SlideShare a Scribd company logo
1
ปัญจปัณฑิตชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๐๘)
ว่าด้วยบัณฑิต ๕ คน
(พระราชาทรงรับที่จะทดลองมโหสธบัณฑิต จึงตรัสสั่งว่า)
[๓๑๕] ท่านบัณฑิตทั้ง ๕ มากันพร้อมแล้ว ปัญหาแจ่มแจ้งแก่เรา
ขอพวกท่านจงสดับ เรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี
ซึ่งเป็ นความลับของเรา ควรเปิดเผยแก่ใครดี
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๓๑๖] ขอเดชะพระภูมิบาล ขอพระองค์ทรงเปิดเผยก่อน
พระองค์ทรงชุบเลี้ยงข้าพระพุทธเจ้า ทรงอดกลั้นต่อภาระอันหนัก
โปรดแถลงเนื้อความก่อน ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน นักปราชญ์ทั้ง ๕ พิจารณา
สิ่งที่พอพระทัยและสิ่งที่ถูกพระอัธยาศัยของพระองค์แล้ว จะกราบทูลต่อภายหลัง
(ลาดับนั้น
พระราชาตรัสคาถานี้ด้วยความที่พระองค์ทรงตกอยู่ในอานาจกิเลสว่า)
[๓๑๗] บุคคลควรเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี
ซึ่งเป็ นความลับ แก่ภรรยาผู้มีศีล ไม่นอกใจสามี
คล้อยตามอานาจความพอใจของสามี เป็นที่รักที่โปรดปรานของสามี
(แต่นั้น เสนกบัณฑิตยินดีแล้วเมื่อจะแสดงเหตุที่ตนทาไว้เอง
จึงกราบทูลว่า)
[๓๑๘] บุคคลควรเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี
ซึ่งเป็ นความลับ แก่เพื่อนผู้เป็ นที่พึ่งที่พานัก
และผู้เป็นทางดาเนินของเพื่อนผู้ตกยากทุรนทุรายได้
(ปุกกุสบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า)
[๓๑๙] บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี
ซึ่งเป็ นความลับ แก่พี่ชายคนโต คนกลาง หรือแก่น้องชาย ผู้มีศีลตั้งมั่น
มีตนมั่นคง
(กามินทบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า)
[๓๒๐] บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี
ซึ่งเป็ นความลับ แก่บุตรผู้ปรนนิบัติรับใช้บิดา ผู้เป็นอนุชาตบุตรคล้อยตามบิดา
มีปัญญาไม่ต่าทราม
(เทวินทบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า)
2
[๓๒๑] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลาย
บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็ นความลับ
แก่มารดาผู้เลี้ยงดูบุตรด้วยความรักความพอใจ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลเหตุแห่งความลับว่า)
[๓๒๒] ธรรมดาความลับปกปิดไว้เท่านั้นเป็นการดี
การเปิดเผยความลับบัณฑิตไม่สรรเสริญ เพราะเมื่อความปรารถนายังไม่สาเร็จ
นักปราชญ์พึงอดกลั้นไว้ก่อน ความปรารถนาสาเร็จแล้ว พึงพูดได้ตามสบาย
(ฝ่ายพระนางอุทุมพรเทวีทูลถามถึงเหตุแห่งความโศกของพระราชาว่า)
[๓๒๓] ขอเดชะพระราชาผู้ประเสริฐ เพราะเหตุไร
พระองค์ทรงมีพระทัยวิปริตไป ขอเดชะพระองค์ผู้จอมมนุษย์
หม่อมฉันขอฟังพระดารัสของพระองค์ พระองค์ทรงดาริอย่างไรหรือ
จึงทรงโทมนัส ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉันไม่มีความผิดเลยหรือเพคะ
(ลาดับนั้น พระราชาตรัสตอบพระนางว่า)
[๓๒๔] ในเพราะปัญหาว่า มโหสธบัณฑิตจะถูกฆ่า
มโหสธผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ถูกพี่สั่งฆ่า พี่คิดถึงเรื่องนั้นจึงเสียใจ พระเทวี
น้องไม่มีความผิดหรอก
(พระราชาทรงทาเหมือนไม่ทรงทราบอะไร ตรัสถามมโหสธบัณฑิตว่า)
[๓๒๕] เจ้าไปตั้งแต่พลบค่า เพิ่งจะมาเดี๋ยวนี้ เพราะได้ฟังเรื่องอะไรหรือ
ใจของเจ้าจึงหวาดระแวง เชิญเถิด เจ้าผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน
ใครได้เรียนอะไรให้เจ้าฟัง เราขอฟังคานั้น เจ้าจงเล่าเรื่องนั้นให้เราฟัง
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตทูลเตือนพระราชาว่า)
[๓๒๖] ในปัญหาว่า มโหสธจะถูกฆ่า ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
ก็เพราะพระองค์เสด็จอยู่ในที่ลับ
ได้ตรัสบอกเรื่องที่พระองค์ทรงปรึกษาแล้วแก่พระเทวีตอนกลางคืน
ความลับนั้นพระเทวีทรงเปิดเผยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของเสนกบัณฑิตก่อนว่า)
[๓๒๗] ท่านเสนกบัณฑิตได้ทากรรมชั่ว
เยี่ยงอสัตบุรุษอันใดไว้ที่ป่าไม้รัง เขาอยู่ในที่ลับแล้วได้บอกแก่เพื่อนคนหนึ่ง
ความลับนั้นท่านเสนกบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของปุกกุสบัณฑิตว่า)
[๓๒๘] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน โรคอันไม่คู่ควรแก่พระราชา
เกิดขึ้นแล้วแก่ปุกกุสะบุรุษของพระองค์
เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่พี่น้องชายคนหนึ่ง
ความลับนั้นท่านปุกกุสบุรุษได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของกามินทบัณฑิตว่า)
3
[๓๒๙] กามินทบัณฑิตผู้นี้มีอาพาธเยี่ยงอสัตบุรุษ ถูกนรเทพเข้าสิง
เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่บุตรชาย ความลับนั้นกามินทบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตเมื่อจะกราบทูลความลับของเทวินทบัณฑิต
จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[๓๓๐] ท้าวสักกเทวราชได้ทรงประทานแก้วมณี ๘ เหลี่ยม
อันรุ่งเรืองยิ่งนักแด่พระอัยยกาของพระองค์ บัดนี้
แก้วมณีนั้นตกอยู่ในมือของเทวินทบัณฑิต เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่มารดา
ความลับนั้นท่านเทวินทบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาแล้วแสดงธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไปว่า)
[๓๓๑] ธรรมดาความลับปกปิดไว้เท่านั้นเป็นการดี
การเปิดเผยความลับบัณฑิตไม่สรรเสริญ เพราะเมื่อความปรารถนายังไม่สาเร็จ
นักปราชญ์พึงอดกลั้นไว้ก่อน ความปรารถนาสาเร็จแล้ว พึงพูดได้ตามสบาย
[๓๓๒] บัณฑิตไม่พึงเปิดเผยความลับ
พึงรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์ เพราะว่าความลับบุคคลรู้อยู่
ไม่เปิดเผยได้เป็นการดี
[๓๓๓] บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ๑ ศัตรู ๑ คนที่ใช้อามิสล่อ
๑ คนผู้ล้วงความลับ ๑
[๓๓๔] คนผู้รู้ความลับที่ผู้อื่นไม่รู้
เพราะกลัวความลับที่ปรึกษาหารือกันไว้จะแตก
ย่อมอดกลั้นไว้ดุจบุคคลผู้เป็นทาสเขา
[๓๓๕] คนมีประมาณเท่าใดล่วงรู้ความลับที่เขาปรึกษากัน
คนมีประมาณเท่านั้นเป็นบุคคลที่น่าหวาดกลัวของเขา เพราะฉะนั้น
บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับ
[๓๓๖] ในเวลากลางวันควรพูดความลับในที่สงัด
เวลากลางคืนไม่ควรพูดดังเกินไป
เพราะเหตุว่าคนแอบฟังได้ยินความลับที่ปรึกษากันเข้า
ความลับนั้นจะถึงการแพร่งพรายโดยเร็วพลัน
ปัญจปัณฑิตชาดกที่ ๑๒ จบ
-----------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
ปัญจปัณฑิตชาดก
ว่าด้วย ความลับไม่ควรเปิดเผย
4
ปัญจบัณฑิตชาดก จักมีพิสดารใน มหาอุมมังคชาดก.
จบอรรถกถาปัญจบัณฑิตชาดกที่ ๑๒
ว่าด้วย ปัญหาแห่งบัณฑิต ๕ คน
บัณฑิตทั้ง ๔ เหล่านั้นปรึกษากันอีกว่า บัดนี้
มโหสถบุตรคฤหบดีมียศใหญ่นัก เราจักทาอย่างไรดี. ลาดับนั้น
เสนกะจึงกล่าวกะบัณฑิตทั้งสามว่า การที่เขามียศใหญ่นั้นยกไว้เถิด
เราเห็นอุบายแล้ว. เราทั้ง ๔ จักไปหามโหสถถามว่า ควรบอกความลับแก่ใคร.
ถ้าเขาจักบอกว่า ไม่ควรบอกแก่ใครไซร้. เราทั้งหลายจักทูลยุยงพระราชาว่า
คฤหบดีบุตรผู้มีนามว่ามโหสถ เป็นข้าศึกของพระองค์. บัณฑิตทั้ง ๓
เห็นชอบด้วย. บัณฑิตทั้ง ๔ เหล่านั้น จึงไปเรือนมโหสถทาปฎิสันถารแล้วกล่าวว่า
แน่ะบัณฑิต เราทั้ง ๔ ใคร่จะถามปัญหาท่าน. ครั้นมโหสถให้ถาม
เสนกะจึงถามว่า บุคคลผู้เป็นบัณฑิต ควรตั้งอยู่ในธรรมอะไร. มโหสถตอบว่า
ควรตั้งอยู่ในความจริง. เสนกะถามว่า ผู้ตั้งอยู่ในความจริงแล้วควรทาอะไร.
มโหสถตอบว่า ควรให้ทรัพย์สมบัติเกิดขึ้น. เสนกะถามว่า ให้ทรัพย์สมบัติเกิดแล้ว
ควรทาอะไร. มโหสถตอบว่า ควรคบมิตร. เสนกะถามว่า
คบมิตรแล้วควรทาอะไรต่อไป. มโหสถตอบว่า ควรเรียนความคิดอ่านจากมิตร.
เสนกะถามว่า เรียนความคิดอ่านจากมิตรแล้วควรทาอะไรอีก. มโหสถตอบว่า
การได้ความคิดอ่านจากมิตรนั้น. ถ้าเป็ นความลับ
ไม่ควรบอกความลับของตนแก่ใคร. บัณฑิตทั้ง ๔ ก็รับว่าดีแล้ว. แล้วลากลับ
เป็นผู้มีจิตยินดี คิดว่า บัดนี้เราทั้ง ๔ เห็นหลังมโหสถละ.
แล้วไปเฝ้ าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
มโหสถเป็นกบฏต่อพระองค์. พระเจ้าวิเทหราชตรัสห้ามว่า
เราไม่เชื่อท่านทั้งหลาย มโหสถจักไม่เป็นกบฎต่อเรา. บัณฑิตทั้ง ๔ จึงกราบทูลว่า
จริงนะ พระเจ้าข้า. ขอได้ทรงเชื่อ ก็ถ้าไม่ทรงเชื่อ จงตรัสถามเขาดูว่า
ความลับของเขา เขาไม่ควรบอกแก่ใคร. ถ้าเขาจักไม่เป็นกบฏต่อพระองค์
เขาจักทูลว่า ควรบอกแก่คนชื่อนั้น. ถ้าเขาจักเป็นกบฏต่อพระองค์ เขาจักทูลว่า
ไม่ควรบอกแก่ใครๆ ในเมื่อความปรารถนาสาเร็จจึงควรบอก. ในกาลนั้น
พระองค์จักทรงเชื่อข้าพระองค์หมดสงสัย. พระราชาทรงรับจะทดลอง.
วันหนึ่ง เมื่อบัณฑิตทั้ง ๕
มาพร้อมกันจึงตรัสคาถานี้ใน ปัญจปัณฑิตปัญหา ในวีสตินิบาตว่า
ท่านทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตทั้ง ๕ มาพร้อมกันแล้ว
5
บัดนี้ปัญหาแจ่มแจ้งแก่เรา ท่านทั้งหลายจงฟังปัญหานั้น
บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน
หรือควรสรรเสริญอันเป็นข้อความลับแก่ใคร.
ครั้นพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว เสนกะคิดว่า
เราจักให้พระราชาเข้าอยู่ในพวกเราด้วย จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พระภูมิบาล พระองค์จงตรัสเปิดเผยแก่เหล่าข้าพระองค์ก่อน
พระองค์เป็นผู้ชุบเลี้ยง เป็ นผู้ทรงอดทนต่อราชกรณียะอันหนัก จงตรัสก่อน.
ข้าแต่พระจอมประชากร เหล่าข้าพระองค์ผู้เป็นนักปราชญ์ทั้ง ๕ จักพิจารณา
สิ่งที่พระองค์พอพระราชหฤทัย และเหตุเป็นที่ชอบด้วยพระอัธยาศัย
แล้วกราบทูลภายหลัง.
ลาดับนั้น พระราชาจึงตรัสคาถานี้
ด้วยความเป็นผู้เป็ นไปในอานาจกิเลสของพระองค์ว่า
ภรรยาใดมีศีลาจารวัตร ไม่ให้ผู้อื่นลักสัมผัส
คล้อยตามอานาจความพอใจของภัสดา เป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ.
สามีควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ
อันเป็นความลับแก่ภรรยา.
แต่นั้นเสนกะยินดีว่า บัดนี้
เราทั้งหลายยังพระราชาให้เข้าในพวกเราได้แล้ว.
เมื่อจะแสดงเหตุการณ์ที่ตนทาไว้เอง จึงกล่าวคาถานี้ว่า
สหายใดเป็ นที่ระลึก เป็ นที่ถึง เป็ นที่พึ่งของบุคคล
ผู้ถึงความทุกข์เดือดร้อนอยู่. บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน
หรือควรสรรเสริญ อันเป็นความลับ แก่สหายนั้นเทียว.
ลาดับนั้น พระราชาตรัสถามปุกกุสะว่า แน่ะอาจารย์ปุกกุสะ
ท่านเห็นอย่างไร ความลับของตนควรบอกแก่ใคร. ปุกกุสะเมื่อจะกราบทูล
จึงกล่าวคาถานี้ว่า
พี่น้องชายใด ผู้เป็นพี่ใหญ่หรือพี่กลางหรือน้อง
ถ้าว่าพี่น้องชายนั้นตั้งอยู่ในศีล เสพสิ่งที่ควรเสพ.
บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ
อันเป็นความลับแก่พี่น้องชายนั้น.
แต่นั้น พระราชาตรัสถามกามินทะว่า แน่ะอาจารย์กามินทะ ท่านเห็น
อย่างไร ความลับควรบอกแก่ใคร กามินทะเมื่อจะกราบทูลจึงกล่าวคาถานี้ว่า
บุตรใดดาเนินตามใจบิดา เป็ นอนุชาตมีปัญญาไม่ทรามกว่าบิดา.
บิดาควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ
6
อันเป็นความลับแก่บุตรนั้น.
บุตรที่ทาตามใจของเรา คือเป็นไปในอานาจจิตของบิดา
เป็นผู้อดทนต่อโอวาท. บทว่า อนุชาโต ความว่า บุตรมี ๓ ประเภท คือ อภิชาต ๑
อนุชาต ๑ อวชาต ๑. บุตรผู้ยังยศที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่าอภิชาต.
บุตรที่เป็นเชื้อสายของสกุล เป็ นผู้ตัดวงศ์สกุล ทาทรัพย์ให้พินาศ ชื่อว่าอวชาต.
บุตรผู้รักษาแบบแผนของสกุล ประเพณีของสกุลไว้ได้ ชื่ออนุชาต.
อาจารย์กามินทะกล่าวอย่างนี้ หมายถึงอนุชาตบุตรนั้น.
แต่นั้น พระราชาตรัสถามเทวินทะว่า แน่ะอาจารย์เทวินทะ
ท่านเห็นอย่างไร ความลับควรบอกแก่ใคร. เทวินทะเมื่อจะกราบทูล
เหตุการณ์ที่ตนทาไว้. จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ประเสริฐที่สุดแห่งมนุษยนิกร
มารดาใดเลี้ยงบุตรด้วยความพอใจรักใคร่. บุตรควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน
หรือควรสรรเสริญ อันเป็นความลับแก่มารดานั้น.
พระราชาครั้นตรัสถามอาจารย์ ๔ คนเหล่านั้น
ซึ่งกล่าวตอบไปอย่างนี้แล้ว. จึงตรัสถามมโหสถบัณฑิตว่า เจ้าเห็นอย่างไร
พ่อบัณฑิต ความลับควรบอกแก่ใคร.
มโหสถบัณฑิตเมื่อจะกราบทูลเหตุแห่งความลับ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
การซ่อนความลับไว้ นั่นแลเป็ นการดี. การเปิดเผยความลับไม่ดีเลย.
บุคคลผู้มีปรีชา เมื่อความปรารถนายังไม่สาเร็จก็พึงกลั้นไว้.
เมื่อความปรารถนาสาเร็จแล้ว พึงกล่าวตามสบาย.
เมื่อมโหสถบัณฑิตกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงเสียพระทัย.
เสนกะแลดูพระพักตร์พระราชา. พระราชาก็ทอดพระเนตรหน้าเสนกะ.
มโหสถบัณฑิตเห็น กิริยาแห่งเสนกะและพระราชา. ก็รู้ว่า อาจารย์ทั้ง ๔ นี้ได้ยุยง
ในระหว่างเราและพระราชาไว้ก่อนแล้ว.
พระราชาตรัสถามปัญญาเพื่อทดลองเรา.
เมื่อพระราชาและราชบริษัทเจรจากันอยู่ ดวงอาทิตย์อัสดงคต
เจ้าหน้าที่ตามประทีป. มโหสถดาริว่า
ขึ้นชื่อว่าราชการเป็ นของหนักย่อมไม่ปรากฏ ใครจะรู้เรื่อง อะไรจักมี.
เราควรรีบกลับเสียก่อน. ดาริฉะนี้ จึงลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระราชาออกไป.
คิดว่า ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกความลับแก่สหาย. ผู้หนึ่งกล่าวว่า
ควรบอกความลับแก่พี่น้องชาย. ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกควาบลับแก่บุตร.
ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกความลับแก่มารดา. เราสาคัญว่า
กิจนี้จักเป็นของคนเหล่านี้ได้ทาแล้วแน่ คนเหล่านี้คงกล่าวถึงกิจที่ตนเห็นแล้ว
7
จงยกไว้เถิด เราจักรู้เหตุนี้ ในวันนี้. ฝ่ายราชบัณฑิตทั้ง ๔ ออกจากราชสานักแล้ว
ในวันอื่นๆ เคยนั่งที่หลังถังข้าวถังหนึ่งใกล้ประตูพระราชนิเวศน์
ปรึกษากันถึงกรณียกิจ แล้วจึงกลับไปบ้าน. เพราะเหตุนั้น มโหสถจึงดาริว่า วันนี้
เรานอนอยู่ภายใต้ถังข้าว ก็สามารถจะรู้ความลับของอาจารย์ทั้ง ๔ นั้น
จึงให้คนใช้ยกถังข้าวนั้นแล้วให้ลาดเครื่องลาด แล้วเข้าอยู่ภายใต้ถังข้าวนั้น
แล้วให้สัญญาแก่คนใช้ว่า ในเมื่ออาจารย์ทั้ง ๔ มานั่งปรึกษากันลุกไปแล้ว
พวกเจ้าจงมานาข้าวออก. คนใช้เหล่านั้นรับคาสั่ง แล้วหลีกไป.
ฝ่ายอาจารย์เสนกะทูลพระเจ้าวิเทหราชว่า
พระองค์ยังไม่ทรงเชื่อข้าพระบาทหรือ. บัดนี้ ข้อความนั้นเป็นอย่างไร
พระเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับคาของพวกอาจารย์ผู้ยุยง ก็หาได้ทรงพิจารณาไม่
เป็นผู้ทั้งกลัวทั้งตกพระหฤทัย. จึงตรัสถามว่า แน่ะท่านเสนกบัณฑิต บัดนี้
เราจักทาประการไร. เสนกะจึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ควรที่พระองค์จะไม่ชักช้า อย่าทันให้มโหสถรู้ตัว แล้วฆ่าเสีย. พระราชาตรัสว่า
แน่ะอาจารย์เสนกะ ยกท่านเสียแล้ว คนอื่นชื่อว่า
เป็นผู้ใคร่ความเจริญแก่เราย่อมไม่มี.
ท่านจงชวนสหายของท่านคอยอยู่ที่ภายในประตู.
เมื่อมโหสถบุตรคฤหบดีมาสู่ราชสานักแต่เช้า จงตัดศีรษะเสียด้วยพระแสงขรรค์.
ดารัสสั่งฉะนี้แล้ว พระราชทานพระแสงขรรค์รัตนะที่ทรง. อาจารย์ทั้ง ๔
นั้นกราบทูลว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า. ขอพระองค์อย่าทรงเกรงกลัวเลย
พวกข้าพระบาทจักฆ่ามโหสถนั้นเสียให้จงได้. ทูลฉะนี้
แล้วออกมานั่งที่หลังถังข้าว. ราพึงกันว่า พวกเราเห็นหลังปัจจามิตรแล้ว.
แต่นั้น เสนกะจึงเอ่ยขึ้นว่า ใครจักฆ่ามโหสถ. อาจารย์ทั้ง ๓ จึงตอบว่า
ท่านอาจารย์นั่นแลจักฆ่าได้. แล้วทากิจนั้นให้เป็นภาระของเสนกะนั้นผู้เดียว.
ลาดับนั้น เสนกะจึงถามอาจารย์ทั้ง ๓ ว่า ท่านทั้ง ๓ กล่าวว่า
ชื่อว่าความลับควรบอกแก่บุคคลชื่อโน้นๆ ดังนี้. กิจนั้นท่านทั้ง ๓ ได้ทาแล้ว
หรือเห็นแล้ว หรือได้สดับแล้วอย่างไร. ลาดับนั้น อาจารย์ทั้ง ๓ กล่าวกะเสนกะว่า
ข้าแต่อาจารย์ กิจที่ท่านกล่าวว่า
ความลับควรบอกแก่สหายนั้นเป็นของปรากฏแล้ว. กิจนั้นท่านทาแล้ว
หรือเห็นแล้ว หรือได้ฟังแล้วอย่างไรเล่า กิจนั้นเราได้ทาเอง. ข้าแต่อาจารย์
ถ้ากระนั้นท่านจงกล่าวให้ทราบ ความลับนี้พระราชาทรงทราบแล้ว
ชีวิตของเราจะไม่มี. ข้าแต่อาจารย์ ท่านอย่ากลัวเลย
บุคคลผู้ทาลายความลับของเราทั้งหลายในที่นี้ไม่มี. ขอจงกล่าวให้ทราบเถิด
เสนกะเอาเล็บเคาะถังข้าวว่า มโหสถอยู่ใต้ถังข้าวนี้กระมัง อาจารย์ทั้ง ๓ ตอบว่า
8
มโหสถเป็นคนเมาอิสริยยศ คงไม่เข้าไปอยู่ในที่เช่นนี้.
บัดนี้จักเป็ นคนเมายิ่งด้วยยศ ท่านเห็นซึ้งไปได้.
ฝ่ายเสนกะ เมื่อจะบอกความลับของตน จึงกล่าวว่า ท่านทั้ง ๓
รู้จักหญิงแพศยาชื่อโน้น ในนครนี้หรือ. ข้าพเจ้าทั้ง ๓ ทราบ. บัดนี้
นางคนนั้นยังปรากฏอยู่ หรือหายไปไม่พบเลย ท่านอาจารย์. เสนกะจึงแจ้งว่า
เราทากิจของบุรุษกับด้วยนางคนนั้นในสวนไม้รัง แล้วยังนางคนนั้นให้ตาย
ด้วยโลภในเครื่องประดับ. แล้วนาเครื่องประดับของนางนั้นมาห่อด้วยผ้าสาฎก
แล้วแขวนไว้บนไม้รูปเหมือนงาช้างในห้องเรือนของเรา.
เรายังไม่อาจจะใช้เครื่องประดับนั้น เห็นความที่เครื่องประดับนั้นเป็ นของเก่า.
เราทาความผิดพระราชกาหนดอย่างนี้ ได้บอกแก่สหายคนหนึ่ง
สหายคนนั้นมิได้บอกแก่ใคร. ด้วยเหตุนี้ เราจึงกล่าวว่า
เราได้บอกความลับแก่สหาย. มโหสถเริ่มตั้งใจ
กาหนดความลับของเสนกะไว้เป็ นอย่างดี.
ฝ่ายปุกกุสะ เมื่อจะบอกความลับของตน จึงกล่าวว่า
โรคเรื้อนมีที่ขาของข้าพเจ้า. น้องชายน้อยของข้าพเจ้าเท่านั้นรู้
ข้าพเจ้าไม่ให้ใครๆ รู้. ชาระแผลนั้นทายา พันผ้าทับแผล.
พระราชามีพระหฤทัยกรุณาในข้าพเจ้า ตรัสเรียกข้าพเจ้าว่า ปุกกุสะจงมา
แล้วบรรทมที่ขาของข้าพเจ้าบ่อยๆ. ก็ถ้าราชาทรงทราบเรื่องนี้
พึงประหารชีวิตข้าพเจ้า. ยกน้องชายน้อยคนนั้นของข้าพเจ้าเสีย คนอื่นไม่รู้เลย.
ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่น้องชายน้อย.
ฝ่ายกามินทะ เมื่อจะแสดงความลับของตน จึงกล่าวว่า
ในวันอุโบสถข้างแรม ยักษ์ชื่อนรเทวะ มาสิงข้าพเจ้า.
ข้าพเจ้าก็ร้องดุจสุนัขบ้าร้อง ข้าพเจ้าได้แจ้งเนื้อความนี้แก่บุตร.
บุตรของข้าพเจ้ารู้ว่า ยักษ์มาสิงข้าพเจ้า. ก็ให้ข้าพเจ้านอนในห้องข้างใน
ปิดประตู ออกไปให้มีมหรสพที่ประตู เพื่อกลบเสียงของข้าพเจ้า. ด้วยเหตุนี้
ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่บุตร.
แต่นั้นอาจารย์ทั้ง ๓ จึงถามเทวินทะ. เทวินทะ
เมื่อจะกล่าวความลับของตน จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าทาการขัดสีแก้วมณี
มีแก้วมณีเป็นมงคล เป็นที่เข้าอยู่แห่งสิริ เป็นของหลวง.
ซึ่งท้าวสักกเทวราชประทานพระเจ้ากุสราชไว้.
ข้าพเจ้าลักเอามงคลมณีรัตน์นั้นมาให้มารดา มารดานั้นไม่ให้ใครรู้.
ถึงเวลาข้าพเจ้าจะเข้าเฝ้ าพระราชา ก็ให้มงคลมณีรัตน์แก่ข้าพเจ้า.
ข้าพเจ้ายังสิริให้อยู่ในตัวข้าพเจ้า ด้วยอานาจแห่งมงคลมณีรัตน์นั้น
9
จึงเข้าไปสู่ราชสานัก. พระราชาไม่ตรัสแก่ท่านทั้งหลาย
ตรัสกับข้าพเจ้าก่อนกว่าใครๆ แล้วพระราชทานกหาปณะ ๘ กหาปณะบ้าง. ๑๖
กหาปณะบ้าง. ๓๒ กหาปณะบ้าง. ๖๔ กหาปณะบ้าง
แก่ข้าพเจ้าเพื่อเป็นเสบียงได้เลี้ยงชีพทุกวัน.
ถ้าพระราชาทรงทราบอานุภาพมณีรัตน์นั้นไซร้ ชีวิตของข้าพเจ้าก็จะไม่รอดอยู่.
ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่มารดา.
พระมหาสัตว์ได้ทาความลับของอาจารย์ทั้ง ๔ ให้ประจักษ์
ก็อาจารย์ทั้ง ๔ นั้นแจ้งความลับแก่กันแลกัน ราวกะบุคคลผ่าอกของตน
แผ่อวัยวะภายในออกมาภายนอก. แล้วเตือนกันว่า ท่านทั้งหลายอย่าประมาท
มาช่วยกันฆ่ามโหสถ บุตรคฤหบดีแต่เช้า. กาชับกันดังนี้ แล้วต่างลุกขึ้นหลีกไป.
ในกาลเมื่ออาจารย์ทั้ง ๔ ไปแล้ว คนใช้ของมโหสถที่นัดหมายกันไว้
ก็มายกถังข้าว พาพระมหาสัตว์ออกหลีกไป. พระโพธิสัตว์กลับถึงเคหสถาน
อาบน้า แต่งกาย บริโภคโภชนาหารแล้วรู้ว่า วันนี้
พระนางอุทุมพรเทวีผู้เชษฐภคินีของเรา คงประทานข่าวมาแต่พระราชวัง.
จึงวางบุรุษพิเศษไว้ที่ประตูสั่งว่า เจ้าจงให้คนมาแต่พระราชวังเข้ามา
แล้วบอกแก่เราโดยเร็ว. ก็แลครั้นสั่งฉะนั้นแล้วก็นอน ณ ที่นอนมีสิริ.
ขณะนั้น พระเจ้าวิเทหราชบรรทม ณ ที่บรรทมอันมีสิริ
ทรงอนุสรณ์ถึงคุณของมโหสถว่า มโหสถบัณฑิตบารุงเรามาตั้งแต่เขามีอายุได้ ๗
ปี. ไม่ได้ทาความเสียหายหน่อยหนึ่งแก่เรา. เมื่อเทวดาถามปัญหา
ถ้าจักไม่มีมโหสถไซร้ ชีวิตของเราก็จะไม่พึงมี.
เรามาถือเอาคาของปัจจามิตรผู้มีเวร แล้วกล่าวสั่งว่า
ท่านทั้งหลายจงฆ่ามโหสถผู้มีธุระหาผู้เสมอมิได้ ฉะนี้. แล้วให้พระขรรค์
เป็นอันว่าเราทาสิ่งที่ไม่ควรทา. บัดนี้แต่พรุ่งนี้ไป เราจักไม่ได้เห็นมโหสถอีก.
ทรงราพึงฉะนี้ก็ยังความโศกให้เกิดขึ้น พระเสโทไหลโซมพระกาย.
พระราชานั้นเต็มไปด้วยความโศก ก็ไม่ทรงได้ความผ่องใสแห่งพระมนัส.
พระนางอุทุมพรเทวีเสด็จไปบรรทมร่วมกับพระราชสามี
ทอดพระเนตรเห็นพระอาการของพระราชสามี. ทรงดาริว่า เป็ นไฉนหนอ
ความผิดอย่างไรของเรามีอยู่ หรือเหตุการณ์แห่งความโศกอย่างไรอื่น
เกิดขึ้นแก่พระองค์. เราจักทูลพระองค์ก่อน เมื่อจะทูลถาม จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐที่สุด
พระองค์เป็นผู้มีพระมนัสวิปริตไปอย่างไรหรือ. ข้าแต่พระจอมประชากร
ข้าพระบาทจะฟังพระดารัสข้อนั้นของพระองค์.
พระองค์ทรงพระดาริอย่างไรหรือจึงทรงโทมนัส ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
10
ความผิดของข้าพระบาทไม่มีเลยหรือ พระเจ้าข้า.
ลาดับนั้น พระราชาตรัสคาถาตอบพระนางว่า
มโหสถผู้มีปัญญาจะถูกฆ่า เพราะมโหสถผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน.
เราบังคับสั่งเพื่อฆ่าแล้ว. เราคิดถึงเรื่องนั้นจึงเป็นผู้โทมนัส. แน่ะพระเทวี
ความผิดของเธอไม่มีเลย.
แน่ะนางผู้เจริญ บัณฑิตทั้ง ๔ บอกแก่เรา
มโหสถบัณฑิตเป็นศัตรูของเรา. เราไม่ได้พิจารณาโดยถ่องแท้
สั่งฆ่ามโหสถผู้มีปัญญาดังแผ่นดินว่า พวกท่านจงฆ่าเขาเสีย.
เมื่อเราคิดถึงการณ์นั้น จึงมีความโทมนัสว่า เราตายเสียดีกว่ามโหสถบัณฑิตตาย.
ความโศกสักเท่าภูเขาเกิดขึ้นแก่พระนางอุทุมพร
ด้วยความรักในพระมหาสัตว์ เพราะได้ทรงสดับพระราชาตรัสฉะนั้น. แต่นั้น
พระนางจึงทรงคิดว่า เราจักยังพระราชาให้ทรงอุ่นพระหฤทัยด้วยอุบายหนึ่ง.
ในกาลเมื่อพระราชาบรรทมหลับ เราจักส่งข่าวไปยังมโหสถผู้กนิษฐภาดาของเรา.
ลาดับนั้น พระนางจึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
พระองค์ผู้ยังมโหสถให้ดารงอยู่ในอิสริยยศใหญ่.
ภายหลังมาทรงทาการดังนี้แก่เขาจะเป็ นไรไป แล้วทูลเล้าโลมพระราชาว่า
พระองค์ทรงสถาปนามโหสถในตาแหน่งเสนาบดี. ได้ยินว่า บัดนี้
เธอคิดกบฏต่อพระองค์ ก็บุคคลผู้ปัจจามิตร มิใช่เป็นคนเล็กน้อยเลย.
พระองค์ควรประหารชีวิตเขาเสียทีเดียว. ขอพระองค์อย่าทรงพระวิตกเลย
พระราชามีความโศกเบาบางก็หยั่งลงสู่นิทรารมณ์. ขณะนั้น
พระราชเทวีเสด็จลุกขึ้นเข้าสู่ห้อง ทรงพระอักษรมีความว่า ดูก่อนมโหสถ
บัณฑิตทั้ง ๔ ทาลายเธอให้แตกกับพระราชา. พระราชากริ้ว ตรัสสั่งบัณฑิตทั้ง ๔
ให้ฆ่าเธอที่ประตูพระราชวังเวลาพรุ่งนี้ พรุ่งนี้เธออย่ามาสู่ราชสานัก.
ถ้าจะมาก็พึงเป็นผู้สามารถทาชาวพระนคร ให้อยู่ในเงื้อมมือเธอแล้วพึงมา.
ทรงพระอักษรมีความฉะนี้ แล้วสอดเข้าในห่อ เอาด้ายพันห่อแล้ว
วางในสุพรรณภาชน์ใหม่ปิดฝา ประทับพระลัญจกรประทานแก่นางข้าหลวง
ผู้ประพฤติประโยชน์ตรัสสั่งว่า เจ้าจงนาห่อนี้ไปให้แก่
มโหสถบัณฑิตผู้น้องชายน้อยของเรา. นางข้าหลวงได้ทาตามคาสั่ง อันใครๆ
ไม่ควรคิดว่า ทาไมนางข้าหลวงออกจากตาหนักข้างใน ในเวลากลางคืนได้.
เพราะว่า พระราชาพระราชทานพรแก่พระนางไว้ก่อนแล้ว
ให้พระนางใช้ใครนาของเสวยอันมีรสออกไปให้มโหสถ ได้ตามประสงค์.
เพราะฉะนั้น ใครๆ จึงไม่ห้ามนางข้าหลวงนั้น.
พระโพธิสัตว์รับพระสุพรรณภาชน์แล้วให้นางข้าหลวงนั้นกลับ.
11
นางข้าหลวงก็ลากลับมา.
ทูลความที่ตนให้พระสุพรรณภาชน์แก่มโหสถแล้วแด่พระนาง. ขณะนั้น
พระนางจึงเสด็จมาบรรทมกับพระราชสามี. ฝ่ายพระโพธิสัตว์แก้ห่อหนังสือออก
อ่านรู้ความนั้นแล้ว. จัดกิจที่จะพึงทาแล้วเข้านอน.
ฝ่ายอาจารย์ทั้ง ๔ ถือพระแสงขรรค์ ยืนอยู่ภายในประตูวัง แต่เช้า.
เมื่อไม่เห็นมโหสถมาก็เสียใจ ไปเฝ้ าพระราชา. ครั้นตรัสถามว่า เป็นอย่างไร.
ท่านทั้งหลายฆ่ามโหสถแล้วหรือ. จึงกราบทูลว่า ไม่เห็นมโหสถมา พระเจ้าข้า.
ฝ่ายพระมหาสัตว์ พออรุณขึ้นก็สนานกายด้วยน้าหอม
ประดับกายด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง บริโภคโภชนะอันเลิศ ชาระสรีรกิจแล้ว.
ทาชาวพระนครให้อยู่ในเงื้อมมือแล้ว ตั้งการรักษาในที่นั้นๆ
เป็ นผู้อันมหาชนห้อมล้อม ขึ้นรถไปสู่ประตูวังด้วยยศใหญ่.
ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชให้เปิดพระแกล ประทับยืนทอดพระเนตรอยู่. ลาดับนั้น
พระโพธิสัตว์ลงจากรถ ถวายบังคมบรมกษัตริย์ แล้วยืนอยู่.
พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาของมโหสถทรงดาริว่า
ถ้ามโหสถเป็นข้าศึกแก่เรา ที่ไหนเขาจะพึงไหว้เรา. ลาดับนั้น
ก็ตรัสให้เรียกมโหสถมาเฝ้ า แล้วเสด็จประทับ ณ พระราชอาสน์.
ฝ่ายมโหสถถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ส่วนหนึ่ง. บัณฑิตทั้ง ๔ ก็นั่งอยู่ที่นั่น.
ลาดับนั้น พระราชาเป็นเหมือนไม่ทรงทราบอะไร. ตรัสถามมโหสถว่า
แน่ะพ่อมโหสถ เมื่อวานนี้ เจ้ากลับบ้านแต่ยามแรก เจ้าพึ่งมาเดี๋ยวนี้
เจ้าสละเสียอย่างนี้ เพราะอะไร. ตรัสฉะนี้แล้ว ได้ตรัสคาถานี้ว่า
เจ้าไปบ้านแต่หัวค่า มาเอาบัดนี้
ใจของเจ้ารังเกียจเพราะได้ฟังอะไรหรือ. ดูก่อนเจ้าผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน
ใครได้พูดอะไรแก่เจ้า เราจะฟังเจ้าบอกเรื่องของเจ้า เจ้าจงบอกเรื่องนั้นแก่เรา.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลเตือนพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
พระองค์ถือเอาคาบัณฑิตทั้ง ๔ แล้วมีพระราชาณัติให้ฆ่าข้าพระบาท. ด้วยเหตุนั้น
ข้าพระบาทจึงยังไม่มา. ทูลฉะนี้ แล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า
มโหสถผู้มีปัญญาจะถูกฆ่า ข้าแต่พระปิ่นประชากร กาลใด
พระองค์เสด็จอยู่ในที่ลับได้ตรัส ข้อความลับที่รับสั่งแก่อาจารย์ทั้ง ๔
กับพระนางอุทุมพร เมื่อหัวค่า. ข้อความลับอย่างนั้นของพระองค์
พระองค์ได้เปิดเผยแล้ว ก็ข้อความลับนั้นอันข้าพระบาทได้ฟังแล้ว ในกาลนั้น.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคาของมโหสถ
ก็ทรงพระพิโรธด้วยทรงเห็นว่า นางอุทุมพรจักส่งข่าวไปขณะนั้นเอง.
จึงทอดพระเนตรดูพระราชเทวี. มโหสถรู้กิริยานั้น จึงกราบทูลว่า
12
ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ทรงพิโรธพระราชเทวีทาไม.
ข้าพระองค์ทราบเหตุการณ์ อดีต อนาคต และปัจจุบันทั้งสิ้น.
พระนางตรัสความลับของพระองค์แก่ข้าพระองค์ จงยกไว้ก่อน.
ความลับของเสนกะและปุกกุสะเป็นต้น ใครแจ้งแก่ข้าพระองค์เล่า.
ปัญหาของกิ้งก่า ใครบอกแก่ข้าพระองค์.
และปัญหาของเทวดาใครบอกแก่ข้าพระองค์เล่า. ข้าพระองค์ทราบ
ความลับของชนเหล่านี้ก่อนแล้วทีเดียว. เมื่อจะทูลความลับของเสนกะก่อน
จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
เสนกะได้ทากรรมลามกไม่ใช่กรรมดีอันใด
คือฆ่าหญิงแพศยานางหนึ่งในสวนไม้รัง ในนครนี้เอง. แล้วถือเอาเครื่องประดับ
ห่อด้วยผ้าสาฎกเก็บไว้ในเรือนของตน. อยู่ในที่ลับได้แจ้งเรื่องนี้แก่สหายคนหนึ่ง.
กรรมลามกอันเป็ นความลับของตนเห็นปานนี้ อันเสนกะทาให้ปรากฏแล้ว
ความลับนี้ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว.
พระราชาทอดพระเนตรดูเสนกะแล้วมีราชกระทู้ถามว่า จริงหรือ.
เสนกะก็ได้ทรงรับกราบทูลตอบว่า จริง พระเจ้าข้า.
จึงรับสั่งให้จาเสนกะในเรือนจา. ฝ่ายมโหสถ
เมื่อจะกราบทูลข้อความลับของปุกกุสะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พระจอมประชากร โรคเรื้อนเกิดขึ้นแก่ปุกกุสะ
เป็นโรคที่ไม่สมควรจะใกล้ชิดพระราชา.
ปุกกุสะอยู่ในที่ลับได้แจ้งแก่น้องชายน้อย. ความที่ปุกกุสะเป็นโรคเรื้อน
เป็นข้อความลับเห็นปานนี้ อันปุกกุสะได้ทาให้ปรากฏแล้ว.
ความลับนี้ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว.
พระราชาทอดพระเนตรดูปุกกุสะแล้ว ตรัสถามว่า จริงหรือปุกกุสะ.
ครั้นได้ทรงสดับรับสารภาพว่าจริง จึงรับสั่งให้เอาตัวเข้าเรือนจา. มโหสถบัณฑิต
เมื่อจะกราบทูลความลับของกามินทะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
กามินทะอันอาพาธซึ่งลามก กล่าวคือยักษ์ชื่อนรเทวะ
สิงแล้วเป็ นเหมือนสุนัขบ้าร้องอยู่. กามินทะอยู่ในที่ลับ ได้แจ้งความลับนี้แก่บุตร.
ความลับเห็นปานนี้ อันกามินทะทาให้ปรากฏแล้ว.
ความลับนี้ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว.
พระราชาทอดพระเนตรดูกามินทะแล้วตรัสถามว่า จริงหรือกามินทะ.
กามินทะทูลรับสารภาพ จึงตรัสสั่งให้นากามินทะเข้าสู่เรือนจา.
ฝ่ายมโหสถบัณฑิต เมื่อจะกราบทูลความลับของเทวินทะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ท้าวสักกเทวราชได้ประทานมณีรัตนะอันโอฬารมี ๘
13
คดแด่พระเจ้ากุสราช ผู้เป็นพระอัยยกาของพระองค์.
มณีรัตนะนั้นเดี๋ยวนี้ตกถึงมือเทวินทะ ก็เทวินทะอยู่ในที่ลับได้แจ้งแก่มารดา.
ข้อความลับเห็นปานนี้ อันเทวินทะทาให้ปรากฏแล้ว.
ความลับนี้ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว.
พระราชาตรัสถามเทวินทะว่า จริงหรือเทวินทะ.
ครั้นเทวินทะกราบทูลสารภาพว่าจริง จึงโปรดให้ส่งเทวินทะเข้าเรือนจา.
อาจารย์ทั้ง ๔ ตั้งใจจะฆ่ามโหสถ กลับต้องเข้าเรือนจาเองทั้งหมด
ด้วยประการฉะนี้.
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ข้าพระองค์กราบทูลว่า อันบุคคลไม่ควรบอกความลับของตนแก่บุคคลอื่น
ด้วยเหตุนี้. อาจารย์ทั้ง ๔ กราบทูลว่า ควรบอก ก็ถึงความพินาศใหญ่.
เมื่อจะแสดงธรรมให้ยิ่ง ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
การซ่อนความลับไว้นั่นแหละดี การเปิดเผยความลับไม่ประเสริฐเลย.
บุคคลผู้มีปัญญา ในเมื่อข้อความลับยังไม่สาเร็จ พึงอดทนไว้.
ข้อความลับสาเร็จแล้ว พึงกล่าวตามสบาย.
บุคคลไม่ควรเปิดเผยข้อความลับเลย ควรรักษาข้อความลับนั้นไว้
ดุจบุคคลรักษาขุมทรัพย์ ฉะนั้น. ข้อความลับอันบุคคลผู้รู้แจ้ง
ไม่ทาให้ปรากฏนั่นแลดี. บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี
และแก่คนไม่ใช่มิตร กับอย่าบอกความในใจแก่บุคคลที่อามิสลากไป
และแก่คนไม่ใช่มิตร.
ผู้มีปรีชาย่อมอดทนต่อคาด่าคาบริภาษ
และการประหารแห่งบุคคลผู้รู้ข้อความลับซึ่งผู้อื่นไม่รู้
เพราะกลัวแต่แพร่ความลับที่คิดไว้. ประหนึ่งคนเป็ นทาส
อดทนต่อคาด่าเป็นต้นแห่งนาย ฉะนั้น.
ชนทั้งหลายรู้ความลับที่ปรึกษากันของบุคคลผู้หนึ่ง เพียงใด.
ความหวาดสะดุ้งของบุคคลนั้นย่อมเกิดขึ้น เพียงนั้น. เพราะเหตุนั้น
ผู้ฉลาดไม่ควรสละความลับ.
บุคคลกล่าวความลับในเวลากลางวัน พึงหาโอกาสที่เงียบ.
เมื่อจะพูดความลับในเวลาค่าคืน อย่าปล่อยเสียงให้เกินเขต. เพราะว่า
คนแอบฟังความ ย่อมจะได้ยินความลับที่ปรึกษากัน. เพราะฉะนั้น
ความลับที่ปรึกษากันจะถึงความแพร่งพรายทันที.
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับ ถ้อยคาแห่งมโหสถ ก็ทรงพิโรธว่า
อาจารย์เหล่านี้ปองร้ายกันเอง มาลงเอามโหสถว่าเป็นผู้ปองร้ายเรา.
14
จึงมีพระราชดารัสสั่งราชบุรุษว่า พวกเจ้าจงไป จงนาอาจารย์ทั้ง ๔ นั้น
ออกจากพระนคร ให้นอนหงายบนหลาว แล้วตัดศีรษะเสีย. เมื่ออาจารย์ทั้ง ๔
อันราชบุรุษมัดมือไพล่หลัง เฆี่ยนด้วยไม้เรียวร้อยทีคราวละ ๔ คราวละ ๔
แล้วนาไปสู่ประหารชีวิต. มโหสถกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ
อาจารย์เหล่านี้เป็นอมาตย์เก่าของพระองค์.
ขอพระองค์ทรงงดโทษแก่อาจารย์เหล่านี้. พระราชาพระราชทานอนุญาต.
แล้วให้เรียกอาจารย์ทั้ง ๔ มา ตรัสสั่งยกให้เป็ นทาสแห่งมโหสถ.
ก็แต่มโหสถทูลยกให้เป็นไทในเวลานั้น นั่นเอง.
พระราชาตรัสสั่งให้ขับไล่อาจารย์ทั้ง ๔ จากพระราชอาณาจักร.
มโหสถทูลขอพระราชทานโทษว่า ขอได้โปรดอดโทษแก่คนอันธพาลเหล่านั้น
ขอให้ทรงยกย่องอยู่ในฐานันดรนั้น. พระราชาทรงเลื่อมใสในมโหสถเกินเปรียบ
ด้วยทรงดาริว่า มโหสถได้มีเมตตาเห็นปานนี้ ในเหล่าปัจจามิตร.
มโหสถจักไม่มีเมตตาเห็นปานนี้ ในชนเหล่าอื่นอย่างไร. จาเดิมแต่นั้น
นักปราชญ์ทั้ง ๔ เป็ นผู้หมดพยศ ดุจงูถูกถอนเขี้ยวเสียแล้ว
ไม่อาจจะกล่าวอะไรอีก.
จบ ปัญหาบัณฑิต ๕

More Related Content

Similar to 508 ปัญจปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

487 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
487 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....487 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
487 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
468 ชนสันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
468 ชนสันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx468 ชนสันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
468 ชนสันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้าwatpadongyai
 
016 ติปัลลัตถมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
016 ติปัลลัตถมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...016 ติปัลลัตถมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
016 ติปัลลัตถมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้Kiat Chaloemkiat
 
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
01 สโมธานกถา.pdf
01 สโมธานกถา.pdf01 สโมธานกถา.pdf
01 สโมธานกถา.pdf
maruay songtanin
 

Similar to 508 ปัญจปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (10)

487 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
487 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....487 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
487 อุททาลกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
220 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
468 ชนสันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
468 ชนสันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx468 ชนสันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
468 ชนสันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
 
016 ติปัลลัตถมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
016 ติปัลลัตถมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...016 ติปัลลัตถมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
016 ติปัลลัตถมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
 
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
285 มณิสูกรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
01 สโมธานกถา.pdf
01 สโมธานกถา.pdf01 สโมธานกถา.pdf
01 สโมธานกถา.pdf
 

More from maruay songtanin

๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
maruay songtanin
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
maruay songtanin
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 

508 ปัญจปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 ปัญจปัณฑิตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๐๘) ว่าด้วยบัณฑิต ๕ คน (พระราชาทรงรับที่จะทดลองมโหสธบัณฑิต จึงตรัสสั่งว่า) [๓๑๕] ท่านบัณฑิตทั้ง ๕ มากันพร้อมแล้ว ปัญหาแจ่มแจ้งแก่เรา ขอพวกท่านจงสดับ เรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็ นความลับของเรา ควรเปิดเผยแก่ใครดี (เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า) [๓๑๖] ขอเดชะพระภูมิบาล ขอพระองค์ทรงเปิดเผยก่อน พระองค์ทรงชุบเลี้ยงข้าพระพุทธเจ้า ทรงอดกลั้นต่อภาระอันหนัก โปรดแถลงเนื้อความก่อน ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน นักปราชญ์ทั้ง ๕ พิจารณา สิ่งที่พอพระทัยและสิ่งที่ถูกพระอัธยาศัยของพระองค์แล้ว จะกราบทูลต่อภายหลัง (ลาดับนั้น พระราชาตรัสคาถานี้ด้วยความที่พระองค์ทรงตกอยู่ในอานาจกิเลสว่า) [๓๑๗] บุคคลควรเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็ นความลับ แก่ภรรยาผู้มีศีล ไม่นอกใจสามี คล้อยตามอานาจความพอใจของสามี เป็นที่รักที่โปรดปรานของสามี (แต่นั้น เสนกบัณฑิตยินดีแล้วเมื่อจะแสดงเหตุที่ตนทาไว้เอง จึงกราบทูลว่า) [๓๑๘] บุคคลควรเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็ นความลับ แก่เพื่อนผู้เป็ นที่พึ่งที่พานัก และผู้เป็นทางดาเนินของเพื่อนผู้ตกยากทุรนทุรายได้ (ปุกกุสบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า) [๓๑๙] บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็ นความลับ แก่พี่ชายคนโต คนกลาง หรือแก่น้องชาย ผู้มีศีลตั้งมั่น มีตนมั่นคง (กามินทบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า) [๓๒๐] บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็ นความลับ แก่บุตรผู้ปรนนิบัติรับใช้บิดา ผู้เป็นอนุชาตบุตรคล้อยตามบิดา มีปัญญาไม่ต่าทราม (เทวินทบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า)
  • 2. 2 [๓๒๑] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลาย บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็ นความลับ แก่มารดาผู้เลี้ยงดูบุตรด้วยความรักความพอใจ (มโหสธบัณฑิตกราบทูลเหตุแห่งความลับว่า) [๓๒๒] ธรรมดาความลับปกปิดไว้เท่านั้นเป็นการดี การเปิดเผยความลับบัณฑิตไม่สรรเสริญ เพราะเมื่อความปรารถนายังไม่สาเร็จ นักปราชญ์พึงอดกลั้นไว้ก่อน ความปรารถนาสาเร็จแล้ว พึงพูดได้ตามสบาย (ฝ่ายพระนางอุทุมพรเทวีทูลถามถึงเหตุแห่งความโศกของพระราชาว่า) [๓๒๓] ขอเดชะพระราชาผู้ประเสริฐ เพราะเหตุไร พระองค์ทรงมีพระทัยวิปริตไป ขอเดชะพระองค์ผู้จอมมนุษย์ หม่อมฉันขอฟังพระดารัสของพระองค์ พระองค์ทรงดาริอย่างไรหรือ จึงทรงโทมนัส ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉันไม่มีความผิดเลยหรือเพคะ (ลาดับนั้น พระราชาตรัสตอบพระนางว่า) [๓๒๔] ในเพราะปัญหาว่า มโหสธบัณฑิตจะถูกฆ่า มโหสธผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ถูกพี่สั่งฆ่า พี่คิดถึงเรื่องนั้นจึงเสียใจ พระเทวี น้องไม่มีความผิดหรอก (พระราชาทรงทาเหมือนไม่ทรงทราบอะไร ตรัสถามมโหสธบัณฑิตว่า) [๓๒๕] เจ้าไปตั้งแต่พลบค่า เพิ่งจะมาเดี๋ยวนี้ เพราะได้ฟังเรื่องอะไรหรือ ใจของเจ้าจึงหวาดระแวง เชิญเถิด เจ้าผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ใครได้เรียนอะไรให้เจ้าฟัง เราขอฟังคานั้น เจ้าจงเล่าเรื่องนั้นให้เราฟัง (พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตทูลเตือนพระราชาว่า) [๓๒๖] ในปัญหาว่า มโหสธจะถูกฆ่า ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ก็เพราะพระองค์เสด็จอยู่ในที่ลับ ได้ตรัสบอกเรื่องที่พระองค์ทรงปรึกษาแล้วแก่พระเทวีตอนกลางคืน ความลับนั้นพระเทวีทรงเปิดเผยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา (พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของเสนกบัณฑิตก่อนว่า) [๓๒๗] ท่านเสนกบัณฑิตได้ทากรรมชั่ว เยี่ยงอสัตบุรุษอันใดไว้ที่ป่าไม้รัง เขาอยู่ในที่ลับแล้วได้บอกแก่เพื่อนคนหนึ่ง ความลับนั้นท่านเสนกบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา (พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของปุกกุสบัณฑิตว่า) [๓๒๘] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน โรคอันไม่คู่ควรแก่พระราชา เกิดขึ้นแล้วแก่ปุกกุสะบุรุษของพระองค์ เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่พี่น้องชายคนหนึ่ง ความลับนั้นท่านปุกกุสบุรุษได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา (พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของกามินทบัณฑิตว่า)
  • 3. 3 [๓๒๙] กามินทบัณฑิตผู้นี้มีอาพาธเยี่ยงอสัตบุรุษ ถูกนรเทพเข้าสิง เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่บุตรชาย ความลับนั้นกามินทบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา (พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตเมื่อจะกราบทูลความลับของเทวินทบัณฑิต จึงกล่าวคาถานี้ว่า) [๓๓๐] ท้าวสักกเทวราชได้ทรงประทานแก้วมณี ๘ เหลี่ยม อันรุ่งเรืองยิ่งนักแด่พระอัยยกาของพระองค์ บัดนี้ แก้วมณีนั้นตกอยู่ในมือของเทวินทบัณฑิต เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่มารดา ความลับนั้นท่านเทวินทบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา (พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาแล้วแสดงธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไปว่า) [๓๓๑] ธรรมดาความลับปกปิดไว้เท่านั้นเป็นการดี การเปิดเผยความลับบัณฑิตไม่สรรเสริญ เพราะเมื่อความปรารถนายังไม่สาเร็จ นักปราชญ์พึงอดกลั้นไว้ก่อน ความปรารถนาสาเร็จแล้ว พึงพูดได้ตามสบาย [๓๓๒] บัณฑิตไม่พึงเปิดเผยความลับ พึงรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์ เพราะว่าความลับบุคคลรู้อยู่ ไม่เปิดเผยได้เป็นการดี [๓๓๓] บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ๑ ศัตรู ๑ คนที่ใช้อามิสล่อ ๑ คนผู้ล้วงความลับ ๑ [๓๓๔] คนผู้รู้ความลับที่ผู้อื่นไม่รู้ เพราะกลัวความลับที่ปรึกษาหารือกันไว้จะแตก ย่อมอดกลั้นไว้ดุจบุคคลผู้เป็นทาสเขา [๓๓๕] คนมีประมาณเท่าใดล่วงรู้ความลับที่เขาปรึกษากัน คนมีประมาณเท่านั้นเป็นบุคคลที่น่าหวาดกลัวของเขา เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับ [๓๓๖] ในเวลากลางวันควรพูดความลับในที่สงัด เวลากลางคืนไม่ควรพูดดังเกินไป เพราะเหตุว่าคนแอบฟังได้ยินความลับที่ปรึกษากันเข้า ความลับนั้นจะถึงการแพร่งพรายโดยเร็วพลัน ปัญจปัณฑิตชาดกที่ ๑๒ จบ ----------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา ปัญจปัณฑิตชาดก ว่าด้วย ความลับไม่ควรเปิดเผย
  • 4. 4 ปัญจบัณฑิตชาดก จักมีพิสดารใน มหาอุมมังคชาดก. จบอรรถกถาปัญจบัณฑิตชาดกที่ ๑๒ ว่าด้วย ปัญหาแห่งบัณฑิต ๕ คน บัณฑิตทั้ง ๔ เหล่านั้นปรึกษากันอีกว่า บัดนี้ มโหสถบุตรคฤหบดีมียศใหญ่นัก เราจักทาอย่างไรดี. ลาดับนั้น เสนกะจึงกล่าวกะบัณฑิตทั้งสามว่า การที่เขามียศใหญ่นั้นยกไว้เถิด เราเห็นอุบายแล้ว. เราทั้ง ๔ จักไปหามโหสถถามว่า ควรบอกความลับแก่ใคร. ถ้าเขาจักบอกว่า ไม่ควรบอกแก่ใครไซร้. เราทั้งหลายจักทูลยุยงพระราชาว่า คฤหบดีบุตรผู้มีนามว่ามโหสถ เป็นข้าศึกของพระองค์. บัณฑิตทั้ง ๓ เห็นชอบด้วย. บัณฑิตทั้ง ๔ เหล่านั้น จึงไปเรือนมโหสถทาปฎิสันถารแล้วกล่าวว่า แน่ะบัณฑิต เราทั้ง ๔ ใคร่จะถามปัญหาท่าน. ครั้นมโหสถให้ถาม เสนกะจึงถามว่า บุคคลผู้เป็นบัณฑิต ควรตั้งอยู่ในธรรมอะไร. มโหสถตอบว่า ควรตั้งอยู่ในความจริง. เสนกะถามว่า ผู้ตั้งอยู่ในความจริงแล้วควรทาอะไร. มโหสถตอบว่า ควรให้ทรัพย์สมบัติเกิดขึ้น. เสนกะถามว่า ให้ทรัพย์สมบัติเกิดแล้ว ควรทาอะไร. มโหสถตอบว่า ควรคบมิตร. เสนกะถามว่า คบมิตรแล้วควรทาอะไรต่อไป. มโหสถตอบว่า ควรเรียนความคิดอ่านจากมิตร. เสนกะถามว่า เรียนความคิดอ่านจากมิตรแล้วควรทาอะไรอีก. มโหสถตอบว่า การได้ความคิดอ่านจากมิตรนั้น. ถ้าเป็ นความลับ ไม่ควรบอกความลับของตนแก่ใคร. บัณฑิตทั้ง ๔ ก็รับว่าดีแล้ว. แล้วลากลับ เป็นผู้มีจิตยินดี คิดว่า บัดนี้เราทั้ง ๔ เห็นหลังมโหสถละ. แล้วไปเฝ้ าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถเป็นกบฏต่อพระองค์. พระเจ้าวิเทหราชตรัสห้ามว่า เราไม่เชื่อท่านทั้งหลาย มโหสถจักไม่เป็นกบฎต่อเรา. บัณฑิตทั้ง ๔ จึงกราบทูลว่า จริงนะ พระเจ้าข้า. ขอได้ทรงเชื่อ ก็ถ้าไม่ทรงเชื่อ จงตรัสถามเขาดูว่า ความลับของเขา เขาไม่ควรบอกแก่ใคร. ถ้าเขาจักไม่เป็นกบฏต่อพระองค์ เขาจักทูลว่า ควรบอกแก่คนชื่อนั้น. ถ้าเขาจักเป็นกบฏต่อพระองค์ เขาจักทูลว่า ไม่ควรบอกแก่ใครๆ ในเมื่อความปรารถนาสาเร็จจึงควรบอก. ในกาลนั้น พระองค์จักทรงเชื่อข้าพระองค์หมดสงสัย. พระราชาทรงรับจะทดลอง. วันหนึ่ง เมื่อบัณฑิตทั้ง ๕ มาพร้อมกันจึงตรัสคาถานี้ใน ปัญจปัณฑิตปัญหา ในวีสตินิบาตว่า ท่านทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตทั้ง ๕ มาพร้อมกันแล้ว
  • 5. 5 บัดนี้ปัญหาแจ่มแจ้งแก่เรา ท่านทั้งหลายจงฟังปัญหานั้น บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญอันเป็นข้อความลับแก่ใคร. ครั้นพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว เสนกะคิดว่า เราจักให้พระราชาเข้าอยู่ในพวกเราด้วย จึงกล่าวคาถานี้ว่า ข้าแต่พระภูมิบาล พระองค์จงตรัสเปิดเผยแก่เหล่าข้าพระองค์ก่อน พระองค์เป็นผู้ชุบเลี้ยง เป็ นผู้ทรงอดทนต่อราชกรณียะอันหนัก จงตรัสก่อน. ข้าแต่พระจอมประชากร เหล่าข้าพระองค์ผู้เป็นนักปราชญ์ทั้ง ๕ จักพิจารณา สิ่งที่พระองค์พอพระราชหฤทัย และเหตุเป็นที่ชอบด้วยพระอัธยาศัย แล้วกราบทูลภายหลัง. ลาดับนั้น พระราชาจึงตรัสคาถานี้ ด้วยความเป็นผู้เป็ นไปในอานาจกิเลสของพระองค์ว่า ภรรยาใดมีศีลาจารวัตร ไม่ให้ผู้อื่นลักสัมผัส คล้อยตามอานาจความพอใจของภัสดา เป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ. สามีควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นความลับแก่ภรรยา. แต่นั้นเสนกะยินดีว่า บัดนี้ เราทั้งหลายยังพระราชาให้เข้าในพวกเราได้แล้ว. เมื่อจะแสดงเหตุการณ์ที่ตนทาไว้เอง จึงกล่าวคาถานี้ว่า สหายใดเป็ นที่ระลึก เป็ นที่ถึง เป็ นที่พึ่งของบุคคล ผู้ถึงความทุกข์เดือดร้อนอยู่. บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นความลับ แก่สหายนั้นเทียว. ลาดับนั้น พระราชาตรัสถามปุกกุสะว่า แน่ะอาจารย์ปุกกุสะ ท่านเห็นอย่างไร ความลับของตนควรบอกแก่ใคร. ปุกกุสะเมื่อจะกราบทูล จึงกล่าวคาถานี้ว่า พี่น้องชายใด ผู้เป็นพี่ใหญ่หรือพี่กลางหรือน้อง ถ้าว่าพี่น้องชายนั้นตั้งอยู่ในศีล เสพสิ่งที่ควรเสพ. บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นความลับแก่พี่น้องชายนั้น. แต่นั้น พระราชาตรัสถามกามินทะว่า แน่ะอาจารย์กามินทะ ท่านเห็น อย่างไร ความลับควรบอกแก่ใคร กามินทะเมื่อจะกราบทูลจึงกล่าวคาถานี้ว่า บุตรใดดาเนินตามใจบิดา เป็ นอนุชาตมีปัญญาไม่ทรามกว่าบิดา. บิดาควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ
  • 6. 6 อันเป็นความลับแก่บุตรนั้น. บุตรที่ทาตามใจของเรา คือเป็นไปในอานาจจิตของบิดา เป็นผู้อดทนต่อโอวาท. บทว่า อนุชาโต ความว่า บุตรมี ๓ ประเภท คือ อภิชาต ๑ อนุชาต ๑ อวชาต ๑. บุตรผู้ยังยศที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่าอภิชาต. บุตรที่เป็นเชื้อสายของสกุล เป็ นผู้ตัดวงศ์สกุล ทาทรัพย์ให้พินาศ ชื่อว่าอวชาต. บุตรผู้รักษาแบบแผนของสกุล ประเพณีของสกุลไว้ได้ ชื่ออนุชาต. อาจารย์กามินทะกล่าวอย่างนี้ หมายถึงอนุชาตบุตรนั้น. แต่นั้น พระราชาตรัสถามเทวินทะว่า แน่ะอาจารย์เทวินทะ ท่านเห็นอย่างไร ความลับควรบอกแก่ใคร. เทวินทะเมื่อจะกราบทูล เหตุการณ์ที่ตนทาไว้. จึงกล่าวคาถานี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ประเสริฐที่สุดแห่งมนุษยนิกร มารดาใดเลี้ยงบุตรด้วยความพอใจรักใคร่. บุตรควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นความลับแก่มารดานั้น. พระราชาครั้นตรัสถามอาจารย์ ๔ คนเหล่านั้น ซึ่งกล่าวตอบไปอย่างนี้แล้ว. จึงตรัสถามมโหสถบัณฑิตว่า เจ้าเห็นอย่างไร พ่อบัณฑิต ความลับควรบอกแก่ใคร. มโหสถบัณฑิตเมื่อจะกราบทูลเหตุแห่งความลับ จึงกล่าวคาถานี้ว่า การซ่อนความลับไว้ นั่นแลเป็ นการดี. การเปิดเผยความลับไม่ดีเลย. บุคคลผู้มีปรีชา เมื่อความปรารถนายังไม่สาเร็จก็พึงกลั้นไว้. เมื่อความปรารถนาสาเร็จแล้ว พึงกล่าวตามสบาย. เมื่อมโหสถบัณฑิตกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงเสียพระทัย. เสนกะแลดูพระพักตร์พระราชา. พระราชาก็ทอดพระเนตรหน้าเสนกะ. มโหสถบัณฑิตเห็น กิริยาแห่งเสนกะและพระราชา. ก็รู้ว่า อาจารย์ทั้ง ๔ นี้ได้ยุยง ในระหว่างเราและพระราชาไว้ก่อนแล้ว. พระราชาตรัสถามปัญญาเพื่อทดลองเรา. เมื่อพระราชาและราชบริษัทเจรจากันอยู่ ดวงอาทิตย์อัสดงคต เจ้าหน้าที่ตามประทีป. มโหสถดาริว่า ขึ้นชื่อว่าราชการเป็ นของหนักย่อมไม่ปรากฏ ใครจะรู้เรื่อง อะไรจักมี. เราควรรีบกลับเสียก่อน. ดาริฉะนี้ จึงลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระราชาออกไป. คิดว่า ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกความลับแก่สหาย. ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกความลับแก่พี่น้องชาย. ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกควาบลับแก่บุตร. ผู้หนึ่งกล่าวว่า ควรบอกความลับแก่มารดา. เราสาคัญว่า กิจนี้จักเป็นของคนเหล่านี้ได้ทาแล้วแน่ คนเหล่านี้คงกล่าวถึงกิจที่ตนเห็นแล้ว
  • 7. 7 จงยกไว้เถิด เราจักรู้เหตุนี้ ในวันนี้. ฝ่ายราชบัณฑิตทั้ง ๔ ออกจากราชสานักแล้ว ในวันอื่นๆ เคยนั่งที่หลังถังข้าวถังหนึ่งใกล้ประตูพระราชนิเวศน์ ปรึกษากันถึงกรณียกิจ แล้วจึงกลับไปบ้าน. เพราะเหตุนั้น มโหสถจึงดาริว่า วันนี้ เรานอนอยู่ภายใต้ถังข้าว ก็สามารถจะรู้ความลับของอาจารย์ทั้ง ๔ นั้น จึงให้คนใช้ยกถังข้าวนั้นแล้วให้ลาดเครื่องลาด แล้วเข้าอยู่ภายใต้ถังข้าวนั้น แล้วให้สัญญาแก่คนใช้ว่า ในเมื่ออาจารย์ทั้ง ๔ มานั่งปรึกษากันลุกไปแล้ว พวกเจ้าจงมานาข้าวออก. คนใช้เหล่านั้นรับคาสั่ง แล้วหลีกไป. ฝ่ายอาจารย์เสนกะทูลพระเจ้าวิเทหราชว่า พระองค์ยังไม่ทรงเชื่อข้าพระบาทหรือ. บัดนี้ ข้อความนั้นเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับคาของพวกอาจารย์ผู้ยุยง ก็หาได้ทรงพิจารณาไม่ เป็นผู้ทั้งกลัวทั้งตกพระหฤทัย. จึงตรัสถามว่า แน่ะท่านเสนกบัณฑิต บัดนี้ เราจักทาประการไร. เสนกะจึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ควรที่พระองค์จะไม่ชักช้า อย่าทันให้มโหสถรู้ตัว แล้วฆ่าเสีย. พระราชาตรัสว่า แน่ะอาจารย์เสนกะ ยกท่านเสียแล้ว คนอื่นชื่อว่า เป็นผู้ใคร่ความเจริญแก่เราย่อมไม่มี. ท่านจงชวนสหายของท่านคอยอยู่ที่ภายในประตู. เมื่อมโหสถบุตรคฤหบดีมาสู่ราชสานักแต่เช้า จงตัดศีรษะเสียด้วยพระแสงขรรค์. ดารัสสั่งฉะนี้แล้ว พระราชทานพระแสงขรรค์รัตนะที่ทรง. อาจารย์ทั้ง ๔ นั้นกราบทูลว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า. ขอพระองค์อย่าทรงเกรงกลัวเลย พวกข้าพระบาทจักฆ่ามโหสถนั้นเสียให้จงได้. ทูลฉะนี้ แล้วออกมานั่งที่หลังถังข้าว. ราพึงกันว่า พวกเราเห็นหลังปัจจามิตรแล้ว. แต่นั้น เสนกะจึงเอ่ยขึ้นว่า ใครจักฆ่ามโหสถ. อาจารย์ทั้ง ๓ จึงตอบว่า ท่านอาจารย์นั่นแลจักฆ่าได้. แล้วทากิจนั้นให้เป็นภาระของเสนกะนั้นผู้เดียว. ลาดับนั้น เสนกะจึงถามอาจารย์ทั้ง ๓ ว่า ท่านทั้ง ๓ กล่าวว่า ชื่อว่าความลับควรบอกแก่บุคคลชื่อโน้นๆ ดังนี้. กิจนั้นท่านทั้ง ๓ ได้ทาแล้ว หรือเห็นแล้ว หรือได้สดับแล้วอย่างไร. ลาดับนั้น อาจารย์ทั้ง ๓ กล่าวกะเสนกะว่า ข้าแต่อาจารย์ กิจที่ท่านกล่าวว่า ความลับควรบอกแก่สหายนั้นเป็นของปรากฏแล้ว. กิจนั้นท่านทาแล้ว หรือเห็นแล้ว หรือได้ฟังแล้วอย่างไรเล่า กิจนั้นเราได้ทาเอง. ข้าแต่อาจารย์ ถ้ากระนั้นท่านจงกล่าวให้ทราบ ความลับนี้พระราชาทรงทราบแล้ว ชีวิตของเราจะไม่มี. ข้าแต่อาจารย์ ท่านอย่ากลัวเลย บุคคลผู้ทาลายความลับของเราทั้งหลายในที่นี้ไม่มี. ขอจงกล่าวให้ทราบเถิด เสนกะเอาเล็บเคาะถังข้าวว่า มโหสถอยู่ใต้ถังข้าวนี้กระมัง อาจารย์ทั้ง ๓ ตอบว่า
  • 8. 8 มโหสถเป็นคนเมาอิสริยยศ คงไม่เข้าไปอยู่ในที่เช่นนี้. บัดนี้จักเป็ นคนเมายิ่งด้วยยศ ท่านเห็นซึ้งไปได้. ฝ่ายเสนกะ เมื่อจะบอกความลับของตน จึงกล่าวว่า ท่านทั้ง ๓ รู้จักหญิงแพศยาชื่อโน้น ในนครนี้หรือ. ข้าพเจ้าทั้ง ๓ ทราบ. บัดนี้ นางคนนั้นยังปรากฏอยู่ หรือหายไปไม่พบเลย ท่านอาจารย์. เสนกะจึงแจ้งว่า เราทากิจของบุรุษกับด้วยนางคนนั้นในสวนไม้รัง แล้วยังนางคนนั้นให้ตาย ด้วยโลภในเครื่องประดับ. แล้วนาเครื่องประดับของนางนั้นมาห่อด้วยผ้าสาฎก แล้วแขวนไว้บนไม้รูปเหมือนงาช้างในห้องเรือนของเรา. เรายังไม่อาจจะใช้เครื่องประดับนั้น เห็นความที่เครื่องประดับนั้นเป็ นของเก่า. เราทาความผิดพระราชกาหนดอย่างนี้ ได้บอกแก่สหายคนหนึ่ง สหายคนนั้นมิได้บอกแก่ใคร. ด้วยเหตุนี้ เราจึงกล่าวว่า เราได้บอกความลับแก่สหาย. มโหสถเริ่มตั้งใจ กาหนดความลับของเสนกะไว้เป็ นอย่างดี. ฝ่ายปุกกุสะ เมื่อจะบอกความลับของตน จึงกล่าวว่า โรคเรื้อนมีที่ขาของข้าพเจ้า. น้องชายน้อยของข้าพเจ้าเท่านั้นรู้ ข้าพเจ้าไม่ให้ใครๆ รู้. ชาระแผลนั้นทายา พันผ้าทับแผล. พระราชามีพระหฤทัยกรุณาในข้าพเจ้า ตรัสเรียกข้าพเจ้าว่า ปุกกุสะจงมา แล้วบรรทมที่ขาของข้าพเจ้าบ่อยๆ. ก็ถ้าราชาทรงทราบเรื่องนี้ พึงประหารชีวิตข้าพเจ้า. ยกน้องชายน้อยคนนั้นของข้าพเจ้าเสีย คนอื่นไม่รู้เลย. ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่น้องชายน้อย. ฝ่ายกามินทะ เมื่อจะแสดงความลับของตน จึงกล่าวว่า ในวันอุโบสถข้างแรม ยักษ์ชื่อนรเทวะ มาสิงข้าพเจ้า. ข้าพเจ้าก็ร้องดุจสุนัขบ้าร้อง ข้าพเจ้าได้แจ้งเนื้อความนี้แก่บุตร. บุตรของข้าพเจ้ารู้ว่า ยักษ์มาสิงข้าพเจ้า. ก็ให้ข้าพเจ้านอนในห้องข้างใน ปิดประตู ออกไปให้มีมหรสพที่ประตู เพื่อกลบเสียงของข้าพเจ้า. ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่บุตร. แต่นั้นอาจารย์ทั้ง ๓ จึงถามเทวินทะ. เทวินทะ เมื่อจะกล่าวความลับของตน จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าทาการขัดสีแก้วมณี มีแก้วมณีเป็นมงคล เป็นที่เข้าอยู่แห่งสิริ เป็นของหลวง. ซึ่งท้าวสักกเทวราชประทานพระเจ้ากุสราชไว้. ข้าพเจ้าลักเอามงคลมณีรัตน์นั้นมาให้มารดา มารดานั้นไม่ให้ใครรู้. ถึงเวลาข้าพเจ้าจะเข้าเฝ้ าพระราชา ก็ให้มงคลมณีรัตน์แก่ข้าพเจ้า. ข้าพเจ้ายังสิริให้อยู่ในตัวข้าพเจ้า ด้วยอานาจแห่งมงคลมณีรัตน์นั้น
  • 9. 9 จึงเข้าไปสู่ราชสานัก. พระราชาไม่ตรัสแก่ท่านทั้งหลาย ตรัสกับข้าพเจ้าก่อนกว่าใครๆ แล้วพระราชทานกหาปณะ ๘ กหาปณะบ้าง. ๑๖ กหาปณะบ้าง. ๓๒ กหาปณะบ้าง. ๖๔ กหาปณะบ้าง แก่ข้าพเจ้าเพื่อเป็นเสบียงได้เลี้ยงชีพทุกวัน. ถ้าพระราชาทรงทราบอานุภาพมณีรัตน์นั้นไซร้ ชีวิตของข้าพเจ้าก็จะไม่รอดอยู่. ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าบอกความลับแก่มารดา. พระมหาสัตว์ได้ทาความลับของอาจารย์ทั้ง ๔ ให้ประจักษ์ ก็อาจารย์ทั้ง ๔ นั้นแจ้งความลับแก่กันแลกัน ราวกะบุคคลผ่าอกของตน แผ่อวัยวะภายในออกมาภายนอก. แล้วเตือนกันว่า ท่านทั้งหลายอย่าประมาท มาช่วยกันฆ่ามโหสถ บุตรคฤหบดีแต่เช้า. กาชับกันดังนี้ แล้วต่างลุกขึ้นหลีกไป. ในกาลเมื่ออาจารย์ทั้ง ๔ ไปแล้ว คนใช้ของมโหสถที่นัดหมายกันไว้ ก็มายกถังข้าว พาพระมหาสัตว์ออกหลีกไป. พระโพธิสัตว์กลับถึงเคหสถาน อาบน้า แต่งกาย บริโภคโภชนาหารแล้วรู้ว่า วันนี้ พระนางอุทุมพรเทวีผู้เชษฐภคินีของเรา คงประทานข่าวมาแต่พระราชวัง. จึงวางบุรุษพิเศษไว้ที่ประตูสั่งว่า เจ้าจงให้คนมาแต่พระราชวังเข้ามา แล้วบอกแก่เราโดยเร็ว. ก็แลครั้นสั่งฉะนั้นแล้วก็นอน ณ ที่นอนมีสิริ. ขณะนั้น พระเจ้าวิเทหราชบรรทม ณ ที่บรรทมอันมีสิริ ทรงอนุสรณ์ถึงคุณของมโหสถว่า มโหสถบัณฑิตบารุงเรามาตั้งแต่เขามีอายุได้ ๗ ปี. ไม่ได้ทาความเสียหายหน่อยหนึ่งแก่เรา. เมื่อเทวดาถามปัญหา ถ้าจักไม่มีมโหสถไซร้ ชีวิตของเราก็จะไม่พึงมี. เรามาถือเอาคาของปัจจามิตรผู้มีเวร แล้วกล่าวสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่ามโหสถผู้มีธุระหาผู้เสมอมิได้ ฉะนี้. แล้วให้พระขรรค์ เป็นอันว่าเราทาสิ่งที่ไม่ควรทา. บัดนี้แต่พรุ่งนี้ไป เราจักไม่ได้เห็นมโหสถอีก. ทรงราพึงฉะนี้ก็ยังความโศกให้เกิดขึ้น พระเสโทไหลโซมพระกาย. พระราชานั้นเต็มไปด้วยความโศก ก็ไม่ทรงได้ความผ่องใสแห่งพระมนัส. พระนางอุทุมพรเทวีเสด็จไปบรรทมร่วมกับพระราชสามี ทอดพระเนตรเห็นพระอาการของพระราชสามี. ทรงดาริว่า เป็ นไฉนหนอ ความผิดอย่างไรของเรามีอยู่ หรือเหตุการณ์แห่งความโศกอย่างไรอื่น เกิดขึ้นแก่พระองค์. เราจักทูลพระองค์ก่อน เมื่อจะทูลถาม จึงกล่าวคาถานี้ว่า ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐที่สุด พระองค์เป็นผู้มีพระมนัสวิปริตไปอย่างไรหรือ. ข้าแต่พระจอมประชากร ข้าพระบาทจะฟังพระดารัสข้อนั้นของพระองค์. พระองค์ทรงพระดาริอย่างไรหรือจึงทรงโทมนัส ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
  • 10. 10 ความผิดของข้าพระบาทไม่มีเลยหรือ พระเจ้าข้า. ลาดับนั้น พระราชาตรัสคาถาตอบพระนางว่า มโหสถผู้มีปัญญาจะถูกฆ่า เพราะมโหสถผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน. เราบังคับสั่งเพื่อฆ่าแล้ว. เราคิดถึงเรื่องนั้นจึงเป็นผู้โทมนัส. แน่ะพระเทวี ความผิดของเธอไม่มีเลย. แน่ะนางผู้เจริญ บัณฑิตทั้ง ๔ บอกแก่เรา มโหสถบัณฑิตเป็นศัตรูของเรา. เราไม่ได้พิจารณาโดยถ่องแท้ สั่งฆ่ามโหสถผู้มีปัญญาดังแผ่นดินว่า พวกท่านจงฆ่าเขาเสีย. เมื่อเราคิดถึงการณ์นั้น จึงมีความโทมนัสว่า เราตายเสียดีกว่ามโหสถบัณฑิตตาย. ความโศกสักเท่าภูเขาเกิดขึ้นแก่พระนางอุทุมพร ด้วยความรักในพระมหาสัตว์ เพราะได้ทรงสดับพระราชาตรัสฉะนั้น. แต่นั้น พระนางจึงทรงคิดว่า เราจักยังพระราชาให้ทรงอุ่นพระหฤทัยด้วยอุบายหนึ่ง. ในกาลเมื่อพระราชาบรรทมหลับ เราจักส่งข่าวไปยังมโหสถผู้กนิษฐภาดาของเรา. ลาดับนั้น พระนางจึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ผู้ยังมโหสถให้ดารงอยู่ในอิสริยยศใหญ่. ภายหลังมาทรงทาการดังนี้แก่เขาจะเป็ นไรไป แล้วทูลเล้าโลมพระราชาว่า พระองค์ทรงสถาปนามโหสถในตาแหน่งเสนาบดี. ได้ยินว่า บัดนี้ เธอคิดกบฏต่อพระองค์ ก็บุคคลผู้ปัจจามิตร มิใช่เป็นคนเล็กน้อยเลย. พระองค์ควรประหารชีวิตเขาเสียทีเดียว. ขอพระองค์อย่าทรงพระวิตกเลย พระราชามีความโศกเบาบางก็หยั่งลงสู่นิทรารมณ์. ขณะนั้น พระราชเทวีเสด็จลุกขึ้นเข้าสู่ห้อง ทรงพระอักษรมีความว่า ดูก่อนมโหสถ บัณฑิตทั้ง ๔ ทาลายเธอให้แตกกับพระราชา. พระราชากริ้ว ตรัสสั่งบัณฑิตทั้ง ๔ ให้ฆ่าเธอที่ประตูพระราชวังเวลาพรุ่งนี้ พรุ่งนี้เธออย่ามาสู่ราชสานัก. ถ้าจะมาก็พึงเป็นผู้สามารถทาชาวพระนคร ให้อยู่ในเงื้อมมือเธอแล้วพึงมา. ทรงพระอักษรมีความฉะนี้ แล้วสอดเข้าในห่อ เอาด้ายพันห่อแล้ว วางในสุพรรณภาชน์ใหม่ปิดฝา ประทับพระลัญจกรประทานแก่นางข้าหลวง ผู้ประพฤติประโยชน์ตรัสสั่งว่า เจ้าจงนาห่อนี้ไปให้แก่ มโหสถบัณฑิตผู้น้องชายน้อยของเรา. นางข้าหลวงได้ทาตามคาสั่ง อันใครๆ ไม่ควรคิดว่า ทาไมนางข้าหลวงออกจากตาหนักข้างใน ในเวลากลางคืนได้. เพราะว่า พระราชาพระราชทานพรแก่พระนางไว้ก่อนแล้ว ให้พระนางใช้ใครนาของเสวยอันมีรสออกไปให้มโหสถ ได้ตามประสงค์. เพราะฉะนั้น ใครๆ จึงไม่ห้ามนางข้าหลวงนั้น. พระโพธิสัตว์รับพระสุพรรณภาชน์แล้วให้นางข้าหลวงนั้นกลับ.
  • 11. 11 นางข้าหลวงก็ลากลับมา. ทูลความที่ตนให้พระสุพรรณภาชน์แก่มโหสถแล้วแด่พระนาง. ขณะนั้น พระนางจึงเสด็จมาบรรทมกับพระราชสามี. ฝ่ายพระโพธิสัตว์แก้ห่อหนังสือออก อ่านรู้ความนั้นแล้ว. จัดกิจที่จะพึงทาแล้วเข้านอน. ฝ่ายอาจารย์ทั้ง ๔ ถือพระแสงขรรค์ ยืนอยู่ภายในประตูวัง แต่เช้า. เมื่อไม่เห็นมโหสถมาก็เสียใจ ไปเฝ้ าพระราชา. ครั้นตรัสถามว่า เป็นอย่างไร. ท่านทั้งหลายฆ่ามโหสถแล้วหรือ. จึงกราบทูลว่า ไม่เห็นมโหสถมา พระเจ้าข้า. ฝ่ายพระมหาสัตว์ พออรุณขึ้นก็สนานกายด้วยน้าหอม ประดับกายด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง บริโภคโภชนะอันเลิศ ชาระสรีรกิจแล้ว. ทาชาวพระนครให้อยู่ในเงื้อมมือแล้ว ตั้งการรักษาในที่นั้นๆ เป็ นผู้อันมหาชนห้อมล้อม ขึ้นรถไปสู่ประตูวังด้วยยศใหญ่. ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชให้เปิดพระแกล ประทับยืนทอดพระเนตรอยู่. ลาดับนั้น พระโพธิสัตว์ลงจากรถ ถวายบังคมบรมกษัตริย์ แล้วยืนอยู่. พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาของมโหสถทรงดาริว่า ถ้ามโหสถเป็นข้าศึกแก่เรา ที่ไหนเขาจะพึงไหว้เรา. ลาดับนั้น ก็ตรัสให้เรียกมโหสถมาเฝ้ า แล้วเสด็จประทับ ณ พระราชอาสน์. ฝ่ายมโหสถถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ส่วนหนึ่ง. บัณฑิตทั้ง ๔ ก็นั่งอยู่ที่นั่น. ลาดับนั้น พระราชาเป็นเหมือนไม่ทรงทราบอะไร. ตรัสถามมโหสถว่า แน่ะพ่อมโหสถ เมื่อวานนี้ เจ้ากลับบ้านแต่ยามแรก เจ้าพึ่งมาเดี๋ยวนี้ เจ้าสละเสียอย่างนี้ เพราะอะไร. ตรัสฉะนี้แล้ว ได้ตรัสคาถานี้ว่า เจ้าไปบ้านแต่หัวค่า มาเอาบัดนี้ ใจของเจ้ารังเกียจเพราะได้ฟังอะไรหรือ. ดูก่อนเจ้าผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ใครได้พูดอะไรแก่เจ้า เราจะฟังเจ้าบอกเรื่องของเจ้า เจ้าจงบอกเรื่องนั้นแก่เรา. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลเตือนพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ถือเอาคาบัณฑิตทั้ง ๔ แล้วมีพระราชาณัติให้ฆ่าข้าพระบาท. ด้วยเหตุนั้น ข้าพระบาทจึงยังไม่มา. ทูลฉะนี้ แล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า มโหสถผู้มีปัญญาจะถูกฆ่า ข้าแต่พระปิ่นประชากร กาลใด พระองค์เสด็จอยู่ในที่ลับได้ตรัส ข้อความลับที่รับสั่งแก่อาจารย์ทั้ง ๔ กับพระนางอุทุมพร เมื่อหัวค่า. ข้อความลับอย่างนั้นของพระองค์ พระองค์ได้เปิดเผยแล้ว ก็ข้อความลับนั้นอันข้าพระบาทได้ฟังแล้ว ในกาลนั้น. พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคาของมโหสถ ก็ทรงพระพิโรธด้วยทรงเห็นว่า นางอุทุมพรจักส่งข่าวไปขณะนั้นเอง. จึงทอดพระเนตรดูพระราชเทวี. มโหสถรู้กิริยานั้น จึงกราบทูลว่า
  • 12. 12 ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ทรงพิโรธพระราชเทวีทาไม. ข้าพระองค์ทราบเหตุการณ์ อดีต อนาคต และปัจจุบันทั้งสิ้น. พระนางตรัสความลับของพระองค์แก่ข้าพระองค์ จงยกไว้ก่อน. ความลับของเสนกะและปุกกุสะเป็นต้น ใครแจ้งแก่ข้าพระองค์เล่า. ปัญหาของกิ้งก่า ใครบอกแก่ข้าพระองค์. และปัญหาของเทวดาใครบอกแก่ข้าพระองค์เล่า. ข้าพระองค์ทราบ ความลับของชนเหล่านี้ก่อนแล้วทีเดียว. เมื่อจะทูลความลับของเสนกะก่อน จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า เสนกะได้ทากรรมลามกไม่ใช่กรรมดีอันใด คือฆ่าหญิงแพศยานางหนึ่งในสวนไม้รัง ในนครนี้เอง. แล้วถือเอาเครื่องประดับ ห่อด้วยผ้าสาฎกเก็บไว้ในเรือนของตน. อยู่ในที่ลับได้แจ้งเรื่องนี้แก่สหายคนหนึ่ง. กรรมลามกอันเป็ นความลับของตนเห็นปานนี้ อันเสนกะทาให้ปรากฏแล้ว ความลับนี้ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว. พระราชาทอดพระเนตรดูเสนกะแล้วมีราชกระทู้ถามว่า จริงหรือ. เสนกะก็ได้ทรงรับกราบทูลตอบว่า จริง พระเจ้าข้า. จึงรับสั่งให้จาเสนกะในเรือนจา. ฝ่ายมโหสถ เมื่อจะกราบทูลข้อความลับของปุกกุสะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า ข้าแต่พระจอมประชากร โรคเรื้อนเกิดขึ้นแก่ปุกกุสะ เป็นโรคที่ไม่สมควรจะใกล้ชิดพระราชา. ปุกกุสะอยู่ในที่ลับได้แจ้งแก่น้องชายน้อย. ความที่ปุกกุสะเป็นโรคเรื้อน เป็นข้อความลับเห็นปานนี้ อันปุกกุสะได้ทาให้ปรากฏแล้ว. ความลับนี้ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว. พระราชาทอดพระเนตรดูปุกกุสะแล้ว ตรัสถามว่า จริงหรือปุกกุสะ. ครั้นได้ทรงสดับรับสารภาพว่าจริง จึงรับสั่งให้เอาตัวเข้าเรือนจา. มโหสถบัณฑิต เมื่อจะกราบทูลความลับของกามินทะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า กามินทะอันอาพาธซึ่งลามก กล่าวคือยักษ์ชื่อนรเทวะ สิงแล้วเป็ นเหมือนสุนัขบ้าร้องอยู่. กามินทะอยู่ในที่ลับ ได้แจ้งความลับนี้แก่บุตร. ความลับเห็นปานนี้ อันกามินทะทาให้ปรากฏแล้ว. ความลับนี้ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว. พระราชาทอดพระเนตรดูกามินทะแล้วตรัสถามว่า จริงหรือกามินทะ. กามินทะทูลรับสารภาพ จึงตรัสสั่งให้นากามินทะเข้าสู่เรือนจา. ฝ่ายมโหสถบัณฑิต เมื่อจะกราบทูลความลับของเทวินทะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า ท้าวสักกเทวราชได้ประทานมณีรัตนะอันโอฬารมี ๘
  • 13. 13 คดแด่พระเจ้ากุสราช ผู้เป็นพระอัยยกาของพระองค์. มณีรัตนะนั้นเดี๋ยวนี้ตกถึงมือเทวินทะ ก็เทวินทะอยู่ในที่ลับได้แจ้งแก่มารดา. ข้อความลับเห็นปานนี้ อันเทวินทะทาให้ปรากฏแล้ว. ความลับนี้ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว. พระราชาตรัสถามเทวินทะว่า จริงหรือเทวินทะ. ครั้นเทวินทะกราบทูลสารภาพว่าจริง จึงโปรดให้ส่งเทวินทะเข้าเรือนจา. อาจารย์ทั้ง ๔ ตั้งใจจะฆ่ามโหสถ กลับต้องเข้าเรือนจาเองทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์กราบทูลว่า อันบุคคลไม่ควรบอกความลับของตนแก่บุคคลอื่น ด้วยเหตุนี้. อาจารย์ทั้ง ๔ กราบทูลว่า ควรบอก ก็ถึงความพินาศใหญ่. เมื่อจะแสดงธรรมให้ยิ่ง ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า การซ่อนความลับไว้นั่นแหละดี การเปิดเผยความลับไม่ประเสริฐเลย. บุคคลผู้มีปัญญา ในเมื่อข้อความลับยังไม่สาเร็จ พึงอดทนไว้. ข้อความลับสาเร็จแล้ว พึงกล่าวตามสบาย. บุคคลไม่ควรเปิดเผยข้อความลับเลย ควรรักษาข้อความลับนั้นไว้ ดุจบุคคลรักษาขุมทรัพย์ ฉะนั้น. ข้อความลับอันบุคคลผู้รู้แจ้ง ไม่ทาให้ปรากฏนั่นแลดี. บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี และแก่คนไม่ใช่มิตร กับอย่าบอกความในใจแก่บุคคลที่อามิสลากไป และแก่คนไม่ใช่มิตร. ผู้มีปรีชาย่อมอดทนต่อคาด่าคาบริภาษ และการประหารแห่งบุคคลผู้รู้ข้อความลับซึ่งผู้อื่นไม่รู้ เพราะกลัวแต่แพร่ความลับที่คิดไว้. ประหนึ่งคนเป็ นทาส อดทนต่อคาด่าเป็นต้นแห่งนาย ฉะนั้น. ชนทั้งหลายรู้ความลับที่ปรึกษากันของบุคคลผู้หนึ่ง เพียงใด. ความหวาดสะดุ้งของบุคคลนั้นย่อมเกิดขึ้น เพียงนั้น. เพราะเหตุนั้น ผู้ฉลาดไม่ควรสละความลับ. บุคคลกล่าวความลับในเวลากลางวัน พึงหาโอกาสที่เงียบ. เมื่อจะพูดความลับในเวลาค่าคืน อย่าปล่อยเสียงให้เกินเขต. เพราะว่า คนแอบฟังความ ย่อมจะได้ยินความลับที่ปรึกษากัน. เพราะฉะนั้น ความลับที่ปรึกษากันจะถึงความแพร่งพรายทันที. พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับ ถ้อยคาแห่งมโหสถ ก็ทรงพิโรธว่า อาจารย์เหล่านี้ปองร้ายกันเอง มาลงเอามโหสถว่าเป็นผู้ปองร้ายเรา.
  • 14. 14 จึงมีพระราชดารัสสั่งราชบุรุษว่า พวกเจ้าจงไป จงนาอาจารย์ทั้ง ๔ นั้น ออกจากพระนคร ให้นอนหงายบนหลาว แล้วตัดศีรษะเสีย. เมื่ออาจารย์ทั้ง ๔ อันราชบุรุษมัดมือไพล่หลัง เฆี่ยนด้วยไม้เรียวร้อยทีคราวละ ๔ คราวละ ๔ แล้วนาไปสู่ประหารชีวิต. มโหสถกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ อาจารย์เหล่านี้เป็นอมาตย์เก่าของพระองค์. ขอพระองค์ทรงงดโทษแก่อาจารย์เหล่านี้. พระราชาพระราชทานอนุญาต. แล้วให้เรียกอาจารย์ทั้ง ๔ มา ตรัสสั่งยกให้เป็ นทาสแห่งมโหสถ. ก็แต่มโหสถทูลยกให้เป็นไทในเวลานั้น นั่นเอง. พระราชาตรัสสั่งให้ขับไล่อาจารย์ทั้ง ๔ จากพระราชอาณาจักร. มโหสถทูลขอพระราชทานโทษว่า ขอได้โปรดอดโทษแก่คนอันธพาลเหล่านั้น ขอให้ทรงยกย่องอยู่ในฐานันดรนั้น. พระราชาทรงเลื่อมใสในมโหสถเกินเปรียบ ด้วยทรงดาริว่า มโหสถได้มีเมตตาเห็นปานนี้ ในเหล่าปัจจามิตร. มโหสถจักไม่มีเมตตาเห็นปานนี้ ในชนเหล่าอื่นอย่างไร. จาเดิมแต่นั้น นักปราชญ์ทั้ง ๔ เป็ นผู้หมดพยศ ดุจงูถูกถอนเขี้ยวเสียแล้ว ไม่อาจจะกล่าวอะไรอีก. จบ ปัญหาบัณฑิต ๕