติมอญได้เสื่อมอานาจลงดินแดนในแถบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาจึง ตกอยู่ภายใต้อานาจปกครองของอาณาจักรเขมรประมาณ ๒๐๐ ปี แต่ในช่วงระยะ ๒๐๐ ปีนี้ อานาจทางการเมืองของเขมรไม่
  • 2. คงที่ บางครั้งเข็มแข็ง บางครั้งอ่อนแอ ช่วงที่เขมรมีอานาจมาก คือ ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๕ – ๑๕๙๓) พระ เจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖ – หลัง พ.ศ. ๑๖๘๘) และพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ราว พ.ศ. ๑๗๖๐) หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลงมาก ทาให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองและช่องว่างแห่งอานาจ นครรัฐและแว่นแคว้นของคนไทยจึงพากันตั้งตนขึ้นเป็นอาณาจักรอิสระ ประวัติศาสตร์ไทยที่มีหลักฐานแน่นอนจึงเริ่มขึ้นในปลาย พุทธศตวรรษที่ ๑๘ นี้ ๔.๑ ความเป็นมาของอาณาจักรในไทยก่อนสมัยสุโขทัย ๑ ภาคเหนือตอนบน จากหลักฐานทางโบราณคดีและตานานต่าง ๆ คนไทยได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านแปลงเมืองในเขต ภาคเหนือตอนบนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ โดยได้รวมกลุ่มกันก่อตั้งนครรัฐและแว่นแคว้นเล็ก ๆ ของตนขึ้นแถบเชียงรายและ พะเยา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – พุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาบริเวณแถบเมืองลาพูน ลาปาง อยู่ภายใต้การปกครองของ อาณาจักรหริภุญไชย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองลาพูน ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พระเจ้ามังราย ได้ยกกองทัพจากเชียงรายเข้า ยึดอาณาจักรหริภุญไชยไว้ในอานาจ และได้ทรงสถาปนา อาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ โดยมีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี ของอาณาจักร ในรัชสมัยพระเจ้ามังราย อาณาจักรล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ได้ทรงขยายอานาจขึ้นไปทางเหนือ ทรงตีได้เมืองใหญ่เมืองน้อยที่เป็นของชนเผ่าไทย เช่น เชียงตุง เชียงรุ้ง ในขณะเดียวกัน พระเจ้ามังรายก็ได้ทรงสร้าง ความสัมพันธ์กับพวกมอญทางด้านตะวันตกและอาณาจักรสุโขทัยทางด้านใต้ ๒ ภาคเหนือตอนล่าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พ่อขุนศรีนาวนาถุม พระบิดาของพ่อขุนผาเมือง ได้ทรงเป็น กษัตริย์ครองศรีสัชนาลัย – สุโขทัย ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของภาคเหนือตอนล่างที่มีกลุ่มชนชาวไทยอาศัยอยู่เป็น จานวนมาก เมื่อพ่อขุนศรีนาวนาถุมสิ้นพระชนม์ ขอสมบาดและโขลญลาพงได้เข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยไว้ พ่อขุน ผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาว จึงได้ร่วมมือกันยกกองทัพมาปราบขอมสบาดและโขลญลาพง พ่อขุนทั้งสองได้ชัยชนะ ได้เมือง ศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยกลับคืนมา หลังจากนั้นพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์สุโขทัย ทรงพระ นามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” สันนิษฐานว่าเหตุการณ์ครั้งนี้คงจะเกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๘๑ ๓ ภาคกลาง หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกลุ่มคนไทยในลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่างก่อนการสถาปนาอาณาจักร อยุธยามีไม่มากนัก แต่หลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุที่มีปรากฏอยู่ เป็นประจักษ์พยานอันเด่นชัดที่แสดงถึงความ เจริญรุ่งเรืองของคนไทยในอาณาบริเวณนี้ สันนิษฐานว่าศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมในลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่างคงจะอยู่ที่เมือง ลพบุรี ส่วนทางด้านการปกครองนั้นอนุมานว่าคงอยู่ระหว่างเมืองลพบุรีกับเมืองสุพรรณบุรี เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรง สร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ แล้ว ศูนย์กลางทั้งทางด้านการปกครองและวัฒนธรรมได้ย้ายมาอยู่ที่ อยุธยา ๔ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ กลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณแถบนี้ได้สถาปนา อาณาจักรล้านช้าง ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้าโขง พื้นที่แคบนี้ปรากฏหลักฐานการตั้งบ้านแปลงเมืองของกลุ่มคนไทยใน ระยะเวลาใกล้เคียงกับทางภาคเหนือ (พุทธศตวรรษที่ ๑๓) ส่วนทางตะวันตกของแม่น้าโขงมีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับความเป็นมาของกลุ่มคนไทยน้อยมาก แม้ว่าก่อนหน้านั้นพื้นที่แถบนี้จะเป็นแหล่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน จนกระทั่ง พุทธศตวรรษที่ ๒๐ จึงเริ่มปรากฏหลักฐานการกระจายของกลุ่มชนชาวไทยจากฝั่งตะวันออกของแม่น้าโขงเข้าตั้งถิ่นฐานในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงได้รวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ๕ ภาคใต้ ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๘ ได้มีอาณาจักรสาคัญก่อตัวขึ้นในเขตคาบสมุทรภาคใต้ โดยมีเมืองสาคัญ อยู่ที่นครศรีธรรมราช อาณาจักรนี้มีชื่อว่า “อาณาจักรตามพรลิงค์” เชื่อกันว่าอาณาจักรตามพรลิงค์ได้พัฒนาสืบต่อมาเป็น อาณาจักร
  • 3. นครศรีธรรมชาติ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรนครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ได้ปกครองดินแดนต่าง ๆ เกือบทั่วแหลมมลายู เช่น เมืองสายบุรี เมืองปัตตานี เมืองกลันตัน เมืองปะหัง เมืองไทรบุรี เมืองพัทลุง เมืองตรัง และเมือง ชุมพร ในด้านวัฒนธรรม นครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลางของระบบความเชื่อต่าง ๆ ทั้งศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธมหายาน และพุทธหินยานลัทธิลังกาวงศ์ อาณาจักรนครศรีธรรมราชเริ่มมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัยในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรอยุธยาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จากความเป็นมาของอาณาจักรไทยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวอย่างสังเขปนี้ จะเห็นได้ว่า อาณาจักรไทย ที่มีหลักฐานแน่นอนทาง ประวัติศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรก คือ อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรสุโขทัยได้มอบมรดกทางด้านภาษาไทย ศาสนาพุทธ หินยานแบบลังกาวงศ์ ขนบธรรมประเพณี เทคนิควิทยาการ และศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ แก่อาณาจักรไทยในยุคหลัง สันนิษฐาน ว่า อาณาจักรสุโขทัยคงจะนาเอาความเจริญของนครรัฐไทยต่าง ๆ มาปรุงแต่งสร้างสรรค์ให้เป็นแบบฉบับของวัฒนธรรมไทย การกาเนิดอาณาจักรสุโขทัยจึงเป็นประดุจอรุณรุ่งของวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้รับการสร้างสรรค์สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ๔.๒ พัฒนาการของรัฐในแต่ละภูมิภาค ๑ ทวารวดี รัฐทวารวดี เป็นรัฐที่พัฒนาขึ้นในดินแดนภาคกลางของประเทศไทยประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔ หรือ ราว ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่า มีศูนย์กลางอยู่บริเวณลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่าง ได้แก่ บริเวณเมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) นครชัยศรี (นครปฐม) ทางฟากตะวันตกของแม่น้าเจ้าพระยา และเมืองละโว้ (หรือลพบุรี) ทางฟากตะวันออกของแม่น้า เจ้าพระยา กลุ่มเมืองสาคัญเหล่านี้ล้วนเป็นดินแดนที่ติดต่อกับชายฝั่งที่มีการติดต่อทางทะเลกับโลกภายนอกได้สะดวก มี ชาวต่างชาติ เช่น อินเดีย จีน นาเรือเข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานชั่วคราว และยังเป็นเมืองที่ตั้งบนฝั่งแม่น้าสาคัญๆ อยู่ในทาเลที่ เหมาะแก่การติดต่อกับดินแดนภายในได้โดยง่ายอีกด้วย จุดเริ่มต้นของทวารวดีจึงเกิดจากการรวมเมืองบริเวณแถบนี้เป็น เครือข่ายเดียวกันเพื่อการค้าทางทะเล เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกจึงดึงดูดให้ผู้คนจากดินแดนภายในตอนบน เคลื่อนย้ายลงมาตั้งหลักแหล่งเพิ่มขึ้นเป็นลาดับ จนเกิดเมืองใหญ่ขึ้นหลายเมือง การมีตัวตนของรัฐทวาราวดีมีหลักฐานยืนยันแน่นอนคือ ได้มีการพบเหรียญเงิน จากแหล่งโบราณคดีที่เมืองอู่ทอง บนเหรียญมีคาจารึกภาษาสันสกฤต อักษรปัลลวะว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ แปลว่า แปลว่าบุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี หลักฐานที่ช่วยยืนยันความมีอยู่ของรัฐทวารวดี นักวิชาการได้เทียบเคียงชื่อที่ปรากฏบนเหรียญกับชื่อในเอกสารจีน ซึ่งหลวงจีนฟาเหียน และ หลวงจีนอี้จึง ได้บันทึกไว้ โดยระบุว่าทางตะวันออกเฉียงใต้ของแคว้นศรีเกษตร (พม่า) มีแคว้นชื่อโตโลโปตี้ หรือ ตว้อหลอปอตี่ ซึ่งเทียบกับชื่อทวารวดี เป็น ชื่อเดียวกัน คาว่า ทวารวดี เป็นคาภาษาสันสกฤต แปลว่า ประตู อาจหมายถึง เมืองท่า หรือแสดงถึงทาเลที่ตั้งของทวาราวดีว่า ต้องอยู่ชายฝั่งหรือติดต่อถึงทะเลได้ และควรอยู่ในบริเวณที่พบเหรียญจารึกชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ซีกตะวันตกของแม่น้าเจ้าพระยา ร่องรอยที่เก่าที่สุดของศิลปะทวารวดี อยู่ ตรงบริเวณซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นศูนย์กลางของรัฐทวารวดี คือ เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) เมืองนครชัยศรี (นครปฐม) เมืองคูบัว (ราชบุรี) ได้พบศิลปวัฒนธรรมแบบทวารวดีในบริเวณทั้งสามแห่งเป็นอันมาก เป็นศิลปกรรมในทางพุทธศาสนา เช่นสถูปทรงโอ คว่า ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่มีอยู่ในอินเดีย คือ แบบ สาญจิ ระยะ พุทธศักราช ๓๐๐-๖๐๐ เป็นสถูปซึ่งสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าอโศก มหาราช และเชื่อว่าคงแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนไทยเมื่อพระองค์ได้ส่งสมณทูต คือ พระโสณเถระ และพระอุตรเถระ เข้ามาเผยแพร่ ศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ประเทศไทย จึงพบสถูป
  • 4. รูป เหรียญเงินสมัยทวารวดีจารึกอักษรเป็นภาษาสันสกฤตว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ ” ทรงโอคว่า ในดินแดนภาคกลางของไทยหลายแห่ง เช่น พบที่นครปฐม ๔ องค์ คูบัว ราชบุรี ๗ องค์ อาเภออู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี ปราจีนบุรี บริเวณพระศรีมหาโพธิ์ และนครราชสีมา นอกจากสถูปทรงโอคว่าแล้ว ยังพบสิ่ง อื่น ๆ ที่สาคัญมากเช่น ธรรมจักรศิลาจารึกพระคาถา พบที่นครปฐม และลพบุรี ซึ่งสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกพระพุทธเจ้าตอนแสดงปฐม เทศนา นอกจากนั้นยังมีกวางหมอบปั้นด้วยดินเผา แสดงถึงป่า อีสิปตนมฤคทายวัน จึงแสดงว่าดินแดนไทยได้เริ่มรับ พระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานเข้ามา มีการใช้ภาษาบาลี ซึ่งจารึกลงในธรรมจักรศิลา นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปซึ่งทาด้วยสาริด ดินเผาหรือหิน มีขนาดเล็กและใหญ่สลักติดผนังถ้าเป็นปางประทับห้อยพระบาท ลักษณะเด่นของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี คือ พระเกตุมาลาเป็น ต่อมสั้น ขมวดพระเกตุ พระพักตร์แบนกว้าง พระ โอษฐ์แบะ พระหนุป้าน จีวรแนบติดพระองค์ พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ นอกจากนี้ยังพบเครื่องใช้ของคนในสมัยทวารวดี ตามดินแดนต่าง ๆ ซึ่งแหล่งที่พบส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ที่อาเภออู่ทอง ของใช้มีจาพวกถ้วยชามหม้อดินเผา ตุ๊กตารูปทรงต่าง ๆ เครื่องประดับและของใช้ที่ทาจากสาริดและหินสีต่าง ๆ เมื่อ พุทธศักราช ๒๕๐๙ ศาสตราจารย์ชอง บอสเซลิเยร์ (Jean Boissielier) นักโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยซอบอนด์ ประเทศฝรั่งเศส ดาเนินการขุดค้นร่วมกับทางราชการของไทยที่อาเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบโบราณวัตถุในช่วงสมัยนี้จานวนมาก นอกจากการค้าแล้ว ความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกยังดึงดูดให้ผู้คนจากดินแดนภายในตอนบนเคลื่อนย้าย ลงมาตั้งหลักแหล่งเพิ่มขึ้นจนเกิดเมืองใหญ่ขึ้นหลายเมือง การรับอารยธรรมอินเดียทาง ด้านศาสนา แบบแผนการปกครอง และศิลปวัฒนธรรม โดยนามาปรับตัวให้มีบทบาทใหม่ต่อสังคม ดึงดูดคติความเชื่อเดิมและ คติย่อยอื่นไว้ให้หลอมละลายเข้ากับ คนระดับล่างช่วยเชื่อมโยงความแตกต่างทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชนในดินแดนนี้ให้ยึดถือในความเชื่อศรัทธาเดียวกัน การ กาหนดแบบแผนของกษัตริย์ ที่เป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเน้นความสาคัญของประเพณี การทาบุญ การแบ่งชั้นสังคม เป็นชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นที่อยู่ใต้ปกครองโดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ปลูกฝังความเชื่อทางศาสนา ให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยเหตุที่กลุ่มเมืองต่าง ๆ ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าในภาคกลางมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับดินแดนตอนในอื่น ๆ
  • 5. อิทธิพลของทวารวดีในด้านพระพุทธศาสนา รูปแบบการปกครอง และศิลปวัฒนธรรมจึงแพร่หลายไปถึงเขตลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา ตอนบน คือ รัฐหริภุญชัยในภาคเหนือ และดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมือง เสมา จังหวัดนครราชสีมา ชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานคติพื้นเมืองเข้ากับพระพุทธศาสนา เช่น เดิมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของดินแดนแถบนี้ใช้สลักหิน ปักแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เมื่อพระพุทธศาสนาจากภาคกลางเข้า ไปถึมีการปรับปรุงโดยสลักภาพสถูปเจดีย์ ภาพพุทธประวัติ ชาดก ลงบนแผ่นหินนั้น แล้วนาไปปักไว้แสดงเครื่องหมายของการ เป็นสถานที่สาคัญทางศาสนา จึงเกิดเป็นคติและประเพณีการปักเสมาหิน ตามศาสนาสถาน และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เป็น จานวนมาก การศึกษาในทางโบราณคดีว่า เมืองอู่ทองเป็นศูนย์กลางสาคัญของรัฐทางด้านการเมืองปกครองและเศรษฐกิจ เนื่องจาก พบซากตัวเมืองอันประกอบด้วยปราสาทราชวังมีขนาดใหญ่โตแข็งแรง สมกับเป็นที่ประทับของกษัตริย์และผู้ปกครอง และยังพบ โบราณวัตถุประเภทสินค้า เช่น เครื่องถ้วยชาม เครื่องประดับทาด้วยเงิน ทอง สาริด เป็นจานวนมาก รวมทั้งเหรียญกษาปณ์ สาหรับซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้าอีกด้วย สาหรับเมืองนครปฐม เป็นศูนย์กลางในทางพุทธศาสนาในสมัย ทวารวดี หลักฐาน ที่ปรากฏคือซากเจดีย์ขนาดใหญ่ ปัจจุบันคือองค์พระปฐมเจดีย์ และพบโบราณวัตถุซึ่งเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเป็นจานวนมาก เช่น พระพุทธรูป เสมาธรรมจักร กวางหมอบ อย่างไรก็ตามกลุ่มเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าภาคกลาง มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับดินแดนตอนในอื่น ๆ อิทธิพล ของทวารวดีในด้านพุทธศาสนา รูปแบบการปกครองและศิลปวัฒนธรรม จึงแพร่หลายไปถึงเขตลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนบน คือ รัฐ หริภุญชัยในภาคเหนือ และดินแดนหลายส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา ชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานคติพื้นเมืองเข้ากับพุทธศาสนา เช่นเดิม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของดินแดนภาคนี้ ได้ใช้หินปักแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เมื่อพุทธศาสนาจากภาคกลางเข้าไปถึง จึงมีการ ปรับปรุงโดยสลักภาพสถูปเจดีย์ ภาพพุทธประวัติ ชากด จึงเกิดเป็นคติและประเพณีการปักเสมาหิน ตามศาสนสถาน และสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ จานวนมาก ดังนั้นรัฐทวารวดีจึงมีความสาคัญต่องานด้านพื้นฐานทางวัฒนธรรมโดยวัฒนธรรมทวารดีแบ่งออกได้ เป็น ๓ กลุ่ม คือ ๑ วัฒนธรรมทวารวดีแถบภาคกลาง บริเวณดังกล่าวได้แก่ ท้องที่ในเขตจังหวัด นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี นครสวรรค์ ชัยนาท เพชรบุรี เป็นต้น งานศิลปกรรมในเขตดังกล่าวส่วนใหญ่ฝีมือช่างจะสูงกว่าเขตอื่น ๆ ๒ วัฒนธรรมทวารวดีแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบแถบจังหวัดกาฬสินธุ์ นครราชสีมา และนครพนม เป็นต้น รูปแบบของศิลปะมีการผสมผสานกับฝีมือช่างพื้นเมืองเป็นอันมาก ๓ วัฒนธรรมทวารวดีแถบภาคเหนือ ส่วนใหญ่พบที่จังหวัดลาพูน เชื่อกันว่าศิลปกรรมทวาราวดีกลุ่มนี้คงขึ้นไปจาก ละโว้ตั้งแต่ครั้งสมัยพระนางจามเทวีปกครองหริภุญชัย ศิลปกรรมของสมัยทวารวดีส่วนใหญ่จะยึดถือแบบแผนของศิลปะอินเดียในสกุลช่างสมัยอมราวดี คุปตะและปาละ ศิลปกรรมบางชิ้นมีลักษณะคล้ายผลงานของพวกเอเชียไมเนอร์โบราณ ดังนั้นจึงอาจจะเป็นไปได้ที่ทวารวดีอาจจะเคยเป็นแหล่ง การค้าสาคัญแหล่งหนึ่งในสมัยนั้น สาหรับหลักฐานด้านการเมืองการปกครองของรัฐทวารวดีไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนแต่ประการใด พบพระนามกษัตริย์ ทวารวดีองค์หนึ่งนามว่า พระอาทิตย์ ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ก็ไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ แต่ประการใด อย่างไรก็ตามจากผลของการขุดค้นพลกลุ่มโบราณสถานของสมัยทวารวดีในบริเวณภาคกลาง และใกล้เคียงหลาย แห่งนักประวัติศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวสันนิษฐานว่า การปกครองของรัฐทวารวดีคงจะแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มมีพระราชา ปกครองและเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน ทวารวดีเสื่อมอานาจลงไปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หลังจากกัมพูชาได้แผ่อิทธิพลถึง
  • 6. แม่น้าเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันการค้นคว้าเกี่ยวกับทวารวดีในปัจจุบันได้สร้างคาถามใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ที่มีกับคาว่า “ทวารวดี” ว่าเป็นชื่อของรัฐหรือของบุคคล การสรุปว่าเมืองหลวงของรัฐทวารวดี ควรอยู่ที่ลพบุรี ล้วนเป็นคาถามที่ทาให้ การศึกษาเกี่ยวกับทวารวดียังคงท้าทายความสนใจอยู่แม้แต่ในปัจจุบัน ๒ ศรีวิชัย ศาสตราจารย์ ยอร์จ เซเดส์ เป็นผู้บัญญัติคาว่า “ศรีวิชัย” ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๖๑ จากการอ่านศิลา จารึกหลักที่ ๒๓ (ศิลาจารึกหลักนี้อาจอยู่ที่วัดเสมาเมือง อาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และที่วัดหัวเวียง อาเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ซึ่งศิลาจารึกได้ลงศักราชกากับว่า พุทธศักราช ๑๓๑๘ ระบุข้อความเกี่ยวกับพระเจ้ากรุงศรีวิชัย เมื่อนาไป ประกอบกับบันทึกของหลวงจีนอี้จิงที่เดินทางมาศึกษาพระธรรมวินัย เมื่อ พุทธศักราช ๑๒๑๔ ที่ชิลีโฟชิ คือ ศรีวิชัย และให้ข้อ สันนิษฐานอย่างมั่นใจว่า ศรีวิชัยเป็นรัฐหนึ่งที่มีอานาจทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ครอบคลุมหมู่เกาะบริเวณตอนใต้ ของคาบสมุทรมลายู ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา สมมติฐานของศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดส์ นับเป็นจุดเริ่มแรกที่ทาให้นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีเกือบทั่วโลก สนใจต่อการเป็น”รัฐศรีวิชัย” นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเป็นจานวนมากมีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอของ ศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดส์ แต่มีอีกหลายท่านคัดค้าน เช่น ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี ทรงเชื่อว่าศูนย์กลางของ ศรีวิชัยน่าจะอยู่บนคาบสมุทร บริเวณอาเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีขอบเขตถึงอาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมานักวิชาการอีกหลายท่านได้เสนอหลักฐานและความเห็นว่า ศรีวิชัย ไม่ใช่ชื่อรัฐที่มีศูนย์กลางของอานาจในการ ควบคุมเศรษฐกิจและการเมืองอยู่ที่เมืองใดเมืองหนึ่งเพียงเมืองเดียว แต่เป็นชื่อกว้าง ๆ ทางศิลปะและวัฒนธรรมของกลุ่ม บ้านเมือง หรือ รัฐน้อยใหญ่ที่มีวัฒนธรรมบางประการร่วมกัน เช่น การนับถือศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงออกทางศิลปกรรม ที่เรียกกันว่า “ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย” หากกลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้น หรือรัฐน้อยใหญ่ที่มีรูปแบบทางศิลปวัฒนธรรมร่วมกันในชื่อศรีวิชัย จะมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแล้ว กลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้นหรือรัฐน้อยใหญ่เหล่านี้ ไม่ว่าจะตั้งอยู่บนคาบสมุทร หรือบนหมู่เกาะแห่งใดแห่งหนึ่งก็ตาม ต่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในลักษณะที่เรียกกันในสมัยหลัง ๆ ว่าสมาพันธรัฐ หรือ สหพันธรัฐ ซึ่งศูนย์กลางของอานาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเข้มแข็งของผู้นาแต่ละท้องถิ่น ที่สามารถควบคุมอานาจทางการ เมืองและการค้า ดังนั้นศูนย์กลางของศรีวิชัยอาจอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา หรืออาเภอไชยา สุราษฎร์ธานี หรือบน คาบสมุทรมลายู แต่ไม่มีอานาจแท้จริงที่จะควบคุมหรือบังคับบัญชาบ้านเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป บ้านเมืองอื่น ๆ จึงมีอิสระ ในการปกครองตนเองอย่างค่อนข้างสมบูรณ์ การเข้ามาร่วมอยู่ในสมาพันธรัฐ ก็เพราะมีความเลื่อมใสศรัทธาในระบบความเชื่ออย่าง เดียวกัน และหวังผลประโยชน์ทางการค้าทางทะเลร่วมกัน ศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้า เนื่องจากศรีวิชัยตั้งอยู่ในเขตของเส้นทางการค้าทางเรือ จึงสามารถหาผลประโยชน์ ทางการค้าและการเดินเรือ ศรีวิชัยจึงเป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าขายระหว่างจีนกับอินเดียและอาหรับ ศรีวิชัยเริ่มมีอานาจขึ้นใน พุทธศักราช ๑๓๑๘ และเจริญรุ่งเรืองมากเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ในสมัยที่ราชวงศ์ไศเลนทร์จากชวาแผ่อานาจเข้ามา ปกครอง สมัยนี้บ้านเมืองมั่งคั่งมาก เนื่องจากมีผู้นาที่มีความเข้มแข็งและมีการค้าขายกับจีนอินเดียและอาหรับ ตลอดเวลาที่ศรี วิชัยมีอานาจแม้จะถูกรุกรานจากชนต่างชาติเป็นระยะ ๆ เช่น การรุกรานของพวกโจฬะจากอินเดียภาคใต้ การรุกรานของพวก ชวา แต่รัฐศรีวิชัยก็ยังคงดารงอยู่ได้ ดังจะเห็นได้จากเอกสารจีนที่กล่าวถึงศรีวิชัยว่า ในกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีเมืองขึ้นไม่ น้อยกว่า ๑๕ แห่ง เช่น ปาหัง ตรังกานู กลันตัน พัทลุง ตามพรลิงค์ เป็นต้น
  • 7. วัฒนธรรมของศรีวิชัย เนื่องจากศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางทางการค้า จึงมีพ่อค้าเดินทางเขัามาติดต่อค้าขาย พวกนี้นอกจาก นาความมั่งคั่งมาสู่รัฐแล้ว ยังนาความเจริญ ต่าง ๆ เข้ามาด้วย รัฐศรีวิชัยจึงเป็นแหล่งรับอารยธรรมของต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย และถ่ายทอดไปยังดินแดนแห่งอื่น ความเจริญที่สาคัญ คือ การปกครอง รัฐศรีวิชัยจัดการปกครองแบบเทวราชาตามแบบการปกครองของคุปตะแห่งอินเดีย ศาสนา รัฐศรีวิชัยนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ศาสนาทั้งสองได้เจริญควบคู่และผสมผสานเข้าด้วยกัน พุทธศาสนาที่เข้าสู่ ศรีวิชัย ระยะแรกเป็นนิกายมหายาน แต่ระยะหลังเป็นหินยาน ซึ่งพบหลักฐานจานวนมากที่นครศรีธรรมราช ศิลปกรรมและ สถาปัตยกรรม โบราณสถานส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา เช่น วิหาร ในชวา คือ บูโรพุทโธในประเทศไทย คือ เจดีย์ พระบรมธาตุไชยา เจดีย์วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ประติมากรรม มีการสร้างพระพุทธรูป เทวรูป และแกะสลักภาพนูน ต่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาและวรรณคดีประติมากรรมที่พบ คือ รูปพระนารายณ์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระ โพธิสัตว์ปัทมปาณิ รัฐศรีวิชัยเริ่มเสื่อมอานาจลงในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สาเหตุเนื่องจากจีนได้เปลี่ยนระบบการค้าใหม่ โดยสนับสนุนให้ ชาวจีนนาเรือออกทะเล ตรงไปค้าขายกับบรรดาบ้านเมืองที่อยู่ในเขตชายทะเลรวมทั้งภายในดินแดนที่อยู่ในภาคพื้นต่าง ๆ โดยตรงผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทาให้ศรีวิชัยซึ่งเคยมั่งคั่ง และมีอานาจ ต้องเสื่อมอานาจลง ในปี พุทธศักราช ๑๗๗๓ พระ เจ้าจันทรภาณุกษัตริย์ของ รัฐตามพรลิงค์ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ต่อมา พุทธศักราช ๑๘๑๘ พระเจ้ากฤตนครแห่งชวา ได้ยกทัพจากชวาเข้าโจมตีศรีวิชัย ศรีวิชัย ตกเป็นเมืองขึ้นของชวา และเมื่อถึงสมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราช พระองค์ได้ขยายอานาจเข้ายึดรัฐตามพรลิงค์ และรัฐต่าง ๆ ใน แหลมมลายู ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของศรีวิชัยใน พุทธศักราช ๑๙๓๘ รัฐศรีวิชัยจึงเสื่อมหายไป ๓ ตามพรลิงค์ ตามพรลิงค์รัฐ หรือ นครศรีธรรมราช เป็นชุมชนสาคัญแถบชายทะเลในดินแดนภาคใต้ของประเทศไทย จดหมายเหตุ จีนเรียกว่า"ต้นเหมยหลิว" ตรงกับคาว่า "ตามพรลิงค์" ซึ่งปรากฏในเอกสารอินเดีย และศิลาจารึกที่พบในท้องถิ่น รัฐนี้เป็น ทางผ่านในการเดินเรือระหว่างอินเดียกับจีนโดยติดต่อกับอินเดียใต้มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ จึงเป็นแหล่งรับอิทธิพลอารย ธรรมอินเดียและจีนมาแต่โบราณ เมื่อถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ รัฐนี้ได้มีอานาจครอบคลุมส่วนใหญ่ของภาคใต้ของไทย มี อานาจทางการเมืองครอบคลุมเมืองต่าง ๆ ถึง ๑๒ เมืองด้วยกัน คือ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร ปันไทยสมอ สงขลา ตะกั่วป่า และกระบุรี โดยใช้สัตว์ประจาปีเป็นตราของเมืองนั้น ๆ เช่น สายบุรีใช้ตราหนู (ชวด) ปัตตานีใช้ตราวัว (ฉลู) กลันตันใช้ตราเสือ (ขาล) ปาหังใช้ตรากระต่าย (เถาะ) เป็นต้น ความสาคัญของนครศรีธรรมราชในฐานะเป็นแหล่งรวมสินค้า ทาให้ชุมชนขยายตัวจนกลายเป็นรัฐสาคัญในตอนพุทธ ศตวรรษที่ ๑๑ พัฒนาต่อเนื่องไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ปรากฏพระนามกษัตริย์ชื่อ "ศรีธรรมาโศกราช" และ "จันทรภาณุ" ครองเมืองนครศรีธรรมราช แต่นครศรีธรรมราชยังเป็นรัฐที่มีบทบาทสาคัญทางด้านพระพุทธศาสนาในฐานที่เป็นจุดเริ่มต้นของ พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ในประเทศไทยก่อนจะได้แพร่หลายไปยังอาณาจักรสุโขทัย และหัวเมืองอื่น ๆ และความสาคัญของพระ บรมธาตุนครศรีธรรมราชที่มีต่อภาคใต้ยังช่วยสะท้อนความสาคัญตั้งแต่อดีตของรัฐนี้ได้เป็นอย่างดี แม้จะถูกผนวกเข้าไปเป็นส่วน หนึ่งของอยุธยาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก็ตาม
  • 8. รูป ตราประจาเมืองนครศรีธรรมราช ๔ โคตรบูร รัฐโคตรบูร มีที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีศุนย์กลางอยู่ที่นครพนม มีเจดีย์พระธาตุพนมเป็นศาสนสถาน หลักของรัฐ ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนสองฝั่งแม่น้าโขง ในแอ่งสกลนคร ตั้งแต่อุดรธานี หนองคาย เวียงจันทน์ นครพนม จดเขตมุกดาหาร อุบลราชธานี ทาเลที่ตั้งเป็นชุมทางคมนาคมที่ทางเหนือติดต่อกับเขตยูนาน และภาคเหนือของไทย ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเส้นทางติดต่อกับเวียดนาม และข้ามไปติดต่อกับพวกจามทางตะวันออก เฉียงใต้ ลงใต้ตามลาน้าโขงติดต่อกับพวกขอม ทางตะวันตกสามารถติดต่อกับชุมชนในแอ่งโคราช สุโขทัย และอโยธยา ความ หลากหลายของคติและรูปแบบทางศิลปกรรมตลอดจนวัตถุทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่พบช่วยอธิบายถึงความหลากหลายของคนหลาย กลุ่มหลายเหล่าที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนี้ หรือสัญจรผ่านทางคมนาคม สันนิษฐานได้ว่า เดิมกลุ่มชนในดินแดนแถบนี้นับถือผี อันเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่ยึดถือกันและมีการบูชาพระยานาค ต่อมาได้หันไปนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทตามแบบทวารวดี ซึ่ง แพร่ขึ้นไปจากลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาเข้าไปยังลาน้ามูลและลาน้าชี แล้วแพร่หลายไปทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้หลักฐาน จากตานานอุรังคธาตุว่าด้วยประวัติความเป็นมาของบ้านเมืองในแถบนี้ กล่าวถึงการสร้างโบราณสถานสาคัญทางพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ในรัฐโคตรบูร คือ เจดีย์พระธาตุพนม ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นเจดีย์สถานที่เก่าแก่ที่สุดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อกันว่าภายในเจดีย์เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (อุรังคธาตุหมายถึงพระบรมธาตุส่วนหน้าอกของ พระพุทธเจ้า) เจดีย์นี้ถูกสร้างขึ้นโดยชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้าโขงเป็นปูชนียสถานที่ตั้งรวมศรัทธาและความเชื่อ ของพุทธศาสนิกชนแถบลุ่มแม่น้าโขงและดินแดนต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและดารงความสาคัญทั้งในระดับชาติและ ภูมิภาคแม้แต่ในปัจจุบัน รัฐโคตรบูรนอกจากจะมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม กับดินแดนลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาในระยะแรกแล้ว ยังมีบทบาทต่อ การอพยพโยกย้ายของกลุ่มคนหลายเผ่าพันธุ์ในลุ่มน้าโขงส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกลาวที่เข้าสู่สุโขทัยและแม้แต่ในตอนในของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะต่อมา
  • 9. รูป พระธาตุพนม ๕ หริภุญชัย รัฐทางภาคเหนือของไทยปรากฏชื่อหริภุญชัยเป็นรัฐแรก เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มชนพื้นเมืองบนที่ราบสูงกับคนจาก ภาคกลางซึ่งเจริญกว่า ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าปิงตอนบนและลาน้าแม่กวง หลักฐานทางตานานกล่าวว่าก่อตั้งขึ้นประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ แต่หลักฐานโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าน่าจะก่อตัวประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ตานานมูลศาสนาระบุว่า ทางเมืองเหนือได้ติดต่อขอพระนางจามเทวีธิดากษัตริย์ผู้ครองเมืองละโว้ขึ้นไปปกครอง การขึ้นไปสร้างเมืองหริภุญชัยเป็นรัฐใหม่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมครั้งสาคัญ เพราะพระนางจามเทวีได้นาคณะสงฆ์ นักปราชญ์ ช่างศิลปะแขนง ต่าง ๆ ขึ้นไปด้วยเป็นจานวนมาก อิทธิพลของวัฒนธรรมทวารวดีจึงได้แพร่ขยายไปยังดินแดนตอนเหนือ ที่สาคัญคือการรับ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาสาคัญของบ้านเมืองจนกลายเป็นศูนย์กลางสาคัญของวัฒนธรรมพุทธศาสนาในภาคเหนือ ก่อนการตั้งเมืองเชียงใหม่ มีการสร้างวัดและรับการปกครองที่มีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุข รวมทั้งการจัดรูปแบบการปกครอง ตามแบบภาคกลางที่ได้รับวัฒนธรรมสืบทอดจากอินเดียอีกต่อหนึ่งด้วย สมัยพระนางจามเทวีเป็นระยะเวลาของการก่อสร้างเมือง ขยายอาณาเขตไปสร้างเมืองเขลางค์นคร (ลาปาง) ในลุ่มแม่น้าวัง เป็นเมืองคู่กับเมืองหริภุญชัย (ลาพูน) นอกจากมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเมืองละโว้แล้ว ต่อมารัฐหริภุญชัยยังมี ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ,สังคมและวัฒนธรรมกับเมืองหงสาวดี และเมืองนครศรีธรรมราชด้วย รัฐหริภุญชัยมีกษัตริย์จาก ราชวงศ์ต่าง ๆ ปกครองต่อกันมาเป็นเวลากว่า ๔๐๐ ปี ก่อนที่จะตกอยู่ภายใต้อานาจของพญามังรายใน พุทธศักราช ๑๘๒๔ อย่างไรก็ตามหริภุญชัยก็ยังคงเป็นแหล่ง ความเจริญทางด้านพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ที่เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักร ล้านนาได้รับสืบทอดต่อมา
  • 10. ๖ ล้านนา รัฐล้านนาเป็นการรวมตัวกันของชุมชนและเมืองต่าง ๆ แถบที่ราบลุ่มเชียงรายและที่ราบลุ่มเชียงใหม่ ทางตอนเหนือของ ไทย เป็นการรวมตัวของเผ่าพันธุ์หลายกลุ่ม เช่น พวกลัวะ ลาว ไต ม่าน เม็ง เป็นชาวเชียงใหม่ หรือ “คนเมือง” ซึ่งสื่อสารกัน ด้วยภาษาไทยลาว แต่ในการเขียนนั้นใช้ตัวอักษรต่างไปจากตัวอักษรสุโขทัย ได้มีการผสมผสานกันทางวัฒนธรรมและทางการ แต่งงานระหว่างชนทั้งสองกลุ่ม เรียกว่า "พวกยวน" หรือ"พวกโยนก" ต่อมาเชียงใหม่รวมบ้านเล็กเมืองน้อยทั้งหลาย เกิดเป็น แว่นแคว้นมีชื่อเรียกว่า “ล้านนา” ดินแดนบริเวณแม่น้าปิง แม่น้ากกและแม่น้าโขง มีชุมชนตั้งกระจายอยู่ทั่วไป ประชาชนส่วนใหญ่นับถือ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทควบคู่กับความเชื่อถือในผีและวิญญาณของบรรพบุรุษ มีผู้ปกครองเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน แต่ก็มี ความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ ทางการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จนเกิดเป็นรัฐสาคัญขึ้นสองรัฐในเวลาต่อมา ได้แก่ รัฐ โยนกเชียงแสน ในประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ โดยพระเจ้าสินหนวัติทรงสร้างเมืองโยนกนาคพันธุ์ในบริเวณลุ่มแม่น้าโขง เขตที่ราบเชียงราย ตานานสิงหนวัติกล่าวว่า ต่อมาเมืองโยนกนาคพันธุ์เกิดภัยวิบัติน้าท่วมถล่มเมืองจนล่มเป็นหนองน้าใหญ่ และ ยังถูกรุกรานจากภายนอกอีกด้วย รัฐโยนกเชียงแสนจึงสูญเสียอานาจทางการเมือง ส่วนรัฐเงินยางเชียงแสนอายุประมาณต้นพุทธ ศตวรรษที่ ๑๓ ลวจังกราชหรือปู่จ้าวลาวจกเป็นหัวหน้าผู้คนที่อยู่บนที่สูงบริเวณดอยตุง ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมายังที่ราบลุ่ม แม่น้ากกสร้างเมืองหิรัญนครเงินยาง หรือเชียงแสนเป็นศูนย์การปกครองของรัฐ กษัตริย์สาคัญของรัฐนี้ คือ ขุนเจือง ทรงดาเนิน นโยบายขยายอานาจทางการเมืองโดยการส่งเจ้านายออกไปสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่บริเวณที่ราบลุ่มเชียงราย พะเยา ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พญามังรายเชื้อสายปู่เจ้าลาวจกขึ้นครองรัฐเงินยางเชียงแสน ใน พุทธศักราช ๑๘๐๒ เมื่อมี พระชนมายุ ๒๒ พรรษา ทรงสามารถสร้างสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายกว้างขวางกับรัฐล้านช้าง สุโขทัย ศรีสัชชนาลัย นอกเหนือจากสหสัมพันธ์ทางภาษาแล้ว พุทธศาสนาก็ยังเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้ภาษาไทเข้าไว้ด้วยกัน ที่สาคัญบรรดาผู้นาของกลุ่มที่ ใช้ภาษาไทเหล่านี้ ต่างประสานไมตรีบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทางเครือญาติ มิตรภาพและความร่วมมือหลังการขัดแย้ง ทาให้ เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมได้ในระดับหนึ่ง อย่างน้อยการทาสัตย์สาบานระหว่างพญาร่วง (พ่อขุนรามคาแหง) พญามังราย พญางาเมือง ริมฝั่งแม่น้าอิง ตามเรื่องเล่าในตานาน ก็สะท้อนความสมานฉันท์ทางการเมืองและวัฒนธรรมอยู่ระยะเวลาหนึ่งในปี พุทธศักราช ๑๘๓๙ พญามังรายทรงประสบความสาเร็จในการรวบรวมเมืองบริเวณที่ราบลุ่มเชียงราย และที่ราบลุ่มเชียงใหม่ไว้ใน อานาจรวมทั้งรัฐหริภุญชัยด้วย ทรงเลือกชัยภูมิที่เหมาะสมเพื่อเป็นศูนย์รวมอานาจภาคเหนือตอนบน โดยสร้างเมืองนพบุรีศรี นครพิงค์เชียงใหม่ เป็นราชธานีแห่งใหม่ที่บริเวณลุ่มแม่น้าปิง ในรัชสมัยของพญามังราย (พุทธศักราช ๑๘๐๒-๑๘๖๐) ล้านนาขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง รวมพื้นที่เมือง เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลาพูน ลาปาง แพร่ น่าน ไปจดเขตแดนเมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง และสิบสองปันนา พญามังราย ทรงโปรดให้ตรากฎหมาย "มังรายศาสตร์" เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองจัดระบบการใช้ที่ดินและบารุงดูแลเหมืองฝายสาหรับการ ชลประทานเพื่อส่งเสริมการทามาหากินของประชาชน มีตัวหนังสือของตนเอง เรียกว่า "อักษรไทยยวน" ด้านศาสนา ในชั้น แรกล้านนารับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ผ่านทางกรุงสุโขทัย ต่อมาได้ส่งพระสงฆ์หลายรูปเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ ลังกาโดยตรง จนทาให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ มีพระสงฆ์ทรงความรู้ทาง พระพุทธศาสนา ในสมัยพระเจ้าติโลกราชพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองจนได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่วัดโพธาราม วิหาร (วัดเจ็ดยอด)เมืองเชียงใหม่ใน พุทธศักราช ๒๐๒๐ นับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกในดินแดนเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ กษัตริย์ราชวงศ์มังรายครองอาณาจักรล้านนาสืบต่อกันมาเป็นเวลานานถึง ๒๖๒ ปี นับตั้งแต่พญามังรายสร้างเมือง เชียงใหม่เป็นราชธานีใน พุทธศักราช ๑๘๓๙ จนมาสิ้นอานาจลงตกเป็นเมืองขึ้นของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองใน
  • 11. พุทธศักราช ๒๑๐๑ หลังจากนั้นล้านนาก็ตกอยู่ใต้อานาจของไทยบ้างพม่าบ้าง สามารถปกครองตนเองเป็นอิสระชั่วระยะเวลาอัน สั้นเท่านั้น เชียงใหม่กลับมาขึ้นอยู่กับกรุงธนบุรีใน พุทธศักราช ๒๓๑๗ ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนาในฐานะประเทศราชกับ กรุงรัตนโกสินทร์ส่วนใหญ่เป็นไปอย่างราบรื่น จนถึงการปฎิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้านนาจึงได้เข้ามารวมเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย ๗ สุโขทัย รัฐสุโขทัย เป็นการรวมกลุ่มเมืองที่กระจายตัวอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้า ยม น่าน และปิง เช่น เมืองศรีสัชนาลัย เมือง สุโขทัยในลุ่มแม่น้ายม เมืองสระหลวง (พิจิตร) เมืองสองแคว (พิษณุโลก)ในลุ่มแม่น้าน่าน เมืองนครชุม เมืองกาแพงเพชร และ เมืองพระบาง (นครสวรรค์) ในลุ่มแม่น้าปิง โดยมีสุโขทัยรับบทบาทนาทางการค้าจากการที่ตั้งอยู่ตรงจุดที่เป็นเส้นทางคมนาคม ภายในภูมิภาคตัดผ่านและสามารถติดต่อกับเมืองในลุ่มแม่น้าโขง มอญ พม่า ตลอดจนศูนย์กลางสาคัญอื่นในประเทศได้ โดยสะดวกจนสามารถสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติและดาเนินวิเทโศบายเหนือผู้อื่น รัฐสุโขทัยมีพัฒนาการมาจากเมืองสาคัญ ๒ เมืองบนที่ราบลุ่มแม่น้ายม คือ เมืองเชลียง (ต่อมาคือศรีสัชนาลัย) และ เมืองสุโขทัย เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ทางการเมืองที่เรียกว่า ระบบเมืองคู่ และสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เป็นระบบเครือ ญาติกับเมืองและรัฐใกล้เคียง เช่น ลพบุรี เชียงใหม่ อโยธยา ไปจนถึงกัมพูชา แม้ว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ในเขตลุ่มแม่น้ายม จะไม่อุดมสมบูรณ์มากนักจนพอเพียงที่จะดึงดูดประชากรให้มาตั้งถิ่นฐานเพื่อให้สุโขทัยเป็นรัฐที่เติบโตได้ยาวนาน แต่สุโขทัยมี โอกาสที่ดีจากประกอบกับการที่ตั้งอยู่ตรงจุดที่เป็นเส้นทางคมนาคมภายในภูมิภาคตัดผ่านและสามารถติดต่อกับเมืองท่าสาคัญเช่น เมาะตะมะได้ ทาให้.เมื่อจีนประสบอุปสรรคในการส่งเครื่องปั้นดินเผาออกนอกประเทศ สุโขทัยสามารถสะสมความมั่งคั่งจาก การค้าสินค้าชนิดนี้กับต่างประเทศได้แทนจีนในช่วงเวลานั้น ข้อจากัดนี้ทาให้สุโขทัยสามารถเป็นศูนย์อานาจทางการเมืองใน เวลาที่จากัดหลังจากที่เกิดศูนย์อานาจทางการเมืองอื่นขึ้นมาแข่งขันสุโขทัยไม่อาจที่จะต่อต้านได้ด้วยกาลังของตนจนต้องเลือกการ ยอมรับการรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรที่เข้มแข็งกว่าเช่นอยุธยาในเวลาต่อมา ๘ สุพรรณภูมิ รัฐสุพรรณภูมิ เป็นรัฐที่เติบโตมาจากชุมชนเมืองทางด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาซึ่งสืบเนื่องมาจากกลุ่มเมือง หลัก ๓ เมือง คือ อู่ทอง-นครชัยศรี-คูบัว ของแคว้นทวารวดีเดิม โดยตั้งอยู่ตรงทาเลได้เปรียบจากการติดต่อค้าขายทางทะเลได้ สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพ่อค้าจีน พ่อค้าในถิ่นนี้สามารถติดต่อกับจีนเองโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์ อักษรว่า ละโว้และเพชรบุรีติดต่อค้าขายกับจีน เอกสารจีนกล่าวถึงชื่อเจนลี่ฟูซึ่งน่าจะหมายความถึงสุพรรณบุรีว่าเป็นเมืองท่า ค้าขายที่สาคัญในสมัยนั้น จึงสามารถสร้างความเป็นตัวเองทางด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้สังคมเจริญเติบโตและมีศักยภาพพอที่จะ เกิดเป็นรัฐสาคัญขึ้นได้ในภายหลัง อย่างน้อยหลักฐานการติดต่อค้าขายกับจีนก็มีอยู่โดยตลอดตั้งแต่ยุคนี้เรื่อยไป จนถึงสมัยพระ นครินทราชาธิราช สุพรรณภูมิเป็นรัฐที่รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจรัฐหนึ่งในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ บรรดาเมืองสาคัญของรัฐ เช่น เพชรบุรี ราชบุรี มีลาน้าผ่านเมืองซึ่งสามารถเป็นเส้นทางติดต่อกับดินแดนภายในและติดต่อกับทะเลได้ โดยเฉพาะเมืองเพชรบุรีเป็น เมืองท่าสาคัญที่คุมเส้นทางติดต่อกับรัฐทางตอนใต้ เช่น รัฐนครศรีธรรมราช รัฐสุพรรณภูมินั้นเติบโตในระยะเวลาใกล้เคียงกับ รัฐอโยธยา คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีกษัตริย์ปกครองเช่นเดียวกับรัฐอโยธยาโดยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สาคัญ คือ การ ปลูกข้าว และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เช่น แหล่งเตาเผาบ้านสมุน ผลิตภาชนะเนื้อดินจานวนมากสาหรับประโยชน์ ใช้สอยประจาวัน รูปแบบภาชนะและลวดลายเป็นลักษณะเฉพาะของเตาเผาเมืองสุพรรณบุรี และปรากฏว่ามีการผลิตจานวน
  • 12. มากแต่ไม่พบว่ามีการส่งภาชนะลักษณะนี้เป็นสินค้าออก จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการผลิตเพื่อสนองความต้องการของประชากรใน ท้องถิ่น อย่างน้อยชุมชนบริเวณนี้ต้องเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเมืองสาคัญต่าง ๆ ในช่วงเวลา เดียวกัน เช่น ลพบุรี และอโยธยา การเกิดอาณาจักรอยุธยาจึงเป็นการรวมตัวสุพรรณบุรี ละโว้ สุโขทัย อโยธยา หลังจาก การที่พระนครินทราชาธิราชจากสุพรรณบุรีครองสุโขทัยแล้วมาปกครองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเอกสารจีนบันทึกการรวมตัวครั้งนี้ว่า เสียมหลอฮก ซึ่งหมายถึง กรุงศรีอยุธยา จึงเป็นการรวมเมืองของสยาม คือ เสียม ละโว้และสุพรรณภูมิ มาก่อตั้งเมืองหลวงที่กรุง ศรีอยุธยา ใน พุทธศักราช ๑๘๙๓ ๙ ลพบุรี ละโว้ หรือลพบุรี เป็นเมืองเก่ามาตั้งแต่ครั้งก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้าลพบุรี เมืองละโว้มีหลักฐานทาง โบราณคดีว่า ได้มีมนุษย์อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ เชิงเขาทางด้านตะวันออกของเมืองละโว้ตั้งแต่สมัยหินกลางจนถึงสมัยหินใหม่ และ ที่สาคัญคือสมัยโลหะตอนปลายได้มีการขุดพบหลุมฝังศพในบริเวณศูนย์การทหารปืนใหญ่ ซึ่งอยู่เชิงเขาพระงาม โบราณวัตถุที่พบ นั้นแสดงว่าคนเหล่านั้นมีความเจริญทางเทคนิควิทยาสูง มีเครื่องใช้ทาด้วยโลหะที่มีรูปร่างและฝีมือระดับสูง ผู้คนที่อยู่ในบริเวณนี้ มีความเจริญถึงขนาดทานาแบบทดน้า และได้มีการขยายชุมชนลงสู่ที่ราบลุ่ม มีการติดต่อกับผู้คนบริเวณอื่น เช่น ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ สมัยทวารวดีผู้คนที่อาศัยอยู่ตามเชิงเขาทางภาคตะวันออกของเมืองละโว้ได้เจริญขึ้น และได้ขยายชุมชนออกมาทางที่ราบ ลุ่มตะวันออก ละโว้เกิดเป็นเมืองขึ้นเมื่อต้นสมัยทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เพราะได้มีการพบเหรียญเงินที่มีคาจารึก เป็นภาษาสันสกฤตโบราณว่า “ลวปุระ” ละโว้ตั้งอยู่ตรงบริเวณที่มีการติดต่อถึงทะเลได้ นับเป็น “เมืองท่าชายฝั่ง” ที่มี ความสาคัญ ในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทางทะเล และรับวัฒนธรรมอินเดีย กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญของท้องถิ่น วัฒนธรรมรุ่นแรกของละโว้ คือวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมในพุทธศาสนาฝ่ายหีนยานมีการพบพระพุทธรูป ศิลาจารึก และซากพระสถูปแบบทวารวดีในรัฐละโว้ เช่น ที่วัดข่อยพบพระศิลา และศิลาจารึก นอกเมืองออกไปทางเขาพระพุทธบาทพบ รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปแบบทวารวดี ตามถ้าในภูเขา และที่วัดพุกร่าง พบถ้าที่มีจารึกอักษร อินเดียใต้ กล่าวถึงชื่อเมือง อนุราชปุระ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศลังกาในยุคนั้นแสดงการเกี่ยวข้องในทางวัฒนธรรมระหว่างลังกาและรัฐละโว้ในยุคนั้น ตานานชินกาลมาลีปกรณ์ของทางเหนือระบุว่า ในสมัยทวารวดีละโว้ได้ส่งพระนางจามเทวีขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย และนาเอา อารยธรรมต่างทางพุทธศาสนา และศิลปกรรมจากเมืองละโว้ไปหริภุญชัย ซึ่งเห็นได้จากลักษณะของศิลปกรรม เช่น พระพุทธรูป รูปปั้นดินเผาของเทวดาและยักษ์ที่ประดับสถาปัตยกรรมมีลักษณะคล้ายกับศิลปกรรมของละโว้ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ได้แผ่ขยายอานาจลงมาถึงตอนกลางของประเทศไทย ละโว้ได้รับอิทธิพล ศิลปกรรมจากขอม ศิลปะของละโว้จึงมีการผสมผสานกันระหว่างพุทธศาสนามหายาน และศาสนาฮินดู เรียกศิลปะสมัยนี้ว่า ศิลปะลพบุรี มีการสร้างโบราณสถานที่สาคัญคือ ปรางค์แขก พระปรางค์วัดมหาธาตุ พระปรางค์สามยอด พระพุทธรูปประทับนั่ง ปางนาคปรก รูปยักษ์ และเทวรูปศิลปะและวัฒนธรรมลพบุรี ซึ่งได้เจริญอยู่ในเมืองละโว้ได้รุ่งเรืองมากที่สุดในตอนกลางพุทธ ศตวรรษที่ ๑๘ ในระยะนี้ได้มีอิทธิพลของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และอิทธิพลของศิลปะขอมได้แพร่หลายเข้ามา มีการสร้าง พระพุทธรูปและเทวรูปแบบขอม เนื่องจาก ในระยะนี้อาณาจักรกัมพูชาตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์พระองค์นี้นับ ถือพุทธศาสนามหายาน พระองค์ได้ก่อสร้างศาสนสถานและอโรคยาศาลขึ้นหลายแห่งตามเมืองต่าง ๆ ในราชอาณาจักร ศิลปะ ขอมพุทธศาสนาลัทธิมหายานจึงแพร่เข้ามาและมีอิทธิพลต่อละโว้ และเมืองอื่น ๆ ในภาคกลางของประเทศไทยเพราะได้กลายมา เป็นแบบอย่างในการก่อสร้างศาสนสถาน ลพบุรี ได้เสื่อมลงในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เนื่องจากพุทธศาสนาหินยานลัทธิ