SlideShare a Scribd company logo
1
มหากปิชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๖. มหากปิชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๑๖)
ว่าด้วยพญาวานร
(พระศาสดาทรงประกาศเนื้อความนี้ว่า)
[๑๗๘] ได้มีพระราชาแห่งชนชาวกาสี ทรงผดุงรัฐให้เจริญ
ในกรุงพาราณสี แวดล้อมด้วยมิตรและอามาตย์ ได้เสด็จไปยังมิคาชินอุทยาน
[๑๗๙] ณ ที่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์เป็นโรคเรื้อน
ขาวพราวเป็ นจุดๆ และกลากเกลื้อน
มีเนื้อหลุดออกจากปากแผลเช่นกับดอกทองกวาว มีร่างกายผ่ายผอม
สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
[๑๘๐] ครั้นทอดพระเนตรเห็นคนตกยาก
ถึงความลาบากน่าสงสารยิ่งนัก พระราชาทรงหวาดหวั่นพระหฤทัย จึงตรัสถามว่า
เจ้าเป็นยักษ์ประเภทไหน
[๑๘๑] มือและเท้าของเจ้าก็ด่าง ศีรษะยิ่งด่างกว่านั้น
เนื้อตัวของเจ้าก็ด่างพร้อย และมากไปด้วยกลากเกลื้อน
[๑๘๒] หลังของเจ้าเป็นปุ่มเป็ นปมเหมือนกับเถาวัลย์ที่ขดกลม
อวัยวะของเจ้าก็เหมือนกับเถาวัลย์ที่มีข้อดา เรายังไม่เคยเห็นอะไรอื่นเป็นเช่นนี้
[๑๘๓] เจ้ามีเท้าหงิกงอ น่าหวาดเสียว มีร่างกายผ่ายผอม
สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูหิวกระหาย อดโซ เจ้ามาจากที่ไหน และจะไปไหน
[๑๘๔] เจ้ามีรูปร่างอัปลักษณ์ ดูน่าเกลียด ผิวพรรณก็ทราม ดูน่ากลัว
มารดาบิดาผู้ให้กาเนิดของเจ้าคงไม่ปรารถนาที่จะเห็นเจ้าเลย
[๑๘๕] ในชาติปางก่อนเจ้าได้ทากรรมอะไรไว้
ได้ฆ่าคนที่ไม่ควรฆ่าหรือ หรือเพราะทากรรมอันโหดร้ายทารุณอย่างใดไว้
เจ้าจึงประสบทุกข์อย่างนี้
(ต่อแต่นั้นไป พราหมณ์จึงกล่าวว่า)
[๑๘๖] เชิญสดับเถิด พระเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าจักกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ ตามอย่างคนฉลาด
เพราะบัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้สรรเสริญคนพูดความจริง
[๑๘๗] เมื่อข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียวเที่ยวแสวงหาโค
ได้หลงล่วงเลยเข้าไปในป่าเปลี่ยวที่แห้งแล้งกันดาร เงียบสงัด
ซึ่งเป็ นที่อยู่อาศัยแห่งช้างนานาชนิด
2
[๑๘๘] ข้าพระพุทธเจ้าได้หลงทางเข้าไปในป่าทึบ
ซึ่งเป็ นที่สัญจรไปมาแห่งเนื้อร้าย มีความหิวกระหาย
ได้ท่องเที่ยวไปในป่านั้นตลอด ๗ วัน
[๑๘๙] ณ ที่ป่านั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นต้นมะพลับต้นหนึ่ง
ซึ่งอยู่หมิ่นเหม่ มีกิ่งทอดตรงไปยังปากเหว มีผลดก
ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะกิน
[๑๙๐] ข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่ลมพัดหล่น
ข้าพระพุทธเจ้าพอใจผลมะพลับเหล่านั้นมาก แต่ยังไม่อิ่ม
จึงปี นขึ้นไปบนต้นด้วยคิดว่า จักกินให้สบายบนต้นนั้น
[๑๙๑] ข้าพระพุทธเจ้ากินผลหนึ่งแล้วปรารถนาผลที่ ๒ ต่อไป
แต่นั้นกิ่งมันได้หักเหมือนถูกขวานตัด
[๑๙๒] ข้าพระพุทธเจ้านั้นพร้อมทั้งกิ่งไม้ มีเท้าชี้ฟ้ า
ศีรษะปักลงตกไปในซอกเขา ซึ่งไม่มีที่จะยึดเหนี่ยว
[๑๙๓] ก็เพราะน้าลึก ข้าพระพุทธเจ้าจึงหยั่งไม่ถึง
นอนทอดอาลัยอยู่ในซอกเขานั้น ไม่น้อยกว่า ๑๐ ราตรี
[๑๙๔] ต่อมา วานรตัวหนึ่งมีหางคล้ายหางโค
ท่องเที่ยวไปมาตามซอกเขาเป็นประจา ไต่ไปตามกิ่งไม้กัดกินผลไม้อยู่
ได้มาถึงสถานที่นั้น
[๑๙๕] มันเห็นข้าพระพุทธเจ้ามีร่างกายผอมเหลือง
ได้มีความการุญแก่ข้าพระพุทธเจ้า ถามไถ่ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านชื่ออะไร
ทาไมจึงมาทนทุกข์อยู่ที่นี่อย่างนี้
[๑๙๖] เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ จงแนะนาตัวให้ข้าพเจ้าทราบด้วย
ข้าพระพุทธเจ้าได้ประนมอัญชลีแล้วกล่าวแก่มันอย่างนี้ว่า
[๑๙๗] ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์ประสบความพินาศ
ข้าพเจ้าไม่มีทางที่จะไปจากที่นี่ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอบอกให้ท่านทราบ
ขอท่านจงมีความเจริญ ขอท่านจงเป็ นที่พึ่งของข้าพเจ้าด้วย
[๑๙๘] วานรผู้กล้าหาญเที่ยวไปหาก้อนศิลาที่มีน้าหนักที่ภูเขา
ผูกเถาวัลย์ที่ก้อนศิลาแล้ว ได้กล่าวคานี้ว่า
[๑๙๙] มาเถิด มาขึ้นเกาะหลังข้าพเจ้า ท่านจงใช้แขนทั้ง ๒
ข้างกอดคอข้าพเจ้าไว้ ข้าพเจ้าจะใช้กาลังช่วยท่านขึ้นไปจากซอกเขา
[๒๐๐] ข้าพระพุทธเจ้าสดับคานั้นแล้ว จึงขึ้นเกาะหลังพญาวานรผู้มีสิริ
เป็นปราชญ์ตนนั้น แล้วใช้แขนทั้ง ๒ กอดคอมันไว้
[๒๐๑] พญาวานรผู้มีเดช มีกาลังตนนั้น มีความลาบาก
กระโดดพาข้าพระพุทธเจ้าขึ้นจากซอกเขานั้นด้วยความยาก
3
[๒๐๒] ครั้นนาข้าพระพุทธเจ้าขึ้นมาแล้ว พญาวานรผู้เป็นบัณฑิต
กล้าหาญ ได้กล่าวคานี้ว่า เพื่อนรัก
ท่านโปรดรักษาความปลอดภัยให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าจักหลับสักครู่หนึ่ง
[๒๐๓] สิงโต เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาป่า
และเสือดาวพึงเบียดเบียนข้าพเจ้าผู้หลับไป ท่านเห็นพวกมันจงห้ามกันไว้ด้วย
[๒๐๔] พญาวานรนั้นครั้นให้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ป้ องกันแล้ว
จึงหลับไปครู่หนึ่ง ครั้งนั้น ข้าพระพุทธเจ้ากลับได้ความคิดเห็นชั่วช้า
โดยไม่ทันคิดให้รอบคอบว่า
[๒๐๕] วานรนี้ก็เป็ นอาหารของพวกมนุษย์ เช่นเดียวกับเนื้ออื่นๆ
ในป่าเหมือนกัน ถ้ากระไร เราหิวพึงฆ่าวานรนี้กิน
[๒๐๖] อนึ่ง เราบริโภคอิ่มแล้วจักถือเอาเนื้อเป็ นเสบียงเดินทาง
จักข้ามทางกันดาร และเราจักมีเสบียงเดินทาง
[๒๐๗] ทันใดนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงหยิบก้อนหินแล้วทุ่มลงไป
ยังกระหม่อมวานร แต่การประหารของข้าพระพุทธเจ้า
ผู้มีร่างกายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเพราะอดอาหารจึงมีกาลังด้อยไป
[๒๐๘] ก็พญาวานรนั้นทะลึ่งขึ้นโดยเร็วเพราะกาลังก้อนหินที่ทุ่มลงไป
มีตัวอาบไปด้วยเลือด ร้องไห้ มองดูข้าพระพุทธเจ้าด้วยดวงตา
ซึ่งเต็มไปด้วยน้าตา พลางกล่าวว่า
[๒๐๙] ท่านอย่าทาข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงมีความเจริญ
ท่านอย่าได้กระทากรรมอันไม่สมควรเช่นนี้ อนึ่ง ท่านได้ชื่อว่ามีอายุยืนยาว
ควรจะห้ามปรามคนเหล่าอื่น
[๒๑๐] ท่านคนผู้กระทากรรมที่คนอื่นทาได้ยากนัก น่าอนาถจริงหนอ
เราช่วยท่านขึ้นจากเหวลึกที่ขรุขระยากที่จะขึ้นได้เช่นนี้
[๒๑๑] ท่านเป็นดุจเรานามาจากปรโลก
ยังสาคัญเราว่าเป็ นคนควรประทุษร้าย ท่านนั้นเป็ นคนชั่ว มีสันดานชั่วช้า
จึงคิดแต่เหตุที่ชั่วนั้น
[๒๑๒] โอ ท่านผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
ขอท่านอย่าประสบเวทนาอันเผ็ดร้อนเลย
ขอบาปธรรมอย่าได้ฆ่าท่านเหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่เลย
[๒๑๓] แน่ะท่านผู้มีบาปกรรม ไม่สารวม เราไม่ไว้ใจท่าน มาเถิด
ท่านจงตามหลังเราไปใกล้ๆ พอเห็นกัน
[๒๑๔] ท่านพ้นแล้วจากเงื้อมมือของสัตว์ร้าย ถึงถิ่นมนุษย์แล้ว
นี่แนะท่านผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม นั่นหนทาง ท่านจงไปทางนั้นตามสบายเถิด
4
[๒๑๕] ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
วานรผู้มีปกติท่องเที่ยวไปตามขุนเขาล้างศีรษะที่เปื้อนเลือด
เช็ดน้าตาแล้วกระโดดจากที่นั้นขึ้นไปยังภูเขา
[๒๑๖] ข้าพระพุทธเจ้านั้นถูกวานรนั้นแช่งด่า
ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียน มีกายเร่าร้อน จึงลงไปยังสายน้าเพื่อจะดื่ม
[๒๑๗] ห้วงน้าทั้งปวงปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้า
เหมือนเดือดพล่านเพราะไฟ เจือด้วยโลหิตเหมือนช้าเลือดช้าหนอง
[๒๑๘] หยาดน้ามีประมาณเพียงใดตกต้องกายของข้าพระพุทธเจ้า
หัวฝีมีขนาดเท่าผลมะตูมครึ่งผลก็ผุดขึ้นมีประมาณเพียงนั้น
[๒๑๙] ฝีเหล่านั้นแตกแล้ว น้าเลือดและน้าหนอง
ไหลออกจากร่างกายของข้าพระพุทธเจ้าประดุจซากศพ
ข้าพระพุทธเจ้าจะไปทางใด จะเป็ นหมู่บ้านและนิคมทั้งหลายก็ตาม
[๒๒๐] พวกมนุษย์ทั้งหญิงทั้งชายถูกกลิ่นเหม็นรบกวน ต่างถือท่อนไม้
ห้ามกันข้าพระพุทธเจ้าว่า เจ้าอย่ามาทางนี้
[๒๒๑] บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าเสวยกรรมของตน
ที่ตนเองกระทาไว้ไม่ดีในปางก่อน ข้าพระพุทธเจ้ามีทุกข์เช่นนี้ อยู่อย่างนี้ตลอด ๗
ปี
[๒๒๒] เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าจึงขอกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ
ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายเท่าที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้
ขอพระองค์อย่าทรงเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรเลย
เพราะคนประทุษร้ายมิตรจัดเป็นคนเลว
[๒๒๓] บุคคลใดในโลกนี้ย่อมประทุษร้ายมิตร
บุคคลนั้นย่อมเป็นโรคเรื้อน โรคกลาก เกลื้อน
คนผู้มีปกติประทุษร้ายมิตรเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก
มหากปิชาดกที่ ๖ จบ
------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
มหากปีชาดก
ว่าด้วย ผลบาปของผู้ทาร้ายผู้มีคุณ
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภการกลิ้งศิลาของพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี ดังนี้.
ความโดยย่อว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวติเตียนพระเทวทัต
เพราะใช้นายขมังธนู เพราะกลิ้งศิลา ในเวลาต่อมา พระศาสดาจึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน
5
พระเทวทัตก็กลิ้งศิลาเพื่อฆ่าเราเหมือนกัน แล้วทรงนาอดีตนิทานมาตรัส
ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพาราณสี
ในหมู่บ้านกาสิกคาม
พราหมณ์ชาวนาผู้หนึ่งไถนาเสร็จแล้วปล่อยโคไป
เริ่มทาการงานขุดหญ้าพรวนดินด้วยจอบ.
ฝูงโคเคี้ยวกินใบไม้ที่พุ่มไม้แห่งหนึ่งพลางพากันหนีเข้าไปสู่ดงโดยลาดับ
พราหมณ์นั้นคะเนว่าถึงเวลาแล้ว ก็วางจอบเหลียวหาฝูงโคไม่พบ
เกิดความโทมนัส จึงเที่ยวค้นหาในดงเข้าไปจนถึงป่าหิมพานต์.
พราหมณ์นั้นหลงทิศทางในป่าหิมพานต์ อดอาหารถึงเจ็ดวัน
เดินไปพบต้นมะพลับต้นหนึ่ง จึงขึ้นไปเก็บผลรับประทาน
พลัดตกลงมาจากต้นมะพลับ เลยตกลงไปในเหวดุจขุมนรกลึกตั้ง ๖๐ ศอก.
พราหมณ์ตกอยู่ในเหวล่วงไปได้สิบวัน. คราวนั้น
พระโพธิสัตว์บังเกิดในกาเนิดวานรกาลังเคี้ยวกินผลาผล
เหลือบเห็นบุรุษนั้นเข้าจึงผูกเชือกเข้าที่หิน ช่วยบุรุษนั้นขึ้นมาได้.
เมื่อวานรโพธิสัตว์กาลังหลับ พราหมณ์ได้เอาหินมาทุ่มลงที่ศีรษะ
พระมหาสัตว์เจ้ารู้การกระทาของเขาแล้วจึงกระโดดขึ้นไปบนกิ่งไม้
กล่าวว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านจงเดินไปตามพื้นดิน
ข้าพเจ้าจักเดินบอกหนทางแก่ท่านไปทางกิ่งไม้
แล้วพาบุรุษนั้นออกจากป่าจนถึงหนทาง จึงเข้าไปสู่บรรพตตามเดิม.
บุรุษนั้นล่วงเกินพระมหาสัตว์เจ้าแล้วเกิดโรคเรื้อน
กลายเป็นมนุษย์เปรตในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว.
เขาถูกความทุกข์เบียดเบียนอยู่เจ็ดปี เที่ยวเร่ร่อนไปถึงมิคาชินอุทยาน
เขตพระนครพาราณสี ลาดใบตองลงภายในกาแพงนอนเสวยทุกขเวทนา.
คราวนั้น พระเจ้าพาราณสีเสด็จประพาสพระราชอุทยาน
เสด็จเที่ยวไปพบเขา ณ ที่นั้น แล้วดารัสถามว่า เจ้าเป็ นใคร ทากรรมอะไรไว้
จึงต้องรับทุกข์เช่นนี้? ฝ่ายเปรตนั้นได้กราบทูลเรื่องราวทั้งมวลโดยพิสดาร.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น
ตรัสพระคาถาความว่า
พระราชาแห่งชนชาวกาสีผู้ทรงยังรัฐสีมามณฑลให้เจริญ
ในพระนครพาราณสี ทรงแวดล้อมไปด้วยมิตรและอามาตย์ผู้มีความภักดีมั่นคง
เสด็จไปยังมิคาชินอุทยาน.
ณ ที่นั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ ซึ่งเป็ นโรคเรื้อน
ขาวพราวเป็ นจุดๆ ตามตัว มากไปด้วยกลากเกลื้อน
เรี่ยราดด้วยเนื้อที่หลุดออกมาจากปากแผล เช่นกับดอกทองกวาวที่บาน
6
ในเรือนร่างทุกแห่ง มีเพียงกระดูกซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น.
ครั้นทอดพระเนตรเห็นคนที่ตกยาก
ถึงความลาบากน่าสงสารยิ่งนักแล้ว ทรงหวั่นหวาดพระทัย จึงตรัสถามว่า
ท่านเป็นยักษ์ประเภทไหน ในจาพวกยักษ์ทั้งหลาย.
อนึ่ง มือและเท้าของท่านขาว ศีรษะยิ่งขาวกว่านั้น
ตัวของท่านก็ด่างพร้อย มากไปด้วยเกลื้อนกลาก. หลังของท่านก็เป็นปุ่มเป็นปม
ดุจเถาวัลย์อันยุ่งอวัยวะของท่านบ้างก็ดา บ้างก็หงิกงอ คล้ายเถาวัลย์มีข้อดา
ดูไม่เหมือนคนอื่นๆ.
เท้าเปรอะเปื้อนด้วยธุลี น่าหวาดเสียว ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
หิวระหาย ร่างกายซูบซีด ท่านมาจากไหน และจะไปไหน.
แลดูน่าเกลียด รูปร่างก็อัปลักษณ์ ผิวพรรณชั่วช้า ดูน่ากลัว
แม้มารดาบังเกิดเกล้าของท่าน ก็ไม่ปรารถนาจะดูแลเจ้าเลย.
ในชาติก่อน ท่านทากรรมอะไรไว้
ได้เบียดเบียนผู้ที่ไม่ควรเบียดเบียนไว้อย่างไร ได้เข้าถึงทุกข์นี้
เพราะทากรรมอันหยาบช้าอันใดไว้.
ต่อจากนั้น พราหมณ์จึงกล่าวคาถากราบทูลว่า
ขอเดชะ ขอเชิญพระองค์ทรงสดับ
ข้าพระองค์จักกราบทูลอย่างคนที่ฉลาดทูล เพราะว่าบัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมสรรเสริญคนที่พูดจริง.
เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเที่ยวตามโคที่หายไปคนเดียว
ได้หลงทางเข้าไปในป่าหิมพานต์ อันแสนจะกันดาร เงียบสงัด
อันหมู่กุญชรชาติท่องเที่ยวไปมา.
ข้าพระองค์หลงทางเข้าไปในป่าทึบ อันหมู่มฤคร้ายกาจท่องเที่ยวไปมา
ต้องทนหิวระหาย เที่ยวไปในป่านั้นตลอด ๗ วัน.
ณ ป่านั้น ข้าพระพุทธเจ้ากาลังหิวจัด ได้เห็นต้นมะพลับต้นหนึ่ง
ตั้งอยู่หมิ่นเหม่ เอนไปทางปากเหว มีผลดกดื่น.
ทีแรก ข้าพระพุทธเจ้าเก็บผลที่ลมพัดหล่นมากินก่อน
เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่หล่นมาเหล่านั้น รู้สึกพอใจ
ยังไม่อิ่มจึงปี นขึ้นไปบนต้น ด้วยหวังใจว่าจะกินให้สบายบนต้นนั้น.
ข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่หนึ่งเสร็จแล้ว ปรารถนาจะกินผลที่สองต่อไป
เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเหยียดมือคว้าเอาผลที่ต้องการ ทันใดนั้น
กิ่งไม้ที่ขึ้นเหยียบอยู่นั้นก็หักขาดลง ดุจถูกตัดด้วยขวานฉะนั้น.
ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยกิ่งไม้นั้น
ตีนชี้ฟ้ าหัวหกตกลงไปในห้วงเหวภูเขาอันขรุขระ ซึ่งไม่มีที่ยึดที่เหนี่ยวเลย.
ข้าพระพุทธเจ้าหยั่งไม่ถึงเพราะน้าลึก ต้องไปนอนไร้ความเพลิดเพลิน
7
ไร้ที่พึ่งอยู่ในเหวนั้น ๑๐ ราตรีเต็มๆ.
ภายหลังมีลิงตัวหนึ่งมีหางดังหางโค เที่ยวไปตามซอกเขา
เที่ยวไต่ไปตามกิ่งไม้หาผลไม้กิน ได้มาถึงที่นั้น
มันเห็นข้าพระพุทธเจ้าผอมเหลือง ได้กระทาความเอ็นดูกรุณาในข้าพระพุทธเจ้า.
จึงถามว่า พ่อชื่อไร ทาไมจึงมาทนทุกข์อยู่ที่นี่อย่างนี้
เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ขอได้โปรดแนะนาตนให้ข้าพเจ้าทราบด้วย.
ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้ประนมอัญชลีไหว้ลิงตัวนั้น แล้วกล่าวว่า
เราเป็ นมนุษย์ถึงแล้วซึ่งหายนะ เราไม่มีหนทางที่จะไปจากที่นี่ได้ เพราะเหตุนั้น
เราจึงบอกให้ท่านทราบไว้ ขอท่านจงมีความเจริญ. อนึ่ง
ขอท่านโปรดเป็นที่พานักของข้าพเจ้าด้วย.
ลิงตัวองอาจเที่ยวไปหาก้อนหินก้อนใหญ่ในภูเขามา
แล้วผูกเชือกไว้ที่ก้อนหิน ร้องบอกข้าพระพุทธเจ้าว่า มาเถิดท่าน
จงขึ้นมาเกาะหลังข้าพเจ้า เอามือทั้งสองกอดคอไว้
เราจักพาท่านกระโดดขึ้นจากเหวโดยเต็มกาลัง.
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคาของพญาพานรินทร์ตัวมีสิรินั้นแล้ว
จึงขึ้นเกาะหลัง เอามือทั้งสองโอบคอไว้.
ลาดับนั้น
พญาวานรตัวมีเดชมีกาลังก็พาข้าพระพุทธเจ้ากระโดดขึ้นจากเหว
โดยความยากลาบากทันที.
ครั้นขึ้นมาได้แล้ว พญาวานรตัวองอาจได้ขอร้องข้าพระพุทธเจ้าว่า
แน่ะสหาย ขอท่านจงคุ้มครองข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าจักงีบสักหน่อย.
ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเสือดาว
สัตว์เหล่านั้นพึงเบียดเบียนข้าพเจ้าซึ่งหลับไปแล้ว ท่านเห็นพวกมันจงป้ องกันไว้.
เพราะข้าพระพุทธเจ้าช่วยป้ องกันให้อย่างนั้น
พญาวานรจึงหลับไปสักครู่หนึ่ง คราวนั้น โดยที่ข้าพระพุทธเจ้าขาดความคิด
กลับได้ความเห็นอันลามกว่า ลิงนี้ก็เป็นอาหารของมนุษย์ทั้งหลาย
เท่ากับมฤคอื่นๆ ในป่านี้เหมือนกัน อย่ากระนั้นเลย
เราควรฆ่าวานรนี้กินแก้หิวเถิด.
อนึ่ง อิ่มแล้ว จักถือเอาเนื้อไปเป็ นเสบียงเดินทาง
เราจักต้องผ่านทางกันดาร เนื้อก็จักได้เป็ นเสบียงของเรา.
ทันใดนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้หยิบเอาหินมาทุ่มศีรษะลิง
การประหารของข้าพระพุทธเจ้าผู้ลาบากเพราะอดอาหาร จึงมีกาลังน้อย.
ด้วยกาลังก้อนหินที่ข้าพระพุทธเจ้าทุ่มลง ลิงนั้นผลุดลุกขึ้น ทั้งๆ
ที่ตัวอาบไปด้วยเลือด ร่าไห้มองดูข้าพระพุทธเจ้าด้วยตาอันเต็มไปด้วยน้าตา
พลางกล่าวว่า นายอย่าทาข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงมีความเจริญ
8
แต่ท่านได้ทากรรมอันหยาบช้าเช่นนี้ และท่านก็รอดตายมีอายุยืนมาได้
สมควรจะห้ามปรามคนอื่น แน่ะท่านผู้กระทากรรมอันยากที่บุคคลจะทาลงได้
น่าอดสูใจจริงๆ ข้าพเจ้าช่วยให้ท่านขึ้นจากเหวลึก ซึ่งยากที่จะขึ้นได้เช่นนี้.
ท่านเป็นดุจข้าพเจ้านามาจากปรโลก ยังสาคัญตัวข้าพเจ้าว่า
ควรจะฆ่าเสียด้วยจิตอันเป็ นบาปธรรมซึ่งเป็ นเหตุให้ท่านคิดชั่ว.
ถึงท่านจะไร้ธรรม เวทนาอันเผ็ดร้อนก็อย่าได้ถูกต้องท่านเลย
และบาปกรรมก็อย่าได้ตามฆ่าท่านอย่างขุยไผ่ ฆ่าไม้ไผ่เลย.
แน่ะท่านผู้มีธรรมอันเลว หาความสารวมมิได้
ความคุ้นเคยของข้าพเจ้าจะไม่มีอยู่ในท่านเลย มาเถิดท่านจงเดินไปห่างๆ เรา
พอมองเห็นหลังกันเท่านั้น.
ท่านพ้นจากเงื้อมมือแห่งสัตว์ร้าย ถึงทางเดินของมนุษย์แล้ว
ท่านผู้ไร้ธรรม นี่หนทาง ท่านจงไปตามสบายโดยทางนั้นเถิด.
วานรนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ล้างเลือดที่ศีรษะ
เช็ดน้าตาเสร็จแล้วก็กระโดดขึ้นไปยังภูเขา.
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้อันวานรนั้นอนุเคราะห์แล้ว
ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียน ร้อนเนื้อตัว
ได้ลงไปยังห้วงน้าแห่งหนึ่งเพื่อจะดื่มกินน้า.
ห้วงน้าก็เดือดพล่าน เหมือนถูกต้มด้วยไฟ นองไปด้วยเลือด
คล้ายกับน้าเลือดน้าหนองฉะนั้น
ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าอย่างเห็นชัด.
หยาดน้าตกต้องกายของข้าพระพุทธเจ้ามีเท่าใด ฝีก็ผุดขึ้นเท่านั้น
มีสัณฐานเหมือนมะตูมครึ่งลูก.
ฝีก็แตกในวันนั้นเอง
น้าเลือดน้าหนองของข้าพระพุทธเจ้าก็ไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นดุจซากศพ อนึ่ง
ข้าพระพุทธเจ้าจะเดินไปทางไหน ในบ้านและนิคมทั้งหลาย
พวกมนุษย์ทั้งหญิงแลชาย
พากันถือท่อนไม้ห้ามกันข้าพระองค์ผู้ฟุ้ งไปด้วยกลิ่นเหม็นว่า อย่าเข้ามาข้างนี้นะ.
บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้เสวยทุกขเวทนา เห็นปานนี้ อยู่ ๗ ปี
ซึ่งเป็ นผลกรรมชั่วของตนในปางก่อน.
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ
ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ในที่นี้
ขอพระองค์อย่าได้ประทุษร้ายมิตร
เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตรจัดเป็นคนเลวทราม. ในโลกนี้
ผู้ที่ประทุษร้ายมิตรย่อมเป็นโรคเรื้อนเกลื้อนกลาก
เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงนรก.
9
พระบรมศาสดาตรัสอภิสัมพุทธคาถานี้ไว้ ความว่า
ในโลกนี้ ผู้ประทุษร้ายมิตรย่อมเป็นโรคเรื้อน เกลื้อนกลาก
เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงนรก.
อธิบายว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดประทุษร้ายเบียดเบียนมิตรในโลกนี้
บุคคลนั้นย่อมมีสภาพเห็นปานนี้.
เมื่อบุรุษนั้นกาลังกราบทูลพระราชาอยู่ แผ่นดินก็แยกช่องให้.
เขาก็จุติไปบังเกิดในอเวจีมหานรก ในขณะนั้นเอง.
พระราชาก็เสด็จออกจากพระราชอุทยาน เสด็จสู่พระนคร.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนาอดีตนิทานนี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตก็กลิ้งศิลา
ประทุษร้ายเราเหมือนกัน
แล้วทรงประชุมชาดกว่า
บุรุษผู้ประทุษร้ายมิตรในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระเทวทัต
พญาวานรได้มาเป็ น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหากปิชาดกที่ ๖
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
448 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
448 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx448 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
448 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
501 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
501 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....501 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
501 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
313 ขันติวาทิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
313 ขันติวาทิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...313 ขันติวาทิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
313 ขันติวาทิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
428 โกสัมพิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
428 โกสัมพิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...428 โกสัมพิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
428 โกสัมพิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
407 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
407 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx407 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
407 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

Similar to 516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
497 มาตังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
367 สาลิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
448 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
448 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx448 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
448 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
514 ฉัททันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
513 ชยัททิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
501 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
501 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....501 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
501 โรหณมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
511 กิงฉันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
313 ขันติวาทิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
313 ขันติวาทิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...313 ขันติวาทิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
313 ขันติวาทิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
428 โกสัมพิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
428 โกสัมพิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...428 โกสัมพิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
428 โกสัมพิยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
225 ขันติวัณณนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
 
407 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
407 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx407 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
407 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

More from maruay songtanin

๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
maruay songtanin
 
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
maruay songtanin
 
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
 
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
 
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 

516 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 มหากปิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๖. มหากปิชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๑๖) ว่าด้วยพญาวานร (พระศาสดาทรงประกาศเนื้อความนี้ว่า) [๑๗๘] ได้มีพระราชาแห่งชนชาวกาสี ทรงผดุงรัฐให้เจริญ ในกรุงพาราณสี แวดล้อมด้วยมิตรและอามาตย์ ได้เสด็จไปยังมิคาชินอุทยาน [๑๗๙] ณ ที่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์เป็นโรคเรื้อน ขาวพราวเป็ นจุดๆ และกลากเกลื้อน มีเนื้อหลุดออกจากปากแผลเช่นกับดอกทองกวาว มีร่างกายผ่ายผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น [๑๘๐] ครั้นทอดพระเนตรเห็นคนตกยาก ถึงความลาบากน่าสงสารยิ่งนัก พระราชาทรงหวาดหวั่นพระหฤทัย จึงตรัสถามว่า เจ้าเป็นยักษ์ประเภทไหน [๑๘๑] มือและเท้าของเจ้าก็ด่าง ศีรษะยิ่งด่างกว่านั้น เนื้อตัวของเจ้าก็ด่างพร้อย และมากไปด้วยกลากเกลื้อน [๑๘๒] หลังของเจ้าเป็นปุ่มเป็ นปมเหมือนกับเถาวัลย์ที่ขดกลม อวัยวะของเจ้าก็เหมือนกับเถาวัลย์ที่มีข้อดา เรายังไม่เคยเห็นอะไรอื่นเป็นเช่นนี้ [๑๘๓] เจ้ามีเท้าหงิกงอ น่าหวาดเสียว มีร่างกายผ่ายผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูหิวกระหาย อดโซ เจ้ามาจากที่ไหน และจะไปไหน [๑๘๔] เจ้ามีรูปร่างอัปลักษณ์ ดูน่าเกลียด ผิวพรรณก็ทราม ดูน่ากลัว มารดาบิดาผู้ให้กาเนิดของเจ้าคงไม่ปรารถนาที่จะเห็นเจ้าเลย [๑๘๕] ในชาติปางก่อนเจ้าได้ทากรรมอะไรไว้ ได้ฆ่าคนที่ไม่ควรฆ่าหรือ หรือเพราะทากรรมอันโหดร้ายทารุณอย่างใดไว้ เจ้าจึงประสบทุกข์อย่างนี้ (ต่อแต่นั้นไป พราหมณ์จึงกล่าวว่า) [๑๘๖] เชิญสดับเถิด พระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ ตามอย่างคนฉลาด เพราะบัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้สรรเสริญคนพูดความจริง [๑๘๗] เมื่อข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียวเที่ยวแสวงหาโค ได้หลงล่วงเลยเข้าไปในป่าเปลี่ยวที่แห้งแล้งกันดาร เงียบสงัด ซึ่งเป็ นที่อยู่อาศัยแห่งช้างนานาชนิด
  • 2. 2 [๑๘๘] ข้าพระพุทธเจ้าได้หลงทางเข้าไปในป่าทึบ ซึ่งเป็ นที่สัญจรไปมาแห่งเนื้อร้าย มีความหิวกระหาย ได้ท่องเที่ยวไปในป่านั้นตลอด ๗ วัน [๑๘๙] ณ ที่ป่านั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นต้นมะพลับต้นหนึ่ง ซึ่งอยู่หมิ่นเหม่ มีกิ่งทอดตรงไปยังปากเหว มีผลดก ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะกิน [๑๙๐] ข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่ลมพัดหล่น ข้าพระพุทธเจ้าพอใจผลมะพลับเหล่านั้นมาก แต่ยังไม่อิ่ม จึงปี นขึ้นไปบนต้นด้วยคิดว่า จักกินให้สบายบนต้นนั้น [๑๙๑] ข้าพระพุทธเจ้ากินผลหนึ่งแล้วปรารถนาผลที่ ๒ ต่อไป แต่นั้นกิ่งมันได้หักเหมือนถูกขวานตัด [๑๙๒] ข้าพระพุทธเจ้านั้นพร้อมทั้งกิ่งไม้ มีเท้าชี้ฟ้ า ศีรษะปักลงตกไปในซอกเขา ซึ่งไม่มีที่จะยึดเหนี่ยว [๑๙๓] ก็เพราะน้าลึก ข้าพระพุทธเจ้าจึงหยั่งไม่ถึง นอนทอดอาลัยอยู่ในซอกเขานั้น ไม่น้อยกว่า ๑๐ ราตรี [๑๙๔] ต่อมา วานรตัวหนึ่งมีหางคล้ายหางโค ท่องเที่ยวไปมาตามซอกเขาเป็นประจา ไต่ไปตามกิ่งไม้กัดกินผลไม้อยู่ ได้มาถึงสถานที่นั้น [๑๙๕] มันเห็นข้าพระพุทธเจ้ามีร่างกายผอมเหลือง ได้มีความการุญแก่ข้าพระพุทธเจ้า ถามไถ่ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านชื่ออะไร ทาไมจึงมาทนทุกข์อยู่ที่นี่อย่างนี้ [๑๙๖] เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ จงแนะนาตัวให้ข้าพเจ้าทราบด้วย ข้าพระพุทธเจ้าได้ประนมอัญชลีแล้วกล่าวแก่มันอย่างนี้ว่า [๑๙๗] ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์ประสบความพินาศ ข้าพเจ้าไม่มีทางที่จะไปจากที่นี่ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอบอกให้ท่านทราบ ขอท่านจงมีความเจริญ ขอท่านจงเป็ นที่พึ่งของข้าพเจ้าด้วย [๑๙๘] วานรผู้กล้าหาญเที่ยวไปหาก้อนศิลาที่มีน้าหนักที่ภูเขา ผูกเถาวัลย์ที่ก้อนศิลาแล้ว ได้กล่าวคานี้ว่า [๑๙๙] มาเถิด มาขึ้นเกาะหลังข้าพเจ้า ท่านจงใช้แขนทั้ง ๒ ข้างกอดคอข้าพเจ้าไว้ ข้าพเจ้าจะใช้กาลังช่วยท่านขึ้นไปจากซอกเขา [๒๐๐] ข้าพระพุทธเจ้าสดับคานั้นแล้ว จึงขึ้นเกาะหลังพญาวานรผู้มีสิริ เป็นปราชญ์ตนนั้น แล้วใช้แขนทั้ง ๒ กอดคอมันไว้ [๒๐๑] พญาวานรผู้มีเดช มีกาลังตนนั้น มีความลาบาก กระโดดพาข้าพระพุทธเจ้าขึ้นจากซอกเขานั้นด้วยความยาก
  • 3. 3 [๒๐๒] ครั้นนาข้าพระพุทธเจ้าขึ้นมาแล้ว พญาวานรผู้เป็นบัณฑิต กล้าหาญ ได้กล่าวคานี้ว่า เพื่อนรัก ท่านโปรดรักษาความปลอดภัยให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าจักหลับสักครู่หนึ่ง [๒๐๓] สิงโต เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาป่า และเสือดาวพึงเบียดเบียนข้าพเจ้าผู้หลับไป ท่านเห็นพวกมันจงห้ามกันไว้ด้วย [๒๐๔] พญาวานรนั้นครั้นให้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ป้ องกันแล้ว จึงหลับไปครู่หนึ่ง ครั้งนั้น ข้าพระพุทธเจ้ากลับได้ความคิดเห็นชั่วช้า โดยไม่ทันคิดให้รอบคอบว่า [๒๐๕] วานรนี้ก็เป็ นอาหารของพวกมนุษย์ เช่นเดียวกับเนื้ออื่นๆ ในป่าเหมือนกัน ถ้ากระไร เราหิวพึงฆ่าวานรนี้กิน [๒๐๖] อนึ่ง เราบริโภคอิ่มแล้วจักถือเอาเนื้อเป็ นเสบียงเดินทาง จักข้ามทางกันดาร และเราจักมีเสบียงเดินทาง [๒๐๗] ทันใดนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงหยิบก้อนหินแล้วทุ่มลงไป ยังกระหม่อมวานร แต่การประหารของข้าพระพุทธเจ้า ผู้มีร่างกายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเพราะอดอาหารจึงมีกาลังด้อยไป [๒๐๘] ก็พญาวานรนั้นทะลึ่งขึ้นโดยเร็วเพราะกาลังก้อนหินที่ทุ่มลงไป มีตัวอาบไปด้วยเลือด ร้องไห้ มองดูข้าพระพุทธเจ้าด้วยดวงตา ซึ่งเต็มไปด้วยน้าตา พลางกล่าวว่า [๒๐๙] ท่านอย่าทาข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงมีความเจริญ ท่านอย่าได้กระทากรรมอันไม่สมควรเช่นนี้ อนึ่ง ท่านได้ชื่อว่ามีอายุยืนยาว ควรจะห้ามปรามคนเหล่าอื่น [๒๑๐] ท่านคนผู้กระทากรรมที่คนอื่นทาได้ยากนัก น่าอนาถจริงหนอ เราช่วยท่านขึ้นจากเหวลึกที่ขรุขระยากที่จะขึ้นได้เช่นนี้ [๒๑๑] ท่านเป็นดุจเรานามาจากปรโลก ยังสาคัญเราว่าเป็ นคนควรประทุษร้าย ท่านนั้นเป็ นคนชั่ว มีสันดานชั่วช้า จึงคิดแต่เหตุที่ชั่วนั้น [๒๑๒] โอ ท่านผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ขอท่านอย่าประสบเวทนาอันเผ็ดร้อนเลย ขอบาปธรรมอย่าได้ฆ่าท่านเหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่เลย [๒๑๓] แน่ะท่านผู้มีบาปกรรม ไม่สารวม เราไม่ไว้ใจท่าน มาเถิด ท่านจงตามหลังเราไปใกล้ๆ พอเห็นกัน [๒๑๔] ท่านพ้นแล้วจากเงื้อมมือของสัตว์ร้าย ถึงถิ่นมนุษย์แล้ว นี่แนะท่านผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม นั่นหนทาง ท่านจงไปทางนั้นตามสบายเถิด
  • 4. 4 [๒๑๕] ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว วานรผู้มีปกติท่องเที่ยวไปตามขุนเขาล้างศีรษะที่เปื้อนเลือด เช็ดน้าตาแล้วกระโดดจากที่นั้นขึ้นไปยังภูเขา [๒๑๖] ข้าพระพุทธเจ้านั้นถูกวานรนั้นแช่งด่า ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียน มีกายเร่าร้อน จึงลงไปยังสายน้าเพื่อจะดื่ม [๒๑๗] ห้วงน้าทั้งปวงปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้า เหมือนเดือดพล่านเพราะไฟ เจือด้วยโลหิตเหมือนช้าเลือดช้าหนอง [๒๑๘] หยาดน้ามีประมาณเพียงใดตกต้องกายของข้าพระพุทธเจ้า หัวฝีมีขนาดเท่าผลมะตูมครึ่งผลก็ผุดขึ้นมีประมาณเพียงนั้น [๒๑๙] ฝีเหล่านั้นแตกแล้ว น้าเลือดและน้าหนอง ไหลออกจากร่างกายของข้าพระพุทธเจ้าประดุจซากศพ ข้าพระพุทธเจ้าจะไปทางใด จะเป็ นหมู่บ้านและนิคมทั้งหลายก็ตาม [๒๒๐] พวกมนุษย์ทั้งหญิงทั้งชายถูกกลิ่นเหม็นรบกวน ต่างถือท่อนไม้ ห้ามกันข้าพระพุทธเจ้าว่า เจ้าอย่ามาทางนี้ [๒๒๑] บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าเสวยกรรมของตน ที่ตนเองกระทาไว้ไม่ดีในปางก่อน ข้าพระพุทธเจ้ามีทุกข์เช่นนี้ อยู่อย่างนี้ตลอด ๗ ปี [๒๒๒] เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงขอกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายเท่าที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้ ขอพระองค์อย่าทรงเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรเลย เพราะคนประทุษร้ายมิตรจัดเป็นคนเลว [๒๒๓] บุคคลใดในโลกนี้ย่อมประทุษร้ายมิตร บุคคลนั้นย่อมเป็นโรคเรื้อน โรคกลาก เกลื้อน คนผู้มีปกติประทุษร้ายมิตรเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก มหากปิชาดกที่ ๖ จบ ------------------------ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา มหากปีชาดก ว่าด้วย ผลบาปของผู้ทาร้ายผู้มีคุณ พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภการกลิ้งศิลาของพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี ดังนี้. ความโดยย่อว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวติเตียนพระเทวทัต เพราะใช้นายขมังธนู เพราะกลิ้งศิลา ในเวลาต่อมา พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน
  • 5. 5 พระเทวทัตก็กลิ้งศิลาเพื่อฆ่าเราเหมือนกัน แล้วทรงนาอดีตนิทานมาตรัส ดังต่อไปนี้. ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพาราณสี ในหมู่บ้านกาสิกคาม พราหมณ์ชาวนาผู้หนึ่งไถนาเสร็จแล้วปล่อยโคไป เริ่มทาการงานขุดหญ้าพรวนดินด้วยจอบ. ฝูงโคเคี้ยวกินใบไม้ที่พุ่มไม้แห่งหนึ่งพลางพากันหนีเข้าไปสู่ดงโดยลาดับ พราหมณ์นั้นคะเนว่าถึงเวลาแล้ว ก็วางจอบเหลียวหาฝูงโคไม่พบ เกิดความโทมนัส จึงเที่ยวค้นหาในดงเข้าไปจนถึงป่าหิมพานต์. พราหมณ์นั้นหลงทิศทางในป่าหิมพานต์ อดอาหารถึงเจ็ดวัน เดินไปพบต้นมะพลับต้นหนึ่ง จึงขึ้นไปเก็บผลรับประทาน พลัดตกลงมาจากต้นมะพลับ เลยตกลงไปในเหวดุจขุมนรกลึกตั้ง ๖๐ ศอก. พราหมณ์ตกอยู่ในเหวล่วงไปได้สิบวัน. คราวนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในกาเนิดวานรกาลังเคี้ยวกินผลาผล เหลือบเห็นบุรุษนั้นเข้าจึงผูกเชือกเข้าที่หิน ช่วยบุรุษนั้นขึ้นมาได้. เมื่อวานรโพธิสัตว์กาลังหลับ พราหมณ์ได้เอาหินมาทุ่มลงที่ศีรษะ พระมหาสัตว์เจ้ารู้การกระทาของเขาแล้วจึงกระโดดขึ้นไปบนกิ่งไม้ กล่าวว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านจงเดินไปตามพื้นดิน ข้าพเจ้าจักเดินบอกหนทางแก่ท่านไปทางกิ่งไม้ แล้วพาบุรุษนั้นออกจากป่าจนถึงหนทาง จึงเข้าไปสู่บรรพตตามเดิม. บุรุษนั้นล่วงเกินพระมหาสัตว์เจ้าแล้วเกิดโรคเรื้อน กลายเป็นมนุษย์เปรตในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว. เขาถูกความทุกข์เบียดเบียนอยู่เจ็ดปี เที่ยวเร่ร่อนไปถึงมิคาชินอุทยาน เขตพระนครพาราณสี ลาดใบตองลงภายในกาแพงนอนเสวยทุกขเวทนา. คราวนั้น พระเจ้าพาราณสีเสด็จประพาสพระราชอุทยาน เสด็จเที่ยวไปพบเขา ณ ที่นั้น แล้วดารัสถามว่า เจ้าเป็ นใคร ทากรรมอะไรไว้ จึงต้องรับทุกข์เช่นนี้? ฝ่ายเปรตนั้นได้กราบทูลเรื่องราวทั้งมวลโดยพิสดาร. พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสพระคาถาความว่า พระราชาแห่งชนชาวกาสีผู้ทรงยังรัฐสีมามณฑลให้เจริญ ในพระนครพาราณสี ทรงแวดล้อมไปด้วยมิตรและอามาตย์ผู้มีความภักดีมั่นคง เสด็จไปยังมิคาชินอุทยาน. ณ ที่นั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ ซึ่งเป็ นโรคเรื้อน ขาวพราวเป็ นจุดๆ ตามตัว มากไปด้วยกลากเกลื้อน เรี่ยราดด้วยเนื้อที่หลุดออกมาจากปากแผล เช่นกับดอกทองกวาวที่บาน
  • 6. 6 ในเรือนร่างทุกแห่ง มีเพียงกระดูกซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น. ครั้นทอดพระเนตรเห็นคนที่ตกยาก ถึงความลาบากน่าสงสารยิ่งนักแล้ว ทรงหวั่นหวาดพระทัย จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นยักษ์ประเภทไหน ในจาพวกยักษ์ทั้งหลาย. อนึ่ง มือและเท้าของท่านขาว ศีรษะยิ่งขาวกว่านั้น ตัวของท่านก็ด่างพร้อย มากไปด้วยเกลื้อนกลาก. หลังของท่านก็เป็นปุ่มเป็นปม ดุจเถาวัลย์อันยุ่งอวัยวะของท่านบ้างก็ดา บ้างก็หงิกงอ คล้ายเถาวัลย์มีข้อดา ดูไม่เหมือนคนอื่นๆ. เท้าเปรอะเปื้อนด้วยธุลี น่าหวาดเสียว ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น หิวระหาย ร่างกายซูบซีด ท่านมาจากไหน และจะไปไหน. แลดูน่าเกลียด รูปร่างก็อัปลักษณ์ ผิวพรรณชั่วช้า ดูน่ากลัว แม้มารดาบังเกิดเกล้าของท่าน ก็ไม่ปรารถนาจะดูแลเจ้าเลย. ในชาติก่อน ท่านทากรรมอะไรไว้ ได้เบียดเบียนผู้ที่ไม่ควรเบียดเบียนไว้อย่างไร ได้เข้าถึงทุกข์นี้ เพราะทากรรมอันหยาบช้าอันใดไว้. ต่อจากนั้น พราหมณ์จึงกล่าวคาถากราบทูลว่า ขอเดชะ ขอเชิญพระองค์ทรงสดับ ข้าพระองค์จักกราบทูลอย่างคนที่ฉลาดทูล เพราะว่าบัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญคนที่พูดจริง. เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเที่ยวตามโคที่หายไปคนเดียว ได้หลงทางเข้าไปในป่าหิมพานต์ อันแสนจะกันดาร เงียบสงัด อันหมู่กุญชรชาติท่องเที่ยวไปมา. ข้าพระองค์หลงทางเข้าไปในป่าทึบ อันหมู่มฤคร้ายกาจท่องเที่ยวไปมา ต้องทนหิวระหาย เที่ยวไปในป่านั้นตลอด ๗ วัน. ณ ป่านั้น ข้าพระพุทธเจ้ากาลังหิวจัด ได้เห็นต้นมะพลับต้นหนึ่ง ตั้งอยู่หมิ่นเหม่ เอนไปทางปากเหว มีผลดกดื่น. ทีแรก ข้าพระพุทธเจ้าเก็บผลที่ลมพัดหล่นมากินก่อน เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่หล่นมาเหล่านั้น รู้สึกพอใจ ยังไม่อิ่มจึงปี นขึ้นไปบนต้น ด้วยหวังใจว่าจะกินให้สบายบนต้นนั้น. ข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่หนึ่งเสร็จแล้ว ปรารถนาจะกินผลที่สองต่อไป เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเหยียดมือคว้าเอาผลที่ต้องการ ทันใดนั้น กิ่งไม้ที่ขึ้นเหยียบอยู่นั้นก็หักขาดลง ดุจถูกตัดด้วยขวานฉะนั้น. ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยกิ่งไม้นั้น ตีนชี้ฟ้ าหัวหกตกลงไปในห้วงเหวภูเขาอันขรุขระ ซึ่งไม่มีที่ยึดที่เหนี่ยวเลย. ข้าพระพุทธเจ้าหยั่งไม่ถึงเพราะน้าลึก ต้องไปนอนไร้ความเพลิดเพลิน
  • 7. 7 ไร้ที่พึ่งอยู่ในเหวนั้น ๑๐ ราตรีเต็มๆ. ภายหลังมีลิงตัวหนึ่งมีหางดังหางโค เที่ยวไปตามซอกเขา เที่ยวไต่ไปตามกิ่งไม้หาผลไม้กิน ได้มาถึงที่นั้น มันเห็นข้าพระพุทธเจ้าผอมเหลือง ได้กระทาความเอ็นดูกรุณาในข้าพระพุทธเจ้า. จึงถามว่า พ่อชื่อไร ทาไมจึงมาทนทุกข์อยู่ที่นี่อย่างนี้ เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ขอได้โปรดแนะนาตนให้ข้าพเจ้าทราบด้วย. ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้ประนมอัญชลีไหว้ลิงตัวนั้น แล้วกล่าวว่า เราเป็ นมนุษย์ถึงแล้วซึ่งหายนะ เราไม่มีหนทางที่จะไปจากที่นี่ได้ เพราะเหตุนั้น เราจึงบอกให้ท่านทราบไว้ ขอท่านจงมีความเจริญ. อนึ่ง ขอท่านโปรดเป็นที่พานักของข้าพเจ้าด้วย. ลิงตัวองอาจเที่ยวไปหาก้อนหินก้อนใหญ่ในภูเขามา แล้วผูกเชือกไว้ที่ก้อนหิน ร้องบอกข้าพระพุทธเจ้าว่า มาเถิดท่าน จงขึ้นมาเกาะหลังข้าพเจ้า เอามือทั้งสองกอดคอไว้ เราจักพาท่านกระโดดขึ้นจากเหวโดยเต็มกาลัง. ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคาของพญาพานรินทร์ตัวมีสิรินั้นแล้ว จึงขึ้นเกาะหลัง เอามือทั้งสองโอบคอไว้. ลาดับนั้น พญาวานรตัวมีเดชมีกาลังก็พาข้าพระพุทธเจ้ากระโดดขึ้นจากเหว โดยความยากลาบากทันที. ครั้นขึ้นมาได้แล้ว พญาวานรตัวองอาจได้ขอร้องข้าพระพุทธเจ้าว่า แน่ะสหาย ขอท่านจงคุ้มครองข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าจักงีบสักหน่อย. ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเสือดาว สัตว์เหล่านั้นพึงเบียดเบียนข้าพเจ้าซึ่งหลับไปแล้ว ท่านเห็นพวกมันจงป้ องกันไว้. เพราะข้าพระพุทธเจ้าช่วยป้ องกันให้อย่างนั้น พญาวานรจึงหลับไปสักครู่หนึ่ง คราวนั้น โดยที่ข้าพระพุทธเจ้าขาดความคิด กลับได้ความเห็นอันลามกว่า ลิงนี้ก็เป็นอาหารของมนุษย์ทั้งหลาย เท่ากับมฤคอื่นๆ ในป่านี้เหมือนกัน อย่ากระนั้นเลย เราควรฆ่าวานรนี้กินแก้หิวเถิด. อนึ่ง อิ่มแล้ว จักถือเอาเนื้อไปเป็ นเสบียงเดินทาง เราจักต้องผ่านทางกันดาร เนื้อก็จักได้เป็ นเสบียงของเรา. ทันใดนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้หยิบเอาหินมาทุ่มศีรษะลิง การประหารของข้าพระพุทธเจ้าผู้ลาบากเพราะอดอาหาร จึงมีกาลังน้อย. ด้วยกาลังก้อนหินที่ข้าพระพุทธเจ้าทุ่มลง ลิงนั้นผลุดลุกขึ้น ทั้งๆ ที่ตัวอาบไปด้วยเลือด ร่าไห้มองดูข้าพระพุทธเจ้าด้วยตาอันเต็มไปด้วยน้าตา พลางกล่าวว่า นายอย่าทาข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงมีความเจริญ
  • 8. 8 แต่ท่านได้ทากรรมอันหยาบช้าเช่นนี้ และท่านก็รอดตายมีอายุยืนมาได้ สมควรจะห้ามปรามคนอื่น แน่ะท่านผู้กระทากรรมอันยากที่บุคคลจะทาลงได้ น่าอดสูใจจริงๆ ข้าพเจ้าช่วยให้ท่านขึ้นจากเหวลึก ซึ่งยากที่จะขึ้นได้เช่นนี้. ท่านเป็นดุจข้าพเจ้านามาจากปรโลก ยังสาคัญตัวข้าพเจ้าว่า ควรจะฆ่าเสียด้วยจิตอันเป็ นบาปธรรมซึ่งเป็ นเหตุให้ท่านคิดชั่ว. ถึงท่านจะไร้ธรรม เวทนาอันเผ็ดร้อนก็อย่าได้ถูกต้องท่านเลย และบาปกรรมก็อย่าได้ตามฆ่าท่านอย่างขุยไผ่ ฆ่าไม้ไผ่เลย. แน่ะท่านผู้มีธรรมอันเลว หาความสารวมมิได้ ความคุ้นเคยของข้าพเจ้าจะไม่มีอยู่ในท่านเลย มาเถิดท่านจงเดินไปห่างๆ เรา พอมองเห็นหลังกันเท่านั้น. ท่านพ้นจากเงื้อมมือแห่งสัตว์ร้าย ถึงทางเดินของมนุษย์แล้ว ท่านผู้ไร้ธรรม นี่หนทาง ท่านจงไปตามสบายโดยทางนั้นเถิด. วานรนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ล้างเลือดที่ศีรษะ เช็ดน้าตาเสร็จแล้วก็กระโดดขึ้นไปยังภูเขา. ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้อันวานรนั้นอนุเคราะห์แล้ว ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียน ร้อนเนื้อตัว ได้ลงไปยังห้วงน้าแห่งหนึ่งเพื่อจะดื่มกินน้า. ห้วงน้าก็เดือดพล่าน เหมือนถูกต้มด้วยไฟ นองไปด้วยเลือด คล้ายกับน้าเลือดน้าหนองฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าอย่างเห็นชัด. หยาดน้าตกต้องกายของข้าพระพุทธเจ้ามีเท่าใด ฝีก็ผุดขึ้นเท่านั้น มีสัณฐานเหมือนมะตูมครึ่งลูก. ฝีก็แตกในวันนั้นเอง น้าเลือดน้าหนองของข้าพระพุทธเจ้าก็ไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นดุจซากศพ อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าจะเดินไปทางไหน ในบ้านและนิคมทั้งหลาย พวกมนุษย์ทั้งหญิงแลชาย พากันถือท่อนไม้ห้ามกันข้าพระองค์ผู้ฟุ้ งไปด้วยกลิ่นเหม็นว่า อย่าเข้ามาข้างนี้นะ. บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้เสวยทุกขเวทนา เห็นปานนี้ อยู่ ๗ ปี ซึ่งเป็ นผลกรรมชั่วของตนในปางก่อน. เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ ขอพระองค์อย่าได้ประทุษร้ายมิตร เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตรจัดเป็นคนเลวทราม. ในโลกนี้ ผู้ที่ประทุษร้ายมิตรย่อมเป็นโรคเรื้อนเกลื้อนกลาก เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงนรก.
  • 9. 9 พระบรมศาสดาตรัสอภิสัมพุทธคาถานี้ไว้ ความว่า ในโลกนี้ ผู้ประทุษร้ายมิตรย่อมเป็นโรคเรื้อน เกลื้อนกลาก เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงนรก. อธิบายว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดประทุษร้ายเบียดเบียนมิตรในโลกนี้ บุคคลนั้นย่อมมีสภาพเห็นปานนี้. เมื่อบุรุษนั้นกาลังกราบทูลพระราชาอยู่ แผ่นดินก็แยกช่องให้. เขาก็จุติไปบังเกิดในอเวจีมหานรก ในขณะนั้นเอง. พระราชาก็เสด็จออกจากพระราชอุทยาน เสด็จสู่พระนคร. พระบรมศาสดา ครั้นทรงนาอดีตนิทานนี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตก็กลิ้งศิลา ประทุษร้ายเราเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า บุรุษผู้ประทุษร้ายมิตรในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระเทวทัต พญาวานรได้มาเป็ น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล. จบอรรถกถามหากปิชาดกที่ ๖ -----------------------------------------------------