SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
1
ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน ตอนที่ ๑๕ โปสาลปัญหา
ปัญหาเรื่อง ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
(๑๔) โปสาลปัญหา
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๔.โปสาลมาณวกปัญหา
ว่าด้วยปัญหาของโปสาลมาณพ
[๑๑๑๙] (โปสาลมาณพทูลถามดังนี้ ) พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ตัดความสงสัยได้แล้ว ทรงแสดงอดีตธรรม ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
[๑๑๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา (ผู้
ไม่มีรูปสัญญา หมายถึงผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔) ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอก
เห็นว่าไม่มีอะไร บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนาอย่างไร
[๑๑๒๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ) ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณัฏฐิติ (วิญญาณัฏฐิติ
คือ ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ในที่นี้ หมายถึงวิญญาณัฏฐิติ ๔ และวิญญาณัฏฐิติ ๗) ทั้งหมด รู้จักบุคคล
นั้นผู้ดารงอยู่ ผู้น้อมไปแล้ว ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย
[๑๑๒๒] บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขาร (กัมมาภิสังขาร ในที่นี้ หมายถึงอาเนญชาภิสังขาร สภาพที่
ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายถึง ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่) ว่า
เป็นเหตุเกิดแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ รู้อรูปราคะว่า มีความเพลิดเพลินเป็ นเครื่องผูกไว้ ครั้นรู้
กรรมอย่างนี้ แล้ว ออกจากสมาบัตินั้น เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น ญาณนี้ ของพราหมณ์ผู้อยู่จบ
พรหมจรรย์ เป็นญาณอันแท้จริง
โปสาลมาณวกปัญหาที่ ๑๔ จบ
----------------------------------------------
2
โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของโปสาลมาณพ
(คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของนิทเทส)
[๘๑] (ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้ )
พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ตัดความสงสัยได้แล้ว
ทรงแสดงอดีตธรรม
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม
จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
(๑) คาว่า พระองค์ใด ในคาว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ... ทรงแสดงอดีตธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระ
ภาคผู้เป็นพระสยัมภู คือ ไม่มีครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน ด้วยพระองค์เอง ทรง
บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในสัจจะนั้น และความเป็นผู้ชานาญในพละทั้งหลาย
ว่าด้วยการแสดงอดีตธรรม
คาว่า ทรงแสดงอดีตธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบัน
ธรรม ของพระองค์ และชนเหล่าอื่น
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์ อย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรม คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕
ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ฯลฯ ๑,๐๐๐
ชาติบ้าง ฯลฯ ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ฯลฯ หลายสังวัฏฏกัป (สังวัฏฏกัป คือกัปที่กาลังเสื่อม เพราะในกาลนั้น
3
สัตว์ทั้งหลายไปรวมกันอยู่ในพรหมโลก)-
บ้าง ฯลฯ หลายวิวัฏฏกัป (วิวัฏฏกัป คือกัปที่กาลังเจริญ เพราะใน
กาลนั้นสัตว์ทั้งหลายกลับจากพรหมโลก) บ้าง ฯลฯ หลายสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ของพระองค์เองว่า
“ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้น ก็
ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ มีอายุอย่าง
นั้นๆ จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้ ” ทรงแสดงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และ
ชีวประวัติอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์อย่างนี้
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของชนเหล่าอื่น อย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรม คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ หลายสังวัฏฏกัปและ
วิวัฏฏกัปบ้าง ของชนเหล่าอื่นว่า “ในภพโน้น เขามีชื่ออย่างนี้ มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และ
มีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เขาก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มี
อาหาร เสวยสุขทุกข์ มีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ ” พระผู้มีพระภาคทรงแสดงชาติก่อน
ได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของชนเหล่า
อื่นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาค เมื่อตรัสชาดก ๕๐๐ ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์และชนเหล่าอื่น เมื่อ
ตรัสมหาปทานิยสูตร (มหาปทานสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยประวัติของมหาบุรุษทั้งหลาย) ชื่อว่าทรงแสดงอดีต
ธรรมของพระองค์และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมหาสุทัสสนิยสูตร (มหาสุทัสสนสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยสมบัติ
ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ) ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมหาโควินทิย
สูตร (มหาโควินทสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องราวของพราหมณ์ชื่อมหาโควินทะ)-
ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรม
ของพระองค์และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมาฆเทวิยสูตร (มาฆเทวสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยประวัติของท้าวมฆ
เทพ) ก็ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์และชนเหล่าอื่น
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ตถาคตมีญาณอันตามระลึก ปรารภอดีตกาล
ยาวนาน ตถาคตมุ่งอดีตกาลยาวนานเท่าใด ก็ระลึกได้เท่านั้น ตถาคตมีญาณอันตามระลึก ปรารภอนาคต
กาลยาวนาน ฯลฯ จุนทะ ญาณอันเกิดที่ต้นโพธิ์ของตถาคต ปรารภปัจจุบันกาลยาวนาน เกิดขึ้นว่า ‘ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ต่อไป ไม่มี”
พระอินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณอันกาหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์
ทั้งหลาย) เป็นกาลังของตถาคต พระอาสยานุสยญาณ (ความรู้จักฉันทะที่มานอนและกิเลสที่นอนเนื่อง)
ของเหล่าสัตว์ เป็นกาลังของตถาคต พระยมกปาฏิหาริยญาณ (ญาณเป็นเครื่องนาธรรมชาติคู่ตรงข้ามกัน
กลับมาแสดง) เป็นกาลังของตถาคต พระมหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในพระมหากรุณาสมาบัติ) เป็น
กาลังของตถาคต พระสัพพัญญุตญาณ เป็นกาลังของตถาคต พระอนาวรณญาณ (ญาณที่หาเครื่องกางกั้น
4
ไม่ได้) เป็นกาลังของตถาคต พระอนาวรณญาณอันไม่มีอะไรข้อง ไม่มีอะไรขัดได้ในทุกแห่งหน เป็นกาลัง
ของตถาคต พระผู้มีพระภาคทรงแสดง คือ บอก แสดง บัญญัติ กาหนด เปิดเผย จาแนก ทาให้ง่าย ประกาศ
อดีตธรรมบ้าง อนาคตธรรมบ้าง ปัจจุบันธรรมบ้าง ของพระองค์และชนเหล่าอื่นอย่างนี้ รวมความว่า พระผู้
มีพระภาคพระองค์ใด ... ทรงแสดงอดีตธรรม
คาว่า โปสาละ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านโปสาละทูลถาม
ดังนี้
คาว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า เหตุให้
หวั่นไหว ได้แก่ ความกาหนัด ความกาหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหานั้นเหตุให้หวั่นไหว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทาให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อ
ว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงไม่ทรงหวั่นไหว พระผู้มีพระภาคไม่
ทรงหวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภบ้าง
เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
คาว่า ตัดความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ความลังเลตรัสเรียกว่า ความสงสัย ได้แก่ ความสงสัยใน
ทุกข์ ฯลฯ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติดขัดในใจ ความสงสัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละ คือ ตัด
ตัดขาด ตัดขาดพร้อม ให้เข้าไปสงบ สลัดทิ้ง ระงับ ทาให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น
พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าทรงตัดความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้
แล้ว
คาว่า ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงถึงฝั่งได้ด้วยความรู้ยิ่ง ถึงฝั่งได้
ด้วยการกาหนดรู้ ถึงฝั่งได้ด้วยการละ ถึงฝั่งได้ด้วยการเจริญภาวนา ถึงฝั่งได้ด้วยการทาให้แจ้ง ถึงฝั่งได้ด้วย
การเข้าสมาบัติ ถึงฝั่งได้ด้วยความรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตายและ
ภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
คาว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้า อธิบายว่า ข้าพระองค์ต้องการถามปัญหาจึงมา
เฝ้า ฯลฯ ข้อนี้ จึงเป็นภาระของพระองค์ รวมความว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้า อย่างนี้ บ้าง
ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า (ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้ )
พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ตัดความสงสัยได้แล้ว
5
ทรงแสดงอดีตธรรม
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม
จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
[๘๒] (ท่านโปสาละทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ
ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด
ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร
บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนาอย่างไร
(๒) คาว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า
รูปสัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญา ความจาได้ ความเป็นผู้หมายรู้ของบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ หรือถือกาเนิด(ในรู
ปาวจรภพ) หรือมีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้ ชื่อว่ารูปสัญญา
คาว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า ผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ ไม่มีรูปสัญญา คือ ไม่ปรากฏ ก้าวล่วง ก้าว
พ้น ล่วงพ้นแล้ว รวมความว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา
คาว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด อธิบายว่า รูปกายซึ่งมีในคราวปฏิสนธิทั้งหมด บุคลลนั้นละได้แล้ว
คือ เขาละรูปกาย เพราะก้าวล่วงด้วยตทังคปหาน (ตทังคปหาน หมายถึงการละด้วยองค์นั้นๆ คือ การละรูป
กายด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน) (และ) ด้วยวิกขัมภนปหาน (วิกขัมภนปหาน หมายถึงการละด้วยข่มไว้ คือ
การละรูปกายของท่านผู้ได้อรูปฌาน) รวมความว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด
คาว่า ไม่มีอะไร ในคาว่า ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร อธิบายว่า อา
กิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” เพราะ
เหตุไร
คือ บุคคลผู้มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติใด ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ไม่ให้วิญญาณนั้นมี
ไม่ให้มีโดยประการต่างๆ ให้อันตรธานไป ย่อมเห็นว่า “อะไรน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอา
กิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่าอะไร น้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี รวมความว่า ผู้พิจารณาทั้งภายในและ
ภายนอกเห็นว่าไม่มีอะไร
6
คาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ในคาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้สักกะ พระผู้มีพระภาคเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ ฯลฯ
ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ
คาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามถึง
ญาณ คือ ทูลถามถึงปัญญา ทูลถามถึงความรู้ชัดของบุคคลนั้นว่า ญาณเป็นอย่างไร มีสัณฐานอย่างไร มี
ประการอย่างไร เปรียบได้กับอะไร บุคคลนั้นพึงปรารถนา รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์
ขอทูลถามถึงญาณ
คาว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนาอย่างไร อธิบายว่า บุคคลนั้นควรแนะนา ควรแนะนาไป
โดยวิเศษ ตามแนะนา แนะนาให้รู้ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้ผู้อื่นรู้จักประโยชน์ ให้เพ่งพินิจ ให้พิจารณา ให้เลื่อมใส
อย่างไร ได้แก่ ควรให้เกิดญาณยิ่งๆ ขึ้นไปแก่เขาอย่างไร
คาว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ได้แก่ บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น คือ ผู้เป็นอย่างนั้น ผู้ดารงอยู่อย่างนั้น ผู้เป็น
ประการนั้น ผู้มีส่วนอย่างนั้น ได้แก่ ผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ รวมความว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควร
แนะนาอย่างไร ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ
ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด
ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร
บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนาอย่างไร
[๘๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ)
ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด
รู้จักบุคคลนั้นผู้ดารงอยู่ ผู้น้อมไปแล้ว
ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย
(๓) ว่าด้วยวิญญาณัฏฐิติ ๗
คาว่า ซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด (วิญญาณัฏฐิติ คือภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ขันธ์ที่มีวิญญาณ)
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอานาจอภิสังขาร ทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๗ ด้วยอานาจ
ปฏิสนธิ พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอานาจอภิสังขารอย่างไร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์) ที่เข้าถึงรูป เมื่อดารงอยู่ ก็มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูป
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้ ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่
เข้าถึงเวทนา ฯลฯ
7
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร
เมื่อดารงอยู่ ก็มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ
งอกงาม ไพบูลย์ได้” พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักวิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอานาจอภิสังขารอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๗ ด้วยอานาจปฏิสนธิอย่างไร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีสัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา
(เทวดา ในที่นี้ หมายถึง เทวดาที่อยู่ในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง ๖ ชั้น) บางพวก วินิปาติกะ (วินิปาติกะ ในที่นี้
หมายถึง พวกเวมานิกเปรตคือพวกเปรตที่พ้นจากอบาย ๔ มียักษิณีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุ ยักษิณีผู้เป็น
มารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของปุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้ แตกต่างกันคือ มีทั้งอ้วน ผอม เตี้ย
สูง มีผิวขาว ผิวดา ผิวสีทอง และสีนิล มีสัญญาต่างกันด้วยติเหตุกะ ทุเหตุกะ และอเหตุกะเหมือนของมนุษย์
เวมานิกเปรตเหล่านี้ ไม่มีศักดิ์มากเหมือนพวกเทพ บางพวกได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เว
มานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ ดุจการบรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ
เป็นต้น) บางพวก นี้ คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๑
สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา เกิดใน
ปฐมฌาน นี้ คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๒
สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้นอาภัสระ นี้ คือวิญญาณัฏ
ฐิติที่ ๓
สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน(และ)มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ นี้ คือ
วิญญาณัฏฐิติที่ ๔
สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า “อากาศไม่มีที่สุด” นี้ คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๕
สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตน
ฌาน ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” นี้ คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๖
สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตน
ฌาน ด้วยมนสิการว่า “ไม่มีอะไรเลย” นี้ คือ วิญญาณัฏฐิติที่ ๗
พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๗ ด้วยอานาจปฏิสนธิอย่างนี้ รวมความว่า ซึ่งวิญญาณัฏฐิติ
ทั้งหมด
คาว่า โปสาละ ในคาว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ เป็นคาที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
พราหมณ์นั้นโดยชื่อ
8
คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคากล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คาว่าพระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกา
บัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ
ว่าด้วยพระตถาคต
คาว่า รู้ยิ่ง ในคาว่า ตถาคตรู้ยิ่ง อธิบายว่า พระตถาคตทรงรู้ยิ่ง คือ ทรงรู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ถ้าแม้เรื่องอดีตเป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์ (พยากรณ์ ในที่นี้ หมายถึงการตอบปัญหา หรือการอธิบายปัญหาให้
ชัดเจน) เรื่องอดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์
เรื่องอดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะ
พยากรณ์ปัญหานั้น จุนทะ ถ้าแม้เรื่องอนาคต ฯลฯ จุนทะ ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น ถึงแม้เรื่องปัจจุบันเป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น ถึงแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้ง
ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้นตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น จุนทะ ตถาคตเป็นกาลวาที
(กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาที่เหมาะ) ภูตวาที (ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง) อัตถวาที (อัตถ
วาที หมายถึงตรัสถึงปรมัตถนิพพาน) ธัมมวาที (ธัมมวาที หมายถึงตรัสถึงมรรคธรรมและผลธรรม) วินย
วาที (วินยวาที หมายถึงตรัสถึงวินัยมีการสารวมเป็นต้น) ในธรรม ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต
จุนทะ อายตนะใดแล อันโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก อันหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว เสาะหาแล้ว พิจารณาแล้วด้วย
ใจ อายตนะทั้งหมดนั้น ตถาคตรู้ยิ่งเองแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต
ตถาคตย่อมตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในราตรีใด และตถาคตย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิ
เสสนิพพานธาตุในราตรีใด ตถาคตย่อมกล่าว เล่า ชี้แจง เรื่องใดในระหว่างนั้น เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องจริง
แท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต
ตถาคตตรัสอย่างใด ทาอย่างนั้น ทาอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ตถาคตตรัสอย่างใด ทาอย่างนั้น ทา
อย่างใด ตรัสอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต
จุนทะ ตถาคตทรงยิ่งใหญ่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อันใครๆ ครอบงาไม่ได้ เป็นผู้เห็นโดยถ่องแท้ เป็นผู้ให้อานาจเป็นไป
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต รวมความว่าตถาคตรู้ยิ่ง
คาว่า รู้จักบุคคลนั้นผู้ดารงอยู่ อธิบายว่า
9
พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กาลังดารงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอานาจกัมมาภิสังขาร (กัมมาภิสังขาร
ในที่นี้ หมายถึงอภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว เรียกว่า อปุญญาภิ
สังขาร) ว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กาลังดารงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอานาจกัมมาภิสังขาร ว่า “บุคคลนี้
ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในกาเนิดเดรัจฉาน”
พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กาลังดารงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอานาจกัมมาภิสังขารว่า “บุคคลนี้
ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในเปตวิสัย”
พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กาลังดารงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอานาจกัมมาภิสังขารว่า “บุคคลนี้
ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักถือกาเนิดในหมู่มนุษย์”
พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กาลังดารงอยู่ในโลกนี้ เอง ด้วยอานาจกัมมาภิสังขาร (กัมมาภิ
สังขาร ในที่นี้ หมายถึง อภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร
และรูปาวจร) ว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์”
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สารีบุตร เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ
อย่างนี้ ว่า ‘บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้นและดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก’
เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ ว่า ‘บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น
และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในกาเนิดเดรัจฉาน’ เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้
ด้วยใจอย่างนี้ ว่า ‘บุคคล นี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้นและดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิด
ในเปตวิสัย’
เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ ว่า ‘บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้นเป็นไปอย่างนั้น
และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักถือกาเนิดในหมู่มนุษย์’
เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ ว่า ‘บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น
และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’
เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ ว่า ‘บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น
และดาเนินทางนั้นแล้ว จักทาให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะหมดสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่ง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” รวมความว่า รู้จักบุคคลนั้นผู้ดารงอยู่
10
คาว่า ผู้น้อมไปแล้ว ในคาว่า ผู้น้อมไปแล้ว ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น เป็นที่มุ่งหมาย
อธิบายว่า ผู้น้อมไปสู่อากิญจัญญายตนสมาบัติ คือน้อมไปโดยวิโมกข์ น้อมไปในสมาบัตินั้น น้อมไปสู่
สมาบัตินั้น มีสมาบัตินั้นเป็นใหญ่
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “บุคคลนี้ น้อมใจไปในรูป น้อมใจไปในเสียง น้อมใจไป
ในกลิ่น น้อมใจไปในรส น้อมใจไปในโผฏฐัพพะ น้อมใจไปในตระกูล น้อมใจไปในหมู่คณะ น้อมใจไปใน
อาวาส น้อมใจไปในลาภ น้อมใจไปในยศ น้อมใจไปในสรรเสริญ น้อมใจไปในสุข น้อมใจไปในจีวร น้อมใจ
ไปในบิณฑบาต น้อมใจไปในเสนาสนะ น้อมใจไปในคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร น้อมใจไปในพระสูตร น้อมใจ
ไปในพระวินัย น้อมใจไปในพระอภิธรรม น้อมใจไปในบังสุกูลิกังคธุดงค์ (สมาทานการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็น
วัตร) น้อมใจไปในเตจีวริกังคธุดงค์(สมาทานการทรงไตรจีวรเป็นวัตร) น้อมใจไปในปิณฑปาติกังคธุดงค์
(สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร) น้อมใจไปในสปทานจาริกังคธุดงค์(สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตไป
ตามลาดับเป็นวัตร) น้อมใจไปในเอกาสนิกังคธุดงค์(สมาทานการนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร) น้อมใจ
ไปในปัตตปิณฑิกังคธุดงค์(สมาทานการฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร) น้อมใจไปในขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์
(สมาทานการงดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตร) น้อมใจไปในอารัญญิกังคธุดงค์(สมาทานการอยู่ป่าเป็นวัตร)
น้อมใจไปในรุกขมูลิกังคธุดงค์(สมาทานการถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร) น้อมใจไปในอัพโภกาสิกังคธุดงค์
(สมาทานการถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร) น้อมใจไปในโสสานิกังคธุดงค์ (สมาทานการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร) น้อมใจ
ไปในยถาสันถติกังคธุดงค์(สมาทานการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร) น้อมใจไปในเนสัชชิกังค
ธุดงค์(สมาทานการนั่งเป็นวัตร) น้อมใจไปในปฐมฌาน น้อมใจไปในทุติยฌาน น้อมใจไปในตติยฌาน น้อม
ใจไปในจตุตถฌาน น้อมใจไปในอากาสานัญจายตนสมาบัติ น้อมใจไปในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ น้อมใจ
ไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ” รวมความว่าผู้น้อมไปแล้ว
คาว่า ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย อธิบายว่า สาเร็จมาจากอากิญจัญญายตนส
มาบัติ มีสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย มีกรรมเป็นที่มุ่งหมาย มีวิบากเป็นที่มุ่งหมาย หนักในกรรม หนักใน
ปฏิสนธิ
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “บุคคลนี้ มีรูปเป็นที่มุ่งหมาย ฯลฯ มีเนวสัญญานา
สัญญายตนสมาบัติเป็นที่มุ่งหมาย” รวมความว่า ผู้น้อมไปแล้วผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่ง
หมาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ)
ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด
รู้จักบุคคลนั้นผู้ดารงอยู่ ผู้น้อมไปแล้ว
ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย
11
[๘๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขารว่าเป็นเหตุเกิด
แห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้
ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้ แล้ว ออกจากสมาบัตินั้น
เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น
ญาณนี้ ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์นั้น
เป็นญาณอันแท้จริง
(๔) คาว่า บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขาร (กัมมาภิสังขาร ในที่นี้ หมายถึงอาเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพ
อันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายถึงภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่) ว่าเป็นเหตุเกิด
แห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อธิบายว่า กัมมาภิสังขาร อันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพ ตรัสเรียกว่า
เหตุเกิดแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขาร อันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพ ว่าเป็นเหตุเกิดแห่งอา
กิญจัญญายตนสมาบัติ คือ รู้ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทาให้กระจ่าง ทาให้แจ่มแจ้งว่า เป็นเหตุเกาะติด
เป็นเหตุผูกพัน เป็นเหตุพัวพัน รวมความว่า บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขารว่าเป็นเหตุเกิดแห่งอา
กิญจัญญายตนสมาบัติ
คาว่า รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ อธิบายว่า อรูปราคะ ตรัสเรียกว่า ความ
เพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้
บุคคลนั้นรู้กรรมนั้นว่า เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันด้วยอรูปราคะ คือ รู้ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา
ทาให้กระจ่าง ทาให้แจ่มแจ้งอรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลิน เป็นเครื่องผูกไว้ คือ รู้ว่าเป็นเหตุเกาะติด เป็น
เหตุผูกพัน เป็นเหตุพัวพัน
คาว่า ว่า เป็นคาสนธิ ฯลฯ คาว่า ว่า นี้ เป็นคาเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน รวมความว่า รู้
อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้
คาว่า ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้ แล้ว อธิบายว่า ครั้นรู้ คือ ครั้นทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทาให้
กระจ่าง ทาให้แจ่มแจ้งกรรมนั้นอย่างนี้ แล้ว รวมความว่า ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้ แล้ว
คาว่า ออกจากสมาบัตินั้น ในคาว่า ออกจากสมาบัตินั้น เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น
อธิบายว่า บุคคลเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ก็เห็นแจ้ง คือ แล
เห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นธรรม คือ จิตและเจตสิก ที่เกิดในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น โดยความ
12
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป รวมความว่า ออกจากสมาบัตินั้น เห็น
แจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น
คาว่า ญาณนี้ ... นั้น เป็นญาณอันแท้จริง อธิบายว่า ญาณนี้ ของบุคคลนั้นจริง แท้ แน่นอน ไม่
ผิดเพี้ยน รวมความว่า ญาณนี้ ... นั้น เป็นญาณอันแท้จริง
คาว่า ของพราหมณ์ ในคาว่า ของพราหมณ์ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าพราหมณ์
เพราะเป็นผู้ลอยธรรม ๗ ประการได้แล้ว ฯลฯ ผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า
เป็นพราหมณ์
คาว่า ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า พระเสขะ ๗ จาพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน
ย่อมอยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครอง เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทาให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทาให้แจ้ง พระอรหันต์อยู่จบแล้ว ทากิจที่ควรทาแล้ว ปลงภาระ บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว
โดยลาดับ หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ พระอรหันต์นั้นอยู่ใน (อริยวาสธรรม)แล้ว
ประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ ท่านไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า
ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขารว่าเป็นเหตุเกิด
แห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้
ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้ แล้ว ออกจากสมาบัตินั้น
เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น
ญาณนี้ ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์นั้น
เป็นญาณอันแท้จริง
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โปสาลมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระ
ภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
โปสาลมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๔ จบ
----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to ๑๔ โปสาลปัญหา.pdf

๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdfmaruay songtanin
 
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
๐๗ นันทปัญหา.pdf
๐๗ นันทปัญหา.pdf๐๗ นันทปัญหา.pdf
๐๗ นันทปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยา
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยาเรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยา
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยาTongsamut vorasan
 
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘Tongsamut vorasan
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrareciteTongsamut vorasan
 
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์Padvee Academy
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗Tongsamut vorasan
 
บาลี 37 80
บาลี 37 80บาลี 37 80
บาลี 37 80Rose Banioki
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗Wataustin Austin
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗Tongsamut vorasan
 
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรChirayu Boonchaisri
 

Similar to ๑๔ โปสาลปัญหา.pdf (20)

๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
 
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
 
๐๗ นันทปัญหา.pdf
๐๗ นันทปัญหา.pdf๐๗ นันทปัญหา.pdf
๐๗ นันทปัญหา.pdf
 
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf
๐๔ เมตตคูปัญหา.pdf
 
มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์
 
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
 
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
 
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยา
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยาเรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยา
เรียนเชิญ คุณหมอไพโรจน์ และภรรยา
 
มุตโตทัย
มุตโตทัยมุตโตทัย
มุตโตทัย
 
test
testtest
test
 
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
 
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
 
บาลี 37 80
บาลี 37 80บาลี 37 80
บาลี 37 80
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
 
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
3 37คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๗
 
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
 

More from maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 

๑๔ โปสาลปัญหา.pdf

  • 1. 1 ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน ตอนที่ ๑๕ โปสาลปัญหา ปัญหาเรื่อง ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (๑๔) โปสาลปัญหา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต ๑๔.โปสาลมาณวกปัญหา ว่าด้วยปัญหาของโปสาลมาณพ [๑๑๑๙] (โปสาลมาณพทูลถามดังนี้ ) พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้แล้ว ทรงแสดงอดีตธรรม ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง [๑๑๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา (ผู้ ไม่มีรูปสัญญา หมายถึงผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔) ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอก เห็นว่าไม่มีอะไร บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนาอย่างไร [๑๑๒๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ) ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณัฏฐิติ (วิญญาณัฏฐิติ คือ ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ในที่นี้ หมายถึงวิญญาณัฏฐิติ ๔ และวิญญาณัฏฐิติ ๗) ทั้งหมด รู้จักบุคคล นั้นผู้ดารงอยู่ ผู้น้อมไปแล้ว ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย [๑๑๒๒] บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขาร (กัมมาภิสังขาร ในที่นี้ หมายถึงอาเนญชาภิสังขาร สภาพที่ ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายถึง ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่) ว่า เป็นเหตุเกิดแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ รู้อรูปราคะว่า มีความเพลิดเพลินเป็ นเครื่องผูกไว้ ครั้นรู้ กรรมอย่างนี้ แล้ว ออกจากสมาบัตินั้น เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น ญาณนี้ ของพราหมณ์ผู้อยู่จบ พรหมจรรย์ เป็นญาณอันแท้จริง โปสาลมาณวกปัญหาที่ ๑๔ จบ ----------------------------------------------
  • 2. 2 โปสาลมาณวปัญหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของโปสาลมาณพ (คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของนิทเทส) [๘๑] (ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้ ) พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้แล้ว ทรงแสดงอดีตธรรม ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง (๑) คาว่า พระองค์ใด ในคาว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ... ทรงแสดงอดีตธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระ ภาคผู้เป็นพระสยัมภู คือ ไม่มีครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน ด้วยพระองค์เอง ทรง บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในสัจจะนั้น และความเป็นผู้ชานาญในพละทั้งหลาย ว่าด้วยการแสดงอดีตธรรม คาว่า ทรงแสดงอดีตธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบัน ธรรม ของพระองค์ และชนเหล่าอื่น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์ อย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรม คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ฯลฯ ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ฯลฯ ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ฯลฯ หลายสังวัฏฏกัป (สังวัฏฏกัป คือกัปที่กาลังเสื่อม เพราะในกาลนั้น
  • 3. 3 สัตว์ทั้งหลายไปรวมกันอยู่ในพรหมโลก)- บ้าง ฯลฯ หลายวิวัฏฏกัป (วิวัฏฏกัป คือกัปที่กาลังเจริญ เพราะใน กาลนั้นสัตว์ทั้งหลายกลับจากพรหมโลก) บ้าง ฯลฯ หลายสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ของพระองค์เองว่า “ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้น ก็ ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ มีอายุอย่าง นั้นๆ จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้ ” ทรงแสดงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และ ชีวประวัติอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของชนเหล่าอื่น อย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรม คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ หลายสังวัฏฏกัปและ วิวัฏฏกัปบ้าง ของชนเหล่าอื่นว่า “ในภพโน้น เขามีชื่ออย่างนี้ มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และ มีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เขาก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มี อาหาร เสวยสุขทุกข์ มีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ ” พระผู้มีพระภาคทรงแสดงชาติก่อน ได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของชนเหล่า อื่นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาค เมื่อตรัสชาดก ๕๐๐ ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์และชนเหล่าอื่น เมื่อ ตรัสมหาปทานิยสูตร (มหาปทานสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยประวัติของมหาบุรุษทั้งหลาย) ชื่อว่าทรงแสดงอดีต ธรรมของพระองค์และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมหาสุทัสสนิยสูตร (มหาสุทัสสนสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยสมบัติ ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ) ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมหาโควินทิย สูตร (มหาโควินทสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องราวของพราหมณ์ชื่อมหาโควินทะ)- ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรม ของพระองค์และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมาฆเทวิยสูตร (มาฆเทวสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยประวัติของท้าวมฆ เทพ) ก็ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์และชนเหล่าอื่น สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ตถาคตมีญาณอันตามระลึก ปรารภอดีตกาล ยาวนาน ตถาคตมุ่งอดีตกาลยาวนานเท่าใด ก็ระลึกได้เท่านั้น ตถาคตมีญาณอันตามระลึก ปรารภอนาคต กาลยาวนาน ฯลฯ จุนทะ ญาณอันเกิดที่ต้นโพธิ์ของตถาคต ปรารภปัจจุบันกาลยาวนาน เกิดขึ้นว่า ‘ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ต่อไป ไม่มี” พระอินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณอันกาหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ ทั้งหลาย) เป็นกาลังของตถาคต พระอาสยานุสยญาณ (ความรู้จักฉันทะที่มานอนและกิเลสที่นอนเนื่อง) ของเหล่าสัตว์ เป็นกาลังของตถาคต พระยมกปาฏิหาริยญาณ (ญาณเป็นเครื่องนาธรรมชาติคู่ตรงข้ามกัน กลับมาแสดง) เป็นกาลังของตถาคต พระมหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในพระมหากรุณาสมาบัติ) เป็น กาลังของตถาคต พระสัพพัญญุตญาณ เป็นกาลังของตถาคต พระอนาวรณญาณ (ญาณที่หาเครื่องกางกั้น
  • 4. 4 ไม่ได้) เป็นกาลังของตถาคต พระอนาวรณญาณอันไม่มีอะไรข้อง ไม่มีอะไรขัดได้ในทุกแห่งหน เป็นกาลัง ของตถาคต พระผู้มีพระภาคทรงแสดง คือ บอก แสดง บัญญัติ กาหนด เปิดเผย จาแนก ทาให้ง่าย ประกาศ อดีตธรรมบ้าง อนาคตธรรมบ้าง ปัจจุบันธรรมบ้าง ของพระองค์และชนเหล่าอื่นอย่างนี้ รวมความว่า พระผู้ มีพระภาคพระองค์ใด ... ทรงแสดงอดีตธรรม คาว่า โปสาละ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้ คาว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า เหตุให้ หวั่นไหว ได้แก่ ความกาหนัด ความกาหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหานั้นเหตุให้หวั่นไหว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือน ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทาให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อ ว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงไม่ทรงหวั่นไหว พระผู้มีพระภาคไม่ ทรงหวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว คาว่า ตัดความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ความลังเลตรัสเรียกว่า ความสงสัย ได้แก่ ความสงสัยใน ทุกข์ ฯลฯ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติดขัดในใจ ความสงสัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละ คือ ตัด ตัดขาด ตัดขาดพร้อม ให้เข้าไปสงบ สลัดทิ้ง ระงับ ทาให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าทรงตัดความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้ แล้ว คาว่า ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงถึงฝั่งได้ด้วยความรู้ยิ่ง ถึงฝั่งได้ ด้วยการกาหนดรู้ ถึงฝั่งได้ด้วยการละ ถึงฝั่งได้ด้วยการเจริญภาวนา ถึงฝั่งได้ด้วยการทาให้แจ้ง ถึงฝั่งได้ด้วย การเข้าสมาบัติ ถึงฝั่งได้ด้วยความรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตายและ ภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง คาว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้า อธิบายว่า ข้าพระองค์ต้องการถามปัญหาจึงมา เฝ้า ฯลฯ ข้อนี้ จึงเป็นภาระของพระองค์ รวมความว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้า อย่างนี้ บ้าง ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า (ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้ ) พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้แล้ว
  • 5. 5 ทรงแสดงอดีตธรรม ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง [๘๒] (ท่านโปสาละทูลถามว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนาอย่างไร (๒) คาว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า รูปสัญญา เป็นอย่างไร คือ สัญญา ความจาได้ ความเป็นผู้หมายรู้ของบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ หรือถือกาเนิด(ในรู ปาวจรภพ) หรือมีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้ ชื่อว่ารูปสัญญา คาว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า ผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ ไม่มีรูปสัญญา คือ ไม่ปรากฏ ก้าวล่วง ก้าว พ้น ล่วงพ้นแล้ว รวมความว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา คาว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด อธิบายว่า รูปกายซึ่งมีในคราวปฏิสนธิทั้งหมด บุคลลนั้นละได้แล้ว คือ เขาละรูปกาย เพราะก้าวล่วงด้วยตทังคปหาน (ตทังคปหาน หมายถึงการละด้วยองค์นั้นๆ คือ การละรูป กายด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน) (และ) ด้วยวิกขัมภนปหาน (วิกขัมภนปหาน หมายถึงการละด้วยข่มไว้ คือ การละรูปกายของท่านผู้ได้อรูปฌาน) รวมความว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด คาว่า ไม่มีอะไร ในคาว่า ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร อธิบายว่า อา กิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” เพราะ เหตุไร คือ บุคคลผู้มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติใด ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ไม่ให้วิญญาณนั้นมี ไม่ให้มีโดยประการต่างๆ ให้อันตรธานไป ย่อมเห็นว่า “อะไรน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอา กิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่าอะไร น้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี รวมความว่า ผู้พิจารณาทั้งภายในและ ภายนอกเห็นว่าไม่มีอะไร
  • 6. 6 คาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ในคาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้สักกะ พระผู้มีพระภาคเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ ฯลฯ ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ คาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามถึง ญาณ คือ ทูลถามถึงปัญญา ทูลถามถึงความรู้ชัดของบุคคลนั้นว่า ญาณเป็นอย่างไร มีสัณฐานอย่างไร มี ประการอย่างไร เปรียบได้กับอะไร บุคคลนั้นพึงปรารถนา รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ ขอทูลถามถึงญาณ คาว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนาอย่างไร อธิบายว่า บุคคลนั้นควรแนะนา ควรแนะนาไป โดยวิเศษ ตามแนะนา แนะนาให้รู้ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้ผู้อื่นรู้จักประโยชน์ ให้เพ่งพินิจ ให้พิจารณา ให้เลื่อมใส อย่างไร ได้แก่ ควรให้เกิดญาณยิ่งๆ ขึ้นไปแก่เขาอย่างไร คาว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ได้แก่ บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น คือ ผู้เป็นอย่างนั้น ผู้ดารงอยู่อย่างนั้น ผู้เป็น ประการนั้น ผู้มีส่วนอย่างนั้น ได้แก่ ผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ รวมความว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควร แนะนาอย่างไร ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนาอย่างไร [๘๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ) ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด รู้จักบุคคลนั้นผู้ดารงอยู่ ผู้น้อมไปแล้ว ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย (๓) ว่าด้วยวิญญาณัฏฐิติ ๗ คาว่า ซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด (วิญญาณัฏฐิติ คือภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ขันธ์ที่มีวิญญาณ) อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอานาจอภิสังขาร ทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๗ ด้วยอานาจ ปฏิสนธิ พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอานาจอภิสังขารอย่างไร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์) ที่เข้าถึงรูป เมื่อดารงอยู่ ก็มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูป เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้ ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่ เข้าถึงเวทนา ฯลฯ
  • 7. 7 ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อดารงอยู่ ก็มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้” พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักวิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอานาจอภิสังขารอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๗ ด้วยอานาจปฏิสนธิอย่างไร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีสัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา (เทวดา ในที่นี้ หมายถึง เทวดาที่อยู่ในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง ๖ ชั้น) บางพวก วินิปาติกะ (วินิปาติกะ ในที่นี้ หมายถึง พวกเวมานิกเปรตคือพวกเปรตที่พ้นจากอบาย ๔ มียักษิณีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุ ยักษิณีผู้เป็น มารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของปุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้ แตกต่างกันคือ มีทั้งอ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดา ผิวสีทอง และสีนิล มีสัญญาต่างกันด้วยติเหตุกะ ทุเหตุกะ และอเหตุกะเหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ ไม่มีศักดิ์มากเหมือนพวกเทพ บางพวกได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เว มานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ ดุจการบรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ เป็นต้น) บางพวก นี้ คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๑ สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา เกิดใน ปฐมฌาน นี้ คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๒ สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้นอาภัสระ นี้ คือวิญญาณัฏ ฐิติที่ ๓ สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน(และ)มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ นี้ คือ วิญญาณัฏฐิติที่ ๔ สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า “อากาศไม่มีที่สุด” นี้ คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๕ สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตน ฌาน ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” นี้ คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๖ สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตน ฌาน ด้วยมนสิการว่า “ไม่มีอะไรเลย” นี้ คือ วิญญาณัฏฐิติที่ ๗ พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๗ ด้วยอานาจปฏิสนธิอย่างนี้ รวมความว่า ซึ่งวิญญาณัฏฐิติ ทั้งหมด คาว่า โปสาละ ในคาว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ เป็นคาที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก พราหมณ์นั้นโดยชื่อ
  • 8. 8 คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคากล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คาว่าพระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกา บัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ ว่าด้วยพระตถาคต คาว่า รู้ยิ่ง ในคาว่า ตถาคตรู้ยิ่ง อธิบายว่า พระตถาคตทรงรู้ยิ่ง คือ ทรงรู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ถ้าแม้เรื่องอดีตเป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์ (พยากรณ์ ในที่นี้ หมายถึงการตอบปัญหา หรือการอธิบายปัญหาให้ ชัดเจน) เรื่องอดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์ เรื่องอดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะ พยากรณ์ปัญหานั้น จุนทะ ถ้าแม้เรื่องอนาคต ฯลฯ จุนทะ ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น ถึงแม้เรื่องปัจจุบันเป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น ถึงแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้ง ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้นตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น จุนทะ ตถาคตเป็นกาลวาที (กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาที่เหมาะ) ภูตวาที (ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง) อัตถวาที (อัตถ วาที หมายถึงตรัสถึงปรมัตถนิพพาน) ธัมมวาที (ธัมมวาที หมายถึงตรัสถึงมรรคธรรมและผลธรรม) วินย วาที (วินยวาที หมายถึงตรัสถึงวินัยมีการสารวมเป็นต้น) ในธรรม ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ด้วย ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต จุนทะ อายตนะใดแล อันโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก อันหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว เสาะหาแล้ว พิจารณาแล้วด้วย ใจ อายตนะทั้งหมดนั้น ตถาคตรู้ยิ่งเองแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต ตถาคตย่อมตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในราตรีใด และตถาคตย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิ เสสนิพพานธาตุในราตรีใด ตถาคตย่อมกล่าว เล่า ชี้แจง เรื่องใดในระหว่างนั้น เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องจริง แท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต ตถาคตตรัสอย่างใด ทาอย่างนั้น ทาอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ตถาคตตรัสอย่างใด ทาอย่างนั้น ทา อย่างใด ตรัสอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต จุนทะ ตถาคตทรงยิ่งใหญ่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อันใครๆ ครอบงาไม่ได้ เป็นผู้เห็นโดยถ่องแท้ เป็นผู้ให้อานาจเป็นไป เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต รวมความว่าตถาคตรู้ยิ่ง คาว่า รู้จักบุคคลนั้นผู้ดารงอยู่ อธิบายว่า
  • 9. 9 พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กาลังดารงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอานาจกัมมาภิสังขาร (กัมมาภิสังขาร ในที่นี้ หมายถึงอภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว เรียกว่า อปุญญาภิ สังขาร) ว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก” พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กาลังดารงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอานาจกัมมาภิสังขาร ว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในกาเนิดเดรัจฉาน” พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กาลังดารงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอานาจกัมมาภิสังขารว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในเปตวิสัย” พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กาลังดารงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอานาจกัมมาภิสังขารว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักถือกาเนิดในหมู่มนุษย์” พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กาลังดารงอยู่ในโลกนี้ เอง ด้วยอานาจกัมมาภิสังขาร (กัมมาภิ สังขาร ในที่นี้ หมายถึง อภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร และรูปาวจร) ว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิด ในสุคติโลกสวรรค์” สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สารีบุตร เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ อย่างนี้ ว่า ‘บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้นและดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ ว่า ‘บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในกาเนิดเดรัจฉาน’ เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ ว่า ‘บุคคล นี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้นและดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิด ในเปตวิสัย’ เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ ว่า ‘บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้นเป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักถือกาเนิดในหมู่มนุษย์’ เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ ว่า ‘บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เรากาหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ ว่า ‘บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดาเนินทางนั้นแล้ว จักทาให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะหมดสิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่ง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” รวมความว่า รู้จักบุคคลนั้นผู้ดารงอยู่
  • 10. 10 คาว่า ผู้น้อมไปแล้ว ในคาว่า ผู้น้อมไปแล้ว ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น เป็นที่มุ่งหมาย อธิบายว่า ผู้น้อมไปสู่อากิญจัญญายตนสมาบัติ คือน้อมไปโดยวิโมกข์ น้อมไปในสมาบัตินั้น น้อมไปสู่ สมาบัตินั้น มีสมาบัตินั้นเป็นใหญ่ อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “บุคคลนี้ น้อมใจไปในรูป น้อมใจไปในเสียง น้อมใจไป ในกลิ่น น้อมใจไปในรส น้อมใจไปในโผฏฐัพพะ น้อมใจไปในตระกูล น้อมใจไปในหมู่คณะ น้อมใจไปใน อาวาส น้อมใจไปในลาภ น้อมใจไปในยศ น้อมใจไปในสรรเสริญ น้อมใจไปในสุข น้อมใจไปในจีวร น้อมใจ ไปในบิณฑบาต น้อมใจไปในเสนาสนะ น้อมใจไปในคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร น้อมใจไปในพระสูตร น้อมใจ ไปในพระวินัย น้อมใจไปในพระอภิธรรม น้อมใจไปในบังสุกูลิกังคธุดงค์ (สมาทานการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็น วัตร) น้อมใจไปในเตจีวริกังคธุดงค์(สมาทานการทรงไตรจีวรเป็นวัตร) น้อมใจไปในปิณฑปาติกังคธุดงค์ (สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร) น้อมใจไปในสปทานจาริกังคธุดงค์(สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตไป ตามลาดับเป็นวัตร) น้อมใจไปในเอกาสนิกังคธุดงค์(สมาทานการนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร) น้อมใจ ไปในปัตตปิณฑิกังคธุดงค์(สมาทานการฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร) น้อมใจไปในขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ (สมาทานการงดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตร) น้อมใจไปในอารัญญิกังคธุดงค์(สมาทานการอยู่ป่าเป็นวัตร) น้อมใจไปในรุกขมูลิกังคธุดงค์(สมาทานการถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร) น้อมใจไปในอัพโภกาสิกังคธุดงค์ (สมาทานการถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร) น้อมใจไปในโสสานิกังคธุดงค์ (สมาทานการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร) น้อมใจ ไปในยถาสันถติกังคธุดงค์(สมาทานการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร) น้อมใจไปในเนสัชชิกังค ธุดงค์(สมาทานการนั่งเป็นวัตร) น้อมใจไปในปฐมฌาน น้อมใจไปในทุติยฌาน น้อมใจไปในตติยฌาน น้อม ใจไปในจตุตถฌาน น้อมใจไปในอากาสานัญจายตนสมาบัติ น้อมใจไปในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ น้อมใจ ไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ” รวมความว่าผู้น้อมไปแล้ว คาว่า ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย อธิบายว่า สาเร็จมาจากอากิญจัญญายตนส มาบัติ มีสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย มีกรรมเป็นที่มุ่งหมาย มีวิบากเป็นที่มุ่งหมาย หนักในกรรม หนักใน ปฏิสนธิ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “บุคคลนี้ มีรูปเป็นที่มุ่งหมาย ฯลฯ มีเนวสัญญานา สัญญายตนสมาบัติเป็นที่มุ่งหมาย” รวมความว่า ผู้น้อมไปแล้วผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่ง หมาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ) ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด รู้จักบุคคลนั้นผู้ดารงอยู่ ผู้น้อมไปแล้ว ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย
  • 11. 11 [๘๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขารว่าเป็นเหตุเกิด แห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้ แล้ว ออกจากสมาบัตินั้น เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น ญาณนี้ ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์นั้น เป็นญาณอันแท้จริง (๔) คาว่า บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขาร (กัมมาภิสังขาร ในที่นี้ หมายถึงอาเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพ อันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายถึงภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่) ว่าเป็นเหตุเกิด แห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อธิบายว่า กัมมาภิสังขาร อันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพ ตรัสเรียกว่า เหตุเกิดแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขาร อันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพ ว่าเป็นเหตุเกิดแห่งอา กิญจัญญายตนสมาบัติ คือ รู้ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทาให้กระจ่าง ทาให้แจ่มแจ้งว่า เป็นเหตุเกาะติด เป็นเหตุผูกพัน เป็นเหตุพัวพัน รวมความว่า บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขารว่าเป็นเหตุเกิดแห่งอา กิญจัญญายตนสมาบัติ คาว่า รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ อธิบายว่า อรูปราคะ ตรัสเรียกว่า ความ เพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ บุคคลนั้นรู้กรรมนั้นว่า เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันด้วยอรูปราคะ คือ รู้ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทาให้กระจ่าง ทาให้แจ่มแจ้งอรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลิน เป็นเครื่องผูกไว้ คือ รู้ว่าเป็นเหตุเกาะติด เป็น เหตุผูกพัน เป็นเหตุพัวพัน คาว่า ว่า เป็นคาสนธิ ฯลฯ คาว่า ว่า นี้ เป็นคาเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน รวมความว่า รู้ อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ คาว่า ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้ แล้ว อธิบายว่า ครั้นรู้ คือ ครั้นทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทาให้ กระจ่าง ทาให้แจ่มแจ้งกรรมนั้นอย่างนี้ แล้ว รวมความว่า ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้ แล้ว คาว่า ออกจากสมาบัตินั้น ในคาว่า ออกจากสมาบัตินั้น เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น อธิบายว่า บุคคลเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ก็เห็นแจ้ง คือ แล เห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นธรรม คือ จิตและเจตสิก ที่เกิดในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น โดยความ
  • 12. 12 เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป รวมความว่า ออกจากสมาบัตินั้น เห็น แจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น คาว่า ญาณนี้ ... นั้น เป็นญาณอันแท้จริง อธิบายว่า ญาณนี้ ของบุคคลนั้นจริง แท้ แน่นอน ไม่ ผิดเพี้ยน รวมความว่า ญาณนี้ ... นั้น เป็นญาณอันแท้จริง คาว่า ของพราหมณ์ ในคาว่า ของพราหมณ์ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยธรรม ๗ ประการได้แล้ว ฯลฯ ผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์ คาว่า ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า พระเสขะ ๗ จาพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมอยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครอง เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทาให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทาให้แจ้ง พระอรหันต์อยู่จบแล้ว ทากิจที่ควรทาแล้ว ปลงภาระ บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว โดยลาดับ หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ พระอรหันต์นั้นอยู่ใน (อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ ท่านไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขารว่าเป็นเหตุเกิด แห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้ แล้ว ออกจากสมาบัตินั้น เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น ญาณนี้ ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์นั้น เป็นญาณอันแท้จริง พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โปสาลมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระ ภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก” โปสาลมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๔ จบ ----------------------------------------------------