SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 2
หัวข้อเรื่อง ความหมายในเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียด ความหมายในเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง องค์ประกอบของปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ กรอบแนวคิด คุณลักษะ คำนิยาม เงื่อนไข แนวทางปฏิบัติและผลที่คาด
ว่าจะได้รับและข้อสรุป
จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยายเนื้อหาวิชา ความหมาย องค์ประกอบ และสรุปภาพรวม
2. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน
สื่อการสอน
1. การบรรยาย
2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1. ผลการเรียนรู้
1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
2.1 การทดสอบย่อยในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง
2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. สัดส่วนของการประเมิน (5 คะแนน)
3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 60
3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร้อยละ 40
14
เนื้อหาที่สอน ความหมายในเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.1 องค์ประกอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในเชิงทฤษฎี ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์จนได้
องค์ประกอบจากการให้นิยามหลายประการ คำนิยามในเชิงทฤษฎี ให้ความหมายของเศรษฐกิจ
เพียงพอว่าเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ
ครัวเรือนไปจนถึงระดับประเทศ เมื่อใช้คำว่า “ชี้ถึง” ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว
นั่นเองแต่ยังไม่มีใครสนใจหรือนำมาใช้
ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติที่สามารถสร้างและ
พัฒนาด้วยตนเองได้ อยู่ที่การปฏิบัติของตัวบุคคล
1
ทั้งนี้ นิยามที่ได้ให้ไว้เป็นนิยามที่เป็นกรอบนําไปสู่
การพัฒนาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ 5 ส่วนได้แก่
1) กรอบแนวคิด เป็นสิ่งซึ่งใช้เป็นกรอบและเป็นแนวทางในการดํารงชีวิตหรือการดํารง
วิถีทางการปฏิบัติกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับ โดยชี้ในสิ่งที่ควรจะเป็นและสามารถ
นําไปประยุกต์ใช้ในความเป็นจริงได้ (Existence of empirical evidence) และประยุกต์ได้ตลอด
เวลา มองในเชิงระบบซึ่งมีความเป็นพลวัตต์สูง (dynamic) มีเป้าประสงค์และการหวังผลทั้งในระยะ
สั่นและระยะยาว ทําให้เกิดลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่ถาวรและมั่นคง หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า
เป็นความยั่งยืนที่สำคัญ โดยตัวของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีลักษณะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนา
ได้ตลอดเวลา(Paradigm Shift) ทั้งนี้ มาจากการที่ผู้นำไปประยุกต์ปฏิบัติจำเป็นต้องแสวงหาความ
รู้อยู่เสมอเพื่อนําไปใช้ในการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของระบบและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในเชิง
สถานการณ์ จึงจําเป็นต้องแสวงหาวิธีการประยุกต์ปฏิบัติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ตลอดเวลากรอบแนวคิดข้างต้น ได้เคยกล่าวนำไว้แล้วในบทที่ 1 และเมื่อพิจาณานิยาม ซึ่งสามารถ
นำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เป็นแนวทางใหม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับการวิเคราะห์และ
สังเคราะห์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงได้ข้อสรุปของลักษณะซึ่งเป็นองค์ประกอบของปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
2) คุณลักษะพื้นฐานแนวคิดที่ปรากฏในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาจากการมองเห็น
วิถีการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมที่ให้คุณประโยชน์ ทั้งวิถีความคิดและวิถีการดำรงชีวิต โดยผนวกแนวคิด
จากพุทธธรรมที่มาจากพุทธเศรษฐศาสตร์ซึ่งกล่าวถึงการเดินสายกลาง (Middle Path) ที่เป็นหัวใจ
สําคัญของการนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนา
การนำมาใช้ให้สอดคล้องต่อเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือกระแสหลัก จำเป็นต้องเข้าใจวิธีการที่
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยฺตโต) อธิบายความหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์ขององค์ประกอบต่างๆไว้ใน A
Middle Way for Market Place
2
เช่น คำว่ามูลค่า การบริโภค ความพอประมาณ การบริโภค การ
ผลิต ความร่วมมือและการแข่งขัน เป็นต้น3
15
ความสอดคล้องต่อเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่มองเห็นได้ชัดในปัจจุบันคือ ความร่วมมือระหว่าง
ประเทศในการผลิตและการดําเนินวิถีการตลาด เช่น ประเทศญี่ปุ่นกับประเทศจีน ที่กำลังสร้าง
นวัตกรรมใหม่ด้านยานยนต์ที่ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม แต่อุปสรรค์ปัญหาที่พบ คือ ความไม่สามารถผลิต
แบตเตอรี่ที่มีความคงทนและบรรจุพลังงานไฟฟ้าได้มากพอ มีการค้นคว้าวิจัยโดยการนำแบตเตอรี่
อิออนที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในโทรศัพท์มือถือมาพัฒนาให้มีสมรรถนะเพื่อใช้กับยานยนต์ แต่ก็ยังได้ผล
ไม่ดีนัก ทำให้สองประเทศต้องร่วมมือระหว่างกันเพื่อค้นคว้าวิจัยในสิ่งที่ยังหาคำตอบไม่ได้ และเพื่อ
แลกเปลี่ยนความรู้ในการพัฒนายานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าในอีกไมกี่ปีข้างหน้าจะเป็นที่
จําเป็นเพื่อการทดแทนพลังงานอื่น ๆ ที่กำลังหมดไป
ความสําคัญของคําว่าทางสายกลาง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญหรือ คีย์เวิร์ด (Key Word) ของ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครอบคลุมลักษณะและเงื่อนต่างๆที่สามารถนาไปใช้ปฏิบัติได้ ได้แก่
2.1) การให้ความสําคัญต่อความสมดุล (สมตา) ที่พุทธศาสนาเรียกว่า กฎธรรมชาติ ทุก
อย่างย่อมต้องมีสมดุล
2.2) ความพอเพียง เป็นการกระทํากิจกรรมตามความจำเป็นไม่ใช่การตอบสนองความ
อยาก
2.3) การใช้ปัญญาแก้ปัญหา ไม่งมงายหรือยึดถือหลักการใดหลักการหนึ่งตายตัว มีความ
ยืดหยุ่น
2.4) สติ (สมาธิ) เป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างอารมณ์และเหตุผล เป็นการคิดที่มีความรอบคอบจะ
สามารถผูกเข้ากับปัญญาได้ ทําให้บุคคลกระทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยความมีเหตุมีผล ถือได้ว่า
ความรอบคอบและการใช้สติปัญญา คือการใช้สิ่งที่เป็นสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา
3) คำนิยาม ข้อสรุปนิยามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นนิยามที่กำหนดไว้เพื่อเป็นแนว
ทางอย่างแท้จริง (Working Definition) ทั้งนี้ นิยามดังกล่าว เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางในการ
ดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชน ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับประเทศ โดยนิยาม
ดังกล่าว ได้ให้ความหมายของความพอเพียงว่า หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมี
ภูมิคุ้มกัน ภายใต้เงื่อนไข ความรู้คู่คุณธรรม
4
สำหรับนิยามของคําว่าเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึง
ระดับภูมิภาค ผลิตเพื่อเลี้ยงสังคม โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยที่สังคมนั้นไม่ได้เป็นเจ้าของ
5
ซึ่งเป็นการให้
นิยามของแต่ละภาคส่วน จะมีลักษณะและแนวทางที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และขึ้นอยู่กับการ
16
ประยุกต์ใช้ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละภาคส่วนและ/หรือหน่วยงาน ที่ต้องการนําไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์
ทางสายกลาง
ความพอประมาณ
ความมีเหตุมีผล ภูมิคุ้มกัน
ความรู้ คุณธรรม
ภาพที่ 2.1 หลักสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเงื่อนไขสองประการ
ที่มา: Oknation Blog. 2550
คำนิยามและลักษณะของนิยามดังกล่าว ทําให้ลักษณะของความหมายของปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงมีดังนี้
3.1) ความไม่สุดโต่ง มีความเป็นสมดุลในการดำเนินชีวิต ไม่เอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่ง
3.2) มีลักษณะที่สามารถปรับใช้ได้ในทุกระดับและทุกภาคส่วน เนื่องจากสามารถปรับให้
เกิดความยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมของสภาพต่าง ๆ ของหน่วยงาน พื้นที่ชุมชน
และสังคม
3.3) มีลักษณะไม่หยุดนิ่ง มีการพัฒนาอยู่เสมอภายใต้กรอบแนวคิดดังกล่าว ทําให้การทำ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมการดําเนินภายใต้กรอบนี้ จำเป็นต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอและ
จำเป็นต้องกระทําอย่างรอบคอบ การตัดสินใจใดๆต้องใช้ความรู้และเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์
3.4) เป็นการดำเนินกิจกรรมในการดำเนินชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้วยลักษณะ
ความมีคุณธรรมและมีศีลธรรมไปพร้อมกันและถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น
17
3.5) เป็นแนวทางที่จะทําให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่มั่นคง เนื่องด้วยการ
ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ กระทำตามลักษณะข้างต้น ทําให้เกิดรากฐานของการเปลี่ยนแปลงที่มั่นคง
เพราะสิ่งดังกล่าวเป็นสิ่งที่ป้องกันความล้มเหลวหรือที่เรียกว่า เป็นภูมิคุ้มกันและนําไปสู่การพัฒนาที่
ความยั่งยืน
4) เงื่อนไขปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6
ซึ่งได้ทําความเข้าใจในประเด็นเงื่อนไขมาแล้วใน
ระดับหนึ่งและสิ่งดังกล่าว ได้แก่ ความรู้และคุณธรรมที่จำเป็นต้องอยู่ควบคู่กัน เพราะการพัฒนา
ภายใต้เศรษฐกิจกระแสหลัก ซึ่งต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
4.1) ความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ในสิ่งต่างๆ (Stock of all relevant Knowledge) หรือ
ความรู้รอบด้าน เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน นวัตกรรมด้านความรู้ เทคโนโลยี
ทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์ที่มีความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าอยู่เสมอ แนวทาง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงเน้นถึงความเปลี่ยนแปลง และเน้นย้ําถึงการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ
นอกจากการแสวงหาความรู้อยู่เสมอแล้ว ยังจำเป็นต้องนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อ
สร้างความคิดสร้างสรรค์ และสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้น ดังนั้น สิ่งสำคัญในประเด็นนี้คือ การเชื่อมโยง
ความรู้สู่การปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน (Connectivity of all Acquired Knowledge)
4.2) แม้ว่าจะมีการแสวงหาความรู้อยู่เสมอและสามารถนําความรู้ไปใช้ประโยชน์แล้ว สิ่งที่
จําเป็นอีกประการหนึ่งที่ต้องมีคือ ความรอบคอบและความระมัดระวัง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของ
ระบบโลก ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างมาก ทําให้การดำเนินกิจกรรมตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง
จําต้องกระทำอย่างระมัดระวังและความรอบคอบ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและรู้เท่าทันสิ่ง
ต่าง ๆ เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันในที่นี้ ไม่ได้หมายความ
ว่าการชิงความได้เปรียบเพื่อการทำให้คู่แข่งขันล่มสลาย แต่เป็นความได้เปรียบเชิงสร้างสรรค์
เชิงการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือ ดังตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือ
ด้านความรู้และการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ของประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น
กล่าวได้ว่า ความรอบคอบระมัดระวัง คือการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างรอบคอบและ
ระมัดระวัง (Utilization of knowledge at Any Point of Time with Carefulness and
Attentiveness)
4.3) เงื่อนไขประการสุดท้าย คือความมีคุณธรรม (Ethic Qualifications) เน้นด้านจิตใจ
และปัญญา ซึ่งคําว่าปัญญาในที่นี้ คือความเข้าใจธรรมชาติของความเป็นจริงของชีวิต ความสามารถใน
การแยกแยะ วิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญญาได้ลุล่วง การไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทําให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงกิจกรรมในการดำเนินวิถีกิจกรรมอยู่เสมอ เนื่องจากจะไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในทาง
พุทธธรรม คือการป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดความโลภมากเกินไป ซึ่งความโลภอาจทําให้เกิดความ
ล้มเหลวของวิถีกิจกรรมในการดําเนินชีวิต
18
สิ่งที่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเน้นก็คือ การทําให้เกิดความมีคุณภาพชีวิตที่ดี คือการสร้าง
ความสมดุลของการดําเนินวิถีชีวิต ทั้งนี้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดความโลภความหลงใหลในสิ่ง
ต่าง ๆ ที่อาจทําให้เกิดความล้มเหลวของการดําเนินชีวิต ความอดทน ความอดกลั้น และความ
พยายามพากเพียร หรือหากจะกล่าวตามประโยคที่ใช้กันมายาวนาน และถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นก็
สามารถกล่าวได้ว่า “ ความขยันหมั่นเพียร มานะอดทนในอุปสรรคต่างๆ ” จะนําไปสู่ความสําเร็จใน
การดําเนินชีวิต
5) แนวทางปฏิบัติและผลที่คาดว่าจะได้รับ
7
การแปรผลในเชิงปฏิบัติ และการตั้งเป้าหมายของการทำกิจกรรมซึ่งเป็นผลมาจากการ
ประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการสร้างความพร้อมให้กับตนเอง เพื่อสร้าง
ความสามารถในการตั้งรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในเชิงระบบสังคม วัฒนธรรมและ
เศรษฐกิจของโลก นอกจากนั้น ยังสามารถสร้างแนวทางต่อสู้ในเชิงรุกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีก
ด้วย
การประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ จําเป็นต้องมีการจัดทำแผนเป็นขั้นตอนซึ่งจะทำให้
เกิดวิถีการพัฒนา (Development Path) ที่สมดุล และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น แผนหรือ
ขั้นตอนดังกล่าวจึงประกอบไปด้วยส่วนที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างวิธีการและเป้าหมาย (Internal
Consistency Between Means and Ends) วิธีการคือ ขั้นตอนที่สร้างขึ้นตามวิถีทางของความ
พอเพียง จะทำให้เกิดเกราะป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ความ
พอประมาณที่นำมาประยุกต์กับกิจกรรมการดำเนินชีวิต จะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการหยุดนิ่งอยู่
กับที่แต่เป็นความ พอประมาณที่มีพื้นฐานมาจากความคิดสร้างสรรค์และการแสวงหาความรู้
ข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา จึงกล่าวได้ว่า วิธีการของขั้นตอนต่างๆ ได้กำหนดสิ่งที่เป็นภูมิคุ้มกันที่
เหมาะสมในการปฏิบัติได้ในระดับหนึ่ง และขั้นตอนในการปฏิบัติจะนําไปสู่ผลหรือเป้าหมายที่สมดุล
กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
คำว่า “สมดุล” ในที่นี้ หมายถึงการสร้างความพร้อมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งการที่จะกระทําสิ่ง เหล่านี้ได้ จำเป็นต้องแสวงหาความรู้ ทั้งที่เป็นความรู้เชิงวิทยาการและ
เทคโนโลยี การมีความรู้ทั้งด้านวิทยาการและเทคโนโลยี ไม่จําเป็นต้องเป็นความรู้ที่ได้มาจาก
การศึกษาในสถานศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่จะมาจากความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาซึ่งมีการถ่ายทอดจาก
รุ่นสู่รุ่น การคิดค้นทดลองด้วยตนเอง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านของ
ชีวิตจากความร่วมมือภายในสังคม ชุมชนหรือระหว่างชุมชนและสังคม นอกจากนั้นยังมีการแสวงหา
ความรู้ ด้วยวิธีการอื่นๆ
สมดุลในที่นี้ ยังมีความหมายที่ครอบคลุมถึงการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในการดำเนิน
กิจกรรมตามแนวทางการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ทั้งที่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่ใน
19
สังคม เรียกว่า ทุนทางสังคม เช่น ความไว้เนื้อเชื่อใจระเบียบกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ในสังคมนั้น เป็นต้น
นอกจากทุนทางสังคมที่เป็นนามธรรมแล้ว จําเป็นต้องพิจารณาทุนทาง สังคมที่เป็นรูปธรรม เช่น
ทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ทุนทางวัฒนธรรม ทุนที่เป็นภูมิปัญญาและหรือ
ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะนําไปสู่ความสามารถจัดการให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประโยชน์
สูงสุดและยั่งยืน ความยืดหยุ่น (Flexible) และการปรับตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Adaptation)
เป็นสิ่งที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในตนเอง ชุมชนและสังคม การมีความยืดหยุ่นและการมีคุณสมบัติใน
การปรับตัวเองจะทำให้เกิดการตั้งรับสิ่งที่เป็นผลกระทบจากสิ่งภายนอกได้ เช่น ผลกระทบทาง
เศรษฐกิจ ผลกระทบด้านวัฒนธรรม ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านวัตถุ เป็นต้น
2.2 สรุป
ความหมายในเชิงทฤษฏีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือการนําองค์ประกอบ 4
ประการที่เรียกว่า สามห่วงสองเงื่อนไขมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสมดุลของการดําเนิน
ชีวิตและเกิดสมดุลในการพัฒนาและเพื่อสร้างความพร้อมทั้งในเชิงสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนํามาใช้เป็นกรอบและเป็นแนวทางในการดํารงชีวิตหรือการดํารงวิถีทางการ
ปฏิบัติกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับ โดยชี้ในสิ่งที่ควรจะเป็นและสามารถนําไป
ประยุกต์ใช้ในความเป็นจริงได้ (Existence of empirical evidence) และประยุกต์ได้ตลอดเวลา
มองในเชิงระบบซึ่งมีความเป็นพลวัตต์สูง (dynamic) มีเป้าประสงค์และการหวังผลทั้งในระยะสั่นและ
ระยะยาว ทําให้เกิดลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่มั่นคง
แบบฝึกหัด
จงอธิบายและตอบคำถามต่อไปนี้
1. อธิบายความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. อธิบายความหมายของคําว่าสมดุล
3. อธิบายความหมายของเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม
4. อธิบายความหมายของความยืดหยุ่นและการปรับตัว
5. นักศึกษาคิดว่าเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม มีความสําคัญต่อการนำไปปฏิบัติใช้ในกิจกรรม
การดำเนินชีวิตอย่างไร
20
6. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มอภิปรายและแลกเปลี่ยนความรู้ในประเด็น การสร้างสมดุลในด้าน
ต่างๆ เช่น ความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรที่เป็นทุนทางสังคม เป็นต้น
7. จงอภิปรายถึงหลักแนวคิดของพุทธเศรษฐศาสตร์ว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร
8. หัวใจสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีอะไรบ้างจงอภิปราย และนักศึกษาคิดว่า
การนําไปประยุกต์ใช้ จำเป็นต้องมีการวางแผนหรือขั้นตอนการปฏิบัติ (Means) อย่างไร และ
นักศึกษาคิดว่าหากจะปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆแล้ว จะก่อให้เกิดผลของการปฏิบัตินั้น (Ends) อย่างไร
9. คําว่า “ ความรู้ ” หมายถึงอะไร นักศึกษามีความเข้าใจในคําว่า ความรู้ ตามแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร
10. คําว่า ความรอบคอบระมัดระวัง คือการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างรอบคอบและ
ระมัดระวัง (Utilization of knowledge at Any Point of Time with Carefulness and
Attentiveness) นักศึกษามีความเข้าใจต่อแนวคิดนี้อย่างไร จงอธิบาย
เชิงอรรถ
1
อ่านรายละเอียด ใน วรรณกรรมปริทรรศน์ 3 ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงหน้า31-46 (รวบรวมในrotoratuk.blogspot.comLink http://www. scribd.com/
doc/131443360/๓ ความหมายเชิงทฤษฏีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-1)
2
อ้างใน อภิชัยพันธเสน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) 2544. พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎีและการ
ประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์ สาขาต่างๆ หน้า 13-14. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์อมรินทร์.
3
อ่านรายละเอียดใน P.A. Payutto.(1994). Buddhist economics: a middle way for the
Market Place. bangkok: Buddhadhamma foundation.
4
อ่านรายละเอียดใน วรรณกรรมปริทรรศน์ 3 ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงหน้า 31-46 (รวบรวมใน rotoratuk.blogspot.com Linkhttp://www. scribd.
com/doc/131443360/๓ ค วามหม าย เชิงทฤษฏีของปรัชญาของเศรษ ฐก ิจพอเพีย ง-1) และ
อนงค์นาถ ห่านวิไล. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงช่วยแก้วิกฤติโลก. Oknation Blog.12 เม.ย.
2556,http://www. oknation.net/blog/nongnat/2007/06/07/entry-1.
21
5
อ่านรายละเอียดใน นิยามความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง http://mediathailand.
blogspot.com/2012/07/blog-post_25.html.
6
อ่านรายละเอียดใน นิยามความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง http://mediathailand.
blogspot.com/2012/07/blog-post_25.html. หน้า 41- 42.
7
อ่านรายละเอียดใน นิยามความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง http://mediathailand.
blogspot.com/2012/07/blog-post_25.html. หน้า 43 - 44.
22
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2546). วรรณกรรม
ปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 3 ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง. หน้า31-46. 10 เม .ย. 2557, http://supwat.blogspot.com/
p/httpwww.
นายมีเดีย. (ม.ป.ป.). นิยามความหมาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 2 มี.ค. 2557, http://www.
media thailand. blogspot.com/ 2012/07/ blogpost_ 25. Html
อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ ; วิวัฒนาการทฤษฎีและการประยกต์กับเศรษฐศาสตร์
สาขาต่างๆ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อมรินทร์.

More Related Content

What's hot

วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรnakkee
 
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558pakpoom khangtomnium
 
Utq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผลUtq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผลkrusoon1103
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรJiraprapa Suwannajak
 
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551Panlop
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10kanwan0429
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรBigbic Thanyarat
 
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรFh Fatihah
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรtanongsak
 
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรmaturos1984
 
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาค
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาคสรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาค
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาคkruskru
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นLathika Phapchai
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์คุณครูพี่อั๋น
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรSunisa199444
 
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรNoawanit Songkram
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7kanwan0429
 
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.แผนยุทธศาสตร์ปศพ.
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.wasan
 

What's hot (20)

วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
 
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
 
Utq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผลUtq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผล
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51
 
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
 
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
 
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
 
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาค
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาคสรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาค
สรุปเนื้อหาวิชาการพัฒนาหลักสูตรก่อนสอบระหว่างภาค
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
 
Microsoft word สัปดาห์ที่14
Microsoft word   สัปดาห์ที่14Microsoft word   สัปดาห์ที่14
Microsoft word สัปดาห์ที่14
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
 
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอนMicrosoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
 
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.แผนยุทธศาสตร์ปศพ.
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่ 2

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่ 2 (20)

ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Microsoft word สัปดาห์ที่10
Microsoft word   สัปดาห์ที่10Microsoft word   สัปดาห์ที่10
Microsoft word สัปดาห์ที่10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9Microsoft word   สัปดาห์ที่ 9
Microsoft word สัปดาห์ที่ 9
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
 

Microsoft word สัปดาห์ที่ 2

  • 1. แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 2 หัวข้อเรื่อง ความหมายในเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รายละเอียด ความหมายในเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง องค์ประกอบของปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ กรอบแนวคิด คุณลักษะ คำนิยาม เงื่อนไข แนวทางปฏิบัติและผลที่คาด ว่าจะได้รับและข้อสรุป จํานวนชั่วโมงที่สอน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยายเนื้อหาวิชา ความหมาย องค์ประกอบ และสรุปภาพรวม 2. การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. การทําแบบทดสอบความรู้หลังการทําความเข้าใจบทเรียน สื่อการสอน 1. การบรรยาย 2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Power Point media website แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ 1.1 การประเมินผลความเข้าใจในเนื้อหาวิชา 1.2 การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 2.1 การทดสอบย่อยในเนื้อหาวิชาที่มีการบรรยายในชั่วโมง 2.1 การประเมินการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. สัดส่วนของการประเมิน (5 คะแนน) 3.1 การประเมินความเข้าใจและการวิเคราะห์การสังเคราะห์ร้อยละ 60 3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร้อยละ 40
  • 2. 14 เนื้อหาที่สอน ความหมายในเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.1 องค์ประกอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในเชิงทฤษฎี ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์จนได้ องค์ประกอบจากการให้นิยามหลายประการ คำนิยามในเชิงทฤษฎี ให้ความหมายของเศรษฐกิจ เพียงพอว่าเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ ครัวเรือนไปจนถึงระดับประเทศ เมื่อใช้คำว่า “ชี้ถึง” ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว นั่นเองแต่ยังไม่มีใครสนใจหรือนำมาใช้ ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติที่สามารถสร้างและ พัฒนาด้วยตนเองได้ อยู่ที่การปฏิบัติของตัวบุคคล 1 ทั้งนี้ นิยามที่ได้ให้ไว้เป็นนิยามที่เป็นกรอบนําไปสู่ การพัฒนาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ 5 ส่วนได้แก่ 1) กรอบแนวคิด เป็นสิ่งซึ่งใช้เป็นกรอบและเป็นแนวทางในการดํารงชีวิตหรือการดํารง วิถีทางการปฏิบัติกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับ โดยชี้ในสิ่งที่ควรจะเป็นและสามารถ นําไปประยุกต์ใช้ในความเป็นจริงได้ (Existence of empirical evidence) และประยุกต์ได้ตลอด เวลา มองในเชิงระบบซึ่งมีความเป็นพลวัตต์สูง (dynamic) มีเป้าประสงค์และการหวังผลทั้งในระยะ สั่นและระยะยาว ทําให้เกิดลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่ถาวรและมั่นคง หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นความยั่งยืนที่สำคัญ โดยตัวของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีลักษณะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนา ได้ตลอดเวลา(Paradigm Shift) ทั้งนี้ มาจากการที่ผู้นำไปประยุกต์ปฏิบัติจำเป็นต้องแสวงหาความ รู้อยู่เสมอเพื่อนําไปใช้ในการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของระบบและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในเชิง สถานการณ์ จึงจําเป็นต้องแสวงหาวิธีการประยุกต์ปฏิบัติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดเวลากรอบแนวคิดข้างต้น ได้เคยกล่าวนำไว้แล้วในบทที่ 1 และเมื่อพิจาณานิยาม ซึ่งสามารถ นำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เป็นแนวทางใหม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับการวิเคราะห์และ สังเคราะห์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงได้ข้อสรุปของลักษณะซึ่งเป็นองค์ประกอบของปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 2) คุณลักษะพื้นฐานแนวคิดที่ปรากฏในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาจากการมองเห็น วิถีการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมที่ให้คุณประโยชน์ ทั้งวิถีความคิดและวิถีการดำรงชีวิต โดยผนวกแนวคิด จากพุทธธรรมที่มาจากพุทธเศรษฐศาสตร์ซึ่งกล่าวถึงการเดินสายกลาง (Middle Path) ที่เป็นหัวใจ สําคัญของการนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนา การนำมาใช้ให้สอดคล้องต่อเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือกระแสหลัก จำเป็นต้องเข้าใจวิธีการที่ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยฺตโต) อธิบายความหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์ขององค์ประกอบต่างๆไว้ใน A Middle Way for Market Place 2 เช่น คำว่ามูลค่า การบริโภค ความพอประมาณ การบริโภค การ ผลิต ความร่วมมือและการแข่งขัน เป็นต้น3
  • 3. 15 ความสอดคล้องต่อเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่มองเห็นได้ชัดในปัจจุบันคือ ความร่วมมือระหว่าง ประเทศในการผลิตและการดําเนินวิถีการตลาด เช่น ประเทศญี่ปุ่นกับประเทศจีน ที่กำลังสร้าง นวัตกรรมใหม่ด้านยานยนต์ที่ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม แต่อุปสรรค์ปัญหาที่พบ คือ ความไม่สามารถผลิต แบตเตอรี่ที่มีความคงทนและบรรจุพลังงานไฟฟ้าได้มากพอ มีการค้นคว้าวิจัยโดยการนำแบตเตอรี่ อิออนที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในโทรศัพท์มือถือมาพัฒนาให้มีสมรรถนะเพื่อใช้กับยานยนต์ แต่ก็ยังได้ผล ไม่ดีนัก ทำให้สองประเทศต้องร่วมมือระหว่างกันเพื่อค้นคว้าวิจัยในสิ่งที่ยังหาคำตอบไม่ได้ และเพื่อ แลกเปลี่ยนความรู้ในการพัฒนายานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าในอีกไมกี่ปีข้างหน้าจะเป็นที่ จําเป็นเพื่อการทดแทนพลังงานอื่น ๆ ที่กำลังหมดไป ความสําคัญของคําว่าทางสายกลาง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญหรือ คีย์เวิร์ด (Key Word) ของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครอบคลุมลักษณะและเงื่อนต่างๆที่สามารถนาไปใช้ปฏิบัติได้ ได้แก่ 2.1) การให้ความสําคัญต่อความสมดุล (สมตา) ที่พุทธศาสนาเรียกว่า กฎธรรมชาติ ทุก อย่างย่อมต้องมีสมดุล 2.2) ความพอเพียง เป็นการกระทํากิจกรรมตามความจำเป็นไม่ใช่การตอบสนองความ อยาก 2.3) การใช้ปัญญาแก้ปัญหา ไม่งมงายหรือยึดถือหลักการใดหลักการหนึ่งตายตัว มีความ ยืดหยุ่น 2.4) สติ (สมาธิ) เป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างอารมณ์และเหตุผล เป็นการคิดที่มีความรอบคอบจะ สามารถผูกเข้ากับปัญญาได้ ทําให้บุคคลกระทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยความมีเหตุมีผล ถือได้ว่า ความรอบคอบและการใช้สติปัญญา คือการใช้สิ่งที่เป็นสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา 3) คำนิยาม ข้อสรุปนิยามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นนิยามที่กำหนดไว้เพื่อเป็นแนว ทางอย่างแท้จริง (Working Definition) ทั้งนี้ นิยามดังกล่าว เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางในการ ดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชน ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับประเทศ โดยนิยาม ดังกล่าว ได้ให้ความหมายของความพอเพียงว่า หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมี ภูมิคุ้มกัน ภายใต้เงื่อนไข ความรู้คู่คุณธรรม 4 สำหรับนิยามของคําว่าเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึง ระดับภูมิภาค ผลิตเพื่อเลี้ยงสังคม โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยที่สังคมนั้นไม่ได้เป็นเจ้าของ 5 ซึ่งเป็นการให้ นิยามของแต่ละภาคส่วน จะมีลักษณะและแนวทางที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และขึ้นอยู่กับการ
  • 4. 16 ประยุกต์ใช้ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละภาคส่วนและ/หรือหน่วยงาน ที่ต้องการนําไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ ทางสายกลาง ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล ภูมิคุ้มกัน ความรู้ คุณธรรม ภาพที่ 2.1 หลักสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเงื่อนไขสองประการ ที่มา: Oknation Blog. 2550 คำนิยามและลักษณะของนิยามดังกล่าว ทําให้ลักษณะของความหมายของปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมีดังนี้ 3.1) ความไม่สุดโต่ง มีความเป็นสมดุลในการดำเนินชีวิต ไม่เอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่ง 3.2) มีลักษณะที่สามารถปรับใช้ได้ในทุกระดับและทุกภาคส่วน เนื่องจากสามารถปรับให้ เกิดความยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมของสภาพต่าง ๆ ของหน่วยงาน พื้นที่ชุมชน และสังคม 3.3) มีลักษณะไม่หยุดนิ่ง มีการพัฒนาอยู่เสมอภายใต้กรอบแนวคิดดังกล่าว ทําให้การทำ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมการดําเนินภายใต้กรอบนี้ จำเป็นต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอและ จำเป็นต้องกระทําอย่างรอบคอบ การตัดสินใจใดๆต้องใช้ความรู้และเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ 3.4) เป็นการดำเนินกิจกรรมในการดำเนินชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้วยลักษณะ ความมีคุณธรรมและมีศีลธรรมไปพร้อมกันและถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น
  • 5. 17 3.5) เป็นแนวทางที่จะทําให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่มั่นคง เนื่องด้วยการ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ กระทำตามลักษณะข้างต้น ทําให้เกิดรากฐานของการเปลี่ยนแปลงที่มั่นคง เพราะสิ่งดังกล่าวเป็นสิ่งที่ป้องกันความล้มเหลวหรือที่เรียกว่า เป็นภูมิคุ้มกันและนําไปสู่การพัฒนาที่ ความยั่งยืน 4) เงื่อนไขปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6 ซึ่งได้ทําความเข้าใจในประเด็นเงื่อนไขมาแล้วใน ระดับหนึ่งและสิ่งดังกล่าว ได้แก่ ความรู้และคุณธรรมที่จำเป็นต้องอยู่ควบคู่กัน เพราะการพัฒนา ภายใต้เศรษฐกิจกระแสหลัก ซึ่งต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 4.1) ความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ในสิ่งต่างๆ (Stock of all relevant Knowledge) หรือ ความรู้รอบด้าน เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน นวัตกรรมด้านความรู้ เทคโนโลยี ทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์ที่มีความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าอยู่เสมอ แนวทาง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงเน้นถึงความเปลี่ยนแปลง และเน้นย้ําถึงการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ นอกจากการแสวงหาความรู้อยู่เสมอแล้ว ยังจำเป็นต้องนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อ สร้างความคิดสร้างสรรค์ และสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้น ดังนั้น สิ่งสำคัญในประเด็นนี้คือ การเชื่อมโยง ความรู้สู่การปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน (Connectivity of all Acquired Knowledge) 4.2) แม้ว่าจะมีการแสวงหาความรู้อยู่เสมอและสามารถนําความรู้ไปใช้ประโยชน์แล้ว สิ่งที่ จําเป็นอีกประการหนึ่งที่ต้องมีคือ ความรอบคอบและความระมัดระวัง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของ ระบบโลก ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างมาก ทําให้การดำเนินกิจกรรมตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง จําต้องกระทำอย่างระมัดระวังและความรอบคอบ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและรู้เท่าทันสิ่ง ต่าง ๆ เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันในที่นี้ ไม่ได้หมายความ ว่าการชิงความได้เปรียบเพื่อการทำให้คู่แข่งขันล่มสลาย แต่เป็นความได้เปรียบเชิงสร้างสรรค์ เชิงการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือ ดังตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือ ด้านความรู้และการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ของประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น กล่าวได้ว่า ความรอบคอบระมัดระวัง คือการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างรอบคอบและ ระมัดระวัง (Utilization of knowledge at Any Point of Time with Carefulness and Attentiveness) 4.3) เงื่อนไขประการสุดท้าย คือความมีคุณธรรม (Ethic Qualifications) เน้นด้านจิตใจ และปัญญา ซึ่งคําว่าปัญญาในที่นี้ คือความเข้าใจธรรมชาติของความเป็นจริงของชีวิต ความสามารถใน การแยกแยะ วิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญญาได้ลุล่วง การไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงกิจกรรมในการดำเนินวิถีกิจกรรมอยู่เสมอ เนื่องจากจะไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในทาง พุทธธรรม คือการป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดความโลภมากเกินไป ซึ่งความโลภอาจทําให้เกิดความ ล้มเหลวของวิถีกิจกรรมในการดําเนินชีวิต
  • 6. 18 สิ่งที่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเน้นก็คือ การทําให้เกิดความมีคุณภาพชีวิตที่ดี คือการสร้าง ความสมดุลของการดําเนินวิถีชีวิต ทั้งนี้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดความโลภความหลงใหลในสิ่ง ต่าง ๆ ที่อาจทําให้เกิดความล้มเหลวของการดําเนินชีวิต ความอดทน ความอดกลั้น และความ พยายามพากเพียร หรือหากจะกล่าวตามประโยคที่ใช้กันมายาวนาน และถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นก็ สามารถกล่าวได้ว่า “ ความขยันหมั่นเพียร มานะอดทนในอุปสรรคต่างๆ ” จะนําไปสู่ความสําเร็จใน การดําเนินชีวิต 5) แนวทางปฏิบัติและผลที่คาดว่าจะได้รับ 7 การแปรผลในเชิงปฏิบัติ และการตั้งเป้าหมายของการทำกิจกรรมซึ่งเป็นผลมาจากการ ประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการสร้างความพร้อมให้กับตนเอง เพื่อสร้าง ความสามารถในการตั้งรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในเชิงระบบสังคม วัฒนธรรมและ เศรษฐกิจของโลก นอกจากนั้น ยังสามารถสร้างแนวทางต่อสู้ในเชิงรุกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีก ด้วย การประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ จําเป็นต้องมีการจัดทำแผนเป็นขั้นตอนซึ่งจะทำให้ เกิดวิถีการพัฒนา (Development Path) ที่สมดุล และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น แผนหรือ ขั้นตอนดังกล่าวจึงประกอบไปด้วยส่วนที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างวิธีการและเป้าหมาย (Internal Consistency Between Means and Ends) วิธีการคือ ขั้นตอนที่สร้างขึ้นตามวิถีทางของความ พอเพียง จะทำให้เกิดเกราะป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ความ พอประมาณที่นำมาประยุกต์กับกิจกรรมการดำเนินชีวิต จะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการหยุดนิ่งอยู่ กับที่แต่เป็นความ พอประมาณที่มีพื้นฐานมาจากความคิดสร้างสรรค์และการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา จึงกล่าวได้ว่า วิธีการของขั้นตอนต่างๆ ได้กำหนดสิ่งที่เป็นภูมิคุ้มกันที่ เหมาะสมในการปฏิบัติได้ในระดับหนึ่ง และขั้นตอนในการปฏิบัติจะนําไปสู่ผลหรือเป้าหมายที่สมดุล กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คำว่า “สมดุล” ในที่นี้ หมายถึงการสร้างความพร้อมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการที่จะกระทําสิ่ง เหล่านี้ได้ จำเป็นต้องแสวงหาความรู้ ทั้งที่เป็นความรู้เชิงวิทยาการและ เทคโนโลยี การมีความรู้ทั้งด้านวิทยาการและเทคโนโลยี ไม่จําเป็นต้องเป็นความรู้ที่ได้มาจาก การศึกษาในสถานศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่จะมาจากความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาซึ่งมีการถ่ายทอดจาก รุ่นสู่รุ่น การคิดค้นทดลองด้วยตนเอง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านของ ชีวิตจากความร่วมมือภายในสังคม ชุมชนหรือระหว่างชุมชนและสังคม นอกจากนั้นยังมีการแสวงหา ความรู้ ด้วยวิธีการอื่นๆ สมดุลในที่นี้ ยังมีความหมายที่ครอบคลุมถึงการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในการดำเนิน กิจกรรมตามแนวทางการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ทั้งที่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่ใน
  • 7. 19 สังคม เรียกว่า ทุนทางสังคม เช่น ความไว้เนื้อเชื่อใจระเบียบกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ในสังคมนั้น เป็นต้น นอกจากทุนทางสังคมที่เป็นนามธรรมแล้ว จําเป็นต้องพิจารณาทุนทาง สังคมที่เป็นรูปธรรม เช่น ทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ทุนทางวัฒนธรรม ทุนที่เป็นภูมิปัญญาและหรือ ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะนําไปสู่ความสามารถจัดการให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ สูงสุดและยั่งยืน ความยืดหยุ่น (Flexible) และการปรับตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Adaptation) เป็นสิ่งที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในตนเอง ชุมชนและสังคม การมีความยืดหยุ่นและการมีคุณสมบัติใน การปรับตัวเองจะทำให้เกิดการตั้งรับสิ่งที่เป็นผลกระทบจากสิ่งภายนอกได้ เช่น ผลกระทบทาง เศรษฐกิจ ผลกระทบด้านวัฒนธรรม ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านวัตถุ เป็นต้น 2.2 สรุป ความหมายในเชิงทฤษฏีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือการนําองค์ประกอบ 4 ประการที่เรียกว่า สามห่วงสองเงื่อนไขมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสมดุลของการดําเนิน ชีวิตและเกิดสมดุลในการพัฒนาและเพื่อสร้างความพร้อมทั้งในเชิงสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและ สิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนํามาใช้เป็นกรอบและเป็นแนวทางในการดํารงชีวิตหรือการดํารงวิถีทางการ ปฏิบัติกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับ โดยชี้ในสิ่งที่ควรจะเป็นและสามารถนําไป ประยุกต์ใช้ในความเป็นจริงได้ (Existence of empirical evidence) และประยุกต์ได้ตลอดเวลา มองในเชิงระบบซึ่งมีความเป็นพลวัตต์สูง (dynamic) มีเป้าประสงค์และการหวังผลทั้งในระยะสั่นและ ระยะยาว ทําให้เกิดลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่มั่นคง แบบฝึกหัด จงอธิบายและตอบคำถามต่อไปนี้ 1. อธิบายความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. อธิบายความหมายของคําว่าสมดุล 3. อธิบายความหมายของเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม 4. อธิบายความหมายของความยืดหยุ่นและการปรับตัว 5. นักศึกษาคิดว่าเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม มีความสําคัญต่อการนำไปปฏิบัติใช้ในกิจกรรม การดำเนินชีวิตอย่างไร
  • 8. 20 6. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มอภิปรายและแลกเปลี่ยนความรู้ในประเด็น การสร้างสมดุลในด้าน ต่างๆ เช่น ความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรที่เป็นทุนทางสังคม เป็นต้น 7. จงอภิปรายถึงหลักแนวคิดของพุทธเศรษฐศาสตร์ว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร 8. หัวใจสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีอะไรบ้างจงอภิปราย และนักศึกษาคิดว่า การนําไปประยุกต์ใช้ จำเป็นต้องมีการวางแผนหรือขั้นตอนการปฏิบัติ (Means) อย่างไร และ นักศึกษาคิดว่าหากจะปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆแล้ว จะก่อให้เกิดผลของการปฏิบัตินั้น (Ends) อย่างไร 9. คําว่า “ ความรู้ ” หมายถึงอะไร นักศึกษามีความเข้าใจในคําว่า ความรู้ ตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร 10. คําว่า ความรอบคอบระมัดระวัง คือการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างรอบคอบและ ระมัดระวัง (Utilization of knowledge at Any Point of Time with Carefulness and Attentiveness) นักศึกษามีความเข้าใจต่อแนวคิดนี้อย่างไร จงอธิบาย เชิงอรรถ 1 อ่านรายละเอียด ใน วรรณกรรมปริทรรศน์ 3 ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงหน้า31-46 (รวบรวมในrotoratuk.blogspot.comLink http://www. scribd.com/ doc/131443360/๓ ความหมายเชิงทฤษฏีของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-1) 2 อ้างใน อภิชัยพันธเสน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) 2544. พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎีและการ ประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์ สาขาต่างๆ หน้า 13-14. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์อมรินทร์. 3 อ่านรายละเอียดใน P.A. Payutto.(1994). Buddhist economics: a middle way for the Market Place. bangkok: Buddhadhamma foundation. 4 อ่านรายละเอียดใน วรรณกรรมปริทรรศน์ 3 ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงหน้า 31-46 (รวบรวมใน rotoratuk.blogspot.com Linkhttp://www. scribd. com/doc/131443360/๓ ค วามหม าย เชิงทฤษฏีของปรัชญาของเศรษ ฐก ิจพอเพีย ง-1) และ อนงค์นาถ ห่านวิไล. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงช่วยแก้วิกฤติโลก. Oknation Blog.12 เม.ย. 2556,http://www. oknation.net/blog/nongnat/2007/06/07/entry-1.
  • 9. 21 5 อ่านรายละเอียดใน นิยามความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง http://mediathailand. blogspot.com/2012/07/blog-post_25.html. 6 อ่านรายละเอียดใน นิยามความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง http://mediathailand. blogspot.com/2012/07/blog-post_25.html. หน้า 41- 42. 7 อ่านรายละเอียดใน นิยามความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง http://mediathailand. blogspot.com/2012/07/blog-post_25.html. หน้า 43 - 44.
  • 10. 22 เอกสารอ้างอิง กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2546). วรรณกรรม ปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 3 ความหมายเชิงทฤษฎีของปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง. หน้า31-46. 10 เม .ย. 2557, http://supwat.blogspot.com/ p/httpwww. นายมีเดีย. (ม.ป.ป.). นิยามความหมาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. 2 มี.ค. 2557, http://www. media thailand. blogspot.com/ 2012/07/ blogpost_ 25. Html อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ ; วิวัฒนาการทฤษฎีและการประยกต์กับเศรษฐศาสตร์ สาขาต่างๆ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อมรินทร์.