SlideShare a Scribd company logo
1
จัมเปยยชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๐. จัมเปยยชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๐๖)
ว่าด้วยพญานาคจัมเปยยะ
(พระราชาทรงเห็นนางนาคสุมนาอยู่ในอากาศ จึงตรัสว่า)
[๒๔๐] เธอเป็นใครกันหนอ รัศมีช่างงามผ่องใสดุจสายฟ้ า
อุปมาเหมือนดาวประกายพรึก ข้าพเจ้าไม่เข้าใจเธอว่า เป็นเทพธิดา
หญิงคนธรรพ์ หรือหญิงมนุษย์หนอ
(นางนาคสุมนาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงตรัสตอบว่า)
[๒๔๑] ขอเดชะพระมหาราช หม่อมฉันมิใช่เทพธิดา มิใช่หญิงคนธรรพ์
มิใช่หญิงมนุษย์ หม่อมฉันเป็ นนางนาคกัญญา มาที่นี้เพราะเหตุอย่างหนึ่ง
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๒๔๒] เธอมีจิตกระวนกระวาย อินทรีย์เศร้าหมอง
มีหยาดน้าตาไหลนองหน้า แม่นาง เชิญบอกมาเถิด อะไรของเธอหาย
หรือเธอปรารถนาสิ่งใด จึงมาที่นี้
(นางนาคสุมนาตอบว่า)
[๒๔๓] ก็ชาวโลกร้องเรียกสัตว์ใดว่า อุรคชาติ ผู้มีเดชยิ่งใหญ่ ขอเดชะ
พระองค์ผู้จอมชน ชนทั้งหลายเรียกสัตว์นั้นว่า นาค
ชายผู้ต้องการเลี้ยงชีพได้จับนาคนั้นมา นาคนั้นเป็ นสามีหม่อมฉัน
ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยนาคนั้นจากเครื่องผูกเถิดเพคะ
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๒๔๔] นาคราชนี้ประกอบด้วยกาลังและความเพียร
กลับมาตกอยู่ในเงื้อมมือของคนวณิพกได้อย่างไร แม่นางนาคกัญญา
ขอแม่นางจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา เราจะรู้ว่า นาคราชถูกจับมาได้อย่างไร
(นางนาคสุมนาตอบว่า)
[๒๔๕] แท้จริง นาคราชนั้นประกอบด้วยกาลังและความเพียร
พึงกระทาแม้พระนครให้เป็นเถ้าธุลีได้ แต่เพราะนาคราชเป็นผู้นบนอบพระธรรม
ฉะนั้น จึงบากบั่นบาเพ็ญตบะ
[๒๔๖] ขอเดชะพระมหาราช นาคราชอธิษฐานจาตุททสีอุโบสถ
และปัณณรสีอุโบสถ นอนรักษาอุโบสถอยู่ใกล้หนทางสี่แพร่ง
ชายผู้ต้องการเลี้ยงชีพได้จับนาคราชนั้นมา นาคราชนั้นเป็นสามีหม่อมฉัน
ขอพระองค์โปรดปล่อยนาคราชนั้น จากเครื่องพันธนาการเถิด เพคะ
(และนางอ้อนวอนพระราชานั้นซ้าแล้วซ้าเล่าว่า)
2
[๒๔๗] นางนาค ๑๖,๐๐๐ นางสวมใส่กุณฑลแก้วมณี
นอนอยู่ในห้องใต้น้า นางนาคแม้เหล่านั้นยึดเอานาคราชนั้นเป็ นที่พึ่ง
[๒๔๘] ขอพระองค์โปรดปล่อยนาคราชไปโดยธรรม
ด้วยความไม่ผลุนผลัน ด้วยบ้านส่วย ๑๐๐ หลัง ทองคา ๑๐๐ แท่ง และโค ๑๐๐
ตัว ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๔๙] เราจะปล่อยนาคราชไปโดยธรรม ด้วยความไม่ผลุนผลัน
ด้วยบ้านส่วย ๑๐๐ หลัง ทองคา ๑๐๐ แท่ง และโค ๑๐๐ ตัว
ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก
[๒๕๐] พ่อพราน เราจะให้ทองคาแก่ท่าน ๑๐๐ แท่ง
ต่างหูแก้วมณีมีค่ามาก และบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม มีสีอันเป็นสิริคล้ายดอกสามหาว
[๒๕๑] ภรรยาที่เหมาะสมกัน ๒ คน และโคอุสภะอีก ๑๐๐ ตัว
ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก
(นายพรานกราบทูลพระราชาว่า)
[๒๕๒] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน แม้จะทรงเว้นการพระราชทาน
เพียงพระดารัสของพระองค์เท่านั้น
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะปล่อยอุรคชาตินั้นจากเครื่องผูก
ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๒๕๓] พญานาคจัมเปยยะหลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการแล้ว
ได้กราบทูลพระราชานั้นว่า ขอเดชะพระเจ้ากาสี
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ขอเดชะ พระองค์ผู้ผดุงแคว้นกาสีให้เจริญ
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ขอประคองอัญชลีต่อพระองค์
ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรนิเวศน์ของข้าพระองค์
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๕๔] นาคราช แน่นอนทีเดียวที่เขาพูดกันว่า
มนุษย์กับอมนุษย์จะพึงคุ้นเคยกันเป็ นเรื่องคุ้นเคยกันได้ยาก
แต่ถ้าท่านขอร้องเราเกี่ยวกับเรื่องนั้น เราก็จะไปเยี่ยมที่อยู่ของท่าน
(ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะปฏิญญาให้พระราชาทรงเชื่อ
จึงกราบทูลว่า)
3
[๒๕๕] ขอเดชะพระมหาราช ถึงลมจะพัดพาเอาภูเขาไปได้ก็ดี
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะพึงแผดเผาแผ่นดินก็ดี
แม่น้าทุกสายจะพึงไหลทวนกระแสก็ดี ถึงอย่างนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่พึงพูดเท็จแน่นอน
[๒๕๖] ขอเดชะพระมหาราช ถึงท้องฟ้ าจะพึงถล่มทะลาย
น้าทะเลจะพึงเหือดแห้ง แผ่นดินซึ่งมีนามว่าภูตธาราและวสุนธราจะพึงม้วนเข้า
และภูเขาสิเนรุศิลาล้วนจะพึงถอนขึ้นทั้งรากก็ดี ถึงอย่างนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่พึงพูดเท็จ
(พระราชาไม่ทรงเชื่อจึงตรัสซ้าอีกว่า)
[๒๕๗] นาคราช แน่นอนทีเดียวที่เขาพูดกันว่า
มนุษย์กับอมนุษย์จะพึงคุ้นเคยกัน เป็นเรื่องคุ้นเคยกันได้ยาก
แต่ถ้าท่านขอร้องเราเกี่ยวกับเรื่องนั้น เราก็จะไปเยี่ยมที่อยู่ของท่าน
(และตรัสคาถาต่อไปว่า)
[๒๕๘] พวกท่านเป็นผู้มีพิษร้ายแรงยิ่งนัก มีเดชมาก และก็โกรธง่าย
ท่านหลุดพ้นจากเครื่องผูกเพราะเรา ควรจะรู้คุณที่เรากระทาแล้ว
(พระโพธิสัตว์เมื่อจะทาปฏิญญาอีก จึงกราบทูลว่า)
[๒๕๙] ผู้ใดถูกขังติดอยู่ในกระชังใกล้จะตาย
ยังไม่รู้จักบุญคุณที่พระองค์ทรงทาแล้วเช่นนั้น
ขอผู้นั้นจงหมกไหม้อยู่ในนรกที่โหดร้าย
อย่าได้ความสาราญทางกายอย่างใดอย่างหนึ่งเลย
(พระราชาทรงชมเชยพระโพธิสัตว์นั้นว่า)
[๒๖๐] ขอปฏิญญาของท่านจงเป็นสัตย์จริงเถิด
ขอท่านอย่าเป็นผู้มีนิสัยมักโกรธและผูกโกรธ
ขอครุฑทั้งหลายจงงดเว้นตระกูลนาคของท่านทั้งมวล
เหมือนบุคคลงดเว้นไฟในคิมหันตฤดู
(ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ได้ชมเชยพระราชาว่า)
[๒๖๑] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน พระองค์ทรงอนุเคราะห์ตระกูลนาค
เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรสุดที่รักคนเดียว
ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับตระกูลนาค
จะทาการขวนขวายตอบแทนพระองค์อย่างโอฬาร
(พระราชาทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปยังภพนาค จึงรับสั่งว่า)
[๒๖๒] เจ้าพนักงานทั้งหลายจงเทียมราชรถที่งามวิจิตร
จงเทียมม้าอัสดรที่ฝึกดีแล้ว ซึ่งเกิดในแคว้นกัมโพชะ อนึ่ง จงผูกช้างตัวประเสริฐ
ซึ่งประดับด้วยสุวรรณวัตถาภรณ์ เราจะไปเยี่ยมนิเวศน์ของนาคราช
(พระศาสดาตรัสพระคาถาว่า)
4
[๒๖๓] เจ้าพนักงานตีกลอง ตะโพน แกว่งบัณเฑาะว์ เป่าสังข์
ต่อพระเจ้าอุคคเสน พระราชามีหมู่นารีแวดล้อม
เสด็จไปท่ามกลางหมู่นารีงดงามยิ่งนัก
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเรื่องนั้น จึงตรัสว่า)
[๒๖๔] พระราชาผู้ผดุงแคว้นกาสีให้เจริญ
ได้ทอดพระเนตรภูมิภาคที่วิจิตรด้วยทรายทอง และปราสาททอง
ซึ่งปูด้วยแผ่นกระดานแก้วไพฑูรย์
[๒๖๕]
พระราชาพระองค์นั้นเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ
ซึ่งประดับตบแต่งไว้แล้ว อันมีรัศมีโอภาสเปล่งปลั่ง ดุจดังแสงอาทิตย์แรกอุทัย
และประดุจดังสายฟ้ าในกลุ่มเมฆ
[๒๖๖] พระเจ้ากาสีพระองค์นั้น
เสด็จทอดพระเนตรจนทั่วพระนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ
ที่ดารดาษด้วยพฤกษชาตินานาพันธุ์ ซึ่งอบอวลด้วยกลิ่นหอมนานาประการ
[๒๖๗] เมื่อพระเจ้ากาสีเสด็จไปยังนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ
เหล่าทิพย์ดนตรีก็บรรเลง ทั้งเหล่านางนาคกัญญาก็ฟ้ อนรา
[๒๖๘] พระเจ้ากาสีเสด็จขึ้นสู่นาคนิเวศน์
ซึ่งมีหมู่นางนาคกัญญาตามเสด็จ ทรงพอพระทัย ประทับนั่งบนภัทรบิฐทองคา
มีพนักอิงฉาบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์หอมซึ่งเป็ นทิพย์
[๒๖๙] พระองค์เสวยและทรงรื่นรมย์อยู่ในนาคพิภพนั้นแล้ว
ได้ตรัสกับพญานาคจัมเปยยะว่า ท่านมีวิมานอันประเสริฐเหล่านี้
ซึ่งรัศมีเปล่งปลั่งดังรัศมีดวงอาทิตย์ วิมานเช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช
เพื่อประสงค์อะไรอีก ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๐] นางนาคกัญญาเหล่านั้นสวมสังวาลทองคา ใส่เสื้อผ้าสวยงาม
มีองคุลีกลมกลึง มีฝ่ามือฝ่าเท้าแดง ผิวพรรณไม่ทรามเลย
คอยประคองให้ท่านดื่มน้าทิพย์ ความงามเช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช
เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๑] อนึ่ง ในพิภพของท่าน แม่น้าเหล่านี้
ดาษดื่นด้วยฝูงปลามีเกล็ดหนานานาชนิด
มีนกเงือกเปล่งสาเนียงเสียงร้องอยู่ระงมไพร มีท่าน้าที่สวยงาม
นทีทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช เพื่อประสงค์อะไรอีก
ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๒] ฝูงนกกระเรียน นกยูง หงส์ และนกดุเหว่าทิพย์
ต่างพากันเปล่งสาเนียงประสานเสียงอย่างไพเราะ โผผินไปมา
5
ปักษีทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช เพื่อประสงค์อะไร
ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๓] ต้นมะม่วง ต้นสาละ ต้นหมากเม่า ต้นหว้า ต้นราชพฤกษ์
และต้นแคฝอย ผลิดอกออกผลบานสะพรั่ง
รุกขชาติอันเป็นทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช เพื่อประสงค์อะไร
ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๔] อนึ่ง รอบๆ สระโบกขรณีของท่าน
ทิพยสุคนธ์เหล่านี้หอมฟุ้ งตลบอบอวล ไม่ขาดสาย
ทิพยสุคนธ์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช เพื่อประสงค์อะไร
ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่
(นาคราชกราบทูลว่า)
[๒๗๕] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ข้าพระพุทธเจ้าบาเพ็ญตบะ
เพราะเหตุแห่งบุตร เพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ
หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุก็หาไม่
แต่เพราะข้าพระพุทธเจ้าปรารถนากาเนิดแห่งมนุษย์ เพราะเหตุนั้น
จึงบากบั่นบาเพ็ญตบะอยู่
(พระราชาทรงชมเชยพระโพธิสัตว์ว่า)
[๒๗๖] ท่านมีดวงเนตรแดง มีรัศมีเปล่งปลั่ง
ประดับตบแต่งอย่างสวยงาม ตัดผมโกนหนวดเรียบร้อย
ชโลมลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์แดง เปล่งรัศมีไปทั่วทิศ ดุจราชาแห่งคนธรรพ์
[๒๗๗] ท่านถึงพร้อมด้วยเทพฤทธิ์ มีอานุภาพยิ่งใหญ่
เพียบพร้อมด้วยกามทั้งสิ้น นาคราช เราขอถามเนื้อความนั้นกับท่าน
มนุษยโลกมีอะไรประเสริฐกว่านาคพิภพนี้หรือ
(นาคราชกราบทูลว่า)
[๒๗๘] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน นอกจากมนุษยโลกแล้ว
ความบริสุทธิ์หรือความสารวมย่อมไม่มี ข้าพระพุทธเจ้าได้กาเนิดมนุษย์แล้ว
จะทาที่สุดแห่งการเกิดและการตาย
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๗๙] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก
ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้ ข้าพเจ้าเห็นนางนาคกัญญาและตัวท่านแล้ว
จะทาบุญให้มาก นะนาคราช
(นาคราชกราบทูลว่า)
[๒๘๐] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก
ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้ ขอเดชะพระมหาราช
พระองค์เห็นนางนาคกัญญาและข้าพระพุทธเจ้าแล้ว โปรดทรงทาบุญให้มากเถิด
6
(พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงทรัพย์จึงกราบทูลว่า)
[๒๘๑] ก็เงินทองของข้าพระพุทธเจ้านี้มีอยู่เพียงพอ
กองทองคาสูงประมาณชั่วลาตาล
พระองค์โปรดให้ขนไปจากที่นี่แล้วจงให้สร้างพระตาหนักทองคา
และสร้างกาแพงเงินเถิด
[๒๘๒] อนึ่ง แก้วมุกดาประมาณ ๕,๐๐๐ เล่มเกวียน
ที่ปนกับแก้วไพฑูรย์
พระองค์โปรดให้ขนไปจากที่นี่แล้วจงลาดลงบนภาคพื้นภายในบุรี เมื่อเป็นเช่นนี้
ภาคพื้นจักไม่เป็ นโคลนตม และจะไม่มีฝุ่นละออง
[๒๘๓] ขอเดชะพระมหาราชผู้ประเสริฐ ทรงมีพระปรีชาอันล้าเลิศ
ขอพระองค์โปรดเสวยราชสมบัติ ครอบครองกรุงพาราณสีซึ่งมั่งคั่งสมบูรณ์
สง่างามล้าเลิศดุจทิพยวิมานเห็นปานนี้เถิด
จัมเปยยชาดกที่ ๑๐ จบ
------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
จัมเปยยชาดก
ว่าด้วย บาเพ็ญตบะเพื่อต้องการเกิดเป็ นมนุษย์
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภอุโบสถกรรม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลนั้น พระบรมศาสดาตรัสว่า
ดูก่อนอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย
การที่ท่านทั้งหลายอยู่รักษาอุโบสถกรรมเป็ นความดี
โบราณกบัณฑิตทั้งหลายละนาคสมบัติแล้วอยู่รักษาอุโบสถกรรมเหมือนกัน.
อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นทูลอาราธนา
จึงทรงนาอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล
พระราชาทรงพระนามว่าพระเจ้าอังคติราช เสวยราชสมบัติอยู่ในอังครัฐราชธานี
ในระหว่างแคว้นอังคะและมคธะต่อกันมีแม่น้าชื่อจัมปานที ได้มีนาคพิภพอยู่ใต้แ
ม่น้าจัมปานทีนั้น.
พระยานาคราชชื่อว่าจัมเปยยะ ครองราชสมบัติในนาคพิภพนั้น.
(โดยปกติ
พระราชาแห่งแคว้นทั้งสองเป็นศัตรูกระทายุทธชิงชัยแก่กันและกันเนืองๆ
ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ) บางครั้งพระเจ้ามคธราชยึดแคว้นอังคะได้
บางครั้งพระเจ้าอังคราชยึดแคว้นมคธได้.
อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้ามคธราชกระทายุทธนาการกับพระเจ้าอังคราช
7
ทรงปราชัยต่อยุทธสงคราม เสด็จขึ้นม้าพระที่นั่งหลบหนีไปถึงฝั่งจัมปานที
พวกทหารพระเจ้าอังคราชติดตามไปทันเข้า จึงทรงพระดาริว่า
เราโดดน้าตายเสียดีกว่าตายในเงื้อมมือของข้าศึกดังนี้แล้ว จึงโจนลงสู่แม่น้า
พร้อมทั้งม้าพระที่นั่ง.
ครั้งนั้น จัมเปยยนาคราชเนรมิตมณฑปแก้วไว้ภายในห้วงน้า
แวดล้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ดื่มมหาปานะอยู่.
ม้าพระที่นั่งกับพระเจ้ามคธราชจมน้าดิ่งลงไป
เฉพาะพระพักตร์แห่งพระยานาคราช.
พระยานาคราชเห็นพระราชาทรงเครื่องประดับตกแต่งก็บังเกิดความสิเนหา
จึงลุกจากอาสนะทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงหวาดกลัวเลย
แล้วอัญเชิญให้พระราชาประทับนั่งบนบัลลังก์ของตน ทูลถามถึงเหตุที่ดาน้าลงมา.
พระเจ้ามคธราชตรัสเล่าความตามเป็นจริง.
ลาดับนั้น จัมเปยยนาคราชปลอบโยนพระเจ้ามคธราชให้เบาพระทัยว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงหวาดกลัวเลย
ข้าพระพุทธเจ้าจักช่วยจัดการให้พระองค์เป็นเจ้าของทั้งสองรัฐ ดังนี้แล้ว
เสวยยศอันยิ่งใหญ่อยู่ ๗ วัน ในวันที่ ๘
จึงออกจากนาคพิภพพร้อมด้วยพระเจ้ามคธราช.
พระเจ้ามคธราชทรงจับพระเจ้าอังคราชได้ด้วยอานุภาพของพระยานา
คราช แล้วตรัสสั่งให้สาเร็จโทษเสีย เสวยราชสมบัติในสองรัฐสีมามณฑล.
นับแต่นั้นมา
ความวิสาสะคุ้นเคยระหว่างพระเจ้ามคธราชกับพระยานาคราชก็ได้กระชับมั่นคง
ยิ่งขึ้น. พระเจ้ามคธราชให้สร้างรัตนมณฑปขึ้นที่ฝั่งจัมปานที
แล้วเสด็จออกกระทาพลีกรรมแก่พระยานาคราชด้วยมหาบริจาคทุกๆ ปี.
แม้พระยานาคราชก็ออกจากนาคพิภพมารับพลีกรรมพร้อมด้วยมหาบ
ริวาร.
มหาชนพากันมาเฝ้ าดูสมบัติของพระยานาคราช.
กาลครั้งนั้น
พระบรมโพธิสัตว์เกิดในตระกูลเข็ญใจไปที่ฝั่งน้าพร้อมด้วยราชบริษัท
เห็นสมบัติของพระยานาคราชนั้นแล้วก็เกิดโลภเจตนา ปรารถนาจะได้สมบัตินั้น
จึงทาบุญให้ทานรักษาศีล พอจัมเปยยนาคราชทากาลกิริยาไปได้ ๗
วันก็จุติไปบังเกิดเหนือสิริไสยาสน์ ณ
ห้องอันมีสิริในปราสาทที่อยู่ของจัมเปยยนาคราชนั้น.
สรีระร่างกายของพระบรมโพธิสัตว์ได้ปรากฏใหญ่โต
มีวรรณะขาวราวกะพวงดอกมะลิสด.
พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นก็เกิดวิปฏิสารคิดไปว่า
8
อิสริยยศในฉกามาวจรสวรรค์
เป็นเสมือนข้าวเปลือกที่เขาโกยกองเก็บไว้ในฉางได้มีแก่เรา
ด้วยผลแห่งกุศลที่เราทาไว้ เราสิกลับมาถือปฏิสนธิในกาเนิดสัตว์ดิรัจฉานนี้
ประโยชน์อะไรที่เราจะมีชีวิตอยู่ดังนี้แล้วเกิดความคิดที่จะตาย.
ลาดับนั้น
นางนาคมาณวิกาชื่อว่าสุมนา เห็นพระมหาสัตว์นั้นแล้วดาริว่า
ชะรอยจักเป็นสัตว์ผู้มีอานุภาพมากมาเกิดแน่ดังนี้แล้วจึงให้สัญญาแก่นางนาคมา
ณวิกาทั้งหลาย นางนาคมาณวิกาเหล่านั้นทั้งหมดต่างถือนานาดุริยสังคีต
มากระทาการบาเรอขับกล่อมพระมหาสัตว์ นาคพิภพที่สถิตของพระมหาสัตว์นั้น
ได้ปรากฏเสมือนพิภพแห่งท้าวสักกเทวราช.
มรณจิต (คือจิตที่คิดอยากตาย) ของพระมหาสัตว์ก็ดับหายไป.
พระมหาสัตว์เจ้าละเสียซึ่งสรีระของงู ทรงประดับเครื่องสรรพาลังการ
ประทับเหนือพระแท่นบรรทม. นับจาเดิมแต่นั้นมา
พระอิสริยยศก็ปรากฏแก่พระมหาสัตว์เจ้ามากมาย.
เมื่อพระมหาสัตว์เจ้าเสวยนาคราชสมบัติอยู่ในนาคพิภพนั้น
ในเวลาต่อมาก็เกิดวิปฏิสาร คิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยกาเนิดดิรัจฉานนี้แก่เรา
เราจักอยู่รักษาอุโบสถกรรม พ้นจากอัตภาพนี้ไปสู่ดินแดนมนุษย์
จักได้แทงตลอดสัจจธรรม กระทาที่สุดแห่งทุกข์ดังนี้
นับจาเดิมแต่นั้นก็ทรงรักษาอุโบสถกรรมอยู่ในปราสาทนั้นทีเดียว
พวกนางมาณวิกาตกแต่งกายงดงามพากันไปยังสานักของพระมหาสัตว์นั้น
ศีลของพระมหาสัตว์ก็วิบัติทาลายอยู่เนืองๆ. จาเดิมแต่นั้น
พระมหาสัตว์เจ้าจึงออกจากปราสาทไปสู่พระอุทยาน
นางนาคมาณวิกาเหล่านั้นก็ติดตามไปแม้ในพระอุทยาน
อุโบสถศีลของพระมหาสัตว์ก็แตกทาลายอยู่ร่าไป.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าทรงจินตนาการว่า
ควรที่เราจะออกจากนาคพิภพนี้ไปยังมนุษยโลกอยู่รักษาอุโบสถ.
นับแต่นั้นมาเมื่อถึงวันอุโบสถ พระองค์ก็ออกจากนาคพิภพไปยังมนุษยโลก
(ทรงประกาศ) สละร่างกายในทานมุขว่า
ใครจะมีความต้องการอวัยวะของเรามีหนังเป็นต้นก็จงถือเอาเถิด
ใครต้องการจะทาให้เราเล่นกีฬางูก็จงกระทาเถิด
แล้วคู้ขดขนดกายนอนรักษาอุโบสถอยู่ที่ยอดจอมปลวกใกล้มรรคา
แถบปัจจันตชนบทแห่งหนึ่ง.
ชนทั้งหลายเดินผ่านไปมาในหนทางใหญ่เห็นพระโพธิสัตว์เจ้าแล้ว
พากันบูชาด้วยเครื่องสักการะมีของหอมเป็นต้นแล้วหลีกไป.
ชาวปัจจันตชนบทไปพบแล้วคิดว่า คงจักเป็นนาคราชผู้มีมหิทธานุภาพ
9
จึงจัดทามณฑปขึ้นเบื้องบน ช่วยกันเกลี่ยทรายรอบบริเวณ
แล้วบูชาด้วยสักการะมีของหอมเป็นต้น.
จาเดิมแต่นั้นมา มนุษย์ทั้งหลายก็เลื่อมใสในพระมหาสัตว์เจ้า
ทาการบูชาปรารถนาบุตรบ้าง ปรารถนาธิดาบ้าง.
แม้พระมหาสัตว์เจ้าทรงรักษาอุโบสถกรรม
ถึงวันจาตุททสีและปัณณรสี ดิถี ๑๔ ค่า ๑๕ ค่าก็มานอนอยู่เหนือจอมปลวก
ต่อในวันปาฏิบทแรมค่าหนึ่ง จึงกลับไปสู่นาคพิภพ.
เมื่อพระมหาสัตว์เจ้ารักษาอุโบสถอยู่อย่างนี้ เวลาล่วงไปเนิ่นนาน.
อยู่มาวันหนึ่ง นางสุมนาอัครมเหสีทูลถามพระมหาสัตว์ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
พระองค์เสด็จไปยังมนุษยโลกเข้าอยู่รักษาอุโบสถศีลนั้น
ความจริงมนุษยโลกน่ารังเกียจ มีภัยรอบด้าน หากว่าภัยจะพึงบังเกิดแก่พระองค์
เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกหม่อมฉันจะพึงรู้ได้ด้วยนิมิตอย่างไร
ขอพระองค์จงตรัสบอกนิมิตอย่างนั้น แก่พวกหม่อมฉันด้วยเถิด.
ลาดับนั้น
พระมหาสัตว์จึงนานางสุมนาเทวีไปยังขอบสระมงคลโบกขรณี แล้วตรัสว่า
ดูก่อนพระนางผู้เจริญ ถ้าหากใครๆ จักประหารทาให้เราลาบากไซร้
น้าในสระโบกขรณีนี้จักขุ่นมัว
ถ้าพญาครุฑจับเอาไป น้าจักเดือดพลุ่งขึ้นมา
ถ้าหมองูจับเอาไป น้าจักมีสีแดงเหมือนโลหิต
พระโพธิสัตว์ตรัสบอกนิมิต ๓ ประการแก่นางสุมนาเทวีอย่างนี้แล้ว
ทรงอธิษฐานจาตุททสีอุโบสถ เสด็จออกจากนาคพิภพไปมนุษยโลก
นอนเหนือจอมปลวก ยังจอมปลวกให้งดงามด้วยรัศมีแห่งสรีรกาย
แม้สรีรกายของพระมหาสัตว์นั้นก็ปรากฏขาวสะอาดผุดผาดดังพวงเงิน
ท่อนพระเศียรเบื้องบนคล้ายคลุมไว้ด้วยผ้ากัมพลแดง.
อนึ่ง ในชาดกนี้ สรีรกายของพระโพธิสัตว์มีขนาดเท่าศีรษะคันไถ.
ในภูริทัตตชาดก มีขนาดเท่าลาขา.
ในสังขปาลชาดก มีขนาดเท่าเรือโกลนลาหนึ่ง.
กาลครั้งนั้น มีมาณพชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งไปเมืองตักกสิลา
เรียนอาลัมภายนมนต์ในสานักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์
เดินทางกลับบ้านของตนโดยผ่านมรรคานั้น เห็นพระมหาสัตว์เจ้าแล้วคิดว่า
เราจักจับงูนี้บังคับให้เล่นกีฬา ในคามนิคมราชธานีทั้งหลาย
ยังทรัพย์ให้เกิดขึ้นดังนี้แล้ว จึงหยิบทิพโอสถ ร่ายทิพมนต์
ไปยังสานักของพระมหาสัตว์เจ้า จาเดิมแต่พระมหาสัตว์เจ้าสดับทิพมนต์แล้ว
เกิดอาการเหมือนซี่เหล็กร้อนยอนเข้าไปในพระกรรณทั้งสอง
10
เบื้องพระเศียรปวดร้าวราวกะถูกเหล็กสว่านไช.
พระมหาสัตว์เจ้าทรงราพึงว่า นี่อย่างไรกันหนอ
จึงยกพระเศียรขึ้นจากวงภายในขนดแลไป ได้เห็นหมองู แล้วดาริว่า
พิษของเรามากมาย ถ้าเราโกรธแล้วพ่นลมจมูกออกไป
สรีระของหมองูนี้จักย่อยแหลกไปเหมือนกองเถ้า แต่เมื่อทาเช่นนั้น
ศีลของเราก็จักด่างพร้อย เราจักไม่แลดูหมองูนั้น.
ท้าวเธอจึงหลับพระเนตรทั้งสอง ทอดพระเศียรไว้ภายในขนด
พราหมณ์หมองูเคี้ยวโอสถแล้วร่ายมนต์พ่นน้าลาย ลงที่สรีรกายของพระมหาสัตว์
ด้วยอานุภาพแห่งโอสถและมนต์
เรือนร่างของพระมหาสัตว์ในที่ซึ่งถูกน้าลายรดแล้วๆ
ปรากฏเป็ นเสมือนพองบวมขึ้น.
ครั้งนั้น
พราหมณ์หมองูจึงฉุดหางพระมหาสัตว์ลากลงมาให้นอนเหยียดยาว
บีบตัวด้วยไม้กีบแพะทาให้ทุพพลภาพ จับศีรษะให้มั่นแล้วบีบเค้น
พระมหาสัตว์จึงอ้าปากออก.
ทีนั้นพราหมณ์หมองูจึงพ่นน้าลายเข้าไปในปากของพระมหาสัตว์
แล้วจัดการพ่นโอสถและมนต์ ทาลายพระทนต์จนหลุดถอน
ปากของมหาสัตว์เต็มไปด้วยโลหิต. พระมหาสัตว์สู้อดกลั้นทุกขเวทนาเห็นปานนี้
เพราะกลัวศีลของตัวจะแตกทาลาย ทรงหลับพระเนตรนิ่งมิได้ทาการเหลียวมองดู.
แม้พราหมณ์หมองูนั้นยังคิดว่า เราจักทานาคราชให้ทุพพลภาพ ดังนี้
จึงขึ้นเหยียบย่าร่างกายของพระมหาสัตว์ตั้งแต่หางขึ้นไป
คล้ายกับจะทาให้กระดูกแหลกละเอียดไป แล้วม้วนพับอย่างผืนผ้า
ขยี้กระดูกให้ขยายเช่นอย่างคลายเส้นด้ายให้กระจาย
จับหางทบทุบเช่นอย่างทุบผ้า
สกลสรีรกายของพระมหาสัตว์แปดเปื้อนไปด้วยโลหิต
พระมหาสัตว์นั้นสู้อดกลั้นมหาทุกขเวทนาไว้.
ครั้นพราหมณ์หมองูรู้ว่า พระมหาสัตว์อ่อนกาลังลงแล้ว
จึงเอาเถาวัลย์มาถักทาเป็นกระโปรง ใส่พระมหาสัตว์ลงไปในกระโปรงนั้นแล้ว
นาไปสู่ปัจจันตคามให้เล่นท่ามกลางมหาชน.
พราหมณ์หมองูปรารถนาจะให้แสดงท่วงทีอย่างใดๆ ในประเภทสีมีสีเขียวเป็นต้น
และสัณฐานทรวดทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมเป็ นต้น หรือขนาดเล็กใหญ่เป็นต้น
พระมหาสัตว์เจ้าก็กระทาท่วงทีนั้นๆ ทุกอย่าง
ฟ้ อนราทาพังพานได้ตั้งร้อยอย่างพันอย่าง.
มหาชนดูแล้วชอบใจให้ทรัพย์แก่พราหมณ์เป็นอันมาก
เพียงวันเดียวเท่านั้นได้ทรัพย์ตั้งพันและเครื่องบริขารราคานับเป็นพัน
11
แต่ชั้นแรกพราหมณ์หมองูคิดไว้ว่า เราได้ทรัพย์สักพันหนึ่งแล้วก็จักปล่อยไป
แต่ครั้นได้ทรัพย์จานวนเท่านั้นแล้วคิดเสียว่า ในปัจจันตคามแห่งเดียว
เรายังได้ทรัพย์ถึงขนาดนี้ ในสานักพระราชาและมหาอามาตย์
คงจักได้ทรัพย์มากมาย จึงซื้อเกวียนเล่มหนึ่งกับยานสาหรับนั่งสบายเล่มหนึ่ง
บรรทุกของลงในเกวียน แล้วนั่งบนยานน้อยพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก
บังคับพระมหาสัตว์ให้เล่นในบ้านและนิคมเป็นต้นโดยลาดับไป แล้วคิดว่า
เราจักให้นาคราชเล่นถวายในสานักของพระเจ้าอุคคเสนแล้วก็จักปล่อยดังนี้
แล้วก็เดินทางต่อไป
พราหมณ์หมองูฆ่ากบนามาให้นาคราชกินเป็นอาหาร
นาคราชราพึงว่า พราหมณ์หมองูนี้ฆ่ากบอยู่บ่อยๆ เพราะอาศัยเราเป็นเหตุ
เราจักไม่บริโภคกบนั้นแล้วไม่ยอมบริโภค. เมื่อพราหมณ์หมองูรู้ดังนั้น
ได้ให้ข้าวตอกเคล้าน้าผึ้งแก่พระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์คิดว่า
ถ้าหากเราจักถือเอาอาหารนี้ไซร้ เราคงจักตายภายในกระโปรงเป็นมั่นคง
จึงมิได้บริโภคอาหารแม้เหล่านั้น.
พราหมณ์หมองูไปถึงพระนครพาราณสีแล้ว
ให้พระมหาสัตว์เล่นให้คนดู ที่ใกล้ประตูเมือง ได้ทรัพย์สินอีกเป็นจานวนมาก.
แม้พระราชาก็ตรัสสั่งให้พราหมณ์หมองูเข้าเฝ้ า แล้วตรัสว่า
เจ้าจงให้งูเล่นให้เราดูบ้าง. เขาทูลสนองพระราชโองการว่า ได้พะย่ะค่ะ
ข้าพระพุทธเจ้าจักให้เล่นถวายพระองค์ ในวันปัณณรสี พรุ่งนี้.
พระราชาตรัสสั่งให้พนักงานเภรีตีกลองประกาศว่า พรุ่งนี้
นาคราชจักฟ้ อนราที่หน้าชานชาลาหลวง มหาชนจงมาประชุมกันดูเถิด
แล้วในวันรุ่งขึ้นตรัสสั่งให้ประดับตกแต่งชานชาลาหลวง
และตรัสสั่งให้พราหมณ์หมองูมาเฝ้ า
พราหมณ์หมองูนาพระมหาสัตว์มาด้วยกระโปรงแก้ว
ตั้งกระโปรงไว้ที่พื้นลาดอันวิจิตร นั่งคอยอยู่.
ฝ่ายพระราชาเสด็จลงจากปราสาทแวดล้อมด้วยหมู่มหาชน
ประทับนั่งเหนือพระราชอาสน์.
พราหมณ์หมองูนาพระมหาสัตว์ออกมาแล้วให้ฟ้ อนราถวาย. มหาชนพากันดีใจ
ไม่อาจดารงตนอยู่ได้ตามปกติ พากันปรบมือ โบกธงโบกผ้า
แสดงความรื่นเริงนับด้วยหมื่นแสน.
ฝนรัตนะเจ็ดประการก็ตกลงมาตรงเบื้องบนพระโพธิสัตว์
เมื่อพระมหาสัตว์ถูกจับมานั้นครบหนึ่งเดือนเต็มบริบูรณ์ ตลอดเวลาเหล่านี้
พระมหาสัตว์สู้ทนมิได้บริโภคอาหารเลย.
ฝ่ายนางสุมนาเทวีระลึกถึงว่า สามีที่รักของเราเสด็จไปนานนักหนา
จนป่านนี้ยังไม่เสด็จมาที่นี่เลย ครบหนึ่งเดือนพอดี จักมีเหตุเภทภัยอะไรหนอ
12
ดังนี้แล้วจึงไปตรวจดูสระโบกขรณี เห็นมีน้าสีแดงดังโลหิต ก็ทราบว่า ชะรอย
สามีของตนจักถูกหมองูจับเอาไป จึงออกจากนาคพิภพไปตรวจดูใกล้จอมปลวก
เห็นร่องรอยที่พระมหาสัตว์ถูกหมองูจับและทาให้ลาบาก
แล้วทรงกันแสงร่าไห้คร่าครวญ ดาเนินไปยังปัจจันตคามสอบถามดู
สดับข่าวความเป็นไปนั้นแล้ว ติดตามไปจนถึงเมืองพาราณสี
ยืนกันแสงอยู่ที่กลางอากาศ ในท่ามกลางบริษัท ณ ประตูพระราชวัง.
พระมหาสัตว์กาลังฟ้ อนราถวายพระราชาอยู่นั่นแหละเหลือบแลดูอากา
ศ เห็นนางสุมนาเทวีแล้วละอายพระทัยเลื้อยเข้าไปนอนขดในกระโปรงเสีย.
ในเวลาที่พระมหาสัตว์เลื้อยเข้าไปสู่กระโปรงแล้ว
พระราชาทรงพระดาริว่า นี่เหตุอะไรกันเล่าหนอ?
จึงทอดพระเนตรแลดูทางโน้นทางนี้ เห็นนางสุมนาเทวียืนอยู่บนอากาศ.
จึงตรัสคาถาที่ ๑ ความว่า
ท่านเป็นใคร งามผ่องใสดุจสายฟ้ า และอุปมาเหมือนดาวประจารุ่ง
เราไม่รู้จักท่านว่า เป็ นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นหญิงมนุษย์.
บัดนี้เป็นคาถาโต้ตอบระหว่างราชากับนางสุมนาเทวี
(ซึ่งมีลาดับดังต่อไปนี้)
(นางสุมนาทูลว่า) ข้าแต่พระมหาราชา หม่อมฉันหาใช่เทพธิดา
หญิงคนธรรพ์ หรือหญิงมนุษย์ไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
หม่อมฉันเป็ นนางนาคกัญญา อาศัยเหตุอย่างหนึ่งจึงได้มาในพระนครนี้.
(พระราชาตรัสถามว่า) ดูก่อนนางนาคกัญญา
ท่านมีอาการเหมือนคนมีจิตฟั่นเฟือน มีอินทรีย์อันเศร้าหมอง
ดวงเนตรของท่านไหลนองไปด้วยหยาดน้าตา อะไรของท่านหาย
หรือว่าท่านปรารถนาอะไรจึงได้มาในเมืองนี้ เชิญท่านบอกมาเถิด.
(นางสุมนาทูลตอบว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน
มหาชนชาวโลกเรียกร้องสัตว์ใดว่าอุรคชาติ ผู้มีเดชอันสูงในมนุษยโลก
เขาเรียกสัตว์นั้นว่านาค บุรุษคนนี้จับนาคนั้นมาเพื่อต้องการเลี้ยงชีพ
นาคนั้นแหละเป็ นสามีของหม่อมฉัน
ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคนั้นเสียจากที่คุมขังเถิดเพคะ.
(พระราชาตรัสถามว่า) ดูก่อนนางนาคกัญญา
นาคราชนี้ประกอบด้วยกาลังอันแรงกล้า
ไฉนจึงมาถึงเงื้อมมือของชายวณิพกได้เล่า
เราจะใคร่รู้ถึงการที่นาคราชถูกกระทาจนถูกจับมาได้
ขอท่านจงบอกความข้อนั้นแก่เราเถิด.
(นางสุมนาทูลตอบว่า) แท้จริง
นาคราชนั้นประกอบด้วยกาลังอันแรงกล้า พึงทาแม้นครให้เป็นภัสมธุลีไปได้
13
แต่เพราะนาคราชนั้นเคารพนบนอบธรรม ฉะนั้น จึงได้บากบั่นบาเพ็ญตบะ.
นางสุมนาเทวีกราบทูลว่า นาคราชภัสดาของหม่อมฉันนี้
ทาความเคารพพระธรรมคือเบญจศีล และพระธรรมคือการอยู่รักษาอุโบสถ
เพราะฉะนั้น แม้ถูกบุรุษนี้จับมา ถึงแม้พระยานาคจะคิดว่า
หากเราจะพ่นลมหายใจลงเบื้องบนบุรุษนี้ไซร้
เขาก็จักแหลกละเอียดไปเหมือนกองเถ้า เมื่อเป็นเช่นนั้น
ศีลของเราก็จักแตกทาลายเพราะกลัวศีลจะแตกทาลาย
จึงสู้อุตส่าห์บากบั่นอดกลั้นความทุกข์นั้นไว้ ตั้งใจทาตบะ
คือกระทาความเพียรอย่างเดียวเท่านั้น.
พระราชาตรัสถามต่อไปอีกว่า
ไฉนนาคราชจึงยอมให้บุรุษนี้จับมาได้เล่า.
ลาดับนั้น นางสุมนาเทวี เมื่อจะกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ
จึงกล่าวคาถาความว่า
ข้าแต่องค์ราชันย์ นาคราชนี้มีปกติรักษาจาตุททสีอุโบสถ
และปัณณรสีอุโบสถ นอนอยู่ใกล้ทางสี่แพร่ง
บุรุษหมองูจับนาคราชนั้นมาด้วยต้องการหาเลี้ยงชีพ
นาคราชนี้เป็นสามีของหม่อมฉัน
ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคราชนั้นจากที่คุมขังเถิด.
ก็แลครั้นนางนาคกัญญาสุมนาเทวีทูลอย่างนี้แล้ว
เมื่อจะทูลอ้อนวอนพระราชาซ้าอีก ได้กล่าวคาถาสองคาถา ความว่า
สนมนารีถึงหมื่นหกพันนางล้วนสวมใส่กุณฑลแก้วมณี
บันดาลห้วงวารีทาเป็ นห้องไสยาสน์ แม้สนมนารีเหล่านั้น
ก็ยึดถือนาคราชนั้นเป็ นที่พึ่ง.
ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคราชนั้นโดยธรรม ปราศ
จากกรรมอันสาหัส ด้วยบ้านส่วยร้อยบ้าน ทองร้อยแท่ง และโคร้อยตัว
ขอนาคราชผู้แสวงบุญ จงเหยียดกายได้ตรงเที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขังเถิด.
ลาดับนั้น พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถา ความว่า
เราจะปล่อยนาคราชนี้ไปโดยธรรม ปราศจากกรรมอันสาหัส
ด้วยบ้านส่วยร้อยบ้าน ทองคาร้อยแท่ง โคร้อยตัว นาคราชผู้ต้องการบุญ
จงเหยียดกายตรงเที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขัง.
ดูก่อนลุททกพราหมณ์ เราจะให้ทอง ๑๐๐ แท่ง
กุณฑลแก้วมณีราคามาก บัลลังก์สี่เหลี่ยม สีดังดอกผักตบ ภรรยารูปงามสองคน
และโคอุสุภะ ๑๐๐ ตัวแก่ท่าน ขอนาคราชผู้ต้องการบุญ
จงเหยียดกายตรงเที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขังเถิด.
เพื่อจะปลดปล่อยพระยานาคราช
14
พระราชาจึงตรัสเรียกพราหมณ์หมองูมา
เมื่อจะแสดงไทยธรรมที่จะพึงพระราชทานแก่เขา จึงตรัสอย่างนี้
ส่วนพระคาถาก็มีอรรถาธิบายดังกล่าวrแล้วในหนหลังนั่นแล.
ลาดับนั้น ลุททกพราหมณ์กราบทูลพระราชาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน แม้จะมิทรงพระราชทานสิ่งไรเลย
เพียงแต่ตรัสสั่งให้ปล่อยเท่านั้น
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะปล่อยนาคราชนั้นจากที่คุมขังทันที
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงเหยียดกายตรงเที่ยวไป.
ก็แลครั้นลุททกพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว
ก็นาพระมหาสัตว์ออกจากกระโปรง.
นาคราชออกมาแล้วเลื้อยเข้าไประหว่างกองดอกไม้
ละอัตภาพนั้นเสียแล้ว กลายเพศเป็นมาณพน้อย
ตบแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับอันงดงาม
คล้ายกับชาแรกดินออกมายืนอยู่ฉะนั้น.
นางสุมนาเทวีลอยมาจากอากาศ ยืนเคียงข้างพระภัสดาของตน
นาคราชได้ยืนประคองอัญชลี นอบน้อมพระราชาอยู่.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นได้ตรัสพระคาถา ๒
คาถาความว่า
จัมเปยยนาคราชหลุดพ้นจากที่คุมขังแล้ว จึงกราบทูลพระราชาว่า
ข้าแต่พระเจ้ากาสิกราช ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงผดุงกาสิกรัฐให้รุ่งเรือง
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์
ข้าพระพุทธเจ้าขอประคองอัญชลีแด่พระองค์
ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรนิเวศน์ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระเจ้าข้า.
(พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนนาคราช แท้จริง
คนทั้งหลายเขากล่าวถึงเหตุที่มนุษย์จะพึงคุ้นเคยกับอมนุษย์ว่า
พึงคุ้นเคยกันได้ยาก ถ้าท่านขอร้องเราถึงเรื่องนั้น
เราก็อยากจะไปดูนิเวศน์ของท่าน.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะทาสัตย์สาบาน
เพื่อให้พระราชาทรงเชื่อถือ
ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาความว่า
ข้าแต่พระราชา แม้ถึงว่า ลมจะพึงพัดภูเขาไปได้ก็ดี
พระจันทร์และพระอาทิตย์จะพึงเผาผลาญแผ่นดินก็ดี
แม่น้าทุกสายพึงไหลทวนกระแสก็ดี ถึงกระนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่กล่าวคาเท็จเลย.
15
ข้าแต่พระราชา ท้องฟ้ าจะทาลายไป ทะเลจะเหือดแห้งไป
มหาปฐพีมีนามว่าภูตธราและพสุนธราจะพึงม้วนได้
เมรุบรรพตอันหนาแน่นด้วยศิลาจะพึงถอนไปทั้งราก ถึงกระนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่กล่าวคาเท็จเลย.
เมื่อพระมหาสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาก็มิได้ทรงเชื่อ
จึงตรัสพระคาถานั้นแหละซ้าอีกว่า
ดูก่อนนาคราช แท้จริง คนทั้งหลายเขากล่าวถึง
เหตุที่มนุษย์จะพึงคุ้นเคยกับอมนุษย์ว่า พึงคุ้นเคยกันได้ยาก
ก็ถ้าเธอขอร้องเราถึงเรื่องนั้น เราก็อยากไปดูนิเวศน์ของเธอ ดังนี้.
เมื่อจะประกาศกาชับว่า เธอควรจะรู้จักคุณที่เราทาแล้วแก่เธอ
ส่วนตัวเราเองย่อมรู้สิ่งที่ควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อได้ดังนี้
จึงตรัสพระคาถานอกนี้ความว่า
เธอเป็นผู้มีพิษร้ายแรงยิ่ง มีเดชมาก ทั้งโกรธง่าย
เธอหลุดพ้นจากที่คุมขังไปได้ ก็เพราะเหตุที่เราช่วยเหลือ
เธอควรจะรู้บุญคุณที่เราทาไว้แก่เธอ.
พระมหาสัตว์ เมื่อจะทาสัตย์สาบานเพื่อให้พระราชาทรงเชื่อต่อไป
จึงกล่าวคาถาความว่า
ข้าพระพุทธเจ้าถูกคุมขังอยู่ในกระโปรงเกือบจะถึงความตาย
จักไม่รู้จักอุปการคุณที่พระองค์ทรงกระทาแล้วเช่นนั้น
ก็ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าจงหมกไหม้อยู่ในนรกอันแสนร้ายกาจ
อย่าได้รับความสาราญกายสักหน่อยหนึ่งเลย.
ลาดับนั้น พระราชาทรงเชื่อถ้อยคาของพระมหาสัตว์
เมื่อจะทรงชมเชย จึงตรัสพระคาถาความว่า
คาปฏิญาณของเธอนั้น จงเป็ นคาสัตย์จริง เธออย่าได้มีความโกรธ
อย่าผูกโกรธไว้ อนึ่ง ขอสุบรรณทั้งหลายจงละเว้นนาคสกุลของท่านทั้งมวล
เหมือนผู้เว้นไฟในฤดูร้อนฉะนั้น.
แม้พระมหาสัตว์เจ้า เมื่อจะชมเชยพระราชา
จึงกล่าวคาถานอกนี้ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์ทรงเอ็นดูนาคสกุล
เหมือนมารดาผู้เอ็นดูบุตรคนเดียวผู้เป็ นสุดที่รักฉะนั้น
ข้าพระพุทธเจ้ากับนาคสกุลจะขอกระทาเวยยาวฏิกกรรมอย่างโอฬารแด่พระองค์.
พระราชาทรงสดับคาของนาคราชแล้ว
มีพระประสงค์จะเสด็จไปนาคพิภพ
เมื่อจะตรัสสั่งให้ทาการตระเตรียมพลเสนาที่จะเสด็จไป
จึงตรัสพระคาถาความว่า
16
เจ้าพนักงานรถจงตระเตรียมราชรถอันงามวิจิตร
จงเทียมอัสดรอันเกิดในกัมโพชกรัฐซึ่งฝึกหัดอย่างดีแล้ว
และเจ้าพนักงานช้างจงผูกช้างตัวประเสริฐทั้งหลายให้งามไปด้วยสุวรรณหัตถาภร
ณ์ เราจะไปดูนิเวศน์แห่งท้าวนาคราช.
คาถานอกนี้ต่อไปเป็นพระคาถาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในกาลเ
มื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ความว่า
พนักงานเภรี ตะโพน บัณเฑาะว์
และแตรสังข์ของพระเจ้าอุคคเสนราช มาพร้อมหน้ากัน
พระราชาทรงแวดล้อมด้วยสนมนารี
เสด็จไปในท่ามกลางหมู่สนมนารีงามสง่ายิ่งนัก.
ในกาลเมื่อพระเจ้าพาราณสีเสด็จออกจากพระนครไป
พระมหาสัตว์เจ้าทรงบันดาลนาคพิภพให้ปรากฏมีกาแพงแก้ว ๗
ประการ และประตูป้ อมคู หอรบ แล้วนิรมิตมรรคาที่จะเสด็จไปยังนาคพิภพ
ให้ประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับงดงาม ด้วยอานุภาพของตน.
พระราชาพร้อมด้วยราชบริพาร
เสด็จเข้าไปยังนาคพิภพโดยมรรคานั้น
ได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิภาคและปราสาทราชวัง น่ารื่นเริง บันเทิงพระทัย.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้ากรุงกาสีวัฒนราชได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิภาคอันงาม
วิจิตรลาดแล้วด้วยทรายทอง
ทั้งสุวรรณปราสาทก็ปูลาดไปด้วยแผ่นกระดานแก้วไพฑูรย์
พระองค์เสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์ของจัมเปยยนาคราชมีรัศมีโอภาสดังแสงอาทิตย์แร
กอุทัย รุ่งเรืองไปด้วยรัศมีประหนึ่งสายฟ้ าในกลุ่มเมฆ.
พระเจ้ากาสิกราชทรงทอดพระเนตรจนทั่วนิเวศน์ของจัมเปยยนาคราช
อันดารดาษไปด้วยพฤกษชาตินานาชนิด
หอมฟุ้ งขจรไปด้วยทิพยสุคนธ์อบอวลล้วนวิเศษ.
เมื่อพระเจ้ากาสิกราชเสด็จเข้าไปในนิเวศน์ของท้าวจัมเปยยนาคราช
เหล่าทิพยดนตรีก็ประโคมขับบรรเลง ทั้งนางนาคกัญญาทั้งหลายก็ฟ้ อนรา
ขับร้อง.
พระเจ้ากาสิกราชเสด็จขึ้นนิเวศน์ซึ่งมีหมู่นางนาคกัญญาตามเสด็จ
ทรงพอพระทัย ประทับนั่ง ณ พระสุวรรณแท่นทอง
อันมีพนักไล้ทาด้วยแก่นจันทน์ทิพย์.
เมื่อพระเจ้ากาสิกราชประทับนั่งบนบัลลังก์แล้ว
พนักงานชาวเครื่องวิเศษก็เชิญเครื่องทิพย์อันสมบูรณ์ด้วยรสโอชานานาประการ
น้อมเข้าไปถวาย
17
และเชิญไปเลี้ยงดูเหล่าสนมนารีหมื่นหกพันนางพร้อมทั้งราชบริษัทที่เหลือ.
พระเจ้าพาราณสีพร้อมด้วยราชบริษัท
ทรงเสวยข้าวน้าอันเป็นทิพย์เป็นต้น เพลิดเพลินเจริญใจด้วยทิพยกามคุณ
และประทับ ณ สุขไสยาสน์ประมาณได้เจ็ดวัน
ทรงสรรเสริญอิสริยยศของพระมหาสัตว์ แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนท่านนาคราช
ก็เพราะเหตุไรหรือ ท่านจึงละสมบัติเห็นปานนี้ ไปนอนอยู่รักษาอุโบสถศีล ณ
จอมปลวกในมนุษยโลก.
ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าก็ทูลเล่าถวายให้ทรงทราบ.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้ากาสิกราชนั้น ครั้นเสวยสมบัติ
และทรงรื่นรมย์ประทับอยู่ในนาคพิภพนั้นแล้ว ได้ตรัสถามจัมเปยยนาคราชว่า
วิมานอันประเสริฐของท่านเหล่านี้ มีรัศมีดังพระอาทิตย์ งามผุดผาด วิมานเช่นนี้
ไม่มีในมนุษยโลก ดูก่อนพระยานาคราช
ท่านบาเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
นางนาคกัญญาเหล่านั้นสวมใส่กาไลทองนุ่งห่มเรียบร้อย
มีนิ้วมือกลมกลึง ฝ่ามือฝ่าเท้าแดงงามยิ่งนัก ผิวพรรณงดงามไม่ทรามเลย
พากันยกทิพยปานะถวายให้พระองค์ทรงเสวย
สนมนารีเช่นนี้จะมีอยู่ในมนุษยโลกก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช
ท่านบาเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
อนึ่ง มหานทีอันชุ่มชื่น ดาษดื่นไปด้วยปลามีเกล็ดหนานานาชนิด
มีอาทาสสกุณปักษีร่าร้องไพเราะจับใจ ทั้งท่าขึ้นลงนทีธารก็ราบรื่นเป็ นอันดี
แม่น้าเช่นนี้จะได้มีอยู่ในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช
ท่านบาเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
ฝูงนกกระเรียน ฝูงนกยูง ฝูงหงส์ และฝูงนกดุเหว่าทิพย์
ร่าร้องเสียงไพเราะจับใจ ต่างก็โผผินบินจับอยู่บนต้นไม้
ทิพยสกุณาเช่นนี้จะได้มีในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช
ท่านบาเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
ต้นมะม่วง ต้นสาละ ทั้งช้างน้าว อ้อยช้างและต้นชมพู่
ต้นคูนและแคฝอย ผลิดอกออกผลเป็นพวงๆ
ทิพยรุกขชาติเช่นนี้จะได้มีอยู่ในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช
ท่านบาเพ็ญตบะเพื่อประโยชน์อะไร.
อนึ่ง ทิพยสุคนธ์รอบๆ สระโบกขรณีเหล่านี้หอมฟุ้ งอยู่เป็นนิตย์
ทิพยสุคนธ์เช่นนี้จะมีอยู่ในมนุษยโลกก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช
ท่านบาเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร.
(จัมเปยยนาคราชทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน
18
ข้าพระพุทธเจ้าบาเพ็ญตบธรรมเพราะเหตุแห่งบุตร ทรัพย์
หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุก็หาไม่
แต่เพราะข้าพระพุทธเจ้าปรารถนากาเนิดมนุษย์ ฉะนั้น
จึงได้บากบั่นมุ่งมั่นบาเพ็ญสมณธรรม.
เมื่อพระมหาสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว
พระราชา เมื่อจะทรงทาการชมเชย จึงตรัสพระคาถาความว่า
ท่านมีดวงเนตรแดง มีรัศมีส่องแสงสว่าง ประดับตกแต่งแล้ว
ปลงเกศาและมัสสุแล้ว ประพรมด้วยจุรณจันทน์แดง ฉายแสงไปทั่วทิศ
ดังคนธรรพราชฉะนั้น ท่านเป็ นผู้ประกอบด้วยเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เพรียบพร้อมไปด้วยสรรพกามารมณ์ ดูก่อนท่านนาคราช
เราขอถามเนื้อความนี้กะท่าน มนุษยโลกประเสริฐกว่านาคพิภพด้วยเหตุไร.
ลาดับนั้น พระยานาคราช เมื่อจะกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ
จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน เว้นมนุษยโลกเสียแล้ว
ความบริสุทธิ์ หรือความสารวมย่อมไม่มีเลย ข้าพระพุทธเจ้าบาเพ็ญตบธรรม
ด้วยตั้งใจว่า เราได้กาเนิดมนุษย์แล้วจักทาที่สุดแห่งชาติและมรณะได้.
พระราชาทรงสดับคานั้นแล้ว ตรัสพระคาถาความว่า
ชนเหล่าใดมีปัญญาเป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก
ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว ดูก่อนพระยานาคราช
เราได้เห็นนางนาคกัญญาทั้งหลายของท่านและตัวท่านแล้ว จักทาบุญให้มาก.
ลาดับนั้น พระยานาคราชกราบทูลพระราชาว่า
ชนเหล่าใดมีปัญญาเป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก
ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว ข้าแต่พระมหาราชา
พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นนางนาคกัญญา และตัวข้าพระพุทธเจ้าแล้ว
ขอจงบาเพ็ญบุญให้มากเถิด.
ครั้นพระมหาสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว
พระเจ้าอุคคเสนะทรงมีพระประสงค์จะเสด็จกลับไปยังมนุษยโลก จึงตรัสอาลาว่า
ดูก่อนท่านนาคราช เรามาอยู่ก็เป็นเวลานาน จาจักต้องลากลับไปยังมนุษยโลก.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าจึงทูลท้าวเธอว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า
ถ้าเช่นนั้นพระองค์โปรดเลือกถือเอาทรัพย์สมบัติไปตามพระประสงค์เถิด.
เมื่อจะทรงแสดงทรัพย์สมบัติ จึงกราบทูลว่า
กองเงินและกองทองของข้าพระพุทธเจ้านี้มากมายสูงประมาณเท่าต้น
ตาล พระองค์จงตรัสสั่งให้พวกราชบุรุษขนไปจากนาคพิภพนี้
แล้วจงตรัสสั่งให้สร้างพระราชวังด้วยทองคา ให้สร้างกาแพงด้วยเงินเถิด.
นี้กองแก้วมุกดาอันเจือปนด้วยแก้วไพฑูรย์ห้าพันเล่มเกวียน
19
พระองค์จงตรัสสั่งให้ราชบุรุษขนไปจากนาคพิภพนี้ แล้วให้ลาดลง ณ
ภูมิภาคภายในพระราชฐาน
ภูมิภาคภายในพระราชฐานก็จักสะอาดปราศจากเปลือกตมและละอองธุลี
ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นราชาอันประเสริฐ ผู้ทรงพระปรีชาอันล้าเลิศ
ขอพระองค์โปรดเสวยราชสมบัติ ครอบครองพระนครพาราณสีอันมั่งคั่งสมบูรณ์
สง่างามล้าเลิศ ดุจทิพยวิมานเห็นปานฉะนี้เถิด พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงสดับถ้อยคาของพระมหาสัตว์แล้วก็ทรงรับไว้.
พระมหาสัตว์จึงให้พนักงานเภรี เที่ยวตีกลองประกาศว่า
ราชบุรุษทั้งปวงจงพากันขนเอาทรัพย์สมบัติ
มีเงินทองเป็ นต้นไปตามปรารถนาเถิด
แล้วเอาเกวียนหลายร้อยเล่มบรรทุกทรัพย์สมบัติ ส่งถวายพระราชา.
พระราชาเสด็จออกจากนาคพิภพ กลับไปสู่พระนครพาราณสี
ด้วยยศบริวารเป็ นอันมาก. เล่ากันว่า นับแต่นั้นมา
พื้นชมพูทวีปจึงเกิดมีเงินมีทองขึ้น.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า
โปราณบัณฑิตทั้งหลายละนาคสมบัติแล้ว อยู่รักษาอุโบสถศีล ด้วยอาการอย่างนี้.
แล้วทรงประชุมชาดกว่า
หมองูในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระเทวทัต ในบัดนี้
นางนาคกัญญาสุมนาเทวีได้มาเป็น พระมารดาพระราหุล
พระเจ้าอุคคเสนราชได้มาเป็น พระสารีบุตร
ส่วนจัมเปยยนาคราชได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาจัมเปยยชาดกที่ ๑๐
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 506 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

415 กุมมาสปิณฑิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
415 กุมมาสปิณฑิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...415 กุมมาสปิณฑิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
415 กุมมาสปิณฑิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
maruay songtanin
 
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
maruay songtanin
 
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
416 ปรันตปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
416 ปรันตปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx416 ปรันตปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
416 ปรันตปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
474 อัมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
474 อัมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx474 อัมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
474 อัมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๔๐. ปภัสสรวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๔๐. ปภัสสรวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๔๐. ปภัสสรวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๔๐. ปภัสสรวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
301 จูฬกาลิงคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
301 จูฬกาลิงคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...301 จูฬกาลิงคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
301 จูฬกาลิงคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
341 กุณฑลิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
341 กุณฑลิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....341 กุณฑลิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
341 กุณฑลิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

Similar to 506 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

415 กุมมาสปิณฑิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
415 กุมมาสปิณฑิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...415 กุมมาสปิณฑิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
415 กุมมาสปิณฑิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
 
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
 
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
371 ทีฆีติโกสลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
416 ปรันตปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
416 ปรันตปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx416 ปรันตปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
416 ปรันตปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
474 อัมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
474 อัมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx474 อัมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
474 อัมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๔๐. ปภัสสรวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๔๐. ปภัสสรวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๔๐. ปภัสสรวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๔๐. ปภัสสรวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
301 จูฬกาลิงคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
301 จูฬกาลิงคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...301 จูฬกาลิงคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
301 จูฬกาลิงคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
359 สุวัณณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
262 มุทุปาณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
341 กุณฑลิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
341 กุณฑลิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....341 กุณฑลิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
341 กุณฑลิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

More from maruay songtanin

๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๒๓. สุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๒๓. สุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๒๓. สุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๒๓. สุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๒๒. อุตตรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๒๒. อุตตรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๒๒. อุตตรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๒๒. อุตตรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๒๑. อังกุรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๑. อังกุรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๑. อังกุรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๑. อังกุรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒๐. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๐. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๒๐. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๐. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๑๙. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๙. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๙. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๙. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
maruay songtanin
 
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
maruay songtanin
 
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๖. อภิชชมานเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๕. อุพพรีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๒๔. กัณณมุณฑเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๒๓. สุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๒๓. สุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๒๓. สุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๒๓. สุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๒๒. อุตตรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๒๒. อุตตรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๒๒. อุตตรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๒๒. อุตตรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๒๑. อังกุรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๑. อังกุรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๑. อังกุรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๑. อังกุรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒๐. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๐. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๒๐. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๒๐. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๑๙. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๙. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๙. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๙. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๘. กัณหเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
 
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
 
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 

506 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 จัมเปยยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๑๐. จัมเปยยชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๐๖) ว่าด้วยพญานาคจัมเปยยะ (พระราชาทรงเห็นนางนาคสุมนาอยู่ในอากาศ จึงตรัสว่า) [๒๔๐] เธอเป็นใครกันหนอ รัศมีช่างงามผ่องใสดุจสายฟ้ า อุปมาเหมือนดาวประกายพรึก ข้าพเจ้าไม่เข้าใจเธอว่า เป็นเทพธิดา หญิงคนธรรพ์ หรือหญิงมนุษย์หนอ (นางนาคสุมนาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงตรัสตอบว่า) [๒๔๑] ขอเดชะพระมหาราช หม่อมฉันมิใช่เทพธิดา มิใช่หญิงคนธรรพ์ มิใช่หญิงมนุษย์ หม่อมฉันเป็ นนางนาคกัญญา มาที่นี้เพราะเหตุอย่างหนึ่ง (พระราชาตรัสถามว่า) [๒๔๒] เธอมีจิตกระวนกระวาย อินทรีย์เศร้าหมอง มีหยาดน้าตาไหลนองหน้า แม่นาง เชิญบอกมาเถิด อะไรของเธอหาย หรือเธอปรารถนาสิ่งใด จึงมาที่นี้ (นางนาคสุมนาตอบว่า) [๒๔๓] ก็ชาวโลกร้องเรียกสัตว์ใดว่า อุรคชาติ ผู้มีเดชยิ่งใหญ่ ขอเดชะ พระองค์ผู้จอมชน ชนทั้งหลายเรียกสัตว์นั้นว่า นาค ชายผู้ต้องการเลี้ยงชีพได้จับนาคนั้นมา นาคนั้นเป็ นสามีหม่อมฉัน ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยนาคนั้นจากเครื่องผูกเถิดเพคะ (พระราชาตรัสถามว่า) [๒๔๔] นาคราชนี้ประกอบด้วยกาลังและความเพียร กลับมาตกอยู่ในเงื้อมมือของคนวณิพกได้อย่างไร แม่นางนาคกัญญา ขอแม่นางจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา เราจะรู้ว่า นาคราชถูกจับมาได้อย่างไร (นางนาคสุมนาตอบว่า) [๒๔๕] แท้จริง นาคราชนั้นประกอบด้วยกาลังและความเพียร พึงกระทาแม้พระนครให้เป็นเถ้าธุลีได้ แต่เพราะนาคราชเป็นผู้นบนอบพระธรรม ฉะนั้น จึงบากบั่นบาเพ็ญตบะ [๒๔๖] ขอเดชะพระมหาราช นาคราชอธิษฐานจาตุททสีอุโบสถ และปัณณรสีอุโบสถ นอนรักษาอุโบสถอยู่ใกล้หนทางสี่แพร่ง ชายผู้ต้องการเลี้ยงชีพได้จับนาคราชนั้นมา นาคราชนั้นเป็นสามีหม่อมฉัน ขอพระองค์โปรดปล่อยนาคราชนั้น จากเครื่องพันธนาการเถิด เพคะ (และนางอ้อนวอนพระราชานั้นซ้าแล้วซ้าเล่าว่า)
  • 2. 2 [๒๔๗] นางนาค ๑๖,๐๐๐ นางสวมใส่กุณฑลแก้วมณี นอนอยู่ในห้องใต้น้า นางนาคแม้เหล่านั้นยึดเอานาคราชนั้นเป็ นที่พึ่ง [๒๔๘] ขอพระองค์โปรดปล่อยนาคราชไปโดยธรรม ด้วยความไม่ผลุนผลัน ด้วยบ้านส่วย ๑๐๐ หลัง ทองคา ๑๐๐ แท่ง และโค ๑๐๐ ตัว ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก (พระราชาตรัสว่า) [๒๔๙] เราจะปล่อยนาคราชไปโดยธรรม ด้วยความไม่ผลุนผลัน ด้วยบ้านส่วย ๑๐๐ หลัง ทองคา ๑๐๐ แท่ง และโค ๑๐๐ ตัว ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก [๒๕๐] พ่อพราน เราจะให้ทองคาแก่ท่าน ๑๐๐ แท่ง ต่างหูแก้วมณีมีค่ามาก และบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม มีสีอันเป็นสิริคล้ายดอกสามหาว [๒๕๑] ภรรยาที่เหมาะสมกัน ๒ คน และโคอุสภะอีก ๑๐๐ ตัว ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก (นายพรานกราบทูลพระราชาว่า) [๒๕๒] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน แม้จะทรงเว้นการพระราชทาน เพียงพระดารัสของพระองค์เท่านั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะปล่อยอุรคชาตินั้นจากเครื่องผูก ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก (พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า) [๒๕๓] พญานาคจัมเปยยะหลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการแล้ว ได้กราบทูลพระราชานั้นว่า ขอเดชะพระเจ้ากาสี ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ขอเดชะ พระองค์ผู้ผดุงแคว้นกาสีให้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ขอประคองอัญชลีต่อพระองค์ ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรนิเวศน์ของข้าพระองค์ (พระราชาตรัสว่า) [๒๕๔] นาคราช แน่นอนทีเดียวที่เขาพูดกันว่า มนุษย์กับอมนุษย์จะพึงคุ้นเคยกันเป็ นเรื่องคุ้นเคยกันได้ยาก แต่ถ้าท่านขอร้องเราเกี่ยวกับเรื่องนั้น เราก็จะไปเยี่ยมที่อยู่ของท่าน (ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะปฏิญญาให้พระราชาทรงเชื่อ จึงกราบทูลว่า)
  • 3. 3 [๒๕๕] ขอเดชะพระมหาราช ถึงลมจะพัดพาเอาภูเขาไปได้ก็ดี ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะพึงแผดเผาแผ่นดินก็ดี แม่น้าทุกสายจะพึงไหลทวนกระแสก็ดี ถึงอย่างนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่พึงพูดเท็จแน่นอน [๒๕๖] ขอเดชะพระมหาราช ถึงท้องฟ้ าจะพึงถล่มทะลาย น้าทะเลจะพึงเหือดแห้ง แผ่นดินซึ่งมีนามว่าภูตธาราและวสุนธราจะพึงม้วนเข้า และภูเขาสิเนรุศิลาล้วนจะพึงถอนขึ้นทั้งรากก็ดี ถึงอย่างนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่พึงพูดเท็จ (พระราชาไม่ทรงเชื่อจึงตรัสซ้าอีกว่า) [๒๕๗] นาคราช แน่นอนทีเดียวที่เขาพูดกันว่า มนุษย์กับอมนุษย์จะพึงคุ้นเคยกัน เป็นเรื่องคุ้นเคยกันได้ยาก แต่ถ้าท่านขอร้องเราเกี่ยวกับเรื่องนั้น เราก็จะไปเยี่ยมที่อยู่ของท่าน (และตรัสคาถาต่อไปว่า) [๒๕๘] พวกท่านเป็นผู้มีพิษร้ายแรงยิ่งนัก มีเดชมาก และก็โกรธง่าย ท่านหลุดพ้นจากเครื่องผูกเพราะเรา ควรจะรู้คุณที่เรากระทาแล้ว (พระโพธิสัตว์เมื่อจะทาปฏิญญาอีก จึงกราบทูลว่า) [๒๕๙] ผู้ใดถูกขังติดอยู่ในกระชังใกล้จะตาย ยังไม่รู้จักบุญคุณที่พระองค์ทรงทาแล้วเช่นนั้น ขอผู้นั้นจงหมกไหม้อยู่ในนรกที่โหดร้าย อย่าได้ความสาราญทางกายอย่างใดอย่างหนึ่งเลย (พระราชาทรงชมเชยพระโพธิสัตว์นั้นว่า) [๒๖๐] ขอปฏิญญาของท่านจงเป็นสัตย์จริงเถิด ขอท่านอย่าเป็นผู้มีนิสัยมักโกรธและผูกโกรธ ขอครุฑทั้งหลายจงงดเว้นตระกูลนาคของท่านทั้งมวล เหมือนบุคคลงดเว้นไฟในคิมหันตฤดู (ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ได้ชมเชยพระราชาว่า) [๒๖๑] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน พระองค์ทรงอนุเคราะห์ตระกูลนาค เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรสุดที่รักคนเดียว ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับตระกูลนาค จะทาการขวนขวายตอบแทนพระองค์อย่างโอฬาร (พระราชาทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปยังภพนาค จึงรับสั่งว่า) [๒๖๒] เจ้าพนักงานทั้งหลายจงเทียมราชรถที่งามวิจิตร จงเทียมม้าอัสดรที่ฝึกดีแล้ว ซึ่งเกิดในแคว้นกัมโพชะ อนึ่ง จงผูกช้างตัวประเสริฐ ซึ่งประดับด้วยสุวรรณวัตถาภรณ์ เราจะไปเยี่ยมนิเวศน์ของนาคราช (พระศาสดาตรัสพระคาถาว่า)
  • 4. 4 [๒๖๓] เจ้าพนักงานตีกลอง ตะโพน แกว่งบัณเฑาะว์ เป่าสังข์ ต่อพระเจ้าอุคคเสน พระราชามีหมู่นารีแวดล้อม เสด็จไปท่ามกลางหมู่นารีงดงามยิ่งนัก (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเรื่องนั้น จึงตรัสว่า) [๒๖๔] พระราชาผู้ผดุงแคว้นกาสีให้เจริญ ได้ทอดพระเนตรภูมิภาคที่วิจิตรด้วยทรายทอง และปราสาททอง ซึ่งปูด้วยแผ่นกระดานแก้วไพฑูรย์ [๒๖๕] พระราชาพระองค์นั้นเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ ซึ่งประดับตบแต่งไว้แล้ว อันมีรัศมีโอภาสเปล่งปลั่ง ดุจดังแสงอาทิตย์แรกอุทัย และประดุจดังสายฟ้ าในกลุ่มเมฆ [๒๖๖] พระเจ้ากาสีพระองค์นั้น เสด็จทอดพระเนตรจนทั่วพระนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ ที่ดารดาษด้วยพฤกษชาตินานาพันธุ์ ซึ่งอบอวลด้วยกลิ่นหอมนานาประการ [๒๖๗] เมื่อพระเจ้ากาสีเสด็จไปยังนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ เหล่าทิพย์ดนตรีก็บรรเลง ทั้งเหล่านางนาคกัญญาก็ฟ้ อนรา [๒๖๘] พระเจ้ากาสีเสด็จขึ้นสู่นาคนิเวศน์ ซึ่งมีหมู่นางนาคกัญญาตามเสด็จ ทรงพอพระทัย ประทับนั่งบนภัทรบิฐทองคา มีพนักอิงฉาบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์หอมซึ่งเป็ นทิพย์ [๒๖๙] พระองค์เสวยและทรงรื่นรมย์อยู่ในนาคพิภพนั้นแล้ว ได้ตรัสกับพญานาคจัมเปยยะว่า ท่านมีวิมานอันประเสริฐเหล่านี้ ซึ่งรัศมีเปล่งปลั่งดังรัศมีดวงอาทิตย์ วิมานเช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช เพื่อประสงค์อะไรอีก ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่ [๒๗๐] นางนาคกัญญาเหล่านั้นสวมสังวาลทองคา ใส่เสื้อผ้าสวยงาม มีองคุลีกลมกลึง มีฝ่ามือฝ่าเท้าแดง ผิวพรรณไม่ทรามเลย คอยประคองให้ท่านดื่มน้าทิพย์ ความงามเช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่ [๒๗๑] อนึ่ง ในพิภพของท่าน แม่น้าเหล่านี้ ดาษดื่นด้วยฝูงปลามีเกล็ดหนานานาชนิด มีนกเงือกเปล่งสาเนียงเสียงร้องอยู่ระงมไพร มีท่าน้าที่สวยงาม นทีทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช เพื่อประสงค์อะไรอีก ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่ [๒๗๒] ฝูงนกกระเรียน นกยูง หงส์ และนกดุเหว่าทิพย์ ต่างพากันเปล่งสาเนียงประสานเสียงอย่างไพเราะ โผผินไปมา
  • 5. 5 ปักษีทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่ [๒๗๓] ต้นมะม่วง ต้นสาละ ต้นหมากเม่า ต้นหว้า ต้นราชพฤกษ์ และต้นแคฝอย ผลิดอกออกผลบานสะพรั่ง รุกขชาติอันเป็นทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่ [๒๗๔] อนึ่ง รอบๆ สระโบกขรณีของท่าน ทิพยสุคนธ์เหล่านี้หอมฟุ้ งตลบอบอวล ไม่ขาดสาย ทิพยสุคนธ์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบาเพ็ญตบะอยู่ (นาคราชกราบทูลว่า) [๒๗๕] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ข้าพระพุทธเจ้าบาเพ็ญตบะ เพราะเหตุแห่งบุตร เพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุก็หาไม่ แต่เพราะข้าพระพุทธเจ้าปรารถนากาเนิดแห่งมนุษย์ เพราะเหตุนั้น จึงบากบั่นบาเพ็ญตบะอยู่ (พระราชาทรงชมเชยพระโพธิสัตว์ว่า) [๒๗๖] ท่านมีดวงเนตรแดง มีรัศมีเปล่งปลั่ง ประดับตบแต่งอย่างสวยงาม ตัดผมโกนหนวดเรียบร้อย ชโลมลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์แดง เปล่งรัศมีไปทั่วทิศ ดุจราชาแห่งคนธรรพ์ [๒๗๗] ท่านถึงพร้อมด้วยเทพฤทธิ์ มีอานุภาพยิ่งใหญ่ เพียบพร้อมด้วยกามทั้งสิ้น นาคราช เราขอถามเนื้อความนั้นกับท่าน มนุษยโลกมีอะไรประเสริฐกว่านาคพิภพนี้หรือ (นาคราชกราบทูลว่า) [๒๗๘] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน นอกจากมนุษยโลกแล้ว ความบริสุทธิ์หรือความสารวมย่อมไม่มี ข้าพระพุทธเจ้าได้กาเนิดมนุษย์แล้ว จะทาที่สุดแห่งการเกิดและการตาย (พระราชาตรัสว่า) [๒๗๙] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้ ข้าพเจ้าเห็นนางนาคกัญญาและตัวท่านแล้ว จะทาบุญให้มาก นะนาคราช (นาคราชกราบทูลว่า) [๒๘๐] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้ ขอเดชะพระมหาราช พระองค์เห็นนางนาคกัญญาและข้าพระพุทธเจ้าแล้ว โปรดทรงทาบุญให้มากเถิด
  • 6. 6 (พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงทรัพย์จึงกราบทูลว่า) [๒๘๑] ก็เงินทองของข้าพระพุทธเจ้านี้มีอยู่เพียงพอ กองทองคาสูงประมาณชั่วลาตาล พระองค์โปรดให้ขนไปจากที่นี่แล้วจงให้สร้างพระตาหนักทองคา และสร้างกาแพงเงินเถิด [๒๘๒] อนึ่ง แก้วมุกดาประมาณ ๕,๐๐๐ เล่มเกวียน ที่ปนกับแก้วไพฑูรย์ พระองค์โปรดให้ขนไปจากที่นี่แล้วจงลาดลงบนภาคพื้นภายในบุรี เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาคพื้นจักไม่เป็ นโคลนตม และจะไม่มีฝุ่นละออง [๒๘๓] ขอเดชะพระมหาราชผู้ประเสริฐ ทรงมีพระปรีชาอันล้าเลิศ ขอพระองค์โปรดเสวยราชสมบัติ ครอบครองกรุงพาราณสีซึ่งมั่งคั่งสมบูรณ์ สง่างามล้าเลิศดุจทิพยวิมานเห็นปานนี้เถิด จัมเปยยชาดกที่ ๑๐ จบ ------------------------ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา จัมเปยยชาดก ว่าด้วย บาเพ็ญตบะเพื่อต้องการเกิดเป็ นมนุษย์ พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอุโบสถกรรม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. ความพิสดารว่า ในกาลนั้น พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย การที่ท่านทั้งหลายอยู่รักษาอุโบสถกรรมเป็ นความดี โบราณกบัณฑิตทั้งหลายละนาคสมบัติแล้วอยู่รักษาอุโบสถกรรมเหมือนกัน. อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรงนาอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้ ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่าพระเจ้าอังคติราช เสวยราชสมบัติอยู่ในอังครัฐราชธานี ในระหว่างแคว้นอังคะและมคธะต่อกันมีแม่น้าชื่อจัมปานที ได้มีนาคพิภพอยู่ใต้แ ม่น้าจัมปานทีนั้น. พระยานาคราชชื่อว่าจัมเปยยะ ครองราชสมบัติในนาคพิภพนั้น. (โดยปกติ พระราชาแห่งแคว้นทั้งสองเป็นศัตรูกระทายุทธชิงชัยแก่กันและกันเนืองๆ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ) บางครั้งพระเจ้ามคธราชยึดแคว้นอังคะได้ บางครั้งพระเจ้าอังคราชยึดแคว้นมคธได้. อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้ามคธราชกระทายุทธนาการกับพระเจ้าอังคราช
  • 7. 7 ทรงปราชัยต่อยุทธสงคราม เสด็จขึ้นม้าพระที่นั่งหลบหนีไปถึงฝั่งจัมปานที พวกทหารพระเจ้าอังคราชติดตามไปทันเข้า จึงทรงพระดาริว่า เราโดดน้าตายเสียดีกว่าตายในเงื้อมมือของข้าศึกดังนี้แล้ว จึงโจนลงสู่แม่น้า พร้อมทั้งม้าพระที่นั่ง. ครั้งนั้น จัมเปยยนาคราชเนรมิตมณฑปแก้วไว้ภายในห้วงน้า แวดล้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ดื่มมหาปานะอยู่. ม้าพระที่นั่งกับพระเจ้ามคธราชจมน้าดิ่งลงไป เฉพาะพระพักตร์แห่งพระยานาคราช. พระยานาคราชเห็นพระราชาทรงเครื่องประดับตกแต่งก็บังเกิดความสิเนหา จึงลุกจากอาสนะทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงหวาดกลัวเลย แล้วอัญเชิญให้พระราชาประทับนั่งบนบัลลังก์ของตน ทูลถามถึงเหตุที่ดาน้าลงมา. พระเจ้ามคธราชตรัสเล่าความตามเป็นจริง. ลาดับนั้น จัมเปยยนาคราชปลอบโยนพระเจ้ามคธราชให้เบาพระทัยว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงหวาดกลัวเลย ข้าพระพุทธเจ้าจักช่วยจัดการให้พระองค์เป็นเจ้าของทั้งสองรัฐ ดังนี้แล้ว เสวยยศอันยิ่งใหญ่อยู่ ๗ วัน ในวันที่ ๘ จึงออกจากนาคพิภพพร้อมด้วยพระเจ้ามคธราช. พระเจ้ามคธราชทรงจับพระเจ้าอังคราชได้ด้วยอานุภาพของพระยานา คราช แล้วตรัสสั่งให้สาเร็จโทษเสีย เสวยราชสมบัติในสองรัฐสีมามณฑล. นับแต่นั้นมา ความวิสาสะคุ้นเคยระหว่างพระเจ้ามคธราชกับพระยานาคราชก็ได้กระชับมั่นคง ยิ่งขึ้น. พระเจ้ามคธราชให้สร้างรัตนมณฑปขึ้นที่ฝั่งจัมปานที แล้วเสด็จออกกระทาพลีกรรมแก่พระยานาคราชด้วยมหาบริจาคทุกๆ ปี. แม้พระยานาคราชก็ออกจากนาคพิภพมารับพลีกรรมพร้อมด้วยมหาบ ริวาร. มหาชนพากันมาเฝ้ าดูสมบัติของพระยานาคราช. กาลครั้งนั้น พระบรมโพธิสัตว์เกิดในตระกูลเข็ญใจไปที่ฝั่งน้าพร้อมด้วยราชบริษัท เห็นสมบัติของพระยานาคราชนั้นแล้วก็เกิดโลภเจตนา ปรารถนาจะได้สมบัตินั้น จึงทาบุญให้ทานรักษาศีล พอจัมเปยยนาคราชทากาลกิริยาไปได้ ๗ วันก็จุติไปบังเกิดเหนือสิริไสยาสน์ ณ ห้องอันมีสิริในปราสาทที่อยู่ของจัมเปยยนาคราชนั้น. สรีระร่างกายของพระบรมโพธิสัตว์ได้ปรากฏใหญ่โต มีวรรณะขาวราวกะพวงดอกมะลิสด. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นก็เกิดวิปฏิสารคิดไปว่า
  • 8. 8 อิสริยยศในฉกามาวจรสวรรค์ เป็นเสมือนข้าวเปลือกที่เขาโกยกองเก็บไว้ในฉางได้มีแก่เรา ด้วยผลแห่งกุศลที่เราทาไว้ เราสิกลับมาถือปฏิสนธิในกาเนิดสัตว์ดิรัจฉานนี้ ประโยชน์อะไรที่เราจะมีชีวิตอยู่ดังนี้แล้วเกิดความคิดที่จะตาย. ลาดับนั้น นางนาคมาณวิกาชื่อว่าสุมนา เห็นพระมหาสัตว์นั้นแล้วดาริว่า ชะรอยจักเป็นสัตว์ผู้มีอานุภาพมากมาเกิดแน่ดังนี้แล้วจึงให้สัญญาแก่นางนาคมา ณวิกาทั้งหลาย นางนาคมาณวิกาเหล่านั้นทั้งหมดต่างถือนานาดุริยสังคีต มากระทาการบาเรอขับกล่อมพระมหาสัตว์ นาคพิภพที่สถิตของพระมหาสัตว์นั้น ได้ปรากฏเสมือนพิภพแห่งท้าวสักกเทวราช. มรณจิต (คือจิตที่คิดอยากตาย) ของพระมหาสัตว์ก็ดับหายไป. พระมหาสัตว์เจ้าละเสียซึ่งสรีระของงู ทรงประดับเครื่องสรรพาลังการ ประทับเหนือพระแท่นบรรทม. นับจาเดิมแต่นั้นมา พระอิสริยยศก็ปรากฏแก่พระมหาสัตว์เจ้ามากมาย. เมื่อพระมหาสัตว์เจ้าเสวยนาคราชสมบัติอยู่ในนาคพิภพนั้น ในเวลาต่อมาก็เกิดวิปฏิสาร คิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยกาเนิดดิรัจฉานนี้แก่เรา เราจักอยู่รักษาอุโบสถกรรม พ้นจากอัตภาพนี้ไปสู่ดินแดนมนุษย์ จักได้แทงตลอดสัจจธรรม กระทาที่สุดแห่งทุกข์ดังนี้ นับจาเดิมแต่นั้นก็ทรงรักษาอุโบสถกรรมอยู่ในปราสาทนั้นทีเดียว พวกนางมาณวิกาตกแต่งกายงดงามพากันไปยังสานักของพระมหาสัตว์นั้น ศีลของพระมหาสัตว์ก็วิบัติทาลายอยู่เนืองๆ. จาเดิมแต่นั้น พระมหาสัตว์เจ้าจึงออกจากปราสาทไปสู่พระอุทยาน นางนาคมาณวิกาเหล่านั้นก็ติดตามไปแม้ในพระอุทยาน อุโบสถศีลของพระมหาสัตว์ก็แตกทาลายอยู่ร่าไป. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าทรงจินตนาการว่า ควรที่เราจะออกจากนาคพิภพนี้ไปยังมนุษยโลกอยู่รักษาอุโบสถ. นับแต่นั้นมาเมื่อถึงวันอุโบสถ พระองค์ก็ออกจากนาคพิภพไปยังมนุษยโลก (ทรงประกาศ) สละร่างกายในทานมุขว่า ใครจะมีความต้องการอวัยวะของเรามีหนังเป็นต้นก็จงถือเอาเถิด ใครต้องการจะทาให้เราเล่นกีฬางูก็จงกระทาเถิด แล้วคู้ขดขนดกายนอนรักษาอุโบสถอยู่ที่ยอดจอมปลวกใกล้มรรคา แถบปัจจันตชนบทแห่งหนึ่ง. ชนทั้งหลายเดินผ่านไปมาในหนทางใหญ่เห็นพระโพธิสัตว์เจ้าแล้ว พากันบูชาด้วยเครื่องสักการะมีของหอมเป็นต้นแล้วหลีกไป. ชาวปัจจันตชนบทไปพบแล้วคิดว่า คงจักเป็นนาคราชผู้มีมหิทธานุภาพ
  • 9. 9 จึงจัดทามณฑปขึ้นเบื้องบน ช่วยกันเกลี่ยทรายรอบบริเวณ แล้วบูชาด้วยสักการะมีของหอมเป็นต้น. จาเดิมแต่นั้นมา มนุษย์ทั้งหลายก็เลื่อมใสในพระมหาสัตว์เจ้า ทาการบูชาปรารถนาบุตรบ้าง ปรารถนาธิดาบ้าง. แม้พระมหาสัตว์เจ้าทรงรักษาอุโบสถกรรม ถึงวันจาตุททสีและปัณณรสี ดิถี ๑๔ ค่า ๑๕ ค่าก็มานอนอยู่เหนือจอมปลวก ต่อในวันปาฏิบทแรมค่าหนึ่ง จึงกลับไปสู่นาคพิภพ. เมื่อพระมหาสัตว์เจ้ารักษาอุโบสถอยู่อย่างนี้ เวลาล่วงไปเนิ่นนาน. อยู่มาวันหนึ่ง นางสุมนาอัครมเหสีทูลถามพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระองค์เสด็จไปยังมนุษยโลกเข้าอยู่รักษาอุโบสถศีลนั้น ความจริงมนุษยโลกน่ารังเกียจ มีภัยรอบด้าน หากว่าภัยจะพึงบังเกิดแก่พระองค์ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกหม่อมฉันจะพึงรู้ได้ด้วยนิมิตอย่างไร ขอพระองค์จงตรัสบอกนิมิตอย่างนั้น แก่พวกหม่อมฉันด้วยเถิด. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์จึงนานางสุมนาเทวีไปยังขอบสระมงคลโบกขรณี แล้วตรัสว่า ดูก่อนพระนางผู้เจริญ ถ้าหากใครๆ จักประหารทาให้เราลาบากไซร้ น้าในสระโบกขรณีนี้จักขุ่นมัว ถ้าพญาครุฑจับเอาไป น้าจักเดือดพลุ่งขึ้นมา ถ้าหมองูจับเอาไป น้าจักมีสีแดงเหมือนโลหิต พระโพธิสัตว์ตรัสบอกนิมิต ๓ ประการแก่นางสุมนาเทวีอย่างนี้แล้ว ทรงอธิษฐานจาตุททสีอุโบสถ เสด็จออกจากนาคพิภพไปมนุษยโลก นอนเหนือจอมปลวก ยังจอมปลวกให้งดงามด้วยรัศมีแห่งสรีรกาย แม้สรีรกายของพระมหาสัตว์นั้นก็ปรากฏขาวสะอาดผุดผาดดังพวงเงิน ท่อนพระเศียรเบื้องบนคล้ายคลุมไว้ด้วยผ้ากัมพลแดง. อนึ่ง ในชาดกนี้ สรีรกายของพระโพธิสัตว์มีขนาดเท่าศีรษะคันไถ. ในภูริทัตตชาดก มีขนาดเท่าลาขา. ในสังขปาลชาดก มีขนาดเท่าเรือโกลนลาหนึ่ง. กาลครั้งนั้น มีมาณพชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งไปเมืองตักกสิลา เรียนอาลัมภายนมนต์ในสานักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เดินทางกลับบ้านของตนโดยผ่านมรรคานั้น เห็นพระมหาสัตว์เจ้าแล้วคิดว่า เราจักจับงูนี้บังคับให้เล่นกีฬา ในคามนิคมราชธานีทั้งหลาย ยังทรัพย์ให้เกิดขึ้นดังนี้แล้ว จึงหยิบทิพโอสถ ร่ายทิพมนต์ ไปยังสานักของพระมหาสัตว์เจ้า จาเดิมแต่พระมหาสัตว์เจ้าสดับทิพมนต์แล้ว เกิดอาการเหมือนซี่เหล็กร้อนยอนเข้าไปในพระกรรณทั้งสอง
  • 10. 10 เบื้องพระเศียรปวดร้าวราวกะถูกเหล็กสว่านไช. พระมหาสัตว์เจ้าทรงราพึงว่า นี่อย่างไรกันหนอ จึงยกพระเศียรขึ้นจากวงภายในขนดแลไป ได้เห็นหมองู แล้วดาริว่า พิษของเรามากมาย ถ้าเราโกรธแล้วพ่นลมจมูกออกไป สรีระของหมองูนี้จักย่อยแหลกไปเหมือนกองเถ้า แต่เมื่อทาเช่นนั้น ศีลของเราก็จักด่างพร้อย เราจักไม่แลดูหมองูนั้น. ท้าวเธอจึงหลับพระเนตรทั้งสอง ทอดพระเศียรไว้ภายในขนด พราหมณ์หมองูเคี้ยวโอสถแล้วร่ายมนต์พ่นน้าลาย ลงที่สรีรกายของพระมหาสัตว์ ด้วยอานุภาพแห่งโอสถและมนต์ เรือนร่างของพระมหาสัตว์ในที่ซึ่งถูกน้าลายรดแล้วๆ ปรากฏเป็ นเสมือนพองบวมขึ้น. ครั้งนั้น พราหมณ์หมองูจึงฉุดหางพระมหาสัตว์ลากลงมาให้นอนเหยียดยาว บีบตัวด้วยไม้กีบแพะทาให้ทุพพลภาพ จับศีรษะให้มั่นแล้วบีบเค้น พระมหาสัตว์จึงอ้าปากออก. ทีนั้นพราหมณ์หมองูจึงพ่นน้าลายเข้าไปในปากของพระมหาสัตว์ แล้วจัดการพ่นโอสถและมนต์ ทาลายพระทนต์จนหลุดถอน ปากของมหาสัตว์เต็มไปด้วยโลหิต. พระมหาสัตว์สู้อดกลั้นทุกขเวทนาเห็นปานนี้ เพราะกลัวศีลของตัวจะแตกทาลาย ทรงหลับพระเนตรนิ่งมิได้ทาการเหลียวมองดู. แม้พราหมณ์หมองูนั้นยังคิดว่า เราจักทานาคราชให้ทุพพลภาพ ดังนี้ จึงขึ้นเหยียบย่าร่างกายของพระมหาสัตว์ตั้งแต่หางขึ้นไป คล้ายกับจะทาให้กระดูกแหลกละเอียดไป แล้วม้วนพับอย่างผืนผ้า ขยี้กระดูกให้ขยายเช่นอย่างคลายเส้นด้ายให้กระจาย จับหางทบทุบเช่นอย่างทุบผ้า สกลสรีรกายของพระมหาสัตว์แปดเปื้อนไปด้วยโลหิต พระมหาสัตว์นั้นสู้อดกลั้นมหาทุกขเวทนาไว้. ครั้นพราหมณ์หมองูรู้ว่า พระมหาสัตว์อ่อนกาลังลงแล้ว จึงเอาเถาวัลย์มาถักทาเป็นกระโปรง ใส่พระมหาสัตว์ลงไปในกระโปรงนั้นแล้ว นาไปสู่ปัจจันตคามให้เล่นท่ามกลางมหาชน. พราหมณ์หมองูปรารถนาจะให้แสดงท่วงทีอย่างใดๆ ในประเภทสีมีสีเขียวเป็นต้น และสัณฐานทรวดทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมเป็ นต้น หรือขนาดเล็กใหญ่เป็นต้น พระมหาสัตว์เจ้าก็กระทาท่วงทีนั้นๆ ทุกอย่าง ฟ้ อนราทาพังพานได้ตั้งร้อยอย่างพันอย่าง. มหาชนดูแล้วชอบใจให้ทรัพย์แก่พราหมณ์เป็นอันมาก เพียงวันเดียวเท่านั้นได้ทรัพย์ตั้งพันและเครื่องบริขารราคานับเป็นพัน
  • 11. 11 แต่ชั้นแรกพราหมณ์หมองูคิดไว้ว่า เราได้ทรัพย์สักพันหนึ่งแล้วก็จักปล่อยไป แต่ครั้นได้ทรัพย์จานวนเท่านั้นแล้วคิดเสียว่า ในปัจจันตคามแห่งเดียว เรายังได้ทรัพย์ถึงขนาดนี้ ในสานักพระราชาและมหาอามาตย์ คงจักได้ทรัพย์มากมาย จึงซื้อเกวียนเล่มหนึ่งกับยานสาหรับนั่งสบายเล่มหนึ่ง บรรทุกของลงในเกวียน แล้วนั่งบนยานน้อยพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก บังคับพระมหาสัตว์ให้เล่นในบ้านและนิคมเป็นต้นโดยลาดับไป แล้วคิดว่า เราจักให้นาคราชเล่นถวายในสานักของพระเจ้าอุคคเสนแล้วก็จักปล่อยดังนี้ แล้วก็เดินทางต่อไป พราหมณ์หมองูฆ่ากบนามาให้นาคราชกินเป็นอาหาร นาคราชราพึงว่า พราหมณ์หมองูนี้ฆ่ากบอยู่บ่อยๆ เพราะอาศัยเราเป็นเหตุ เราจักไม่บริโภคกบนั้นแล้วไม่ยอมบริโภค. เมื่อพราหมณ์หมองูรู้ดังนั้น ได้ให้ข้าวตอกเคล้าน้าผึ้งแก่พระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์คิดว่า ถ้าหากเราจักถือเอาอาหารนี้ไซร้ เราคงจักตายภายในกระโปรงเป็นมั่นคง จึงมิได้บริโภคอาหารแม้เหล่านั้น. พราหมณ์หมองูไปถึงพระนครพาราณสีแล้ว ให้พระมหาสัตว์เล่นให้คนดู ที่ใกล้ประตูเมือง ได้ทรัพย์สินอีกเป็นจานวนมาก. แม้พระราชาก็ตรัสสั่งให้พราหมณ์หมองูเข้าเฝ้ า แล้วตรัสว่า เจ้าจงให้งูเล่นให้เราดูบ้าง. เขาทูลสนองพระราชโองการว่า ได้พะย่ะค่ะ ข้าพระพุทธเจ้าจักให้เล่นถวายพระองค์ ในวันปัณณรสี พรุ่งนี้. พระราชาตรัสสั่งให้พนักงานเภรีตีกลองประกาศว่า พรุ่งนี้ นาคราชจักฟ้ อนราที่หน้าชานชาลาหลวง มหาชนจงมาประชุมกันดูเถิด แล้วในวันรุ่งขึ้นตรัสสั่งให้ประดับตกแต่งชานชาลาหลวง และตรัสสั่งให้พราหมณ์หมองูมาเฝ้ า พราหมณ์หมองูนาพระมหาสัตว์มาด้วยกระโปรงแก้ว ตั้งกระโปรงไว้ที่พื้นลาดอันวิจิตร นั่งคอยอยู่. ฝ่ายพระราชาเสด็จลงจากปราสาทแวดล้อมด้วยหมู่มหาชน ประทับนั่งเหนือพระราชอาสน์. พราหมณ์หมองูนาพระมหาสัตว์ออกมาแล้วให้ฟ้ อนราถวาย. มหาชนพากันดีใจ ไม่อาจดารงตนอยู่ได้ตามปกติ พากันปรบมือ โบกธงโบกผ้า แสดงความรื่นเริงนับด้วยหมื่นแสน. ฝนรัตนะเจ็ดประการก็ตกลงมาตรงเบื้องบนพระโพธิสัตว์ เมื่อพระมหาสัตว์ถูกจับมานั้นครบหนึ่งเดือนเต็มบริบูรณ์ ตลอดเวลาเหล่านี้ พระมหาสัตว์สู้ทนมิได้บริโภคอาหารเลย. ฝ่ายนางสุมนาเทวีระลึกถึงว่า สามีที่รักของเราเสด็จไปนานนักหนา จนป่านนี้ยังไม่เสด็จมาที่นี่เลย ครบหนึ่งเดือนพอดี จักมีเหตุเภทภัยอะไรหนอ
  • 12. 12 ดังนี้แล้วจึงไปตรวจดูสระโบกขรณี เห็นมีน้าสีแดงดังโลหิต ก็ทราบว่า ชะรอย สามีของตนจักถูกหมองูจับเอาไป จึงออกจากนาคพิภพไปตรวจดูใกล้จอมปลวก เห็นร่องรอยที่พระมหาสัตว์ถูกหมองูจับและทาให้ลาบาก แล้วทรงกันแสงร่าไห้คร่าครวญ ดาเนินไปยังปัจจันตคามสอบถามดู สดับข่าวความเป็นไปนั้นแล้ว ติดตามไปจนถึงเมืองพาราณสี ยืนกันแสงอยู่ที่กลางอากาศ ในท่ามกลางบริษัท ณ ประตูพระราชวัง. พระมหาสัตว์กาลังฟ้ อนราถวายพระราชาอยู่นั่นแหละเหลือบแลดูอากา ศ เห็นนางสุมนาเทวีแล้วละอายพระทัยเลื้อยเข้าไปนอนขดในกระโปรงเสีย. ในเวลาที่พระมหาสัตว์เลื้อยเข้าไปสู่กระโปรงแล้ว พระราชาทรงพระดาริว่า นี่เหตุอะไรกันเล่าหนอ? จึงทอดพระเนตรแลดูทางโน้นทางนี้ เห็นนางสุมนาเทวียืนอยู่บนอากาศ. จึงตรัสคาถาที่ ๑ ความว่า ท่านเป็นใคร งามผ่องใสดุจสายฟ้ า และอุปมาเหมือนดาวประจารุ่ง เราไม่รู้จักท่านว่า เป็ นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นหญิงมนุษย์. บัดนี้เป็นคาถาโต้ตอบระหว่างราชากับนางสุมนาเทวี (ซึ่งมีลาดับดังต่อไปนี้) (นางสุมนาทูลว่า) ข้าแต่พระมหาราชา หม่อมฉันหาใช่เทพธิดา หญิงคนธรรพ์ หรือหญิงมนุษย์ไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเป็ นนางนาคกัญญา อาศัยเหตุอย่างหนึ่งจึงได้มาในพระนครนี้. (พระราชาตรัสถามว่า) ดูก่อนนางนาคกัญญา ท่านมีอาการเหมือนคนมีจิตฟั่นเฟือน มีอินทรีย์อันเศร้าหมอง ดวงเนตรของท่านไหลนองไปด้วยหยาดน้าตา อะไรของท่านหาย หรือว่าท่านปรารถนาอะไรจึงได้มาในเมืองนี้ เชิญท่านบอกมาเถิด. (นางสุมนาทูลตอบว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน มหาชนชาวโลกเรียกร้องสัตว์ใดว่าอุรคชาติ ผู้มีเดชอันสูงในมนุษยโลก เขาเรียกสัตว์นั้นว่านาค บุรุษคนนี้จับนาคนั้นมาเพื่อต้องการเลี้ยงชีพ นาคนั้นแหละเป็ นสามีของหม่อมฉัน ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคนั้นเสียจากที่คุมขังเถิดเพคะ. (พระราชาตรัสถามว่า) ดูก่อนนางนาคกัญญา นาคราชนี้ประกอบด้วยกาลังอันแรงกล้า ไฉนจึงมาถึงเงื้อมมือของชายวณิพกได้เล่า เราจะใคร่รู้ถึงการที่นาคราชถูกกระทาจนถูกจับมาได้ ขอท่านจงบอกความข้อนั้นแก่เราเถิด. (นางสุมนาทูลตอบว่า) แท้จริง นาคราชนั้นประกอบด้วยกาลังอันแรงกล้า พึงทาแม้นครให้เป็นภัสมธุลีไปได้
  • 13. 13 แต่เพราะนาคราชนั้นเคารพนบนอบธรรม ฉะนั้น จึงได้บากบั่นบาเพ็ญตบะ. นางสุมนาเทวีกราบทูลว่า นาคราชภัสดาของหม่อมฉันนี้ ทาความเคารพพระธรรมคือเบญจศีล และพระธรรมคือการอยู่รักษาอุโบสถ เพราะฉะนั้น แม้ถูกบุรุษนี้จับมา ถึงแม้พระยานาคจะคิดว่า หากเราจะพ่นลมหายใจลงเบื้องบนบุรุษนี้ไซร้ เขาก็จักแหลกละเอียดไปเหมือนกองเถ้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ศีลของเราก็จักแตกทาลายเพราะกลัวศีลจะแตกทาลาย จึงสู้อุตส่าห์บากบั่นอดกลั้นความทุกข์นั้นไว้ ตั้งใจทาตบะ คือกระทาความเพียรอย่างเดียวเท่านั้น. พระราชาตรัสถามต่อไปอีกว่า ไฉนนาคราชจึงยอมให้บุรุษนี้จับมาได้เล่า. ลาดับนั้น นางสุมนาเทวี เมื่อจะกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ จึงกล่าวคาถาความว่า ข้าแต่องค์ราชันย์ นาคราชนี้มีปกติรักษาจาตุททสีอุโบสถ และปัณณรสีอุโบสถ นอนอยู่ใกล้ทางสี่แพร่ง บุรุษหมองูจับนาคราชนั้นมาด้วยต้องการหาเลี้ยงชีพ นาคราชนี้เป็นสามีของหม่อมฉัน ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคราชนั้นจากที่คุมขังเถิด. ก็แลครั้นนางนาคกัญญาสุมนาเทวีทูลอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทูลอ้อนวอนพระราชาซ้าอีก ได้กล่าวคาถาสองคาถา ความว่า สนมนารีถึงหมื่นหกพันนางล้วนสวมใส่กุณฑลแก้วมณี บันดาลห้วงวารีทาเป็ นห้องไสยาสน์ แม้สนมนารีเหล่านั้น ก็ยึดถือนาคราชนั้นเป็ นที่พึ่ง. ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคราชนั้นโดยธรรม ปราศ จากกรรมอันสาหัส ด้วยบ้านส่วยร้อยบ้าน ทองร้อยแท่ง และโคร้อยตัว ขอนาคราชผู้แสวงบุญ จงเหยียดกายได้ตรงเที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขังเถิด. ลาดับนั้น พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถา ความว่า เราจะปล่อยนาคราชนี้ไปโดยธรรม ปราศจากกรรมอันสาหัส ด้วยบ้านส่วยร้อยบ้าน ทองคาร้อยแท่ง โคร้อยตัว นาคราชผู้ต้องการบุญ จงเหยียดกายตรงเที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขัง. ดูก่อนลุททกพราหมณ์ เราจะให้ทอง ๑๐๐ แท่ง กุณฑลแก้วมณีราคามาก บัลลังก์สี่เหลี่ยม สีดังดอกผักตบ ภรรยารูปงามสองคน และโคอุสุภะ ๑๐๐ ตัวแก่ท่าน ขอนาคราชผู้ต้องการบุญ จงเหยียดกายตรงเที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขังเถิด. เพื่อจะปลดปล่อยพระยานาคราช
  • 14. 14 พระราชาจึงตรัสเรียกพราหมณ์หมองูมา เมื่อจะแสดงไทยธรรมที่จะพึงพระราชทานแก่เขา จึงตรัสอย่างนี้ ส่วนพระคาถาก็มีอรรถาธิบายดังกล่าวrแล้วในหนหลังนั่นแล. ลาดับนั้น ลุททกพราหมณ์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน แม้จะมิทรงพระราชทานสิ่งไรเลย เพียงแต่ตรัสสั่งให้ปล่อยเท่านั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะปล่อยนาคราชนั้นจากที่คุมขังทันที ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงเหยียดกายตรงเที่ยวไป. ก็แลครั้นลุททกพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ก็นาพระมหาสัตว์ออกจากกระโปรง. นาคราชออกมาแล้วเลื้อยเข้าไประหว่างกองดอกไม้ ละอัตภาพนั้นเสียแล้ว กลายเพศเป็นมาณพน้อย ตบแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับอันงดงาม คล้ายกับชาแรกดินออกมายืนอยู่ฉะนั้น. นางสุมนาเทวีลอยมาจากอากาศ ยืนเคียงข้างพระภัสดาของตน นาคราชได้ยืนประคองอัญชลี นอบน้อมพระราชาอยู่. พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาความว่า จัมเปยยนาคราชหลุดพ้นจากที่คุมขังแล้ว จึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระเจ้ากาสิกราช ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงผดุงกาสิกรัฐให้รุ่งเรือง ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าขอประคองอัญชลีแด่พระองค์ ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรนิเวศน์ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระเจ้าข้า. (พระราชาตรัสตอบว่า) ดูก่อนนาคราช แท้จริง คนทั้งหลายเขากล่าวถึงเหตุที่มนุษย์จะพึงคุ้นเคยกับอมนุษย์ว่า พึงคุ้นเคยกันได้ยาก ถ้าท่านขอร้องเราถึงเรื่องนั้น เราก็อยากจะไปดูนิเวศน์ของท่าน. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะทาสัตย์สาบาน เพื่อให้พระราชาทรงเชื่อถือ ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาความว่า ข้าแต่พระราชา แม้ถึงว่า ลมจะพึงพัดภูเขาไปได้ก็ดี พระจันทร์และพระอาทิตย์จะพึงเผาผลาญแผ่นดินก็ดี แม่น้าทุกสายพึงไหลทวนกระแสก็ดี ถึงกระนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่กล่าวคาเท็จเลย.
  • 15. 15 ข้าแต่พระราชา ท้องฟ้ าจะทาลายไป ทะเลจะเหือดแห้งไป มหาปฐพีมีนามว่าภูตธราและพสุนธราจะพึงม้วนได้ เมรุบรรพตอันหนาแน่นด้วยศิลาจะพึงถอนไปทั้งราก ถึงกระนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่กล่าวคาเท็จเลย. เมื่อพระมหาสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาก็มิได้ทรงเชื่อ จึงตรัสพระคาถานั้นแหละซ้าอีกว่า ดูก่อนนาคราช แท้จริง คนทั้งหลายเขากล่าวถึง เหตุที่มนุษย์จะพึงคุ้นเคยกับอมนุษย์ว่า พึงคุ้นเคยกันได้ยาก ก็ถ้าเธอขอร้องเราถึงเรื่องนั้น เราก็อยากไปดูนิเวศน์ของเธอ ดังนี้. เมื่อจะประกาศกาชับว่า เธอควรจะรู้จักคุณที่เราทาแล้วแก่เธอ ส่วนตัวเราเองย่อมรู้สิ่งที่ควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อได้ดังนี้ จึงตรัสพระคาถานอกนี้ความว่า เธอเป็นผู้มีพิษร้ายแรงยิ่ง มีเดชมาก ทั้งโกรธง่าย เธอหลุดพ้นจากที่คุมขังไปได้ ก็เพราะเหตุที่เราช่วยเหลือ เธอควรจะรู้บุญคุณที่เราทาไว้แก่เธอ. พระมหาสัตว์ เมื่อจะทาสัตย์สาบานเพื่อให้พระราชาทรงเชื่อต่อไป จึงกล่าวคาถาความว่า ข้าพระพุทธเจ้าถูกคุมขังอยู่ในกระโปรงเกือบจะถึงความตาย จักไม่รู้จักอุปการคุณที่พระองค์ทรงกระทาแล้วเช่นนั้น ก็ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าจงหมกไหม้อยู่ในนรกอันแสนร้ายกาจ อย่าได้รับความสาราญกายสักหน่อยหนึ่งเลย. ลาดับนั้น พระราชาทรงเชื่อถ้อยคาของพระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงชมเชย จึงตรัสพระคาถาความว่า คาปฏิญาณของเธอนั้น จงเป็ นคาสัตย์จริง เธออย่าได้มีความโกรธ อย่าผูกโกรธไว้ อนึ่ง ขอสุบรรณทั้งหลายจงละเว้นนาคสกุลของท่านทั้งมวล เหมือนผู้เว้นไฟในฤดูร้อนฉะนั้น. แม้พระมหาสัตว์เจ้า เมื่อจะชมเชยพระราชา จึงกล่าวคาถานอกนี้ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์ทรงเอ็นดูนาคสกุล เหมือนมารดาผู้เอ็นดูบุตรคนเดียวผู้เป็ นสุดที่รักฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้ากับนาคสกุลจะขอกระทาเวยยาวฏิกกรรมอย่างโอฬารแด่พระองค์. พระราชาทรงสดับคาของนาคราชแล้ว มีพระประสงค์จะเสด็จไปนาคพิภพ เมื่อจะตรัสสั่งให้ทาการตระเตรียมพลเสนาที่จะเสด็จไป จึงตรัสพระคาถาความว่า
  • 16. 16 เจ้าพนักงานรถจงตระเตรียมราชรถอันงามวิจิตร จงเทียมอัสดรอันเกิดในกัมโพชกรัฐซึ่งฝึกหัดอย่างดีแล้ว และเจ้าพนักงานช้างจงผูกช้างตัวประเสริฐทั้งหลายให้งามไปด้วยสุวรรณหัตถาภร ณ์ เราจะไปดูนิเวศน์แห่งท้าวนาคราช. คาถานอกนี้ต่อไปเป็นพระคาถาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในกาลเ มื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ความว่า พนักงานเภรี ตะโพน บัณเฑาะว์ และแตรสังข์ของพระเจ้าอุคคเสนราช มาพร้อมหน้ากัน พระราชาทรงแวดล้อมด้วยสนมนารี เสด็จไปในท่ามกลางหมู่สนมนารีงามสง่ายิ่งนัก. ในกาลเมื่อพระเจ้าพาราณสีเสด็จออกจากพระนครไป พระมหาสัตว์เจ้าทรงบันดาลนาคพิภพให้ปรากฏมีกาแพงแก้ว ๗ ประการ และประตูป้ อมคู หอรบ แล้วนิรมิตมรรคาที่จะเสด็จไปยังนาคพิภพ ให้ประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับงดงาม ด้วยอานุภาพของตน. พระราชาพร้อมด้วยราชบริพาร เสด็จเข้าไปยังนาคพิภพโดยมรรคานั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิภาคและปราสาทราชวัง น่ารื่นเริง บันเทิงพระทัย. พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า พระเจ้ากรุงกาสีวัฒนราชได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิภาคอันงาม วิจิตรลาดแล้วด้วยทรายทอง ทั้งสุวรรณปราสาทก็ปูลาดไปด้วยแผ่นกระดานแก้วไพฑูรย์ พระองค์เสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์ของจัมเปยยนาคราชมีรัศมีโอภาสดังแสงอาทิตย์แร กอุทัย รุ่งเรืองไปด้วยรัศมีประหนึ่งสายฟ้ าในกลุ่มเมฆ. พระเจ้ากาสิกราชทรงทอดพระเนตรจนทั่วนิเวศน์ของจัมเปยยนาคราช อันดารดาษไปด้วยพฤกษชาตินานาชนิด หอมฟุ้ งขจรไปด้วยทิพยสุคนธ์อบอวลล้วนวิเศษ. เมื่อพระเจ้ากาสิกราชเสด็จเข้าไปในนิเวศน์ของท้าวจัมเปยยนาคราช เหล่าทิพยดนตรีก็ประโคมขับบรรเลง ทั้งนางนาคกัญญาทั้งหลายก็ฟ้ อนรา ขับร้อง. พระเจ้ากาสิกราชเสด็จขึ้นนิเวศน์ซึ่งมีหมู่นางนาคกัญญาตามเสด็จ ทรงพอพระทัย ประทับนั่ง ณ พระสุวรรณแท่นทอง อันมีพนักไล้ทาด้วยแก่นจันทน์ทิพย์. เมื่อพระเจ้ากาสิกราชประทับนั่งบนบัลลังก์แล้ว พนักงานชาวเครื่องวิเศษก็เชิญเครื่องทิพย์อันสมบูรณ์ด้วยรสโอชานานาประการ น้อมเข้าไปถวาย
  • 17. 17 และเชิญไปเลี้ยงดูเหล่าสนมนารีหมื่นหกพันนางพร้อมทั้งราชบริษัทที่เหลือ. พระเจ้าพาราณสีพร้อมด้วยราชบริษัท ทรงเสวยข้าวน้าอันเป็นทิพย์เป็นต้น เพลิดเพลินเจริญใจด้วยทิพยกามคุณ และประทับ ณ สุขไสยาสน์ประมาณได้เจ็ดวัน ทรงสรรเสริญอิสริยยศของพระมหาสัตว์ แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนท่านนาคราช ก็เพราะเหตุไรหรือ ท่านจึงละสมบัติเห็นปานนี้ ไปนอนอยู่รักษาอุโบสถศีล ณ จอมปลวกในมนุษยโลก. ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าก็ทูลเล่าถวายให้ทรงทราบ. พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า พระเจ้ากาสิกราชนั้น ครั้นเสวยสมบัติ และทรงรื่นรมย์ประทับอยู่ในนาคพิภพนั้นแล้ว ได้ตรัสถามจัมเปยยนาคราชว่า วิมานอันประเสริฐของท่านเหล่านี้ มีรัศมีดังพระอาทิตย์ งามผุดผาด วิมานเช่นนี้ ไม่มีในมนุษยโลก ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบาเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร. นางนาคกัญญาเหล่านั้นสวมใส่กาไลทองนุ่งห่มเรียบร้อย มีนิ้วมือกลมกลึง ฝ่ามือฝ่าเท้าแดงงามยิ่งนัก ผิวพรรณงดงามไม่ทรามเลย พากันยกทิพยปานะถวายให้พระองค์ทรงเสวย สนมนารีเช่นนี้จะมีอยู่ในมนุษยโลกก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบาเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร. อนึ่ง มหานทีอันชุ่มชื่น ดาษดื่นไปด้วยปลามีเกล็ดหนานานาชนิด มีอาทาสสกุณปักษีร่าร้องไพเราะจับใจ ทั้งท่าขึ้นลงนทีธารก็ราบรื่นเป็ นอันดี แม่น้าเช่นนี้จะได้มีอยู่ในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบาเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร. ฝูงนกกระเรียน ฝูงนกยูง ฝูงหงส์ และฝูงนกดุเหว่าทิพย์ ร่าร้องเสียงไพเราะจับใจ ต่างก็โผผินบินจับอยู่บนต้นไม้ ทิพยสกุณาเช่นนี้จะได้มีในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบาเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร. ต้นมะม่วง ต้นสาละ ทั้งช้างน้าว อ้อยช้างและต้นชมพู่ ต้นคูนและแคฝอย ผลิดอกออกผลเป็นพวงๆ ทิพยรุกขชาติเช่นนี้จะได้มีอยู่ในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบาเพ็ญตบะเพื่อประโยชน์อะไร. อนึ่ง ทิพยสุคนธ์รอบๆ สระโบกขรณีเหล่านี้หอมฟุ้ งอยู่เป็นนิตย์ ทิพยสุคนธ์เช่นนี้จะมีอยู่ในมนุษยโลกก็หามิได้ ดูก่อนพระยานาคราช ท่านบาเพ็ญตบธรรมเพื่อประโยชน์อะไร. (จัมเปยยนาคราชทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน
  • 18. 18 ข้าพระพุทธเจ้าบาเพ็ญตบธรรมเพราะเหตุแห่งบุตร ทรัพย์ หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุก็หาไม่ แต่เพราะข้าพระพุทธเจ้าปรารถนากาเนิดมนุษย์ ฉะนั้น จึงได้บากบั่นมุ่งมั่นบาเพ็ญสมณธรรม. เมื่อพระมหาสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชา เมื่อจะทรงทาการชมเชย จึงตรัสพระคาถาความว่า ท่านมีดวงเนตรแดง มีรัศมีส่องแสงสว่าง ประดับตกแต่งแล้ว ปลงเกศาและมัสสุแล้ว ประพรมด้วยจุรณจันทน์แดง ฉายแสงไปทั่วทิศ ดังคนธรรพราชฉะนั้น ท่านเป็ นผู้ประกอบด้วยเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก เพรียบพร้อมไปด้วยสรรพกามารมณ์ ดูก่อนท่านนาคราช เราขอถามเนื้อความนี้กะท่าน มนุษยโลกประเสริฐกว่านาคพิภพด้วยเหตุไร. ลาดับนั้น พระยานาคราช เมื่อจะกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน เว้นมนุษยโลกเสียแล้ว ความบริสุทธิ์ หรือความสารวมย่อมไม่มีเลย ข้าพระพุทธเจ้าบาเพ็ญตบธรรม ด้วยตั้งใจว่า เราได้กาเนิดมนุษย์แล้วจักทาที่สุดแห่งชาติและมรณะได้. พระราชาทรงสดับคานั้นแล้ว ตรัสพระคาถาความว่า ชนเหล่าใดมีปัญญาเป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว ดูก่อนพระยานาคราช เราได้เห็นนางนาคกัญญาทั้งหลายของท่านและตัวท่านแล้ว จักทาบุญให้มาก. ลาดับนั้น พระยานาคราชกราบทูลพระราชาว่า ชนเหล่าใดมีปัญญาเป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก ชนเหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว ข้าแต่พระมหาราชา พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นนางนาคกัญญา และตัวข้าพระพุทธเจ้าแล้ว ขอจงบาเพ็ญบุญให้มากเถิด. ครั้นพระมหาสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอุคคเสนะทรงมีพระประสงค์จะเสด็จกลับไปยังมนุษยโลก จึงตรัสอาลาว่า ดูก่อนท่านนาคราช เรามาอยู่ก็เป็นเวลานาน จาจักต้องลากลับไปยังมนุษยโลก. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าจึงทูลท้าวเธอว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า ถ้าเช่นนั้นพระองค์โปรดเลือกถือเอาทรัพย์สมบัติไปตามพระประสงค์เถิด. เมื่อจะทรงแสดงทรัพย์สมบัติ จึงกราบทูลว่า กองเงินและกองทองของข้าพระพุทธเจ้านี้มากมายสูงประมาณเท่าต้น ตาล พระองค์จงตรัสสั่งให้พวกราชบุรุษขนไปจากนาคพิภพนี้ แล้วจงตรัสสั่งให้สร้างพระราชวังด้วยทองคา ให้สร้างกาแพงด้วยเงินเถิด. นี้กองแก้วมุกดาอันเจือปนด้วยแก้วไพฑูรย์ห้าพันเล่มเกวียน
  • 19. 19 พระองค์จงตรัสสั่งให้ราชบุรุษขนไปจากนาคพิภพนี้ แล้วให้ลาดลง ณ ภูมิภาคภายในพระราชฐาน ภูมิภาคภายในพระราชฐานก็จักสะอาดปราศจากเปลือกตมและละอองธุลี ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นราชาอันประเสริฐ ผู้ทรงพระปรีชาอันล้าเลิศ ขอพระองค์โปรดเสวยราชสมบัติ ครอบครองพระนครพาราณสีอันมั่งคั่งสมบูรณ์ สง่างามล้าเลิศ ดุจทิพยวิมานเห็นปานฉะนี้เถิด พระเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับถ้อยคาของพระมหาสัตว์แล้วก็ทรงรับไว้. พระมหาสัตว์จึงให้พนักงานเภรี เที่ยวตีกลองประกาศว่า ราชบุรุษทั้งปวงจงพากันขนเอาทรัพย์สมบัติ มีเงินทองเป็ นต้นไปตามปรารถนาเถิด แล้วเอาเกวียนหลายร้อยเล่มบรรทุกทรัพย์สมบัติ ส่งถวายพระราชา. พระราชาเสด็จออกจากนาคพิภพ กลับไปสู่พระนครพาราณสี ด้วยยศบริวารเป็ นอันมาก. เล่ากันว่า นับแต่นั้นมา พื้นชมพูทวีปจึงเกิดมีเงินมีทองขึ้น. พระบรมศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า โปราณบัณฑิตทั้งหลายละนาคสมบัติแล้ว อยู่รักษาอุโบสถศีล ด้วยอาการอย่างนี้. แล้วทรงประชุมชาดกว่า หมองูในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระเทวทัต ในบัดนี้ นางนาคกัญญาสุมนาเทวีได้มาเป็น พระมารดาพระราหุล พระเจ้าอุคคเสนราชได้มาเป็น พระสารีบุตร ส่วนจัมเปยยนาคราชได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล. จบอรรถกถาจัมเปยยชาดกที่ ๑๐ -----------------------------------------------------