SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
Download to read offline
1
มหาปรินิพพานสูตร ตอนที่ ๕
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
ในเรื่องมหาปรินิพพานสูตรตอนที่ ๕ นี้ ว่าด้วยเรื่องพระบรมศาสดาเจ้าเสด็จไปยังควงไม้สาละทั้ง
คู่ ในสวนสาลวันของพวกเจ้ามัลละ อันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารา ทรงกล่าวความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์
และทรงโปรดสุภัททปริพาชก จึงเป็นอันว่าท่านสุภัททะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย อีกทั้งท่านยังได้เป็นสักขิสาวกองค์สุดท้ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
มหาปรินิพพานสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ทีฆนิกาย มหาวรรค
๓. มหาปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยมหาปรินิพพาน
เสด็จไปยังควงไม้สาละทั้งคู่
[๑๙๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะ
ข้ามไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้าหิรัญญวดี ตรงสาลวันของพวกเจ้ามัลละอันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารากัน” ท่าน
พระอานนท์ทูลรับสนองพระดารัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังฝั่งโน้นแห่ง
แม่น้าหิรัญญวดี ตรงสาลวันของพวกเจ้ามัลละ อันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารา แล้วรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์
มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยตั้งเตียง (เตียง ในที่นี้ หมายถึงเตียงสาหรับพักผ่อนของพวกเจ้ามัลละ ที่มีอยู่ใน
สาลวันนั่นเอง) ระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันด้านศีรษะไปทางทิศเหนือ เราเหน็ดเหนื่อยจะนอนพัก” ท่านพระ
อานนท์ทูลรับสนองพระดารัสแล้วตั้งเตียงระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันด้านพระเศียรไปทางทิศเหนือ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสาเร็จสีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระ
บาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ
เวลานั้น ต้นสาละทั้งคู่ผลิดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ดอกสาละเหล่านั้นร่วงหล่นโปรย
ปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต ดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศ
โปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต จุรณแห่งจันทน์อันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจาก
อากาศ โปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต ดนตรีทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อ
บูชาพระตถาคต ทั้งสังคีตทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาพระตถาคต
[๑๙๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ต้นสาละทั้งคู่ผลิ
ดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ดอกสาละเหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชา
ตถาคต ดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชาตถาคต
2
จุรณแห่งจันทน์อันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชาตถาคต ดนตรี
ทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ทั้งสังคีตทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ตถาคตจะชื่อว่า
อันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะเพียงเท่านี้ ก็หาไม่ ผู้ใดไม่ว่าจะเป็นภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม(ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม หมายถึงการปฏิบัติหลักเบื้องต้นมีศีลเป็นต้น ให้สอดคล้องกับโลกุตตรธรรม ปฏิบัติชอบ
หมายถึงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้นเอง ปฏิบัติตามธรรม หมายถึงการประพฤติหลักเบื้องต้นให้
สมบูรณ์) อยู่ ผู้นั้นชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม ฉะนั้น อานนท์
เธอทั้งหลายพึงสาเหนียกอย่างนี้ ว่า ‘เราจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม
อยู่’ อานนท์ เธอทั้งหลายพึงสาเหนียกอย่างนี้ แล”
เรื่องพระอุปวาณเถระ
[๒๐๐] เวลานั้น ท่านพระอุปวาณะยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคอยู่ตรงพระพักตร์ ขณะนั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งท่านพระอุปวาณะให้ถอยไปด้วยพระดารัสว่า “ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้า
เรา”
ท่านพระอานนท์มีความดาริดังนี้ ว่า “ท่านพระอุปวาณะนี้ เคยเป็นอุปัฏฐากเฝ้าใกล้ชิดพระผู้มีพระ
ภาคมานาน ถึงกระนั้น ในปัจฉิมกาลพระผู้มีพระภาคตรัสสั่งให้ท่านพระอุปวาณะถอยไปด้วยพระดารัสว่า
‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา’ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาครับสั่งให้
ท่านพระอุปวาณะถอยไปด้วยพระดารัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา”
ลาดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอุป
วาณะนี้ เคยเป็นอุปัฏฐากเฝ้าใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคมานาน ถึงกระนั้น ในปัจฉิมกาลพระผู้มีพระภาครับสั่ง
ให้ท่านพระอุปวาณะถอยไปด้วยพระดารัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา’ อะไรหนอแลเป็น
เหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ท่านอุปวาณะถอยไปด้วยพระดารัสว่า ‘ภิกษุเธอจงหลบไป
อย่ายืนตรงหน้าเรา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เทพโดยมากใน ๑๐ โลกธาตุมาประชุมกันเพื่อจะเยี่ยม
ตถาคต สวนสาลวันของพวกเจ้ามัลละอันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารานี้ มีเนื้ อที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบที่ที่พวกเทพผู้
มีศักดิ์ใหญ่ ไม่ได้เบียดเสียดกันอยู่แม้เท่าปลายขนเนื้ อทรายจดลงได้ก็ไม่มี พวกเทพจะโทษว่า พวกเรามา
ไกลก็เพื่อจะเห็นพระตถาคต มีเพียงครั้งคราวที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ พระตถาคตจะปรินิพพาน ภิกษุผู้มีศักดิ์ใหญ่รูปนี้ ยืนบังอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์
พระผู้มีพระภาค (ทาให้) พวกเราไม่ได้เฝ้าพระตถาคตในปัจฉิมกาล”
[๒๐๑] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเทวดาเป็นอย่างไร คิดกันอย่างไรพระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กาหนดแผ่นดินขึ้นบนอากาศ
(กาหนดแผ่นดินขึ้นบนอากาศ หมายถึงเนรมิตแผ่นดินขึ้นบนอากาศ) สยายผมประคองแขนร้องไห้คร่า
3
ครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคนเท้าขาด เพ้อราพันว่า ‘พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วน
ปรินิพพานเสียจักษุของโลกจักด่วนอันตรธานไปแล้ว’
มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กาหนดแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดิน (กาหนดแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดิน หมายถึง
เนรมิตแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดินปกติ เพราะแผ่นดินปกติหยาบไม่สามารถจะรองรับเทวดาซึ่งมีร่างกายละเอียด
ได้) สยายผมประคองแขน ร้องไห้คร่าครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคนเท้าขาด เพ้อราพันว่า ‘พระผู้มี
พระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกจักด่วนอันตรธานไปแล้ว’
ส่วนพวกเทวดาที่ไม่มีราคะ มีสติสัมปชัญญะก็อดกลั้นได้ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เหล่าสัตว์จะ
พึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้ ”
สังเวชนียสถาน ๔ ตาบล
[๒๐๒] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายผู้จาพรรษาใน
ทิศทั้งหลายมาเฝ้าพระตถาคต ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมได้พบ ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ก็เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ข้าพระองค์ทั้งหลายจะไม่ได้พบ ไม่ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ
(อีก)”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้ เป็นสถานที่ (เป็นศูนย์รวม) ที่กุลบุตร
ผู้มีศรัทธาควรไปดู
สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง อะไรบ้าง คือ
๑. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตประสูติในที่นี้ ’
๒. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมา
สัมโพธิญาณในที่นี้ ’
๓. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอัน
ยอดเยี่ยมในที่นี้ ’
๔. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ ’
อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้ เป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาจะมาดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตประสูติ ในที่นี้ ’ ... ว่า
‘ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมสัมโพธิญาณในที่นี้ ’ ... ว่า ‘ตถาคตประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้ ’ ...
ว่า ‘ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ ’
อานนท์ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจาริกไปยังเจดีย์จักมีจิตเลื่อมใสตายไป ชนเหล่านั้นทั้งหมดหลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เรื่องคาถามพระอานนท์
[๒๐๓] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อสตรีอย่างไรพระพุทธเจ้าข้า”
4
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าดู”
“เมื่อจาต้องดู จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“อย่าพูดด้วย”
“เมื่อจาต้องพูด จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ต้องตั้งสติ (ตั้งสติ ในที่นี้ หมายถึงการควบคุมจิตให้คิดต่อสตรีในทางที่ดีงาม เช่น รู้สึกว่าเป็นแม่
ในสตรีที่อยู่ในวัยแม่ รู้สึกว่าเป็นพี่สาวน้องสาวในสตรีที่อยู่ในวัยพี่สาวน้องสาว รู้สึกว่าเป็นลูกสาวในสตรีที่
อยู่ในวัยสาว) ไว้”
[๒๐๔] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อพระสรีระของพระตถาคตอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พวกเธออย่ากังวลเพื่อบูชาสรีระของตถาคต จงพยายาม ขวนขวาย
ทาหน้าที่ของตนเองเถิด อย่าประมาทในหน้าที่ของตน มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด กษัตริย์ผู้เป็น
บัณฑิต พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต คหบดีผู้เป็นบัณฑิต ผู้เลื่อมใสในตถาคต จะทาการบูชาสรีระของตถาคตเอง”
[๒๐๕] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเขาพึงปฏิบัติต่อพระสรีระของพระตถาคตอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พึงปฏิบัติต่อสรีระของตถาคตเหมือนอย่างที่พวกเขาปฏิบัติต่อพระ
บรมศพของพระเจ้าจักรพรรดินั่นแหละ”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พวกเขาใช้ผ้าใหม่ห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิเสร็จแล้วจึง
ห่อด้วยสาลีบริสุทธิ์ แล้วจึงห่อด้วยผ้าใหม่อีกชั้นหนึ่ง ทาโดยวิธีนี้ จนห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิ
ด้วยผ้าและสาลีได้ ๑,๐๐๐ ชั้น แล้วอัญเชิญพระบรมศพลงในรางเหล็กเต็มด้วยน้ามัน ใช้รางเหล็กอีกอันหนึ่ง
ครอบแล้ว ทาจิตกาธานด้วยไม้หอมล้วน แล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าจักรพรรดิ สร้างสถูปของ
พระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง อานนท์ พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิ อย่างนี้
แล
พวกเขาพึงปฏิบัติต่อสรีระของตถาคตเหมือนอย่างที่พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพพระเจ้า
จักรพรรดิ พึงสร้างสถูปของตถาคตไว้ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง ชนเหล่าใดจักยกระเบียบดอกไม้ ของหอม หรือจุรณ
จักอภิวาท หรือจักทาจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น การกระทานั้นจักเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ชนเหล่านั้น
ตลอดกาลนาน
ถูปารหบุคคล
[๒๐๖] อานนท์ ถูปารหบุคคล (ผู้ควรสร้างสถูปถวาย) ๔ จาพวกนี้
ถูปารหบุคคล ๔ จาพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล
5
๒. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล
๓. พระสาวกของพระตถาคตเป็นถูปารหบุคคล
๔. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์อะไร
คือ ชนเป็นอันมากทาจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า ‘นี้ เป็นสถูปของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม
พุทธเจ้าพระองค์นั้น’ พวกเขาทาจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์ข้อนี้ แล
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์อะไร
คือ ชนเป็นอันมากทาจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า ‘นี้ เป็นสถูปของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พวกเขาทาจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
เป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์ข้อนี้ แล
พระสาวกของพระตถาคตเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์อะไร
คือ ชนเป็นอันมากทาจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่านี้ เป็นสถูปของพระสาวกของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขาทาจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ พระสาวกของพระตถาคตนั้นเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์ข้อนี้ แล
พระเจ้าจักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์อะไร
คือ ชนเป็นอันมากทาจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า นี้ เป็นพระสถูปของพระธรรมราชาผู้ทรงธรรม
พระองค์นั้น พวกเขาทาจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระเจ้า
จักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์ข้อนี้ แล
อานนท์ ถูปารหบุคคล ๔ จาพวกนี้ แล”
เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์
[๒๐๗] เวลานั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปสู่พระวิหาร (วิหาร ในที่นี้ หมายถึงพลับพลา
(มณฺฑลมาล)) ยืนเหนี่ยวไม้สลักเพชรร้องไห้อยู่ว่า “เรายังเป็นเสขบุคคล มีกิจที่จะต้องทา แต่พระศาสดาผู้
ทรงอนุเคราะห์เราจะปรินิพพานเสียแล้ว”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “อานนท์ไปไหน” พวกภิกษุ
กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์เข้าไปยังพระวิหาร ยืนเหนี่ยวไม้สลักเพชรร้องไห้อยู่ว่า
‘เรายังเป็นเสขบุคคล มีกิจที่จะต้องทา แต่พระศาสดาผู้ทรงอนุเคราะห์เราจะปรินิพพานเสียแล้ว”
ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “ภิกษุ เธอจงไปบอกอานนท์ตามคา
เราว่า ‘ท่านอานนท์ พระศาสดารับสั่งหาท่าน”
ภิกษุรูปนั้นทูลรับสนองพระดารัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ บอกว่า “ท่านอานนท์
พระศาสดารับสั่งหาท่าน”
6
ท่านพระอานนท์รับคาแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่
สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระอานนท์ดังนี้ ว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าเศร้าโศก อย่าคร่า
ครวญเลย เราบอกไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ‘ความพลัดพราก ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
จากของรักของชอบใจทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้ที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไปเลย’
เธออุปัฏฐากตถาคตมาช้านาน ด้วยเมตตากายกรรม อันเกื้อกูล ให้เกิดสุขเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มี
ประมาณ ด้วยเมตตาวจีกรรม อันเกื้อกูล ให้เกิดสุขเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีประมาณ ด้วยเมตตามโนกรรม
อันเกื้อกูล ให้เกิดสุขเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีประมาณ อานนท์ เธอได้ทาบุญไว้แล้ว จงประกอบความเพียร
เข้าเถิด เธอจะเป็นผู้สิ้นอาสวะโดยเร็ว”
[๒๐๘] จากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ที่จัดว่าเป็นผู้อุปัฏฐากผู้ยอด
เยี่ยมก็เหมือนอานนท์ของเรานี้ เอง
ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคตกาล ที่จัดว่าเป็น
อุปัฏฐากผู้ยอดเยี่ยมก็เหมือนอานนท์ของเรานี้ เอง
อานนท์เป็นบัณฑิต อานนท์มีปัญญาหลักแหลม ย่อมรู้ว่า ‘นี้ เป็นเวลาของภิกษุที่จะเข้าเฝ้าพระ
ตถาคต นี้ เป็นเวลาของภิกษุณี นี้ เป็นเวลาของอุบาสก นี้ เป็นเวลาของอุบาสิกา นี้ เป็นเวลาของพระราชา นี้
เป็นเวลาของราชมหาอามาตย์ นี้ เป็นเวลาของเดียรถีย์ นี้ เป็นเวลาของสาวกเดียรถีย์’
[๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะ ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ มีอยู่ในอานนท์
ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าภิกษุบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัท
นั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี ภิกษุบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๒. ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุณี
บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี ภิกษุณีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๓. ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสก
บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี อุบาสกบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๔. ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกา
บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ แล มีอยู่ในอานนท์
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ มีอยู่ในพระเจ้าจักรพรรดิ
ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
7
๑. ถ้าขัตติยบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมี
พระราชปฏิสันถารในขัตติยบริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี ขัตติยบริษัทยังไม่เต็มอิ่มเมื่อ
พระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง
๒. ถ้าพราหมณบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิ
มีพระราชปฏิสันถารในพราหมณบริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี พราหมณบริษัทยังไม่
เต็มอิ่ม เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง
๓. ถ้าคหบดีบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมี
พระราชปฏิสันถารในคหบดีบริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี คหบดีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม
เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง
๔. ถ้าสมณบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมี
พระราชปฏิสันถารในสมณบริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี สมณบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่อ
พระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ แล มีอยู่ในพระเจ้าจักรพรรดิ
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันมีอยู่ในอานนท์
ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าภิกษุบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัท
นั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี ภิกษุบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๒. ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุณี
บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี ภิกษุณีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๓. ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสก
บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี อุบาสกบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๔. ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกา
บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะ ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ แล มีอยู่ในอานนท์”
ทรงแสดงมหาสุทัสสนสูตร
[๒๑๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคอย่าได้ปรินิพพานในเมืองเล็ก เมืองดอน เมืองกิ่งเช่นนี้ เมืองใหญ่
เหล่าอื่นยังมีอยู่ เช่น กรุงจัมปา กรุงราชคฤห์ กรุงสาวัตถี เมืองสาเกต กรุงโกสัมพี กรุงพาราณสี ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดปรินิพพานในเมืองเหล่านี้ เถิด ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล (มหาศาล
หมายถึงผู้มีทรัพย์มาก ขัตติยมหาศาลมีพระราชทรัพย์ ๑๐๐-๑,๐๐๐ โกฏิ พราหมณมหาศาลมีทรัพย์ ๘๐
โกฏิ คหบดีมหาศาลมีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ) ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระตถาคต มีอยู่มากในเมืองเหล่านั้น ท่าน
เหล่านั้นจะทาการบูชาพระสรีระของพระตถาคต”
8
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น อย่าพูดอย่างนั้นว่า ‘กุสินาราเป็นเมือง
เล็ก เมืองดอน เมืองกิ่ง’
อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่ามหาสุทัสสนะผู้ทรงธรรม ครองราชย์
โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักร
มั่นคง สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ กรุงกุสินารานี้ มีนามว่ากรุงกุสาวดี ได้เป็นราชธานีของพระเจ้ามหา
สุทัสสนะ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาว ๑๒ โยชน์ ด้านทิศเหนือและทิศใต้กว้าง ๗ โยชน์ กรุงกุสาว
ดีเป็นราชธานีที่เจริญรุ่งเรือง มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น เศรษฐกิจดี เหมือนกับกรุงอาฬกมันทา
ซึ่งเป็นราชธานีของทวยเทพที่เจริญรุ่งเรือง มีประชากรมาก มียักษ์หนาแน่น เศรษฐกิจดี อานนท์ กรุงกุสาว
ดีเป็นราชธานีที่อึกทึกครึกโครมเพราะเสียง ๑๐ ชนิด ทั้งวันทั้งคืน ได้แก่ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียง
กลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงประโคมดนตรี และเสียงว่า ‘ท่านทั้งหลาย
โปรดบริโภค ดื่ม เคี้ยวกิน’
ไปเถิด อานนท์ เธอจงเข้าไปกรุงกุสินาราแจ้งแก่เจ้ามัลละทั้งหลายผู้ครองกรุงกุสินาราว่า ‘วา
เสฏฐะทั้งหลาย พระตถาคตจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ท่านทั้งหลายจงรีบออกไป จงรีบ
ออกไป จะได้ไม่เสียใจในภายหลังว่า ‘พระตถาคตปรินิพพานในเขตบ้านเมืองของพวกเรา พวกเรา (กลับ)
ไม่ได้เฝ้าพระตถาคตเป็นครั้งสุดท้าย” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดารัสแล้ว ครองอันตรวาสกถือ
บาตรและจีวรเข้าไปยังกรุงกุสินาราเพียงผู้เดียว
การถวายอภิวาทของเจ้ามัลละ
[๒๑๑] ขณะนั้น พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารา กาลังประชุมกันอยู่ที่สัณฐาคารด้วยราชกิจ
บางอย่าง ท่านพระอานนท์เข้าไปที่สัณฐาคารของพวกเจ้ามัลละถวายพระพรว่า “วาเสฏฐะทั้งหลาย พระ
ตถาคตจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ท่านทั้งหลายจงรีบออกไป จงรีบออกไป จะได้ไม่เสีย
พระทัยในภายหลังว่า ‘พระตถาคตปรินิพพานในเขตบ้านเมืองของพวกเรา พวกเรา(กลับ)ไม่ได้เฝ้าพระ
ตถาคตเป็นครั้งสุดท้าย’
พวกเจ้ามัลละ โอรส (โอรส หมายถึงบุตรที่มารดาเลี้ยงดูให้เจริญอยู่บนอก (เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด))
สุณิสา และปชาบดีของพวกเจ้ามัลละพอสดับคาของท่านพระอานนท์ ทรงเศร้าเสียพระทัย เปี่ยมไปด้วย
โทมนัส บางพวกสยายพระเกศา ทรงประคองพระพาหา กันแสงคร่าครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคน
เท้าขาด ทรงเพ้อราพันว่า “พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกจัก
ด่วนอันตรธานไป’
จากนั้น พวกเจ้ามัลละ โอรส สุณิสา และปชาบดีของพวกเจ้ามัลละ ทรงเศร้าเสียพระทัย เปี่ยมไป
ด้วยโทมนัสต่างพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ที่สาลวันซึ่งเป็นทางเข้ากรุงกุสินาราของพวกเจ้ามัลละ
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดดังนี้ ว่า “ถ้าเราจะให้เจ้ามัลละทั้งหลายผู้ครองกรุงกุสินาราถวาย
อภิวาทพระผู้มีพระภาคทีละองค์ๆ จะถวายอภิวาทไม่ทั่วกัน ราตรีจะสว่างก่อน ทางที่ดี เราควรให้ได้ถวาย
อภิวาทตามลาดับตระกูล โดยกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้ามัลละมีชื่อนี้ พร้อมโอรส ชายา บริษัท
9
และอามาตย์ ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร” แล้วจึงจัดให้เจ้ามัลละ
ทั้งหลายผู้ครองกรุงกุสินาราถวายอภิวาทตามลาดับตระกูล โดยกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้า
มัลละมีชื่อนี้ พร้อมโอรส ชายา บริษัท และอามาตย์ ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย
พระเศียร” ด้วยวิธีนี้ ท่านพระอานนท์สามารถจัดให้เจ้ามัลละทั้งหลายถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคได้เสร็จ
ชั่วเวลาปฐมยามเท่านั้น
(ถามว่า ก็พวกเจ้ามัลละแห่งกรุงกุสินารา ไม่ทรงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา ดอกหรือ.
ตอบว่า ทรงทราบ. ธรรมดาว่า ในสถานที่ๆ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จไปๆ ย่อมโกลาหลมาก
ทั้งที่ยังไม่เสด็จมา ก็เพราะทรงประชุมกันด้วยกรณียะบางอย่าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พวกเจ้า
มัลละเหล่านั้นมาแล้วจักต้องจัดโอกาสที่ยืนที่นั่งถวายแก่ภิกษุสงฆ์ จึงส่งพระอานนท์ไปที่สานักของเจ้ามัลละ
เหล่านั้น แม้ในเวลาอันไม่ควร.)
เรื่องสุภัททปริพาชก
[๒๑๒] สมัยนั้น สุภัททปริพาชกอาศัยอยู่ในกรุงกุสินารา ได้ทราบว่า “พระสมณโคดมจะ
ปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ” เขาคิดดังนี้ ว่า “เราได้ฟังคาของพวกปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็น
อาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้ง
คราว’ พระสมณโคดมจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ก็เรายังมีความสงสัยอยู่ เราเลื่อมใสท่าน
พระสมณโคดมอย่างนี้ ว่า ‘พระสมณโคดมจะแสดงธรรมให้เราละความสงสัยนี้ ได้’ จึงเข้าไปหาท่านพระ
อานนท์ที่สาลวันซึ่งเป็นทางเข้ากรุงกุสินาราของพวกเจ้ามัลละได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ ว่า “ท่าน
อานนท์ ข้าพเจ้าได้ฟังคาของพวกปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘พระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งคราว’ พระสมณโคดมจะปรินิพพานในปัจฉิม
ยามแห่งราตรีวันนี้ ข้าพเจ้ายังมีความสงสัยอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสพระสมณโคดมอย่างนี้ ว่า ‘พระสมณโคดมจะ
แสดงธรรมให้ข้าพเจ้าละความสงสัยนี้ ได้’ ขอโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เฝ้าพระสมณโคดมเถิด”
เมื่อสุภัททปริพาชกกล่าวอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ตอบว่า “อย่าเลย สุภัททะผู้มีอายุ ท่านอย่า
รบกวนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงเหน็ดเหนื่อย”
แม้ครั้งที่ ๒ สุภัททปริพาชกก็กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ สุภัททปริพาชกก็กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ ว่า “ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้ฟังคาของ
พวกปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
จะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งคราว’ พระสมณโคดมจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ข้าพเจ้ายังมี
ความสงสัยอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสพระสมณโคดมอย่างนี้ ว่า ‘พระสมณโคดมจะแสดงธรรมให้ข้าพเจ้าละความ
สงสัยนี้ ได้’ ขอโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เฝ้าพระสมณโคดมเถิด”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็กล่าวกับสุภัททปริพาชกดังนี้ ว่า “อย่าเลย สุภัททะผู้มีอายุ ท่านอย่า
รบกวนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงเหน็ดเหนื่อย”
10
[๒๑๓] พระผู้มีพระภาคทรงได้ยินถ้อยคาของท่านพระอานนท์เจรจากับสุภัททปริพาชก จึงรับสั่ง
เรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อย่าห้ามสุภัททะเลยอานนท์ ให้สุภัททะเข้ามาหาตถาคต เขาจะถาม
ปัญหาบางอย่างกับเรา เขาจะถามเพื่อหวังความรู้เท่านั้น ไม่หวังรบกวนเรา อนึ่ง เมื่อเราตอบสิ่งที่ถาม เขา
จะรู้ได้ทันที”
ลาดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับสุภัททปริพาชกดังนี้ ว่า “ไปเถิดสุภัททะผู้มีอายุ พระผู้มีพระ
ภาคประทานโอกาสแก่ท่าน”
สุภัททปริพาชกจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณ
พราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นอาจารย์ มีชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ประชาชนยกย่องกันว่าเป็นคน
ดี ได้แก่ ปูรณะ กัสสปะ มักขลิ โคศาล อชิตะ เกสกัมพล ปกุธะ กัจจายนะ สัญชัย เวลัฏฐบุตร นิครนถ์ นาฏ
บุตร เจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดรู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือไม่ได้รู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือบางพวกรู้ บางพวก
ไม่รู้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สุภัททะ อย่าเลย เรื่องที่เธอถามว่า ‘เจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดรู้
ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือไม่รู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือบางพวกรู้บางพวกไม่รู้’ อย่าได้สนใจเลย เราจะแสดง
ธรรมแก่เธอ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจะกล่าว”
สุภัททปริพาชกทูลรับสนองพระดารัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ ว่า
[๒๑๔] “สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๒
ย่อมไม่มีสมณะที่ ๓ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๔ (สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔ ในที่นี้ ได้แก่
พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ตามลาดับ) ในธรรมวินัยที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘
ย่อมมีสมณะที่ ๑ ย่อมมีสมณะที่ ๒ ย่อมมีสมณะที่ ๓ ย่อมมีสมณะที่ ๔ สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคมี
องค์ ๘ สมณะที่ ๑ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ เท่านั้น สมณะที่ ๓ มีอยู่ใน
ธรรมวินัยนี้ เท่านั้น สมณะที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง สุภัท
ทะ ถ้าภิกษุเหล่านี้ เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
สุภัททะ เราบวชขณะอายุ ๒๙ ปี
แสวงหาว่าอะไร คือกุศล
เราบวชมาได้ ๕๐ ปีกว่า
ยังไม่มีแม้สมณะที่ ๑ ภายนอกธรรมวินัยนี้ ผู้อาจแสดงธรรมเป็นเครื่องนาออกจากทุกข์ได้ ไม่มี
สมณะที่ ๒ ไม่มีสมณะที่ ๓ ไม่มีสมณะที่ ๔ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้
เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”
[๒๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ สุภัททปริพาชกได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคล
11
หงายของที่คว่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็น
รูปได้’ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ และข้าพระองค์พึงได้
การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทในสานักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุภัททะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์จะบรรพชา ประสงค์จะอุปสมบท
ในธรรมวินัยนี้ ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไป เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชา จะให้
อุปสมบทเป็นภิกษุได้ อนึ่ง ในเรื่องนี้ เราคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย”
สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า “หากผู้ที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชา ประสงค์จะ
อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไป เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้
บรรพชา จะให้อุปสมบทเป็นภิกษุได้ ข้าพระองค์จักขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไป เมื่อภิกษุพอใจ ก็
จงให้บรรพชา จงให้อุปสมบทเป็นภิกษุเถิด”
ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้
สุภัททะบวช”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดารัสแล้ว ในขณะนั้น สุภัททปริพาชกจึงกล่าวกับท่านพระ
อานนท์ดังนี้ ว่า “ท่านพระอานนท์ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระศาสดาทรงแต่งตั้งท่านโดย
มอบหมายให้บรรพชาอันเตวาสิก (ความนี้ แปลมาจากคาว่า อนฺเตวาสิกาภิเสเกน อภิสิตฺตา หมายถึงการที่
อาจารย์แต่งตั้งศิษย์ในสานักให้บวชลูกศิษย์แทนตน ซึ่งเป็นจารีตของลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา ถือเป็น
เกียรติยศที่ใครๆ ก็อยากได้ สุภัททะ ถือตามจารีตนี้ กล่าวยกย่องท่านพระอานนท์) ในที่เฉพาะพระพักตร์”
สุภัททปริพาชก ได้การบรรพชาได้การอุปสมบทในสานักของพระผู้มีพระภาคแล้วแล เมื่อท่าน
สุภัททะได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาทมีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
(อุทิศกายและใจอยู ในที่นี้ หมายถึงมุ่งที่จะบรรลุอรหัตตผล โดยไม่ห่วงอาลัยต่อร่างกายและชีวิตของตน) ไม่
นานนักก็ทาให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทากิจที่ควรทาเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป’
จึงเป็นอันว่าท่านสุภัททะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านได้เป็น
สักขิสาวก (สักขิสาวก แปลว่า พระสาวกที่ทันเห็นองค์พระพุทธเจ้า มี ๓ พวก คือ (๑) ผู้บรรพชาอุปสมบท
เรียนกัมมัฏฐาน บรรลุอรหัตตผลเมื่อพระผู้มีพระภาคยังทรงพระชนม์อยู่ (๒) ผู้ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อ
พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ต่อมาได้เรียนกัมมัฏฐานและบรรลุอรหัตตผล (๓) ผู้ได้เรียนกัมมัฏฐาน
เมื่อพระผู้มีพระภาคยังทรงพระชนม์อยู่ พระสุภัททะจัดอยู่ในพวกที่ ๑) องค์สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค
ภาณวารที่ ๕ จบ
-----------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาปรินิพพานสูตร
12
อุปวาณตฺเถรวณฺณนา
อเปหิ แปลว่า จงหลีกไป. ด้วยพระดารัสคาเดียวเท่านั้น พระเถระก็วางพัดใบตาลแล้วยืน ณ ส่วน
ข้างหนึ่ง.
ได้ยินว่า พระเถระร่างใหญ่เช่นกับลูกช้าง ห่มผ้าบังสุกุลจีวร ก็ดูเหมือนใหญ่มาก. เทวดา
ทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เห็นพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงติเตียนอย่างนี้ .
ถามว่า ก็เทวดาเหล่านั้นไม่สามารถมองทะลุพระเถระหรือ.
ตอบว่า ไม่สามารถสิ. ด้วยว่า เหล่าเทวดาสามารถมองทะลุเหล่าปุถุชนได้ แต่มองทะลุเหล่าพระ
ขีณาสพไม่ได้ ทั้งไม่อาจเข้าไปใกล้ด้วย. เพราะพระเถระมีอานุภาพมาก มีอานาจมาก.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงมีอานาจมาก ผู้อื่นไม่เป็นพระอรหันต์หรือ.
ตอบว่า เพราะท่านเป็นอารักขเทวดาในเจดีย์ของพระกัสสปพุทธเจ้าอยู่.
เล่ากันว่า เมื่อพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ชนทั้งหลายได้พากันสร้างพระเจดีย์
องค์หนึ่ง บรรจุพระสารีริกธาตุสรีระอันเป็นเช่นกับแท่งทองคาทึบ. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืน
ย่อมมีพระเจดีย์องค์เดียวเท่านั้น คนทั้งหลายใช้แผ่นอิฐทองยาว ๑ ศอก กว้างหนึ่งคืบ หนา ๘ นิ้ ว ก่อพระ
เจดีย์นั้นประสานด้วยหรดาลและมโนศิลาแทนดิน ชะโลมด้วยน้ามันงาแทนน้า แล้วสถาปนาประมาณโยชน์
หนึ่ง. ต่อนั้นภุมมเทวดาก็โยชน์หนึ่ง จากนั้นก็อาสัฏฐกเทวดา จากนั้นก็อุณหวลาหกเทวดา จากนั้นก็อัพภว
ลาหกเทวดา จากนั้นก็เทวดาชั้นจาตุมมหาราช จากนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์สถาปนาโยชน์หนึ่ง. พระเจดีย์จึงมี
๗ โยชน์ด้วยประการฉะนี้ .
เมื่อผู้คนถือเอามาลัยของหอมและผ้าเป็นต้นมา อารักขเทวดาทั้งหลายก็พากันถือดอกไม้มา
บูชาพระเจดีย์ทั้งที่ผู้คนเหล่านั้นเห็นอยู่. ครั้งนั้น พระเถระนี้ เป็นพราหมณ์มหาศาล ถือผ้าเหลืองผืนหนึ่งไป.
เทวดาก็รับผ้าจากมือพราหมณ์นั้นไปบูชาพระเจดีย์.
พราหมณ์เห็นดังนั้น ก็มีจิตเลื่อมใสตั้งความปรารถนาว่า ในอนาคตกาล แม้เราก็จักเป็นอารักข
เทวดาในพระเจดีย์ของพระพุทธเจ้าเห็นปานนี้ ดังนี้ แล้ว จุติจากอัตตภาพนั้น ก็ไปบังเกิดในเทวโลก. เมื่อ
พราหมณ์นั้นท่องเที่ยวอยู่ในมนุษยโลกและเทวโลก.
พระกัสสปะผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในโลกแล้วปรินิพพาน. พระธาตุสรีระของพระองค์ก็มีแห่ง
เดียวเท่านั้น. ผู้คนทั้งหลายนาพระธาตุสรีระนั้น สร้างพระเจดีย์โยชน์หนึ่ง. พราหมณ์เป็นอารักขเทวดาใน
พระเจดีย์นั้น เมื่อพระศาสดาอันตรธานไป. ก็บังเกิดในสวรรค์ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราจุติจาก
สวรรค์นั้นแล้ว ถือปฏิสนธิในตระกูลใหญ่ ออกบวชแล้วบรรลุพระอรหัต.
พึงทราบว่า พระเถระมีอานาจมาก เพราะเป็นอารักขเทวดาในพระเจดีย์มาแล้ว ด้วยประการ
ฉะนี้ .
ถูปารหปุคฺคลวณฺณนา
13
ถามว่า เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตการสร้างสถูปแก่พระราชาผู้อยู่กลางเรือน
สวรรคตแล้ว ไม่ทรงอนุญาตสาหรับภิกษุผู้มีศีล.
ตอบว่า เพราะไม่อัศจรรย์.
แท้จริง เมื่อทรงอนุญาตสถูป สาหรับภิกษุปุถุชน ก็ไม่พึงมีโอกาสสาหรับสถูปทั้งหลายในเกาะสี
หล ถึงในที่อื่นๆ ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น สถูปเหล่านั้นไม่อัศจรรย์ เพราะเหตุนั้น จึงไม่ทรงอนุญาต. พระ
เจ้าจักรพรรดิบังเกิดพระองค์เดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น สถูปของพระองค์จึงอัศจรรย์. ส่วนสาหรับภิกษุปุถุชน
ผู้มีศีล จะทาสักการะแม้อย่างใหญ่ อย่างภิกษุผู้ปรินิพพานก็ควรเหมือนกัน.
ยมกสาลาวณฺณนา
พอได้ทราบว่า จาเดิมแต่พระองค์ทรงข่มเวทนาที่เวฬุวคามไม่นานนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จัก
ปรินิพพาน บรรดาภิกษุที่มาแต่ที่นั้นๆ ไม่มีแม้แต่ภิกษุรูปเดียวที่ชื่อว่าหลีกไป เพราะฉะนั้น พระสงฆ์จึงมี
จานวนนับไม่ได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจากฝั่งข้างโน้นแห่งแม่น้าหิรัญวดีสู่สาลวโนทยาน เหมือนออกจากฝั่ง
แม่น้ากลัมพนทีไปยังถูปารามไปทางประตูวัดของพระราชมารดา. สาลวันนั้นอยู่ที่กรุงกุสินารา เหมือนถูปา
รามของกรุงอนุราธปุระ. ทางเข้าพระนครโดยทางประตูทักษิณแต่ถูปาราม บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก
แล้วเลี้ยวไปทางทิศอุดรฉันใด สาลวันจากพระราชอุทยานบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออกแล้วเลี้ยวไปทางทิศ
อุดรฉันนั้น
ความว่า ได้ยินว่า ต้นสาละแถวหนึ่งอยู่ทางหัวพระแท่น แถวหนึ่งอยู่ทางท้ายพระแท่น. ในแถว
ต้นสาละนั้น ต้นสาละรุ่นต้นหนึ่งอยู่ใกล้ทางส่วนพระเศียรต้นหนึ่งอยู่ใกล้พระบาท.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า ต้นสาละที่ยืนต้นประชิดกันและกันด้วยรากลาต้น ค่าคบและใบ ชื่อ
ว่ายมกสาละ.
ได้ยินว่า พระแท่นบรรทมในพระราชอุทยานนั้นมีอยู่ ทรงหมายถึงพระแท่นนั้น ทรงรับสั่งให้ปู.
แม้พระเถระก็จัดพระแท่นนั้นถวาย.
ตั้งแต่นครปาวาถึงนครกุสินารา ระยะทาง ๓ คาวุต. ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าต้อง
ประทับนั่งพักถึง ๒๕ แห่ง เสด็จมาด้วยอุตสาหะใหญ่ เสด็จเข้าสาลวันในเวลาเย็นพระอาทิตย์ตก. พระโรคก็
มาลบล้างความไม่มีโรคเสียสิ้นด้วยประการฉะนี้ . เหมือนอย่างทรงแสดงความข้อนี้ เมื่อตรัสพระวาจาให้เกิด
ความสังเวชแก่สัตว์โลกทั้งปวง จึงตรัสว่า อานนท์ ตถาคตลาบากนัก จักนอนละดังนี้ .
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จมาในที่นี้ ด้วยอุตสาหะใหญ่ ไม่อาจไป
ปรินิพพานในที่อื่นหรือ.
ตอบว่า ไม่อาจไปปริพพานในที่อื่นก็หามิได้ แต่เสด็จมาในที่นี้ ด้วยเหตุ ๓ ประการ.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความข้อนี้ ว่า เมื่อเราตถาคตปรินิพพานเสียในที่อื่น เหตุ
เกิดเรื่องของมหาสุทัสสนสูตรจักไม่มี แต่เมื่อปรินิพพานในนครกุสินารา ตลอดจนแสดงสมบัติที่ตถาคตพึง
14
เสวยในเทวโลก ซึ่งเสวยแล้วในมนุษยโลก ประดับด้วยภาณวาร ๒ ภาณวาร ชนเป็นอันมากฟังธรรมของ
ตถาคตแล้ว จักสาคัญกุศลว่าควรกระทา.
อนึ่ง ทรงเห็นความข้ออื่นอีกว่า เมื่อตถาคตปรินิพพานเสียในที่อื่น สุภัททะจักไม่ได้เข้าเฝ้า ด้วย
สุภัททะนั้นเป็นเวไนยของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นเวไนยของพระสาวก สาวกทั้งหลายไม่อาจแนะนาสุภัททะ
นั้นได้. แต่ตถาคตปรินิพพานเสียที่นครกุสินารา สุภัททะนั้นก็จักเข้าเฝ้าถามปัญหาได้ และที่สุดการตอบ
ปัญหาเขาก็จักตั้งอยู่ในสรณะ ได้บรรพชาอุปสมบทในสานักเรา รับกัมมัฏฐานแล้วจักบรรลุพระอรหัตเป็น
ปัจฉิมสาวก ต่อเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่.
ทรงเห็นความอีกข้อหนึ่งว่า เมื่อเราตถาคตปรินิพพานเสียในที่อื่น จะเกิดทะเลาะวิวาทกันยก
ใหญ่ในเวลาแจกพระธาตุ แม่น้าก็จะหลั่งไหลเป็นสายเลือด แต่เมื่อเราตถาคตปรินิพพานเสียที่นครกุสินารา
โทณพราหมณ์จักระงับการวิวาทนั้นแล้วแจกพระธาตุทั้งหลาย.
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาในที่นี้ ด้วยพระอุตสาหะใหญ่อย่างนี้ ก็ด้วยเหตุ ๓
ประการนี้ .
จริงอยู่ ในปฐมยาม ได้มีการแสดงธรรมโปรดเหล่าเจ้ามัลละ. ในมัชฌิมยาม โปรดสุภัททะ. ใน
ปัจฉิมยามทรงโอวาทภิกษุสงฆ์. ในเวลาใกล้รุ่ง เสด็จปรินิพพาน.
ความว่า ต้นสาละทั้งคู่บานสะพรั่งดารดาษไป ตั้งแต่โคนต้นจนถึงยอดมิใช่มีต้นสาละทั้งคู่อย่าง
เดียวเท่านั้น ต้นไม้แม้ทั้งหมดก็ผลิตดอกออกสะพรั่งเหมือนกันไปหมด. มิใช่แต่ในสวนนั้นอย่างเดียวเท่านั้น
แม้ในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้น ไม้ดอกก็ผลิดอก ไม้ผลก็ออกผล. ในลาต้นของต้นไม้ทุกต้นมีขันธปทุมบานที่ลา
ต้น สาขาปทุมบานที่กิ่งทั้งหลาย วัลลิปทุมบานที่เถาว์ อากาสปทุมบานที่อากาศ ทัณฑปทุมแทรกพื้น
แผ่นดินขึ้นมาบาน. มหาสุมทรทั้งหมดดาดาษไปด้วยบัว ๕ สี ป่าหิมพานต์กว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ ได้เป็นที่
รื่นรมย์ยิ่งนัก เหมือนลาแพนหางนกยูงที่มัดติดกันเป็นพืด เหมือนพวงและช่อดอกไม้ติดกันไม่มีระหว่าง
เหมือนดอกไม้ประดับศีรษะ ที่ผูกเบียดกันเป็นอันดี และเหมือนผอบที่มีดอกไม้เต็ม.
สาละคู่เหล่านั้น ถูกภุมมเทวดาเขย่าต้นกิ่งและค่าคบ โปรยลงสู่พระสรีระของพระตถาคต คือโรย
ดอกลงบนพระสรีระ. ณ นันทโปกขรณี ดอกมณฑารพเหล่านั้นมีสีดั่งทอง มีใบประมาณเท่าฉัตรใบไม้. ติด
เรณูประมาณทะนานใหญ่ มิใช่ดอกมณฑารพอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นทิพย์ แม้อย่างอื่นก็เป็นทิพย์ เช่น ดอก
ปาริฉัตรและดอกทองหลางเป็นต้น บรรจุผอบทองเต็ม อันเทวดาผู้อยู่ที่ขอบปากจักรวาลก็ดี ชั้นไตรทศก็ดี
ในพรหมโลกก็ดี นาเข้าไปย่อมตกลงจากอวกาศ. ไม่กระจัดกระจายเสียในระหว่าง มาโปรยปรายเฉพาะพระ
สรีระของพระตถาคตด้วยกลีบเกษรและละอองเรณู.
ผงจันทน์ที่สาเร็จรูปของเหล่าเทวดา. มิใช่ผงจันทน์ที่สาเร็จรูปของเทวดาเท่านั้น เป็นของนาค
สุบรรณและมนุษย์ด้วย. มิใช่ผงจันทน์อย่างเดียวเท่านั้น ยังมีผงคันธชาตอันเป็นทิพย์ทั้งหมดเช่น กฤษณา
และจันทน์แดงเป็นต้น. ผงหรดาลแร่พลวงเงินและทอง ชนิดที่อบด้วยกลิ่นทิพย์ทั้งหมดบรรจุเต็มหีบเงินและ
ทองเป็นต้น ที่เทวดาผู้อยู่ ณ ขอบปากจักรวาลเป็นต้น นาเข้าไปไม่เรี่ยราดเสียในระหว่าง โปรยลงสู่พระ
สรีระของพระตถาคตเหมือนกัน.
ดุริยางค์สาเร็จของเหล่าเทวดา. มิใช่ดุริยางค์เหล่านั้นอย่างเดียว ยังมีดุริยางค์ของเหล่าเทวดาใน
15
หมื่นจักรวาล และนาค ครุฑ มนุษย์ ต่างโดยชนิดขึงสาย หุ้มหนัง ทึบ และโพรงทุกชนิด พึงทราบว่าประชุม
กันในจักรวาลอันเดียว บรรเลงกันในอากาศ.
ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าบรรทมตะแคงข้างขวา ระหว่างต้นสาละคู่ ทรงเห็นความอุตสาหะอย่าง
ใหญ่ของบริษัทที่ประชุมกันตั้งแต่ปฐพีจดขอบปากจักรวาล และตั้งแต่ขอบปากจักรวาลจดพรหมโลก จึงตรัส
บอกท่านพระอานนท์.
มหาสุทสฺสนสุตฺตเทสนาวณฺณนา
นครเล็กที่คับแคบ เป็นนครที่ยังต้องพัฒนา. นครเล็กเสมือนกิ่งของนครใหญ่อื่น เหมือนกิ่งเล็กๆ
ของต้นไม้ทั้งหลายฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอไม่ควรพูดว่า นี่นครเล็ก ความจริง เราตถาคตมาที่นครนี้ ด้วย
ความอุตสาหะอย่างใหญ่ ด้วยความบากบั่นอย่างใหญ่ ยืนนั่งหลายครั้ง ก็เพื่อจะกล่าวถึงสมบัติของนครนี้
โดยแท้ ความว่า เมื่อช้างเชือกหนึ่งร้องขึ้น ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกก็ร้องตาม ดังนั้น กุสาวดีราชธานีจึงไม่สงัด
จากเสียงช้าง. จากเสียงม้าก็เหมือนกัน. ก็สัตว์ทั้งหลายในราชธานีนี้ มีบุญ มีรถที่เทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัว
ตามกันและกันสัญจรไปในระหว่างถนน ฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่สงัดด้วยเสียงรถ. อนึ่ง ดุริยางค์มีกลองเป็นต้นใน
นครนั้น ก็ย่ากันอยู่เป็นนิตย์ ดังนั้น จึงชื่อว่าไม่สงัดจากเสียงกลองเป็นต้น.
ก็ในเรื่องนี้ มีความสังเขปดังนี้ .
กุสาวดีราชธานีไม่สงัดจากเสียงที่สิบนี้ ว่า เชิญบริโภคเถิด ท่านผู้เจริญ มีเสียงไม่ขาดเลย. พระผู้
มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในนครอื่นๆ มีเสียงเห็นปานนี้ ว่า พวกเจ้าจงทิ้งหยากเยื่อ จงถือจอบ จงถือ
กระเช้า เราจักไปแรมคืน พวกเจ้าจงถือห่อข้าวสาร จงถือห่อข้าวสุก จงให้จัดโล่ห์และอาวุธดังนี้ ฉันใด ในกุ
สาวดีนี้ หามีเสียงเห็นปานนี้ ฉันนั้นไม่.
ปจฺฉิมสกฺขิสาวณฺณนา
เรื่องสุภัททปริพาชก
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร สุภัททปริพาชกนั้นจึงมีความคิดอย่างนี้ ในวันนี้ .
ตอบว่า เพราะมีอุปนิสัยอย่างนั้น.
ได้ยินว่า แต่ก่อนได้มีพี่น้อง ๒ คน ในการบาเพ็ญบุญ. พี่น้อง ๒ คนนั้นได้กระทาข้าวกล้าร่วมกัน
ใน ๒ คนนั้น พี่ชายคิดว่าเราจักถวายทานข้าวกล้าอันเลิศปีละ ๙ ครั้ง. ฤดูหว่าน ถวายเมล็ดอันเลิศ. ในฤดู
ข้าวตั้งท้องปรึกษากับน้องชายว่า จักผ่าท้องกล้าถวาย. น้องชายบอกว่า พี่ต้องการจะให้ข้าวกล้าอ่อนพินาศ
ไปหรือ. พี่ชายรู้ว่าน้องชายไม่ยินยอม จึงแบ่งนากัน ผ่าท้องข้าวจากส่วนของตน คั้นน้านม ปรุงด้วยเนยใส
และน้าอ้อย. ในฤดูเป็นข้าวเม่าก็ให้กระทาข้าวเม่าถวาย. ในเวลาเกี่ยวก็ให้ถวายข้าวอันเลิศ. ในเวลามัด
ขะเน็ด ก็ได้ถวายข้าวอันเลิศ ในเวลาทาขะเน็ด. ในเวลาทาเป็นฟ่อนเป็นต้น ก็ได้ถวายข้าวอันเลิศ เวลาทา
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf

More Related Content

Similar to ๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf

พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติgueste13f2b
 
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tongsamut vorasan
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdfmaruay songtanin
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdfmaruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdfmaruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก.pdf
๐๖. ภูริทัตตชาดก.pdf๐๖. ภูริทัตตชาดก.pdf
๐๖. ภูริทัตตชาดก.pdfmaruay songtanin
 
๑๒ สักกปัญหสูตร มจร.pdf
๑๒ สักกปัญหสูตร มจร.pdf๑๒ สักกปัญหสูตร มจร.pdf
๑๒ สักกปัญหสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒Tongsamut vorasan
 
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒Wataustin Austin
 
บาลี 42 80
บาลี 42 80บาลี 42 80
บาลี 42 80Rose Banioki
 
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัวหนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัวdentyomaraj
 
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัว
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัวไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัว
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัวKaiwan Hongladaromp
 
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัว
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัวหนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัว
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัวPoramate Minsiri
 

Similar to ๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf (20)

006
006006
006
 
006
006006
006
 
006
006006
006
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
 
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
 
test
testtest
test
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก.pdf
๐๖. ภูริทัตตชาดก.pdf๐๖. ภูริทัตตชาดก.pdf
๐๖. ภูริทัตตชาดก.pdf
 
๑๒ สักกปัญหสูตร มจร.pdf
๑๒ สักกปัญหสูตร มจร.pdf๑๒ สักกปัญหสูตร มจร.pdf
๑๒ สักกปัญหสูตร มจร.pdf
 
-------------- --- 1
 -------------- --- 1 -------------- --- 1
-------------- --- 1
 
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf
๒๑ มหาสมัยสูตร มจร.pdf
 
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒
 
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒
4 42+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๒
 
บาลี 42 80
บาลี 42 80บาลี 42 80
บาลี 42 80
 
ชาติสุดท้าย
ชาติสุดท้ายชาติสุดท้าย
ชาติสุดท้าย
 
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัวหนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัว
 
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัว
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัวไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัว
ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า "ชาติสุดท้าย" โดย หลวงตามหาบัว
 
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัว
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัวหนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัว
หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัว
 

More from maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 

๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf

  • 1. 1 มหาปรินิพพานสูตร ตอนที่ ๕ พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา ในเรื่องมหาปรินิพพานสูตรตอนที่ ๕ นี้ ว่าด้วยเรื่องพระบรมศาสดาเจ้าเสด็จไปยังควงไม้สาละทั้ง คู่ ในสวนสาลวันของพวกเจ้ามัลละ อันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารา ทรงกล่าวความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์ และทรงโปรดสุภัททปริพาชก จึงเป็นอันว่าท่านสุภัททะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ ทั้งหลาย อีกทั้งท่านยังได้เป็นสักขิสาวกองค์สุดท้ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า มหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค ๓. มหาปรินิพพานสูตร ว่าด้วยมหาปรินิพพาน เสด็จไปยังควงไม้สาละทั้งคู่ [๑๙๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะ ข้ามไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้าหิรัญญวดี ตรงสาลวันของพวกเจ้ามัลละอันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารากัน” ท่าน พระอานนท์ทูลรับสนองพระดารัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังฝั่งโน้นแห่ง แม่น้าหิรัญญวดี ตรงสาลวันของพวกเจ้ามัลละ อันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารา แล้วรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์ มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยตั้งเตียง (เตียง ในที่นี้ หมายถึงเตียงสาหรับพักผ่อนของพวกเจ้ามัลละ ที่มีอยู่ใน สาลวันนั่นเอง) ระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันด้านศีรษะไปทางทิศเหนือ เราเหน็ดเหนื่อยจะนอนพัก” ท่านพระ อานนท์ทูลรับสนองพระดารัสแล้วตั้งเตียงระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันด้านพระเศียรไปทางทิศเหนือ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสาเร็จสีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระ บาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ เวลานั้น ต้นสาละทั้งคู่ผลิดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ดอกสาละเหล่านั้นร่วงหล่นโปรย ปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต ดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศ โปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต จุรณแห่งจันทน์อันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจาก อากาศ โปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต ดนตรีทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อ บูชาพระตถาคต ทั้งสังคีตทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาพระตถาคต [๑๙๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ต้นสาละทั้งคู่ผลิ ดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ดอกสาละเหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ตถาคต ดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชาตถาคต
  • 2. 2 จุรณแห่งจันทน์อันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชาตถาคต ดนตรี ทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ทั้งสังคีตทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ตถาคตจะชื่อว่า อันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะเพียงเท่านี้ ก็หาไม่ ผู้ใดไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม(ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม หมายถึงการปฏิบัติหลักเบื้องต้นมีศีลเป็นต้น ให้สอดคล้องกับโลกุตตรธรรม ปฏิบัติชอบ หมายถึงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้นเอง ปฏิบัติตามธรรม หมายถึงการประพฤติหลักเบื้องต้นให้ สมบูรณ์) อยู่ ผู้นั้นชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม ฉะนั้น อานนท์ เธอทั้งหลายพึงสาเหนียกอย่างนี้ ว่า ‘เราจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม อยู่’ อานนท์ เธอทั้งหลายพึงสาเหนียกอย่างนี้ แล” เรื่องพระอุปวาณเถระ [๒๐๐] เวลานั้น ท่านพระอุปวาณะยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคอยู่ตรงพระพักตร์ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งท่านพระอุปวาณะให้ถอยไปด้วยพระดารัสว่า “ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้า เรา” ท่านพระอานนท์มีความดาริดังนี้ ว่า “ท่านพระอุปวาณะนี้ เคยเป็นอุปัฏฐากเฝ้าใกล้ชิดพระผู้มีพระ ภาคมานาน ถึงกระนั้น ในปัจฉิมกาลพระผู้มีพระภาคตรัสสั่งให้ท่านพระอุปวาณะถอยไปด้วยพระดารัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา’ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ ท่านพระอุปวาณะถอยไปด้วยพระดารัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา” ลาดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอุป วาณะนี้ เคยเป็นอุปัฏฐากเฝ้าใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคมานาน ถึงกระนั้น ในปัจฉิมกาลพระผู้มีพระภาครับสั่ง ให้ท่านพระอุปวาณะถอยไปด้วยพระดารัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา’ อะไรหนอแลเป็น เหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ท่านอุปวาณะถอยไปด้วยพระดารัสว่า ‘ภิกษุเธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เทพโดยมากใน ๑๐ โลกธาตุมาประชุมกันเพื่อจะเยี่ยม ตถาคต สวนสาลวันของพวกเจ้ามัลละอันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารานี้ มีเนื้ อที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบที่ที่พวกเทพผู้ มีศักดิ์ใหญ่ ไม่ได้เบียดเสียดกันอยู่แม้เท่าปลายขนเนื้ อทรายจดลงได้ก็ไม่มี พวกเทพจะโทษว่า พวกเรามา ไกลก็เพื่อจะเห็นพระตถาคต มีเพียงครั้งคราวที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ พระตถาคตจะปรินิพพาน ภิกษุผู้มีศักดิ์ใหญ่รูปนี้ ยืนบังอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค (ทาให้) พวกเราไม่ได้เฝ้าพระตถาคตในปัจฉิมกาล” [๒๐๑] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเทวดาเป็นอย่างไร คิดกันอย่างไรพระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กาหนดแผ่นดินขึ้นบนอากาศ (กาหนดแผ่นดินขึ้นบนอากาศ หมายถึงเนรมิตแผ่นดินขึ้นบนอากาศ) สยายผมประคองแขนร้องไห้คร่า
  • 3. 3 ครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคนเท้าขาด เพ้อราพันว่า ‘พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วน ปรินิพพานเสียจักษุของโลกจักด่วนอันตรธานไปแล้ว’ มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กาหนดแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดิน (กาหนดแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดิน หมายถึง เนรมิตแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดินปกติ เพราะแผ่นดินปกติหยาบไม่สามารถจะรองรับเทวดาซึ่งมีร่างกายละเอียด ได้) สยายผมประคองแขน ร้องไห้คร่าครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคนเท้าขาด เพ้อราพันว่า ‘พระผู้มี พระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกจักด่วนอันตรธานไปแล้ว’ ส่วนพวกเทวดาที่ไม่มีราคะ มีสติสัมปชัญญะก็อดกลั้นได้ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เหล่าสัตว์จะ พึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้ ” สังเวชนียสถาน ๔ ตาบล [๒๐๒] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายผู้จาพรรษาใน ทิศทั้งหลายมาเฝ้าพระตถาคต ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมได้พบ ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ก็เมื่อ พระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ข้าพระองค์ทั้งหลายจะไม่ได้พบ ไม่ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ (อีก)” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้ เป็นสถานที่ (เป็นศูนย์รวม) ที่กุลบุตร ผู้มีศรัทธาควรไปดู สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง อะไรบ้าง คือ ๑. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตประสูติในที่นี้ ’ ๒. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณในที่นี้ ’ ๓. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอัน ยอดเยี่ยมในที่นี้ ’ ๔. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ ’ อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้ เป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาจะมาดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคตประสูติ ในที่นี้ ’ ... ว่า ‘ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมสัมโพธิญาณในที่นี้ ’ ... ว่า ‘ตถาคตประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้ ’ ... ว่า ‘ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ ’ อานนท์ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจาริกไปยังเจดีย์จักมีจิตเลื่อมใสตายไป ชนเหล่านั้นทั้งหมดหลังจาก ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เรื่องคาถามพระอานนท์ [๒๐๓] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อสตรีอย่างไรพระพุทธเจ้าข้า”
  • 4. 4 พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าดู” “เมื่อจาต้องดู จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” “อย่าพูดด้วย” “เมื่อจาต้องพูด จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” “ต้องตั้งสติ (ตั้งสติ ในที่นี้ หมายถึงการควบคุมจิตให้คิดต่อสตรีในทางที่ดีงาม เช่น รู้สึกว่าเป็นแม่ ในสตรีที่อยู่ในวัยแม่ รู้สึกว่าเป็นพี่สาวน้องสาวในสตรีที่อยู่ในวัยพี่สาวน้องสาว รู้สึกว่าเป็นลูกสาวในสตรีที่ อยู่ในวัยสาว) ไว้” [๒๐๔] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อพระสรีระของพระตถาคตอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พวกเธออย่ากังวลเพื่อบูชาสรีระของตถาคต จงพยายาม ขวนขวาย ทาหน้าที่ของตนเองเถิด อย่าประมาทในหน้าที่ของตน มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด กษัตริย์ผู้เป็น บัณฑิต พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต คหบดีผู้เป็นบัณฑิต ผู้เลื่อมใสในตถาคต จะทาการบูชาสรีระของตถาคตเอง” [๒๐๕] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเขาพึงปฏิบัติต่อพระสรีระของพระตถาคตอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พึงปฏิบัติต่อสรีระของตถาคตเหมือนอย่างที่พวกเขาปฏิบัติต่อพระ บรมศพของพระเจ้าจักรพรรดินั่นแหละ” ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พวกเขาใช้ผ้าใหม่ห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิเสร็จแล้วจึง ห่อด้วยสาลีบริสุทธิ์ แล้วจึงห่อด้วยผ้าใหม่อีกชั้นหนึ่ง ทาโดยวิธีนี้ จนห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยผ้าและสาลีได้ ๑,๐๐๐ ชั้น แล้วอัญเชิญพระบรมศพลงในรางเหล็กเต็มด้วยน้ามัน ใช้รางเหล็กอีกอันหนึ่ง ครอบแล้ว ทาจิตกาธานด้วยไม้หอมล้วน แล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าจักรพรรดิ สร้างสถูปของ พระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง อานนท์ พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิ อย่างนี้ แล พวกเขาพึงปฏิบัติต่อสรีระของตถาคตเหมือนอย่างที่พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพพระเจ้า จักรพรรดิ พึงสร้างสถูปของตถาคตไว้ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง ชนเหล่าใดจักยกระเบียบดอกไม้ ของหอม หรือจุรณ จักอภิวาท หรือจักทาจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น การกระทานั้นจักเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ชนเหล่านั้น ตลอดกาลนาน ถูปารหบุคคล [๒๐๖] อานนท์ ถูปารหบุคคล (ผู้ควรสร้างสถูปถวาย) ๔ จาพวกนี้ ถูปารหบุคคล ๔ จาพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล
  • 5. 5 ๒. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล ๓. พระสาวกของพระตถาคตเป็นถูปารหบุคคล ๔. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์อะไร คือ ชนเป็นอันมากทาจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า ‘นี้ เป็นสถูปของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม พุทธเจ้าพระองค์นั้น’ พวกเขาทาจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์ข้อนี้ แล พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์อะไร คือ ชนเป็นอันมากทาจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า ‘นี้ เป็นสถูปของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขาทาจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์ข้อนี้ แล พระสาวกของพระตถาคตเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์อะไร คือ ชนเป็นอันมากทาจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่านี้ เป็นสถูปของพระสาวกของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขาทาจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ พระสาวกของพระตถาคตนั้นเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์ข้อนี้ แล พระเจ้าจักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์อะไร คือ ชนเป็นอันมากทาจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า นี้ เป็นพระสถูปของพระธรรมราชาผู้ทรงธรรม พระองค์นั้น พวกเขาทาจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระเจ้า จักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอานาจประโยชน์ข้อนี้ แล อานนท์ ถูปารหบุคคล ๔ จาพวกนี้ แล” เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์ [๒๐๗] เวลานั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปสู่พระวิหาร (วิหาร ในที่นี้ หมายถึงพลับพลา (มณฺฑลมาล)) ยืนเหนี่ยวไม้สลักเพชรร้องไห้อยู่ว่า “เรายังเป็นเสขบุคคล มีกิจที่จะต้องทา แต่พระศาสดาผู้ ทรงอนุเคราะห์เราจะปรินิพพานเสียแล้ว” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “อานนท์ไปไหน” พวกภิกษุ กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์เข้าไปยังพระวิหาร ยืนเหนี่ยวไม้สลักเพชรร้องไห้อยู่ว่า ‘เรายังเป็นเสขบุคคล มีกิจที่จะต้องทา แต่พระศาสดาผู้ทรงอนุเคราะห์เราจะปรินิพพานเสียแล้ว” ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “ภิกษุ เธอจงไปบอกอานนท์ตามคา เราว่า ‘ท่านอานนท์ พระศาสดารับสั่งหาท่าน” ภิกษุรูปนั้นทูลรับสนองพระดารัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ บอกว่า “ท่านอานนท์ พระศาสดารับสั่งหาท่าน”
  • 6. 6 ท่านพระอานนท์รับคาแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่ สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระอานนท์ดังนี้ ว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าเศร้าโศก อย่าคร่า ครวญเลย เราบอกไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ‘ความพลัดพราก ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น จากของรักของชอบใจทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้ที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไปเลย’ เธออุปัฏฐากตถาคตมาช้านาน ด้วยเมตตากายกรรม อันเกื้อกูล ให้เกิดสุขเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มี ประมาณ ด้วยเมตตาวจีกรรม อันเกื้อกูล ให้เกิดสุขเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีประมาณ ด้วยเมตตามโนกรรม อันเกื้อกูล ให้เกิดสุขเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีประมาณ อานนท์ เธอได้ทาบุญไว้แล้ว จงประกอบความเพียร เข้าเถิด เธอจะเป็นผู้สิ้นอาสวะโดยเร็ว” [๒๐๘] จากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ที่จัดว่าเป็นผู้อุปัฏฐากผู้ยอด เยี่ยมก็เหมือนอานนท์ของเรานี้ เอง ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคตกาล ที่จัดว่าเป็น อุปัฏฐากผู้ยอดเยี่ยมก็เหมือนอานนท์ของเรานี้ เอง อานนท์เป็นบัณฑิต อานนท์มีปัญญาหลักแหลม ย่อมรู้ว่า ‘นี้ เป็นเวลาของภิกษุที่จะเข้าเฝ้าพระ ตถาคต นี้ เป็นเวลาของภิกษุณี นี้ เป็นเวลาของอุบาสก นี้ เป็นเวลาของอุบาสิกา นี้ เป็นเวลาของพระราชา นี้ เป็นเวลาของราชมหาอามาตย์ นี้ เป็นเวลาของเดียรถีย์ นี้ เป็นเวลาของสาวกเดียรถีย์’ [๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะ ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ มีอยู่ในอานนท์ ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ถ้าภิกษุบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัท นั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี ภิกษุบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ๒. ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุณี บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี ภิกษุณีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ๓. ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสก บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี อุบาสกบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ๔. ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกา บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ แล มีอยู่ในอานนท์ ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ มีอยู่ในพระเจ้าจักรพรรดิ ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
  • 7. 7 ๑. ถ้าขัตติยบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมี พระราชปฏิสันถารในขัตติยบริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี ขัตติยบริษัทยังไม่เต็มอิ่มเมื่อ พระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง ๒. ถ้าพราหมณบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระราชปฏิสันถารในพราหมณบริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี พราหมณบริษัทยังไม่ เต็มอิ่ม เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง ๓. ถ้าคหบดีบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมี พระราชปฏิสันถารในคหบดีบริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี คหบดีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง ๔. ถ้าสมณบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมี พระราชปฏิสันถารในสมณบริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี สมณบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่อ พระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ แล มีอยู่ในพระเจ้าจักรพรรดิ ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันมีอยู่ในอานนท์ ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ถ้าภิกษุบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัท นั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี ภิกษุบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ๒. ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุณี บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี ภิกษุณีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ๓. ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสก บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี อุบาสกบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ๔. ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกา บริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะ ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ แล มีอยู่ในอานนท์” ทรงแสดงมหาสุทัสสนสูตร [๒๑๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคอย่าได้ปรินิพพานในเมืองเล็ก เมืองดอน เมืองกิ่งเช่นนี้ เมืองใหญ่ เหล่าอื่นยังมีอยู่ เช่น กรุงจัมปา กรุงราชคฤห์ กรุงสาวัตถี เมืองสาเกต กรุงโกสัมพี กรุงพาราณสี ขอพระผู้มี พระภาคโปรดปรินิพพานในเมืองเหล่านี้ เถิด ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล (มหาศาล หมายถึงผู้มีทรัพย์มาก ขัตติยมหาศาลมีพระราชทรัพย์ ๑๐๐-๑,๐๐๐ โกฏิ พราหมณมหาศาลมีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ คหบดีมหาศาลมีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ) ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระตถาคต มีอยู่มากในเมืองเหล่านั้น ท่าน เหล่านั้นจะทาการบูชาพระสรีระของพระตถาคต”
  • 8. 8 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น อย่าพูดอย่างนั้นว่า ‘กุสินาราเป็นเมือง เล็ก เมืองดอน เมืองกิ่ง’ อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่ามหาสุทัสสนะผู้ทรงธรรม ครองราชย์ โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักร มั่นคง สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ กรุงกุสินารานี้ มีนามว่ากรุงกุสาวดี ได้เป็นราชธานีของพระเจ้ามหา สุทัสสนะ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาว ๑๒ โยชน์ ด้านทิศเหนือและทิศใต้กว้าง ๗ โยชน์ กรุงกุสาว ดีเป็นราชธานีที่เจริญรุ่งเรือง มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น เศรษฐกิจดี เหมือนกับกรุงอาฬกมันทา ซึ่งเป็นราชธานีของทวยเทพที่เจริญรุ่งเรือง มีประชากรมาก มียักษ์หนาแน่น เศรษฐกิจดี อานนท์ กรุงกุสาว ดีเป็นราชธานีที่อึกทึกครึกโครมเพราะเสียง ๑๐ ชนิด ทั้งวันทั้งคืน ได้แก่ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียง กลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงประโคมดนตรี และเสียงว่า ‘ท่านทั้งหลาย โปรดบริโภค ดื่ม เคี้ยวกิน’ ไปเถิด อานนท์ เธอจงเข้าไปกรุงกุสินาราแจ้งแก่เจ้ามัลละทั้งหลายผู้ครองกรุงกุสินาราว่า ‘วา เสฏฐะทั้งหลาย พระตถาคตจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ท่านทั้งหลายจงรีบออกไป จงรีบ ออกไป จะได้ไม่เสียใจในภายหลังว่า ‘พระตถาคตปรินิพพานในเขตบ้านเมืองของพวกเรา พวกเรา (กลับ) ไม่ได้เฝ้าพระตถาคตเป็นครั้งสุดท้าย” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดารัสแล้ว ครองอันตรวาสกถือ บาตรและจีวรเข้าไปยังกรุงกุสินาราเพียงผู้เดียว การถวายอภิวาทของเจ้ามัลละ [๒๑๑] ขณะนั้น พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารา กาลังประชุมกันอยู่ที่สัณฐาคารด้วยราชกิจ บางอย่าง ท่านพระอานนท์เข้าไปที่สัณฐาคารของพวกเจ้ามัลละถวายพระพรว่า “วาเสฏฐะทั้งหลาย พระ ตถาคตจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ท่านทั้งหลายจงรีบออกไป จงรีบออกไป จะได้ไม่เสีย พระทัยในภายหลังว่า ‘พระตถาคตปรินิพพานในเขตบ้านเมืองของพวกเรา พวกเรา(กลับ)ไม่ได้เฝ้าพระ ตถาคตเป็นครั้งสุดท้าย’ พวกเจ้ามัลละ โอรส (โอรส หมายถึงบุตรที่มารดาเลี้ยงดูให้เจริญอยู่บนอก (เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด)) สุณิสา และปชาบดีของพวกเจ้ามัลละพอสดับคาของท่านพระอานนท์ ทรงเศร้าเสียพระทัย เปี่ยมไปด้วย โทมนัส บางพวกสยายพระเกศา ทรงประคองพระพาหา กันแสงคร่าครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคน เท้าขาด ทรงเพ้อราพันว่า “พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกจัก ด่วนอันตรธานไป’ จากนั้น พวกเจ้ามัลละ โอรส สุณิสา และปชาบดีของพวกเจ้ามัลละ ทรงเศร้าเสียพระทัย เปี่ยมไป ด้วยโทมนัสต่างพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ที่สาลวันซึ่งเป็นทางเข้ากรุงกุสินาราของพวกเจ้ามัลละ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดดังนี้ ว่า “ถ้าเราจะให้เจ้ามัลละทั้งหลายผู้ครองกรุงกุสินาราถวาย อภิวาทพระผู้มีพระภาคทีละองค์ๆ จะถวายอภิวาทไม่ทั่วกัน ราตรีจะสว่างก่อน ทางที่ดี เราควรให้ได้ถวาย อภิวาทตามลาดับตระกูล โดยกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้ามัลละมีชื่อนี้ พร้อมโอรส ชายา บริษัท
  • 9. 9 และอามาตย์ ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร” แล้วจึงจัดให้เจ้ามัลละ ทั้งหลายผู้ครองกรุงกุสินาราถวายอภิวาทตามลาดับตระกูล โดยกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้า มัลละมีชื่อนี้ พร้อมโอรส ชายา บริษัท และอามาตย์ ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย พระเศียร” ด้วยวิธีนี้ ท่านพระอานนท์สามารถจัดให้เจ้ามัลละทั้งหลายถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคได้เสร็จ ชั่วเวลาปฐมยามเท่านั้น (ถามว่า ก็พวกเจ้ามัลละแห่งกรุงกุสินารา ไม่ทรงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา ดอกหรือ. ตอบว่า ทรงทราบ. ธรรมดาว่า ในสถานที่ๆ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จไปๆ ย่อมโกลาหลมาก ทั้งที่ยังไม่เสด็จมา ก็เพราะทรงประชุมกันด้วยกรณียะบางอย่าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พวกเจ้า มัลละเหล่านั้นมาแล้วจักต้องจัดโอกาสที่ยืนที่นั่งถวายแก่ภิกษุสงฆ์ จึงส่งพระอานนท์ไปที่สานักของเจ้ามัลละ เหล่านั้น แม้ในเวลาอันไม่ควร.) เรื่องสุภัททปริพาชก [๒๑๒] สมัยนั้น สุภัททปริพาชกอาศัยอยู่ในกรุงกุสินารา ได้ทราบว่า “พระสมณโคดมจะ ปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ” เขาคิดดังนี้ ว่า “เราได้ฟังคาของพวกปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็น อาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้ง คราว’ พระสมณโคดมจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ก็เรายังมีความสงสัยอยู่ เราเลื่อมใสท่าน พระสมณโคดมอย่างนี้ ว่า ‘พระสมณโคดมจะแสดงธรรมให้เราละความสงสัยนี้ ได้’ จึงเข้าไปหาท่านพระ อานนท์ที่สาลวันซึ่งเป็นทางเข้ากรุงกุสินาราของพวกเจ้ามัลละได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ ว่า “ท่าน อานนท์ ข้าพเจ้าได้ฟังคาของพวกปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘พระ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งคราว’ พระสมณโคดมจะปรินิพพานในปัจฉิม ยามแห่งราตรีวันนี้ ข้าพเจ้ายังมีความสงสัยอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสพระสมณโคดมอย่างนี้ ว่า ‘พระสมณโคดมจะ แสดงธรรมให้ข้าพเจ้าละความสงสัยนี้ ได้’ ขอโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เฝ้าพระสมณโคดมเถิด” เมื่อสุภัททปริพาชกกล่าวอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ตอบว่า “อย่าเลย สุภัททะผู้มีอายุ ท่านอย่า รบกวนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงเหน็ดเหนื่อย” แม้ครั้งที่ ๒ สุภัททปริพาชกก็กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ สุภัททปริพาชกก็กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ ว่า “ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้ฟังคาของ พวกปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งคราว’ พระสมณโคดมจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ข้าพเจ้ายังมี ความสงสัยอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสพระสมณโคดมอย่างนี้ ว่า ‘พระสมณโคดมจะแสดงธรรมให้ข้าพเจ้าละความ สงสัยนี้ ได้’ ขอโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เฝ้าพระสมณโคดมเถิด” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็กล่าวกับสุภัททปริพาชกดังนี้ ว่า “อย่าเลย สุภัททะผู้มีอายุ ท่านอย่า รบกวนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงเหน็ดเหนื่อย”
  • 10. 10 [๒๑๓] พระผู้มีพระภาคทรงได้ยินถ้อยคาของท่านพระอานนท์เจรจากับสุภัททปริพาชก จึงรับสั่ง เรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อย่าห้ามสุภัททะเลยอานนท์ ให้สุภัททะเข้ามาหาตถาคต เขาจะถาม ปัญหาบางอย่างกับเรา เขาจะถามเพื่อหวังความรู้เท่านั้น ไม่หวังรบกวนเรา อนึ่ง เมื่อเราตอบสิ่งที่ถาม เขา จะรู้ได้ทันที” ลาดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับสุภัททปริพาชกดังนี้ ว่า “ไปเถิดสุภัททะผู้มีอายุ พระผู้มีพระ ภาคประทานโอกาสแก่ท่าน” สุภัททปริพาชกจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณ พราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นอาจารย์ มีชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ประชาชนยกย่องกันว่าเป็นคน ดี ได้แก่ ปูรณะ กัสสปะ มักขลิ โคศาล อชิตะ เกสกัมพล ปกุธะ กัจจายนะ สัญชัย เวลัฏฐบุตร นิครนถ์ นาฏ บุตร เจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดรู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือไม่ได้รู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือบางพวกรู้ บางพวก ไม่รู้” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สุภัททะ อย่าเลย เรื่องที่เธอถามว่า ‘เจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดรู้ ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือไม่รู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือบางพวกรู้บางพวกไม่รู้’ อย่าได้สนใจเลย เราจะแสดง ธรรมแก่เธอ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจะกล่าว” สุภัททปริพาชกทูลรับสนองพระดารัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ ว่า [๒๑๔] “สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๒ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๓ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๔ (สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔ ในที่นี้ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ตามลาดับ) ในธรรมวินัยที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมมีสมณะที่ ๑ ย่อมมีสมณะที่ ๒ ย่อมมีสมณะที่ ๓ ย่อมมีสมณะที่ ๔ สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคมี องค์ ๘ สมณะที่ ๑ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ เท่านั้น สมณะที่ ๓ มีอยู่ใน ธรรมวินัยนี้ เท่านั้น สมณะที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง สุภัท ทะ ถ้าภิกษุเหล่านี้ เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย สุภัททะ เราบวชขณะอายุ ๒๙ ปี แสวงหาว่าอะไร คือกุศล เราบวชมาได้ ๕๐ ปีกว่า ยังไม่มีแม้สมณะที่ ๑ ภายนอกธรรมวินัยนี้ ผู้อาจแสดงธรรมเป็นเครื่องนาออกจากทุกข์ได้ ไม่มี สมณะที่ ๒ ไม่มีสมณะที่ ๓ ไม่มีสมณะที่ ๔ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้ เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย” [๒๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ สุภัททปริพาชกได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคล
  • 11. 11 หงายของที่คว่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็น รูปได้’ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ และข้าพระองค์พึงได้ การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทในสานักของพระผู้มีพระภาค” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุภัททะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์จะบรรพชา ประสงค์จะอุปสมบท ในธรรมวินัยนี้ ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไป เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชา จะให้ อุปสมบทเป็นภิกษุได้ อนึ่ง ในเรื่องนี้ เราคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย” สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า “หากผู้ที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชา ประสงค์จะ อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไป เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้ บรรพชา จะให้อุปสมบทเป็นภิกษุได้ ข้าพระองค์จักขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไป เมื่อภิกษุพอใจ ก็ จงให้บรรพชา จงให้อุปสมบทเป็นภิกษุเถิด” ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้ สุภัททะบวช” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดารัสแล้ว ในขณะนั้น สุภัททปริพาชกจึงกล่าวกับท่านพระ อานนท์ดังนี้ ว่า “ท่านพระอานนท์ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระศาสดาทรงแต่งตั้งท่านโดย มอบหมายให้บรรพชาอันเตวาสิก (ความนี้ แปลมาจากคาว่า อนฺเตวาสิกาภิเสเกน อภิสิตฺตา หมายถึงการที่ อาจารย์แต่งตั้งศิษย์ในสานักให้บวชลูกศิษย์แทนตน ซึ่งเป็นจารีตของลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา ถือเป็น เกียรติยศที่ใครๆ ก็อยากได้ สุภัททะ ถือตามจารีตนี้ กล่าวยกย่องท่านพระอานนท์) ในที่เฉพาะพระพักตร์” สุภัททปริพาชก ได้การบรรพชาได้การอุปสมบทในสานักของพระผู้มีพระภาคแล้วแล เมื่อท่าน สุภัททะได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาทมีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ (อุทิศกายและใจอยู ในที่นี้ หมายถึงมุ่งที่จะบรรลุอรหัตตผล โดยไม่ห่วงอาลัยต่อร่างกายและชีวิตของตน) ไม่ นานนักก็ทาให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทากิจที่ควรทาเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป’ จึงเป็นอันว่าท่านสุภัททะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านได้เป็น สักขิสาวก (สักขิสาวก แปลว่า พระสาวกที่ทันเห็นองค์พระพุทธเจ้า มี ๓ พวก คือ (๑) ผู้บรรพชาอุปสมบท เรียนกัมมัฏฐาน บรรลุอรหัตตผลเมื่อพระผู้มีพระภาคยังทรงพระชนม์อยู่ (๒) ผู้ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อ พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ต่อมาได้เรียนกัมมัฏฐานและบรรลุอรหัตตผล (๓) ผู้ได้เรียนกัมมัฏฐาน เมื่อพระผู้มีพระภาคยังทรงพระชนม์อยู่ พระสุภัททะจัดอยู่ในพวกที่ ๑) องค์สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค ภาณวารที่ ๕ จบ ----------------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
  • 12. 12 อุปวาณตฺเถรวณฺณนา อเปหิ แปลว่า จงหลีกไป. ด้วยพระดารัสคาเดียวเท่านั้น พระเถระก็วางพัดใบตาลแล้วยืน ณ ส่วน ข้างหนึ่ง. ได้ยินว่า พระเถระร่างใหญ่เช่นกับลูกช้าง ห่มผ้าบังสุกุลจีวร ก็ดูเหมือนใหญ่มาก. เทวดา ทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เห็นพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงติเตียนอย่างนี้ . ถามว่า ก็เทวดาเหล่านั้นไม่สามารถมองทะลุพระเถระหรือ. ตอบว่า ไม่สามารถสิ. ด้วยว่า เหล่าเทวดาสามารถมองทะลุเหล่าปุถุชนได้ แต่มองทะลุเหล่าพระ ขีณาสพไม่ได้ ทั้งไม่อาจเข้าไปใกล้ด้วย. เพราะพระเถระมีอานุภาพมาก มีอานาจมาก. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงมีอานาจมาก ผู้อื่นไม่เป็นพระอรหันต์หรือ. ตอบว่า เพราะท่านเป็นอารักขเทวดาในเจดีย์ของพระกัสสปพุทธเจ้าอยู่. เล่ากันว่า เมื่อพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ชนทั้งหลายได้พากันสร้างพระเจดีย์ องค์หนึ่ง บรรจุพระสารีริกธาตุสรีระอันเป็นเช่นกับแท่งทองคาทึบ. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืน ย่อมมีพระเจดีย์องค์เดียวเท่านั้น คนทั้งหลายใช้แผ่นอิฐทองยาว ๑ ศอก กว้างหนึ่งคืบ หนา ๘ นิ้ ว ก่อพระ เจดีย์นั้นประสานด้วยหรดาลและมโนศิลาแทนดิน ชะโลมด้วยน้ามันงาแทนน้า แล้วสถาปนาประมาณโยชน์ หนึ่ง. ต่อนั้นภุมมเทวดาก็โยชน์หนึ่ง จากนั้นก็อาสัฏฐกเทวดา จากนั้นก็อุณหวลาหกเทวดา จากนั้นก็อัพภว ลาหกเทวดา จากนั้นก็เทวดาชั้นจาตุมมหาราช จากนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์สถาปนาโยชน์หนึ่ง. พระเจดีย์จึงมี ๗ โยชน์ด้วยประการฉะนี้ . เมื่อผู้คนถือเอามาลัยของหอมและผ้าเป็นต้นมา อารักขเทวดาทั้งหลายก็พากันถือดอกไม้มา บูชาพระเจดีย์ทั้งที่ผู้คนเหล่านั้นเห็นอยู่. ครั้งนั้น พระเถระนี้ เป็นพราหมณ์มหาศาล ถือผ้าเหลืองผืนหนึ่งไป. เทวดาก็รับผ้าจากมือพราหมณ์นั้นไปบูชาพระเจดีย์. พราหมณ์เห็นดังนั้น ก็มีจิตเลื่อมใสตั้งความปรารถนาว่า ในอนาคตกาล แม้เราก็จักเป็นอารักข เทวดาในพระเจดีย์ของพระพุทธเจ้าเห็นปานนี้ ดังนี้ แล้ว จุติจากอัตตภาพนั้น ก็ไปบังเกิดในเทวโลก. เมื่อ พราหมณ์นั้นท่องเที่ยวอยู่ในมนุษยโลกและเทวโลก. พระกัสสปะผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในโลกแล้วปรินิพพาน. พระธาตุสรีระของพระองค์ก็มีแห่ง เดียวเท่านั้น. ผู้คนทั้งหลายนาพระธาตุสรีระนั้น สร้างพระเจดีย์โยชน์หนึ่ง. พราหมณ์เป็นอารักขเทวดาใน พระเจดีย์นั้น เมื่อพระศาสดาอันตรธานไป. ก็บังเกิดในสวรรค์ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราจุติจาก สวรรค์นั้นแล้ว ถือปฏิสนธิในตระกูลใหญ่ ออกบวชแล้วบรรลุพระอรหัต. พึงทราบว่า พระเถระมีอานาจมาก เพราะเป็นอารักขเทวดาในพระเจดีย์มาแล้ว ด้วยประการ ฉะนี้ . ถูปารหปุคฺคลวณฺณนา
  • 13. 13 ถามว่า เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตการสร้างสถูปแก่พระราชาผู้อยู่กลางเรือน สวรรคตแล้ว ไม่ทรงอนุญาตสาหรับภิกษุผู้มีศีล. ตอบว่า เพราะไม่อัศจรรย์. แท้จริง เมื่อทรงอนุญาตสถูป สาหรับภิกษุปุถุชน ก็ไม่พึงมีโอกาสสาหรับสถูปทั้งหลายในเกาะสี หล ถึงในที่อื่นๆ ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น สถูปเหล่านั้นไม่อัศจรรย์ เพราะเหตุนั้น จึงไม่ทรงอนุญาต. พระ เจ้าจักรพรรดิบังเกิดพระองค์เดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น สถูปของพระองค์จึงอัศจรรย์. ส่วนสาหรับภิกษุปุถุชน ผู้มีศีล จะทาสักการะแม้อย่างใหญ่ อย่างภิกษุผู้ปรินิพพานก็ควรเหมือนกัน. ยมกสาลาวณฺณนา พอได้ทราบว่า จาเดิมแต่พระองค์ทรงข่มเวทนาที่เวฬุวคามไม่นานนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จัก ปรินิพพาน บรรดาภิกษุที่มาแต่ที่นั้นๆ ไม่มีแม้แต่ภิกษุรูปเดียวที่ชื่อว่าหลีกไป เพราะฉะนั้น พระสงฆ์จึงมี จานวนนับไม่ได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจากฝั่งข้างโน้นแห่งแม่น้าหิรัญวดีสู่สาลวโนทยาน เหมือนออกจากฝั่ง แม่น้ากลัมพนทีไปยังถูปารามไปทางประตูวัดของพระราชมารดา. สาลวันนั้นอยู่ที่กรุงกุสินารา เหมือนถูปา รามของกรุงอนุราธปุระ. ทางเข้าพระนครโดยทางประตูทักษิณแต่ถูปาราม บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก แล้วเลี้ยวไปทางทิศอุดรฉันใด สาลวันจากพระราชอุทยานบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออกแล้วเลี้ยวไปทางทิศ อุดรฉันนั้น ความว่า ได้ยินว่า ต้นสาละแถวหนึ่งอยู่ทางหัวพระแท่น แถวหนึ่งอยู่ทางท้ายพระแท่น. ในแถว ต้นสาละนั้น ต้นสาละรุ่นต้นหนึ่งอยู่ใกล้ทางส่วนพระเศียรต้นหนึ่งอยู่ใกล้พระบาท. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า ต้นสาละที่ยืนต้นประชิดกันและกันด้วยรากลาต้น ค่าคบและใบ ชื่อ ว่ายมกสาละ. ได้ยินว่า พระแท่นบรรทมในพระราชอุทยานนั้นมีอยู่ ทรงหมายถึงพระแท่นนั้น ทรงรับสั่งให้ปู. แม้พระเถระก็จัดพระแท่นนั้นถวาย. ตั้งแต่นครปาวาถึงนครกุสินารา ระยะทาง ๓ คาวุต. ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าต้อง ประทับนั่งพักถึง ๒๕ แห่ง เสด็จมาด้วยอุตสาหะใหญ่ เสด็จเข้าสาลวันในเวลาเย็นพระอาทิตย์ตก. พระโรคก็ มาลบล้างความไม่มีโรคเสียสิ้นด้วยประการฉะนี้ . เหมือนอย่างทรงแสดงความข้อนี้ เมื่อตรัสพระวาจาให้เกิด ความสังเวชแก่สัตว์โลกทั้งปวง จึงตรัสว่า อานนท์ ตถาคตลาบากนัก จักนอนละดังนี้ . ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จมาในที่นี้ ด้วยอุตสาหะใหญ่ ไม่อาจไป ปรินิพพานในที่อื่นหรือ. ตอบว่า ไม่อาจไปปริพพานในที่อื่นก็หามิได้ แต่เสด็จมาในที่นี้ ด้วยเหตุ ๓ ประการ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความข้อนี้ ว่า เมื่อเราตถาคตปรินิพพานเสียในที่อื่น เหตุ เกิดเรื่องของมหาสุทัสสนสูตรจักไม่มี แต่เมื่อปรินิพพานในนครกุสินารา ตลอดจนแสดงสมบัติที่ตถาคตพึง
  • 14. 14 เสวยในเทวโลก ซึ่งเสวยแล้วในมนุษยโลก ประดับด้วยภาณวาร ๒ ภาณวาร ชนเป็นอันมากฟังธรรมของ ตถาคตแล้ว จักสาคัญกุศลว่าควรกระทา. อนึ่ง ทรงเห็นความข้ออื่นอีกว่า เมื่อตถาคตปรินิพพานเสียในที่อื่น สุภัททะจักไม่ได้เข้าเฝ้า ด้วย สุภัททะนั้นเป็นเวไนยของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นเวไนยของพระสาวก สาวกทั้งหลายไม่อาจแนะนาสุภัททะ นั้นได้. แต่ตถาคตปรินิพพานเสียที่นครกุสินารา สุภัททะนั้นก็จักเข้าเฝ้าถามปัญหาได้ และที่สุดการตอบ ปัญหาเขาก็จักตั้งอยู่ในสรณะ ได้บรรพชาอุปสมบทในสานักเรา รับกัมมัฏฐานแล้วจักบรรลุพระอรหัตเป็น ปัจฉิมสาวก ต่อเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่. ทรงเห็นความอีกข้อหนึ่งว่า เมื่อเราตถาคตปรินิพพานเสียในที่อื่น จะเกิดทะเลาะวิวาทกันยก ใหญ่ในเวลาแจกพระธาตุ แม่น้าก็จะหลั่งไหลเป็นสายเลือด แต่เมื่อเราตถาคตปรินิพพานเสียที่นครกุสินารา โทณพราหมณ์จักระงับการวิวาทนั้นแล้วแจกพระธาตุทั้งหลาย. พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาในที่นี้ ด้วยพระอุตสาหะใหญ่อย่างนี้ ก็ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้ . จริงอยู่ ในปฐมยาม ได้มีการแสดงธรรมโปรดเหล่าเจ้ามัลละ. ในมัชฌิมยาม โปรดสุภัททะ. ใน ปัจฉิมยามทรงโอวาทภิกษุสงฆ์. ในเวลาใกล้รุ่ง เสด็จปรินิพพาน. ความว่า ต้นสาละทั้งคู่บานสะพรั่งดารดาษไป ตั้งแต่โคนต้นจนถึงยอดมิใช่มีต้นสาละทั้งคู่อย่าง เดียวเท่านั้น ต้นไม้แม้ทั้งหมดก็ผลิตดอกออกสะพรั่งเหมือนกันไปหมด. มิใช่แต่ในสวนนั้นอย่างเดียวเท่านั้น แม้ในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้น ไม้ดอกก็ผลิดอก ไม้ผลก็ออกผล. ในลาต้นของต้นไม้ทุกต้นมีขันธปทุมบานที่ลา ต้น สาขาปทุมบานที่กิ่งทั้งหลาย วัลลิปทุมบานที่เถาว์ อากาสปทุมบานที่อากาศ ทัณฑปทุมแทรกพื้น แผ่นดินขึ้นมาบาน. มหาสุมทรทั้งหมดดาดาษไปด้วยบัว ๕ สี ป่าหิมพานต์กว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ ได้เป็นที่ รื่นรมย์ยิ่งนัก เหมือนลาแพนหางนกยูงที่มัดติดกันเป็นพืด เหมือนพวงและช่อดอกไม้ติดกันไม่มีระหว่าง เหมือนดอกไม้ประดับศีรษะ ที่ผูกเบียดกันเป็นอันดี และเหมือนผอบที่มีดอกไม้เต็ม. สาละคู่เหล่านั้น ถูกภุมมเทวดาเขย่าต้นกิ่งและค่าคบ โปรยลงสู่พระสรีระของพระตถาคต คือโรย ดอกลงบนพระสรีระ. ณ นันทโปกขรณี ดอกมณฑารพเหล่านั้นมีสีดั่งทอง มีใบประมาณเท่าฉัตรใบไม้. ติด เรณูประมาณทะนานใหญ่ มิใช่ดอกมณฑารพอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นทิพย์ แม้อย่างอื่นก็เป็นทิพย์ เช่น ดอก ปาริฉัตรและดอกทองหลางเป็นต้น บรรจุผอบทองเต็ม อันเทวดาผู้อยู่ที่ขอบปากจักรวาลก็ดี ชั้นไตรทศก็ดี ในพรหมโลกก็ดี นาเข้าไปย่อมตกลงจากอวกาศ. ไม่กระจัดกระจายเสียในระหว่าง มาโปรยปรายเฉพาะพระ สรีระของพระตถาคตด้วยกลีบเกษรและละอองเรณู. ผงจันทน์ที่สาเร็จรูปของเหล่าเทวดา. มิใช่ผงจันทน์ที่สาเร็จรูปของเทวดาเท่านั้น เป็นของนาค สุบรรณและมนุษย์ด้วย. มิใช่ผงจันทน์อย่างเดียวเท่านั้น ยังมีผงคันธชาตอันเป็นทิพย์ทั้งหมดเช่น กฤษณา และจันทน์แดงเป็นต้น. ผงหรดาลแร่พลวงเงินและทอง ชนิดที่อบด้วยกลิ่นทิพย์ทั้งหมดบรรจุเต็มหีบเงินและ ทองเป็นต้น ที่เทวดาผู้อยู่ ณ ขอบปากจักรวาลเป็นต้น นาเข้าไปไม่เรี่ยราดเสียในระหว่าง โปรยลงสู่พระ สรีระของพระตถาคตเหมือนกัน. ดุริยางค์สาเร็จของเหล่าเทวดา. มิใช่ดุริยางค์เหล่านั้นอย่างเดียว ยังมีดุริยางค์ของเหล่าเทวดาใน
  • 15. 15 หมื่นจักรวาล และนาค ครุฑ มนุษย์ ต่างโดยชนิดขึงสาย หุ้มหนัง ทึบ และโพรงทุกชนิด พึงทราบว่าประชุม กันในจักรวาลอันเดียว บรรเลงกันในอากาศ. ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าบรรทมตะแคงข้างขวา ระหว่างต้นสาละคู่ ทรงเห็นความอุตสาหะอย่าง ใหญ่ของบริษัทที่ประชุมกันตั้งแต่ปฐพีจดขอบปากจักรวาล และตั้งแต่ขอบปากจักรวาลจดพรหมโลก จึงตรัส บอกท่านพระอานนท์. มหาสุทสฺสนสุตฺตเทสนาวณฺณนา นครเล็กที่คับแคบ เป็นนครที่ยังต้องพัฒนา. นครเล็กเสมือนกิ่งของนครใหญ่อื่น เหมือนกิ่งเล็กๆ ของต้นไม้ทั้งหลายฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอไม่ควรพูดว่า นี่นครเล็ก ความจริง เราตถาคตมาที่นครนี้ ด้วย ความอุตสาหะอย่างใหญ่ ด้วยความบากบั่นอย่างใหญ่ ยืนนั่งหลายครั้ง ก็เพื่อจะกล่าวถึงสมบัติของนครนี้ โดยแท้ ความว่า เมื่อช้างเชือกหนึ่งร้องขึ้น ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกก็ร้องตาม ดังนั้น กุสาวดีราชธานีจึงไม่สงัด จากเสียงช้าง. จากเสียงม้าก็เหมือนกัน. ก็สัตว์ทั้งหลายในราชธานีนี้ มีบุญ มีรถที่เทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัว ตามกันและกันสัญจรไปในระหว่างถนน ฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่สงัดด้วยเสียงรถ. อนึ่ง ดุริยางค์มีกลองเป็นต้นใน นครนั้น ก็ย่ากันอยู่เป็นนิตย์ ดังนั้น จึงชื่อว่าไม่สงัดจากเสียงกลองเป็นต้น. ก็ในเรื่องนี้ มีความสังเขปดังนี้ . กุสาวดีราชธานีไม่สงัดจากเสียงที่สิบนี้ ว่า เชิญบริโภคเถิด ท่านผู้เจริญ มีเสียงไม่ขาดเลย. พระผู้ มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในนครอื่นๆ มีเสียงเห็นปานนี้ ว่า พวกเจ้าจงทิ้งหยากเยื่อ จงถือจอบ จงถือ กระเช้า เราจักไปแรมคืน พวกเจ้าจงถือห่อข้าวสาร จงถือห่อข้าวสุก จงให้จัดโล่ห์และอาวุธดังนี้ ฉันใด ในกุ สาวดีนี้ หามีเสียงเห็นปานนี้ ฉันนั้นไม่. ปจฺฉิมสกฺขิสาวณฺณนา เรื่องสุภัททปริพาชก ถามว่า ก็เพราะเหตุไร สุภัททปริพาชกนั้นจึงมีความคิดอย่างนี้ ในวันนี้ . ตอบว่า เพราะมีอุปนิสัยอย่างนั้น. ได้ยินว่า แต่ก่อนได้มีพี่น้อง ๒ คน ในการบาเพ็ญบุญ. พี่น้อง ๒ คนนั้นได้กระทาข้าวกล้าร่วมกัน ใน ๒ คนนั้น พี่ชายคิดว่าเราจักถวายทานข้าวกล้าอันเลิศปีละ ๙ ครั้ง. ฤดูหว่าน ถวายเมล็ดอันเลิศ. ในฤดู ข้าวตั้งท้องปรึกษากับน้องชายว่า จักผ่าท้องกล้าถวาย. น้องชายบอกว่า พี่ต้องการจะให้ข้าวกล้าอ่อนพินาศ ไปหรือ. พี่ชายรู้ว่าน้องชายไม่ยินยอม จึงแบ่งนากัน ผ่าท้องข้าวจากส่วนของตน คั้นน้านม ปรุงด้วยเนยใส และน้าอ้อย. ในฤดูเป็นข้าวเม่าก็ให้กระทาข้าวเม่าถวาย. ในเวลาเกี่ยวก็ให้ถวายข้าวอันเลิศ. ในเวลามัด ขะเน็ด ก็ได้ถวายข้าวอันเลิศ ในเวลาทาขะเน็ด. ในเวลาทาเป็นฟ่อนเป็นต้น ก็ได้ถวายข้าวอันเลิศ เวลาทา