SlideShare a Scribd company logo
1
อุททาลกชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๔. อุททาลกชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๘๗)
ว่าด้วยอุททาลกดาบส
(พระราชาทรงสนทนากับปุโรหิตว่า)
[๖๒] ชฎิลเหล่าใดนุ่งห่มหนังสัตว์ที่ขรุขระ มีขี้ฟันเขรอะ ร่างกายสกปรก
สาธยายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้นประกอบหน้าที่การงานของมนุษย์
จะรู้แจ้งโลกนี้แล้วพ้นจากอบายได้หรือ
(ปุโรหิตกราบทูลว่า)
[๖๓] ขอเดชะพระราชา หากบุคคลถึงจะเป็ นพหูสูต กระทาแต่กรรมชั่ว
ก็ชื่อว่าไม่ประพฤติธรรม เขาแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น
แต่ไม่บรรลุจรณธรรม (จรณธรรม ในที่นี้ ได้แก่ สมาบัติ ๘) ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้
(อุททาลกดาบสกล่าวกับปุโรหิตว่า)
[๖๔] บุคคลแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น
แต่ไม่บรรลุจรณธรรม ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้ อาตมาเข้าใจว่า
พระเวททั้งหลายเป็ นสิ่งที่ไร้ผล จรณธรรมพร้อมทั้งความสารวมเท่านั้นเป็ นสัจจะ
(ปุโรหิตกล่าวว่า)
[๖๕] พระเวททั้งหลายจะไร้ผลก็หาไม่
จรณธรรมพร้อมทั้งความสารวมเท่านั้นเป็ นสัจจะ
เพราะบุคคลบรรลุพระเวททั้งหลายแล้วย่อมได้เกียรติ
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้วด้วยจรณธรรมย่อมบรรลุความสงบ
(อุททาลกดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๖๖] มารดาบิดาและเผ่าพันธุ์ทั้งหลายที่บุคคลจะต้องเลี้ยงดู
บุตรเกิดแต่ผู้ใด เขาก็คือผู้นั้นนั่นเอง อาตมาชื่อว่าอุททาลกะ
เป็นวงศ์แห่งโสตถิยสกุลของท่าน
(พราหมณ์ถามถึงธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า)
[๖๗] ท่านผู้เจริญ คนจะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร
จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวได้อย่างไร ปรินิพพานจะมีได้อย่างไร และคนผู้ทรงธรรม
บัณฑิตกล่าวเรียกว่าอย่างไร
(อุททาลกดาบสตอบว่า)
[๖๘] เพราะก่อไฟบูชาอยู่เนืองๆ บุคคลจึงชื่อว่าเป็ นพราหมณ์
บุคคลเมื่อรดน้าบูชายัญและให้ยกเสาบูชายัญ จึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์เต็มตัว
พราหมณ์ผู้บาเพ็ญอย่างนี้ชื่อว่าเป็ นผู้เกษม เพราะเหตุนั้น
บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกว่าผู้ดารงอยู่ในธรรม
2
(ปุโรหิตตาหนิธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า)
[๖๙] ความบริสุทธิ์ย่อมมีเพราะการรดน้าก็หาไม่
แม้จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวก็หาไม่ ขันติและโสรัจจะก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น
แม้เขาชื่อว่าได้ปรินิพพานเพราะดับกิเลสก็หาไม่
(อุททาลกดาบสถามว่า)
[๗๐] บุคคลจะเป็ นพราหมณ์ได้อย่างไร
จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวได้อย่างไร ปรินิพพานจะมีได้อย่างไร
และบุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตกล่าวเรียกว่าอย่างไร
(ปุโรหิตบอกว่า)
[๗๑] บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีเผ่าพันธุ์ ไม่ยึดถือว่าเป็ นของเรา
ไม่มีความหวัง หมดความโลภอันเป็ นบาป มีความโลภในภพหมดสิ้นแล้ว
ผู้บาเพ็ญอย่างนี้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าผู้มีความเกษม เพราะเหตุนั้น
บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม
(อุททาลกดาบสกล่าวว่า)
[๗๒] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะทั้งหลาย
ล้วนแต่เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกตนแล้ว ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว
เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็น ยังจะมีคนดีและคนชั่วอีกไหมหนอ
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๗๓] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
และคนเทขยะทั้งหลายล้วนแต่เป็ นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกตนแล้ว
ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว
เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็นย่อมไม่มีทั้งคนดีและคนชั่ว
(อุททาลกดาบสติเตียนพราหมณ์ว่า)
[๗๔] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
และคนเทขยะทั้งหลายล้วนแต่เป็ นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกตนแล้ว
ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว
[๗๕] เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็น ย่อมไม่มีทั้งคนดีและคนชั่ว
เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจะประพฤติให้เสียความเป็นพราหมณ์
วงศ์แห่งโสตถิยสกุลทาไม
(ปุโรหิตเปรียบเทียบให้เข้าใจว่า)
[๗๖] วิมานที่คลุมด้วยผ้าซึ่งย้อมด้วยสีต่างๆ ผ้าเหล่านั้นมีแต่เงา
สีที่ย้อมนั้นหาปรากฏไม่
[๗๗] ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน เมื่อใดคนทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์
เป็นผู้มีวัตรดีเพราะรู้ทั่วถึงธรรม เมื่อนั้นพวกเขาย่อมปล่อยวางชาติของตนเสียได้
อุททาลกชาดกที่ ๔ จบ
3
--------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
อุททาลกชาดก
ว่าด้วย จรณธรรม
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน
ทรงพระปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้ ดังนี้.
เรื่องย่อมีว่า ภิกษุนั้น แม้บวชในพระศาสนาอันมีธรรม
เป็นเครื่องนาออกจากทุกข์ได้แล้ว ก็ยังชอบประพฤติเรื่องหลอกลวง ๓ สถาน
เพื่อต้องการปัจจัยทั้งสี่.
ครั้งนั้น พวกภิกษุเมื่อจะประกาศโทษของเธอ
ตั้งเรื่องสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุที่ชื่อโน้นบวชในพระศาสนา อันประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องนาออกจากทุก
ข์เห็นปานนี้แล้ว ยังจะอาศัยการหลอกลวงเลี้ยงชีวิตอยู่เล่า.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อกี้ พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน
เธอก็หลอกลวงเหมือนกัน ทรงนาอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ
ณ พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นปุโรหิต
เป็ นบัณฑิตเฉลียวฉลาด. วันหนึ่ง ท่านไปเล่นอุทยาน
เห็นหญิงแพศยารูปงามนางหนึ่ง ติดใจ สาเร็จการอยู่ร่วมกับนาง.
นางอาศัยท่านมีครรภ์ ครั้นรู้ว่าตนมีครรภ์ ก็บอกท่านว่า เจ้านาย
ดิฉันตั้งครรภ์แล้วละ ในเวลาเด็กเกิด เมื่อดิฉันจะตั้งชื่อ
จะขนานนามเขาว่าอย่างไรเจ้าคะ. ท่านคิดว่า
เพราะเด็กเกิดในท้องวัณณทาสีไม่อาจขนานนามตามสกุลได้ แล้วกล่าวว่า
แม่นางเอ๋ย ต้นไม้ที่ป้ องกันลมได้ต้นนี้ชื่อว่า ต้นคูน
เพราะเราได้เด็กที่นี้ เธอควรตั้งชื่อเขาว่า อุททาลกะ (คูน) เถิด
แล้วได้ให้แหวนสวมนิ้วชี้ไปสั่งว่า ถ้าเป็นธิดา เธอพึงเลี้ยงดูเด็กนั้นด้วยแหวนนี้
ถ้าเป็นบุตรละก็พึงส่งตัวเขาผู้เติบโตแล้วแก่ฉัน
ต่อมานางคลอดบุตรชาย ได้ขนานนามว่า อุททาลกะ. เขาเติบโตแล้ว
ถามมารดาว่า แม่จ๋า ใครเป็นพ่อของฉัน. นางตอบว่า ปุโรหิต พ่อ. เขากล่าวว่า
ถ้าเช่นนั้นฉันต้องเรียนพระเวท แล้วรับแหวนและค่าคานับอาจารย์จากมือมารดา
เดินทางไปตักกสิลา เรียนศิลปะในสานักอาจารย์ทิศาปาโมกข์อยู่
เห็นคณะดาบสคณะหนึ่ง คิดว่า ในสานักของพวกนี้คงมีศิลปะอันประเสริฐ
เราจักเรียนศิลปะนั้น เพราะความโลภในศิลปะจึงบวช
4
พอทาวัตรปฏิบัติแก่ดาบสเหล่านั้น แล้วก็ถามว่า
ข้าแต่ท่านอาจารย์ทั้งหลาย
โปรดให้ข้าพเจ้าศึกษาในศิลปะที่ท่านรู้เถิด.
ดาบสเหล่านั้นก็ให้เขาศึกษาตามทานองที่ตนรู้ บรรดาดาบสทั้ง ๕๐๐ ไม่ได้มีเลย
แม้แต่รูปเดียวที่ฉลาดยิ่งกว่าเขา.
เขาคนเดียวเป็นยอดของดาบสเหล่านั้นทางปัญญา. ครั้งนั้น
พวกดาบสเหล่านั้นจึงประชุมกันยกตาแหน่งอาจารย์ให้แก่เขา
ครั้นแล้วเขากล่าวกะดาบสเหล่านั้นว่า ผู้นิรทุกข์
พวกคุณพากันบริโภคเผือก มัน และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่กันในป่า
เหตุไรจึงไม่พากันไปสู่ถิ่นแดนมนุษย์เล่า.
พวกดาบสตอบว่า ผู้นิรทุกข์ ธรรมดาพวกมนุษย์ให้ทานมากๆ แล้ว
ก็ขอให้ทาอนุโมทนา ขอให้กล่าวธรรมกถา พากันถามปัญหา
พวกเราไม่ไปในถิ่นมนุษย์นั้นเพราะเกรงภัยนั้น.
เขากล่าวว่า แม้ถึงว่าจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
การพูดให้จับใจละก็เป็นภาระของฉัน พวกท่านอย่ากลัวเลย
จึงท่องเที่ยวไปกับพวกดาบสนั้น ลุถึงพระนครพาราณสีโดยลาดับ
พักอยู่ในพระราชอุทยาน
พอรุ่งขึ้นก็เที่ยวภิกขาไปตามประตูบ้านกับดาบสทั้งปวง.
พวกมนุษย์พากันให้มหาทาน รุ่งขึ้นพวกดาบสก็พากันเข้าสู่พระนคร.
พวกมนุษย์ได้พากันให้มหาทาน อุททาลกดาบสกระทาอนุโมทนา กล่าวมงคล
วิสัชนาปัญหา. พวกมนุษย์พากันเลื่อมใสได้ให้ปัจจัยมากมาย.
ชาวเมืองทั่วหน้าพากันกราบทูลแด่พระราชาว่า ดาบสผู้ทรงธรรมเป็นบัณฑิต
เป็นคณะศาสดามาถึงแล้ว.
พระราชาตรัสถามว่า อยู่ที่ไหน ทรงสดับว่าในอุทยาน ก็ตรัสว่า ดีละ
วันนี้เราจักไปพบดาบสเหล่านั้น. ยังมีบุรุษผู้หนึ่งได้ไปบอกแก่อุททาลกะว่า
ข่าวว่าพระราชาจักเสด็จมาเยี่ยมพระคุณเจ้าทั้งหลาย.
เขาเรียกคณะฤาษีบอกว่า ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
ข่าวว่าพระราชาจักเสด็จมา ธรรมดาท่านผู้เป็นใหญ่
ทาให้พอใจได้เสียวันหนึ่งแล้วก็พอใจไปตลอดชีพ. พวกดาบสพากันถามว่า
ท่านอาจารย์ครับ ก็พวกผมต้องทาอะไรกันเล่า. เขากล่าวอย่างนี้ว่า
ในพวกท่านบางพวกจงประพฤติวัคคุลิวัตร (ข้อปฏิบัติอย่างค้างคาว)
บางพวกจงตั้งหน้านั่งกระโหย่ง บางพวกจงพากันนอนบนหนาม บางพวกจงผิงไฟ
๕ กอง บางพวกจงพากันแช่น้า บางพวกจงพากันสังวัธยายมนต์ในที่นั้นๆ
พวกดาบสกระทาตามนั้น.
ฝ่ายตนเองชวนดาบสที่ฉลาดๆ มีวาทะคมคาย ๘ หรือ ๑๐ รูปไว้
5
วางคัมภีร์ที่สวยงามไว้บนกากะเยียที่ชวนดู แวดล้อมด้วยอันตวาสิก
นั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้เป็ นอันดี. ขณะนั้น
พระราชาตรัสชวนปุโรหิตเสด็จไปพระอุทยานกับบริวารขบวนใหญ่
ทอดพระเนตรเห็นดาบสเหล่านั้นพากันประพฤติตบะผิดๆ กันอยู่ ทรงเลื่อมใสว่า
ท่านพวกนี้พ้นแล้วจากภัยในอบาย เสด็จถึงสานักอุททาลกดาบส
ทรงพระปฏิสันถารประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง มีพระมนัสยินดี
เมื่อตรัสสนทนากับท่านปุโรหิต ตรัสคาถาแรกว่า
ชฎิลเหล่าใดครองหนังเสือพร้อมเล็บ ฟันเขลอะ รูปร่างเลอะเทอะ
ร่ายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้นเป็ นผู้รู้การประพฤติตบะและการสาธยายมนต์นี้
ในความเพียรที่มนุษย์จะพึงทากัน จะพ้นจากอบายได้ละหรือ.
ท่านปุโรหิตได้ฟังพระดารัสนั้นแล้ว ดาริว่า
พระราชาพระองค์นี้ทรงเลื่อมใสในฐานะอันไม่ควร เราจะนิ่งเสียไม่ได้ละ
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ข้าแต่พระราชา ถ้าบุคคลเป็ นพหูสูต
แต่ไม่ประพฤติธรรม ก็จะพึงกระทากรรมอันลามกทั้งหลายได้
แม้จะมีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความเป็นพหูสูต
ยังไม่บรรลุจรณธรรม จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้เลย.
อุททาลกะได้ฟังคาของท่านดังนั้นแล้ว คิดว่า พระราชาทรงเลื่อมใส
คณะฤาษีตามพระอัธยาศัยแล้ว แต่พราหมณ์ผู้นี้มาขว้างโคที่กาลังเที่ยวไป
ทิ้งหยากเยื่อลงในภัตที่เขาคิดไว้แล้วเสียได้ เราต้องพูดกับเขา
เมื่อจะพูด จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
บุคคลผู้มีเวทตั้งพัน
อาศัยแต่ความเป็นพหูสูตนั้น ยังไม่บรรลุจรณธรรมแล้ว
จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้ อาตมภาพย่อมสาคัญว่า
เวททั้งหลายก็ย่อมไม่มีผล จรณธรรมอันมีความสารวมเท่านั้นเป็นความจริง.
ลาดับนั้น ปุโรหิตกล่าวคาถาว่า
เวททั้งหลายจะไม่มีผล
ก็หามิได้ จรณธรรมอันมีความสารวมนั้นนั่นแลเป็นความจริง แต่บุคคลเรียนเวท
ทั้งหลายแล้ว ย่อมได้รับเกียรติคุณ ท่านผู้ฝึกฝนตนด้วยจรณธรรมแล้ว
ย่อมบรรลุสันติ.
อุททาลกะได้ฟังดังนั้น แล้วคิดว่า เราไม่อาจโต้กับปุโรหิตนี้
ด้วยอานาจเป็ นฝ่ายแย้งได้ ธรรมดาบุคคลที่จะไม่ทาความไยดีในคาที่ถูกกล่าว
ไม่มีเลย เราต้องบอกความเป็นลูกแก่เขา จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า
บุตรที่เกิดแต่มารดา บิดา และเผ่าพันธุ์ใด อันบุตรจะต้องเลี้ยงดู
อาตมภาพเป็นคนๆ นั้นแหละมีชื่อว่า อุททาลกะ
6
เป็นเชื้อสายของวงค์ตระกูลโสตถิยะแห่งท่านผู้เจริญ.
เมื่อท่านปุโรหิตถามว่า แน่หรือคุณชื่ออุททาลกะ. ท่านตอบว่า แน่ซิ.
ถามต่อไปว่า ข้าพเจ้าให้เครื่องหมายไว้แก่มารดาของท่าน
เครื่องหมายนั้นไปไหนเล่า ตอบว่า นี่พราหมณ์ พลางวางแหวนลงในมือของท่าน.
พราหมณ์จาแหวนได้แต่ยังกล่าวว่า
คุณเป็นพราหมณ์ตามโอกาสที่เลือกเรียน แต่จะรู้พราหมณธรรมละหรือ.
เมื่อจะถามพราหมณธรรม จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญ
บุคคลเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร เป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร
ความดับรอบจะมีได้อย่างไร เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียกว่ากระไร.
อุททาลกะ เมื่อบอกแก่ท่าน จึงกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า
บุคคลเป็นพราหมณ์ ต้องบูชาไฟเป็นนิตย์
ต้องรดน้า เมื่อบูชายัญต้องยกเสาเจว็ด ผู้กระทาอย่างนี้
จึงเป็ นพราหมณ์ผู้เกษม ด้วยเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงพากันสรรเสริญว่า
เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
ปุโรหิตได้ฟังดังนั้นแล้ว
เมื่อติเตียนพราหมณ์ตามที่เขากล่าว จึงกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า
ความหมดจด ย่อมไม่มีด้วยการรดน้า
อนึ่ง พราหมณ์จะเป็ นพราหมณ์เต็มที่ ด้วยการรดน้า
ก็หาไม่ ขันติและโสรัจจะย่อมมีไม่ได้ ทั้งผู้นั้นจะเป็ นผู้ดับรอบ ก็หามิได้.
ลาดับนั้น อุททาลกะ เมื่อจะถามว่า
ถ้าว่าไม่เป็นพราหมณ์ด้วยอย่างนี้ละ ก็จะเป็ นได้อย่างไรกัน จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญ
บุคคลเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร และเป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร
ความดับรอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียกว่ากระไร.
ฝ่ายปุโรหิต เมื่อจะกล่าวแก่เขาก็กล่าวคาถาต่อไปว่า
บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีพวกพ้อง
ไม่ถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง ไม่มีบาปคือความโลภ
สิ้นความโลภในภพแล้ว ผู้กระทาอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ผู้เกษม
เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงได้พากันสรรเสริญว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
ลาดับนั้น อุททาลกะกล่าวคาถาว่า
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง
เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ
คนเป็นผู้เย็นแล้ว ยังจะมีคนดีคนเลวอีก หรือไม่.
ลาดับนั้น เพื่อจะชี้แจงว่า จาเดิมแต่บรรลุพระอรหัตไป
7
ขึ้นชื่อว่าความต่าความสูงย่อมไม่มีแก่เขา พราหมณ์กล่าวคาถาว่า
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง
เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ
คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย.
ลาดับนั้น เมื่ออุททาลกะจะติเตียนท่านปุโรหิตนั้น จึงกล่าวสองคาถาว่า
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง
เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ
คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย เมื่อเป็นอย่างนี้
ท่านชื่อว่าทาลายความเป็นเชื้อสายแห่งตระกูลโสตถิยะ จะประพฤติเพศพราหมณ์
ที่เขาสรรเสริญกันอยู่ทาไม.
ครั้งนั้น ท่านปุโรหิตจะเปรียบเทียบให้เขาเข้าใจ จึงกล่าวสองคาถาว่า
วิมานที่เขาคลุมด้วยผ้ามีสีต่างๆ กัน เงาแห่งผ้าเหล่านั้น
ย่อมเป็นสีเดียวกันหมด สีที่ย้อมนั้น ย่อมไม่เกิดเป็นสี ฉันใด ในมนุษย์ทั้งหลาย
ก็ฉันนั้น เมื่อใด มาณพบริสุทธิ์ เมื่อนั้น
มาณพเหล่านั้นเป็ นผู้มีวัตรดี เพราะรู้ทั่วถึงธรรม ย่อมละชาติของตนได้.
แม้ในหมู่มนุษย์ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน
พวกพราหมณ์ไม่มีความรู้บางพวกร่วมกันบัญญัติวัณณะ ๔
ไว้โดยหาการกระทามิได้เลย เธออย่าถือว่า ข้อนี้มีอยู่เลย
กาลใด ท่านผู้บัณฑิตในโลกนี้ผุดผ่องด้วยอริยมรรค กาลนั้น
บุรุษบัณฑิตมีวัตรดี
คือมีศีล เพราะทราบนิพพานธรรมตามที่ท่านเหล่านั้นบรรลุแล้ว ท่านเหล่านั้นย่อม
เปลื้องชาติของตนเสีย เพราะว่า
ตั้งแต่บรรลุพระนิพพานไป ขึ้นชื่อว่าชาติก็หาประโยชน์มิได้เลย.
อุททาลกะไม่สามารถจะนาปัญหามาถามอีกได้ ก็นั่งจานน.
ทีนั้น ท่านพราหมณ์จึงกราบทูลถึงเขากะพระราชาว่า
ข้าแต่พระมหาราช พวกนี้ทั้งหมดเป็นผู้หลอกลวง
จักพากันทาลายชมพูทวีปทั้งสิ้นเสีย ด้วยความหลอกลวงเป็ นแท้
พระองค์โปรดให้อุททาลกะสึกเสีย ตั้งให้เป็นปุโรหิต ที่เหลือเล่าก็โปรดให้สึกเสีย
พระราชทานโล่และอาวุธ โปรดให้เป็ นเสวกเสียเถิด.
พระราชาตรัสว่า ดีละ ท่านอาจารย์ ได้ทรงกระทาอย่างนั้นแล้ว.
อุททาลกะเป็นข้าเฝ้ าพระราชาไปตามยถากรรม.
พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน
เธอก็เคยหลอกลวงเหมือนกัน
8
ทรงประชุมชาดกว่า
อุททาลกะในครั้งนั้น ได้มาเป็น ภิกษุผู้หลอกลวง
พระราชาได้มาเป็น พระอานนท์
ส่วนปุโรหิตได้มาเป็ น เราตถาคต แล.
จบอรรถกถาอุททาลกชาดกที่ ๔
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 487 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

หยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรหยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรPanda Jing
 
477 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
477 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...477 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
477 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrailTongsamut vorasan
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrailTongsamut vorasan
 
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddhaTongsamut vorasan
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติgueste13f2b
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดก
Panda Jing
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrareciteTongsamut vorasan
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
maruay songtanin
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
Padvee Academy
 
มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์
กรูรู้ กรูไม่รู้อะไรจะดีกว่า
 
435 หลิททราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
435 หลิททราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...435 หลิททราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
435 หลิททราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 

Similar to 487 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

006
006006
006
 
006
006006
006
 
006
006006
006
 
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรหยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
 
477 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
477 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...477 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
477 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
Buddha
BuddhaBuddha
Buddha
 
ภุชงคประยาคฉันท์ 12
ภุชงคประยาคฉันท์ 12ภุชงคประยาคฉันท์ 12
ภุชงคประยาคฉันท์ 12
 
ภุชงคประยาคฉันท์ 12
ภุชงคประยาคฉันท์ 12ภุชงคประยาคฉันท์ 12
ภุชงคประยาคฉันท์ 12
 
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha
 
มุตโตทัย
มุตโตทัยมุตโตทัย
มุตโตทัย
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดก
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
 
คู่มือพุทธบริษัท
คู่มือพุทธบริษัทคู่มือพุทธบริษัท
คู่มือพุทธบริษัท
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
 
มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์
 
435 หลิททราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
435 หลิททราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...435 หลิททราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
435 หลิททราคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

More from maruay songtanin

ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

487 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๔. อุททาลกชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๘๗) ว่าด้วยอุททาลกดาบส (พระราชาทรงสนทนากับปุโรหิตว่า) [๖๒] ชฎิลเหล่าใดนุ่งห่มหนังสัตว์ที่ขรุขระ มีขี้ฟันเขรอะ ร่างกายสกปรก สาธยายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้นประกอบหน้าที่การงานของมนุษย์ จะรู้แจ้งโลกนี้แล้วพ้นจากอบายได้หรือ (ปุโรหิตกราบทูลว่า) [๖๓] ขอเดชะพระราชา หากบุคคลถึงจะเป็ นพหูสูต กระทาแต่กรรมชั่ว ก็ชื่อว่าไม่ประพฤติธรรม เขาแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น แต่ไม่บรรลุจรณธรรม (จรณธรรม ในที่นี้ ได้แก่ สมาบัติ ๘) ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้ (อุททาลกดาบสกล่าวกับปุโรหิตว่า) [๖๔] บุคคลแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น แต่ไม่บรรลุจรณธรรม ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้ อาตมาเข้าใจว่า พระเวททั้งหลายเป็ นสิ่งที่ไร้ผล จรณธรรมพร้อมทั้งความสารวมเท่านั้นเป็ นสัจจะ (ปุโรหิตกล่าวว่า) [๖๕] พระเวททั้งหลายจะไร้ผลก็หาไม่ จรณธรรมพร้อมทั้งความสารวมเท่านั้นเป็ นสัจจะ เพราะบุคคลบรรลุพระเวททั้งหลายแล้วย่อมได้เกียรติ บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้วด้วยจรณธรรมย่อมบรรลุความสงบ (อุททาลกดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๖๖] มารดาบิดาและเผ่าพันธุ์ทั้งหลายที่บุคคลจะต้องเลี้ยงดู บุตรเกิดแต่ผู้ใด เขาก็คือผู้นั้นนั่นเอง อาตมาชื่อว่าอุททาลกะ เป็นวงศ์แห่งโสตถิยสกุลของท่าน (พราหมณ์ถามถึงธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า) [๖๗] ท่านผู้เจริญ คนจะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวได้อย่างไร ปรินิพพานจะมีได้อย่างไร และคนผู้ทรงธรรม บัณฑิตกล่าวเรียกว่าอย่างไร (อุททาลกดาบสตอบว่า) [๖๘] เพราะก่อไฟบูชาอยู่เนืองๆ บุคคลจึงชื่อว่าเป็ นพราหมณ์ บุคคลเมื่อรดน้าบูชายัญและให้ยกเสาบูชายัญ จึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์เต็มตัว พราหมณ์ผู้บาเพ็ญอย่างนี้ชื่อว่าเป็ นผู้เกษม เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกว่าผู้ดารงอยู่ในธรรม
  • 2. 2 (ปุโรหิตตาหนิธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า) [๖๙] ความบริสุทธิ์ย่อมมีเพราะการรดน้าก็หาไม่ แม้จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวก็หาไม่ ขันติและโสรัจจะก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น แม้เขาชื่อว่าได้ปรินิพพานเพราะดับกิเลสก็หาไม่ (อุททาลกดาบสถามว่า) [๗๐] บุคคลจะเป็ นพราหมณ์ได้อย่างไร จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวได้อย่างไร ปรินิพพานจะมีได้อย่างไร และบุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตกล่าวเรียกว่าอย่างไร (ปุโรหิตบอกว่า) [๗๑] บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีเผ่าพันธุ์ ไม่ยึดถือว่าเป็ นของเรา ไม่มีความหวัง หมดความโลภอันเป็ นบาป มีความโลภในภพหมดสิ้นแล้ว ผู้บาเพ็ญอย่างนี้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าผู้มีความเกษม เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม (อุททาลกดาบสกล่าวว่า) [๗๒] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกตนแล้ว ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็น ยังจะมีคนดีและคนชั่วอีกไหมหนอ (พราหมณ์กล่าวว่า) [๗๓] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะทั้งหลายล้วนแต่เป็ นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกตนแล้ว ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็นย่อมไม่มีทั้งคนดีและคนชั่ว (อุททาลกดาบสติเตียนพราหมณ์ว่า) [๗๔] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะทั้งหลายล้วนแต่เป็ นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกตนแล้ว ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว [๗๕] เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็น ย่อมไม่มีทั้งคนดีและคนชั่ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจะประพฤติให้เสียความเป็นพราหมณ์ วงศ์แห่งโสตถิยสกุลทาไม (ปุโรหิตเปรียบเทียบให้เข้าใจว่า) [๗๖] วิมานที่คลุมด้วยผ้าซึ่งย้อมด้วยสีต่างๆ ผ้าเหล่านั้นมีแต่เงา สีที่ย้อมนั้นหาปรากฏไม่ [๗๗] ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน เมื่อใดคนทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เป็นผู้มีวัตรดีเพราะรู้ทั่วถึงธรรม เมื่อนั้นพวกเขาย่อมปล่อยวางชาติของตนเสียได้ อุททาลกชาดกที่ ๔ จบ
  • 3. 3 -------------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา อุททาลกชาดก ว่าด้วย จรณธรรม พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้ ดังนี้. เรื่องย่อมีว่า ภิกษุนั้น แม้บวชในพระศาสนาอันมีธรรม เป็นเครื่องนาออกจากทุกข์ได้แล้ว ก็ยังชอบประพฤติเรื่องหลอกลวง ๓ สถาน เพื่อต้องการปัจจัยทั้งสี่. ครั้งนั้น พวกภิกษุเมื่อจะประกาศโทษของเธอ ตั้งเรื่องสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุที่ชื่อโน้นบวชในพระศาสนา อันประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องนาออกจากทุก ข์เห็นปานนี้แล้ว ยังจะอาศัยการหลอกลวงเลี้ยงชีวิตอยู่เล่า. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้ พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน เธอก็หลอกลวงเหมือนกัน ทรงนาอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้. ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นปุโรหิต เป็ นบัณฑิตเฉลียวฉลาด. วันหนึ่ง ท่านไปเล่นอุทยาน เห็นหญิงแพศยารูปงามนางหนึ่ง ติดใจ สาเร็จการอยู่ร่วมกับนาง. นางอาศัยท่านมีครรภ์ ครั้นรู้ว่าตนมีครรภ์ ก็บอกท่านว่า เจ้านาย ดิฉันตั้งครรภ์แล้วละ ในเวลาเด็กเกิด เมื่อดิฉันจะตั้งชื่อ จะขนานนามเขาว่าอย่างไรเจ้าคะ. ท่านคิดว่า เพราะเด็กเกิดในท้องวัณณทาสีไม่อาจขนานนามตามสกุลได้ แล้วกล่าวว่า แม่นางเอ๋ย ต้นไม้ที่ป้ องกันลมได้ต้นนี้ชื่อว่า ต้นคูน เพราะเราได้เด็กที่นี้ เธอควรตั้งชื่อเขาว่า อุททาลกะ (คูน) เถิด แล้วได้ให้แหวนสวมนิ้วชี้ไปสั่งว่า ถ้าเป็นธิดา เธอพึงเลี้ยงดูเด็กนั้นด้วยแหวนนี้ ถ้าเป็นบุตรละก็พึงส่งตัวเขาผู้เติบโตแล้วแก่ฉัน ต่อมานางคลอดบุตรชาย ได้ขนานนามว่า อุททาลกะ. เขาเติบโตแล้ว ถามมารดาว่า แม่จ๋า ใครเป็นพ่อของฉัน. นางตอบว่า ปุโรหิต พ่อ. เขากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นฉันต้องเรียนพระเวท แล้วรับแหวนและค่าคานับอาจารย์จากมือมารดา เดินทางไปตักกสิลา เรียนศิลปะในสานักอาจารย์ทิศาปาโมกข์อยู่ เห็นคณะดาบสคณะหนึ่ง คิดว่า ในสานักของพวกนี้คงมีศิลปะอันประเสริฐ เราจักเรียนศิลปะนั้น เพราะความโลภในศิลปะจึงบวช
  • 4. 4 พอทาวัตรปฏิบัติแก่ดาบสเหล่านั้น แล้วก็ถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ทั้งหลาย โปรดให้ข้าพเจ้าศึกษาในศิลปะที่ท่านรู้เถิด. ดาบสเหล่านั้นก็ให้เขาศึกษาตามทานองที่ตนรู้ บรรดาดาบสทั้ง ๕๐๐ ไม่ได้มีเลย แม้แต่รูปเดียวที่ฉลาดยิ่งกว่าเขา. เขาคนเดียวเป็นยอดของดาบสเหล่านั้นทางปัญญา. ครั้งนั้น พวกดาบสเหล่านั้นจึงประชุมกันยกตาแหน่งอาจารย์ให้แก่เขา ครั้นแล้วเขากล่าวกะดาบสเหล่านั้นว่า ผู้นิรทุกข์ พวกคุณพากันบริโภคเผือก มัน และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่กันในป่า เหตุไรจึงไม่พากันไปสู่ถิ่นแดนมนุษย์เล่า. พวกดาบสตอบว่า ผู้นิรทุกข์ ธรรมดาพวกมนุษย์ให้ทานมากๆ แล้ว ก็ขอให้ทาอนุโมทนา ขอให้กล่าวธรรมกถา พากันถามปัญหา พวกเราไม่ไปในถิ่นมนุษย์นั้นเพราะเกรงภัยนั้น. เขากล่าวว่า แม้ถึงว่าจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ การพูดให้จับใจละก็เป็นภาระของฉัน พวกท่านอย่ากลัวเลย จึงท่องเที่ยวไปกับพวกดาบสนั้น ลุถึงพระนครพาราณสีโดยลาดับ พักอยู่ในพระราชอุทยาน พอรุ่งขึ้นก็เที่ยวภิกขาไปตามประตูบ้านกับดาบสทั้งปวง. พวกมนุษย์พากันให้มหาทาน รุ่งขึ้นพวกดาบสก็พากันเข้าสู่พระนคร. พวกมนุษย์ได้พากันให้มหาทาน อุททาลกดาบสกระทาอนุโมทนา กล่าวมงคล วิสัชนาปัญหา. พวกมนุษย์พากันเลื่อมใสได้ให้ปัจจัยมากมาย. ชาวเมืองทั่วหน้าพากันกราบทูลแด่พระราชาว่า ดาบสผู้ทรงธรรมเป็นบัณฑิต เป็นคณะศาสดามาถึงแล้ว. พระราชาตรัสถามว่า อยู่ที่ไหน ทรงสดับว่าในอุทยาน ก็ตรัสว่า ดีละ วันนี้เราจักไปพบดาบสเหล่านั้น. ยังมีบุรุษผู้หนึ่งได้ไปบอกแก่อุททาลกะว่า ข่าวว่าพระราชาจักเสด็จมาเยี่ยมพระคุณเจ้าทั้งหลาย. เขาเรียกคณะฤาษีบอกว่า ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ข่าวว่าพระราชาจักเสด็จมา ธรรมดาท่านผู้เป็นใหญ่ ทาให้พอใจได้เสียวันหนึ่งแล้วก็พอใจไปตลอดชีพ. พวกดาบสพากันถามว่า ท่านอาจารย์ครับ ก็พวกผมต้องทาอะไรกันเล่า. เขากล่าวอย่างนี้ว่า ในพวกท่านบางพวกจงประพฤติวัคคุลิวัตร (ข้อปฏิบัติอย่างค้างคาว) บางพวกจงตั้งหน้านั่งกระโหย่ง บางพวกจงพากันนอนบนหนาม บางพวกจงผิงไฟ ๕ กอง บางพวกจงพากันแช่น้า บางพวกจงพากันสังวัธยายมนต์ในที่นั้นๆ พวกดาบสกระทาตามนั้น. ฝ่ายตนเองชวนดาบสที่ฉลาดๆ มีวาทะคมคาย ๘ หรือ ๑๐ รูปไว้
  • 5. 5 วางคัมภีร์ที่สวยงามไว้บนกากะเยียที่ชวนดู แวดล้อมด้วยอันตวาสิก นั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้เป็ นอันดี. ขณะนั้น พระราชาตรัสชวนปุโรหิตเสด็จไปพระอุทยานกับบริวารขบวนใหญ่ ทอดพระเนตรเห็นดาบสเหล่านั้นพากันประพฤติตบะผิดๆ กันอยู่ ทรงเลื่อมใสว่า ท่านพวกนี้พ้นแล้วจากภัยในอบาย เสด็จถึงสานักอุททาลกดาบส ทรงพระปฏิสันถารประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง มีพระมนัสยินดี เมื่อตรัสสนทนากับท่านปุโรหิต ตรัสคาถาแรกว่า ชฎิลเหล่าใดครองหนังเสือพร้อมเล็บ ฟันเขลอะ รูปร่างเลอะเทอะ ร่ายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้นเป็ นผู้รู้การประพฤติตบะและการสาธยายมนต์นี้ ในความเพียรที่มนุษย์จะพึงทากัน จะพ้นจากอบายได้ละหรือ. ท่านปุโรหิตได้ฟังพระดารัสนั้นแล้ว ดาริว่า พระราชาพระองค์นี้ทรงเลื่อมใสในฐานะอันไม่ควร เราจะนิ่งเสียไม่ได้ละ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า ข้าแต่พระราชา ถ้าบุคคลเป็ นพหูสูต แต่ไม่ประพฤติธรรม ก็จะพึงกระทากรรมอันลามกทั้งหลายได้ แม้จะมีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความเป็นพหูสูต ยังไม่บรรลุจรณธรรม จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้เลย. อุททาลกะได้ฟังคาของท่านดังนั้นแล้ว คิดว่า พระราชาทรงเลื่อมใส คณะฤาษีตามพระอัธยาศัยแล้ว แต่พราหมณ์ผู้นี้มาขว้างโคที่กาลังเที่ยวไป ทิ้งหยากเยื่อลงในภัตที่เขาคิดไว้แล้วเสียได้ เราต้องพูดกับเขา เมื่อจะพูด จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า บุคคลผู้มีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความเป็นพหูสูตนั้น ยังไม่บรรลุจรณธรรมแล้ว จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้ อาตมภาพย่อมสาคัญว่า เวททั้งหลายก็ย่อมไม่มีผล จรณธรรมอันมีความสารวมเท่านั้นเป็นความจริง. ลาดับนั้น ปุโรหิตกล่าวคาถาว่า เวททั้งหลายจะไม่มีผล ก็หามิได้ จรณธรรมอันมีความสารวมนั้นนั่นแลเป็นความจริง แต่บุคคลเรียนเวท ทั้งหลายแล้ว ย่อมได้รับเกียรติคุณ ท่านผู้ฝึกฝนตนด้วยจรณธรรมแล้ว ย่อมบรรลุสันติ. อุททาลกะได้ฟังดังนั้น แล้วคิดว่า เราไม่อาจโต้กับปุโรหิตนี้ ด้วยอานาจเป็ นฝ่ายแย้งได้ ธรรมดาบุคคลที่จะไม่ทาความไยดีในคาที่ถูกกล่าว ไม่มีเลย เราต้องบอกความเป็นลูกแก่เขา จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า บุตรที่เกิดแต่มารดา บิดา และเผ่าพันธุ์ใด อันบุตรจะต้องเลี้ยงดู อาตมภาพเป็นคนๆ นั้นแหละมีชื่อว่า อุททาลกะ
  • 6. 6 เป็นเชื้อสายของวงค์ตระกูลโสตถิยะแห่งท่านผู้เจริญ. เมื่อท่านปุโรหิตถามว่า แน่หรือคุณชื่ออุททาลกะ. ท่านตอบว่า แน่ซิ. ถามต่อไปว่า ข้าพเจ้าให้เครื่องหมายไว้แก่มารดาของท่าน เครื่องหมายนั้นไปไหนเล่า ตอบว่า นี่พราหมณ์ พลางวางแหวนลงในมือของท่าน. พราหมณ์จาแหวนได้แต่ยังกล่าวว่า คุณเป็นพราหมณ์ตามโอกาสที่เลือกเรียน แต่จะรู้พราหมณธรรมละหรือ. เมื่อจะถามพราหมณธรรม จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร เป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร ความดับรอบจะมีได้อย่างไร เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียกว่ากระไร. อุททาลกะ เมื่อบอกแก่ท่าน จึงกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า บุคคลเป็นพราหมณ์ ต้องบูชาไฟเป็นนิตย์ ต้องรดน้า เมื่อบูชายัญต้องยกเสาเจว็ด ผู้กระทาอย่างนี้ จึงเป็ นพราหมณ์ผู้เกษม ด้วยเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงพากันสรรเสริญว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม. ปุโรหิตได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อติเตียนพราหมณ์ตามที่เขากล่าว จึงกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า ความหมดจด ย่อมไม่มีด้วยการรดน้า อนึ่ง พราหมณ์จะเป็ นพราหมณ์เต็มที่ ด้วยการรดน้า ก็หาไม่ ขันติและโสรัจจะย่อมมีไม่ได้ ทั้งผู้นั้นจะเป็ นผู้ดับรอบ ก็หามิได้. ลาดับนั้น อุททาลกะ เมื่อจะถามว่า ถ้าว่าไม่เป็นพราหมณ์ด้วยอย่างนี้ละ ก็จะเป็ นได้อย่างไรกัน จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร และเป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร ความดับรอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียกว่ากระไร. ฝ่ายปุโรหิต เมื่อจะกล่าวแก่เขาก็กล่าวคาถาต่อไปว่า บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีพวกพ้อง ไม่ถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง ไม่มีบาปคือความโลภ สิ้นความโลภในภพแล้ว ผู้กระทาอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ผู้เกษม เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงได้พากันสรรเสริญว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม. ลาดับนั้น อุททาลกะกล่าวคาถาว่า กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ คนเป็นผู้เย็นแล้ว ยังจะมีคนดีคนเลวอีก หรือไม่. ลาดับนั้น เพื่อจะชี้แจงว่า จาเดิมแต่บรรลุพระอรหัตไป
  • 7. 7 ขึ้นชื่อว่าความต่าความสูงย่อมไม่มีแก่เขา พราหมณ์กล่าวคาถาว่า กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย. ลาดับนั้น เมื่ออุททาลกะจะติเตียนท่านปุโรหิตนั้น จึงกล่าวสองคาถาว่า กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านชื่อว่าทาลายความเป็นเชื้อสายแห่งตระกูลโสตถิยะ จะประพฤติเพศพราหมณ์ ที่เขาสรรเสริญกันอยู่ทาไม. ครั้งนั้น ท่านปุโรหิตจะเปรียบเทียบให้เขาเข้าใจ จึงกล่าวสองคาถาว่า วิมานที่เขาคลุมด้วยผ้ามีสีต่างๆ กัน เงาแห่งผ้าเหล่านั้น ย่อมเป็นสีเดียวกันหมด สีที่ย้อมนั้น ย่อมไม่เกิดเป็นสี ฉันใด ในมนุษย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น เมื่อใด มาณพบริสุทธิ์ เมื่อนั้น มาณพเหล่านั้นเป็ นผู้มีวัตรดี เพราะรู้ทั่วถึงธรรม ย่อมละชาติของตนได้. แม้ในหมู่มนุษย์ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน พวกพราหมณ์ไม่มีความรู้บางพวกร่วมกันบัญญัติวัณณะ ๔ ไว้โดยหาการกระทามิได้เลย เธออย่าถือว่า ข้อนี้มีอยู่เลย กาลใด ท่านผู้บัณฑิตในโลกนี้ผุดผ่องด้วยอริยมรรค กาลนั้น บุรุษบัณฑิตมีวัตรดี คือมีศีล เพราะทราบนิพพานธรรมตามที่ท่านเหล่านั้นบรรลุแล้ว ท่านเหล่านั้นย่อม เปลื้องชาติของตนเสีย เพราะว่า ตั้งแต่บรรลุพระนิพพานไป ขึ้นชื่อว่าชาติก็หาประโยชน์มิได้เลย. อุททาลกะไม่สามารถจะนาปัญหามาถามอีกได้ ก็นั่งจานน. ทีนั้น ท่านพราหมณ์จึงกราบทูลถึงเขากะพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช พวกนี้ทั้งหมดเป็นผู้หลอกลวง จักพากันทาลายชมพูทวีปทั้งสิ้นเสีย ด้วยความหลอกลวงเป็ นแท้ พระองค์โปรดให้อุททาลกะสึกเสีย ตั้งให้เป็นปุโรหิต ที่เหลือเล่าก็โปรดให้สึกเสีย พระราชทานโล่และอาวุธ โปรดให้เป็ นเสวกเสียเถิด. พระราชาตรัสว่า ดีละ ท่านอาจารย์ ได้ทรงกระทาอย่างนั้นแล้ว. อุททาลกะเป็นข้าเฝ้ าพระราชาไปตามยถากรรม. พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน เธอก็เคยหลอกลวงเหมือนกัน
  • 8. 8 ทรงประชุมชาดกว่า อุททาลกะในครั้งนั้น ได้มาเป็น ภิกษุผู้หลอกลวง พระราชาได้มาเป็น พระอานนท์ ส่วนปุโรหิตได้มาเป็ น เราตถาคต แล. จบอรรถกถาอุททาลกชาดกที่ ๔ -----------------------------------------------------