SlideShare a Scribd company logo
พลังงานชีวมวล
Biomass Energy
รายงาน
เรื่อง พลังงานชีวมวล (Biomass Energy)
จัดทำโดย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4
นาย ชิษณุชา มณีจักร เลขที่ 5
นาย พิศิษฐ์ พิสุทธิพันธ์พงศ์ เลขที่ 28
นาย กีรติ วานิชกุลวิริยะ เลขที่ 31
นางสาว ณัฐฐิญา ธนนันท์วิชยุทธ เลขที่ 32
นาย พิษณุ ดวงกระโทก เลขที่ 40
นางสาว ณัฏฐนิดา ปันตะทา เลขที่ 44
นาย เชาว์วรรธน์ ไชยวิลาส เลขที่ 47
นางสาว ขวัญลดา ชาญอนุรักษ์ เลขที่ 52
นางสาว นภัสพร มุทุมล เลขที่ 53
นาย ภูเบศวร์ บูรณทอง เลขที่ 54
เสนอ
คุณครู ฤดีมาศ พลยา
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ว32102
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
ชีวมวลคืออะไร 1
พลังงานชีวมวลหมายถึง 1
ข้อดีของการใช้พลังงานชีวมวล 2
เรานำพลังงานชีวมวลมาใช้ได้อย่างไร 2
เชื้อเพลิงเขียวอัดแท่ง 2
เตาหุงต้มซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูง 3
แก๊สชีวมวล 3
แก๊สชีวภาพ 3
แอลกอฮอล์ 3
การใช้พลังงานจากชีวมวล 3
เทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล 3
เทคโนโลยีการเผาไหม้ชีวมวล 4
ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าชีวมวล 7
ข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล 9
กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล 9
ประโยชน์ของพลังงานชีวภาพและการนำไปใช้งาน 10
ศักยภาพชีวมวลในประเทศไทย 11
บรรณานุกรม 12
ข
11
คำนำ
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีผลผลิตทางการเกษตรรวมถึงผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตร
ที่มีศักยภาพสูงสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนได้ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น โดยการ
แปรรูป ชานอ้อย ใยและกะลาปาล์ม แกลบ และซังข้าวโพด เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนสำหรับใช้
ในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม ส่วนกากน้ำตาล น้ำอ้อย และมันสำปะหลังใช้ผลิตเอทานอล และน้ำมันปาล์ม และส
เตรีนใช้ผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น เพื่อจะได้เป็นตลาดทางเลือกสำหรับผลิตผลการเกษตรไทย ซึ่งจะสามารถช่วยดูดซับ
ผลผลิตทางการเกษตรและช่วยทำให้ราคาผลผลิตการเกษตรมีเสถียรภาพ และภาครัฐไม่ต้องจัดสรรงบประมาณมา
ประกันราคาพืชผลผลิตดังกล่าว ประกอบกับเทคโนโลยี พลังงานทดแทนจากพืชพลังงานเป็นเทคโนโลยีที่ได้มีการ
พัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจหรือเกือบคุ้มทุนหากได้รับการสนับสนุนอีกเพียงเล็กน้อยจาก
ภาครัฐบาล นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแหล่งพลังงานจากธรรมชาติที่จัดเป็นพลังงานหมุนเวียน เช่น ไฟฟ้าพลังน้ำ
ขนาดเล็ก พลังลม และพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะสามารถใช้ผลิตพลังงานทดแทนได้ นอกจากนั้นมีการพัฒนาเชื้อเพลิง
ชีวภาพ ได้แก่ เอทานอลและไบโอดีเซล รวมทั้งพลังงานความร้อนและก๊าซ NGV ซึ่งก่อให้เกิดสัดส่วนการใช้พลังงาน
ทดแทนได้ 20% หวังว่ารายงานฉบับนี้จะช่วยให้ผู้สนใจหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยให้ผู้สนใจมีความเข้าใจในแนว
ทางการพัฒนาพลังงานทดแทนมาใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ สร้าง
ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ รวมทั้งลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม
อย่างยั่งยืนต่อไป
คณะผู้จัดทำ
ก
ชีวมวลคืออะไร ?
ชีวมวล หมายถึง สิ่งที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น ต้นไม้ อ้อย มันสำปะหลัง ถ่ายฟืนแกลบ วัชพืชต่าง ๆ หรือ
แม้กระทั่ง ขยะและมูลสัตว์ ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานอยู่มาก หากรู้จักนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจะสามารถ
ลดการใช้พลังงานด้านอื่น อาทิ พลังงานจากน้ำมัน ไฟฟ้า แก๊ส ถ่านหิน ฯลฯ ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานที่มีผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการสูญเสียเงินตราของประเทศ ในการนำเข้าเชื้อเพลิงดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้นการคิดค้น
และพัฒนาการนำชีวมวลมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ จึงเป็นการแสวงหาหนทางใหม่ ในการใช้พลังงาน
เพื่ออนาคต ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายาม ลดความสูญเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานด้วยเช่นกัน
1. พลังงานชีวมวลหมายถึง ?
พลังงานชีวมวล หมายถึง พลังงานที่ได้จากชีวมวลชนิดต่างๆ โดยกระบวนการแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงาน
รูปแบบต่างๆ
พลังงานชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน เป็นการนำพลังงานจากมวลของสิ่งมีชีวิต เช่น
พืชหรือสัตว์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในชีวมวลจะประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนออกซิเจนกำมะถันไนโตรเจน
ซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานได้ เพราะในขั้นตอนการเจริญเติบโตของพืชนั้น พืชได้ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับ
น้ำ และเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงทำให้ได้แป้งและน้ำตาล และนำไปเก็บไว้
ตามส่วนต่างๆของพืช ดังนั้นเมื่อนำพืชมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เราจึงได้พลังงานออกมาทั้งที่ได้จากพืชโดยตรงและโดย
อ้อม พลังงานชีวมวลแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ดังนี้
ประเภทที่ 1 คือ เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง จากการรวบรวมและประมาณการปริมาณชีวมวล ได้แก่ ไม้ ขี้เลื่อย
ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย มูลสัตว์ ถ่าน เขา เปลือกสัตว์หรือเปลือกพืช อาทิแกลบข้าว ฝ้าย ถั่งลิสง
ประเภทที่ 2 คือ เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว จากการรวบรวมและประมาณการปริมาณชีวมวลที่สามารถนำมาผลิต
เชื้อเพลิงชีวภาพแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก
1. แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์มีสถานะเป็นของเหลวระเหยง่าย แอลกอฮอล์ที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงมี
2 ชนิด คือ เอทานอล(แอลกอฮอล์ที่รับประทานได้ผลิตจากพืช) และเมทานอล(แอลกอฮอล์ที่ไม่สามารถรับประทาน
ได้ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล)
2. ไบโอดีเซล ที่ผลิตจากน้ำมันพืช ไขสัตว์และน้ำมันพืชใช้แล้ว โดยผ่านกรรมวิธีทางเคมี น้ำมันจากขยะ เป็น
น้ำมันซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพคล้ายคลึงกับปิโตรเลียม สามารถสกัดจากขยะชีวมวลมาใช้งานได้
ประเภทที่ 3 คือ เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ เช่น ก๊าซชีวภาพ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของของเสีย การผลิตก๊าซชีวภาพ
ทำโดยการหมักมูลสัตว์ ขยะชุมชน และน้ำเสียจากอุตสาหกรรม ก๊าซชีวภาพภสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการ
1
ปรุงอาหาร และกระบวนการอื่นๆ ที่ต้องการใช้ความร้อน ส่วนของเหลือจากถังหมักเมื่อสะสมมากๆ ยังนำไปใช้เป็น
ปุ๋ยได้อีกด้วย ปัจจุบันครอบครัวตามชนบทสามารถผลิตเชื้อเพลิงแบบนี้ใช้ได้เอง
พลังงานชีวมวลและเชื้อเพลิงฟอสซิลมีความคล้ายกันตรงที่เป็นพลังงานที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน แต่ต่างกัน
ที่พลังชีวมวลเป็นพลังงานที่ได้จากสิ่งมีชีวิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ในขณะที่
เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นซากของสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการทับถมภายใต้ความกดดัน ความร้อนเป็นเวลานาน คุณสมบัติของ
พลังงานจากชีวมวลแต่ละชนิดมีแตกต่างกันไป เช่นแกลบ จะให้ค่าความร้อนสูง เนื่องจากมีความชื้นต่ำและไม่ต้อง
ผ่านการบดย่อยก่อนนำไปเผาไหม้ โดยขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาแกลบสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กและ
แก้วได้ ส่วนชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงที่เผาไหม้แล้วมีปริมาณขี้เถ้าน้อย จึงมีปัญหาในการจัดการน้อย และขี้เถ้าดังยัง
สามารถนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินในไร่อ้อยได้อีก
ข้อดีของการใช้พลังงานชีวมวล
1. เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เนื่องจากมีปริมาณกำมะถันต่ำกว่าเชื้อเพลิงประเภทอื่นมาก
2. ไม่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก นอกจากนี้การนำแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่ภายในประเทศมาใช้ถือเป็นการใช้ทรัพยากร
อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรจากการขายวัสดุทางการเกษตรที่เหลือใช้
เรานำพลังงานชีวมวลมาใช้ได้อย่างไร ?
เชื้อเพลิงเขียวอัดแท่ง
ได้มีการพัฒนาเพื่อผลิตก้อนชีวมวล หรือที่เรียกว่าเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่ง โดยวัสดุเหลือทิ้ง เช่น แกลบ ชานอ้อย มัน
สำปะหลัง ผักตบชวามาใส่เครื่องสับ เพื่อสับให้ละเอียด ผสมคลุกเคล้ากันให้ได้สัดส่วน และมีความชื้นที่พอเหมาะ
นำไปอัดเป็นแท่ง จากนั้นจึงนำไปตากแดด หรือเข้าตู้อบให้แห้ง แท่งอัดชีวมวลที่ได้จะมีรูพรุนมาก จึงมีพืนผิวสำหรับให้
เผาไหม้มาก ทำให้จุดติดไฟได้ง่าย และให้ความร้อนสูง
เราสามารถนำพลังงานจากชีวมวลมาใช้ได้ โดยกระบวนการที่ใช้ความร้อน และกระบวนการ
ชีวภาพ การใช้พลังงานชีวมวลโดยกระบวนการที่ใช้ความร้อน เราจะเห็นได้ทั่วไปในลักษณะของ
การนำถ่านไม้ หรือฟืนมาจุดไฟ เพื่อให้เกิดความร้อน สำหรับนำไปใช้ในการหุงต้มอาหาร หรือ
ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ การขาดทรัพยากรป่าไม้ ถ่าน และฟืน หา
ได้ยาก และมีราคาแพงขึ้น ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาการใช้พลังงานจากชีวมวลให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุด และให้มีการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ให้น้อยที่สุด
2
เตาหุงต้มซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูง
เตาเป็นอุปกรณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้พลังงานชีวภาพมากยิ่งขึ้น เรานำเตาหุงต้มที่ใช้กันทั่วไป หรือ
เรียกว่า "เตาอั้งโล่" มาพัฒนาเป็นเตาหุงต้มซูเปอร์อั้งโล่ ให้มีลักษณะรูปร่างเพรียว น้ำหนักเบา สะดวกในการ
เคลื่อนย้าย ปากเตาลาดเอียง สามารถวางหม้อได้ถึง 9 ขนาด ตั้งแต่เบอร์ 16-32 ปรับปรุงให้ช่องใส่ถ่านมีขนาด
พอเหมาะสำหรับการปรุงอาหาร เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงมากเกินความจำเป็น ส่วนขอบเตาเสมอกันโดยรอบ มีฉนวน
กันความร้อนอย่างหนาอยู่ระหว่างตัวเตากับเปลือกเตา เพื่อลดการสูญเสีย ความร้อนไปยังอากาศภายนอกโดยเปล่า
ประโยชน์ รวมทั้งออกแบบและผลิตรูรังผึ้งให้มีขนาดเล็ก และเรียว เพื่อให้สามารถดูดอากาศได้ดี ช่วยให้ไฟติดง่ายและ
เร็ว เผาไหม้สมบูรณ์ ให้ความร้อนสูงอย่างต่อเนื่อง
แก๊สชีวมวล นอกจากนี้ ยังมีการนำชีวมวลมาเผาไหม้ในอุปกรณ์ที่มีอากาศจำกัด เพื่อให้เกิดเป็นแก๊สเชื้อเพลิง
แล้วนำแก๊สที่ได้จากการเผาไหม้ไปผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อกรองและขจัดสิ่งเจือปนออก แก๊สที่ได้นี้เรียกว่า "แก๊สชีว
มวล" สามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในได้
แก๊สชีวภาพ การใช้พลังงานชีวมวลอีกลักษณะหนึ่งที่สามารถทำได้ โดยกระบวนการทางชีวภาพคือ การนำมูล
สัตว์ ขยะ น้ำเสีย มาหมักสภาพที่ไม่มีอากาศ ปล่อยให้เกิดกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ได้แก๊ส
ชีวภาพ สำหรับนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง
แอลกอฮอล์ การผลิตเอทธิลแอลกอฮอล์จากผลผลิต หรือผลพลอยได้ของพืช จำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น
ข้าวโพด ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง หรือกากน้ำตาล ก็เป็นวิธีหนึ่งของการนำพลังงานจากชีวมวลมาใช้ เอทธิล
แอลกอฮอล์สามารถนำไปผสมในเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ นำไปใช้ทำยารักษาโรค เป็นเชื้อเพลิง และนำไปผสมกับ
น้ำมันเบนซิน เพื่อใช้กับเครื่องยนต์บางประเภทได้
การใช้พลังงานจากชีวมวล รู้จักใช้เพื่อโอกาสการได้ใช้ ชีวมวลเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปในประเทศของเรา การ
รู้จักนำมาใช้ในลักษณะต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ได้ใช้มากขึ้น เป็นความจริงที่ว่า เรายัง
จำเป็นต้องนำพลังงานจากชีวมวลมาใช้ และยิ่งจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นเท่าใด การใช้พลังงานจากชีวมวลก็ยิ่ง
เพิ่มขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวกัน ชีวมวลบางประเภท เช่น ป่าไม้ กำลังจะสูญหาย และลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากเรา
ไม่รู้จักนำมาใช้กันอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว เวลาและโอกาสที่เราจะได้ใช้ก็จะลดน้อยลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
เทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล
ปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้า โดยใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งระบบจะ
มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงระดับโรงไฟฟ้า โดยการเปลี่ยนชีวมวลเป็นพลังงานด้วยกระบวนการทางเคมี-ความร้อน มี
ระบบหลักๆ อยู่ 4 ระบบ คือ 1.การเผาไหม้โดยตรง (Direct-Fired) 2.การเผาไหม้โดยใช้เชื้อเพลิงสองชนิดขึ้นไป (Co-
Firing) 3.การผลิตก๊าซเชื้อเพลิง (Gasification) และ 4.ไพโรไลซิส (Pyrolysis) การผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลส่วน
3
ใหญ่เลือกใช้ระบบการเผาไหม้โดยตรง โดยนำเชื้อเพลิงชีวมวลมาเผาไหม้โดยตรงให้หม้อไอน้ำ (Boiler) ซึ่งไอน้ำที่ผลิต
ได้นี้จะถูกนำไปปั่นกังหันที่ต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำให้ได้กระแสไฟฟ้าออกมาและยังสามารถออกแบบให้นำไอ
น้ำที่ผ่านกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า (Condensing Turbine) มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบความร้อน ซึ่งการผลิตไอน้ำและไฟฟ้า
ร่วมกันนี้เรียกว่าระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration) ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิง
สูง โรงไฟฟ้าถ่านหินหลายแห่งสามารถนำระบบการเผาไหม้โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเผาร่วมกับถ่านหิน (Co-Firing) เพื่อ
เป็นการลดการปล่อยมลภาวะโดยเฉพาะก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
2. เทคโนโลยีการเผาไหม้ชีวมวล
ในปัจจุบันเชื้อเพลิงชีวมวลได้ถูกนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงพาณิชย์ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง
ชีวมวลที่นำมาใช้ได้มาจากเศษวัสดุเหลือใช้ที่เป็นของเสียจากกระบวนการผลิต เชื้อเพลิงชีวมวลสามารถ
นำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานได้หลายวิธี ได้แก่
▪ การเผาไหม้โดยตรง (Direct Combustion)
▪ การใช้ความร้อนสลายโมเลกุล (Thermochemical conversion) ประกอบด้วย
➢ กระบวนการไพโรไลซิส(Pyrolysis)
➢ กระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่น(Gasification)
➢ กระบวนการลิขวิดแฟคชั่น(Liquidfaction)
▪ การใช้ชีวเคมีสลายโมเลกุล (Biochemical conversion)ประกอบด้วย
➢ กระบวนการย่อยสลายโดยไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic digestion)
➢ กระบวนการหมัก (Yeast fermentation)
การเผาไหม้โดยตรงเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุดในการนำเชื้อเพลิงมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการเผาให้ได้ความร้อนเพื่อ
เอาก๊าซร้อนไปใช้ในกระบวนการผลิตเช่นการอบแห้งหรือการนำความร้อนที่ได้ไปผลิตไอน้ำร้อนที่มีความดันสูงเพื่อใช้
ในการผลิตไฟฟ้าเชื้อเพลิงจะถูกเผาไหม้โดยตรงภายในเตาเผาความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้จะถูกนำไปใช้ผลิตไอน้ำที่
มีอุณหภูมิและความดันสูงไอน้ำที่ผลิตได้นี้จะถูกนำไปใช้ขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือนำความร้อนไปใช้ใน
กระบวนการ
สำหรับการใช้ความร้อนสลายโมเลกุลของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้กับเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ การใช้กระบวนการ
แก๊สซิฟิเคชั่น โดยเปลี่ยนรูปแบบของเชื้อเพลิงชีวมวลให้เป็นก๊าซเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในเครื่องยนต์ สันดาปภายใน (Internal
Combustion Engine) กังหันก๊าซทั้งในวัฏจักรธรรมดาและ Combined Cycle หรือเพื่อใช้ในการผลิตเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel
Cell) การแยกสลายด้วยความร้อนแบบไม่มีออกซิเจน คือ เทคโนโลยีไพโรไลซิสและแก๊สซิฟิเคชั่น ซึ่งเป็นกระบวนการ
4
ที่ทำให้เกิดการออกซิเดชั่นบางส่วนกับออกซิเจน ไอน้ำ หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั้งสองกระบวนการเปลี่ยนชีว
มวลที่อยู่ในรูปของแข็งซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ให้กลายเป็นก๊าซที่เผาไหม้ได้
ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซไฮโดรเจน (H2) และก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซเหล่านี้จะถูกเผาไหม้เพื่อ
เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
การเผาไหม้เป็นวิธีที่ใช้กันมากในการนำเชื้อเพลิงมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการเผาให้ได้ความร้อนเพื่อเอาก๊าซร้อน
ไปใช้ในกระบวนการผลิตเช่นการอบแห้งหรือการนำความร้อนที่ได้ไปผลิตไอน้ำร้อนที่มีความดันสูงเพื่อใช้ในการผลิต
ไฟฟ้าเชื้อเพลิงจะถูกเผาไหม้โดยตรงภายในเตาเผาความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้จะถูกนำไปใช้ผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิ
และความดันสูงไอน้ำที่ผลิตได้นี้จะถูกนำไปใช้ขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือนำความร้อนไปใช้ในกระบวนการ
5
1. การเผาไหม้โดยตรง (combustion) เมื่อนำชีวมวลมาเผา จะได้ความร้อนออกมาตามค่าความร้อนของชนิดชีว
มวล ความร้อนที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ในการผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิและความดันสูง ไอน้ำนี้จะถูกนำไปขับ
กังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป ตัวอย่าง ชีวมวลประเภทนี้ คือ เศษวัสดุทางการเกษตร และเศษไม้
2. การผลิตก๊าซ (gasification) เป็นกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง เรียกว่า แก๊ส
ชีวภาพ (biogas) มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน ไฮโดรเจน และ คาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถนำไปใช้กับกังหันแก๊ส
(gas turbine)
3. การหมัก (fermentation) เป็นการนำชีวมวลมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้อากาศ ชีวมวลจะถูกย่อยสลาย
และแตกตัว เกิดแก๊สชีวภาพ (biogas) ที่มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทนใช้เป็น
เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า
4.การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากพืช มีกระบวนการที่ใช้ผลิตดังนี้
4.1 กระบวนการทางชีวภาพ ทำการย่อยสลายแป้ง น้ำตาล และเซลลูโลสจากพืชทางการเกษตร เช่น อ้อย มัน
สำปะหลังให้เป็นเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวในเครื่องยนต์เบนซิน
4.2 กระบวนการทางฟิสิกส์และเคมี โดยสกัดน้ำมันออกจากพืชน้ำมัน จากนั้นนำน้ำมันที่ได้ไปผ่าน
กระบวนการ transesterification เพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล
4.3 กระบวนการใช้ความร้อนสูง เช่น กระบวนการไพโรไลซิส เมื่อวัสดุทางการเกษตรได้ความร้อนสูงในสภาพไร้
ออกซิเจน จะเกิดการสลายตัว เกิดเป็นเชื้อเพลิงในรูปของเหลวและแก๊สผสมกัน
3.เทคโนโลยีพลังงานชีวมวล
- การสันดาป (Combustion Technology) การสันดาปเป็นปฏิกิริยาการรวมตัวกันของเชื้อเพลิงกับออกซิเจนอย่าง
รวดเร็วพร้อมเกิดการลุกไหม้และคายความร้อน ในการเผาไหม้ ส่วนใหญ่จะไม่ใช้ออกซิเจนล้วน ๆ แต่จะใช้อากาศ
แทน เนื่องจากอากาศมีออกซิเจนอยู่ 21% โดยปริมาณ หรือ 23% โดยน้ำหนัก
- การผลิตเชื้อเพลิงเหลว (Liquidification Technology)
- การผลิตก๊าซเชื้อเพลิง (Gasification Technology) กระบวนการ Gasification เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ที่มีอยู่ในชีวมวลที่สำคัญกระบวนการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงแบบ Thermal Conversion โดยมีส่วนประกอบ
ของ Producer gas ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไฮโดรเจน (H2) และมีเทน (CH4)
- การผลิตก๊าซโดยการหมัก (Anaerobic Digestion Technology) การผลิตก๊าซจากชีวมวลทางเคมีด้วยการย่อยสลาย
สารอินทรีย์ในที่ไม่มีอากาศหรือไม่มีออกซิเจนซึ่ง เรียกว่า ก๊าซชีวภาพ (Biogas) ได้ก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นหลัก
- การผลิตไฟฟ้าโดยใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง
- เตาแก๊สชีวมวล เตาแก๊สชีวมวลเป็นเตาที่จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการหุงต้มอาหารในครัวเรือน โดยใช้เศษไม้และ
เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง โดยมีหลักการทำงานแบบการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจากชีวมวล
(Gasifier) แบบอากาศไหลขึ้น (Updraf Gasifier) เป็นการเผาไหม้เชื้อเพลิงในที่ที่จำกัดปริมาณอากาศให้เกิดความร้อน
บางส่วนแล้วไปเร่งปฏิกริยาต่อเนื่องอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งให้กลายเป็นแก๊สเชื้อเพลิง ที่สามารถติดไฟได้ ได้แก่
แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) แก๊สไฮโดรเจน (H2) และแก๊สมีเธน (CH2) เป็นต้น
6
4.ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าชีวมวล
เทคโนโลยีของหม้อไอน้ำที่ใช้ในการผลิตของโรงไฟฟ้าเป็นแบบ Hydrograte Stoker โดยโรงไฟฟ้านี้จะทำการผลิต
กระแสไฟฟ้าตลอดทั้งปี (ฤดูหีบอ้อย หยุดรออ้อย ละลายน้ำตาล และขายไฟฟ้านอกฤดูกาล)
• เตรียมเชื้อเพลิงให้มีขนาดที่เหมาะสมก่อนการลำเลียงเข้าสู่ห้องเผาไหม้
• ลำเลียงเชื้อเพลิงแต่ละชนิดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ของหม้อไอน้ำ
(ชานอ้อยร้อยละ 95 และเชื้อเพลิงเสริม ร้อยละ 5)
• เริ่มระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ของหม้อไอน้ำ โดยกระบวนการนี้เริ่มจากการจุดไฟเผา ชานอ้อยอัด
แท่งจนได้อุณภูมิในห้องเผาไหม้ตามที่กำหนด จากนั้นจึงป้อนเชื้อเพลิงชีวมวลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ เชื้อเพลิงที่ป้อนเข้าไป
จะทำการเผาไหม้และลดการใช้ชานอ้อยอัดแท่งลงจนกระทั่งเชื้อเพลิงติดไฟได้อย่างต่อเนื่อง จึงหยุดใช้ชานอ้อยอัดแท่ง
สำหรับขี้เถ้าที่เหลืออยู่ในบริเวณท้ายของตะกรับจะตกลงสู่ก้นเตา และกวาดออกโดยสายพานลำเลียงเถ้า เรียกว่า
“เถ้าหนัก” ลงสู่อ่างน้ำรองรับเถ้า เพื่อลดอุณภูมิและลดการฟุ้งกระจายของขี้เถ้าก่อนลำเลียงด้วยสายพานลำเลียงเพื่อ
เก็บในบ่อเก็บเถ้ารอการขนถ่ายต่อไป ส่วนที่มีน้ำหนักเบาเรียกว่า “เถ้าเบา” เมื่อถูกเผาแล้วจะผสมในไอร้อนและ ลอย
ออกไปจากห้องเผาไหม้ทางช่องไอร้อน จะถูกดักจับไว้ด้วยอุปกรณ์ดักฝุ่น Vetruri Wet Scrubber เพื่อไม่ให้ระบายสู่
ภายนอก
• ไอน้ำความดันสูงที่ได้จากหม้อไอน้ำจะถูกส่งมาที่กังหันไอน้ำเพื่อเปลี่ยนพลังงานความร้อนของไอน้ำให้เป็น
พลังงานกล ใช้หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าต่อไป
• พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ผลิตได้ จะถูกส่งผ่านหม้อแปลงลดแรงดันไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงไฟฟ้า
และใช้ในโรงงานอื่นๆ ของกลุ่มมิตรผล ในส่วนพลังงานที่เหลือจะส่งผ่านไปยังหม้อแปลงเพิ่มแรงดันไฟฟ้า เพื่อส่ง
ขายให้การไฟฟ้าฯ
• ระบบหอหล่อเย็น – หอหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าเป็นระบบปิด ประกอบด้วยเครื่องควบแน่นและ หอหล่อเย็น เครื่อง
ควบแน่นทำหน้าที่ควบไอน้ำที่ผ่านออกมาจากกังหันน้ำ โดยการแลกเปลี่ยน ความร้อน น้ำหล่อเย็นที่ผ่านเครื่อง
ควบแน่นแล้ว ซึ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงถูกส่งไประบายความร้อนที่ หอหล่อเย็น ซึ่งจะนำกลับมาใช้ใหม่
โรงไฟฟ้าชีวมวล คือโรงไฟฟ้าที่ใช้เศษวัสดุต่างๆที่เป็นชีวมวล
เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า หรือ ผลิตไอน้ำ ซึ่งอาจเป็นวัสดุชนิด
เดียวกันหรือหลายชนิดรวมกัน เช่น โรงน้ำตาลใช้กากอ้อยที่ได้จาก
การหีบอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โรงสีขนาดใหญ่ที่ใช้
แกลบเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า การใช้ก๊าซชีวภาพ
(Biogas) จากการหมักน้ำเสีย (ที่ได้มาจากกระบวนการผลิตทาง
7
อุตสาหกรรม)หรือมูลสัตว์(จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์)มาผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีหลักการทำงานในทำนองเดียวกับโรงไฟฟ้า
พลังงานความร้อนทั่วไป ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าจะเริ่มด้วยการสูบน้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งผ่านการกรองแล้ว
เข้าสู่เครื่องผลิตไอน้ำ ขณะที่ชีวมวลต่างๆถูกลำเลียงเข้าสู่เครื่องบดเพื่อบดให้ละเอียด ก่อนส่งไปเข้าเตาเผาเพื่อให้เกิด
ความร้อนในระดับสูง ความร้อนที่ได้จะช่วยให้น้ำในเครื่องผลิตไอน้ำกลายสภาพเป็นไอ ไอน้ำแรงดันสูงนี้ ทำหน้าที่
หมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอีกที ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไอน้ำที่ใช้ในการหมุนกังหันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะ
ผ่านกระบวนการควบแน่นให้กลับมาเป็นน้ำและนำมาใช้หมุนเวียนหลายครั้ง จนสุดท้ายจึงถูกปรับคุณภาพให้อยู่ใน
เกณฑ์มาตรฐานซึ่งไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมแล้วปล่อยลงสู่บ่อพักน้ำขนาดใหญ่ เพื่อให้ระเหยหายไปเองตามธรรมชาติ
น้ำที่ผ่านกระบวนผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวลจึงไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฝุ่นผงซึ่งเกิดจากขั้นตอนการเผา
ไหม้ชีวมวล ก็ไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน มันจะถูกดักจับด้วยเครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตแรงสูง จึง
มั่นใจได้ว่าจะไม่มีฝุ่นและอองลอยออกไปสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อยู่อาศัยละแวกนั้น ส่วนขี้เถาที่ได้จากการเผาชีว
มวลยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น ใช้ เป็นวัสดุปรับคุณภาพดิน ใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ หรือ
อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น หรือจะใช้วิธีฝังกลบก็ได้เช่นกัน
โดยเหตุที่ประเทศไทยทำการเกษตรอย่างกว้างขวางวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย กาก
มะพร้าว ฯ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก (เทียบได้น้ำมันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร) ก็ควรจะใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า
ในเชิงพาณิชย์ได้ในกรณีของโรงเลื่อย โรงสี โรงน้ำตาล ฯ ขนาดใหญ่ อาจจะยินยอมให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบ
ไฟฟ้าของการไฟฟ้าต่างๆในประเทศในลักษณะของการผลิตร่วม (Co-generation) ซึ่งมีใช้อยู่แล้วหลายแห่งใน
ต่างประเทศโดยวิธีดังกล่าวแล้วจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศสำหรับส่วนรวมได้มาก
ยิ่งขึ้นทั้งนี้อาจจะรวมถึงการใช้ไม้ฟืนจากโครงการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่นับล้านไร่ในกรณีที่รัฐบาลจำเป็นต้องลด
ปริมาณการปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ฯ เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวทางด้านการตลาดของพืชทั้งสองชนิด อนึ่ง สำหรับ
ผลิตผลจากชีวมวลในลักษณะอื่นที่ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เช่น แอลกฮอล์ จากมันสำปะหลัง ก๊าซจากฟืน(Gasifier) ก๊าซ
จากการหมักเศษวัสดุเหลือจากการเกษตร(Bio Gas) ขยะ ฯ หากมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็อาจนำมาใช้เป็น
เชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน
8
5. ข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล
ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานชีวิมวล
1. เชื้อเพลิงมีราคาถูกเพราะเปป็นเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร
2. ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าอื่นๆ
3. ช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นเพราะสามารถใช้ผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิต
พลังงาน
ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล
1. อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพราะมีการเผาไหม้เชื้อเพลิง
2. เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กเหมาะสำหรับการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับชุมชน
3. ถ้าใช้ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่มีกำลังการผลิตต่ำกว่า 400 เมกกะวัตต์ จะมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ
6. ส่วนประกอบหลักของโรงไฟฟ้าชีวมวล
▪ งานฐานราก (CIVIL WORK)
▪ หม้อไอน้ำ (Boiler)
▪ ระบบลำเลียงเชื้อเพลิง (Fuel handing System)
▪ ระบบลำเลียงขี้เถ้า (Ash handing System)
▪ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Steam Turbine and Generator)
▪ ระบบน้ำ (Water Treatment System)
▪ ระบบควบคุม (Control and Instrument)
▪ ระบบเชื่อมต่อการไฟฟ้า (Transmission Line)
7. กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล
▪ น้ำดิบจากคลองชลประทานหรือแหล่งน้ำที่เตรียมไว้ นำไปผ่านกระบวนการกรองเพื่อเป็นน้ำประปาใช้ภายใน
โรงงาน, ในระบบหล่อเย็น และนำไปขจัดแร่ธาตุเพื่อส่งผ่านไปใช้ยังเครื่องผลิตไอน้ำ
▪ เชื้อเพลิงชีวมวลจะถูกลำเลียงจากลานกองด้วยสายพานต่อเนื่องเข้าสู่ห้องเผาไหม้เพื่อให้ความร้อนกับหม้อ
ไอน้ำ (Boiler) เพื่อผลิตไอน้ำ
▪ ไอน้ำแรงดันสูงที่ได้จะส่งต่อไปหมุนกังหันไอน้ำ (Turbines) ซึ่งต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เพื่อ
ผลิตกระแสไฟฟ้า
▪ ไอน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันไอน้ำแล้วยังคงมีความร้อนเหลืออยู่จะถูกนำไปผ่านเครื่อง ควบแน่น (Condenser)
เพื่อเปลี่ยนเป็นน้ำแล้วนำกลับเติมหม้อไอน้ำ (Boiler) เพื่อผลิตไอน้ำไปใช้ในระบบอีกครั้ง ส่วนน้ำหล่อเย็นที่รับ
ความร้อนมาจากเครื่องควบแน่น (Condenser) จะถูกส่งไปยังหอหล่อเย็น (Cooling Tower) เพื่อระบายความ
ร้อนและนำกลับมาหมุนเวียนเพื่อเป็นน้ำหล่อเย็นในระบบอีกครั้ง
▪ ไอร้อนและขี้เถ้าลอยจะถูกนำไปผ่าน เครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตแรงสูง (ESP) เพื่อดักจับฝุ่นก่อนปล่อย
ออกสู่ภายนอก
▪ ขี้เถ้าที่ถูกเก็บกักไว้ในเครื่องดักจะถูกลำเลียงบรรจุลงรถขนส่งขี้เถ้าหรือ บรรจุถุงที่คุณภาพแข็งแรงและปิด
มิดชิดเพื่อนำส่งลูกค้า เช่น อุตสาหกรรมเกษตรใช้เป็นวัสดุปรับคุณภาพดินอุตสาหกรรมซีเมนต์ และ
อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น
9
8. ประโยชน์ของพลังงานชีวภาพและการนำไปใช้งาน
1. ใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงชั้นดีในการผลิตพลังงานความร้อนกับการใช้ภายในฟาร์ม – ตรงจุดนี้นับว่าผู้ที่ประกอบกิจการ
ฟาร์มต่างๆ ค่อนข้างได้ประโยชน์ไปเต็มๆ จากการที่สามารถนำพลังงานชีวภาพมาใช้งานก็จะทำให้พวกเขาประหยัดค่า
ไฟได้อีก แถมยังไม่ต้องมาปวดหัวในเรื่องของระบบไฟที่อาจจะมีปัญหาได้
2. ใช้สำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานกล – มันก็คล้ายคลึงกับข้อแรกแต่ว่าอันนี้คือการนำมาผลิตเพื่อใช้
ประโยชน์ในด้านอื่นไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการใช้ภายในฟาร์มเพียงอย่างเดียว ซึ่งมันช่วยให้การใช้งานไฟฟ้าลดน้อยลง
เมื่อการใช้ไฟลดน้อยลงมันก็จะเกิดภาวะที่ดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น
3. ช่วยลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก – ด้วยความที่การใช้พลังงานชีวภาพจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกขึ้นกับโลกใบนี้ ซึ่งเมื่อมันสามารถลดลงได้ โอกาสที่จะเกิดภาวะ
ที่ว่าก็ลดน้อยลงไปทำให้โลกสามารถอยู่อาศัยต่อได้อีกยาวนานมากยิ่งขึ้น
4. นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร – กากตะกอนที่เหลือจากการทำพลังงานชีวภาพก็สามารถที่จะนำมาใช้เป็น
ปุ๋ยทางการเกษตรได้ แน่นอนว่าเรื่องของคุณภาพย่อมดีกว่าปุ๋ยคอกอยู่แล้ว ที่สำคัญคุณสมบัติยังล้นเหลือมากกว่า
ปุ๋ยเคมีที่ใช้งานกันอีกด้วย
5. ใช้ในภาคการขนส่ง – สามารถนำก๊าซชีวภาพที่ได้นี้มาใช้เป็นพลังงานทดแทนการใช้เชื้อเพลิงกับตัวเครื่องยนต์ คือ
สามารถติดตั้งระบบ 2 เชื้อเพลิงให้กับรถ แม้ว่ายังไม่ค่อยได้รับความนิยมเนื่องจากมีราคาแพงแต่ในอนาคตก็เชื่อว่า
น่าจะมีมากขึ้นอย่างแน่นอน
6. ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี – สามารถนำเอาก๊าซชีวภาพที่ว่านี้ไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี โดยสามารถใช้เป็น
สารตั้งต้นในการผลิตภัณฑ์เคมีประเภทต่างๆ
10
9. ศักยภาพชีวมวลในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง ในแต่ละปีจะมีผลพลอยได้จากผลผลิตทาง
การเกษตร หรือวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรกรรม เช่น ฟางข้าว แกลบ กากอ้อย กาก ใย ทะลายปาล์มเป็นต้น ปริมาณ
ของวัสดุชีวมวลที่เหลือทิ้งในแต่ละปีขึ้นกับผลผลิตการเกษตร โดยในปี 2549ดังตารางที่ 1 มีปริมาณสรุปได้ดังต่อ
นี้ ข้าว เป็นพืชที่มีความสำคัญมากในประเทศไทย ในแต่ละปีจะมีผลผลิตประมาณ 25 ล้านตัน โดยการผลิตข้าวของ
ประเทศมักจะมีวัสดุเหลือทิ้งที่สำคัญ คือ แกลบและฟางข้าว โดยแกลบจะมีปริมาณการใช้งานสูงสุดคือ 5 ล้านตันต่อ
ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ไปในการผลิตไฟฟ้าและการใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลทดแทน ส่วนที่เหลือจะมีเพียง 250,000 ตันต่อ
ปีเท่านั้น ส่วนฟางข้าวจะเป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งที่สำคัญที่สุดเพราะมีปริมาณสูงถึง 12.25 ล้านตันต่อปีและยังไม่ได้มีการ
นำไปใช้ประโยชน์เท่าที่ควร และประมาณการว่ามีซังข้าวที่ค้างอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 2.5 ล้านตันปีที่
เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะเผาทำลายเพื่อเตรียมพื้นที่ในการเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจ
สำคัญอีกอย่างของประเทศไทย ปัจจุบันผลผลิตของอ้อยมีจำนวนทั้งสิ้น 80 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีวัสดุเหลือทิ้งจากอ้อย
หลายอย่าง เช่น กากอ้อย ยอดและใบอ้อย โดยปกติกากอ้อยจะถูกนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงาน
ทั้งหมด ส่วนยอดและใบอ้อยมีปริมาณเหลืออยู่ 8.5 ล้านตันซึ่งยังไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์เพราะขาดเทคโนโลยี
ในการนำไปใช้ ซึ่งทำให้เศษวัสดุจากอ้อยนี้มักจะเป็นปัญหาในการกำจัดส่วนเกินออกจากพื้นที่เกษตรกรรม ไม้
ยางพารา เป็นพืชที่ประเทศไทยเพาะปลูกมากที่สุดในโลก และยังเป็นพืชที่มีความสำคัญในหลายอุตสาหกรรม มีกำลัง
การผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพาราประมาณ 250,000 ตันต่อปี โดยส่วนใหญ่จะมีวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตไม้
ยางพาราในแต่ละปี คือ ขี้เลื่อย ปีกไม้ ปลายไม้ รากไม้ ทั้งนี้วัสดุเหลือใช้ที่ได้จากขี้เลื่อยจะมีปริมาณเหลืออยู่ 690,000
ตันต่อปี ปีกไม้จะมีปริมาณเหลืออยู่ 2.2 ล้านตันต่อปี ปลายไม้ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือมากที่สุดจะมีปริมาณเหลืออยู่ 2.7
ล้านตันต่อปี ส่วนรากไม้ยางพาราจะมีปริมาณเหลือเพียง 1.15 ล้านตันต่อปี ที่ชาวสวนมักจะกำจัดโดยการเผา
ทิ้ง ปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีแนวโน้มของอัตราเติบโตที่สูงขึ้นในแต่ละปีเนื่องจากความต้องการนำไปใช้
ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลนั่นเอง ปัจจุบันประเทศไทยมีผลผลิตน้ำมันปาล์มประมาณ 5 ล้านตันต่อปี ซึ่งเศษวัสดุเหลือทิ้งที่
สำคัญคือ กากใยปาล์ม กะลาปาล์ม ทะลายเปล่า และทางปาล์ม โดยกากใยปาล์มมีปริมาณเหลือเพียงเล็กน้อยคือ
50,000 ตัน กะลาปาล์มมีปริมาณเหลือ 100,000 ตันในแต่ละปี ส่วนทะลายปาล์มมีปริมาณเหลือ 400,000 ตัน และ
ทางปาล์มเป็นเศษวัสดุที่เหลือทิ้งที่มีปริมาณมากที่สุดและมีการนำกลับไปใช้งานน้อยที่สุด ซึ่งในแต่ละปีจะมี
เหลือประมาณ 6.5 ล้านตัน มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการสูงขึ้นมากในหลายปีที่ผ่านมา โดย
ปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 17 ล้านตัน โดยมีเหง้ามันเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีปริมาณมากที่สุดคือ
ประมาณ 3.4 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีการนำกลับไปใช้งานเพียงเล็กน้อยและเหลืออยู่ในระบบประมาณ 3.35 ล้าน
ตัน ข้าวโพด เป็นพืชที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 4 ของประเทศ และยังมีความต้องการในปริมาณมากแต่ละปี โดย
ปัจจุบันมีผลผลิตข้าวโพดประมาณ 5 ล้านตันต่อปี โดยมีเศษวัสดุเหลือทิ้งที่สำคัญคือ ซังข้าวโพด ซึ่งมีปริมาณ
เหลืออยู่ในระบบประมาณ 3.8 ล้านตันต่อปี ไม้ยูคาลิปตัส เป็นพืชที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมกระดาษอีก
ชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี และเนื่องจากเป็นพืชที่เลี้ยงดูง่ายและเติบโตได้รวดเร็วจึงเป็น
ที่นิยมปลูกของเกษตรกร ขณะนี้พบว่ามีผลผลิตไม้ยูคาลิปตัสประมาณ 600,000 ตันต่อปี ซึ่งพบว่าเศษเปลือกไม้เป็น
วัสดุเหลือทิ้งที่มากที่สุด โดยมีปริมาณเหลืออยู่ 1.8 ล้านตันต่อปี และมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์เพียง
500,000 ตัน ซึ่งทำให้เหลือเป็นวัสดุเหลือทิ้งอยู่มากถึง 1.3 ล้านตันต่อปี จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุป
ได้ในตารางที่ 3.1 ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่าการนำวัสดุชีวมวลที่ได้จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของประเทศ
ไทยมีจำนวนมากพอที่จะนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงานและเชื้อเพลิงชีวมวลทดแทนการใช้พลังงานจากน้ำมันปิโตรเลียม
11
โดยเมื่อคำนวณเป็นพลังงานความร้อนจากวัสดุชีวมวลปริมาณ 43.29 ล้านตันต่อปี จะได้พลังงานที่สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้สูงถึง 414,600 TJ หรือ 9,817 ktoe ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการใช้วัสดุชีวมวลเป็นวัตถุดิบในการ
ลงทุนเพื่อผลิตพลังงานและเชื้อเพลิงชีวมวล
http://www.iscisaraburee.sc.chula.ac.th/2017/index.php/2016/06/06/i-sink-under-the-weight-of-the-splendour/
บรรณานุกรม
-https://www.ku.ac.th/e-magazine/jun51/know/know4.htm
-https://sites.google.com/site/energyandenvironment00/phlangngan-chiw-mwl
-http://53011711152.blogspot.com/2012/06/blog-post_19.html
-https://www.mitrphol.com/page_detail.php?p=2&topic=20
-https://sites.google.com/site/pvs038/electricity-production-of-thailand/prapheth-khxng-rong-fifa/kar-phlit-fifa-
phlangngan-chiw-mwl
-https://powerplant2.wordpress.com
-http://www.trueenergy.co.th/page/biomass
12
Biomass energy

More Related Content

What's hot

สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวันสะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
Siratcha Wongkom
 
ธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบwebsite22556
 
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุCoverslide Bio
 
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 
ปฏิกิริยาชองแอลเคน
ปฏิกิริยาชองแอลเคนปฏิกิริยาชองแอลเคน
ปฏิกิริยาชองแอลเคนMaruko Supertinger
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1พัน พัน
 
ใบความรู้เรื่องแสง
ใบความรู้เรื่องแสงใบความรู้เรื่องแสง
ใบความรู้เรื่องแสง
พัน พัน
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
rewat Chitthaing
 
โครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดโครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดพัน พัน
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์Aomiko Wipaporn
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์สมศรี หอมเนียม
 
Learning force p5
Learning force p5Learning force p5
Learning force p5
Ornrutai
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51
Krusupharat
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบwebsite22556
 
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุลบทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุลJariya Jaiyot
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2Tanchanok Pps
 
บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิตบทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
Pinutchaya Nakchumroon
 
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊สWan Ngamwongwan
 

What's hot (20)

สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวันสะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
 
ธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบ
 
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
 
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์
 
ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1
 
ปฏิกิริยาชองแอลเคน
ปฏิกิริยาชองแอลเคนปฏิกิริยาชองแอลเคน
ปฏิกิริยาชองแอลเคน
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
 
ใบความรู้เรื่องแสง
ใบความรู้เรื่องแสงใบความรู้เรื่องแสง
ใบความรู้เรื่องแสง
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
 
โครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดโครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติด
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
 
Learning force p5
Learning force p5Learning force p5
Learning force p5
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์
 
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
 
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุลบทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
 
บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิตบทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
 
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
 

Similar to Biomass energy

การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6Wichai Likitponrak
 
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1Wichai Likitponrak
 
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอกบท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
Wichai Likitponrak
 
เรื่องปัญหายาเสพติด
เรื่องปัญหายาเสพติดเรื่องปัญหายาเสพติด
เรื่องปัญหายาเสพติด
พัน พัน
 
การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1Wichai Likitponrak
 
2560 project -1-1
2560 project -1-12560 project -1-1
2560 project -1-1
Gitniphat Prom
 
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2Wichai Likitponrak
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืช
Wichai Likitponrak
 
Pp tbio5lessonplanthormone
Pp tbio5lessonplanthormonePp tbio5lessonplanthormone
Pp tbio5lessonplanthormone
Wichai Likitponrak
 
ระบบนิเวศ3
ระบบนิเวศ3ระบบนิเวศ3
ระบบนิเวศ3
chirapa
 
การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1Wichai Likitponrak
 
M6 144 60_9
M6 144 60_9M6 144 60_9
M6 144 60_9
Wichai Likitponrak
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDFโครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
Wichitchai Buathong
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงานduckbellonly
 
ปัญหาสิ่งเเวดล้อม
ปัญหาสิ่งเเวดล้อมปัญหาสิ่งเเวดล้อม
ปัญหาสิ่งเเวดล้อม
พัน พัน
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศdnavaroj
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง10846
 
พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททพยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
pakpoomounhalekjit
 
9789740328322
97897403283229789740328322
9789740328322
CUPress
 

Similar to Biomass energy (20)

การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6
 
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
 
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอกบท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
 
เรื่องปัญหายาเสพติด
เรื่องปัญหายาเสพติดเรื่องปัญหายาเสพติด
เรื่องปัญหายาเสพติด
 
การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1
 
2560 project -1-1
2560 project -1-12560 project -1-1
2560 project -1-1
 
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืช
 
Pp tbio5lessonplanthormone
Pp tbio5lessonplanthormonePp tbio5lessonplanthormone
Pp tbio5lessonplanthormone
 
ระบบนิเวศ3
ระบบนิเวศ3ระบบนิเวศ3
ระบบนิเวศ3
 
การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1
 
M6 144 60_9
M6 144 60_9M6 144 60_9
M6 144 60_9
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDFโครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
ปัญหาสิ่งเเวดล้อม
ปัญหาสิ่งเเวดล้อมปัญหาสิ่งเเวดล้อม
ปัญหาสิ่งเเวดล้อม
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
 
พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททพยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
 
9789740328322
97897403283229789740328322
9789740328322
 

More from pitsanu duangkartok

cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...
cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...
cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...
pitsanu duangkartok
 
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdf
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdfบทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdf
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdf
pitsanu duangkartok
 
steroid.pdf
steroid.pdfsteroid.pdf
steroid.pdf
pitsanu duangkartok
 
Hormone exercise
Hormone exerciseHormone exercise
Hormone exercise
pitsanu duangkartok
 
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdf
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdfการลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdf
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdf
pitsanu duangkartok
 
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1
pitsanu duangkartok
 
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdf
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdfMelatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdf
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdf
pitsanu duangkartok
 
Carbohydrates และ Glycobiology.pdf
Carbohydrates และ Glycobiology.pdfCarbohydrates และ Glycobiology.pdf
Carbohydrates และ Glycobiology.pdf
pitsanu duangkartok
 
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdfโครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
pitsanu duangkartok
 
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdfมลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
pitsanu duangkartok
 
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdfอาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
pitsanu duangkartok
 
Pharmaceutical Suspensions.pptx
Pharmaceutical Suspensions.pptxPharmaceutical Suspensions.pptx
Pharmaceutical Suspensions.pptx
pitsanu duangkartok
 
Metabolism and Energy.pdf
Metabolism and Energy.pdfMetabolism and Energy.pdf
Metabolism and Energy.pdf
pitsanu duangkartok
 
Ecosystem part 2
Ecosystem part 2Ecosystem part 2
Ecosystem part 2
pitsanu duangkartok
 
ecosystem
ecosystemecosystem
Photosynthesis
PhotosynthesisPhotosynthesis
Photosynthesis
pitsanu duangkartok
 
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdfCellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
pitsanu duangkartok
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
pitsanu duangkartok
 
Common Chemotherapy Drugs.pdf
Common Chemotherapy Drugs.pdfCommon Chemotherapy Drugs.pdf
Common Chemotherapy Drugs.pdf
pitsanu duangkartok
 
สรีรวิทยา (part 3)
สรีรวิทยา (part 3)สรีรวิทยา (part 3)
สรีรวิทยา (part 3)
pitsanu duangkartok
 

More from pitsanu duangkartok (20)

cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...
cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...
cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...
 
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdf
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdfบทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdf
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdf
 
steroid.pdf
steroid.pdfsteroid.pdf
steroid.pdf
 
Hormone exercise
Hormone exerciseHormone exercise
Hormone exercise
 
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdf
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdfการลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdf
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdf
 
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1
 
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdf
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdfMelatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdf
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdf
 
Carbohydrates และ Glycobiology.pdf
Carbohydrates และ Glycobiology.pdfCarbohydrates และ Glycobiology.pdf
Carbohydrates และ Glycobiology.pdf
 
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdfโครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
 
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdfมลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
 
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdfอาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
 
Pharmaceutical Suspensions.pptx
Pharmaceutical Suspensions.pptxPharmaceutical Suspensions.pptx
Pharmaceutical Suspensions.pptx
 
Metabolism and Energy.pdf
Metabolism and Energy.pdfMetabolism and Energy.pdf
Metabolism and Energy.pdf
 
Ecosystem part 2
Ecosystem part 2Ecosystem part 2
Ecosystem part 2
 
ecosystem
ecosystemecosystem
ecosystem
 
Photosynthesis
PhotosynthesisPhotosynthesis
Photosynthesis
 
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdfCellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
 
Common Chemotherapy Drugs.pdf
Common Chemotherapy Drugs.pdfCommon Chemotherapy Drugs.pdf
Common Chemotherapy Drugs.pdf
 
สรีรวิทยา (part 3)
สรีรวิทยา (part 3)สรีรวิทยา (part 3)
สรีรวิทยา (part 3)
 

Biomass energy

  • 2. รายงาน เรื่อง พลังงานชีวมวล (Biomass Energy) จัดทำโดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 4 นาย ชิษณุชา มณีจักร เลขที่ 5 นาย พิศิษฐ์ พิสุทธิพันธ์พงศ์ เลขที่ 28 นาย กีรติ วานิชกุลวิริยะ เลขที่ 31 นางสาว ณัฐฐิญา ธนนันท์วิชยุทธ เลขที่ 32 นาย พิษณุ ดวงกระโทก เลขที่ 40 นางสาว ณัฏฐนิดา ปันตะทา เลขที่ 44 นาย เชาว์วรรธน์ ไชยวิลาส เลขที่ 47 นางสาว ขวัญลดา ชาญอนุรักษ์ เลขที่ 52 นางสาว นภัสพร มุทุมล เลขที่ 53 นาย ภูเบศวร์ บูรณทอง เลขที่ 54 เสนอ คุณครู ฤดีมาศ พลยา รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ว32102 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
  • 3. สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ชีวมวลคืออะไร 1 พลังงานชีวมวลหมายถึง 1 ข้อดีของการใช้พลังงานชีวมวล 2 เรานำพลังงานชีวมวลมาใช้ได้อย่างไร 2 เชื้อเพลิงเขียวอัดแท่ง 2 เตาหุงต้มซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูง 3 แก๊สชีวมวล 3 แก๊สชีวภาพ 3 แอลกอฮอล์ 3 การใช้พลังงานจากชีวมวล 3 เทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล 3 เทคโนโลยีการเผาไหม้ชีวมวล 4 ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าชีวมวล 7 ข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล 9 กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล 9 ประโยชน์ของพลังงานชีวภาพและการนำไปใช้งาน 10 ศักยภาพชีวมวลในประเทศไทย 11 บรรณานุกรม 12 ข 11
  • 4. คำนำ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีผลผลิตทางการเกษตรรวมถึงผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตร ที่มีศักยภาพสูงสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนได้ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น โดยการ แปรรูป ชานอ้อย ใยและกะลาปาล์ม แกลบ และซังข้าวโพด เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนสำหรับใช้ ในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม ส่วนกากน้ำตาล น้ำอ้อย และมันสำปะหลังใช้ผลิตเอทานอล และน้ำมันปาล์ม และส เตรีนใช้ผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น เพื่อจะได้เป็นตลาดทางเลือกสำหรับผลิตผลการเกษตรไทย ซึ่งจะสามารถช่วยดูดซับ ผลผลิตทางการเกษตรและช่วยทำให้ราคาผลผลิตการเกษตรมีเสถียรภาพ และภาครัฐไม่ต้องจัดสรรงบประมาณมา ประกันราคาพืชผลผลิตดังกล่าว ประกอบกับเทคโนโลยี พลังงานทดแทนจากพืชพลังงานเป็นเทคโนโลยีที่ได้มีการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจหรือเกือบคุ้มทุนหากได้รับการสนับสนุนอีกเพียงเล็กน้อยจาก ภาครัฐบาล นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแหล่งพลังงานจากธรรมชาติที่จัดเป็นพลังงานหมุนเวียน เช่น ไฟฟ้าพลังน้ำ ขนาดเล็ก พลังลม และพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะสามารถใช้ผลิตพลังงานทดแทนได้ นอกจากนั้นมีการพัฒนาเชื้อเพลิง ชีวภาพ ได้แก่ เอทานอลและไบโอดีเซล รวมทั้งพลังงานความร้อนและก๊าซ NGV ซึ่งก่อให้เกิดสัดส่วนการใช้พลังงาน ทดแทนได้ 20% หวังว่ารายงานฉบับนี้จะช่วยให้ผู้สนใจหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยให้ผู้สนใจมีความเข้าใจในแนว ทางการพัฒนาพลังงานทดแทนมาใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ สร้าง ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ รวมทั้งลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม อย่างยั่งยืนต่อไป คณะผู้จัดทำ ก
  • 5. ชีวมวลคืออะไร ? ชีวมวล หมายถึง สิ่งที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น ต้นไม้ อ้อย มันสำปะหลัง ถ่ายฟืนแกลบ วัชพืชต่าง ๆ หรือ แม้กระทั่ง ขยะและมูลสัตว์ ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานอยู่มาก หากรู้จักนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจะสามารถ ลดการใช้พลังงานด้านอื่น อาทิ พลังงานจากน้ำมัน ไฟฟ้า แก๊ส ถ่านหิน ฯลฯ ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานที่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการสูญเสียเงินตราของประเทศ ในการนำเข้าเชื้อเพลิงดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้นการคิดค้น และพัฒนาการนำชีวมวลมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ จึงเป็นการแสวงหาหนทางใหม่ ในการใช้พลังงาน เพื่ออนาคต ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายาม ลดความสูญเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานด้วยเช่นกัน 1. พลังงานชีวมวลหมายถึง ? พลังงานชีวมวล หมายถึง พลังงานที่ได้จากชีวมวลชนิดต่างๆ โดยกระบวนการแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงาน รูปแบบต่างๆ พลังงานชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน เป็นการนำพลังงานจากมวลของสิ่งมีชีวิต เช่น พืชหรือสัตว์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในชีวมวลจะประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนออกซิเจนกำมะถันไนโตรเจน ซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานได้ เพราะในขั้นตอนการเจริญเติบโตของพืชนั้น พืชได้ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับ น้ำ และเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงทำให้ได้แป้งและน้ำตาล และนำไปเก็บไว้ ตามส่วนต่างๆของพืช ดังนั้นเมื่อนำพืชมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เราจึงได้พลังงานออกมาทั้งที่ได้จากพืชโดยตรงและโดย อ้อม พลังงานชีวมวลแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ดังนี้ ประเภทที่ 1 คือ เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง จากการรวบรวมและประมาณการปริมาณชีวมวล ได้แก่ ไม้ ขี้เลื่อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย มูลสัตว์ ถ่าน เขา เปลือกสัตว์หรือเปลือกพืช อาทิแกลบข้าว ฝ้าย ถั่งลิสง ประเภทที่ 2 คือ เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว จากการรวบรวมและประมาณการปริมาณชีวมวลที่สามารถนำมาผลิต เชื้อเพลิงชีวภาพแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก 1. แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์มีสถานะเป็นของเหลวระเหยง่าย แอลกอฮอล์ที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงมี 2 ชนิด คือ เอทานอล(แอลกอฮอล์ที่รับประทานได้ผลิตจากพืช) และเมทานอล(แอลกอฮอล์ที่ไม่สามารถรับประทาน ได้ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล) 2. ไบโอดีเซล ที่ผลิตจากน้ำมันพืช ไขสัตว์และน้ำมันพืชใช้แล้ว โดยผ่านกรรมวิธีทางเคมี น้ำมันจากขยะ เป็น น้ำมันซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพคล้ายคลึงกับปิโตรเลียม สามารถสกัดจากขยะชีวมวลมาใช้งานได้ ประเภทที่ 3 คือ เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ เช่น ก๊าซชีวภาพ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของของเสีย การผลิตก๊าซชีวภาพ ทำโดยการหมักมูลสัตว์ ขยะชุมชน และน้ำเสียจากอุตสาหกรรม ก๊าซชีวภาพภสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการ 1
  • 6. ปรุงอาหาร และกระบวนการอื่นๆ ที่ต้องการใช้ความร้อน ส่วนของเหลือจากถังหมักเมื่อสะสมมากๆ ยังนำไปใช้เป็น ปุ๋ยได้อีกด้วย ปัจจุบันครอบครัวตามชนบทสามารถผลิตเชื้อเพลิงแบบนี้ใช้ได้เอง พลังงานชีวมวลและเชื้อเพลิงฟอสซิลมีความคล้ายกันตรงที่เป็นพลังงานที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน แต่ต่างกัน ที่พลังชีวมวลเป็นพลังงานที่ได้จากสิ่งมีชีวิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ในขณะที่ เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นซากของสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการทับถมภายใต้ความกดดัน ความร้อนเป็นเวลานาน คุณสมบัติของ พลังงานจากชีวมวลแต่ละชนิดมีแตกต่างกันไป เช่นแกลบ จะให้ค่าความร้อนสูง เนื่องจากมีความชื้นต่ำและไม่ต้อง ผ่านการบดย่อยก่อนนำไปเผาไหม้ โดยขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาแกลบสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กและ แก้วได้ ส่วนชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงที่เผาไหม้แล้วมีปริมาณขี้เถ้าน้อย จึงมีปัญหาในการจัดการน้อย และขี้เถ้าดังยัง สามารถนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินในไร่อ้อยได้อีก ข้อดีของการใช้พลังงานชีวมวล 1. เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เนื่องจากมีปริมาณกำมะถันต่ำกว่าเชื้อเพลิงประเภทอื่นมาก 2. ไม่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก นอกจากนี้การนำแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่ภายในประเทศมาใช้ถือเป็นการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรจากการขายวัสดุทางการเกษตรที่เหลือใช้ เรานำพลังงานชีวมวลมาใช้ได้อย่างไร ? เชื้อเพลิงเขียวอัดแท่ง ได้มีการพัฒนาเพื่อผลิตก้อนชีวมวล หรือที่เรียกว่าเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่ง โดยวัสดุเหลือทิ้ง เช่น แกลบ ชานอ้อย มัน สำปะหลัง ผักตบชวามาใส่เครื่องสับ เพื่อสับให้ละเอียด ผสมคลุกเคล้ากันให้ได้สัดส่วน และมีความชื้นที่พอเหมาะ นำไปอัดเป็นแท่ง จากนั้นจึงนำไปตากแดด หรือเข้าตู้อบให้แห้ง แท่งอัดชีวมวลที่ได้จะมีรูพรุนมาก จึงมีพืนผิวสำหรับให้ เผาไหม้มาก ทำให้จุดติดไฟได้ง่าย และให้ความร้อนสูง เราสามารถนำพลังงานจากชีวมวลมาใช้ได้ โดยกระบวนการที่ใช้ความร้อน และกระบวนการ ชีวภาพ การใช้พลังงานชีวมวลโดยกระบวนการที่ใช้ความร้อน เราจะเห็นได้ทั่วไปในลักษณะของ การนำถ่านไม้ หรือฟืนมาจุดไฟ เพื่อให้เกิดความร้อน สำหรับนำไปใช้ในการหุงต้มอาหาร หรือ ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ การขาดทรัพยากรป่าไม้ ถ่าน และฟืน หา ได้ยาก และมีราคาแพงขึ้น ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาการใช้พลังงานจากชีวมวลให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด และให้มีการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ให้น้อยที่สุด 2
  • 7. เตาหุงต้มซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูง เตาเป็นอุปกรณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้พลังงานชีวภาพมากยิ่งขึ้น เรานำเตาหุงต้มที่ใช้กันทั่วไป หรือ เรียกว่า "เตาอั้งโล่" มาพัฒนาเป็นเตาหุงต้มซูเปอร์อั้งโล่ ให้มีลักษณะรูปร่างเพรียว น้ำหนักเบา สะดวกในการ เคลื่อนย้าย ปากเตาลาดเอียง สามารถวางหม้อได้ถึง 9 ขนาด ตั้งแต่เบอร์ 16-32 ปรับปรุงให้ช่องใส่ถ่านมีขนาด พอเหมาะสำหรับการปรุงอาหาร เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงมากเกินความจำเป็น ส่วนขอบเตาเสมอกันโดยรอบ มีฉนวน กันความร้อนอย่างหนาอยู่ระหว่างตัวเตากับเปลือกเตา เพื่อลดการสูญเสีย ความร้อนไปยังอากาศภายนอกโดยเปล่า ประโยชน์ รวมทั้งออกแบบและผลิตรูรังผึ้งให้มีขนาดเล็ก และเรียว เพื่อให้สามารถดูดอากาศได้ดี ช่วยให้ไฟติดง่ายและ เร็ว เผาไหม้สมบูรณ์ ให้ความร้อนสูงอย่างต่อเนื่อง แก๊สชีวมวล นอกจากนี้ ยังมีการนำชีวมวลมาเผาไหม้ในอุปกรณ์ที่มีอากาศจำกัด เพื่อให้เกิดเป็นแก๊สเชื้อเพลิง แล้วนำแก๊สที่ได้จากการเผาไหม้ไปผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อกรองและขจัดสิ่งเจือปนออก แก๊สที่ได้นี้เรียกว่า "แก๊สชีว มวล" สามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในได้ แก๊สชีวภาพ การใช้พลังงานชีวมวลอีกลักษณะหนึ่งที่สามารถทำได้ โดยกระบวนการทางชีวภาพคือ การนำมูล สัตว์ ขยะ น้ำเสีย มาหมักสภาพที่ไม่มีอากาศ ปล่อยให้เกิดกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ได้แก๊ส ชีวภาพ สำหรับนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง แอลกอฮอล์ การผลิตเอทธิลแอลกอฮอล์จากผลผลิต หรือผลพลอยได้ของพืช จำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าวโพด ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง หรือกากน้ำตาล ก็เป็นวิธีหนึ่งของการนำพลังงานจากชีวมวลมาใช้ เอทธิล แอลกอฮอล์สามารถนำไปผสมในเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ นำไปใช้ทำยารักษาโรค เป็นเชื้อเพลิง และนำไปผสมกับ น้ำมันเบนซิน เพื่อใช้กับเครื่องยนต์บางประเภทได้ การใช้พลังงานจากชีวมวล รู้จักใช้เพื่อโอกาสการได้ใช้ ชีวมวลเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปในประเทศของเรา การ รู้จักนำมาใช้ในลักษณะต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ได้ใช้มากขึ้น เป็นความจริงที่ว่า เรายัง จำเป็นต้องนำพลังงานจากชีวมวลมาใช้ และยิ่งจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นเท่าใด การใช้พลังงานจากชีวมวลก็ยิ่ง เพิ่มขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวกัน ชีวมวลบางประเภท เช่น ป่าไม้ กำลังจะสูญหาย และลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากเรา ไม่รู้จักนำมาใช้กันอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว เวลาและโอกาสที่เราจะได้ใช้ก็จะลดน้อยลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน เทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล ปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้า โดยใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งระบบจะ มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงระดับโรงไฟฟ้า โดยการเปลี่ยนชีวมวลเป็นพลังงานด้วยกระบวนการทางเคมี-ความร้อน มี ระบบหลักๆ อยู่ 4 ระบบ คือ 1.การเผาไหม้โดยตรง (Direct-Fired) 2.การเผาไหม้โดยใช้เชื้อเพลิงสองชนิดขึ้นไป (Co- Firing) 3.การผลิตก๊าซเชื้อเพลิง (Gasification) และ 4.ไพโรไลซิส (Pyrolysis) การผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลส่วน 3
  • 8. ใหญ่เลือกใช้ระบบการเผาไหม้โดยตรง โดยนำเชื้อเพลิงชีวมวลมาเผาไหม้โดยตรงให้หม้อไอน้ำ (Boiler) ซึ่งไอน้ำที่ผลิต ได้นี้จะถูกนำไปปั่นกังหันที่ต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำให้ได้กระแสไฟฟ้าออกมาและยังสามารถออกแบบให้นำไอ น้ำที่ผ่านกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า (Condensing Turbine) มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบความร้อน ซึ่งการผลิตไอน้ำและไฟฟ้า ร่วมกันนี้เรียกว่าระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration) ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิง สูง โรงไฟฟ้าถ่านหินหลายแห่งสามารถนำระบบการเผาไหม้โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเผาร่วมกับถ่านหิน (Co-Firing) เพื่อ เป็นการลดการปล่อยมลภาวะโดยเฉพาะก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2. เทคโนโลยีการเผาไหม้ชีวมวล ในปัจจุบันเชื้อเพลิงชีวมวลได้ถูกนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงพาณิชย์ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง ชีวมวลที่นำมาใช้ได้มาจากเศษวัสดุเหลือใช้ที่เป็นของเสียจากกระบวนการผลิต เชื้อเพลิงชีวมวลสามารถ นำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานได้หลายวิธี ได้แก่ ▪ การเผาไหม้โดยตรง (Direct Combustion) ▪ การใช้ความร้อนสลายโมเลกุล (Thermochemical conversion) ประกอบด้วย ➢ กระบวนการไพโรไลซิส(Pyrolysis) ➢ กระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่น(Gasification) ➢ กระบวนการลิขวิดแฟคชั่น(Liquidfaction) ▪ การใช้ชีวเคมีสลายโมเลกุล (Biochemical conversion)ประกอบด้วย ➢ กระบวนการย่อยสลายโดยไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic digestion) ➢ กระบวนการหมัก (Yeast fermentation) การเผาไหม้โดยตรงเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุดในการนำเชื้อเพลิงมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการเผาให้ได้ความร้อนเพื่อ เอาก๊าซร้อนไปใช้ในกระบวนการผลิตเช่นการอบแห้งหรือการนำความร้อนที่ได้ไปผลิตไอน้ำร้อนที่มีความดันสูงเพื่อใช้ ในการผลิตไฟฟ้าเชื้อเพลิงจะถูกเผาไหม้โดยตรงภายในเตาเผาความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้จะถูกนำไปใช้ผลิตไอน้ำที่ มีอุณหภูมิและความดันสูงไอน้ำที่ผลิตได้นี้จะถูกนำไปใช้ขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือนำความร้อนไปใช้ใน กระบวนการ สำหรับการใช้ความร้อนสลายโมเลกุลของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้กับเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ การใช้กระบวนการ แก๊สซิฟิเคชั่น โดยเปลี่ยนรูปแบบของเชื้อเพลิงชีวมวลให้เป็นก๊าซเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในเครื่องยนต์ สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine) กังหันก๊าซทั้งในวัฏจักรธรรมดาและ Combined Cycle หรือเพื่อใช้ในการผลิตเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) การแยกสลายด้วยความร้อนแบบไม่มีออกซิเจน คือ เทคโนโลยีไพโรไลซิสและแก๊สซิฟิเคชั่น ซึ่งเป็นกระบวนการ 4
  • 9. ที่ทำให้เกิดการออกซิเดชั่นบางส่วนกับออกซิเจน ไอน้ำ หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั้งสองกระบวนการเปลี่ยนชีว มวลที่อยู่ในรูปของแข็งซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ให้กลายเป็นก๊าซที่เผาไหม้ได้ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซไฮโดรเจน (H2) และก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซเหล่านี้จะถูกเผาไหม้เพื่อ เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน การเผาไหม้เป็นวิธีที่ใช้กันมากในการนำเชื้อเพลิงมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการเผาให้ได้ความร้อนเพื่อเอาก๊าซร้อน ไปใช้ในกระบวนการผลิตเช่นการอบแห้งหรือการนำความร้อนที่ได้ไปผลิตไอน้ำร้อนที่มีความดันสูงเพื่อใช้ในการผลิต ไฟฟ้าเชื้อเพลิงจะถูกเผาไหม้โดยตรงภายในเตาเผาความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้จะถูกนำไปใช้ผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิ และความดันสูงไอน้ำที่ผลิตได้นี้จะถูกนำไปใช้ขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือนำความร้อนไปใช้ในกระบวนการ 5
  • 10. 1. การเผาไหม้โดยตรง (combustion) เมื่อนำชีวมวลมาเผา จะได้ความร้อนออกมาตามค่าความร้อนของชนิดชีว มวล ความร้อนที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ในการผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิและความดันสูง ไอน้ำนี้จะถูกนำไปขับ กังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป ตัวอย่าง ชีวมวลประเภทนี้ คือ เศษวัสดุทางการเกษตร และเศษไม้ 2. การผลิตก๊าซ (gasification) เป็นกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง เรียกว่า แก๊ส ชีวภาพ (biogas) มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน ไฮโดรเจน และ คาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถนำไปใช้กับกังหันแก๊ส (gas turbine) 3. การหมัก (fermentation) เป็นการนำชีวมวลมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้อากาศ ชีวมวลจะถูกย่อยสลาย และแตกตัว เกิดแก๊สชีวภาพ (biogas) ที่มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทนใช้เป็น เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า 4.การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากพืช มีกระบวนการที่ใช้ผลิตดังนี้ 4.1 กระบวนการทางชีวภาพ ทำการย่อยสลายแป้ง น้ำตาล และเซลลูโลสจากพืชทางการเกษตร เช่น อ้อย มัน สำปะหลังให้เป็นเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวในเครื่องยนต์เบนซิน 4.2 กระบวนการทางฟิสิกส์และเคมี โดยสกัดน้ำมันออกจากพืชน้ำมัน จากนั้นนำน้ำมันที่ได้ไปผ่าน กระบวนการ transesterification เพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล 4.3 กระบวนการใช้ความร้อนสูง เช่น กระบวนการไพโรไลซิส เมื่อวัสดุทางการเกษตรได้ความร้อนสูงในสภาพไร้ ออกซิเจน จะเกิดการสลายตัว เกิดเป็นเชื้อเพลิงในรูปของเหลวและแก๊สผสมกัน 3.เทคโนโลยีพลังงานชีวมวล - การสันดาป (Combustion Technology) การสันดาปเป็นปฏิกิริยาการรวมตัวกันของเชื้อเพลิงกับออกซิเจนอย่าง รวดเร็วพร้อมเกิดการลุกไหม้และคายความร้อน ในการเผาไหม้ ส่วนใหญ่จะไม่ใช้ออกซิเจนล้วน ๆ แต่จะใช้อากาศ แทน เนื่องจากอากาศมีออกซิเจนอยู่ 21% โดยปริมาณ หรือ 23% โดยน้ำหนัก - การผลิตเชื้อเพลิงเหลว (Liquidification Technology) - การผลิตก๊าซเชื้อเพลิง (Gasification Technology) กระบวนการ Gasification เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ที่มีอยู่ในชีวมวลที่สำคัญกระบวนการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงแบบ Thermal Conversion โดยมีส่วนประกอบ ของ Producer gas ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไฮโดรเจน (H2) และมีเทน (CH4) - การผลิตก๊าซโดยการหมัก (Anaerobic Digestion Technology) การผลิตก๊าซจากชีวมวลทางเคมีด้วยการย่อยสลาย สารอินทรีย์ในที่ไม่มีอากาศหรือไม่มีออกซิเจนซึ่ง เรียกว่า ก๊าซชีวภาพ (Biogas) ได้ก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นหลัก - การผลิตไฟฟ้าโดยใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง - เตาแก๊สชีวมวล เตาแก๊สชีวมวลเป็นเตาที่จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการหุงต้มอาหารในครัวเรือน โดยใช้เศษไม้และ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง โดยมีหลักการทำงานแบบการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจากชีวมวล (Gasifier) แบบอากาศไหลขึ้น (Updraf Gasifier) เป็นการเผาไหม้เชื้อเพลิงในที่ที่จำกัดปริมาณอากาศให้เกิดความร้อน บางส่วนแล้วไปเร่งปฏิกริยาต่อเนื่องอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งให้กลายเป็นแก๊สเชื้อเพลิง ที่สามารถติดไฟได้ ได้แก่ แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) แก๊สไฮโดรเจน (H2) และแก๊สมีเธน (CH2) เป็นต้น 6
  • 11. 4.ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าชีวมวล เทคโนโลยีของหม้อไอน้ำที่ใช้ในการผลิตของโรงไฟฟ้าเป็นแบบ Hydrograte Stoker โดยโรงไฟฟ้านี้จะทำการผลิต กระแสไฟฟ้าตลอดทั้งปี (ฤดูหีบอ้อย หยุดรออ้อย ละลายน้ำตาล และขายไฟฟ้านอกฤดูกาล) • เตรียมเชื้อเพลิงให้มีขนาดที่เหมาะสมก่อนการลำเลียงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ • ลำเลียงเชื้อเพลิงแต่ละชนิดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ของหม้อไอน้ำ (ชานอ้อยร้อยละ 95 และเชื้อเพลิงเสริม ร้อยละ 5) • เริ่มระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ของหม้อไอน้ำ โดยกระบวนการนี้เริ่มจากการจุดไฟเผา ชานอ้อยอัด แท่งจนได้อุณภูมิในห้องเผาไหม้ตามที่กำหนด จากนั้นจึงป้อนเชื้อเพลิงชีวมวลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ เชื้อเพลิงที่ป้อนเข้าไป จะทำการเผาไหม้และลดการใช้ชานอ้อยอัดแท่งลงจนกระทั่งเชื้อเพลิงติดไฟได้อย่างต่อเนื่อง จึงหยุดใช้ชานอ้อยอัดแท่ง สำหรับขี้เถ้าที่เหลืออยู่ในบริเวณท้ายของตะกรับจะตกลงสู่ก้นเตา และกวาดออกโดยสายพานลำเลียงเถ้า เรียกว่า “เถ้าหนัก” ลงสู่อ่างน้ำรองรับเถ้า เพื่อลดอุณภูมิและลดการฟุ้งกระจายของขี้เถ้าก่อนลำเลียงด้วยสายพานลำเลียงเพื่อ เก็บในบ่อเก็บเถ้ารอการขนถ่ายต่อไป ส่วนที่มีน้ำหนักเบาเรียกว่า “เถ้าเบา” เมื่อถูกเผาแล้วจะผสมในไอร้อนและ ลอย ออกไปจากห้องเผาไหม้ทางช่องไอร้อน จะถูกดักจับไว้ด้วยอุปกรณ์ดักฝุ่น Vetruri Wet Scrubber เพื่อไม่ให้ระบายสู่ ภายนอก • ไอน้ำความดันสูงที่ได้จากหม้อไอน้ำจะถูกส่งมาที่กังหันไอน้ำเพื่อเปลี่ยนพลังงานความร้อนของไอน้ำให้เป็น พลังงานกล ใช้หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าต่อไป • พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ผลิตได้ จะถูกส่งผ่านหม้อแปลงลดแรงดันไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงไฟฟ้า และใช้ในโรงงานอื่นๆ ของกลุ่มมิตรผล ในส่วนพลังงานที่เหลือจะส่งผ่านไปยังหม้อแปลงเพิ่มแรงดันไฟฟ้า เพื่อส่ง ขายให้การไฟฟ้าฯ • ระบบหอหล่อเย็น – หอหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าเป็นระบบปิด ประกอบด้วยเครื่องควบแน่นและ หอหล่อเย็น เครื่อง ควบแน่นทำหน้าที่ควบไอน้ำที่ผ่านออกมาจากกังหันน้ำ โดยการแลกเปลี่ยน ความร้อน น้ำหล่อเย็นที่ผ่านเครื่อง ควบแน่นแล้ว ซึ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงถูกส่งไประบายความร้อนที่ หอหล่อเย็น ซึ่งจะนำกลับมาใช้ใหม่ โรงไฟฟ้าชีวมวล คือโรงไฟฟ้าที่ใช้เศษวัสดุต่างๆที่เป็นชีวมวล เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า หรือ ผลิตไอน้ำ ซึ่งอาจเป็นวัสดุชนิด เดียวกันหรือหลายชนิดรวมกัน เช่น โรงน้ำตาลใช้กากอ้อยที่ได้จาก การหีบอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โรงสีขนาดใหญ่ที่ใช้ แกลบเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า การใช้ก๊าซชีวภาพ (Biogas) จากการหมักน้ำเสีย (ที่ได้มาจากกระบวนการผลิตทาง 7
  • 12. อุตสาหกรรม)หรือมูลสัตว์(จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์)มาผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีหลักการทำงานในทำนองเดียวกับโรงไฟฟ้า พลังงานความร้อนทั่วไป ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าจะเริ่มด้วยการสูบน้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งผ่านการกรองแล้ว เข้าสู่เครื่องผลิตไอน้ำ ขณะที่ชีวมวลต่างๆถูกลำเลียงเข้าสู่เครื่องบดเพื่อบดให้ละเอียด ก่อนส่งไปเข้าเตาเผาเพื่อให้เกิด ความร้อนในระดับสูง ความร้อนที่ได้จะช่วยให้น้ำในเครื่องผลิตไอน้ำกลายสภาพเป็นไอ ไอน้ำแรงดันสูงนี้ ทำหน้าที่ หมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอีกที ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไอน้ำที่ใช้ในการหมุนกังหันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะ ผ่านกระบวนการควบแน่นให้กลับมาเป็นน้ำและนำมาใช้หมุนเวียนหลายครั้ง จนสุดท้ายจึงถูกปรับคุณภาพให้อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐานซึ่งไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมแล้วปล่อยลงสู่บ่อพักน้ำขนาดใหญ่ เพื่อให้ระเหยหายไปเองตามธรรมชาติ น้ำที่ผ่านกระบวนผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวลจึงไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฝุ่นผงซึ่งเกิดจากขั้นตอนการเผา ไหม้ชีวมวล ก็ไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน มันจะถูกดักจับด้วยเครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตแรงสูง จึง มั่นใจได้ว่าจะไม่มีฝุ่นและอองลอยออกไปสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อยู่อาศัยละแวกนั้น ส่วนขี้เถาที่ได้จากการเผาชีว มวลยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น ใช้ เป็นวัสดุปรับคุณภาพดิน ใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ หรือ อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น หรือจะใช้วิธีฝังกลบก็ได้เช่นกัน โดยเหตุที่ประเทศไทยทำการเกษตรอย่างกว้างขวางวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย กาก มะพร้าว ฯ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก (เทียบได้น้ำมันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร) ก็ควรจะใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ในเชิงพาณิชย์ได้ในกรณีของโรงเลื่อย โรงสี โรงน้ำตาล ฯ ขนาดใหญ่ อาจจะยินยอมให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบ ไฟฟ้าของการไฟฟ้าต่างๆในประเทศในลักษณะของการผลิตร่วม (Co-generation) ซึ่งมีใช้อยู่แล้วหลายแห่งใน ต่างประเทศโดยวิธีดังกล่าวแล้วจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศสำหรับส่วนรวมได้มาก ยิ่งขึ้นทั้งนี้อาจจะรวมถึงการใช้ไม้ฟืนจากโครงการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่นับล้านไร่ในกรณีที่รัฐบาลจำเป็นต้องลด ปริมาณการปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ฯ เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวทางด้านการตลาดของพืชทั้งสองชนิด อนึ่ง สำหรับ ผลิตผลจากชีวมวลในลักษณะอื่นที่ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เช่น แอลกฮอล์ จากมันสำปะหลัง ก๊าซจากฟืน(Gasifier) ก๊าซ จากการหมักเศษวัสดุเหลือจากการเกษตร(Bio Gas) ขยะ ฯ หากมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็อาจนำมาใช้เป็น เชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน 8
  • 13. 5. ข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานชีวิมวล 1. เชื้อเพลิงมีราคาถูกเพราะเปป็นเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร 2. ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าอื่นๆ 3. ช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นเพราะสามารถใช้ผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิต พลังงาน ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล 1. อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพราะมีการเผาไหม้เชื้อเพลิง 2. เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กเหมาะสำหรับการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับชุมชน 3. ถ้าใช้ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่มีกำลังการผลิตต่ำกว่า 400 เมกกะวัตต์ จะมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ 6. ส่วนประกอบหลักของโรงไฟฟ้าชีวมวล ▪ งานฐานราก (CIVIL WORK) ▪ หม้อไอน้ำ (Boiler) ▪ ระบบลำเลียงเชื้อเพลิง (Fuel handing System) ▪ ระบบลำเลียงขี้เถ้า (Ash handing System) ▪ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Steam Turbine and Generator) ▪ ระบบน้ำ (Water Treatment System) ▪ ระบบควบคุม (Control and Instrument) ▪ ระบบเชื่อมต่อการไฟฟ้า (Transmission Line) 7. กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล ▪ น้ำดิบจากคลองชลประทานหรือแหล่งน้ำที่เตรียมไว้ นำไปผ่านกระบวนการกรองเพื่อเป็นน้ำประปาใช้ภายใน โรงงาน, ในระบบหล่อเย็น และนำไปขจัดแร่ธาตุเพื่อส่งผ่านไปใช้ยังเครื่องผลิตไอน้ำ ▪ เชื้อเพลิงชีวมวลจะถูกลำเลียงจากลานกองด้วยสายพานต่อเนื่องเข้าสู่ห้องเผาไหม้เพื่อให้ความร้อนกับหม้อ ไอน้ำ (Boiler) เพื่อผลิตไอน้ำ ▪ ไอน้ำแรงดันสูงที่ได้จะส่งต่อไปหมุนกังหันไอน้ำ (Turbines) ซึ่งต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า ▪ ไอน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันไอน้ำแล้วยังคงมีความร้อนเหลืออยู่จะถูกนำไปผ่านเครื่อง ควบแน่น (Condenser) เพื่อเปลี่ยนเป็นน้ำแล้วนำกลับเติมหม้อไอน้ำ (Boiler) เพื่อผลิตไอน้ำไปใช้ในระบบอีกครั้ง ส่วนน้ำหล่อเย็นที่รับ ความร้อนมาจากเครื่องควบแน่น (Condenser) จะถูกส่งไปยังหอหล่อเย็น (Cooling Tower) เพื่อระบายความ ร้อนและนำกลับมาหมุนเวียนเพื่อเป็นน้ำหล่อเย็นในระบบอีกครั้ง ▪ ไอร้อนและขี้เถ้าลอยจะถูกนำไปผ่าน เครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตแรงสูง (ESP) เพื่อดักจับฝุ่นก่อนปล่อย ออกสู่ภายนอก ▪ ขี้เถ้าที่ถูกเก็บกักไว้ในเครื่องดักจะถูกลำเลียงบรรจุลงรถขนส่งขี้เถ้าหรือ บรรจุถุงที่คุณภาพแข็งแรงและปิด มิดชิดเพื่อนำส่งลูกค้า เช่น อุตสาหกรรมเกษตรใช้เป็นวัสดุปรับคุณภาพดินอุตสาหกรรมซีเมนต์ และ อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น 9
  • 14. 8. ประโยชน์ของพลังงานชีวภาพและการนำไปใช้งาน 1. ใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงชั้นดีในการผลิตพลังงานความร้อนกับการใช้ภายในฟาร์ม – ตรงจุดนี้นับว่าผู้ที่ประกอบกิจการ ฟาร์มต่างๆ ค่อนข้างได้ประโยชน์ไปเต็มๆ จากการที่สามารถนำพลังงานชีวภาพมาใช้งานก็จะทำให้พวกเขาประหยัดค่า ไฟได้อีก แถมยังไม่ต้องมาปวดหัวในเรื่องของระบบไฟที่อาจจะมีปัญหาได้ 2. ใช้สำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานกล – มันก็คล้ายคลึงกับข้อแรกแต่ว่าอันนี้คือการนำมาผลิตเพื่อใช้ ประโยชน์ในด้านอื่นไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการใช้ภายในฟาร์มเพียงอย่างเดียว ซึ่งมันช่วยให้การใช้งานไฟฟ้าลดน้อยลง เมื่อการใช้ไฟลดน้อยลงมันก็จะเกิดภาวะที่ดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น 3. ช่วยลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก – ด้วยความที่การใช้พลังงานชีวภาพจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกขึ้นกับโลกใบนี้ ซึ่งเมื่อมันสามารถลดลงได้ โอกาสที่จะเกิดภาวะ ที่ว่าก็ลดน้อยลงไปทำให้โลกสามารถอยู่อาศัยต่อได้อีกยาวนานมากยิ่งขึ้น 4. นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร – กากตะกอนที่เหลือจากการทำพลังงานชีวภาพก็สามารถที่จะนำมาใช้เป็น ปุ๋ยทางการเกษตรได้ แน่นอนว่าเรื่องของคุณภาพย่อมดีกว่าปุ๋ยคอกอยู่แล้ว ที่สำคัญคุณสมบัติยังล้นเหลือมากกว่า ปุ๋ยเคมีที่ใช้งานกันอีกด้วย 5. ใช้ในภาคการขนส่ง – สามารถนำก๊าซชีวภาพที่ได้นี้มาใช้เป็นพลังงานทดแทนการใช้เชื้อเพลิงกับตัวเครื่องยนต์ คือ สามารถติดตั้งระบบ 2 เชื้อเพลิงให้กับรถ แม้ว่ายังไม่ค่อยได้รับความนิยมเนื่องจากมีราคาแพงแต่ในอนาคตก็เชื่อว่า น่าจะมีมากขึ้นอย่างแน่นอน 6. ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี – สามารถนำเอาก๊าซชีวภาพที่ว่านี้ไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี โดยสามารถใช้เป็น สารตั้งต้นในการผลิตภัณฑ์เคมีประเภทต่างๆ 10
  • 15. 9. ศักยภาพชีวมวลในประเทศไทย ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง ในแต่ละปีจะมีผลพลอยได้จากผลผลิตทาง การเกษตร หรือวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรกรรม เช่น ฟางข้าว แกลบ กากอ้อย กาก ใย ทะลายปาล์มเป็นต้น ปริมาณ ของวัสดุชีวมวลที่เหลือทิ้งในแต่ละปีขึ้นกับผลผลิตการเกษตร โดยในปี 2549ดังตารางที่ 1 มีปริมาณสรุปได้ดังต่อ นี้ ข้าว เป็นพืชที่มีความสำคัญมากในประเทศไทย ในแต่ละปีจะมีผลผลิตประมาณ 25 ล้านตัน โดยการผลิตข้าวของ ประเทศมักจะมีวัสดุเหลือทิ้งที่สำคัญ คือ แกลบและฟางข้าว โดยแกลบจะมีปริมาณการใช้งานสูงสุดคือ 5 ล้านตันต่อ ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ไปในการผลิตไฟฟ้าและการใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลทดแทน ส่วนที่เหลือจะมีเพียง 250,000 ตันต่อ ปีเท่านั้น ส่วนฟางข้าวจะเป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งที่สำคัญที่สุดเพราะมีปริมาณสูงถึง 12.25 ล้านตันต่อปีและยังไม่ได้มีการ นำไปใช้ประโยชน์เท่าที่ควร และประมาณการว่ามีซังข้าวที่ค้างอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 2.5 ล้านตันปีที่ เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะเผาทำลายเพื่อเตรียมพื้นที่ในการเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจ สำคัญอีกอย่างของประเทศไทย ปัจจุบันผลผลิตของอ้อยมีจำนวนทั้งสิ้น 80 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีวัสดุเหลือทิ้งจากอ้อย หลายอย่าง เช่น กากอ้อย ยอดและใบอ้อย โดยปกติกากอ้อยจะถูกนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงาน ทั้งหมด ส่วนยอดและใบอ้อยมีปริมาณเหลืออยู่ 8.5 ล้านตันซึ่งยังไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์เพราะขาดเทคโนโลยี ในการนำไปใช้ ซึ่งทำให้เศษวัสดุจากอ้อยนี้มักจะเป็นปัญหาในการกำจัดส่วนเกินออกจากพื้นที่เกษตรกรรม ไม้ ยางพารา เป็นพืชที่ประเทศไทยเพาะปลูกมากที่สุดในโลก และยังเป็นพืชที่มีความสำคัญในหลายอุตสาหกรรม มีกำลัง การผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพาราประมาณ 250,000 ตันต่อปี โดยส่วนใหญ่จะมีวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตไม้ ยางพาราในแต่ละปี คือ ขี้เลื่อย ปีกไม้ ปลายไม้ รากไม้ ทั้งนี้วัสดุเหลือใช้ที่ได้จากขี้เลื่อยจะมีปริมาณเหลืออยู่ 690,000 ตันต่อปี ปีกไม้จะมีปริมาณเหลืออยู่ 2.2 ล้านตันต่อปี ปลายไม้ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือมากที่สุดจะมีปริมาณเหลืออยู่ 2.7 ล้านตันต่อปี ส่วนรากไม้ยางพาราจะมีปริมาณเหลือเพียง 1.15 ล้านตันต่อปี ที่ชาวสวนมักจะกำจัดโดยการเผา ทิ้ง ปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีแนวโน้มของอัตราเติบโตที่สูงขึ้นในแต่ละปีเนื่องจากความต้องการนำไปใช้ ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลนั่นเอง ปัจจุบันประเทศไทยมีผลผลิตน้ำมันปาล์มประมาณ 5 ล้านตันต่อปี ซึ่งเศษวัสดุเหลือทิ้งที่ สำคัญคือ กากใยปาล์ม กะลาปาล์ม ทะลายเปล่า และทางปาล์ม โดยกากใยปาล์มมีปริมาณเหลือเพียงเล็กน้อยคือ 50,000 ตัน กะลาปาล์มมีปริมาณเหลือ 100,000 ตันในแต่ละปี ส่วนทะลายปาล์มมีปริมาณเหลือ 400,000 ตัน และ ทางปาล์มเป็นเศษวัสดุที่เหลือทิ้งที่มีปริมาณมากที่สุดและมีการนำกลับไปใช้งานน้อยที่สุด ซึ่งในแต่ละปีจะมี เหลือประมาณ 6.5 ล้านตัน มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการสูงขึ้นมากในหลายปีที่ผ่านมา โดย ปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 17 ล้านตัน โดยมีเหง้ามันเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีปริมาณมากที่สุดคือ ประมาณ 3.4 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีการนำกลับไปใช้งานเพียงเล็กน้อยและเหลืออยู่ในระบบประมาณ 3.35 ล้าน ตัน ข้าวโพด เป็นพืชที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 4 ของประเทศ และยังมีความต้องการในปริมาณมากแต่ละปี โดย ปัจจุบันมีผลผลิตข้าวโพดประมาณ 5 ล้านตันต่อปี โดยมีเศษวัสดุเหลือทิ้งที่สำคัญคือ ซังข้าวโพด ซึ่งมีปริมาณ เหลืออยู่ในระบบประมาณ 3.8 ล้านตันต่อปี ไม้ยูคาลิปตัส เป็นพืชที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมกระดาษอีก ชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี และเนื่องจากเป็นพืชที่เลี้ยงดูง่ายและเติบโตได้รวดเร็วจึงเป็น ที่นิยมปลูกของเกษตรกร ขณะนี้พบว่ามีผลผลิตไม้ยูคาลิปตัสประมาณ 600,000 ตันต่อปี ซึ่งพบว่าเศษเปลือกไม้เป็น วัสดุเหลือทิ้งที่มากที่สุด โดยมีปริมาณเหลืออยู่ 1.8 ล้านตันต่อปี และมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์เพียง 500,000 ตัน ซึ่งทำให้เหลือเป็นวัสดุเหลือทิ้งอยู่มากถึง 1.3 ล้านตันต่อปี จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุป ได้ในตารางที่ 3.1 ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่าการนำวัสดุชีวมวลที่ได้จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของประเทศ ไทยมีจำนวนมากพอที่จะนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงานและเชื้อเพลิงชีวมวลทดแทนการใช้พลังงานจากน้ำมันปิโตรเลียม 11 โดยเมื่อคำนวณเป็นพลังงานความร้อนจากวัสดุชีวมวลปริมาณ 43.29 ล้านตันต่อปี จะได้พลังงานที่สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้สูงถึง 414,600 TJ หรือ 9,817 ktoe ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการใช้วัสดุชีวมวลเป็นวัตถุดิบในการ ลงทุนเพื่อผลิตพลังงานและเชื้อเพลิงชีวมวล http://www.iscisaraburee.sc.chula.ac.th/2017/index.php/2016/06/06/i-sink-under-the-weight-of-the-splendour/