SlideShare a Scribd company logo
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
ภูมิหลังของอาณาจักรสุโขทัย
จารึกหลักที่ ๒ หรือที่เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า จารึกวัดศรีชุม ได้กล่าวถึงการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยไว้อย่างสังเขปว่า
พ่อขุนศรีนาวนาถุม เป็นกษัตริย์ครองศรีสัชนาลัย – สุโขทัย พระองค์ทรงมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ พ่อขุนผาเมือง เจ้า
เมืองราด ผู้ซึ่งเป็นพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง คือ พระยาคาแหงพระราม เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนศรีนาวนาถุมแล้ว มีเหตุการณ์
บางอย่างเกิดขึ้น ทาให้ขอมสบาด และโขลญลาพงยึดเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยไว้ได้ พ่อขุนผาเมืองและพระสหายของ
พระองค์ พ่อขุนบางกลางหาว จึงร่วมมือกันยกกองทัพมาปราบขอมสบาดและโขลญลาพง พ่อขุนทั้งสองได้ชัยชนะ ได้เมืองศรีสัช
นาลัยและเมืองสุโขทัยกลับคืนมา หลังจากนั้นพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์สุโขทัย เฉลิมพระนาม
ว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ศรีอินทราทิตย์” พระนาม “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” เป็นนามที่พ่อ
ขุนผาเมืองได้รับพระราชทานจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรเขมร และพ่อขุนผาเมืองได้มอบให้พ่อขุนบางกลางหาวใช้อีก
ต่อหนึ่งเมื่อจัดการเรื่องต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้กลับไปครองเมืองราด
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ถือว่าเป็นการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย และสันนิษฐานว่าคงจะเกิดขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘
ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๘๑ เมื่อพิจารณาจากปีที่ก่อตั้งจะเห็นได้ว่า สุโขทัยเกิดก่อนอาณาจักรไทยอื่น ๆ ที่อยู่ในสมัยเดียวกัน คือ
อาณาจักรล้านนา (พ.ศ. ๑๘๓๙) และอาณาจักรอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓) จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า เหตุใดชนชาติไทยในเขตตอนบน
ของลุ่มแม่น้าจ้าพระยาจึงสามารถรวมตัวกันและก่อตัวเป็นอาณาจักรได้สาเร็จก่อนคนไทยกลุ่มอื่น ๆ ที่กระจายกันอยู่ทั่วไปในอาณา
บริเวณนี้
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – พุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรเขมรมีอิทธิพลมาก และได้แผ่อานาจเข้ามาในแถบลุ่ม
แม่น้าเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อควบคุมดินแดนแถบนี้ เขมรได้ตั้งเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่าน อย่างไรก็ตาม ในช่วง
ระยะ ๒๐๐ ปีเศษ อานาจทางการเมืองของเขมรในแถบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่างไม่ได้อยู่ในสภาพคงที่ ดังจะเห็นได้ว่า
บางครั้งละโว้ได้ตั้งตนเป็นอิสระ ช่วงที่อาณาจักรเขมรมีอานาจมาก คือ รัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๕ – พ.ศ.
๑๕๙๓) พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖ – หลัง พ.ศ. ๑๖๘๘) และพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ราว พ.ศ. ๑๗๖๐)
สุโขทัยตั้งอยู่ทางตอนบนของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่อยู่ห่างจากนครธมหรือพระนครหลวง ราชธานี
ของอาณาจักรเขมรมากพอควร อานาจทางการเมืองของเขมรที่แผ่มาถึงอาณาบริเวณนี้จึงไม่มากเท่ากับทางแถบลุ่มแม่น้า
เจ้าพระยาตอนล่าง ด้วยเหตุนี้สุโขทัยจึงมีโอกาสที่จะก่อร่างสร้างอาณาจักรได้มากกว่า และได้ก่อนกลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้า
เจ้าพระยาตอนล่าง นอกจากนั้น ในช่วงระยะที่ชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยากาลังแผ่ขยายตัวและเริ่มมี
บทบาททางการเมืองมากขึ้นนั้น ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร
พระองค์ทรงมีนโยบายแผ่ขยายอานาจขึ้นไปทางเหนือของอาณาจักรด้วยการทาสงครามกับอาณาจักรจามปา ซึ่งต่อมาได้
กลายเป็นสงครามยืดเยื้อ
การที่ต้องพะวงกับการทาสงคราม ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยควบคุมดูแลดินแดนทางแถบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่าง
ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความสาคัญต่ออาณาจักรเขมรมากในแง่ยุทธศาสตร์ เพราะสามารถเข้าถึง กรุงยโสธร หรือ นครธม เมืองหลวง
ของอาณาจักรเขมรได้อย่างง่ายดาย ทาให้พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงไม่สามารถจัดการกับการแผ่ขยายบทบาททางการเมืองของชน
ชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาได้อย่างเต็มที่ พระองค์จึงต้องทรงสนับสนุนการก่อร่างสร้างเมืองของคนไทยกลุ่ม
นี้ในฐานะผู้ใหญ่ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้น้อย เพื่อผูกพันบ้านเมืองที่กาลังจะเริ่มเติบโตให้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเขมรใน
ลักษณะของผู้พึ่งพิง ดังจะเห็นได้จากการที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระราชทานพระขรรค์ชัยศรี พระนามกมรเตงอัญศรี
อินทรบดินทราทิตย์ และพระราชธิดา ชื่อ พระนางสุขรเทวีแก่พ่อขุนผาเมือง นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากการวางผังเมืองและ
การวางระบบชลประทานเพื่อนามาใช้ในเมืองสุโขทัยแล้วกล่าวได้ว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ คงจะทรงมีส่วนในการพระราชทาน
ทรัพย์สินสิ่งของ และช่างฝีมือแก่ผู้นาของคนไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือให้การสร้างเมืองสุโขทัย
บรรลุผลสาเร็จ
หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลง การเมืองไม่มีเสถียรภาพมีความวุ่นวายเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การ
เสื่อมอานาจของอาณาจักรเขมร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์อานาจทางการเมืองที่สาคัญยิ่งของดินแดนในแถบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา
ทาให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองสุโขทัยซึ่งได้ก่อร่างสร้างเมืองมาแล้วเป็นอย่างดี จึงสามารถก่อตั้งอาณาจักรของตนขึ้นมาได้ใน
ช่องว่างแห่งอานาจนี้ อย่างไรก็ตาม อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกก่อตั้งคงจะมีอาณาเขตไม่กว้างขวางนัก และยังไม่เป็นที่ยอมรับ
ของเมืองบางเมือง เช่น เมืองฉอด ดังนั้น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงต้องทาสงครามแผ่ขยายอาณาเขตออกไปเพื่อความมั่นคงของ
อาณาจักร ให้เมืองต่าง ๆ ยอมรับฐานะและอานาจของสุโขทัย ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างแนวป้องกันให้แก่เมืองหลวงด้วย
อาณาจักรสุโขทัย สามารถแผ่ขยายอาณาเขตออกไปได้อย่างกว้างขวาง ในสมัยพ่อขุนรามคาแหง(พ.ศ. ๑๘๒๒ – ๑๘๔๒) ดัง
ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า
“มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก รอดสระหลวง สองแคว ลุมบาจาย สคาเท้าฝั่งของ(แม่น้้า
โขง) เถิงเวียงจันทน์ เวียงค้า เป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอน (ทิศใต้) รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรี
ธรรมราช ฝั่ งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง...น หงสาวดี สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอน
(ทิศเหนือ) รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองน.....เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว”
การขยายอาณาเขตในสมัยพ่อขุนรามคาแหงอาศัยกาลังทางทหารและการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากไม่มีการจัดระบบการปกครองที่รัดกุมในการควบคุมดูแลดินแดนที่ได้มา ทาให้บรรดาหัวเมืองชั้นนอกมีอิสระในการ
ปกครองอย่างมาก การที่อาณาจักรยังดารงคงอยู่ได้ก็ด้วยความสามารถส่วนตัวของผู้นา ดังนั้น เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุน
รามคาแหงพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สืบต่อมาไม่มีความสามารถเท่ากับพระองค์ อาณาจักรจึงแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ
แตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ครั้งถึงรัชสมัย พระเจ้าลิไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พ.ศ. ๑๘๙๐ – ๑๙๑๒) พระองค์
ทรงพยายามรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกออกไป โดยทรงใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเมืองเหล่านี้ให้กลับเข้ามา
รวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความหวังว่าจะทรงกอบกู้อาณาจักรสุโขทัยให้มีความยิ่งใหญ่และมีความเจริญรุ่งเรือง
เหมือนสมัยพ่อขุนรามคาแหง แต่พระเจ้าลิไทก็ทรงประสบความสาเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น
ในปี พ.ศ. ๑๙๒๑ สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยา และต้องเป็นประเทศราชอยู่นานประมาณ ๑๐ ปี จึงสามารถ
กลับเป็นอิสระอีกครั้งในปี พ.ศ. ๑๙๓๑๖ ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒ (ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๒ – ๑๙๔๒) สันนิษฐาน
ว่าสุโขทัยคงจะเป็นอิสระมาจนถึงปี พ.ศ. ๑๙๖๒ ก็เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติในอาณาจักรสุโขทัยระหว่าง พระยาบาล และ
พระยาราม พระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๓ ไสยลือไทย (พ.ศ. ๑๙๔๒ – ๑๙๖๒) จึงเปิดโอกาสให้อยุธยาเข้ามา
แทรกแซงการเมืองภายในสุโขทัย ยังผลให้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอีกครั้ง อยุธยาได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัย
ออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งมี เมืองพิษณุโลก เป็นเมืองศูนย์กลาง และอยู่ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่ อีกส่วนหนึ่งมีเมือง
กาแพงเพชร เป็นศูนย์กลาง สมเด็จพระอินทราชาธิราช (พ.ศ. ๑๙๕๒ – ๑๙๖๗) พระมหากษัตริย์อยุธยาในขณะนั้นทรงแต่งตั้งให้
พระยาบาลเป็นผู้ครองเมืองพิษณุโลก ทรงได้รับการเฉลิมพระนามว่า “พระเจ้าศรีสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราช” หรือที่
เรียกกันอย่างสั้น ๆ ว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๔ บรมปาล ส่วนพระยารามนั้นโปรดให้ครองเมืองกาแพงเพชร
พระมหาธรรมราชารมปาลสวรรคตในปี พ.ศ. ๑๙๘๑ สมเด็จพระบรมราชธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา พ.ศ. ๑๙๖๗ –
๑๙๙๑) ได้ทรงสถาปนาให้ พระราเมศวร พระราชโอรส ซึ่งทรงมีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยทางฝ่ายพระราชมารดา เป็นพระมหาอุปราช
ครองเมืองพิษณุโลก อาณาจักรสุโขทัยจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา นับเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัย
ซึ่งเป็นอาณาจักรไทยแห่งแรกที่มีหลักฐานแน่นอนทางประวัติศาสตร์๗ และได้มอบมรดกทางด้านวัฒนธรรมหลายประการแก่
อาณาจักรไทยในสมัยหลัง
ลักษณะทางการเมืองการปกครอง
ในการศึกษาลักษณะทางการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยนั้น เราจะศึกษาว่ามีลักษณะเป็นเช่นใด มีจุดเด่น
และจุดอ่อนอย่างไร โดยจะศึกษาพิจารณาจากสถาบันพระมหากษัตริย์ การจัดรูปแบบการปกครอง และการควบคุมกาลังคน
๑. สถาบันพระมหากษัตริย์
เมื่อแรกก่อตั้ง อาณาจักรสุโขทัยยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง จานวนพลเมืองยังมีไม่มากและกาลังอยู่ในระยะการก่อร่าง
สร้างตนเพื่อความเป็นปึกแผ่น จึงยังคงมีความเคยชินอยู่กับการปกครองแบบดั้งเดิม ซึ่งยึดถือความสัมพันธ์ทางครอบครัวเป็นหลัก
ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์สุโขทัยในระยะต้นจึงทรงวางพระองค์ประดุจบิดาของประชาชน ทรงปกครองดูแลไพร่บ้านพลเมือง
อย่างใกล้ชิดและด้วยความเอาใจใส่ เหมือนดั่งพ่อบ้านดูแลรับผิดชอบลูกบ้านของตนในขณะเดียวกัน ก็ทรงก็อานาจสิทธิ์ขาดเหนือ
ชีวิตของลูกบ้านด้วย การปกครองแบบนี้ก่อให้เกิดพระมหากษัตริย์แบบปิตุราชา ซึ่งมักจะใช้คานาหน้าพระนามว่า “พ่อขุน”
ในยามสงบ พ่อขุนมีหน้าที่บาบัดทุกข์บารุงสุขของอาณาประชาราษฎร์ ประชาชนสามารถร้องทุกข์ต่อพ่อขุนได้
นอกจากนั้น พ่อขุนยังมีหน้าที่เป็นผู้พิพากษาในการให้ความยุติธรรมแก่ราษฎร วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของพลเมือง อีกทั้งยัง
ส่งเสริมทานุบารุงพุทธศาสนา สั่งสอนอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน และช่วยเหลือดูแลการประกอบอาชีพด้วย ในยามสงคราม
พ่อขุนจะเป็นแม่ทัพใหญ่ในการต่อสู้กับอริราชศัตรู รวมทั้งมีภาระหน้าที่ในการแผ่ขยายอาณาเขตเพื่อความมั่นคงของอาณาจักร
พระมหากษัตริย์แบบปิตุราชานี้เป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งทางการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย เป็น
ลักษณะเด่นที่มักจะได้รับการกล่าวถึงและอยู่ในห้วงนึกคิดของผู้คนโดยทั่วไปเมื่อเอ่ยถึงประวัติศาสตร์สุโขทัย อันที่จริงราชาธิปไตย
แบบพ่อปกครองลูกหรือปิตุราชาธิปไตย นี้มีอยู่เฉพาะในสมัยสุโขทัยตอนต้นเท่านั้น ต่อมาลักษณะของกษัตริย์แบบพ่อขุนจะได้รับ
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาเป็นกษัตริย์แบบ ธรรมราชา ตามสภาพแวดล้อมทางการเมืองและความจาเป็นในสมัยหลัง
เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคาแหง อาณาจักรสุโขทัยอันกว้างใหญ่ได้แตกแยกเป็นเสี่ยง ๆ ศิลาจารึกหลักที่ ๓ หรือที่เรียก
กันในอีกชื่อหนึ่งว่า ศิลาจารึกนครชุม ได้บรรยายถึงการเสื่อมอานาจของอาณาจักรสุโขทัยที่แตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อยหลัง
สมัยพ่อขุนรามคาแหงไว้ตอนหนึ่งว่า
“เมื่อชั่วพระยารามราช....กว้างขวางรอดทุกแห่ง....เป็นเจ้าเป็นขุนอยู่
บ้านเมืองขาด....หลายบั้นหลายท่อนดังเมืองพ....นกเป็นขุนหนึ่ง เมืองคนทีพระบาง
หาเป็นขุนหนึ่ง....เมืองเซียงทองหาเป็นขุนหนึ่ง เมือง...หาเป็นขุนหนึ่ง เมือง
บางพานหาเป็นขุนหนึ่ง....ต่างท้าเนื้อท้าตนเขาอยู่”
ในรัชสมัย พระเจ้าลิไท สภาพทางการเมืองได้ทวีปัญหามากขึ้นทั้งการเมืองภายในอาณาจักรและการเมืองภายใน ได้
เกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ ทาให้การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าลิไท ในปี พ.ศ. ๑๘๙๐ มิได้เป็นไปอย่างราบรื่น พระองค์ต้อง
ทรงใช้กาลังปราบปรามเจ้านายสุโขทัยกลุ่มอื่น ๆ เพื่อขึ้นครองราชสมบัติ หลังจากนั้นต้องทรงจัดการแก้ไขปัญหาความกระด้าง
กระเดื่องของเมืองเล็กเมืองน้อยที่ยังคงขึ้นอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย เพื่อให้เกิดความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ในด้านการเมือง
ภายนอกในรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรล้านนาซึ่งอยู่ทางเหนือของอาณาจักรสุโขทัยกาลังแผ่ขยายอานาจทางการเมืองอย่าง
มาก และมีร่องรอยในตานานมูลศาสนาว่า เมืองตากซึ่งเคยเป็นเมืองในอาณาจักรสุโขทัย ได้ตกเป็นของอาณาจักรล้านนาแล้ว
ส่วนทางทิศใต้ของสุโขทัย อาณาจักรอยุธยาซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นได้ไม่นานกาลังพยายามแผ่ขยายอานาจทางการเมืองของตนออกไปทุก
วิถีทาง อาณาจักรสุโขทัยซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างอาณาจักรทั้งสองจึงตกอยู่ในสภาวะที่ล่อแหลมมาก
ในท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ สถาบันพระมหากษัตริย์แบบปิตุราชาซึ่งเป็นสถาบันการปกครองที่มีการจัดการที่ไม่
สลับซับซ้อน และเหมาะสาหรับบ้านเมืองที่มีประชาชนไม่มาก ไม่สามารถจะดารงคงอยู่ได้ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางการ
เมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย จึงต้องมีการปรับปรุงสถาบันพระมหากษัตริย์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ให้อยู่ใน
สภาวะที่จะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกอาณาจักรได้
พระเจ้าลิไท ทรงตระหนักดีว่า ทรงไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นด้วยวิถีทางการทหารเพียงอย่างเดียว
เพราะอานาจทางการทหารของสุโขทัยในรัชสมัยของพระองค์มิได้เข้มแข็งเหมือนดั่งสมัยพ่อขุนรามคาแหง พระเจ้าลิไทจึงต้องทรง
ใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการใช้กาลังทางทหาร พระเจ้าลิไทได้
ทรงเสริมสร้างบุคลิกภาพของพระองค์ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในสุโขทัย และของบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ด้วยการยึดแนว
ทางการเป็นกษัตริย์ที่ดีและกษัตริย์ที่ประเสริฐตามแนวคิดทางการเมืองของพุทธศาสนา นั่นก็คือ การเป็นกษัตริย์แบบ ธรรมราชา
อาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียงเป็นดินแดนที่ศาสนาพุทธหินยานลัทธิลังกาวงศ์ได้หยั่งรากลึก และมีอิทธิพล
อย่างมากต่อประชาชนในสังคมเหล่านี้ ดังนั้น ประชาชนจึงมีความคุ้นเคยกับแนวคิดการเป็นกษัตริย์แบบธรรมราชา มีความ
เลื่อมใสศรัทธาและพร้อมที่จะรับแนวความคิดนี้
ธรรมราชา หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้มีธรรม หรือพระราชาผู้ปฏิบัติตามธรรม “ธรรม” ในที่นี้หมายถึง หลักธรรมทาง
พุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่รับรู้ร่มกันระหว่างกษัตริย์และประชาชน ธรรมราชาจะแผ่อานาจทั้งทางโลกและทางธรรม และจะยอมรับ
การปกครองโดยธรรมเป็นสิ่งกาหนดเงื่อนไขที่เป็นคุณค่าสาคัญสาหรับผู้ปกครองพึงประพฤติปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ ทศพิธราชธรรม
จักรวรรดิวัตร และราชจรรยานุวัตร อานาจของธรรมราชาจึงเป็นอานาจที่ชอบด้วยธรรม ไม่ใช่อานาจที่เกิดจากกาลังหรืออานาจ
จากแหล่งอื่น ๆ ธรรมราชาจึงเป็นผู้ปกครองที่มีฐานะสูงเด่นกว่าผู้นาที่ใช้กาลังหรืออานาจอื่น ๆ เป็นฐานอานาจทางการเมือง
การปกครอง นอกจากนั้น ธรรมราชาในสมัยพระเจ้าลิไทยังถูกยกให้สูงเด่นมากขึ้น ด้วยการให้มีฐานะเป็นเสมือนพระโพธิสัตว์อีก
ฐานะหนึ่ง มีหน้าที่พาประชาชนข้ามวัฏสงสารไปสู่นิพพาน “…จุ่งเป็นพระพุทธ จุ่งจักเอาฝูงสัตว์ทั้งหลายข้ามสงสารทุกข์นี้…”
อันที่จริงแนวคิดการเป็นกษัตริย์แบบธรรมราชาหรือการปกครองโดยธรรมไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งมีในรัชกาลพระเจ้าลิไท แต่เป็น
แนวคิดที่แทรกอยู่ทั่วไปในนโยบายการปกครองของอาณาจักรที่นับถือพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาณาจักรที่อยู่ทางตอน
เหนือ เช่น อาณาจักรหริภุญไชย อาณาจักรล้านนา ในอาณาจักรสุโขทัยก่อนรัชสมัยพระเจ้าลิไทก็มีการพูดถึงการปกครองโดย
ธรรมแล้ว ศิลาจารึกหลักที่ ๒ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้หนึ่ ง ชื่อพ่อขุนราชราชปราชญ์รู้ธรรม..” ดังนั้น
พระเจ้าลิไทจึงทรงเพียงแต่นาแนวความคิดเรื่องธรรมราชามาปฏิบัติให้เป็นระบบอย่างจริงจัง และยังผลให้แนวคิดเรื่องธรรมราชา
วิวัฒน์ไปสู่การเป็นหลักสาคัญในการปกครองแทนที่แนวคิดเรื่อง ปิตุราชา
พระเจ้าลิไท ทรงส่งเสริมทานุบารุงพุทธศาสนาทั้งทางด้านการศึกษาธรรมะของคณะสงฆ์ การอบรมศีลธรรมจรรยาแก่
ประชาชน และการสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ในศาสนาในรัชสมัยของพระองค์ คณะสงฆ์ที่นครพ้นหรือเมืองเมาะตะมะได้รับการยก
ย่องว่า มีความเคร่งครัดในพระวินัยและมีวัตรปฏิบัติอันดีงาม เพราะพระภิกษุบางรูปในเมืองเมาะตะมะได้ไปบวชเรียนอีกครั้งหนึ่ง
ที่ลังกา และได้นาวัตรปฏิบัติและคาสอนของศาสนาพุทธหินยานลัทธิลังกาวงศ์มาเผยแพร่ในดินแดนมอญ ในปี พ.ศ. ๑๙๐๐
พระสงฆ์สุโขทัยสองรูป คือ พระอโนมทัสสีและพระสุมนะได้ไปบวชเรียนอีกครั้งหนึ่งที่เมืองเมาะตะมะ สันนิษฐานว่าพระเถระทั้ง
สองคงจะได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าลิไทให้ไปศึกษาพระไตรปิฏก และวัตรปฏิบัติของลัทธิลังกาวงศ์ที่เมืองเมาะตะมะ เพื่อ
นามาเผยแพร่แก่คณะสงฆ์ในอาณาจักรสุโขทัย นอกจากนั้นในปี พ.ศ. ๑๙๐๔ พระเจ้าลิไทได้ผนวช ณ วัดป่ามะม่วง ในการ
ผนวชครั้งนี้ พระองค์ได้ทรงอาราธนาพระอุทุมพรบุปผามหาสวามีพระสงฆราชเมืองเมาะตะมะ มาเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระองค์
การผนวชของพระเจ้าลิไทย่อมสร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่ประชาชนทั้งในอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียง
บทบาททางด้านพุทธศาสนาของพระเจ้าลิไทที่กล่าวมาข้างต้น ทาให้พระองค์ทรงเป็นผู้นาทางด้านความคิด ดังจะเห็น
ได้ว่า พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงแก้ไขศักราชที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง ซึ่งเมืองต่าง ๆ ก็ยอมรับและนาไปใช้ นอกจากนั้น ยังทา
ให้พุทธศาสนาในอาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรืองมาก สุโขทัยได้กลายเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาในอาณา
บริเวณลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนบนและตอนล่าง ดังจะเห็นได้ว่า ในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ พระเจ้ากือนา แห่งอาณาจักรล้านนาได้ทรง
นิมนต์ พระสุมนะเถระ ไปเผยแพร่ศาสนาที่เชียงใหม่ พระสุมนะได้นาพระบรมสารีริกธาตุที่ท่านขุดได้ ณ เมืองปางจา ไปด้วย
พระเจ้ากือนาทรงมีจิตศรัทธาปรารถนาจะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระสุมนะได้ชักชวนให้พระองค์ทรงสร้างที่เมือง
ตาก เพื่อให้ชาวสุโขทัยและชาวเชียงใหม่ได้มานมัสการทั่วกัน อีกทั้งยังได้ขอให้พระเจ้ากือนาทรงตั้งฑิตใสหลานของท่าน (พระ
สุมนะ) เป็นเจ้าเมืองตากด้วย เพื่อจะได้ดูแลเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระเจ้ากือนาได้ทรงปฏิบัติตามคาขอของพระ
สุมนะเพื่อ “เอาเมืองนั้นบูชาสีลาธิคุณแห่งเจ้ากูแล” สุโขทัยจึงมีอิทธิพลเหนือเมืองตากอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากพระสุมนะเถระ พระภิกษุสุโขทัยรูปอื่น ๆ ได้ไปเผยแพร่พุทธศาสนา ณ เมืองต่าง ๆ เช่น พระสุวรรณคีรีไป
เมืองหลวงพระบาง พระเวสสภูไปเมืองน่าน และพระปิยทัสสีไปอยุธยา เป็นต้น กล่าวโดยสรุป การที่พระเจ้าลิไททรงใช้
ศาสนาพุทธเป็นวิถีทางหนึ่งในการรวบรวมอาณาจักรสุโขทัยนั้นนับว่าประสบผลสาเร็จมากพอควร ในรัชสมัยของพระองค์สุโขทัย
ได้กลับเป็นปึกแผ่นและเริ่มมีอานาจทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง จารึกหลักที่ ๘ ซึ่งเป็นจารึกที่บรรยายถึงพระเจ้าลิไททรงพาไพร่พล
จากเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรสุโขทัยมาไหว้พระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฎ เป็นประจักษ์พยานอันดีถึงความสาเร็จนี้
“...ย่อมน้าคนทั้งหลายกระท้าบุญธรรมบ่ขาดสักเมื่อ อยู่ในสองแคว
ได้เจ็ดข้าว จึงน้าพลมามีทั้งชาวสระหลวง สองแคว ปากยม พระบาง ชากังราว
สุพรรณภาว นครพระชุม เบื้องใน...เมืองพาน เมือง..เมืองราด เมืองสะค้า
เมืองลุมบาจายเป็นบริพาร จึงขึ้นมานบพระบาทลักษณะอันตนหากประดิษฐาน
แต่ก่อนเหนือจอมเขาสุมนกูฎนี้”
อย่างไรก็ตาม อาณาจักรสุโขทัยที่พระเจ้าลิไททรงรวบรวมขึ้นก็ยังมีอาณาเขตเล็กกว่าอาณาจักรในรัชสมัยพ่อขุน
รามคาแหง กล่าวคือ มีอาณาเขตเพียงแค่ทิศเหนือจดเมืองน่าน ทิศตะวันออกจดอาณาจักรล้านช้าง ทิศใต้จดเมืองนครสวรรค์
และทิศตะวันตกจดเมืองตาก ดังนั้นความมุ่งหวังของพระเจ้าลิไท ที่จะทรงกอบกู้อาณาจักรสุโขทัยให้มีอานาจมากเท่ากับในรัช
สมัยพ่อขุนรามคาแหง จึงประสบผลสาเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น
กล่าวโดยสรุป ลักษณะของพระมหากษัตริย์แบบปิตุราชาในสมัยสุโขทัยตอนต้น ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาเป็น
พระมหากษัตริย์แบบธรรมราชาตามสภาพแวดล้อมทางการเมืองและความจาเป็นในสมัยต่อมา อย่างไรก็ตาม การใช้ศาสนาเป็น
เครื่องมือในการรวบรวมอาณาจักรก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับการใช้กาลังทหาร กล่าวคือ อาณาจักรจะดารงอยู่เฉพาะในสมัยของ
ผู้นาที่มีความสามารถทางการทหาร หรือมีปรีชาญาณทางด้านศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อสิ้นผู้นาคนนั้นแล้วอาณาจักรก็จะแตก
สลายไป เพราะศาสนาและการทาหารไม่สามารถทาให้อาณาจักรที่กว้างใหญ่ดารงอยู่ได้นาน ปัจจัยหลักที่ทาให้อาณาจักรอยู่ได้
ยั่งยืนนาน คือ ระบบการปกครองที่มีความรัดกุม สามารถควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในสมัยโบราณระบบ
การปกครองแบบนี้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ด้วยความยากลาบาก อันเนื่องมากจากอุปสรรคทางด้านคมนาคมและการสื่อสาร
การจัดรูปแบบการปกครอง
หลักฐานต่าง ๆ เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยมีอยู่น้อยมาก เราจึงไม่ค่อยทราบ
รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการปกครองของอาณาจักรนี้ อย่างไรก็ตาม มักสันนิษฐานกันว่า สุโขทัยคงจะแบ่งเขตการ
ปกครองอาณาจักรเป็นเมืองราชธานีเมืองลูกหลวงหรือหัวเมืองชั้นในซึ่งทาหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านอยู่ ๔ ทิศ เมืองพระยามหา
นคร หรือ หัวเมืองชั้นนอก และเมืองออกหรือเมืองขึ้น
แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาณาจักรสุโขทัยมิได้มีอาณาเขตกว้างขวางเท่าใด สุโขทัยมีการแผ่ขยายอาณาเขตในรัชกาล
พ่อขุนรามคาแหงที่ทาให้สุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมฟากตะวันตกของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาลงไปถึงเมือง
นครศรีธรรมราชและคาบสมุทรมลายู อย่างไรก็ตามอาณาบริเวณที่สุโขทัยมีอานาจอย่างแท้จริงและมีอยู่ในระยะเวลาอันยาวนาน
จนสามารถสร้างสรรค์วัฒนธรรมสุโขทัยในเมืองเหล่านี้ได้ ได้แก่ เมืองที่ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ กาแพงเพชร ตาก
พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ขอบเขตของอาณาจักรสุโขทัย ทิศเหนือจะอยู่
ประมาณจังหวัดอุตรดิตถ์ คงจะอยู่ในบริเวณจังหวัดตาก ดังนั้น การวิเคราะห์การจัดรูปแบบการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยจึง
ควรพิจารณาจากอาณาบริเวณที่สุโขทัยมีอานาจอย่างแท้จริง
จากหลักฐานต่าง ๆ เท่าที่มีอยู่กล่าวได้ว่า ในดินแดนที่สุโขทัยมีอานาจนั้น สุโขทัยได้จัดรูปแบบ การปกครองแบบเมือง
ลูกหลวง ซึ่งมีการกระจายอานาจเป็นอย่างมาก เมืองต่าง ๆ จะมีอิสระในการปกครองตนเอง และมีอานาจในการบริหารกิจการ
งานภายในเมืองของตนค่อนข้างมาก จนเกือบจะเป็นเอกเทศ ทั้งในด้านการเก็บภาษีอากร การพิจารณาชาระไต่สวนตัดสินคดี
ความที่เกิดขึ้นภายในเมือง การตั้งตาแหน่งขุนนางชั้นผู้น้อยเพื่อช่วยบริหารราชการต่าง ๆ และการควบคุมเมืองบริวารเล็ก ๆ ที่มา
ขึ้นอยู่ด้วย
เมืองลูกหลวงที่สาคัญของอาณาจักรสุโขทัยมีอาทิเช่น เมืองศรีสัชนาลัย เมืองพิษณุโลก และเมืองกาแพงเพชร แต่
เมืองลูกหลวงเหล่านี้จะมีความสาคัญในแต่ละช่วงสมัยไม่เท่ากันในช่วงระยะก่อนรัชสมัยพระเจ้าลิไท เมืองลูกหลวงที่มีความสาคัญ
คือ เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีผู้คนอยู่หนาแน่น กลุ่มเมืองสาคัญของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงระยะแรกจึงได้แก่
เมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย
แต่ในรัชสมัยพระเจ้าลิไท เมืองลูกหลวงที่มีความสาคัญ คือ เมืองพิษณุโลก และเมืองกาแพงเพชร เนื่องจากในช่วง
ระยะนี้ อาณาจักรสุโขทัยเริ่มประสบปัญหาการรุกรานจากอาณาจักรอยุธยา หลักฐานหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวว่า
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้เสด็จขึ้นมายึดเมืองพิษณุโลกไว้ได้ พระเจ้าลิไทต้องถวายบรรณาการจานวนมากเพื่อขอพระราชทาน
เมืองคืน ในที่สุดสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้ทรงคืนเมืองพิษณุโลกให้พระเจ้าลิไทด้วยเหตุนี้เมืองพิษณุโลกจึงตกอยู่ในภาวะที่
ล่อแหลม ส่วนเมืองกาแพงเพชรซึ่งอยู่ใต้เมืองพิษณุโลกลงมาก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน คอยรับศึกจากอยุธยา ความสาคัญของ
เมืองทั้งสองนี้จะเห็นได้จากการที่พระเจ้าลิไทเสด็จลงมาครองเมืองพิษณุโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๙๐๖ เป็นต้นมา และได้ทรงตั้ง
มหาเทวีผู้เป็นพระกนิษฐาให้ปกครองดูแลเมืองสุโขทัยแทนพระองค์ นอกจากนั้นยังได้ทรงตั้งอามาตย์ชื่อติปัญญา ให้ครองเมือง
กาแพงเพชร กลุ่มเมืองสาคัญของอาณาจักรสุโขทัย ในช่วงระยะหลังจึงได้แก่ เมืองสุโขทัย พิษณุโลก และกาแพงเพชร
ในลักษณะการปกครองแบบกระจายอานาจที่กล่าวมานี้ เมืองลูกหลวงจะมีความสัมพันธ์กับเมืองหลวง หรือ ราชธานี
เพียงความสัมพันธ์ทางเครือญาติ หรือผู้อุปถัมภ์กับผู้รับการอุปถัมภ์ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โครงสร้างทางการปกครอง
ของอาณาจักรสุโขทัยจึงเป็นโครงสร้างที่ไม่กระชับ ไม่มีความแน่นอน ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อมีการผลัดเปลี่ยนผู้นา หาก
พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงมีความสามารถ มีความเด็ดขาด ความสัมพันธ์กับเมืองลูกหลวงก็จะคงอยู่อย่างเดิม แต่ถ้า
พระองค์ทรงไม่เข้มแข็งพอ เมืองลูกหลวงก็จะเพิกถอนความสัมพันธ์และแยกตัวเป็นอิสระจากเมืองหลวง บุคลิกภาพของ
พระมหากษัตริย์จึงเป็นสิ่งสาคัญต่อการปกครองมากกว่าเงื่อนไขในการจัดระเบียบอื่น ๆ
การที่รูปแบบการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยไม่มีการจัดระบบที่กระชับรัดกุมนับเป็นจุดอ่อนที่สาคัญประการหนึ่งของ
การเมืองการปกครองของสุโขทัย เป็นสาเหตุสาคัญข้อหนึ่งที่ทาให้อาณาจักรง่ายต่อการแตกสลาย หากเปรียบเทียบกับอาณาจักร
อยุธยาจะเห็นได้ว่า แม้อาณาจักรอยุธยาจะมีลักษณะการปกครองที่กระจายอานาจในระยะแรกก่อตั้งอาณาจักร แต่ในเวลาต่อมา
ก็มีการปฏิรูปการปกครองรวมอานาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มีการจัดระบบการปกครองที่กระชับรัดกุม และควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ อย่าง
เคร่งครัด ซึ่งรูปแบบการปกครองที่ปฏิรูปใหม่นี้เป็นสาเหตุสาคัญข้อหนึ่งที่ช่วยให้อาณาจักรอยุธยาสามารถดารงคงอยู่ได้ยาวนาน
กว่าอาณาจักรสุโขทัย
การควบคุมกาลังคน
กาลังคนหรือแรงงานไพร่นับเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งอย่างหนึ่งของอาณาจักรทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ คาว่า
“ไพร่” หมายถึง ประชาชนทั่ว ๆ ไป คนส่วนใหญ่ของสังคมประมาณร้อยละ ๘๐ – ๙๐ จะเป็นไพร่ กาลังคนมีความสาคัญ
อย่างมากต่อการเสริมสร้างและแผ่ขยายอาณาจักร ในด้านเศรษฐกิจกาลังคนเป็นบ่อเกิดของผลผลิตต่าง ๆ ซึ่งยังความมั่งคั่ง
สมบูรณ์ให้แก่รัฐ ในขณะเดียวกัน กาลังคนก็เป็นพื้นฐานสาคัญของการสร้างอานาจทางการเมือง เป็นกองทัพในยามเกิดศึก
สงครามอีกทั้งยังเป็นแรงงานโยธาในการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น สร้างป้อมปราการ กาแพงเมือง ขุดอ่างเก็บน้า คูเมือง สร้างถนน
หนทาง และวัดวาอารามต่าง ๆ ดังนั้น แต่ละอาณาจักรจึงต้องสร้างวิธีการหรือระบบที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมกาลังคน
เพื่อให้สามารถเกณฑ์แรงงานไพร่มาใช้ได้อย่างรวดเร็วในยามที่เกิดความต้องการ
อาณาจักรสุโขทัยจะมีการจัดระบบการควบคุมกาลังคนเป็นอย่างไรนั้น ไม่มีหลักฐานใดบ่บอกไว้อย่างละเอียด เมื่อ
พิจารณาจากเนื้อความบางตอนใน จารึกหลักที่ ๘ และใน ไตรภูมิพระร่วง ประกอบกับการที่มีไพร่จากอยุธยาหนีมาอยู่ที่สุโขทัย
แล้ว ทาให้สันนิษฐานได้ว่าอาณาจักรสุโขทัยคงจะมีวิธีการควบคุมกาลังคนอย่างง่าย ๆ ในลักษณะหลวม ๆ ไม่กระชับรัดกุมและไม่
เคร่งครัดอย่างอยุธยา กล่าวคือ คงจะเพียงแต่จัดให้พวกไพร่อยู่เป็นหมวดหมู่ภายใต้ความดูแลของขุนนางตาแหน่ง หัวหมื่นหัวพัน
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในยามที่ต้องการเกณฑ์แรงงานคนไปใช้
จากลักษณะทางการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยในด้านต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมือนี้ จะเห็นได้ว่า ระบบการเมือง
การปกครองของสุโขทัยมีจุดอ่อนอยู่ ๒ ประการ คือ ไม่มีการจัดรูปแบบการปกครองที่กระชับรัดกุม และไม่มีระบบการคบคุม
กาลังคนอย่างเคร่งครัด ซึ่งจุดอ่อนทั้ง ๒ ข้อนี้ เป็นสาเหตุสาคัญส่วนหนึ่งที่ทาให้อาณาจักรไม่เข้มแข็งและง่ายต่อการแตกสลาย
อย่างไรก็ตาม ระบบการเมืองการปกครองสุโขทัยก็มีลักษณะเด่นอยู่ที่การรับรูปแบบกษัตริย์ และ การปฏิบัติตนตามแนวคิด
ทางการเมืองของพุทธศาสนา ยังผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งมีการจัดระเบียบตามคติของพุทธศาสนานั้นอยู่โดดเด่นเหนือ
องค์กรทางการปกครองอื่น ๆ ซึ่งมีโครงสร้างค่อนข้างหลวม ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นผู้ดึงความกระจัดกระจายใน
ท่ามกลางโครงสร้างที่หลวมนั้นให้มารวมอยู่ด้วยกัน ความเจริญหรือความเสื่อมของอาณาจักรจึงขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพขององค์
พระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
๑. ลักษณะทางเศรษฐกิจ
อาณาจักรสุโขทัยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การเกษตรเป็นหลัก โดยมีการค้าและการทาเครื่องสังคโลกเป็น
ส่วนประกอบสาคัญ อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานต่าง ๆ เท่าที่ได้ค้นพบและศึกษาค้นคว้ากันมา เศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัย
น่าจะมีเพียงแค่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น มิได้มีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มากเท่ากับอาณาจักรอยุธยา ทั้งนี้เพราะสภาพ
ภูมิศาสตร์และทาเลที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกและการเป็นศูนย์การค้ามากเท่ากับอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมี
อาณาบริเวณอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่างสภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่อุดมสมบูรณ์มากนี้เป็นสาเหตุสาคัญประการหนึ่ง
ที่ทาให้อาณาจักรสุโขทัยไม่สามารถมีอานาจทางการเมืองอยู่ได้เป็นเวลานาน
๑.๑ การเกษตร อาณาจักรสุโขทัยมีสภาพพื้นที่ราบที่ใช้ในการเพาะปลูกแบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้าและ
ที่ราบเชิงเขา บริเวณที่ราบลุ่มที่สาคัญ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ายมและแม่น้าน่าน ซึ่งมีอาณาบริเวณตั้งแต่บริเวณตั้งแต่อุตรดิตถ์
ศรีสัชนาลัย สุโขทัย เรื่อยลงมาจนถึงนครสวรรค์ พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่มีหนองบึงธรรมชาติอยู่ทั่วไป และ
เนื่องจาก ว่าในหน้าน้า ลาน้ายมและลาน้าน่านจะมีปริมาณน้าจานวนมากไหลมาจากภูเขาทางภาคเหนือ จนระบายน้าลงสู่ลุ่ม
แม่น้าเจ้าพระยาทางตอนล่างไม่ทัน ยังผลให้มีน้าท่วมท้นที่ราบลุ่มแม่น้ายมและแม่น้าน่าน และจะขังอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ทาให้
อาณาบริเวณนี้ทาการเพาะปลูกได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนบริเวณที่ราบเชิงเขานั้น มีอาณาบริเวณจากทางทิศตะวันตกของเมือง
สุโขทัยเรื่อยมาจนถึงเมืองกาแพงเพชร พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นที่ดอน ดินไม่ใคร่อุดมสมบูรณ์จึงทาให้การเพาะปลูกได้ผลไม่ดีนัก
จากสภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ทาให้การเกษตรในอาณาจักรสุโขทัยต้องใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยด้วย
จุดประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อควบคุมน้าที่ไหลบ่ามากจากบริเวณภูเขา และน้าที่ท้นมาตามลาน้าต่าง ๆ ให้ไหลไปตามแนวทาง
ควบคุมบังคับที่ทาไว้ หรือมิฉะนั้นก็เพื่อกักเก็บน้าไว้ภายในหุบเขา แล้วขุดคลองระบายน้าเข้าไปในพื้นที่ที่ทาการเพาะปลูก
เขื่อนเก็บกักน้าที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ทางชลประทานในสมัยสุโขทัยคือ เขื่อนสรีดภงค์ หรือทานบพระร่วง เป็นเขื่อนดินขนาด
ใหญ่ สร้างอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัย นอกจากทานบเก็บกักน้าแล้ว ยังมีการสร้างเหมืองฝายและขุดคูคลองส่ง
น้าเป็นแนวยาวตั้งแต่ ศรีสัชนาลัย ผ่านสุโขทัยออกไปถึงกาแพงเพชรด้วยระบบชลประทานดังกล่าวข้างต้น ทาให้ผืนดินโดยรอบ
เมืองสุโขทัย พื้นที่ระหว่างศรีสัชนาลัย สุโขทัย และกาแพงเพชร เป็นผืนดินอันกว้างใหญ่ที่ใช้ทาการเพาะปลูกได้
พืชสาคัญที่ปลูกกันมากในอาณาจักรสุโขทัยจนกลายเป็นพืชหลัก คือ ข้าว รองลงมา ได้แก่ มะม่วง มะพร้าว มะขาม
ขนุน หมาก พลู พืชไร่ และไม้ผลอื่น ๆ ผลผลิตที่ได้คงมีปริมาณเพียงแค่การบริโภคภายในอาณาจักรเท่านั้นและคงจะไม่อุดม
สมบูรณ์ถึงขั้นที่จะเลี้ยงประชากรจานวนมากๆ ได้ รัฐบาลได้สนับสนุนให้ประชาชนทาการเพาะปลูกด้วยการยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ให้แก่ผู้หักร้างถางพงทาการเกษตรในผืนดินต่าง ๆ และที่ดินนั้นยังเป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกหลานได้อีกด้วย ดังปรากฏในความ
ตอนหนึ่งของศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า
“สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่า
ลาก็หลายในเมืองนี้...ใครสร้างได้ไว้แก่มัน”
“ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่า เหย้าเรือนพ่อเชื้อ
เสื้อค้ามัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไทป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น”
การที่ต้องลงทุนจัดระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูกทาให้ความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรของอาณาจักรสุโขทัย
ขึ้นอยู่กับปริมาณน้าที่จะสามารถกักเก็บไว้ได้นานเพียงไหนและความสามารถในการบารุงรักษาระบบชลประทาน ผลผลิตทาง
การเกษตรจึงไม่ใช่ผลผลิตที่คงที่บางครั้งสุโขทัยต้องสั่งสินค้าข้าวจากดินแดนทางใต้แถบลพบุรีขึ้นไปเลี้ยงประชากรในอาณาจักร
ด้วยเหตุนี้ อาณาจักรสุโขทัยจึงไม่มีฐานพลังทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งพอที่จะตั้งตัวเป็นอาณาจักรใหญ่และมีอานาจอยู่เป็นเวลานานได้
การค้า
ทาเลที่ตั้งของสุโขทัยไม่เอื้อต่อการเป็นศูนย์การค้าเท่ากับอยุธยาซึ่งอยู่ใกล้ทะเล ที่ตั้งของเมืองสุโขทัยอยู่ลึกเข้าไปในผืน
แผ่นดิน และอยู่ห่างจากทะเลมากสุโขทัยจึงเป็นเมืองปลายทางของเส้นทางการค้า อย่างไรก็ตามการค้าก็ยังคงเป็นส่วนประกอบ
ทางเศรษฐกิจที่สาคัญอย่างหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยรองจากเศรษฐกิจหลัก คือ การเกษตร
การค้าของสุโขทัยแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น ๒ ประเภท คือ การค้าระหว่างเมืองต่าง ๆ ภายในอาณาจักร และการค้า
กับต่างประเทศหรืออาณาจักรใกล้เคียง
ในเรื่องการค้าภายในจะมีลักษณะเป็นอย่างไรนั้นยังขาดหลักฐานที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม มีข้อความตอนหนึ่งในศิลา
จารึกหลักที่ ๑ กล่าวไว้ว่า “เบื้องตีนนอน เมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีประสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง
มีไร่มีนา มีถิ่นฐานะ มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก”
คาว่า ปสาน สันนิษฐานว่ามากจากคาภาษาเปอร์เซียว่า “บาซาร์” แปลว่า ตลาดที่มีห้องหรือร้านเป็นแถวติดต่อกัน
จากข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ทาให้สันนิษฐานได้ว่าในเมืองสุโขทัย คงมีตลาดประจาสาหรับให้ประชาชนจากท้องถิ่นต่าง ๆ
ได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน และตลาดปสานนี้คงตั้งอยู่ในย่านชุมนุมชน เพราะข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ตอนที่กล่าวถึง
ที่ตั้งของตลาดปสานได้ระบุว่า ในบริเวณนั้น “มีถิ่นฐานมีบ้านใหญ่บ้านเล็ก” นอกจากมีตลาดปสานอันเป็นตลาดประจาแล้ว คง
มีตลาดที่เรียกว่า ตลาดนัด ซื้อขายกันเป็นแห่ง ๆ ตามวันกาหนดข้างขึ้นข้างแรม
ส่วนในด้านการค้ากับอาณาจักรใกล้เคียงนั้น คาดคะเนว่าคงจะมีไม่มาก เพราะสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ประการแรก
อาณาจักรในสมัยก่อนมักจะผลิตสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคด้วยตนเอง และเกือบทุกอาณาจักรมักจะเลี้ยง
ตนเองได้ จึงไม่ต้องพึ่งพาสินค้าจากสุโขทัย ประการที่สอง เศรษฐกิจของสุโขทัยอยู่ในขั้นพอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้นจึงไม่
ค่อยมีผลิตผลเหลือพอที่จะส่งเป็นสินค้าออก และประการสุดท้าย การคมนาคมระหว่างสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียงไม่สะดวก
สาหรับการค้ากับต่างประเทศนั้น อาณาจักรสุโขทัยอาศัยเส้นทางการค้าที่สาคัญ ๒ เส้นทาง คือ
๑. เส้นทางจากสุโขทัยไปเมืองเมาะตะมะ เส้นทางนี้เริ่มที่เมืองสุโขทัย ผ่านเมืองกาแพงเพชร เมืองเชียงทอง ตัดออก
ช่องเขาที่อาเภอแม่สอด (ด่านแม่ละเมา) ผ่านเมืองเมียวดี (Myawadi) แล้วเดินทางต่อไปถึงเมืองเมาะตะมะ ซึ่งเป็นเมืองท่า
แลกเปลี่ยนสินค้าที่สาคัญในขณะนั้น พ่อค้าจากสุโขทัยจะซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าจากอินเดีย เปอร์เซียและอาหรับ
๒. เส้นทางสุโขทัย – อ่าวไทย เส้นทางนี้จะเริ่มต้นจากสุโขทัย ล่องเรืองมาตามลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาและสาขา ผ่าน
อยุธยา ออกสู่อ่าวไทย เส้นทางนี้สุโขทัยสามารถติดต่อค้าขายกับพวกพ่อค้าจีน ญี่ปุ่น มลายูและอินโดนีเซีย
ส่วนสินค้าที่ซื้อขายกันนั้น สินค้าออก ได้แก่ ของป่า หนังสัตว์ เครื่องสังคโลก ไม้ฝาง ไม้กฤษณา งาช้าง และนอ
ระมาด สาหรับสินค้าเข้ามีอาทิ ผ้าแพร ผ้าไหม ผ้าต่วน เครื่องเหล็ก และอาวุธต่าง ๆ
จากที่ได้บรรยายมาจะเห็นได้ว่า อาณาจักรสุโขทัยไม่มีเมืองท่าของตนเองในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ เส้นทาง
การค้าที่ไปทาง ตะวันตก ต้องอาศัย เมืองท่าเมาะตะมะ ส่วนเส้นทางการค้าที่ไปทางใต้ต้องอาศัยเมืองท่าอยุธยา ด้วยเหตุนี้
เมื่ออาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอานาจลงหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคาแหงจนสูญเสียเมืองเมาะตะมะแก่พวกมอญ และทางด้านใต้
อาณาจักรอยุธยาได้ก่อตัวขึ้นและกาลังแผ่ขยายอานาจออกไปนั้น จึงมีผลกระทบอย่างมากต่อการค้าของอาณาจักรสุโขทัย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดารงราชานุภาพ เคยทรงแสดงความคิดเห็นไว้ว่า
“...เหตุที่มาตั้งกรุงศรีอยุธยานั้นมันมีอยู่อย่างหนึ่งไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเป็นเรื่องของการตั้งประเทศแข่งเมืองสุโขทัย จับ
ตรงที่สามแพร่งเพื่อจะบีบจมูกกรุงสุโขทัยทีเดียว... และข้อส้าคัญอยู่ที่ว่า ผู้แต่งพงศาวดารไม่ได้สังเกตตรงที่เมืองอยุธยานั้นว่า
เป็นประตูบ้านของกรุงสุโขทัย การตั้งเมืองที่อยุธยานั้นเป็นการจับประตูบ้านทีเดียว....”
ดูเหมือนว่าผู้นาของสุโขทัยจะตระหนักดีถึงข้อเสียเปรียบของตนในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ จึงได้ส่งเสริมให้
ความสะดวกแก่พ่อค้าต่างชาติที่มาติดต่อค้าขาย และไม่เก็บภาษีผ่านด่านภายในอาณาจักร ดังปรากฏในความตอนหนึ่งของศิลา
จารึกหลักที่ ๑ ว่า “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขายใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า
ใคร่จักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า”
กล่าวโดยสรุป สภาพทาเลที่ตั้งของสุโขทัยไม่เอื้ออานวยให้สุโขทัยได้รับความมั่งคั่งจากการค้ามากนัก อย่างไรก็ตาม
การค้ากับต่างประเทศก็นับเป็นส่วนประกอบทางเศรษฐกิจที่สาคัญ อย่างหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยรองจากการเกษตรซึ่งเป็น
เศรษฐกิจหลัก
การทาสังคโลก
การทาสังคโลก หรือ เครื่องปั้นดินเผาของสุโขทัย นับเป็นอุตสาหกรรมที่ขึ้นชื่อของสุโขทัย มีกรรมวิธีในการทา
โดยสังเขป คือ นาเอาแร่ธาตุ เช่น ดินขาว หินฟันม้า และวัสดุอย่างอื่นมาผสมรวมกัน แล้วเคลือบด้วยน้ายาสีขาวนวลหรือสี
เขียวไข่กาอีกชั้นหนึ่ง เป็นกรรมวิธีแบบใหม่ก้าวหน้ากว่าวิธีที่เคยทากันมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าสุโขทัยคงจะเรียนรู้เทคนิคการ
ปั้นแบบนี้จากจีน ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ผูกขาดการทาและการค้าเครื่องปั้นดินเผาเคลือบในดินแดนทวีปเอเชีย ในอาณาจักรสุโขทัยมี
แหล่งผลิตสังคโลก อยู่ ๓ แห่ง คือ
เตาทุเรียง อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองสุโขทัย มีเนื้อที่ประมาณ ๕,๐๐๐ ตารางเมตร
เตาป่ายาง อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองศรีสัชนาลัย มีเนื้อที่ประมาณ ๕,๕๐๐ ตารางเมตร
เตาเกาะน้อย อยู่ที่ศรีสัชนาลัย ห่างจากแก่งหลวงขึ้นไปตามลาแม่น้ายมประมาณ ๕ กิโลเมตร มีเนื้อที่
ประมาณ ๑๙๕,๐๐๐ ตารางเมตร
สังคโลกที่ผลิตมากที่สุด คือ พวกเครื่องใช้ประเภทถ้วย จาน ชาม ประปุก ขวดปัก ดอกไม้ โถ และ ตลับสังคโลก
พวกนี้จะมีรูปทรงและลวดลายแบบจีนทั้งสิ้น ส่วนสังคโลกที่มีรูปทรงแบบไทยนั้น ได้แก่ รูปเทพพนม ยักษ์ นาค กระเบื้อง
เคลือบมุงหลังคา ช่อฟ้า เป็นต้น เดิมเคยเชื่อกันว่าสุโขทัยเริ่มส่งเครื่องสังคโลกเป็นสินค้าออกในรัชสมัยพ่อขุนรามคาแหง แต่
จากการศึกษาค้นคว้าทางด้านโบราณคดีเกี่ยวกับชิ้นส่วนสังคโลกที่ได้ค้นพบใหม่ ทาให้เชื่อว่า การส่งสังคโลกเป็นสินค้าออกคงจะ
เริ่มในสมัยสุโขทัยตอนปลาย โดยอยุธยาน่าจะมีส่วนในการส่งเสริมการค้าเครื่องสังคโลกอยู่มาก และในภายหลังเมื่อสุโขทัยถูก
ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาแล้ว เครื่องสังคโลกก็ยังคงเป็นสินค้าออกที่สาคัญอยู่อีกชั่วระยะหนึ่ง
การที่สุโขทัยสามารถส่งเครื่องสังคโลกเป็นสินค้าออก ทั้ง ๆ ที่เทคนิคการปั้นของสุโขทัยยังสู้ของจีนไม่ได้ และจีนเองก็
ผูกขาดเครื่องปั้นดินเผาเคลือบในเอเชียมาเป็นเวลานานหลายร้อยปีแล้วนั้น เป็นเพราะว่าตลอดช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จีนประสบ
ความผันผวนทางการเมืองเป็นอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. ๑๕๐๓ – ๑๘๒๒) เป็นราชวงศ์
มองโกล (พ.ศ. ๑๘๒๒ – ๑๙๑๑) แล้วเปลี่ยนเป็นราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑ – ๒๑๘๗) สงครามอันยาวนานทาให้จีนปั่นป่วน
เกิดความอดอยาก ทั้งยังมีโรคระบาดและน้าท่วมเข้ามาอีกด้วย เมื่อบ้านเมืองวุ่นวาย โจรผู้ร้ายชุกชุม และยังถูกโจรสลัดญี่ปุ่น
รบกวนตามชายฝั่งทะเลทาให้ศักยภาพในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบของจีนลดต่าลง ไม่สามารถส่งออกขายตลาดต่างประเทศ
ได้ จึงเปิดโอกาสให้สุโขทัยเข้าไปยึดตลาดการค้าเครื่องปั้นดินเผาเคลือบของจีนมา เวียดนามหรืออันนัมก็เป็นอีกอาณาจักรหนึ่งที่
เข้ามาแย่งตลาดการค้าของจีนในด้านนี้ด้วย
สุโขทัยคงจะสร้างอุตสาหกรรมของตนขึ้นมา โดยอาศัยความช่วยเหลือจากช่วงเทคนิคของจีน ดังนั้นลักษณะบาง
ประการของเครื่องปั้นดินเผาไทยจึงมีอิทธิพลจีนอย่างมาก และสามารถเอาไปขายในตลาดโลกแทนเครื่องปั้นดินเผาจีนที่ขาดตลาด
ได้ ลูกค้าของสุโขทัยนั้นมีอยู่ ๒ พวก พวกหนึ่ง คือ พวกอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ส่วนอีกพวกหนึ่ง ได้แก่ พวกอินเดียและ
พวกตะวันออกกลาง นอกจากสองพวกนี้แล้ว ยังมีพวกลูกค้ารายย่อย เช่น ญี่ปุ่น แอฟริกาตะวันออกกลาง เป็นต้น ส่วนเส้นทาง
การค้าเครื่องสังคโลกของสุโขทัยมีอยู่ ๒ เส้นทาง คือ ทางตะวันตกผ่านเมืองท่า เมาะตะมะ และทางใต้ผ่าน เมืองท่าอยุธยา
เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่ที่เอามาขายที่เมืองเมาะตะมะนี้ มักเป็นพวกไหเคลือบสีน้าตาลไหม้เป็นไหขนาดใหญ่สาหรับใส่
น้า น้ามัน น้าตาล หรือบรรจุของอื่น ๆ ไหแบบนี้เป็นที่ต้องการของนักเดินเรือมาก ซื้อขายกันแพร่หลายเรียกกันติดปากว่า ไห
เมาะตะมะ ลูกค้าของสุโขทัยทางด้านเมืองท่าเมาะตะมะนี้ คือ พวกอินเดียและพวกตะวันออกกลาง
ส่วนลูกค้าของสุโขทัยทางด้านใต้ผ่านเมืองท่าอยุธยานั้น ได้แก่ พวกอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งหมายถึงบรรดา
อาณาจักรต่าง ๆ ในเกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และลูซอน อันเป็นสถานที่ที่ค้นพบเครื่องสังคโลกมากที่สุด และงดงามสมบูรณ์
ที่สุดด้วย เพราะสังคโลกที่ส่งไปขายคงจะเป็นสังคโลกที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว
หัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัย

More Related Content

What's hot

พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายาน
Chainarong Maharak
 
หน่วยที่ 11 บทละครในเรื่องอิเหนา
หน่วยที่ 11 บทละครในเรื่องอิเหนาหน่วยที่ 11 บทละครในเรื่องอิเหนา
หน่วยที่ 11 บทละครในเรื่องอิเหนา
ณรงค์ศักดิ์ กาหลง
 
หน่วย4 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
หน่วย4 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิตหน่วย4 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
หน่วย4 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
วุฒิชาติ มาตย์นอก
 
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
ณรงค์ศักดิ์ กาหลง
 
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
pop Jaturong
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
เพ็ญลักษณ์ สุวรรณาโชติ
 
สรุปรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สรุปรัตนโกสินทร์ตอนต้นสรุปรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สรุปรัตนโกสินทร์ตอนต้นKunnai- เบ้
 
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนาการจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
พระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
wittawat_name
 
บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ผอ.พีระยศ บุญเพ็ง
 
บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก
บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูกบทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก
บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก
พัน พัน
 
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ครูพัฒวิทย์ ครูพัฒวิทย์
 
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง  วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญใบความรู้ที่ 1 เรื่อง  วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
โครงงานโวหาร
โครงงานโวหารโครงงานโวหาร
โครงงานโวหาร
kruying pornprasartwittaya
 
ศาสนาสากล
ศาสนาสากลศาสนาสากล
ศาสนาสากล
ThanaponSuwan
 

What's hot (20)

คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายาน
 
หน่วยที่ 11 บทละครในเรื่องอิเหนา
หน่วยที่ 11 บทละครในเรื่องอิเหนาหน่วยที่ 11 บทละครในเรื่องอิเหนา
หน่วยที่ 11 บทละครในเรื่องอิเหนา
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
หน่วย4 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
หน่วย4 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิตหน่วย4 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
หน่วย4 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
 
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
 
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
 
สรุปรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สรุปรัตนโกสินทร์ตอนต้นสรุปรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สรุปรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนาการจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
 
บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
 
บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก
บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูกบทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก
บทละครพูด เรื่อง เห็นแก่ลูก
 
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
 
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง  วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญใบความรู้ที่ 1 เรื่อง  วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ
 
โครงงานโวหาร
โครงงานโวหารโครงงานโวหาร
โครงงานโวหาร
 
ศาสนาสากล
ศาสนาสากลศาสนาสากล
ศาสนาสากล
 
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์
 

Viewers also liked

บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่งบทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
chakaew4524
 
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
chakaew4524
 
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัยหัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
chakaew4524
 
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่งบทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
chakaew4524
 
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยบทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยairja
 
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
chakaew4524
 
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศExim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ
Wannarat Wattananimitkul
 
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัยบทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
chakaew4524
 
บทที่ 5 วินาศภัย
บทที่ 5 วินาศภัยบทที่ 5 วินาศภัย
บทที่ 5 วินาศภัย
chakaew4524
 
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัยอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
Nicha'z Leah
 
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4pageทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
Prachoom Rangkasikorn
 
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ดบทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
chakaew4524
 
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
chakaew4524
 
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
chakaew4524
 
การขนส่งและประกันภัย
การขนส่งและประกันภัยการขนส่งและประกันภัย
การขนส่งและประกันภัย
onchuda
 
บทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัยบทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัย
chakaew4524
 
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐานบทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
chakaew4524
 
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ดบทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
chakaew4524
 
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิตบทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
chakaew4524
 
บทที่5การประกันวินาศภัย
บทที่5การประกันวินาศภัยบทที่5การประกันวินาศภัย
บทที่5การประกันวินาศภัย
chakaew4524
 

Viewers also liked (20)

บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่งบทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
 
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
 
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัยหัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
 
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่งบทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
 
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยบทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทเรียนสำเร็จรูป ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
 
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
 
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศExim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ
 
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัยบทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
 
บทที่ 5 วินาศภัย
บทที่ 5 วินาศภัยบทที่ 5 วินาศภัย
บทที่ 5 วินาศภัย
 
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัยอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
 
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4pageทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
 
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ดบทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
 
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
 
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
 
การขนส่งและประกันภัย
การขนส่งและประกันภัยการขนส่งและประกันภัย
การขนส่งและประกันภัย
 
บทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัยบทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัย
 
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐานบทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
 
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ดบทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
 
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิตบทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
 
บทที่5การประกันวินาศภัย
บทที่5การประกันวินาศภัยบทที่5การประกันวินาศภัย
บทที่5การประกันวินาศภัย
 

Similar to หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย

Conceptของสุโขทัย
ConceptของสุโขทัยConceptของสุโขทัย
Conceptของสุโขทัยsangworn
 
สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัยsangworn
 
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4
Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยาความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
Tonburi
TonburiTonburi
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยคร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
ปาล์มมี่ ไม่เล่นเกมส์
 
อาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัยอาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัยkrunrita
 
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
การปกครอง 604
การปกครอง 604การปกครอง 604
ความสัมพั...Pptx กลุ่ม 4
ความสัมพั...Pptx  กลุ่ม 4ความสัมพั...Pptx  กลุ่ม 4
ความสัมพั...Pptx กลุ่ม 4
Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยfernbamoilsong
 
111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143
sibsakul jutaphan
 

Similar to หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย (20)

Conceptของสุโขทัย
ConceptของสุโขทัยConceptของสุโขทัย
Conceptของสุโขทัย
 
สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัย
 
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4
 
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยาความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
 
Tonburi
TonburiTonburi
Tonburi
 
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
 
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยคร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
 
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยการเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทย
 
กลุ่ม 1 การสถาปนา
กลุ่ม 1 การสถาปนากลุ่ม 1 การสถาปนา
กลุ่ม 1 การสถาปนา
 
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 
อาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัยอาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัย
 
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
 
การปกครอง 604
การปกครอง 604การปกครอง 604
การปกครอง 604
 
ความสัมพั...Pptx กลุ่ม 4
ความสัมพั...Pptx  กลุ่ม 4ความสัมพั...Pptx  กลุ่ม 4
ความสัมพั...Pptx กลุ่ม 4
 
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143
 

More from chakaew4524

หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยหัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
chakaew4524
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
chakaew4524
 
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
chakaew4524
 
บทที่8แ
บทที่8แบทที่8แ
บทที่8แ
chakaew4524
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
chakaew4524
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
chakaew4524
 
บทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิตบทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิต
chakaew4524
 

More from chakaew4524 (7)

หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยหัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
 
บทที่8แ
บทที่8แบทที่8แ
บทที่8แ
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
 
บทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิตบทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิต
 

หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย

  • 1. หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย ภูมิหลังของอาณาจักรสุโขทัย จารึกหลักที่ ๒ หรือที่เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า จารึกวัดศรีชุม ได้กล่าวถึงการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยไว้อย่างสังเขปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถุม เป็นกษัตริย์ครองศรีสัชนาลัย – สุโขทัย พระองค์ทรงมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ พ่อขุนผาเมือง เจ้า เมืองราด ผู้ซึ่งเป็นพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง คือ พระยาคาแหงพระราม เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนศรีนาวนาถุมแล้ว มีเหตุการณ์ บางอย่างเกิดขึ้น ทาให้ขอมสบาด และโขลญลาพงยึดเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยไว้ได้ พ่อขุนผาเมืองและพระสหายของ พระองค์ พ่อขุนบางกลางหาว จึงร่วมมือกันยกกองทัพมาปราบขอมสบาดและโขลญลาพง พ่อขุนทั้งสองได้ชัยชนะ ได้เมืองศรีสัช นาลัยและเมืองสุโขทัยกลับคืนมา หลังจากนั้นพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์สุโขทัย เฉลิมพระนาม ว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ศรีอินทราทิตย์” พระนาม “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” เป็นนามที่พ่อ ขุนผาเมืองได้รับพระราชทานจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรเขมร และพ่อขุนผาเมืองได้มอบให้พ่อขุนบางกลางหาวใช้อีก ต่อหนึ่งเมื่อจัดการเรื่องต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้กลับไปครองเมืองราด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ถือว่าเป็นการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย และสันนิษฐานว่าคงจะเกิดขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๘๑ เมื่อพิจารณาจากปีที่ก่อตั้งจะเห็นได้ว่า สุโขทัยเกิดก่อนอาณาจักรไทยอื่น ๆ ที่อยู่ในสมัยเดียวกัน คือ อาณาจักรล้านนา (พ.ศ. ๑๘๓๙) และอาณาจักรอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓) จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า เหตุใดชนชาติไทยในเขตตอนบน ของลุ่มแม่น้าจ้าพระยาจึงสามารถรวมตัวกันและก่อตัวเป็นอาณาจักรได้สาเร็จก่อนคนไทยกลุ่มอื่น ๆ ที่กระจายกันอยู่ทั่วไปในอาณา บริเวณนี้ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – พุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรเขมรมีอิทธิพลมาก และได้แผ่อานาจเข้ามาในแถบลุ่ม แม่น้าเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อควบคุมดินแดนแถบนี้ เขมรได้ตั้งเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่าน อย่างไรก็ตาม ในช่วง ระยะ ๒๐๐ ปีเศษ อานาจทางการเมืองของเขมรในแถบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่างไม่ได้อยู่ในสภาพคงที่ ดังจะเห็นได้ว่า บางครั้งละโว้ได้ตั้งตนเป็นอิสระ ช่วงที่อาณาจักรเขมรมีอานาจมาก คือ รัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๕ – พ.ศ. ๑๕๙๓) พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖ – หลัง พ.ศ. ๑๖๘๘) และพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ราว พ.ศ. ๑๗๖๐) สุโขทัยตั้งอยู่ทางตอนบนของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่อยู่ห่างจากนครธมหรือพระนครหลวง ราชธานี ของอาณาจักรเขมรมากพอควร อานาจทางการเมืองของเขมรที่แผ่มาถึงอาณาบริเวณนี้จึงไม่มากเท่ากับทางแถบลุ่มแม่น้า เจ้าพระยาตอนล่าง ด้วยเหตุนี้สุโขทัยจึงมีโอกาสที่จะก่อร่างสร้างอาณาจักรได้มากกว่า และได้ก่อนกลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้า เจ้าพระยาตอนล่าง นอกจากนั้น ในช่วงระยะที่ชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยากาลังแผ่ขยายตัวและเริ่มมี บทบาททางการเมืองมากขึ้นนั้น ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงมีนโยบายแผ่ขยายอานาจขึ้นไปทางเหนือของอาณาจักรด้วยการทาสงครามกับอาณาจักรจามปา ซึ่งต่อมาได้ กลายเป็นสงครามยืดเยื้อ การที่ต้องพะวงกับการทาสงคราม ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยควบคุมดูแลดินแดนทางแถบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความสาคัญต่ออาณาจักรเขมรมากในแง่ยุทธศาสตร์ เพราะสามารถเข้าถึง กรุงยโสธร หรือ นครธม เมืองหลวง ของอาณาจักรเขมรได้อย่างง่ายดาย ทาให้พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงไม่สามารถจัดการกับการแผ่ขยายบทบาททางการเมืองของชน ชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาได้อย่างเต็มที่ พระองค์จึงต้องทรงสนับสนุนการก่อร่างสร้างเมืองของคนไทยกลุ่ม นี้ในฐานะผู้ใหญ่ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้น้อย เพื่อผูกพันบ้านเมืองที่กาลังจะเริ่มเติบโตให้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเขมรใน ลักษณะของผู้พึ่งพิง ดังจะเห็นได้จากการที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระราชทานพระขรรค์ชัยศรี พระนามกมรเตงอัญศรี
  • 2. อินทรบดินทราทิตย์ และพระราชธิดา ชื่อ พระนางสุขรเทวีแก่พ่อขุนผาเมือง นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากการวางผังเมืองและ การวางระบบชลประทานเพื่อนามาใช้ในเมืองสุโขทัยแล้วกล่าวได้ว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ คงจะทรงมีส่วนในการพระราชทาน ทรัพย์สินสิ่งของ และช่างฝีมือแก่ผู้นาของคนไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือให้การสร้างเมืองสุโขทัย บรรลุผลสาเร็จ หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลง การเมืองไม่มีเสถียรภาพมีความวุ่นวายเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การ เสื่อมอานาจของอาณาจักรเขมร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์อานาจทางการเมืองที่สาคัญยิ่งของดินแดนในแถบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา ทาให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองสุโขทัยซึ่งได้ก่อร่างสร้างเมืองมาแล้วเป็นอย่างดี จึงสามารถก่อตั้งอาณาจักรของตนขึ้นมาได้ใน ช่องว่างแห่งอานาจนี้ อย่างไรก็ตาม อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกก่อตั้งคงจะมีอาณาเขตไม่กว้างขวางนัก และยังไม่เป็นที่ยอมรับ ของเมืองบางเมือง เช่น เมืองฉอด ดังนั้น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงต้องทาสงครามแผ่ขยายอาณาเขตออกไปเพื่อความมั่นคงของ อาณาจักร ให้เมืองต่าง ๆ ยอมรับฐานะและอานาจของสุโขทัย ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างแนวป้องกันให้แก่เมืองหลวงด้วย อาณาจักรสุโขทัย สามารถแผ่ขยายอาณาเขตออกไปได้อย่างกว้างขวาง ในสมัยพ่อขุนรามคาแหง(พ.ศ. ๑๘๒๒ – ๑๘๔๒) ดัง ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า “มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก รอดสระหลวง สองแคว ลุมบาจาย สคาเท้าฝั่งของ(แม่น้้า โขง) เถิงเวียงจันทน์ เวียงค้า เป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอน (ทิศใต้) รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรี ธรรมราช ฝั่ งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง...น หงสาวดี สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอน (ทิศเหนือ) รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองน.....เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว” การขยายอาณาเขตในสมัยพ่อขุนรามคาแหงอาศัยกาลังทางทหารและการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการจัดระบบการปกครองที่รัดกุมในการควบคุมดูแลดินแดนที่ได้มา ทาให้บรรดาหัวเมืองชั้นนอกมีอิสระในการ ปกครองอย่างมาก การที่อาณาจักรยังดารงคงอยู่ได้ก็ด้วยความสามารถส่วนตัวของผู้นา ดังนั้น เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุน รามคาแหงพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สืบต่อมาไม่มีความสามารถเท่ากับพระองค์ อาณาจักรจึงแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ แตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ครั้งถึงรัชสมัย พระเจ้าลิไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พ.ศ. ๑๘๙๐ – ๑๙๑๒) พระองค์ ทรงพยายามรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกออกไป โดยทรงใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเมืองเหล่านี้ให้กลับเข้ามา รวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความหวังว่าจะทรงกอบกู้อาณาจักรสุโขทัยให้มีความยิ่งใหญ่และมีความเจริญรุ่งเรือง เหมือนสมัยพ่อขุนรามคาแหง แต่พระเจ้าลิไทก็ทรงประสบความสาเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ในปี พ.ศ. ๑๙๒๑ สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยา และต้องเป็นประเทศราชอยู่นานประมาณ ๑๐ ปี จึงสามารถ กลับเป็นอิสระอีกครั้งในปี พ.ศ. ๑๙๓๑๖ ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒ (ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๒ – ๑๙๔๒) สันนิษฐาน ว่าสุโขทัยคงจะเป็นอิสระมาจนถึงปี พ.ศ. ๑๙๖๒ ก็เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติในอาณาจักรสุโขทัยระหว่าง พระยาบาล และ พระยาราม พระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๓ ไสยลือไทย (พ.ศ. ๑๙๔๒ – ๑๙๖๒) จึงเปิดโอกาสให้อยุธยาเข้ามา แทรกแซงการเมืองภายในสุโขทัย ยังผลให้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอีกครั้ง อยุธยาได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัย ออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งมี เมืองพิษณุโลก เป็นเมืองศูนย์กลาง และอยู่ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่ อีกส่วนหนึ่งมีเมือง กาแพงเพชร เป็นศูนย์กลาง สมเด็จพระอินทราชาธิราช (พ.ศ. ๑๙๕๒ – ๑๙๖๗) พระมหากษัตริย์อยุธยาในขณะนั้นทรงแต่งตั้งให้ พระยาบาลเป็นผู้ครองเมืองพิษณุโลก ทรงได้รับการเฉลิมพระนามว่า “พระเจ้าศรีสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราช” หรือที่ เรียกกันอย่างสั้น ๆ ว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๔ บรมปาล ส่วนพระยารามนั้นโปรดให้ครองเมืองกาแพงเพชร พระมหาธรรมราชารมปาลสวรรคตในปี พ.ศ. ๑๙๘๑ สมเด็จพระบรมราชธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา พ.ศ. ๑๙๖๗ – ๑๙๙๑) ได้ทรงสถาปนาให้ พระราเมศวร พระราชโอรส ซึ่งทรงมีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยทางฝ่ายพระราชมารดา เป็นพระมหาอุปราช
  • 3. ครองเมืองพิษณุโลก อาณาจักรสุโขทัยจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา นับเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรไทยแห่งแรกที่มีหลักฐานแน่นอนทางประวัติศาสตร์๗ และได้มอบมรดกทางด้านวัฒนธรรมหลายประการแก่ อาณาจักรไทยในสมัยหลัง ลักษณะทางการเมืองการปกครอง ในการศึกษาลักษณะทางการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยนั้น เราจะศึกษาว่ามีลักษณะเป็นเช่นใด มีจุดเด่น และจุดอ่อนอย่างไร โดยจะศึกษาพิจารณาจากสถาบันพระมหากษัตริย์ การจัดรูปแบบการปกครอง และการควบคุมกาลังคน ๑. สถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อแรกก่อตั้ง อาณาจักรสุโขทัยยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง จานวนพลเมืองยังมีไม่มากและกาลังอยู่ในระยะการก่อร่าง สร้างตนเพื่อความเป็นปึกแผ่น จึงยังคงมีความเคยชินอยู่กับการปกครองแบบดั้งเดิม ซึ่งยึดถือความสัมพันธ์ทางครอบครัวเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์สุโขทัยในระยะต้นจึงทรงวางพระองค์ประดุจบิดาของประชาชน ทรงปกครองดูแลไพร่บ้านพลเมือง อย่างใกล้ชิดและด้วยความเอาใจใส่ เหมือนดั่งพ่อบ้านดูแลรับผิดชอบลูกบ้านของตนในขณะเดียวกัน ก็ทรงก็อานาจสิทธิ์ขาดเหนือ ชีวิตของลูกบ้านด้วย การปกครองแบบนี้ก่อให้เกิดพระมหากษัตริย์แบบปิตุราชา ซึ่งมักจะใช้คานาหน้าพระนามว่า “พ่อขุน” ในยามสงบ พ่อขุนมีหน้าที่บาบัดทุกข์บารุงสุขของอาณาประชาราษฎร์ ประชาชนสามารถร้องทุกข์ต่อพ่อขุนได้ นอกจากนั้น พ่อขุนยังมีหน้าที่เป็นผู้พิพากษาในการให้ความยุติธรรมแก่ราษฎร วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของพลเมือง อีกทั้งยัง ส่งเสริมทานุบารุงพุทธศาสนา สั่งสอนอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน และช่วยเหลือดูแลการประกอบอาชีพด้วย ในยามสงคราม พ่อขุนจะเป็นแม่ทัพใหญ่ในการต่อสู้กับอริราชศัตรู รวมทั้งมีภาระหน้าที่ในการแผ่ขยายอาณาเขตเพื่อความมั่นคงของอาณาจักร พระมหากษัตริย์แบบปิตุราชานี้เป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งทางการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย เป็น ลักษณะเด่นที่มักจะได้รับการกล่าวถึงและอยู่ในห้วงนึกคิดของผู้คนโดยทั่วไปเมื่อเอ่ยถึงประวัติศาสตร์สุโขทัย อันที่จริงราชาธิปไตย แบบพ่อปกครองลูกหรือปิตุราชาธิปไตย นี้มีอยู่เฉพาะในสมัยสุโขทัยตอนต้นเท่านั้น ต่อมาลักษณะของกษัตริย์แบบพ่อขุนจะได้รับ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาเป็นกษัตริย์แบบ ธรรมราชา ตามสภาพแวดล้อมทางการเมืองและความจาเป็นในสมัยหลัง เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคาแหง อาณาจักรสุโขทัยอันกว้างใหญ่ได้แตกแยกเป็นเสี่ยง ๆ ศิลาจารึกหลักที่ ๓ หรือที่เรียก กันในอีกชื่อหนึ่งว่า ศิลาจารึกนครชุม ได้บรรยายถึงการเสื่อมอานาจของอาณาจักรสุโขทัยที่แตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อยหลัง สมัยพ่อขุนรามคาแหงไว้ตอนหนึ่งว่า “เมื่อชั่วพระยารามราช....กว้างขวางรอดทุกแห่ง....เป็นเจ้าเป็นขุนอยู่ บ้านเมืองขาด....หลายบั้นหลายท่อนดังเมืองพ....นกเป็นขุนหนึ่ง เมืองคนทีพระบาง หาเป็นขุนหนึ่ง....เมืองเซียงทองหาเป็นขุนหนึ่ง เมือง...หาเป็นขุนหนึ่ง เมือง บางพานหาเป็นขุนหนึ่ง....ต่างท้าเนื้อท้าตนเขาอยู่” ในรัชสมัย พระเจ้าลิไท สภาพทางการเมืองได้ทวีปัญหามากขึ้นทั้งการเมืองภายในอาณาจักรและการเมืองภายใน ได้ เกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ ทาให้การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าลิไท ในปี พ.ศ. ๑๘๙๐ มิได้เป็นไปอย่างราบรื่น พระองค์ต้อง ทรงใช้กาลังปราบปรามเจ้านายสุโขทัยกลุ่มอื่น ๆ เพื่อขึ้นครองราชสมบัติ หลังจากนั้นต้องทรงจัดการแก้ไขปัญหาความกระด้าง กระเดื่องของเมืองเล็กเมืองน้อยที่ยังคงขึ้นอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย เพื่อให้เกิดความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ในด้านการเมือง ภายนอกในรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรล้านนาซึ่งอยู่ทางเหนือของอาณาจักรสุโขทัยกาลังแผ่ขยายอานาจทางการเมืองอย่าง มาก และมีร่องรอยในตานานมูลศาสนาว่า เมืองตากซึ่งเคยเป็นเมืองในอาณาจักรสุโขทัย ได้ตกเป็นของอาณาจักรล้านนาแล้ว
  • 4. ส่วนทางทิศใต้ของสุโขทัย อาณาจักรอยุธยาซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นได้ไม่นานกาลังพยายามแผ่ขยายอานาจทางการเมืองของตนออกไปทุก วิถีทาง อาณาจักรสุโขทัยซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างอาณาจักรทั้งสองจึงตกอยู่ในสภาวะที่ล่อแหลมมาก ในท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ สถาบันพระมหากษัตริย์แบบปิตุราชาซึ่งเป็นสถาบันการปกครองที่มีการจัดการที่ไม่ สลับซับซ้อน และเหมาะสาหรับบ้านเมืองที่มีประชาชนไม่มาก ไม่สามารถจะดารงคงอยู่ได้ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางการ เมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย จึงต้องมีการปรับปรุงสถาบันพระมหากษัตริย์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ให้อยู่ใน สภาวะที่จะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกอาณาจักรได้ พระเจ้าลิไท ทรงตระหนักดีว่า ทรงไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นด้วยวิถีทางการทหารเพียงอย่างเดียว เพราะอานาจทางการทหารของสุโขทัยในรัชสมัยของพระองค์มิได้เข้มแข็งเหมือนดั่งสมัยพ่อขุนรามคาแหง พระเจ้าลิไทจึงต้องทรง ใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการใช้กาลังทางทหาร พระเจ้าลิไทได้ ทรงเสริมสร้างบุคลิกภาพของพระองค์ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในสุโขทัย และของบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ด้วยการยึดแนว ทางการเป็นกษัตริย์ที่ดีและกษัตริย์ที่ประเสริฐตามแนวคิดทางการเมืองของพุทธศาสนา นั่นก็คือ การเป็นกษัตริย์แบบ ธรรมราชา อาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียงเป็นดินแดนที่ศาสนาพุทธหินยานลัทธิลังกาวงศ์ได้หยั่งรากลึก และมีอิทธิพล อย่างมากต่อประชาชนในสังคมเหล่านี้ ดังนั้น ประชาชนจึงมีความคุ้นเคยกับแนวคิดการเป็นกษัตริย์แบบธรรมราชา มีความ เลื่อมใสศรัทธาและพร้อมที่จะรับแนวความคิดนี้ ธรรมราชา หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้มีธรรม หรือพระราชาผู้ปฏิบัติตามธรรม “ธรรม” ในที่นี้หมายถึง หลักธรรมทาง พุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่รับรู้ร่มกันระหว่างกษัตริย์และประชาชน ธรรมราชาจะแผ่อานาจทั้งทางโลกและทางธรรม และจะยอมรับ การปกครองโดยธรรมเป็นสิ่งกาหนดเงื่อนไขที่เป็นคุณค่าสาคัญสาหรับผู้ปกครองพึงประพฤติปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และราชจรรยานุวัตร อานาจของธรรมราชาจึงเป็นอานาจที่ชอบด้วยธรรม ไม่ใช่อานาจที่เกิดจากกาลังหรืออานาจ จากแหล่งอื่น ๆ ธรรมราชาจึงเป็นผู้ปกครองที่มีฐานะสูงเด่นกว่าผู้นาที่ใช้กาลังหรืออานาจอื่น ๆ เป็นฐานอานาจทางการเมือง การปกครอง นอกจากนั้น ธรรมราชาในสมัยพระเจ้าลิไทยังถูกยกให้สูงเด่นมากขึ้น ด้วยการให้มีฐานะเป็นเสมือนพระโพธิสัตว์อีก ฐานะหนึ่ง มีหน้าที่พาประชาชนข้ามวัฏสงสารไปสู่นิพพาน “…จุ่งเป็นพระพุทธ จุ่งจักเอาฝูงสัตว์ทั้งหลายข้ามสงสารทุกข์นี้…” อันที่จริงแนวคิดการเป็นกษัตริย์แบบธรรมราชาหรือการปกครองโดยธรรมไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งมีในรัชกาลพระเจ้าลิไท แต่เป็น แนวคิดที่แทรกอยู่ทั่วไปในนโยบายการปกครองของอาณาจักรที่นับถือพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาณาจักรที่อยู่ทางตอน เหนือ เช่น อาณาจักรหริภุญไชย อาณาจักรล้านนา ในอาณาจักรสุโขทัยก่อนรัชสมัยพระเจ้าลิไทก็มีการพูดถึงการปกครองโดย ธรรมแล้ว ศิลาจารึกหลักที่ ๒ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้หนึ่ ง ชื่อพ่อขุนราชราชปราชญ์รู้ธรรม..” ดังนั้น พระเจ้าลิไทจึงทรงเพียงแต่นาแนวความคิดเรื่องธรรมราชามาปฏิบัติให้เป็นระบบอย่างจริงจัง และยังผลให้แนวคิดเรื่องธรรมราชา วิวัฒน์ไปสู่การเป็นหลักสาคัญในการปกครองแทนที่แนวคิดเรื่อง ปิตุราชา พระเจ้าลิไท ทรงส่งเสริมทานุบารุงพุทธศาสนาทั้งทางด้านการศึกษาธรรมะของคณะสงฆ์ การอบรมศีลธรรมจรรยาแก่ ประชาชน และการสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ในศาสนาในรัชสมัยของพระองค์ คณะสงฆ์ที่นครพ้นหรือเมืองเมาะตะมะได้รับการยก ย่องว่า มีความเคร่งครัดในพระวินัยและมีวัตรปฏิบัติอันดีงาม เพราะพระภิกษุบางรูปในเมืองเมาะตะมะได้ไปบวชเรียนอีกครั้งหนึ่ง ที่ลังกา และได้นาวัตรปฏิบัติและคาสอนของศาสนาพุทธหินยานลัทธิลังกาวงศ์มาเผยแพร่ในดินแดนมอญ ในปี พ.ศ. ๑๙๐๐ พระสงฆ์สุโขทัยสองรูป คือ พระอโนมทัสสีและพระสุมนะได้ไปบวชเรียนอีกครั้งหนึ่งที่เมืองเมาะตะมะ สันนิษฐานว่าพระเถระทั้ง สองคงจะได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าลิไทให้ไปศึกษาพระไตรปิฏก และวัตรปฏิบัติของลัทธิลังกาวงศ์ที่เมืองเมาะตะมะ เพื่อ นามาเผยแพร่แก่คณะสงฆ์ในอาณาจักรสุโขทัย นอกจากนั้นในปี พ.ศ. ๑๙๐๔ พระเจ้าลิไทได้ผนวช ณ วัดป่ามะม่วง ในการ
  • 5. ผนวชครั้งนี้ พระองค์ได้ทรงอาราธนาพระอุทุมพรบุปผามหาสวามีพระสงฆราชเมืองเมาะตะมะ มาเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ การผนวชของพระเจ้าลิไทย่อมสร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่ประชาชนทั้งในอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียง บทบาททางด้านพุทธศาสนาของพระเจ้าลิไทที่กล่าวมาข้างต้น ทาให้พระองค์ทรงเป็นผู้นาทางด้านความคิด ดังจะเห็น ได้ว่า พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงแก้ไขศักราชที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง ซึ่งเมืองต่าง ๆ ก็ยอมรับและนาไปใช้ นอกจากนั้น ยังทา ให้พุทธศาสนาในอาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรืองมาก สุโขทัยได้กลายเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาในอาณา บริเวณลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนบนและตอนล่าง ดังจะเห็นได้ว่า ในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ พระเจ้ากือนา แห่งอาณาจักรล้านนาได้ทรง นิมนต์ พระสุมนะเถระ ไปเผยแพร่ศาสนาที่เชียงใหม่ พระสุมนะได้นาพระบรมสารีริกธาตุที่ท่านขุดได้ ณ เมืองปางจา ไปด้วย พระเจ้ากือนาทรงมีจิตศรัทธาปรารถนาจะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระสุมนะได้ชักชวนให้พระองค์ทรงสร้างที่เมือง ตาก เพื่อให้ชาวสุโขทัยและชาวเชียงใหม่ได้มานมัสการทั่วกัน อีกทั้งยังได้ขอให้พระเจ้ากือนาทรงตั้งฑิตใสหลานของท่าน (พระ สุมนะ) เป็นเจ้าเมืองตากด้วย เพื่อจะได้ดูแลเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระเจ้ากือนาได้ทรงปฏิบัติตามคาขอของพระ สุมนะเพื่อ “เอาเมืองนั้นบูชาสีลาธิคุณแห่งเจ้ากูแล” สุโขทัยจึงมีอิทธิพลเหนือเมืองตากอีกครั้งหนึ่ง นอกจากพระสุมนะเถระ พระภิกษุสุโขทัยรูปอื่น ๆ ได้ไปเผยแพร่พุทธศาสนา ณ เมืองต่าง ๆ เช่น พระสุวรรณคีรีไป เมืองหลวงพระบาง พระเวสสภูไปเมืองน่าน และพระปิยทัสสีไปอยุธยา เป็นต้น กล่าวโดยสรุป การที่พระเจ้าลิไททรงใช้ ศาสนาพุทธเป็นวิถีทางหนึ่งในการรวบรวมอาณาจักรสุโขทัยนั้นนับว่าประสบผลสาเร็จมากพอควร ในรัชสมัยของพระองค์สุโขทัย ได้กลับเป็นปึกแผ่นและเริ่มมีอานาจทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง จารึกหลักที่ ๘ ซึ่งเป็นจารึกที่บรรยายถึงพระเจ้าลิไททรงพาไพร่พล จากเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรสุโขทัยมาไหว้พระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฎ เป็นประจักษ์พยานอันดีถึงความสาเร็จนี้ “...ย่อมน้าคนทั้งหลายกระท้าบุญธรรมบ่ขาดสักเมื่อ อยู่ในสองแคว ได้เจ็ดข้าว จึงน้าพลมามีทั้งชาวสระหลวง สองแคว ปากยม พระบาง ชากังราว สุพรรณภาว นครพระชุม เบื้องใน...เมืองพาน เมือง..เมืองราด เมืองสะค้า เมืองลุมบาจายเป็นบริพาร จึงขึ้นมานบพระบาทลักษณะอันตนหากประดิษฐาน แต่ก่อนเหนือจอมเขาสุมนกูฎนี้” อย่างไรก็ตาม อาณาจักรสุโขทัยที่พระเจ้าลิไททรงรวบรวมขึ้นก็ยังมีอาณาเขตเล็กกว่าอาณาจักรในรัชสมัยพ่อขุน รามคาแหง กล่าวคือ มีอาณาเขตเพียงแค่ทิศเหนือจดเมืองน่าน ทิศตะวันออกจดอาณาจักรล้านช้าง ทิศใต้จดเมืองนครสวรรค์ และทิศตะวันตกจดเมืองตาก ดังนั้นความมุ่งหวังของพระเจ้าลิไท ที่จะทรงกอบกู้อาณาจักรสุโขทัยให้มีอานาจมากเท่ากับในรัช สมัยพ่อขุนรามคาแหง จึงประสบผลสาเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวโดยสรุป ลักษณะของพระมหากษัตริย์แบบปิตุราชาในสมัยสุโขทัยตอนต้น ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาเป็น พระมหากษัตริย์แบบธรรมราชาตามสภาพแวดล้อมทางการเมืองและความจาเป็นในสมัยต่อมา อย่างไรก็ตาม การใช้ศาสนาเป็น เครื่องมือในการรวบรวมอาณาจักรก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับการใช้กาลังทหาร กล่าวคือ อาณาจักรจะดารงอยู่เฉพาะในสมัยของ ผู้นาที่มีความสามารถทางการทหาร หรือมีปรีชาญาณทางด้านศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อสิ้นผู้นาคนนั้นแล้วอาณาจักรก็จะแตก สลายไป เพราะศาสนาและการทาหารไม่สามารถทาให้อาณาจักรที่กว้างใหญ่ดารงอยู่ได้นาน ปัจจัยหลักที่ทาให้อาณาจักรอยู่ได้ ยั่งยืนนาน คือ ระบบการปกครองที่มีความรัดกุม สามารถควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในสมัยโบราณระบบ การปกครองแบบนี้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ด้วยความยากลาบาก อันเนื่องมากจากอุปสรรคทางด้านคมนาคมและการสื่อสาร การจัดรูปแบบการปกครอง
  • 6. หลักฐานต่าง ๆ เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยมีอยู่น้อยมาก เราจึงไม่ค่อยทราบ รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการปกครองของอาณาจักรนี้ อย่างไรก็ตาม มักสันนิษฐานกันว่า สุโขทัยคงจะแบ่งเขตการ ปกครองอาณาจักรเป็นเมืองราชธานีเมืองลูกหลวงหรือหัวเมืองชั้นในซึ่งทาหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านอยู่ ๔ ทิศ เมืองพระยามหา นคร หรือ หัวเมืองชั้นนอก และเมืองออกหรือเมืองขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาณาจักรสุโขทัยมิได้มีอาณาเขตกว้างขวางเท่าใด สุโขทัยมีการแผ่ขยายอาณาเขตในรัชกาล พ่อขุนรามคาแหงที่ทาให้สุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมฟากตะวันตกของลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาลงไปถึงเมือง นครศรีธรรมราชและคาบสมุทรมลายู อย่างไรก็ตามอาณาบริเวณที่สุโขทัยมีอานาจอย่างแท้จริงและมีอยู่ในระยะเวลาอันยาวนาน จนสามารถสร้างสรรค์วัฒนธรรมสุโขทัยในเมืองเหล่านี้ได้ ได้แก่ เมืองที่ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ กาแพงเพชร ตาก พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ขอบเขตของอาณาจักรสุโขทัย ทิศเหนือจะอยู่ ประมาณจังหวัดอุตรดิตถ์ คงจะอยู่ในบริเวณจังหวัดตาก ดังนั้น การวิเคราะห์การจัดรูปแบบการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยจึง ควรพิจารณาจากอาณาบริเวณที่สุโขทัยมีอานาจอย่างแท้จริง จากหลักฐานต่าง ๆ เท่าที่มีอยู่กล่าวได้ว่า ในดินแดนที่สุโขทัยมีอานาจนั้น สุโขทัยได้จัดรูปแบบ การปกครองแบบเมือง ลูกหลวง ซึ่งมีการกระจายอานาจเป็นอย่างมาก เมืองต่าง ๆ จะมีอิสระในการปกครองตนเอง และมีอานาจในการบริหารกิจการ งานภายในเมืองของตนค่อนข้างมาก จนเกือบจะเป็นเอกเทศ ทั้งในด้านการเก็บภาษีอากร การพิจารณาชาระไต่สวนตัดสินคดี ความที่เกิดขึ้นภายในเมือง การตั้งตาแหน่งขุนนางชั้นผู้น้อยเพื่อช่วยบริหารราชการต่าง ๆ และการควบคุมเมืองบริวารเล็ก ๆ ที่มา ขึ้นอยู่ด้วย เมืองลูกหลวงที่สาคัญของอาณาจักรสุโขทัยมีอาทิเช่น เมืองศรีสัชนาลัย เมืองพิษณุโลก และเมืองกาแพงเพชร แต่ เมืองลูกหลวงเหล่านี้จะมีความสาคัญในแต่ละช่วงสมัยไม่เท่ากันในช่วงระยะก่อนรัชสมัยพระเจ้าลิไท เมืองลูกหลวงที่มีความสาคัญ คือ เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีผู้คนอยู่หนาแน่น กลุ่มเมืองสาคัญของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงระยะแรกจึงได้แก่ เมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย แต่ในรัชสมัยพระเจ้าลิไท เมืองลูกหลวงที่มีความสาคัญ คือ เมืองพิษณุโลก และเมืองกาแพงเพชร เนื่องจากในช่วง ระยะนี้ อาณาจักรสุโขทัยเริ่มประสบปัญหาการรุกรานจากอาณาจักรอยุธยา หลักฐานหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้เสด็จขึ้นมายึดเมืองพิษณุโลกไว้ได้ พระเจ้าลิไทต้องถวายบรรณาการจานวนมากเพื่อขอพระราชทาน เมืองคืน ในที่สุดสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้ทรงคืนเมืองพิษณุโลกให้พระเจ้าลิไทด้วยเหตุนี้เมืองพิษณุโลกจึงตกอยู่ในภาวะที่ ล่อแหลม ส่วนเมืองกาแพงเพชรซึ่งอยู่ใต้เมืองพิษณุโลกลงมาก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน คอยรับศึกจากอยุธยา ความสาคัญของ เมืองทั้งสองนี้จะเห็นได้จากการที่พระเจ้าลิไทเสด็จลงมาครองเมืองพิษณุโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๙๐๖ เป็นต้นมา และได้ทรงตั้ง มหาเทวีผู้เป็นพระกนิษฐาให้ปกครองดูแลเมืองสุโขทัยแทนพระองค์ นอกจากนั้นยังได้ทรงตั้งอามาตย์ชื่อติปัญญา ให้ครองเมือง กาแพงเพชร กลุ่มเมืองสาคัญของอาณาจักรสุโขทัย ในช่วงระยะหลังจึงได้แก่ เมืองสุโขทัย พิษณุโลก และกาแพงเพชร ในลักษณะการปกครองแบบกระจายอานาจที่กล่าวมานี้ เมืองลูกหลวงจะมีความสัมพันธ์กับเมืองหลวง หรือ ราชธานี เพียงความสัมพันธ์ทางเครือญาติ หรือผู้อุปถัมภ์กับผู้รับการอุปถัมภ์ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โครงสร้างทางการปกครอง ของอาณาจักรสุโขทัยจึงเป็นโครงสร้างที่ไม่กระชับ ไม่มีความแน่นอน ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อมีการผลัดเปลี่ยนผู้นา หาก พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงมีความสามารถ มีความเด็ดขาด ความสัมพันธ์กับเมืองลูกหลวงก็จะคงอยู่อย่างเดิม แต่ถ้า พระองค์ทรงไม่เข้มแข็งพอ เมืองลูกหลวงก็จะเพิกถอนความสัมพันธ์และแยกตัวเป็นอิสระจากเมืองหลวง บุคลิกภาพของ พระมหากษัตริย์จึงเป็นสิ่งสาคัญต่อการปกครองมากกว่าเงื่อนไขในการจัดระเบียบอื่น ๆ
  • 7. การที่รูปแบบการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยไม่มีการจัดระบบที่กระชับรัดกุมนับเป็นจุดอ่อนที่สาคัญประการหนึ่งของ การเมืองการปกครองของสุโขทัย เป็นสาเหตุสาคัญข้อหนึ่งที่ทาให้อาณาจักรง่ายต่อการแตกสลาย หากเปรียบเทียบกับอาณาจักร อยุธยาจะเห็นได้ว่า แม้อาณาจักรอยุธยาจะมีลักษณะการปกครองที่กระจายอานาจในระยะแรกก่อตั้งอาณาจักร แต่ในเวลาต่อมา ก็มีการปฏิรูปการปกครองรวมอานาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มีการจัดระบบการปกครองที่กระชับรัดกุม และควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ อย่าง เคร่งครัด ซึ่งรูปแบบการปกครองที่ปฏิรูปใหม่นี้เป็นสาเหตุสาคัญข้อหนึ่งที่ช่วยให้อาณาจักรอยุธยาสามารถดารงคงอยู่ได้ยาวนาน กว่าอาณาจักรสุโขทัย การควบคุมกาลังคน กาลังคนหรือแรงงานไพร่นับเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งอย่างหนึ่งของอาณาจักรทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ คาว่า “ไพร่” หมายถึง ประชาชนทั่ว ๆ ไป คนส่วนใหญ่ของสังคมประมาณร้อยละ ๘๐ – ๙๐ จะเป็นไพร่ กาลังคนมีความสาคัญ อย่างมากต่อการเสริมสร้างและแผ่ขยายอาณาจักร ในด้านเศรษฐกิจกาลังคนเป็นบ่อเกิดของผลผลิตต่าง ๆ ซึ่งยังความมั่งคั่ง สมบูรณ์ให้แก่รัฐ ในขณะเดียวกัน กาลังคนก็เป็นพื้นฐานสาคัญของการสร้างอานาจทางการเมือง เป็นกองทัพในยามเกิดศึก สงครามอีกทั้งยังเป็นแรงงานโยธาในการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น สร้างป้อมปราการ กาแพงเมือง ขุดอ่างเก็บน้า คูเมือง สร้างถนน หนทาง และวัดวาอารามต่าง ๆ ดังนั้น แต่ละอาณาจักรจึงต้องสร้างวิธีการหรือระบบที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมกาลังคน เพื่อให้สามารถเกณฑ์แรงงานไพร่มาใช้ได้อย่างรวดเร็วในยามที่เกิดความต้องการ อาณาจักรสุโขทัยจะมีการจัดระบบการควบคุมกาลังคนเป็นอย่างไรนั้น ไม่มีหลักฐานใดบ่บอกไว้อย่างละเอียด เมื่อ พิจารณาจากเนื้อความบางตอนใน จารึกหลักที่ ๘ และใน ไตรภูมิพระร่วง ประกอบกับการที่มีไพร่จากอยุธยาหนีมาอยู่ที่สุโขทัย แล้ว ทาให้สันนิษฐานได้ว่าอาณาจักรสุโขทัยคงจะมีวิธีการควบคุมกาลังคนอย่างง่าย ๆ ในลักษณะหลวม ๆ ไม่กระชับรัดกุมและไม่ เคร่งครัดอย่างอยุธยา กล่าวคือ คงจะเพียงแต่จัดให้พวกไพร่อยู่เป็นหมวดหมู่ภายใต้ความดูแลของขุนนางตาแหน่ง หัวหมื่นหัวพัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในยามที่ต้องการเกณฑ์แรงงานคนไปใช้ จากลักษณะทางการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยในด้านต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมือนี้ จะเห็นได้ว่า ระบบการเมือง การปกครองของสุโขทัยมีจุดอ่อนอยู่ ๒ ประการ คือ ไม่มีการจัดรูปแบบการปกครองที่กระชับรัดกุม และไม่มีระบบการคบคุม กาลังคนอย่างเคร่งครัด ซึ่งจุดอ่อนทั้ง ๒ ข้อนี้ เป็นสาเหตุสาคัญส่วนหนึ่งที่ทาให้อาณาจักรไม่เข้มแข็งและง่ายต่อการแตกสลาย อย่างไรก็ตาม ระบบการเมืองการปกครองสุโขทัยก็มีลักษณะเด่นอยู่ที่การรับรูปแบบกษัตริย์ และ การปฏิบัติตนตามแนวคิด ทางการเมืองของพุทธศาสนา ยังผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งมีการจัดระเบียบตามคติของพุทธศาสนานั้นอยู่โดดเด่นเหนือ องค์กรทางการปกครองอื่น ๆ ซึ่งมีโครงสร้างค่อนข้างหลวม ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นผู้ดึงความกระจัดกระจายใน ท่ามกลางโครงสร้างที่หลวมนั้นให้มารวมอยู่ด้วยกัน ความเจริญหรือความเสื่อมของอาณาจักรจึงขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพขององค์ พระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก ลักษณะทางเศรษฐกิจ ๑. ลักษณะทางเศรษฐกิจ อาณาจักรสุโขทัยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การเกษตรเป็นหลัก โดยมีการค้าและการทาเครื่องสังคโลกเป็น ส่วนประกอบสาคัญ อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานต่าง ๆ เท่าที่ได้ค้นพบและศึกษาค้นคว้ากันมา เศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัย น่าจะมีเพียงแค่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น มิได้มีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มากเท่ากับอาณาจักรอยุธยา ทั้งนี้เพราะสภาพ ภูมิศาสตร์และทาเลที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกและการเป็นศูนย์การค้ามากเท่ากับอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมี
  • 8. อาณาบริเวณอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่างสภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่อุดมสมบูรณ์มากนี้เป็นสาเหตุสาคัญประการหนึ่ง ที่ทาให้อาณาจักรสุโขทัยไม่สามารถมีอานาจทางการเมืองอยู่ได้เป็นเวลานาน ๑.๑ การเกษตร อาณาจักรสุโขทัยมีสภาพพื้นที่ราบที่ใช้ในการเพาะปลูกแบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้าและ ที่ราบเชิงเขา บริเวณที่ราบลุ่มที่สาคัญ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ายมและแม่น้าน่าน ซึ่งมีอาณาบริเวณตั้งแต่บริเวณตั้งแต่อุตรดิตถ์ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย เรื่อยลงมาจนถึงนครสวรรค์ พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่มีหนองบึงธรรมชาติอยู่ทั่วไป และ เนื่องจาก ว่าในหน้าน้า ลาน้ายมและลาน้าน่านจะมีปริมาณน้าจานวนมากไหลมาจากภูเขาทางภาคเหนือ จนระบายน้าลงสู่ลุ่ม แม่น้าเจ้าพระยาทางตอนล่างไม่ทัน ยังผลให้มีน้าท่วมท้นที่ราบลุ่มแม่น้ายมและแม่น้าน่าน และจะขังอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ทาให้ อาณาบริเวณนี้ทาการเพาะปลูกได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนบริเวณที่ราบเชิงเขานั้น มีอาณาบริเวณจากทางทิศตะวันตกของเมือง สุโขทัยเรื่อยมาจนถึงเมืองกาแพงเพชร พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นที่ดอน ดินไม่ใคร่อุดมสมบูรณ์จึงทาให้การเพาะปลูกได้ผลไม่ดีนัก จากสภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ทาให้การเกษตรในอาณาจักรสุโขทัยต้องใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยด้วย จุดประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อควบคุมน้าที่ไหลบ่ามากจากบริเวณภูเขา และน้าที่ท้นมาตามลาน้าต่าง ๆ ให้ไหลไปตามแนวทาง ควบคุมบังคับที่ทาไว้ หรือมิฉะนั้นก็เพื่อกักเก็บน้าไว้ภายในหุบเขา แล้วขุดคลองระบายน้าเข้าไปในพื้นที่ที่ทาการเพาะปลูก เขื่อนเก็บกักน้าที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ทางชลประทานในสมัยสุโขทัยคือ เขื่อนสรีดภงค์ หรือทานบพระร่วง เป็นเขื่อนดินขนาด ใหญ่ สร้างอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัย นอกจากทานบเก็บกักน้าแล้ว ยังมีการสร้างเหมืองฝายและขุดคูคลองส่ง น้าเป็นแนวยาวตั้งแต่ ศรีสัชนาลัย ผ่านสุโขทัยออกไปถึงกาแพงเพชรด้วยระบบชลประทานดังกล่าวข้างต้น ทาให้ผืนดินโดยรอบ เมืองสุโขทัย พื้นที่ระหว่างศรีสัชนาลัย สุโขทัย และกาแพงเพชร เป็นผืนดินอันกว้างใหญ่ที่ใช้ทาการเพาะปลูกได้ พืชสาคัญที่ปลูกกันมากในอาณาจักรสุโขทัยจนกลายเป็นพืชหลัก คือ ข้าว รองลงมา ได้แก่ มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน หมาก พลู พืชไร่ และไม้ผลอื่น ๆ ผลผลิตที่ได้คงมีปริมาณเพียงแค่การบริโภคภายในอาณาจักรเท่านั้นและคงจะไม่อุดม สมบูรณ์ถึงขั้นที่จะเลี้ยงประชากรจานวนมากๆ ได้ รัฐบาลได้สนับสนุนให้ประชาชนทาการเพาะปลูกด้วยการยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้แก่ผู้หักร้างถางพงทาการเกษตรในผืนดินต่าง ๆ และที่ดินนั้นยังเป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกหลานได้อีกด้วย ดังปรากฏในความ ตอนหนึ่งของศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า “สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่า ลาก็หลายในเมืองนี้...ใครสร้างได้ไว้แก่มัน” “ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่า เหย้าเรือนพ่อเชื้อ เสื้อค้ามัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไทป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น” การที่ต้องลงทุนจัดระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูกทาให้ความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรของอาณาจักรสุโขทัย ขึ้นอยู่กับปริมาณน้าที่จะสามารถกักเก็บไว้ได้นานเพียงไหนและความสามารถในการบารุงรักษาระบบชลประทาน ผลผลิตทาง การเกษตรจึงไม่ใช่ผลผลิตที่คงที่บางครั้งสุโขทัยต้องสั่งสินค้าข้าวจากดินแดนทางใต้แถบลพบุรีขึ้นไปเลี้ยงประชากรในอาณาจักร ด้วยเหตุนี้ อาณาจักรสุโขทัยจึงไม่มีฐานพลังทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งพอที่จะตั้งตัวเป็นอาณาจักรใหญ่และมีอานาจอยู่เป็นเวลานานได้ การค้า ทาเลที่ตั้งของสุโขทัยไม่เอื้อต่อการเป็นศูนย์การค้าเท่ากับอยุธยาซึ่งอยู่ใกล้ทะเล ที่ตั้งของเมืองสุโขทัยอยู่ลึกเข้าไปในผืน แผ่นดิน และอยู่ห่างจากทะเลมากสุโขทัยจึงเป็นเมืองปลายทางของเส้นทางการค้า อย่างไรก็ตามการค้าก็ยังคงเป็นส่วนประกอบ ทางเศรษฐกิจที่สาคัญอย่างหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยรองจากเศรษฐกิจหลัก คือ การเกษตร การค้าของสุโขทัยแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น ๒ ประเภท คือ การค้าระหว่างเมืองต่าง ๆ ภายในอาณาจักร และการค้า กับต่างประเทศหรืออาณาจักรใกล้เคียง
  • 9. ในเรื่องการค้าภายในจะมีลักษณะเป็นอย่างไรนั้นยังขาดหลักฐานที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม มีข้อความตอนหนึ่งในศิลา จารึกหลักที่ ๑ กล่าวไว้ว่า “เบื้องตีนนอน เมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีประสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง มีไร่มีนา มีถิ่นฐานะ มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก” คาว่า ปสาน สันนิษฐานว่ามากจากคาภาษาเปอร์เซียว่า “บาซาร์” แปลว่า ตลาดที่มีห้องหรือร้านเป็นแถวติดต่อกัน จากข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ทาให้สันนิษฐานได้ว่าในเมืองสุโขทัย คงมีตลาดประจาสาหรับให้ประชาชนจากท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน และตลาดปสานนี้คงตั้งอยู่ในย่านชุมนุมชน เพราะข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ตอนที่กล่าวถึง ที่ตั้งของตลาดปสานได้ระบุว่า ในบริเวณนั้น “มีถิ่นฐานมีบ้านใหญ่บ้านเล็ก” นอกจากมีตลาดปสานอันเป็นตลาดประจาแล้ว คง มีตลาดที่เรียกว่า ตลาดนัด ซื้อขายกันเป็นแห่ง ๆ ตามวันกาหนดข้างขึ้นข้างแรม ส่วนในด้านการค้ากับอาณาจักรใกล้เคียงนั้น คาดคะเนว่าคงจะมีไม่มาก เพราะสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ประการแรก อาณาจักรในสมัยก่อนมักจะผลิตสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคด้วยตนเอง และเกือบทุกอาณาจักรมักจะเลี้ยง ตนเองได้ จึงไม่ต้องพึ่งพาสินค้าจากสุโขทัย ประการที่สอง เศรษฐกิจของสุโขทัยอยู่ในขั้นพอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้นจึงไม่ ค่อยมีผลิตผลเหลือพอที่จะส่งเป็นสินค้าออก และประการสุดท้าย การคมนาคมระหว่างสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียงไม่สะดวก สาหรับการค้ากับต่างประเทศนั้น อาณาจักรสุโขทัยอาศัยเส้นทางการค้าที่สาคัญ ๒ เส้นทาง คือ ๑. เส้นทางจากสุโขทัยไปเมืองเมาะตะมะ เส้นทางนี้เริ่มที่เมืองสุโขทัย ผ่านเมืองกาแพงเพชร เมืองเชียงทอง ตัดออก ช่องเขาที่อาเภอแม่สอด (ด่านแม่ละเมา) ผ่านเมืองเมียวดี (Myawadi) แล้วเดินทางต่อไปถึงเมืองเมาะตะมะ ซึ่งเป็นเมืองท่า แลกเปลี่ยนสินค้าที่สาคัญในขณะนั้น พ่อค้าจากสุโขทัยจะซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าจากอินเดีย เปอร์เซียและอาหรับ ๒. เส้นทางสุโขทัย – อ่าวไทย เส้นทางนี้จะเริ่มต้นจากสุโขทัย ล่องเรืองมาตามลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาและสาขา ผ่าน อยุธยา ออกสู่อ่าวไทย เส้นทางนี้สุโขทัยสามารถติดต่อค้าขายกับพวกพ่อค้าจีน ญี่ปุ่น มลายูและอินโดนีเซีย ส่วนสินค้าที่ซื้อขายกันนั้น สินค้าออก ได้แก่ ของป่า หนังสัตว์ เครื่องสังคโลก ไม้ฝาง ไม้กฤษณา งาช้าง และนอ ระมาด สาหรับสินค้าเข้ามีอาทิ ผ้าแพร ผ้าไหม ผ้าต่วน เครื่องเหล็ก และอาวุธต่าง ๆ จากที่ได้บรรยายมาจะเห็นได้ว่า อาณาจักรสุโขทัยไม่มีเมืองท่าของตนเองในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ เส้นทาง การค้าที่ไปทาง ตะวันตก ต้องอาศัย เมืองท่าเมาะตะมะ ส่วนเส้นทางการค้าที่ไปทางใต้ต้องอาศัยเมืองท่าอยุธยา ด้วยเหตุนี้ เมื่ออาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอานาจลงหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคาแหงจนสูญเสียเมืองเมาะตะมะแก่พวกมอญ และทางด้านใต้ อาณาจักรอยุธยาได้ก่อตัวขึ้นและกาลังแผ่ขยายอานาจออกไปนั้น จึงมีผลกระทบอย่างมากต่อการค้าของอาณาจักรสุโขทัย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดารงราชานุภาพ เคยทรงแสดงความคิดเห็นไว้ว่า “...เหตุที่มาตั้งกรุงศรีอยุธยานั้นมันมีอยู่อย่างหนึ่งไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเป็นเรื่องของการตั้งประเทศแข่งเมืองสุโขทัย จับ ตรงที่สามแพร่งเพื่อจะบีบจมูกกรุงสุโขทัยทีเดียว... และข้อส้าคัญอยู่ที่ว่า ผู้แต่งพงศาวดารไม่ได้สังเกตตรงที่เมืองอยุธยานั้นว่า เป็นประตูบ้านของกรุงสุโขทัย การตั้งเมืองที่อยุธยานั้นเป็นการจับประตูบ้านทีเดียว....” ดูเหมือนว่าผู้นาของสุโขทัยจะตระหนักดีถึงข้อเสียเปรียบของตนในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ จึงได้ส่งเสริมให้ ความสะดวกแก่พ่อค้าต่างชาติที่มาติดต่อค้าขาย และไม่เก็บภาษีผ่านด่านภายในอาณาจักร ดังปรากฏในความตอนหนึ่งของศิลา จารึกหลักที่ ๑ ว่า “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขายใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใคร่จักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า” กล่าวโดยสรุป สภาพทาเลที่ตั้งของสุโขทัยไม่เอื้ออานวยให้สุโขทัยได้รับความมั่งคั่งจากการค้ามากนัก อย่างไรก็ตาม การค้ากับต่างประเทศก็นับเป็นส่วนประกอบทางเศรษฐกิจที่สาคัญ อย่างหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัยรองจากการเกษตรซึ่งเป็น เศรษฐกิจหลัก
  • 10. การทาสังคโลก การทาสังคโลก หรือ เครื่องปั้นดินเผาของสุโขทัย นับเป็นอุตสาหกรรมที่ขึ้นชื่อของสุโขทัย มีกรรมวิธีในการทา โดยสังเขป คือ นาเอาแร่ธาตุ เช่น ดินขาว หินฟันม้า และวัสดุอย่างอื่นมาผสมรวมกัน แล้วเคลือบด้วยน้ายาสีขาวนวลหรือสี เขียวไข่กาอีกชั้นหนึ่ง เป็นกรรมวิธีแบบใหม่ก้าวหน้ากว่าวิธีที่เคยทากันมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าสุโขทัยคงจะเรียนรู้เทคนิคการ ปั้นแบบนี้จากจีน ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ผูกขาดการทาและการค้าเครื่องปั้นดินเผาเคลือบในดินแดนทวีปเอเชีย ในอาณาจักรสุโขทัยมี แหล่งผลิตสังคโลก อยู่ ๓ แห่ง คือ เตาทุเรียง อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองสุโขทัย มีเนื้อที่ประมาณ ๕,๐๐๐ ตารางเมตร เตาป่ายาง อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองศรีสัชนาลัย มีเนื้อที่ประมาณ ๕,๕๐๐ ตารางเมตร เตาเกาะน้อย อยู่ที่ศรีสัชนาลัย ห่างจากแก่งหลวงขึ้นไปตามลาแม่น้ายมประมาณ ๕ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ ๑๙๕,๐๐๐ ตารางเมตร สังคโลกที่ผลิตมากที่สุด คือ พวกเครื่องใช้ประเภทถ้วย จาน ชาม ประปุก ขวดปัก ดอกไม้ โถ และ ตลับสังคโลก พวกนี้จะมีรูปทรงและลวดลายแบบจีนทั้งสิ้น ส่วนสังคโลกที่มีรูปทรงแบบไทยนั้น ได้แก่ รูปเทพพนม ยักษ์ นาค กระเบื้อง เคลือบมุงหลังคา ช่อฟ้า เป็นต้น เดิมเคยเชื่อกันว่าสุโขทัยเริ่มส่งเครื่องสังคโลกเป็นสินค้าออกในรัชสมัยพ่อขุนรามคาแหง แต่ จากการศึกษาค้นคว้าทางด้านโบราณคดีเกี่ยวกับชิ้นส่วนสังคโลกที่ได้ค้นพบใหม่ ทาให้เชื่อว่า การส่งสังคโลกเป็นสินค้าออกคงจะ เริ่มในสมัยสุโขทัยตอนปลาย โดยอยุธยาน่าจะมีส่วนในการส่งเสริมการค้าเครื่องสังคโลกอยู่มาก และในภายหลังเมื่อสุโขทัยถูก ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาแล้ว เครื่องสังคโลกก็ยังคงเป็นสินค้าออกที่สาคัญอยู่อีกชั่วระยะหนึ่ง การที่สุโขทัยสามารถส่งเครื่องสังคโลกเป็นสินค้าออก ทั้ง ๆ ที่เทคนิคการปั้นของสุโขทัยยังสู้ของจีนไม่ได้ และจีนเองก็ ผูกขาดเครื่องปั้นดินเผาเคลือบในเอเชียมาเป็นเวลานานหลายร้อยปีแล้วนั้น เป็นเพราะว่าตลอดช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จีนประสบ ความผันผวนทางการเมืองเป็นอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. ๑๕๐๓ – ๑๘๒๒) เป็นราชวงศ์ มองโกล (พ.ศ. ๑๘๒๒ – ๑๙๑๑) แล้วเปลี่ยนเป็นราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑ – ๒๑๘๗) สงครามอันยาวนานทาให้จีนปั่นป่วน เกิดความอดอยาก ทั้งยังมีโรคระบาดและน้าท่วมเข้ามาอีกด้วย เมื่อบ้านเมืองวุ่นวาย โจรผู้ร้ายชุกชุม และยังถูกโจรสลัดญี่ปุ่น รบกวนตามชายฝั่งทะเลทาให้ศักยภาพในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบของจีนลดต่าลง ไม่สามารถส่งออกขายตลาดต่างประเทศ ได้ จึงเปิดโอกาสให้สุโขทัยเข้าไปยึดตลาดการค้าเครื่องปั้นดินเผาเคลือบของจีนมา เวียดนามหรืออันนัมก็เป็นอีกอาณาจักรหนึ่งที่ เข้ามาแย่งตลาดการค้าของจีนในด้านนี้ด้วย สุโขทัยคงจะสร้างอุตสาหกรรมของตนขึ้นมา โดยอาศัยความช่วยเหลือจากช่วงเทคนิคของจีน ดังนั้นลักษณะบาง ประการของเครื่องปั้นดินเผาไทยจึงมีอิทธิพลจีนอย่างมาก และสามารถเอาไปขายในตลาดโลกแทนเครื่องปั้นดินเผาจีนที่ขาดตลาด ได้ ลูกค้าของสุโขทัยนั้นมีอยู่ ๒ พวก พวกหนึ่ง คือ พวกอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ส่วนอีกพวกหนึ่ง ได้แก่ พวกอินเดียและ พวกตะวันออกกลาง นอกจากสองพวกนี้แล้ว ยังมีพวกลูกค้ารายย่อย เช่น ญี่ปุ่น แอฟริกาตะวันออกกลาง เป็นต้น ส่วนเส้นทาง การค้าเครื่องสังคโลกของสุโขทัยมีอยู่ ๒ เส้นทาง คือ ทางตะวันตกผ่านเมืองท่า เมาะตะมะ และทางใต้ผ่าน เมืองท่าอยุธยา เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่ที่เอามาขายที่เมืองเมาะตะมะนี้ มักเป็นพวกไหเคลือบสีน้าตาลไหม้เป็นไหขนาดใหญ่สาหรับใส่ น้า น้ามัน น้าตาล หรือบรรจุของอื่น ๆ ไหแบบนี้เป็นที่ต้องการของนักเดินเรือมาก ซื้อขายกันแพร่หลายเรียกกันติดปากว่า ไห เมาะตะมะ ลูกค้าของสุโขทัยทางด้านเมืองท่าเมาะตะมะนี้ คือ พวกอินเดียและพวกตะวันออกกลาง ส่วนลูกค้าของสุโขทัยทางด้านใต้ผ่านเมืองท่าอยุธยานั้น ได้แก่ พวกอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งหมายถึงบรรดา อาณาจักรต่าง ๆ ในเกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และลูซอน อันเป็นสถานที่ที่ค้นพบเครื่องสังคโลกมากที่สุด และงดงามสมบูรณ์ ที่สุดด้วย เพราะสังคโลกที่ส่งไปขายคงจะเป็นสังคโลกที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว