SlideShare a Scribd company logo
1
สิรีมันตชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๔. สิรีมันตชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๐๐)
ว่าด้วยปัญหาความมีสิริกับมีปัญญา
(พระราชาตรัสในสิริมันตปัญหาว่า)
[๘๓] ท่านอาจารย์เสนกะ เราขอถามเนื้อความนี้กับท่าน ในคน ๒
ประเภทนี้ คือ คนที่มีปัญญาแต่ปราศจากสิริ หรือคนที่มียศแต่ปราศจากปัญญา
ผู้ฉลาดกล่าวคนไหนว่าประเสริฐ
(เสนกบัณฑิตกราบทูลอย่างฉับพลันว่า)
[๘๔] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน คนทั้งหลายเป็นนักปราชญ์ก็ตาม
เป็นคนโง่ก็ตาม มีศิลปะก็ตาม ไม่มีศิลปะก็ตาม แม้มีชาติสกุลสูง
ก็เป็นคนรับใช้ของคนมียศถึงจะมีชาติสกุลต่า ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้
จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นเป็ นคนประเสริฐ
(พระราชาตรัสถามมโหสธบัณฑิตซึ่งนั่งเป็ นคนใหม่ในหมู่บัณฑิตว่า)
[๘๕] เราขอถามท่านบ้าง พ่อมโหสธบัณฑิต ผู้มีปัญญาไม่ทราม
ผู้เห็นธรรมโดยสิ้นเชิง ในคน ๒ ประเภทนี้ คือ คนโง่แต่มียศ
หรือบัณฑิตแต่มีโภคทรัพย์น้อย ผู้ฉลาดกล่าวคนไหนว่าประเสริฐ
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๘๖] คนโง่ทาแต่กรรมชั่ว สาคัญอิสริยยศนี้เท่านั้นว่าประเสริฐ
คนโง่เห็นแต่โลกนี้ ไม่เห็นโลกหน้า จึงยึดถือเอาแต่โทษในโลกทั้ง ๒
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ
คนโง่ที่มียศหาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลคัดค้านแล้วว่า)
[๘๗] ศิลปะนี้ก็ดี เผ่าพันธุ์ก็ดี ส่วนแห่งร่างกายก็ดี หาจัดแจงโภคะได้ไม่
โปรดทอดพระเนตรโควินทะผู้ใบ้เพราะน้าลาย
ซึ่งไดัรับความสุขเพราะคนมีสิริย่อมคบหาเขา
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว
คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า)
[๘๘] คนมีปัญญาน้อยได้รับความสุขย่อมมัวเมา
แม้ถูกความทุกข์กระทบย่อมหลง ถูกความสุขและความทุกข์จรมากระทบเข้า
ย่อมหวั่นไหวเหมือนปลาในฤดูร้อน ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า)
2
[๘๙] ต้นไม้ในป่าที่มีผลดก ฝูงนกย่อมบินโฉบไปมาอยู่รอบต้นฉันใด
คนผู้มั่งคั่งมีทรัพย์ มีโภคะก็ฉันนั้น
คนเป็นจานวนมากย่อมคบหาเพราะเหตุแห่งประโยชน์
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว
คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า)
[๙๐] คนโง่ถึงจะมีกาลังก็หายังประโยชน์ให้สาเร็จได้ไม่
นายนิรยบาลทั้งหลายย่อมฉุดคร่าคนมีปัญญาทราม
ผู้คร่าครวญถึงทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยกรรมอันโหดร้าย
ไปสู่นรกที่มีเวทนาอันแรงกล้า ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๑] แม่น้าบางสายย่อมไหลลงสู่แม่น้าคงคา
แม่น้าเหล่านั้นทุกสายย่อมละทิ้งชื่อและโคตร(ของตน)
แม่น้าคงคาเมื่อไหลลงสู่ท้องทะเลก็ไม่ปรากฏชื่อฉันใด
แม้คนมีปัญญาในโลกก็ฉันนั้น ย่อมไม่ปรากฏความสาเร็จ
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว
คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๒] ทะเลใหญ่หลวงที่ท่านอาจารย์กล่าวถึง
ซึ่งแม่น้าน้อยใหญ่หลั่งไหลไป นับไม่ถ้วนอยู่ตลอดกาลทั้งปวง
มีกาลังโอฬารอยู่เป็นนิตย์ มหาสมุทรย่อมไม่ล่วงเลยฝั่งไปได้ฉันใด
[๙๓] แม้ถ้อยคาของคนโง่ก็ฉันนั้น ในกาลบางครั้งบางคราว
ถึงคนมีสิริก็ไม่ล่วงเลยคนมีปัญญาไปได้ ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๔] ถึงแม้คนผู้ไม่สารวมแต่มียศ ดารงอยู่ในฐานะผู้วินิจฉัย
ย่อมกล่าวเนื้อความแก่คนเหล่าอื่น
ถ้อยคาของเขานั้นนั่นแลย่อมงอกงามในท่ามกลางแห่งหมู่ญาติ
เพราะคนมีสิริยังคนเหล่าอื่นให้ทาตามถ้อยคาของตนนั้นได้
คนมีปัญญาหาทาได้ไม่ ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๕] เพราะเหตุแห่งคนอื่นบ้าง หรือเพราะเหตุแห่งตนบ้าง
คนโง่มีปัญญาน้อยย่อมพูดเท็จได้ เขาย่อมถูกนินทาในท่ามกลางสภา
3
แม้ในภายหลังเขาย่อมไปสู่ทุคติ ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๖] คนมีปัญญาดังแผ่นดินแต่ไม่มีที่อยู่อาศัย มีทรัพย์น้อย ยากจน
แม้หากจะกล่าวข้อความ ถ้อยคาของเขานั้นหางอกงามในท่ามกลางหมู่ญาติไม่
ธรรมดาสิริไม่มีแก่คนมีปัญญา ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๗] เพราะเหตุแห่งคนอื่นบ้าง เพราะเหตุแห่งตนบ้าง
คนมีปัญญาดังแผ่นดินจะไม่พูดเหลาะแหละ เขามีคนบูชาแล้วในท่ามกลางสภา
แม้ในภายหลังเขาก็ไปสู่สุคติ ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๘] ช้าง โค ม้า ต่างหูแก้วมณี และหญิงทั้งหลายเกิดในสกุลที่มั่งคั่ง
ทั้งหมดเหล่านั้นล้วนเป็นเครื่องอุปโภคของคนมั่งคั่ง
คนผู้ไม่มั่งคั่งก็เป็นเครื่องอุปโภคของคนมั่งคั่ง ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้
จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตยกเหตุผลอย่างอื่นมาว่า)
[๙๙] สิริย่อมละคนโง่ผู้ไม่จัดแจงการงาน มีความคิดเลวทราม
มีปัญญาทรามไปเหมือนงูลอกคราบเก่าทิ้ง ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(ต่อมาเสนกบัณฑิตคิดจะทาลายวาทะของมโหสธบัณฑิต จึงกล่าวว่า)
[๑๐๐] ขอจงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์ทั้ง ๕ คนนี่แหละเป็นบัณฑิต
ทั้งหมดล้วนต้องประคองอัญชลีบารุงพระองค์
พระองค์ทรงเป็นอิสระครอบงาข้าพระองค์ทั้งหลาย
ดุจท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งภูต ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตเมื่อจะทาลายวาทะของเสนกบัณฑิต
จึงกราบทูลพระราชาว่า)
[๑๐๑] คนโง่มียศ เมื่อมีเหตุต่างๆ เกิดขึ้น ก็เป็นทาสคนมีปัญญา
บัณฑิตย่อมจัดการเหตุที่ละเอียดได้ คนโง่ย่อมถึงความงวยงงในเหตุนั้น
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ
คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตสรรเสริญปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปว่า)
4
[๑๐๒] แท้จริง ปัญญาเท่านั้นสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ
สิริเป็นที่ต้องการของคนโง่ผู้ยินดีในโภคะ ส่วนญาณของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้
คนมีสิริล่วงเลยคนมีปัญญาไปไม่ได้ไม่ว่าในกาลไหนๆ
(พระราชาสดับดังนั้นทรงยินดีต่อการแก้ปัญหาของพระโพธิสัตว์มโหสธ
จึงตรัสว่า)
[๑๐๓] พ่อมโหสธบัณฑิตผู้เห็นธรรมโดยสิ้นเชิง
เราได้ถามปัญหาใดกับเจ้า เจ้าก็ได้แก้ปัญหานั้นแก่เรา เราพอใจการแก้ปัญหา
จึงให้โคแก่เจ้า ๑,๐๐๐ ตัว โคอุสภะและช้าง รถเทียมม้าอาชาไนยเหล่านี้ ๑๐ คัน
และบ้านส่วย ๑๖ ตาบล
สิรีมันตชาดกที่ ๔ จบ
---------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
ศิริมันทชาดก
ว่าด้วย ปัญญาประเสริฐ
สิริเมณฑกปัญหานี้ จักมีแจ้งใน มหาอุมมังคชาดก.
จบอรรถกถาสิริเมณฑกชาดกที่ ๔
(มหาอุมมังคชาดก - สิริเมณฑกปัญหา)
ฝ่ายพระราชเทวีอุทุมพรทรงทราบความที่บัณฑิตทั้ง ๔ รู้ปัญหาอาศัยมโหสถ
จึงทรงดาริว่า พระราชาพระราชทานรางวัลแก่บัณฑิตทั้ง ๕
เป็นเหมือนคนทาถั่วเขียวกับถั่วราชมาษให้ไม่แปลกกัน. จึงเสด็จไปเฝ้ าพระราชา.
ทูลถามว่า ใครทูลแก้ปัญหาถวาย. พระราชาตรัสตอบว่า บัณฑิตทั้ง ๕.
พระราชเทวีทูลว่า บัณฑิตทั้ง ๕ รู้ปัญหาของพระองค์อาศัยใคร.
พระราชาตรัสตอบว่า เราไม่รู้. พระนางอุทุมพรจึงกราบทูลว่า บัณฑิตทั้ง ๔
คนเหล่านี้จะรู้อะไร. มโหสถให้เรียนปัญหาด้วยเห็นว่า คนเขลาเหล่านี้
อย่าได้ฉิบหายเสียเลย. ก็พระองค์พระราชทานรางวัลแก่บัณฑิตทั้งปวง
เสมอกันนั่นไม่สมควรเลย. ควรจะพระราชทานแก่มโหสถให้เป็นพิเศษ.
พระราชาทรงเห็นว่า มโหสถนี้ไม่บอกความที่บัณฑิตทั้ง ๔ รู้ปัญหาอาศัยตน
ก็ทรงโสมนัส. มีพระประสงค์จะทรงทาสักการะให้ยิ่งกว่า. จึงทรงคิดว่า ยกไว้เถิด.
เราจักถามปัญหาอันหนึ่งกะบุตรของเรา และทาสักการะใหญ่. ในกาลเมื่อ
บุตรของเรากล่าวแก้ เมื่อพระราชาทรงคิดปัญหาอันหนึ่ง
จึงทรงคิดสิริเมณฑกปัญหา (ปัญหาว่า ปัญญากับทรัพย์อะไรจะประเสริฐกว่ากัน).
5
วันหนึ่ง เวลาบัณฑิตทั้ง ๕ มาเฝ้ านั่งสบายแล้ว. ตรัสกะเสนกะว่า
ท่านอาจารย์เสนกะ เราจักถามปัญหา. เสนกะกราบทูลรับว่า ตรัสถามเถิด
พระเจ้าข้า.
พระราชาจึงตรัสคาถาที่หนึ่งใน สิริเมณฑกปัญหา ว่า
แน่ะอาจารย์เสนกะ เราถามเนื้อความนี้กะท่าน บรรดาคน ๒ พวก
คือคนสมบูรณ์ด้วยปัญญาแต่เสื่อมจากสิริ และคนมียศแต่ไร้ปัญญา.
นักปราชญ์ยกย่องใครว่าประเสริฐ.
ได้ยินว่า ปัญหานี้สืบเนื่องมาจากวงศ์ของเสนกะ. ฉะนั้น
เสนกะจึงได้กราบทูลเฉลยปัญหานั้นได้ทันทีว่า
ข้าแต่พระจอมประชาราษฏร์ คนฉลาดและคนเขลา
คนบริบูรณ์ด้วยศิลปะและหาศิลปะมิได้.
แม้มีชาติสูงก็ย่อมเป็นผู้รับใช้ของคนหาชาติมิได้ แต่มียศ.
ข้าพระองค์เห็นความดังนี้จึงขอทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม
คนมีสิริแลเป็ นคนประเสริฐ.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคาของเสนกะนั้นแล้ว
ไม่ตรัสถามอาจารย์ อีก ๓ คน. เมื่อจะตรัสถามมโหสถบัณฑิต
ผู้ยังใหม่ในหมู่ซึ่งนั่งอยู่ จึงตรัสว่า
ดูก่อนมโหสถผู้มีปัญญาไม่ทราม ผู้เห็นธรรมสิ้นเชิง เราถามเจ้า ในคน
๒ พวกนี้. นักปราชญ์ยกย่องใคร คนพาลผู้มียศ หรือบัณฑิตผู้ไม่มีโภคะ
คนไหนว่าประเสริฐ.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลเตือนพระราชาว่า โปรดทรงฟังเถิด
พระมหาราชเจ้า. แล้วทูลว่า
คนพาลทากรรมเป็นบาปก็สาคัญว่า อิสริยะของเราในโลกนี้ประเสริฐ
คนพาลเห็นโลกนี้เป็ นปกติ ไม่เห็นโลกหน้าเป็นปกติ
ก็ได้รับเคราะห์ร้ายในโลกทั้ง ๒. ข้าพระองค์เห็นความเหล่านี้ จึงขอกราบทูลว่า
คนมีปัญญาประเสริฐแท้ คนเขลามียศจะประเสริฐอะไร.
เมื่อพระโพธิสัตว์ทูลดังนี้ พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรดูเสนกะ.
ตรัสว่า มโหสถสรรเสริญ คนมีปัญญาว่าเป็นผู้สูงสุดมิใช่หรือ. เสนกะทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถยังเด็ก แม้จนวันนี้
ปากของเธอก็ยังไม่สิ้นกลิ่นน้านมมิใช่หรือ เธอจะรู้อะไร. ทูลฉะนี้แล้ว
จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ศิลปะนี้ หรือเผ่าพันธุ์ หรือร่างกาย ย่อมหาได้จัดแจงโภคสมบัติให้ไม่.
มหาชนย่อมคบหาโครวินทเศรษฐี ผู้มีเขฬะไหลจากคางทั้งสองข้าง ผู้ถึงความสุข
6
ผู้มีสิริต่าช้า. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม
คนมีสิริเป็นคนประเสริฐแท้.
ได้ยินว่า โครวินทะนั้นเป็นเศรษฐีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในพระนครนั้นแล
มีรูปร่างแปลก ไม่มีบุตร ไม่มีธิดา ไม่รู้ศิลปะอะไรๆ. เมื่อเขาพูด น้าลายไหล ๒
ข้างลูกคาง. มีสตรีสองคนดั่งเทพอัปสร ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง
ถือดอกอุบลเขียวที่บานดีแล้ว ยืนอยู่สองข้างคอยรองรับน้าลายด้วยดอกอุบลเขียว
แล้วทิ้งดอกอุบลทางหน้าต่าง. ฝ่ายพวกนักเลงสุรา เมื่อจะเข้าร้านเครื่องดื่ม
มีความต้องการดอกอุบลเขียว ก็พากันไปประตูเรือนของเศรษฐีนั้น. แล้วกล่าวว่า
ข้าแต่นายโครวินทเศรษฐี. ท่านเศรษฐีได้ยินเสียงนักเลงเหล่านั้น
ยืนที่หน้าต่างกล่าวว่า อะไรพ่อ. ขณะนั้น น้าลายก็ไหลจากปากของท่าน.
หญิงสองคนนั้นก็เอาดอกอุบลเขียวรองรับน้าลาย แล้วโยนทิ้งไปในระหว่างถนน.
พวกนักเลงก็เก็บดอกอุบลเหล่านั้นเอาไปล้างน้า แล้วประดับตัวเข้าร้านเครื่องดื่ม.
เศรษฐีนั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสิริอย่างนี้. เสนกะ เมื่อแสดงเศรษฐีนั้นเป็นตัวอย่าง
จึงกล่าวอย่างนี้.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วตรัสว่า พ่อมโหสถบัณฑิต
เจ้าจะกล่าวแก้อย่างไร. มโหสถบัณฑิตกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ
เสนกะจะรู้อะไร. เห็นแต่ยศเท่านั้น ไม่เห็นไม้ค้อนใหญ่ซึ่งจะตกบนศีรษะ.
เปรียบเหมือนกาอยู่ในที่เทข้าวสุก และเปรียบเหมือนสุนัขปรารภจะดื่มนมส้ม.
โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. ทูลฉะนี้แล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า
คนมีปัญญาน้อยได้ความสุขแล้วย่อมประมาท
อันความทุกข์ถูกต้องแล้วย่อมถึงความหลง. อันสุขหรือทุกข์ที่จรมาถูกต้องแล้ว
ย่อมหวั่นไหว. เหมือนปลาดิ้นรนในที่ร้อน. ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้
จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาแลประเสริฐ คนเขลามียศย่อมไม่ประเสริฐ.
พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสถามเสนกะว่า
ท่านอาจารย์จะแก้อย่างไร. เสนกะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
มโหสถนี้จะรู้อะไร. มนุษย์ทั้งหลายจงยกไว้ก่อน.
วิหกทั้งหลายย่อมคบหาแต่ต้นไม้ที่เกิดในป่า ซึ่งสมบูรณ์ด้วยผลเท่านั้น.
ทูลฉะนี้แล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า
ฝูงนกบินเร่ร่อนมาโดยรอบ สู่ต้นไม้ในป่าอันมีผลดี ฉันใด.
ชนเป็นอันมากย่อมคบหาสมาคมบุคคลผู้มั่งคั่งมีโภคทรัพย์
เพราะความต้องการด้วยทรัพย์ ฉันนั้น. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนต่าช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสกะมโหสถว่า พ่อจะแก้อย่างไร.
7
มโหสถบัณฑิตจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เสนกะท้องโตคนนี้จะรู้อะไร
โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. ทูลฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า
คนเขลามีกาลังแต่หายังประโยชน์ให้สาเร็จไม่
ได้ทรัพย์มาด้วยทากิจร้ายแรง. นายนิรยบาลคร่าคนเขลานั้นผู้ไม่ฉลาด
ผู้ร้องไห้อยู่ ไปสู่นรกอันทุกข์ยิ่ง. ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาแลประเสริฐ คนเขลามียศย่อมไม่ประเสริฐ.
ความว่า คนเขลาทาการงานที่มีความร้ายแรงด้วยความร้ายแรง
เบียดเบียนประชาชนจึงได้ทรัพย์. เมื่อเป็นเช่นนั้น
นายนิรยบาลทั้งหลายจึงคร่าคนเขลานั้นผู้ไม่ฉลาด ร้องไห้อยู่นั่นแล.
ไปสู่นรกอันมีเวทนามีกาลัง.
เมื่อพระราชาตรัสถามอีกว่า ท่านอาจารย์เสนกะ ท่านจะแก้อย่างไร.
เสนกะจึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โปรดฟังเถิด
แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
แม่น้าน้อยใหญ่อันใดอันหนึ่ง ย่อมไหลไปสู่แม่น้าคงคา.
แม่น้าเหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อมละชื่อและถิ่นเสีย. แม่น้าคงคาไหลไปสู่สมุทร
ย่อมไม่ปรากฏชื่อ คงได้แต่ชื่อว่ามหาสมุทรเท่านั้น ฉันใด. สัตวโลกมีฤทธิ์ยิ่ง
ย่อมไม่ปรากฏเหมือนแม่น้าคงคาเข้าไปสู่มหาสมุทร ฉันนั้น.
ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นผู้ต่าช้า
คนมีสิริเป็นผู้ประเสริฐ.
ความว่า แม่น้าคงคานั้น เมื่อไหลไปสู่สมุทร ก็ไม่ปรากฏ
(ว่าแม่น้าคงคา) ย่อมได้ชื่อว่ามหาสมุทรทีเดียว. แม้คนมีปัญญามาก
ถึงคนอิสระแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ คือไม่มีใครรู้จัก
ได้เป็นราวกะว่าแม่น้าคงคาไหลเข้าสู่สมุทร.
พระราชาตรัสอีกว่า พ่อบัณฑิต เจ้าจะแก้อย่างไร.
มโหสถบัณฑิตกราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าพระเจ้าจะกล่าวแก้ปัญหาที่ท่านอาจารย์กล่าว
แม่น้าน้อยใหญ่ทั้งหลาย ย่อมหลั่งไหลไปสู่ทะเลใหญ่. ทะเลนั้นมีกาลังยิ่งเป็นนิตย์
ทะเลใหญ่นั้นแม้มีคลื่นกระทบฝั่ง ก็ไม่ล่วงฝั่งไป ฉันใด.
กิจการที่คนเขลาประสงค์ไม่ล่วงคนฉลาดไปได้.
คนมีสิริย่อมไม่ล่วงคนมีปัญญาไปได้ ฉันนั้น. ในกาลไหนๆ
ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงทูลว่า คนมีปัญญาแลเป็นคนประเสริฐ
คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.
ความว่า ทะเลนั้นแม้มีกาลังยิ่งยกคลื่นขึ้นเป็ นพันๆ
8
ก็ไม่อาจล่วงฝั่งไปได้. คลื่นทั้งหมดถึงฝั่งแล้วย่อมแตกไปแน่แท้. ธรรมดา
คนมีสิริย่อมไม่ล่วงคนมีปัญญาไปได้. อธิบายว่า
ไม่มีใครเลยที่เกิดความสงสัยในอัตถะและอนัตถะขึ้นแล้ว
ผ่านเลยคนมีปัญญาไปแทบเท้าของคนเขลาผู้เป็นอิสระ
แต่ย่อมได้การวินิจฉัยแทบเท้าของคนมีปัญญาเท่านั้น.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสถามเสนกะว่า จะแก้อย่างไร.
เสนกะกราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
หากว่าคนมียศผู้ไม่มีศีลอยู่ในที่วินิจฉัย กล่าวข้อความแก่ชนเหล่าอื่น.
คาของผู้นั้นย่อมเจริญงอกงาม ในท่ามกลางบริษัท. คนมีปัญญายังคนมีสิริต่าช้า
ให้ทาตามถ้อยคาของตน หาได้ไม่. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนต่าช้า คนมีสิริเป็ นคนประเสริฐแท้.
ความว่า ก็แม้ถ้าคนมียศเป็นคนไม่สารวมกายเป็นต้น คือเป็นคนทุศีล.
คนมียศดารงอยู่ในที่วินิจฉัย กล่าวข้อความแก่คนเหล่าอื่น.
เมื่อเขาซึ่งแวดล้อมไปด้วยบริวารใหญ่ กล่าวมุสาทาให้เป็นเจ้าของบ้าง
ให้ไม่เป็นเจ้าของบ้าง. คาของเขานั่นแลย่อมงอกงาม
คนมีปัญญาย่อมยังคนมีสิริต่าช้า ให้ทาตามถ้อยคาไม่ได้. เพราะเหตุนั้น
คนมีปัญญาจึงเป็ นคนต่าช้า คนมีสิริจึงเป็ นคนประเสริฐแท้.
เมื่อพระราชาตรัสถามมโหสถอีกว่า พ่อจะแก้อย่างไร.
มโหสถบัณฑิตจึงกราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. เสนกะคนเขลาจะรู้อะไร
ดูอยู่แค่โลกนี้เท่านั้น ไม่ดูไปถึงปรโลก. แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
คนเขลามีปัญญาน้อยกล่าวมุสาแก่คนอื่นบ้าง แม้แก่ตนบ้าง.
คนเขลานั้นถูกติเตียน ในท่ามกลางที่ประชุม. ภายหลังเขาจะไปทุคติ.
ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ
คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.
ลาดับนั้น เสนกะกล่าวคาถานี้ว่า
ถ้าคนมีปัญญาดุจแผ่นดิน ไม่มีที่อยู่ มีทรัพย์น้อย เป็นคนเข็ญใจ
กล่าวข้อความ. คาของเขานั้นย่อมไม่งอกงามในท่ามกลางญาติ
และสิริย่อมไม่มีแก่คนมีปัญญา. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนต่าช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ.
อาจารย์เสนกะแสดงความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ธรรมดาสิริแม้จะมีอยู่ตามปกติ ถึงความเป็นยอดความงามแห่งสิริ
ก็ไม่มีแก่ผู้มีปัญญานั่นแล
ด้วยว่าผู้มีปัญญานั้นย่อมไม่ปรากฏในสานักของผู้มีสิรินั้น
9
ประดุจหิงห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น.
เมื่อพระราชาตรัสถามมโหสถอีกว่า พ่อจะแก้อย่างไร.
มโหสถบัณฑิตจึงกราบทูลว่า เสนกะจะรู้อะไร ดูอยู่แค่โลกนี้เท่านั้น
ไม่ดูไปถึงปรโลก. แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
คนมีปัญญาดุจแผ่นดิน ไม่กล่าวคาเหลาะแหละ
เพื่อเหตุของผู้อื่นหรือแม้ของตน. คนผู้นั้นอันมหาชนบูชาแล้ว
ในท่ามกลางที่ประชุม ภายหลังเขาจะไปสุคติ. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้
จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็ นคนประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.
ลาดับนั้น เสนกะกล่าวคาถานี้ว่า
ช้าง โค ม้า กุณฑลแก้วมณี และนารีทั้งหลายเกิดในสกุลมั่งคั่ง
ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นอุปโภคของบุรุษผู้มีอิสระ.
สัตว์ผู้ไม่มีอิสระก็เป็นอุปโภคของผู้มีอิสระ. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้
จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนต่าช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็ นคนประเสริฐ.
ลาดับนั้น มโหสถบัณฑิตกล่าวว่า เสนกะจะรู้อะไร.
เมื่อจะชักเหตุอันหนึ่งมาแสดง จึงกล่าวคาถานี้ว่า
สิริย่อมละเสียซึ่งคนเขลาผู้ไม่จัดการงาน
ผู้มีความคิดอย่างคนไม่มีความคิด. ผู้มีปัญญาทรามเหมือนงูละคราบเก่าเสีย
ฉะนั้น. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.
ลาดับนั้น ครั้นพระราชาตรัสถามเสนกะว่าจะแก้อย่างไร.
เสนกะกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มโหสถนี้ยังเป็นเด็กรุ่น จะรู้อะไร.
โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. ทูลฉะนี้แล้วคิดว่า เราจักทามโหสถให้หมดปฏิภาณ
จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ขอจงทรงพระเจริญ พวกข้าพระองค์เป็นบัณฑิต ๕ คนทั้งหมด
เคารพบารุงพระองค์. พระองค์เป็ นอิสระครอบงาข้าพระองค์ทั้งหลาย
ดุจท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งภูตทั้งหลาย. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้
จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนต่าช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็ นคนประเสริฐ.
ได้ยินว่า พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับคาของเสนกะนี้ แล้วทรงดาริว่า
เหตุการณ์ที่เสนกะชักมาดีอยู่ บุตรของเราจักสามารถนา
เหตุการณ์อื่นมาทาลายวาทะของเสนกะนี้ได้ หรือหนอ. จึงตรัสว่า พ่อบัณฑิต
เจ้าจะแก้อย่างไร. ได้ยินว่า เมื่อเสนกะชักเหตุการณ์นี้มา
คนอื่นเว้นพระโพธิสัตว์เสีย ที่ชื่อว่า สามารถทาลายวาทะนั้นไม่มี. เพราะฉะนั้น
พระมหาสัตว์ เมื่อจะทาลายวาทะแห่งเสนกะนั้น ด้วยกาลังญาณของตน.
10
จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เสนกะนี้เป็นคนเขลา จะรู้อะไร.
แลดูอยู่เฉพาะยศเท่านั้น ไม่ทราบความวิเศษแห่งปัญญา. โปรดฟังเถิด
พระเจ้าข้า. กราบทูลฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า
คนเขลามียศเป็นดุจทาสของคนฉลาด ในเมื่อกิจต่างๆ เกิดมี.
คนฉลาดย่อมจัดกิจอันละเอียดใด คนเขลาย่อมถึงความหลงพร้อมในกิจนั้น.
ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ
คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.
พระมหาสัตว์แสดงเหตุการณ์แห่งนัยปัญญาด้วยประการฉะนี้
ราวกะผู้วิเศษคุ้ยทรายทองขึ้นแต่เชิงเขาสิเนรุ
และราวกะผู้มีฤทธิ์ยังดวงจันทร์เต็มดวงให้ตั้งขึ้นในท้องฟ้ า ฉะนั้น.
เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวแสดงอานุภาพแห่งปัญญาอยู่นั่นแล.
พระราชาตรัสกะเสนกะว่า เสนกะ ท่านจะแก้อย่างไร ท่านอาจกล่าวให้ยิ่งขึ้นหรือ.
เสนกะนั้นยังวิทยาคมที่เรียนมาให้สิ้นไป เป็นผู้หมดปฏิภาณ.
เป็นผู้เก้อนั่งซบเซาอยู่ เหมือนข้าวเปลือกที่เขาเก็บไว้ในฉาง.
ก็ถ้าเสนกะนั้นพึงนาเหตุการณ์อื่นมาไซร้. มโหสถจะพึงเฉลยอันจัดเป็ นชาดกนี้
ให้จบลงด้วยคาถาพันหนึ่ง. พระมหาสัตว์ เมื่อจะพรรณนาปัญญานั่นแลให้ยิ่งขึ้น
เหมือนนาห้วงน้าลึกมา. ในกาลที่เสนกะนั้นหมดปฏิภาณนิ่งอยู่. จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ปัญญาเป็นที่สรรเสริญแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย
สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญปัญญาว่าประเสริฐแท้จริง.
สิริเป็ นที่ใคร่ของพวกคนเขลา พวกคนเขลาใคร่ซึ่งสิริ ยินดีในโภคสมบัติ.
ก็ความรู้ของเหล่าท่านผู้รู้ อันใครๆ ซึ่งเปรียบด้วยอะไรไม่ได้.
คนมีสิริย่อมไม่ล่วงเลยคนมีปัญญาในกาลไหนๆ. ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้
จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็ นคนประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคานั้น
ก็ทรงโสมนัสด้วยปัญหาพยากรณ์แห่งพระมหาสัตว์.
เมื่อจะทรงบูชาพระมหาสัตว์ด้วยทรัพย์ ราวกะผู้วิเศษยังฝนลูกเห็บให้ตก
จึงตรัสคาถาว่า
ดูก่อนมโหสถผู้เห็นธรรมทั้งปวง เราได้ถามปัญหานั้นใดกะเจ้า.
เจ้าได้ประกาศเผยแผ่ปัญหานั้นแก่เรา เรายินดีด้วยการแก้ปัญหาของเจ้า.
เราให้โคพันหนึ่ง ทั้งโคอุสุภราช ช้าง รถเทียมม้าอาชาไนย ๑๐ คัน และบ้านส่วย
๑๖ ตาบลแก่เจ้า.
จบ สิริเมณฑกปัญหา ในวีสตินิบาต

More Related Content

Similar to 500 สิรีมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
maruay songtanin
 
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
maruay songtanin
 
๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf
๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf
๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf
maruay songtanin
 
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
maruay songtanin
 
362 สีลวีมังสชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
362 สีลวีมังสชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...362 สีลวีมังสชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
362 สีลวีมังสชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
maruay songtanin
 
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
maruay songtanin
 
๑๖ ปิงคิยปัญหา.pdf
๑๖ ปิงคิยปัญหา.pdf๑๖ ปิงคิยปัญหา.pdf
๑๖ ปิงคิยปัญหา.pdf
maruay songtanin
 
๐๗ นันทปัญหา.pdf
๐๗ นันทปัญหา.pdf๐๗ นันทปัญหา.pdf
๐๗ นันทปัญหา.pdf
maruay songtanin
 
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๑๔ โปสาลปัญหา.pdf
๑๔ โปสาลปัญหา.pdf๑๔ โปสาลปัญหา.pdf
๑๔ โปสาลปัญหา.pdf
maruay songtanin
 
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
maruay songtanin
 
447 มหาธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
447 มหาธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...447 มหาธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
447 มหาธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
maruay songtanin
 
5 มรรควิธีที่ง่าย easypractice
5 มรรควิธีที่ง่าย easypractice5 มรรควิธีที่ง่าย easypractice
5 มรรควิธีที่ง่าย easypracticeTongsamut vorasan
 
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

Similar to 500 สิรีมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
483 สรภมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
401 ทสัณณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
041 โลสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
 
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
๐๓ ปุณณกปัญหา.pdf
 
๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf
๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf
๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf
 
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
 
362 สีลวีมังสชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
362 สีลวีมังสชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...362 สีลวีมังสชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
362 สีลวีมังสชาดกพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
 
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
 
๑๖ ปิงคิยปัญหา.pdf
๑๖ ปิงคิยปัญหา.pdf๑๖ ปิงคิยปัญหา.pdf
๑๖ ปิงคิยปัญหา.pdf
 
๐๗ นันทปัญหา.pdf
๐๗ นันทปัญหา.pdf๐๗ นันทปัญหา.pdf
๐๗ นันทปัญหา.pdf
 
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
269 สุชาตาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๑๔ โปสาลปัญหา.pdf
๑๔ โปสาลปัญหา.pdf๑๔ โปสาลปัญหา.pdf
๑๔ โปสาลปัญหา.pdf
 
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
 
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
 
447 มหาธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
447 มหาธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...447 มหาธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
447 มหาธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
 
5 มรรควิธีที่ง่าย easypractice
5 มรรควิธีที่ง่าย easypractice5 มรรควิธีที่ง่าย easypractice
5 มรรควิธีที่ง่าย easypractice
 
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
287 ลาภครหชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

More from maruay songtanin

ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

500 สิรีมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 สิรีมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๔. สิรีมันตชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๐๐) ว่าด้วยปัญหาความมีสิริกับมีปัญญา (พระราชาตรัสในสิริมันตปัญหาว่า) [๘๓] ท่านอาจารย์เสนกะ เราขอถามเนื้อความนี้กับท่าน ในคน ๒ ประเภทนี้ คือ คนที่มีปัญญาแต่ปราศจากสิริ หรือคนที่มียศแต่ปราศจากปัญญา ผู้ฉลาดกล่าวคนไหนว่าประเสริฐ (เสนกบัณฑิตกราบทูลอย่างฉับพลันว่า) [๘๔] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน คนทั้งหลายเป็นนักปราชญ์ก็ตาม เป็นคนโง่ก็ตาม มีศิลปะก็ตาม ไม่มีศิลปะก็ตาม แม้มีชาติสกุลสูง ก็เป็นคนรับใช้ของคนมียศถึงจะมีชาติสกุลต่า ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นเป็ นคนประเสริฐ (พระราชาตรัสถามมโหสธบัณฑิตซึ่งนั่งเป็ นคนใหม่ในหมู่บัณฑิตว่า) [๘๕] เราขอถามท่านบ้าง พ่อมโหสธบัณฑิต ผู้มีปัญญาไม่ทราม ผู้เห็นธรรมโดยสิ้นเชิง ในคน ๒ ประเภทนี้ คือ คนโง่แต่มียศ หรือบัณฑิตแต่มีโภคทรัพย์น้อย ผู้ฉลาดกล่าวคนไหนว่าประเสริฐ (พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า) [๘๖] คนโง่ทาแต่กรรมชั่ว สาคัญอิสริยยศนี้เท่านั้นว่าประเสริฐ คนโง่เห็นแต่โลกนี้ ไม่เห็นโลกหน้า จึงยึดถือเอาแต่โทษในโลกทั้ง ๒ ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ที่มียศหาประเสริฐไม่ (เสนกบัณฑิตกราบทูลคัดค้านแล้วว่า) [๘๗] ศิลปะนี้ก็ดี เผ่าพันธุ์ก็ดี ส่วนแห่งร่างกายก็ดี หาจัดแจงโภคะได้ไม่ โปรดทอดพระเนตรโควินทะผู้ใบ้เพราะน้าลาย ซึ่งไดัรับความสุขเพราะคนมีสิริย่อมคบหาเขา ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ (มโหสธบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า) [๘๘] คนมีปัญญาน้อยได้รับความสุขย่อมมัวเมา แม้ถูกความทุกข์กระทบย่อมหลง ถูกความสุขและความทุกข์จรมากระทบเข้า ย่อมหวั่นไหวเหมือนปลาในฤดูร้อน ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่ (เสนกบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า)
  • 2. 2 [๘๙] ต้นไม้ในป่าที่มีผลดก ฝูงนกย่อมบินโฉบไปมาอยู่รอบต้นฉันใด คนผู้มั่งคั่งมีทรัพย์ มีโภคะก็ฉันนั้น คนเป็นจานวนมากย่อมคบหาเพราะเหตุแห่งประโยชน์ ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ (มโหสธบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า) [๙๐] คนโง่ถึงจะมีกาลังก็หายังประโยชน์ให้สาเร็จได้ไม่ นายนิรยบาลทั้งหลายย่อมฉุดคร่าคนมีปัญญาทราม ผู้คร่าครวญถึงทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยกรรมอันโหดร้าย ไปสู่นรกที่มีเวทนาอันแรงกล้า ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่ (เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า) [๙๑] แม่น้าบางสายย่อมไหลลงสู่แม่น้าคงคา แม่น้าเหล่านั้นทุกสายย่อมละทิ้งชื่อและโคตร(ของตน) แม่น้าคงคาเมื่อไหลลงสู่ท้องทะเลก็ไม่ปรากฏชื่อฉันใด แม้คนมีปัญญาในโลกก็ฉันนั้น ย่อมไม่ปรากฏความสาเร็จ ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ (มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า) [๙๒] ทะเลใหญ่หลวงที่ท่านอาจารย์กล่าวถึง ซึ่งแม่น้าน้อยใหญ่หลั่งไหลไป นับไม่ถ้วนอยู่ตลอดกาลทั้งปวง มีกาลังโอฬารอยู่เป็นนิตย์ มหาสมุทรย่อมไม่ล่วงเลยฝั่งไปได้ฉันใด [๙๓] แม้ถ้อยคาของคนโง่ก็ฉันนั้น ในกาลบางครั้งบางคราว ถึงคนมีสิริก็ไม่ล่วงเลยคนมีปัญญาไปได้ ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่ (เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า) [๙๔] ถึงแม้คนผู้ไม่สารวมแต่มียศ ดารงอยู่ในฐานะผู้วินิจฉัย ย่อมกล่าวเนื้อความแก่คนเหล่าอื่น ถ้อยคาของเขานั้นนั่นแลย่อมงอกงามในท่ามกลางแห่งหมู่ญาติ เพราะคนมีสิริยังคนเหล่าอื่นให้ทาตามถ้อยคาของตนนั้นได้ คนมีปัญญาหาทาได้ไม่ ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ (มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า) [๙๕] เพราะเหตุแห่งคนอื่นบ้าง หรือเพราะเหตุแห่งตนบ้าง คนโง่มีปัญญาน้อยย่อมพูดเท็จได้ เขาย่อมถูกนินทาในท่ามกลางสภา
  • 3. 3 แม้ในภายหลังเขาย่อมไปสู่ทุคติ ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่ (เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า) [๙๖] คนมีปัญญาดังแผ่นดินแต่ไม่มีที่อยู่อาศัย มีทรัพย์น้อย ยากจน แม้หากจะกล่าวข้อความ ถ้อยคาของเขานั้นหางอกงามในท่ามกลางหมู่ญาติไม่ ธรรมดาสิริไม่มีแก่คนมีปัญญา ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ (มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า) [๙๗] เพราะเหตุแห่งคนอื่นบ้าง เพราะเหตุแห่งตนบ้าง คนมีปัญญาดังแผ่นดินจะไม่พูดเหลาะแหละ เขามีคนบูชาแล้วในท่ามกลางสภา แม้ในภายหลังเขาก็ไปสู่สุคติ ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่ (เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า) [๙๘] ช้าง โค ม้า ต่างหูแก้วมณี และหญิงทั้งหลายเกิดในสกุลที่มั่งคั่ง ทั้งหมดเหล่านั้นล้วนเป็นเครื่องอุปโภคของคนมั่งคั่ง คนผู้ไม่มั่งคั่งก็เป็นเครื่องอุปโภคของคนมั่งคั่ง ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ (มโหสธบัณฑิตยกเหตุผลอย่างอื่นมาว่า) [๙๙] สิริย่อมละคนโง่ผู้ไม่จัดแจงการงาน มีความคิดเลวทราม มีปัญญาทรามไปเหมือนงูลอกคราบเก่าทิ้ง ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่ (ต่อมาเสนกบัณฑิตคิดจะทาลายวาทะของมโหสธบัณฑิต จึงกล่าวว่า) [๑๐๐] ขอจงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์ทั้ง ๕ คนนี่แหละเป็นบัณฑิต ทั้งหมดล้วนต้องประคองอัญชลีบารุงพระองค์ พระองค์ทรงเป็นอิสระครอบงาข้าพระองค์ทั้งหลาย ดุจท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งภูต ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ (พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตเมื่อจะทาลายวาทะของเสนกบัณฑิต จึงกราบทูลพระราชาว่า) [๑๐๑] คนโง่มียศ เมื่อมีเหตุต่างๆ เกิดขึ้น ก็เป็นทาสคนมีปัญญา บัณฑิตย่อมจัดการเหตุที่ละเอียดได้ คนโง่ย่อมถึงความงวยงงในเหตุนั้น ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่ (พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตสรรเสริญปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปว่า)
  • 4. 4 [๑๐๒] แท้จริง ปัญญาเท่านั้นสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ สิริเป็นที่ต้องการของคนโง่ผู้ยินดีในโภคะ ส่วนญาณของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้ คนมีสิริล่วงเลยคนมีปัญญาไปไม่ได้ไม่ว่าในกาลไหนๆ (พระราชาสดับดังนั้นทรงยินดีต่อการแก้ปัญหาของพระโพธิสัตว์มโหสธ จึงตรัสว่า) [๑๐๓] พ่อมโหสธบัณฑิตผู้เห็นธรรมโดยสิ้นเชิง เราได้ถามปัญหาใดกับเจ้า เจ้าก็ได้แก้ปัญหานั้นแก่เรา เราพอใจการแก้ปัญหา จึงให้โคแก่เจ้า ๑,๐๐๐ ตัว โคอุสภะและช้าง รถเทียมม้าอาชาไนยเหล่านี้ ๑๐ คัน และบ้านส่วย ๑๖ ตาบล สิรีมันตชาดกที่ ๔ จบ --------------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา ศิริมันทชาดก ว่าด้วย ปัญญาประเสริฐ สิริเมณฑกปัญหานี้ จักมีแจ้งใน มหาอุมมังคชาดก. จบอรรถกถาสิริเมณฑกชาดกที่ ๔ (มหาอุมมังคชาดก - สิริเมณฑกปัญหา) ฝ่ายพระราชเทวีอุทุมพรทรงทราบความที่บัณฑิตทั้ง ๔ รู้ปัญหาอาศัยมโหสถ จึงทรงดาริว่า พระราชาพระราชทานรางวัลแก่บัณฑิตทั้ง ๕ เป็นเหมือนคนทาถั่วเขียวกับถั่วราชมาษให้ไม่แปลกกัน. จึงเสด็จไปเฝ้ าพระราชา. ทูลถามว่า ใครทูลแก้ปัญหาถวาย. พระราชาตรัสตอบว่า บัณฑิตทั้ง ๕. พระราชเทวีทูลว่า บัณฑิตทั้ง ๕ รู้ปัญหาของพระองค์อาศัยใคร. พระราชาตรัสตอบว่า เราไม่รู้. พระนางอุทุมพรจึงกราบทูลว่า บัณฑิตทั้ง ๔ คนเหล่านี้จะรู้อะไร. มโหสถให้เรียนปัญหาด้วยเห็นว่า คนเขลาเหล่านี้ อย่าได้ฉิบหายเสียเลย. ก็พระองค์พระราชทานรางวัลแก่บัณฑิตทั้งปวง เสมอกันนั่นไม่สมควรเลย. ควรจะพระราชทานแก่มโหสถให้เป็นพิเศษ. พระราชาทรงเห็นว่า มโหสถนี้ไม่บอกความที่บัณฑิตทั้ง ๔ รู้ปัญหาอาศัยตน ก็ทรงโสมนัส. มีพระประสงค์จะทรงทาสักการะให้ยิ่งกว่า. จึงทรงคิดว่า ยกไว้เถิด. เราจักถามปัญหาอันหนึ่งกะบุตรของเรา และทาสักการะใหญ่. ในกาลเมื่อ บุตรของเรากล่าวแก้ เมื่อพระราชาทรงคิดปัญหาอันหนึ่ง จึงทรงคิดสิริเมณฑกปัญหา (ปัญหาว่า ปัญญากับทรัพย์อะไรจะประเสริฐกว่ากัน).
  • 5. 5 วันหนึ่ง เวลาบัณฑิตทั้ง ๕ มาเฝ้ านั่งสบายแล้ว. ตรัสกะเสนกะว่า ท่านอาจารย์เสนกะ เราจักถามปัญหา. เสนกะกราบทูลรับว่า ตรัสถามเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาจึงตรัสคาถาที่หนึ่งใน สิริเมณฑกปัญหา ว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ เราถามเนื้อความนี้กะท่าน บรรดาคน ๒ พวก คือคนสมบูรณ์ด้วยปัญญาแต่เสื่อมจากสิริ และคนมียศแต่ไร้ปัญญา. นักปราชญ์ยกย่องใครว่าประเสริฐ. ได้ยินว่า ปัญหานี้สืบเนื่องมาจากวงศ์ของเสนกะ. ฉะนั้น เสนกะจึงได้กราบทูลเฉลยปัญหานั้นได้ทันทีว่า ข้าแต่พระจอมประชาราษฏร์ คนฉลาดและคนเขลา คนบริบูรณ์ด้วยศิลปะและหาศิลปะมิได้. แม้มีชาติสูงก็ย่อมเป็นผู้รับใช้ของคนหาชาติมิได้ แต่มียศ. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้จึงขอทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริแลเป็ นคนประเสริฐ. พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคาของเสนกะนั้นแล้ว ไม่ตรัสถามอาจารย์ อีก ๓ คน. เมื่อจะตรัสถามมโหสถบัณฑิต ผู้ยังใหม่ในหมู่ซึ่งนั่งอยู่ จึงตรัสว่า ดูก่อนมโหสถผู้มีปัญญาไม่ทราม ผู้เห็นธรรมสิ้นเชิง เราถามเจ้า ในคน ๒ พวกนี้. นักปราชญ์ยกย่องใคร คนพาลผู้มียศ หรือบัณฑิตผู้ไม่มีโภคะ คนไหนว่าประเสริฐ. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลเตือนพระราชาว่า โปรดทรงฟังเถิด พระมหาราชเจ้า. แล้วทูลว่า คนพาลทากรรมเป็นบาปก็สาคัญว่า อิสริยะของเราในโลกนี้ประเสริฐ คนพาลเห็นโลกนี้เป็ นปกติ ไม่เห็นโลกหน้าเป็นปกติ ก็ได้รับเคราะห์ร้ายในโลกทั้ง ๒. ข้าพระองค์เห็นความเหล่านี้ จึงขอกราบทูลว่า คนมีปัญญาประเสริฐแท้ คนเขลามียศจะประเสริฐอะไร. เมื่อพระโพธิสัตว์ทูลดังนี้ พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรดูเสนกะ. ตรัสว่า มโหสถสรรเสริญ คนมีปัญญาว่าเป็นผู้สูงสุดมิใช่หรือ. เสนกะทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถยังเด็ก แม้จนวันนี้ ปากของเธอก็ยังไม่สิ้นกลิ่นน้านมมิใช่หรือ เธอจะรู้อะไร. ทูลฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า ศิลปะนี้ หรือเผ่าพันธุ์ หรือร่างกาย ย่อมหาได้จัดแจงโภคสมบัติให้ไม่. มหาชนย่อมคบหาโครวินทเศรษฐี ผู้มีเขฬะไหลจากคางทั้งสองข้าง ผู้ถึงความสุข
  • 6. 6 ผู้มีสิริต่าช้า. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเป็นคนประเสริฐแท้. ได้ยินว่า โครวินทะนั้นเป็นเศรษฐีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในพระนครนั้นแล มีรูปร่างแปลก ไม่มีบุตร ไม่มีธิดา ไม่รู้ศิลปะอะไรๆ. เมื่อเขาพูด น้าลายไหล ๒ ข้างลูกคาง. มีสตรีสองคนดั่งเทพอัปสร ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง ถือดอกอุบลเขียวที่บานดีแล้ว ยืนอยู่สองข้างคอยรองรับน้าลายด้วยดอกอุบลเขียว แล้วทิ้งดอกอุบลทางหน้าต่าง. ฝ่ายพวกนักเลงสุรา เมื่อจะเข้าร้านเครื่องดื่ม มีความต้องการดอกอุบลเขียว ก็พากันไปประตูเรือนของเศรษฐีนั้น. แล้วกล่าวว่า ข้าแต่นายโครวินทเศรษฐี. ท่านเศรษฐีได้ยินเสียงนักเลงเหล่านั้น ยืนที่หน้าต่างกล่าวว่า อะไรพ่อ. ขณะนั้น น้าลายก็ไหลจากปากของท่าน. หญิงสองคนนั้นก็เอาดอกอุบลเขียวรองรับน้าลาย แล้วโยนทิ้งไปในระหว่างถนน. พวกนักเลงก็เก็บดอกอุบลเหล่านั้นเอาไปล้างน้า แล้วประดับตัวเข้าร้านเครื่องดื่ม. เศรษฐีนั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสิริอย่างนี้. เสนกะ เมื่อแสดงเศรษฐีนั้นเป็นตัวอย่าง จึงกล่าวอย่างนี้. พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วตรัสว่า พ่อมโหสถบัณฑิต เจ้าจะกล่าวแก้อย่างไร. มโหสถบัณฑิตกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เสนกะจะรู้อะไร. เห็นแต่ยศเท่านั้น ไม่เห็นไม้ค้อนใหญ่ซึ่งจะตกบนศีรษะ. เปรียบเหมือนกาอยู่ในที่เทข้าวสุก และเปรียบเหมือนสุนัขปรารภจะดื่มนมส้ม. โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. ทูลฉะนี้แล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า คนมีปัญญาน้อยได้ความสุขแล้วย่อมประมาท อันความทุกข์ถูกต้องแล้วย่อมถึงความหลง. อันสุขหรือทุกข์ที่จรมาถูกต้องแล้ว ย่อมหวั่นไหว. เหมือนปลาดิ้นรนในที่ร้อน. ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาแลประเสริฐ คนเขลามียศย่อมไม่ประเสริฐ. พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสถามเสนกะว่า ท่านอาจารย์จะแก้อย่างไร. เสนกะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ มโหสถนี้จะรู้อะไร. มนุษย์ทั้งหลายจงยกไว้ก่อน. วิหกทั้งหลายย่อมคบหาแต่ต้นไม้ที่เกิดในป่า ซึ่งสมบูรณ์ด้วยผลเท่านั้น. ทูลฉะนี้แล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า ฝูงนกบินเร่ร่อนมาโดยรอบ สู่ต้นไม้ในป่าอันมีผลดี ฉันใด. ชนเป็นอันมากย่อมคบหาสมาคมบุคคลผู้มั่งคั่งมีโภคทรัพย์ เพราะความต้องการด้วยทรัพย์ ฉันนั้น. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนต่าช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ. พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสกะมโหสถว่า พ่อจะแก้อย่างไร.
  • 7. 7 มโหสถบัณฑิตจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เสนกะท้องโตคนนี้จะรู้อะไร โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. ทูลฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า คนเขลามีกาลังแต่หายังประโยชน์ให้สาเร็จไม่ ได้ทรัพย์มาด้วยทากิจร้ายแรง. นายนิรยบาลคร่าคนเขลานั้นผู้ไม่ฉลาด ผู้ร้องไห้อยู่ ไปสู่นรกอันทุกข์ยิ่ง. ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาแลประเสริฐ คนเขลามียศย่อมไม่ประเสริฐ. ความว่า คนเขลาทาการงานที่มีความร้ายแรงด้วยความร้ายแรง เบียดเบียนประชาชนจึงได้ทรัพย์. เมื่อเป็นเช่นนั้น นายนิรยบาลทั้งหลายจึงคร่าคนเขลานั้นผู้ไม่ฉลาด ร้องไห้อยู่นั่นแล. ไปสู่นรกอันมีเวทนามีกาลัง. เมื่อพระราชาตรัสถามอีกว่า ท่านอาจารย์เสนกะ ท่านจะแก้อย่างไร. เสนกะจึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โปรดฟังเถิด แล้วกล่าวคาถานี้ว่า แม่น้าน้อยใหญ่อันใดอันหนึ่ง ย่อมไหลไปสู่แม่น้าคงคา. แม่น้าเหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อมละชื่อและถิ่นเสีย. แม่น้าคงคาไหลไปสู่สมุทร ย่อมไม่ปรากฏชื่อ คงได้แต่ชื่อว่ามหาสมุทรเท่านั้น ฉันใด. สัตวโลกมีฤทธิ์ยิ่ง ย่อมไม่ปรากฏเหมือนแม่น้าคงคาเข้าไปสู่มหาสมุทร ฉันนั้น. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นผู้ต่าช้า คนมีสิริเป็นผู้ประเสริฐ. ความว่า แม่น้าคงคานั้น เมื่อไหลไปสู่สมุทร ก็ไม่ปรากฏ (ว่าแม่น้าคงคา) ย่อมได้ชื่อว่ามหาสมุทรทีเดียว. แม้คนมีปัญญามาก ถึงคนอิสระแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ คือไม่มีใครรู้จัก ได้เป็นราวกะว่าแม่น้าคงคาไหลเข้าสู่สมุทร. พระราชาตรัสอีกว่า พ่อบัณฑิต เจ้าจะแก้อย่างไร. มโหสถบัณฑิตกราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. แล้วกล่าวคาถานี้ว่า ข้าพระเจ้าจะกล่าวแก้ปัญหาที่ท่านอาจารย์กล่าว แม่น้าน้อยใหญ่ทั้งหลาย ย่อมหลั่งไหลไปสู่ทะเลใหญ่. ทะเลนั้นมีกาลังยิ่งเป็นนิตย์ ทะเลใหญ่นั้นแม้มีคลื่นกระทบฝั่ง ก็ไม่ล่วงฝั่งไป ฉันใด. กิจการที่คนเขลาประสงค์ไม่ล่วงคนฉลาดไปได้. คนมีสิริย่อมไม่ล่วงคนมีปัญญาไปได้ ฉันนั้น. ในกาลไหนๆ ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงทูลว่า คนมีปัญญาแลเป็นคนประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่. ความว่า ทะเลนั้นแม้มีกาลังยิ่งยกคลื่นขึ้นเป็ นพันๆ
  • 8. 8 ก็ไม่อาจล่วงฝั่งไปได้. คลื่นทั้งหมดถึงฝั่งแล้วย่อมแตกไปแน่แท้. ธรรมดา คนมีสิริย่อมไม่ล่วงคนมีปัญญาไปได้. อธิบายว่า ไม่มีใครเลยที่เกิดความสงสัยในอัตถะและอนัตถะขึ้นแล้ว ผ่านเลยคนมีปัญญาไปแทบเท้าของคนเขลาผู้เป็นอิสระ แต่ย่อมได้การวินิจฉัยแทบเท้าของคนมีปัญญาเท่านั้น. พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสถามเสนกะว่า จะแก้อย่างไร. เสนกะกราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. แล้วกล่าวคาถานี้ว่า หากว่าคนมียศผู้ไม่มีศีลอยู่ในที่วินิจฉัย กล่าวข้อความแก่ชนเหล่าอื่น. คาของผู้นั้นย่อมเจริญงอกงาม ในท่ามกลางบริษัท. คนมีปัญญายังคนมีสิริต่าช้า ให้ทาตามถ้อยคาของตน หาได้ไม่. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนต่าช้า คนมีสิริเป็ นคนประเสริฐแท้. ความว่า ก็แม้ถ้าคนมียศเป็นคนไม่สารวมกายเป็นต้น คือเป็นคนทุศีล. คนมียศดารงอยู่ในที่วินิจฉัย กล่าวข้อความแก่คนเหล่าอื่น. เมื่อเขาซึ่งแวดล้อมไปด้วยบริวารใหญ่ กล่าวมุสาทาให้เป็นเจ้าของบ้าง ให้ไม่เป็นเจ้าของบ้าง. คาของเขานั่นแลย่อมงอกงาม คนมีปัญญาย่อมยังคนมีสิริต่าช้า ให้ทาตามถ้อยคาไม่ได้. เพราะเหตุนั้น คนมีปัญญาจึงเป็ นคนต่าช้า คนมีสิริจึงเป็ นคนประเสริฐแท้. เมื่อพระราชาตรัสถามมโหสถอีกว่า พ่อจะแก้อย่างไร. มโหสถบัณฑิตจึงกราบทูลว่า โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. เสนกะคนเขลาจะรู้อะไร ดูอยู่แค่โลกนี้เท่านั้น ไม่ดูไปถึงปรโลก. แล้วกล่าวคาถานี้ว่า คนเขลามีปัญญาน้อยกล่าวมุสาแก่คนอื่นบ้าง แม้แก่ตนบ้าง. คนเขลานั้นถูกติเตียน ในท่ามกลางที่ประชุม. ภายหลังเขาจะไปทุคติ. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่. ลาดับนั้น เสนกะกล่าวคาถานี้ว่า ถ้าคนมีปัญญาดุจแผ่นดิน ไม่มีที่อยู่ มีทรัพย์น้อย เป็นคนเข็ญใจ กล่าวข้อความ. คาของเขานั้นย่อมไม่งอกงามในท่ามกลางญาติ และสิริย่อมไม่มีแก่คนมีปัญญา. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนต่าช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ. อาจารย์เสนกะแสดงความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ธรรมดาสิริแม้จะมีอยู่ตามปกติ ถึงความเป็นยอดความงามแห่งสิริ ก็ไม่มีแก่ผู้มีปัญญานั่นแล ด้วยว่าผู้มีปัญญานั้นย่อมไม่ปรากฏในสานักของผู้มีสิรินั้น
  • 9. 9 ประดุจหิงห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น. เมื่อพระราชาตรัสถามมโหสถอีกว่า พ่อจะแก้อย่างไร. มโหสถบัณฑิตจึงกราบทูลว่า เสนกะจะรู้อะไร ดูอยู่แค่โลกนี้เท่านั้น ไม่ดูไปถึงปรโลก. แล้วกล่าวคาถานี้ว่า คนมีปัญญาดุจแผ่นดิน ไม่กล่าวคาเหลาะแหละ เพื่อเหตุของผู้อื่นหรือแม้ของตน. คนผู้นั้นอันมหาชนบูชาแล้ว ในท่ามกลางที่ประชุม ภายหลังเขาจะไปสุคติ. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็ นคนประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่. ลาดับนั้น เสนกะกล่าวคาถานี้ว่า ช้าง โค ม้า กุณฑลแก้วมณี และนารีทั้งหลายเกิดในสกุลมั่งคั่ง ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นอุปโภคของบุรุษผู้มีอิสระ. สัตว์ผู้ไม่มีอิสระก็เป็นอุปโภคของผู้มีอิสระ. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนต่าช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็ นคนประเสริฐ. ลาดับนั้น มโหสถบัณฑิตกล่าวว่า เสนกะจะรู้อะไร. เมื่อจะชักเหตุอันหนึ่งมาแสดง จึงกล่าวคาถานี้ว่า สิริย่อมละเสียซึ่งคนเขลาผู้ไม่จัดการงาน ผู้มีความคิดอย่างคนไม่มีความคิด. ผู้มีปัญญาทรามเหมือนงูละคราบเก่าเสีย ฉะนั้น. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่. ลาดับนั้น ครั้นพระราชาตรัสถามเสนกะว่าจะแก้อย่างไร. เสนกะกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มโหสถนี้ยังเป็นเด็กรุ่น จะรู้อะไร. โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. ทูลฉะนี้แล้วคิดว่า เราจักทามโหสถให้หมดปฏิภาณ จึงกล่าวคาถานี้ว่า ขอจงทรงพระเจริญ พวกข้าพระองค์เป็นบัณฑิต ๕ คนทั้งหมด เคารพบารุงพระองค์. พระองค์เป็ นอิสระครอบงาข้าพระองค์ทั้งหลาย ดุจท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งภูตทั้งหลาย. ข้าพระองค์เห็นความดังนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนต่าช้า คนมีสิริเท่านั้นเป็ นคนประเสริฐ. ได้ยินว่า พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับคาของเสนกะนี้ แล้วทรงดาริว่า เหตุการณ์ที่เสนกะชักมาดีอยู่ บุตรของเราจักสามารถนา เหตุการณ์อื่นมาทาลายวาทะของเสนกะนี้ได้ หรือหนอ. จึงตรัสว่า พ่อบัณฑิต เจ้าจะแก้อย่างไร. ได้ยินว่า เมื่อเสนกะชักเหตุการณ์นี้มา คนอื่นเว้นพระโพธิสัตว์เสีย ที่ชื่อว่า สามารถทาลายวาทะนั้นไม่มี. เพราะฉะนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะทาลายวาทะแห่งเสนกะนั้น ด้วยกาลังญาณของตน.
  • 10. 10 จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เสนกะนี้เป็นคนเขลา จะรู้อะไร. แลดูอยู่เฉพาะยศเท่านั้น ไม่ทราบความวิเศษแห่งปัญญา. โปรดฟังเถิด พระเจ้าข้า. กราบทูลฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า คนเขลามียศเป็นดุจทาสของคนฉลาด ในเมื่อกิจต่างๆ เกิดมี. คนฉลาดย่อมจัดกิจอันละเอียดใด คนเขลาย่อมถึงความหลงพร้อมในกิจนั้น. ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่. พระมหาสัตว์แสดงเหตุการณ์แห่งนัยปัญญาด้วยประการฉะนี้ ราวกะผู้วิเศษคุ้ยทรายทองขึ้นแต่เชิงเขาสิเนรุ และราวกะผู้มีฤทธิ์ยังดวงจันทร์เต็มดวงให้ตั้งขึ้นในท้องฟ้ า ฉะนั้น. เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวแสดงอานุภาพแห่งปัญญาอยู่นั่นแล. พระราชาตรัสกะเสนกะว่า เสนกะ ท่านจะแก้อย่างไร ท่านอาจกล่าวให้ยิ่งขึ้นหรือ. เสนกะนั้นยังวิทยาคมที่เรียนมาให้สิ้นไป เป็นผู้หมดปฏิภาณ. เป็นผู้เก้อนั่งซบเซาอยู่ เหมือนข้าวเปลือกที่เขาเก็บไว้ในฉาง. ก็ถ้าเสนกะนั้นพึงนาเหตุการณ์อื่นมาไซร้. มโหสถจะพึงเฉลยอันจัดเป็ นชาดกนี้ ให้จบลงด้วยคาถาพันหนึ่ง. พระมหาสัตว์ เมื่อจะพรรณนาปัญญานั่นแลให้ยิ่งขึ้น เหมือนนาห้วงน้าลึกมา. ในกาลที่เสนกะนั้นหมดปฏิภาณนิ่งอยู่. จึงกล่าวคาถานี้ว่า ปัญญาเป็นที่สรรเสริญแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญปัญญาว่าประเสริฐแท้จริง. สิริเป็ นที่ใคร่ของพวกคนเขลา พวกคนเขลาใคร่ซึ่งสิริ ยินดีในโภคสมบัติ. ก็ความรู้ของเหล่าท่านผู้รู้ อันใครๆ ซึ่งเปรียบด้วยอะไรไม่ได้. คนมีสิริย่อมไม่ล่วงเลยคนมีปัญญาในกาลไหนๆ. ข้าพระองค์เห็นความอย่างนี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นเป็ นคนประเสริฐ คนเขลามียศหาประเสริฐไม่. พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคานั้น ก็ทรงโสมนัสด้วยปัญหาพยากรณ์แห่งพระมหาสัตว์. เมื่อจะทรงบูชาพระมหาสัตว์ด้วยทรัพย์ ราวกะผู้วิเศษยังฝนลูกเห็บให้ตก จึงตรัสคาถาว่า ดูก่อนมโหสถผู้เห็นธรรมทั้งปวง เราได้ถามปัญหานั้นใดกะเจ้า. เจ้าได้ประกาศเผยแผ่ปัญหานั้นแก่เรา เรายินดีด้วยการแก้ปัญหาของเจ้า. เราให้โคพันหนึ่ง ทั้งโคอุสุภราช ช้าง รถเทียมม้าอาชาไนย ๑๐ คัน และบ้านส่วย ๑๖ ตาบลแก่เจ้า. จบ สิริเมณฑกปัญหา ในวีสตินิบาต